ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สบู่ มีคุณสมบัติทางเคมีที่เรียกว่า Amphiphiles คือความเป็นลูกผสมที่ด้านนึงชอบน้ำ และด้านนึงชอบไขมัน ซึ่งโปรตีนและไขมันนั้นอยู่ล้อมรอบเจ้าเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยมีสไปก์ทำหน้าที่เชื่อมติดกับเซลล์ของผู้รับ เมื่อเราล้างมือด้วยสบู่ ไขมันที่ล้อมรอบไวรัสจะถูกทำลาย จึงเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมเราถึงต้องล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาดก่อนหยิบจับสิ่งของค่ะ ^^
    .
    #ล้างมือ #สบู่ #ทำความสะอาด #ไขมัน #ไวรัส #COVID19 #โควิด19 #MisterBan

     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เมื่อเวลา 16.30 น. รับแจ้ง เกิดฝนตกหนักและมีลมแรงทำให้บ้าน รถ เสาไฟ ได้รับความเสียหาย พิกัด ซอย 6 โคกตูม อ.เมือง จ.ลพบุรี

    cr.อาสาฯมูลนิธิร่วมกตัญญู ลพบุรี จุด สภ.โคกตูม

     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2563 สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมาดริด ได้จัดให้คนไทยในสเปนจำนวน 45 คน เดินทางกลับประเทศไทยซึ่งเป็นครั้งที่สอง หลังจากที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้เคยจัดให้คนไทยกลับไปประเทศไทยครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2563
    การดำเนินการทั้งสองครั้งได้รับความร่วมมืออันดียิ่งจากรัฐบาลสเปน ทำให้คนไทยในสเปนที่มีความจำเป็นสามารถเดินทางกลับประเทศไทยได้ตามประสงค์

    El 3 de mayo de 2020 la Embajada Real de Tailandia en Madrid organiza la segunda repatriación de 45 ciudadanos tailandeses residentes en España a Tailandia después de la primera que tuvo lugar el pasado 27 de abril.
    La Embajada ha contado con el apoyo excepcional del Gobierno de España para organizar ambas repatriaciones facilitando que los tailandeses en España con necesidad puedan cumplir su deseo de volver a su país de origen.

     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ร้านอาหารในห้าง กำลังเจอปัญหาครั้งใหม่
    -ร้านจุคนได้น้อยลง แต่ค่าเช่าเกิดขึ้นทันที ห้างจะลดค่าเช่า หรือเก็บเต็ม ต้องลุ้นกัน

     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    แผ่นดินไหว ขนาด M 6.0: ทางตะวันตกเฉียงเหนือของหมู่เกาะริวกิว (ญี่ปุ่น) ในวันอาทิตย์ที่ 3 พฤษภาคม
    quakemap-2776389.jpg
    แผ่นดินไหวขนาด 6.0 ที่แข็งแกร่งที่ความลึก 10 กม

    ข้อมูลแผ่นดินไหว (GFZ):
    วันที่ & เวลา: อา., 3 พฤษภาคม 11:54:26 UTC
    ความลึกของจุดศูนย์กลาง: 10.0 กม
    ขนาด (มาตราริกเตอร์): 6.0

    M 6.0 quake: Northwest of Ryukyu Islands (Japan) on Sun, 3 May 11h54
    Strong magnitude 6.0 earthquake at 10 km depth

    M 6.0 quake: Northwest of Ryukyu Islands (Japan) on Sun, 3 May 11h54
    Earthquake data (GFZ):
    Date & Time: Sun, 3 May 11:54:26 UTC - 14 hours ago
    Hypocenter depth: 10.0 km
    Magnitude (Richter scale): 6.0

    https://www.volcanodiscovery.com/ap...-3-May-Northwest-of-Ryukyu-Islands-Japan.html

     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ฮ่องกงไม่พบผู้ติดเชื้อเพิ่มวานนี้ และไม่พบเคสผู้ติดเชื้อจากในฮ่องกง 14 วันติดต่อกันแล้ว

    เมื่อวานนี้ฮ่องกงไม่พบผู้ติดเชื้อเพิ่มอีก ทั้งนี้ในช่วง 14 วันที่ผ่านมา พบผู้ติดเชื้อทั้งหมด 14 ราย โดยทั้งหมดเป็นเคสที่เพิ่งเดินทางกลับมาจากต่างประเทศ

    ยอดรวมสะสมผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทั้งหมดในฮ่องกงมี 1,039 ราย รักษาหายแล้ว 879 ราย เสียชีวิต 4 ราย

    ทั้งนี้ศูนย์ป้องกันสุขภาพได้แนะนำประชาชนวานนี้ว่า ถ้าไม่จำเป็นควรเลี่ยงการเดินทางออกนอกฮ่องกง และควรเว้นระยะห่างกับผู้อื่น รวมทั้งเลี่ยงการรวมกลุ่ม เช่นการทานอาหารร่วมกัน

    ***ติดตามอัพเดทสรุปประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับไวรัสโคโรน่าในฮ่องกงได้ที่กระทู้ปักหมุด***


    Source :https://www.scmp.com/news/hong-kong...avirus-hong-kong-records-no-new-cases-sunday?

    #ข่าวฮ่องกง #khaohongkong

     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    นายแพทย์ นิพนธ์ ชินานนท์เวช ผอ.สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงกรณีคนแห่ซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ห้างสรรพสินค้าขายส่งขนาดใหญ่ในจังหวัดเลย หลังมีการคลายล็อกดาวน์ธุรกิจ และสินค้าบางประเภทวันแรกว่า
    .
    แม้รัฐบาลจะมีมาตรการคลายล็อกอนุญาตให้จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ แต่ยังคงกำหนดให้ขายตามเวลาเดิม คือ 11.00-14.00 น. และ 17.00-22.00 น. (ช่วงเย็นปกติถึง 24.00 น. แต่มีประกาศเคอร์ฟิวลดเวลาขายถึงแค่ 22.00 น.) ซึ่งหากใครขายไม่ตรงตามเวลาที่กำหนดถือว่ากระทำผิดกฎหมาย ฐานการจำหน่ายสุราก่อนเวลา มีโทษปรับ 1 หมื่นบาท ส่วนคนโพสต์หากเป็นการโพสต์ในลักษณะจงใจโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อขาย มีโทษปรับ 5 แสน จำคุก 1 ปี
    .
    กฏระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตาม “พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551” และ “พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2560” เพื่อคลายข้อสงสัย และเป็นแนวทางในการขายและการซื้อ ดังนี้
    .
    สำหรับ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 มาตรา 28 ห้ามมิให้ผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอลในวัน หรือเวลาที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด โดยคําแนะนําของคณะกรรมการ ทั้งนี้ ประกาศดังกล่าวจะกําหนดเงื่อนไขหรือข้อยกเว้นใดๆ เท่าที่จําเป็น
    .
    โดยวันที่ 6 มกราคม 2558 ได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดเวลาห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2558 ออกประกาศเพิ่มเติม โดย ห้ามผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเวลาอื่น นอกจากตั้งแต่เวลา 11.00 นาฬิกา ถึงเวลา 14.00 นาฬิกา และตั้งแต่เวลา 17.00 นาฬิกา ถึงเวลา 24.00 นาฬิกา ยกเว้นการขายในกรณีดังต่อไปนี้

    ...

    1. การขายในอาคารท่าอากาศยานนานาชาติ
    .
    2. การขายในสถานบริการซึ่งเป็นไปตามกำหนดเวลาเปิด-ปิดของสถานบริการ ตามกฎหมาย ว่าด้วยสถานบริการ
    ...

    โดยมีบทกำหนดโทษ ตามมาตรา 39 คือ ผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอลโดยฝ่าฝืนมาตรา 27 หรือมาตรา 28 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่ง 10,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
    .
    นอกจากนี้ ผู้ที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยังต้องมีใบอนุญาต ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2560 ที่กำหนดให้การขายสุราต้องมี ใบอนุญาตมี 2 ประเภท คือ ประเภทที่ 1 ขายส่งสุราทุกชนิด ครั้งละสิบลิตรขึ้นไป ประเภทที่ 2 ขายปลีกสุราทุกชนิด ครั้งละต่ำกว่าสิบลิตร
    .
    โดยใบอนุญาตขายสุรา มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับอนุญาต ส่วนการฝ่าฝืนขายสุราโดยไม่มีใบอนุญาต หรือไม่แสดงใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผย หรือใช้ใบอนุญาตไม่ตรงกับสถานที่ระบุมีความผิด ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท

    -------------------------------
    แหล่งที่มา

    https://www.mcot.net/view/5eae6345e3f8e40af4442d26

    https://www.prachachat.net/breaking-news/news-459016

    -------------------------------
    ติดตามข้อมูลข่าวสาร รู้ไทย รู้โลก กับ Thailand Vision ได้ที่
    Facebook : https://www.facebook.com/thvi5ion
    Twitter : https://twitter.com/Thailand_vision

     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    0 อีกครั้ง ไม่มีผู้ป่วยเพิ่มวันนี้ และทหารเรือถูกปล่อยกักตัวแล้ว ล้วนไม่พบเชื้อ

    รวมยอดสะสม 432 เท่าเมื่อวาน

    หายดี 332

    เหลือผู้ป่วยจริง 100 คน

    ทหารเรือผานสือที่เป็นข่าว มีผู้ติดเชื้อทั้งสิ้น 31 นาย จำนวนกักตัวทั้งสิ้น 713 นาย ซึ่งกักตัวครบจำนวนวันวันนี้ และคืนนี้จะมีการปล่อยกลับบ้าน แต่ยังต้องให้เฝ้าดูอาการเองอีกระยะด้วยเพื่อความปลอดภัย

     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    4/5/63 เช้านี้อุบลฝนตก-เส้นรพ.ใหญ่กับห้วยวังนอง งดผ่านก่อนจ้า น้ำระบายไม่ทัน
    #แจ้งข่าวเตือนภัย
    #น้ำท่วมขัง
    ภาพวารินชำราบอุบลบ้านเฮา
    คลิปอุบลวันนี้

     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2563 เวลาประมาณ 15.30 น. ได้เกิดพายุฤดูร้อน ลมแรง สร้างความเสียหายให้กับบ้านเรือนประชาชน รวมทั้งเสาไฟฟ้าได้หักล้มประมาณ 10 ต้น ทับบ้านเรือนประชาชนและรถยนต์ บริเวณแยกซอย 6 ไฟแดงพื้นที่หมู่ที่ 5 ตำบลโคกตูม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี
    เจ้าหน้าที่สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดลพบุรีจึงได้ประสานไปยังเทศบาลตำบลโคกตูมลงพื้นที่สำรวจบ้านเรือนประชาชนร่วมเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองตำบลโคกตูม เพื่อให้การช่วยเหลือในเบื้องต้น สำหรับความเสียหายอยู่ระหว่างการสำรวจ และจะได้รายงานให้ทราบต่อไป/ ปภ ลพบุรี

     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    วิเคราะห์แอป "หมอชนะ" กับการแก้ปัญหาสถานการณ์ COVID-19 ของไทย (ยาว)

    ถึงตอนนี้ รัฐบาลก็ได้เปิดตัวแอป "หมอชนะ" ซึ่งเป็น mobile application ที่เป็นแนวคิดและการทำงานร่วมกันระหว่างภาคเอกชนหลายองค์กร/กลุ่มบุคคล ในฐานะจิตอาสา กับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES), สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (DGA) และกรมควบคุมโรค (DDC) กระทรวงสาธารณสุข

    บทวิเคราะห์นี้เป็นความเห็นส่วนบุคคล ในฐานะแพทย์ด้านสารสนเทศสุขภาพ (Health IT) และเข้าใจแนวคิดทางระบาดวิทยาคนหนึ่ง ไม่ใช่จุดยืนขององค์กรใด

    ผมได้รู้จักกับแอป "หมอชนะ" ก่อนประชาชนส่วนใหญ่ไม่นานนัก คือ เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2563 ตอนที่ผมได้ประชุมให้ความเห็นต่อกรมควบคุมโรคเกี่ยวกับแนวทางการจัดการด้าน data privacy เพื่อพิจารณาการเข้าถึงข้อมูลของแอป/โครงการต่างๆ เป็นการประชุมวงเล็กๆ และผมเข้าไปในฐานะ health information privacy specialist ซึ่งประเด็นที่หารือไม่ได้เกี่ยวกับแอปนี้โดยตรง เพียงแต่ในการพูดคุยกันทำให้ได้รับทราบถึงแนวคิดของแอป "หมอชนะ"

