ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    รัสเซีย ฉลาดมากครับ การสู้อเมริกาต้องสร้างความเสียหายกับอเมริกา ในประเทศอเมริกา และต้องให้คนอเมริการเดือดร้อนให้ได้ จึงจะชนะ อเมริกาประเทศที่นิยมทำสงครามในพื้นที่บ้านคนอื่นน่ะครับ ทำอย่างนี้ถึงจะมีสิทธิชนะ

    Weekend Focus:รัสเซียกร้าว! เสริม “NUKE” ข้ามทวีปเกือบครึ่งร้อย รับภัยคุกคามมะกัน-นาโต โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 20 มิถุนายน 2558 00:59 น.

    [​IMG]

    หนึ่งในประเด็นข่าวร้อนฉ่าทางด้านการเมืองและความมั่นคงระหว่างประเทศ ที่ผุดขึ้นมาเมื่อช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น ปฏิเสธไม่ได้ว่าจะต้องมีข่าวความเคลื่อนไหวของรัสเซีย ในการเสริมเขี้ยวเล็บด้วยการประกาศเพิ่มจำนวนของ “ขีปนาวุธข้ามทวีป” อีกเกือบครึ่งร้อยลูก เพื่อตอบโต้ภัยคุกคามจากสหรัฐอเมริกาและบรรดาลิ่วล้อที่เป็นประเทศสมาชิกในองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต) รวมอยู่ด้วยเป็นแน่

    ก่อนหน้านี้ เป็นที่ทราบกันดีว่า ตลอดช่วงระยะเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลรัสเซียกับสหรัฐอเมริกาและความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับโลกตะวันตกได้ก้าวเข้าสู่ภาวะเสื่อมทรามลงถึงขีดสุด จากผลพวงของวิกฤตทางการเมืองในยูเครนจากการที่ผู้นำและรัฐบาลที่มีความใกล้ชิดกับมอสโกถูกโค่นอำนาจโดยฝ่ายที่โปรตะวันตก และความขัดแย้งระหว่างชาวยูเครนทั้งฝ่ายที่ฝักใฝ่ตะวันตกกับฝ่ายนิยมรัสเซีย ที่ในที่สุดแล้วก็ได้ลุกลามบานปลายจนกลายเป็นสงครามกลางเมืองในพื้นทื่ภาคตะวันออกของประเทศ

    นอกจากนั้น การลงประชามติครั้งประวัติศาสตร์ใน “สาธารณรัฐปกครองตนเองไครเมีย” ซึ่งตามมาด้วยการแยกตัวของไครเมียออกจากยูเครน เพื่อไปผนวกรวมเข้าเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของรัสเซีย ต่างก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ยิ่ง “โหมกระพือเชื้อไฟแห่งความตึงเครียด” ให้รัสเซียและโลกตะวันตกยิ่ง“มองหน้ากันไม่ติด” มากกว่าเดิม

    ที่ผ่านมารัฐบาลสหรัฐฯภายใต้การนำของบารัค โอบามาได้ดำเนินการหลายอย่าง เพื่อคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจและหาทางสกัดกั้นการแผ่ขยายอิทธิพลของรัฐบาลมอสโกภายใต้การนำของวลาดิมีร์ ปูตินในทุกช่องทาง แต่ทว่าสิ่งที่กลายเป็น “ฟางเส้นสุดท้าย” ที่นำไปสู่จุดแตกหัก คือ การที่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รัฐบาลอเมริกันตกเป็นข่าวว่าเตรียมประกาศแผนติดตั้ง “อาวุธหนัก” และนำทหารจากเมืองลุงแซมกว่า 5,000 ชีวิตเข้าประจำการในประเทศแถบยุโรปตะวันออกและรัฐแถบทะเลบอลติก ตามรายงานของสื่อดังอย่าง “นิวยอร์กไทม์ส”

    แต่ไหนแต่ไรมา เป็นที่ทราบกันดีโดยทั่วไปว่า ยุโรปตะวันออกและรัฐแถบทะเลบอลติก คือ อาณาบริเวณที่เปรียบเสมือน “สวนหลังบ้านของรัสเซีย” ดังนั้น จึงมิใช่เรื่องที่น่าแปลกประหลาดใจแต่อย่างใด หากแผนการติดตั้งอาวุธหนัก และนำกำลังทหารสหรัฐฯเข้ามาประจำการในดินแดนแถบนี้ จะสร้างความขุ่นเคืองอย่างใหญ่หลวงให้กับรัสเซีย ถึงขั้นที่ทำให้วลาดิมีร์ ปูตินออกอาการฉุนขาด จนต้องประกาศแผนเพิ่มขีปนาวุธข้ามทวีปซึ่งรองรับการติดหัวรบนิวเคลียร์ครั้งใหญ่รวดเดียวถึง 40 ลูกเป็นอย่างน้อย

    ปูติน ผู้นำรัสเซียให้เหตุผลว่า รัสเซียจำเป็นต้องป้องกันตนเองหากถูกคุกคาม ถึงแม้การขยับตัวล่าสุดของพญาหมีขาวในคราวนี้ จะถูกฝ่ายสหรัฐฯ กล่าวหาว่า มอสโกกำลังรื้อฟื้น “สถานะสงครามเย็น” ที่ทำให้โลกกลับเข้าสู่ “ยุคแห่งความหวาดระแวง” กันอีกครั้ง

    แต่หากจะมองอย่างเป็นกลางแล้ว ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า สหรัฐอเมริกาและลิ่วล้อในยุโรป ดูจะเป็นฝ่ายที่เริ่มก่อสงครามเย็นรอบใหม่นี้ขึ้นมาก่อน และการขยับบทบาทของนาโตในระยะหลัง ที่พุ่งเป้าเข้าประชิดเขตแดนของรัสเซียมากขึ้นเรื่อยๆ ได้ปลุกให้รัสเซียเริ่มการตอบโต้แบบ “แรงมา-แรงไป” ในคราวนี้

    วลาดิมีร์ ปูตินประกาศแผนเพิ่มขีปนาวุธข้ามทวีป (Intercontinental ballistic missile : ICBM) รุ่นใหม่ ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 40 ลูกที่มีพิสัยทำการตั้งแต่ 5,500 กิโลเมตรขึ้นไป เข้าสู่คลังแสงอาวุธนิวเคลียร์ของตนภายในสิ้นปี 2015 นี้ และว่า ขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ “เมด อิน รัสเซีย” นี้ สามารถทำลายระบบป้องกันขีปนาวุธที่ใช้เทคโนโลยีทันสมัยที่สุดของโลกตะวันตกได้ในชั่วพริบตา

    ทั้งนี้ข้อมูลล่าสุดจากสถาบันวิจัยสันติภาพนานาชาติสต็อคโฮล์ม (Stockholm International Peace Research Institute :SIPRI) บ่งชี้ว่า ในเวลานี้รัสเซียมี “หัวรบนิวเคลียร์” ในความครอบครองราว 7,500 หัวรบ โดยที่ในจำนวนนี้มีอยู่ 1,780 หัวรบที่ติดตั้งเข้ากับขีปนาวุธแล้วและอยู่ในสภาพ “พร้อมกดปุ่มยิง”

    ความเคลื่อนไหวล่าสุดของรัสเซียถือว่ามีความน่าสนใจไม่น้อย เพราะนี่ถือเป็นครั้งแรกๆ ที่รัสเซียเป็นฝ่าย “ออกหมัด” เข้าใส่คู่ต่อสู้ หลังจากที่เอาแต่เก็บตัวเงียบและปล่อยให้ตัวเองถูก “รุมกินโต๊ะ” มานานเป็นแรมปีทั้งจากสหรัฐอเมริกาและยุโรปตะวันตก

    และที่น่าติดตามมากยิ่งขึ้นไปอีกก็คือวิธีการเดินหมากของรัสเซียที่มิใช่การเลือกใช้หมากธรรมดาทั่วไป แต่เป็นการเดินเกมด้วย “หมากนิวเคลียร์” ซึ่งทำเอาสหรัฐฯและโลกตะวันตกเริ่มอยู่ไม่เป็นสุข และอาจต้องเริ่มกลับมาทบทวนบทบาทของตนในช่วงที่ผ่านมาว่า คิดดีแล้วหรือที่เลือกเป็นปฏิปักษ์กับมอสโก ด้วยการเอาชีวิตผู้คนทั่วโลกไปเสี่ยงกับ “สงครามนิวเคลียร์” ที่สักวันหนึ่งอาจเกิดขึ้นจริง หาใช่เป็นแต่เพียง “คำขู่” อย่างในยุคสงครามเย็นอีกต่อไป

    Weekend Focus:
     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    นี่คือทางรอดของ กรีซ คือจับมือกับรัสเซีย ส่วนหนี้สินก็อาจอ้างว่าหลักเกณฑ์การกู้ยืมเงินเป็นการขัดหลักสิทธิมนุษยชนชาวกรีซ เพื่อประวิงเวลาการจ่ายหนี้ออกไป และหันไปทวงเงินที่ได้รับผลกระทบจากสงครามโลกจากเยอรมัน ซึ่งกว่าจะทวงได้ก็คงจะนาน เพื่อนำมาใช้หนี้ให้ทรอยก้า และไอเอ็มเอฟ ฉลาดดีน่ะครับ มุกนี้ ผมคิดว่าอาจมีการทวงหนี้ค่าเสียหายจากเยอรมันอย่างหนักหน่วง

    “กรีซ-รัสเซีย” ลงนามข้อตกลงร่วมมือสร้างท่อส่งก๊าซผ่านกรีซ
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 19 มิถุนายน 2558 17:22 น.

    [​IMG]


    เอเอฟพี – รัสเซียและกรีซลงนามข้อตกลงเบื้องต้นฉบับหนึ่งในวันนี้ (19) เพื่อที่จะจัดตั้งกิจการร่วมทุนเพื่อสร้างท่อส่งก๊าซผ่านกรีซ มอสโคระบุ

    “นี่เป็นการเริ่มต้นของโครงการลงทุนขนาดใหญ่ในกรีซที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศนี้” อเล็คซานเดอร์ โนวัค รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานรัสเซีย กล่าวในพิธีลงนามครั้งนี้ที่มีขึ้นระหว่างการประชุมเศรษฐกิจนานาชาติเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ทั้งนี้อ้างจากบัญชีทวิตเตอร์อย่างเป็นทางการของกระทรวงนี้

    เขาคาดว่า ปริมาณการจ่ายก๊าซโดยรวมทั้งสิ้นจะอยู่ที่ 4.7 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตร

    ทั้งสองประเทศจะเป็นเจ้าของกิจการนี้ร่วมกัน โอลกา โกแลนต์ โฆษกหญิงของกระทรวงฯ บอกกับเอเอฟพี

    ก่อนหน้านี้ ก๊าซพรอม บริษัทก๊าซยักษ์ใหญ่ของแดนหมีขาวได้เสนอที่จะจ่ายค่าก่อสร้างท่อส่งก๊าซในกรีซ ส่วนขยายของ เติร์กสตรีม (TurkStream) โครงการร่วมทุนด้านพลังงานระหว่างรัสเซียและตุรกี ซึ่งมีเป้าหมายที่จะส่งก๊าซไปยังยุโรปโดยไม่ผ่านยูเครน

    การลงนามดังกล่าวมีขึ้นไม่นานก่อนที่ประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซียจะจัดการประชุมกับนายกรัฐมนตรี อเล็กซิน ซีปราส ของกรีซ ท่ามกลางวิกกฤตการธนาคารที่อาจะได้เห็นประเทศนี้ผิดนัดชำระหนี้

    เมื่อปีที่แล้ว มอสโคได้ยกเลิกโครงการเซาท์สตรีมที่จะสร้างท่อส่งก๊าซไปยุโรปตะวันออกเฉียงใต้หลังจากที่การก่อสร้างได้เริ่มขึ้นแล้ว เนื่องจากความสัมพันธ์กับสหภาพยุโรปตกต่ำถึงขีดสุดจากเรื่องบทบาทของรัสเซียในความขัดแย้งของยูเครน

    มอสโคได้ประกาศสร้างท่อส่งก๊าซไปตุรกีแทน ซึ่งน่าจะพร้อมใช้ในเดือนธันวาคมปี 2016 และบอกกับบรรดาชาติยุโรปว่า พวกเขาจะต้องสร้างส่วนเชื่อมต่อเพื่อรับก๊าซนี้ไป

     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ตั้งข้อหาฆาตกรรมมือกราดยิงโบสถ์คนดำ สารภาพหวังปลุก'สงครามผิวสี'ในสหรัฐฯ โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 19 มิถุนายน 2558 23:25 น.

    [​IMG]

    นายดีแลนด์ รูฟ ถูกตั้งข้อหาในฐานความผิดฆาตกรรม 9 กระทง ต่อกรณีลงมือโจมตีโบสถ์คริสเตียนเก่าแก่ขณะที่ผู้คนผิวสีกำลังสวดอธิษฐาน ในเมืองชาร์ลสตัน มลรัฐเซาท์

    รอยเตอร์ - ชายผิวขาววัย 21 ปีถูกตั้งข้อหาในฐานความผิดฆาตกรรม 9 กระทง ต่อกรณีลงมือโจมตีโบสถ์คริสเตียนเก่าแก่ขณะที่ผู้คนผิวสีกำลังสวดอธิษฐาน ในเมืองชาร์ลสตัน มลรัฐเซาท์แคโรไลนา เมื่อช่วงค่ำคืนวันพุธ (17 มิ.ย.) จากการเปิดเผยของตำรวจท้องถิ่นในวันศุกร์(19มิ.ย.) ขณะที่สื่อมวลชนรายงานว่าเจ้าตัวสารภาพหวังใช้ปฏิบัติการของตนเองปลุกปั่นสงครามผิวสีในสหรัฐฯ

    กรมตำรวจเมืองชาร์ลสตันบอกว่านอกจากข้อกล่าวหาข้างต้นแล้ว นายดีแลนด์ รูฟ ยังถูกตั้งข้อหาครอบครองอาวุธปืนระหว่างก่ออาชญากรรมรุนแรงอีกด้วย ทั้งนี้เขามีกำหนดรับฟังการพิจารณาคำร้องขอประกันตัวในช่วงค่ำวันศุกร์(19มิ.ย.) ตามเวลาท้องถิ่น แต่คาดหมายว่าเขาจะปรากฎตัวต่อศาลผ่านวิดีโอลิงค์

    การแจ้งข้อหามีขึ้น 1 วันหลังจากนายดีแลนด์ รูฟ ถูกรวบตัวได้ในนอร์ทแคโลไลนา ห่างจากโบสถ์เอ็มมานูเอล แอฟริกัน เมโทดิสต์ เอปิสโคปัล เชิร์ช (โบสถ์เอ็มมานูเอล เอเอ็มอี) ที่เขาก่อเหตุกราดยิงนักแสวงบุญผิวดำเสียชีวิต 9 คน ไปทางเหนือราว 354 กิโลเมตร

    เหยื่อของเหตุโจมตีครั้งนี้ แบ่งเป็นผู้หญิง 6 คนและชาย 3 คน โดย 8 รายเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ และไปสิ้นลมที่โรงพยาบาลอีก 1 คน นอกจากนี้แล้วยังมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกหลายคน ขณะที่ ท็อดด์ รัตเทอร์ฟอร์ด ผู้นำเสียงข้างน้อยในสภาผู้แทนราษฎรมลรัฐเซาท์แคโรไลนา เปิดเผยว่า ศิษยาภิบาลที่เป็นหัวหน้าผู้ดูแลโบสถ์แห่งนี้คือ คลีเมนตา พิงค์นีย์ ซึ่งเป็นสมาชิกวุฒิสภาของมลรัฐด้วยนั้น เป็น 1 ใน 9 ผู้เสียชีวิต

    เจ้าหน้าที่กำลังสืบสวนเหตุโจมตีของนายรูฟ ในฐานะ "อาชญากรรมจากความเกลียดชัง" เหตุนองเลือดซึ่งเกิดขึ้นท่ามกลางปีแห่งความยุ่งเหยิงในสหรัฐฯ จากกรณีตำรวจสังหารชายผิวดำไม่มีอาวุธหลายคน ซึ่งกระพือการโต้แย้งอย่างโกรธเกรี้ยวทั่วประเทศเกี่ยวกับประเด็นความสัมพันธ์ทางผิวสี ใช้กำลังเกินกว่าเหตุของตำรวจและระบบยุติธรรม

    ซีเอ็นเอ็นรายงานโดยอ้างแหล่งข่าวเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายคนหนึ่งเผยว่านายรูฟ ให้การรับสารภาพว่าเป็นผู้ลงมือโจมตีดังกล่าวและบอกว่าเป้าหมายคือตั้งใจจุดชนวนการเผชิญหน้าทางผิวสีครั้งใหม่ขึ้นมา อย่างไรก็ตามโฆษกตำรวจชาร์ลสตันปฏิเสธแสดงความคิดเห็นต่อรายงานข่าวนี้

    นิคกิ ฮาลีย์ ผู้ว่าการรัฐเซาท์แคโรไลนา ให้สัมภาษณ์กับรายงานทูเดย์โชว์ของสถานีโทรทัศน์เอ็นบีซีในวันศุกร์(19มิ.ย.) ว่าเธออยากเห็นนายรูฟ ถุกดำเนินคดีตามกฎหมายรัฐและเชื่อว่าอัยการของรัฐจะแสวงหาโทษประหารชีวิตแด่ผู้ต้องสงสัยรายนี้ "แน่นอนว่ามันคืออาชญากรรมจากความเกลียดชัง เรากำลังพูดคุยกับเจ้าหน้าที่สืบสวน เพราะว่าเราต้องสอบปากคำอย่างละเอียด พวกเขาบอกว่าพวกเขารู้สึกเหมือนกำลังจ้องมองปีศาจอยู่"

    อย่างไรก็ตามเซาท์แคโรไลนา เป็น 1 ใน 5 มลรัฐของสหรัฐฯ ที่ไม่มีกฎหมายอาชญากรรมจากความเกลียดชัง ซึ่งสามารถกำหนดบทลงโทษเพิ่มเติมต่อการกระทำผิดทางอาญาใดๆ อันเนื่องจากผิวสี เพศและวิถีทางเพศของเหยื่อ

    ประธานาธิบดีบารัค โอบามาแห่งสหรัฐฯ กล่าวเมื่อวันพฤหัสบดี(18มิ.ย.) ว่าการโจมตีดังกล่าวกระพือด้านมืดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ และเป็นตัวอย่างความอันตรายของกฎหมายพกพาอาวุธปืนเสรีของประเทศ ที่เหล่าผู้สนับสนุนสิทธิในการครอบครองอาวุธปืนบอกว่าได้รับการคุ้มครองตามบทบัญญัติเพิ่มเติม ในมาตรา 2 ของรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ

    ในวันศุกร์(19มิ.ย.) ชาวบ้านในพื้นที่ ในนั้นรวมถึงเหล่าแม่ชี ไปรวมตัวที่โบสถ์เก่าแก่ อันเป็นสถานที่เกิดเหตุกราดยิง หลายคนสวดมนต์ภาวนาทั้งน้ำตาและวางดอกไม้ไว้ใกล้ๆแนวเทปสีเหลืองของตำรวจ ส่วนอีกฟากหนึ่งของแนวกั้น เหล่าเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายก็ยังคงทำงานรวบรวมหลักฐาน

    เจอร์เมน เจนกินส์ นักสังคมสงเคราะห์วัย 25 ปี เชื่อว่าการหลั่งไหลออกมาร่วมไว้อาลัยของผู้คน แสดงให้เห็นว่าเป้าหมายกระพือความไม่สงบทางผิวสีรอบใหม่ของนายรูฟนั้นล้มเหลว "ไมคิดว่า เขาจะประสบความสำเร็จในการก่อสงครามผิวสี" เจนกินส์ ซึ่งเป็นคนผิวดำกล่าว


     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    อเมริการอยู่ไกล จีนอยู่ใกล้เกิดสงครามระหว่างจีนกับ ฟิลิปปินส์กว่าอเมริกายกพลมาช่วย ฟิลิปปินส์ก็เสร็จจีนไปเรียบร้อยแล้ว

    โพลเผย! ชาวฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่กลัวเกิด “ความขัดแย้งรุนแรง” กับจีนเพราะข้อพิพาททะเลจีนใต้ โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 19 มิถุนายน 2558 15:40 น.

