ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,989
    ค่าพลัง:
    +97,149
    สถิติผู้ป่วยโควิดอุตรดิตถ์พุ่งพรวด..พบทหารค่ายพระยาพิชัยดาบหัก กลับจากตรวจเลือกทหารเกณฑ์เชียงใหม่ ติดโควิด 19 รายรวด


     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,989
    ค่าพลัง:
    +97,149
    สธ.ขอนแก่นเผย
    14 เม.ย.64 เวลา 16.30น. พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 31 ราย! สะสม 126 ราย

     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,989
    ค่าพลัง:
    +97,149
    กลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ในสถานบันเทิงหลายเเห่งเเละสนามบาสเกตบอล ใน อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ที่ผู้ติดเชื้อ COVID-19 เข้าไปใช้บริการเข้ารับการตรวจหาเชื้อ ที่ศาลากลางน้ำ สวนสาธารณะ เทศบาลนครหาดใหญ่ จ.สงขลา ท่ามกลางมาตรการป้องกันการระบาดอย่างใกล้ชิด
    สำหรับสถานการณ์ COVID – 19 ระบาดระลอกใหม่ ของจังหวัดสงขลา พบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในวันนี้(14 เม.ย.64) พบผู้ติดเขื้อรายใหม่ 17 คน คนไทยเดินทางกลับจากประเทศมาเลเซีย 2 คน มีผู้ป่วยสะสม 57 คน ทำให้ต้องเร่งตรวจหาเชื้อกลุ่มเสี่ยงสูง
    #COVID19ระบาดใหม่ #สงขลา #ThaiPBSศูนย์ข่าวภาคใต้


     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,989
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ข้อสังเกต
    1 ประกาศปิดห้าง และร้านค้าปลีก ตั้งแต่ 21:00 น นั้นเป็นเรื่องสมาคม ไม่มีผลทางกฎหมาย
    2 การที่สมาคมประกาศปิดกันเองทำให้ ศบค. ไม่ต้องรับผิดชอบค่าเยียวยาจากผลกระทบตามกฎหมาย

    FB_IMG_1618405346836.jpg

     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,989
    ค่าพลัง:
    +97,149
    จักษุแพทย์เตือน อาการทางตาที่สำคัญที่พบในผู้ป่วยโควิด-19 ปัจจุบัน คือ..

    อาการตาแดง คันบริเวณเปลือกตา น้ำตาไหล โดยอาจมีอาการทางตามาก่อนอาการไข้

    การสัมผัสสารคัดหลั่งจากดวงตาของผู้ป่วยซึ่งอาจตรวจพบเชื้อโควิดในน้ำตาหรือขี้ตาได้ อาจเป็นการแพร่กระจายเชื้อ

    https://ch3plus.com/news/program/237195
     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,989
    ค่าพลัง:
    +97,149
    14 เมษายน 2564 นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน เปิดเผยว่า จากกรณีในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ภายในประเทศเพิ่มขึ้น โดยหลายกรณีเชื่อมโยงกับสถานประกอบการประเภทสถานบันเทิง ผับ บาร์ ซึ่งสำนักงานหลักประกันสุขภาพ (สปสช.) ได้แจ้งประชาชนกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 สามารถเข้ารับการตรวจคัดกรองได้ในโรงพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชนทุกแห่งทั่วประเทศ เพื่อให้สามารถเข้าถึงการคัดกรองโรคและการรักษาอย่างทันท่วงทีเพื่อสกัดกั้นการแพร่ระบาดของโรค โดยนายกฯ มีความห่วงใยผู้ประกันตนจากกรณีการแพร่ระบาดดังกล่าว จึงกำชับกระทรวงแรงงาน บูรณาการร่วมกับกระทรวงมหาดไทย (กรุงเทพมหานคร) และ สปสช. เพิ่มช่องทางหน่วยบริการตรวจโควิด-19 เพื่อลดความแออัดและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมตามมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 ที่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ สามารถเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ซึ่งจะเริ่มต้นวันที่ 17 เมษายนนี้ ที่อาคารกีฬาเวสน์ 1 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร

    นายสุชาติ กล่าวว่า ตนได้หารือกำหนดแนวทางที่จะร่วมกับกระทรวงมหาดไทย และ สปสช.เปิดให้ผู้ประกันตนที่จะเข้ารับการตรวจสามารถลงทะเบียนจองคิวตรวจผ่านระบบแอปพลิเคชันออนไลน์ สำหรับผู้ประกันตนที่จะได้เข้าตรวจคือผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่คัดกรอง ทั้งนี้หากผู้ประกันตนรายใดตรวจพบเชื้อโควิด-19 จะต้องส่งตัวเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเครือข่ายในสังกัดสำนักงานประกันสังคม โดยจะได้รับการรักษาฟรี ซึ่งมีอยู่จำนวน 81 แห่ง ที่มีความพร้อม มีเตียงรองรับกว่า 1,000 เตียง มี HQ 200 กว่าเตียง

    นายสุชาติ กล่าวต่อว่า สำหรับผู้ประกันตนที่จะเข้ารับการตรวจคัดกรองโควิด-19 ฟรี จะต้องเข้าข่ายเป็นกลุ่มเสี่ยงตามที่กระทรวงสาธารณสุขหรือ สปสช. กำหนด ดังนี้ ก. ตามนิยามผู้สงสัยติดเชื้อโควิด-19 ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข มีอาการอย่างน้อยหนึ่งอาการต่อไปนี้ คือ มีไข้ อุณหภูมิตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป ไอ น้ำมูก เจ็บคอจมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส มีผื่นขึ้น ตาแดง หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบาก ร่วมกับมีปัจจัยเสี่ยง คือ 14 วันก่อนเริ่มป่วย มีประวัติอย่างน้อยหนึ่งอย่างต่อไปนี้, สัมผัสกับผู้ป่วยยืนยันโควิด-19, ไปในสถานที่ชุมชนหรือสถานที่ที่มีการรวมตัวของกลุ่มคน เช่น ตลาดนัด ห้างสรรพสินค้า สถานพยาบาล สถานบันเทิง หรือขนส่งสาธารณะที่มีรายงานผู้ป่วยยืนยันโควิด-19 ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา หรือเดินทางไปยัง/มาจาก/หรืออยู่อาศัย ในประเทศที่มีรายงานผู้ป่วยโควิด-19 ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา และปฏิบัติงานในสถานกักกันโรค

    นายสุชาติ กล่าวต่อว่า แพทย์ผู้ตรวจรักษาสงสัยว่าเป็นโรคโควิด-19 กรณีสัมผัสกับผู้ป่วยยืนยันโควิด-19 หรือไปในสถานที่มีการระบาดมา ไม่มีอาการป่วย แต่สงสัยว่าจะติดเชื้อโควิด-19 สามารถไปรับการตรวจคัดกรองได้ โดย สปสช.ได้ปรับแก้ประกาศให้ครอบคลุมการตรวจคัดกรองโควิด-19 ตามดุลพินิจของแพทย์ ซึ่งสามารถเบิกจ่ายกับ สปสช.ได้ โดยไม่ต้องเรียกเก็บจากผู้ป่วย

    ขั้นตอนการลงทะเบียนออนไลน์เพื่อจองคิวตรวจของกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33, 39, และ 40 สามารถเข้าเว็บไซต์ https://www.google.com แล้วพิมพ์คำว่า แรงงานเราสู้ด้วยกัน แล้วคลิกที่เว็บไซต์ https://sso.icntracking.com/icntracking/self_register.php จากนั้นผู้ประกันตนกรอกเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักหรือเลขพาสปอร์ต กรอกข้อมูลประเมินความเสี่ยงตามที่กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ซึ่งเป็นบุคคลที่มีกลุ่มเสี่ยงหรือมีอาการป่วย โดยจะเริ่มเปิดให้ลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ในวันที่ 15 เม.ย.นี้ ตั้งแต่เวลา 18.00 น.เป็นต้นไป โดยแต่ละวันลงทะเบียนได้วันละ 3,000 คน แบ่งเป็นช่วงเช้า 1,500 คน ช่วงบ่าย 1,500 คน หากผู้ประกันตนรายใดลงทะเบียนแล้วไม่มาตรวจตามนัดจะต้องลงทะเบียนใหม่ และเมื่อเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 เรียบร้อยแล้ว สามารถกลับบ้านได้ทันที เนื่องจากผลการตรวจจะส่งทาง SMS ให้ผู้ประกันตนทราบตามหมายเลขโทรศัพท์ที่แจ้งไว้

