ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,263
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ทหารปฏิรูปประเทศไทย

    [​IMG]

    วันที่ 14 เม.ย.58 อเมริกา วิตก ปูตินอนุมัติจัดส่งอาวุธให้อิหร่าน หวั่นชาติตะวันตกพ่ายแพ้
    รัสเซีย ได้ตกลงขายระบบขีปนาวุธ S-300 ให้อิหร่านในปี 2550 ดังนั้น อเมริกา จึงสั่งการสหประชาชาติ (UN) ให้รีบคว่ำบาตรอิหร่าน อ้างว่าโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ อาจพัฒนาเป็นอาวุธได้ ส่งผลให้ในช่วงปี 2554 รัสเซียต้องหยุดขนส่งขีปนาวุธไว้ก่อน
    หลังจากอิหร่าน กับมหาอำนาจทั้ง 6 ได้แก่ สหรัฐ อังกฤษ ฝรั่งเศส จีน รัสเซีย และเยอรมนี สามารถบรรรลุข้อตกลงเบื้องต้นได้ ทำให้รัสเซีย ระบุว่า ไม่มีความจำเป็นในการคว่ำบาตรการขนส่งอีกต่อไป รัสเซีย จึงจะสามารถส่งมอบระบบขีปนาวุธ S-300 ให้กับอิหร่านได้ภายในปีนี้
    ประธานาธิบดี ปูติน แห่งแดนหมีขาว อนุมัติการจัดส่งระบบป้องกันขีปนาวุธทางอากาศ S-300 ให้กับอิหร่าน ระบบขีปนาวุธนี้ สามารถใช้ในการต่อต้านเป้าหมายหลายรูปแบบ ทั้งเครื่องบินรบ หรือแม้กระทั่งต่อต้านขีปนาวุธจากศัตรู แต่อิสราเอลซึ่งถือเป็นศัตรูของอิหร่าน แถว่า อิหร่านจะเอามาสู้กับตน ๆ ควรเป็นฝ่ายทำอิหร่านได้ข้างเดียว อิหร่านไม่ควรสู้
    อิหร่านตอบโต้ว่า S-300 ถือเป็นอาวุธป้องกันแบบพิเศษ ซึ่งไม่สามารถใช้เพื่อการโจมตีได้ ซึ่งจะไม่เป็นอันตรายต่อความมั่นคงของทุกประเทศรวมถึงอิสราเอล แต่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ รับลูกเจ้านายยิว รีบหารือทางโทรศัพท์กับ เซอร์เกย์ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย
    อเมริกา แถว่า การที่รัสเซียตัดสินใจขายอาวุธให้อิหร่านนั้นอเมริกามีความกังวล เพราะไม่ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น นักข่าวถามว่า การที่อเมริกา ขายอาวุธให้ซาอุฯ และ UN ห้ามทุกประเทศขายอาวุธให้เยเมน ทำไมทำได้ล่ะ..อเมริกา บอกว่า..เพื่อประชาธิปไตย จะได้ไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน และไม่ค้ามนุษย์
    อะไรของมันหว่า ?? รัสเซีย จะขายอาวุธให้อิหร่าน อเมริกา และ UN กรีดร้องเสียงโหยหวน นอนดิ้นลงกับพื้น แต่พอเมริกาขายอาวุธให้ซาอุฯ บอกทำถูกต้องแล้ว แต่พอเยเมนเกิดสู้ซาอุฯ ได้.. UN ก็รีบห้ามทุกประเทศขายอาวุธให้เยเมน
    เออ..นี่มันประชาธิปไตยมัดมือชกนี่หว่า ห้ามคิดต่างเด็ดขาด
    @ เสธ น้ำเงิน2 : กดปุ่ม “ติดตาม” ด้านบนเพจ เพื่อรับข่าวครั้งต่อไป
    http://www.facebook.com/thailandcoup
     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,263
    ค่าพลัง:
    +97,150
    อียิปต์ ย้ำ ไม่ขอเข้าร่วมทำสงครามภาคพื้นดินกับซาอุฯในเยเมน
    ตะวันออกกลางเกาะติดสถานการณ์เยเมนby เอบีนิวส์ทูเดย์ - เม.ย. 15, 2015

    [​IMG]

    irna – มุฮัมมัด สามีร์ โฆษกกองกำลังอียิปต์ ปฏิเสธการมีอยู่ของการกำลังอียิปต์ในเยเมน พร้อมประกาศชัดว่า ไคโรจะไม่ขอเข้าร่วมในการสงครามภาคพื้นดินในเยเมน (อังคาร ที่ 14 )

    มุฮัมมัด สามีร์ ได้ร้องขอจากสื่อทุกสำนักให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงเสียก่อน ที่จะนำเสนอข่าวโดยเฉพาะสถานการณ์ในเยเมน

    โฆษกกองกำลังอียิปต์ ออกมาปฏิเสธข่าวที่ทหารของอียิปต์จำนวนหนึ่งที่เข้าร่วมกับซาอุฯ โจมตีเยเมน เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ และกล่าวเสริมว่า เป็นเพียงแค่ข่าวลือเท่านั้น

    โฆษกกองกำลังอียิปต์ โพสต์ในเพสบุกบนสถานะของตนเองว่า การนำเสนอข่าวที่ผิด กรณีทหารอียิปต์เข้าร่วมกับซาอุฯในการเปิดศึกสงครามภาคพื้นดินกับเยเมนนั้น จะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของอียิปต์

    ขณะเดียวกัน โฆษกกองกำลังอียิปต์ ได้ยืนยันข่าวที่มีทหารอียิปต์เข้าร่วมกับพันธมิตรในปฏิบัติการโจมตีเยเมนทั้งทางอากาศและทางทะเล

    ซาอุฯ คาดการณ์ว่า จะได้รับความร่วมมืออย่างเต็มที่จากชาติพันธมิตร จึงเปิดศึกโจมตีเยเมน ทางอากาศ ทางทะเล โดยมุ่งเป้าโจมตีพลเรือน และโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเยเมน ซึ่งในวันนี้ ซาอุฯกำลังเผชิญหน้ากับความนิ่งเฉยของปากีสถานและตุรกี แม้แต่อียิปต์ ก็ได้นิ่งเฉยที่จะเข้าร่วมช่วยเหลือปฏิบัติการณ์ภาคพื้นดินกับซาอุฯแล้ว

    อียิปต์ ย้ำ ไม่ขอเข้าร่วมทำสงครามภาคพื้นดินกับซาอุฯในเยเมน | abnewstoday
     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,263
    ค่าพลัง:
    +97,150
    รัสเซียเตรียมส่งมอบขีปนาวุธ “ S-300” แก่อิหร่าน
    ตะวันออกกลางby เอบีนิวส์ทูเดย์ - เม.ย. 15, 2015

    [​IMG]

    Presstv – ปูติน ได้ลงนามอนุมัติให้ส่งมอบขีปนาวุธ “S-300” แก่อิหร่านแล้ว

    ประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูตินแห่งรัสเซีย ได้เผยในวันจันทร์ (13 เม.ย.) ว่า มอสโกเตรียมส่งมอบระบบขีปนาวุธป้องกันภัยทางอากาศแก่อิหร่าน โดยถือว่าการห้ามดังกล่าวได้ถูกยกเลิกแล้ว

    รัสเซียเคยลงนามในสัญญามูลค่า 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับขายระบบขีปนาวุธ S-300 แก่อิหร่านในปี 2007 แต่ต้องระงับการส่งมอบในอีก 3 ปีให้หลัง เนื่องจากถูกคัดค้านอย่างหนักหน่วงจากสหรัฐฯและอิสราเอล อย่างไรก็ตามปูตินเผยในวันจันทร์ (13 เม.ย.) ว่าการห้ามดังกล่าวได้ถูกยกเลิกแล้ว
หลังจากที่รัฐมนตรีกลาโหมของรัสเซียเยือนอิหร่าน ด้านกระทรวงกลาโหมอเมริกา ออกมาโต้ว่า การส่งมอบขีปนาวุธดังกล่าวให้กับอิหร่านเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้

    ย้อนกลับไปเมื่อปี 2010 รัสเซียเชื่อมโยงการตัดสินใจระงับส่งมอบขีปนาวุธกับมาตรการคว่ำบาตรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่กำหนดต่ออิหร่านต่อโปรแกรมนิวเคลียร์ของเตหะราน แต่ ลาฟรอฟ โต้แย้งในวันจันทร์ (13 เม.ย.) ว่าความเคลื่อนไหวของมอสโกคราวนั้นเป็นการดำเนินการโดยสมัครใจและไม่ได้ถูกบังคับโดยตรงจากมติของยูเอ็น

    “ระบบป้องกันภัยทางอากาศ S-300″ เป็นระบบป้องกันภัยทางอากาศที่มีความน่าเชื่อถือ มีประสิทธิภาพและทันสมัยที่สุดในโลก

    รัสเซียเตรียมส่งมอบขีปนาวุธ “ S-300” แก่อิหร่าน | abnewstoday
     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,263
    ค่าพลัง:
    +97,150
    มุมมองของนักวิชาการ-บุคคลสำคัญ องค์กร และฝ่ายต่างๆ ทั่วโลก ต่อสถานการณ์ในเยเมน
    ตะวันออกกลางเกาะติดสถานการณ์เยเมนby ยูซุฟ ญาวาดี - เม.ย. 14, 2015

    [​IMG]

    อิสมาอีล อัลวะซีร สมาชิก สภาการเมืองของกลุ่มอันศอรุลลอฮ

    อิสมาอีน อัลวะซีร มีทัศนะว่า ในการบุกโจมตีเยเมน เป็นการชี้ให้เห็นถึงการสูญเสียศักยภาพของสันนิบาตอาหรับ ทั้งนี้ เขาได้อธิบายเหตุผลว่า “เป็นเรื่องหน้าแปลกใจที่บรรดาผู้นำของสันนิบาตอาหรับมีความเห็นเป็นหนึ่งเดียวกันในการรุกรานต่อต้านประเทศอาหรับประเทศหนึ่ง ซึ่งอยู่ในสภาพที่ถูกกดขี่อย่างชัดเจน และสิทธิของพวกเขาได้ถูกเหยียบย่ำทำลาย แต่พวกเขากลับไร้ความสามารถที่จะตัดสินใจใดๆ เกี่ยวกับสิ่งที่ระบอบไซออนิสต์ได้กระทำกับประชาชนปาเลสไตน์และประเทศอาหรับ อื่นๆ”

    เช่นเดียวกัน อิสมาอีล ยังได้วิจารณ์ถึงความอยุติธรรมของกลุ่มประเทศอาหรับว่า “(อิสราเอล) ได้ละเมิดอำนาจอธิปไตยของกลุ่มประเทศอาหรับในปาเลสไตน์ เลบานอนและซีเรีย แต่บรรดาผู้นำของประเทศอาหรับกลับหลับหูหลับตาและเห็นชอบกับการละเมิด อธิปไตยดังกล่าวนี้ แต่เมื่อประชาชนชาวเยเมนได้กู่ร้องต่อต้านการกดขี่และเรียกร้องสิทธิเสรีภาพ ในการตัดสินใจ บรรดากษัตริย์และผู้นำอาหรับกลับมารวมตัวกันในการตกลงกันที่จะบีบังคับให้ ประชาชนของชาตินี้ยอมรับความต่ำต้อยไร้เกียรติ และทำลายเจตนารมณ์ในการเลือกและการตัดสินใจไปจากพวกเขา” [1]



    กษัตริย์โอมาน

    ในความเห็นของกษัตริย์โอมาน การบุกโจมตีเยเมน ถือเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง และการโจมตีในครั้งนี้ อาจจะเป็นสาเหตุที่นำไปสู่อันตรายต่อราชวงศ์ซาอุดิอาราเบียเอง ทั้งนี้ กษัตริย์โอมาน ได้ส่งจดหมายเตือนไปยังกษัตริย์ซัลมานให้ยุติการโจมตีในครั้งนี้ พร้อมทั้งยังชี้อีกว่า การโจมตีเยเมน เป็นกลลวงอย่างหนึ่ง ที่สหรัฐได้วางกับดักไว้เพื่อทำลายเสถียรภาพและความมั่นคงของรัฐบาลซาอุดิอาราเบีย [2]



    อะลี อัลออะห์มัด นักวิเคราะห์การเมือง,ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาอ่าวเปอร์เซีย

    อะลี อัลอะฮหมัด มีทัศนะต่อประเด็นนี้ว่า การบุกโจมตีเยเมน โดย ซาอุดิอาราเบีย จะนำความพ่ายแพ้มาสู่ซาอุดิอาราเบีย อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ อะลี อัลอะฮหมัด ได้วิเคราะห์ถึง เป้าหมายของซาอุดิอาราเบียว่า ซาอุดิอาระเบียต้องการที่จะครอบงำเยเมนตลอดไป และต้องการออกแบบให้เยเมนเป็นไปตามที่ตนต้องการ เมื่อประชาชนชาวเยเมนได้ตัดสินใจที่จะกำหนดชะตากรรมด้วยมือของพวกเขาเอง สำหรับรัฐบาลของประเทศซาอุดีอาระเบียแล้วไม่อาจยอมรับได้ ดังนั้นซาอุดิอาระเบียจึงดึงประเทศอาหรับอื่นๆ ในอ่าวเปอร์เซีย ปากีสถานและจอร์แดน เข้ามาร่วมกับตนเองในการโจมตีเยเมน บรรดาเจ้าหน้าที่ของซาอุดิอาระเบียคิดว่า พวกเขาจะสามารถเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจของประชาชนชาวเยเมน ที่ต้องการจะเป็นเอกราชและเลือกระบบการเมืองของตนได้ด้วยกับการโจมตีเหล่า นี้”

    เช่นเดียวกัน เขาได้อธิบายถึงสาเหตุที่วิเคราะห์ว่า ซาอุจะแพ้ในศึกครั้งนี้ว่า หากเปรียบเทียบสถานการณ์ตอนนี้กับการโจมตีในปี 2009 ในช่วงเวลานั้นกองทัพของซาอุดิอาระเบียได้ทำการต่อสู้กับกลุ่มเฮาซีย์ซึ่ง ยังมีขนาดเล็ก ทั้งๆ ที่กลุ่มนี้กำลังต่อสู้กับกองทัพของรัฐบาลเยเมนในขณะนั้นด้วย แต่ในที่สุดก็สามารถเอาชนะซาอุดิอาระเบียได้อย่างง่ายดาย แต่มาตอนนี้กองทัพของซาอุดิอาระเบียไม่ได้ต่อสู้กับกลุ่มเฮาซีย์ แต่ทว่าต่อสู้กับขบวนการเคลื่อนไหวอันซอรุลลอฮ์ ซึ่งเป็นขบวนการต่อสู้ที่ใหญ่กว่า พร้อมกับกองทัพบกและกองทัพอากาศของเยเมน”

    นักวิเคราะห์การเมืองผู้นี้ได้กล่าวเสริมว่า “ในช่วงเวลานั้นกลุ่มเฮาซีย์ เป็นขบวนการเคลื่อนไหวขนาดเล็ก ไม่เคยได้รับการฝึกอบรมทางทหาร และไม่มียุทโธปกรณ์ทางทหารอยู่ในครอบครอง แต่ก็สามารถสร้างความพ่ายแพ้ให้กับซาอุดิอาระเบียได้ แต่ตอนนี้กลุ่มนี้ได้กลายเป็นกองกำลังที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม ผ่านการฝึกอบรมทางทหารและมีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่พร้อมกว่าเดิม และสามารถที่จะยึดครองดินแดนของซาอุดิอาระเบียได้ ดังนั้นผมจึงไม่แปลกใจที่ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า ผมจะเห็นกองกำลังของเยเมนเข้าไปอยู่ในดินแดนของซาอุดิอาระเบีย เนื่องจากเยเมนนั้นอยู่ติดกับเมือง “ญีซาน” ซึ่งพื้นที่เป็นภูเขา และกองกำลังของเยเมนสามารถเข้าสู่เมืองนี้ได้อย่างง่ายดาย”

    อะฮหมัด ยังได้วิจารณ์ถึงเหตุผลที่ทางการซาอุ ได้หยิบยกนำมาใช้ เพื่อเป็นข้ออ้างในการเปิดสงครามว่า เหตุผลของทูตซาอุดี อาระเบียในกรุงวอชิงตันนั้นช่างเป็นเรื่องตลก เขากล่าวว่า เขาคาดหวังจากซาอุดิอาระเบียว่าจะทำหน้าที่พิทักษ์ปกป้องความถูกต้องชอบธรรม (อดีตประธานาธิบดี อับดุร็อบบิฮ์ มันซูร ฮาดีย์) รัฐธรรมนูญและการเลือกตั้งของเยเมนเอาไว้ให้ได้ ในขณะที่ประเทศซาอุดีอาระเบียเองไม่มีรัฐธรรมนูญ ไม่มีการเลือกตั้งและเป็นประเทศที่มีรัฐบาลที่ไร้ความชอบธรรม และนอกจากนี้ซาอุดีอาระเบียเองยังให้การสนับสนุนการล้มล้างประธานาธิบดีที่ มาจากการเลือกตั้งของอียิปต์ แต่ประเด็นนี้กลับไม่มีการพูดถึง”

    “ในความเป็นจริงแล้ว ซาอุดีอาระเบียไม่ได้เข้าสู่ประเทศเยเมนเพื่อการปกป้องประชาชนของประเทศนี้ การโจมตีเยเมนของซาอุดิอาระเบียไม่ใช่เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศนี้ หรือของประชาชนชาวเยเมนแต่อย่างใด แต่ในความเป็นจริงแล้วซาอุดิอาระเบียเพียงต้องการที่จะยับยั้งการหลุดพ้นของ เยเมนออกจากอำนาจครอบงำของตน ด้วยเหตุนี้ผมคิดว่าสงครามครั้งนี้จะยืดเยื้อยาวนาน” [3]



    ฮิสบุลลอฮ

    ในมุมมองของฮิสบุลลอฮ การบุกโจมตี เยเมน โดยซาอุ ถือเป็นการกระทำที่ไร้มนุษยธรรม ฮิสบุลลอฮ ถือว่า ข้ออ้างต่างๆที่ นาย อาเดล อัล-ญูเบร์ เอกอัครราชทูตซาอุดีอาระเบียประจำสหรัฐฯ แถลงที่กรุงวอชิงตันเมื่อช่วงปลายเดือนมี.ค. ล้วนแล้วแต่เป็นข้ออ้างที่เป็นเท็จ และยังได้ระบุว่า สาเหตุที่ซาอุดิอาราเบีย ทำการโจมตีประเทศเยเมน มีเป้าหมายเพื่อเข้าไปมีอำนาจ และเข้าไปยึดครองเยเมนใหม่อีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ ได้อธิบายเหตุผลว่า ที่ผ่านมา กลุ่มพันธมิตรซึ่งนำโดยซาอุดิอาระเบีย ไม่มีการแสดงท่าทีใดๆ ต่อการตื่นตัวโลกอิสลาม ในตะวันออกกลางและในแอฟริกาเหนือ และไม่ได้เข้าแทรกแซงและปฏิบัติการโจมตีกลุ่มนักปฏิวัติในตูนิเซีย และอียิปต์แต่อย่างใด แต่สถานการณ์ในเยเมนเป็นข้ออ้างที่จะเริ่มต้นทำสงครามนองเลือดในประเทศ