    [​IMG]

    นักเคลื่อนไหวท้องถิ่นรวมตัวประท้วงหน้าสถานทูตจีนในกรุงมานิลา เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ปี 2015

    เอเอฟพี – 8 ใน 10 ของชาวฟิลิปปินส์เป็นกังวลว่าข้อพิพาททางดินแดนทะเลจีนใต้ที่เรื้อรังอาจก่อให้เกิด “ความขัดแย้งรุนแรง” กับชาติที่มีประชากรมากที่สุดในโลกอย่างจีน สำนักจัดทำโพลอิสระแห่งหนึ่ง เปิดเผยในวันนี้ (19)

    สำนักโพล Social Weather Stations ซึ่งมีฐานในกรุงมานิลา ระบุว่า ความรู้สึกดังกล่าววนเวียนอยู่ในความนึกคิดของประชาชนนับตั้งแต่ที่แดนตากาล็อกยอมถอยจากการเผชิญหน้าอย่างตึงเครียดกับแดนมังกรในเรื่องการควบคุมพื้นที่ประมงอันอุดมสมบูรณ์รอบเกาะปะการังสการ์โบโรห์ในปี 2012

    ผลสำรวจนี้เผยให้เห็นว่า 84 เปอร์เซ็นต์ของผู้ถูกสำรวจ 1,200 คน รู้สึก “เป็นกังวล” เกี่ยวกับความขัดแย้งรุนแรงกับจีน โดยราวครึ่งหนึ่งรู้สึก “เป็นกังวลอย่างยิ่ง” ขณะที่มากกว่า 1 ใน 3 รู้สึก “ค่อนข้างเป็นกังวล”

    โพลลักษณะนี้มีการจัดทำขึ้นในทุกๆ ปีนับตั้งแต่ปี 2012 และในแต่ละการสำรวจนั้น จะมีอย่างน้อย 80 เปอร์เซ็นต์ของผู้ถูกสำรวจทีมีความกังวลว่า ข้อพิพาททางทะเลดังกล่าวอาจพัฒนาความขัดแย้งเต็มรูปแบบกับเพื่อนบ้านมหาอำนาจในเอเชียของฟิลิปปินส์

    “มันเป็นธรรมดาที่พวกเราจะกังวลเกี่ยวกับความขัดแย้งรุนแรง เนื่องจากมันเป็นความจริงว่ามันไม่ได้เอื้อประโยชน์ต่อผู้ใดเลย” อาบิเกล วัลเต โฆษกหญิงประธานาธิบดี บอกกับเอเอฟพี เมื่อถูกถามความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการสำรวจนี้

    “นี่คือเหตุผลว่าทำไมรัฐบาลของเราจึงเลือกใช้วิธีการสันติในการแก้ไขข้อพิพาทดังกล่าว” เธอกล่าว

    โพลเผย! ชาวฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่กลัวเกิด “ความขัดแย้งรุนแรง” กับจีนเพราะข้อพิพาททะเลจีนใต้

    วิกฤตเกาะปะการังสกาโบโรห์จบลงด้วยการที่ปักกิ่งได้ครอบครองพื้นที่ประมงดังกล่าว ซึ่งอยู่ห่างจากเกาะหลักลูซอนของฟิลิปปินส์ 220 กิโลเมตร

    ตัวเกาะตั้งอยู่ห่างจากเกาะไหหลำ 65 กิโลเมตร เกาะซึ่งใกล้กับแผ่นดินใหญ่ของจีนมากที่สุด

    จีนและฟิลิปปินส์ยังมีข้อพิพาทเหนือเกาะและแนวปะการังอื่นๆ ในทะเลจีนใต้ โดยฝ่ายมานิลาพยายามขอคำตัดสินจากศาลอาญาระหว่างแระเทศ แต่จีนปฏิเสธที่จะเข้าร่วมกระบวนพิจารณาดังกล่าว

    เวียดนาม , มาเลเซีย , บรูไน และไต้หวันก็มีการอ้างสิทธิ์ทับซ้อนกันเหนือทะเลจีนใต้ ซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งทางทะเลสายหลักและเชื่อกันว่ามีแหล่งแร่ธาตุสำรองมหาศาลอยู่

    จีนได้เร่งการก่อสร้างเกาะเทียมในพื้นที่ดังกล่าวเพื่อให้การอ้างอำนาจอธิปไตยของตนเหนือน่านน้ำดังกล่าวเกือบทั้งหมดมีน้ำหนักยิ่งขึ้น แม้ว่ามันจะเป็นน่านน้ำใกล้กับชายฝั่งของเพื่อนบ้านก็ตาม

    โพลชิ้นนี้ยังเผยให้เห็นด้วยว่า ชาวฟิลิปปินส์จำนวนมากขึ้นไม่เห็นด้วยกับการรับมือกับข้อพิพาทดังกล่าวของรัฐบาล ในขณะที่จีนกระทำการอื่นๆ เพื่อเพิ่มน้ำหนักให้กับการอ้างสิทธิ์ของตน รวมถึงการคุกคามชาวประมงฟิลิปปินส์

    ในเดือนเมษายน ทางการฟิลิปปินส์กล่าวหาหน่วยยามชายฝั่งของจีนว่าใช้ปืนข่มขู่เอาปลาไปจากชาวประมงฟิลิปปินส์ที่เกาะสการ์โบโรห์ และยิงปืนฉีดน้ำแรงดันสูงไล่ชาวประมงกลุ่มหนึ่ง

    46 เปอร์เซ็นต์ของผู้ถูกสำรวจไม่เห็นด้วยกับการตอบสนองของรัฐบาลต่อการกระทำดังกล่าวของจีนที่เกาะสกาโบโรห์ เพิ่มขึ้นจาก 32 เปอร์เซ็นต์ในปีที่แล้วและ 27 เปอร์เซ็นต์ในปี 2013

    49 เปอร์เซ็นต์ในการสำรวจล่าสุดนี้ ซึ่งมีการจัดทำขึ้นเป็นเวลา 4 วันในเดือนมีนาคม ระบุว่า พวกเขาเห็นด้วยกับการตอบสนองของรัฐบาล

     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ‘นายกฯโมดี’เคือง ‘จีน’ ขณะ‘อเมริกา’ตามจีบให้‘อินเดีย’ร่วมยุทธศาสตร์‘ปักหมุด’
    โดย เอ็ม เค ภัทรกุมาร 20 มิถุนายน 2558 13:36 น.

    (เก็บความจากเอเชียไทมส์ Asia Times)

    Testing times for India’s China policies
    By M.K. Bhadrakumar
    08/06/2015

    รายงานอย่างเป็นทางการของนิวเดลี กับของวอชิงตัน ในเรื่องการเยือนอินเดียของรัฐมนตรีกลาโหม แอชตัน คาร์เตอร์ ของสหรัฐฯเมื่อต้นเดือนมิถุนายนนี้ มีเนื้อหาที่แตกต่างกันอย่างน่าสังเกต ความผิดแผกกันเช่นนี้สะท้อนให้เห็นว่านายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ของแดนภารตะ ยังไม่ต้องการแสดงตนอย่างเปิดเผยว่าได้ปรับเปลี่ยนจุดยืนของอินเดีย โดยขยับเข้าใกล้ยุทธศาสตร์ “ปักหมุด” ในเอเชียของอเมริกาเพิ่มมากขึ้น

    ในบทวิจารณ์ชั้นหนึ่งซึ่งเผยแพร่เมื่อต้นเดือนมิถุนายนนี้ สำนักข่าวซินหวาของทางการจีนได้ตวาดแหวใส่วอชิงตันว่า กำลังกระทำการ “ล่าแม่มดโดยถือจีนเป็นเป้าหมาย” ท่ามกลางภูมิหลังความตึงเครียดซึ่งพุ่งพรวดขึ้นในทะเลจีนใต้ช่วงระยะหลังๆ มานี้ บทวิจารณ์กล่าวในตอนหนึ่งว่า “เสียงประสานของกระบวนการทำให้จีนกลายเป็นปีศาจร้าย มีแต่ดังกึกก้องขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่ช่วงต้นปีนี้มา ... สืบเนื่องจากความผิดหวัง หรือเป็นไปได้ว่าอาจจะมาจากความหมดหวัง สหรัฐฯจึงได้วางแผนการอย่างถี่ถ้วนละเอียดลออเพื่อป้ายร้ายจีนให้กลายเป็นจอมอันธพาลเกะกะระรานระดับภูมิภาค เป็นนักสร้างความยุ่งยากวุ่นวายและผู้ร้ายตัวฉกาจ ซึ่งสั่นคลอนเสถียรภาพของระเบียบแห่งภูมิภาคเอเชีย ที่สหรัฐฯเป็นผู้ครอบงำบงการอยู่”

    ระหว่างที่รัฐมนตรีกลาโหม แอชตัน คาร์เตอร์ (Ashton Carter) ของสหรัฐฯไปเยือนกรุงนิวเดลีเมื่อตอนต้นเดือนมิถุนายนเช่นกันนั้น เขาได้พยายามใช้โอกาสดังกล่าวในการว่าร้ายป้ายสีจีน “ให้กลายเป็นปีศาจ” มากน้อยแค่ไหน เราคงไม่มีทางทราบได้ แต่เราสามารถที่จะคาดทายได้อย่างมีเหตุมีผลทีเดียวว่า เขาได้หยิบยกเรื่องจีนขึ้นมาหารือกับนายกรัฐมนตรี นเรนทรา โมดี ของอินเดีย ด้วย – และบางทีเขาทำเช่นนั้น เนื่องจากทราบดีว่าเขาจะได้ผู้ฟังที่พร้อมเออออห่อหมกด้วย

    อย่างไรก็ตาม ตรงกันข้ามกับเวอร์ชั่นของฝ่ายอเมริกัน คำให้การอย่างเป็นทางการของฝ่ายอินเดียเกี่ยวกับการเยือนของรัฐมนตรีคาร์เตอร์คราวนี้ มีความใส่ใจระมัดระวังที่จะวาดภาพให้เห็นว่าคณะผู้นำของอินเดียนั้น วางตัวอยู่ห่างไกลจากการเข้าร่วมสมคบแม้กระทั่งอย่างอ้อมๆ เฉียดๆ กับสิ่งที่สำนักข่าวซินหวาเรียกว่า “เสียงประสานของกระบวนการทำให้จีนกลายเป็นปีศาจร้าย”

    ความแตกต่างไม่ลงรอยกันระหว่างรายงานอย่างเป็นทางการของทั้งสองประเทศนี้ (ซึ่งมีการนำออกเผยแพร่แยกกันที่กรุงวอชิงตันและที่กรุงนิวเดลี) ดูมีปริศนาเงื่อนงำชวนสงสัยจนเกินกว่าที่จะละเลยไม่หยิบยกนำมาตั้งเป็นข้อสังเกตให้ปรากฏ ทั้งนี้ความไม่ลงรอยดังกล่าวนี้เป็นสิ่งซึ่งนอกเหนือไปกว่าแค่ความแตกต่างแห่งความหมายของถ้อยคำ

    เอกสารข่าวเผยแพร่สื่อมวลชนของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯในเรื่องการพบปะหารือระหว่าง คาร์เตอร์ กับ โมดี นั้น มีการเน้นย้ำให้เห็นไปว่า ผู้นำทั้งสอง “เห็นพ้องต้องกันว่าการบรรจบกันเชิงยุทธศาสตร์ ระหว่าง การกลับมาฟื้นความสมดุลในเอเชียของสหรัฐฯ กับ การ“ลงมือมุ่งสู่ตะวันออก” (Act East) ของอินเดีย [1] เป็นการเปิดโอกาสให้ทั้งสองฝ่ายมีปฏิสัมพันธ์กันได้เพิ่มมากขึ้น พวกเขาเดินหน้าอภิปรายหารือกันในประเด็นปัญหาต่างๆ จำนวนมากซึ่งมีความสนใจร่วมกันอยู่ เป็นต้นว่า ความมั่นคงระดับภูมิภาคในภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก ...”

    คำให้การเวอร์ชั่นของฝ่ายวอชิงตันนี้ มีการใช้ถ้อยคำที่แข็งขันหนักแน่นมากๆ โดยพรรณนายืนยันว่า โมดี กับ คาร์เตอร์ กำลังเห็นพ้องต้องกันในเรื่องที่ว่า ระหว่างนโยบายการฟื้นความสมดุลในเอเชีย (rebalancing) ของสหรัฐฯ ซึ่งก็คือ “การปักหมุด” หวนคืนสู่เอเชีย (“pivot” to Asia) ของสหรัฐฯ กับ นโยบาย “ลงมือมุ่งสู่ตะวันออก” อย่างมุ่งมั่นของอินเดียนั้น กำลังเกิด “การบรรจบกันทางยุทธศาสตร์” และทั้งสองฝ่ายจึงต่างกำลังเสาะแสวงหา “การเปิดโอกาสให้ทั้งสองฝ่ายมีปฏิสัมพันธ์กันได้เพิ่มมากขึ้น” ในทิศทางแห่งการบรรจบกันดังกล่าว

    มันก็จริงอยู่หรอกที่ว่า แรงจูงใจอันแรงกล้ากว่าเพื่อน ซึ่งทำให้แดนภารตะกำหนดนโยบาย “ลงมือมุ่งสู่ตะวันออก” ออกมานั้น คือการก้าวผงาดขึ้นมาของประเทศจีน ทว่าเท่าที่ผ่านมาอินเดียก็ไม่เคยผูกโยงนโยบายนี้ว่าเป็นอย่างเดียวกับยุทธศาสตร์การมุ่งปิดล้อมจีนของสหรัฐฯ

    อย่างไรก็ตาม สำหรับเอกสารแถลงข่าวสื่อมวลชนซึ่งเผยแพร่โดยสำนักนายกรัฐมนตรีในกรุงนิวเดลีนั้น กลับบรรยายให้เห็นเนื้อหาซึ่งแตกต่างออกไปเป็นอย่างมาก โดยเอกสารคำให้การของฝ่ายอินเดียนี้ระบุว่า “มิสเตอร์คาร์เตอร์แจ้งให้ทราบว่า สหรัฐฯมองว่าอินเดียเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์รายสำคัญรายหนึ่ง นโยบายการฟื้นความสมดุลในเอเชีย-แปซิฟิกของสหรัฐฯนั้น เป็นสิ่งที่เสริมส่งเติมเต็มให้แก่ “นโยบายลงมือมุ่งสู่ตะวันออก” ของอินเดีย”

    เวอร์ชั่นคำให้การของฝ่ายอินเดียนี้ ได้ละเลยเว้นข้ามท่าทีการตอบสนองของโมดี ต่อการกล่าวเกริ่นเดินเรื่องของคาร์เตอร์ อีกทั้งทำให้อาคันตุกะผู้มาเยือนกลายเป็นคนคอยกระตุ้นบอกบท ในทางเป็นจริงแล้ว รายงานของฝ่ายอินเดียระบุว่าจุดโฟกัสเน้นหนักของโมดีนั้นอยู่ที่เรื่องอื่น ได้แก่โครงการ “ทำในประเทศอินเดีย” (Make in India) [2] ซึ่งเป็นนโยบายที่เขาคิดขึ้นและกำลังพยายามผลักดันอย่างสุดฤทธิ์สุดเดช เอกสารแถลงข่าวของฝ่ายแดนภารตะกล่าวว่า โมดีปรารถนาที่จะให้ฝ่ายสหรัฐฯเข้ามาร่วมกันทำการผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ ในอินเดีย ปรารถนาที่จะให้พวกบริษัทผู้ผลิตอาวุธอเมริกัน “จัดตั้งหน่วยโรงงานผลิตขึ้นในอินเดีย โดยมีการถ่ายทอดเทคโนโลยี และเชื่อมโยงกับสายโซ่อุปทานระดับโลก (global supply chain)”

    ในบทวิจารณ์ทางสื่อเกี่ยวกับเรื่องการเยือนอินเดียของคาร์เตอร์ สื่อมวลชนของรัฐบาลสหรัฐฯอย่าง “เสียงอเมริกา” (Voice of America หรือ VOA) ก็ใช้ความพากเพียรพยายามอย่างมากที่จะทำให้เกิดความประทับใจขึ้นมาว่า ความตึงเครียดซึ่งกำลังเกิดขึ้นในทะเลจีนใต้ “ได้ช่วยให้ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคแถบนี้ (เป็นต้นว่าอินเดีย) พร้อมจับมือเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดกับสหรัฐฯมากขึ้น” (ดูรายละเอียดของบทวิจารณ์นี้ได้ที่ US, India Sign Defense Pact Countering China's Influence)

    รายงานทางสื่อทางการของรัฐบาลสหรัฐฯนี้ ยังเน้นย้ำอีกว่ามีการต่ออายุข้อตกลงความร่วมมือด้านกลาโหมระหว่างสหรัฐฯกับอินเดีย ออกไปอีกเป็นเวลา 10 ปี (ทั้งๆ ที่ความจริงแล้ว มันเป็นข้อตกลงแม่บทว่าด้วยความร่วมมือด้านกลาโหมระหว่างประเทศทั้งสอง) รวมทั้งประโคมว่าเรื่องนี้เป็น “สัญญาณอีกประการหนึ่งจากทั้งสองฝ่าย ในการป้องกันการขยายอิทธิพลเพิ่มมากขึ้นทุกที ของฝ่ายทหารแดนมังกรในทะเลจีนใต้และมหาสมุทรอินเดีย”

    ในอีกด้านหนึ่ง เอกสารแถลงข่าวร่วมต่อสื่อมวลชนของสหรัฐฯกับอินเดียในเรื่องการเยือนแดนภารตะของคาร์เตอร์ ไม่ได้มีการบรรจุข้อความใดๆ เลยแม้แต่น้อยนิด ซึ่งเป็นการพาดพิงถึงเรื่องประเทศจีนในทะเลจีนใต้ ไม่ว่าจะเป็นการเอ่ยถึงโดยตรงหรือโดยทางอ้อม ตรงกันข้ามเอกสารแถลงข่าวร่วมนี้กลับบอกอย่างชัดเจนว่า การที่รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯเดินทางมานิวเดลีเที่ยวนี้ ก็เพื่อลงนามในข้อตกลงแม่บทว่าด้วยความร่วมมือด้านกลาโหมระหว่างทั้งสองประเทศนี่เอง

    เป็นที่กระจ่างแจ่มแจ้งว่า ในทัศนะมุมมองของฝ่ายอินเดียแล้ว พื้นที่ซึ่งถือเป็นแกนกลางแห่งความสนใจ ในการมาเยือนของคาร์เตอร์เที่ยวนี้ ได้แก่สิ่งที่เรียกกันว่า แผนการริเริ่มด้านเทคโนโลยีกลาโหมและการค้าด้านกลาโหม (Defence Technology and Trade Initiative ใช้อักษรย่อว่า DTTI) โดยที่นิวเดลีมองว่าแผนการริเริ่มนี้มีศักยภาพที่จะแปรเปลี่ยนความสัมพันธ์ทางด้านนี้ ให้ไปถึงระดับเป็นการที่สองประเทศออกแบบอาวุธยุทโธปกรณ์ร่วมกัน ตลอดจนดำเนินการวิจัยพัฒนาและการร่วมกันผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ ขึ้นในอินเดีย

    มีหลักฐานรองรับอย่างชัดเจนว่า วอชิงตันพยายามที่จะสกัดเอาผลในทางโฆษณาชวนเชื่อซึ่งสามารถใช้แสดงความเป็นปรปักษ์กับจีน ออกมาจากการเยือนของคาร์เตอร์ให้มากที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ ขณะที่ฝ่ายอินเดียนั้นเฝ้ามองดูอยู่ห่างๆ โดยที่ไม่ได้แสดงการเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบต่อถ้อยคำโวหารของฝ่ายอเมริกัน

    อย่างไรก็ดี ยังคงมีคำถามชวนคิดอยู่ประการหนึ่งว่า สหรัฐฯทำการโฆษณาชวนเชื่อโดยไม่ได้มีเนื้อหาสาระรองรับอย่างสิ้นเชิงเลยหรือ ในเมื่อวอชิงตันกล้าอ้างถึงขนาดที่ว่า คาร์เตอร์ กับ โมดี นั้น มีความรับรู้ร่วมกันว่า มี “การบรรจบกันทางยุทธศาสตร์” ระหว่าง ยุทธศาสตร์ “ปักหมุด” ในเอเชียของสหรัฐฯ กับยุทธศาสตร์ “ลงมือมุ่งสู่ตะวันออก” ของอินเดีย? กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯคงจะไม่ถึงกับเพียงแค่เอาคำพูดที่ตนเองปรารถนา มายัดใส่ปากของโมดีกระมัง!

