ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ประชุมสภายุโรปเดือด! แกนนำ Brexit ถูกโห่ เจอเย้ยกลับ “หัวเราะกันไม่ออกแล้ว”
    โดย MGR Online 29 มิถุนายน 2559 01:07 น. (แก้ไขล่าสุด 29 มิถุนายน 2559 10:14 น.)

    [​IMG]
    ไนเจล ฟาราจ นักการเมืองอังกฤษฝ่ายขวาจัด ซึ่งเป็นหนึ่งในแกนนำรณรงค์ให้สหราชอาณาจักรออกจากสภาพยุโรป นั่งอยู่บนโต๊ะที่มีธงยูเนียนแจ็คของสหราชอาณาจักรวางอยู่เบื้องหน้า ระหว่างร่วมประชุมวาระพิเศษของรัฐสภายุโรปเมื่อวันอังคาร(28มิ.ย.)

    รอยเตอร์ - การประชุมวาระพิเศษของรัฐสภายุโรปเมื่อวันอังคาร (28 มิ.ย.) ซึ่งเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่อังกฤษลงมติถอนตัวจากอียู เต็มไปด้วยการโต้เถียง ถากถาง และเย้ยหยัน โดยนายไนเจล ฟาราจ แกนนำ Brexit ถูกโห่ใส่ ขณะที่เขาตอบโต้ด้วยการกล่าวหากลับว่าอียูกำหนดองค์การเหนือรัฐต่อพลเมืองของพวกเขา และทำนายว่าประเทศอื่นๆ ก็จะออกจากกลุ่มเหมือนกัน

    ไนเจล ฟาราจ นักการเมืองอังกฤษฝ่ายขวาจัด ซึ่งเป็นหนึ่งในแกนนำรณรงค์ให้สหราชอาณาจักรออกจากสภาพยุโรป นั่งอยู่บนโต๊ะที่มีธงยูเนียนแจ็คของสหราชอาณาจักรวางอยู่เบื้องหน้า ขณะที่นายฌอง-โคลด จุงเกอร์ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ถามเขาว่า “นายมาทำอะไรในสภาอียู?”

    พอนายฟาราจแทรกแซงการกล่าวปราศรัยของนายจุงเกอร์ ด้วยการปรบมือให้กับผลประชามติของอังกฤษเมื่อสัปดาห์ที่แล้วที่โหวตออกจากอียู ประธานคณะกรรมาธิการยุโรปก็ตอบโต้กลับว่า “มันเป็นครั้งสุดท้ายแล้วล่ะที่คุณจะได้ปรบมือที่นี่”

    การตอบโต้กันไปมาดังกล่าวย้ำให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่เริ่มมึนตึงระหว่างเจ้าหน้าที่ยุโรปกับเหล่านักการเมืองอังกฤษนับตั้งแต่ศึกประชามติเมื่อวันพฤหัสบดี (23 มิ.ย.) ที่ได้รับเสียงเชียร์จากเหล่าพรรคการเมืองต่อต้านยุโรป แต่รัฐบาลชาติต่างๆ ต้องกลัดกลุ้มเกี่ยวกับอาฟเตอร์ช็อกทางการเมืองและเศรษฐกิจ

    เหตุการณ์นี้มีขึ้นไม่กี่ชั่วโมงก่อนหน้าที่นายเดวิด คาเมรอน จะพบปะกับเหล่าผู้นำอียูเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ศึกประชามติ ขณะที่ในวันพุธ (29 มิ.ย.) ซึ่งเป็นวันที่สองของการประชุมซัมมิต ผู้นำ 27 ชาติอียูจะหารือโดยไม่มีคาเมรอน เกี่ยวกับอนาคตของกลุ่มท่ามกลางความกังวลว่าจะเกิดปรากฏการณ์โดมิโนในประเทศที่มีกระแสต่อต้านอียู

    การประชุมรัฐสภายุโรปในวันอังคาร (28 มิ.ย.) เริ่มต้นด้วยบรรยากาศที่เป็นมิตร ด้วยนายจุงเกอร์ยอมรับว่ารู้สึกเสียใจต่อผลประชามติและกล่าวสรรเสริญนายโจนาธาน ฮิลล์ กรรมาธิการด้านการคลังคณะกรรมาธิการยุโรปของอังกฤษ ผู้รณรงค์สนับสนุนให้อังกฤษเป็นสมาชิกอียูต่อ ที่ประกาศลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันเสาร์ (25 มิ.ย.)

    อย่างไรก็ตาม บรรยากาศแห่งความสุภาพอยู่ได้ไม่นานนัก เมื่อเหล่า ส.ส.เริ่มกล่าวหาฝ่ายรณรงค์ออกจากอียูว่าใช้การโกหกเป็นแนวทางสู่ชัยชนะ

    ในคำกล่าวอภิปรายอย่างดุเดือด นายกุย เวอร์ฮอฟสตัดท์ อดีตนายกรัฐมนตรีเบลเยียม กล่าวหาพวกนักการเมืองอังกฤษก่อบรรยากาศพิษแห่งความไม่แน่นอนนับตั้งแต่โหวตเบร็กซิต และให้คำนิยมนายบอริส จอห์นสัน อดีตนายกเทศมนตรีลอนดอน ผู้สนับสนุนเบร็กซิตและตัวเต็งลำดับต้นๆ ที่จะเข้ามาเสียบเก้าอี้นายกรัฐมนตรีแทนนายคาเมรอน ว่าเป็นคนเห็นแก่ตัว ที่เอาความทะเยอทะยานทางการเมืองส่วนตัวอยู่เหนือผลประโยชน์ของประเทศชาติ

    แมนเฟรด เวเบอร์ สมาชิกสภาจากเยอรมนี พันธมิตรของนางอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเมืองเบียร์และแกนนำกลุ่มใหญ่สุดในรัฐสภายุโรป พูดใส่นายฟาราจในห้องประชุมที่แออัดไปด้วยสมาชิกว่า “หากคุณอยากทำในสิ่งที่เหมาะสมสักครั้งในวันนี้ คุณก็ควรขอโทษประชาชนชาวอังกฤษ คุณมันน่าละอาย”

    สมาชิกจำนวนมากกล่าวอภิปรายเรียกร้องขอความเป็นอันหนึ่งเดียวกัน และกดดันให้อังกฤษเร่งรัดกระบวนการถอนตัวจากอียูเพื่อยุติความไม่แน่นอนที่กำลังสั่นสะเทือนตลาดการเงิน และกระพือความกังวลว่าภาวะเศรษฐกิจอ่อนแอจะลุกลามไปทั่วทวีป

    อย่างไรก็ตาม นางมารีน เลอ แปง ผู้นำพรรคเนชัลแนล ฟรอนต์ พรรคขวาจัดของฝรั่งเศส ยกย่องการโหวตออกจากอียูของอังกฤษ ว่าเป็นเหตุการณ์สำคัญที่สุดในยุโรปนับตั้งแต่การล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน “มันเป็นชัยชนะครั้งใหญ่ของประชาธิปไตย และตบหน้าอียู ที่สร้างบนความหวาดกลัว การขู่กรรโชก และการโกหก”

    นายฟาราจใช้รัฐสภายุโรปเป็นเวทีรณรงค์ให้นำอังกฤษออกจากอียูมาช้านาน ส่งผลให้การลุกขึ้นกล่าวอภิปรายของเขาในครั้งนี้ดึงดูดการเปล่งเสียงแสดงความไม่พอใจดังขึ้นเรื่อยๆ จากสมาชิกรัฐสภาคนอื่นๆ จนกระทั่งตัวประธานมาร์ติน ชูลซ์ ต้องตักเตือนสมาชิกให้อยู่ในความสงบ

    อย่างไรก็ตาม เสียงโห่ดังกล่าวก็ถูกตอบโต้กลับจากนายฟาราจ ซึ่งย้อนอดีตที่เคยถูกหัวเราะเยาะเมื่อครั้งเข้ามาในสภาแห่งนี้ และพูดถึงเรื่องที่อังกฤษจะออกจากอียูมาตลอด 17 ปี โดยระบุว่า “ตอนนี้พวกคุณหัวเราะไม่ออกกันแล้วซิ”

    เขาเรียกเบร็กซิตว่าเป็นผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่ที่เสนอไฟนำทางแห่งความหวังสำหรับประชาธิปไตยทั่วยุโรป “ผมขอทำนายอย่างหนึ่งในเช้าวันนี้ สหราชอาณาจักรจะไม่ใช่ประเทศสมาชิกสุดท้ายที่ออกจากสหภาพยุโรป”

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    รมว.ต่างประเทศสหรัฐฯ “จอห์น เคร์รี” ระบุ Brexit อาจไม่เกิดขึ้นจริง
    โดย MGR Online 29 มิถุนายน 2559 13:16 น. (แก้ไขล่าสุด 29 มิถุนายน 2559 13:45 น.)

    [​IMG]
    รมว.ต่างประเทศสหรัฐฯ “จอห์น เคร์รี” ระบุ Brexit อาจไม่เกิดขึ้นจริง

    เอเอฟพี - รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ จอห์น เคร์รี ระบุในวันอังคาร (28 มิ.ย.) การโหวตออกจากสหภาพยุโรป (อียู) ของอังกฤษอาจจะไม่มีผลบังคับใช้และว่าลอนดอนไม่ได้รีบร้อนที่จะแยกตัวออกไป

    เคร์รีกล่าวหนึ่งวันหลังจากที่พบปะกับนายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอน ว่า ผู้นำอังกฤษรู้สึกไม่มีเรี่ยวแรงที่จะเจรจาเรื่องการแยกตัวนี้ที่เขาไม่ได้ต้องการ

    “นี่เป็นแยกตัวที่ซับซ้อนมาก” เคร์รีบอกในงาน Aspen Ideas Festival โดยอ้างถึงการเจรจาออกจากอียูของอังกฤษภายหลังการลงประชามติ “Brexit” เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

    เคร์รีซึ่งไปเยือนดาวนิงสตรีทเมื่อวันจันทร์ (27) กล่าวว่า คาเมรอนไม่เต็มใจที่จะใช้ “มาตรา 50” ของสนธิสัญญาลิสบอนซึ่งจะกำหนดกรอบเวลา 2 ปีสำหรับการแยกตัวออก

    เคร์รีอธิบายว่า ลอนดอนไม่ต้องการพบว่าตัวเองถูกโอบล้อมหลังจาก 2 ปีโดยปราศจากข้อตกลงการสมาคมฉบับใหม่และไม่ต้องการถูกบีบให้ออกจากอียูโดยข้อตกลง

    เขายังเสริมด้วยว่า คาเมรอน “รู้สึกไร้เรี่ยวแรงที่จะเริ่มการเจรจาในสิ่งที่เขาไม่มีความเชื่อมั่นและเขาไม่รู้ว่าจะทำมันได้อย่างไร”

    “ไม่เหมือนกับคนส่วนใหญ่ที่โหวตแยกตัวออก” เคร์รีกล่าว โดยอ้างถึงผู้สนับสนุนการแยกตัวออกเช่นนายกเทศมนตรีลอนดอน บอริส จอห์นสัน ซึ่งตอนนี้เป็นตัวเต็งนายกรัฐมนตรีอังกฤษคนต่อไป

    เมื่อถูกถามโดยผู้ดำเนินรายการว่านี่หมายว่าการตัดสินใจออกจากอียูของอังกฤษอาจเป็นหมันอย่างนั้นหรือ เคร์รีตอบว่า “ผมคิดว่าเส้นทางมีมากกว่าหนึ่ง”

    “ในฐานะรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศผมไม่อยากตัดโอกาสความเป็นไปได้ ผมคิดว่านั่นจะเป็นความผิดพลาด แต่เส้นทางมีมากว่าหนึ่ง” เขากล่าว

    วอชิงตันสนับสนุนให้อังกฤษมีบทบาทที่เข้มแข็งในอียูมาโดยตลอดและต้องผิดหวังเมื่อชาวเมืองผู้ดีเลือกที่จะออกจากสหภาพแห่งนี้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

    ในตอนนี้เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ กำลังเรียกร้องให้มีการอภิปรายเรื่องการออกจากอียูของอังกฤษอย่างใจเย็นเพื่อให้เกิดข้อตกลงที่จะทำให้การสมาคมลับระหว่างลอนและบรัสเซลส์ยังคงมีต่อไป

    อย่างไรก็ตาม ผู้นำชาติอียูบางคนยืนกรานว่า คาเมรอนต้องใช้มาตรา 50 โดยเร็วและเริ่มการเจรจาแยกตัวออกเพื่อยุติสภาพความไม่แน่นอนทางการเมืองและเศรษฐกิจ

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สกอตแลนด์-ยิบรอลตาร์ประกาศชัด ขออยู่ใน EU ต่อ แม้ UK เลือกโบกมือลา
    โดย MGR Online 29 มิถุนายน 2559 14:13 น.

    [​IMG]
    ภาพจากรอยเตอร์

    เอเอฟพี / เอเจนซีส์ / MGR online – ผู้นำแคว้นสกอตแลนด์และยิบรอลตาร์ เปิดการหารือในวันอังคาร (28 มิ.ย.) เพื่อหาช่องทางให้ดินแดนของตน ได้อยู่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับสหภาพยุโรป (อียู) ต่อไป หลังจากที่สหราชอาณาจักรเลือกการโหวตออกจากการเป็นสมาชิกขององค์กรความร่วมมือแห่งนี้

    รายงานข่าวระบุว่า แม้ยิบรอลตาร์ จะถูกผนวกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักรตั้งแต่เมื่อกว่า 300 ปีก่อน แต่ประชาชนส่วนใหญ่ในดินแดนซึ่งตั้งอยู่ทางใต้ของสเปนแห่งนี้กลับลงคะแนน หนุนให้สหราชอาณาจักรอยู่ในกลุ่ม 28 ชาติอย่างอียูต่อไป

    เช่นเดียวกับในสกอตแลนด์ ที่ประชาชนส่วนใหญ่ในแคว้นแห่งนี้ ลงคะแนนหนุนการอยู่ร่วมเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปต่อไปเช่นกัน

    คำแถลงจากรัฐบาลท้องถิ่นของยิบรอลตาร์ระบุว่า กำลังพิจารณาทุกตัวเลือกเพื่อปกป้องจุดยืนของยิบรอลตาร์ในฐานะส่วนหนึ่งของอียูในอนาคต และว่าฟาเบียน ปิการ์โด ผู้นำรัฐบาลยิบรอลตาร์ได้หารือเรื่องนี้กับนิโคลา สเตอร์เจียน ผู้นำแคว้นสกอตแลนด์แล้วถึงความเป็นไปได้และผลกระทบต่างๆ ของการที่ดินแดนทั้งสองแห่งนี้ของสหราชอาณาจักรจะยังคงขอเป็นส่วนหนึ่งกับอียูต่อไป

    รายงานข่าวระบุด้วยว่า สเตอร์เจียนมีกำหนดเดินทางเยือนกรุงบรัสเซลส์ของเบลเยียมในช่วงกลางสัปดาห์นี้ เพื่อตอกย้ำว่า สกอตแลนด์ยังคงต้องการรักษาความเป็นส่วนหนึ่งของอียูต่อไป

    ด้านนายกรัฐมนตรี เดวิด คาเมรอน ของอังกฤษ เดินทางถึงกรุงบรัสเซลส์ ในวันอังคาร (28 มิ.ย.) เพื่อเข้าร่วมการประชุมซัมมิตที่บรรยากาศเป็นไปด้วยความตึงเครียด โดยที่เหล่าผู้นำชาติยุโรปผู้โกรธเกรี้ยว กำลังกดดันให้รัฐบาลลอนดอนเร่งดำเนินกระบวนการถอนตัวออกจากอียูโดยเร็ว อีกทั้งยืนกรานว่าจะไม่มีการอ่อนข้อ หรือให้การปฏิบัติเป็นพิเศษใด ๆ แก่อังกฤษ

    ห้าวันหลังจากชาวอังกฤษสร้างความตื่นตะลึงให้แก่อียู ด้วยการลงประชามติให้ถอนตัวออกจากสหภาพที่ประกอบด้วยรัฐสมาชิก 28 ชาตินี้ พวกผู้นำยุโรปก็ดูมีท่าทีเป็นเอกภาพ และพร้อมที่จะแจ้งให้อังกฤษทราบอย่างตรงไปตรงมาว่าพวกเขาต้องการให้ลอนดอนถอนตัวออกไปโดยเร็ว และอย่าหวังว่าจะได้รับอภิสิทธิ์ใด ๆ

    โดนัลด์ ทุสก์ ประธานคณะมนตรียุโรป แถลงว่า อียูพร้อมที่จะเริ่มกระบวนการหย่าขาดกับอังกฤษ “แม้กระทั่งในวันนี้เลย” พร้อมกับสำทับว่า เขาได้สั่งห้ามเจ้าหน้าที่อียูทั้งหลายจัดการพูดจา “ลับ ๆ” กับอังกฤษแล้ว ขณะที่รัฐสภายุโรปก็เรียกร้องให้อังกฤษเริ่มต้นกระบวนการถอนตัวออกไป “โดยเร็วที่สุดที่จะเป็นไปได้”

    ในกรุงเบอร์ลิน นายกรัฐมนตรี อังเกลา แมร์เคิล ของเยอรมนี กล่าวเตือนว่า คาเมรอนไม่ควรคิดว่าในการเจรจากับอียูเรื่องการถอนตัวออกไปนั้น อังกฤษจะสามารถเลือกหยิบเอาไปแต่สิ่งดี ๆ และอังกฤษต้องเตรียมตัวที่จะจ่ายสำหรับเรื่องการผละจากไปนี้ด้วย

    “ใครก็ตามที่ปรารถนาจะผละจากครอบครัวนี้ ไม่สามารถคาดหมายเพียงว่าจะละทิ้งความผูกมัดทั้งหมดทั้งปวง แต่ยังจะเก็บอภิสิทธิ์ต่าง ๆ เอาไว้” นางแมร์เคิลกล่าวต่อรัฐสภาเยอรมัน