    วันเดียวกันนั้น คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีของผม ส่งเอกสาร concept ของแอปนี้ (ซึ่งเป็นเอกสาร internal use ซึ่งคาดว่าท่านคงได้มาจากการทำงานแก้ปัญหาสถานการณ์ COVID-19 ร่วมกันใกล้ชิดกับกระทรวงสาธารณสุข) มาให้ผมช่วยให้ความเห็น

    ผมมาทราบภายหลังว่า ในวันเดียวกันนั้น ท่าน รมว.กระทรวง DES และทีมงานของแอป ได้แถลงเปิดตัวแอปนี้ต่อสาธารณะ โดยเป็นข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับแอปพลิเคชัน

    ผมนั่งศึกษารายละเอียดการทำงานของแอปจากสไลด์ internal use ที่ได้รับ ซึ่งทำให้มีทั้งประเด็นที่เห็นประโยชน์ และประเด็นที่เป็น concern ทั้งเล็กบ้าง ใหญ่บ้าง และใหญ่มาก ทำให้ผมตัดสินใจแสดงความเห็น โดยเฉพาะการคัดค้านบางประเด็นที่เป็นประเด็นใหญ่มาก (ซึ่งผมจะเล่าต่อไป) และทำให้ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการให้ความเห็นในการประชุมของทีมพัฒนา 3-4 ครั้ง ในช่วงประมาณ 1 สัปดาห์กว่าๆ และในช่วงท้ายสุด เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมเห็นทิศทางการนำแอปไปใช้งานบางรูปแบบ ที่ดูจะเป็นข้อสรุปของทีมงาน แม้ผมจะไม่เห็นด้วย และได้แสดงความกังวลในประเด็นนี้และขออย่าให้มีการดำเนินการในรูปแบบนั้น ในการประชุมทุกครั้งแล้วก็ตาม ทำให้ผมตัดสินใจถอนตัวจากการร่วมให้ความเห็นภายในทีมหากเขาไม่ล้มเลิกความคิดที่ผมกังวลนั้น และก็จำเป็นต้องมามองอยู่ห่างๆ อย่างห่วงๆ (ห่วงผลกระทบทางสังคมหากแอปนี้ถูกนำไปใช้ผิดทาง)

    ผมขอเล่ากลไกการทำงานของแอปนี้ก่อนนะครับ ก่อนจะ discuss ในประเด็นต่างๆ ที่ผมมอง

    แอปนี้ทำงานยังไง: จากที่ผมรับรู้ (แต่ไม่ใช่ทีมพัฒนาโดยตรง จึงอาจไม่เป๊ะนัก) คร่าวๆ คือ
    1. มีกลไกการลงทะเบียนผู้ใช้งาน (user registration) ซึ่งไม่ผูกกับเบอร์โทรศัพท์หรือเลข SIM Card หรือข้อมูลอื่นของ user แต่อย่างใด นอกจากภาพใบหน้าที่ขอให้เป็นภาพจริง (ซึ่งแม้เป็นข้อมูลที่ทำให้รู้ตัวตน แต่ก็จำเป็นในการใช้งานบางรูปแบบ เช่น การแสดงข้อมูล risk ของตัวเอง

    2. มีกลไกการสอบถามปัจจัยเสี่ยงโดยใช้แบบสอบถาม (questionnaire) ที่กรมควบคุมโรคดูแลเรื่องคำถามให้ ซึ่งก็เป็นคำถามเรื่องประวัติการเดินทาง การสัมผัสผู้ป่วย COVID-19 และอาการเจ็บป่วยไม่สบายต่างๆ (ถ้ามี) นั่นเอง เพื่อใช้ในการประเมินความเสี่ยง

    3. มีกลไกการติดตามและบันทึกตำแหน่ง (location) และประวัติการ contact กับผู้ใช้แอปคนอื่น ผ่าน GPS และ Bluetooth technology (เดี๋ยวจะอธิบายละเอียดอีกที)

    4. มีกลไกหลังบ้านสำหรับการเชื่อมโยงข้อมูลผู้ป่วย/ผู้ที่ต้องถูกกักกัน (quarantine) จากกรมควบคุมโรคกับตัวแอป เฉพาะกรณีที่เข้าเกณฑ์ที่กรมควบคุมโรคเห็นว่าผู้นั้นมีความเสี่ยงสูงต่อการแพร่ระบาดและไม่ควรออกไปในที่สาธารณะ