    “ขอเน้นย้ำว่า ผู้ประกันตนที่เข้าข่ายเป็นกลุ่มเสี่ยงตามที่กระทรวงสาธารณสุขและ สปสช.กำหนด ยังคงสามารถตรวจโควิด-19 ได้ฟรีทั้งในโรงพยาบาลรัฐและเอกชนทุกแห่งทั่วประเทศ ซึ่งถือเป็นสิทธิของคนไทยทุกคน การเพิ่มหน่วยบริการตรวจที่จะเปิดแห่งแรกใน กทม. นั้น เป็นการเพิ่มช่องทางหรือทางเลือกหนึ่งเพื่อบริการผู้ประกันตนให้ได้รับการตรวจอย่างรวดเร็ว ลดความแออัดหรือรอคิวนาน ซึ่งกระทรวงแรงงานจะพิจารณาเพิ่มหน่วยบริการสำหรับผู้ประกันตนให้มากขึ้นต่อไป” นายสุชาติ กล่าว

    #roundtablethailand
    roundtablethailand.com

     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,989
    ค่าพลัง:
    +97,149
    สมาคมค้าปลีก-ศูนย์การค้า ยกระดับมาตรการคุมโควิด-19 สกัดการแพร่ระบาด ประกาศเลื่อนเวลาปิดเร็วขึ้น เป็น 21.00 น.ทุกวัน พร้อมงดกิจกรรมที่มีการรวมตัวของคนจำนวนมาก ตั้งแต่ 15 เม.ย.เป็นต้นไป

    14 เมษายน 2564 นายญนน์ โภคทรัพย์ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย เปิดเผยว่า จากรายงานศูนย์ข้อมูลโควิด-19 ถึงสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด ประจำวันที่ 13 เมษายน 2564 ประเทศไทยพบจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นมากกว่าพันราย นับเป็นการแพร่ระบาดโควิดระลอกที่ 3 รอบใหม่ ที่จะเป็นความเสี่ยงและผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ สมาคมผู้ค้าปลีกไทย และสมาคมศูนย์การค้าไทย จึงประกาศยกระดับมาตรการการเฝ้าระวังการระบาดของโควิดครั้งนี้ โดยสมาชิกสมาคมทั้ง 2 แห่งและภาคีเครือข่ายทั่วประเทศ จะเพิ่มมาตรการเข้มข้นในการคัดกรองผู้บริโภคเข้าศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้า ในระดับสูงสุด

    นายญนน์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ประกาศเลื่อนปิดศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้าทั่วประเทศเป็นเวลา 21.00 น. ทุกวัน พร้อมทั้งงดกิจกรรมที่มีการรวมตัวของคนจำนวนมาก รวมถึงการให้พนักงาน Work From Home เพื่อเพิ่มศักยภาพให้ทุกหน่วยงานสามารถควบคุมการแพร่ระบาดระลอกใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นับตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 15 เมษายน จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง สมาคมผู้ค้าปลีกไทยและสมาคมศูนย์การค้าไทย จะเป็นผู้นำให้เอกชนทุกภาคส่วนร่วมมือกันในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ให้จบเร็วที่สุด

    #roundtablethailand
    roundtablethailand.com

     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,989
    ค่าพลัง:
    +97,149
    FB_IMG_1618405760875.jpg

    (Apr 14)แบก์ชาติขยายเวลาจัดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ หลังกระแสตอบรับดีเกินคาด : นางธัญญนิตย์ นิยมการ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน 2 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ตามที่ ธปท. สำนักงานศาลยุติธรรม และกรมบังคับคดี ได้ร่วมกันจัด "มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล" (หนี้บัตรฯ) โดยเดิมได้กำหนดช่วงเวลาของงานไว้ระหว่างวันที่ 14 กุมภาพันธ์ - 14 เมษายน 2564 ปรากฏว่า ผลตอบรับโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก กล่าวคือ มีประชาชนมากกว่า 2 แสนคนให้ความสนใจและได้ลงทะเบียนเข้าร่วมงานมหกรรมไกล่เกลี่ยครั้งนี้เกือบ 5 แสนบัญชี ทั้งนี้ เมื่อใกล้ครบช่วงเวลาที่กำหนดไว้ มีข้อเรียกร้องจากหลายภาคส่วนให้ขยายระยะเวลาที่จัดงานออกไป

    ธปท. ได้หารือเรื่องดังกล่าวกับผู้ให้บริการทางการเงินและผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเห็นร่วมกันที่ให้ขยายระยะเวลาจัดงานออกไปจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564 เพื่อให้ลูกหนี้มีโอกาสเข้ามาไกล่เกลี่ยหนี้ได้มากและกว้างขวางยิ่งขึ้น ธปท. เห็นว่าแม้เครื่องชี้เศรษฐกิจหลายตัวจะมีทิศทางดีขึ้น และเริ่มมีการฉีดวัคซีนแล้ว แต่ความเสี่ยงที่อาจจะมีการระบาดของโควิด 19 ระลอกใหม่ยังมีอยู่ ซึ่งอาจจะกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ รายได้ รวมถึงความสามารถในการชำระหนี้ของประชาชน

    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2564 ถึงวันที่ 12 เมษายน 2564 ประชาชนให้ความสนใจเข้ามาลงทะเบียนจำนวน 234,906 คน หรือ 481,936 บัญชี ซึ่งปัจจุบันผู้ให้บริการอยู่ระหว่างเร่งติดต่อ รวมทั้งตรวจสอบสถานะ และทยอยแจ้งผลเข้ามาต่อเนื่อง โดยภาพรวมการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น พบว่า

    - กลุ่มลูกหนี้ที่เข้าเงื่อนไข ณ วันที่ 31 มีนาคม 2564 มีอยู่จำนวน 110,956 บัญชี (ระหว่างนี้ยอดดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นตามการพิจารณาของผู้ให้บริการที่ทยอยรายงานเข้ามา)

    - ลูกหนี้และเจ้าหนี้สามารถตกลงเจรจาไกล่เกลี่ยกันได้ประมาณร้อยละ 63 ส่วนกรณีที่ยังไม่สามารถหาข้อสรุป บางส่วนอยู่ระหว่างกำลังตรวจสอบเอกสาร และเป็นผลจากลูกหนี้ยื่นขอไกล่เกลี่ยเข้ามาผิดกลุ่ม เช่น สถานะยังผ่อนชำระดี แต่ยื่นขอไกล่เกลี่ยในช่องทางของกลุ่มที่มีคำพิพากษาแล้ว เป็นต้น รวมทั้งบางกรณีลูกหนี้ยังไม่พร้อมที่จะผ่อนชำระตามแผน และบางรายต้องการข้อเสนอที่แตกต่างจากข้อตกลงของงานมหกรรมในครั้งนี้ โดยในช่วงที่ต่อเวลาคาดว่าสัดส่วนที่ทั้งสองฝ่ายจะสามารถไกล่เกลี่ยกันได้จะเพิ่มสูงขึ้น

    นางธัญญนิตย์ เปิดเผยเพิ่มเติมว่า ธปท. ได้รับแจ้งมาว่าประชาชนในหลายกลุ่มยังไม่ทราบเกี่ยวกับงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้บัตรในครั้งนี้ จึงต้องการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้บัตรในครั้งนี้ให้ประชาชนทราบมากขึ้นในวงกว้าง เพื่อให้ประชาชนที่มีหนี้บัตรใช้โอกาสที่มีการจัดงานในครั้งนี้แก้ปัญหาหนี้ที่มีอยู่ โดยความพิเศษของงานครั้งนี้ คือ ข้อเสนอการผ่อนชำระหนี้จะมีความผ่อนปรน และอยู่ในวิสัยที่ลูกหนี้จะสามารถปฏิบัติได้ ให้เวลาผ่อนชำระยาวเพียงพอ

