ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ทหารปฏิรูปประเทศไทย

    [​IMG]

    พี่หมีขาวประกาศเพิ่มขีปนาวุธข้ามทวีป 40 ลูกเข้าคลังแสง..เอาไว้เตรียมทำอะไร ??
    รัสเซียมีขีปนาวุธนำวิถีข้ามทวีป ขั้นต่ำยิงได้ไกลอย่างน้อย 5,500 กิโลเมตร จำนวนมากมายมหาศาลกว่า 20,000 ลูก และเล็งทุกพื้นที่ใส่อเมริกาไว้ รัสเซีย ไม่พอใจที่สหรัฐฯ ยั่วยุจะทำสงครามท่าเดียว โดยจะประจำการรถถังและอาวุธหนักในชาติสมาชิก NATO ที่มีชายแดนติดดับรัสเซีย
    ล่าสุดประธานาธิบดี ปูติน ประกาศก้องว่ารัสเซียจะเพิ่มขนาดคลังแสงนิวเคลียร์ในปี 2558 ด้วยขีปนาวุธข้ามทวีป เขาบอกว่า "ปีนี้ขนาดของพลานุภาพทางนิวเคลียร์ของเรา จะถูกเพิ่มเติมโดยขีปนาวุธนำวิถีข้ามทวีปใหม่กว่า 40 ลูก ที่สามารถจะสามารถมีชัยเหนือระบบป้องกันขีปนาวุธใดๆ หรือแม้แต่ระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดได้"
    เจ้าหน้าที่รัสเซีย ระบุว่ามอสโกจะแก้เผ็ด หากว่าสหรัฐฯ ดำเนินแผนสะสมอาวุธหนักในยุโรปตะวันออก รวมถึงหลายประเทศในแถบบอลติก ที่ครั้งหนึ่งเคยอยู่ในสหภาพโซเวียต ก่อความเสียวสันหลังกับชาติตะวันตก โดยเฉพาะประเทศที่อยู่ใกล้หรือมีชายแดนติดกับรัสเซีย
    ปูติน กล่าวว่ารัสเซียกำลังปรับปรุงกองทัพให้มีความทันสมัยมากขึ้น โดยร้อยละ 70 ของยุทโธปกรณ์ทางทหารที่จะใช้ในปี 2563 เกือบทั้งหมดจะเป็นอาวุธที่ทันสมัยและมีคุณภาพเป็นเลิศ ตอนนี้ชาวรัสเซียตอนนี้ลุกฮือกันต่อต้านชาติตะวันตก มีการเดินขบวนสนับสนุนปูติน
    ส่วนในอเมริกาเอง กลุ่มอิลลุมินาติก็มีการจัดหน้าม้า มาหาม็อบล่ารายชื่อ 20,000 ราย เพื่อสร้างความชอบธรรมเริ่มทำการยิงขีปนาวุธใส่รัสเซียก่อน...เอากันเข้าไปพ่อคุณ..ใครหิวข้าวหลามรัสเซียก็จัดไป ใครหิวข้าหลามไทยก็ที่หนองมน ชลบุรี..หอม กลมกล่อม
    @ เสธ น้ำเงิน2
    คลิ๊กไปที่ https://t.co/KxhM77h8oO กรอกข้อมูลสั่งจอง/ซื้อหนังสือรวมเล่ม แฉ ความลับ และ ebook
     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ทหารปฏิรูปประเทศไทย

    [​IMG]

    กลุ่มตาลีบัน โวยวายว่าอเมริกาให้โควต้าอัฟกานิสถานแล้ว กลุ่ม IS อย่าล้ำเส้น ไม่งั้นจะฟ้องลูกพี่

    [​IMG]

    [​IMG]

    กลุ่มตาลีบาน โดยการหนุนหลังของ CIA อเมริกา ที่ขนาดเคยเอาเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ ลงไปจอดพุดคุยต่อรองทางการค้าอุตสาหกรรมสงครามกันหน้าตาเฉยในพื้นที่ยึดครองตาลีบัน ในอัฟกานิสถาน ที่อเมริกาแถลงว่าไม่ใช่กลุ่มก่อร้าย แต่เขาน่ารักกันทั้งนั้น
    ด้วยความที่กลุ่ม IS ฮอลีวู๊ดจ่ายเงินหนัก นักรบตาลีบันจึงแปรพักตร์ ไปเข้าร่วมกับกลุ่ม IS ในอิรักและซีเรียเป็นจำนวนมาก และสู้รบซัดกันเองระหว่างกลุ่มตาลีบัน กับกลุ่มนักรบรับจ้าง IS ในอัฟกานิสถานหลายครั้ง
    กลุ่มตาลีบานเกิดความวิตกเพิ่มมากขึ้นว่า กลุ่ม IS ฮอลีวู็ด กำลังจะล้ำเส้นแผ่ขยายอิทธิพล ในพื้นที่ตนเอง นายมุลเลาะห์ อัคตาร์ โมฮัมหมัด มานซูร์ รองหัวหน้าใหญ่กลุ่มตาลีบันในอัฟกานิสถาน ได้เขียนจดหมายถึง อาบู บาการ์ อัล-แบกดาดี ผู้นำกลุ่ม IS เด็กสร้างอเมริกา
    เตือนว่าอย่าล้ำเส้นเขตอิทธิพลในอัฟกานิสถาน เพราะเขตนี้อเมริกาจัดสรรพื้นที่ให้กลุ่มตาลีบานใหญ่แต่เพียงผู้เดียว กลุ่ม IS ไม่ควรล้ำเส้นแข่งกับตาลีบันในอัฟกานิสถาน ไม่งั้นจะฟ้องลูกพี่ใหญ่อเมริกาให้จัดการ
    เอาเข้าไป..แย่งกันใหญ่ เขม่นล้ำเส้นกัน เพราะลูกพี่นักเลงโตของโลก ได้ขีดเส้นดินแดนแบ่งผลประโยชน์ก่อการร้ายให้แต่ละกลุ่มแล้ว..เออ..มีแบบนี้ด้วย !!
    @ เสธ น้ำเงิน2
    คลิ๊กไปที่ https://t.co/KxhM77h8oO กรอกข้อมูลสั่งจอง/ซื้อหนังสือรวมเล่ม แฉ ความลับ และ ebook
     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Jeerachart Jongsomchai

    [​IMG]

    ... "อเมริกา + ญี่ปุ่น : ปิดล้อมสกัดจีน ทุกจุด ครบ 3 เมืองท่าเขตเศรษฐกิจหลัก ... ของพม่า"
    ... จะตั้งใจหรือบังเอิญก็แล้วแต่ แต่กรณี "โรฮีนจา" ที่รัฐยะไข่ที่จะออกไปที่เขต "เมืองเจ้าผิว" (Kyaukphyu SEZ) เมืองท่าหลักที่จะออกไปอ่าวเบงกอลต้องมีการสะดุดลงไปนั้น เป็นผลดีต่ออเมริกาและญี่ปุ่นในการสานฝันจะสกัดการเติบโตอันรวดเร็วและการขยายอิทธิพลของจีน ให้ช้าลงบ้าง เพราะจีนจะใช้เมืองท่าแห่งนี้ในการขนส่ง "น้ำมันและแก๊ส" เดินท่อไปที่ยูนนานทางบก รวมทั้งสินค้าอาหารที่เชื่อมกับเมืองทางตะวันตก เช่น จิตตะกอง ของบังคลาเทศ หรือ กัลกัตตาของ "อินเดีย" เพื่อนร่วมกลุ่ม BRICS ไม่ต้องอ้อมช่องแคบมะละกาให้เสียเวลาเสียค่าเดินเรือ ... สมใจพวกเขา
    ... ตอนนี้พม่ามี 3 เมืองท่าและเขตเศรษฐกิจสำคัญที่ต้องการพัฒนาและดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศคือ "เมืองเจ้าผิว" (Kyaukphyu SEZ) ที่รัฐยะไข่ทางตะวันตก ติดอ่าวเบงกอล ที่จะเชื่อมต่อไปกับอินเดีย บังคลาเทศและจีนได้ , สองคือ "เมืองท่าติละวา" (Thilawa SEZ) และสามสุดท้ายด้านใต้คือ "เมืองทวาย" (Dawei SEZ)
    ... ซึ่ง"เมืองทวาย" และ "เมืองติละวา" นั้น "ญี่ปุ่น" เข้ามาลงทุนเป็นเจ้าใหญ่อย่างเงียบๆ อย่างเช่นเมืองท่าทวายนั้นโครงการ ระยะที่ 2 นั้นค่อนข้างแน่นอนแล้วว่าพี่ยุ่นซามุไรจะเป็นรายใหญ่ในการจัดการลงทุนในท่าเรือน้ำลึกเขตนี้ที่มีขนาดใหญ่ไทยมาก
    ... เช่นในเขต "เมืองติละวา" ใกล้ย่างกุ้งเมืองหลวงเดิม เขตอิทธิพลเก่าของอักกฤษนั้น เมื่อปี 2012 หลังการเลือกตั้งจัดฉากไปไม่นาน พม่าก็จับมือจูบปากอี๋อ๋อกับญี่ปุ่นทันที ที่เขตนี้ไม่เห็นหัวมังกรจีนเลย เพราะว่าเป็นการลงทุนร่วม "พม่า 51%" ส่วน "ยี่ปุ่น 49%" ที่ประกอบด้วยบรรษะทข้ามชาติสัญชาติพี่ยุ่นสามแห่งร่วมกัน คอ Mitsubishi Corp, Marubeni Corp และ Sumitomo Corp. ... ที่พม่าเริ่ม "คานอำนาจ" ระหว่างฝ่ายอเมริกา ญี่ปุ่น กับจีนมากขึ้น หลังจากก่อนหน้านี้ พม่าอิงและรับความช่วยเหลือจากจีนมากมาย
    ...ในเขตดังกล่าวนี้ ทั้งสองได้ก่อตั้งบริษัท " Myanmar Japan Thilawa Development Ltd. (MJTD) " เพื่อมาบริหารจัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษดังกล่าว โดยมี 45 บริษัทจากอีก 11 ประเทศรวมทั้งไทยร่วมในขบวนการลงทุนนี้ด้วย โดยจะมีการผลิตทั้งเครื่องใช้ไฟฟ้า รถมอเตอร์ไซค์ เสื้อผ้า อาหาร เพื่อรองรับการเติบโตในอนาคต
    ... คือมีแค่ "เมืองเจ้าผิว" เท่านั้นที่น่าจะเป็น "จีน" เป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ ในสามเมืองท่าหลัก แต่ดันมาเจอวิกฤติ "โรฮีนจาเสียก่อน"
    ... ดูท่าทางว่ารัฐบาลทหารพม่าจะเริ่มอิงแอบทางฝ่ายอเมริกา ญี่ปุ่นมากขึ้นเรื่อยๆ และการที นาง "อองซานซูจี" ไปเยี่ยมนาย "สีจิ้นผิง" อาจจะไม่ใช่ละครก็ได้ เพราะจีนอาจจะดันนางแทนพวกทหาร แต่นั้นก็ไม่ได้หมายความว่า อเมริกาจะไม่หนุนนาง เพราะ อเมริกานั้นเคยเล่นไพ่สองหน้ามาแล้ว
    ... มาจับตากันว่าในท้ายที่สุด "เมืองท่าเจ้าผิว" ( Kyaukphyu ) และเขตเศรษฐกิจที่สำคัญ หนึ่งในสาม ที่พม่าประกาศจะให้เป็นเมืองท่าสำคัญทางทิศตะวันตก เมื่อปี 2007นั้น เขตสุดท้ายที่เชื่อมประเทศในอ่างเบงกอล เช่น จิตตะกอง ของบังคลาเทศ
    ... และที่สำคัญเชื่อมกับ "เมืองกัลกัตตา" ของ " อินเดีย" ที่จะเป็นเส้นทางสายไหมทางทะเลในการเชื่อมสินค้าอาหารระหว่าง "จีน" กับ "อินเดีย" สองผู้ยิ่งใหญ่แห่งกลุ่ม "BRICS" นั้น จีนจะได้ไปหรือไม่ หลังมีปัญหา "โรฮีนจา" ที่อเมริกาสร้างขึ้น ...
    .
    http://www.exim.go.th/doc/newsCenter/44582.pdf
    http://news.xinhuanet.com/…/wo…/2013-05/25/c_132408174_4.htm
    http://www.bangkokpost.com/…/japan-to-join-dawei-project-in…
    https://en.wikipedia.org/wiki/Kyaukpyu
     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Thanong Fanclub

    [​IMG]

    8. พอฟองสบู่ร้าว ก็ลั่นกลองรบ
    ลดค่าเงินไม่เคยทำให้ประเทศรวยขึ้น Abenomicsเจอรอยร้าวลึก แม้ว่าญี่ปุ่นยังคงเดินหน้าลดค่าเงินเยนผ่านการปั๊มเงินทำQE ทำเงินเย็นจะอ่อนค่า ทำให้การนำเข้าแพง และกำลังซื้อของคนญี่ปุ่นอ่อนแอลง แต่ยังไม่สามารถทำให้เศรษฐกิจฟื้นได้
    ล่าสุดสาวขายบริการออรัลเซ็กซ์ของญี่ปุ่่นต้องลดราคาลงอีก80% แล้วจะอยู่กันอย่างไร?
    จากข่าวผู้จัดการ:
    ธุรกิจทางเพศของญี่ปุ่น กระทบหลังรัฐบาลอาเบะแก้เศรษฐกิจไม่ตก หั่นราคาบริการออรัลเซ็กส์ครึ่งชั่วโมงลงกว่า 80% จาก 9 พันเยน เหลือไม่ถึง 2 พันเยน
    เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. เว็บไซต์ Tomonews ซึ่งเป็นเว็บไซต์ในเครือ Next Media Animation จากไต้หวันรายงานว่า ด้วยสภาพเศรษฐกิจของญี่ปุ่นที่ไม่ค่อยดีนักทำให้ธุรกิจค้ากามในย่านโคมแดงของกรุงโตเกียวต้องลดราคาลงถึงร้อยละ 80 โดยบริการที่เป็นที่กล่าวถึงคือบริการทำรักด้วยปาก (ออรัลเซ็กส์)
    เว็บไซต์ข่าวจากไต้หวันระบุว่า แหล่งค้ากามขึ้นชื่อของโตเกียวอย่างคาบูกิโชในย่านชินจูกุ ได้รับผลกระทบอย่างมากจากสภาพเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ โดยอาเบะโนมิกส์ หรือ นโยบายเศรษฐกิจได้รับการผลักดันและดำเนินการในรัฐบาลของนายชินโซ อะเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นนั้นไม่ได้ส่งผลดีอย่างที่คาด ทำให้ราคาค่าบริการออรัลเซ็กส์เป็นเวลา 30 นาที ในย่านดังกล่าวถูกหั่นลงมาจาก 75 เหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 9,000 เยน) เหลือเพียง 15 เหรียญสหรัฐฯ (หรือไม่ถึง 2,000 เยน) เท่านั้น
    สาวๆ ในย่านคาบูกิโชให้สัมภาษณ์กับโทโมนิวส์ว่า บางคืนเธอต้องพยายามอย่างมากกว่าจะได้รายได้เพียง 100 เหรียญสหรัฐฯ หรือราว 12,000 เยน
    อนึ่ง วานนี้ (15 มิ.ย.) สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่าจากการสำรวจคะแนนนิยมของประชาชนที่มีต่อรัฐบาลนายอาเบะโดยสถานีโทรทัศน์นิปปอน (Nippon Television Network) ล่าสุดพบว่า ผู้ตอบแบบสำรวจร้อยละ 56.2 ระบุว่าการดำเนินการแก้ปัญหาเศรษฐกิจด้วย “อาเบะโนมิกส์” ไม่ว่าจะเป็นนโยบายแบบผ่อนคลายขั้นสูง การปฏิรูปการใช้จ่าย และการปฏิรูปโครงสร้างนั้นกำลังมีปัญหา
    **********************************************************
    thanong
    16/6/2015
    http://manager.co.th/Japan/ViewNews.aspx…
     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Thanong Fanclub

    [​IMG]