    เห็นชัดว่าสิ่งที่มีความเป็นไปได้อย่างมากก็คือ โมดีได้เอ่ยปากพูดวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับจีน จะมากจะน้อยก็ตามที แต่เป็นการวิพากษ์วิจารณ์อันอยู่ในแนวทางซึ่งตั้งแต่นั้นมาทางกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯก็พยายามหยิบยกขึ้นมาแสดงให้ปรากฏอย่างอ้อมๆ ทว่าตัวโมดีเองไม่ต้องการที่จะประกาศยอมรับคำพูดเหล่านั้นอย่างเปิดเผยต่อหน้าสาธารณชน แน่นอนที่สุดว่าอินเดียในยุคของโมดีนั้นได้ปรับเปลี่ยนจุดยืนของตนไปแล้ว โดยเคลื่อนมาอยู่ใกล้ชิดมากขึ้นกับยุทธศาสตร์ปักหมุดในเอเชียของสหรัฐฯ เมื่อเปรียบเทียบกับคณะรัฐบาลชุดก่อนที่เป็นรัฐบาลพันธมิตรสามัคคีฝ่ายก้าวหน้า (United Progressive Alliance) [3]

    จากจุดยืนที่เคยวางตัวเป็นเพียงผู้ยืนดูอยู่ข้างทางอย่างสงบแต่กระหายใคร่รู้ โมดีกำลังนำพาอินเดียไปในทิศทางใหม่ในน่านน้ำซึ่งไม่เคยมีการสำรวจปักหลักหมายใดๆ กันมาก่อน โดยที่ในที่สุดแล้วอาจจะทำให้แดนภารตะกลายเป็นเพื่อนร่วมทางอีกรายหนึ่งของยุทธศาสตร์ปิดล้อมมุ่งต่อต้านจีนของสหรัฐฯไปเลย

    ทำไมโมดีจึงกำลังรู้สึกหงุดหงิดขุ่นเคืองจีน? ข้อเท็จจริงของเรื่องนี้อยู่ที่ว่า การทูตในสไตล์ของโมดี ซึ่งมุ่งสร้างบรรยากาศ “ความรู้สึกดีๆ” ขึ้นมานั้น ไม่ได้ก่อให้เกิดดอกผลเป็นเรื่องเป็นราวขึ้นในความสัมพันธ์ที่อินเดียมีอยู่กับจีน ระหว่างที่โมดีไปเยือนแดนมังกรเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เขาล้มเหลวไม่สามารถรีดเค้นเอาคำมั่นสัญญาใดๆ จากพวกเจ้าภาพของเขา เพื่อให้มีการรื้อฟื้นเปิดการเจรจาหารือระหว่างประเทศทั้งสอง ในเรื่องเกี่ยวกับ “การทำความกระจ่างชัดเจน” ให้แก่ “เส้นแบ่งเขตควบคุมตามความเป็นจริง” (Line of Actual Control หรือ LAC) [4] ตรงบริเวณชายแดนที่พิพาทกันอยู่ ทั้งนี้หลังจากทำความตกลงกันในเรื่องนี้จนยุติลงได้ ต่อจากนั้นทั้งสองฝ่ายก็จะได้สามารถแลกเปลี่ยนแผนที่ซึ่งแสดงแนวเส้น LAC ทั้งหมดอย่างสมบูรณ์ (เรื่องนี้เป็นวัตถุประสงค์ที่อินเดียเรียกร้องยืนยันมาอย่างยาวนาน ในช่วงเวลาที่ยังไม่มีการแก้ไขข้อพิพาทชายแดนนี้ให้คลี่คลายไปอย่างสมบูรณ์)

    ฝ่ายจีนเป็นฝ่ายหยุดการเจรจาหารือว่าด้วยการทำความกระจ่างชัดเจนให้แก่เส้น LAC เมื่อปี 2008 และเวลานี้ดูจะปรารถนาให้แทนที่ด้วยการเจรจาจัดทำ “กรรมวิธีในการประพฤติปฏิบัติ” (code of conduct) ระหว่างทหารของทั้งสองฝ่ายเท่านั้น

    ไม่เพียงเท่านั้น โมดียังกลับมาจากการไปเยือนจีนเมือเดือนพฤษภาคมแบบมือเปล่า โดยที่ปักกิ่งไม่ได้ยื่นข้อเสนอใหม่ๆ ใดๆ ในเรื่องการเข้าลงทุนในอินเดีย หรือการตกลงพาตัวเองเข้าสู่โครงการ “Make in India”

    แต่ในเวลาเดียวกันนั้น แผนการที่จีนจะเข้าลงทุนในปากีสถานอย่างมโหฬารเป็นมูลค่าสูงถึง 46,000 ล้านดอลลาร์ [5] โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของ “แผนการริเริ่มเส้นทางสายไหมสายใหม่” หรือที่ปักกิ่งนิยมเรียกขานอย่างย่อๆ ว่า “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” (One Belt, One Road) ก็เป็นที่คาดหมายกันว่าจะยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับปากีสถานให้ขึ้นไปสู่ระดับคุณภาพระดับใหม่ และนั่นก็จะสร้างความยุ่งยากซับซ้อนให้แก่การเดินหน้ายืนกรานในเชิงยุทธศาสตร์ของอินเดีย เพื่อให้ได้รับการยอมรับว่า แดนภารตะมีฐานะเป็นอภิมหาอำนาจภูมิภาคในเอเชียใต้และมหาสมุทรอินเดีย

    อินเดียดูเหมือนกำลังส่งสัญญาณไปถึงจีนว่า ตนอาจจะสำรวจหาทางเลือกต่างๆ ของตนเอง ในเมื่อจีนล้มเหลวไม่ได้ยอมรับอำนวยความสะดวกให้แก่การแสวงหาผลประโยชน์อันชอบธรรมของแดนภารตะ ตลอดจนให้แก่ความมุ่งมาดปรารถนาต่างๆ ในฐานะที่เป็นมหาอำนาจซึ่งกำลังก้าวผงาดขึ้นมาของแดนภารตะ แล้วจีนจะรู้สึกประหวั่นพรั่นพรึงต่อการที่อินเดียอาจจะเล่น “ไพ่อเมริกัน” หรือไม่? จวบจนถึงเวลานี้ยังไม่มีอะไรบ่งชี้ไปในทางนั้นเลย เนื่องจากจีนดูเหมือนมีความมั่นอกมั่นใจว่า ในดีเอ็นเอของอินเดียนั้นไม่ได้มีธาตุแห่งการยินยอมยกเลิกความเป็นอิสระอิสระในทางยุทธศาสตร์ของตนเอง แล้วหันเหเปลี่ยนแปลงตนเองให้กลายเป็นเพียงยามเฝ้าประตูให้แก่สหรัฐฯในภูมิภาคมหาสมุทรอินเดีย ทำนองเดียวกับบทบาทที่ออสเตรเลียหรือสิงคโปร์เล่นอยู่ในขณะนี้ แต่แน่นอนทีเดียวว่า อินเดียยังจะแสดงท่าทีขัดเคืองจีนไปจนถึงสุดขอบเท่าที่จะเป็นไปได้กันอีกพักหนึ่งทีเดียว

    คราวนี้ก็มาถึงส่วนที่คาดการณ์ได้ลำบาก แน่นอนทีเดียวว่าคาร์เตอร์เดิน ทางมาอินเดียพร้อมกับวาระที่เตรียมตัวมาอย่างพรักพร้อม เพื่อหยั่งวัดความปรารถนาของโมดีในการผูกอินเดียเข้าเป็นพันธมิตรกับยุทธศาสตร์ปิดล้อมต่อต้านจีนของสหรัฐฯ เท่าที่ปรากฏจนถึงเวลานี้นั้น อินเดียยังคงแสดงตนเป็นผู้เดินทางที่ลังเลรีรอ ลีออน แพเนตตา (Leon Panetta) ที่เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯมาก่อนคาร์เตอร์ ครั้งหนึ่งถึงขั้นเคยเสนอต่ออินเดียว่า แดนภารตะจะมีสถานะเป็น “แกนหลัก” หนึ่งในยุทธศาสตร์ “ปักหมุด” ของอเมริกา ทว่าไม่มีใครในนิวเดลีตกลงยอมรับข้อเสนอนี้ ซึ่งปรากฏออกมาในเดือนมิถุนายน 2012

    น่าสนใจมากทีเดียวที่คาร์เตอร์ได้เชื้อเชิญอินเดียให้เข้าร่วมในการซ้อมรบทางนาวีระหว่างสหรัฐฯกับญี่ปุ่นที่กำลังจะจัดขึ้นมา ไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจอะไรหรอกในการที่วอชิงตันกำลังพยายามดุนหลังโมดีให้แสดงท่าทีตรงไปตรงมาต่อจีนมากขึ้นอีกนิด และลงมือปฏิบัติให้เห็นกันจริงๆ อย่างน้อยก็สักส่วนนิดๆ ของสิ่งที่เขาพูดเป็นการส่วนตัวกับพวกคู่เจรจาชาวอเมริกัน --พูดโดยสรุปก็คือ ทำให้เห็นคล้ายๆ กับที่ ชินโซ อาเบะ เพื่อนสนิทชาวญี่ปุ่นของเขากำลังแสดงอยู่นั่นแหละ โมดีเองก็อาจจะตัดสินใจลุกขึ้นยืน และถูกนับเป็นหุ้นส่วนรายหนึ่งในยุทธศาสตร์ “ปักหมุด” ในเอเชียของสหรัฐฯ ดังนั้น การที่กองทัพเรืออินเดียจะแสดงออกอย่างไรต่อคำเชื้อเชิญของของคาร์เตอร์ จะเป็นเรื่องน่าสนใจติดตามมากทีเดียว

    เอกอัครราชทูต เอ็ม เค ภัทรกุมาร เคยรับราชการเป็นนักการทูตอาชีพในกระทรวงการต่างประเทศอินเดียเป็นเวลากว่า 29 ปี ในตำแหน่งต่างๆ เป็นต้นว่า เอกอัครราชทูตอินเดียประจำอุซเบกิสถาน (ปี 1995-1998) และเอกอัครราชทูตอินเดียประจำตุรกี (ปี 1998-2001) ปัจจุบันเขาเขียนอยู่ในบล็อก “อินเดียน พันช์ไลน์” (Indian Punchline) รวมทั้งเขียนให้เอเชียไทมส์เป็นประจำตั้งแต่ปี 2001 เป็นต้นมา

    หมายเหตุผู้แปล
    [1] นโยบาย “ลงมือมุ่งสู่ตะวันออก” (Act East) ของอินเดีย เป็นนโยบายใหม่ของรัฐบาลนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ถือเป็นการปรับปรุงและสืบต่อจากนโยบาย “มองตะวันออก” (Look East) ซึ่งริเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 1991 ในยุครัฐบาลนายกรัฐมนตรี พี.วี. นราซิมฮา ราว แต่ถูกนำมาปฏิบัติอย่างจริงจังในยุครัฐบาลชุดต่อๆ มาทั้งของนายกรัฐมนตรี อตัล พิหารี วัชปายี และ นายกรัฐมนตรีมานโมหัน ซิงห์ ทั้งนี้ในตอนแรกๆ นั้น นโยบาย “มองตะวันออก” มุ่งเน้นที่การสร้างปฏิสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ดียิ่งขึ้นกับพวกชาติเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ในเวลาต่อมาก็ได้เปลี่ยนไปเป็นเครื่องมือชิ้นหนึ่งสำหรับการสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์และความร่วมมือกันในทางด้านความมั่นคงกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับเวียดนาม และญี่ปุ่น ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า นโยบาย “มองตะวันออก” เป็นตัวแทนความพยายามของอินเดียในการบ่มเพาะสร้างสมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและทางยุทธศาสตร์อย่างกว้างขวางกับชาติต่างๆ ในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนฐานะของอินเดียในการเป็นมหาอำนาจหนึ่งของภูมิภาค และคอยทัดทานฐานะอิทธิพลทางยุทธศาสตร์ของสาธารณรัฐประชาชนจีน

    ตั้งแต่ขึ้นมาบริหารประเทศใหม่ๆ คณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีโมดี ก็ถือว่าความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียกับพวกเพื่อนบ้านในสมาคมอาเซียนและเอเชียตะวันออก เป็นนโยบายการต่างประเทศที่ทรงความสำคัญลำดับต้น รวมทั้งต้องการปรับปรุงความสัมพันธ์นี้ให้ดียิ่งขึ้นไปอีก ในช่วงเวลาเดียวที่สหรัฐฯประกาศ “ปักหมุดในเอเชีย” ในเดือนสิงหาคม 2014 รัฐมนตรีต่างประเทศ สุชมา สวาราช (Sushma Swaraj) ได้เสนอทิศทางมุมมองใหม่ ซึ่งใช้ชื่อว่า นโยบาย “ลงมือมุ่งสู่ตะวันออก” (Act East) เพื่อเป็นการเน้นย้ำว่าอินเดียจะต้องแสดงบทบาทเชิงรุกในภูมิภาคแถบนี้ให้มากยิ่งขึ้นอีก
    (ข้อมูลจาก Wikipedia)

    [2] โครงการ “ทำในประเทศอินเดีย” (Make in India) เป็นโครงการริเริ่มที่ประกาศโดยนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ในเดือนกันยายน 2014 เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้บริษัทต่างๆ ตั้งโรงงานทำการผลิตผลิตภัณฑ์ของพวกตนในประเทศอินเดีย โครงการนี้มุ่งเน้นไปที่ 25 ภาคส่วนเศรษฐกิจซึ่งคาดว่าจะสามารถสร้างงานและเพิ่มพูนทักษะความชำนาญ รวมทั้งเพิ่มอัตราการเติบโตของจีดีพี และรายได้จากภาษีอากร เป็นต้นว่า รถยนต์, เคมีภัณฑ์, ไอที, อิเล็กทรอนิกส์, เวชภัณฑ์, สิ่งทอ, การท่องเที่ยว, การดูแลสุขภาพ, ทางรถไฟ

    โครงการริเริ่มนี้ยังวาดหวังว่าจะสามารถดึงดูดเงินทุนและการลงทุนด้านเทคโนโลยีให้เข้ามายังอินเดีย โดยที่มีการผ่อนคลายระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อให้นักลงทุนต่างประเทศสามารถเข้ามาได้ง่ายขึ้น และสามารถลงทุนถือหุ้นในกิจการเป็นสัดส่วนที่สูงขึ้น เป็นต้นว่า ในเดือนสิงหาคม 2014 คณะรัฐมนตรีของอินเดียมีมติอนุญาตให้ต่างชาติเข้าลงทุนโดยตรงได้ 49% ในกิจการด้านกลาโหม และ 100% ในด้านโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟ จากที่ก่อนหน้านั้นให้ถือได้เพียง 26% และ 0% ตามลำดับ
    (ข้อมูลจาก Wikipedia)

    [3] รัฐบาลพันธมิตรสามัคคีฝ่ายก้าวหน้า (United Progressive Alliance) เป็นรัฐบาลที่เกิดจากการรวมตัวของพวกพรรคการเมืองแนวทางกลาง-ซ้ายในอินเดีย ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2004 พรรคที่เป็นแกนกลางของคณะรัฐบาลผสมของพันธมิตรนี้คือ พรรคคองเกรสแห่งชาติอินเดีย (Indian National Congress ใช้อักษรย่อว่า INC) และ โซเนีย คานธี (Sonia Gandhi) ผู้เป็นประธานพรรคนี้ ก็เป็นประธานของพันธมิตรสามัคคีฝ่ายก้าวหน้าด้วย ระหว่างที่ครองอำนาจซึ่งมี มานโมหัน ซิงห์ แห่งพรรค INC เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบภายในพันธมิตรนี้อยู่หลายครั้ง หลังจากการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2014 มีผลออกมาว่าพรรคคองเกรสแห่งชาติอินเดียพ่ายแพ้ยับเยิน ขณะที่พรรคภาระติยะชนะตะ (Bharatiya Janata Party ใช้อักษรย่อว่า BJP) ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น นเรนทรา โมดี หัวหน้าพรรคบีเจพี ก็ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีอินเดียคนต่อไปตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2014 (ข้อมูลจาก Wikipedia)

    [4] “เส้นแบ่งเขตควบคุมตามความเป็นจริง” (Line of Actual Control หรือ LAC) เป็นเส้นขีดแบ่งที่แยกดินแดนซึ่งอินเดียยึดครองอยู่ จากพื้นที่ซึ่งควบคุมโดยฝ่ายจีน และมีสภาพเป็นแนวชายแดนในทางปฏิบัติระหว่างอินเดียกับสาธารณรัฐประชาชนจีน เส้น LAC มีความยาว 4,056 กิโลเมตร ตัดผ่าน 5 รัฐของอินเดีย ได้แก่ ชัมมูและแคชเมียร์, อุตตรขัณฑ์, หิมาจัลประเทศ, สิกขิม, และอรุณาจัลประเทศ ขณะที่ทางด้านจีนนั้นตัดผ่านเขตปกครองตนเองทิเบต เส้นแบ่งแดนนี้เกิดขึ้นทีแรกในฐานะที่เป็นเส้นแสดงแนวหยุดยิงอย่างไม่เป็นทางการระหว่างอินเดียกับจีนภายหลังสงครามระหว่างประเทศทั้งสองที่เกิดขึ้นในปี 1962 จนกระทั่งถึงปี 1993 จึงมีการยอมรับเส้นแบ่งนี้ว่าเป็น “เส้นแบ่งเขตควบคุมตามความเป็นจริง” อย่างเป็นทางการในข้อตกลงทวิภาคีฉบับหนึ่ง

    ถึงแม้ยังไม่เคยมีการเจรจาเรื่องเส้นแบ่งพรมแดนอย่างเป็นทางการระหว่างจีนกับอินเดีย แต่จนกระทั่งถึงทุกวันนี้รัฐบาลอินเดียยังคงประกาศอ้างเขตแดนของตนในลักษณะเดียวกับ “เส้นจอห์นสันปี 1865” (Johnson Line of 1865) ขณะที่ทางฝ่ายจีนพิจาณาเขตแดนของตนว่าเป็นไปตาม “เส้นแมคคาร์ตนีย์-แมคโดนัลด์ ปี 1899” (Macartney-MacDonald of 1899)
    (ข้อมูลจาก Wikipedia)

    [5] แผนการที่จีนจะเข้าลงทุนในปากีสถานอย่างมโหฬารเป็นมูลค่าสูงถึง 46,000 ล้านดอลลาร์ หมายถึง โครงการพัฒนาเมกะโปรเจ็กต์ที่มีชื่อว่า “ระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถาน” (China-Pakistan Economic Corridor ใช้อักษรย่อว่า CPEC) ซึ่งมีจุดประสงค์ที่จะเชื่อมต่อเมืองท่า กวาดาร์ (Gwadar) ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของปากีสถาน เข้ากับเขตปกครองตนเองซินเจียง (ซินเกียง) ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน โดยผ่านเครือข่ายต่างๆ ทั้งทางหลวง, ทางรถไฟ, และสายท่อส่งน้ำมันและก๊าซ ระเบียบเศรษฐกิจนี้ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของแผนการริเริ่มเส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 ของจีน จะมีความยาวประมาณ 3,000 กิโลเมตรตั้งแต่เมืองกวาดาร์ จนถึงเมืองคัชการ์ (Kashgar) ในซินเจียง ทั้งจีนและปากีสถานต่างแสดงความหวังว่า แผนการลงทุนอย่างมโหฬารเช่นนี้จะแปรเปลี่ยนปากีสถานให้กลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจแห่งหนึ่งของภูมิภาค โดยที่สื่อและรัฐบาลปากีสถานเรียกขานการลงทุนนี้ว่า เป็น “ตัวเปลี่ยนเกมและตัวเปลี่ยนชะตาชีวิต” ของภูมิภาคนี้ทีเดียว ขณะเดียวกันโครงการนี้ยังจะเป็นการเปิดเส้นทางการค้าให้แก่ภาคตะวันตกของจีน รวมทั้งทำให้จีนมีช่องทางเข้าถึงภูมิภาคตะวันออกกลางที่อุดมด้วยน้ำมันโดยตรง โดยหลีกเลี่ยงไม่ต้องใช้เส้นทางลำเลียงขนส่งซึ่งยาวกว่าที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งต้องผ่านช่องแคบมะละกา
    (ข้อมูลจาก Wikipedia)


     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เพราะ ‘อิรัก’และ ‘อัฟกานิสถาน’สหรัฐฯจึงได้แต่มองดู ‘จีน’ครอบงำทะเลจีนใต้
    โดย เดวิด พี. โกลด์แมน 20 มิถุนายน 2558 18:33 น.