    Source: BOT Website
    https://www.bot.or.th/Thai/PressandSpeeches/Press/2021/Pages/n2664.aspx
     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,989
    ค่าพลัง:
    +97,149
    (Apr 14) ธปท. เผยงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้บัตรมีผู้สนใจกว่า 2 แสนราย และ เตรียมพิจารณาให้ครอบคลุมสินเชื่อเช่าซื้อเพิ่มเติม : นางธัญญนิตย์ นิยมการ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน 2 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ตามที่ ธปท. สำนักงานศาลยุติธรรม และกรมบังคับคดี ได้ร่วมกันจัด "มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล" (หนี้บัตรฯ) โดยเดิมได้กำหนดช่วงเวลาของงานไว้ระหว่างวันที่ 14 กุมภาพันธ์ - 14 เมษายน 2564 ปรากฏว่า ผลตอบรับโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก กล่าวคือ มีประชาชนมากกว่า 2 แสนคนให้ความสนใจและได้ลงทะเบียนเข้าร่วมงานมหกรรมไกล่เกลี่ยครั้งนี้เกือบ 5 แสนบัญชี ทั้งนี้ เมื่อใกล้ครบช่วงเวลาที่กำหนดไว้ มีข้อเรียกร้องจากหลายภาคส่วนให้ขยายระยะเวลาที่จัดงานออกไป

    ธปท. ได้หารือเรื่องดังกล่าวกับผู้ให้บริการทางการเงินและผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเห็นร่วมกันที่ให้ขยายระยะเวลาจัดงานออกไปจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564 เพื่อให้ลูกหนี้มีโอกาสเข้ามาไกล่เกลี่ยหนี้ได้มากและกว้างขวางยิ่งขึ้น ธปท. เห็นว่าแม้เครื่องชี้เศรษฐกิจหลายตัวจะมีทิศทางดีขึ้น และเริ่มมีการฉีดวัคซีนแล้ว แต่ความเสี่ยงที่อาจจะมีการระบาดของโควิด 19 ระลอกใหม่ยังมีอยู่ ซึ่งอาจจะกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ รายได้ รวมถึงความสามารถในการชำระหนี้ของประชาชน

    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2564 ถึงวันที่ 12 เมษายน 2564 ประชาชนให้ความสนใจเข้ามาลงทะเบียนจำนวน 234,906 คน หรือ 481,936 บัญชี ซึ่งปัจจุบันผู้ให้บริการอยู่ระหว่างเร่งติดต่อ รวมทั้งตรวจสอบสถานะ และทยอยแจ้งผลเข้ามาต่อเนื่อง

    ภาพรวมการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น พบว่า กลุ่มลูกหนี้ที่เข้าเงื่อนไข ณ วันที่ 31 มีนาคม 2564 มีอยู่จำนวน 110,956 บัญชี (ระหว่างนี้ยอดดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นตามการพิจารณาของผู้ให้บริการที่ทยอยรายงานเข้ามา) โดยลูกหนี้และเจ้าหนี้สามารถตกลงเจรจาไกล่เกลี่ยกันได้ประมาณร้อยละ 63 ส่วนกรณีที่ยังไม่สามารถหาข้อสรุป บางส่วนอยู่ระหว่างกำลังตรวจสอบเอกสาร และเป็นผลจากลูกหนี้ยื่นขอไกล่เกลี่ยเข้ามาผิดกลุ่ม เช่น สถานะยังผ่อนชำระดี แต่ยื่นขอไกล่เกลี่ยในช่องทางของกลุ่มที่มีคำพิพากษาแล้ว เป็นต้น รวมทั้งบางกรณีลูกหนี้ยังไม่พร้อมที่จะผ่อนชำระตามแผน และบางรายต้องการข้อเสนอที่แตกต่างจากข้อตกลงของงานมหกรรมในครั้งนี้ โดยในช่วงที่ต่อเวลาคาดว่าสัดส่วนที่ทั้งสองฝ่ายจะสามารถไกล่เกลี่ยกันได้จะเพิ่มสูงขึ้น

    นางธัญญนิตย์ เปิดเผยเพิ่มเติมว่า ธปท. ได้รับแจ้งมาว่าประชาชนในหลายกลุ่มยังไม่ทราบเกี่ยวกับงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้บัตรในครั้งนี้ จึงต้องการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้บัตรในครั้งนี้ให้ประชาชนทราบมากขึ้นในวงกว้าง เพื่อให้ประชาชนที่มีหนี้บัตรใช้โอกาสที่มีการจัดงานในครั้งนี้แก้ปัญหาหนี้ที่มีอยู่ โดยความพิเศษของงานครั้งนี้ คือ ข้อเสนอการผ่อนชำระหนี้จะมีความผ่อนปรน และอยู่ในวิสัยที่ลูกหนี้จะสามารถปฏิบัติได้ ให้เวลาผ่อนชำระยาวเพียงพอ

    นอกจากนี้ งานมหกรรมครั้งนี้จะมีข้อเสนอสำหรับลูกหนี้ทุกกลุ่มสถานะ กล่าวคือ

    กลุ่มแรก เป็นหนี้บัตรฯ ที่ยังไม่เป็นหนี้เสียแต่รู้สึกฝืดเคือง หรือหนี้บัตรฯ ดี ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด 19 ท่านสามารถลดภาระดอกเบี้ยได้ โดยหยุดการจ่ายขั้นต่ำ ซึ่งใช้เวลานานกว่าหนี้จะลด และขอเปลี่ยนวงเงินสินเชื่อบัตร มาเป็นสินเชื่อแบบมีกำหนดเวลา ซึ่งจะได้รับดอกเบี้ยถูกลง จาก 16% เหลือ 12% สำหรับบัตรเครดิตโดยสามารถคงวงเงินที่เหลือไว้ใช้ได้ และประวัติเครดิตบูโรจะไม่เสีย

    กลุ่มที่สอง เป็นหนี้บัตรฯ ที่เป็นหนี้เสียแล้ว ยังไม่ฟ้อง หรือฟ้องแล้วแต่ยังไม่พิพากษา สามารถผ่อนชำระได้นานสูงสุดถึง 10 ปี ดอกเบี้ยต่ำเพียง 4%-7% ตามเงื่อนไขของคลินิกแก้หนี้

    กลุ่มที่สาม เป็นหนี้บัตรฯ เป็นคดีมีคำพิพากษาแล้ว ไปจนถึงบังคับคดียึดทรัพย์แต่ยังไม่ขายทอดตลาด ซึ่งลูกหนี้กลุ่มนี้ถือเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญและถือเป็นความพิเศษของงานมหกรรมไกล่เกลี่ยในครั้งนี้ คือ ปกติเมื่อเรื่องดำเนินมาถึงขั้นตอนนี้เจ้าหนี้มักจะไม่ยินยอมให้ผ่อนยาว แต่ผู้ให้บริการทางการเงินจำนวน 23 แห่งที่ร่วมโครงการ เห็นความจำเป็นที่ต้องผ่อนปรนเงื่อนไขให้ปฏิบัติได้จริง เพื่อช่วยให้ทุกฝ่ายเดินต่อไปได้ โดยเปิดโอกาสให้ลูกหนี้ในชั้นบังคับคดีเข้ามาปรับโครงสร้างหนี้ร่วมกันได้อีกครั้งหนึ่ง โดยลูกหนี้จะผ่อนชำระเฉพาะเงินต้น นานสูงสุด 5 ปี และยกดอกเบี้ยที่ค้างให้หากลูกหนี้จ่ายชำระตามแผนได้สำเร็จ

    ทั้งนี้ สำหรับประชาชนที่ต้องการความช่วยเหลือหรือคำแนะนำเพิ่มเติม สามารถติดต่อศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธปท. โทร 1213 วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 8.30-16.30 น. กรณีนอกเวลาทำการท่านสามารถฝากชื่อและเบอร์โทรศัพท์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรืออีเมล์มาที่ fcc@bot.or.th เพื่อที่เจ้าหน้าที่ของ ธปท.จะได้ติดต่อกลับไป

    นางธัญญนิตย์ กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า ธปท. ได้รับข้อแนะนำจากหลายภาคส่วนให้จัดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สำหรับสินเชื่อประเภทอื่นเพิ่มเติม ปัจจุบัน ธปท. อยู่ระหว่างการพิจารณาและหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องที่จะจัดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สำหรับสินเชื่อเช่าซื้อเพิ่มเติม ซึ่งอาจจะเริ่มในช่วงเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้ เมื่อรายละเอียดต่าง ๆ มีความชัดเจนแล้วจะได้ชี้แจงให้ทราบต่อไป