    นอกจากนี้ ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ ยังวิจารณ์ ถึง ปฏิบัติการ “พายุแกร่ง” ด้วยอีกว่า เป็นปฏิบัติการไม่เคยเกิดขึ้นกับประเทศที่คุกคามประชาชาติอิสลามอย่างแท้จริง อย่าง อิสราเอล แต่กลับมาใช้ปฏิบัติการนี้กับ เยเมน ชาติอาหรับทีมีความยากจนที่สุดในประเทศอาหรับ และยังรุมกันโจมตีประเทศนี้ เขากล่าวว่า ซาอุฯ ตั้งชื่อ การปฏิบัติการโจมตีเยเมนว่า “พายุแกร่ง” ในขณะเดียวกันมันเป็นความเจ็บปวดมาก สำหรับชาวปาเลสไตน์ที่อาศัยติดกับชายแดนอยู่ซาอุดีอาระเบียนานนับทศวรรษ แต่กลับไม่เคยเห็นแม้แต่สายลมแห่งความเด็ดเดี่ยวในการช่วยเหลือสนับสนุนชาวปาเลสไตน์และต่อสู้โจมตีอิสราเอล”

    ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ ได้กล่าวถึง วิธีการที่จะยุติการหลั่งเลือดนี้ว่า “การเจรจาเป็นหนทางเดียวที่จะยุติวิกฤติความตึงเครียดจากศึกแย่งชิงอำนาจในเยเมน”[4]



    ทามมาม์ ซาลาม นายกรัฐมนตรีเลบานอน

    ในมุมมองของ ทามมาม์ ซาลาม ภัยที่จะคุกคามภูมิภาค ไม่ใช่ การคงอยู่ของ พรรคอันศอรุลลอฮ แต่ภัยคุกคามที่จะเกิดขึ้น นั้น จะมีสาเหตุมาจากการแทรกแซงของต่างชาติในประเทศสเยเมน เขากล่าวว่า “การแทรกแซงจากต่างชาติในเยเมนเป็นอันตรายต่อความมั่นคงในภูมิภาคอาหรับ”[5]



    มุมมองของประชาชนชาวปาเลสไตน์

    ในมุมมองของประชาชนชาวปาเลสไตน์ การบุกโจมตีประเทศเยเมนโดยซาอุดิอาราเบีย ถือเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ ชาวปาเลสไตน์ได้รวมตัวกันประนามการกระทำของซาอุดิอาราเบีย หลังพิธีนมาซวันศุกร์ หน้ามัสยิดอัลอักศอ



    มุมมองของประชาชนชาวปากีสถาน

    ในมุมมองของประชาชนชาวปากีสถาน การบุกโจมตีเยเมนโดยซาอุดิอาราเบีย ถือเป็นการกระทำที่ผิด ทั้งนี้ ประชาชนชาวปากีถานได้รวมตัวกัน ตามจังหวัดต่างๆที่มีความสำคัญ อาทิ อิสลามาบัด การาจีย์ คุวัยตา … เพื่อประนามการกระทำในครั้งนี้



    มุมมองของ ประชาชนเยเมน ต่อการบุกโจมตี ของซาอุดิอาราเบีย

    กลุ่มที่ได้รับผลประทบมากที่สุด จากการบุกโจมตีในครั้งนี้ ไม่ใช่ใครอื่น นอกจากประชาชนชาวเยเมนเอง ในมุมมองของประชาชนชาวเยเมนนั้น การจู่โจมของซาอุดิอาราเบีย เป็นการละเมิดต่อชาวเยเมนโดยตรง ซื่งเมื่อไม่นานมานี้ ประชาชนชาวเยเมน จำนวนหลายแสนคน ได้รวมตัวกัน ที่ กรุงซันอา เมื่องหลวงของประเทศ เพื่อร่วมกันประนามการกระทำของซาอุดิอาราเบีย และเรียกร้องให้หยุดยั้งการโจมตีในครั้งนี้ [6]



    มุมมองภายในราชวงศ์อาลีซาอูด

    มัตอับ บิน อับดุลลอฮ์ โอรสของอดีตกษัตริย์ อับดุลลอฮ์ บิน อับดุลอาซิส ออกโรงเตือน โอรสของกษัตริย์ปัจจุบัน และรัฐมนตรีกลาโหม ให้หยุดการดำเนินการปฏิบัติการโจมตีเยเมนทางอากาศโดยเร็ว เช่นเดียวกัน มัตอับ เป็นหนึ่งในบุคคลที่คัดค้านการบุกโจมตีประเทศเยเมน [7]



    วะลีด บิน ฏอลาล นักเคลื่อนไหวชาวซาอุดิอาราเบีย

    วาลิด บิน ฏอลาล ได้กล่าวแก่ ราชวงศ์ซาอุฯ ว่า การเปิดไฟเขียวโดยอเมริกาให้กับซาอุฯ โจมตีเยเมนนั้น เป็นแผนการและกลลวงของอเมริกาที่วางไว้ให้กับซาอุฯ ซึ่งจากวิธีการนี้เองจะสามารถบั่นทอน สร้างความอ่อนแอและนำมาซึ่งการย่อยสลายซาอุฯ ในท้ายที่สุด ด้วยเหตุนี้ขอย้ำเตือนบรรดาเจ้าชายแห่งราชวงศ์ซาอุฯ ทั้งหลาย จงหยุดยั้ง มุฮัมมัด บิน ซัลมาน และมุฮัมมัด บินนาเยฟ ที่เป็นเด็กอ่อนหัดและเด็กเมื่อวานซืนที่บ้าอำนาจ เพราะพวกเขากำลังละเล่นกับความมั่นคง ความสงบ และอนาคตของซาอุฯ

    นักเคลื่อนไหวซาอุฯ ผู้นี้กล่าวเสริมว่า เจ้าชายและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ประจำการตามชายแดนเยเมน ได้อพยพสู่กรุงริยาดกันหมดแล้ว โดยที่เขตชายแดนไม่มีเจ้าหน้าที่รัฐหลงเหลืออยู่อีกแล้วจึงง่ายดายต่อฝ่ายตรงกันข้ามในการบุกและรุกคืบยังแผ่นดินซาอุฯ[8]



    เคียส ฟาโร นักวิเคราะห์ชาวไซออนิสต์

    เคียส ฟาโร อาจารย์ มหาวิทยาลัยไฮฟา และนักวิเคราะห์การเมือง ได้วิจารณ์ถึง การทำสงครามของซาอุดิอาราเบีย กับ เยเมนว่า กลุ่มเฮาซีย์เป็นส่วนหนึ่งจากบรรดาสำนักคิดที่มีอยู่ในประเทศเยเมน ซึ่งปรากฏตัวขึ้นอย่างโดดเด่นในเยเมนในช่วงทศวรรษที่ 90 ที่ผ่านมา และในปี 2004 ได้มีการต่อสู้กับรัฐบาลเยเมน นับจากปี 2004 จนถึงการปฏิวัติต่างๆ ของโลกอาหรับนั้น กลุ่มเฮาซีย์เองก็มีการทำสงครามต่างๆ กับรัฐบาลเยเมนถึง 6 ครั้ง และในทั้งหกสงครามดังกล่าว ซาอุดีอาระเบียได้มีการแทรกแซงโดยตรง และประสบการณ์ในหกสงครามทำให้กลุ่มเฮาซีย์ได้รับอำนาจในประเทศเยเมน” รัฐบาลซาอุฯ สามารถที่จะทำการโจมตีตำแหน่งต่างๆ ของกลุ่มเฮาซีย์ได้ด้วยกับการโจมตีทางอากาศ แต่จะไม่สามารถที่จะเข้าสู่จังหวัดเซาะอ์ดะฮ์ทางภาคพื้นดินได้ ในปี 2014 ซาอุดิอาระเบียได้เข้าสู่สงครามทางภาคพื้นดินกับกลุ่มเฮาซีย์ โดยผลของสงครามดังกล่าว กลุ่มเฮาซีย์สามารถยึดครองหมู่บ้านต่างๆ ของซาอุดิอาระเบียได้จำนวนหนึ่ง จนเป็นเหตุทำให้ซาอุดิอาระเบียต้องล่าถอย”

    เคียส ได้อธิบายว่า ทางเดียวที่ ซาอุ อาจจะมีชัยในครั้งนี้ได้ คือ การได้รับความช่วยเหลือจากอิยิปต์ แต่ถึงกระนั้น การส่งกองกำลังลงในพื้นที่ ก็ถือเป็นความเสี่ยงในอีกรูปแบบหนึ่ง

    เคียส ได้อธิบายถึงสาเหตุการบุกโจมตีเยเมนโดยซาอุดิอาราเบียว่า “ความวิตกกังวลของรัฐบาลซาอุดีอาระเบียต่อความสำเร็จต่างๆ ที่รัฐบาลอิรักและซีเรียได้รับ (ในการปราบปรามกลุ่มก่อการร้าย) นั้น ได้บีบบังคับให้ซาอุดีอาระเบียตัดสินใจโจมตีตำแหน่งต่างๆ ทางทหาร ของกลุ่มเฮาซีย์ในเยเมน แต่ทางที่ดีแล้ว เราควรจะแนะนำตักเตือนซาอุดีอาระเบียว่า พวกเขารีบเร่งในการดำเนินการมากเกินไป” [9]



    จีน

    จีนเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยต่อการรุกรานเยเมน ทั้งนี้ ฮัว ชูน อิง โฆษกกระทรวงต่างประเทศของจีน ได้แสดงความคิดเห็น ต่อสถานการณ์เยเมน ในการให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวต่างๆ โดยทางจีน เรียกร้องให้ แต่ละฝ่ายยุติความขัดแย้ง และความรุนแรงในทันที นอกจากนี้ รัฐบาลจีน ยังเสนอให้ แก้ไขปัญหาในครั้งนี้ด้วยการเจรจาอย่างสันติอีกเช่นกัน [10]



    รัสเซีย

    รัสเซียเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยต่อการรุกรานเยเมนของซาอุในครั้งนี้ ซึ่งรัสเซีย เป็นประเทศที่สนับสนุนกลุ่มเฮาซีย์ และยังได้ประนามการกระทำของซาอุดิอาราเบีย ในคร้งนี้ อย่างไรก็ตาม รอยเตอร์ภาคภาษาอาหรับได้รายงานว่า รัสเซียได้ขู่จะใช้กำลังทางทหาร หากซาอุดิอาราเบีย ยังไม่หยุดบุกโจมตีเยเมน [11]



    สหรัฐอเมริกา

    สหรัฐอเมริกา เป็นประเทศที่อยู่ข้างฝ่ายสนับสนุนให้ซาอุดิอาราเบีย บุกประเทศเยเมน ทาง BBC รายงานว่า Blinken Antony ที่ปรึกษากระทรวงต่างประเทศสหรัฐ ได้กล่าวถึง การเร่งส่งมอบอาวุธให้ทหารซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของซาอุ โดยมี กลุ่มเฮาซีย์ เป็นเป้าหมาย นอกจากนี้ นาย แอนโทนี่ ยังเปิดเผยว่า สหรัฐ จะมอบข้อมูลและข่าวสารให้ซาอุดิอาราเบียมากขึ้น และได้จัดตั้งหน่วยงานในการประสานงานร่วมกับซาอุดิอาราเบีย [12]

    อ้างอิง
    [1] สันนิบาตอาหรับคือเครื่องมือทำลายชาติทั้งหลาย
    [2]http://www.abnewstoday.com/%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87-%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B9%8C%E0%B8%99/
    [3] ความปราชัยของซาอุฯ ต่อกลุ่มเฮาซีย์เป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
    [4] “ฮิซบุลเลาะห์” ชี้ ซาอุฯ ถล่มเยเมนเพื่อ “ยึดครอง” อีกครั้ง ย้ำริยาดจะเป็นฝ่ายแพ้ | abnewstoday
    [5] นายกฯเลบานอนชี้ การแทรกแซงทางทหารในเยเมนเป็นภัยคุกคามความมั่นคงในภูมิภาค | abnewstoday
    [6] มุสลิมโลก ร่วมประณามซาอุฯ “ผู้รุกราน” บุกโจมตีเยเมน | abnewstoday
    [7] เจ้าชายและรัชทายาทราชวงศ์ซาอุฯ ขัดแย้งหนัก กรณีรุกราน “เยเมน” | abnewstoday
    [8] อ้างแล้ว
    [9] นักวิเคราะห์ชาวไซออนิสต์ : ซาอุดีอาระเบียจะปราชัยในเยเมน
    [10] ایرنا - چین خواستار برقراری آتش بس در یمن شد
    [11] » تهدید روسیه به مداخله نظامی در یمن در صورت عدم توقف حملات عربستان هفت صبح
    [12] تسریع کمک آمریکا به ائتلاف ضدحوثی در یمن - BBC Persian

    มุมมองของนักวิชาการ-บุคคลสำคัญ องค์กร และฝ่ายต่างๆ ทั่วโลก ต่อสถานการณ์ในเยเมน | abnewstoday
     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,263
    ค่าพลัง:
    +97,150
    'มท.2'พร้อมลงดาบเชือด! '100ขรก.'ถ้ามีเอี่ยวทุจริต

    [​IMG]

    "มท.2" ชี้ยังไม่เห็นรายชื่อ 100 ข้าราชการทุจริต แย้มหากถึงมือ พร้อมเอาผิดตามกฎหมาย ยัน "มท." มีแผนป้องกันโกงแน่นหนา ด้าน "ปนัดดา" เชื่อนายกฯ มีกรอบลงดาบแล้ว

    วันพุธ 15 เมษายน 2558 เวลา 23:21 น.
    เมื่อวันที่ 15 เม.ย. นายสุธี มากบุญ รมช.มหาดไทย กล่าวถึงกรณีที่มีการส่งรายชื่อข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตถึงมือนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีกระแสข่าวว่าเกี่ยวข้องกับข้าราชการกระทรวงมหาดไทยในการจัดซื้อปุ๋ย และยาปราบศัตรูพืชรวมอยู่ด้วย ว่า ขณะนี้ตนยังไม่เห็นบัญชีรายชื่อดังกล่าว แต่หากมีการส่งรายชื่อแจ้งมายังกระทรวงก็จะดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมาย แต่วันนี้ทางกระทรวงได้มีการป้องกันการทุจริตอย่างเต็มที่ โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ทำตัวเป็นแบบอย่างให้กับราชการ อีกทั้งยังมีหน่วยงานการตรวจสอบของกระทรวง ดูแลเรื่องความโปรงใสอยู่ด้วย และทางศูนย์ดำรงธรรม ที่คอยรับเรื่องร้องเรียนจากประชาชน ก็จะดูแลอีกทางหนึ่งด้วย ยืนยันว่าวันนี้ในเรื่องความโปร่งใส กระทรวงมหาดไทยถือว่าดีมาก

    ขณะที่ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และปลัดสำนักนายกฯ กล่าวในเรื่องเดียวกันว่า เชื่อว่านายกฯ คงมีการเตรียมมาตรการในเรื่องดังกล่าวไว้แล้ว และขณะนี้ตนยังไม่ทราบว่ารายชื่อข้าราชการทั้งหมดมีใครบ้าง.

    'มท.2'พร้อมลงดาบเชือด! '100ขรก.'ถ้ามีเอี่ยวทุจริต | อ่านความจริงอ่านเดลินิวส์
     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,263
    ค่าพลัง:
    +97,150
    น้ำมันพุ่งสูงสุดในรอบปีนี้ หุ้นสหรัฐฯ-ทองคำขยับขึ้น
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 16 เมษายน 2558 04:15 น.

    [​IMG]

    เอเอฟพี/รอยเตอร์ - น้ำมันพุ่งแรงต่อเนื่องในวันพุธ(15เม.ย.) แตะระดับสูงสุดรอบปี 2015 หลังพบกำลังผลิตสหรัฐฯลดลงเล็กน้อย กระพือข่าวลือว่าภาวะอุปทานล้นตลาดอาจถึงจุดเปลี่ยน ปัจจัยราคาพลังงานผลักให้วอลล์สตรีทปิดบวก ส่วนทองคำก็ขยับขึ้นท่ามกลางความกังวลรอบใหม่ต่อการเจรจาหนี้สินกรีซ

    น้ำมันดิบเวสต์เทกซัสอินเตอร์มีเดียต หรือไลต์สวีตครูด งวดส่งมอบเดือนพฤษภาคม เพิ่มขึ้น 3.10 ดอลลาร์ ปิดที่ 56.39 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล สูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน เพิ่มขึ้น 1.89 ดอลลาร์ ปิดที่ 60.32 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

    ก่อนหน้านี้ในวันเดียวกัน กระทรวงพลังงานสหรัฐฯรายงานว่ากำลังผลิตน้ำมันของประเทศ ลดลง 20,000 บาร์เรลต่อวันหรือร้อยละ 0.2 สู่ระดับ 9.38 ล้านบาร์เรลต่อวันในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 10 เมษายน

    แม้อีกด้านหนึ่งจะพบว่าคลังน้ำมันดิบสำรองของสหรัฐฯ ยังคงอยู่ในระดับสูงสุดที่ไม่เคยพบเห็นในช่วงเวลานี้มานานกว่า 80 ปี แต่การปรับขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว นับว่าน้อยกว่าที่คาดหมายไว้

    ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อวันพุธ(15เม.ย.) ปิดบวกในกรอบแคบๆ จากแรงหนุนกลุ่มพลังงาน ตามหลังราคาน้ำมันพุ่งต่อเนื่องและความคาดเดาว่ารายงานผลประกอบการไตรมาสแรกของบริษัทต่างๆที่กำลังจะเผยแพร่ออกมา อาจไม่เลวร้ายอย่างที่คิดไว้

    ดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 75.91 จุด (0.42 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 18,112.61 จุด เอสแอนด์พี เพิ่มขึ้น 10.79 จุด (0.51 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 2,106.63 จุด แนสแดค เพิ่มขึ้น 33.73 จุด (0.68 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 5,011.02 จุด

    เดิมทีนักลงทุนกังวลว่ารายงานผลประกอบการไตรมาสแรกของบริษัทต่างๆ จะได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ตกต่ำ ดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นและสภาพอากาศเลวร้ายที่เล่นงานภาคตะวันออกของสหรัฐฯ

    อย่างไรก็ตามหลังจากบริษัทต่างๆในดัชนีเอสแอนด์พี 500 เผยแพร่รายงานออกมาแล้ว 36 แห่ง พบว่ามีถึงร้อยละ 81 ที่มีผลประกอบการระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคมเกินคาดหมายไว้ จากปกติที่แต่ละไตรมาสจะมีบริษัทมีผลประกอบการเกินคาดหมายโดยเฉลี่ยที่ร้อยละ 63

    ส่วนราคาทองคำเมื่อวันพุธ(15เม.ย.) ปิดบวกพอสมควร จากแรงช้อนซื้อสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ ท่ามกลางความกังวลต่อปัญหาทางการเงินที่กรีซต้องเผชิญ โดยทองคำตลาดโคเม็กซ์ เพิ่มขึ้น 8.70 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,201.30 ดอลลาร์ต่อออนซ์

    เจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสของสหภาพยุโรปเผยว่าการเจรจาระหว่างกรีซกับเจ้าหนี้ยังไม่เฉียดใกล้จุดที่จะปล่อยเงินกู้แก่เอเธนส์ ขณะที่รัฐบาลกรีซคร่ำครวญว่าพวกเขาอาจหมดเงินสดเร็ววันนี้หากไม่ได้รับความช่วยเหลือ สถานการณ์ดังกล่าวก่อแนวโน้มแห่งการผิดนัดชำระหนี้และบางทีอาจถึงขั้นออกจากยูโรโซน

    http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000043515
     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,263
    ค่าพลัง:
    +97,150
    IMFลดจีดีพีUS-จับตาเฟดลดด/บ. คาดศก.โลกยังซึม'ปัจจัยลบ'เพียบ
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 15 เมษายน 2558 23:09 น.