    การประชุมซัมมิตอียูในวันอังคาร (28) เปิดขึ้นท่ามกลางความโกรธเกรี้ยวอย่างล้ำลึกของผู้นำยุโรปอื่น ๆ อีก 27 ชาติ ที่มีต่อคาเมรอน โดยแรกสุดทีเดียว คือ การที่เขาประกาศจัดให้มีการลงประชามติ “เบร็กซิต” และประการต่อมา นั่นคือ การรณรงค์หาเสียงของเขาซึ่งนำไปสู่ความพ่ายแพ้ของฝ่ายที่ต้องการอยู่กับอียู ต่อไป

    ความโกรธเกรี้ยวเหล่านี้ยังสะสมตัวทวีความซับซ้อนยิ่งขึ้น จากความขุ่นเคือง ที่มองเห็นกันว่า เวลานี้อังกฤษดูเหมือนจะเตะถ่วงเรื่องกระบวนการถอนตัว ด้วยความหวังว่าจะทำให้ตนได้เปรียบในการเจรจาต่อรอง ทว่า มีแต่จะยิ่งทวีความเข้มแข็งของกลุ่มพลังคัดค้านอียูภายในประเทศยุโรปอื่น ๆ เท่านั้น

    คาเมรอน แถลงแล้วว่า เขาจะลาออกจากตำแหน่งและกล่าวต่อสภาสามัญของอังกฤษในวันจันทร์ (27) ว่า เขาจะยังไม่เริ่มต้นกระบวนการถอนตัวออกจากอียู ซึ่งในทางปฏิบัติ ก็คือ อังกฤษต้องแสดงความจำนงในเรื่องนี้ ภายใต้มาตรา 50 ของสนธิสัญญากรุงลิสบอนของอียู การแสดงความจำนงเริ่มกลไกดังกล่าวหมายความว่า จะต้องดำเนินการเจรจาเรื่องออกจากสมาชิกภาพให้จบภายในกรอบเวลา 2 ปี

    แหล่งข่าวในรัฐบาลอังกฤษ เปิดเผยว่า คาเมรอนจะยืนยันในที่ประชุมซัมมิต ว่า การเริ่มกลไกตามมาตรา 50 จะเป็นหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของอังกฤษ ซึ่งคาดว่าจะได้ตัวในเดือนกันยายน

    อย่างไรก็ดี ฌอง-โคลด จุงเกอร์ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ซึ่งเป็นองค์กรบริหารของอียู พูดในวาระการประชุมวันอังคาร (28) ของรัฐสภายุโรป ว่า “ไม่มีการแสดงความจำนง (ตามมาตรา 50) ก็ไม่มีการเปิดเจรจาใด ๆ” เขาบอกด้วยว่า “ต้องเป็นเราซึ่งเป็นผู้ตัดสินว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป ไม่ใช่พวกที่ปรารถนาจะผละออกจากสหภาพยุโรป”

    ท่าทางเช่นนี้สอดคล้องกับผลการประชุมในกรุงเบอร์ลิน เมื่อวันจันทร์ (27) ของนายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิล ของเยอรมนี, ประธานาธิบดี ฟรังซัวส์ ออลลองด์ ของฝรั่งเศส และนายกรัฐมนตรี มัตเตโอ เรนซี ของอิตาลี

    ผู้นำของ 3 ชาติที่ใหญ่ที่สุดในอียู ภายหลังการถอนตัวออกไปของอังกฤษ ต่างปฏิเสธข้อเสนอแนะจากลอนดอน ที่ต้องการ “ภาพที่ชัดเจน” ของความสัมพันธ์ทางการค้าในอนาคตกับอียู ก่อนเริ่มกระบวนการถอนตัว

    พวกเขาเห็นตรงกันว่า จะไม่มีการพูดคุยอย่างเป็นทางการ หรือไม่เป็นทางการเกี่ยวกับการถอนตัวของอังกฤษ จนกว่าอังกฤษจะยื่นคำร้องขอถอนตัวต่ออียู

    แมร์เคิล, ออลลองด์ และ เรนซี ยังเห็นว่า ยุโรปจำเป็นต้องรับมือความกังวลของประชาชน โดยต้องการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนในการปรับปรุงความมั่นคงปลอดภัย เศรษฐกิจ และอนาคตสำหรับคนหนุ่มสาว ถึงแม้การรีรอลังเลที่จะเริ่มต้นกระบวนการดังกล่าว ทำให้บางประเทศสมาชิกอียู คิดว่า อาจยังพอมีช่องทางเพื่อให้อังกฤษคงอยู่กับอียูต่อ เช่น หัวหน้าพรรครัฐบาลของโปแลนด์ ที่เสนอเมื่อวันจันทร์ว่า สหราชอาณาจักรควรจัดทำประชามติอีกครั้ง ทว่า สมาชิกสายเหยี่ยวในอียู ซึ่งรวมถึงฝรั่งเศส กลับยื่นคำขาดว่า อังกฤษไม่ควรเสียเวลาอีกต่อไป

    ในวันพุธ (29) ซึ่งเป็นวันที่สองของการประชุมซัมมิต ผู้นำ 27 ชาติอียูจะหารือโดยไม่มีคาเมรอน เกี่ยวกับอนาคตของยุโรป ท่ามกลางความกังวลว่าจะเกิดปรากฏการณ์โดมิโนในประเทศที่มีกระแสต่อต้านอียู


    ʡ͵
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ภาพชุดวิกฤตเวเนซุเอลา : วอชิงตันโพสต์รายงาน “สุดสยองตู้เย็น ปชช.เวเนฯ” เปิดมาเจอแต่นมติดก้นเหยือกกับแตงครึ่งลูก ต่อคิว 5 ชม. ปล้นสะดมร้านค้ารายวัน ห้องฉุกเฉิน ER เหมือนห้องเก็บศพ โดย MGR Online 29 มิถุนายน 2559 17:45 น. (แก้ไขล่าสุด 29 มิถุนายน 2559 17:52 น.)

    [​IMG]
    ในตู้เย็นของจอฟเรน โพแลนโก (Joffren Polanco)เด็กชายชาวเวเนฯมีเพียงนมติดก้นเหยือก และแตงครึ่งผล

    เอเจนซีส์/MGR ออนไลน์ - วิกฤตอาหารขาดแคลนทั้งประเทศของเวเนซุเอลา กลายเป็นสภาพความเลวร้ายที่ประจานไปทั่วโลก เมื่อล่าสุดหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์รายงานเมื่อวานนี้ (28 มิ.ย.) ว่าตู้เย็นของประชาชนชาวเวเนซุเอลาทุกวันนี้แทบไม่มีอาหารเก็บอยู่ภายใน นอกจากน้ำและแตงครึ่งลูก หรือนมเกือบติดก้นเหยือก และมะม่วงอีกไม่กี่ลูกสำหรับคนทั้งครอบครัว ท่ามกลางเหตุจลาจลปล้นสะดมร้านค้าอย่างหนักทั่วประเทศ และการรอต่อแถวเข้าคิวซื้อสินค้าเป็นเวลานานโดยที่ยังไม่ทราบเลยว่าในวันนั้นร้านจะนำสินค้าชนิดใดออกมาจำหน่ายบ้าง และสภาพความขาดแคลนลามเข้าสู่ตัวโรงพยาบาลของประเทศ

    หนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์รายงานเมื่อวานนี้ว่า (28 มิ.ย.) เวเนซุเอลาได้กลายเป็นประเทศที่ผู้คนออกมาทำสงครามเพื่อแย่งอาหารเกิดขึ้นในแต่ละวันไปแล้ว หลังจากชาติร่ำรวยบ่อน้ำมันแห่งนี้ประสบปัญหาการขาดแคลนอาหารอย่างหนักต่อเนื่องมานาน

    ในโกดังสินค้าแห่งหนึ่งในกรุงคาราคัส พนักงานต้องเร่งรีบขนถ่ายสินค้าจากตัวรถบรรทุกที่เข้ามาจอดในจุดซึ่งมีเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารถือปืนคุ้มกันอย่างหนาแน่น โดยคนขับรถบรรทุกชาวเวเนฯ ฮวน อูร์เรีย (Juan Urrea) วัย 29 ปี ให้สัมภาษณ์กับนักข่าววอชิงตันโพสต์ว่า “สินค้านี้เป็นเพียงชีสเนยแข็งเท่านั้น” ในขณะที่พนักงานคนอื่นๆกำลังขนถ่ายกองภูเขาไวท์ชีสเวเนซุเอลา queso จำนวนมากออกมาจากรถบรรทุก ซึ่ง อูร์เรียกล่าวต่อว่า “ผมไม่เคยเห็นอะไรเช่นนี้มาก่อน”

    การต่อสู้เพื่อแย่งอาหารในเวเนซุเอลาเกิดขึ้นในร้านค้าที่มีประชาชนกรูเข้าไปเพื่อฉกชิงสินค้าจากภายในร้าน หรือการประท้วงลงบนถนนประกาศความต้องการต่อรัฐบาลของประธานาธิบดีเวเนซุเอลา นิโคลัส มาดูโร ถึงปัญหาสินค้าราคาแพงถีบตัวกว่าหลายเท่า และการไม่มีสินค้าจำหน่าย แต่ในกรณีสำหรับผู้ที่ยังคงมีอันจะกินในดินแดนอเมริกาใต้แห่งนี้จะยังคงสามารถเลือกช็อปกับร้านค้าออนไลน์ที่ถูกสั่งตรงมาจากรัฐไมอามี สหรัฐฯ ส่วนคนชนชั้นกลางในเวเนซุเอลายอมที่จะดื่มกาแฟโดยไม่ใส่นม เลือกทานโปรตีนจากปลากระป๋องมากกว่าสเต๊กเนื้อโคขุน รวมไปถึงลดมื้ออาหารลงเหลือแค่ 2 มื้อจากปกติ 3 มื้อต่อวัน แต่สำหรับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศที่ยากไร้สามารถกระทำได้แค่เก็บมะม่วงจากข้างทางกินประทังชีวิต

    วอชิงตันโพสต์รายงานต่อว่า ความยากจนข้นแค้นของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศพิสูจน์ได้จากตู้เย็นที่ว่างเปล่า เป็นต้นว่า ในตู้เย็นของจอฟเฟรน โปแลนโก (Joffren Polanco) เด็กชายชาวเวเนฯ มีเพียงนมติดก้นเหยือก และแตงครึ่งผลอยู่ในนั้น ในขณะที่ตู้เย็นของอันเดรีย ซีรา (Andrea Sira) เด็กหญิงชาวเวเนฯ วัย 11 ปี พบว่าภายในตู้เย็นของครอบครัวเธอมีแค่น้ำและมะม่วงไม่กี่ผลอยู่ภายใน และภาพของก้นครัวเด็กผู้หญิงชาวเวเนฯ อีกคนหนึ่งที่มีหม้อต้มแยม มันฝรั่งประเภทหนึ่งซึ่งเป็นอาหารอย่างเดียวที่ครอบครัวหนูน้อยใช้รับประทานในช่วงกลางวัน และหากต้องหามาจากตลาดมืดสินค้าจะมีราคาสูงเกิน 1,000 เท่าเมื่อเทียบกับราคาสินค้าในร้านของรัฐบาลเวเนซุเอลา

    นอกจากนี้ยังพบว่า ในตู้เย็นที่เสียแล้วของ ไลดี คอร์โดวา (Leidy Cordova) คุณแม่ชาวเวเนฯ ลูก 5 คนวัย 37 ปี มีเพียงแป้งข้าวโพด 1 ถุงเล็ก และน้ำส้มสายชู 1 ขวดเก็บไว้อยู่ภายในบ้านที่ตั้งอยู่ในคูมานา (Cumaná) จากการรายงานของหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ในวันที่ 20 มิ.ย.ล่าสุด ซึ่งภาพหดหู่ของความหิวโหยของชาวเวเนซุเอลายังถูกตีแผ่ไปทั่วโลกจากการรายงานของสื่ออังกฤษ เมโทร ซึ่งรายงานในปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาว่า ประชาชนชาวเวเนซุเอลาต่างทวีตภาพตู้เย็นในบ้านของตัวเอง เพื่อประจานถึงปัญหาวิกฤตขาดอาหารไปทั่วประเทศ ด้วย #neverasvaciasenvenezuela

    วอชิงตันโพสต์รายงานต่อว่า เป็นเพราะเกิดความหิวโหยอย่างหนักในหมู่ประชาชนจึงทำให้เกิดวิกฤตการปล้นสะดมร้านค้าทั่วประเทศ โดยพบว่าแค่ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2016 มีการพบคดีการปล้นสะดมร้านค้าอย่างอุกอาจ เกิดขึ้นไม่ต่ำกว่า 254 ครั้ง รายงานจากข้อมูลของกลุ่มสังเกตการณ์วิกฤตสังคมเวเนซุเอลา (Venezuelan Observatory of Social Conflict) นอกจากนี้ทางกลุ่มวอตช์ด็อกยังชี้ว่า พบว่ามีตัวเลขการประท้วงต่ออาหารเพิ่มขึ้นในแต่ละเดือนตั้งแต่ต้นปี 2016 โดยพบว่าในเดือนพฤษภาคม มีการประท้วงถึง 172 ครั้ง และทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนหนึ่ง และมีผู้ถูกจับกุมอีกนับร้อยทั่วประเทศ

    แต่กระนั้น วอชิงตันโพสต์เปิดเผยว่า แถวการเข้าซื้อสินค้าขั้นพื้นฐานของประชาชนชาวเวเนซุเอลายังคงยาวขึ้น และใช้เวลานานมากขึ้น โดยหนึ่งในผู้ต่อแถวรอ โยริเล รามอส (Yorilei Ramos)วัย 51 ปีที่ยืนรอต่อคิวซื้อสินค้ากับบุตรสาววัย 9 ปีได้ให้ความเห็นกับสื่อสหรัฐฯ ว่า “พวกเราเข้าคิวต่อแถวเพื่อรอซื้อสินค้า โดยที่ไม่สามารถจะรู้เลยว่าในวันนี้จะมีสินค้าประเภทใดให้เลือกซื้อบ้าง หรือมีอะไรให้ซื้อได้บ้างหากเขายังมีสินค้านำออกมาวาง” และเธอกล่าวต่อไปว่า “เด็กๆ กำลังร้องโยเย และตัวเองก็หิวอย่างหนัก แต่ทว่าดิฉันต้องหันกลับไปบอกกับพวกเขาว่า วันนี้แม่ไม่มีอะไรให้กินนะ” รามอสกล่าวด้วยเสียงเศร้า

    ปัญหาการขาดแคลนสินค้ากับร้านค้าจำหน่ายเกิดขึ้นเสมอ โดยวอชิงตันโพสต์ได้รายงานถึงสภาพการณ์ของร้านแห่งหนึ่งในบาร์โลเวนโต (Barlovento) ที่ทางร้านไม่ได้รับสินค้าอาหารส่งเข้ามาเลยนับตั้งแต่เดือนมกราคมปีนี้ และทำให้ทางร้านแทบไม่มีสินค้าจะจำหน่าย มีเพียงน้ำดื่ม สินค้าอีก 2-3 ชนิด รวมไปถึงน้ำอัดลมจำนวนหนึ่งเท่านั้น และทำให้ลูกค้าส่วนใหญ่ต้องเดินทางไกลเพื่อเข้าไปยังตัวเมืองที่ใหญ่ขึ้น หรือไปยังกรุงคาราคัส เมืองหลวงเพื่อซื้อสิ่งของประทังชีพ

    โดยจากการรายงานของไอริชไทม์สก่อนหน้านี้ชี้ว่า ถึงแม้ประชาชนชาวเวเนซุเอลาจะประสบความสำเร็จสามารถหาร้านค้าที่มีสินค้าจำหน่ายได้แล้ว แต่ใช่ว่าพวกเขาจะซื้อได้หมดทุกอย่าง และเป็นสินค้าในสภาพที่สมบูรณ์ โดยยาเนดี กัซแมน (Yaneidy Guzman) พร้อมบุตรสาวอีก 3 คนได้นำอาหารภายในบ้านที่หาซื้อมาได้แสดงต่อนักข่าวที่บ้านของเธอในกรุงคาราคัสเมื่อวันที่ 22 เม.ย. และพบว่าในครอบครัวนี้มีอาหารเพียงแค่ 9 ประเภท เช่น กล้วยเกือบเน่า 2 ผล แป้งทำอาหาร น้ำมันพืช แครอต และเนื้อสัตว์ถาดเล็กๆ เป็นต้น

    อย่างไรก็ตาม ถึงแม้สภาวการณ์ขาดอาหารของประชาชนเวเนซุเอลาจะเป็นที่รับรู้ไปทั่วโลก แต่กระนั้นรัฐมนตรีต่างประเทศเวเนซุเอลา เดลซี โรดริเกวซ (Delcy Rodriguez) ได้ประกาศในที่ประชุมองค์การรัฐอเมริกัน (OAS)ในสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า “ไม่มีวิกฤตด้านบรรเทาทุกข์เกิดขึ้นในประเทศเวเนซุเอลา”

    ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้เอเอฟพีรายงานว่า แหล่งข่าวเจ้าหน้าที่เวเนซุเอลาให้ข้อมูลว่า เวเนซุเอลาจะได้รับมอบอาหารและสินค้าขั้นพื้นฐานจากสาธารณรัฐตรินิแดดและโตเบโกจำนวน 600 ตันภายใต้ข้อตกลงการค้า โดยมีการจัดส่งล็อตแรกจำนวน จำนวน 68 ตันเข้าสู่เวเนซุเอลาในวันที่ 23 มิ.ย. และส่วนที่เหลือจะถูกจัดส่งทางเรือในสัปดาห์ถัดไป

    [​IMG]

    [​IMG]

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    อียูซัมมิต 27 ชาติลงมติห้าม “อังกฤษ” เข้าตลาดเดียวยุโรปหลัง BREXIT “คาเมรอน” สุดเซ็งผู้นำพรรคแรงงานอังกฤษ “เห็นแก่พระเจ้า ลาออกเถอะ เจรามี คอร์บีน”
    โดย MGR Online 29 มิถุนายน 2559 21:25 น.