    Source: BOT Website
    https://www.bot.or.th/Thai/PressandSpeeches/Press/2021/Pages/n2664.aspx
    FB_IMG_1618405845892.jpg FB_IMG_1618405848651.jpg
    เพิ่มเติม
    - รายละเอียดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้
    https://www.bot.or.th/Thai/AboutBOT/Activities/Pages/PRNews13Feb2021.aspx
     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,989
    ค่าพลัง:
    +97,149
    UPDATE : สถานการณ์ COVID -19 จังหวัดภูเก็ต วันนี้( 14 เม.ย. 64) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นอีก 14 คน ทำให้วันนี้ จังหวัดภูเก็ต มีผู้ป่วยสะสม 112 คน ทางจังหวัดยังคงเร่งตรวจเชิงรุกกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ที่มีประวัติเชื่อมโยงกับผู้ติดเชื้อ ซึ่งมีทั้งผู้ประกอบการ พนักงาน และผู้ที่เข้าร่วมงานปาร์ตี้ อย่างเนื่อง #COVID19ระบาดใหม่ #ภูเก็ต #ThaiPBSศูนย์ข่าวภาคใต้

     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,989
    ค่าพลัง:
    +97,149
    อินเดีย : มหาราษฏระ
    ตำรวจบุกจับโรงงานที่นอน
    ในเขตจัลกาออน รัฐมหาราษฏระใช้หน้ากากอนามัย ถุงมือที่ใช้แล้ว แทนผ้าฝ้ายหรือวัสดุอื่น ๆ ยัดเป็นใส้ในผลิตภัณฑ์ที่นอน ตำรวจได้จับกุม และเผาทำลาย

     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,989
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ซาอุดิอาระเบีย : เจดดาห์
    13 เมษายน พายุทราย ปะทะ กับพายุฝนพร้อมลูกเห็บตก


     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,989
    ค่าพลัง:
    +97,149
    อินเดีย : มุมไบ
    14 เมษายน
    แรงงานผู้มีรายได้น้อยจำนวนมาก รีบหนีออกจากเมืองใหญ่ ก่อนท่างการปิดล็อคดาวน์
    หลังจากยอดติดเชื้อโควิดพุ่ง
    พวกเขามารอที่สถานีรถไฟตั้งแต่เช้ามืด รอขบวนรถเสริมซื้อตั๋วกลับภูมิลำเนา ทางการรถไฟอินเดียกำลังเสริมขบวนรถเพิ่มจำนวนมาก
    **ยอดติดเชื้อรายใหม่วันนี้ 184,372 รายสูงที่สุดตั้งแต่ไวรัสระบาด สะสมรวม 13,873,825 ราย


     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,989
    ค่าพลัง:
    +97,149
    อิตาลี : แมงกระพรุนจำนวนมากบุกท่าเรือเอสเต ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอิตาลี เป็นสายพันธุ์ Rhizostoma pulmo หรือ blue bormซึ่งเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ตัวโตเต็มวัยอาจยาวถึง 1.5 เมตร การรวมตัวกันจำนวนมากอาจมาจาก การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และกระแสน้ำ แมงกระพรุนหาอาหารจาก แพล็งก์ตอน ในเขตน้ำอุ่น การสัมผัสอาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย


     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,989
    ค่าพลัง:
    +97,149
    สหรัฐ : มินนิโซตา
    เกิดเหตุวุ่นวายนอกกรมตำรวจบรู๊คลินเซ็นเตอร์ กลุ่มผู้ประท้วงปะทะกับตำรวจ การชุมนุมเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้ชายผิวสีวัย 20 ปี ที่ถูกตำรวจวิสามัญยังคงดำเนินต่อ ตำรวจวางกำลังและสิ่งกีดขวางตามสถานที่สำคัญ การปล้นร้านค้ายังเกิดขึ้นจำนวนมากในคืนที่ผ่านมา

     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,989
    ค่าพลัง:
    +97,149
    คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (국가인권위원회) ของเกาหลีตัดสินว่าตำรวจที่ทำการสอบสวนหญิงไทยที่กระโดดลงมาจากชั้น 4 ของอาคารเพื่อหลีกเลี่ยงการปราบปรามการค้าประเวณีนั้นถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน

    เมื่อวันที่ 12 เมษายน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเกาหลี (NHRC) ได้รับการยืนยันผ่านคำร้องจากกลุ่มสตรีอพยพที่ยื่นเรื่องมาก่อนจะมีการประกาศผลวินิจฉัยว่า

    ในเดือนสิงหาคม 2018 หญิงไทยอายุ 19 ปีเดินทางเข้าเกาหลีโดยเชื่อว่าเอเจนซี่จะหางานอาบอบนวดให้เธอทำ

    แต่ทันทีที่เธอเข้ามาในเกาหลีได้ เธอได้พบกับเอเจนซี่ชาวไทยคนนึงมีการทำข้อแลกเปลี่ยนตกลงกันก่อนเริ่มงานว่าจะต้องจ่ายค่านายหน้า 4 ล้านวอนและต้องทำงานในสถานอาบอบนวดภายใต้เงื่อนไขว่า จะต้องถูกหักค่าจ้าง 10% จากเงินเดือน 1.5 ล้านวอนต่อเดือน

    เมื่อเธอเริ่มทำงานในอาบอบนวดได้ประมาณ 2 สัปดาห์ เอเจนซี่ชาวไทยก็แนะให้เธอค้าบริการอย่างว่าด้วยถึงจะมีเงินจ่ายค่าแนะนำงานได้เร็ว เพราะลำพังแค่งานนวดธรรมดามันหาเงินไม่เพียงพอกับครอบครัวที่ไทยเท่าไหร่นัก

    เธอจึงเริ่มทำงานในธุรกิจค้าบริการอย่างว่าอย่าที่เอเจนซี่ชาวไทยแนะนำจนกระทั่งจ่ายเงินค่าแนะนำงานจำนวน 4 ล้านวอนให้กับเอเจนซี่คนไทยหมด

    อย่างไรก็ตามเอเจนซี่ไทยได้ยึดหนังสือเดินทางและบัตรประชาชนไทยของเธอไว้ และบังคับให้เธอทำงานค้าบริการต่อ ตั้งแต่นั้นมาเธอก็เริ่มทำงานในธุรกิจค้าบริการอย่างเต็มตัวให้เอเจนซี่ไทยรายนี้

    หลังจากทำงานได้ระยะเวลาหนึ่งเธอได้หนังสือเดินทางและบัตรประชาชนไทยคืน ก่อนที่เธอจะย้ายไปทำงานในธุรกิจค้าบริการตามที่อื่นๆ ไม่นานนักมีเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ลงตรวจและเข้ามาปราบปรามธุรกิจค้าบริการที่เธอทำงานอยู่ ด้วยความตื่นตระหนกเธอตัดสินใจกระโดดตึกลงมาจากชั้น 4 เพื่อหลีกเลี่ยงการปราบปราม

    (ภายหลังเอเจนซี่ชาวไทยถูกตำรวจไทยจับข้อหาค้ามนุษย์และถูกคุมขังในเรือนจำไทย)

    หลังจากถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล เธอได้รับการวินิจฉัยว่าจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดและได้รับผลกระทบทางจิตใจด้วย อย่างไรก็ตามระหว่างที่รอการรักษาอยู่ในห้องฉุกเฉิน ตำรวจได้จับกุมเธอในข้อหาละเมิดกฎหมายคนเข้าเมือง ตัวเธอถูกสอบสวนโดยตำรวจเป็นเวลาหนึ่งชั่วโมงครึ่งภายในห้องพยาบาลรวมที่มีผู้ป่วยรายอื่นอีก 5 คนอยู่ในนั้นด้วย แต่ตำรวจก็เร่งทำการสิบสวนเธอ

    ตำรวจถามเธออย่างเป็นกันเองเกี่ยวกับเรื่องละเอียดอ่อน เช่น ที่อยู่ในประเทศไทย, ความสัมพันธ์ในครอบครัว, ราคาการค้าบริการ, วิธีการค้าบริการ, และการใช้ถุงยางอนามัย เธอก็ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากตอบคำถามทุกอย่างไปตามสถานการณ์ที่บีบบังคับ

    เธอรู้สึกค่อนข้างอับอายในฐานะผู้หญิงคนหนึ่ง เธอกลัวที่จะถูกสอบสวนแต่ก็ไม่มีใครที่เธอสามารถพึ่งพาได้ในระหว่างการสอบสวน และเธอเองก็ไม่รู้ขั้นตอนการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจเกาหลี

    ในความเป็นจริงทันทีที่เธอมาถึงเกาหลี เธอก็ถูกยึดหนังสือเดินทางและตกเป็นเหยื่อของการค้าบริการสถานการณ์บังคับให้เธอตัดสินใจค้าบริการ

    อย่างไรก็ตามตำรวจไม่ได้ระบุว่าเธอเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์แต่มองว่าเธอเป็นอาชญากรเท่านั้น

    คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเกาหลีกล่าว
    “การสอบสวนข้อกล่าวหาการค้าบริการในที่เปิดเผยเป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ทำให้เหยื่อรู้สึกอับอาย ผู้หญิงไทยอยู่ในกลุ่มที่เข้าถึงระบบการพิจารณาคดีของเกาหลีได้น้อย และมีความเสี่ยงสูงที่จะถูกแสวงหาประโยชน์ทางเพศได้ง่ายโดยเฉพาะการค้ามนุษย์ ดังนั้นจึงต้องตรวจสอบก่อนว่าพวกเขาเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์หรือไม่"

    คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเกาหลีแนะไปยังตำรวจว่า
    'ตำรวจควรจัดทำคู่มือโดยละเอียดเกี่ยวกับการระบุตัวตน และมาตรการคุ้มครองเหยื่อการค้ามนุษย์ โดยต้องมีการให้การศึกษาที่เกี่ยวข้องไปยังสถานีตำรวจและจัดระบบที่เกี่ยวข้องเพื่อรับการช่วยเหลือในกรณีที่ต้องดำเนินการสอบสวนต่อผู้ที่ฐานะการพำนักค่อนข้างมีความละเอียดอ่อนในสังคมเกาหลี เช่น สตรีอพยพ เป็นต้น'

    ที่มา: https://www.humanrights.go.kr/site/...typeid=24&boardid=7606483&menuid=001004002001

     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,989
    ค่าพลัง:
    +97,149
    #ขอบ่นท้อใจกับระบบการจัดการของรัฐ
    #ไม่ไหวแล้ว

    ยอดผู้ติดเชื้อมากขึ้นเรื่อยๆ
    รัฐ “เหมือนจะ” มีแนวทางปฏิบัติ (guideline)
    แต่เอาเข้าจริงสิ่งต่างๆที่คุยเอาไว้

    มันทำได้จริง?

    คนที่ต้องทำงานจะไหวหรือไม่?

    อุปกรณ์/ทรัพยากรต่างๆมีพอ?

    เมื่อคืนได้คุยกับเพื่อนที่ทำงานโรงพยาบาลรัฐ
    สงสารคนทำงานมาก
    ระบบมันพังและไม่เอื้อต่อการทำงาน
    อุปกรณ์ขาด
    กำลังคนทำงานไม่พอ

    แต่ผู้บริหารยังคงสั่งการต่อไป
    โดยไม่ได้ช่วยอะไรเลย
    บีบบังคับให้บุคลากรทางการแพทย์
    และเจ้าหน้าที่ต้องเป็นยอดมนุษย์

    ให้ข่าวให้ข้อมูลว่า “เตรียมพร้อม/ทุกอย่างพอ”
    แต่ไม่เคยมีคนเห็นว่าสิ่งเหล่านั้นมีอยู่จริงหรือไม่

    อยากทราบว่าคนออกคำสั่งเคยมาทำงานหน้างานแล้วหรือยัง?

    ลองมาออก ARI Clinic สักครั้งดูค่ะ

    .
    ความพังพินาศที่เกิดขึ้น
    ทั้งคนทำงานก็แย่
    ผู้มาใช้บริการก็เสี่ยงต่อการติดเชื้อ

    ตัวอย่างเช่น

    _ โรงพยาบาลแห่งหนึ่งมีบุคลากรติดเชื้อ 1 คน
    มีคนอยู่วงใกล้ชิดเข้าข่ายว่าอาจจะติดเชื้อ 100++คน
    ผู้บริหารให้ตรวจเชื้อ
    คนที่ผลเป็นลบให้หยุดทำงาน 3 วัน
    หลังจากนั้นมาตรวจซ้ำ

    ถ้าผลเป็นลบ -> ทำงานต่อ‼️

    เพราะถ้า 100++คน ต้องกักตัว 14 วัน
    โรงพยาบาลจะเปิดให้บริการไม่ได้

    ข้อเท็จจริง คือ แม้ผลเป็นลบในช่วงแรก
    แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่ติดเชื้อ
    มันต้องกักแยกตัวเพื่อไม่ให้แพร่เชื้อต่อ

    หากบุคลากรคนนั้นมาทำงานก็เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อไปเรื่อยๆ

    _ มีแพทย์เข้าเวรตรวจ ไม่ได้นอนทั้งคืน

    (แปลว่าทีมงาน เช่น นักเทคนิคการแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่อื่นๆก็ไม่ได้นอนเช่นกัน)

    ออกใบรับรองแพทย์เรื่องโควิดไปหลายร้อยใบภายในคืนเดียว

    พอออกเวรเดินมาเจอแถวคนไข้ที่รอตรวจโควิดจำนวนมาก

    _ การที่ไม่กระจายให้ไปตรวจโควิดตามจุดต่างๆที่ไม่ใช่โรงพยาบาล

    ทำให้คนไปรวมตัวกันมากมายในเวลาเดียวกัน

    ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อ
    คนที่ไม่ติด พอไปรอตรวจอาจติดจากจุดนั้นก็ได้

    _ ควรมีการแยกคนไข้ว่าอาการรุนแรงแค่ไหน

    หากไม่มากอาจให้กักแยกตัวเองที่บ้าน
    แล้วมีระบบการติดตามอาการ
    หรือขอความช่วยเหลือถ้าอาการทรุด

    คำถาม: กักแยกตัวเองที่บ้านผิดกฎหมายจริงหรือ?

    เพราะเมื่อวานไปเข้า Club house มา
    มีแพทย์ท่านหนึ่งให้ข้อมูลว่ารัฐ “บังคับ”
    ให้คนไข้โควิด**ทุกคน**
    ต้องแอทมิทที่โรงพยาบาลหรือ
    สถานพยาบาลที่รัฐจัดให้

    หากกักแยกตัวอยู่ที่บ้านจะผิดกฎหมาย‼️

    คนนั้นเน้นย้ำว่า “ต้องไปอยู่โรงพยาบาล/สถานพยาบาลเท่านั้น”

    พอถามเรื่องคุณภาพ ทรัพยากร บุคลากรที่เกี่ยวข้องและการบริหารจัดการว่ามันจะปลอดภัยทั้งกับตัวคนทำงานและคนไข้หรือไม่

    ไม่มีคนตอบ

    ลองนึกภาพคนไข้โควิดหลากหลายสายพันธุ์a, b, c, d และ variant อื่นๆไปนอนใกล้ชิดกัน
    ไม่มีฉากกั้น
    ไม่มี social distancing
    มีการปนเปื้อนกันไปมา

    หากคนที่อาการไม่รุนแรง
    ต้องไปอยู่ setting แบบนั้น
    จะไม่กลายเป็นว่าไปรับเชื้อเพิ่ม?
    และแทนที่สถานที่พยาบาลจะได้รักษาคนที่ป่วยหนักจริงๆ กลับรับแอทมิทไม่ได้
    เพราะเตียงเต็ม