    9. พอฟองสบู่ร้าว ก็ลั่นกลองรบ
    ตัวเร่งที่ทำให้ระบบการเงินโลกของตะวันตกร้าวคือเงินหยวนที่จะมีบทบาทมากยิ่งขึ้นในเวทีโลก
    ทางกองทุนการเงินระหว่างประเทศได้ส่งทีมไปเยือนประเทศจีนเรียบร้อยแล้ว เพื่อเจรจารายละเอียดของใบสมัครจีนที่ต้องการให้เงินหยวนอยู่ในตระกร้าเงินของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
    ในเดือนตุลาคมนี้ กองทุนการเงินระหว่างประเทศน่าที่จะรับรองเงินหยวนอย่างเป็นทางการในตระกร้าเงินของตัวเอง ในขณะนี้ไอเอ็มเอฟมีดอลล่าร์ ปอนด์ ยูโรและเยนอยู่ในตระกร้าเงิน ถ้าเพิ่มหยวนเข้ามาจะทำให้หยวนเป็นเงินสกุลหลักสกุลหนึ่งของโลกอย่างทันที
    เหมือนกับนักเตะฟุตบอลได้เลื่อนอันดับมาเล่นในพรีเมียร์ลีค
    ธนาคารกลางของประเทศต่างๆจะสามารถถือเงินหยวนในทุนสำรองระหว่างประเทศของตัวเองได้
    แต่มีเงื่อนไขหลายประการที่จีนจำต้องปฏิบัติเพื่อให้หยวนอยู่ในตระกร้าเงินไอเอ็มเอฟ ไม่ว่าการเปิดเผยปริมาณทองคำสำรอง การเปิดเสรีการเงิน การทำให้ระบบการเงินจีนเข้ากับระบบการเงินโลก เรื่องนี้ไม่น่าจะมีปัญหา เพราะว่าจีนคงไม่ได้เข้าไอเอ็มเอฟเพื่อไปเป็นไม้ประดับ แต่เข้าไปเพื่อสร้างอิทธิพลเหนือไอเอ็มเอฟ
    ทั้งนี้ เพราะว่าไก่ก็เห็นตีนงู งูก็เห็นนมไก่ ไอเอ็มเอฟจะมีอะไร ในเมื่อเงินspecial drawing rights ของไอเอ็มเอฟมีฐานจากเงินดอลล่าร์ ปอนด์ ยูโรและเยน ซึ่งเป็นเงินกระดาษทั้งนั้น ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่าเงินกระดาษมีอายุเฉลี่ยไม่เกิน40-50ปี ตอนนี้ดอลล่าร์กระดาษมีอายุ44ปีแล้ว นับจากการยกเลิกมาตรฐานทองคำเมื่อปี1971 ทำให้ดอลล่าร์ไม่มีทองคำหนุนแต่เป็นเงินกระดาษเปล่าๆที่อาศัยเครดิตและศรัทธาในรัฐบาลสหรัฐ
    ในเมื่อธนาคารกลางของสหรัฐและธนาคารกลางของอังกฤษ ญี่ปุ่นและสหภาพยุโรปเล่นพิมพ์เงินทำให้เงินกระดาษล้นโลกอย่างนี้ท่ามกลางแรงกดดันของเงินฝืดเพราะว่าเศรษฐกิจและการเงินล่มสลาย เงินไปกองในแบงค์ เมื่อไหร่ก็ตามที่เงินไหลเข้าสู่ระบบถึงมือผู้ใช้จริงๆจะเกิดเงินเฟ้ออย่างรุนแรง เมื่อนั้นเงินกระดาษจะสิ้นอายุขัยเพราะว่าขาดความน่าเชื่อถือ โดนเงินเฟ้อกินหมด
    ธนาคารกลางของสหรัฐหรืออังกฤษติดกับดักของตัวเองอาจจะหยุดทำQEได้ชั่วคราว แต่เมื่อระบบการเงินมีปัญหา ต้องกลับมาทำQEอีก เนื่องจากมีหนี้ต่อจีดีพีหลายร้อย%ไม่มีทางใช้หนี้ได้
    ตอนนี้ให้ธนาคารกลางของญี่ปุ่นและสหภาพยุโรปทำQEไปพลางๆก่อน เพื่อหล่อเลี้ยงระบบการเงินโลก
    เนื่องจากสหรัฐและยุโรปไม่ต้องการให้จีนและรัสเซียผงาดในเวทีโลก จีนและรัสเซียจึงออกมาตั้งกลุ่มBRICSเพื่อสร้างระบบการเงินที่ไม่อิงดอลล่าร์อีกต่อไปไม่ว่าจะเป็นNew Development Bank หรือกองทุนรีเชิร์ฟที่ทำหน้าที่คล้ายกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
    รัสเซียเป็นประเทศที่จริงจังที่สุดในการทิ้งดอลล่าร์ เพราะว่าถ้ายังใช้ดอลล่าร์ จะติดกับดักของธนาคารกลางของสหรัฐไปไม่มีที่สิ้นสุด
    จีนก็เริ่มลดการใช้ดอลล่าร์ลงเหมือนกัน โดยจะหนุนหยวนเต็มที่ ถ้าต้องการความแตกต่าง จีนต้องเอาทองคำสำรองที่บางคนบอกว่ามีถึง10,000ตัน 16,000ตัน หรือ 30,000ตันแล้วแต่ความเชื่อมาหนุนหยวน เพื่อสร้างความแตกต่างระหว่างเงินดอลล่าร์กระดาษและเงินหยวนที่มีทองคำหนุน
    เมื่อเป็นเช่นนั้น คนที่ถือดอลล่าร์ที่ล้นโลกจะทะยอยทิ้งดอลล่าร์มาถือหยวนแทน ถ้าดอลล่าร์ถูกทิ้งมากๆ ค่าเงินจะอ่อน เงินเฟ้อจะมาและดอกเบี้ยสหรัฐจะทะยานสูงขึ้นมีผลกระทบตลาดการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดอนุพันธ์ที่อิงดอกเบี้ย นี้คือแผนเล่นงานดอลล่าร์ของจีนที่กำลังอยุ่ในเกมอยู่
    อีกปัจจัยหนึ่งที่จะกระทบดอลล่าร์และความเป็นมหาอำนาจของสหรัฐทางการเงินคือการก่อตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของเอเชีย หรือAsia Infrastructure Investment Bank (AIIB) ซึ่งตอนนี้เป็นรูปเป็นร่างแล้ว มีรายชื่อผุ้ถือหุ้น57ประเทศ ไทยเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งถือหุ้นใหญ่พอสมควร โดยลงขัน$1,400ล้าน เทียบกับจีนผู้ถือหุ้นใหญ่สุด$29,800ล้าน
    AIIBแบ่งออกเป็น2กลุ่ม คือกลุ่มประเทศโซนเอเซียที่ถือหุ้นรวมกัน$75,000ล้าน และกลุ่มประเทศโซนนอกเอเซียที่ถือหุ้นรวมกัน $25,000ล้าน รวมกัน$100,000ล้านพอดี โครงสร้างผู้ถือหุ้นนี้ชี้ให้เห็นว่าเอเซียจะมีปากมีเสียงดังกว่าฝรั่งนอกพื้นที่
    ส่วนจีนผู้ก่อตั้งแน่นอนอยู่แล้วมีสิทธิวีโต้ในประเด็นใหญ่ แต่โดยทั่วไปจะปล่อยให้มีการบริหารกันเอง แต่ที่สำคัญAIIBจะปล่อยกู้เป็นเงินหยวน หมายความว่าเงินหยวนกำลังจะทะลักในระบบการเงินโลก เมื่อเป็นเช่นนี้ รอยร้าวในระบบการเงินโลกที่อิงหนี้ในปัจจุบันจะร้าวลึกมากยิ่งขึ้น ฟองสบู่ดอลล่าร์ที่สะสมกันมานานจะต้องแฟบกลับไปสู่พื้นฐาน
    Thanong
    16/6/2015
     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Thanong Fanclub

    [​IMG]

    10. พอฟองสบู่ร้าว ก็ลั่นกลองรบ
    จีนออกมากล่าวหาว่าบางประเทศ ซึ่งหมายถึงสหรัฐนั้นเองได้เข้ามาสอดแนมในหมู่เกาะทะเลจีนใต้มากขึ้น ถี่ขึ้นทำให้เกิดความตรึงเครียดทางทหารมากยิ่งขึ้นในบริเวณนั้น ในขณะที่จีนเดินหน้าสร้างเกาะเทียมเพื่อสร้างสิ่งปลูกสร้างและให้ทหารประจำการ เพราะว่าจีนอ้างกรรมสิทธิ์ในหมู่เกาทะเลจีนใต้ทั้งหมด
    สหรัฐกำลังเพิ่มการสอดแนมและกิจกรรมทางทหารในทะเลจีนใต้โดยอ้างว่าเพื่อปกป้องเสรีภาพการเดินเรือ เพราะว่าเขตนั้นเป็นน่านน้ำสากล และต้องการปกป้องประเทศในอาเซี่ยนที่มีปัญหากับจีนเรื่องการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือหมู่เกาะทะเลจีนใต้
    แต่โดยภาพรวมจีนต้องการเพิ่มอิทธิพลในภูมิภาคนี้ ส่วนสหรัฐต้องการเข้ามากระตุกขาจีนไม่ให้ใหญ่ และกำลังเริ่มปิดล้อมจีน เหมือนกับที่ได้ปิดล้อมรัสเซียไปแล้วที่ยุโรปตะวันออก เริ่มมีการปะทะกันเล็กๆน้อยๆ พอเป็นพิธีแล้วในทะเลจีนใต้แต่ไม่เป็นข่าว
    ก่อนหน้านี้มีข่าวว่ารัสเซียส่งเรือรบเกือบ10ลำเข้ามาเพ่นพ่านในทะเลจีนใต้เพื่อหนุนจีน และเพื่อลองเชิงสหรัฐ เรียกได้ว่ากำลังประลองกำลังภายในกันก่อน
    สหรัฐกำลังหว่านล้อมไทยให้เข้าพวกด้วยเพื่อปิดล้อมจีน โดยนายAston Carter รมวกลาโหมสหรัฐพยายามจีบพลเอกประวิทย์ วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรมวกลาโหมระหว่างที่พบกันที่สิงคโปร์เร็วๆนี้ ให้ไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐและสหรัฐจะช่วยไทยเคลียร์ทุกเรื่องไม่ว่าเรื่องค้ามนุษย์ เรื่องสิทธิมนุษยชน ทุกเรื่องว่างั้นเถอะ ขออย่างเดียวให้ร่วมมือกับสหรัฐในการปิดล้อมจีน
    ฝ่ายไทยมีท่าทีว่ายินดีร่วมมือกับทุกประเทศ เพราะว่าเราไม่ได่้เป็นศัตรูกับใคร ทั้งสหรัฐ จีน รัสเซีย ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย อียู เราคบได้หมด แต่อยู่ดีๆจะให้เราไปเป็นศัตรูกับประเทศหนึ่งประเทศใด มันไม่น่าจะเหมาะ
    มีข่าวว่าทางพลเอกประวิทย์อาจจะเดินทางไปเยือนรัสเซียในอนาคตอันใกล้นี้ตามคำเชิญของรัฐบาลรัสเซียเพื่อฟื้นฟูสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศ เพราะว่านายกรัสเซีย นายDmitry Medvedev ได้เยือนไทยแล้วเมื่อเร็วๆนี้ ต้องมีการเยือนกลับเป็นการต่างตอบแทน
    ไทยกำลังเดินเกมบาลานซ์มหาอำนาจอย่างระมัดระวัง เพราะว่าเราไม่ต้องการมีเรื่องกับใคร
    อ่านข่าวทะเลจีนใต้เพิ่มเติมจากรอยเตอร์:
    (ภาพถ่ายเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ แสดงให้เห็นถึงความคืบหน้าในงานก่อสร้างเกาะเทียมของจีน บริเวณแนวปะการัง เฟียรี ครอส รีฟ หมู่เกาะสแปรตลีย์ ที่ตอนนี้ในวันที่ 16 มิถุนายน ปักกิ่งออกมาประกาศว่า โครงการถมทะเลในทะเลจีนใต้จะเสร็จลุล่วงในไม่กี่วันข้างหน้า)
    สหรัฐฯเผยเมื่อวันอังคาร(16มิ.ย.) แสดงความกังวลต่อกรณีที่จีนมีแผนสร้างโครงสร้างพื้นฐานบนเกาะจำลอง หลังจากปักกิ่งประกาศว่าโครงการถมทะเลในทะเลจีนใต้จะเสร็จลุล่วงในไม่กี่วันข้างหน้า ซึ่งบ่งชี้ว่าจีน อาจใกล้ตั้งค่ายทหารแห่งใหม่ในใจกลางทางทะเลของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญเชื่อแดนมังกรแค่ต้องการลดอุณหภูมิตึงเครียดก่อนมีนัดหารือประจำปีกับวอชิงตันเท่านั้น
    อเมริกา ซึ่งเรียกร้องจีน ระงับโครงการสร้างเกาะเทียมในทะเลจีนใต้ บอกว่าพวกเขาใส่ใจถ้อยแถลงดังกล่าวของปักกิ่ง ขณะเดียวกันก็รู้สึกกังวลเกี่ยวกับแผนก่อสร้างเพิ่มเติมของจีน ในนั้นรวมถึงงานด้านกลาโหม "แผนของจีนไม่ส่งเสริมความพยายามลดความตึงเครียด ไม่สนับสนุนให้เกิดแนวทางการปัญหาทางการทูตและสันติวิธี หรือค้ำจุนการอ้างสิทธิ์ทางทะเลของจีน" โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯกล่าว
    จีน ยกระดับการก่อสร้างเกาะเทียมเมื่อปีที่แล้ว กระพือความกังวลแก่หลายประเทศในเอเชียและเรียกเสียงประณามหนักหน่วงขึ้นเรื่อยๆจากวอชิงตัน ขณะที่เมื่อเร็วๆนี้ได้เกิดความตึงเครียดระหว่างกองทัพเรือปักกิ่งกับกองทัพอเมริการอบๆหมู่เกาะสแปรตลีย์
    กระทรวงการต่างประเทศของจีนไม่ได้บอกว่าเกาะเทียมแห่งไหนในโครงการถมทะเลที่บริเวณแนวปะการังทั้งหมด 7 แห่งที่จะแล้วเสร็จเร็วๆนี้ โดยเพียงแต่บอกว่ามันเป็นไปตามกรอบเวลาการดำเนินงานที่วางเอาไว้ แต่เผยว่าจีนจะสร้างจัดสร้างโครงสร้างพื้นฐานบนเกาะเทียมเหล่านี้ เพื่อเติมเต็มภารกิจต่างๆที่เกี่ยวข้อง
    โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของจีนย้ำว่าเกาะเทียมเหล่านั้นจะมีส่วนช่วยให้ปฏิบัติการค้นหาและช่วยเหลือทางทะเล บรรเทาภัยหายนะ ปกป้องวิ่งแวดล้อมและมอบความช่วยเหลือด้านการเดินเรือ เช่นเดียวกับวัตถุประสงค์ทางทหาร พร้อมยืนยันว่าโครงการนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อเสรีภาพด้านการเดินเรือหรือการบินในทะเลจีนใต้
    จีน อ้างกรรมสิทธิ์เหนือพื้นที่แทบจะทั้งทะเลจีนใต้ ซึ่งเป็นเส้นทางเดินเรือสินค้าสำคัญที่สุดเส้นทางหนึ่งของโลก มีมูลค่ากว่า 5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี ขณะที่ ฟิลิปปินส์, เวียดนาม, มาเลเซีย, บรูไน และไต้หวัน ก็อ้างกรรมสิทธิ์ในพื้นที่บางส่วนเช่นกัน ซึ่งทับซ้อนกับทางแดนมังกร
    โครงการก่อสร้างของจีนและเหตุโจมตีไซเบอร์ต่อคอมพิวเตอร์ของรัฐบาลสหรัฐฯที่เจ้าหน้าที่อเมริกากล่าวโทษว่าเป็นฝีมือของปักกิ่ง เพิ่มความตึงเครียดแก่สองฝ่ายก่อนหน้าการหารือยุทธศาสตร์และเศรษฐกิจสหรัฐ-จีนในสัปดาห์หน้า ซึ่งถือการประชุมสำคัญประจำปีระหว่าง 2 ชาติเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของโลก
    ไมรา แรปป์ ฮูเปอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทะเลจีนใต้ จากศูนย์ยุทธศึกษาระหว่างประเทศในวอชิงตัน บอกว่าถ้อยแถลงของจีนเกี่ยวกับแผนยุติงานก่อสร้าง พอเหมาะพอดีกับเป้าหมายลดอุณหภูมิทางการทูตก่อนหน้าการกระชุมในวันที่ 22-24 มิถุนายนนี้ แต่มันก็ไม่ได้บ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงใดๆในนโยบายของจีน
    จากข้อมูลของอเมริกา โครงการของจีนครอบคลุมอาณาบริเวณมากกว่า 2,000 เอเคอร์ โดยมีการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างที่สามารถใช้งานทางทหารหลายโครงการ เช่น การสร้างสนามบิน 2 แห่งที่สามารถรองรับเครื่องบินทหารและอาจเปิดใช้ได้ปลายปีนี้
    thanong
    17/6/2015
    http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx…
     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Thanong Fanclub

    [​IMG]