    [​IMG]

    เอเอฟพี/เอเจนซีส์ – โดนัลด์ ทัสค์ ประธานคณะมนตรียุโรปออกแถลงการณ์ในวันนี้(29 มิ.ย)ว่าที่ประชุมชาติผู้นำสหภาพยุโรป 27 ชาติลงความเห็นว่า อังกฤษไม่มีสิทธิ์เข้าสู่ตลาดเดียวยุโรปอีกต่อไป เพราะไม่ยอมรับกติกาเคลื่อนย้ายเสรีของสหภาพยุโรป ด้านนายกรัฐมนตรีอังกฤษ เดวิด คาเมรอน ที่ไม่ได้อยู่ในการประชุมอียูในวันนี้ แถลงกดดันผู้นำพรรคฝ่ายค้านอังกฤษ ร้องขอให้เจรามี คอร์บีนลาออก

    เอเอฟพีรายงานวันนี้(29 มิ.ย)ว่า ประธานคณะมนตรียุโรป โดนัลด์ ทัสค์ กล่าวในการแถลงกับสื่อมวลชนในวันพุธ(29 มิ.ย)ว่า “จะไม่มีตลาดเดียวยุโรปแบบทำสำเร็จเพื่ออังกฤษ” และกล่าวต่อว่า “ในที่ประชุมซัมมิต บรรดาผู้นำชาติสมาชิกต่างออกเสียงไปในทางเดียวกันวันนี้ว่า การที่จะสามารถเข้าถึงตลาดเดียวยุโรปได้นั้น มีความจำเป็นต้องยอมรับในกฎเสรีทั้ง 4 ของยุโรป ซึ่งรวมไปถึงกฎที่ว่าด้วยการเคลื่อนย้ายเสรี”

    ทั้งนี้ทัสค์ที่ได้ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุมสุดยอดผู้นำสหภาพยุโรป 27 ชาติสมาชิกออกมาแถลงหลังจากออกจากห้องประชุมแล้ว ซึ่งในที่ประชุมวันพุธ(29 มิ.ย)ไม่มีนายกรัฐมนตรีอังกฤษ เดวิด คาเมรอนเข้าร่วมอยู่ด้วย

    เอเอฟพีรายงานว่า และในการประชุมอียูซัมมิตของ 27 สมาชิกครั้งต่อไปที่จะถูกจัดขึ้นในบราติสลาวา( Bratislava)ในวันที่ 16 กันยายนที่จะถึงนี้ จะยังคงไม่มีอังกฤษเข้าร่วมด้วย โดยในที่ประชุมจะปรึกษาหารือถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหลังจากอังกฤษได้ลงประชามติประกาศถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกสหภายุโรปแล้ว ทัสค์แถลงต่อ

    เชื่อว่า การประชุมจะเกิดขึ้นไม่นานหลังจากที่พรรคคอนเซอร์เวตีฟปาร์ตีอังกฤษมีกำหนดที่จะเลือกผู้ที่จะมารับไม้ต่อจากนายกรัฐมนตรีอังกฤษ เดวิด คาเมรอน ที่ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งในวันศุกร์(24 มิ.ย)รับผิดชอบผลการลงประชามติที่พลเมืองอังกฤษถึง 52% ต้องการให้อังกฤษลาออกจากการเข้าร่วมสมาชิกสหภาพยุโรป

    และในแถลงการณ์ของประธานคณะมนตรียุโรปกล่าวต่อว่า “นี่เป็นการพบปะครั้งแรกของพวกเรา และเป็นการเร็วจนเกินไปที่จะหาข้อสรุปได้ทัน ดังนั้นจึงเห็นสมควรที่เราจะเริ่มต้นคุยการเมืองกับสมาชิกทั้ง 27 ชาติในการประชุมที่จะถูกจัดขึ้นอีกครั้งในวันที่16 กันยายน ในบราติสลาวา เพื่อสนทนากันต่อ”

    เอเอฟพีรายงานว่า นี่เป็นการประชุมสหภาพยุโรปครั้งแรกในรอบ 40 ปีที่ไม่มีอังกฤษเข้าร่วมด้วย

    ซึ่งมีรายงานว่าผู้นำโปแลนด์ได้ออกมาย้ำว่า การเจรจากับอังกฤษในอนาคตจะมาสามารถเริ่มต้นได้จนกว่าอังกฤษจะได้ทำการเริ่มต้นกระบวนการลาออกจากการเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งต้องใช้เวลานานถึง 2 ปีจึงจะเสร็จสมบูรณ์

    แต่อย่างไรก็ตามคาเมรอนได้ประกาศย้ำว่า นายกรัฐมนตรีอังกฤษคนใหม่จะเป็นผู้ที่เข้ามาจัดการเริ่มกระบวนที่ว่านี้

    และในขณะเดียวกันภายคาเมรอนเองยังคงต้องจัดการกับความยุ่งเหยิงการเมืองในประเทศที่เกิดขึ้นเป็นระลอกหลังจากผลการลงประชามติ BREXIT ออกมาแล้ว โดยบีบีซี สื่ออังกฤษรายงานว่า ในช่วงการตอบคำถามของนักข่าวในวันนี้(29 มิ.ย)ทางสื่อข่าวได้ถามถึงบทบาทของผู้นำพรรคฝ่ายค้านแรงงานอังกฤษ เจรามี คอร์บีนในการลงประชามติประกาศแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป

    และทำให้คาเมรอนต้องหมดความอดทนถึงกับกล่าวว่า “เห็นแก่พระเจ้า ลาออกเถอะเจรามี คอร์บีน” ซึ่งสื่ออังกฤษชี้ว่า ความกดดันจะตกอยู่ที่ตัวคอร์บีนมากขึ้นหลังจากที่จะมีการโหวตลงคะแนนไม่ไว้วางใจ ซึ่งทางผู้นำพรรคแรงงานอังกฤษได้ชี้แจงว่า การประกาศลาออกก็เท่ากับเป็นการทรยศต่อสมาชิกของพรรคที่ได้สนับสนุนตัวเขา

    เป็นที่น่าสนใจอดีตผู้นำพรรคแรงงานอังกฤษคนก่อนหน้าคอร์บีน เอ็ด มิลิแบนด์ ได้ออกมาเรียกร้องให้คอร์บีนก้าวลงจากการเป็นผู้นำพรรคฝ่ายค้านด้วยเช่นกัน โดยบีบีซีชี้ว่า ปรากฎการณ์กบฏภายในพรรคแรงงานอังกฤษเกิดขึ้นหลังจากผล BREXIT ออกมา และนายกรัฐมนตรีอังกฤษ เดวิด คาเมรอน ประกาศลาออก

    ทั้งนี้ในการให้สัมภาษณ์คาเมรอนกล่าวว่า ผู้นำพรรคฝ่ายค้านควรตระหนักถึงบทบาทของตัวเองต่อการรณรงค์หาเสียงการลงประชามติ และเสริมต่อว่า “เขาเคยบอกว่าเขาจะทุ่มสุดตัว แต่ผมรู้สึกเลวร้ายที่รู้ว่าคอร์บีนไม่ได้ทำเช่นนั้น”

    ในช่วงการประกาศผลการลงประชามติ มีรายงานว่าสมาชิกบางคนของพรรคแรงงานอังกฤษไม่พอใจในตัวผู้นำเพราะเชื่อว่า คอร์บีนที่ได้ประกาศสู่สาธารณะสนับสนุนการคงอยู่ของอังกฤษร่วมกับสหภาพยุโรปต่อไป แต่ในความเป็นจริงผู้นำฝ่ายค้านไม่พยายามอย่างจริงจังในการรณรงค์ให้ประชาชนชาวอังกฤษและฐานเสียงของพรรคแรงงานสนับสนุนการโหวตคงอังกฤษกับสหภาพยุโรป

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เอาที่สบายใจเลย! รัฐสภาโสมแดงประเคนยศถาบรรดาศักดิ์ใหม่แก่ “คิมจองอึน”
    โดย MGR Online 29 มิถุนายน 2559 22:18 น. (แก้ไขล่าสุด 30 มิถุนายน 2559 10:16 น.)

    [​IMG]
    คิม จองอึน ผู้นำเกาหลีเหนือ

    รอยเตอร์ - สมัชชาประชาชนสูงสุดหรือรัฐสภาเกาหลีเหนือในวันพุธ (29 มิ.ย.) มอบตำแหน่งใหม่แก่คิมจองอึน เพิ่มเติมยศถาบรรดาศักดิ์อันยาวเหยียดของผู้นำคนหนุ่มรายนี้

    สถานีโทรทัศน์แห่งรัฐของเกาหลีเหนือรายงานว่า นายคิมได้เป็นประธานคณะกรรมการกิจการรัฐ หน่วยงานที่ดูเหมือนว่าเพิ่งตั้งขึ้นมาใหม่และไม่เป็นที่ชัดเจนว่ามีหน้าที่อะไร

    นอกจากนี้แล้วเขายังมียศถาบรรดาศักดิ์ ประธานพรรคแรงงานซึ่งเป็นพรรครัฐบาลเกาหลีเหนือ, ประธานคณะกรรมการคนที่ 1 ของคณะกรรมาธิการกลาโหมแห่งชาติ และผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพประชาชนเกาหลี

    คิม ที่เชื่อว่าอยู่ในวัย 30 ต้นๆ เข้าร่วมการประชุมสมัชชาประชาชนด้วยในวันพุธ (29 มิ.ย.) ทั้งนี้เขายังประดับยศนายพลในกองทัพเกาหลีเหนือ และมักถูกอ้างถึง “นายพลของเรา” ในโฆษณาชวนเชื่อและการพูดจาทั่วๆ ไป

    การประชุมสมัชชาประชาชนสูงสุดของเกาหลีเหนือจัดขึ้น 1 หรือ 2 ครั้งต่อปี เพื่ออนุมัติงบประมาณอย่างเป็นทางการหรือจัดวางนโยบายด้านต่างๆ โดยพรรคแรงงาน นอกจากนี้มันยังมีอำนาจอนุมัติยศถาบรรดาศักดิ์ใหม่แก่นายคิมหรือตำแหน่งใหม่ๆ ภายในโครงสร้างผู้นำของเกาหลีเหนือ

    เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน เกาหลีเหนือยิงขีปนาวุธมูซูดัน 2 ลูก เรียกเสียงประณามอย่างรุนแรงจากเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ ฐานละเมิดมาตรการคว่ำบาตรของสหประชาชาติ ที่กำหนดมาเพื่อหยุดยั้งโครงการนิวเคลียร์และพัฒนาการขีปนาวุธของเปียงยาง

    เกาหลีเหนืออ้างว่าขีปนาวุธดังกล่าวคือหวาซอง-10 และบอกว่าการทดสอบไม่ได้ทำให้ความปลอดภัยของเหล่าประเทศเพื่อนบ้านตกอยู่ในความเสี่ยง

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สเปนค้านหัวชนฝาแยกเจรจาสกอตแลนด์เปิดทางอยู่อียูต่อ
    โดย MGR Online 30 มิถุนายน 2559 01:01 น. (แก้ไขล่าสุด 30 มิถุนายน 2559 02:29 น.)

    [​IMG]
    มาเรียโน ราฮอย รักษาการนายกรัฐมนตรีสเปน

    เอเอฟพี - มาเรียโน ราฮอย รักษาการนายกรัฐมนตรีสเปนในวันพุธ(29มิ.ย.) เผยว่ามาดริดจะคัดค้านการแยกเจรจากับสกอตแลนด์ต่ออนาคตของพวกเขาในสหภาพยุโรป หลังสหราชอาณาจักรลงประชามติออกจากกลุ่ม

    สเปนคัดค้านมาช้านานเกี่ยวกับการแยกตัวเป็นเอกราชจากสหราชอาณาจักรของสกอตแลนด์ ด้วยความกังวลว่ามันอาจกลายเป็นแบบอย่างของพวกแบ่งแยกดินแดนในประเทศของตนเอง โดยเฉพาะคาตาลัน แคว้นร่ำรวยที่สุดของแดนกระทิงดุ

    "รัฐบาลสเปนคัดค้านการเจรจาใดๆกับใครก็ตามยกเว้นแต่รัฐบาลอังกฤษ" ราฮอยบอก หลังจากเหล่าผู้นำอียู 27 ชาติ ยกเว้นอังกฤษ ประชุมกันในกรุงบรัสเซลส์ เพื่อหารือเกี่ยวกับผลประชามติแยกตัวจากอียูของสหราชอาณาจักร " สหราชอาณาจักรถอนตัวไปแล้ว และพวกเขาก็เป็นหนึ่งในสหราชอาณาจักร"

    คำกล่าวของนายราฮอย มีขึ้นไม่กี่ชั่วโมงก่อนหน้าที่นายฌอง-โคลด จุงเกอร์ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป มีกำหนดหารือกับนิโคลา สเตอร์เจียน รัฐมนตรีคนที่ 1 ของสกอตแลนด์

    สเตอร์เจียน บอกว่าเธอพร้อมปกป้องสถานะของสกอตแลนด์ในอียูในทุกวิถีทาง ในนั้นรวมถึงจัดลงประชามติแยกตัวเป็นเอกราชอีกครั้งหากจำเป็น

    อย่างไรก็ตามแหล่งข่าวในคณะมนตรียุโรปเผยเมื่อวันอังคาร(28มิ.ย.) ว่านายโดนัลด์ ทัสค์ ประธานคณะมนตรียุโรป ปฏิเสธพบกับรัฐมนตรีคนที่ 1 ของสกอตแลนด์ เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสม

    ในขณะที่สหราชอาณาจักรทั้งหมดโหวตออกจากอียู 52-48 เปอร์เซ็นต์ แต่หากนับเฉพาะชาวสกอตแลนด์แล้ว พบว่ามีการโหวตต้องการอยู่ต่อถึง 62 ต่อ 38 เปอร์เซ็นต์

    ชาวสกอตแลนด์ปฏิเสธแยกตัวเป็นเอกราชในปี 2014 ทว่านับตั้งแต่การโหวตเบร็กซิตเมื่อวันพฤหัสบดี(23มิ.ย.)ที่แล้ว ได้กระพือเสียงเรียกร้องให้จัดลงประชามติอีกครั้ง เพื่อเปิดทางให้สกอตแลนด์มีทางเลือกอยู่ในอียูต่อไป

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    EU เตือนแรง “อังกฤษ” จะเป็นแค่ “ประเทศที่สาม” บีบรับผู้อพยพแลกเข้าถึงการค้าเสรี โดย MGR Online 30 มิถุนายน 2559 03:21 น. (แก้ไขล่าสุด 30 มิถุนายน 2559 09:17 น.)

    [​IMG]
    นายฌอง-โคลด จุงเกอร์ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป(ซ้าย) และนายโดนัลด์ ทัสค์ ประธานคณะมนตรียุโรป ระหว่างการประชุมซัมมิตอียู ณ สำนักงานใหญ่ในกรุงบรัสเซลส์เมื่อวันพุธ(29มิ.ย.) โดยไม่มีตัวแทนจากอังกฤษเข้าร่วมเป็นครั้งแรกในรอบ 40 ปี ตามหลังการโหวตเบร็กซิตเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

    เอเอฟพี - อังกฤษได้ลิ้มรสอนาคตของการอยู่รอบนอกอียูเป็นครั้งแรกในวันพุธ (29 มิ.ย.) ด้วยเหล่าผู้นำยุโรปประชุมกันโดยไม่มีนายกรัฐมนตรี เดวิด คาเมรอน เข้าร่วม และเตือนว่าลอนดอนจำเป็นต้องรับผู้อพยพจากอียูหากต้องการเข้าถึงเขตการค้าเสรีของกลุ่ม

    ผู้นำของรัฐบาลชาติต่างๆ ในอียู ซึ่งประชุมกันโดยไม่มีตัวแทนจากอังกฤษเข้าร่วมเป็นครั้งแรกในรอบ 40 ปี ระบุในถ้อยแถลงว่าอังกฤษจะได้รับการปฏิบัติในฐานะ “ประเทศที่สาม” ทั้งด้านสิทธิและพันธสัญญาต่างๆ

    นายโดนัลด์ ทัสค์ ประธานอียูแถลงข่าวว่า การเข้าถึงตลาดเดียวอันใหญ่โตมโหฬารของอียูซึ่งมีประชากรกว่า 500 ล้านคน จำเป็นต้องยอมรับเสรีภาพทั้ง 4 ในนั้นรวมถึงเสรีภาพในการเคลื่อนย้ายเสรี ความเห็นดังกล่าวก่อความผิดหวังใหญ่หลวงแก่ฝ่ายรณรงค์เบร็กซิต ที่ให้สัญญาจำกัดการรับผู้ลี้ภัยจากอียู พร้อมรับประกันกับบริษัทต่างๆ ของอังกฤษว่าจะยังคงสามารถขายสินค้าและบริการแก่สหภาพยุโรปได้ง่ายตามปกติ

    ด้านนางอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนีเตือนเช่นกันว่า ลอนดอนจะไม่สามารถเลือกเจรจาเงื่อนไขต่างๆ ของการถอนตัวได้ตามใจชอบ

    มีความกังวลว่าพวกต่อต้านยุโรปจะเติบโตขึ้นในรัฐสมาชิกหลายประเทศ ซึ่งการปล่อยให้อังกฤษเลือกเงื่อนไขต่างๆ ในการถอนตัวตามที่ปรารถนามากเกินไปจะกระพือผลกระทบแบบโดมิโนต่อชาติอื่นๆ ในการแยกตัวจากอียู

    คาเมรอน ซึ่งเข้าร่วมประชุมด้วยในวันอังคาร (28 มิ.ย.) ที่อาจเป็นซัมมิตอียูในบรัสเซลส์ครั้งสุดท้ายของเขา กำลังอยู่ภายใต้แรงกดดันอย่างหนักให้เริ่มกระบวนการถอนตัวอย่างทันทีทันใด ด้วยการแจ้งกับอียูว่าอังกฤษต้องการแยกตัวออกไป