    #ขอให้ทุกคนปลอดภัย


     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,989
    ค่าพลัง:
    +97,149
    สรุปมาตรการกักตัวนิสิตจุฬาฯ ในหอพัก ที่ส่งผลต่อนิสิตนับพันคน
    .
    ในตอนนี้มีนิสิตนับพันคน กำลังถูกกักตัวอยู่ที่ ‘หอพักใน’ ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังจากที่มหาวิทยาลัยออกมาตรการให้นิสิตหอพักใน ต้องกักตัวภายในพื้นที่หอพักระหว่างวันที่ 13 – 26 เมษายน 2564 หลังจากเกิดกรณีที่มีนิสิตติดเชื้อ COVID-19 จำนวน 12 คน
    .
    มาตรการนี้ได้สร้างเสียงวิจารณ์จากนิสิตหลายคน โดยเฉพาะข้อกำหนดที่ให้ทุกคนในหอพักกักตัว แม้ว่านิสิตจำนวนไม่น้อยจะไม่ได้เป็นกลุ่มเสี่ยงที่ได้ใกล้ชิด หรือสัมผัสตัวผู้ติดเชื้อ แต่ต้องกักตัวไปด้วย ทั้งที่พวกเขา ควรมีสิทธิที่จะใช้ชีวิตตามปกติที่ข้างนอกตามหลัก new normal ได้
    .
    ขณะที่มติชนออนไลน์ รายงานว่า ชัยพร ภู่ประเสริฐ รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายพัฒนานิสิต ที่เปิดเผยว่า ถ้าหากนิสิตต้องการกลับบ้านก็กลับบ้านหรือต่างจังหวัดก็กลับได้ ถ้าต้องการออกไปจริงๆ ก็จะต้องตรวจ COVID-19 ก่อน แต่การกลับบ้านก็ถือเป็นความเสี่ยงที่จะนำเชื้อกลับบ้านได้
    .
    ซึ่งมีนิสิตบางส่วนกลับบ้านไปแล้ว สำหรับนิสิตที่พักในหอพักต่อนั้น มหาวิทยาลัยก็รับฟังความเห็นทุกเรื่อง ถ้าติดขัดเรื่องใด ทางมหาวิทยาลัยก็พร้อมดูแล “อยากขอให้นิสิตอดทน และร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อเราจะได้ผ่านวิกฤตินี้ไปด้วยกัน” นายชัยพร กล่าว
    .
    อ่านสรุปมาตรการและข้อกังวลต่างๆ จากนิสิตเพิ่มเติมได้ที่ : https://thematter.co/brief/140521/140521

    #brief #TheMATTER

     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,989
    ค่าพลัง:
    +97,149
    BRIEF: ชวนรู้จักอาคารรัฐสภาเยอรมนี ที่ให้สภาอยู่ใต้ประชาชน ใช้ดีไซน์โดมโปร่งใส เป็นสัญลักษณ์ก้าวข้ามยุคสมัยเผด็จการ
    .
    อาคารรัฐสภาบางแห่ง อาจเน้นความยิ่งใหญ่เป็นจุดขาย และกลายเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ตามหลักศาสนา แต่สำหรับอาคารรัฐสภาที่ประเทศเยอรมนีนั้น ได้เน้นประวัติศาสตร์ของการก้าวข้ามยุคเผด็จการ และหลักการที่ให้ประชาชนตรวจสอบนักการเมืองได้
    .
    อาคารรัฐสภาเยอรมัน ‘Reichstag’ ถือเป็นแลนด์มาร์กหนึ่งในเมืองเบอร์ลิน ถูกสร้างเสร็จในปี ค.ศ.1894 และผ่านยุคสมัยอันโหดร้ายภายใต้การปกครองของผู้นำเผด็จการ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ก่อนจะได้รับความเสียหายจากสงครามโลกครั้งที่สอง
    .
    อย่างไรก็ดี การบูรณะครั้งใหญ่เกิดขึ้นในปี 1990 ผ่านการออกแบบของสถาปนิกชื่อดังชาวอังกฤษอย่าง เซอร์ นอร์แมน ฟอสเตอร์ หนึ่งในโจทย์ของการเปลี่ยนแปลงอาคารในครั้งนั้น คือการแสดงให้เห็นว่าเยอรมนีได้ก้าวข้ามยุคสมัยที่โหดร้ายจากระบอบเผด็จการได้แล้ว
    .
    สิ่งที่เกิดขึ้นใหม่บนรัฐสภาคือโดมโปร่งใสที่ไม่เพียงสวยงาม แต่ยังสะท้อนถึงหลักการประชาธิปไตยอย่างการตรวจสอบรัฐสภาได้อีกด้วย
    .
    อาคารโดมเหนือรัฐสภา (Reichstag dome) เป็นโดมแบบ 360 องศา ตั้งอยู่เหนือห้องประชุมสภา โดยประชาชนสามารถเดินขึ้นไปที่โดมดังกล่าว และมองลงผ่านกระจกไปก็จะได้เห็นเหล่าผู้แทนราษฎรกำลังประชุมอยู่ในสภาได้ สื่อได้ถึงหลักการของความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และให้ประชาชนได้อยู่เหนือนักการเมือง (ทั้งในเชิงกายภาพจริงๆ และเชิงสัญลักษณ์)
    .
    ความตั้งใจที่ให้ประชาชนได้ยืนอยู่เหนือนักการเมือง ยังเป็นสิ่งที่สะท้อนว่า การเมืองเยอรมนีได้เดินมาถึงจุดที่นักการเมืองต้องถูกตรวจสอบได้ ต่างไปจากยุคสมัยของเผด็จการ
    .
    นอกจากนี้ Reichstag dome ยังถูกออกแบบมาโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และการลดใช้พลังงาน ด้วยความโปร่งใสของโดมนี้ทำให้แสงส่องเข้ามาได้อย่างรอบด้าน ช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้ในตัวเอง
    .
    ขณะที่ภายในรัฐสภา ก็ยังมีประวัติศาสตร์ต่างๆ ถูกจัดแสดงเอาไว้ เช่น การติดชื่อของนักการเมืองในยุคประชาธิปไตย ส่วนนักการเมืองที่ทำงานกับเผด็จการก็จะถูกทาสีดำทับชื่อไว้
    .
    ไม่เพียงแค่การออกแบบภายนอก หากแต่ห้องประชุมสภาที่อยู่ภายในเองก็ถูกออกแบบใหม่ให้เป็นลักษณะกึ่งวงกลม และไม่เน้นลักษณะสูงชันเกินไป ซึ่งไม่ผิดนัก ที่จะพูดว่ามันสะท้อนได้ถึงสถานะของนักการเมืองแต่ละคนที่เท่าเทียมกัน
    .
    ที่สำคัญเมื่อพวกเขาเข้ามาทำงานในห้องประชุมแห่งนี้ จะถูกจับจ้องจากประชาชนข้างบนที่เป็นเจ้าของอำนาจที่แท้จริง
    .
    ใครสนใจอยากดูสภาเยอรมนี เข้าไปทัวร์แบบออนไลน์ได้ที่ : http://www.parliamentbook.com/spaces/1613/image/1646
    .
    .
    อ้างอิงจาก

    https://www.britannica.com/topic/Reichstag-building-Berlin-Germany

    https://www.newstatesman.com/node/153178

    https://archinect.com/features/arti...hat-can-architecture-teach-us-about-democracy