    11. พอฟองสบู่ร้าว ก็ลั่นกลองรบ
    ซีกขวาจัดของพรรครัฐบาลSyrizaของนายAlexis Tsipras กำลังร่างแผนที่จะนำพากรีซออกจากเขตยูโร ด้วยการใช้โมเดลของประเทศไอซ์แลนด์ที่ล้มละลาย แล้วยึดแบงค์เป็นของรัฐหมด มาตรการที่เตรียมการคือ
    1. เบี้ยวหนี้ และหาทางเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ของประเทศที่มีจำนวน$320,000กว่าล้านทีหลัง
    2. ยึดแบงค์เป็นของรัฐให้หมด
    3. จำกัดการถอนเงินของผู้ฝากเงิน
    4. ควบคุมการไหลเข้าไหลออกของเงิน (capital controls)
    5. ออกจากเขตยูโรโซนไปตายเอาดาบหน้า เพื่อสั่งสอนเยอรมันและพวกเจ้าหนี้ยุโรปให้รู้เสียมั่งว่าไผเป็นไผ เพราะว่ากรีซเป็นต้นแบบประชาธิปไตย แต่กำลังโดนอำนาจเผด็จการของยุโรปรุมยำ
    6. จัดตั้งธนาคารกลางใหม่ที่จะดูแลเสถียรภาพของระบบการเงินทั้งหมด
    7. ตั้งธนาคารเลว (bad bank)ขึ้นมา เพื่อโยนขยะหนี้เสียของแบงค์เข้าไปกองรวมกันทั้งหมด เพื่อสะดวกในการบริหารหนี้เสีย หรือขายทอดตลาดต่อไป
    8. ทิ้งยูโร เอาเงินdrachmaกลับมาใช้
    ทั้งนี้เป็นเพราะว่าการเจรจาแก้ปัญหาหนี้ที่ผ่านมาไม่มีความคืบหน้า เพราะว่าเจ้าหนี้นำโดยเยอรมันบีบไข่นายTsiprasจนช้ำหมดแล้ว ให้ลดการจ่ายบำนาญ ให้ขึ้นภาษีแว็ท ให้ทำงบประมาณเกินดุล ให้ขายกิจการของรัฐออกไป ถ้านายTsiprasยอมตามเงื่อนไขเหล่านี้ ก็จะไม่ต่างกับรัฐบาลกรีกชุดที่แล้วที่เขาโจมตีและต้องการเข้ามาแก้ไขเพื่อกอบกู้เงื่อนไขที่ดีที่สุดให้กรีซ
    แต่ความจริงมันเจ็บปวด เรื่องที่ลูกหนี้จะชนะเจ้าหนี้มันไม่ง่าย นอกจากจะแตกหักลูกเดียว เมื่อไม่ยอมทำตามเงื่อนไขทำให้กรีซไม่สามารถเบิกเงินงวดต่อไปจำนวน7,000กว่าล้านยูโรจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ และไม่มีเงิน$1,600ล้านไปจ่ายกองทุนการเงินระหว่างประเทศที่จะเหมารวมจ่ายในเดือนมิถุนายนนี้ หลังจากกรีซผิดนัดชำระหนี้ไปแล้วเมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา
    เนื่องจากวิกฤติหนี้ ผู้ฝากเงินกรีซมีการถอนเงินฝากเอาไปเก็บใต้หมอน หรือเอาไปฝากต่างประเทศ ทำให้มีเงินไหลออกจากระบบแบงค์กรีซถึง400ล้านยูดรต่อวัน เมื่อปี 2010กรีซมีเงินฝากในระบบทั้งหมด240,000ล้านยูโร ตอนนี้โดนถอนหนักทำให้เหลืออยู่ประมาณ130,000ล้านยูโร สภาพคล่องที่เหือดหายทำให้เงินตึง ดอกเบี้ยสูง ยูโรไม่กระจายถึงมือประชาชน
    เมื่อเงินฝากถูกถอนแบบนี้ ธนาคารกลางของยุโรปมีพันธะต้องให้กู้ระยะสั้นเพื่อดูแลสภาพคล่อง ไม่งั้นระบบแบงค์กรีซจะล่มสลาย ปรากฎว่าธนาคารกลางยุโรปให้กรีซสภาพคล่องระยะสั้นไปแล้ว83,000ล้านยูโร
    ยิ่งมีการถอนเงินออกจากแบงค์กรีซมากเท่าใด ยิ่งทำให้มันง่ายสำหรับรัฐบาลที่จะใช้ข้ออ้างในการออกจากเขตยูโรโซนไปเลย
    ถ้ากรีซออกจากยูโรโซน ผลกระทบต่อตลาดการเงินยุโรปจะรุนแรงน่าดูเพราะว่าหนี้กรีซ$300,000กว่าล้านต้องมาเจรจาตัดผมกันใหม่ จะกระทบฐานะการเงินของแบงค์ยุโรปและจะมีผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อตลาดการเงิน
    นายTsiprasใช่ว่าจะจนตรอก เพราะว่าถ้าเอากรีซออกไปแล้ว สภาพคล่องจากธนาคารกลางของยุโรปจะกู้ไม่ได้อีกแล้ว แต่สามารถขอกู้กับพวกBRICSแทน เขามีกำหนดการที่จะบินไปมอสโควเพื่อพบปะพูดคุยกับประธานาธิบดีปูตินของรัสเซียอีกครั้ง ครั้งแรกเมื่อช่วงเมษายนปีนี้ เจอกันแล้วแต่ตกลงกันไม่ได้ ตอนนั้นสถานการณ์อาจจะไม่สุกงอม ปูตินจึงยังไม่ช่วย แต่ตอนนี้น่าจะเปลี่ยนใจช่วยกรีซได้แล้ว เพราะว่าถ้ากรีซออกจากยูโรจะทำให้ยุโรปอ่อนแอทางการเงินจากผลกระทบลูกโซ่ นาโต้ที่คิดจะปิดล้อมรัสเซียทางทหารในยุโรปตะวันออกจะต้องอ่อนแอลงไปด้วย
    ถ้ากรีซเข้าไปซบรัสเซีย นอกจากจะได้สภาพคล่อง ได้พลังงานยังจะได้ท่อก๊าซที่รัสเซียจะส่งต่อผ่านไปยุโรปอีกด้วย เก็บค่าต๋งสบาย
    ในทางกลับกันปูตินต้องการฐานทัพเรือของกรีซมาก เพราะว่ากรีซตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญมากในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ถึงเวลาแล้วที่รัสเซียจะแสดงแสนยานุภาพทางกองทัพเรือ รวมทั้งเรือดำน้ำนิวเคลียร์ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเพื่อข่มขู่พวกยุโรปกลับบ้างด้วยการปิดล้อมยุโรปทางทะเล ยูปิดล้อมไอทางยุโรปตะวันออก ไอถล่มยูจากขั้วโลกเหนือ และบีบแบบแซนวิสยูจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนด้วยกองทัพเรือของพระเจ้าซาร์ปีเตอร์มหาราช
    สนุกไปเลยงานนีิ้
    กรีซกลายเป็นตัวแปรที่สำคัญที่สุดในภูมิรัฐศาสตร์การเมืองและการเงินโลกเวลานี้
    thanong
    17/6/2015
    http://www.telegraph.co.uk/…/Syriza-Left-demands-Icelandic-…
     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Thanong Fanclub

    [​IMG]

    12. พอฟองสบู่ร้าว ก็ลั่นกลองรบ
    ประธานาธิบดีปูตินของรัสเซียออกมาขู่กลับว่า ถ้าหากนาโต้คุกคามดินแดนของรัสเซีย ทางมอสโควจะตอบโต้ภัยนี้อย่างถึงลูกถึงคน
    ปูตินแถลงข่าวร่วมกับประธานาธิบดีของฟินแลนด์ นายSauli Niinisto หลังจากที่เขาได้ประกาศว่ากองทัพรัสเซียจะดำเนินการติดตั้งขีปนาวุธนิวเคลียร์ข้ามทวีปเพิ่มอีก40ลูกในปี2015
    "ถ้าใครคุกขามดินแดนของเรา หมายความว่าเราจำต้องเล็งอาวุธของเราไปยังดินแดนประเทศที่เป็นภัยต่อเรา จะให้เป็นอย่างอื่นได้อย่างไร นาโต้กำลังยกพลมาเข้าประชิดชายแดนของเรา เราไม่ได้เคลื่อนไหวไปไหนเลย" ปูตินกล่าว
    ขณะนี้นาโต้อาจจะยังไม่ได้มีกิจกรรมทางหทารที่จะคุกคามรัสเซียตรงๆ แต่จาโต้ได้ทำการติดตั้งระบบป้องกันขีปนาวุธอย่างกว้างขวาง รัสเซียถือว่านี้เป็นภัยคุกคามที่ใหญ่กว่า เพราะว่าในเรื่องความสมดุลทางยุทธศาสตร์ ถ้าฝ่ายศัตรูเพิ่มขีดความสามารถในการป้องกันตัวเอง หมายความว่าฝ่ายเราจะด้อยลงในขีดความสามารถในการโจมตี
    thanong
    17/6/2015
    http://rt.com/news/267661-russia-nato-border-weapons/
     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    บทวิเคราะห์ : ราชวงศ์ซาอูด ใกล้จะลุกไหม้หรือแค่พังทลาย?
    เรื่องเด่นประเด็นร้อนby เอบีนิวส์ทูเดย์ - มิ.ย. 17, 2015

    “ความเข้าใจอาจเป็นเรื่องหลอกลวงได้ถ้ามันเกี่ยวกับซาอุดิอาระเบีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสื่อตะวันตกส่วนใหญ่แสดงตัวเป็นนักประชาสัมพันธ์ส่วนตัวของราชวงศ์อัล-ซาอูดมาตลอดหลายทศวรรษ” นักวิเคราะห์ผู้หนึ่งบอกกับ MintPress “อย่างไรก็ตาม ความจริงกำลังใกล้จะโถมเข้ามา”

    [​IMG]
    (ภาพ) มกุฏราชกุมารซัลมาน บิน อับดุลอาซิซ อัล-ซาอูด, ที่สองจากขวา แถวแรก, ถ่ายภาพร่วมกับสมาชิกสภาชูรอที่สภาพที่ปรึกษาชูรอในริยาด, ซาอุดิอารเบีย
    ริยาด, ซาอุดิอารเบีย – การศึกษาห้วงอวกาศได้กำหนดไว้ว่า เมื่อใดก็ตามที่ดาวดวงหนึ่งใกล้จะถึงคราวมอดดับนั้นแกนของมันที่ไร้เสถียรภาพจะเริ่มกลืนกินตัวเอง มันเริ่มที่จะขยายขนาดใหญ่ขึ้นกว่าขนาดปกติมาก จนดูเหมือนเป็นดาวขนาดยักษ์ ทั้งที่จริงๆ แล้วนั่นคือช่วงที่อ่อนแอที่สุดและเปราะบางที่สุดของมัน

    สตีเฟน เลนด์แมน นักวิเคราะห์การเมืองผู้คร่ำหวอด ผู้จัดรายการวิทยุของ Pregressive Radio Network เชื่อว่าอุปมาอุปมัยนี้เป็นการสรุปถึงสภาพที่ซาอุดิอาระเบียพบว่าตัวเองเป็นอยู่ในขณะนี้อย่างแม่นยำ

    ถึงแม้ว่าหลายคนจะแย้งว่า ราชอาณาจักรแห่งนี้ยังคงทำการกดดันและ “ควบคุมสถานการณ์ได้” มากกว่าที่เคย โดยได้ความแข็งแกร่งจากเงินหลายล้านล้านเปโตรดอลล่าร์และการสนับสนุนจากพันธมิตรมหาอำนาจตะวันตกของตน แต่เลนด์แมนกลับแย้งว่าราชวงศ์ซาอูดกำลังจะถึงคราวสิ้นสุดลง “เป็นอำนาจล้าหลังที่ถูกประณามว่าหมดสภาพท่ามกลางยุคเริ่มฟื้นฟูของอาหรับ” เขาบอกกับ MintPress News

    เลนด์แมนอธิบายว่า ซาอุดิอาระเบียก้าวออกมาจากนโยบายเก่าแก่ของตนที่จะไม่แทรกแซงทางทหารด้วยการประกาศทำสงครามกับเยเมนเมื่อวันที่ 25 มีนาคม ในขณะที่ข่มขู่อิหร่านไม่ให้รุกล้ำเข้าไปใน “อาณาจักรซุนนี” ของตนอีก เขากล่าวกับ MintPress ต่อไปถึงความพลุ่งพล่านของราชอาณาจักรนี้ในกิจกรรมกระหายสงครามบนคาบสมุทรอาหรับ

    “ซาอุดิอารเบียไม่ได้แข็งแกร่งเท่าสักครึ่งหนึ่งของที่มันดูเหมือนว่าจะเป็น… ตรงข้ามกันอย่างยิ่ง การที่ริยาดจำเป็นต้องใช้สงครามเพื่อรักษาอาณาจักรของตนไว้เป็นสิ่งที่บอกผมว่าอำนาจกำลังลดน้อยถอยลง มังกรจะถีบเตะและพุ่งเข้าใส่เมื่อมันรู้สึกได้ว่าอำนาจกำลังจะหลุดจากกรงเล็บของมัน แต่ในที่สุด การทำลายล้างจะเกิดมาจากภายในราชวงศ์ซาอูดเอง การปฏิรูปรัฐบาลของกษัตริย์ซัลมานจะเป็นเพียงแค่การบรรเทาทุกข์ชั่วคราวให้กับเรือที่กำลังจมลงแล้ว”

    อะห์มัด มุฮัมมัด นัสเซอร์ อะห์มัด นักวิเคราะห์การเมืองชาวเยเมน และอดีตสมาชิกกลุ่มทำงานประเด็นแห่งชาติและความยุติธรรมระยะเปลี่ยนผ่านของที่ประชุมการสานเสวนาแห่งชาติ เห็นด้วยกับความคิดนี้โดยอธิบายว่า

    “ความเข้าใจอาจเป็นเรื่องหลอกลวงได้ถ้ามันเกี่ยวกับซาอุดิอาระเบีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสื่อตะวันตกส่วนใหญ่แสดงตัวเป็นนักประชาสัมพันธ์ส่วนตัวของราชวงศ์อัล-ซาอูดมาตลอดหลายทศวรรษ ราชวงศ์อัล-ซาอูดต้องการที่จะรักษาบรรยากาศแห่งความมีเสถียรภาพและความต่อเนื่องนี้เอาไว้ รอยร้าวบนเสื้อเกราะใดๆ อาจทำให้เสียการสนับสนุนจากตะวันตกไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสนับสนุนของสหรัฐฯ และอิทธิพลที่เป็นไปได้ในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ หรือ MENA (Middle East and North Africa) ดังนั้น อัล-ซาอูดจึงได้สร้างเทพนิยายเรื่องนี้ขึ้นรอบบ้านของพวกเขา อย่างไรก็ตาม ความจริงกำลังใกล้จะโถมเข้ามา”

    เขากล่าวต่อไปว่า ราชอาณาจักรนี้ “ถูกรบกวนด้วยความไม่ลงรอยทางการเมืองที่แอบแฝง”

    “การสนับสนุนระบอบกษัตริย์ในหมู่ประชาชนอยู่ที่ระดับต่ำตลอดเวลา และความตึงเครียดระหว่างนิกายที่รัฐจัดสร้างขึ้นกำลังฉีกทึ้งสังคมที่เปราะบางอย่างยิ่งของซาอุดี้ฯ อยู่ โดยไม่ต้องกล่าวถึงทั้งภูมิภาค” อะห์มัดกล่าว “เมื่อภูเขาไฟลูกนี้จะระเบิดขึ้น จะไม่มีการบอกกล่าวว่าไฟของมันจะแผ่กระจายไปไกลแค่ไหน เป็นไปได้ว่าระบอบกษัตริย์นี้จะไม่ได้อยู่เพื่อเล่าให้เราฟัง”

    เช่นเดียวกับที่ดูเหมือนว่าซาอุดิอาระเบียจะจัดการเปลี่ยนผ่านอำนาจได้อย่างราบรื่นภายหลังการสวรรคตของกษัตริย์อับดุลลอฮ์เมื่อเดือนมกราคม กษัตริย์ซัลมานตัดสินใจที่จะพิสูจน์ความคู่ควรของเขาในฐานะพันธมิตรสำคัญของอเมริกาด้วยการสับเปลี่ยนคณะรัฐมนตรีอย่างรวดเร็ว รวมทั้งตำแหน่งสำคัญๆ ภายในราชอาณาจักรเมื่อเดือนเมษายน
    ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ความเคลื่อนไหวเหล่านี้เปิดเผยให้เห็นถึงความอ่อนแอของซาอุดิอาระเบีย และในที่สุดอาจนำไปสู่ความยุ่งเหยิง และขณะที่สหรัฐฯ กำลังมองดูการปรากฏขึ้นมาของพระบรมวงศานุวงศ์รุ่นใหม่ของซาอุดี้ฯ ด้วยความสนุกสนาน เนื่องจากพวกเขาได้รับผลประโยชน์ร่วมในด้านน้ำมัน การขายอาวุธ และการต่อต้านการก่อการร้าย แต่ก็ใช่ว่าเชื้อพระวงศ์ทุกพระองค์จะสนุกกับการถูกกีดกันออกจากระเบียงแห่งอำนาจ

    นอกเหนือจากการสร้างสมดุลทางการเมืองที่ยากลำบากนี้แล้ว ซัลมานยังต้องต่อสู้กับปีศาจร้ายที่ค้ำจุนบัลลังก์ของเขาและของบรรพบุรุษของเขาไว้ด้วยการให้ความชอบธรรมทางศาสนาแก่ราชวงศ์ซาอูด นั่นก็คือ แนวคิดวะฮาบี การตีความศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัดและเข้มงวด