    (เก็บความจากเอเชียไทมส์ Asia Times)

    China’s South China Sea dominance is the price US pays for Iraq and Afghanistan
    Author: David P. Goldman
    08/06/2015

    จากการที่จีนใช้ท่าทียืนกรานแข็งกร้าวเรื่องพื้นที่ดินแดนต่างๆ ในทะเลจีนใต้ ขณะที่อเมริกากำลังพยายามคัดค้านทัดทานนั้น ผมขอฟันธงไปเลยว่า จีนจะได้สิ่งต่างๆ ที่ตนเองต้องการ โดยที่จะไม่ก่อให้เกิดสงครามระหว่างสหรัฐฯกับจีนขึ้นมาด้วย เหตุผลก็คือ เรือบรรทุกเครื่องบินอเมริกัน ซึ่งเป็นแหล่งที่มาที่ทำให้อเมริกาสามารถผงาดขึ้นเป็นเจ้าในน่านน้ำทางเอเชียตะวันออกมานานหลายสิบปีแล้ว เวลานี้กลับมีจุดอ่อนที่จะถูกโจมตีจากขีปนาวุธประเภทยิงจากพื้นผิวสู่เรือ ของจีน ตลอดจนจากเรือดำน้ำเครื่องยนต์ดีเซล-ไฟฟ้า ของจีนเสียแล้ว

    ในเรื่องเด่นที่สุดของเอเชียไทมส์วันนี้ เอ็ม เค ภัทรกุมาร วิเคราะห์เอกสารแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนของทางการสหรัฐฯและทางการอินเดีย ภายหลังการเยือนกรุงนิวเดลีของรัฐมนตรีกลาโหม แอชตัน คาร์เตอร์ ของสหรัฐฯ (ดูรายละเอียดบทความนี้ได้ที่ Testing times for India’s China policies | Asia Times หรือดูฉบับเก็บความเป็นภาษาไทยแล้วได้ที่ http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000069779) พร้อมกับตั้งข้อสังเกตว่าฝ่ายอเมริกันนั้นโหมประโคมกันใหญ่โตถึง “การบรรจบกันทางยุทธศาสตร์ (ในการต่อต้านจีน” ขณะที่ โมดี กลับยังคงจงใจรักษาท่าทีอันคลุมเครือในเรื่องเกี่ยวกับลักษณะแห่งความสัมพันธ์ด้านกลาโหมที่อินเดียมีอยู่กับสหรัฐฯ สำหรับตัวผมเองนั้นขอเสนอคำพยากรณ์เกี่ยวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น จากการที่จีนใช้ท่าทียืนกรานแข็งกร้าวเรื่องพื้นที่ดินแดนต่างๆ ในทะเลจีนใต้ ขณะที่อเมริกาพยายามคัดค้านทัดทาน โดยผมขอฟันธงกันไปเลยว่า จีนจะได้สิ่งต่างๆ ที่ตนเองต้องการ

    ผมขอฟันธงด้วยว่า มันจะไม่เกิดสงครามขึ้นมาหรอก เพราะไม่มีหนทางเป็นไปได้ในทางปฏิบัติที่จะทำสงคราม กระทั่งว่าสหรัฐฯอาจต้องการที่จะนำเรื่องนี้ไต่ระดับความตึงเครียดขึ้นไปจนถึงจุดของการประจันหน้ากันทางการทหารก็ตามที แน่นอนทีเดียว อาจจะมีนักบินสักคนซึ่งคุมสติอารมณ์ของตนเองไม่ได้ จนกระทั่งมีการปล่อยขีปนาวุธเข้าใส่ฝ่ายตรงข้าม ทว่ากระทั่งเกิดเหตุการณ์ยิงตอบโต้กันเช่นนั้นขึ้นมา ก็จะไม่จุดชนวนให้เกิดการขัดแย้งสู้รบอันใหญ่โตกว้างขวางขึ้นมา เหตุผลง่ายๆ เลย ที่ทำให้ผมมีความมั่นใจมั่นอกเกี่ยวกับผลลัพธ์ที่จะออกมาถึงขนาดนี้ ก็คือ เรือบรรทุกเครื่องบินอเมริกัน ซึ่งเป็นแหล่งที่มาที่ทำให้อเมริกาสามารถผงาดขึ้นเป็นเจ้าในน่านน้ำทางเอเชียตะวันออกมานานหลายสิบปีแล้ว เวลานี้กลับมีจุดอ่อนที่จะถูกโจมตีจากขีปนาวุธประเภทยิงจากพื้นผิวสู่เรือ (surface-to-ship missiles) ของจีน ตลอดจนจากเรือดำน้ำเครื่องยนต์ดีเซล-ไฟฟ้า (diesel-electric submarines) ของจีน ทั้งนี้มีการอภิปรายถกเถียงกันอย่างคึกคักทีเดียว เกี่ยวกับประสิทธิภาพของ “ขีปนาวุธสังหารเรือบรรทุกเครื่องบิน” แบบ ดีเอฟ-21 ดี (DF-21D “carrier killer missile”) ของจีน ซึ่งจะถูกยิงขึ้นไปสู่อวกาศ แล้วหันหัวดิ่งกลับลงสู่เป้าหมายของตน (ดูรายละเอียดการอภิปรายถกเถียงนี้ได้ที่ http://nationalinterest.org/feature/should-america-fear-chinas-carrier-killer-missile-1132 ) แต่สิ่งซึ่งน่าจะเกิดขึ้นก็คือ การระดมโจมตีด้วยขีปนาวุธจีนจะสามารถเจาะการป้องกันของเรือบรรทุกเครื่องบินอเมริกันเข้าไปจนได้ หรือถ้าหากขีปนาวุธทำไม่ได้ เรือดำน้ำแดนมังกรก็น่าจะเป็นฝ่ายที่ทำได้สำเร็จ ทั้งนี้เรือดำน้ำที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลเมื่อแล่นอยู่บนผิวน้ำ และใช้แบตเตอรีขับมอเตอร์เมื่อแล่นอยู่ใต้น้ำนั้น สามารถเดินเครื่องได้เงียบกริบอย่างยิ่ง และได้ “จม” เรือบรรทุกเครื่องบินอเมริกันมาหลายลำแล้วในการฝึกซ้อมรบของนาโต้หลายๆ ครั้งในอดีตที่ผ่านมา

    แน่นอนทีเดียวว่า สหรัฐฯกำลังสาละวนอยู่กับวิธีการตอบโต้รับมือกับการถูกโจมตีลักษณะนี้ ทว่าจากการที่งบประมาณการวิจัยและพัฒนาทางกลาโหมอันล้ำหน้า ได้ถูกตัดทอนอยู่เรื่อยๆ จนไม่พอใช้อย่างเรื้อรังมายาวนานแล้ว จึงทำให้โครงการทางด้านนี้อยู่ในสภาพอ่อนด้อยพัฒนาและถูกนำเข้าประจำการน้อยเกินไป คณะบริหารของประธานาธิบดี (จอร์จ ดับเบิลยู) บุช ได้ใช้จ่ายงบประมาณไปราว 1 ล้านล้านดอลลาร์ ในอิรักและอัฟกานิสถาน ส่วนใหญ่เลยเป็นการใช้จ่ายในด้านบุคลากร และได้ตัดลดงบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนาทางกลาโหม เพื่อให้มีเงินนำมาใช้จ่ายในโครงการช่วยประเทศในภูมิภาคนั้นทำการสร้างชาติ (nation-building) นี่เป็นการแลกเปลี่ยนยื่นหมูยื่นแมวที่ย่ำแย่เลวร้าย สหรัฐฯแทบไม่สามารถโอ่อวดสิ่งที่เกิดขึ้นจากความพยายามของตนเลย ยกเว้นแต่ความวุ่นวายยุ่งเหยิงซึ่งเข้าครอบคลุมไปทั่วทั้งดินแดนเลแวนต์ (Levant) และ เมโสโปเตเมีย (Mesopotamia) ภายหลังการล่มสลายลงของรัฐอิรัก ขณะที่จีนกลับได้เวลาสำหรับอุดช่วงห่างทางเทคโนโลยีที่ยังตามหลังสหรัฐฯอยู่ รวมทั้งถ้าหากจำเป็นก็สามารถลบล้างทำลายเครื่องมือสำคัญที่สุดของอเมริกาในการแสดงแสนยานุภาพในภูมิภาคแถบนี้

    วอชิงตันไม่สบายใจต่อการที่จีนเดินหน้าอ้างกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนในทะเลจีนใต้อย่างแข็งกร้าว จริงๆ แล้วมันก็ไม่ควรเป็นเรื่องน่าสบายใจหรอก การเข้ายึดหมู่เกาะสแปรตลีย์ (Spratly Islands) เอาไว้ในทางพฤตินัย คือการหยามหยันเหล่าชาติพันธมิตรของอเมริกัน อีกทั้งล่วงละเมิดบรรทัดฐานของความประพฤติอันดีในทางระหว่างประเทศ ผมเองก็ไม่สบายใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ ทว่าไม่มีทางเลยที่จะบังคับให้จีนหยุดยั้งยุติได้ และก็ไม่มีทางเลยที่จะโน้มน้าวชักจูงให้แดนมังกรหยุดยั้งยุติได้เช่นกัน

    เรื่องนี้ไม่ใช่เป็นอย่างที่พวกนักวิเคราะห์บางคนแสดงทัศนะว่า เป็นการที่ปักกิ่งโหมประโคม “ลัทธิชาตินิยมแห่งความเป็นชาวจีน” (Chinese nationalism) เพื่อหันเหความคิดของประชากรจีนให้ออกมาจากอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่กำลังเชื่องช้าลง แท้จริงแล้วคำว่า “ลัทธิชาตินิยมแห่งความเป็นชาวจีน” นั้นก็เป็นการนำเอาคำที่ขัดแย้งกันมารวมเป็นวลีเดียวกัน กล่าวคือ จีนนั้นไม่ใช่เป็นชาติๆ หนึ่ง หากแต่มีลักษณะเป็นจักรวรรดิหนึ่งซึ่งนำเอาชาติต่างๆ หลายๆ ชาติ มาขึ้นต่อระบบตัวหนังสือเขียนที่ใช้ร่วมกัน และมาขึ้นต่ออำนาจส่วนกลางในปักกิ่ง เมื่อคนจีนพูดว่า พรมแดน “ตามประวัติศาสตร์” ของพวกเขาเป็นสิ่งที่ใครจะมาล่วงละเมิดไม่ได้ สิ่งที่พวกเขาต้องการหมายถึงก็คือ การผสมกลมกลืนคนชาติพันธุ์ต่างๆ และกลุ่มภาษาจำนวนเป็นพันเป็นหมื่นเข้าด้วยกันจนกระทั่งกลายเป็น “ประเทศจีน” (จงกว๋อ) ขึ้นมานั้น เป็นสิ่งที่ไม่อาจถอยหลังกลับคืนได้อีกแล้ว ถ้าหากมันสามารถที่จะถอยหลังกลับคืนได้ บูรณาการของวัฒนธรรมจีนและรากฐานของอารยธรรมจีนก็จะตกอยู่ในอันตราย แน่นอนทีเดียวว่าเราสามารถที่จะโต้แย้งเกี่ยวกับ “สิทธิทางประวัติศาสตร์” ของจีนที่มีเหนือเกาะต่างๆ ในทะเลจีนใต้ ทว่าในวิธีคิดของชาวจีนแล้ว มันยังมีองค์ประกอบของ “สิ่งที่ยิ่งไปกว่านั้นอีก” (a fortiori) กล่าวคือ ถ้าหากจีนใช้แนวทางที่แข็งกร้าวต่อกรณีพิพาทเหนือหมู่เกาะเล็กเกาะน้อยซึ่งไม่มีผู้คนอาศัยเช่นนี้ได้ แดนมังกรก็จะต้องใช้ความแข็งกร้าวยิ่งกว่านี้นักหนาในการต้านทานบรรดาพลังหนีศูนย์กลางซึ่งอยู่ในทิเบตหรืออยู่ในซินเจียง

    การพูดจากันเกี่ยวกับการบรรจบกันทางยุทธศาสตร์ระหว่างอินเดียกับสหรัฐฯ หรือการจับมือเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นและอินเดียเพื่อต่อต้านจีน เหล่านี้มันเป็นเพียงการพูดกันลอย ๆ อินเดียนั้นไม่ได้กำลังจะส่งเรือบรรทุกเครื่องบินไปประจันหน้ากับฝ่ายจีนในบริเวณรอบๆ หมู่เกาะสแปรตลีย์หรอก ส่วนญี่ปุ่นก็ไม่ได้จะส่งกองเรือติดขีปนาวุธไปยังมหาสมุทรอินเดีย ถ้าหากอินเดียเกิดระเบิดศึกน้ำลายกับจีนในเรื่องดินแดนแถบเทือกเขาหิมาลัย หรือถ้ามีการทำเช่นนั้นจริงๆ ก็ยังเป็นเรื่องน่าคิดว่ามันจะประสบผลอะไรขึ้นมา?

    ในช่วงสงครามเย็น การที่อเมริกาเป็นฝ่ายชนะสงครามดังกล่าว ที่สำคัญมากทีเดียวก็เนื่องจากฝ่ายรัสเซียทราบดีว่า วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในด้านอิเล็กทรอนิกส์การบินและอวกาศของอเมริกา จะทำให้องค์การนาโตสามารถควบคุมน่านฟ้าเอาไว้ได้ไม่ว่าจะเกิดสงครามแบบไหนขึ้นมา พวกเขาทราบดีว่าขีปนาวุธแบบ เปอร์ชิ่ง (Pershing) ซึ่งติดตั้งอยู่ในเยอรมนีและอิตาลี จะทำให้นาโตเป็นฝ่ายได้เปรียบในกรณีที่มีการตอบโต้ยิงอาวุธนิวเคลียร์เข้าใส่กันขึ้นมา ยิ่งกว่านั้นแผนริเริ่มป้องกันทางยุทธศาสตร์ (Strategic Defense Initiative) ของรัฐบาลประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน คือเครื่องบอกเหตุล่วงหน้าถึงเทคโนโลยีรุ่นใหม่ๆ ที่รัสเซียไม่อาจเทียมทาน ในเวลานั้นจีนยืนดูอยู่ห่างๆ ออกไป และผูกตนเองเข้าเป็นพันธมิตรกับสหรัฐฯ --อภิมหาอำนาจผู้มีเทคโนโลยีระดับเหนือชั้นล้ำเลิศ

    ถ้าหากอเมริกาต้องการทำให้จีนบังเกิดความเคารพนับถือแล้ว อเมริกาก็จะต้องเพิ่มช่วงห่างทางเทคโนโลยี แทนที่จะเฝ้ามองมันหดแคบลงไป ถ้าหากจีนเชื่อว่าระบบอาวุธของตนไร้ประสิทธิภาพเมื่อเผชิญกับมาตรการตอบโต้ของฝ่ายอเมริกัน แดนมังกรก็จะแสดงให้เห็นความระมัดระวังตัวยิ่งกว่านี้นักหนา ทว่าเวลานี้สิ่งตรงกันข้ามต่างหากที่กำลังปรากฏขึ้นมา กล่าวคือช่วงห่างทางเทคโนโลยีกำลังหดหายไปเรื่อยๆ และจีนก็ทราบเป็นอันดี กระนั้นก็ไม่ปรากฏว่าในอเมริกามีผู้ลงคะแนนเลือกตั้งอันชัดเจนแสดงการสนับสนุนความพยายามดังกล่าวนี้ และก็ไม่มีผู้นำคนสำคัญใดๆ ให้คำมั่นสัญญาที่จะกระทำการดังกล่าวนี้ การหวนกลับไปสู่ความมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยวที่จะรักษาความเลิศล้ำกว่าทางเทคโนโลยีของอเมริกาเอาไว้ให้ได้ อย่างที่ปรากฏในยุคประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์-เคนเนดี้-เรแกน ยังจะส่งผลดีที่เป็นประโยชน์อย่างมหาศาลต่อผลิตภาพที่กำลังล้าหลังของอเมริกาอีกด้วย ทว่ามันเป็นเรื่องยากลำบากเหลือเกินในเวลานี้ ที่จะโน้มน้าวชักชวนชาวอเมริกันให้เห็นด้วยว่า การเป็นผู้ที่แข็งแกร่งจริงๆ นั้นดีกว่าการเป็นผู้ที่แค่ส่งเสียงดังๆ นักหนา

    เดวิด พี. โกลด์แมน เขียนเรื่องให้เอเชียไทมส์โดยใช้นามปากกาว่า “สเปงเกลอร์” (Spengle) มาตั้งแต่ปี 2000 เขาเป็นนักวิจัยอาวุโสอยู่ที่ London Center for Policy Research และเป็น Wax Family Fellow อยู่ที่ Middle East Forum หนังสือเรื่อง How Civilizations Die (and why Islam is Dying, Too) ของเขา ได้รับการตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Regnery Press ในเดือนกันยายน 2011 หนังสือรวมข้อเขียนทางด้านวัฒนธรรม, ศาสนา, และเศรษฐศาสตร์ของเขา ที่ใช้ชื่อว่า It’s Not the End of the World – It’s Just the End of You ก็ได้รับการตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Van Praag Press ในฤดูใบไม้ร่วงปีเดียวกัน เขายังเคยเป็นผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยตราสารหนี้ทั่วโลก ให้กับ Bank of America และเคยดำรงตำแหน่งอาวุโสในบริษัทการเงินอื่นๆ อีกหลายแห่ง รวมทั้งที่ Reorient Group (Hong Kong) ซึ่งเขาเป็นกรรมการจัดการผู้หนึ่งอยู่ในปัจจุบัน


     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เต็มจอเต็มตา “เมียนมาร์โอเพ่น” สาวหม่องเปิดหุ่นบ๊ะขายาวอวดพุงขาวจั๊วะ ห่อมิดชิด 50 ปี ยุคนี้ไม่มีหวง โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 19 มิถุนายน 2558 21:01 น. (แก้ไขล่าสุด 20 มิถุนายน 2558 12:37 น.)

    <iframe width="853" height="480" src="https://www.youtube.com/embed/lMYzPys3JDQ" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>

    ถึงแม้เว็บไซต์นี้จะใช้ชื่อคลิปว่า การประกวดในรอบ Swimsuit ก็ตาม แต่ชื่อเป็นทางการคือ รอบ “สมรรถนะทางกายและไลฟ์สไตล์” (Fitness&Lifestyle) ซึ่งจัดขึ้นในสัปดาห์สุดท้ายของเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา และกำลังจะประกาศชื่อเจ้าของรางวัล พร้อมกับการประกวดมิสโกลเด้นแลนด์เมียนมาร์ 2015 รอบสุดท้าย ที่กำลังจะมีขึ้นตอนหัวค่ำวันอาทิตย์นี้ 21 มิ.ย.นี้ ซึ่งแฟนๆ จะได้ชมสมรรถนะฯ ของสาวๆ เป็นบุญตา อีกครั้งหนึ่ง.. ในยุคเมียนมาร์โอเพ่น. (โปรดอย่าลืมปรับไปชมในโหมด 720p HD)

    ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ในพม่ากำลังมีการประกวดสาวงามเวทีที่ยิ่งใหญ่ และทรงพลังมากที่สุดตั้งแต่เริ่มประกวดกันมาในช่วง 3-4 ปีนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรอบในชุดทูพีซนั้นเรียกได้ว่าโอฬารตระการตายิ่งใหญ่กว่าครั้งไหนๆ เป็นขวัญตาขวัญใจของคนทั้งประเทศ เพราะว่ายุคนี้เป็นอีกยุคหนึ่ง เป็นยุค “เมียนมาร์โอเพ่น” ยุคที่เปิดประเทศอย่างรอบด้าน อันเป็นผลพวงจากการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยที่กำลังดำเนินไปพร้อมๆ กันขณะนี้

    สาวๆ ชาวพม่าอยู่อย่างเหนียมๆ มาเป็นเวลาครึ่งศตวรรษ ภายใต้การเข้มงวดกวดขันของรัฐบาลทหาร ที่อบรมให้เยาวชนของชาติต้องเคร่งครัดในขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมคำสั่งสอนของผู้เฒ่าผู้แก่ ตั้งแต่การกินการอยู่ การนอน การนุ่งห่ม และการปฏิบัติตนทั่วไปในสังคม หนุ่มๆ ต้องนุ่งโสร่ง จะแมนให้ครบสูตรต้องกินหมากด้วย สาวๆ ต้องนุ่งผ้าถุง สวมเสื้อกรัดกระดุมปิดถึงคอ แขนยาวจนกรอมข้อ คลุมตลอดจนถึงมือ ปกปิดมิดชิด ส่วนไหนเปิดก็ประแป้งตานาคาพอกเอาไว้ให้หนาๆ .. แต่ช่วงเวลานั้นได้ผ่านไป สาวพม่าได้เข้าสู่ยุคใหม่ .. ยุคเปิด

    เผลอไปแป๊บเดียว การประกวดมิสโกลเด้นแลนด์เมียนมาร์ ประจำปี 2558 หรือ Miss Golden Land Myanmar 2015 ก็มาถึงรอบสุดท้าย เหลือเวลาอีกเพียงข้ามวันเท่านั้นที่จะได้ยลโฉมสาวๆ ในยุคใหม่ อวดหุ่นสวย กับผิวคมขำนวนเนียน ที่เรียกกันติดปากมาเป็นเวลานานหลายทศวรรษว่า “ผิวพม่า...”