    [​IMG]

    เอเจนซีส์ - กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ระบุในการคาดการณ์ล่าสุดว่า เศรษฐกิจโลกยังคงอยู่ในอาการซึมกระทือ ถึงแม้ญี่ปุ่นกับญี่ปุ่นจะกระเตื้องดีขึ้นบ้าง แต่จะถูกชดเชยจากการชะลอตัวในหมู่ประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ ขณะเดียวกัน การฟื้นตัวของจีดีพีโลกโดยรวม ยังอาจถูกขัดขวางจากวิกฤตภูมิรัฐศาสตร์ ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและของตลาดทุน ซึ่งส่วนหนึ่งสืบเนื่องจากแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกของเฟดในรอบ 9 ปี

    ในรายงานทิศทางแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (World Economic Outlook) ฉบับล่าสุดที่ไอเอ็มเอฟนำออกเผยแพร่เมื่อวันอังคาร (14 เม.ย.) ยังคงตัวเลขคาดการณ์ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของโลกปีนี้ เอาไว้ที่ 3.5% แต่ปรับเพิ่มการคาดการณ์สำหรับปีหน้าเป็น 3.8% จาก 3.7% ที่ให้ไว้ในเดือนมกราคม

    แต่สำหรับการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศหรือภูมิภาคสำคัญๆ ในปีนี้ รายงานล่าสุดให้ตัวเลขที่ผิดแผกจากเดิมหลายๆ ตัว ส่วนหนึ่งเนื่องจากภาวะราคาน้ำมันทรุดต่ำ และการผันผวนของค่าเงิน โดยเฉพาะการที่ดอลลาร์แข็งค่าแรงเมื่อเทียบกับยูโรและเยน กำลังส่งผลกระทบต่อประเทศและภูมิภาคต่างๆ ในระดับที่แตกต่างกันไป

    ไอเอ็มเอฟบอกว่า นโยบายการเงินคือปัจจัยสำคัญที่กำลังขับดันความเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยน โดยที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด)นั้นเตรียมขึ้นดอกเบี้ย ตรงข้ามกับธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) และธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ที่ยังคงใช้มาตรการกระตุ้นทางการเงิน

    รายงานระบุว่า ผลจากอัตราแลกเปลี่ยนเช่นนี้ ควรที่จะส่งเสริมจีดีพีโลกโดยองค์รวม และสนับสนุนอุปสงค์ของประเทศที่ยังคงมีปัญหาเศรษฐกิจในยูโรโซนและญี่ปุ่น ดังนั้นไอเอ็มเอฟจึงตัดสินใจปรับขึ้นแนวโน้มการเติบโตของสองภูมิภาคนี้

    ทั้งนี้ รายงานล่าสุดนี้คาดการณ์ว่าจีดีพีของยูโรโซนสำหรับปีนี้มีแนวโน้มขยายตัว 1.5% และ 1.6% สำหรับปีหน้า จากที่เคยให้ไว้เมื่อเดือนมกราคมเพียงแค่ 1.2% และ 1.4% ตามลำดับ

    สำหรับญี่ปุ่นได้รับการคาดหมายว่า จะเติบโต 1% และ 1.2% ในปี 2015 และ 2016 จากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ 0.6% และ 0.8%

    ในทางกลับกัน ไอเอ็มเอฟปรับลดแนวโน้มการขยายตัวของอเมริกาอยู่ที่ 3.1% ในปีนี้และปีหน้า จากที่เคยคาดไว้ที่ 3.6% ในปีนี้ และ 3.3% ในปี 2016 เนื่องจากการแข็งค่าของดอลลาร์ถึง 10% ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ฉุดยอดส่งออกสุทธิ

    โอลิวิเยร์ บลองชาร์ด หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของไอเอ็มเอฟ ชี้ว่า อเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น ยังคงพยายามดิ้นรนเพื่อหลุดพ้นจากวิกฤตการเงินปี 2008 และประเทศเศรษฐกิจก้าวหน้าต่างกำลังเผชิญแนวโน้มการเติบโตขาลง ซึ่งเป็นผลจากการรับภาระสังคมชราภาพและการลดการลงทุนในศักยภาพการผลิตในอนาคต

    สำหรับประเทศตลาดเกิดใหม่ รายงานล่าสุดของไอเอ็มเอฟชี้ว่า จะยังคงประสบภาวะการเติบโตชะลอตัวต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 ในปี 2015 โดยตัวเลขคาดการณ์จีดีพีจีนปีนี้และปีหน้ายังคงเดิมที่ 6.8% และ 6.3% ขณะที่ประเทศอื่นๆ ที่พึ่งพิงการขายสินค้าโภคภัณฑ์ให้แดนมังกรจะยังคงเผชิญปัญหาราคาตกต่ำต่อไป

    กระนั้น ไอเอ็มเอฟสำทับว่า ถึงแม้จีนยังคงเผชิญแนวโน้มขาลงอย่างชัดเจน เนื่องจากความพยายามปรับสมดุลการเติบโตเพื่อถอยจากการมุ่งเน้นการลงทุนและเข้าสู่การเติบโตที่ผลักดันโดยการบริโภคภายในประเทศแทน แต่การปรับเช่นนี้ถือเป็นพัฒนาการที่ถูกต้องเหมาะสม

    ในส่วนราคาน้ำมันนั้น รายงานระบุว่า การดิ่งลงของราคาน้ำมันดิบ 50% ยังไม่ส่งผลให้ผู้บริโภคมีเงินใช้จ่ายมากขึ้น แต่จะทำให้จีดีพีโลกขยายตัวถึง 1% ในปีหน้า

    กระนั้น รัฐบาลในประเทศผู้นำเข้าน้ำมันบางแห่งอาจเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ไว้กับตัวเองโดยการลดการอุดหนุนราคา เท่ากับว่า ประโยชน์จากน้ำมันราคาถูกไม่ส่งผ่านถึงมือผู้บริโภคแต่อย่างใด ยิ่งไปกว่านั้น การแข็งค่าของดอลลาร์ยังอาจกัดกินข้อดีของน้ำมันราคาถูกสำหรับประเทศผู้นำเข้าที่ค่าเงินอ่อนลง

    นอกจากนี้ ไอเอ็มเอฟยังเตือนว่า ราคาน้ำมันอาจดีดกลับเร็วเกินคาดและส่งผลกระทบอย่างหนักต่ออุปสงค์ทั่วโลก

    ไอเอ็มเอฟย้ำว่า มรดกจากวิกฤตการเงินและวิกฤตในยูโรโซน ได้แก่ ธนาคารอ่อนแอและหนี้ระดับสูงทั้งภาครัฐและครัวเรือน ยังคงขัดขวางการใช้จ่ายและการเติบโตในบางประเทศ

    นอกจากนั้นเศรษฐกิจโลกยังเผชิญปัจจัยเสี่ยงสำคัญอีกหลายอย่าง อาทิ สถานการณ์วุ่นวายไม่จบสิ้นในยูเครนและตะวันออกกลาง แนวโน้มผลกระทบในประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่จากความผันผวนในตลาดทุนและตลาดเงิน ซึ่งรวมถึงจากการแข็งค่าของดอลลาร์ และแนวโน้มที่อเมริกาจะขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบเกือบ 9 ปี ที่อาจกระตุ้นให้เงินทุนไหลออกจากตลาดเกิดใหม่

    บลองชาร์ดทิ้งท้ายด้วยว่า วิกฤตกรีซยังวางใจไม่ได้ และการออกจากยูโรโซนจะส่งผลร้ายแรงต่อประเทศนี้มากกว่าสมาชิกชาติอื่นหลายเท่า


    IMFŴ
     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,263
    ค่าพลัง:
    +97,150
    บ.ความปลอดภัยไซเบอร์'รัสเซีย'ถนัดจับสปายUS ส่วนคู่แข่ง'อเมริกัน'ก็สันทัดต่อสู้แฮกเกอร์หมีขาว โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 16 เมษายน 2558 00:08 น.

    [​IMG]

    @อูจีน แคสเปอร์สกี้ ประธานและซีอีโอของแคสเปอร์สกี้ แล็บ ยืนยันว่า บริษัทไม่เคยได้รับการร้องขอจากหน่วยงานรัฐบาลรัสเซียใดๆ ให้วางมือจากการตรวจสอบการโจมตีทางไซเบอร์ไม่ว่าคราวไหน และเสริมว่า ทีมงานนักวิจัยนานาชาติของบริษัทจะไม่มีการลังเลในการปฏิบัติการไล่ล่าแฮกเกอร์ เพราะเกรงว่าอาจจะไปกระทบกระเทือนผลประโยชน์ของประเทศชาติพวกตน ทว่าแหล่งข่าวภายในบริษัทหลายรายกลับเปิดเผยข้อเท็จจริงไปในอีกทางหนึ่ง

    รอยเตอร์ - อุตสาหกรรมรักษาความปลอดภัยไซเบอร์สเปซที่มีมูลค่าระดับ 71,000 ล้านดอลลาร์ กำลังแตกออกเป็นเสี่ยงๆ ตามเส้นแบ่งทางภูมิรัฐศาสตร์ สืบเนื่องจากบริษัทต่างๆ ในแวดวงนี้ต่างต้องไล่ล่าโครงการภาครัฐ จึงจำต้องร่วมมือแบ่งปันข้อมูลกับหน่วยงานสอดแนมหาข่าวกรอง และทำตลาดโดยชูบทบาทในฐานะเป็นผู้ปกป้องการโจมตีที่มาจากผู้เล่นชาติอื่น

    แคสเปอร์สกี้ แล็บ (Kaspersky Lab) บริษัทรักษาความปลอดภัยไซเบอร์สเปซ ซึ่งมีฐานอยู่ในกรุงมอสโก ก้าวขึ้นเป็นผู้เล่นชั้นนำในวงการจับสปายคอมพิวเตอร์ในอเมริกาอย่างเต็มตัว ทว่า แหล่งข่าวภายในบริษัทแย้มว่า มีอย่างน้อยสองครั้งที่แคสเปอร์สกี้แสดงอาการลังเล ก่อนแฉกิจกรรมการเจาะระบบที่เป็นฝีมือการดำเนินการจากทางรัสเซีย

    ทำนองเดียวกัน คราวด์สไตรค์ (CrowdStrike Inc.) และไฟร์อาย (FireEye Inc.) ซึ่งต่างเป็นบริษัทรักษาความปลอดภัยไซเบอร์สเปซที่ตั้งสำนักงานอยู่ในอเมริกา สร้างชื่อเสียงโด่งดังจากการเปิดโปงการสอดแนมสุดซับซ้อนของรัสเซียและจีน แต่ไม่เคยตีแผ่การสอดแนมของสหรัฐฯเลยสักครั้ง

    กระบวนการแบ่งขั้วในอุตสาหกรรมการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์สเปซเช่นนี้ สะท้อนความแตกแยกที่ปรากฏอยู่ในตลาดเทคโนโลยีวงกว้าง และยิ่งแผ่ลามขยายตัวรุนแรงขึ้นอีกเมื่อเกิดมีข่าวคราวการเปิดโปงเกี่ยวกับการที่ภาครัฐเป็นตัวการใหญ่อยู่เบื้องหลังการโจมตีทางไซเบอร์และการจัดทำโปรแกรมแอบสอดแนมอย่างมหึมาครอบคลุมกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งข่าวที่รั่วไหลออกมาจาก เอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน อดีตพนักงานสัญญาจ้างด้านข่าวกรองของอเมริกา

    “บางบริษัทคิดว่า เราควรจะต้องหยุดยั้งการกระทำของแฮกเกอร์ทั้งหมดทุกๆ ราย แต่บางบริษัทก็คิดว่า เราควรหยุดยั้งเฉพาะแฮกเกอร์ของอีกฝ่ายหนึ่ง พวกเขาคิดว่า เราสามารถเอาชนะในสงครามนี้ได้” แดน คามินสกี้ หัวหน้านักวิจัยของไวท์ ออปส์ (White Ops Inc.) กล่าว โดยเขาบอกด้วยว่าตัวเองเห็นด้วยกับฝ่ายแรก

    อันที่จริงตั้งแต่ก่อนหน้านี้ แคสเปอร์สกี้ แล็บ ก็ตกเป็นที่ครหาเกี่ยวกับการมีสายสัมพันธ์กับหน่วยข่าวกรองรัสเซียอยู่แล้ว เนื่องจาก อูจีน แคสเปอร์สกี้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ของบริษัท เคยเข้าโรงเรียนฝึกสายลับของเคจีบี ขณะที่ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ อันดรืย์ ติโคนอฟ เคยเป็นนายทหารยศพันโทในกองทัพรัสเซีย และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมาย อิกอร์ เชกูนอฟ เคยทำงานในหน่วยงานชายแดนของเคจีบี

    อูจีน แคสเปอร์สกี้บอกว่า บริษัทไม่เคยได้รับการร้องขอจากหน่วยงานรัฐบาลรัสเซียใดๆ ให้วางมือจากการตรวจสอบการโจมตีทางไซเบอร์ไม่ว่าคราวไหน และเสริมว่า ทีมงานนักวิจัยนานาชาติของบริษัทจะไม่มีการลังเลในการปฏิบัติการไล่ล่าแฮกเกอร์ เพราะเกรงว่าอาจจะไปกระทบกระเทือนผลประโยชน์ของประเทศชาติพวกตน

    กระนั้น พนักงานปัจจุบันและอดีตพนักงานหลายคนของแคสเปอร์สกี้ แล็บ ระบุว่า บริษัทแห่งนี้เคยออกอาการลังเลว่าจะเปิดเผยรายงานเรื่องการเจาะระบบที่เป็นฝีมือของแฮกเกอร์ฝ่ายรัสเซียอย่างน้อย 2 ครั้งแล้ว

    ทั้งนี้ ปีที่แล้ว เจ้าหน้าที่ของแคสเปอร์สกี้ แล็บ ได้จัดทำรายงานซึ่งส่งให้เฉพาะแก่ลูกค้าที่ยอมจ่ายเงิน เกี่ยวกับการสอดแนมระบบคอมพิวเตอร์อันซับซ้อนที่บริษัทค้นพบ แต่ไม่ได้นำออกเผยแพร่ออกต่อสาธารณชนวงกว้าง จวบจนกระทั่งห้าเดือนถัดมา หลังจากที่ บีเออี ซิสเต็มส์ บริษัทผู้ทำสัญญาด้านกลาโหมสัญชาติอังกฤษ ได้เปิดโปงการสอดแนมดังกล่าวแล้ว โดยระบุว่ามีความเชื่อมโยงกับอีกภารกิจอันน่าสงสัยของรัฐบาลรัสเซีย แถมตั้งข้อสังเกตว่า คอมพิวเตอร์ที่ถูกโจมตีส่วนใหญ่อยู่ในยูเครน

    “เราช้ากว่าเขา แต่มันเป็นไปไม่ได้อยู่แล้วที่จะเป็นแชมเปี้ยนเป็นผู้ชนะในทุกๆ เกม” แคสเปอร์สกี้กล่าวแก้เกี้ยว พร้อมยืนยันว่า การดำเนินการของบริษัทไม่มีการเมืองแอบแฝงแน่นอน

    ก่อนหน้านั้น 1 ปี คือเมื่อปี 2013 นักวิจัยของแคสเปอร์สกี้ แล็บ ได้ตรวจพบปฏิบัติการสอดแนมอีกโครงการที่ถูกขนานนามว่า “เรด ออกโทเบอร์” ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นโดยโปรแกรมเมอร์ที่พูดภาษารัสเซีย และพุ่งเป้าไปที่การสอดแนมหาข่าวกรองจากพวกองค์กรรัฐบาลและวงการทูตในยุโรป เอเชียกลาง ตลอดจนอเมริกาเหนือ

    ปรากฏว่า ต้องภายหลังจากมีการถกเถียงเป็นการภายในอย่างดุเดือดเสียก่อนนั่นแหละ บริษัทจึงตัดสินใจเผยแพร่รายงานว่าด้วยปฏิบัติการนี้ พร้อมระบุว่า เชื่อว่าเป็นฝีมือของจีอาร์ยู หน่วยงานสอดแนมหาข่าวกรองในต่างแดนของกองทัพรัสเซีย ทั้งนี้ตามคำบอกเล่าของพนักงานทั้งในปัจจุบันและอดีตของแคสเปอร์สกี้ แล็บ หลายต่อหลายคนซึ่งไม่ต้องการที่จะเปิดเผยตัว

    **ความเชี่ยวชาญที่เป็นผลสืบเนื่องจากการเลือกข้าง**

    แคสเปอร์สกี้ แล็บนั้น เป็นบริษัทแรกที่แฉการโจมตีทางไซเบอร์ครั้งใหญ่หลายๆ ระลอกซึ่งเป็นฝีมือของทางอเมริกา รวมทั้งครั้งล่าสุด อันได้แก่ เครื่องมือที่ใช้เผยแพร่หนอน “สตักซ์เน็ต” (Stuxnet worm) เข้าโจมตีบ่อนทำลายโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน

    เฉกเช่นเดียวกับวิธีปฏิบัติของพวกคู่แข่งสัญชาติอเมริกัน อย่าง ไซแมนเทค (Symantec Corp.) และอินเทล (Intel Corp.) รายงานเปิดโปงของแคสเปอร์สกี้ แล็บ เพียงบอกใบ้ถึงผู้ที่บริษัทคิดว่าเป็นตัวการของเรื่องนี้ แต่ไม่ระบุชื่อประเทศออกมาโต้งๆ

    ความสำเร็จของแคสเปอร์สกี้ แล็บ ในการเปิดโปงการโจมตีทางไซเบอร์ที่เป็นฝีมือของอเมริกา ส่วนหนึ่งนั้นเนื่องจากซอฟต์แวร์ต่อต้านไวรัสและผลิตภัณฑ์รักษาความปลอดภัยของบริษัท วางจำหน่ายอยู่ในหมู่ประเทศซึ่งพวกสปายอเมริกันให้ความสนใจอย่างสูง เป็นต้นว่า อิหร่านและรัสเซีย ทั้งนี้การวิจัยเพื่อตามล่าแฮกเกอร์จำนวนมากของบริษัท อิงอยู่กับข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ของลูกค้าที่ใช้ซอฟต์แวร์แคสเปอร์สกี้

    ในทางตรงกันข้าม คราวด์สไตรค์ บริษัทภาคเอกชนที่ทำกิจการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์สเปซ และตั้งสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองเออร์ไวน์, รัฐแคลิฟอร์เนีย มีนโยบายที่จะไม่ขายบริการของตนในรัสเซียหรือจีนเลย เนื่องจากไม่อยากถูกกดดันให้ต้องช่วยปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมของรัฐบาลเหล่านั้น จุดยืนเช่นนี้ยังหมายความด้วยว่า บริษัทมีโอกาสน้อยลงที่จะไปจ๊ะเอ๋ตรวจพบความพยายามแอบสอดแนมหาข่าวกรองอย่างทุ่มเทสุดๆ ของทางการสหรัฐฯ

    “เรามีการคัดสรรผู้ที่จะมาเป็นลูกค้าของเรา เนื่องจากคุณไม่สามารถที่จะร่วมมือกับทั้งสองฝ่ายได้” ดมิทริ อัลเปอโรวิตช์ ผู้ร่วมก่อตั้งคนหนึ่งของคราวด์สไตรค์ กล่าวยอมรับ