    ด้วยแรงใจจากความคิดเรื่องการทำ “สงครามศักดิ์สิทธิ์” กับคนนอกศาสนาทั้งหมด กองทหารวะฮาบีของซาอุดี้ฯ จึงเริ่มเป็นสิ่งที่จำกัดวงได้ยากยิ่งขึ้นในปัจจุบัน ด้วยไฟของกลุ่มต่างๆ อย่างเช่นกลุ่มรัฐอิสลามแห่งอิรักและซีเรีย (ไอซิซ) และอัล-กออิดะฮ์ กำลังลุกโชนสว่างไสวยิ่งขึ้นทุกวัน

    การรวมอำนาจ

    “ด้วยการฉีกธรรมเนียมปฏิบัติโดยสิ้นเชิงและในทันทีทันใด กษัตริย์ซัลมานได้นำการปฏิรูปที่โหดร้ายและส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางมาใช้ในด้านของการแบ่งสรรอำนาจภายในสายต่างๆ ของตระกูลอัล-ซาอูด” ดร.อัคล์ คัยรูซ นักวิเคราะห์การเมืองด้านภูมิภาคอ่าวในเบรุตบอกกับ MintPress

    คัยรูซกล่าวต่อไปว่า “ด้วยการรวมการกุมอำนาจของเขาเอาไว้และส่งเสริมเชื้อพระวงศ์ในสายตระกูลของเขามากกว่าเชื้อพระวงศ์สายอื่นๆ กษัตริย์ซัลมานได้สร้างความเป็นศัตรูกับเชื้อพระวงศ์ผู้ทรงอำนาจหลายองค์ หนึ่งในนั้นคือ เจ้าชายมุกริน ผู้ซึ่งครั้งหนึ่งเคยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นองค์รัชทายาท มีความเป็นไปได้ว่าเหล่าเชื้อพระวงศ์ที่ถูกกีดกันออกไปเพื่อประโยชน์ของโอรสของกษัตริย์เองจะทำการกัดกร่อนฐานอำนาจใหม่นี้ เจ้าชายมุกรินได้รับความสนใจจากเชคคอลิฟา บิน ซายิด อัล-นะห์ยัน (ผู้นำสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) … อาจมีการก่อตัวของพันธมิตรขึ้นบนฉากหลังของความขัดแย้งในภูมิภาคก็ได้”

    เมื่อได้ขึ้นครองบัลลังก์ในปลายเดือนมกราคม เจ้าชายซัลมาน ผู้เป็นหนึ่งใน “เจ็ดสุดัยรี” ได้แต่งตั้งให้เจ้าชายมุฮัมมัด บิน นาเยฟ หลานชายของเขาเป็นมกุฏราชกุมารอันดับสองรองจากเจ้าชายมุกรินที่เป็นมกุฏราชกุมาร พระราชกฤษฎีกานี้ได้สร้างความประหลาดใจให้กับหลายคน การแต่งตั้งพบกับการต้านทานเล็กน้อยตามระเบียบ และอเมริกาชมว่าการเปลี่ยนผ่านอำนาจครั้งนี้เป็นความสำเร็จ

    เพียงไม่กี่เดือนที่ขึ้นครองอำนาจ ซัลมานก็ได้ทิ้งระเบิดอีกลูกหนึ่งด้วยการเปลี่ยนตำแหน่งของมุกริน ผู้ที่กษัตริย์อับดุลลอฮ์ผู้ล่วงลับได้ลงพระนามรับรองตำแหน่งมกุฏราชกุมารของเขา แล้วแต่งตั้งมุฮัมมัด บิน นาเยฟ ขึ้นแทนที่

    มุฮัมมัด บิน นาเยฟ เป็นที่โปรดปรานของวอชิงตันมากที่สุด และถูกมองว่าเป็นพันธมิตรสำคัญของอเมริกาในตะวันออกกลางมานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านยุทธศาสตร์ต่อต้านการก่อการร้ายของวอชิงตัน

    การฉีกธรรมเนียมปฏิบัติด้วยการนำเชื้อพระวงศ์รุ่นที่สามเข้ามาใกล้การครองบัลลังก์มากขึ้นนี้ ซัลมานไม่ได้หยุดอยู่ที่การกีดกันมุกริน น้องชายต่างมารดาของเขา แต่เขายังสร้างความมั่นคงให้สายตระกูลของเขาเองด้วยการแต่งตั้งลูกชายของเขา เจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน เป็นมกุฏราชกุมารอันดับสอง

    “ไม่จำเป็นต้องพูดว่า อำนาจใหม่สามฝ่ายนี้ได้สร้างความขุ่นเคืองใจให้กับเชื้อพระวงศ์หลายพระองค์” คัยรูซระบุ

    ถึงกระนั้น ซัลมานก็ยังไม่พึงพอใจ ในเดือนเมษายน เขายังแทนที่ตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศของเจ้าชายซาอูด อัล-ฟัยซาลที่ป่วย โดยอาเดล อัล-จูบีร เอกอัครราชทูตประจำวอชิงตัน ผู้ที่ไม่ใช่เชื้อพระวงศ์ เจ้าชายซาอูด ผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศมาตั้งแต่ปี 1975 ต้องการลาออก จูบีร ได้เป็นโฆษกรัฐบาลอยู่ในสหรัฐฯ เพื่อการเข้าแทรกแซงเยเมน เขามีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับนโยบายของสหรัฐฯ และการทำงานระบบราชการของวอชิงตัน เป็นความรู้ที่กษัตริย์ซาอุดี้ฯ น่าจะพบว่ามีประโยชน์มากที่สุดในขณะที่ราชอาณาจักรนี้ต้องการที่จะให้อิหร่านอยู่ในความควบคุมและรักษาการสนับสนุนจากอเมริกา

    “ถ้าการปฏิรูปของกษัตริย์ซัลมานเป็นที่ต้อนรับของมหาอำนาจตะวันตกส่วนใหญ่ในฐานะสิ่งที่จำเป็น คนส่วนใหญ่ก็พลาดที่จะสังเกตเห็นการกระเพื่อมที่เกิดขึ้นกับโครงสร้างของระบอบกษัตริย์จากการปรับลดและเลื่อนขั้นตำแหน่งเหล่านั้น ราชอาณาจักรนี้ถูกถักทอขึ้นด้วยการเป็นพันธมิตรระหว่างราชวงศ์ซาอูดกับแนวคิดวะฮาบี พัฒนาการต่างๆ อาจพิสูจน์ได้ว่าฝ่ายหลังจะเร่งให้ถึงการสิ้นสุดของฝ่ายแรก” มุจตาบา มูซาวี นักวิเคราะห์การเมืองชาวอิหร่านและบรรณาธิการ Iran’s View กล่าวเตือนขณะพูดคุยกับ MintPress

    “ไม่มีสิ่งใดส่งเสียงแห่งการทรยศหักหลังได้ดังกว่าความทะเยอทะยานที่บอบช้ำ” เขากล่าวเสริม

    แอนดริว บอนด์ นักวิเคราะห์การเมืองจากสถาบัน Gulf Affairs บอกกับ MintPress ว่า ขณะที่การเปลี่ยนแปลงของซัลมานอาจจะทำให้เกิดผลพวงต่างๆ มากมายในด้านปฏิกิริยาสะท้อนกลับทางการเมืองภายใน แต่เกมเก้าอี้ดนตรีนี้ก็มีเป้าหมายเพื่อรักษาความมั่นคงให้กับอนาคตของราชอาณาจักรนี้

    “กษัตริย์ซัลมานทำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรักษาเสถียรภาพของระบอบกษัตริย์ และแน่นอน ของราชอาณาจักรนี้เพื่อคนรุ่นใหม่ที่จะเกิดขึ้น ด้วยการเปลี่ยนตำแหน่งในเชื้อพระวงศ์รุ่นเยาว์” บอนด์กล่าว

    เขาเสริมว่า “ถึงแม้เชื้อพระองค์หลายองค์จะมีความเคืองแค้น แต่หลายองค์ก็เข้าใจว่าความเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่จำเป็นในโครงการที่ยิ่งใหญ่กว่า”

    เมล็ดพันธุ์แห่งความขัดแย้ง

    เช่นเดียวกับมุกริน เจ้าชายมิชอาลและเจ้าชายเทอร์กี (ทั้งมิชอาลและเทอร์กีเป็นโอรสของกษัตริย์อับดุลลอฮ์ผู้ล่วงลับ) ถูกตัดออกจากระเบียงแห่งอำนาจ หลายคำถามยังคงไม่ได้รับคำตอบเกี่ยวกับอนาคตของซาอุดิอารเบีย ที่ถือว่าใช้ระบอบเทวาธิปไตยที่มีความรุนแรงและก่อปฏิกิริยาโต้ตอบมากที่สุดในโลก

    แม้ว่าเจ้าชายมิตาบ โอรสอีกองค์ของกษัตริย์ผู้ล่วงยัง จะยังคงเป็นผู้บัญชาการกองกำลังรักษาดินแดนแห่งชาติ (National Guard) ของซาอุดี้ฯ อยู่ แต่มีเสียงซุบซิบในริยาดว่าตำแหน่งนี้ก็กำลังจะถูกเปลี่ยนเช่นกัน อันที่จริง สงครามในเยเมนอาจทำหน้าที่เป็นฉากหลังที่ดีสำหรับจากไปของผู้ท้าทายที่ทรงพลังต่ออำนาจของซัลมาน

    กองกำลังรักษาดินแดนแห่งชาติเป็นองค์รักษ์พิทักษ์รัฐ (Praetorian Guard) ของตระกูลนี้ ทำหน้าที่ป้องกันเมืองหลวง มัสยิดศักดิ์สิทธิ์ในมักกะฮ์และมะดีนะฮ์ และอุตสาหกรรมน้ำมัน กองทหารของกองกำลังรักษาดินแดนแห่งชาติได้เข้ายึดบาห์เรนตั้งแต่เกิดการประท้วงอาหรับสปริงในปี 2011 เพื่อให้ระบอบกษัตริย์ซุนนีที่เป็นคนกลุ่มน้อยยังคงอยู่ในอำนาจ ถ้าหากสงครามในเยเมนจะเปลี่ยนมาเป็นการรุกทางภาคพื้นดิน ก็มีความเป็นไปได้ว่ากองกำลังรักษาดินแดนแห่งชาตินี้จะถูกเรียกมาปฏิบัติหน้าที่ อันจะทำให้ชะตากรรมของราชอาณาจักรนี้มาอยู่ในมือของมิตาบ ถ้าหากว่าเขาจะไม่ถูกตัดออกจากสมการอำนาจไปด้วยอีกคน

    แต่สิ่งที่พ้นไปจากอัตตาที่ชอกช้ำก็คือสิ่งที่นำไปสู่ความขัดแย้งของซาอุดิอารเบีย ซึ่งเป็นบางอย่างที่ถูกทำให้ปรากฏขึ้นโดยมุฮัมมัด บิน นาเยฟ

    เขาเป็นบุตรชายของมกุฏราชกุมารนาเยฟผู้ล่วงลับ และรู้จักกันว่าเป็น “เจ้าชายดำ” เนื่องจากลักษณะที่ชอบตอบโต้ของเขาอีกด้วย มุฮัมมัด บิน นาเยฟ เป็นผู้ต่อต้านอัล-กออิดะฮ์อย่างแรงกล้า ในขณะที่สนับสนุนธรรมเนียมแบบวะฮาบีของซาอุดิอารเบียในประเทศ


    ด้วยวัย 55 ปี เขามีชื่อเสียงมากที่สุดจากการทำลายความพยายามก่อเหตุรุนแรงของอัล-กออิดะฮ์เพื่อโค่นล้มราชวงศ์ซาอูดเมื่อสิบปีที่แล้ว เมื่อเขาได้ขับไล่สมาชิกที่เหลือของกลุ่มนั้นเข้าไปในบริเวณเทือกเขาที่รกร้างของเยเมนประเทศเพื่อนบ้าน เขายังรอดชีวิตมาจากความพยายามลอบสังหารถึงสี่ครั้งอีกด้วย เขาเป็นประธานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงและการเมืองแห่งราชอาณาจักรที่คอยประสานงานในประเด็นด้านความมั่นคง นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนวิจารณ์บทบาทของเขาในฐานะเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับสูงของชาติ ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงยกย่องความพยายามในการต่อต้านการก่อการร้ายของเขา

    มุฮัมมัด บิน นาเยฟ เข้าพบกับประธานาธิบดีบารัก โอบาม่า ในห้องทำงานทรงไข่มุก เมื่อ 12 ธันวาคม เพื่อหารือในประเด็นต่างๆ ด้านการก่อการร้ายและในภูมิภาค ขณะนั้น เอฟ เกรเกอรี่ กอส ที่ 3 ศาสตราจารย์กิจการระหว่างประเทศของมหาวิทยาลัยเท็กซัส เอ แอนด์ เอ็ม เรียกเขาว่า “เจ้าหน้าที่ซาอุดี้ฯ คนโปรดของอเมริกา”

    “เจ้าชายนาเยฟ เหมือนกับพ่อของเขามาก คือเป็นผู้ปกป้องธรรมเนียมประเพณีของซาอุดิอารเบียอย่างแรงกล้า และนั่นคือแนวคิดวะฮาบี เนื่องจากแนวคิดแบบวะฮาบีได้เป็นแรงบันดาลใจให้กับกลุ่มต่างๆ อย่างเช่นไอซิซ เราจึงจำเป็นต้องถามตัวเองว่าอีกนานแค่ไหนที่ราชอาณาจักรนี้สามารถจะรักษาการควบคุมรากเหล้าแห่งความสุดโต่งของตัวเองไว้ได้” มุจตาบา มูซาวี นักวิเคราะห์การเมืองกล่าว

    ไล่จับไฟ

    การระเบิดพลีชีพเมื่อ 22 พฤษภาคม ที่ชุมชนชีอะฮ์ในจังหวัดกอติฟ ทางตะวันออกของซาอุดิอารเบีย ซึ่งไอซิซอ้างความรับผิดชอบ อาจจะเป็นการเกริ่นนำสำหรับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในราชอาณาจักรแห่งนี้


    “การโจมตีกอติฟของไอซิซจำเป็นต้องทำความเข้าใจว่ามันเป็นหลักฐานว่า ราชอาณาจักรแห่งนี้กำลังจะสูญเสียการควบคุมขุมอำนาจทางศาสนาของตนไป ราชบัลลังก์นี้พึ่งพาอาศัยนักการศาสนาวะฮาบีมานานเท่ากับที่อัล-ซาอูดอยู่ในอำนาจ มีความสัมพันธ์แบบเอื้อประโยชน์กันอย่างเหนียวแน่นระหว่างทั้งสอง” ดร.คัยรูซระบุ

    เขายังได้กล่าวเสริมว่า “อย่างไรก็ตาม สิบปีแห่งการเปลี่ยนแนวคิดไปสู่ความสุดโต่งและส่งเสริมการแบ่งแยกทางนิกายเพื่อเป็นประโยชน์ต่อวาระการครองความเป็นจ้าวได้ส่งเสียงกลับมายังนักการศาสนาวะฮาบีขวาจัดของซาอุดิอาระเบีย ฝ่ายเคร่งจัดทางศาสนาภายในซาอุดิอารเบียไม่ชื่นชอบสิ่งใดมากไปกว่าการทำสงครามศักดิ์สิทธิ์กับพวกนอกรีตทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับอิหร่านที่เป็นชีอะฮ์”

    ด้วยการให้เหตุผลว่า การโจมตีในกอติฟเป็นความพยายามที่จะส่งราชอาณาจักรนี้เข้าสู่การต่อสู้อย่างรุนแรงของความขัดแย้งทางนิกาย คัยรูซเชื่อว่าฝ่ายต่างๆ ที่ต่อต้านซัลมานจะใช้ประโยชน์จากความไม่พอใจของวะฮาบีเพื่อบั่นทอนความมั่นคงของบัลลังก์

    อะห์มัด มุฮัมมัด นัซเซอร์ นักวิเคราะห์การเมืองชาวเยเมนก็เห็นด้วยกับความคิดเห็นของคัยรูซ โดยระบุว่า เยเมนอาจมีบทบาทสำคัญยิ่งในการทำให้เกิดความยุ่งเหยิงในราชอาณาจักรนี้ นั่นเป็นเพราะว่า “ชะตากรรมของสงครามถูกวางไว้ในมือของเจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน (มกุฏราชกุมารอันดับสองและรัฐมนตรีกลาโหมของซาอุดิอารเบีย) หุ่นเชิดที่ไร้อำนาจและขาดประสบการณ์”

    “เจ้าชายบิน ซัลมาน ได้ขับเคลื่อนซาอุดิอารเบียเข้าสู่ปลักตมในเยเมน และเนื่องจากเขาไม่น่าจะยอมรับความพ่ายแพ้ ความไม่สงบและไร้เสถียรภาพจึงน่าจะแผ่ขยายจากเยเมนขึ้นมา จนลามมาถึงราชอาณาจักรนี้ อำนานแค่ไหนก่อนที่ไอซิซจะข้ามเขตแดนทางเหนือของเยเมนขึ้นมา?” อะห์มัดถาม

    แอนดริว บอนด์ จากสถาบัน Gulf Affairs มีความเห็นต่างออกไปเกี่ยวกับเปลวไฟแห่งการแบ่งแยกนิกายภายในซาอุดิอารเบีย เขาแย้งว่าเป้าหมายหลักไม่ใช่ชุมชนชีอะฮ์ในซาอุดี้ฯ แต่ที่จริงแล้วคืออำนาจของซัลมาน

    “คุณต้องเข้าใจว่า กษัตริย์ซัลมานเคยดำรงตำหน่งรัฐมนตรีกลาโหมในสมัยกษัตริย์อับดุลลอฮ์ผู้ล่วงลับ เพราะฉะนั้นการโจมตีลักษณะนั้นบนแผ่นดินของราชอาณาจักรนี้ อาจมีเป้าหมายเพื่อแสดงให้เห็นว่ากษัตริย์องค์ใหม่เป็นผู้นำที่ใช้ไม่ได้” เขากล่าว

    เขาเสริมว่า “ถ้าหากเกิดการโจมตีแบบนี้ขึ้นภายใต้การควบคุมดูแลของกษัตริย์องค์นี้อีก ความชอบธรรมของเขาก็อาจตกอยู่ในอันตราย และผมเชื่อว่านี่คือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการโจมตีเหล่านั้นอย่างแท้จริง”

    เหมือนนั่งอยู่ในถังดินปืน ซาอุดิอารเบียมีลักษณะหลายอย่างในการทำให้เกิดการปฏิวัติ ไม่ว่าจะเป็นความยากจนที่เพิ่มมากขึ้นและความไม่เท่าเทียมทางสังคม การปราบปรามอย่างรุนแรงของตำรวจ การแบ่งแยกทางนิกายอย่างรุนแรงและการเล่นพรรคเล่นพวก ความขัดแย้งแอบแฝงทางการเมือง และการไม่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางภายในประเทศ

    ณ จุดนี้ สถานการณ์กำลังรอเพียงแค่การจุดไม้ขีดไฟเท่านั้น


    โดย แคเธอรีน ชัคดัม
    ที่มา Saudi Arabia: Is It About To Burn Or Just Collapse?
    แปล/เรียบเรียง กองบก.เอบีนิวส์ทูเดย์

    http://www.abnewstoday.com/4799
     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    น้ำมันบวก-ทองคำลง หุ้นสหรัฐฯพุ่งแรงก่อนทราบผลประชุมเฟด
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 มิถุนายน 2558 05:09 น.