    อย่างไรก็ตาม นายคาเมรอนขัดขืนแรงกดดันที่ต้องการให้เริ่มใช้กลไกตามมาตรา 50 เพื่อออกจากอียูในทันที โดยบอกว่าจะมอบหน้าที่นี้แก่นายกรัฐมนตรีคนต่อไป ซึ่งกว่าจะมีการเสนอชื่อคงต้องรออย่างน้อยๆ จนถึงวันที่ 9 กันยายน

    เหล่าผู้นำอียูบอกว่า จนกว่าจะได้รับแจ้ง การเจรจาใดๆ ก็ไม่สามารถเริ่มต้นได้ ไม่ว่าจะแบบเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ ต่อการกำหนดความสัมพันธ์ใหม่ระหว่างอียูกับอังกฤษ ซึ่งกระบวนการนี้คาดว่าต้องใช้เวลาอย่างน้อยๆ 2 ปี

    ในความพยายามปกป้องการถอนตัวเพิ่มเติม เหล่าผู้นำอียูเห็นพ้องในวันพุธ (29 มิ.ย.) ว่าพวกเขาจำเป็นต้องดำเนินการมากขึ้นในการต่อสู้สยบความไม่พอใจต่อเรื่องวุ่นวายต่างๆ ในปัจจุบัน “ยุโรปคาดหมายให้เราทำให้ดีกว่าเดิม ทั้งด้านมอบความปลอดภัย การงานและการเติบโต เช่นเดียวกับความหวังสำหรับอนาคตที่ดีขึ้น” ถ้อยแถลงร่วมระบุ “เสียงสะท้อนทางการเมืองมอบแรงกระตุ้นสำหรับปฏิรูปเพิ่มเติม”

    ขณะเดียวกัน นิโคลา สเตอร์เจียน รัฐมนตรีคนที่ 1 ของสกอตแลนด์ เผยว่า เธอรู้สึกมีกำลังใจหลังได้พูดคุยกับเจ้าหน้าที่อียู ในการปกป้องสถานะของสกอตแลนด์ในอียูตามหลังเบร็กซิต

    ในขณะที่สหราชอาณาจักรทั้งหมดโหวตออกจากอียู 52-48 เปอร์เซ็นต์ แต่หากนับเฉพาะชาวสกอตแลนด์แล้ว พบว่ามีการโหวตต้องการอยู่ต่อถึง 62 ต่อ 38 เปอร์เซ็นต์

    ชาวสกอตแลนด์ปฏิเสธแยกตัวเป็นเอกราชในปี 2014 ทว่านับตั้งแต่การโหวตเบร็กซิตเมื่อวันพฤหัสบดี (23 มิ.ย.) ที่แล้ว ได้กระพือเสียงเรียกร้องให้จัดลงประชามติอีกครั้ง เพื่อเปิดทางให้สกอตแลนด์มีทางเลือกอยู่ในอียูต่อไป

    อย่างไรก็ตาม แม้รับประกันว่าจะมีการจัดลงประชามติอีกรอบและผลลัพธ์น่าจะโอนเอียงไปทางการแยกตัวจากสหราชอาณาจักร แต่การได้สถานะสมาชิกอียูของสกอตแลนด์ก็ยังมิอาจการันตีได้

    มาเรียโน ราฮอย รักษาการนายกรัฐมนตรีสเปนในวันพุธ (29 มิ.ย.) เผยว่า มาดริดจะคัดค้านการแยกเจรจากับสกอตแลนด์ต่ออนาคตของพวกเขาในสหภาพยุโรป ด้วยความกังวลว่ามันอาจกลายเป็นแบบอย่างของพวกแบ่งแยกดินแดนในประเทศของตนเอง โดยเฉพาะคาตาลัน แคว้นร่ำรวยที่สุดของแดนกระทิงดุ

    EU
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    China Xinhua News

    รัสเซียชี้ เรือพิฆาตสหรัฐฯ ละเมิดข้อตกลงระหว่างประเทศ

    [​IMG]

    เมื่อวันที่ 28 มิ.ย.ที่ผ่านมา กระทรวงกลาโหมรัสเซียประกาศว่า เรือพิฆาตสหรัฐฯได้เคลื่อนตัวเข้าใกล้กับเรือรบของรัสเซียในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งถือเป็นการละเมิดข้อตกลงระหว่างประเทศและข้อตกลงทวิภาคี

    "เมื่อวันที่ 17 มิถุนายนที่ผ่านมา Gravely เรือพิฆาตติดขีปนาวุธนำวิถีของสหรัฐฯได้ประจัญหน้ากันอย่างใกล้ชิดกับ Yaroslav Mudry เรือฟริเกตของรัสเซีย ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนฝั่งตะวันออก ในระยะห่างราว 60-70 เมตร จากท่าเรือ และมีระยะห่างจากเรือ(ของรัสเซีย) ประมาณ 180 เมตร" กระทรวงประกาศ

    นอกจากนี้ ยังมีการประกาศอีกว่าเรือรบรัสเซียได้แล่นอยู่ในน่านน้ำสากล และเคลื่อนตัวไปด้วยความเร็วคงที่ โดยไม่ได้มีจุดประสงค์ที่จะดำเนินการซ้อมรบเพื่อก่อให้เกิดอันตรายต่อเรือของสหรัฐฯ

    กระทรวงยังกล่าวหาผู้บัญชาการทหารและบรรดาลูกเรือของเรือพิฆาตสหรัฐฯ ที่ได้ "ละเมิด" กฎข้อบังคับระหว่างประเทศ สําหรับป้องกันเรือโดนกันในทะเล และข้อตกลงระหว่างรัฐบาลรัสเซีย-สหรัฐฯ เพื่อหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในทะเล ซึ่งได้ลงนามไว้ในปีค.ศ. 1972

    "เหตุการณ์นี้แสดงให้เห็นว่ากะลาสีเรือของสหรัฐฯได้ละเลยจนลืมหลักการพื้นฐานของการรักษาความปลอดภัยการเดินเรือและไม่ได้ใคร่ครวญถึงผลกระทบของการซ้อมรบที่จะก่อให้เกิดอันตรายในบริเวณที่มีการเดินเรืออย่างหนาแน่น" กระทรวงประกาศ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    China Xinhua News

    ตุรกีจะได้เข้าร่วม “สหภาพยุโรป”หรือไม่

    [​IMG]

    จากการรายงานของสื่อต่างประเทศ ประธานาธิบดีตุรกีแนะนำว่าให้ใช้วิธีลงประชามติในการตัดสินว่าตุรกีจะเข้าร่วมกับสหภาพยุโรป(อียู)หรือไม่ ซึ่งในวันที่ 30 มิ.ย. ที่จะถึงนี้ จะมีการจัดการประชุมหารือร่วมกันระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศตุรกีและนายฟรานส์ ทิมเมอร์มานส์รองประธานคณะกรรมาธิการยุโรปลำดับที่ 1 เกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างละเอียด

    ภายใต้สถานการณ์ที่ค่อนข้างระส่ำระสายอันเนื่องมาจากการลงประชามติถอนตัวออกจากอียูของอังกฤษเช่นนี้ เหตุใดตุรกีจึงยังหยัดยืนว่าจะเข้าร่วมในอียู และจะประสบความสำเร็จหรือไม่?

    【ตุรกีชี้อียู “กลืนน้ำลายตัวเอง”】
    สำนักข่าวสำนักข่าวอนาโตเลียของตุรกี รายงานเมื่อไม่นานมานี้เกี่ยวกับเรื่องที่นายเรเจป ไตยิป เออร์โดกันประธานาธิบดีตุรกี ตำหนิติเตียนท่าทีของสหภาพยุโรปเรื่องการเข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปของตุรกี โดยเออร์โดกันกล่าวว่า ตุรกีก็สามารถใช้วิธีลงประชามติแบบที่อังกฤษทำได้ในการตัดสินใจว่าควรจะดำเนินขั้นตอนการเข้าร่วมเป็นสมาชิกอียูต่อไปหรือไม่

    ในรายงานข่าวของสำนักข่าว AFP ได้อ้างอิงการสำรวจความเห็นประชาชนในช่วงเร็วๆนี้ ว่าจำนวนชาวตรกีที่สนับสนุนให้ตุรกีเข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปนั้นมีไม่ถึงครึ่ง ซึ่งถ้าเทียบกับจำนวนผู้สนับสนุนเมื่อ 10 ปีก่อน นับว่าลดลงอย่างมาก

    เนื่องจากแรงกดดันที่มาจากผู้อพยพ สหภาพยุโรปจึงได้เริ่มหารือกันถึงประเด็นการเข้าร่วมเป็นสมาชิกอียูของตุรกีอีกครั้งเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา และได้มีการบรรลุข้อตกลงร่วมกันในเรื่องของการรับมือกับปัญหาวิกฤติผู้ลี้ภัย โดยตุรกีตกลงที่จะรับผู้ลี้ภัยที่ที่ถูกส่งตัวกลับรวมถึงการแลกเปลี่ยนผู้ลี้ภัย โดยอียูจะให้เงินช่วยเหลือจำนวน 6 พันล้านยูโรแก่ตุรกี เพื่อเป็นการตอบแทนในการจัดการดูแลผู้ลี้ภัยเกือบ 3 ล้านคน อีกทั้งอียูก็ได้รับปากว่าประมาณเดือนมิถุนายนนี้จะให้ฟรีวีซ่าแก่ประชาชนชาวตุรกีพร้อมสัญญาว่าจะเร่งขั้นตอนการเจราจารับตุรกีเข้าเป็นสมาชิกให้มีความรวดเร็วมายิ่งขึ้นในขณะกล่าวสุนทรพจน์ เออร์โดกันกล่าวว่า ตุรกีได้รับผู้ลี้ภัยชาวซีเรียและอิรักทั้ง 3 ล้านคนไว้แล้ว แต่ทว่า “อียูกลับไม่ได้ทำตามสัญญาที่ให้ไว้”

    【แรงดึงดูดที่ทำให้ตุรกีอยากเข้าร่วมกับอียู】
    ตุรกีมีความต้องการอยากเข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปมานานแล้ว แต่เนื่องจากตุรกีไม่ยอมรับประเทศไซปรัส ทำให้การเจรจาเข้าร่วมยุโรปเมื่อเดือนตุลาคม ปี 2005 ต้องสะดุดอยู่หลายครั้ง ต่อมาในเดือนธันวาคม ปี 2013 ตุรกีและอียูเริ่มเจรจากันเรื่องการอำนวยความสะดวกด้านวีซ่า โดยตุรกีจะต้องมีคุณสมบัติครบทั้ง 72 ประการ ชาวตุรกีจึงจะสามารถเข้ายุโรปได้โดยไม่ต้องทำวีซ่า ซึ่งในนั้นมีอยู่ 5 ข้อที่ตุรกีไม่เห็นด้วย ทำให้ทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงได้

    และตอนนี้ แม้ว่าอียูจะพยายามยืดการเจรจาข้อตกลงฟรีวีซ่าออกไป แต่เหตุใดตุรกีจึงยังคงอยากจะเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของอียู นาย หนาน จิน ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยปัญหายุโรปประจำมหาวิทายาลัยเหรินหมินของจีนกล่าวว่า การเข้าร่วมเป็นสมาชิกอียูของตุรกีนั้นมีผลประโยชน์ที่น่าดึงดูดอยู่หลายประการ

    ด้านการเมือง การเข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปจะทำให้ตุรกีสามารถรักษาพื้นฐานของ การแยกศาสนาออกจากรัฐ ความเป็นประชาธิปไตย การใช้ระบบกฎหมาย เพื่อผลักดันการปฏิรูปทางการเมืองได้ นอกจากนี้อียูก็ยังเป็นคู่ค้าที่สำคัญที่สุดของตุรกี ตุรกีจึงต้องการที่จะกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าที่มีกับอียู จากตัวเลขในปี 2015 ปริมาณการส่งออกสินค้าของตุรกีไปยัง เยอรมัน อังกฤษ และอิตาลี คิดเป็นร้อยละ9.3 7.3 และ4.8 ของการส่งออกของทั้งประเทศ ซึ่งติดอยู่ในอันดับที่ 1 2 และ 4 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด

    ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การเข้าร่วมกับอียูจะทำให้ตุรกีสามารถขยายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศออกไปได้กว้างขึ้น ทำให้ตุรกีกลายเป็นสะพานเชื่อมระหว่างกลุ่มประเทศอิสลามและกลุ่มประเทศตะวันตก และใช้เวทีของอียูเพิ่มบทบาทของตัวเองในเวทีระหว่างประเทศ

    【เกมจะยังคงดำเนินต่อไป】
    สำนักข่าว AFP รายงานว่า ในการประชุมเจรจาที่จะจัดขึ้นในวันที่ 30 มิ.ย. นี้ อียูจะเริ่มคุยกับตุรกีในประเด็นการเงินและงบประมาณในเรื่องการเข้าร่วมเป็นสมาชิกอียูของตุรกี

    อย่างไรก็ดีมีผู้เชี่ยวชาญออกมาแสดงความเห็นว่า ตุรกียังคงมีปัญหาอีกมากมายที่ต้องแก้ไข ทำให้จะยังคงไม่สามารถเข้าร่วมเป็นสมาชิกอียูได้ภายในระยะเวลาอันสั้น โดยที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ ความเห็นที่มีต่อตุรกีของฝรั่งเศสและเยอรมันนั้นขัดแย้งกัน โดยเยอรมันมีแนวโน้มว่าจะรับตุรกีเข้ามา แต่ฝรั่งเศสนั้นยังคงมีท่าทีที่ค่อนข้างลบ อีกทั้งปัญหาไซปรัสก็เป็นสิ่งที่ทำให้ตุรกีกับกรีซมีความขัดแย้งกัน ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งอุปสรรคในการเข้าร่วมอียูของตุรกี

    ส่วนปัญหาที่เด่นชัดและส่งผลกระทบต่อตุรกีโดยตรงในตอนนี้คือวิกฤติผู้ลี้ภัย เพราะตุรกีเป็นประตูทางเข้าสู่ยุโรปของผู้ลี้ภัยในตะวันออกกลาง ประเทศยุโรปจึงกังวลว่าตุรกีจะกลายเป็นศูนย์กลางการส่งออกผู้ลี้ภัยนั่นเอง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ปอกเปลือก ทรราช

    บทสัมภาษณ์คำต่อคำมุมมองของประชาชนชาวตุรกีต่อกรณีแอร์โดกันส่งจดหมายขอโทษรัสเซียที่ยิง Su-24 ตกในซีเรีย, ตามมาติดๆ นายกฯตุรกีร่อนจดหมายอีกหนึ่งฉบับถึงนายกฯรัสเซียบอกว่าจะยอมจ่ายค่าเสียหายชดเชยกรณี Su-24 ให้

    [​IMG]

    --------------

    + เล่าความหลังโดยย่อ
    -------------
    หลังจากที่ทำเนียบประธานาธิบดีวังเครมลินเปิดเผยจดหมายที่ปธน.แอร์โดกันส่งถึงปธน.ปูตินเพื่อขอโทษกรณีที่ตุรกีส่งเครื่องบิน F-16 ไปลอบยิงเครื่องบินทิ้งระเบิด Su-24 ของรัสเซียซึ่งอยู่ในภารกิจทิ้งระเบิดใส่กลุ่มก่อการร้ายในซีเรียตกและนักบินรัสเซียถูกกลุ่มติดอาวุธลูกน้องของตุรกีสังหารเสียชีวิตหนึ่งนายหลังจากโดดร่มออกจากเครื่องบิน รัสเซียส่งชุดเฉพาะกิจเข้าไปช่วยเหลือนักบินอีกหนึ่งนายที่รอดชีวิต

    แต่ชุดเฉพาะกิจของรัสเซียกลับถูกกลุ่มติดอาวุธเด็กของตุรกีและสหรัฐที่อ้างว่าเป็นพวกกบฏสายกลางซีเรียโจมตีอย่างหนักทำให้ทหารรัสเซียเสียชีวิตในการปฏิบัติภารกิจกู้ภัยในครั้งนั้นหนึ่งนาย รัสเซียตอบโต้ตุรกีด้วยการแซงชั่นทางเศรษฐกิจ และส่งเครื่องบินรบไปทิ้งระเบิดโจมตีขบวนรถขนน้ำมันเถื่อนจากซีเรียที่จะเข้าไปในตุรกีเป็นจำนวนมาก และเปิดทางให้รัสเซียมีความชอบธรรมในการส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศ S-400 เข้าไปประจำการในซีเรียด้วย ทำให้เครื่องบินรบของตุรกีเป็นหมันทันที ไม่กล้าที่จะเข้าไปซ่าในน่านฟ้าของซีเรียอีก

    ที่แย่ก็คือธุรกิจด้านการท่องเที่ยวของตุรกีตายสนิท เพราะว่ารัสเซียไม่ส่งนักท่องเที่ยวของตนเองเข้าไปในตุรกีอีกเลย การค้าขายส่วนใหญ่ระหว่างตุรกีกับรัสเซียหยุดชะงัก สุดท้ายแอร์โดกันเห็นว่าขืนปล่อยไว้แบบนี้ตุรกีอ่วมจมธรณีแน่ จึงส่งจดมหมายไปคุกเข่าอ้อนวอนขอคืนดีกับรัสเซียในวันที่ 27 มิ.ย.59 คราวนี้ RT สื่อฯรัสเซียก็เข้าไปทำข่าวด้วยการขอสัมภาษณ์ประชาชนชาวตุรกีตามท้องถนนในประเทศตุรกีว่าคิดอย่างไรกับกรณีนี้ ได้รับคำตอบดังต่อไปนี้...