    ในปัจจุบัน ลูกค้ารายสำคัญของคราวด์สไตรค์ ครอบคลุมถึงพวกธนาคารและบริษัทเทคโนโลยีใหญ่ระดับโลกหลายต่อหลายแห่ง

    สำหรับไฟร์อายนั้น หลีกเลี่ยงการขายบริการในจีนและอัฟกานิสถาน แต่มีลูกค้าหลายรายอยู่ในรัสเซีย เมื่อปีที่แล้ว บริษัทเข้าซื้อกิจการ แมนเดียนต์ (Mandiant) บริษัทนิติวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ที่ก่อตั้งโดยเควิน แมนเดีย อดีตนายทหารกองทัพอากาศสหรัฐฯ

    ความที่ลูกค้าใหญ่กลุ่มแรกๆ คือซัปพลายเออร์ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ แมนเดียนต์จึงค้นพบการปฏิบัติการสอดแนมที่เป็นฝีมือของพวกแฮกเกอร์จีน นั่นเป็นจุดเริ่มต้นของวงจรที่บริษัทได้รับการว่าจ้างจากบริษัทอื่นๆ ที่กังวลเกี่ยวกับจีน และก็ยิ่งช่วยเพิ่มพูนความรู้ตลอดจนชื่อเสียงของแมนเดียนต์ ในการรับมือภัยคุกคามดังกล่าว

    อย่างไรก็ตาม พวกผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาความปลอดภัยเตือนว่า หากบริษัทใดๆ เชี่ยวชาญในภูมิภาคหนึ่งมากเกินไป ก็อาจพลาด ไม่สามารถตรวจจับการโจมตีจากภูมิภาคอื่นๆ

    ในขณะที่รัฐบาลของประเทศต่างๆ เพิ่มงบประมาณการใช้จ่ายมากขึ้นเพื่อปกป้องเครือข่ายข้อมูลของพวกตนให้ปลอดจากการโจมตึของแฮกเกอร์ พวกเขาก็มีสายสัมพันธ์อันใกล้ชิดสนิทสนมมากขึ้นเรื่อยๆ กับบริษัทรักษาความความปลอดภัยทางไซเบอร์เหล่านี้ ดังที่มีรายงานว่า เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านข่าวกรองของสหรัฐฯหลายราย โดยเฉพาะจากสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ (เอ็นเอสเอ) ถูกบริษัทรักษาความปลอดภัยเอกชนชักชวนไปทำงานด้วยหลังปลดเกษียณ เนื่องจากเล็งเห็นประโยชน์จากความเชี่ยวชาญด้านไซเบอร์

    นอกจากนั้น ตามร่างกฎหมายฉบับที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามา กำลังพยายามผลักดันให้รัฐสภาคลอดออกมา ปรากฏว่ามีข้อกำหนดในเรื่องเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนแบ่งปันข้อมูล ซึ่งนี่ย่อมจะผลักดันให้ภาครัฐและเอกชนใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นอีก

    บรูซ ชไนเออร์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของบริษัทรักษาความปลอดภัย รีซีเลียนต์ ซิสเต็มส์ (Resilient Systems Inc.) บอกว่า ตนเองจะไม่แปลกใจ หากเอ็นเอสเอขอให้ไซแมนเทค หรือ แมคอาฟี (McAfee) งดตรวจสอบบางสิ่งบางอย่าง

    อย่างไรก็ดี โฆษกของไซแมนเทค รวมทั้งอินเทล ที่ซื้อแมคอาฟี ไปเมื่อปี 2011 ออกมาแถลงยืนยันว่า การขอร้องดังกล่าวนั้นไม่เคยเกิดขึ้นเลย

    เพื่อความเป็นธรรม เราควรที่จะต้องย้ำว่า ไซแมนเทคนั้นมีบทบาทสำคัญร่วมกับแคสเปอร์สกี้ แล็บ ในการเปิดโปง สตรักเน็ต และให้การสนับสนุนการค้นพบของแคสเปอร์สกี้หลายครั้งนับจากนั้น

    วิกรัม ฐากูร ผู้จัดการฝ่ายรับมือด้านความปลอดภัยของไซแมนเทค บอกว่า บริษัทไม่รู้เลยว่าใครเป็นคนสร้างมัลแวร์ “สตรักเน็ต” ตัวนี้

    ครั้นเมื่อไปสอบถามกับทางแมนเดียนต์บ้างว่า พร้อมจะเปิดโปงโครงการสอดแนมที่เป็นฝีมือของอเมริกาหรือไม่ ไรอัน คาแซนไซยัน ผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิคตอบว่า “ผมไม่รู้จริงๆ”

    ทว่า ไวเตอร์ เดอ ซูซา โฆษกไฟร์อาย บริษัทแม่ของแมนเดียนต์ ยืนยันว่า จะเปิดโปง หากพบว่าฝ่ายอเมริกันเป็นผู้ทำผิดกฎหมาย

    อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับบริษัทรักษาความปลอดภัยภายในประเทศนั้น อาจขาดสะบั้นลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากหน่วยงานข่าวกรองเริ่มแทรกแซงซอฟต์แวร์ต่อต้านไวรัส เพื่อเปลี่ยนให้มันกลายเป็นเครื่องมือสอดแนมคอมพิวเตอร์เป้าหมาย

    ในเรื่องนี้ มิกโก ฮิปโปเนน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิจัยของเอฟ-ซีเคียว โอวายเจ (F-Secure Oyj) จากฟินแลนด์ เตือนว่า ผลิตภัณฑ์รักษาความปลอดภัยอาจกลายเป็นตัวนำทางหลักเพื่อเจาะเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์เสียเอง

    ขณะที่คามินสกี้จากไวออปส์ ซึ่งเป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านการระบุเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ถูกแฮกเพื่อนำใช้ในการฉ้อฉล กล่าวว่า บริษัทรักษาความปลอดภัยบางแห่งมีทัศนคติที่อาจทำให้สิ่งต่างๆ เลวร้ายลงอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น

    "เศรษฐกิจโลกขึ้นอยู่กับระบบอินเทอร์เน็ตที่มีความปลอดภัย ซึ่งหมายความว่า จะต้องไม่มีช่องทางลับสำหรับแอบเปิดให้ใครก็ตามที” เขาบอก “ไม่มีใครหรอกที่อยากมีชีวิตอยู่ในพื้นที่สงคราม”.


    http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000043497
     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,263
    ค่าพลัง:
    +97,150
    วอนพัฒนาระบบคุมเครื่องบินจากระยะไกล ป้องกันซ้ำรอย'เยอรมันวิงส์'โหม่งโลก
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 16 เมษายน 2558 03:01 น.

    [​IMG]

    รอยเตอร์ - องค์การควบคุมการจราจรทางอากาศเยอรมนีในวันพุธ(15เม.ย.) เรียกร้องอุตสาหกรรมการบินพัฒนาเทคโนโลยีที่เปิดทางให้เจ้าหน้าที่ภาคพื้นใช้มาตรการฉุกเฉินเข้าควบคุมเครื่องบินจากระยะไกล เพื่อช่วยป้องกันโศกนาฏกรรมซ้ำรอย นักบินผู้ช่วยเยอรมันวิงส์บังคับเครื่องบินโหม่งโลกเมื่อเดือนที่แล้ว

    คณะสืบสวนเชื่อว่านายอันเดรียส ลูบิตซ์ นักบินผู้ช่วยล็อคประตูไม่ให้กัปตันกลับมาเข้าในห้องควบคุม และตั้งใจบังคับเครื่องบินของสายการบินเยอรมันวิงส์พุ่งชนเทือกเขาแอลป์ของฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 24 มีนาคมที่ผ่านมา คร่าชีวิตยกลำ 150 ศพ

    เคลาส์ เดเตอร์ เชือร์เล ประธานองค์การควบคุมการจราจรทางอากาศ Deutsche Flugsicherung แถลงต่อผู้สื่อข่าวในวันพุธ(15เม.ย.) ว่า "เราจำเป็นต้องก้าวผ่านเทคโนโลยีของวันนี้" เขากล่าวพร้อมแนะนำว่าควรมีระบบให้ทางภาคพื้นใช้ในกรณีฉุกเฉินสำหรับเข้าควบคุมเครื่องบินโดยสารจากระยะไกลและพามันลงจอดอย่างปลอดภัย

    "อย่างไรก็ตาม ผมไม่ได้บอกว่ามันเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ง่ายที่สุด เพราะความจริงแล้ว กว่าจะมีเทคโนโลยีใดๆออกมา ก็คงต้องรอไปจนถึงทศวรรษหน้า" เขาให้ความเห็น

    กระนั้นก็ดีในส่วนของสมาคมนักบินแสดงความคลางแคลงใจต่อข้อเสนอดังกล่าว โดยทางสหภาพนักบินเยอรมนีอย่าง Vereinigung Cockpit เกรงว่าการควบคุมจากระยะไกลอาจเป็นการเปิดทางสำหรับนำไปใช้ในทางที่ผิด

    "เราก็อยากถามเช่นกันว่า มาตรการอย่างนั้นจะช่วยแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริงหรือไม่ เพราะความจริงคือนักบินและนักบินผู้ช่วยคือผู้ที่นั่งอยู่ในห้องควบคุม และพวกเขาเป็นแค่สองคนที่มีข้อมูลทุกอย่าง" โฆษกสหภาพแสดงความเห็น

    ในส่วนของสมาคมนักบินบริติช แอร์ไลนส์ ก็เรียกร้องให้ระมัดระวังในเรื่องนี้เช่นกัน "เราจำเป็นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพื่อรับประกันว่ามันจะไม่สร้างความเสี่ยงด้านความปลอดภัยหรือก่อความกังวลใหม่ๆขึ้นมา อย่างเช่นช่องโหว่ในรูปแบบต่างๆของการควบคุมเครื่องบินโดยสารจากระยะไกล"

    นับตั้งแต่เครื่องบินของเยอรมันวิงส์ประสบอุบัติเหตุ สายการบินต่างๆของยุโรปบังคับใช้กฎระเบียบที่กำหนดให้มีลูกเรือคนที่ 2 นั่งประจำอยู่ในห้องนักบินตลอดเวลา ขณะที่เยอรมนีจัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจร่วมกับอุตสาหกรรมการบินเพื่อพิจารณาแก้ไขการทดสอบด้านการแพทย์และจิตวิทยาสำหรับนักบิน

    http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000043509
     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,263
    ค่าพลัง:
    +97,150
    UNSC มีมติ “ห้ามขายอาวุธ” ให้กบฏฮูตีในเยเมน-ขึ้นบัญชีดำลูกชาย “ซาเลห์”
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 15 เมษายน 2558 10:01 น. (แก้ไขล่าสุด 15 เมษายน 2558 11:18 น.)

    [​IMG]

    @วิทาลีย์ เชอร์คิน ผู้แทนรัสเซียประจำองค์การสหประชาชาติ ยกมือขอใช้สิทธ์งดออกเสียงในการโหวตร่างมติว่าด้วยความขัดแย้งในเยเมน เมื่อวานนี้ (14 เม.ย.)

    รอยเตอร์ - คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) มีมติห้ามขายอาวุธแก่กบฏฮูตีที่ยึดอำนาจเกือบทั่วเยเมน พร้อมทั้งขึ้นบัญชีดำหัวหน้ากบฏและบุตรชายของอดีตประธานาธิบดีอาลี อับดุลเลาะห์ ซาเลห์ เมื่อวานนี้ (14 เม.ย.) โดยรัสเซียซึ่งมีอำนาจที่จะวีโตมติดังกล่าวได้ของดออกเสียง

    ร่างมติซึ่งเสนอโดยจอร์แดนกับกลุ่มประเทศอ่าวอาหรับผ่านความเห็นชอบจากสมาชิก UNSC 14 ประเทศ ยกเว้นรัสเซียซึ่งงดออกเสียง โดยอ้างว่าข้อเสนอบางอย่างจากฝ่ายตนถูกเพิกเฉย

    “สมาชิกผู้ร่างมติปฏิเสธเงื่อนไขของรัสเซียที่เรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่มีส่วนในความขัดแย้งหยุดยิงและเริ่มกระบวนการเจรจาสันติภาพโดยเร็ว” วิทาลีย์ เชอร์คิน เอกอัครราชทูตผู้แทนรัสเซียประจำยูเอ็น กล่าวต่อที่ประชุมหลังการโหวตเสร็จสิ้นลง

    ซาอุดีอาระเบียและพันธมิตรอ่าวอาหรับเปิดฉากโจมตีทางอากาศใส่กบฏฮูตีในเยเมนมาตั้งเดือนที่แล้ว ขณะที่สหรัฐฯ ระบุว่าจะเร่งจัดส่งอาวุธเข้าไปช่วยสนับสนุน

    “คำสั่งห้ามค้าอาวุธควรเป็นไปอย่างครอบคลุม เพราะก็ทราบกันดีแล้วว่าอาวุธจำนวนมากหลั่งไหลเข้าไปในเยเมน... ร่างมติฉบับนี้ไม่ควรจะถูกใช้เป็นเครื่องมือกระตุ้นการต่อสู้ให้รุนแรงขึ้นไปอีก” เชอร์คินกล่าว

    ด้านคณะกรรมการปฏิวัติสูงสุดของกบฏฮูตีในเยเมน ออกมาประณามร่างมติ UNSC ว่าเป็นการส่งเสริม “ความก้าวร้าว”

    เหตุจลาจลนองเลือดแผ่ลามไปทั่วเยเมนนับตั้งแต่กบฏฮูตีนิกายชีอะห์สามารถยึดกรุงซานาเอาไว้ได้ในปีที่แล้ว ขณะที่ประธานาธิบดีอับดุรรับบูห์ มันซูร์ ฮาดี ถูกบีบพ้นจากอำนาจ และต้องลี้ภัยไปซาอุดีอาระเบียในที่สุด

    UNSC ยังมีคำสั่งห้ามเดินทางและอายัดทรัพย์สินทั่วโลกของอาเหม็ด ซาเลห์ อดีตหัวหน้าหน่วยรีพับลิกันการ์ดซึ่งเป็นบุตรชายแท้ๆ ของผู้นำเยเมนคนก่อน รวมไปถึงผู้นำสูงสุดของกบฏอย่างอับดุลมาลิก อัล-ฮูตี

    อดีตประธานาธิบดีซาเลห์กับแกนนำอาวุโสของกบฏฮูตีอีก 2 คน คือ อับดุลคอลิก อัล-ฮูตี และอับดุลเลาะห์ ยะห์ยา อัล-ฮะกีม ถูก UNSC ประกาศขึ้นบัญชีดำไปตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา

    การยึดอำนาจของกบฏฮูตีมีเหล่าทหารที่ยังภักดีต่อซาเลห์เป็นกำลังสำคัญ และแม้จะเริ่มต้นจากการแก่งแย่งอำนาจภายใน แต่วิกฤตการณ์ครั้งนี้ก็ได้กลายเป็นสงครามตัวแทนระหว่างซาอุดีอาระเบียซึ่งปกครองด้วยราชวงศ์สุหนี่ กับอิหร่านซึ่งนับถือนิกายชีอะห์เช่นเดียวกับพวกกบฏ

    ริยาดและมหาอำนาจหลายประเทศกล่าวหาว่าอิหร่านติดอาวุธให้กบฏฮูตีซึ่งถือเป็นการแทรกแซงกิจการภายในของเยเมน แต่เตหะรานก็ปฏิเสธมาโดยตลอด พร้อมเรียกร้องให้มีการจัดตั้งรัฐบาลเยเมนชุดใหม่โดยเร็ว โดยอิหร่านยินดีที่จะสนับสนุนให้เยเมนก้าวพ้นช่วงเปลี่ยนผ่านทางการเมืองนี้ไปได้

    มติของ UNSC เรียกร้องให้กบฏฮูตีวางอาวุธ และถอนกำลังออกจากทุกพื้นที่ที่ยึดไว้รวมถึงกรุงซานา นอกจากนี้ยังตำหนิ “พฤติกรรมบ่อนทำลาย” ของอดีตประธานาธิบดี ซาเลห์ และขอให้เลขาธิการสหประชาชาติ บัน คีมูน “อำนวยการจัดส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการอพยพคน ตลอดจนร่วมมือกับรัฐบาลเยเมนในการระงับสงครามเพื่อเห็นแก่มนุษยธรรม”

    http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000043233
     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,263
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ยิวยิ้มย่อง! “โอบามา” ยอมให้ “คองเกรส” มีสิทธิ์โหวตข้อตกลงนุกอิหร่าน
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 15 เมษายน 2558 15:51 น.

    [​IMG]

    ประธานาธิบดี บารัค โอบามา แห่งสหรัฐฯ
    รอยเตอร์ – รัฐบาลอิสราเอลแสดงความพึงพอใจ หลังจากประธานาธิบดี บารัค โอบามา แห่งสรัฐฯ ยอมประนีประนอมให้สภาคองเกรสได้มีส่วนร่วมพิจารณาและโหวตข้อตกลงนิวเคลียร์กับอิหร่านที่อาจจะมีขึ้นก่อนถึงเส้นตายวันที่ 30 มิ.ย.นี้

    “เราพอใจอย่างมากที่ได้เห็นนโยบายของอิสราเอลประสบความสำเร็จในเช้าวันนี้ สิ่งที่นายกรัฐมนตรี เบนจามิน เนทันยาฮู กล่าวต่อสภาคองเกรสสหรัฐฯ คือปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้กฎหมายฉบับนี้เกิดขึ้นมา ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดข้อตกลงร้ายๆ หรืออย่างน้อยก็ทำให้ทิศทางการเจรจาเป็นไปอย่างมีเหตุมีผลยิ่งขึ้น” ยูวาล สไตนิตซ์ รัฐมนตรีกระทรวงข่าวกรองอิสราเอล ให้สัมภาษณ์ต่อสถานีวิทยุของอิสราเอล

    เมื่อวันอังคาร (14 เม.ย.) โอบามา ยอมเพิกถอนการคัดค้านร่างกฎหมายซึ่งจะให้อำนาจแก่สภาคองเกรสในการทบทวนข้อตกลงนิวเคลียร์กับอิหร่าน หลังจากสมาชิกพรรคเดโมแครตได้เข้าไปเจรจาประนีประนอมกับรีพับลิกันจนได้ร่างกฎหมายซึ่งเป็นที่ยอมรับทั้ง 2 ฝ่าย

    ร่างกฎหมายฉบับนี้ลดกรอบเวลาที่คองเกรสจะสามารถทบทวนข้อตกลงนิวเคลียร์จาก 60 วัน เหลือเพียง 30 วัน และยกเลิกเงื่อนไขที่ว่า โอบามาจะต้องรับรองว่าอิหร่านไม่ได้สนับสนุนผู้ก่อการร้ายที่จ้องโจมตีอเมริกา

    วอชิงตันจะต้องส่งร่างข้อตกลงนิวเคลียร์ให้คองเกรสพิจารณาทันทีที่เสร็จสมบูรณ์ โดยระหว่างนั้น โอบามา ไม่มีสิทธิ์ที่จะยกเลิกคว่ำบาตรเตหะราน และยังให้อำนาจแก่คองเกรสว่าจะโหวตยกเลิกคว่ำบาตรอิหร่านหรือไม่

    รัฐบาลสหรัฐฯ ยังต้องแจ้งให้คองเกรสทราบเป็นระยะๆ เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของอิหร่านทั้งในด้านขีปนาวุธ โครงการนิวเคลียร์ และการสนับสนุนก่อการร้าย

    โอบามา ซึ่งเหลือเวลาดำรงตำแหน่งผู้นำสหรัฐฯ อีกเพียงปีเศษ พยายามอย่างยิ่งที่จะผลักดันข้อตกลงนานาชาติที่จะจำกัดไม่ให้อิหร่านมีทรัพยากรหรือเทคโนโลยีมากพอในการผลิตอาวุธทำลายล้างสูง โดยใช้มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจเป็นตัวกดดันให้เตหะรานยอมเจรจาด้วย

    เนทันยาฮู และ โอบามา มีมุมมองแตกต่างกันสุดขั้วในเรื่องวิธีจัดการกับอิหร่าน โดยผู้นำยิวนั้นเกรงว่าข้อตกลงที่ได้จะไม่รัดกุมพอ และเปิดโอกาสให้อิหร่านลักลอบพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ต่อไปได้

    อิหร่านยืนยันเสียงแข็งว่าโครงการนิวเคลียร์มีวัตถุประสงค์เชิงสันติเท่านั้น แต่ก็ไม่ยินยอมให้ผู้ตรวจสอบนานาชาติเข้าไปยุ่มย่าม และยังปกปิดกิจกรรมภายในโรงงานนิวเคลียร์บางแห่งไว้เป็นความลับสุดยอด

    การโน้มน้าวให้อิหร่านยอมรับมาตรการตรวจสอบที่เข้มงวดโปร่งใสถือเป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยให้สหรัฐฯและชาติตะวันตกมั่นใจว่า ข้อตกลงฉบับสมบูรณ์ที่จะเกิดขึ้นภายในกำหนดเส้นตาย 30 มิถุนายนนี้จะมีประสิทธิภาพควบคุมอิหร่านได้จริง ซึ่งจะทำให้สภาคองเกรสและอิสราเอลต้องยอมรับไปโดยปริยาย


    http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000043368
     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,263
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ทำไม‘ข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่าน’จึงไม่ได้ทำให้‘น้ำมัน’ราคาตก?
    โดย เอเชีย อันเฮดจ์ 14 เมษายน 2558 21:01 น.