    [​IMG]

    เอเอฟพี/มาร์เก็ตวอชต์ - ราคาน้ำมันตลาดสหรัฐฯขยับขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 4 วันเมื่อวันอังคาร(16มิ.ย.) ก่อนหน้าอเมริกาเผยแพร่ข้อมูลสต๊อกเชื้อเพลิงสำรอง ส่วนวอลล์สตรีทพุ่งแรงจับตาที่ประชุมเฟด ขณะที่ทองคำปิดลบในกรอบแคบ หลังดอลลาร์แข็งค่าขึ้น
    น้ำมันดิบเวสต์เทกซัสอินเตอร์มีเดียต หรือไลต์สวีตครูด งวดส่งมอบเดือนกรกฎาคม เพิ่มขึ้น 45 เซนต์ ปิดที่ 59.97 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนต์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนสิงหาคม ลดลง 25 เซนต์ ปิดที่ 63.70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
    นักลงทุนจับตาข้อมูลอุปทานปิโตรเลียมของสหรัฐฯ ด้วยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดหมายว่าคลังน้ำมันดิบสำรองรายสัปดาห์ที่มีกำหนดเผยแพร่ในวันพุธ(17มิ.ย.) จะลดลงอีกสัปดาห์และเป็นการปรับลด 7 สัปดาห์ติดต่อกัน อย่างไรก็ตามสัญญาณอุปสงค์ที่แข็งแกร่งนี้ก็อาจถูกทัดทานจากกำลังผลิตที่สูงลิ่วของอเมริกาเช่นกัน
    ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อวันอังคาร(16มิ.ย.) พุ่งแรงและปิดบวกเป็นครั้งแรกในรอบ 3 วัน ก่อนหน้าคำแถลงของที่ประชุมคณะกรรมกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางอเมริกา ที่คาดหมายว่าจะให้ความกระจ่างเกี่ยวกับกรอบเวลาของการขึ้นดอกเบี้ย
    ดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 113.31 จุด (0.64 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 17,904.48 จุด เอสแอนด์พี เพิ่มขึ้น 11.86 จุด (0.57 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 2,096.29 จุด แนสแดค เพิ่มขึ้น 25.58 จุด (0.51 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 5,055.55 จุด
    นักวิเคราะห์มองว่าความเคลื่อนไหวที่ผันผวนแบบวันต่อวันเป็นผลจากความอ่อนไหวและการปรับฐานของนักลงทุนก่อนหน้าถ้อยแถลงในเฟดในวันพุธ(17มิ.ย.)
    ข้อมูลภาคแรงงานและตัวเลขค้าปลีกที่ดีขึ้น ปรับเปลี่ยนมุมมองบางอย่างต่อนโยบายการเงินของสหรัฐฯ หลังจากเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจอ่อนแอในช่วงไตรมาสแรก ทั้งนี้แม้นักลงทุนไม่คาดหมายว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ยในวันพุธ แต่ตัวประธานนางเจเน็ต เยลเลน ก็อาจจะส่งสัญญาณว่าความเคลื่อนไหวดังกล่าวใกล้เข้ามาแล้ว
    ด้านราคาทองคำในวันอังคาร(16มิ.ย.) ปิดลบเล็กน้อย หลังดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับยูโร ท่ามกลางความกังวลว่ากรีซที่กำลังประสบปัญหาหนี้สินอาจต้องออกจากยูโรโซน โดยทองคำตลาดโคเม็กซ์ ลดลง 4.90 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,180.90 ดอลลาร์ต่อออนซ์
    http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx…
     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    โสมขาวพบผู้ติดเชื้อ MERS เพิ่ม 8 รายในวันเดียว-ยอดตายพุ่ง 20 ศพ
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 มิถุนายน 2558 10:27 น.

    [​IMG]

    เอเอฟพี/รอยเตอร์ – กระทรวงสาธารณสุขเกาหลีใต้รายงานยอดผู้ติดเชื้อไวรัสกลุ่มทางเดินหายใจสายพันธุ์ตะวันออกกลาง (MERS) เพิ่มขึ้นอีก 8 รายในวันนี้ (17 มิ.ย.) ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็น 20 ราย

    การพบผู้ติดเชื้อใหม่ทั้ง 8 คนซึ่งมีช่วงอายุระหว่าง 31-79 ปี ทำให้จำนวนผู้ป่วย MERS ในเกาหลีใต้ขยับเพิ่มเป็น 162 ราย ในเวลาไม่ถึง 1 เดือน

    สำหรับผู้เสียชีวิตรายล่าสุดเป็นหญิงวัย 54 ปี ซึ่งป่วยเป็นโรคหลอดลมพอง (bronchiectasis) และมีความดันโลหิตสูงอยู่ก่อนแล้ว

    การแพร่กระจายของไวรัส MERS ในเกาหลีใต้มีต้นตอมาจากชายวัย 68 ปีคนหนึ่งที่เดินทางกลับจากซาอุดีอาระเบีย และแพทย์ได้ยืนยันอาการป่วยของเขาเมื่อวันที่ 20 พ.ค. ก่อนหน้านั้นเขาได้ไปพบแพทย์ในสถานพยาบาล 4 แห่ง ซึ่งระหว่างนั้นเองที่เชื้อได้แพร่กระจายไปสู่เจ้าหน้าที่แพทย์และผู้ป่วยรายอื่นๆ

    ไวรัส MERS ได้แพร่จากผู้ป่วยรายแรกไปสู่รายอื่นๆ อย่างรวดเร็ว จนทำให้เกาหลีใต้กลายเป็นประเทศที่พบผู้ติดเชื้อมากเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากซาอุดีอาระเบีย และเป็นการแพร่เชื้อภายในสถานพยาบาลเกือบทั้งสิ้น

    ในจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ มีอยู่ 4 คนที่สัมผัสเชื้อจากศูนย์การแพทย์ซัมซุงในกรุงโซล ซึ่งเป็นสถานพยาบาลที่พบการแพร่ระบาดของไวรัส MERS รุนแรงที่สุด โดยพบคนไข้ เจ้าหน้าที่การแพทย์ และผู้ที่ไปติดต่อธุระในโรงพยาบาลแห่งนี้ได้รับเชื้อไวรัสมรณะไปเกือบ 80 ราย

    พนักงานวัย 33 ปีของศูนย์การแพทย์ซัมซุงอยู่ในกลุ่มผู้ติดเชื้อใหม่ด้วย แต่ทางกระทรวงฯ ยังไม่สามารถยืนยันว่าเขาได้รับเชื้อมาจากสถานที่ใด นอกจากนี้ยังมีบุคลากรของโรงพยาบาลอีก 2 แห่ง และคนไข้ในเมืองฮวาซอง (Hwasong) ที่ตกเป็นเหยื่อไวรัส MERS

    กระทรวงสาธารณสุขเกาหลีใต้สั่งให้ประชาชนกว่า 5,500 คนที่มีการติดต่อกับผู้ป่วย MERS อยู่ในระยะกักโรค (quarantine) เพื่อรอดูอาการ ส่วนอีก 3,500 คนที่พ้นจากระยะกักโรคแล้วสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ

    ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า อัตราการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อไวรัส MERS อยู่ที่ราวๆ 35 เปอร์เซ็นต์ และปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่จะป้องกันได้

    ในซาอุดีอาระเบียซึ่งถือเป็นต้นทางของไวรัส MERS พบผู้ติดเชื้อมากกว่า 950 ราย ในจำนวนนี้เสียชีวิตแล้ว 412 ราย

     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    นักวิเคราะห์เตือนสหรัฐฯ อย่าเหลิง! ชี้เด็ดหัว “ผู้นำก่อการร้าย” แต่เครือข่ายอิสลามิสต์ยังเติบโต โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 มิถุนายน 2558 08:56 น.

    [​IMG]
    @ม็อคตาร์ เบลม็อคตาร์ ผู้ก่อการร้ายชาวแอลจีเรีย หัวหน้ากลุ่มติดอาวุธ อัล-มูราบิทูน ซึ่งเชื่อว่าอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์โจมตีโรงแยกก๊าซ อิน อามีนาส ในแอลจีเรีย เมื่อต้นปี 2013 (ซ้าย) และ นาซีร์ อัล-วูไฮชี หัวหน้าเครือข่ายอัลกออิดะห์ในคาบสมุทรอาระเบีย (AQAP)

    เอเอฟพี – การส่งอากาศยานไร้คนขับ (โดรน) เข้าไปปลิดชีพผู้นำกลุ่มอิสลามิสต์ถือเป็นยุทธวิธีหลักที่สหรัฐฯ ใช้ในสงครามต่อต้านก่อการร้าย ทว่าปฏิบัติการโจมตีที่มุ่งสังหารแกนนำเพียงอย่างเดียวยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ผู้เชี่ยวชาญเตือน

    ทำเนียบขาวแถลงยืนยันวานนี้ (16 มิ.ย.) ว่า นาซีร์ อัล-วูไฮชี ผู้นำเครือข่ายอัลกออิดะห์ในคาบสมุทรอาระเบีย (AQAP) ถูกโดรนของสำนักงานข่าวกรองกลางสหรัฐฯ (ซีไอเอ) สังหารแล้ว ซึ่งนับเป็นความสูญเสียครั้งใหญ่ต่อนักรบญิฮาดกลุ่มนี้

    ก่อนหน้านั้นไม่นานก็มีข่าวว่า ม็อคตาร์ เบลม็อคตาร์ ผู้นำกลุ่มติดอาวุธในทะเลทรายสะฮาราซึ่งเคยอยู่เบื้องหลังการบุกยึดโรงกลั่นน้ำมันในแอลจีเรีย ถูกสังหารในปฏิบัติการโจมตีของสหรัฐฯ ระหว่างการชุมนุมผู้นำเครือข่ายอัลกออิดะห์ทางภาคตะวันออกของลิเบีย

    อย่างไรก็ดี ปฏิเสธไม่ได้ว่าการสังหารผู้นำอิสลามิสต์ครั้งที่ผ่านๆ มา ไม่อาจยับยั้งการแพร่ขยายของลัทธิหัวรุนแรงสุดโต่ง และก็ยังไม่มีใครตอบได้ว่า ความสำเร็จเชิงยุทธวิธีเช่นนี้จะนำไปสู่ชัยชนะในทางยุทธศาสตร์ได้จริงหรือไม่

    นิค เฮราส จากศูนย์ความมั่นคงอเมริกันใหม่ (Center for a New American Security) ซึ่งเป็นสถาบันคลังความคิดในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ชี้ว่า ความตายของ อัล-วูไฮชี อาจยิ่งทำให้ AQAP แข็งแกร่งขึ้นกว่าเดิมด้วยซ้ำ

    “มีความเป็นไปได้สูงที่เครือข่ายอัลกออิดะห์กลุ่มนี้จะผงาดขึ้นมาใหม่หลังหัวหน้ากลุ่มของพวกเขาถูกลอบสังหาร และอาจแข็งแกร่งยิ่งกว่าเดิมเสียอีก โดยมีการเคลื่อนไหวที่ไม่ต่างไปจากเดิม” เฮราส ให้สัมภาษณ์กับเอเอฟพี

    AQAP ซึ่งเคยออกมาประกาศความรับผิดชอบต่อเหตุกราดยิงนิตยสาร ชาร์ลี เอ็บโด เมื่อต้นปีนี้ ถูกมองว่าเป็นสาขาของอัลกออิดะห์ที่ยังมีพิษสง และเป็นอันตรายต่อโลกตะวันตกมากที่สุด ซึ่งสงครามกลางเมืองในเยเมนก็เป็นโอกาสให้นักรบกลุ่มนี้แผ่ขยายอิทธิพลกว้างไกลออกไปอีก

    หลังข่าวการตายของ อัล-วูไฮชี ถูกเปิดเผย AQAP ก็ประกาศแต่งตั้ง กอสเซ็ม อัล-รีมี ขึ้นเป็นผู้นำคนใหม่ทันที

    เฮราส ชี้ว่า อัล-รีมี ผู้นี้ “เป็นผู้นำที่ค่อนข้างเน้นการโจมตีเป้าหมายตะวันตก... และมีหัวคิดในด้านการส่งกำลังบำรุง (logistics) ดังนั้น ถึงแม้เขาจะยังไม่มีบารมีเท่าที่ควร แต่จะเป็นผู้นำกลุ่มที่มีประสิทธิภาพมากกว่า”

    ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาทั้งหมด เฮราส จึงเตือนว่า ปฏิบัติการโดรนของสหรัฐฯ “อาจมีผลทางอ้อมทำให้ AQAP ยิ่งร้ายกาจมากขึ้น”

    “การมุ่งสังหารบุคคลโดยไม่ได้ทำลายโครงสร้างทั้งหมดขององค์กร อาจจะทำให้การควบคุมเขตอิทธิพลอ่อนแอลงไปบ้าง แต่ไม่สามารถขจัด AQAP ออกไปจากเยเมนได้”

    เครือข่ายก่อการร้ายอัลกออิดะห์ยังคงเป็นภัยคุกคามต่อโลกเรื่อยมา ทั้งที่หัวหน้าใหญ่อย่าง อุซามะห์ บินลาดิน ถูกหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ “ซีล” ของสหรัฐฯ บุกไปปลิดชีพถึงรังกบดานในปากีสถาน เมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 2011

    กลุ่มติดอาวุธรัฐอิสลาม (ไอเอส) ที่กำลังรุกรานอิรักและซีเรียอยู่ในขณะนี้ก็ถือกำเนิดขึ้นจากการล่มสลายของเครือข่ายอัลกออิดะห์ในอิรัก (AQI) หลังจาก อบู มูซาบ อัล-ซาร์กอวี ผู้ก่อตั้งกลุ่มดังกล่าวถูกสังหารโดยเครื่องบินของสหรัฐฯ ส่วนผู้นำคนอื่นๆ ก็ถูกส่งเข้าเรือนจำ

    เมื่อปี 2014 สหรัฐฯ ได้ส่งเครื่องบินเข้าไปทิ้งระเบิดโจมตีกลุ่มติดอาวุธทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของซีเรีย แต่ปรากฏว่ามีพลเรือนถูกลูกหลงไปด้วย ซึ่ง เฮราส ชี้ว่า เหตุการณ์ลักษณะนี้ “ทำให้ชาวบ้านรู้สึกโกรธแค้น” และมีส่วนทำให้กองกำลังท้องถิ่นที่สหรัฐฯหนุนหลังอยู่ค่อยๆ เสื่อมอิทธิพลลงไป

    อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่อเมริกันเองกลับมองความสำเร็จล่าสุดไปในเชิงบวกมากกว่า โดย พ.อ.สตีฟ วอร์เรน โฆษกกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ชี้ว่า การสังหารผู้นำเครือข่ายอัลกออิดะห์สะท้อนให้เห็นว่า แม้อเมริกาจะไม่มีทหารแนวหน้าประจำการอยู่ในภูมิภาคดังกล่าว แต่ก็ยังสามารถบั่นทอนกำลังของศัตรูได้

     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    รายงานล่าสุด“ เพนตากอน ” ชี้ กองกำลังความมั่นคงอัฟกัน ต้อง “เร่งปฏิรูปตัวเอง” รับมือภัยคุกคามตอลิบาน โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 มิถุนายน 2558 05:20 น.