    + บทสัมภาษณ์ประชาชนชาวตุรกี
    -------------
    Sukran Bilici ชาวตุรกีในกรุงอังการา: "ฉันปรารถนาที่จะให้สิ่งที่เลวร้ายเหล่านี้ไม่เคยเกิดขึ้นเลย และเขา (แอร์โดกัน) ก็ไม่ควรที่จะอยู่ในฐานะที่จะต้องขอโทษ (apologise) ด้วย ฉันไม่รู้หรอกว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร รู้แต่ว่าเขา (แอร์โดกัน) ไม่เคยกล่าวขอโทษใครมาก่อนเลย แต่เขาก็ได้กล่าวขอโทษปธน.ปูตินไปแล้ว"

    (I wish that these bad things had never have happened and he shouldn't be in a position to apologise. I don't know how it has happened, that he never apologised to anybody else; but to Putin he did.)

    Enver Sakin ชาวตุรกีในกรุงอังการาอีกคน: "กฎของการเผชิญหน้ากัน (/สู้รบกัน) (rules of engagement) ไม่ควรนำมาใช้ระหว่างประเทศที่เป็นพันธมิตรด้วยกันเอง หากคุณมีความขัดแย้งหรือปัญหากับประเทศหนึ่ง ดังนั้นกฎต่างๆ ในการเผชิญหน้ากันก็สามารถที่จะนำมาใช้ได้ การใช้กฎเหล่านี้กับประเทศที่เป็นพันธมิตร ไม่มีอะไรมากไปกว่าการหลอกลวงประชาชน (Applying these rules to an allied country is nothing more than conning the public.) ประชาชนไม่ได้เชื่อถือในกฎของการเผชิญหน้าเหล่านี้ ไม่เชื่อถือในการขอโทษครั้งนี้ด้วย นี่เป็นของปลอม (/เรื่องโกหก) ที่กำลังป้อนให้กับประชาชน (This apology is not convincing either. This is another fake thing that he is feeding the public with.)" [นั่นคือบางมุมมองจากประชาชนชาวตุรกีบางคน - ผู้แปล]

    Enver Sakin (ชาวตุรกีกรุงอังการา): "เมื่อคุณมองย้อนไปที่ประวัติศาสตร์ของรัสเซีย พวกเราก็จะรู้ว่าหากคุณได้ทำบางอย่างที่ผิดต่อรัสเซีย ความสัมพันธ์ต่างๆ จะไม่ปรกติโดยปราศจากชดใช้สำหรับสิ่งนั้น เว้ากันซื่อๆ เลยนะ (frankly) การขอโทษครั้งนี้ มันไม่ใช่การขอโทษที่เหมาะสมเท่าไรนัก มันไม่มีการไม่น่าไว้วางใจ (…it has no conclusiveness.) ผมเชื่อว่ารัสเซียจะเรียกคืนค่าเสียหายที่ประชาชนชาวตุรกีจะต้องจ่ายในทางใดทางหนึ่ง ผมไม่เชื่อว่าปัญหานี้จะได้รับการแก้ไขด้วยการขอโทษเพียงอย่างเดียวเท่านั้น (I don't think this issue will be solved by an apology alone.)" [นั่นคือมุมมองของชาวตุรกีบางคนที่แอร์โดกันฟังแล้วอาจจะรู้สึกห่อเหี่ยวหัวใจและชวนให้สิ้นหวังบ้าง คราวนี้มาดูมุมมองที่ดูเหมือนจะเชียร์แอร์โดกันบ้างนะครับ - ผู้แปล]

    Muammer Asil (ชาวตุรกีกรุงอังการา) : "นี่เป็นบางอย่างที่ดีมากสำหรับประเทศของพวกเรา สำหรับชาติของพวกเรา Tayyip Erdogan ไม่ได้ขอโทษในนามของตัวเขาเอง (แต่) เขาขอโทษในนามของประเทศนี้ ผมก็ขอขอบคุณกับความพยายามของเขาก็เท่านั้น ไม่มีอะไรนอกจากนี้"

    Muzaffer Yanan (ชาวตุรกีกรุงอังการา) : "ผมคิดว่านี่เป็นเรื่องที่ดี ผมคิดว่าท้ายที่สุดแล้วมันจะเป็นผลดีต่อการท่องเที่ยว พวกเราคิดว่ารายได้ของพวกเราในปีนี้ไม่ค่อยจะดี เนื่องจากสถานการณ์ที่เกี่ยวกับรัสเซีย ผมคิดว่าจดหมายฉบับนี้จะช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้ระหว่างพวกเรากับรัสเซียได้ บางทีพวกเขา (นักท่องเที่ยวชาวรัสเซีย) อาจจะกลับมาอีกครั้งก็ได้"

    ปิดท้ายด้วย Nimet Sen (ชาวตุรกีกรุงอังการา) : "ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงหรอกค่ะ เพราะว่าตุรกีจะยังคงเป็นอยู่แบบนี้ จะไม่เปลี่ยนแปลงอะไร พวกเรากำลังหัวทิ่มจวนจะถึงก้นบึ้งในแต่ละวันอยู่แล้ว (Nothing will change. Since Turkey will remain like this, nothing will change. We are heading nearer to the bottom ever single day.)" [เธอประชดแอร์โดกันหรือเปล่านี่? - ผู้แปล]

    + นายกรัฐมนตรีตุรกีส่งจดหมายถึงนายกฯรัสเซีย พร้อมจะจ่ายชดเชยค่าเสียหายจากการที่ตุรกียิง Su-24 ตกในซีเรีย
    -------------
    คราวนี้ดูการเคลื่อนไหวอีกระลอกหนึ่งจากรัฐบาลตุรกีบ้างนะครับ วันที่ 28 มิ.ย.59 Sputnik news พาดหัวข่าวว่า "ตุรกีพร้อมที่จะจ่ายชดเชยสำหรับการยิงเครื่องบินรบของรัสเซียตกในซีเรีย" (Turkey Ready to Pay Compensation for Downed Russian Jet in Syria)

    นาย Binali Yildirim นายกรัฐมนตรีของตุรกีล่าวในรายการสถานีโทรทัศน์ TRT ของรัฐบาลตุรกีว่า "เนื้อหาในจดหมายก็ชัดเจนอยู่แล้ว พวกเราแสดงความเสียใจ (regret) และพวกเราก็จะจ่ายเงินชดเชย (compensation) [สำหรับเครื่องบินรบที่ถูกยิงตก] หากว่ามันจำเป็น ทั้งสองประเทศกำลังแสวงหาการปรับความสัมพันธ์ให้เป็นปรกติ ในใจผมนั้น (ผมคิดว่า) พวกเราได้มาถึงกระบวนการบางอย่างแล้ว" Sputnik รายงาน

    […if it is necessary. (หากมันจำเป็น) งั้นก็ไม่ต้องจ่ายก็ได้ หากคิดว่าไม่จำเป็น เพียงแต่การส่งจดหมายที่ดูเหมือนไม่เต็มใจการการกล่าว "ขอโทษ" แต่เล่นแง่ว่า "เสียใจ" ก็แสดงให้เห็นได้ชัดเจนว่าตุรกียังไม่พร้อมที่จะสานสัมพันธ์กับรัสเซียแบบเต็มใจ เมื่อคุณไม่เต็มร้อยในมิตรภาพกับคนอื่น แล้วคุณจะคาดหวังให้คนอื่นเต็มร้อยกับคุณได้อย่างไร? - ผู้แปล]

    RT news รายงานว่า นาย Binali Yildirim นรม.ของตุรกีได้เขียนจดหมายถึง นรม. Dmitry Medvedev ของรัสเซียโดยกล่าวว่า "ในอนาคตอันใกล้นี้ ความร่วมมือและความสัมพันธ์ต่างๆ ระหว่างสองประเทศจะบรรลุถึงระดับที่เป็นสาระสำคัญเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของประชาชนของพวกเรา"

    นาย Yildirim ได้กล่าวกับผู้สื่อข่าวในสภาเมื่อวันอังคารนี้ว่า "กรุงอังการาจะไม่จ่ายเงินค่าเสียหาย (reimburse) ให้กับรัสเซียเนื่องจากการยิงเครื่องบิน (ของรัสเซีย) ตก" อย่างไรก็ตาม หนึ่งวันก่อนหน้านี้ นาย Yildirim ได้กล่าวว่า "ตุรกีพร้อมที่จะจ่ายเงินชดเชยหากจำเป็น (Turkey was ready to pay compensation if necessary)." โดยกล่าวอ้างว่า กรุงมอสโคว์และกรุงอังการาจะปัดเรื่องนี้ไปไว้ข้างหลัง และจะเดินหน้าตามเส้นทางของพวกเรา (both Moscow and Ankara "will put this incident behind us and continue on our path.")

    [เป็นไงครับ ลักษณะลิ้นสองแฉกของพวกนักการเมืองตุรกี ไม่ว่าตัวใหญ่ตัวเล็กเหมือนกันหมด นี่ขนาดไปง้อรัสเซียนะ ยังทำอวดดีอวดเบ่งใส่เขาขนาดนี้ ต่อหน้าสื่อฯก็จะพูดแบบนี้แหละ แต่ลับหลังสื่อฯนี่คิดว่าแทบจะคลานเข้าไปกราบเท้าปูตินแน่ๆ แบบนี้มันต้องเจออีกซักดอกใช่ไหมครับท่านปูติน - ผู้แปล]

    วันที่ 28 RT news พาดหัวข่าวว่า "ปธน.ปูตินจะยกหูโทรศัพท์คุยกับแอร์โดกรวยในวันพุธนี้ - วังเครมลินกล่าว" (Putin to have phone conversation with Erdogan on Wednesday – Kremlin)

    นาย Dmitry Peskov โฆษกทำเนียบประธานาธิบดีรัสเซียกล่าวกับผู้สื่อข่าวเมื่อวันอังคารนี้ว่า "การสนทนากันทางโทรศัพท์ระหว่างประธานาธิบดีปูติน และประธานาธิบดีแอร์โดกันจะมีขึ้นในวันพรุ่งนี้ [วันพุธ] ริเริ่มโดยรัสเซีย"

    [คราวนี้ก็รอดูว่ารัสเซียจะบีบคอไก่งวงอย่างไรบ้าง จะขอโทษจริงๆ อย่างเป็นทางการไหม? จะชดเชยค่าเสียหายให้กับกองทัพอากาศรัสเซีย และญาติของนักบินที่เสียชีวิตอย่างไร? จะดำเนินคดีกับมือสังหารนักบินรัสเซียที่ตอนนี้อาศัยอยู่ในประเทศตุรกีอย่างไร จะยอมส่งตัวมาขึ้นศาลในประเทศรัสเซียไหม? แก๊งนั่นก่อเหตุฆ่านักบินรัสเซียในซีเรียอ้างว่าเป็นพวกกบฏซีเรีย แต่ไปขึ้นศาลที่ตุรกี ทางการตุรกีไม่ยอมส่งตัวมาดำเนินคดีในรัสเซีย เป็นเรื่องที่ตลกมาก และดูเหมือนว่ารัฐบาลตุรกีก็กำลังอุ้มและให้ท้ายกลุ่มหัวรุนแรงติดอาวุธกลุ่มนั้นซะด้วย พรุ่งนี้รู้กัน... - ผู้แปล]

    The Eyes
    เพจ: ปอกเปลือก ทรราช
    https://www.facebook.com/fisont
    https://vk.com/theeyesproject
    28/06/2559
    ----------
    https://www.youtube.com/watch?v=8me6MQZKg9M
    Turkey Ready to Pay Compensation for Downed Russian Jet in Syria
    https://www.rt.com/news/348665-putin-erdogan-phone-conversation/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ปอกเปลือก ทรราช

    <iframe width="640" height="360" src="https://www.youtube.com/embed/8me6MQZKg9M" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>

    นี่คือคลิปสัมภาษณ์ประชาชนชาวตุรกีในกรุงอังการาโดยสำนักข่าว RT ของรัสเซีย เกี่ยวกับการที่แอร์โดกรวยเขียนจดหมายขอโทษปูตินกรณีตุรกีแอบยิงเครื่องบินทิ้งระเบิด Su-24 ของรัสเซียตก ตามที่แปลเป็นภาษาไทยให้อ่านในโพสต์หลัก (27 มิ.ย.59)
    --------------
    https://www.youtube.com/watch?v=8me6MQZKg9M
     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ปอกเปลือก ทรราช

    แถลงการณ์สรุปผลการคุยกันทางโทรศัพท์ระหว่างปูตินกับแอร์โดกัน 29 มิถุนายน 2559

    [​IMG]

    ----------

    หลังจากที่ปธน.แอร์โดกันได้ส่งจดหมายถึงปธน.ปูตินเพื่อยอม "ขอโทษ" ที่เครื่องบินรบ F-16 ของตุรกียิงเครื่องบินทิ้งระเบิด Su-24 ของรัสเซียตกในน่านฟ้าของซีเรียเพื่อขอคืนดีกับรัสเซียเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา และปูตินก็ประกาศว่าจะโทรศัพท์ไปคุยกับแอร์โดกันในวันพุธ ประมาณว่าดูซิว่าปธน.ของตุรกีมีความจริงใจมากแค่ไหน และต่อไปนี้เป็นแถลงการณ์จากพระราชวังเครมลินทำเนียบประธานาธิบดีของรัสเซียซึ่งเผยแพร่ในเว็บไซต์อย่างเป็นทางการ ขอแปลเป็นภาษาไทยดังต่อไปนี้...

    + การสนทนาทางโทรศัทพ์กับประธานาธิบดี Recep Tayyip Erdogan ของตุรกี
    ----------
    ในความริเริ่มจากรัสเซีย ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ได้มีการสนทานาทางโทรศัพท์กับประธานาธิบดี Recep Tayyip Erdogan ของตุรกี (29 มิ.ย.59 เวลา 14:10 น.)

    ปธน.ปูติน ได้แสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งหลังจากการโจมตีการจากผู้ก่อการร้ายที่สนามบิน (Ataturk) เมืองอิสตันบูล ซึ่งได้ก่อให้เกิดการสูญเสียอย่างหนัก ปูตินได้ส่งผ่านคำพูดที่แสดงถึงความเห็นอกเห็นใจต่อครอบครัวของเหยื่อ และขอผู้ที่ได้รับบาดเจ็บได้รับการฟื้นฟูโดยเร็ว (/ขอให้หายเป็นปรกติโดยเร็ว) ประธานาธิบดีทั้งสองท่านได้เน้นย้ำถึงความต้องการที่จะทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อต่อสู้กับภัยคุกคามจากผู้ก่อการร้ายที่เป็นอันตรายต่อทุกประเทศ

    ปธน.ปูตินได้กล่าวว่า จดหมายที่ตนได้รับจากประธานาธิบดีของตุรกีได้เปิดทางสำหรับเอาชนะวิกฤตในความสัมพันธ์ระดับทวิภาคี และเป็นการเริ่มต้นกระบวนการทบทวนความพยายามร่วมกันในปัญหาต่างๆ ทั้งระดับสากลและระดับภูมิภาค และเป็นการพัฒนาความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศในด้านต่างๆ ด้วย ในบริบทนี้ ปธน.ปูตินได้กล่าวว่า ตนเองหวังว่าการไตร่สวนด้านยุติธรรมจะนำพลเมืองชาวตุรกีที่เป็นผู้ต้องสงสัยเกี่ยวกับการเสียชีวิตของนักบินรัสเซียจะเรื่องที่จริงจัง

    [ตอนนี้สมาชิกกลุ่มหัวรุนแรงที่อ้างว่าเป็นพวกกบฏสายกลางซีเรีย ที่ร่วมมือกันสังหารนักบินรัสเซียที่ดีดตัวโดดร่มออกจากเครื่องบิน Su-24 แล้วถูกยิงกลางอากาศ ตกถึงพื้นถูกกลุ่มหัวรุนแรงติดอาวุธดังกล่าวลากไปรุมทำร้ายจนเสียชีวิต กำลังถูกควบคุมตัวขึ้นศาลในตุรกี เรื่องตลกก็คือว่าตอนอยู่ในซีเรีย พวกนี้อ้างว่าตัวเองเป็นชาวเติร์กเมนและเป็นกบฏซีเรีย แต่หลังจากที่ก่อเหตุแล้วกลับไปซุกหัวอยู่ในตุรกีใต้ปีกของแอร์โดกัน

    ทางการของตุรกีก็เหมือนจะรับลูกเล่นละครต่อไป และทำทีเป็นจับกุมและดำเนินคดีต่อกลุ่มติดอาวุธเหล่านั้น และศาลตุรกีได้พิจารณาตัดสินว่าพวกนั้นไม่มีความผิดในกรณีการสังหารนักบินรัสเซีย แต่ปัจจุบันนี้สื่อฯรายงานว่ากำลังถูกดำเนินคดีในข้อหาอื่น ถ้าแอร์โดกันมีความจริงใจที่จะคืนดีฟื้นสัมพันธ์กับรัสเซียจริงๆ แอร์โดกันก็ต้องเลือกซักอย่างระหว่างกลุ่มก่อการร้ายเหล่านั้นหรืออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของตัวเอง

    รัสเซียต้องการเห็นผู้กระทำผิดได้รับการลงโทษอย่างสาสม รัฐบาลตุรกีจะให้สิ่งนี้กับรัสเซียได้หรือไม่? ถ้าแอร์โดกันยังอุ้มพวกผู้ก่อการร้ายเหล่านั้นต่อไป ก็เปล่าประโยชน์ที่จะพูดเรื่องการสานสัมพันธ์กับรัสเซียอีกรอบ แล้วตุรกีจะยอมส่งตัวผู้ต้องสงสัยเหล่านั้นไปขึ้นศาลในรัสเซียไหม? ถ้าผู้ต้องสงสัยเหล่านั้นถูกนำตัวมาขึ้นศาลที่รัสเซีย พวกนั้นอาจจะคายความลับต่างๆ เกี่ยวกับรัฐบาลตุรกีที่สนับสนุนกลุ่มก่อการร้ายในซีเรียและเรื่องอื่นๆ ก็ได้ งานนี้คิดว่าแอร์โดกันคงไม่ยอมให้เรื่องแบบนั้นเกิดขึ้นแน่