    [​IMG]

    (เก็บความจากเอเชียไทมส์ Asia Times)

    Why hasn’t the Iran deal depressed oil prices?
    Author: Asia Unhedged
    09/04/2015

    เหตุผลที่ฟังดูเข้าท่าเข้าทีมีอยู่ด้วยกัน 3 ประการ ได้แก่ การผลิตน้ำมันของอิหร่านนั้นอยู่ในสภาพเสียหายยับภายหลังการปฏิวัติอิสลามในปี 1979 แล้ว และยังต้องใช้เวลาอีกเป็นปีๆ กว่าที่ปริมาณน้ำมันซึ่งอิหร่านผลิตได้จะส่งผลต่อสมการอุปสงค์-อุปทานของโลกได้จริงๆ , ปัจจัยต่างๆ ทางการเมืองยังอาจทำให้ร่างข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่านพังครืนลงไปได้, และตลาดน้ำมันดูจะมองกันว่าราคาได้ไปถึงระดับต่ำสุดแล้ว จึงไม่ลงต่ำกว่า 40 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

    ทำไม‘ข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่าน’จึงไม่ได้ทำให้‘น้ำมัน’ราคาตก? มีการคาดเดาที่ฟังดูเข้าท่าเข้าทีอยู่ 3 ประการด้วยกัน

    ประการแรก อย่างที่ ไบรอัน ซิงเกอร์ (Brian Singer) นักวิเคราะห์ของโกลด์แมน แซคส์ (Goldman Sachs) ตั้งข้อสังเกตเอาไว้ในอีเมล์ที่ส่งถึงลูกค้าเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว การผลิตน้ำมันของอิหร่านนั้นอยู่ในสภาพเสียหายยับภายหลังการปฏิวัติอิสลามในปี 1979 (จากที่เคยผลิตได้เฉียดๆ 6 ล้านบาร์เรลต่อวัน กลับลงมาอยู่ในระดับ 1 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 1980) ถัดจากนั้นการที่อิหร่านต้องทำสงครามอย่างยืดเยื้อกับอิรักก็กลายเป็นสาเหตุสำคัญอีกส่วนหนึ่ง ประเทศนี้ต้องใช้เวลากว่า 1 ทศวรรษภายหลังสงครามกับอิรักสิ้นสุดลง จึงสามารถผลักดันผลผลิตให้กลับขึ้นไปอยู่ที่ 4 ล้านบาร์เรลต่อวัน เวลานี้อิหร่านอาจจะยังมีน้ำมันจำนวนมากซึ่งส่งออกไม่ได้ นอนรออยู่ตามแท้งก์เก็บต่างๆ ทว่าจะต้องใช้เวลาเป็นปีๆ ทีเดียวกว่าที่การผลิตของอิหร่านจะส่งผลต่อเข็มชี้วัดในสมการอุปสงค์-อุปทานของโลกได้จริงๆ

    ประการที่สอง อย่างที่ แดเนียล เดรซเนอร์ (Daniel Drezner) นักวิชาการของสถาบันบรูคกิงส์ (Brooking Institute) เขียนเอาไว้ในหนังสือพิมพ์วอชิงตัน โพสต์ (ดูรายละเอียดได้ที่ How can the Iran deal fall apart? Let me count the ways. - The Washington Post) ยังคงมีลู่ทางอีกไม่ใช่น้อยเลยที่ข้อตกลงเรื่องนิวเคลียร์อิหร่าน (ถ้าหากเราสามารถเรียกมันเป็นข้อตกลงแล้ว) จะหักพังออกเป็นเสี่ยงๆ ในระหว่างเวลานี้ไปจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน เอากันง่ายๆ ตั้งแต่เริ่มต้นเลยก็คือ อิหร่านกับฝ่ายตะวันตกนั้นดูเหมือนว่าจะมีแนวความคิดผิดแผกแตกต่างกันอย่างรุนแรง ในเรื่องที่ว่าพวกเขาตกลงเห็นพ้องกันว่าอย่างไรแน่ในการเจรจาที่เมืองโลซานน์, สวิตเซอร์แลนด์ พวกรีพับลิกัน (แม้กระทั่ง 2 อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศซึ่งเป็นที่เคารพนับถือ ได้แก่ เฮนรี คิสซิงเจอร์ Henry Kissinger และ จอร์จ พี. ชุลซ์ George P. Shultz ดูรายละเอียดได้ที่ The Iran Deal and Its Consequences - WSJ) ต่างพากันแสดงอาการอกสั่นขวัญหายกับร่างข้อตกลงคราวนี้ และสงครามภายในสหรัฐฯในประเด็นว่าด้วยนโยบายการต่างประเทศ ทำท่าจะระเบิดเปรี้ยงปร้างออกมาอย่างรุนแรงชนิดที่อเมริกาไม่ได้เคยเผชิญพบเห็นมานับตั้งแต่สงครามเวียดนาม ในเวลาเดียวกันนั้น สถานการณ์ในตะวันออกกลางก็กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมายและรวดเร็ว และอย่างที่ เดรซเนอร์ กล่าวเอาไว้ว่า “สงครามที่กำลังดำเนินอยู่ทั้งในเยเมน, ซีเรีย, และอิรัก ไม่เพียงตัวของสงครามเหล่านี้เองจะอยู่ในอาการหนักหน่วงสาหัสเท่านั้น หากยังทำให้เหตุผลข้อโต้แย้งของคณะบริหารโอบามาที่ว่า ‘ต้องเลือกเอาระหว่างการยอมรับข้อตกลงนี้ หรือไม่ก็ต้องเข้าทำสงคราม’ (ดูรายละเอียดได้ที่ Obama's next step on Iran deal: Selling it - POLITICO) ดูน่าหวาดกลัวน้อยลงไปเยอะ”

    ประการที่สาม และก็เป็นประการสำคัญที่สุด ก็คือ สำหรับพวกนักลงทุนระยะยาวแล้ว พวกเขาได้ส่งสัญญาณให้เห็นอย่างชัดเจนแล้วว่า ราคาในตลาดน้ำมันได้ผ่านเลยจุดต่ำสุดแล้ว ทั้งนี้สมดุลของราคาน้ำมันอาจจะไม่ใช่การขยับขึ้นไปสู่ระดับ 110 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แต่ก็ไม่ใช่ลงมาในระดับ 40 ดอลลาร์ พวกผู้เล่นรายสำคัญๆ อย่างเช่นบริษัทบีพี (BP) กำลังวางเดิมพันสำหรับธุรกิจของพวกเขา ด้วยแนวความคิดที่ว่า ณ ระดับในปัจจุบัน น้ำมันที่ยังไม่ได้สูบขึ้นมานั้น ถือว่ายังมีราคาถูก โดยที่ราคาในตลาดน่าจะมีแนวโน้มขยับขึ้นไป คาดหมายกันว่า เมื่อเวลาผ่านพ้นไปอีกระยะหนึ่ง ข้อวินิจฉัยเรื่องราคาน้ำมันในระยะยาวและราคาในระยะสั้น ก็ควรที่จะมาบรรจบเจอะเจอกัน

    (จากคอลัมน์ Asia Unhedged ในเอเชียไทมส์)

    http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000043147
     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,263
    ค่าพลัง:
    +97,150
    แบงก์ AIIB: ความผิดพลาดในนโยบายการต่างประเทศของโอบามา
    โดย จอร์จ คู 3 เมษายน 2558 02:55 น.

    [​IMG]

    (เก็บความจากเอเชียไทมส์ Asia Times)

    AIIB: A foreign policy black eye for Obama
    By George Koo
    01/04/2015

    การที่นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ของอิสราเอล เดินทางมาเยือนชนิดที่โอบามามิได้เชื้อเชิญ เพื่อป่าวร้องต่อชาวอเมริกันในเรื่องวิธีการที่สหรัฐฯควรนำมาใช้รับมือกับอิหร่านนั้น ยังอาจแก้ตัวได้ว่าความอับอายคราวนี้เกิดขึ้นได้ เพราะมีพวกรีพับลิกันในสภาร่วมผสมโรงด้วย ทว่าสำหรับกรณีที่เหล่าชาติพันธมิตรพากันแสดงความจำนงขอเป็นประเทศผู้ร่วมก่อตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของเอเชีย (AIIB) โดยไม่ฟังเสียงโน้มน้าวห้ามปรามของโอบามานั้น เป็นรอยช้ำเขียวปั๊ดบริเวณตาซึ่งเกิดขึ้นจากการที่ประธานาธิบดีอเมริกันต่อยตัวเองโดยแท้

    เดือนมีนาคมที่ผ่านมา ช่างไม่ใช่ช่วงเวลาแห่งความมีสง่าราศีสำหรับภาพลักษณ์ระดับโลกของ “ลุงแซม” เอาเสียเลย แรกทีเดียว บิบี เนทันยาฮู (Bibi Netanyahu ซึ่งก็คือ เบนจามิน เนทันยาฮู) เดินทางมาเยี่ยมเยียนโดยที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ไม่ได้เชื้อเชิญและก็ไม่ได้ยินดีต้อนรับ แต่นายกรัฐมนตรีอิสราเอลผู้นี้ยังคงเดินหน้าบอกกล่าวป่าวร้องต่อชาวอเมริกัน ในเรื่องวิธีการที่สหรัฐฯควรนำมาใช้เพื่อรับมือกับอิหร่าน

    โอบามานั้นยืนยันปฏิเสธไม่ยินยอมให้เนทันยาฮูแต่งตั้งตนเองเป็น ผู้แทนพิเศษว่าด้วยอิหร่านของอเมริกา ทว่า บิบี ยังคงกลายเป็นผู้หัวเราะคนหลังสุดจนได้ ในเมื่อแสงเรืองรองจากการที่เขาได้ปรากฏตัวกล่าวคำปราศรัยต่อหน้าที่ประชุมร่วมของรัฐสภาสหรัฐฯในกรุงวอชิงตันคราวนี้ มีส่วนสำคัญทีเดียวที่ทำให้เขาเป็นผู้ชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย และขึ้นครองอำนาจในเทลอาวีฟต่อไปอีก

    อย่างน้อยที่สุด โอบามา ยังสามารถปลอบโยนตนเองได้ว่า การที่เขาต้องดูย่ำแย่ถึงขนาดนี้มิได้เกิดจากน้ำมือของ บิบี เพียงลำพังคนเดียว หากนายกรัฐมนตรีอิสราเอลยังได้รับความร่วมมือช่วยเหลืออย่างมากมายจากประธานสภาผู้แทนราษฎรอเมริกัน จิม โบห์เนอร์ (Jim Boehner) ตลอดจนพวก ส.ส.สังกัดพรรครีพับลิกันทั้งหลาย คณะหรรษาแห่งรัฐสภาสหรัฐฯคณะนี้ไม่รู้สึกว่าต้องใส่ใจใยดีอะไรนักกับความสุภาพงดงามของแบบแผนพิธีการทางการทูต ถ้าหากมันจะมีช่องที่พวกเขาสามารถใช้มาเล่นงานสร้างความอับอายขายหน้าแก่ประธานาธิบดีผู้ยังคงนั่งอยู่ในตำแหน่ง ของประเทศของพวกเขาเองได้

    แต่ในอีกด้านหนึ่ง จุดยืนของโอบามาในเรื่องเกี่ยวกับธนาคารเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank ใช้อักษรย่อว่า AIIB) ซึ่งมีจีนเป็นตัวตั้งตัวตีผลักดันให้จัดตั้งขึ้นมา กลับเป็นรอยช้ำเขียวปั๊ดบริเวณตาซึ่งเกิดจากการชกต่อยตัวเอง และไม่สามารถที่จะหาคำอธิบายได้ดีไปกว่าจะต้องบอกว่า มันเป็นผลพวงต่อเนื่องอีกประการหนึ่งจากความอหังการแบบอเมริกัน

    ทั้งนี้ โอบามาประกาศอย่างเป็นทางการว่า ในเมื่อมีทั้ง ธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank) และ ธนาคารโลก (World Bank) ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ได้เป็นอย่างดีภายใต้การนำของอเมริกาและญี่ปุ่น มันก็ไม่มีความจำเป็นอะไรเลยที่จะต้องก่อตั้งแบงก์ AIIB ขึ้นมาอีก ประธานาธิบดีอเมริกันยังได้ขอร้องให้พวกชาติพันธมิตรยุโรปของอเมริกา ตลอดจนชาติพันธมิตรในเอเชีย-แปซิฟิกอย่าง ออสเตรเลีย, ญี่ปุ่น, และเกาหลีใต้ อย่าได้เข้าร่วมธนาคารแห่งใหม่นี้

    ปรากฏว่ารายแรกเลยที่ผละหนีออกไปก่อนเพื่อนกลายเป็นอังกฤษ ซึ่งแต่ไหนแต่ไรมาก็เป็นชาติพันธมิตรใกล้ชิดที่สุดของอเมริกา แล้วพวกที่เหลือต่างรีบวิ่งไล่ตามเป็นแถวเพราะไม่ต้องการพลาดโอกาสในการเป็นชาติสมาชิกผู้ก่อตั้งรายหนึ่งของ AIIB

    เมื่อตอนที่ประกาศข่าวการจัดตั้งแบงก์แห่งใหม่นี้ขึ้นมาในเดือนตุลาคมปีที่แล้วนั้น มี 21 ประเทศซึ่งเข้าร่วมลงนาม แต่พอมาถึงกำหนดเส้นตายวันที่ 31 มีนาคมที่ผ่านมา มี 46 ประเทศทีเดียวซึ่งยื่นความจำนงที่จะขอเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งด้วย

    ทุกๆ ประเทศซึ่งโอบามาขอร้องอย่าเข้าร่วม ต่างกลับกระโดดขอเป็นชาติสมาชิกผู้ก่อตั้งกันหมด ยกเว้นแต่ญี่ปุ่นซึ่งอยู่ในอาการลังเลและเกือบๆ จะไปด้วยเหมือนกัน

    เป็นที่ประจักษ์ชัดเจนว่า เกียรติภูมิของประธานาธิบดีอเมริกันนั้นยัง ไม่เพียงพอที่จะโน้มน้าวเกลี้ยกล่อมให้ชาติพันธมิตรเหล่านี้ เลิกล้มความคิดที่มองเห็นว่าการได้เป็นชาติสมาชิกผู้ก่อตั้งรายหนึ่งของ AIIB นั้น เป็นสิ่งที่สำคัญมาก

    การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานในเอเชีย จะสร้างประโยชน์ตอบแทนให้แก่ประเทศที่เป็นสมาชิกของธนาคารแห่งใหม่นี้อย่างไรบ้าง ยังเป็นเรื่องที่จะต้องติดตามรอชมกันต่อไป แต่สิ่งซึ่งกระจ่างแจ้งตั้งแต่เดี๋ยวนี้แล้วก็คือ มีถึงสี่สิบกว่าประเทศทีเดียวซึ่งเชื่อมั่นในความเป็นผู้นำของจีน และไม่ต้องการพลาดเรือลำนี้ การที่พวกเขาพากันกระโจนขอโดยสารไปด้วยอย่างอลหม่านเช่นนี้ ทำให้จุดยืนของอเมริกันดูกระจอกและตื้นเขิน

    ทุกๆ คนต่างมองเห็นกันอยู่แล้วว่า เอเชียคือภูมิภาคซึ่งกำลังเติบโตขยายตัวได้อย่างรวดเร็วที่สุดในโลก การลงทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐานจะต้องเร่งตัวและหวนกลับมาเอื้ออำนวยให้แก่ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ประชาชนในเอเชียจะได้สำเริงสำราญกับความมั่งคั่งรุ่งเรืองชนิดที่ไม่มีภูมิภาคไหนเทียบเคียงได้ และส่วนอื่นๆ ของโลกก็จะได้ประโยชน์ไปด้วยเมื่อหันมาทำธุรกิจกับเอเชีย

    จีนนั้นได้สาธิตให้เห็นแล้วว่าพวกเขาทราบวิธีการเกี่ยวกับการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ๆ ในประเทศจีน และในการแปรให้การลงทุนดังกล่าวกลายเป็นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจชนิดไม่มีใครสู้ได้ พวกเขาจึงมีผลงานอันผ่านการพิสูจน์แล้วที่จะเป็นผู้นำธนาคารเพื่อการลงทุนแห่งใหม่นี้

    อนิจจา สำหรับสหรัฐฯล่ะ คณะผู้นำอเมริกันไล่ตั้งแต่ประธานาธิบดีลงมา ต่างซาบซึ้งซึมซับอยู่แต่กับความเชื่อที่ว่าอเมริกันเป็นข้อยกเว้น (American exceptionalism) อเมริกาจะสามารถดำรงคงอยู่เป็นอภิมหาอำนาจของโลกได้ตลอดไป โดยไม่มีการเสื่อมทรุดเหมือนอภิมหาอำนาจอื่นๆ ที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์โลก ความเชื่อเช่นนี้เอิบอาบชุ่มโชกเสียจนกระทั่งอเมริกาพบว่าตนเองยากที่จะบังเกิดความคิดขึ้นมาว่า ชาติอื่นๆ ก็สามารถที่จะกลายเป็นข้อยกเว้นในหนทางของพวกเขาเองได้เช่นเดียวกัน

    นับตั้งแต่การล่มสลายของสหภาพโซเวียต และการสิ้นสุดลงของสงครามเย็น สหรัฐฯก็สามารถวางกร่างไปทั่วโลกในฐานะที่เป็น “เจ้า” (hegemon) ที่เหลืออยู่เพียงรายเดียว นโยบายการต่างประเทศอเมริกันโดยพื้นฐานแล้วจึงเป็นนโยบายแบบ “จงทำตามที่ข้าบอกให้แกทำ”