    [​IMG]

    รอยเตอร์/ เอพี/เอเอฟพี/เอเจนซีส์/ ASTV ผู้จัดการออนไลน์ – กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ หรือ “ เพนตากอน ” เปิดเผยรายงานฉบับใหม่ในวันอังคาร ( 16 มิ.ย.) โดยระบุว่า กองกำลังความมั่นคงของรัฐบาลอัฟกานิสถานจะต้องเร่งการปฏิรูปตัวเองแบบขนานใหญ่ให้มีความแข็งแกร่งเพียงพอที่จะรับมือการเผชิญหน้ากับกลุ่มนักรบ “ตอลิบาน ” ได้

    รายงานของทางเพนตากอนซึ่งมีความยาวถึง 108 หน้ากระดาษที่ถูกจัดทำขึ้นปีละ 2 ครั้ง เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมสภาคองเกรสส์สหรัฐฯ ระบุว่า โดยภาพรวมแล้วประสิทธิภาพของกองกำลังความมั่นคงของรัฐบาลอัฟกานิสถานได้พัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างมากในช่วง “ 1 ขวบปีแรก” นับตั้งแต่ที่เข้ามารับช่วงต่อในการดูแลความมั่นคงของประเทศตนเองต่อจากกองกำลังนานาชาติภายใต้การนำของทหารอเมริกัน และบรรดาทหารชาติพันธมิตรจากองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organization : NATO)

    รายงานฉบับล่าสุดของทางเพนตากอน ชี้ว่า แม้ศักยภาพตลอดจนขีดความสามารถโดยรวมของกองกำลังความมั่นคงของรัฐบาลอัฟกานิสถานจะพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น แต่ “อัตราความสำเร็จ” ในการเปิดปฏิบัติการทางทหารต่อกลุ่มตอลิบานยังอยู่ในระดับที่ไม่สม่ำเสมอ แม้จะมีการเปิดศึกครั้งใหญ่หลายครั้งเพื่อกวาดล้างนักรบตอลิบานในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ ทั้งในพื้นที่จังหวัดเฮลมานด์ , กาซนี และซาบูล

    นอกจากนี้ ผลการประเมินในรายงานล่าสุดของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯยังบ่งชี้ด้วยว่า กองกำลังความมั่นคงของรัฐบาลอัฟกานิสถานยัง “สอบตก” ในการตอบสนองที่รวดเร็วฉับพลัน ในยามที่พวกนักรบตอลิบานเป็นฝ่ายเปิดฉากโจมตีก่อนโดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดคูนาร์และจังหวัดคุนดุซ

    นอกเหนือจากประสิทธิภาพในการต่อกรกับกลุ่มตอลิบานที่ยังอยู่ในข่ายต้องเร่งปรับปรุงแล้ว รายงานของเพนตากอนยังระบุถึงปัจจัยหลักที่กลายเป็นอุปสรรค “บั่นทอนความก้าวหน้า” ของกองกำลังความมั่นคงของรัฐบาลอัฟกานิสถานในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา นั่นคือ ความล่าช้าของการนับคะแนน และการประกาศผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีอัฟกานิสถานเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งส่งผลกระทบต่อการแต่งตั้งโยกย้ายบุคลากร โดยเฉพาะบุคลากรด้านความมั่นคงที่มีหน้าที่หลักในการกำหนดยุทธศาสตร์ต่อสู้กับพวกตอลิบาน

    ในขณะเดียวกัน การออกคำสั่งให้เปิดการสอบสวนของประธานาธิบดีอัชราฟ กานี ต่อบรรดาเจ้าหน้าที่ระดับนายพลและอดีตนายพลจำนวนเกือบ 50 รายในคดีทุจริตเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของกองทัพ ยังส่งผลกระทบต่อการจัดอัตรากำลังของกองกำลังความมั่นคงของรัฐบาลอัฟกานิสถานเช่นเดียวกัน

     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    อดีตบอสใหญ่ซีไอเอ ออกโรงเตือน “การโจมตีไซเบอร์”เป็น “ภัยคุกคามใหญ่หลวง” ต่อศก.US โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 มิถุนายน 2558 08:07 น.

    [​IMG]
    @พล.อ. เดวิด เพเทรอัส อดีตผู้อำนวยการสำนักงานข่าวกรองกลางสหรัฐฯ

    เอเจนซีส์/ ASTV ผู้จัดการออนไลน์ – พล.อ. เดวิด เพเทรอัส อดีตผู้อำนวยการสำนักงานข่าวกรองกลางสหรัฐฯ (Central Intelligence Agency : CIA) ออกโรงเตือนในวันอังคาร ( 16 มิ.ย.) โดยระบุว่า “การโจมตีทางไซเบอร์” ถือเป็น “ภัยคุกคามใหญ่หลวง” ต่อผลประโยชน์แห่งชาติ ตลอดจน ความมั่นคงทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา

    เพเทรอัส ในวัย 62 ปี ซึ่งเคยรับหน้าที่ผู้อำนวยการใหญ่ของซีไอเอ ระหว่างเดือนกันยายน ปี 2011 – เดือนพฤศจิกายนปี 2012 กล่าวระหว่างให้สัมภาษณ์รายการโทรทัศน์ “วอลล์สตรีท วีค” ทางเครือข่ายสถานีโทรทัศน์พีบีเอส โดยยอมรับว่าการโจมตีทางไซเบอร์สามารถสร้างความเสียหายร้ายแรง ถึงขั้นที่ทำให้เศรษฐกิจของอเมริกาประสบกับความย่อยยับได้ภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่วินาที และว่าภัยคุกคามไซเบอร์นี้ถือเป็น “ความท้าทายขนาดมหึมา” สำหรับชาวอเมริกันทั้งมวลโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเป็นภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน หรือแม้แต่ปัจเจกบุคคลที่เป็นมนุษย์เดินดินธรรมดา

    อดีตนายพลระดับ 4 ดาวผู้เคยเป็นแม่ทัพใหญ่ของทหารสหรัฐฯในสมรภูมิทั้งที่อิรักและอัฟกานิสถานรายนี้ เตือนว่าการโจมตีทางไซเบอร์มีแนวโน้มที่จะเกิดบ่อยและถี่ครั้งมากขึ้นในช่วง 5 ปีนับจากนี้

    โดยการโจมตีที่สหรัฐฯอาจได้รับความเสียหายหนักมากที่สุด คือ การโจมตีโดย “กองกำลังอิเล็กทรอนิกส์” ที่มีต้นตอจากสาธารณรัฐประชาชนจีน รัสเซีย และซีเรีย ซึ่งมักจะมุ่งเป้าโจมตีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมระบบสาธารณูปโภคและระบบขนส่งมวลชน

    ท่าทีล่าสุดของอดีตผู้อำนวยการใหญ่ซีไอเอ มีขึ้นเพียงไม่ถึง 2 สัปดาห์ หลังจากที่ระบบคอมพิวเตอร์กลางของรัฐบาลอเมริกันถูกโจมตีจากกองทัพแฮกแกอร์ซึ่งยังไม่ทราบที่มาที่แน่ชัดเมื่อ 4 มิ.ย.ที่ผ่านมา

    โดยการโจมตีทางไซเบอร์ล่าสุดส่งผลให้ข้อมูลการจ้างงานของลูกจ้างภาครัฐของอเมริกา จำนวน กว่า 4 ล้านคนถูกเจาะภายในไม่กี่นาที ท่ามกลางข้อสันนิษฐานของผู้เกี่ยวข้องในรัฐบาลวอชิงตันที่ว่า การโจมตีทางไซเบอร์รอบล่าสุดน่าจะเป็นฝีมือของแฮกเกอร์จากจีน


    ʹյ
     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ผลสำรวจล่าสุดในเมืองลุงแซม ชี้ มะกันชนส่วนใหญ่ต้องการอยู่อาศัยในพื้นที่ที่การ“ครอบครองปืน” เป็นเรื่องถูกกฏหมาย โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 มิถุนายน 2558 02:05 น.

    [​IMG]

    เอเจนซีส์ / ASTV ผู้จัดการออนไลน์- ผลการสำรวจความคิดเห็นครั้งใหม่ที่ทำในสหรัฐอเมริกา พบข้อมูลอันน่าประหลาดใจที่ระบุว่า กลุ่มตัวอย่างชาวอเมริกันส่วนใหญ่ต้องการเลือกใช้ชีวิตอยู่ในเขตที่พวกเขาสามารถ “ครอบครองอาวุธปืน” ได้ มากกว่าที่จะอยู่อาศัยในพื้นที่ ที่การมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองเป็น “เรื่องต้องห้าม”

    ข้อมูลที่ถูกเผยแพร่ออกมาล่าสุดเมื่อวันอังคาร ( 16 มิ.ย.) โดยสำนักวิจัย “ราสมุสเซน รีพอร์ตส์” ซึ่งมีฐานอยู่ที่แอสบิวรี พาร์ค ในมลรัฐนิวเจอร์ซีย์ พบข้อมูลอันน่าประหลาดใจที่ระบุว่า ราว 68 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มตัวอย่างชาวอเมริกันที่เข้าร่วมการสำรวจในครั้งนี้ ต่างลงความเห็นว่า พวกเขาจะรู้สึกว่าตนเองและครอบครัวจะมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินมากกว่า หากพวกเขาสามารถเลือกใช้ชีวิตอยู่อาศัยในเขตที่พวกเขาสามารถ “ครอบครองอาวุธปืน” ได้อย่างถูกต้องตามกฏหมาย

    ผลสำรวจครั้งนี้ พบข้อมูลว่า มีกลุ่มตัวอย่างราว 22 เปอร์เซ็นต์ หรือไม่ถึง 1 ใน 4 ที่ลงความเห็นว่า ตนเองและครอบครัวจะมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินมากกว่า หากได้อาศัยอยู่ในพื้นที่ ที่การมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองถือเป็น “เรื่องต้องห้าม” ตามกฎหมายบ้านเมือง

    ขณะที่กลุ่มตัวอย่างอีก 10 เปอร์เซ็นต์ที่เหลือ ให้ความเห็นว่า พวกเขาไม่แน่ใจว่า การอยู่อาศัยในพื้นที่ทั้งสองประเภทนั้นจะมีความแตกต่างกันอย่างไร และแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด ในแง่ของความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

    ผลสำรวจล่าสุดของราสมุสเซน รีพอร์ตส์ที่มีการเผยแพร่เมื่อวันอังคาร ( 16) ถูกระบุว่าได้ข้อมูลดังกล่าวมาจากการลงพื้นที่สอบถามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นชาวอเมริกันผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจำนวนทั้งสิ้น 977 ราย ในระหว่างวันที่ 8 – 9 มิถุนายนที่ผ่านมา

    นอกจากนั้น ผลสำรวจความคิดเห็นล่าสุดยังพบข้อมูลว่า กลุ่มตัวอย่างชาวอเมริกันจำนวน 25 เปอร์เซ็นต์เห็นว่า น่าจะเป็นเรื่องที่ดีกว่านี้ หากจะมีการออกกฎหมายที่อนุญาตให้เฉพาะ “ เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย “ รวมถึง ทหาร เท่านั้น ที่สามารถครอบครองอาวุธปืนได้ โดยกลุ่มตัวอย่างเชื่อว่า แนวทางดังกล่าวนี้จะช่วยลดจำนวนเหตุอาชญากรรมและปัญหาการใช้ความรุนแรงในสหรัฐอเมริกาลงมาได้อย่างสำคัญ

    ในขณะเดียวกัน ผลสำรวจของราสมุสเซน รีพอร์ตส์ระบุว่า มากกว่าครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่าง “เห็นด้วย”หากจะมีการออกกฏหมายห้ามการครอบครองอาวุธปืนแบบกึ่งอัตโนมัติ แต่มีเพียง 14 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มตัวอย่างที่สนับสนุนให้มีการห้ามครอบครอง “ปืนพกสั้น”

    ทั้งนี้ หากจำแนกกลุ่มตัวอย่างออกตามเกณฑ์ของอายุ และพรรคการเมืองที่สนับสนุนแล้ว จะพบข้อมูลว่ากลุ่มตัวอย่างชาวอเมริกันที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปีลงมา และเป็นผู้สนับสนุนพรรคเดโมแครต มีแนวโน้มจะเลือกใช้ชีวิตอยู่อาศัยในเขตที่การมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองถือเป็น “เรื่องต้องห้าม” สวนทางกับกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปและเป็นผู้สนับสนุนพรรครีพับลิกันที่มีแนวโน้มจะเลือกอาศัยในเขตที่พวกเขาสามารถ “ครอบครองอาวุธปืน” ได้อย่างถูกต้องตามกฏหมายมากกว่า

     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    จับตา!รัสเซียเพิ่มขีปนาวุธ40ลูกเข้าคลังแสง หลังมะกันเสริมอาวุธหนักแก่นาโต้
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 มิถุนายน 2558 01:04 น.

    [​IMG]

    @(แฟ้มภาพ) ขีปนาวุธนำวิถีข้ามทวีปของรัสเซียถูกนำมาแสดงระหว่างการเดินสวนสนามบริเวณจตุรัสแดงในกรุงมอสโก เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคมที่ผ่านมา

    เอเอฟพี/รอยเตอร์ - ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินเมื่อวันอังคาร(16มิ.ย.) ประกาศก้องว่ารัสเซียจะเพิ่มขนาดคลังแสงนิวเคลียร์ในปี 2015 ด้วยขีปนาวุธข้ามทวีปกว่า 40 ลูก คำพูดที่น่าจะสร้างความกังวลในตะวันตก ท่ามกลางความขัดแย้งเกี่ยวกับวิกฤตยูเครน

    "ปีนี้ขนาดของพลานุภาพทางนิวเคลียร์ของเราจะถูกเพิ่มเติมโดยขีปนาวุธนำวิถีข้ามทวีปใหม่กว่า 40 ลูก ที่สามารถจะสามารถมีชัยเหนือระบบป้องกันขีปนาวุธใดๆหรือแม้แต่ระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดได้" ปูตินกล่าว ณ พิธีเปิดงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์แห่งหนึ่ง รอบนอกกรุงมอสโก

    ถ้อยแถลงของปูตินมีขึ้น 1 วัน หลังจากเจ้าหน้าที่รัสเซียประณามแผนของสหรัฐฯที่จะประจำการรถถังและอาวุธหนักในเหล่าชาติสมาชิกนาโต้ที่มีชายแดนติดดับรัสเซีย พฤติกรรมก้าวร้าวที่สุดของวอชิงตันนับตั้งแต่สงครามเย็น

    ความตึงเครียดระหว่างรัสเซียและมหาอำนาจตะวันตกถีบตัวสูงขึ้น อันเนื่องมาจากบทบาทของมอสโกในวิกฤตยูเครน ซึ่งกองกำลังกบฏแบ่งแยกดินแดนฝักใฝ่รัสเซียบุกยึดพื้นที่ขนาดใหญ่ในดินแดนทางภาคตะวันออกของยูเครน หลังจากมอสโกผนวกไครเมียของเคียฟเข้าเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนในช่วงต้นปี 2014

    ความเคลื่อนไหวดังกล่าวกระตุ้นให้ตะวันตกที่นำโดยสหภาพยุโรปและสหรัฐฯ กำหนดมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจลงโทษรัสเซีย

    ขีปนาวุธนำวิถีข้ามทวีปมีพิสัยทำการขั้นต่ำอย่างน้อย 5,500 กิโลเมตร อย่างไรก็ตาม ปูติน ไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่าขีปนาวุธชนิดไหนที่ถูกเสริมเข้าสู่คลังแสงนิวเคลียร์ของรัสเซีย

    เขาเคยพูดมาหลายครั้งว่ารัสเซียจำเป็นต้องคงไว้ซึ่งการป้องปรามด้วยอาวุธนิวเคลียร์ เพื่อตอบโต้ในสิ่งที่เขามองว่าภัยคุกคามด้านความมั่นคงที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ และมอสโกได้สงวนสิทธิ์ในการประจำการอาวุธนิวเคลียร์ในไครเมีย

    ความเห็นลักษณะดังกล่าวของเขาช่วยกระพือความรู้สึกต่อต้านตะวันตก และมีการเดินขบวนสนับสนุนนายปูติน แต่อีกด้านหนึ่งมันได้ก่อความกังวลแก่ตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศที่อยู่ใกล้หรือมีชายแดนติดกับรัสเซีย

    เจ้าหน้าที่รัสเซียเตือนเมื่อวันจันทร์(15มิ.ย.) ว่ามอสโกจะแก้เผ็ด หากว่าสหรัฐฯดำเนินแผนสะสมอาวุธหนักในยุโรปตะวันออก ในนั้นรวมถึงหลายประเทศในแถบบอลติก ที่ครั้งหนึ่งเคยอยู่ในสหภาพโซเวียต

    ปูติน กล่าวว่ามอสโก จะไม่ยอมถูกลากเข้าสู่การแข่งขันอาวุธใหม่ แม้รัสเซียกำลังปรับปรุงกองทัพให้มีความทันสมัยมากขึ้น โดยผู้นำรายนี้บอกว่าร้อยละ 70 ของยุทโธปกรณ์ทางทหารที่จะใช้ในปี 2020 เกือบทั้งหมดจะเป็นอาวุธที่ทันสมัยและมีคุณภาพเป็นเลิศ

    อย่างไรก็ตามการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยทางทหารกำลังเป็นภาระอย่างหนักต่องบประมาณแผ่นดินในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจของรัสเซียกำลังดำดิ่งสู่ภาวะถดถอย จากราคาน้ำมันที่ตกต่ำและมาตรการคว่ำบาตรของตะวันตก

    เครมลินอ้างว่าการใช้จ่ายในภาคอาวุธคือส่วนหนึ่งในแผนขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจ แต่เหล่านักวิจารณ์บอกว่ามันมากเกินกว่าที่จะยอมรับได้และเกินกว่าความต้องการของสังคม

     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ปักกิ่งหวังคลายกระแสทะเลจีนใต้ แย้มโครงการเกาะเทียมใกล้ลุล่วง
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 16 มิถุนายน 2558 22:09 น.