    แล้วแอร์โดกันจะทำอย่างไร? "นิ้วไหนมันเน่าก็ตัดทิ้ง" หรือหมดประโยชน์แล้วจะเก็บไว้ทำไม? ขืนเก็บอาไว้นานอาจจะแว้งกัดแอร์โดกันในภายหลังก็ได้ - ผู้แปล]

    ปธน.ปูตินยังกล่าวระหว่างการสนทนากัน (กับปธน.แอร์โดกัน) อีกว่า "รัสเซียอาจจะยกเลิกข้อจำกัดต่างๆ เกี่ยวกับนักท่องเที่ยวชาวรัสเซียที่จะเดินทางไปเที่ยวประเทศตุรกี" แต่ได้ตั้งข้อสังเกตว่า "จะเป็นการดีทีเดียว หากว่ารัฐบาลตุรกีเพิ่มมาตรการพิเศษเพื่อรับประกันความปลอดภัยให้กับพลเมืองชาวรัสเซียในแผ่นดินตุรกี"

    [แปลว่า ถ้ามีเหตุการณ์ที่ไม่ดีเกิดขึ้นกับนักท่องเที่ยวชาวรัสเซียในตุรกี งานนี้รัฐบาลตุรกีอาจจะต้องรับผิดชอบอย่างหนัก และนั่นก็หมายถึงว่ารัฐบาลตุรกีจะโดนรัสเซียอัดอย่างหนักในแง่ของการคว่ำบาตรทางธุรกิจ แอร์โดกันจะกล้าเสี่ยงเล่นตุกติกอีกรอบไหมครับ? - ผู้แปล]

    ประธานาธิบดีทั้งสองคนได้ตกลงร่วมกันว่า รัฐมนตรีของรัสเซียและตุรกีจะพบกันในวันที่ 1 กรกฎาคมนี้ ในที่ประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศที่องค์กรความร่วมมือด้านเศรษฐกิจในทะเลดำ (Black Sea Economic Cooperation Organisation) ที่เมืองโซชิ (Sochi) การหารือกันจะครอบคลุมถึงสถานการณ์ทั้งระดับภูมิภาค และโดยเฉพาะอย่างยิ่งความพยายามที่จะยุติปัญหาความขัดแย้งในซีเรีย และประเด็นต่างๆ ในปัจจุบันที่เกี่ยวกับการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซีย-ตุรกีให้ยิ่งๆ ขึ้นไป

    ปธน.ปูตินและปธน.แอร์โดกันได้ตกลงร่วมกันว่าจะลองหาความเป็นไปได้ในการพบกันแบบตัวต่อตัวในอนาคตอันใกล้นี้

    นอกจากนี้แล้ว การสนทนากันก็เหมือนธุรกิจ สร้างสรรค์ และมุ่งไปที่การฟื้นฟูความสัมพันธ์ระดับทวิภาคีในวงกว้างของทั้งสองประเทศอย่างเป็นมิตรตามประเพณีเก่าก่อน

    - จบแถลงการณ์ -

    ต่อมาในวันเดียวกันนี้ Sputnik news ของรัสเซียพาดหัวข่าวว่า "ปูติน-แอร์โดกันใช้เวลา 40 นาทีในการสนทนา 'ที่เป็นบวกและสร้างสรรค์' แหล่งข่าวตุรกีกล่าว" (Putin-Erdogan 40-Minute Talks 'Productive, Positive' - Turkish Sources)

    หลังจากการสนทนากันของสองผู้นำ ทางตุรกีก็ออกมาแง้มว่า การสนทนากันทางโทรศัพท์ระหว่างประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ปูตินของรัสเซียกับประธานาธิบดีแอร์โดกันของตุรกีเป็นไปใน "ทางบวกและสร้างสรรค์มาก" (very productive and constructive) แหล่งข่าวใกล้ชิดปธน. Recep Tayyip Erdogan กล่าวเมื่อวันพุธนี้ แหล่งข่าวของปธน.ตุรกีบอกว่าคาดว่าจะมีการออกแถลงการณ์อย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการสนทนากันในครั้งนี้ในภายหลัง สถานีโทรทัศน์ NTV ของตุรกีรายงาน

    [อ้อ… เกือบลืมแหนะ ขอต่ออีกสักนิดนะครับ เกี่ยวกับการที่ปูตินกับแอร์โดกันจะพบกันครั้งแรกหลังจากที่เกิดความขัดแย้งอย่างหนักระหว่างสองประเทศเนื่องจากตุรกียิงเครื่องบินทิ้งระเบิดของรัสเซียตกนั้น สำนักข่าว AFP ของฝรั่งเศสรายงานว่า เจ้าหน้าที่ผู้ไม่ประสงค์ออกนามของตุรกีกล่าวกับสำนักข่าว AFP ว่าคาดว่าแอร์โดกันจะพบกับปูตินแบบตัวต่อตัวในการประชุมรอบนอก (sidelines) ในที่ประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มประเทศ G20 ที่ประเทศจีนในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้

    ส่วนเรื่องอื่นๆ รวมทั้งบทวิเคราะห์และมุมมองต่างๆ จากหลายฝ่ายเกี่ยวกับการสนทนาของปูตินและแอร์โดกัน และสิ่งที่จะตามมาหลังจากนี้ ขอยกไปเล่าในโพสต์ต่อไปนะครับ - ผู้แปล]

    The Eyes
    เพจ: ปอกเปลือก ทรราช
    https://www.facebook.com/fisont
    https://vk.com/theeyesproject
    30/06/2559
    ----------
    Putin-Erdogan 40-Minute Talks 'Productive, Positive' - Turkish Sources
    Telephone conversation with President of Turkey Recep Tayyip Erdogan • President of Russia
    Телефонный разговор с Президентом Турции Реджепом Тайипом Эрдоганом • Президент России
    https://www.afp.com/en/news/15/putin-mends-ties-turkey-lifts-tourism-ban
    Russian, Turkish FMs to Discuss Bilateral Ties, Syria on July 1 - Kremlin
    https://www.rt.com/news/348841-putin-erdogan-meeting-plane/
    It is Premature to Determine Venue, Date of Putin-Erdogan Meeting - Ankara
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ปอกเปลือก ทรราช

    [​IMG]

    แอร์โดกันกรณียิง Su-24 ของรัสเซียตก
    2015 : แอร์โดกันบอกว่า ผมจะไม่มีทางขอโทษเด็ดขาด
    2016 : โอเค ผมผิดไปแล้ว ขอเสียใจจริงๆ ครับท่านปูติน อภัยให้ความงี่เง่าของเขาเถอะนะครับ ช่วยส่งนักท่องเที่ยวชาวรัสเซียกลับเข้าไปในตุรกี และยกเลิกการแซงชั่นทางเศรษฐกิจตุรกีด้วยเถอะคร้าาาาาบ
    --------------
    Change of Heart
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ปอกเปลือก ทรราช
    เอาแล้วไง "ปฏิบัติการวอนจังแก": สหรัฐส่งเรือพิฆาต Gravely แล่นเข้าใกล้เรือรบฟริเกต Yaroslav Mudry ยั่วยุรัสเซียในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

    [​IMG]

    --------------
    28 มิ.ย.59 Sputnik news พาดหัวข่าวว่า "เรือพิฆาตของสหรัฐ 'ละเมิดข้อตกลงการเดินเรือในน่านน้ำสากลโดยสิ้นเชิง' ในการเผชิญหน้ากับเรือรบของรัสเซีย" (US Destroyer Committed ‘Gross Violation’ in Encounter With Russian Ship) ส่วน RT news พาดหัวข่าวว่า "เรือพิฆาตของสหรัฐเข้าใกล้เรือลาดตระเวนของรัสเซียในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนอย่างอันตราย - กรุงมอสโคว์กล่าว" (US destroyer gets dangerously close to Russian patrol boat in Mediterranean – Moscow) [สหรัฐก็คงจะบอกว่า กฎแก็ดอะไร! นี่เรือรบของจักรวรรดิ์เฮเกเจ้าโลกใหญ่คับเป้ากางเกงมาแล้วนะ รัสเซียถอยไป ประมาณนั้น - ผู้แปล]
    รายงานข่าวบอกว่า เรือพิฆาต USS Gravely ติดตั้งขีปนาวุธนำวิถีของสหรัฐได้ละเมิดกฎด้านการรักษาความปลอดภัยในการเดินเรือในน่านน้ำสากล โดยแล่นเข้าไปใกล้เรือรบ Yaroslav Mudry ชั้นฟริเกตของรัสเซียในระยะใกล้อย่างอันตรายในทางตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน กระทรวงกลาโหมของรัสเซียกล่าว
    "เรือพิฆาต Gravely ของสหรัฐได้แล่นเข้าไปหาเรือรบของรัสเซียในน่านน้ำทางทิศตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ในระยะราว 60-70 เมตร [197-229 ฟุต] ทางกาบเรือด้านซ้าย (on the port side) ของเรือ Yaroslav Mudry จากนั้นก็แล่นผ่านไปและสลับไปอยู่ด้านขวา (the bow of a ship) ในระยะห่าง 180 เมตร [890 ฟุต]" กลาโหมของรัสเซียกล่าว Sputnik news รายงาน
    การเผชิญหน้ากัน (ของเรือรบทั้งสองลำ) เกิดขึ้นในน่านน้ำสากล (international waters) เรือรบ Yaroslav Mudry ไม่ได้เปลี่ยนเส้นทางการเดินเรือ และละเว้นจากการมีส่วนร่วมในการทำการยุทธที่อันตรายกับเรือรบของสหรัฐ กระทรวงกลาโหมของรัสเซียกล่าวเพิ่มเติม
    ตามแถลงการณ์ของรัสเซียนั้นบอกว่า ทั้งกัปตันและลูกเรือในของเรือรบ (สหรัฐ) ได้ละเมิดกฎระเบียบข้อบังคับระหว่างประเทศเพื่อป้องกันการชนกันในทะเล (International Regulations for Preventing Collisions at Sea (COLREGS)) ซึ่งควบคุมการการปฏิบัติของเรือทั้งสองฝ่ายหรือหลายฝ่ายเมื่อเรือเหล่านั้นไปพบกันในทะเล เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสถานการณ์ที่อันตราย [อึ่มมมมม แล้วสหรัฐปฏิบัติตามกฎที่ว่านั่นไหมหละ? Nope! เพราะฉันคือ the Exceptionalist ผู้อยู่เหนือกฎทั้งปวงไงครับ กฎต่างๆ มีไว้ให้คนอื่นปฏิบัติ ยกเว้น "อเมริกา" - ผู้แปล]
    "โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลูกเรือของสหรัฐได้ละเลย (neglected) กฎข้อที่ 13 (Rule 13) ซึ่งกำหนดไว้ว่า เรือที่จะแล่นแซงขึ้นไป จะต้องรักษาระยะห่างจากเส้นทางของเรือที่จะถูกแซง" กระทรวงกลาโหมของรัสเซียกล่าว โดยกล่าวเพิ่มเติมว่า "เรือรบ USS Gravely ได้ยังละเมิดกฎข้อที่ 15 ด้วย ซึ่งระบุเอาไว้ว่า เรือที่มีเรืออีกลำอยู่ทางกาบเรือด้านขวา (the starboard side) จะต้องลดความเร็วลง (yield) และหลีกเลี่ยงการแล่นตัดหน้าเรือลำนั้น"
    [เดิมทีเรือของรัสเซียแล่นอยู่ตามปรกติ แล้วก็มีเรือพิฆาตของสหรัฐแล่นเข้ามาตีขนาบทางซ้าย แปลว่าเรือของรัสเซียอยู่ด้านขวาของเรือรบสหรัฐ จากนั้นเรือรบของสหรัฐก็เร่งความเร็วแซงซ้ายขึ้นไป แล้วก็ตัดหน้าเรือรัสเซียเพื่อไปอยู่ด้านขวาของเรือรัสเซีย ผิดกฎเต็มๆ สหรัฐก็คงจะแถไปว่า ก็ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนมันแคบ จราจรติดขัดจำเป็นต้องแซงช้าย และปาดหน้ารัสเซียหนะ เออ… ทีข้าเอ็งอย่าร้องเอ๋งทีหลังละกัน (รัสเซียนึกในใจ) - ผู้แปล]
    กระทรวงกลาโหมของรัสเซียยังกล่าวอีกว่า เพนตาก้อน (กลาโหมของสหรัฐ) ควรจะบันทึกเหตุการณ์เช่นนี้เอาไว้แทนที่จะกล่าวหากองทัพอากาศและกองทัพเรือของรัสเซียว่าปฏิบัติแบบไม่เป็นมืออาชีพ (unprofessional conduct) "พวกลูกเรือของสหรัฐปล่อยให้ตัวเองละเลยหน้าที่ที่สำคัญในการรักษาความปลอดภัยในการเดินเรือโดยไม่คำนึงถึงผลที่จะตามมา ซึ่งเป็นการประลองยุทธ์ที่อันตราย (dangerous maneuvering) ในพื้นที่ทางทะเลที่มีจราจรหนาแน่นซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องด้วย"
    เรือพิฆาต USS Gravely เป็นเรือชั้น Arleigh Burke-class ติดตั้งขีปนาวุธนำวิถีมีศักยภาพในการบรรทุกระบบป้องกันขีปนาวุธ Aegis เข้าประจำการในปี 2010 และถูกส่งไปปฏิบัติภารกิจในต่างประเทศเป็นครั้งแรกในทะเลเมดิเตอร์เรเนียด้านทิศตะวันออกเมื่อสามปีที่แล้ว
    ส่วนเรือ Yaroslav Mudry เป็นเรือรบฟริเกต Neustrashimy-class ผลิตโดยรัสเซีย เข้าประจำการในกองเรือบอลติกของกองทัพเรือรัสเซีย (ในปี 2009) พบว่าไปแล่นอยูหมู่เกาะประเทศ Malta ในตอนกลางของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนระหว่าง Sicily กับชายฝั่งแอฟริกาเหนือเมื่อต้นเดือนมิถุนายนนี้ รายงานข่าวบอกว่าเรือลำดังกล่าวกำลังมุ่งหน้าไปยังทิศตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เพื่อเข้าร่วมภารกิจทางทะเลของรัสเซียนอกชายฝั่งซีเรีย
    The Eyes
    เพจ: ปอกเปลือก ทรราช
    https://www.facebook.com/fisont
    https://vk.com/theeyesproject
    29/06/2559
    ----------
    https://www.rt.com/news/348677-destroyer-patrol-boat-mediterranean/
    US Destroyer Committed ‘Gross Violation’ in Encounter With Russian Ship
    TASS: Military & Defense - US destroyer came dangerously close to Russian warship in Mediterranean — defense ministry
    https://en.wikipedia.org/wiki/Neustrashimyy-class_frigate
    https://www.youtube.com/watch?v=7hiZmp2lg7w
    https://www.youtube.com/watch?v=lqF6EcShwP0
    https://www.youtube.com/watch?v=h97JnIulAu4
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ปอกเปลือก ทรราช

    [​IMG]

    รายงานด่วน! เกิดเหตุระเบิดและการยิงกันภายในอาคารผู้โดยสารต่างประเทศที่สนามบิน Ataturk เมืองอิสตันบูล ประเทศตุรกี เวลาราว ตีสองกว่าของวันที่ 29 มิ.ย.59 มีประชาชนได้รับบาดเจ็บหลายคน สื่อฯ ตุรกีรายงาน เจ้าหน้าที่ของตุรกียืนยันว่าเกิดเหตุระเบิดขึ้นสองครั้ง ในสองจุดแยกกัน โดยเป็นการโจมตีจากผู้ก่อการร้าย ต่อมาก็มีเสียงยิงปืนดังขึ้นบริเวณลานจอดรถใกล้สนามบิน 4 นัด CNN Turk รายงาน โดยอ้างพยานในที่เกิดเหตุ และบอกว่าพบเห็นชายติดอาวุธสี่คน วิ่งออกจากอาคารผู้โดยสารหลังจากเกิดเหตุการณ์ระเบิด NTV ของตุรกีรายงาน
    เบื้องต้นสถานีโทรทัศน์ Haberturk รายงานว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บแล้ว 40 กว่าคน
    อะไรอ่ะ แค่แอร์โดกันอยากจะคืนดีกับรัสเซีย ก็บึ้มที่สนามบินของตุรกีแล้วหรือ?
    The Eyes
    เพจ: ปอกเปลือก ทรราช
    https://www.facebook.com/fisont
    https://vk.com/theeyesproject
    29/06/2559
    ----------
    https://www.rt.com/news/348735-explosion-atatukr-reports-injured/
    Explosion and Gunfire Reported at Istanbul Airport
    Istanbul Ataturk airport attack: 41 dead and more than 230 hurt - BBC News
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ปอกเปลือก ทรราช

    <iframe width="640" height="360" src="https://www.youtube.com/embed/Qy2KhS4hNr8" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>

    คลิปผู้ก่อการร้ายจุดชนวนระเบิดฆ่าตัวตายที่จุดตรวจเอ็กซ์เรย์ที่อาคารผู้โดยสารต่างประเทศสนามบิน Ataturk เมืองอิสตันบูล ประเทศตุรกี รายงานข่าวบอกว่า ผู้ก่อการร้ายสองคนเปิดฉากยิงปืนไรเฟิลก่อนจะผ่านจุดตรวจ จากนั้นเจ้าหน้าทีตำรวจก็ยิงตอบโต้ และผู้ก่อการร้ายก็ระเบิดตัวเองทันที โหดร้าย ป่าเถื่อน เศร้า! (29 มิ.ย.59)
    -------------
    https://www.youtube.com/watch?v=Qy2KhS4hNr8
    The Eyes
    เพจ: ปอกเปลือก ทรราช
    https://www.facebook.com/fisont
    https://vk.com/theeyesproject
    29/06/2559
    ----------
    https://www.youtube.com/watch?v=Qy2KhS4hNr8
    Shocking Video Shows Blast at Istanbul Airport
     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ปอกเปลือก ทรราช
    สุภาพบุรุษชื่อ "ปูติน" พิสูจน์ความจริงใจด้วยการออกกฤษฎีกายกเลิกการแซงชั่นตุรกี