    หลังจากวิกฤตภาคการเงินในปี 2008 จีนในฐานะที่เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดของอเมริกา ได้เข้ามาหาวอชิงอย่างเงียบๆ เพื่อเรียกร้องขอมีบทบาทอันเสมอภาคเท่าเทียมมากยิ่งขึ้น ในการจัดการรับมือกับปัญหาต่างๆ ของโลกที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองฝ่าย ปรากฏว่าถึงแม้คณะบริหารโอบามาแสดงท่าทีต้อนรับในเชิงบวก ทว่ารัฐสภากลับไม่ได้มีท่าทีเช่นนั้นด้วย การบอกปัดของอเมริกานั่นเองที่เป็นสาเหตุทำให้จีนหันไปหาหนทางอื่นๆ เพื่อสำแดงอิทธิพลของพวกเขา

    ในบรรดาหนทางสำคัญๆ จำนวนมากที่แดนมังกรได้กระทำไป หนทางซึ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งได้แก่การที่จีนไปลงทุนทั้งทางด้านโรงพยาบาล, โรงเรียน, ถนนหนทาง, และโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ในตลอดทั่วโลก โดยสิ่งที่เรียกร้องขอเป็นค่าตอบแทนได้แก่ทรัพยากรต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นทรัพยากรในแอฟริกา และละตินอเมริกา วิธีการแบบมุ่งให้เป็นผู้ชนะกันทุกฝ่ายเช่นนี้ของพวกเขา ปรากฏว่าเป็นที่ต้อนรับได้รับความนิยมอย่างสูง และนี่อาจจะเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ใช้อธิบายได้ว่าทำไมประเทศอื่นๆ จึงพบว่าแบงก์ AIIB มีเสน่ห์เย้ายวนใจมาก

    วิธีการในการจัดการกับกิจการโลกของอเมริกา ซึ่งเป็นแบบให้มีฝ่ายหนึ่งชนะและอีกฝ่ายหนึ่งพ่ายแพ้ กำลังทำให้สหรัฐฯต้องแบกค่าใช้จ่ายระดับล้านล้านดอลลาร์อยู่ในอัฟกานิสถานและอิรัก และก่อให้เกิดเขตพื้นที่แห่งความไร้เสถียรภาพอันกว้างใหญ่ไพศาล ไล่ตั้งแต่ยูเครน ทะลุผ่านตะวันออกกลางไปจนถึงดินแดนซับ-ซาฮาราในแอฟริกา เพื่อฟื้นฟูให้เกิดเสถียรภาพขึ้นมาใหม่ จำเป็นที่สหรัฐฯจะต้องทบทวนวิธีการแบบ “ถ้าไม่เดินตามทางของข้า แกก็จะถูกตัดทิ้งไป” (my-way-or-the-highway) ของตน และหันมายอมรับว่าพวกเขาจำเป็นที่จะต้องร่วมไม้ร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรายอื่นๆ ด้วย

    ดร. จอร์จ คู เพิ่งเกษียณอายุเมื่อไม่นานมานี้จากสำนักงานให้บริการด้านคำปรึกษาระดับโลกแห่งหนึ่ง ซึ่งเขาได้ให้คำแนะนำแก่ลูกค้าเกี่ยวกับยุทธศาสตร์และการดำเนินการทางธุรกิจของพวกเขาในประเทศจีน เขาสำเร็จการศึกษาจาก MIT, Stevens Institute, และ Santa Clara University และเป็นผู้ก่อตั้งตลอดจนเป็นอดีตกรรมการผู้จัดการของ International Strategic Alliances เขาเป็นสมาชิกคนหนึ่งของ the Committee of 100, the Pacific Council for International Policy และเป็นกรรมการคนหนึ่งของ New America Media

     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,263
    ค่าพลัง:
    +97,150
    โมเดลเดี้ยงของบริษัทน้ำมันยักษ์โลก
    โดย ไมเคิล ที แคลร์ 20 มีนาคม 2558 23:54 น. (แก้ไขล่าสุด 22 มีนาคม 2558 00:06 น.)

    (เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ Asia Times)

    Big oil’s broken model
    By Michael T Klare
    13/03/2015

    สารพันเหตุผลถูกนำขึ้นอธิบายวิกฤตราคาน้ำมันถล่มทลายดิ่งเหว แต่มีอยู่เหตุผลหนึ่งที่ยังไม่มีใครนำมาถกเถียงกัน และอาจเป็นสาเหตุสำคัญเหนือทุกสาเหตุ คือ การล่มสลายสิ้นเชิงของโมเดลธุรกิจแบบผลิตเต็มพิกัด โดยพวกบริษัทน้ำมันรายยักษ์ระดับโลก

    สารพันเหตุผลถูกนำขึ้นอธิบายวิกฤตราคาน้ำมันถล่มทลายดิ่งเหวลงสู่ระดับประมาณ 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หรือเกือบจะครึ่งหนึ่งของระดับราคาเมื่อหนึ่งปีที่แล้วนี้เอง เมื่อรวบรวมชุดคำอธิบายทั้งปวง อาจแจกแจงได้ 4-5 กลุ่ม ดังนี้

    1. ความต้องการใช้น้ำมันอยู่ในภาวะชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจชะงักงันทั่วโลก

    2. การผลิตน้ำมันมากเกินความต้องการอย่างสุดๆ ในแปลงน้ำมันชั้นหินดินดานของสหรัฐอเมริกา

    3. นโยบายของรัฐบาลซาอุดิอาระเบีย ตลอดจนรัฐบาลของหลายๆ ประเทศผู้ส่งออกน้ำมันกลุ่มโอเปกย่านตะวันออกกลาง ว่าจะไม่ลดระดับปริมาณการผลิตที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบัน (โดยอาจประมาณการได้ว่า เพื่อลงโทษบรรดาผู้ผลิตน้ำมันด้วยต้นทุนสูงลิ่วในสหรัฐอเมริกาและย่านอื่นทั่วโลก ซึ่งล้วนแต่กระหน่ำผลผลิตเข้าท่วมตลาดโลกปีแล้วปีเล่าอย่างต่อเนื่อง)

    4. การแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลต่างๆ

    5. ทั้งนี้ มีอยู่เหตุผลหนึ่งที่ยังไม่มีใครนำมาถกเถียงกัน และอาจเป็นสาเหตุสำคัญเหนือทุกสาเหตุ คือ การล่มสลายสิ้นเชิงของโมเดลธุรกิจแบบผลิตเต็มพิกัดโดยพวกบริษัทน้ำมันรายยักษ์ระดับโลก

    นับถึงฤดูใบไม้ร่วงปีที่แล้วอันเป็นห้วงเวลาที่ภาวะถดถอยของราคาน้ำมันโลก สะสมโมเมนตัมได้ที่แล้วนั้น เหล่าบริษัทน้ำมันรายยักษ์ของโลกล้วนแต่สูบน้ำมันออกมาสุดกำลังการผลิตเต็มพิกัดทุกวัน โดยเป็นไปเพื่อสร้างกำไรจากการที่ราคาน้ำมันโลกพุ่งขึ้นไปสูงลิ่วนั่นเอง ทั้งนี้ ตลอด 6 ปีก่อนหน้านั้น ระดับราคาน้ำมันดิบเบรนท์อันเป็นราคาอ้างอิงที่ยึดถือกันทั่วโลก เคลื่อนไหวบริเวณ 100 ดอลลาร์หรือสูงกว่า แต่ยักษ์ใหญ่น้ำมันโลกไม่ได้ครั่นคร้ามถึงกลไกราคา พากันเดินหน้าปั๊มน้ำมันออกท่วมตลาดตามโมเดลธุรกิจที่มองว่าความต้องการบริโภคน้ำมันจะขยายเพิ่มไม่เต็มไม่อิ่ม

    ดังนั้น ไม่ว่าต้นทุนการขุดเจาะ/การกลั่นน้ำมันของยักษ์ใหญ่จะแพงมหาศาลปานใด พวกเขาก็ตะลุยผลิตน้ำมันออกป้อนตลาดมากขึ้นเรื่อยๆ ในแบบที่ว่าจะไม่ยอมปล่อยให้มีแหล่งน้ำมันใดหลุดรอดจากระบบขุดเจาะของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นแหล่งที่ห่างไกลหรือยากเข็ญราวใด ไม่ว่าจะเป็นแหล่งในทะเลน้ำลึกแค่ไหน หรือแหล่งใต้ผิวพิภพที่ต้องบุกลงไปอย่างทุระกันดารเพียงใด เหล่ายักษ์ใหญ่น้ำมันโลกก็จะตามไปปั๊มเอาน้ำมันออกมาขายทำกำไรอย่างบ้าคลั่ง

    ในหลายปีที่ผ่านมา ยุทธศาสตร์การผลิตน้ำมันสูงสุดนี้ได้สร้างความมั่งคั่งให้แก่พวกยักษ์ใหญ่น้ำมันโลกในระดับมหาศาลอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติการเงินของพวกเขา

    เอ็กซอนโมบิล ยักษ์ใหญ่น้ำมันซูเปอร์บิ๊กสูงสุดที่ตั้งฐานอยู่ในสหรัฐอเมริกา สร้างกำไรก้อนมหึมาชนิดที่ใครได้ยินก็ตาลุกวาว เฉพาะตัวเลขปี 2013 ปีเดียวยังสามารถทำกำไรมากถึง 32,600 ล้านดอลลาร์ สูงลิ่วกว่าบริษัทสัญชาติอเมริกันทุกราย ยกเว้นไว้เพียงบริษัทแอปเปิลเท่านั้น

    ค่ายเชฟรอน ยักษ์ใหญ่น้ำมันซูเปอร์บิ๊กเบอร์สองสัญชาติอเมริกัน ประกาศผลกำไรที่ระดับ 21,400 ล้านดอลลาร์ ในปี 2013

    ค่ายยักษ์กลุ่มภาครัฐ อาทิ ซาอุดิ อารามโก ของซาอุดิอาระเบีย และ รอสเนฟต์ ของรัสเซีย ก็สามารถเก็บเกี่ยวกำไรใหญ่ยักษ์ดั่งช้างแมมมอธได้เช่นกัน

    รูปการเลอเลิศเหล่านี้ตีลังกาพลิกผันได้อย่างไรภายในห้วงเวลาเพียงไม่กี่เดือนได้อย่างไรหนอ

    ด้วยปัญหาความชะงักงันด้านอุปสงค์ บวกกับสถานการณ์การผลิตล้นเกิน ยุทธศาสตร์ธุรกิจที่ค่ายน้ำมันใหญ่ยักษ์ทั้งปวงยึดมั่นเพื่อสร้างผลกำไรสูงเวอร์ จึงปุบปับพลิกคว่ำ กลายเป็นอะไรที่พิกลพิการอย่างที่ยากจะเยียวยาแก้ไข

    ในอันที่จะเข้าใจลึกซึ้งถึงธรรมชาติแห่งความเดี้ยงพิกลพิการในอุตสาหกรรมพลังงานโลก เราจะต้องย้อนไปศึกษาความเป็นมาเมื่อหนึ่งทศวรรษที่แล้ว คือรูปการณ์เมื่อปี 2005 อันเป็นห้วงเวลาแรกเริ่มในการนำยุทธศาสตร์การผลิตสูงสุดมาใช้

    ณ ปี 2005 นั้น บรรดายักษ์ใหญ่น้ำมันโลกเผชิญกับทางแพร่งแห่งวิกฤตครั้งร้ายแรง

    ในด้านหนึ่ง พวกแหล่งน้ำมันจำนวนมากที่ถูกดูดน้ำมันขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ได้ตกสู่สภาพแห้งเหือด ทำให้นานาผู้เชี่ยวชาญตบเท้ากันทำนายตักเตือนไปถึงสถานการณ์อันตรายว่า การผลิตน้ำมันโลกใกล้จะถึงจุดสูงสุดแล้ว และหลังจากนั้นศักยภาพการผลิตจะถดถอยอย่างชนิดที่ไม่อาจพลิกผันรูปการณ์กลับคืนดีมาได้

    ในอีกด้านหนึ่ง การขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนและอินเดีย ตลอดจนชาติกำลังพัฒนาอื่นๆ จะส่งผลให้อุปสงค์ต่อน้ำมันจากฟอสซิลกระฉูดขึ้นเสียดฟ้าระดับสตราโทสเฟียร์กันเลยทีเดียว ทั้งนี้ ในช่วงใกล้ๆ กับปี 2005 ความวิตกต่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังติดกระแสได้ที่ และเป็นปัจจัยคุกคามอนาคตของเหล่าซูเปอร์บิ๊กของอุตสาหกรรมน้ำมัน พร้อมกับกดดันให้ต้องลงทุนในแหล่งพลังงานทางเลือกทั้งปวง

    ตะลุยสู่โลกวิไลซ์ Brave New World เข้าให้ถึงแหล่งน้ำมันมหาหิน

    ผู้ที่อธิบายสถานการณ์ของโลกช่วงนั้นได้ดีที่สุดน่าจะเป็นเดวิด โอ’ ไรล์ลี ประธานและซีอีโอค่ายเชฟรอน ซึ่งกล่าวต่อที่ประชุมผู้บริหารระดับสูงแห่งวงการน้ำมันเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ว่า

    “อุตสาหกรรมของเราอยู่ ณ จุดแห่งความหลากหลายเชิงยุทธศาสตร์ อันเป็นสถานการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ของพวกเรา” แปลเป็นภาษาชาวบ้านได้ว่า จะต้องจัดวางยุทธศาสตร์กันใหม่ แต่มีทางให้เลือกมากมายโดยที่คนตัดสินใจนั้นหวั่นว่าจะเลือกผิดทาง

    “องค์ประกอบที่เด่นชัดที่สุดของสมการใหม่นี้คือ เมื่อคำนึงถึงอุปสงค์แล้ว น้ำมันจะไม่ใช่อุปทานอันเหลือเฟืออีกต่อไป” โอ’ ไรล์ลีกล่าวไว้อย่างนั้น พร้อมกับบอกว่าแม้จีนเดินหน้าสกัดเอาน้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติมาใช้ในอัตราผลุบๆ โผล่ๆ แต่เขาขอบอกแก่สหรัฐฯ และนานาชาติทั่วโลกว่า “ยุคแห่งการเข้าถึงพลังงานได้ง่ายๆ นั้น หมดสิ้นลงแล้ว”

    เหล่านี้เป็นคำกล่าวที่นักวิเคราะห์จำนวนไม่น้อยนำมาขนานนามว่าเป็นคำปราศรัยถึงโลกวิไลซ์ “Brave New World” ของโอ’ ไรล์ลี

    ทั้งนี้ เจ้าตัวขยายความว่าการจะรุ่งเรืองสืบเนื่องไปได้ภายในสภาพการณ์เช่นนี้ อุตสาหกรรมน้ำมันจะต้องนำเอายุทธศาสตร์ใหม่มาใช้ โดยจะต้องมองไกลออกไปกว่าการติดอยู่กับแหล่งน้ำมันที่เข้าถึงได้ง่ายที่เคยเป็นตัวจักรกลสร้างกำไรเมื่อในอดีต และจะต้องลงทุนอย่างมหาศาลในการขุดเจาะน้ำมันในแหล่งที่ไม่ใช่แบบธรรมดา ซึ่งจะขอเรียกว่าแหล่งน้ำมันที่ได้มาด้วยวิธีอันยากลำบาก ได้แก่

    แหล่งทรัพยากรซึ่งอยู่ไกลออกไปกลางทะเลลึก ซึ่งอยู่ในสภาพแวดล้อมอันตรายของย่านตอนเหนือ(ของสหรัฐฯ) ซึ่งอยู่ในดินแดนเสี่ยงภัยเชิงการเมืองเช่นพื้นที่ของประเทศอิรัก ซึ่งอยู่ในรูปของหินผายากจะเข้าถึงเช่นแหล่งน้ำมันใต้ย่านหินดินดาน

    โอ’ไรล์ลียืนยันว่า “ซัปพลายน้ำมันในอนาคตนั้นจะต้องไปหาเอาในน่านน้ำทะเลลึกสุดแสน ตลอดจนพื้นถิ่นอันห่างไกลอื่นๆ และต้องดำเนินโครงการพัฒนาที่ต้องใช้เทคโนโลยีใหม่กับโครงสร้างพื้นฐานใหม่ๆ ที่ต้องใช้เม็ดเงินลงทุนหลายล้านล้านดอลลาร์”

    สำหรับขาใหญ่ซูเปอร์บิ๊กของวงการอย่างโอ’ไรล์ลี วิสัยทัศน์ที่เขามีนั้น นับได้ว่าแจ่มแจ้งนัก กล่าวคือ ยักษ์ใหญ่แห่งวงการน้ำมันโลกไม่มีทางเลือกอื่นให้เดินหน้าต่อไปในอนาคต นอกเหนือจากแนวทางการพัฒนาแหล่งน้ำมันประเภทที่ไม่ใช่แบบธรรมดา แม้จะต้องทุ่มเงินลงทุนเข้าไปชนิดที่โลกสะท้านแผ่นดินสะเทือน อุตสาหกรรมน้ำมันโลกจำจะต้องลงทุนหลายล้านล้านดอลลาร์ในโครงการขุดเจาะน้ำมันประเภทที่ไม่ใช่แบบธรรมดา หาไม่ก็จะต้องสูญเสียความได้เปรียบในฐานะเจ้าตลาดน้ำมันโลกพร้อมเปิดทางให้แก่เศรษฐีหน้าใหม่ที่จะนำพลังงานแหล่งอื่นๆ ที่ไม่ใช่น้ำมันจากฟอสซิล มาเสนอขายพลโลก และในสภาพการณ์เช่นนั้น พวกขาใหญ่ซูเปอร์บิ๊กเหล่านี้ก็จะพบว่าท่อดูดเม็ดเงินกำไรของพวกเขาถึงแก่กาลเหือดแห้งไปพร้อมกับแหล่งน้ำมันที่จะหมดน้ำยาในอนาคตอันใกล้

    จริงอยู่ ต้นทุนการขุดเจาะน้ำมันประเภทที่ไม่ใช่แบบธรรมดาย่อมจะแพงเวอร์น่าปวดใจกว่าการขุดเจาะจากแหล่งน้ำมันเข้าถึงง่ายทั่วไป (นี้ยังไม่นับรวมถึงกรณีการเข้าไปดูดน้ำมันจากพื้นที่อันตรายเชิงภูมิประเทศและเชิงการเมือง) อย่างไรก็ตาม ต้นทุนเหล่านี้ย่อมถูกผลักไปอยู่ที่กระเป๋าของผู้บริโภค และจึงเป็นปัญหาของโลก มิใช่ปัญหาของบริษัทน้ำมัน

    “เมื่อเราร่วมมือกัน เราจะก้าวขึ้นไปเผชิญกับปัญหาและความท้าทายนี้ อุตสาหกรรมน้ำมันจะทำการลงทุนครั้งสำคัญเพื่อสร้างศักยภาพการผลิตใหม่ที่จะนำไปสู่การผลิตแห่งอนาคต” ซีอีโอแห่งเชฟรอนประกาศอย่างนั้น

    บนพื้นฐานดังกล่าว เมกก้ายักษ์ค่ายต่างๆ ได้แก่ เชฟรอน เอ็กซอน และรอยัล ดัตช์ เชลล์ และขาใหญ่ค่ายอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่งก็ได้ลงทุนวงเงินมโหฬาร อีกทั้งใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมหาศาลไปกับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อขยายศักยภาพการขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติประเภทที่ไม่ใช่แบบธรรมดา อันเป็นตำนานพิสดารที่ได้จารึกไว้ในหนังสือเรื่อง “การแข่งขันแย่งชิงสิ่งที่เหลืออยู่”