    จัดกันมา 3 ปี ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก ทั้งๆ ที่เวทีนี้เป็นเวทีใหญ่ที่สุด อาจจะด้วยสื่อ และประชาชนทั่วไปยังคงติดอกติดใจกับการประกวดเวที มิสยูนิเวิร์สเมียนมาร์ มิสเมียนมาร์เวิลด์ รวมทั้ง มิสอินเตอร์เนชั่นแนลเมียนมาร์ ที่เกิดมาก่อน และมีรายงานข่าวผ่านไปสื่อต่างประเทศอย่างตื่นตาตื่นใจไปทั่วโลก ทุกฝ่ายล้วนพากันทึ่งกับยุคใหม่ในประเทศนี้

    จากที่เคยปิดก็มาเป็นเปิด วันนี้สาวๆ ชาวพม่าเริ่มคุ้นเคยกับการอวดสวยอวดงาม สังคมก็ให้การต้อนรับ บรรยากาศใหม่อย่างอบอุ่น ซึมซับเอาทั้งเคป็อบ เจป็อบ อะไรต่อมิอะไรอีกมากมาย โรงหนังที่คุ้นเคยฉายภาพยนต์อินเดีย-เกาหลี เป็นหลักเมื่อก่อน ก็หันมาฉายหนังฮอลลีวูดกัน ฯลฯ

    หันกลับมาดูพัฒนาการของการอวดสวยอวดงาม ก็จะพบว่าในรอบปีเต็มไปด้วยการประกวดมากมาย และหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่เวทีระดับชาติ ไปจนถึงงานสวนสนุก จากการประกวดบุรุษนักกล้าม กับสาวงามพลศึกษา สาวสวยสุขภาพดี ในเดือน ม.ค.ของทุกปี ไปถึงเวทีใหญ่ระดับเวิลด์และยูนิเวิร์ส แล้วก็ยังมีเวทีเทศกาลคั่นไปเป็นระยะๆ มีทั้งสาวงามนัยน์ตาคม สาวสวยนัยน์ตาสีน้ำตาลผมดำ กระทั่งสาวผิวเนียน ฯลฯ อะไรต่อมิอะไรมากมาย สุดจะตามไปนับได้ครบถ้วน

    แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่มีเวทีไหนยิ่งใหญ่เท่ากับมิสโกลเด้นแลนด์อีกแล้ว เพราะว่าถ้าหากจะถอดความหมายกันตามตัวอักษรก็คือ นี่คือการประกวด “สาวงามสุวรรณภูมิแห่งพม่า”

    [​IMG] .
    @เมื่ออยู่ในชุดวัฒนธรรมประจำชาติ สาวสวยแต่ละนางก็เป็นตะละแม่กุสุมาขนานแท้.. แม่ของลูกชัดๆ.

    [​IMG]
    @แซนดี้ เอย์ ละหวิ่น (Sandi Aye Lwin) หนึ่งในบรรดาสาวสวย 31 คน ที่จะเข้าประกวดในรอบสุดท้ายวันอาทิตย์นี้ สวมชุดเกาะอกเปิดไหล่กว้าง ในรอบออดิชั่นเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา โชว์ "ผิวพม่า" นวนเนียน อันเป็นที่เลื่องลือ.

    มิสโกลเด้นแลนด์ฯ หรือ MGLM เป็น “เวที 5 มงกุฎ” สำหรับสาวสวยที่มีโอกาสจะไต่เต้าไปให้ถึงดวงดาว ใน 5 เวทีอินเตอร์ฯ นั่นก็คือ มิสเอิร์ธเมียนมาร์ (Miss Earth Myanmar) มิสซูปราเนชั่นแนล (Muss Supranational Myanmar) มิสอินเตอร์คอนติเนนตัล (Miss Intercontinental Myanmar) สาวงามการท่องเที่ยว (Miss Tourism Myanmar) และ สาวสวยนานาชาติเมียนมาร์ (Face of Beauty International Myanmar)

    ตำแหน่งหลังสุดนี้เรียกได้ว่า เป็น “อะไหล่” ในยามฉุกเฉิน หากมีการประกวดอะไร ที่ประเทศหรือดินแดนไหนแบบปัจจุบันทันด่าน หรือเพิ่งจะนึกขึ้นได้ สปอนเซอร์ก็สามารถเสียบเข้าไปได้ทันท่วงที ไม่ต้องสรรหากันอีก

    MGLM ปีแรกเปิดเครื่องใหม่ยังไม่คล่อง ไม่คึกคัก ปีถัดมา 2557 มีชีวิตชีวายิ่งขึ้น สามารถส่งสาวงามไปร่วมการประกวด Miss Earth 2014 ที่ประเทศฟิลิปปินส์ได้ สำหรับปีนี้มีลุ้นกันทุกเวทีเลยทีเดียว

    พูดถึงเนื้อหา การประกวด MGLM 2015 นับเป็นเวทีที่มีความพร้อมครบถ้วนสมบูรณ์มาก จัดกิจกรรมเป็นระบบระเบียบมากที่สุด และแพร่หลายที่สุด ยกมาตรฐานขึ้นสู่ระดับนานาชาติแบบเรียนลัด ไม่ต้องมีแฟรนไชส์ ปีนี้เริ่มประกาศรับสมัครกันแต่ต้นปี คัดผู้สมัครเอาไว้ 650 สาว การประกวดแบบ “ออดิชัน” เพื่อคัดเลือกจัดขึ้นในต้นเดือน เม.ย. ในนครย่างกุ้ง คัดสาวสวยไว้ 31 คน เข้าร่วมกิจกรรม ก่อนไปสู่การประกวดรอบสุดท้ายที่กำลังจะมีขึ้นในวันอาทิตย์ 21 มิ.ย.นี้

    แต่ก่อนจะถึงจุดนี้ กองประกวดได้จัด “ค่ายเก็บตัว” อย่างมืออาชีพที่นครมัณฑะเลย์ อบรมบ่มเพาะ ฝึกสอน ฝึกซ้อมกันเต็มที่ และทยอยส่งสาวๆ ออกทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ ทั้งในมัณฑะเลย์ พุกาม ลงไปจนถึงย่างกุ้ง

    <iframe width="560" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/cIj7dCbMopc" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>

    <iframe width="560" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/cVOTLIdY9k4" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>

    <iframe width="560" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/ONd6aPyGSRw" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>

    <iframe width="560" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/UpQB0Ezkh08" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>

    เวทีนี้ไม่มีการประกวดรอบชุดว่ายน้ำ แต่สัปดาห์ปลายเดือนที่แล้ว ที่เมืองปิ่นอูละหวิ่น เมืองท่องเที่ยวตากอากาศเก่าแก่ที่อยู่ใกล้กับนครมัณฑะเลย์ มีการประกวดในชุดทูพีซสองชิ้นเช่นเดียวกัน อวดความเต่งตึงแห่งวัยเจริญพันธุ์เหมือนกัน เพียงแต่เรียกเสียใหม่ว่า.. การประกวดรอบสมรรถนะของร่างกายและไลฟ์สไตล์ (Fitness and Lifestyle) ราวกับมีเจตนาจะหลบเลี่ยง เพราะเกรงใจผู้เฒ่าผู้แก่..

    ข่าวล่าสุดในวันศุกร์นี้ก็คือ อาษา ภัต (Asha Bhat) มิสซูปราเนชั่นแนล 2014 ชาวอินเดียเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นผู้ครองตำแหน่งคนปัจจุบัน เดินทางถึงกรุงเก่าย่างกุ้งแล้วในตอนบ่าย มีรายงานสายตรงว่า สาวสวยอาจจะออกอวดโฉมในรอบฟิตเนส และไลฟ์สไตล์กับน้องๆ ชาวพม่าด้วย

    โอกาสมาถึงอีกครั้ง สำหรับการนั่งลุ้นหน้าจอ ความคึกคักจะเริ่มตั้งแต่ 5 โมงเย็นเป็นต้นไป จนถึง 2ทุ่มครึ่ง หรือจนกว่าจะเสร็จ ถ่ายทอดสดตรงจากเวทีผ่านช่อง 9 สกายเน็ต (SkyNet) ทีวีดาวเทียม และ MNTV ซึ่งรับชมในต่างแดนได้เช่นเดียวกัน

    หากไม่แน่ใจให้เข้าไปเซ็ตคอมพิวเตอร์ให้พร้อม เพื่อรับชมไลฟ์สตรีมวิดีโอผ่านเว็บไซต์ Pageant Fan Online เตรียมเน็ต 3G, 4G แรงๆ เอาไว้รอ เพื่อจะรับชมในระบบ HD ได้อย่างไม่ตะกุกตะกักให้รำคาญตา.. รีบๆ เลย.
    .

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มิถุนายน 2015
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    รัสเซียเปิดเกมรุก ทัพฟ้าอิเหนาเอ่ยปากอยากจะได้ Su-35 จัดเต็มทันทียึดตลาดใหญ่อาเซียน โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 19 มิถุนายน 2558 15:00 น. (แก้ไขล่าสุด 19 มิถุนายน 2558 15:11 น.)

    [​IMG]
    @เครื่องบินรบยุค 4++ ที่มีชื่อเสียงของรัสเซีย อาจจะมีโอกาสมาปรากฏตัวเหนือน่านฟ้ากลุ่มอาเซียนก็ครั้งนี้ หลังจากเวียดนามไม่ได้ให้ความสนใจ เนื่องจากรัสเซียแบะท่า พร้อมจะขายให้จีนฝูงใหญ่ แต่คราวนี้วงการเชื่อกันว่า รัสเซียจะจับให้มั่นคามือเพื่อรักษาตลาดใหญ่และเก่าแก่ในย่านนี้ ขึ้นอยู่กับว่าอินโดนีเซียเองจะจริงจังแค่ไหน ในขณะที่กำลังอัปเกรต F-16 ที่สหรัฐบริจาคให้ฟรีๆ ตั้งสองฝูง. -- ภาพ: Sputnik.


    ASTVผู้จัดการออนไลน์ - เจ้าหน้าที่ทางการรัสเซียเพิ่งจะเปิดเผยสัปดาห์นี้ว่า กองทัพอากาศอินโดนีเซีย ให้ความสนใจอยากจะได้เครื่องบินรบ Su-35 และฝ่ายรัสเซียได้จัดเตรียมแผนเพื่อนำเสนอแบบแพกเกจเพื่อชิงตลาดใหญ่อีกแห่งหนึ่งในกลุ่มอาเซียน ที่เร่งปรับปรุงสมรรถนะของกองทัพอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีมานี้

    เซอร์เกย์ คาร์นอฟ (Sergey Kornev) โฆษกของรัฐวิสาหกิจส่งออกอาวุธแห่งรัสเซีย หรือ Rosoboronexport เปิดเผยในวันพฤหัสบดี 18 มิ.ย. ในงานปารีสแอร์โชว์ ที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้เกี่ยวกับแผนการจัดหาเครื่องบินรบของอินโดนีเซีย เพื่อนำเข้าประจำการทดแทนเครื่องบิน F-5 ที่ผลิตโดยสหรัฐฯ ฝูงหนึ่งที่ใช้งานมานานหลายสิบปี

    “เรารอว่าจะเปิดประกวดราคากันเมื่อไร และเราจะเข้าร่วมด้วย” โฆษกคนเดียวกันกล่าว ทั้งยังย้ำความสำคัญในการพัฒนาเครื่องบินรบอเนกประสงค์ของรัสเซียเพื่อส่งออก

    ในเดือน ก.พ. ปีนี้ พล.อ.ท.อากุส ซูปริอัตนา (Akus Supriatna) เสนาธิการกองทัพอากาศอินโดนีเซีย ได้เดินทางไปเยือนรัสเซีย และแสดงความสนใจ Su-35 แต่ยังไม่มีการเปิดเผยเงื่อนเวลาในการจัดหา

    พัฒนาโดยกลุ่มบริษัทซูคอย (Sukhoi) ซึ่งเป็นทั้งผู้ออกแบบ และผู้ผลิตอากาศยานชั้นนำในรัสเซีย Su-35 ซึ่งกลุ่มนาโต้เรียกว่า แฟล็งเคอร์-อี (Flanker- E) เป็นเครื่องบินรบยุค “4++” ที่ใช้งานได้หลายบทบาทหน้าที่ โดยใช้เทคโนโลยีของเครื่องบินรบยุคที่ 5 อยู่ในระบบด้วย เป็นที่ยอมรับกันว่า Su-35 มีข้อได้เปรียบมากมาย เหนือเครื่องบินรบในระดับเดียวกันอีกหลายรุ่น

    เครื่องบินรัสเซียไม่ใช่สิ่งแปลกปลอมสำหรับกองทัพอินโดนีเซีย แม้ว่ากองทัพบก กับกองทัพเรือ จะหันไปใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีของตะวันตกมากขึ้นก็ตาม แต่ก็ทัพอากาศประเทศนี้ยังคงใช้เครื่องบินรบผสมผสาม ระหว่างค่ายสหรัฐฯ กับรัสเซีย รวมทั้งยังมีโรงงานผลิต เครื่องบินขนส่งของค่ายยุโรปอยู่ในประเทศอีกด้วย

    อินโดนีเซีย เป็นลูกค้ารายแรกๆ ของ Su-27/30 ในกลุ่มอาเซียน เช่นเดียวกับกองทัพอากาศมาเลเซีย และเวียดนาม แต่ในขณะเดียวกันก็ยังคงใช้เครื่องบินขนส่ง C-130 ที่ผลิตในสหรัฐฯ ร่วมกับเครื่องบินที่ผลิตในประเทศ

    ส่วนเวียดนาม ไม่ได้แสดงความสนใจใน Su-35 ขณะที่รัสเซีย กับจีนพันตูเจรจาซื้อขายกันในช่วงหลายปีมานี้ และเวียดนามหันไปหาเครื่องบินรบจากค่ายยุโรป ซึ่งรวมทั้ง JAS-39 “กริพเพน” ที่ผลิตในสวีเดน และยูโรไฟเตอร์ “ไต้ฝุ่น” ซึ่่งเป็นผลผลิตร่วมกันของหลายประเทศยุโรป ทั้งนี้ เพื่อนำเขาประจำการแทน MiG-21 ที่เก่าแก่ และทรุดโทรมไปตามกาลเวลา

    สำหรับอินโดนีเซีย นอกจากจะเป็นเจ้าของ Su-27/30 กว่า 10 ลำในขณะนี้ ก็ยังอยู่ระหว่างการอัปเกรตเครื่องบิน F-16 ที่ใช้แล้ว และได้รับบริจาคจากสหรัฐฯ จำนวน 2 ฝูง รวม 24 ลำอีกด้วย ถ้าหากรัสเซียสามารถเจาะตลาดอินโดนีเซียได้สำเร็จ ก็จะเป็นเจ้าของตลาดสำคัญอีกแห่งหนึ่งในย่านนี้

    ที่ผ่านมา รัสเซียได้แสดงให้เห็นความพยายามทุกวิถีทางที่จะรักษาตลาดเก่าแก่แห่งนี้ รวมทั้งการให้สินเชื่อแก่อินโดนีเซียในการจัดซื้อ Su-30 จำนวน 6 ลำ ที่ส่งมอบแล้วเสร็จในล็อตล่าสุดด้วย.
    .

    [​IMG]
    @Su-27SK หนึ่งในสองลำของทัพฟ้าอิเหนา ที่ฐานทัพแห่งหนึ่งทางตะวันออกกรุงจาการ์ตา ในภาพทวิตเตอร์ของแฟนคนหนึ่ง นอกจากนั้นยังมี Su-27SKM อีก 3 ลำ ซึ่งอัปเกรตระบบเอวิโอนิกส์ต่างๆ ขึ้นเทียบชั้น Su-30MK แล้ว ปัจจุบันทัพฟ้าอิเหนายังมี Su-30 อีกตั้ง 11 ลำ ตอนนี้กำลังมองหาเครื่องบินรบรุ่นใหม่ เพื่อเข้าประจำการแทน F-5E/F ที่มีอยู่ 9 ลำ.



     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    แอร์เย็นฉ่ำทั่วไทย เขื่อนลาวอีก 10 แห่งจะเริ่มปั่นไฟ ไม่รวยปีนี้แล้วจะรวยปีไหน
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 18 มิถุนายน 2558 11:50 น. (แก้ไขล่าสุด 18 มิถุนายน 2558 13:43 น.)

    [​IMG]
    @ระหว่างไปเยี่ยมชมการก่อสร้างเขื่อนของนักลงทุนจากจีนแห่งหนึ่งในแขวงภาคกลางของลาวสัปดาห์ต้นเดือนนี้ นายคำมะนี อินทิลาด ยืนยันว่าเขื่อนผลิตไฟฟ้าอีกกว่า 10 เขื่อนจะเปิดเดินเครื่องในปีนี้ ซึ่งจะทำให้ผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอีกกว่า 2,000 เมกะวัตต์ รวมเป็นกว่า 5,000 เมกะวัตต์ ปัจจุบันไทยก็ยังเป็นลูกค้ารายใหญ่ที่สุดของ "พลังงานสะอาด" จากลาว. -- ภาพ: หนังสือพิมพ์ปะเทดลาว.


    ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ทางการลาวประกาศในปี 2558 นี้ จะมีเขื่อนอีก 10 แห่ง เริ่มเดินเครื่องปั่นไฟผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำ ซึ่งจะสามารถสนองความต้องการในประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนด้วยกัน และไม่เพียงแต่ส่งออกเท่านั้น ประชาชนลาวเองจะมีไฟฟ้าใช้อย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น เพียงพอสนองความต้องการของวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อม รวมทั้งโครงการลงทุนของต่างประเทศในลาวอีกด้วย

    เมื่อเปิดใช้เขื่อนอีก 10 แห่ง ก็จะทำให้ลาวมีกำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอีกกว่า 2,000 เมกะวัตต์ รวมเป็นกว่า 5,000 เมกะวัตต์ จากเพียง 3,000 เมกะวัตต์ในปัจจุบัน หนังสือพิมพ์ “ปะเทดลาว” รายงายอ้าง นายคำมะนี อินทิลาด รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ ระหว่างการไปเยี่ยมชม และทำงานในแขวงหัวพัน เชียงขวาง ไซสมบูน กับแขวงเวียงจันทน์ ช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา

    รัฐมนตรีลาว กล่าวย้ำว่า ความอุดมมั่งคั่งในพลังน้ำจากธรรมชาติ เป็นข้อได้เปรียบสำคัญของลาว ทำให้สามารถพัฒนาการผลิตกระแสไฟฟ้าได้อย่างยั่งยืน และพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเห็นได้จากที่เคยมีเขื่อนเพียง 2-3 แห่งในช่วงปี 2546-2553 เพิ่มขึ้นเป็น 29 แห่งในปัจจุบัน และเมื่อนับรวมจำนวนที่จะเปิดใหม่ ก็จะเพิ่มขึ้นเป็นทั้งหมด 39 เขื่อนในปีนี้

    ปัจจุบัน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตของไทยเป็นลูกค้ารายใหญ่ที่สุด ซึ่งที่ผ่านมา ได้เซ็นความตกลงซื้อไฟฟ้าลาวถึง 7,000 เมกะวัตต์ เวียดนาม จีน กำลังจะเป็นลูกค้ารายใหม่ ขณะเดียวกัน ลาวก็อยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อส่งกระแสไฟฟ้าไปจำหน่ายให้แก่สิงคโปร์ ผ่านโครงข่ายสายส่งของไทยและมาเลเซีย ซึ่งถ้าหากทำได้สำเร็จก็จะเป็นก้าวกระโดดครั้งสำคัญในฐานะที่เป็น “แบตเตอรี่แห่งอาเซียน”

    ปัจจุบัน “บรรดาประเทศอาเซียนตั้งความหวังจะนำเข้าพลังงานจากลาวหลายพันเมกะวัตต์ เพื่อตอบสนองความต้องการในภาคอุตสาหกรรมหนัก-เบา การบริการ ที่อยู่อาศัย และอื่นๆ” หนังสือพิมพ์ออนไลน์ของทางการ อ้างนายคำมะนี

    รัฐมนตรีของลาวยังกล่าวอีกว่า การผลิตไฟฟ้าได้ 5,000 เมกะวัตต์ในปีนี้ กำลังจะเป็นช่วงต่อที่สำคัญที่สุดในการมีส่วนร่วมการพัฒนาประเทศ โดยเฉาะอย่างยิ่งในการแก้ไขความยากจนของราษฎร และประชาชนบรรดาเผ่าที่อยู่ห่างไกลจะมีไฟฟ้าใช้กันมากขึ้น รวมทั้งโอกาสการมีงานทำ การผลิตการเกษตรให้เป็นสินค้า การประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารการศึกษา

    พร้อมๆ กับการพัฒนาโครงการเขื่อนแห่งต่างๆ ก็จะมีการพัฒนาถนนหนทางควบคู่กันไปด้วย ซึ่งจะทำให้ประชาชนทั่วไปในพื้นที่ห่างไกลมีเส้นทางคมนาคมขนส่งที่ทันสมัย และยังมีน้ำสะอาดใช้ในชีวิตประจำวันอีกด้วย นายคำมะนี กล่าว

    ภายในปีนี้ชาวลาวที่อาศัยอยู่ในท้องที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ซึ่งมีจำนวนทั้งหทด 148 เมือง (อำเภอ) จะมีไฟฟ้าใช้ 80% และจำนวนจะเพิ่มขึ้นเป็น 90% ในปี 2563 ไฟฟ้าจะอำนวยความสะดวกอย่างยั่งยืนให้แก่ธุรกิจของต่างประเทศที่เข้าลงทุนสร้างโรงจักรโรงงานในลาว เขตอุตสาหกรรมต่างๆ โรงแรม ตลอดจนสถานบริการทั่วไป ซึ่งจะมี “พลังงานสะอาด” ใช้อย่างเพียงพอ รัฐมนตรีของลาว กล่าว.