    [​IMG]

    ----------
    30 มิ.ย.59 Sputnik news ของรัสเซียพาดหัวข่าวว่า "ปูตินลงนามในกฤษฎีกายกเลิกข้อจำกัดที่มีต่อตุรกี" (Putin Signs Decree Lifting Restrictions Against Turkey)
    รายงานข่าวบอกว่าประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูตินได้มีคำสั่งให้รัฐบาลรัสเซียดำเนินขั้นตอนต่างๆ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อยกเลิกการห้ามเที่ยวบินเหมาลำ (charter flights) ระหว่างสองประเทศ และได้ยกเลิกข้อจำกัดที่เข้มงวดต่างๆ เกี่ยวกับการท่องเที่ยวในตุรกีด้วย
    กฤษฎีกาฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้หลังจากการประกาศต่อสาธารณชนอย่างเป็นทางการหนึ่งวัน ทำเนียบประธานาธิบดีวังเครมลินกล่าว
    ประธานาธิบดีของรัสเซียยังได้มีคำสั่งให้รัฐบาลจัดการเจรจากับทางการของตุรกีเกี่ยวกับความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจระดับทวิภาคีด้วย
    ป.ล.หากต้องการความจริงใจจากมิตร ก็ต้องสร้างในขณะที่เขาต้องการมิตร, ปูตินกำลังเดิมพันกับความจริงใจของแอร์โดกัน คล้ายกับตอนที่มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ไปขอความช่วยเหลือจากจีนในช่วงที่ไทยกำลังถูกเวียตนามถล่มในอดีตนั่นแหละ ในสมัยนั้นบุคคลสำคัญบางคนในรัฐบาลจีนบอกกับผู้นำจีนว่าอย่าเพิ่งส่งความช่วยเหลือไปให้ไทย ปล่อยให้เวียตนามถล่มให้อ่วมซะก่อน เพื่อสั่งสอนไทย ทางประธานเหมาก็พูดประมาณว่า "ถ้าจะช่วยมิตร ก็ต้องช่วยในตอนที่เขามีความต้องการความช่วยเหลือ"
    เพราะว่าตอนนั้นสหรัฐมาใช้ฐานทัพในไทยเพื่อโจมตีเวียตนาม หลังจากที่สหรัฐแพ้สงครามเวียตนามแล้ว เวียตนามก็คิดจะขยายอิทธิพลของตนเองและจะแก้แค้นที่ไทยสนับสนุนสหรัฐ พอรัฐบาลไทยไปขอให้สหรัฐส่งกองทัพมาช่วย สหรัฐบอกว่าไม่รู้ ไม่เกี่ยว จัดการเอง ซวยเลย ท่านคึกฤทธิ์ฯ และคณะจึงเดินทางขอความช่วยเหลือจากประธานเหมา เจ๋อตุง (2518) จีนก็ส่งกองทัพไปตลบหลังเวียตนามทางตอนเหนือของเวียตนาม ทำให้เวียตนามต้องถอนทัพจากชายแดนไทยไปรับมือกับจีน
    The Eyes
    เพจ: ปอกเปลือก ทรราช
    https://www.facebook.com/fisont
    https://vk.com/theeyesproject
    30/06/2559
    ----------
    Putin Signs Decree Lifting Restrictions Against Turkey
    https://www.rt.com/news/349041-putin-lifts-turkey-sanctions/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ปอกเปลือก ทรราช
    บทวิเคราะห์กรณีแอร์โดกันยอมง้อขอภัยปูติน และปูตินก็ใจกว้างให้อภัยพร้อมทั้งให้โอกาสแอร์โดกันแก้ไขข้อผิดพลาดของตนกรณีความขัดแย้งระหว่างตุรกี-รัสเซีย (ตอนที่ 1)

    [​IMG]

    ----------
    มาตามสัญญาที่ได้เกริ่มปิดท้ายในโพสต์ "แถลงการณ์สรุปผลการคุยกันทางโทรศัพท์ระหว่างปูตินกับแอร์โดกัน 29 มิถุนายน 2559" ว่าจะมาพูดเกี่ยวกับเบื้องหน้าเบื้องหลังของการคืนดีกันระหว่างรัสเซียกับตุรกีจากแง่มุมต่างๆ ให้ฟัง จริงๆ แล้วก็มีบทวิเคราะห์จากผู้เชี่ยวชาญหลายท่านที่สื่อฯรัสเซียนำมาเผยแพร่ในวันเดียวกันกับที่ปูตินยกหูโทรศัพท์ถึงแอร์โดกัน เนื้อหาค่อนข้างยาว แม้จะไม่ครบทุกประเด็นก็ตาม ถ้าเป็นไปได้ แอ็ดมิน (ผู้แปล) จะเสริมให้นะครับ
    วันที่ 29 มิ.ย.59 Sputnik news พาดหัวข่าวว่า "เหตุผลและแนวโน้มที่แอร์โดกันจะยื่นแขนไปจับมือกับกรุงมอสโคว์อย่างเป็นมิตร (อีกครั้ง)" (Reasons and Prospects of Erdogan Extending Friendly Hand to Moscow)
    ในวันที่ 27 มิ.ย.59 พระราชวังเครมลินรายงานว่าปธน. Recep Tayyip Erdogan ผู้นำตุรกีได้ส่งจดหมายฉบับหนึ่งถึงปธน.วลาดิเมียร์ ปูตินของรัสเซียซึ่งเป็นการแสดงความเสียใจและความพร้อมที่จะปรับความสัมพันธ์เข้าสู่ระดับปรกติ (normalize ties)
    ก่อนหน้านี้ ทางตุรกียืนยัน (อย่างแข็งขันและหนักแน่น) ว่า "รัสเซียนั่นแหละที่ควรจะเป็นฝ่าย 'ขอโทษ' (ตุรกี) เนื่องจากเครื่องบินของกองทัพอากาศรัสเซียได้ละเมิดน่านฟ้า (airspace violation) ของตุรกี" [คุ้นๆ ว่าคำพูดนี้เป็นของปธน.แอร์โดกันเลยหละ - ผู้แปล] แต่แล้ว ในที่สุด ปธน.แอร์โดกันก็ได้ทำตามความประสงค์ของรัสเซียที่ว่า "กรุงอังการาจะต้องเป็นฝ่ายขอโทษต่อเหตุการณ์ดังกล่าว" (Ankara apologize for the incident.) [และมันก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ - ผู้แปล] หนึ่งในเหตุผลหลายอย่างก็คือ นโยบายของตุรกีในซีเรียกำลังพังพินาศ (collapsing) บทความฉบับหนึ่งในหนังสือพิมพ์ Sankei Shimbun ของญี่ปุ่นเขียนเอาไว้
    ตั้งแต่เริ่มสงครามในซีเรียใหม่ๆ ตุรกีได้สนับสนุนกลุ่มต่างๆ ที่เป็นฝ่ายค้าน (ของซีเรีย) เพื่อโค่นล้มประธานาธิบดีบาชาร์ อัสซาด อย่างไรก็ตามหลังจากที่รัสเซียได้เข้าไปมีส่วนร่วมเมื่อปีที่แล้ว กองทัพซีเรียก็ได้รับชัยชนะหลายครั้งหลายคราทั่วประเทศ
    ในขณะเดียวกันกองกำลังชาวเคิร์ดในภาคเหนือของซีเรียซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐและรัสเซียก็กำลังมีความก้าวหน้าในการต่อต้านพวกดาอิช และสามารถยึดครองพื้นได้ต่างๆ ได้ กรุงอังการากลัวว่าเคิร์ดจะสถาปนาเขตปกครองตนเอง และจากนั้นก็จะขยายกิจกรรมของพวกเขาเข้าไปยังประเทศอื่นๆ ด้วย
    เหตุผลที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ การแซงชั่นของรัสเซียที่มีต่อตุรกีหลังจากที่อากาศยานของรัสเซียถูก (ตุรกี) ยิงตก ทั้งสองประเทศต่างก็ได้รับผลกระทบจากโครงการร่วมกันจำนวนมากระหว่างกรุงอังการาและกรุงมอสโคว์ ซึ่งรวมทั้งในด้านพลังงาน การค้า การลงทุน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
    มีอีกหลายเหตุผลที่กรุงอังการาได้ตัดสินใจเริ่มปรับความสัมพันธ์กับรัสเซียให้เข้าสู่ภาวะปรกติ นาง Oya Akgonenc Mugisuddin นักวิเคราะห์ด้านการเมืองชาวตุรกีกล่าวกับสถานีวิทยุของ Sputnik
    "อย่างแรก การแซงชั่นโดยรัสเซียได้ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างหนักต่อเศรษฐกิจของตุรกี ก่อนจะมีการแซงชั่นนั้น ทั้งสองประเทศได้ขยายความร่วมมือในแขนงต่างๆ ยิ่งกว่านั้น รัสเซียและตุรกีต่างก็เป็นมหาอำนาจด้วยกันทั้งสองประเทศที่รักษาเสถียรภาพในภูมิภาค [คนตุรกีก็ย่อมอวยตุรกีเป็นธรรมดา - ผู้แปล] การทำลายเสถียรภาพในภูมิภาคต่างๆ ได้มีผลกระทบต่อทั้งสองประเทศ" นาง Oya Akgonenc Mugisuddin กล่าว [แต่ Oya Akgonenc Mugisuddin ไม่ได้พูดให้ชัดเจนว่าแล้วใครหละที่บ่อนทำลายเสถียรภาพ (Destabilization) ที่ว่านี้? ขืนพูดตรงขนาดนั้นเดี๊ยนก็ถูกแอร์โดกันจับยัดตารางสิคะ - ผู้แปล]
    ผู้เชี่ยวชาญยังได้ตั้งข้อสังเกตอีกว่า การปรับความสัมพันธ์เข้าสู่ระดับปรกติ (normalization) ย่อมเป็นไปได้ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงโดยรวมในนโยบายต่างประเทศของตุรกี
    [ถ้าแอร์โดกันยังขืนซ่าอยู่อย่างนี้ ก็ยิ่งจะเป็นการโดดเดี่ยวตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะว่าตอนนี้ใครๆ ก็เริ่มจะไม่ชอบขี้หน้าตุรกีมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน ยกเว้นอิสราเอลที่แอร์โดกันหันไปจูบปากกับบีบี้เมื่อสัปดาห์ที่แล้วที่กรุงโรม แต่อิสราเอลจะช่วยฟื้นฟูเรื่องเศรษฐกิจให้กับตุรกีได้หรือ? ไม่มีทาง ดังนั้นแอร์โดกันจึงไม่มีทางเลือกนอกจากหันมาคบกับรัสเซียเพื่อถ่วงดุลอำนาจของสหรัฐและอียู - ผู้แปล]
    ก่อนหน้านี้ นายกรัฐมนตรี Binaly Yildirim คนใหม่ของตุรกีได้กล่าวว่า กรุงอังการาจะดำเนินนโยบายต่างประเทศที่มุ่งมั่นเพื่อเพิ่มจำนวนพันธมิตรและปรับความสัมพันธ์ด้านต่างๆ ให้เป็นปรกติ [ไม่รู้ว่าหมอนี่หมายรวมถึงการปรับความสัมพันธ์กับพวกดาอิชให้เข้าสู่ภาวะปรกติด้วยหรือไม่? - ผู้แปล]
    ในที่สุด ขณะนี้สหภาพยุโรปกำลังอยู่ในการเปลี่ยนแปลงการถ่วงดุลอำนาจกัน มันเป็นผลประโยชน์ของทั้งสองประเทศ (รัสเซีย-ตุรกี) ที่จะปรับเข้าสู่บรรยากาศใหม่ และฉวยประโยชน์จากสถานการณ์นี้ นาง Oya Akgonenc Mugisuddin กล่าว
    "การฝืนใจ (reluctance) ของประธานาธิบดีของรัสเซียที่จะยอมรับการขอโทษของปธน.แอร์โดกันในทันทีนั้น ได้แสดงให้เห็นถึงความสนใจของปูตินในการสร้างผลประโยชน์ให้ได้มากที่สุดจากผลประโยชน์ทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจเท่าที่จะสามารถทำได้" บทความฉบับหนึ่งจากสำนักข่าว The Christian Science Monitor (ของสหรัฐ) กล่าว
    รัสเซียไม่เพียงแต่ได้รับประโยชน์ด้านเศรษฐกิจจากการแซงชั่นที่มีต่อกรุงอังการาเท่านั้น (Russia has not only benefited economically because of the sanctions it imposed against Ankara.) ภาษาส่วนบุคคลในจดหมายของแอร์โดกันได้ส่งสัญญาณถึงเพื่อนบ้านของรัสเซียและนาโต้เกี่ยวกับบทบาทของกรุงมอสโคว์ที่เพิ่มขึ้นในฐานะหนึ่งในมหาอำนาจโลก บทความกล่าว
    [ยังมองไม่เห็นว่ากรุงมอสโคว์และ/หรือแม้กระทั่งกรุงอังการา จะได้ประโยชน์อะไรในทางเศรษฐกิจจากการที่กรุงมอสโคว์แซงชั่นทางเศรษฐกิจต่อกรุงอังการาเลย
    ฝ่ายที่เจ็บหนักก็คือกรุงอังการา ส่วนรัสเซียก็เท่าเดิม แม้ว่านักท่องเที่ยวรัสเซียจะไม่สามารถไปเที่ยวพักผ่อนตากอากาศวันหยุดที่กรุงอังการาได้ แต่ก็ยังสามารถเดินทางไปเที่ยวประเทศอื่นๆ ได้เช่นที่ประเทศไทยเป็นต้น เสือสองตัวกัดกันย่อมได้รับบาดเจ็บด้วยกันทั้งคู่อยู่แล้ว แต่งานนี้กรุงอังการาอาการสาหัสมาก ฝ่ายที่ได้ผลประโยชน์จากความขัดแย้งระหว่างกรุงอังการาและกรุงมอสโคว์ในครั้งนี้ก็คือฝ่ายที่จะเข้าไปเติมเต็มช่องว่างแทนกรุงอังการาต่างหาก ซึ่งส่วนมากก็เป็นพันธมิตรของรัสเซียทั้งนั้น - ผู้แปล]
    การขอโทษของแอร์โดกันและการฝืนใจของปูตินเพื่อยอมรับการขอโทษในทันทีนั้น ทำให้รัสเซียเสริมสร้างจุดยืนต่างๆ ของตนเองในเวทีโลกได้ ศาสตราจารย์ Michael Reynolds จากภาควิชาการศึกษาใกล้ตะวันออกแห่งมหาวิทยาลัย Princeton (ของสหรัฐ) กล่าว
    "ปูตินได้รู้แล้่วว่าตัวเองมีมือที่เข้มแข็งมากๆ (Putin realizes he has a very strong hand.) แน่นอนว่ามันเป็นชัยชนะสำหรับปูตินในการเสริมสร้างสัดส่วนของเขาในภูมิภาค ประชาชนจะจับตาดูสิ่งนั้น แอร์โดกันไม่ใช่บุคคลประเภทที่จะกล่าวขอโทษใคร" Michael Reynolds กล่าว
    [หมอนี่ก็ไม่ยอมออกปากชมปูตินตรงๆ อาจจะเป็นเพราะว่าเขาเป็นอเมริกันก็ได้ แต่คุณก็ไม่สามารถปฏิเสธความจริงได้ว่า เกมนี้ปูตินกินขาด และก็สามารถต้อนให้แอร์โดกันยอมศิโรราบคลานเข้ามาหาปูตินได้ Michael Reynolds พยายามจะบอกว่า แอร์โดกันแพ้ปูตินหมดรูป ด้วยการบอกว่า "Erdogan is not the type to apologize." แต่แล้วแอร์โดกันก็ยอมส่งจดหมายขอโทษปูตินในที่สุด แม้ว่าสื่อฯของตุรกีและนักการเมืองตุรกีบางคนจะพยายามหลบประเด็นนี้แบบแบ่งรับแบ่งสู้ประมาณว่า เอ้ย จริงๆ แล้วแอร์โดกันไม่ได้กล่าวขอโทษนะ แอร์โดกันแค่แสดงความเสียใจเท่านั้น อย่างเข้าใจผิด
    อ้าว… ถ้าไม่ขอโทษ ไม่ยอมรับว่าเป็นความผิดของตนเอง แล้วจะยอมจ่ายชดเชยค่าเสียหายให้กับรัสเซียและครอบครัวของเหยื่อทำไม? ทำไมถึงไม่ยืนกระต่ายขาเดียวแบบตอนแรกว่า รัสเซียนั่นแหละที่จะต้องเป็นฝ่ายขอโทษตุรกี? ปูตินก็ไม่อยากจะต้อนให้แอร์โดกันจนมุมหรือหน้าแตกมากกว่านี้
    จึงยอมรับว่านั่นคือการกล่าวคำขอโทษจากแอร์โดกันอย่างเป็นทางการ เพราะว่าแม้ว่าสื่อฯของตุรกีจะพยายามปกป้องเกียรติของแอร์โดกันก็ตาม แต่แอร์โดกันเองกลับไม่ออกมาตอบโต้รัสเซียในกรณีนี้แม้แต่น้อย ภาษาพระท่านเรียกว่า ยอมรับโดยดุษณีภาพ แปลเป็นภาษาชาวบ้านก็บอกว่า ยอมรับด้วยการนิ่ง หรือ นิ่งแสดงว่ายอมรับ - ผู้แปล]
    อย่างไรก็ตาม กระบวนการปรับความสัมพันธ์เข้าสู่ระดับปรกติระหว่างสองประเทศยังจะต้องใช้ความพยายาม และใช้เวลา Dmitry Kulikov นักวิเคราะห์ด้านการเมืองกล่าวในรายการวิทยุของ Sputnik
    "มันเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่จะไม่ให้ราคาสูงจนเกินไป (overestimate) กับคำขอโทษของแอร์โดกัน นี่เป็นพิธีสารอย่างเป็นทางการ รัสเซียได้ตั้งข้อกำหนดต่างๆ ให้กับตุรกีแล้ว ประการแรกสุดเลยก็คือการขอโทษที่สังหารนักบินของรัสเซีย ข้อกำหนดแรกนี้ได้เติมเต็มแล้ว คราวนี้ก็จะสามารถเริ่มการเจรจาได้ แต่มันเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ที่จะเขียนประวัติศาสตร์ใหม่ ที่แสร้งเป็นว่าไม่เคยมีความตึงเครียดเกิดขึ้นเลย (But it’s impossible to re-write history, pretending that there were no tensions.) ทั้งสองประเทศควรจะทำตามขั้นตอนต่างๆ ต่อไป" นักวิเคราะห์ชาวรัสเซียกล่าว
    [แปลว่า รัสเซียพร้อมที่จะให้อภัยตุรกี แต่… มันไม่ใช่แค่กล่าวขอโทษ แล้วเรื่องจะจบนะ มันยังมีการคิดดอกทบต้นด้วย ยังมีอีกหลายขั้นตอนที่ตุรกีจะต้องพิสูจน์ตัวเองให้ได้ว่าต้องการเป็นมิตรและคืนดีกับรัสเซียจริงหรือเปล่า ความขัดแย้งระหว่างสองประเทศไม่ใช่อยู่ที่เรื่องตุรกียิง Su-24 ของรัสเซียตกเท่านั้น แกนหลักของความขัดแย้งอยู่ที่สงครามในซีเรียโน่น ซึ่งทั้งตุรกีและรัสเซียต่างก็มีส่วนเกี่ยวข้อง ถ้าตุรกียังไม่หยุดสนับสนุนกลุ่มหัวรุนแรงในซีเรียที่ต่อต้านฝ่ายรัฐบาลซีเรียที่มีรัสเซียหนุน แล้วจะคืนดีกันได้อย่างไร? ไหนจะเรื่องท่อแก๊ส เรื่องการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในตุรกีอีก ยังต้องคุยกันอีกนาน - ผู้แปล]
    ในมุมมองของ Dmitry Kulikov นั้นก็คือว่า ความยุ่งยากหลักก็คือกรุงมอสโคว์และกรุงอังการาจะต้องสร้างความร่วมมือกันทั้งหมดในประเด็นต่างๆ ในวงกว้างอีกครั้ง
    "แอร์โดกันเป็นบุคคลที่มีความซับซ้อน [complicated นั่นคือภาษาทางการทูต ส่วนภาษาชาวบ้านแปลว่าว่า ชอบเล่นตุกติก เชื่อใจไม่ได้ - ผู้แปล] สถานการณ์ในตุรกีก็มีความซับซ้อนเช่นกัน จะยังไม่มีการปรองดองกันในทันที ผมคิดว่ากรุงมอสโคว์ไม่มีมารยา (illusions /ภาพลวงตา) [แปลว่าปูตินรู้ทันเกมของแอร์โดกัน และรัสเซียก็ไม่ได้เสแสร้ง - ผู้แปล] การสนทนากันทางโทรศัพท์ระหว่างปูตินและแอร์โดกันเป็นเพียงก้าวแรกในกระบวนการที่ยาวนานและยากลำบากนี้เท่านั้น" นักวิเคราะห์กล่าวสรุป
    ป.ล. ว้าว... ยาวมาก ขอถอนหายใจก่อนนะครับ อยากจะเพิ่มความคิดเห็นของนักวิแคะไทยลงไปด้วยจังเลยอ่ะ แต่ขอยกไปไว้ในโพสต์ต่อไปนะครับ
    The Eyes
    เพจ: ปอกเปลือก ทรราช
    https://www.facebook.com/fisont
    https://vk.com/theeyesproject
    01/07/2559
    ----------
    Reasons and Prospects of Erdogan Extending Friendly Hand to Moscow
    トルコ、ロシアと関係修復 対シリア外交行き詰まり打破へ イスラエルとも関係正常化(1/2ページ) - 産経ニュース
    If Turkey and Russia restore ties, it will be on Putin's terms - CSMonitor.com
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,589
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ปอกเปลือก ทรราช
    บทวิเคราะห์กรณีแอร์โดกันยอมง้อขอภัยปูติน และปูตินก็ใจกว้างให้อภัยพร้อมทั้งให้โอกาสแอร์โดกันแก้ไขข้อผิดพลาดของตนกรณีความขัดแย้งระหว่างตุรกี-รัสเซีย (ตอนที่ 2)