    หลายค่าย อาทิ เชฟรอน และเชลล์ ประเดิมขุดเจาะที่แหล่งทะเลลึกในอ่าวเม็กซิโก ค่ายอื่นๆ รวมทั้ง เอ็กซอน ไปเปิดปฏิบัติการในภูมิภาคอาร์กติกและฝั่งตะวันออกของไซบีเรีย ทั้งนี้ ทุกรายเปิดศักราชการขุดเจาะน้ำมันในชั้นหินดินดานด้วยเทคโนโลยี hydro-fracking

    แต่มีซูเปอร์บอสค่ายหนึ่งที่คลางใจกับแนวทางเดินหน้าขุดเจาะกันสุดๆ เลยที่รัก นั่นคือ จอห์น บราวน์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งซีอีโอค่ายบีพี โดยชี้ว่าวิทยาศาสตร์ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นอะไรที่จริงจังเกินจะปฏิเสธได้ บราวน์จึงเป็นฝ่ายค้านกระแส และยืนยันว่าค่ายยักษ์น้ำมันโลกจะต้อง “มองไกลออกไปจากปิโตรเลียม” และทุ่มเททรัพยากรส่วนใหญ่ลงไปยังแหล่งซัปพลายพลังงานทางเลือก

    “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นประเด็นซึ่งแตะไปถึงคำถามขั้นพื้นฐานว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับสังคมโดยรวม อีกทั้งความสัมพันธ์ระหว่างคนรุ่นหนึ่งกับคนรุ่นถัดไป” บราวน์ประกาศไว้เมื่อต้นปี 2002 สำหรับค่ายบีพีแล้ว เขาระบุว่ามันคือการพัฒนาพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ และเชื้อเพลิงชีวภาพ

    อย่างไรก็ตาม บราวน์ออกจากบีพีในปี 2007 อันเป็นช่วงที่โมเดลธุรกิจว่าด้วยการผลิตสูงสุดของเหล่ายักษ์ใหญ่น้ำมันได้ลงมือตะกุยเปลือกโลกไปทั่วแล้ว ในการนี้ ผู้นำแห่งค่ายบีพีรายถัดจากบราวน์ คือ โทนี่ เฮย์เวิร์ด ก็รีบผละจากแนวทาง “มองไกลออกไปจากปิโตรเลียม” เขากล่าวในปี 2009 ว่า “บางท่านอาจถามว่าการเติบโตของพลังงานโลกจะต้องมาจากเชื้อเพลิงฟอสซิลมากเพียงใด แต่ในที่นี้มันเป็นเรื่องสำคัญยิ่งที่เราจะต้องเผชิญกับความจริงอันร้ายกาจว่าด้วยปัญหาพลังงานมีเพียงพอต่อความต้องการ” แม้จะย้ำกันมากถึงพลังงานที่ยั่งยืน “เรายังมองไปข้างหน้าว่า 80% ของพลังงานต้องมาจากเชื้อเพลิงฟอสซิลในปี 2030”

    ภายใต้การนำของเฮย์เวิร์ด สำหรับโครงการวิจัยรูปแบบพลังงานทางเลือกนั้น บีพีชะงักไว้เป็นส่วนใหญ่ พร้อมยืนยันนโยบายเดินหน้าการผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ โดยที่เป็นฝ่ายเดินตามรอยเท้าของค่ายยักษ์อื่นๆ บีพีเร่งรุดเข้าสู่ทั้งย่านอาร์กติก ทั้งทะเลลึกในอ่าวเม็กซิโก ทั้งทรายน้ำมันในแคนาดา

    ในความพยายามที่จะขับเคลื่อนขึ้นเป็นผู้ผลิตชั้นน้ำในอ่าวอาหรับ บีพีเร่งรุดเข้าไปสำรวจแหล่งน้ำมันย่านน่านน้ำทะเลลึกนอกชายฝั่งซึ่งมีชื่อว่ามาคอนโด อันเป็นจุดก่อเกิดประวัติศาสตร์ด่างพร้อยของวงการน้ำมันที่ทำร้ายสิ่งแวดล้อมอย่างหนัก คือเหตุการณ์แท่นขุดเจาะน้ำมันระเบิดที่ดีพวอเตอร์ ฮอไรซัน ในเดือนเมษายน ปี 2010 โดยมีการรั่วไหลของน้ำมันปริมาณมหาศาลปรากกเป็นคราบน้ำมันบนผิวน้ำกระจายออกไปอย่างกว้างขวางและปนเปื้อนชายฝั่งของสหรัฐฯ กว่าหนึ่งพันกิโลเมตร พร้อมกับทำลายสมดุลของชีวิตในน่านน้ำ ขณะที่อุตสาหกรรมประมงก็ย่อยยับ

    กระโจนดิ่งหน้าผาซะงั้น

    ณ ปลายทศวรรษแรกของศตวรรษที่ 21 กลุ่มยักษ์ใหญ่น้ำมันผนึกกำลังกันในนโยบายการผลิตสูงสุด และแนวทางเดินหน้าขุดเจาะกันสุดๆ เลยที่รัก โดยได้มีการลงทุนนำเทคโนโลยีใหม่ๆ อันสมบูรณ์แบบมาใช้ขุดเจาะน้ำมันที่เข้าถึงยากเย็นเข็ญจิต และสามารถเอาชนะปัญหาแหล่งน้ำมันเข้าถึงง่ายๆ แต่ทะยอยกันแห้งเหือด ในวันคืนหวานชื่นเหล่านั้น จอมพลังแห่งวงการน้ำมันโลกสามารถทวียอดการผลิตได้อย่างน่าทึ่ง พร้อมกับนำแหล่งน้ำมันสำรองซึ่งยากจะเข้าถึงสาหัสขั้นเทพ เข้าสู่โลกออนไลน์

    ตามข้อมูลของสำนักงานข้อมูลพลังงาน หรือ อีไอเอ - - Energy Information Administration ในสังกัดกระทรวงพลังงานแห่งสหรัฐอเมริกา ผลผลิตน้ำมันโลกเพิ่มทะยานจากระดับ 85.1 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2005 แตะระดับ 92.9 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2014 แม้ว่าในช่วงปีเหล่านั้น แปลงน้ำมันมากมายในอเมริกาเหนือ และในตะวันออกกลาง ทะยอยกันลดน้อยถดถอยลง

    ด้านบ็อบ ดัดลีย์ ซีอีโอคนล่าสุดของบีพีย้ำความมั่นใจของโลกเมื่อหนึ่งปีที่ผ่านมาว่า เหล่ายักษ์ใหญ่น้ำมันโลกได้ตะลุยไปในสารพัดพื้นถิ่น และขอบอกว่าสิ่งเดียวที่ถึงจุดสูงสุดแล้ว ก็คือตัวทฤษฎีที่ว่าการผลิตน้ำมันโลกใกล้จะถึงจุดสูงสุดแล้ว

    แน่นอนว่าคำประกาศดังกล่าวลั่นออกจากปากในช่วงก่อนที่ระดับราคาน้ำมันจะกระโจนดิ่งหน้าผาลงมา พร้อมกับนำมาซึ่งคำถามที่ตรวจสอบถึงความชาญฉลาดของนโยบายปั๊มน้ำมันออกมาในปริมาณสูงลิ่วเป็นประวัติการณ์ ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์การผลิตน้ำมันสูงสุดของโอ’ไรล์ลีและสหายซีอีโอของเขานั้น ตั้งบนเงื่อนไขพื้นฐาน 3 ประการคือ

    1. อุปสงค์น้ำมันจะไต่สูงขึ้นปีแล้วปีเล่า

    2. อุปสงค์ที่ทะยานขึ้นมาจะทำให้มั่นใจว่าราคาน้ำมันจะสูงลิ่วยั่งยืนเพียงพอจะทำให้คุ้มแก่การลงทุนอันแสนแพงเพื่อขุดเจาะน้ำมันประเภทที่ไม่ใช่แบบธรรมดา

    3. กระแสความวิตกต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะไม่ร้อนแรงขึ้นมาก จนทำให้ต้องปรับเปลี่ยนสมการ

    และแล้ว ณ วันนี้ ไม่มีสมมุติฐานใดที่ทรงตัวอยู่รอดเลย

    เป็นธรรมดาที่อุปสงค์จะเดินหน้าขยายตัว เรื่องนี้ไม่อาจปฏิเสธได้ โดยเฉพาะเมื่อคำนึงถึงประมาณการอัตราเติบโตในโลกทั้งด้านรายได้และประชากร แต่อัตราการขยายตัวของอุปสงค์ที่ว่านี้ มิใช่อัตราเดียวกับที่พวกยักษ์ใหญ่น้ำมันโลกเคยชิน ทั้งนี้ โปรดพิจารณาตามนี้:

    ในปี 2005 เมื่อหลายหลากการลงทุนรายการใหญ่ๆ ในการขุดเจาะน้ำมันประเภทที่ไม่ใช่แบบธรรมดา เปิดฉากดำเนินการกันแล้ว อีไอเอให้ประมาณการว่าความต้องการบริโภคน้ำมันของโลกจะขยายไปถึงระดับ 103.2 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2015 แต่ในตอนนี้ อีไอเอลดตัวเลขปี 2015 ลงเหลือเพียง 93.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ดังนั้น 10 ล้านต่อวันซึ่งหายไปนั้น อาจจะดูว่าไม่มากมายเมื่อเทียบกับตัวเลขรวมทั้งหมด แต่ต้องไม่ลืมว่าการลงทุนหลายพันล้านดอลลาร์เพื่อเข้าไปปั๊มน้ำมันเข้าถึงยากนั้น เหล่ายักษ์ใหญ่น้ำมันตั้งสมมุติฐานว่าพวกตนจะมีตลาดรอซื้อน้ำมันแบบที่โตวันโตคืนไม่รู้เต็มรู้อิ่ม พร้อมกับทำให้ราคาน้ำมันอันแพงจับจิตสามารถคุ้มค่ากับต้นทุนการขุดเจาะที่ทะยานขึ้นเรื่อยไป

    มาถึงต่อนี้ ในเมื่อประมาณการทั้งหลายล้วนบ่งบอกว่าอุปสงค์น้ำมันมีแต่ละปลาสนาการไป ระดับราคาน้ำมันโลกจึงย่อมจะเสื่อมถอยและถล่มทลายลงมา

    ตัวชี้วัดในปัจจุบันบ่งบอกว่า ระดับการบริโภคน้ำมันจะต่ำกว่าประมาณการในหลายๆ ปีข้างหน้า ในการประเมินแนวโน้มต่อไปของน้ำมันที่เผยแพร่ออกมาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2015 อีไอเอ รายงานว่าเนื่องจากสภาพเศรษฐกิจโลกเสื่อมทราม หลายประเทศจะประสบกับปัญหาอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจชะลอตัว หรือไม่ก็ปัญหาการลดระดับการบริโภค

    จีนเป็นกรณีตัวอย่างที่ดีมาก ขณะที่การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนยังคืบตัวขึ้นได้ทีละน้อยอย่างต่อเนื่อง การบริโภคน้ำมันในจีนถูกประมาณการว่าจะขยายตัวได้แค่ประมาณ 0.3 ล้านบาร์เรลต่อวันในปีนี้ถึงปีหน้า - - ต่ำมากเมื่อเทียบกับที่เคยขยายตัวในอัตรา 0.5 ล้านบาร์เรลต่อวันเมื่อปี 2011-2012 และอัตรา 1.0 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2010 นอกจากนั้น ในกรณีของยุโรปและญี่ปุ่น มีการทำนายว่าระดับการบริโภคน้ำมันจะหดตัวลงตลอด 2 ปีข้างหน้า

    ภาวะชะลอตัวของอุปสงค์น้ำมันมีแนวโน้มจะยืดเยื้อไปเกินกว่าปี 2016 มากมายเลย นี้เป็นประมาณการของสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ หรือ ไออีเอ - International Energy Agency ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือ โออีซีดี ซึ่งเป็นสโมสรของประดาประเทศอุตสาหกรรมร่ำรวยของโลก โดยไออีเอทำนายว่าขณะที่ราคาน้ำมันซึ่งลดต่ำลง อาจกระตุ้นการบริโภคขึ้นมาในสหรัฐฯ และในหลายประเทศ แต่ประเทศอื่นส่วนใหญ่จะไม่มีการบริโภคน้ำมันเพิ่มขึ้นมา ดังนั้น “ภาวะถดถอยของราคาน้ำมันที่ผ่านมาน่าจะมีผลกระทบเพียงน้อยนิดต่อการขยายตัวของอุปสงค์น้ำมันโลกตลอดหลายปีที่เหลือของทศวรรษนี้”

    ไออีเอเชื่อว่าราคาน้ำมันโลกจะเคลื่อนไหวที่ระดับเฉลี่ยประมาณ 55 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในปี 2015 และจะไม่สามารถกลับขึ้นสู่ระดับ 73 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลจนกว่าจะถึงปี 2020

    ระดับราคาประมาณนั้น นับว่าต่ำมาก เกินกว่าจะไปคุ้มค่ากับการเดินหน้าลงทุนผลิตน้ำมันด้วยระบบอันแพงระยับในอันที่จะแปลงทรายน้ำมันในแคนาดามาเป็นพลังงานเชื้อเพลิงน้ำมัน หรือที่จะไปขุดเจาะในถิ่นทุรกันดารของทวีปอาร์กติก ตลอดจนโครงการขุดเจาะน้ำมันใต้ชั้นหินดินดานทั้งปวง

    อันที่จริงแล้ว ข่าวที่ปรากฏในสื่อด้านการเงิน ล้วนเต็มไปด้วยรายงานว่าด้วยการระงับยกเลิกโครงการพลังงานไซส์เมกก้าโปรเจ็กต์ ตัวอย่างคือ เชลล์ซึ่งประกาศในเดือนมกราคมว่า ได้ทิ้งโคงการสร้างโรงงานปิโตรเคมีมูลค่า 6,500 ล้านดอลลาร์ในกาต้าร์แล้ว โดยอ้างถึง “สภาพทางเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ครอบคลุมไปทั่วอุตสาหกรรมน้ำมัน” ในเวลาเดียวกัน เชฟรอนก็พับโครงการขุดเจาะในทะเลโบฟอร์ดแห่งน่านน้ำลึกอาร์กติกขึ้นหิ้งแล้ว ส่วนค่ายสตัทออยล์ของนอร์เวย์ได้หันหลังกลับออกจากปฏิบัติการขุดเจาะน้ำมันในกรีนแลนด์เป็นที่เรียบร้อย

    ส่วนสำหรับอีกปัจจัยหนึ่งที่คุกคามความอยู่ดีมีสุขของพวกยักษ์ใหญ่วงการน้ำมันโลก กล่าวคือ ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นอะไรที่ไม่อาจมองข้ามถึงอิทธิพลที่จะมีต่ออนาคตของโมเดลธุรกิจพลังงาน สารพัดแรงกดดันให้แก้ไขปรากฏการณ์ที่อาจทำลายล้างอารยธรรมแห่งมนุษยชาติ นับวันแต่จะขยายความรุนแรงมากขึ้น

    แม้พวกยักษ์ใหญ่น้ำมันโลกได้หว่านเงินทองมหาศาลไปรณรงค์สร้างกระแสเคลือบแคลงต่อศาสตร์แห่งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่การณ์ที่เป็นอยู่ขณะนี้คือ ผู้คนทั่วโลกพากับหวั่นวิตกกับผลกระทบจากปัญหานี้มากขึ้นเรื่อย เพราะปรากฏการณ์ความเปลี่ยนแปลงเร่งความถี่ที่จะแสดงตัวออกมา ไม่ว่าจะเป็นพายุอันรุนแรงสุดแสน ภาวะแล้งอันร้ายกาจอย่างไม่เคยเกิดมาก่อน ปัญหาระดับน้ำทะเลขึ้นสูงน่าตกใจ ฯลฯ ส่งผลกดดันให้รัฐบาลประเทศต่างๆ ต้องออกโรงดำเนินการเพื่อลดระดับความรุนแรงของภัยคุกคามเหล่านี้

    ยุโรปได้นำแผนแก้ปัญหามาใช้แล้ว โดยการรณรงค์ลดการปล่อยคาร์บอนให้ได้ 20% ในระหว่างปี 1990 – 2020 และจะขยายเป้าหมายให้ยิ่งๆ ขึ้นไปในทศวรรษต่างๆ ภายภาคหน้า

    จีนซึ่งแม้จะยังเพิ่มการพึ่งพิงในเชื้อเพลิงฟอสซิล แต่ในที่สุดก็ลั่นวาจาจะตรึงการขยายตัวด้านการปล่อยคาร์บอนไม่ให้เพิ่มขึ้นภายในปี 2030 และจะเพิ่มแหล่งพลังงานทดแทนขึ้นมาเป็น 20% ของการใช้พลังงานในปัจจุบันภายในปีดังกล่าว

    ส่วนสหรัฐฯ มาตรฐานประสิทธิภาพการใช้พลังงานในยานยนต์จะกำหนดว่ารถยนต์ที่วางตลาดในปี 2025 จะต้องสามารถใช้น้ำมันในอัตรา 54.5 ไมล์ต่อแกลลอนโดยเฉลี่ย และจะส่งผลไปลดการบริโภคน้ำมันลงได้ 2.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน (แน่นอนว่า พวกรีพับลิกันที่ครองรัฐสภา และเป็นพวกที่ได้รับอัดฉีดมหาศาลจากเหล่ายักษ์ใหญ่น้ำมันโลก จะทำทุกสิ่งอย่างเพื่อกำจัดความพยายามลดการบริโภคเชื้อเพลิงจากฟอสซิล)

    กระนั้นก็ตาม ไม่ว่าฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจะลุกขึ้นแก้ไขป้องกันภยันตรายแห่งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกันอย่างเพียงพอหรือไม่ ปัญหาเรื่องนี้เป็นประเด็นที่ปรากฏในแผนด้านพลังงานกันแล้ว และอิทธิพลของมันต่อผู้กำหนดนโยบายในแต่ละแห่งทั่วโลก ก็นับวันแต่จะทวีตัวขึ้นไป ไม่ว่าพวกยักษ์ใหญ่น้ำมันโลกจะพร้อมหรือไม่ที่จะยอมรับต่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือไม่ ประเด็นว่าด้วยพลังงานทางเลือกได้ยึดหัวหาดอยู่ในกรอบการวางอนาคตเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยไม่มีทางที่ใครจะตีจากออกไป

    “มันเป็นโลกที่แตกต่างไปจากสภาพการณ์เดิม นับจากที่เราได้เห็นราคาน้ำมันร่วงดิ่งเมื่อรอบที่แล้ว” มาเรีย แวน เดอร์ เฮอเว่น ผู้อำนวยการใหญ่ของไออีเอกล่าวไว้ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยหมายถึงเหตุการณ์เมื่อช่วงที่วิกฤตเศรษฐกิจปี 2008

    “เศรษฐกิจเกิดใหม่ทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จีน ได้เข้าสู่ช่วงของการพัฒนาที่ลดการใช้น้ำมันเป็นตัวขับเคลื่อน... และเหนืออื่นใด ความกังวลต่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีอิทธิพลต่อนโยบายด้านพลังงาน ดังนั้น พลังงานหมุนเวียน พลังงานทดแทนจึงเป็นเรื่องแพร่หลายมากขึ้นๆ”