    [​IMG]
    @พิธีวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างเขื่อนเซกะหมาน 1 ในแขวงอัตตะปือทางตอนใต้สุดเมื่อปี 2554 รายงานล่าสุดก็คือ เริ่มเก็บกักน้ำเมื่อเดือนที่แล้ว เป็นอีกเขื่อนหนึ่งที่จะเริ่มเดินเครื่องปั่นไฟหน่วยแรกปลายปีนี้.

    [​IMG]
    @การก่อสร้างเขื่อนเซน้ำน้อย-เซกะตาม ในเมืองปากซอง แขวงจำปาสัก ดำเนินไปอย่างคึกคัก เข้าคิวผลิต "พลังงานสะอาด" ในลาว.

    [​IMG]
    @เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ เขื่อนเซน้ำน้อย-เซกะตามของลาว ก็จะเป็นเช่นที่เห็นในภาพนี้.

    [​IMG]
    @เขื่อนไซบูลีของกลุ่ม ช.การช่าง จากประเทศไทย มีเสียงคัดค้านมากที่สุด แต่ก็เป็นรูปเป็นร่างให้เห็น ในภาพเมื่อ 2 เดือนที่แล้ว กำลังจะเป็นเขื่อนใหญ่ที่สุดในลาว สร้างกั้นแม่น้ำโขงทั้งสายในเขตเมืองและแขวงชื่อเดียวกัน.


     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    “ปานเทพ” แจงศูนย์ปรองดองฯ ย้ำเรื่องพลังงานปัญหาใหญ่ แนะ “ประยุทธ์” ดูวิดีโอที่อัดไว้ โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
    19 มิถุนายน 2558 16:44 น. (แก้ไขล่าสุด 19 มิถุนายน 2558 18:25 น.)

    [​IMG]

    ASTVผู้จัดการออนไลน์ - “ปานเทพ” แจงหลังศูนย์ปรองดองฯ เรียกรายงานตัว เผยเสนอเรื่องพลังงานกว่า 2 ชั่วโมง ไร้เรื่องการเมือง ทหารอัดวิดีโอด้วย เผยทุกคนในห้องประชุมเครียด เป็นเรื่องใหญ่ ชวน “ประยุทธ์” สร้างอำนาจต่อรองกลุ่มทุนพลังงาน ระบุพูดที่ไหนไม่ได้เพราะเป็นการเจรจาความระหว่างประเทศ ย้ำการปรองดองไม่ใช่เรื่องสีเสื้อ แต่ต้องตระหนักผลประโยชน์ของชาติ-ครองใจคนทั้งประเทศ

    วันนี้ (19 มิ.ย.) นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ตัวแทนเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) กล่าวกับ “ASTV ผู้จัดการออนไลน์” ถึงกรณีที่ศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป (ศปป.) เรียกเข้าพบที่สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดีรังสิต ระบุว่า ในการเข้าพบครั้งนี้แตกต่างจากครั้งก่อนตรงที่เป็นการเรียกเข้าพบเป็นรายบุคคล ไม่มีปะปนกับใคร จากที่ครั้งก่อนเป็นการเรียกบุคคลมารวมตัวกัน โดยมี พล.ท.บุญธรรม โอริส รองผู้อำนวยการ ศปป.เป็นประธาน พร้อมด้วยนายทหารนายอื่นๆ ร่วมรับฟังในห้องประชุม

    ทั้งนี้ ในการเข้าพบกับ ศปป.ครั้งนี้ตนไม่ได้พูดถึงเรื่องรัฐธรรมนูญ แต่ได้นำเสนอเรื่องพลังงานอย่างเป็นระบบเป็นรายละเอียดกว่า 2 ชั่วโมง และมีการอัดวิดีโอ ตนเชื่อว่าถ้า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ดูจะเป็นประโยชน์ในการสร้างอำนาจต่อรองให้รัฐไทยกับบริษัทที่ได้รับสัมปทานปิโตรเลียมเดิม จากการสังเกตปฏิกิริยาคนที่นั่งในห้องประชุมนั้นดูหนักใจและเครียดขึ้นมาทันทีเมื่อฟังปัญหาและรู้ว่าเป็นเรื่องใหญ่ หลังประชุมแล้วทุกคนมีท่าทีเข้าใจว่าเป็นอย่างไร เป็นปัญหาหนักขนาดไหน พร้อมให้กำลังใจและจะหาทางในการนำเสนอนายกรัฐมนตรีให้ได้โดยเร็ว พยายามจะช่วยกันในทุกวิถีทาง

    เมื่อถามว่า จากการเข้าพบ ศปป.ในครั้งนี้มั่นใจขนาดไหนว่ารัฐบาลจะรับข้อเสนอ นายปานเทพกล่าวว่า ตนไม่รู้เลย รู้แต่ว่าตนนำเสนอให้เห็นถึงความสำคัญ และเป็นเรื่องจิตสำนึกของคนในชาติ ซึ่งคราวปรองดองที่แท้จริงมันไม่ใช่การจับสีเสื้อในมิติของกลุ่มนั้นกลุ่มนี้ทางการเมือง ที่เราเอาเรื่องผลประโยชน์ของชาติเข้ามา ทำให้ทหารกลุ่มหนึ่งซึ่งอาจไม่เคยรับข้อมูลมาก่อนได้ตระหนักว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ และเป็นเรื่องที่สามารถครองใจประชาชนคนทั้งประเทศได้ถ้าทำสำเร็จ ซึ่งจะนำไปสู่การปรองดองที่เป็นรูปธรรมและเป็นสิ่งที่สามารถทำให้ประชาชนสัมผัสได้อย่างแท้จริงและยั่งยืนด้วย

    “ผมได้พูดเรื่องนี้ไปและดูเหมือนเขาจะเข้าใจมากขึ้น ไม่ถือว่าเป็นการปรับทัศนคติ แต่คิดว่าให้เขามีข้อมูลมากขึ้น ผมพูดเป็นหลัก โดยที่ไม่มีการข่มขู่ โต้แย้ง มีแต่ห่วงใยในบางเรื่อง เขาดูเหมือนจะคล้อยตามในสิ่งที่เราได้พูดไปด้วย เขาหนักใจบางเรื่องที่เขาคิดว่าจะเกิดกรณีอย่างนั้นอย่างนี้ คือสร้างแบบจำลองในสิ่งที่มันเกิดขึ้นว่าเป็นไปได้อย่างไรบ้าง ผมคิดว่าถ้านายกฯ ได้มีโอกาสได้ฟัง จะเป็นประโยชน์ต่อนายกฯ มาก และเป็นประโยชน์ต่อประเทศมาก เพราะเป็นเรื่องที่ผมไม่สามารถพูดได้ในที่ไหน เพราะเป็นเรื่องการเจรจาความระหว่างประเทศ และก็เป็นเรื่องอำนาจต่อรองที่สามารถสร้างขึ้นได้ ถ้ามีการวางกลยุทธ์ที่ดี” นายปานเทพกล่าว

    ก่อนหน้านี้ ที่สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดีรังสิต เมื่อเวลา 12.45 น. นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ เปิดเผยก่อนเข้าหารือตามคำเชิญของ ศปป.ว่า ตนเตรียมเอกสารข้อเสนอประเด็นด้านพลังงานเพื่อเสนอให้รัฐบาลพิจารณา นอกจากนี้ ได้เสนอให้รัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน ความไม่โปร่งใส โดยเฉพาะกิจการด้านพลังงาน ส่วนเรื่องการเมืองนั้น ตนเห็นว่ารัฐบาลรัฐประหารที่เข้ามาต้องหาคำตอบให้ได้ว่าต้องการเข้ามาทำอะไร ความสำคัญไม่ได้อยู่ที่รัฐบาลจะยุบสภาปฎิรูปแห่งชาติหรือจะตั้งสภาขับเคลื่อนการปฎิรูปประเทศ แต่หนึ่งปีเศษที่รัฐบาลเข้ามาเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งจนถึงตอนนี้รัฐบาลยังเป็นกรรมการห้ามมวยชั่วคราว ต้องหาคำตอบในปัญหาการปรองดองที่แท้จริง ไม่ใช่แค่การเชิญแกนนำมาพูดคุยเท่านั้น เพราะเนื้อแท้ของความขัดแย้งมันอยู่ลึกกว่านั้น

    สำหรับเรื่องร่างรัฐธรรมนูญนั้น ตนมองว่าปัญหาอยู่ที่นักการเมืองที่ใช้รัฐธรรมนูญสุจริตเพียงใด ตราบใดที่ยังอยู่ในวงจรแบบเดิมก็ยังต้องแก้รัฐธรรมนูญกันอยู่เรื่อยไป ทั้งนี้ รัฐบาลต้องทำเรื่องผิดถูกให้ชัดเจน เช่น ดำเนินคดีกับเรื่องทุจริตให้ถึงที่สุด และทำให้ไม่รู้สึกว่ามีคนโดนเอาผิดอยู่ฝ่ายเดียวแต่อีกฝ่ายไม่เป็นอะไร ที่ผ่านมาเอาผิดนักการเมืองไม่ได้หรือเอาผิดได้เพียงฝ่ายเดียว เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การเชิญตนมาวันนี้ยังขาดความชัดเจนว่าเชิญตนมาพูดประเด็นอะไร การเริ่มต้นด้วยคำถามว่าตนไปพูดเรื่องอะไรหรือสัมภาษณ์เรื่องอะไรนั้น ท่าทีแบบนี้จะส่งผลลบกับนายกรัฐมนตรี ส่งผลให้นายกฯ เสียหาย

    นอกจากนี้ นายปานเทพได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก “ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์” ระบุว่า “ผมออกมาจากการพูดคุยแล้วกับทหาร 7-10 คน จากศูนย์ปรองดอง ใช้เวลาประมาณเกือบ 2 ชั่วโมง สรุปแล้วให้ผมนำเสนอเรื่องพลังงานเรื่องเดียวยาวเหยียด โดยเฉพาะเรื่องที่ผมพูดนั้นได้นำเสนอด้วยจิตบริสุทธิ์ที่มุ่งมั่นในการยึดเอาประโยชน์ของประเทศชาติเป็นที่ตั้ง และได้ชี้แจงถึงกลยุทธ์และรายละเอียดในการสร้างอำนาจต่อรองของรัฐสูงสุดที่ผมไม่เคยพูดที่ใดมาก่อน และผมได้เชิญชวนทหารเข้ามาร่วมมือกับประชาชนมาสร้างความมั่นคงของชาติด้านพลังงานร่วมกันเพื่อลูกหลานของเรา ให้ทหารสำนึกและหวงแหนในทรัพยากรของชาติเพื่อที่จะนำมาสู่การปรองดองที่แท้จริง ผมสัมผัสและเห็นสายตาและแววตาทุกท่านได้ว่าตระหนักและหนักใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและจะเกิดขึ้นต่อไปหากไม่เร่งแก้ไข โดยผมบอกว่าเรื่องที่ผมต่อสู้อยู่นั้นไม่สามารถปรองดองกับใครได้ เพราะเป็นเรื่องที่ต้องเลือกระหว่างผลประโยชน์ของประชาชนทั้งประเทศกับผลประโยชน์ของกลุ่มทุนพลังงานเพียงไม่กี่คน หลายคนในที่ประชุมให้กำลังใจผมขอให้ผมทำให้สำเร็จ และเห็นว่าข้อมูลที่ผมพูดนั้นมีความสำคัญและเป็นประโยชน์กับชาติ และจะนำเสนอให้นายกรัฐมนตรีทราบต่อไปโดยเร็ว”

     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    กำนัน-ผู้ใหญ่บ้านยื่น สปช.ค้านเลือกตั้งผู้ว่าฯ เลิกอำนาจบริหารท้องถิ่น ชี้ทำแตกแยก โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 19 มิถุนายน 2558 13:05 น. (แก้ไขล่าสุด 19 มิถุนายน 2558 13:38 น.)

    [​IMG]

    นายกสมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านยื่น สปช.ค้านเลือกตั้งพ่อเมือง เลิกอำนาจบริหารส่วนภูมิภาค อ้างสร้างความแตกแยก

    วันนี้ (19 มิ.ย.) ที่รัฐสภา นายยงยศ แก้วเขียว นายกสมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทยยื่นหนังสือถึงนายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ผ่านนายคณพล ตุ้ยสุวรรณ ผู้บังคับบัญชากลุ่มงานประสานการเมืองและรับเรื่องราวร้องทุกข์ สำนักงานประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อคัดค้านการยกเลิกอำนาจบริหารราชการส่วนภูมิภาค การกำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดมาจากการเลือกตั้ง และการกระจายอำนาจต้องมีการสร้างกระบวนการตรวจสอบโดยภาคประชาชน โดยนายยงยศกล่าวว่า สมาคมฯ มีมติไม่เห็นด้วยต่อการเสนอร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญที่จากกลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่งแล้วนำมาคิดเสนอยุบส่วนราชการอื่น ทั้งนี้ ข้อเสนอดังกล่าวทางสมาคมฯ เกรงว่าจะเป็นการสร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้นภายในสังคมไทยได้

     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ปอกเปลือก ทรราช
    "พวกเราพร้อมแล้วสำหรับทะเลใหม่เพื่อหาท่าเรือที่ปลอดภัย" - Alexis Tsipras นายกฯกรีซ

    [​IMG]

    -------------
    นายกฯ Alexis Tsipras ของกรีซกล่าวในที่ประชุม Economic Forum 2015 ที่กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า...

    [​IMG]

    "ศูนย์กลางเศรษฐกิจของดาวเคราะห์ดวงนี้ได้ย้ายที่ไปแล้ว มีขั้วอำนาจเกิดขึ้นมาใหม่ซึ่งกำลังมีบทบาทที่สำคัญมากทั้งด้านการเมืองเชิงภูมิศาสตร์ (ภูมิรัฐศาสตร์) และด้านเศรษฐกิจ เมื่อพูดโดยทั่วไปแล้ว ผมอยากจะกล่าวว่าความสัมพันธ์ระหว่างประเทศถูกกำหนดให้มีลักษณะแบบหลายขั้วอำนาจ (multi-polarity) อย่างที่พวกท่านทั้งหมด (ในที่นี้) ต่างก็ตระหนักดีว่าพวกเรากำลังอยู่ในช่วงเวลาที่อยู่ในท่ามกลางพายุ อยู่ในใจกลางน้ำวน แต่พวกท่านก็รู้ว่าพวกเราอาศัยอยู่ใกล้ทะเล ดังนั้นพวกเราจึงไม่จำเป็นต้องกลัวพายุ พวกเราไม่กลัวทะเลเปิด หรือการก้าวออกไปสู่ทะเลใหม่ พวกเราพร้อมแล้วที่เข้าสู่ทะเลใหม่เพื่อไปยังท่าเรือที่ปลอดภัย
    จวบจนบัดนี้นับว่าเป็นความกล้าหาญของบรรดาผู้นำที่ได้ทำการตัดสินใจในสิ่งเหล่านั้น แต่พวกเราไม่สามารถที่จะแบกเอาภาระเก่าในอดีตติดตามตัวพวกเราไปด้วยได้ หากว่าพวกเรายังคงทำอย่างนั้นต่อไป (ก็จะกลายเป็นว่า) พวกเรายังคงทำผิดแบบเดิมซ้ำอีกครั้งแล้วครั้งเล่า และพวกเราก็จะจบเห่ด้วยความล้มเหลว ดังนั้น คำถามจึงมีอยู่ว่าพวกเราจะต้องปรับปรุงอย่างไร? และอะไรคือสิ่งที่พวกเราจะต้องทำเพื่อให้ประสบความสำเร็จ ขอบคุณครับ"
    เอ่อ… นายกฯกรีซเขาพูดเป็นภาษากรีกนะ แต่ RT เอามาแปลเป็นภาษาอังกฤษ ส่วนแอ็ดมินก็แปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยให้แฟนเพจได้อ่านตามที่กล่าวมาข้างบนนั่นแหละ ประเด็นที่น่าสนใจที่ทุกฝ่ายโดยเฉพาะอียูและสหรัฐฯกำลังจ้องกรีซตาเขม็งเลยก็คือว่ากรีซจะออกจากอียูจริงๆหรือ? ชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆหลังจากที่กรีซขู่พวกเจ้าหนี้มาหลายยกแล้ว กรีซจะออกหรือไม่ออกจากอียูนั้น สหรัฐฯมองว่าไม่ใช่ปัญหา เพราะหากอียูยิ่งแตกคอกันมากขึ้นเท่าไรก็ยิ่งเป็นผลดีต่อสหรัฐฯในการที่จะควบคุมประเทศต่างๆในอียูได้มากขึ้นเท่านั้น ดูอย่างกรณีที่อังกฤษจะออกจากอียูสิ สหรัฐฯไม่เห็นห้ามหรือคัดค้านซักคำ แอบกระหยิ่มยิ้มย่องอยู่ในใจซะอีก เพราะถ้าอียูแข็งแกร่งขึ้นมาก ก็จะบดบังรัศมีของสหรัฐฯซะเอง
    แต่ที่เป็นปัญหานั้นก็คืออียูต่างหากหละ เพราะถ้ากรีซออก อังกฤษออก ทุกอย่างก็จบ อียูพังแน่ๆ เพราะอาจจะมีหลายประเทศที่กำลังประสบชะตาเดียวกันกับกรีซต้องการจะเดินตามกรีซเช่นกัน แต่ที่สหรัฐฯ (IMF) กำลังปวดหัวหนักก็คือนายกฯกรีซบอกว่าจะไม่เอาภาระเก่าติดตัวมาด้วยนี่สิ ภาระเก่าที่ว่านั้นคืออะไร? ก็หนี้สินของกรีซที่ใช้ชั่วลูกชั่วหลานก็ไม่มีทางหมดอย่างไรหละ กรีซจะชักดาบพวกเจ้าหนี้ทรอยก้าเอาดื้อๆนี่แหละ พวกนั้น (เจ้าหนี้) จะทำอะไรได้ ก็เมื่อไม่มีให้จ่าย แล้วจะเอาที่ไหนมาจ่ายให้ กรีซจะสามารถจ่ายเงินคืนเจ้าหนี้บางส่วนได้ก็ต่อเมื่อได้รับเงินกู้ก้อนใหม่มาจ่ายให้เท่านั้นเอง กู้หนี้ใหม่มาโปะหนี้เก่านี่นะ? มันเป็นวงจรหายนะชัดๆ ไม่มีทางที่กรีซจะใช้หนี้ได้หมดหรอก เพราะพวกเจ้าหนี้เหล่านั้นจะคอยสูบเลือดสูบเนื้อจากกรีซโดยไม่มีวันสิ้นสุดแน่ๆ
    แต่หากว่ากรีซหอบเอาหนี้เก่าติดตัวมาด้วยแล้วมาเข้ากับ BRICS หละ? นั่นก็จะกลายเป็นภาระของกลุ่ม BRICS ไปด้วยพวกเจ้าหนี้ก็ยิ้มสิ BRICS ไม่โง่ขนาดนั้น เมื่ออยากจะมาเริ่มต้นชีวิตใหม่กับคนใหม่ ก็ต้องลืมคนเก่าตัดสายสัมพันธ์กับคนเก่าให้ได้ซะก่อน ซึ่งดูท่าทางของกรีซแล้ว เหมือนว่าพร้อมที่ทิ้งภาระเก่าไว้ข้างหลัง และมาสร้างชีวิตใหม่กับกลุ่ม BRICS ซะด้วยสิ นี่ถือว่าเป็นบทเรียนราคามแพงของอียูเอง ดังนั้นคนที่ต้องการการเจรจามากที่สุดในตอนนี้ก็คือพวกเจ้าหนี้ ไม่ใช่กรีซ
    The Eyes
    21/06/2558
    ----------
    https://www.youtube.com/watch?v=QclYGbOhlBU
     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ปอกเปลือก ทรราช
    ในความขัดแย้งก็ยังมีความพยายามร่วมมือกันคลี่คลายปัญหาด้วยสันติวิธี จีน-ญี่ปุ่น-เกาหลีใต้เดินหน้าเจรจาสามฝ่ายเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2012 ฝันร้ายของสหรัฐฯ