    [​IMG]
    @ภาพถ่ายเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ แสดงให้เห็นถึงความคืบหน้าในงานก่อสร้างเกาะเทียมของจีน บริเวณแนวปะการัง เฟียรี ครอส รีฟ หมู่เกาะสแปรตลีย์ ที่ตอนนี้ในวันที่ 16 มิถุนายน ปักกิ่งออกมาประกาศว่า โครงการถมทะเลในทะเลจีนใต้จะเสร็จลุล่วงในไม่กี่วันข้างหน้า

    เอเจนซีส์ - จีนพยายามบรรเทาความกังวลเพื่อนบ้านและลดการคาดเดาสุ่ม โดยออกมาประกาศในวันอังคาร (16 มิ.ย.) ว่า โครงการถมทะเลในทะเลจีนใต้จะเสร็จลุล่วงในไม่กี่วันข้างหน้า กระนั้นก็ยังสำทับว่า หลังจากนั้นจะจัดสร้างโครงสร้างพื้นฐานบนเกาะจำลองที่เสร็จแล้วเหล่านี้ต่อไปอีก

    กระทรวงการต่างประเทศจีนแถลงวันอังคารว่า โครงการถมทะเลบนเกาะและแนวปะการังต่างๆ ในหมู่เกาะสแปรตลีย์ ซึ่งจีนเรียกชื่อว่าหมู่เกาะหนานซา นั้น จะเสร็จสิ้นภายในไม่กี่วันนี้

    นอกเหนือจากเป้าหมายทางการทหารแล้ว จีนยืนยันว่า โครงการเหล่านี้มีวัตถุประสงค์หลักด้านพลเรือน อาทิ การค้นคว้าวิจัยและการกู้ภัยทางทะเล และไม่ได้พุ่งเป้าหมายไปที่ฝ่ายที่สามใดๆ หรือมุ่งขัดขวางเสรีภาพในการเดินเรือของประเทศต่างๆ แต่อย่างใด รวมทั้งย้ำว่า โครงการเหล่านั้นอยู่ภายใต้ขอบเขตอธิปไตยของจีน

    ลู่ คัง โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนไม่ได้ระบุระยะเวลาที่ชัดเจน เพียงแต่ยืนยันว่า โครงการเหล่านั้น “ถูกกฎหมาย เหมาะสม และชอบธรรม”

    อย่างไรก็ดี คำแถลงนี้มีแนวโน้มจะถูกท้าทายตรวจสอบจากกองทัพสหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังเหตุการณ์เมื่อเดือนที่แล้วซึ่งเครื่องบินของกองทัพเรืออเมริกันบินเข้าใกล้ๆ หมู่เกาะแห่งหนึ่งที่กำลังมีการถมทะเล แล้วถูกกองทัพจีนติดต่อทางวิทยุเรียกร้องครั้งแล้วครั้งเล่าให้ออกจากบริเวณดังกล่าว

    หมู่เกาะสแปรตลีย์ที่เป็นกรณีพิพาทแย่งชิงของหลายประเทศ ตั้งอยู่ในทะเลจีนใต้ที่ถือเป็นเส้นทางขนส่งสินค้าที่คึกคักที่สุดของโลก อีกทั้งอุดมด้วยสัตว์น้ำ ทรัพยากรพลังงานและแร่ธาตุใต้ทะเล ทั้งนี้จีนอ้างสิทธิ์เหนือพื้นที่ทะเลจีนใต้เกือบทั้งหมด และเกิดเป็นกรณีพิพาทแย่งชิงกับเวียดนาม มาเลเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ ตลอดจนไต้หวัน

    ถึงแม้สหรัฐฯอ้างว่าไม่ได้เลือกอยู่ข้างใดในกรณีพิพาทเหล่านี้ แต่ก็ยืนกรานเรื่องสิทธิในการเดินเรือโดยเสรี และขณะที่วอชิงตันออกมาเรียกร้องทุกฝ่ายเจรจาเพื่อยุติปัญหา ทว่าก็มีความพยายามที่จะใช้กรณีนี้มาหว่านล้อมพวกเพื่อนบ้านของแดนมังกร ให้เข้าร่วมในแผนยุทธศาสตร์หวนกลับมา “ปักหมุด” ในเอเชียของตน ซึ่งมีเป้าหมายมุ่งสกัดกั้นอิทธิพลของจีน

    ทั้งนี้โครงการถมทะเลของจีนกระตุ้นให้เกิดความกังวลว่า ปักกิ่งจะใช้เกาะเทียมเหล่านั้นเป็นฐานทัพเพื่ออ้างสิทธิ์ควบคุมการเดินเรือในทะเลจีนใต้

    จากข้อมูลของอเมริกา โครงการของจีนครอบคลุมอาณาบริเวณมากกว่า 2,000 เอเคอร์ โดยมีการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างที่สามารถใช้งานทางทหารหลายโครงการ เช่น การสร้างสนามบิน 2 แห่งที่สามารถรองรับเครื่องบินทหารและอาจเปิดใช้ได้ปลายปีนี้

    หรวน จงเจ๋อ จากสถาบันการระหว่างประเทศศึกษา ซึ่งเป็นหน่วยงานคลังสมองของกระทรวงการต่างประเทศจีน ระบุว่า คำประกาศล่าสุดเป็นการส่งสัญญาณความโปร่งใสว่า ปักกิ่งกำลังเดินหน้าแผนการตามที่กำหนดไว้ล่วงหน้า

    นอกจากนั้น ยังเป็นความพยายามในการยืนยันกับเพื่อนบ้านว่า โครงการถมทะเลไม่ใช่โครงการปลายเปิด ด้วยความหวังที่จะจำกัดความเสียหายในความสัมพันธ์ซึ่งจีนมีอยู่กับพวกเพื่อนบ้าน

    ก่อนหน้านี้ ปักกิ่งยังพยายามป้องกันไม่ให้ประเด็นนี้เป็นข่าวครึกโครมระหว่างที่ฟ่าน ฉางหลง รัฐมนตรีกลาโหมเดินทางเยือนวอชิงตันในเดือนนี้ ทว่า ในช่วงเวลาดังกล่าว แอช คาร์เตอร์ รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ กลับออกมาเรียกร้องให้จีนและประเทศอื่นๆ ระงับโครงการถมทะเลที่คั่งค้างอยู่ไปตลอดกาล และยุติการแปรบริเวณนี้ให้กลายเป็นพื้นที่ทางทหารมากขึ้นไปอีก

    ในอีกด้านหนึ่ง เวียดนามที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนกับจีนในหมู่เกาะสแปรตลีย์และหมู่เกาะอื่นๆ ในทะเลจีนใต้ เตรียมส่งรัฐมนตรีกลาโหมไปปักกิ่งในสัปดาห์นี้

    ปักกิ่งยังไม่ต้องการให้ข้อพิพาทในทะเลจีนใต้กลายเป็นประเด็นครอบงำ ในระหว่างที่ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เดินทางเยือนวอชิงตันอย่างเป็นทางการในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้

    เจ้า เค่อจิน ผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของมหาวิทยาลัยชิงหวา ในกรุงปักกิ่งชี้ว่า คำแถลงเมื่อวันอังคารเป็นรูปแบบการจัดการวิกฤตที่มุ่งลดการคาดเดาสุ่มและบรรเทาสถานการณ์ตึงเครียด

     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    In Pics : สหรัฐเล็งส่ง “บินรบสเตลธ์ F-22 แรปเตอร์” ประจำยุโรป – นายพลหมีขาวประกาศชัด “พร้อมติดตั้งจรวดมิสไซล์-รถถัง ตลอดแนวรบตะวันตกทันที” ปธน.ฟินแลนด์โผล่จับมือปูตินกระชับมิตร โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 16 มิถุนายน 2558 19:06 น. (แก้ไขล่าสุด 16 มิถุนายน 2558 22:29 น.)

    [​IMG]

    @กองทัพอากาศสหรัฐฯเปิดเผยล่าสุดเมื่อวานนี้(15)ว่า มีแนวโน้มความเป็นไปได้ที่สหรัฐฯอาจตัดสินใจส่ง เครื่องบินรบสเตลธ์ F-22 แรปเตอร์ไปยังยุโรป หลังพบว่าจากสถานการณ์ในปัจจุบัน “รัสเซีย” นั้นป็นภัยครั้งใหญ่

    เอเจนซีส์ - กองทัพอากาศสหรัฐฯเปิดเผยล่าสุดเมื่อวานนี้(15)ว่า มีแนวโน้มความเป็นไปได้ที่สหรัฐฯอาจตัดสินใจส่ง เครื่องบินรบสเตลธ์ F-22 แรปเตอร์ไปยังยุโรป หลังพบว่าจากสถานการณ์ในปัจจุบัน “รัสเซีย” นั้นป็นภัยครั้งใหญ่ ในขณะที่ด้านรัสเซียประกาศในวันเดียวกัน หากเห็นกองทัพอาวุธหนักสหรัฐฯเคลื่อนไหวในเขตทะเลบอลติก ทางเหนือของยุโรป หรือยุโรปตะวันออก จะไม่รอช้าสั่งภายในไม่กี่ชั่วโมงเพิ่มพลพร้อมอาวุธหนัก ไม่ว่าจะเป็น กำลังทหาร รถถัง จรวดมิสไซล์ เครื่องบินรบ เสริมประจำตลอดแนวพรมแดนด้านตะวันตกที่มีพรมแดนยาวติดต่อตั้งแต่ฟินแลนด์ไปจนถึงจอร์เจีย ด้านประธานาธิบดีฟินแลนด์ ซาอูลี นีนีสเตอะ (Sauli Niinistö) ตอบรับคำเชิญของประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิมีร์ ปูติน เข้าพบหารือที่กรุงมอสโกในวันอังคาร(16) หลังมีข่าวก่อนหน้าว่า ฟินแลดน์เตรียมรับสงครามโลกครั้งที่ 3 ส่งสัญญาณเตรียมทหารกองหนุนรับศึกใหญ่

    RT สื่อรัสเซีย และMillitary.com สื่ออนไลน์ทางความมั่นคงรายงานว่า ในขณะนี้ทางกองทัพอากาศสหรัฐฯกำลังพิจารณาถึงโอกาสที่จะเพิ่มจำนวนตัวเลขเครื่องบินรบสัญชาติสหรัฐฯที่ผลัดเปลี่ยนบินตรวจการณ์ในน่านฟ้ายุโรปให้มีจำนวนมากขึ้น เดโบราห์ ลี เจมส์เลขาธิการกองทัพอากาศสหรัฐฯ ให้ความเห็นในการแสดงปารีสแอร์โชว์

    “นี่เป็นแค่เพิ่งเริ่มต้น เพราะจะมีมากกว่านี้แน่นอน ซึ่งจะได้เห็นจำนวนที่เพิ่มมากขึ้นของกองกำลังทัพฟ้าสหรัฐฯที่ผัดเปลี่ยนในยุโรป” เจมส์กล่าวจากการรายงานของรอยเตอร์ และเธอยังให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า ซึ่งศัตรูคุกคามที่ใหญ่ที่สุดในความคิดของดิฉันคือสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับรัสเซียในเวลานี้ รวมไปถึงความเคลื่อนไหวทางด้านการทหารของรัสเซีย และนั่นเป็นส่วนสำคัญทำให้ดิฉันต้องบินมายุโรปเพื่อปรึกษาหารือ”

    และเจมส์ยังกล่าวต่อไปว่า ในการรายงานของ Millitary.com “ถือเป็นสิ่งที่น่าวิตกมากที่สุดต่อสถานการณ์ในยูเครน เพราะเราได้เห็นยุทโธปกรณ์ทางการทหารอย่างหลากหลาย ที่มีการเรียกว่า “hybrid warfare” ที่ถือเป็นเรื่องใหม่ ที่ดิฉันจัดให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก”

    และเมื่อลงในรายละเอียด RT รายงานว่า เจมส์กลับกล่าวเพียงว่า เธอไม่เห็นเหตุผลที่จะไม่สั่งการให้เครื่องบินรบล่องหนสเตลธ์ F-22 แรปเตอร์ มาประจำยังภาคพื้นยุโรป แต่ปฎิเสธที่จะขยายความมากไปกว่านี้

    ทั้งนี้สื่อทางการทหารระบุว่า เพื่อตอบโต้ความก้าวร้าวของรัสเซียในปัญหายูเครน กองทัพอากาศสหรัฐฯได้จัดส่งหน่วยเครื่องบินรบ A-10s และหน่วยเครื่องบินรบ F-15Cs ไปประจำยังยุโรปทันที โดยทั้งสองหน่วยนี้จะประจำในยุโรปเป็นระยะเวลา 6 เดือนในการบินตรวจการทั่วทวีปยุโรป

    และยังพบว่า มีทหารสหรัฐฯจำนวน 300 นายถูกส่งตัวไปในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาพร้อมกับฝูงเครื่องบินรบ A-10s จำนวน 12 ลำ จากหน่วย355th Fighter Wing ที่ประจำฐานทัพอากาศสหรัฐฯเดวิส-เมาธาน (f Davis-Monthan Air Force Base ) รัฐแอริโซนา และรวมไปถึงฝูงเครื่องบินรบF-15Cs จำนวน 12 ลำที่มาพร้อมกับทหารแนชันแนลการ์ดรัฐฟลอริดาที่เดินทางมายังยุโรปในอีก 1 เดือนหลังจากนั้น

    อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ทางกองทัพอากาศสหรัฐฯยังไม่มีแผนการจัดส่งกำลังทหารไปประจำยังภาคพื้นยุโรปให้มากกว่านี้เพื่อยันกับรัสเซีย โดยMillitary.com รายงานว่า ในปัจจุบันสหรัฐฯได้จัดส่งทหารประจำการในยุโรปราว 65,000 นาย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นทหารบกและทหารอากาศ

    ด้าน RT รายงานว่า เครื่องบินรบ F-22 แรปเตอร์จัดเป็นเครื่องบินรบล่องหนแบบที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงซึ่งถูกนำออกมาสู่สาธารณะครั้งแรกในปี 2005 และอีกทั้งความพิเศษของเครื่องบินรบรุ่นนี้ สื่อรัสเซียรายงานว่า ตามกฎหมายรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ไม่อนุญาตให้จำหน่าย F-22 แรปเตอร์ให้กับรัฐบาลต่างชาติ

    และดูเหมือนว่า F-22 แรปเตอร์จะได้รับทุนอุดหนุนจากรัฐบาลกลางสหรัฐฯในการเพิ่มชั่วโมงการบินภายในประเทศในสหรัฐฯ โดยแถลงการณ์ของเพนตากอนในวันจันทร์(15)กล่าวว่า “ค่ายทหารฟอร์ต เวิร์ต รัฐเทกซัส ได้รับทุนอุดหนุนจำนวน 68,612,500 ดอลลาร์ในการเพิ่มชั่วโมงการบินของ F-22 ในปี 2015”

    RT รายงานเพิ่มเติมว่า หลังจากเสร็จสิ้นการเยือนฝรั่งเศสแล้ว เจมส์ตั้งใจจะไปเยือนประเทศสมาชิกนาโตอื่นๆไม่ว่าจะเป็น อังกฤษ อิตาลี ไซปรัส โปแลนด์ และเยอรมัน เพื่อหวังหว่านล้อมให้ประเทศเหล่านั้นเพิ่มงบทางการทหารให้สูงขึ้น

    สื่อรัสเซียยังรายงานต่อว่า ในแถบทะเลบอลติก สหรัฐฯได้เพิ่มจำนวนกำลังเครื่องบินตวจการของกองทัพอากาศประจำที่นั่น ในขณะที่อังกฤษได้รับมอบเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบล่องหน B-2 และนับตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นไปสหรัฐฯตั้งเป้าที่จะส่งเครื่องบินรบ F-35 ไปประจำยังฐานทัพอากาศอังกฤษ RAF ในลาเกนฮีธ( Lakenheath ) เพื่อประกาศแสนยานุภาพในยุโรป