    เป็นธรรมดาอยู่เองที่อุตสาหกรรมน้ำมันจะหวังว่าการตกต่ำของราคาในปัจจุบัน ไม่ช้าก็จะพลิกผันกลับขึ้นไปได้เอง พร้อมหวังด้วยว่าโมเดลการผลิตสูงสุดซึ่งยอบแยบอยู่ในปัจจุบัน จะเดินหน้าต่อได้เมื่อราคาน้ำมันทะยานกลับสู่ระดับ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แต่ความปรารถนานี้น่าจะเป็นความฝันข้างท่อน้ำมันเสียมากกว่า

    ดั่งที่ แวน เดอร์ เฮอเว่น ชี้ประเด็นไว้ว่า โลกได้เปลี่ยนในอย่างใหญ่หลวงแล้ว โดยเป็นไปในกระบวนการที่บดขยี้รากฐานที่เคยรองรับยุทธศาสตร์การผลิตสูงสุดของยักษ์ใหญ่น้ำมันโลกไปอย่างสิ้นเชิง ประดาขาใหญ่วงการน้ำมันจะต้องปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมใหม่ พร้อมกับลดปฏิบัติการของพวกตนลง มิฉะนั้น ก็จะต้องเผชิญกับภัยคุกคามจากบริษัทอื่นที่ฉับไวและเชิงรุกมากกว่า

    ไมเคิล ที แคลร์ เป็นศาสตราจารย์แห่งภาควิชาสันติภาพและเสถียรภาพโลก ณ แฮมป์เชียร์ คอลเลจ นอกจากนั้น ยังเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง The Race for What’s Left ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อเร็วๆ นี้ ทั้งนี้ มีการจัดทำผลงานประพันธ์ของศ.แคลร์ เรื่อง Blood and Oil ในรูปแบบภาพยนตร์สารคดีออกเผยแพร่แล้ว โดยหาชมได้จากมูลนิธิ Media Education Foundation

     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,263
    ค่าพลัง:
    +97,150
    แอฟริกาใต้อันตรายกระแสปล้นร้านค้าต่างชาติ

    [​IMG]

    ชาวต่างชาติหลายพันคนแห่อพยพไปอยู่ค่ายลี้ภัย หลังเกิดการปล้นและก่อเหตุทำร้ายร่างกายที่มุ่งเป้าไปที่ชาวต่างชาติ ซึ่งมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 5 ราย และผู้ต้องสงสัยถูกจับกุมแล้ว 74 ราย

    วันพฤหัสบดี 16 เมษายน 2558 เวลา 04:02 น.
    สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองโจฮันเนสเบิร์ก ประเทศแอฟริกาใต้ เมื่อวันที่ 15 เม.ย. ว่า องค์กรกิฟต์ ออฟ เดอะ กิฟเวอร์ส หน่วยงานบรรเทาทุกข์ในแอฟริกาใต้ เผย ชาวต่างชาติกว่า 2,000 คน ทิ้งบ้านเรือนลี้ภัยไปอาศัยยังค่ายพักพิงที่ทางการจัดขึ้นในเมืองเดอร์บัน เมืองท่าทางตะวันออกของประเทศ หลังเกิดการโจมตีมุ่งเป้าไปที่ชาวต่างชาติ ตั้งแต่เมื่อปลายเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 5 ราย ขณะที่ผู้ต้องสงสัยถูกจับกุมแล้ว 74 ราย

    นายอิมติอาส ซูลิมาน เจ้าหน้าที่ขององค์กร กล่าวว่า อาจไม่มีที่พักเพียงพอต่อผู้ลี้ภัยหากการก่อเหตุยังคงดำเนินต่อไป เพราะผู้เดือดร้อนจะต้องเพิ่มมากขึ้น พวกสูญเสียทุกอย่าง ทั้งงานและธุรกิจ หลังเกิดการปล้นสะดมอย่างต่อเนื่อง ห้างร้านหลายแห่งของชาวต่างชาติในโจฮันเนสเบิร์กต้องปิดตัวลง บางคนต้องพกอาวุธไว้ป้องกันตัวตลอดเวลา ขณะที่ชาวต่างชาติบางคนที่มีกำลังพอเลือกที่จะเดินทางกลับประเทศ โดยนายกอนด์วานี นันคุมวา รมว.กระทรวงสารสนเทศมาลาวี เผยว่า ทางการได้จัดเตรียมค่ายที่พักเพื่อรองรับชาวมาลาวีที่ต้องการเดินทางกลับประเทศ.
    แอฟริกาใต้อันตรายกระแสปล้นร้านค้าต่างชาติ | อ่านความจริงอ่านเดลินิวส์
     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,263
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สเปซเอ็กซ์ส่งเสบียงสู่สถานีอวกาศนานาชาติ

    [​IMG]

    บริษัทขนส่งทางอวกาศ 'สเปซเอ็กซ์' ของสหรัฐ สามารถส่งยานขนเสบียง 'ดรากอน' ขึ้นสู่วงโคจรได้สำเร็จ คาดว่ายานจะเดินทางไปถึงสถานีอวกาศนานาชาติในวันศุกร์

    วันพฤหัสบดี 16 เมษายน 2558 เวลา 00:20 น.
    สำนักข่าวเอพี รายงานจากแหลมคานาเวอรัล ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 15 เม.ย. ว่า สเปซเอ็กซ์ บริษัทขนส่งทางอวกาศของสหรัฐ ประสบความสำเร็จในการปล่อยจรวด "ฟอลคอน 9" เพื่อนำส่งยานอวกาศ "ดรากอน" ขึ้นสู่วงโคจร เมื่อเวลา 16.10 น. วันอังคาร ตามเวลาท้องถิ่น (03.10 วันพุธ ตามเวลาประเทศไทย) ที่ฐานปล่อยจรวดของกองทัพอากาศสหรัฐ แหลมคานาเวอรัล รัฐฟลอริดา ปฏิบัติการครั้งนี้ต้องล่าช้าไป 1 วันเนื่องจากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย

    ยานอวกาศดรากอนทำหน้าที่ขนส่งเสบียงอาหาร อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ และเครื่องมือที่จำเป็น น้ำหนักรวมกว่า 1,954 กิโลกรัม สำหรับนักบินอวกาศ 5 คน ซึ่งประจำการอยู่ที่สถานีอวกาศนานาชาติ (ไอเอสเอส) คาดว่าจะเดินทางไปถึงในวันศุกร์ และจะอยู่ที่ไอเอสเอสจนถึงวันที่ 21 พ.ค. ทั้งนี้ การมาถึงของดรากอนนับเป็นสิ่งที่บรรดานักบินอวกาศรอคอยอย่างยิ่ง เพราะเสบียงและสิ่งของจำเป็นเหลือเพียงพอสำหรับ 1 - 2 เดือนเท่านั้น เนื่องจากการนำส่งเสบียงที่มีกำหนดเมื่อเดือน ต.ค. ปีที่แล้วล้มเหลว จากการระเบิดของจรวดนำส่งของบริษัทออร์บิทัล ไซแอนเซส คอร์ป

    อย่างไรก็ตาม แม้การเดินทางของดรากอนจะราบรื่น แต่ความพยายามให้จรวดนำส่งชุดแรกตกลงบนฐานกลางทะเลหลังแยกออกจากยานดรากอนที่ความสูง 126 กิโลเมตรจากพื้นดิน ยังคงไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งสเปซเอ็กซ์จะพัฒนาส่วนนี้ต่อไปในการส่งเสบียงครั้งหน้าช่วงเดือน มิ.ย. นี้ เพราะการนำจรวดนำส่งกลับมาใช้งานซ้ำจะช่วยลดต้นทุนได้มาก.

    สเปซเอ็กซ์ส่งเสบียงสู่สถานีอวกาศนานาชาติ | อ่านความจริงอ่านเดลินิวส์
     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,263
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ปากีสถานทดสอบยิงขีปนาวุธหัวรบนิวเคลียร์
    กองทัพปากีสถานประสบความสำเร็จ ในการทดสอบยิงขีปนาวุธติดหัวรบนิวเคลียร์ "กอห์รี" พิสัยยิงไกล 1,300 กม. เมื่อวันพุธ

    [​IMG]

    วันพฤหัสบดี 16 เมษายน 2558 เวลา 01:12 น.
    สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานจากกรุงอิสลามาบัด ประเทศปากีสถาน เมื่อวันที่ 15 เม.ย. ว่า กองทัพปากีสถานประกาศความสำเร็จ การทดสอบยิงขีปนาวุธติดหัวรบนิวเคลียร์ "กอห์รี" ในวันนี้ โดยกอห์รีที่สามารถยิงโจมตีเป้าหมายได้ไกล 1,300 กิโลเมตร สามารถติดตั้งได้ทั้งหัวรบระเบิดแบบธรรมดา และหัวรบนิวเคลียร์ การทดสอบมีขึ้น 1 เดือน หลังความสำเร็จในการยิงทดสอบ ขีปนาวุธแบบพื้น-สู่-พื้น "ชาฮีน 3" ซึ่งติดหัวรบนิวเคลียร์ได้เช่นกัน และมีพิสัยยิงไกลถึง 2,750 กิโลเมตร แถลงการณ์ของกองทัพปากีสถาน ระบุว่า การฝึกซ้อมยิงระบบขีปนาวุธกอห์รี มีเป้าหมายเพื่อทดสอบความพร้อม ทางด้านปฏิบัติการและเทคนิก

    ปากีสถานและเพื่อนบ้านคู่ปรปักษ์ อินเดีย ซึ่งทำสงครามสู้รบกัน 3 ครั้ง นับตั้งแต่ได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี 2490 ต่างก็ทดสอบยิงขีปนาวุธแข่งกันเป็นประจำ หลังจากทั้ง 2 ประเทศแสดงตนว่ามีอาวุธนิวเคลียร์ในครอบครองในปี 2541 ความตึงเครียดต่อกันเพิ่มสูงกว่าปกติอีกครั้ง เมื่อทางการปากีสถานอนุญาตให้ประกันตัวเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ต่อนายซากี-อูร์-เรห์มาน ลัคห์วี ผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้บงการ การโจมตีของผู้ก่อการร้ายชาวปากีสถาน 10 คน ในเมืองมุมไบของอินเดีย ระหว่างวันที่ 26 - 29 พ.ย. 2551 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 164 ศพ และได้รับบาดเจ็บอย่งาน้อย 308 คน

    การปล่อยตัวชั่วคราวดังกล่าว ซึ่งถูกประณามอย่างรุนแรงจากรัฐบาลอินเดีย รวมทั้งทางการสหรัฐและฝรั่งเศส มีขึ้นเกือบ 4 เดือนหลังเกิดความขัดแย้ง ระหว่างเจ้าหน้าที่ของปากีสถาน เกี่ยวกับการควบคุมตัวนายลัคห์วี โดยเมื่อผู้พิพากษาอนุมัติให้ประกันตัวในเดือน ธ.ค. รัฐบาลปากีสถานสั่งคุมขังนายลัคห์วีหลายครั้ง แต่ก็ถูกผู้พิพากษายกเลิกคำสั่งทุกครั้ง.

    ปากีสถานทดสอบยิงขีปนาวุธหัวรบนิวเคลียร์ | อ่านความจริงอ่านเดลินิวส์
     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,263
    ค่าพลัง:
    +97,150
    อินเดียซื้อยูเรเนียมแคนาดากว่า 3,000 ตัน

    [​IMG]

    รัฐบาลอินเดียลงนามสั่งซื้อยูเรเนียมจากแคนาดากว่า 3,000 ตัน เพื่อนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงเตาปฏิกรณ์พลังงานในประเทศ

    วันพฤหัสบดี 16 เมษายน 2558 เวลา 02:38 น.
    สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงออตตาวา ประเทศแคนาดา เมื่อวันที่ 15 เม.ย. ว่า นายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ของอินเดีย ลงนามในสัญญาเมื่อวันพุธ สำหรับการสั่งซื้อยูเรเนียมจากบริษัทของแคนาดา กว่า 3,000 ตันในระยะเวลา 5 ปี เพื่อนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องปฏิกรณ์พลังงานนิวเคลียร์ในประเทศ การลงนามมีขึ้นขณะที่โมดีและคณะ เริ่มการเยือนแคนาดาเต็มวันเป็นวันแรก ขณะที่ นายกรัฐมนตรีสตีเฟน ฮาร์เปอร์ ผู้นำเจ้าบ้าน กล่าวว่า การลงนามแสดงให้เห็นถึงการยึดมั่นของทั้งสองประเทศ ในการที่จะขยายการค้าต่อกัน

    ข้อตกลงสั่งซื้อยูเรเนียมจากบริษัทคาเมโก คอร์ป ของแคนาดา เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงหลายรายการ ที่มีการเซ็นลงนามกันในวันนี้ ซึ่งรวมถึงคำมั่นความร่วมมือในภาคการบินพลเรือน ระบบการขนส่งทางรถไฟ การศึกษา และการพัฒนาทักษะ

    การเยือนของโมดีเป็นเวลา 3 วัน เริ่มจากวันอังคาร ถือเป็นการเยือนแคนาดาแบบทวิภาคีเป็นครั้งแรก ของนายกรัฐมนตรีอินเดีย นับตั้งแต่การเยือนของ นางอินทิรา คานธี ในปี 2516 และตามกำหนดการในวันนี้ โมดีจะพบปะเยี่ยมเยือนชาวอินเดียที่ใช้ชีวิตอยู่ในแคนาดา ที่เมืองโทรอนโต เมืองใหญ่สุดของประเทศด้วย.

    อินเดียซื้อยูเรเนียมแคนาดากว่า 3,000 ตัน | อ่านความจริงอ่านเดลินิวส์
     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,263
    ค่าพลัง:
    +97,150
    จีนปฏิรูประบบยุติธรรมฟ้องคดีง่ายขึ้น

    [​IMG]

    รัฐบาลจีนปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม เพื่อให้การฟ้องร้องคดีความของประชาชน เป็นไปด้วยความสะดวกง่ายดายยิ่งขึ้น

    วันพฤหัสบดี 16 เมษายน 2558 เวลา 01:49 น.
    สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานจากกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 15 เม.ย. ว่า รัฐบาลจีนประกาศการปรับกระบวนการยุติธรรมเมื่อวันพุธ เพื่อให้เกิดความสะดวกง่ายดายยิ่งขึ้นต่อประชาชน ในการยื่นฟ้องคดีความต่อศาล อันเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามส่งเสริมหลักนิติธรรม และสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบยุติธรรมของประเทศ

    ตามกฏระเบียบใหม่ ในรายงานของสำนักข่าวซินหัว ระบุว่า ตราบใดที่คดีถูกยื่นฟ่้องโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย จะได้รับการประทับรับฟ้อง และเริ่มกระบวนการยุติธรรม จากเมื่อก่อนนี้ที่โดยปกติทั่วไป จะมีการตรวจตราเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคดี ก่อนเจ้าหน้าที่จะตัดสินใจว่าจะประทับรับฟ้องหรือไม่ "มีประชาชนจำนวนน้อยมากที่เชี่ยวชาญเรื่องกฎหมาย กระบวนการที่ยุ่งยากซับซ้อนเกินไป จะทำให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นเรื่องยุ่งยากลำบาก ในการนำคดีขึ้นสู่ศาล" รายงานระบุ และว่า ตามกฎระเบียบใหม่ หากผู้ใดเจตนาทุจริตต่อระบบ เมื่อทำการฟ้องร้องคดี จะถูกลงโทษรุนแรงกว่าเมื่อก่อนนี้

    พรรคคอมมิวนิสต์จีน หรือรัฐบาลแผ่นดินใหญ่ จัดการประชุมเมื่อปีที่แล้ว เพื่อปรับปรุงหลักนิติธรรม แสดงให้เห็นถึงความวิตกที่มีต่อความไม่สงบในสังคมที่เพิ่มขึ้น.

    จีนปฏิรูประบบยุติธรรมฟ้องคดีง่ายขึ้น | อ่านความจริงอ่านเดลินิวส์
     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,263
    ค่าพลัง:
    +97,150
    'แคนดี้ ครัช'ทำพิษหนุ่มมะกันเอ็นนิ้วขาด

    [​IMG]

    ชายวัย 29 ปี จากรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐ หมกมุ่นเล่นเกม 'แคนดี้ ครัช' ในโทรศัพท์มือถืออย่างเมามันทั้งวันทั้งคืนนานนับเดือน จนเอ็นนิ้วขาดไม่รู้ตัว

    วันพุธ 15 เมษายน 2558 เวลา 20:33 น.
    เว็บไซต์ข่าวไทม์ส ออฟ อินเดีย รายงานจากนครลอสแอนเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 15 เม.ย. ว่า วารสารวิทยาศาสตร์ "ไลฟ์ ไซแอนซ์" เผยแพร่รายงานทางการแพทย์ของชายชาวอเมริกันวัย 29 ปี รายหนึ่ง จากรัฐแคลิฟอร์เนีย เขาไปพบแพทย์ที่ศูนย์การแพทย์นาวิกโยธินซานดิเอโก ด้วยอาการปวดและเคลื่อนไหวนิ้วโป้งมือข้างซ้ายไม่สะดวก จากการตรวจเอ็กซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (เอ็มอาร์ไอ) พบว่า เอ็นยึดบริเวณข้อต่อเกิดฉีกขาด และต้องเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัด

    จากการสัมภาษณ์เพื่อวินิจฉัยสาเหตุของการบาดเจ็บ ชายคนดังกล่าวแจ้งกับแพทย์ว่า เขาเล่นเกม "แคนดี้ ครัช ซาก้า" ในโทรศัพท์มือถือทั้งวัน ทุกวัน เป็นระยะเวลาตลอดช่วง 6 - 8 สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยใช้เพียงมือซ้ายในการเล่นเกม ขณะที่ใช้มือขวาในการทำกิจกรรมอย่างอื่น ถึงแม้ว่าจะไม่ได้จดจ่อกับเกมมากที่สุด แต่มันก็เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

    นายแพทย์แอนดรูว์ โดอัน เผยว่า ส่วนที่น่าสนใจของกรณีนี้ คือการที่คนไข้ไม่รู้สึกถึงการเจ็บปวดเลยในช่วงการบาดเจ็บเริ่มพัฒนา ส่วนใหญ่แล้ว การฉีกขาดของเอ็นมักเกิดในตำแหน่งที่บางที่สุด หรือบริเวณที่เอ็ดติดกับกระดูก แต่การบาดเจ็บของชายคนนี้กลับเกิดตรงส่วนที่หนาที่สุดของเส้นเอ็น ซึ่งจะทำให้เกิดความเจ็บปวดอย่างมาก

    นายแพทย์โดอันกล่าวว่า การที่คนไข้ไม่รู้สึกถึงความเจ็บปวดก่อนหน้านั้น อาจเป็นเพราะความพึงพอใจและความตื่นเต้นระหว่างการเล่นเกม ที่ทำให้ร่างกายหลั่งสารเคมีที่เปรียบเสมือนยาแก้ปวดตามธรรมชาติออกมา ซึ่งนับเป็นสิ่งที่น่ากังวล เพราะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้พฤติกรรมเหล่านี้พัฒนาไปสู่การเสพติดได้.

    ที่มา: Man tears thumb tendon after playing Candy Crush non-stop - The Times of India

    'แคนดี้ ครัช'ทำพิษหนุ่มมะกันเอ็นนิ้วขาด | อ่านความจริงอ่านเดลินิวส์
     

แชร์หน้านี้

Loading...