    #Brief #TheMATTER

     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,989
    ค่าพลัง:
    +97,149
    RECAP: ทำความเข้าใจกรณี ปัญหามาตรการกักตัว ของหอพักนิสิตจุฬาฯ ที่ถูกตั้งคำถามว่า ‘เกินขอบเขต’ ที่รัฐกำหนด
    .
    “ลองคิดดูถ้าคอนโดคุณมีคนติดเชื้อ ถูกนำไปกักตัวที่โรงพยาบาลแล้ว เช็คคนที่เสี่ยง กักตัวหมดแล้ว คุณจะสั่งกักคนที่คอนโดอีกเป็นร้อยเป็นพันอย่างนั้นหรือ ทำไปแล้วได้อะไร”
    .
    ข้อความข้างต้นมาจาก อ.อรรถพล อนันตวรสกุล จากคณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่แสดงความเห็นต่อกรณีที่นิสิตจุฬาฯ นับพันคนซึ่งอาศัยที่หอพักใน ถูกมหาวิทยาลัยสั่งกักตัวและไม่ให้ออกนอกพื้นที่รั้วของหอพักเป็นเวลา 14 วัน มิหนำซ้ำ ยังเกิดความเข้าใจผิดต่อตัวนิสิตจากการนำเสนอข่าวของบางสำนัก จนทำให้นิสิตถูกตำหนิ ทั้งที่ผู้ตำหนิไม่ได้เข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจริงๆ
    .
    เราขอพาทุกคนมาสำรวจปัญหาที่เกิดขึ้นจากมาตรการกักตัวในหอใน เพื่อทำความเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้น ก่อนตัดสินหรือตีตราคนที่ได้รับผลกระทบ เพราะมาตรการที่นิสิตกำลังเผชิญอยู่ กำลังถูกตั้งคำถามว่าอาจจะเกินขอบเขตที่หน่วยงานรัฐแนะนำไว้เสียด้วยซ้ำ
    .
    1) มาตรการจากมหาวิทยาลัย
    .
    ในวันที่ 11 เมษายน 2564 สำนักงานหอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกประกาศเรื่องแนวทางปฏิบัติของหอพักในว่า โดยมีใจความสำคัญ เช่น
    .
    -นิสิตที่อาศัยในหอพักช่วงที่ 13 - 26 เมษายน 2564 นิสิตสามารถดำเนินชีวิตปกติภายในพื้นที่รั้วหอพักเท่านั้น โดยหอพักขอปิดพื้นที่ส่วนกลาง
    .
    -นิสิตซื้ออาหารในโรงอาหาร และสามารถนั่งรับประทานในโรงอาหารได้ โดยเว้นระยะห่าง หรือนำกลับไปรับประทานที่ห้องตัวเอง กรณีสั่งอาหารจากข้างนอก ให้มารับในจุดที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้เท่านั้น
    .
    -นิสิตสแกนนิ้วเข้า-ออกตึกพักให้ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ทุกครั้ง สวมหน้ากากอนามัย เมื่อออกจากห้องพัก หมั่นล้างมือด้วยน้ำและฟอกสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์
    .
    หากนิสิตมีข้อสงสัย หรือมีอาการไข้ อุณหภูมิสูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส หรือมีอาการที่เข้าข่ายการติดเชื้อ ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่
    .
    -ไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอก เข้าหรือออกหอพักทุกกรณี ยกเว้นเจ้าหน้าที่บุคลากร หรือผู้ปฏิบัติหน้าที่ในหอพักที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
    .
    -ถ้านิสิตต้องการกลับมาเอาของที่หอพัก ให้แจ้งในเพจคณะกรรมการนิสิตหอพักล่วงหน้า 3 วัน และให้เพื่อนร่วมห้องเก็บของให้ หรือหากเพื่อนไม่อยู่ จะมีเจ้าหน้าที่ไปเอาของให้
    .
    2) คำถามต่อมาตรการของมหาวิทยาลัย
    .
    หลังจากมีประกาศมาตรการนี้ออกมา ได้เกิดคำถามจากนิสิตต่อทางมหาวิทยาลัยอย่างกว้างขวาง หนึ่งในประเด็นสำคัญคือ การออกมาตรการกักตัว 14 วันต่อนิสิตนับพันคนเช่นนี้ ถือว่าเป็นมาตรการที่เหมาะสมแล้วหรือไม่ เนื่องจาก มีนิสิตที่ไม่ได้ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อหลายคนต้องถูกกักตัวภายในหอไปด้วย
    .
    “มาตรการกักตัว 14 วันควรจะใช้เฉพาะกับผู้ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ ไม่ใช่ใช้กับ "ทุกคน" ทุกคนสามารถดำเนินชีวิตได้ในแบบปกติใหม่ (new normal) ได้ เช่น การสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกจากห้อง หลีกเลี่ยงการไปพื้นที่มีคนแออัด ล้างมือบ่อย ๆ ไม่สัมผัสตา จมูก ปาก ฯลฯ วิธีเหล่านี้จะช่วยป้องกันการติดเชื้อได้มากแล้ว ถามว่าการกักตัวนิสิตในหอเป็นมาตรการที่เหมาะสมแล้วหรือ? ในเมื่อมีวิธีการในการป้องกันโรคได้โดยที่เราสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ” หนึ่งในความเห็นมีโพสต์ของเพจสำนักงานหอพักนิสิตฯ
    .
    ยิ่งเมื่อเทียบกับมาตรการโดยทั่วไปแล้ว คนที่ไม่ได้มีความเสี่ยงสูง หรือไม่ได้ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ COVID-19 ก็ยังสามารถออกไปข้างนอกได้ โดยรักษาระยะห่าง หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีคนรวมตัวกันมากๆ รวมถึงใส่หน้ากากและล้างมืออยู่เสมือ แต่สำหรับมาตรการที่ออกมา คือการใช้มาตรการเดียว กับคนทุกคนในหอพักไปเลย
    .
    ขณะที่บางความเห็นได้ชี้ว่า มาตรการนี้จากมหาวิทยาลัยคือ การบังคับให้คนเป็นพันคน ต้องอยู่ใต้มาตรการเดียวกัน ทั้งที่แต่ละคนเป็นผู้เสี่ยงติดเชื้อไม่เท่ากัน
    .
    มีความเห็นที่ยืนยันว่า ถ้าตัวเองมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อก็พร้อมกักตัวเอง แต่ในตอนนี้ยังอยู่ในกลุ่มความเสี่ยงต่ำ ดังนั้น คนในกลุ่มนี้ก็ควรได้มีโอกาสใช้ชีวิตเช่นเดียวกับคนอื่นๆ ในสังคมไทยที่อยู่ในกลุ่มความเสี่ยงต่ำเหมือนกัน
    .
    3) รวมประเด็นปัญหาที่หลากหลายจากนิสิต
    .
    นอกจากการตั้งคำถามในภาพรวมๆ ของมาตรการที่ใช้กับคนนับพันคนแล้ว ยังมีข้อกังวลจากนิสิตและบุคลากรในมหาวิทยาลัยอีกมาก เราขอรวมเราไว้เป็นประเด็นหลักๆ ดังนี้
    .
    -นิสิตบางคนจองตั๋วรถและเครื่องบินเพื่อเดินทางกลับบ้านไปแล้ว แต่เมื่อมีมาตรการนี้ออกมาอย่างกระทันหัน ทำให้พวกเขาต้องอยู่หอพักต่อไป และไม่สามารถเดินทางออกไปข้างนอกได้ ทางมหาวิทยลัยจะช่วยเหลือเรื่องนี้ได้อย่างไรบ้าง
    .
    -ปัญหาการเรียนออนไลน์ เนื่องจากการกักตัวในหอพักจะถูกบังคับใช้ไปจนถึงช่วงหลังสงกรานต์ ที่นิสิตต้องกลับมาเรียนในรูปแบบออนไลน์แล้ว ประเด็นคือ ตอนนี้สัญญาณ wifi ของหอพักหลายแห่งอาจไม่สามารถรองรับการเรียนออนไลน์พร้อมๆ กันของนิสิตจำนวนมากได้ มีคนตั้งคำถามว่า ขนาดในช่วงเวลาปกติ สัญญาณไวไฟจากหอพักชั้นที่สูงๆ ก็แทบไม่มีอยู่แล้ว
    .
    ห้องพักหลายๆ ห้องมีนิสิตอยู่ด้วยกัน 3-4 คน เมื่อเรียนพร้อมกันสัญญาณอินเทอร์เน็ตก็อาจจะไม่พอได้ด้วย
    .
    -มีนิสิตที่ต้องทำงานพาร์ทไทม์เพื่อหาเงินดูแลตัวเอง และส่งเสียตัวเองเรียนแบบวันต่อวัน การสั่งห้ามออกไปจากพื้นที่ก็ย่อมส่งผลกระทบต่อชีวิตพวกเขาเป็นอย่างมาก ทั้งที่พวกเขาหลายคนไม่ได้ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ แม้ทางมหาวิทยาลัยบอกว่าจะหาวิธีการช่วยเหลือโดยจ้างงานจากมหาวิทยาลัยให้ แต่ก็มีข้อสังเกตว่ามันอาจจะทดแทนไม่ได้ขนาดนั้น
    .