    [​IMG]

    ----------
    + บทวิแคะจาก The Eyes
    ----------
    ในโพสต์ก่อนหน้านี้ได้รายงานข่าวให้ทราบแล้วว่า ปูตินได้ตัดสินใจเดินเกมนำหนึ่งก้าวด้วยการออกพระราชกฤษฎีกายกเลิกข้อจำกัดเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในตุรกี เพื่อพิสูจน์ว่ารัสเซียพร้อมที่จะรับไมตรีจากตุรกีแล้วนะ เราไม่ได้กระล่อนที่เก่งแต่พูดแต่ไม่มีการกระทำ เราพูดและทำได้ตามที่พูด แล้วคุณหละแอร์โดกัน คุณจะเดินหมากของคุณได้หรือยัง? นี่รัสเซียยอมยกเลิกการแบนการท่องเที่ยวให้ตุรกีก่อนที่รมว.ต่างประเทศของตุรกีจะเดินทางมาเจรจากับรมว.ต่างประเทศของรัสเซียที่เมืองโซชิในวันนี้ (1 ก.ค.59) ซะอีก
    คำถามที่สำคัญก็คือ อะไรทำให้แอร์โดกันต้องยอมกลืนน้ำลายตัวเองเพื่อกล่าวคำขอโทษปูตินและขอคืนดีกับรัสเซีย? คำตอบนั้นมีหลายเรื่องหลายเหตุผลด้วยกันไม่ใช่มีเพียงเหตุผลเดียวหรือคำตอบเดียว เช่นสถานการณ์ในพื้นที่ในซีเรียตอนนี้กองกำลังของกบฏฝ่ายค้านซีเรียและพวกผู้ก่อการร้ายกำลังแย่และตกเป็นรองของฝ่ายรัฐบาลซีเรียและกองกำลังชาวเคิร์ด
    ส่วนสถานการณ์โลกนั้น ตอนนี้อียูกำลังแตกคอกัน อังกฤษถอนตัวออกจากอียู ประธานคณะกรรมาธิการด้านต่างประเทศของสภาอียูเสนอร่างมตินโยบายต่างประเทศฉบับใหม่เข้าสู่สภาอียู มีเนื้อหาสนับสนับสนุนให้จัดตั้งกองทัพอียูขึ้นมาใหม่และต้องการให้มีศักยภาพเหนือกว่านาโตซึ่งอยู่ภายใต้การชักใยของสหรัฐด้วย
    ตุรกีเป็นหนึ่งในสมาชิกของนาโต้ เยอรมันซึ่งเป็นลูกพี่ใหญ่ของอียูไม่ค่อยพอใจท่าทีของตุรกีที่ใช้ผู้อพยพชาวซีเรียเป็นเครื่องมือในการกดดันอียูในเรื่องงดเว้นวีซ่าให้กับประชาชนชาวตุรกีที่จะเดินทางไปยังประเทศต่างๆ ในอียู และกดดันให้อียูรับตุรกีเข้าเป็นสมาชิกของอียู
    นั่นแปลว่าตอนนี้อียูนำโดยเยอรมันและฝรั่งเศสกำลังหันปลายหอกมาทางตุรกีที่ตอนนี้ตกอยู่ในสภาพไม่ต่างอะไรกับ "หอกหัก" ถ้าตุรกียังทะเลาะกับรัสเซียและมองว่ารัสเซียเป็นศัตรูต่อไป ก็เท่ากับว่าตุรกีกำลังโดดเดี่ยวตัวเองและถูกต้อนให้จนมุม ตอนแรกตุรกีกล้างัดกับรัสเซียด้วยการส่ง F-16 ของตนเองไปลอบยิง Su-24 ของรัสเซียแล้ววิ่งแจ้นไปฟ้องนาโต้และยูเอ็นคิดว่านาโต้จะปกป้องได้ตลอด ในช่วงเวลานั้นสหรัฐรีบออกตัวว่า เป็นเรื่องระหว่างตุรกีกับรัสเซีย (ไอไม่เกี่ยว ถ้าตุรกีอยากได้อาวุธเพิ่มเติมเพื่อทำสงครามกับรัสเซียหละก็บอกมาได้เลย พี่ม่าพร้อมจะจัดให้) ส่วนนาโต้ ตอนแรกๆ ก็ทำทีเป็นบอกว่าพวกเราสนับสนุนตุรกีเพราะเป็นนาโต้ด้วยกัน แต่รัสเซียก็ไม่ได้หลงกลที่จะโง่ไปก่อสงครามกับตุรกีโดยไม่จำเป็น
    แต่ในขณะเดียวกันนาโตก็พยายามส่งกองเรือรบของตนเองเข้าไปในน่านน้ำใกล้ชายฝั่งของตุรกี อ้างว่าเพื่อสกัดกั้นผู้อพยพ ตุรกีก็ไม่พอใจ กลายเป็นว่านาโต้กำลังงัดข้อกันเอง ประเทศสมาชิกอื่นๆ เช่นสหรัฐและเยอรมัน ส่งกองทัพและเครื่องบินรบของตนเองเข้าไปประจำการในตุรกี แต่ตุรกีกลับไม่มีกองทัพหรือฐานทัพของตนเองในประเทศเหล่านั้น เสียเปรียบเห็นๆ
    ถ้าอียูสามารถก่อตั้งกองทัพของตนเองเป็นอิสระจากสหรัฐและนาโตได้เมื่อไร นั่นก็เท่ากับว่านาโต้แตก และตุรกี (รวมทั้งสหรัฐด้วย) ก็จะตกอยู่ในภาวะ "หมาหัวเน่า" ทันที ตายหละหว่า งานนี้ตุรกียังไม่ได้เข้าเป็นสมาชิกของอียูและกำลังจะถูกตัดหางปล่อยวัด ซ้ำร้ายดันแสดงตนเป็นปฏิปักษ์กับรัสเซียอีก หากเกิดเรื่องร้ายขึ้นมาแล้วใครจะช่วยลูกหลายอดีตอาณาจักรอ็อตโตมานที่ยิ่งใหญ่ในอดีตหละนี่?
    จริงๆ แล้วก่อนหน้านี้ ที่สหรัฐและอียูรวมหัวกันแซงชั่นรัสเซีย ตุรกีไม่ร่วมด้วย ตุรกีเป็นหนึ่งในหลายประเทศที่ได้ผลประโยชน์เป็นอย่างมาก สามารถส่งสินค้าเข้าไปแทนที่ของอียูในตลาดในรัสเซียได้สบายแบบบุญหล่นทับเลย และยังมีโครงการท่อแก๊สสาย Turkish Stream ที่จะลากผ่านตุรกีไปยังกรีซอีก เงินทั้งนั้น แต่แอร์โดกันดันสั่งให้เครื่องบิน F-16 ของตนเองไปซุ่มยิง Su-24 ของรัสเซียตกซะนี่
    เพียงเพราะโลภมากที่ชอบหากินจากการค้าน้ำมันเถื่อนในซีเรียและอิรัคกับพวกไอซิส พอรัสเซียส่งกองทัพเข้าไปในซีเรีย และทิ้งระเบิดใส่ขบวนรถขนน้ำมันเถื่อนที่จะเดินทางเข้าไปในตุรกีจำนวนมาก เสียหายยับเยินหลายครั้ง แอร์โดกันหน้ามืดจึงสั่งให้ยิงเครื่องบินทิ้งระเบิดของรัสเซียตกไปหนึ่งลำ คงคิดว่าจะสั่งสอนรัสเซียและทำให้รัสเซียกลัวและถอนกำลังออกจากซีเรีย แต่เหตุการณ์กับไปไม่เป็นไปอย่างที่คาดหวังเอาไว้ แทนที่รัสเซียจะถอนทัพออกไป กลับเสริมกำลังทัพให้มีความเข้มแข็งให้กับกองทัพของตนเองในซีเรียและกองทัพของฝ่ายรัฐบาลซีเรียยิ่งขึ้นไปอีก จู่ๆ ก็มี S-400 ของรัสเซียเข้าไปอยู่ในซีเรีย เล่นเอาเครื่องบินรบของตุรกีเป็นหมันไปทันทีไม่กล้าขึ้นบินเข้าไปหาเรื่องทิ้งระเบิดใส่กองกำลังชาวเคิร์ดในซีเรียอีกเลย
    งานนี้แอร์โดกันกุมขมับมึนตึ๊บ ซ้ำร้ายเครื่องบินรบของรัสเซียและซีเรียก็กระหน่ำทิ้งระเบิดใส่ลูกสมุนของตุรกีในซีเรียอย่างไม่ปรานี และกองกำลังภาคพื้นดินของฝ่ายรัฐบาลซีเรียก็สามารถยึดคืนพื้นที่จากกลุ่มก่อการร้ายได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พวกกองกำลังฝ่ายค้านซีเรียบางส่วน ก็ยอมวางอาวุธเข้ามอบตัวกับทางการ เพื่อรอการนิรโทษกรรมต่อไป บางส่วนก็แปรพักตร์และเข้าร่วมกับกองกำลังฝ่ายรัฐบาลเพื่อต่อสู้กลุ่มก่อการร้าย
    สถานการณ์ในซีเรีย ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลเริ่มตกเป็นรอง และพ่ายแพ้เป็นส่วนมาก นั่นก็หมายความว่าเป็นความพ่ายแพ้ของตุรกีด้วย ส่วนสถานการณ์โลก พันธมิตรนาโต้และอียูของตุรกีก็ไว้ใจไม่ได้ กล่าวคือไม่มีใครไว้ใจกันพวกอียูก็ไม่ไว้ใจตุรกี ตุรกีก็ไม่ไว้ใจอียู และตุรกีก็กำลังขัดแย้งกับเยอรมันอีกด้วย ซวยซ้ำซวยซ้อนอะไรอย่างนี้ นั่นคือความพลาดอย่างมหันต์ในการดำเนินนโยบายต่างประเทศของแอร์โดกันในช่วงที่ผ่านมา
    แต่ก่อนที่จะถูกกดให้ถูกทะเลทรายในตะวันดูดจนขาดใจตาย แอ์โดกันก็มาคิดได้ว่าขืนปล่อยให้เป็นอย่างนี้ต่อไปไม่ดีด้วยประการทั้งปวง ถ้ายังไงซะ การได้รัสเซียกลับมาเป็นพันธมิตรที่แข็งแกร่งเพื่อถ่วงดุลพวกอียูและสหรัฐ ย่อมจะดีกว่าการเป็นศัตรูกับรัสเซียเป็นแน่ สุดท้ายก็จบลงที่การส่งจดหมายไปขอโทษปูติน ซึ่งถือว่าเป็นการเริ่มต้นในการรื้อฟื้นมิตรภาพระหว่างสองประเทศอีกครั้ง
    มีรายงานข่าวบอกว่าตุรกีอาจจะเปลี่ยนจุดยืนเกี่ยวกับวิกฤตในซีเรียก็ได้ รัสเซียต้องการให้ตุรกีร่วมมือในการต่อต้านขบวนการก่อการร้ายในซีเรีย แต่ยังไม่เปิดเผยเงื่อนไขและวิธีการว่าจะให้ตุรกีร่วมมืออย่างไร อาจจะบอกว่าตุรกีต้องร่วมมือด้วยการหยุดการสนับสนุนอาวุธและกำลังพลให้กับกลุ่มติดอาวุธต่างๆ ในซีเรียก็ได้ ปล่อยให้ฝ่ายรัฐบาลซีเรียและพันธมิตรจัดการกับพวกดาอิชต่อไป ถ้าเป็นแบบนี้ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่สหรัฐจะยอมให้ตุรกีวางมือได้หรือ พี่แกลงทุนไปเยอะแล้วนะ?
    ตอนนี้ปัญหาใหญ่ของตุรกีนอกจากเรื่องเศรษฐกิจแล้วก็คือ เรื่องชาวเคิร์ดในภาคตะวันออกของตุรกีต้องการแบ่งแยกดินแดน และฝ่ายที่สนับสนุนอาวุธให้เคิร์ดก็คือสหรัฐและเหล่าพันธมิตรนาโตด้วยกันเองนั่นแหละ ตอนหลังรัสเซียก็สนับสนุนเคิร์ดด้วย กรรม! ถ้าแอร์โดกันไม่รีบมาขอคืนดีกับรัสเซีย สถานการณ์ภายในของตุรกีเองอาจจะย่ำแย่ยิ่งกว่าเดิมก็ได้
    จริงๆ แล้วรัสเซียไม่ได้สนับสนุนเคิร์ดในตุรกีนะ รัสเซียสนับสนุนเคิร์ดในซีเรียเพราะต้องการพันธมิตรในการต่อสู้กับกองกำลังของกลุ่มก่อการร้าย เหมือนกับที่สหรัฐและตะวันตกทำนั่นแหละ แต่อาวุธต่างๆ มันก็หาทางไปอยู่ในมือของเคิร์ดในตุรกีจนได้ ก็เหมือนกับที่สหรัฐ ตะวันตก ตุรกี ซาอุดิอาระเบีย อิสราเอล สนับสนุนอาวุธให้กับกลุ่มกบฏซีเรีย สุดท้ายแล้วอาวุธเหล่านั้นก็ไปตกอยู่ในมือของพวกผู้ก่อการร้ายนั่นแหละ คร่าวๆ ก็ประมาณนี้แหละ นี่ขนาดคร่าวๆ นะ
    The Eyes
    เพจ: ปอกเปลือก ทรราช
    https://www.facebook.com/fisont
    https://vk.com/theeyesproject
    01/07/2559
    ----------
    Turkey's Realpolitik: Ankara May Change Its Stance on Syrian Crisis
    https://www.rt.com/news/348927-eu-security-strategy-army/
    https://www.rt.com/business/348872-turkish-stream-project-financing/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...