    [​IMG]

    -------------
    เล่าข่าวดีบ้างดีไหม?... เมื่อวานนี้ (20 มิ.ย.58) Sputnik news ของรัสเซียรายงานว่า "รัฐบาลญี่ปุ่น จีน และเกาหลีใต้กำลังพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการจัดประชุมร่วมกัน 3 ฝ่ายขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี การประชุมครั้งที่จะถึงนี้อาจจะจัดขึ้นระหว่างเดือนตุลาคมและเดือนพฤศจิกายนปีนี้ อาจจะจัดที่กรุงโซล Busan หรือที่ Jeju Island ในเกาหลีใต้" โดยอ้างจากหนังสือพิมพ์ Nikkei ของญี่ปุ่น
    รายงานข่าวบอกอีกว่าหากมีการตกลงที่จะจัดประชุมร่วมกัน นั่นจะกลายเป็นการพบหน้ากันเป็นครั้งแรกของผู้นำกรุงโตเกียวและผู้นำกรุงโซล เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่ญี่ปุ่นเข้ายึดครองเกาหลีใต้ระหว่างปี 1910-1945 ได้กลายเป็นน้ำแข็ง (พร้อมจะแตกหักได้ทุกเมื่อ) อันเนื่องมากจากข้อพิพาทในเรื่องอาณาเขต และเกี่ยวกับกับการถกเถียงกันในการตีความประวัติศาสตร์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

    [​IMG]

    จีน-ญี่ปุ่น-เกาหลีใต้ ได้เคยจัดการประชุม 3 ฝ่ายประจำปีร่วมกันมาก่อน โดยการประชุมสุดยอดผู้นำสามประเทศครั้งหลังสุดจัดขึ้นที่กรุงปักกิ่งในเดือนพฤษภาคมปี 2012 และช่วงฤดูใบไม่ผลิที่ผ่านมาทั้ง 3 ประเทศได้จัดประชุมร่วมกันระหว่างรมว.ต่างประเทศร่วมกัน ซึ่งคาดหวังว่าจะเป็นการปูทางไปสู่การเจรจาสุดยอดของผู้นำทั้ง 3 ประเทศในโอกาสต่อไป
    แม้ว่าทั้ง 3 ประเทศนี้จะมีปัญหาข้อพิพาทระหว่างกัน แต่เดิมทีนั้นทุกฝ่ายต่างก็พยายามที่จะแสวงหาจุดร่วมในการคลี่คลายปัญหาเหล่านั้นโดยสันติวิธีมาโดยตลอด แต่ก็ต้องมีอันต้องหยุดชะงักทันทีเมื่อสหรัฐฯยื่นขามาขัดให้การเจรจากปรองดองกันระหว่าง 3 พี่น้องเอเซียต้องสะดุดหัวทิ่มซะก่อน สหรัฐฯคบทั้งเกาหลีใต้และญี่ปุ่น (และจีนด้วย) แต่สหรัฐฯไม่เคยที่จะทำหรือพยายามที่จะทำให้ทั้ง3ประเทศนี้หันหน้ามาเจรจากันได้เลย
    ในกรณีข้อขัดแย้งกับจีนนั้น ด้วยเหตุที่ทั้งสองประเทศ (ญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้) ไม่กินเส้นกันอยู่แล้ว สบโอกาสให้สหรัฐฯเข้าแทรกแซงได้ทันที สหรัฐฯบอกว่าจะต้องมีการแลกเปลี่ยนข่าวกรองระหว่างญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้ แต่สหรัฐฯจะไม่ยอมให้ทั้งสองประเทศได้ติดต่อกันโดยตรง สหรัฐฯทำเป็นอาสาเป็นคนกลางหรือเป็นเมซเซนเจอร์ (ฤาษีแปลงสาร) ในการเอาข่าวจากเกาหลีใต้ไปให้ญี่ปุ่น และเอาข่าวจากญี่ปุ่นไปให้เกาหลีใต้ ความสามัคคีระหว่างเกาหลีใต้กับญี่ปุ่นจึงไม่มีได้เกิดขึ้นภายใต้การชักใยยุแหย่จากสหรัฐฯ
    จีนก็รู้ว่า ถ้าปล่อยให้สหรัฐฯเล่นบทตาอยู่คว้าพุงปลาไปกินอยู่อย่างนี้ อย่าฝันเลยว่า 3 พี่น้องนี้จะหันมาดีกันได้ ดังนั้นจีนจึงหันมาใช้โมเดลเดิมคือไม่ให้สหรัฐฯเข้ามาร่วมในการเจรจาด้วย วิธีนี้เคยได้ผลมาแล้วในการเจรจาสันติภาพ 4 ฝ่ายกรุงมินส์กคือ รัสเซีย เยอรมันนี ฝรั่งเศส และยูเครนในการคลี่คลายวิกฤตยูเครนโดยไม่มีสหรัฐฯเข้าร่วมด้วย ซึ่งทำให้สหรัฐฯรู้สึกเสียหน้าและโกรธแค้นเป็นอย่างมาก พาลไปโวยวายอังกฤษว่าไม่ทำอะไรซักอย่างทั้งๆที่อังกฤษก็เป็นหนึ่งในมหาอำนาจของยุโรป แต่หนทางไม่ได้โรยด้วยดอกกุหลาบเสมอไป แม้ว่า 4 ฝ่ายจะประสบผลสำเร็จในการทำข้อตกลงกัน นั่นเป็นเพียงก้าวแรกเท่านั้น ตัวยุแหย่ยังคอยเสี้ยมให้กระบวนการสันติภาพในยูเครนมีอันต้องสะดุดอยู่บ่อยครั้ง ดังนั้นจึงต้องจับตาดูต่อไปว่าตัวอิจฉาจะมาไม้ไหนอีกเพื่อไม่ให้การเจรจา 3 ฝ่ายในเอเซียประสบผลสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
    ในวันเดียวกันนี้ก็มีข่าวเกี่ยวความคืบหน้าในความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับญี่ปุ่นด้วยเช่นกัน Sputnik รายงานโดยอ้างสื่อฯญี่ปุ่นว่า "รัสเซียมองญี่ปุ่นว่าเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ในการร่วมมือกันผลิตแก๊ส LNG บนเกาะ Sakhalin ตะวันออกไกล" (เกาะ Sakhalin อยู่ใกล้ๆกับหมู่คูริลที่กำลังเป็นข้อพิพาทกันระหว่างรัสเซียกับญี่ปุ่น ซึ่งเคยเล่าประวัติความเป็นมาให้ฟังมาแล้วเมื่อเร็วๆนี้)
    เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาปูตินได้กล่าวในที่ประชุม St.Petersburg International Economic Forum 2015 ตอนหนึ่งเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างรัสเซียกับญี่ปุ่นในเรื่องการผลิตแก๊ส LNG ว่า "ขีดความสามารถของพวกเราในด้านการผลิตนั้น ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าใหญ่กว่าที่คาดการณ์เอาไว้ รัฐบาลรัสเซียไว้วางแผนที่จะเพิ่มการผลิต LNG ขึ้นในรัสเซีย"
    The Eyes
    21/06/2558
    ----------
    China, Japan, South Korea Mull Holding First Trilateral Summit Since 2012 / Sputnik International
    Russia, Japan to Join Hands in LNG Production on Sakhalin – Media / Sputnik International
     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    [​IMG]

    จากข่าวในเฟส ปอกเปลือก ทรราช ที่ว่ามีความคืบหน้าในความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับญี่ปุ่น Sputnik รายงานโดยอ้างสื่อฯญี่ปุ่นว่า "รัสเซียมองญี่ปุ่นว่าเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ในการร่วมมือกันผลิตแก๊ส LNG บนเกาะ Sakhalin ตะวันออกไกล" (เกาะ Sakhalin อยู่ใกล้ๆกับหมู่คูริลที่กำลังเป็นข้อพิพาทกันระหว่างรัสเซียกับญี่ปุ่น ซึ่งเคยเล่าประวัติความเป็นมาให้ฟังมาแล้วเมื่อเร็วๆนี้)

    เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาปูตินได้กล่าวในที่ประชุม St.Petersburg International Economic Forum 2015 ตอนหนึ่งเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างรัสเซียกับญี่ปุ่นในเรื่องการผลิตแก๊ส LNG ว่า "ขีดความสามารถของพวกเราในด้านการผลิตนั้น ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าใหญ่กว่าที่คาดการณ์เอาไว้ รัฐบาลรัสเซียไว้วางแผนที่จะเพิ่มการผลิต LNG ขึ้นในรัสเซีย" The Eyes 21/06/2558

    เรามาศึกษากันน่ะครับว่า แก๊ส LNG ที่จะมีการร่วมมือในการผลิตแก๊สชนิดนี้ระหว่างรัสเซีย และญี่ปุนเป็นอย่างไรดีน่ะ ครับ เปลี่ยนข้อพิพาทเรื่องดินแดน กลายมาเป็นร่วมมือกันทำมาหากิน

    แก๊สธรรมชาติเหลว (อังกฤษ: Liquefied natural gas หรือ LNG)
    เป็นก๊าซธรรมชาติที่ถูกนำไปทำให้สถานะของก๊าซกลายเป็นของเหลวโดยทำให้อุณหภูมิลดลงส่งผลให้ปริมาตรลดลงเหลือประมาณ 1/600 เท่าของปริมาตรเดิม โดยการใช้ความเย็นที่ ลบ 162องศาเซลเชียส หรือที่ลบ260องศาฟาเรนท์ไฮต์ [1] เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บและการขนส่ง เมื่อต้องการนำไปประโยชน์จะนำเข้าสู่กระบวนการเพิ่มอุณหภูมิซึ่งกลายเป็นเชื้อเพลิงในรูปของแก๊สธรรมชาติอัด[2][3][4

    คุณสมบัติ[แก้]
    แก๊สธรรมชาติเป็นวัตถุดิบของการผลิตแก๊สธรรมชาติเหลว ดังนั้นจึงประกอบไปด้วยสารเจือปนหลายชนิด เช่น กำมะถัน คาร์บอนมอนอกไซด์ วัตถุดิบที่ได้จึงต้องนำมาแยกสารประกอบอื่นๆออก เมื่อผ่านกระบวนการคัดแยกสารประกอบออกแล้วจะถูกนำเข้าสู่กระบวนการลดอุณหภูมิให้เหลือประมาณ -160.5 ถึง -160 องศาเซลเซียส ซึ่งจะเรียกว่าก๊าซธรรมชาติเหลว ที่มีคุณสมบัติ ไม่มีกลิ่น ไม่มีสารประกอบที่เป็นพิษ ไม่มีคุณสมบัติการกัดกร่อน กรณีเกิดการรั่วไหลไม่ต้องกำจัดเนื่องจากก๊าซจะระเหยไปในอากาศได้อย่างรวดเร็ว ไม่ทิ้งสารตกค้าง การติดไฟเกิดขึ้นได้ต้องอยู่ในสถานะก๊าซ สภาพแวดล้อมปิดและมีค่าปริมาณก๊าซในอากาศระหว่าง 5-15% แล้วมีการก่อให้เกิดประกายไฟในบริเวณที่มีก๊าซอยู่[2]ความไวต่อการติดไฟของแก๊สธรรมชาติสูงกว่าแก๊สปิโตรเลียมเหลว[3]

    การผลิต[แก้]
    ประเทศที่มีปริมาณสำรองแก๊สธรรมชาติมากที่สุดคือ ประเทศรัสเซีย มีปริมาณสำรองประมาณ 27% รองลงมาได้แก่ประเทศอิหร่าน ประมาณ 15% ประเทศกาตาร์ 14% ส่วนประเทศที่มีการผลิดมากที่สุดคือ การ์ตา อินโดนีเซีย มาเลเซีย และ แอลจีเรีย[2]

    การจัดเก็บและขนส่ง[แก้]
    วัตถุประสงค์ของผลิตแก๊สธรรมชาติเหลวคือ ลดปริมาตร เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บและขนส่งเป็นหลักและเป็นไปแบบสอดคล้องกัน แก๊สถูกบรรจุในถังเก็บโดยไม่จำเป็นต้องทนต่อแรงดันสูง เพราะแก๊สธรรมชาติเหลวไม่มีแรงดัน จึงไม่ก่อเกิดการระเบิดหากเกิดรอยแตกร้าวในภาชนะจัดเก็บ แต่ต้องเก็บในถังเก็บซึ่งสามารถรักษาอุณหภูมิให้ต่ำเพื่อคงสถานะของเหลว โดยถังบรรจุชั่วคราวระหว่างรอขนถ่ายนั้นสามารถเก็บได้นาน 8 วัน ทั่วโลกมีการก่อสร้างแหล่งรับการถ่ายแก๊สธรรมชาติเหลวขึ้นหลายแห่ง ส่วนประเทศไทยอยู่ในการดูแลของ ปตท. [2]

    การค้า[แก้]
    ประเทศที่มีการซื้อแก๊สธรรมชาติเหลวมากที่สุดในโลก คือ ประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และ ไต้หวัน ตามลำดับ ความต้องการในตลาดโลกโดยรวมประมาณ 160 ล้านตันในปี พ.ศ. 2550 และมีแนวโน้มสูงขึ้น ส่วนประเทศไทยเริ่มมีการนำเข้าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554[2]

    https://th.wikipedia.org/wiki/แก๊สธรรมชาติเหลว


    ก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) จัดเป็นเชื้อเพลิงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจาก LNG เป็นเชื้อเพลิงที่มาจากก๊าซธรรมชาติ ซึ่งทำให้การปล่อยมลพิษต่อหน่วยพลังงานในกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้าหรือกระบวนการสันดาปเครื่องรถยนต์ต่ำ

    LNG เป็นสารที่ไม่มีกลิ่น ไม่มีพิษ และไม่มีฤทธิ์กัดกร่อน เมื่อ LNG รั่วไหลสู่สิ่งแวดล้อม LNG จะระเหยกลายเป็นไอแพร่กระจายในอากาศได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่มีการตกค้างในน้ำหรือดิน การรั่วไหลของ LNG ที่จะก่อให้เกิดการลุกไหม้ขึ้นได้นั้น ต้องมีความเข้มข้นของการระเหยของ LNG ในบรรยากาศอยู่ในช่วงระหว่าง 5%-15% รวมทั้งจะต้องมีแหล่งกำเนิดไฟในบริเวณใกล้เคียงด้วย


    ข้อดีของการใช้ก๊าซธรรมชาติและก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG)

    เป็นเชื้อเพลิงที่นำมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง เนื่องจากมีการเผาไหม้ที่สมบูรณ์
    มีความปลอดภัยในการใช้งานสูง เนื่องจากมีน้ำหนักเบากว่าอากาศและระเหยลอยขึ้นเมื่อเกิดการรั่วไหล
     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ทหารปฏิรูปประเทศไทย

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    แม้จ้าวโว้ย..เกาหลีเหนือเผยผลิตวัคซีนป้องกันโรคเมอร์สได้แล้ว
    หลังจากอเมริกา ปล่อยของเชื้อแอนแทรกซ์เป็นเป้าจริงใส่เกาหลีใต้ แต่เป้าลวงเป็นเชื้อโรคเมอร์ส ที่กำลังระบาดหนักป่วยและตายในเกาหลีใต้อยู่ตอนนี้ หวังให้หลุดไปเข้าประเทศจีนผ่านผู้คนจำนวนมากจากจีนที่เข้าไปเกาหลี แล้วกลับประเทศตนเอง
    แต่ความลับก็ไม่มีในโลก จะสังเกตุได้ว่าจีนรู้ทัน สั่งบล็อคคนของตนเองบัดดลทันทีเป็นหมื่นคนไม่ให้เดินทางไปเที่ยวเกาหลีใต้ พาเชื้อกลับมาประเทศตนเอง
    แต่ที่อึ้งคือ เกาหลีเหนือเผยว่า ผลิตวัคซีนชื่อ กัมดัง2 สามารถรักษาโรคเมอร์ส โรคอีโบลา โรคเอดส์ โรคซาร์ ไข้หวัดนก2006 และ 2010 ได้สำเร็จเรียบร้อยแล้ว..ผลิตได้จริงหรือไม่ไม่ยืนยันเพราะต้องทดลองใช้ในคน..แต่ที่แน่ๆ แม้จ้าวโว้ย ทันสมัยจริงๆ พ่อคิม ทรงผมขัดใจแม่ !!
    @ เสธ น้ำเงิน4
     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ทหารปฏิรูปประเทศไทย
    อึ้ง..เจอธนบัตรมิ๊กกี้ เมาส์ใบละ 3,300 ล้านบาทหลายปึก ในตู้เซฟของมัคทายกลัทธิจานบินธรรม..ก...ไม่ใช่...