    อย่างไรก็ตาม รัสเซียมีปฎิกริยาทันทีกับการประกาศของสหรัฐฯในการจัดส่งอาวุธหนักไปประจำยังภาคพื้นยุโรป โดยวอชิงตันโพสต์ สื่อสหรัฐฯรายงานเมื่อวานนี้(15)ว่า รัสเซียจะส่งกำลังเสริมตลอดแนวพรมแดนตะวันตกของประเทศทันที ไม่ว่าจะเป็นกองทหาร รถถัง จรวดมิสไซล์ เครื่องบินรบ หากพบว่า มีการเคลื่อนไหวอาวุธหนักของกองทัพสหรัฐฯในยุโรปตะวันออกหรือแถบทะเลบอลติก

    หลังจากที่นอกจากที่กองทัพอากาศสหรัฐฯคาดการณ์จะจัดส่งฝูงเครื่าองบินรบสเตลธ์ F-22 แรปเตอร์ ไปประจำยังยุโรปแล้ว ในวันเสาร์(13)ที่ผ่านมา ทางเพนตากอนยังประกาศแนวคิดที่จะส่งอาวุธหนัก ไม่ว่าจะเป็นรถถัง หรือยุทโธปกรณ์อื่นไปประจำยังแถบทะเลบอลติก ยุโรปเหนือ

    ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริง พลเอกยูริ ยาคูบ็อฟ ( Yury Yakubov ) แห่งกองทัพรัสเซียให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวรัสเซีย อินเตอร์แฟกซ์ โดยยูคาบ็อฟประกาศว่า ทันทีที่ทางรัสเซียเห็นความเคลื่อนไหวกองกำลังอาวุธหนักสหรัฐฯในแถบบอลติกทางเหนือของยุโรปหรือยุโรปตะวันออก รัสเซียจะสั่งเสริมกำลังพลพร้อมกำลังอาวุธหนักยาวตลอดแนวพรมแดนตะวันตกของรัสเซียซึ่งมีพรมแดนแนวยาวตั้งแต่ฟินแลนด์ด้านบนสุดไปจนถึงจอร์เจียใต้สุดในทันที

    โดยกลาโหมสหรัฐฯระบุว่า หากข้อเสนอนี้ผ่านจะทำให้สหรัฐฯสามารถจัดส่งอาวุธและยานกำลังพลหุ้มเกราะเพิ่มเติมไปประจำยังลิธัวเนีย ลัตเวีย เอสโตเนีย โปแลนด์ โรมาเนีย บัลกาเรีย และฮังการี แต่ทว่าแผนการส่งอาวุธไปประจำยังยุโรปตะวันออกนั้นยังต้องได้รับการอนุมัตจากรัฐมนตรีกลาโฆมสหรัฐฯ แอชตัน บี คาร์เตอร์ ก่อน

    และหากเป็นเช่นนั้นจริง ยูคาบ็อบรุบุว่า รัสเซียไม่มีสิ่งอื่นที่จะกระทำได้นอกจากการเพิ่มกำลังพลและอาวุธหนักตลอดแนวรบด้านตะวันตก

    นอกจากนี้พลเอกรัสเซียผู้นี้ยังยืนยันด้วยว่า และเพื่อเป็นการตอบโต้การล้ำเส้นของสหรัฐฯ ทางรัสเซียจะเพิ่มสมรรถนะให้กับหน่วยขีปนาวุธในคาลินอินกราด (Kaliningrad) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียแต่ตั้งอยู่ในแถบคาบสมุทรบอลติกของยุโรปด้วย “ระบบมิสไซล์แบบยุทธวิธี อิสคานเดอร์” และรวมไปถึงการปรับเปลี่ยนผลประโยชน์ทางการทหารในเบลารุส

    และเพื่อเป็นการตอบโต้การให้สัมภาษณ์ของเลขาธิการกองทัพอากาศสหรัฐฯ กระทรวงต่างประเทศรัสเซียได้ออกแถลงการณ์ไปยังชาติพันธมิตรและสหรัฐฯในวันจันทร์(15)ว่า “ทางมอสโกหวังว่าสถานการณ์ในยุโรปจะไม่กลับเข้าไปสู่สถานการณ์เผชิญหน้าทางการทหาร ที่จะนำมาสู่ผลร้ายอย่างคาดไม่ถึง”

    ด้านเรดิโอ ฟรี ยุโรป รายงานวันนี้(16)ประธานาธิบดีฟินแลนด์ ซาอูลี นีนีสเตอะ (Sauli Niinistö) ตอบรับคำเชิญของประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิมีร์ ปูติน เข้าพบหารือที่กรุงมอสโกในวันอังคาร(16) หลังมีเสียงวิจารณ์อย่างหนักจากนักวิจารณ์ที่ไม่เห็นด้วย รวมไปถึงจากรัฐบาลเอสโตเนีย ซึ่งตั้งอยู่ตรงกันข้ามกับฟินแลนด์โดยมีทะเลบอลติกคั่นอยู่ตรงกลาง

    ทั้งนี้จากการรายงานของสื่อฟินแลนด์ Ilta-Sanomat นีนีสเตอะกล่าวว่า “ ใครบ้างที่วิจารณ์ผม..นอกเหนือไปจากรัฐมนตรีเอสโตเนีย และรวมไปถึงอีกราว 2 คนที่เรียกตัวเองว่า เป็นผู้เชี่ยวชาญ”

    และเพราะการเผชิญหน้าระหว่างนาโตและรัสเซียมีเพิ่มมากขึ้น แต่กระนั้นประธานาธิบดีฟินแลนด์ที่ดำรงตำแหน่งประมุขของรัฐปัดว่า ฟินแลนด์กำลังต้องเผชิญหน้ากับภัยคุกคามครั้งใหญ่จากการที่ฟินแลนด์มีพรมแดนด้านตะวันออกของประเทศยาวหลายร้อยกิโลเมตรติดรัสเซีย

    ในการเข้าหารือครั้งนี้ตามคำเชิญของประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิมีร์ ปูติน คาดว่าหัวข้อการหารือจะรวมไปถึง ความกังวลของฟินแลนด์ในความเคลื่อนไหวทางการทหารของรัสเซียในยูเครน รวมไปถึงข้อถกเถียงด้านการค้า และวัฒนธรรม

    โดยเรดิโอ ฟรี ยุโรป รายงานเพิ่มเติมว่า นับตั้งแต่รัสเซียถูกชาติตะวันตกและสหรัฐฯคว่ำบาตร ฟินแลนด์ที่มีเศรษฐกิจผูกพันกับรัสเซียได้รับผลกระทบหนักที่สุด โดยในปีที่ผ่านมามูลค้าการค้าระหว่างทั้งสองประเทศตกลงไปถึง 47.5 %

    นอกจากนี้ สื่อยุโรปยังรายงานเพิ่มเติมว่า ในทัศนะของรัสเซีย ดูเหมือนว่า ฟินแลนด์จะใกล้ชิดกับทางฝั่งนาโตและสหภาพยุโรปมากเกินไป ถึงแม้ว่าก่อนหน้านี้ นีนีสเตอะจะเคยให้สัมภาษณ์กับวอชิงตันโพสต์ในเดือนพฤศจิกายน 2014 โดยเรียกความสัมพันธ์ระหว่างฟินแลนด์และนาโตว่า ฟินแลนด์เป็นเสมือน “advanced partner” ของนาโต อย่างไรก็ตามเขาให้ความเห็นถึงการที่ฟินแลนด์จะเข้าร่วมเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกนาโตว่า “ เป็นสิ่งที่แน่ชัดว่าการเข้าร่วมนาโตของฟินแลนด์จะดูเป็นผลร้ายมากกับความสัมพันธ์ระดับทวิภาคีระหว่างฟินแลนด์และรัสเซีย”

    โดยเครมลินแถลงเมื่อวานนี้(15)ว่า “จากความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ฟินแลนด์เป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุด หลังรัสเซียถูกมาตรการของสหภาพยุโรป ซึ่งรัฐบาลฟินแลนด์ไม่ได้สนับสนุนนโยบายนี้”

    อย่างไรก็ตามรัสเซียระบุว่า ฟินแลนด์ต้องยอมเข้าร่วมการคว่ำบาตรสืบเนื่องจากนโยบายหนึ่งเดียวของสหภาพยุโรป

    และก่อนหน้านี้สื่อ Inquisitr รายงานว่า เหมือนว่าในสถานการณ์การเผชิญหน้าระหว่างรัสเซียและชาติตะวันตกจะดำเนินไป กองทัพฟินแลนด์เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ทางทหารที่อาจลุกลามเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 3 โดยการส่งสัญญาณอาจเรียกทหารกองหนุนฟินแลนด์เพื่อเตรียมพร้อม

    โดย Inquisitr ระบุว่า มิกา คาลลิโอมา (Mika Kalliomaa) โฆษกประจำกองทัพฟินแลนด์กล่าวว่า ทางกองทัพวางแผนการเมื่อ 2ปีก่อนหน้านั้นเกี่ยวกับการเรียกตัวประจำการของทหารกองหนุน แต่อย่างไร คาลลิโอมายืนยันว่า แผนการครั้งนี้ไม่เกี่ยวข้องกับวิกฤตยูเครนหรือการคุกคามจากปูติน

    แต่ทว่า Salonius-Pasternak ได้เปิดเผยกับเทเลกราฟ สื่ออังกฤษว่า ทางกองทัพฟินแลนด์ต้องการแน่ใจว่า หากมีเหตุฉุกเฉินจะสวามารถเรียกทหารกองหนุนจำนวน 230,000 นายได้ทันที โดยในปัจจุบันนี้กองทัพฟินแลนด์มีทหารประจำการอยู่เพียง 16,000 นายเท่านั้น แต่หากมีการเรียกทหารกองหนุน จะสามารถเสริมกำลังพลขยายเป็น 285,000 นายได้อย่างทันท่วงที


    In Pics :
     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    กองกำลังเคิร์ดยึด “เมืองทาลอับยาด” ของซีเรียคืนจากไอเอสได้แล้ว
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 16 มิถุนายน 2558 19:14 น.

    [​IMG]

    @นักรบชาวเคิร์ดนำธงของพวกเขาขึ้นเสาที่ประตูข้ามแดนระหว่างตรุกีและซีเรียใกล้เมืองทาลอับยาด

    เอเอฟพี – กองกำลังชาวเคิร์ดซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองกำลังกบฏซีเรียได้เข้ายึดเมืองชายแดนแห่งสำคัญคืนจากกลุ่มรัฐอิสลาม (ไอเอส) โดยสมบูรณ์ เมื่อช่วงเช้าวันนี้ (16) กลุ่มสังเกตการณ์ ระบุ

    “นับตั้งแต่ช่วงเช้าเป็นต้นมา ไม่มีกระสุนสักลูกถูกยิงออกในเมืองทาลอับยาด” รามี อับเดล เราะห์มาน ผู้อำนวยการของกลุ่มสังเกตการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในซีเรีย (Syrian Observatory for Human Rights) กล่าว

    “ณ ตอนนี้นักรบชาวเคิร์ดได้ควบคุมเมืองทาลอับยาดโดยสมบูรณ์แล้ว” หลังจากที่ก่อนหน้านี้เคยถูกพวกไอเอสใช้เป็นประตูจากตุรกีผ่านเมืองรอกเกาะห์เมืองหลวงโดยพฤตินัยของพวกเขาไปสู่ตอนใต้ เขากล่าว

    กองกำลังติดอาวุธของหน่วยพิทักษ์ประชาชนชาวเคิร์ด (Kurdish People's Protection Units หรือวายพีจี) และกลุ่มพันธมิตรกบฏซีเรียของพวกเขากำลังช่วยกันตระเวนเคลียร์กับระเบิดและรถติดทุ่นระเบิดที่พวกไอเอสทิ้งไว้ในเมืองนี้

    “มีกับระเบิดและคาร์บอมอยู่ทั่วทุกที่ และมีศพพวกนักรบไอเอสนอนอยู่ตามถนน” เชอร์ฟาน ดาร์วิช โฆษกของกลุ่มกบฏบูร์คันอัล-ฟูรัตที่ร่วมต่อสู้กับกลุ่มวายพีจี กล่าว

    เขากล่าวว่า กลุ่มพันธมิตรต่อต้านไอเอสกำลังเคลียร์เมืองนี้ก่อนที่จะพลเมืองจะเดินทางกลับเข้ามา

    การเสียเมืองนี้ถือเป็นความเสียหายครั้งใหญ่ของกลุ่มไอเอส ซึ่งใช้จุดผ่านแดนประชิดติดกับตุรกีแห่งนี้เพื่อขนนักรบและเครื่องกระสุนเข้ามา และใช้ลักลอบส่งออกน้ำมันเถื่อน นักวิเคราะห์เผย

    อับเดล เราะห์มาน กล่าวว่า ในตอนนี้กลุ่มไอเอสจะต้องอาศัยจุดผ่านแดนทางตะวันตกในจังหวัดอเลปโปที่อยู่ไกลออกไปกว่าเดิมมาก ทำให้เส้นทางเสบียงของพวกเขายืดยาวขึ้นอีกหลายร้อยกิโลเมตร

    ที่นั่นกลุ่มไอเอสยึดครองจุดผ่านแดนจาราบลุสฝั่งซีเรีย ซึ่งถูกปิดกั้นโดยตุรกี แต่เส้นทางข้ามพรมแดนเถื่อนอื่นๆ ยังคงเปิดอยู่


     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เยอรมนีพบผู้ติดเชื้อ MERS เสียชีวิตด้วยภาวะแทรกซ้อน
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 16 มิถุนายน 2558 18:42 น. (แก้ไขล่าสุด 16 มิถุนายน 2558 18:50 น.)

    [​IMG]

    เอเอฟพี - กระทรวงสาธารณสุขของเมืองเบียร์ ระบุในวันอังคาร (16 มิ.ย.) ว่าพบชาวเยอรมันวัย 65 ปีเสียชีวิตเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ด้วยภาวะแทรกซ้อนหลังจากติดเชื้อไวรัสเมอร์สระหว่างไปท่องเที่ยวแถบคาบสมุทรอาหรับเมื่อเดือนกุมภาพันธ์

    กระทรวงสาธารณสุขของรัฐโลเวอร์ แซกโซนี ระบุว่า ชายชาวเยอรมันรายนี้เสียชีวิตที่เมืองออสเตอร์คาเพลน ทางตะวันตกของประเทศ เมื่อวันที่ 6 มิถุนายนที่ผ่านมาด้วยโรคปอด

    เจ้าหน้าที่เชื่อว่า ชายคนนี้ได้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์กลุ่มอาการโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือไวรัสเมอร์ส ระหว่างการไปเยือนตลาดปศุสัตว์ โดยมีอูฐเป็นพาหะนำโรค

    คำแถลงของกระทรวงฯ ระบุว่า แพทย์ได้วินิจฉัยไว้เมื่อช่วงกลางเดือนพฤษภาคมว่าคนไข้รายนี้ได้หายจากอาการติดเชื้อไวรัสเมอร์สแล้ว ซึ่งต่อมาเขาก็ได้รับการปล่อยออกจากวอร์ดกักกันโรค

    คำแถลงบอกด้วยว่า มีการป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสเมอร์สไปสู่ผู้คนที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยรายนี้แล้ว

    คอร์เนเลีย รันท์ รัฐมนตรีสาธารณสุขในพื้นที่ดังกล่าว ได้บอกว่า ประสบความสำเร็จในการดำเนินงานระวังภัยอย่างทันท่วงทีหลังจากที่วินิจฉัยอาการป่วยของคนไข้

    “มีมากกว่า 200 คนที่เข้ารับการทดสอบหาการติดเชื้อไวรัสเมอร์สในเวลาต่อมา แล้วก็ไม่พบใครเลยสักคนที่มีการติดเชื้อจากคนไข้รายนี้” เธอบอกนักข่าว

    รันท์ได้ชี้ว่า การระบาดของไวรัสเมอร์สในเกาหลีใต้ที่มีผู้ติดเชื้อ 154 ราย กับผู้เสียชีวิต 19 รายนั้นเป็นเหมือนเครื่องเตือนใจ

    “ตัวอย่างที่น่าเศร้าในเกาหลีใต้แสดงให้เราเห็นว่าการประสานงานเพื่อบริหารจัดการกับผู้ติดเชื้อไวรัสเมอร์สนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง” รันท์กล่าว

    ทั้งนี้ เกือบครึ่งของผู้ที่ได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อในเกาหลีใต้นั้น สามารถตามรอยได้จนถึงโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง นั่นคือโรงพยาบาลซัมซุงเมดิคัลเซ็นเตอร์ในกรุงโซล

    จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ตอนนี้ยังไม่มีวัคซีนสำหรับไวรัสเมอร์ส เชื้อร้ายที่มีอัตราการคร่าชีวิตผู้คนอยู่ที่ 35 เปอร์เซ็นต์

    ทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อไวรัสเมอร์สไปแล้ว 1,200 ราย เสียชีวิตไป 450 ราย นับตั้งแต่ไวรัสตัวนี้เผยโฉมออกมาในปี 2012

     

แชร์หน้านี้

Loading...