    -แม้นิสิตจะต้องกักตัว แต่คนที่อยู่ในพื้นที่หอพักใน ไม่ได้มีแค่นิสิต แต่ยังรวมไปถึงบุคลากรและเจ้าหน้าที่อื่นๆ ที่เข้ามานั้น ทางมหาวิทยาลัยจะสามารถยืนยันได้หรือไม่ว่า พวกเขาปลอดภัยและไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงที่มีเชื้อ COVID-19
    .
    -ความเพียงพอของเจลแอลกอฮอล์ภายในหอพัก ที่นิสิตหลายคนมองว่ายังมีน้อยอยู่ และขอให้มีเพิ่มขึ้นตามจุดต่างๆ รวมถึง การที่นิสิตต้องใช้การแสกนนิ้วเพื่อเข้าหอพัก
    .
    4) ข้อเสนอจากนิสิตและบุคลากรในจุฬาฯ
    .
    หลังจากเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ขึ้นมากมาย ทางด้าน คณะกรรมการนิสิตหอพักจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีข้อเสนอต่อมหาวิทยาลัย เพื่อเปลี่ยนแปลงมาตรการให้เหมาะสมยิ่งขึ้นกับทุกฝ่าย
    .
    สรุปประเด็นข้อเสนอได้ ดังนี้
    .
    -ควรให้กักตัวเฉพาะนิสิตที่เป็นกลุ่มเสี่ยงสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อยืนยัน หากพบนิสิตในชั้นใดติดเชื้อ นิสิตคนนั้น และนิสิตที่ใกล้ชิดในชั้นนั้นต้องกักตัวเป็นเวลา 14 วัน
    .
    -นิสิตที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่ำ สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ โดยปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัด เช่น สวมหน้ากาก ล้างมือด้วยเตลแอลกอฮอล์ทุกครั้งที่สัมผัสสิ่งต่างๆ เพื่อลดความเสี่ยงติดเชื้อ
    .
    -ตั้งโครงการจ้างงานนิสิตหอพัก เพราะมีนิสิตที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงในเรื่องรายได้จากงานพิเศษ และบุคลากรของหอพักมีจำนวนไม่เพียงพอต่อการดูแลนิสิตกลุ่มเสี่ยง จึงควรตั้ง RCU Friend ขึ้นมาเพื่อจ้างงานนิสิตภายใน สำหรับการรับส่งอาหารให้นิสิตที่มีความเสี่ยงในชั้นที่มีการติดเชื้อ
    .
    -กรณีปิดตึกและปิดหอพัก ถ้ามีผู้ติดเชื้อมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนชั้นในตึก ให้ปิดตึกและกักตัวนิสิตในตึก และถ้ามีผู้ติดเชื้อมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนนิสิตในตึก ก็ให้ปิดตึกและกักตัวนิสิตทุกคนในตึกทันที
    .
    ด้าน สโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกหนังสือถึง รองอธิการบดีด้านพัฒนานิสิตว่า กรณีนี้ มีนิสิตหอพักจำนวนมากได้รับความเดือดร้อน เพราะแนวปฏิบัติดังกล่าวไม่ได้สอบถาม และไม่คำนึงถึงสุขภาพจิตและสวัสดิภาพโดยรวมของนิสิต รวมถึงแนวปฏิบัติที่เกินขอบเขตที่หน่วยงานรัฐได้แนะนำเอาไว้
    .
    “สโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงใคร่ขอให้ท่านรองอธิการบดีมีคำสั่งทบทวนแนวปฏิบัติตามประกาศหอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงวันที่ 12 เมษายน 2564 อีกครั้ง โดยเปิดประชุมหารือร่วมกับคณะกรรมการนิสิตหอพักจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะตัวแทนที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามา รวมถึงนิสิตคนอื่นๆ ที่มีข้อกังวล เพื่อออกประกาศใหม่ที่เป็นที่ยอมรับของนิสิต เพื่อสุขอนามัยและสวัสดิภาพโดยรวมของนิสิตทุกคน”
    .
    ขณะที่ อ.อรรถพล อนันตวรสกุล จากคณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความเห็นว่า
    .
    “ก่อนจะด่านิสิต อ่านหรือฟังข่าวให้ได้ข้อมูลมากพอหรือยังครับ มีนิสิตที่พักหอในติด 12 คน ตอนนี้อยู่โรงพยาบาลกันหมดแล้ว คนที่มีประวัติใกล้ชิดผู้ติดเชื้อถูกแยกโซน แต่หอพักกำลังบังคับนิสิตอีกนับพันให้อยู่แต่ในหอ เป็นมาตรการที่ทำ โดยไม่ได้มีการตรวจเชื้อทุกคนก่อนกักตัว นิสิตมีเรียนออนไลน์ ห้องนึงนอนกันสี่คน เรียนพร้อมกันสัญญานมันก็ไม่พอ นิสิตถูกสั่งกักแบบนี้ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 แล้วนะครับ
    .
    “ทั้งที่ก่อนหน้าการติดเชื้อมาจากคนนอกที่เข้ามาใน พื้นที่หอ ครั้งนี้กักตัวนิสิต แต่เจ้าหน้าที่บุคลากรอื่น คนทำอาหารก็ยังเข้าออกทุกวัน แล้วมันจะปลอดภัยตรงไหน ที่สำคัญ หลายคนที่งานพิเศษส่งตัวเองเรียน สั่งกักตัวแบบไม่ได้ดูเลยว่ากระทบนิสิตที่ไม่ได้เกี่ยวข้องแบบนี้มันได้ประโยชน์อะไร นิสิตเขาเจอแบบนี้มา 2 ครั้งแล้ว และเขารู้ว่ามันไม่เวิร์คถึงได้โวยขึ้นมา”
    .
    5) เสียงสะท้อนจาก นายกองค์การบริหารสโมสรนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.)
    .
    ด้านเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล ในฐานะนายกฯ องค์การบริหารสโมสรนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุผ่านทวิตเตอร์ว่า
    .
    “ปัญหาหอในสะท้อนให้เห็นว่านิสิตไม่ได้มีปากเสียงแท้จริงเลย ทั้งที่เหตุการณ์เกิดหลายรอบแล้วผู้บริหารควรรับฟังเสียงสะท้อนนิสิต และมันก็ทำให้เห็นปัญหาโครงสร้างจำเป็นที่หอในต้องมีผู้บริหารหอพัก-อนุสาสก มาจากการเลือกตั้งของนิสิตซึ่งต้องรับผิดชอบต่อนิสิต และนิสิตมีผลต่อการตัดสินใจของเขา”
    .
    6) คำชี้แจงจากมหาวิทยาลัย
    .
    เว็บไซต์เดลินิวส์ รายงานความเห็นจาก ผศ.ดร.ชัยพร ภู่ประเสริฐ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต จุฬาฯ ต่อกรณีนี้ว่า ทางมหาวิทยาลัย ดำเนินการด้วยหลักการห่วงใยนิสิต และไม่ได้บังคับ หอพักไม่ใช่คุก โดยให้สิทธินิสิตที่จะอยู่ที่หอหรือจะกลับบ้านก็ได้ หากจะกลับบ้าน เนื่องจากชาวหอ เป็นกลุ่มเสี่ยงสูง เพราะห้องน้ำรวมและนอนหลายคนต่อห้อง ทางมหาวิทยาลัยจึงขอตรวจเพื่อให้ชัวร์ว่าปลอดภัย เพราะอยากให้นิสิตปลอดภัย ไม่ต้องการสร้างภาระความเสี่ยงกับสังคม
    .
    รองอธิการบดีผ่ายกิจการนิสิต ระบุด้วยว่า มหาวิทยาลัย ยังให้การช่วยเหลือด้านอื่นๆ แก่นิสิต เช่น การประกันโควิด สัญญาณอินเทอร์เน็ตและซิม เพื่อให้นิสิตยังเรียนรู้ได้มากที่สุด อุปกรณ์รักษาความปลอดภัย บริการทำความสะอาด บริการให้คำปรึกษาทางจิตวิทยา ที่พักแยกผู้มีความเสี่ยงสูง และการรักษาพยาบาลหากติดเชื้อ
    .
    7) นิสิตเตรียมนัดส่งเสียงถึงมหาวิทยาลัยอีกครั้ง โดยสถานการณ์จะมีนิสิตออกมาเรียกร้องต่อมหาวิทยาลัยในเวลา 18.00 น. เพื่อขอให้มหาวิทยาลัยเปลี่ยนมาตรการให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
    .
    ทั้งหมดนี้คือสรุปประเด็นสำคัญจากกรณีมาตรการกักตัวนิสิตที่หอพักใน จุฬาฯ กับคำถามถึงเรื่องมาตรการที่เกินขอบเขต ผลกระทบที่นิสิตได้รับในหลายด้าน ทั้งคุณภาพชีวิต สภาพจิตใจ การเรียนออนไลน์ ตลอดจนรายได้ประจำวัน
    .
    .
    อ้างอิงจาก
    http://www.rcuchula.com/rcu_web/ind...Gr09quHYbUGV67nWZKt83uSzZ403wk3uEpdskVProOHPg









    https://www.dailynews.co.th/regional/837078

    #recap #TheMATTER


     

แชร์หน้านี้

Loading...