    [​IMG]



    DSI แถลงผลการติดตามความคืบหน้าคดี "ฉ้อโกงทรัพย์ รับของโจร โหนศาสนา" สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ผลการตรวจค้นห้องทำงานของนายศุภชัย มัคทายกลัทธิธรรม..ก...ไม่ใช่พุทธ อดีตประธานสหกรณ์ฯ ที่อาคารยู ทาวเวอร์
    ตู้นิรภัยของนายศุภชัย พบธนบัตรคล้ายธนบัตรของสหรัฐอเมริการะบุมูลค่าฉบับละ 100 ล้านดอลลาร์ (หรือราว 3,300 ล้านบาท) พบธนบัตรลักษณะนี้ในตู้เซฟประมาณ 5-6 ปึก และมีการระบุตัวหนังสือว่า “The United States of America”
    สถานทูตสหรัฐอเมริกามาตรวจสอบแล้วให้ความเห็นว่าธนบัตรที่ตรวจยึดได้นี้ "รัฐบาลอเมริกาไม่เคยออกประกาศใช้" และไม่ใช่สกุลเงินของสหรัฐอเมริกา ธนบัตรลักษณะนี้มักถูกนำไปใช้ในกรณีของการหลอกลวง ฉ้อโกง
    ธนบัตรดอลลาร์ประหลาดดังกล่าวเป็นธนบัตรเด็กเล่น “มิกกี้ เมาส์ ดอลลาร์” ตรงกลางธนบัตรเป็นรูปเสือการ์ตูน และรูปมิ๊กกี้ เมาส์ ใบละ 100 ล้านดอลลาร์จึงกลายเป็นของเด็กเล่น เพราะในอเมริกามีการพิมพ์ธนบัตรออกมาให้เด็กเล่นกันมาก เช่นใบละ 1 ล้านดอลลาร์ (ราว 33 ล้านบาท)
    ในไทยก็มีธนบัตรแบบนี้มากที่เด็กๆ เล่นกันเรียกว่า "แบ๊งค์กาโม่" มีมูลค่าเท่าไรก็ได้ เพราะไม่ใช่เงินชำระหนี้ตามกฎหมาย โห.. นี่แสดงว่าลัทธิธรรม..ก.. ยักยอกเงินประชาชนเป็นเงินบาท แล้วใช้มนตราอภินิหาร เสกให้เงินกลายเป็นแบ๊งค์มิกกี้เม้าส์หรือเนี่ย..โห..อภินิหารน๊ะจ๊ะๆ .... !!
    @ เสธ น้ำเงิน1
     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Jeerachart Jongsomchai

    ... "ซีไอเอ : ช่วยเหลืออิรักในการใช้ - อาวุธเคมี- ฆ่าพลเรือนในสงครามกับอิหร่านเมื่อ 1988"

    [​IMG]

    .
    ... ในสงครามระหว่างอิรัก - อิหร่านระหว่างปี1980 - 1988 ( ตอนนั้นปี 1979 อิหร่านปฎิวัติอิสลาม ทำให้ซาอุดกลัว และอเมริกาก็กลัวว่าอิหร่านจะแพร่แนวคิดและอิทธิพลไปทั่วโลกอิสลาม และกระทบ "บ่อน้ำมัน" และ "ปิโตรดอลล่าร์" ของตน จึงสร้างสงครามขึ้นมาสกัด โดยการยุซัดดัมให้ไฝ่สูงอยากเป็นใหญ่ ) นั้นในช่วงปลายสงครามปี 1988 อิรักเริ่มเพรี่ยงพร้ำแก่อิหร่าน โดยช่วง16 มีนาคม 1988 อิหร่านได้รุกเข้าอิรักในเขตเมือง Halabja ที่เป็นเมืองของชาวเคิร์ดในอิรักที่เข้าข้างและช่วยอิหร่านในการรบมาตลอด อิรักกลัวว่าอิหร่านจะรุกคืบมากกว่าเดิมจึงตัดสินใจใน 48 ชั่วโมงในการใช้ "อาวุธเคมี" โจมตีกลับ
    ... "อิรัก" โดยการสนับนุน จาก "ซีไอเอของอเมริกา" จึงได้ใช้ "อาวุธเคมี" เช่นแก๊สพิษ Sarin ( คิดค้นโดยนักวิทยาศาสตร์ "เยอรมัน" ในปี 1938 ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่จะทำให้เสียชีวิตทันทีภายใน 1 - 10 นาทีหลังการสูดเอาอากาศเข้าไป เพราะว่าแก๊สจะไปทำลายกล้ามเนื้อปอด ) เพื่อขับไล่กองกำลังอิหร่านและเคิร์ดออกไป โดยไม่แยกระหว่างทหารหรือพลเรือนจึงมีผู้เสียชีวิตแบบทันทีประมาณ 3,200 - 5,000 คน (ตามแต่แหล่งข่าวที่อ้าง ) และบาดเจ็บอีกกว่า 7,000 ถึง 10,000 คน และอีกหลายพันคนที่มีผลปัญหากระทบข้างเคียงทางสุขภาพ โรคร้ายตามมา และเด็กเกิดมามีปัญหา ( คล้ายๆที่เด็กเวียตนามเกิดมาพิกลพิการเหมือนสัตว์ประหลาด )
    ... และการทิ้งระเบิดแก๊สพิษและ "นาปาล์ม" ( อาวุธของเหลวที่ถ้าติดไฟจะไหม้ = พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยฮาวาร์ดของอเมริกา ) ทางเครื่องบินในครั้งนั้นถือว่าเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธ์พลเรือนด้วย "อาวุธเคมีโดยตรง" ครั้งใหญ่ที่สุดของโลก ที่มีการบันทึกไว้ ( แสดงว่ามีการฆ่าด้วย "อาวุธเคมีโดยอ้อม" อีกสิ เช่นการฉีดวัคซีน อาหารฟาสฟูดส์ สารแอสพาแทมในเครื่องดื่ม ยาสมัยใหม่ การพ่นแก๊สในอากาศแบบ Chemtrial และอื่นๆ )
    ... 1998 สิบปีผ่านไป, ยังมีอีกว่า 700 คนที่ได้รับผลกระทบสืบมา ( คล้ายๆ "ฝนเหลือง" ในเวียตนาม ) และ 500 คนในนั้นอยู่ในขั้นสาหัส จวนเจียนจะเสียชีวิต เด็กที่เกิดมาโอกาศเสี่ยงสูงในการเสียชีวิตและพิการ, รูปร่างไม่ปรกติ, ป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจ ,โอกาศเกิดมะเร็งลำไส้มากกว่าคนปรกติ 10 เท่า, เป็นโรคหัวใจมากกว่าคนที่ไม่ได้รับสารพิษ, มีการเจ็บป่วยทางระบบการหายใจ ผิวหนัง และตา
    ... และสารพิษยังคงตกค้างสู่คนรุ่นต่อไปได้
    ... ตอนนี้ได้ข่าวว่ามีการติดเชื้อโรคจากทหารอเมริกาใน "เกาหลีใต้" ที่เป็นเหมือนประตูบ้านของ "จีน" ดังนั้นจะโดยตั้งใจหรือบังเอิญก็ตามโอกาศที่โรคนี้จะระบาดสู่ "พลเรือน" ในเอเชียสูงมาก และมันอาจจะจะเป็น "สงครามเชื้อโรค" เหมือนในอดีตที่ "อเมริกาช่วยอิรัก" ฆ่า "ชาวเคิร์ดและอิหร่าน" ในอดีต หรือเหมือนสมัย Unit 731 ของ "ญี่ปุ่น" ที่พยายามจะสร้างอาวุธเชื้อโรคมาฆ่าฝ่าย "จีน" ( ที่ตอนนั้นอเมริกาก็หนุนอยู่ ) ที่จวนจะใช้การได้แล้ว แต่มาโดนระเบิดปรมาณูเสียก่อน
    ... "สงครามเชื้อโรค" หรือ "อาวุธเคมี" นั้นไม่ใช่ยังไม่เคยเกิด แต่มีการใช้มานานแล้ว โดยเฉพาะจากประเทศที่ชอบว่าคนอื่นๆ อย่างอเมริกา
    .
    https://en.wikipedia.org/wiki/Halabja_chemical_attack
    https://en.wikipedia.org/?title=Napalm
    https://en.wikipedia.org/?title=Sarin
    https://www.youtube.com/watch?v=Hk35suofbYQ
     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ผลแล็บยันเด็ก 6 ขวบโคราชไม่ติด “เมอร์ส” แค่ไข้หวัดใหญ่ ยังกัก 3 คนรอดูอาการ 14 วัน โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 21 มิถุนายน 2558 10:44 น. (แก้ไขล่าสุด 21 มิถุนายน 2558 11:40 น.)

    [​IMG]

    @นพ.วิชัย ขัตติยวิทยากุล สสจ.นครราชสีมา

    ศูนย์ข่าวนครราชสีมา - สสจ.โคราชโล่ง! ยันผลตรวจห้องแล็บเด็ก 6 ขวบโคราช ครอบครัวกลุ่มเสี่ยง 3 ราย ที่เดินทางมาในเครื่องบินร่วมชาวโอมานผู้ติดเชื้อเมอร์สรายแรกของไทย เป็นลบไม่ติดเชื้อไวรัสเมอร์ส เผยเป็นเพียงไข้หวัดใหญ่ธรรมดา แต่ยังต้องกักตัวทั้ง 3 ราย เฝ้าดูอาการจนครบ 14 วัน

    เมื่อเวลา 08.30 น.วันนี้ (21 มิ.ย.) นพ.วิชัย ขัตติยวิทยากุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า กรณีครอบครัวชาว จ.นครราชสีมา 3 ราย ที่ร่วมเดินทางมากับเครื่องบินลำเดียวกับชายชาวโอมานวัย 75 ปี ผู้ติดเชื้อไวรัสเมอร์สรายแรกของประเทศไทย เมื่อวันที่ 15 มิ.ย.ที่ผ่านมา และบุตรชายวัย 6 ขวบ ได้ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลปากช่องนานา อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมานั้น เจ้าหน้าที่ได้แยกบุคคลทั้ง 3 กักไว้เพื่อรอดูอาการและรอผลการตรวจยืนยันจากห้องปฏิบัติการ หรือห้องแล็บ

    ล่าสุด ผลการตรวจจากการสุ่มตัวอย่างเลือดไปตรวจในห้องปฏิบัติการยืนยันออกมาแล้วว่า เด็กชายคนดังกล่าวป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ธรรมดา และอาการดีขึ้นตามลำดับ โดยผลตรวจจากห้องแล็บออกมาเป็นลบไม่ติดเชื้อไวรัสเมอร์สแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ครอบครัวนี้จะต้องถูกกักตัวไว้ที่โรงพยาบาลปากช่องนานาก่อน เพื่อเฝ้าระวังรอดูอาการให้แน่ชัดจนครบ 14 วัน แม้ว่าผลตรวจจะยืนยันว่าทั้ง 3 รายไม่พบติดเชื้อไวรัสเมอร์สก็ตาม

    “ขณะนี้ทั้ง 3 รายอยู่ในความดูแลของเจ้าหน้าที่สาธารณจังหวัดนครราชสีมาอย่างใกล้ชิด หากครบกำหนดไม่มีอาการอะไรก็ไม่น่าจะมีปัญหา ขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนกจนเกินไป การป้องกันให้กินร้อน ช้อนกลาง หมั่นล้างมือ ทำให้เป็นกิจวัตรประจำวันจะได้ไม่ติดเชื้อโรคดังกล่าว” นพ.วิชัย กล่าว

    นอกจากนี้ ทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) นครราชสีมา ได้เรียกประชุมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกพื้นที่ในจังหวัดนครราชสีมาเพื่อรับมือต่อโรคไวรัสเมอร์ส โดยให้ทุกโรงพยาบาลจัดเตรียมห้องปลอดเชื้อ และเข้มงวดในขั้นตอนการตรวจคัดกรองผู้ป่วยต้องสงสัย หากพบผู้ต้องสงสัยให้แยกกักตัวไว้ตรวจหาเชื้อทันที


     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ชาวสโลวา ควรยอมรับ “แผนรับผู้อพยพ” ของ EU เพราะพวกเขาก็มีความสุขกับการเขาร่วมเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปตั้งแต่เมื่อปี ค.ศ.2004

    ชาวสโลวาเกียรวมตัวจัดเดินขบวนใหญ่กลางเมืองหลวง แสดงพลังต่อต้าน “แผนรับผู้อพยพ” ของ EU โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 21 มิถุนายน 2558 06:30 น.

    [​IMG]

    รอยเตอร์ / เอพี / เอเอฟพี / เอเจนซีส์ / ASTV ผู้จัดการออนไลน์ – เจ้าหน้าที่ตำรวจสโลวาเกีย เปิดเผยเมื่อวันเสาร์ ( 20 มิ.ย.) โดยระบุ ได้เข้าทำการควบคุมตัวกลุ่มผู้ประท้วงจำนวนอย่างน้อย 60 ราย ที่เข้าร่วมการเดินขบวนแสดงพลังครั้งใหญ่ในกรุงบราติสลาวา เมืองหลวงของประเทศ เพื่อต่อต้านการรับผู้อพยพเข้าเมืองตามนโยบายของทางสหภาพยุโรป (European Union : EU)

    [​IMG]

    รายงานข่าวระบุว่า การจัดเดินขบวนแสดงพลังต่อต้านการรับผู้อพยพเข้าเมืองที่เกิดขึ้นในกรุงบราติสลาวา เมืองหลวงของสโลวาเกียในวันเสาร์ ( 20) ถูกจัดขึ้นผ่านการนัดหมายที่กระทำผ่านสื่อสังคมออนไลน์ชื่อดังอย่าง “ เฟซบุ๊ก”

    ทางกลุ่มผู้จัดให้มีการเดินขบวนในกรุงบราติสลาวา เพื่อต่อต้านการรับผู้อพยพเข้าเมือง ตามนโยบายของทางสหภาพยุโรปนั้น อ้างว่า มีผู้เดินทางเข้ามาร่วมเดินขบวนในครั้งนี้เป็นจำนวนหลายพันคน และว่า นี่ถือเป็นการพลังอันบริสุทธิ์ของประชาชนชาวสโลวาเกียที่เป็น “เจ้าของประเทศ” ตัวจริงเสียงจริงว่า ไม่ต้องการรับผู้อพยพจากทวีปแอฟริกาและภูมิภาคตะวันออกกลางเหล่านี้ให้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศของตน

    ในช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลสโลวาเกียได้แสดงจุดยืนทางการทูตที่ชัดเจน ในการต่อต้านแผนการจัดสรรโควต้าเชิงบังคับของสหภาพยุโรปที่ต้องการให้บรรดาประเทศสมาชิกอียู ต้องจำใจอ้าแขนรับผู้อพยพเหล่านี้เข้าประเทศ ตามเกณฑ์ของสภาพเศรษฐกิจและจำนวนประชากร

    หากคำนวณตามเกณฑ์ดังกล่าวของอียูแล้ว คาดว่า สโลวาเกียซึ่งเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปตั้งแต่เมื่อปี ค.ศ.2004 และเป็นบ้านของประชากรราว 5.5 ล้านคนในเวลานี้ จะต้องยอมรับผู้อพยพทางเรือ จากแอฟริกาและตะวันออกกลางเข้าประเทศเป็นจำนวนทั้งสิ้น “785 ราย” จากจำนวนผู้อพยพที่มีมากกว่า 40,000 ราย ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็น “ชาวมุสลิม”ที่ปักหลักรออยู่ในค่ายพักชั่วคราวทั้งในประเทศอิตาลีและกรีซในตอนนี้

    นอกเหนือจากสโลวาเกียแล้ว มีรายงานซึ่งอ้างแหล่งข่าวทางการทูตในกรุงบรัสเซลส์ของเบลเยียมว่า รัฐบาลของประเทศสมาชิกอียูอีกหลายชาติต่างแสดงจุดยืนคัดค้านแผนรับผู้อพยพเข้าเมืองครั้งนี้ของอียูด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลของฝรั่งเศส โปแลนด์ และฮังการี

    ขณะที่ประเทศอย่างอิตาลีและกรีซที่ต้องแบกรับปัญหาการไหลทะลักของผู้อพยพอยู่เพียงลำพังในขณะนี้ ต่างต้องการให้สมาชิกอื่นๆของสหภาพยุโรปเร่งเข้ามาแบ่งเบาภาระของตน ในการดูแลผู้อพยพที่มีจำนวนเรือนหมื่น ตามหลักสิทธิมนุษยชน และหลักมนุษยธรรม

    ทั้งนี้ ความเคลื่อนไหวล่าสุดในสโลวาเกียที่มีการจัดเดินขบวนแสดงพลังต่อต้านการรับผู้อพยพเข้าเมือง ตามนโยบายของสหภาพยุโรปครั้งนี้ถูกจัดขึ้นก่อนที่จะมีการจัดประชุมสุดยอดผู้นำสหภาพยุโรป หรือการประชุม “อียู ซัมมิต” ในสัปดาห์หน้าที่กรุงบรัสเซลส์ในระหว่างวันที่ 25 – 26 มิถุนายนนี้

    บรรดานักวิเคราะห์และผู้สันทัดกรณีทางการทูตต่างให้ความเห็นว่า ประเด็นปัญหาเรื่องวิกฤตผู้อพยพทางเรือที่หลั่งไหลเข้าสู่แผ่นดินยุโรป และการจัดสรรโควตาเชิงบังคับเพื่อรับผู้อพยพเหล่านี้เข้าไปตั้งถิ่นฐานในหมู่ประเทศสมาชิกอียู จะกลายเป็น “ประเด็นร้อนฉ่า” ที่จะทำให้การประชุมอียู ซัมมิตที่เมืองหลวงของเบลเยียมคราวนี้ดำเนินไปอย่างตึงเครียดและเผ็ดร้อนได้ไม่แพ้ประเด็นเรื่องการแก้ปัญหาหนี้สินของกรีซ


     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    แทนซาเนียเดินหน้า “ขอตังค์อินเดีย” ลงทุนโครงการสร้าง “รถไฟใต้ดิน”
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 20 มิถุนายน 2558 21:03 น.

    [​IMG]

    @ประธานาธิบดี จาคายา คิเควเต ผู้นำแทนซาเนีย ได้พบหารือกับนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ผู้นำรัฐบาลอินเดียเมื่อวันศุกร์ ( 19 มิ.ย.)

    รอยเตอร์ / เอเจนซีส์/ASTV ผู้จัดการออนไลน์ – แทนซาเนีย ดินแดนซึ่งเป็นบ้านของประชากรมากกว่า 47.4 ล้านคนในภูมิภาคแอฟริกาตะวันออก ตกเป็นข่าวมองหาลู่ทางการขอรับการสนับสนุนทางการเงินจากอินเดีย เพื่อเดินหน้าโครงการก่อสร้างเครือข่ายระบบรถไฟใต้ดินในกรุงดาร์เอสซาลาม เมืองหลวงด้านการค้าของตน

    คำแถลงซึ่งถูกเผยแพร่จากทำเนียบประธานาธิบดีแทนซาเนียในวันเสาร์ ( 20 มิ.ย.) ระบุว่า ประธานาธิบดี จาคายา คิเควเต ผู้นำแทนซาเนีย ได้รับการติดต่อจาก บรรษัทเพื่อการบริการทางการเงินและการเช่าซื้อทางโครงสร้างพื้นฐานแห่งอินเดีย (IL&FS) ที่แสดงความสนใจในการเข้าลงทุนในโครงการก่อสร้างเครือข่ายระบบรถไฟใต้ดินของกรุงดาร์เอสซาลาม

    อย่างไรก็ดี ในถ้อยแถลงดังกล่าว ผู้นำของแทนซาเนีย มิได้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับมูลค่าของโครงการรถไฟใต้ดินนี้ว่า สูงเพียงใด

    ทั้งนี้ กรุงดาร์เอสซาลาม เมืองหลวงด้านการค้าซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่มากกว่า 4 ล้านคนของแทนซาเนีย ถือเป็นหนึ่งในเมืองใหญ่ทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาราที่มีอัตราการเติบโตรวดเร็วที่สุด แต่ทว่าเมืองอย่างดาร์เอสซาลามก็ต้องเผชิญกับปัญหาการจราจรที่คับคั่งหนาแน่นเช่นเดียวกับอีกหลายเมืองในกาฬทวีปแห่งนี้

    ก่อนหน้านี้เมื่อวันศุกร์ ( 19 มิ.ย.) ประธานาธิบดี จาคายา คิเควเต ผู้นำแทนซาเนีย ได้พบหารือกับนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ผู้นำรัฐบาลอินเดีย และได้ยื่นคำร้องอย่างเป็นทางการเพื่อขอรับการสนับสนุนทางการเงินจากอินเดียในโครงการขนส่งมวลชนดังกล่าว

    เมื่อเดือนพฤษภาคม ทางการแทนซาเนียเผยมีแผนทุ่มงบประมาณราว 2,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อก่อสร้างถนนใหม่หลายสาย ตลอดจนระบบการขนส่งด้วยรถบัสโดยสารด่วนพิเศษ รวมทั้ง การก่อสร้างทางยกระดับและสะพานเพื่อแก้ปัญหาการจราจรในกรุงดาร์เอสซาลาม โดยเม็ดเงินที่จะนำมาใช้ในโครงการยักษ์ด้านการคมนาคมเหล่านี้ถูกระบุว่า จะถูกจัดสรรมาจากงบประมาณปี 2015/16 ของแทนซาเนียที่จะเริ่มต้นในเดือนกรกฎาคม

    [​IMG]

    ด้านรายงานข่าวจากสื่อท้องถิ่นระบุว่า หากโครงการต่างๆเพื่อแก้วิกฤตการจราจรของแทนซาเนียประสบความสำเร็จจะทำให้แทนซาเนียเป็นศูนย์กลางของการคมนาคมขนส่งทางบกของภูมิภาคแอฟริกาตะวันออก ซึ่งเพิ่งมีการขุดพบแหล่งน้ำมันขนาดใหญ่ทั้งในเคนยาและยูกันดา รวมถึงในแทนซาเนียเอง

    ข้อมูลล่าสุดของทางการแทนซาเนียระบุว่า แทนซาเนียและอินเดีย มีแผนเพิ่มมูลค่าการค้าขายแบบทวิภาคีระหว่างกันจากระดับปัจจุบันที่ปีละ 4,000 ล้านดอลลาร์ ( ราว 134,570 ล้านบาท)



     

แชร์หน้านี้

Loading...