    5. มีกลไกการประเมินความเสี่ยง ซึ่งอาจใช้ข้อมูลที่ตอบแบบสอบถามในข้อ 2 และ/หรือการติดตามตำแหน่งและประวัติการ contact กับคนอื่น ในข้อ 3 และ/หรือ ข้อมูลผู้ป่วยจากกรมควบคุมโรคในข้อ 4

    6. มีกลไกการให้ข้อมูล หรือแสดงผล (display) ความเสี่ยงที่ประเมินได้ของ user ในรูปแบบ QR Code และสถานะสี (color code) พร้อมคำอธิบายสั้นๆ ซึ่งนอกจากจะเป็นการให้ข้อมูล (inform) หรือ educate user เกี่ยวกับความเสี่ยงของตัวเองแล้ว ยังช่วยให้ user สามารถโชว์สถานะความเสี่ยงของตัวเองให้ผู้อื่นได้ตามสถานการณ์และความจำเป็นด้วย

    แล้วเรื่องการติดตามและบันทึกตำแหน่ง (location) และประวัติการ contact กับผู้ใช้แอปคนอื่น ผ่าน GPS และ Bluetooth technology มันเป็นยังไง?

    GPS เป็นวิธีการที่ค่อนข้างหยาบทีเดียวสำหรับการระบุตำแหน่ง เพราะธรรมชาติของ GPS ที่อาศัยดาวเทียม 3-4 ดวงในการระบุตำแหน่ง และมีข้อจำกัดทั้งในเรื่องสัญญาณ (เช่น ในตึก) และความแม่นยำ (ปกติ average GPS accuracy จะอยู่ในระยะบวกลบ 15-30 เมตร) ลองนึกภาพว่าเราอยู่ห่างจากผู้ป่วย COVID-19 ประมาณ 15 เมตร สวมหน้ากากอนามัยทั้งสองฝ่าย อากาศถ่ายเท ในช่วงเวลาไม่นาน และเราดูแลความสะอาดของมือดีพอ จริงๆ แล้วความเสี่ยงในการติดเชื้อต่ำทีเดียว

    ส่วน Bluetooth ก็จะช่วยให้ข้อมูลที่เพิ่มความแม่นยำได้อีกนิดหน่อย โดยหากมือถือ 2 เครื่องที่ใช้แอปหมอชนะ อยู่ใกล้ๆ กัน ก็จะมีการบันทึกว่ามีการ "cross-path" (คือ เจอกัน) เกิดขึ้น

    หากวันดีคืนดี คนใดคนหนึ่งเป็นผู้ป่วย COVID-19 ข้อมูลเหล่านี้ก็จะช่วยในการ identify & trace อีกคนเพื่อกลับมาตรวจได้

    แล้วประเด็นที่ผมกังวล มีอะไรบ้าง?
    A. แน่นอนว่า ประเด็นแรกสุดคือ privacy ของข้อมูลส่วนบุคคลของ user ในแง่นี้ ทีมผู้พัฒนาได้พยายามทำการบ้านกันมาเยอะแล้ว มีมาตรการในการดูแล privacy หลายมาตรการ ผมขอกล่าวถึงในส่วนที่ผมพอทราบ (แต่ไม่ยืนยันว่าครบถ้วน) นะครับ

    มาตรการของแอป "หมอชนะ" ในการคุ้มครอง privacy
    1) ในขั้นตอนการลงทะเบียน มีการให้ข้อมูล และขอความยินยอม (consent) จากผู้ใช้งานก่อนแล้ว ในแง่นี้ หากการตัดสินใจยินยอมและใช้งานของผู้ใช้งาน เกิดขึ้นโดยสมัครใจและเป็นอิสระ (ไม่ใช่มีรัฐหรือเอกชนอื่นใดบังคับ) ก็ถือได้ว่าผู้ใช้งานโอเคแล้ว
    2) รหัส identifier ของ user แต่ละคน จะเป็น anonymous ID ที่ไม่ได้เชื่อมกับเบอร์มือถือ, SIM Card หรือ device ID อะไร
    3) ข้อมูลในฐานข้อมูลจะถูกเข้ารหัส (encrypt) ไว้ ผู้ที่มีอำนาจเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของ user แต่ละคนได้ จะต้องมี private key ที่ถูกต้อง และ private key นั้น ทางผู้พัฒนาแอปไม่ได้ถือเอาไว้
    4) จะมีคณะกรรมการ audit committee จากผู้เชี่ยวชาญ ที่จะมา review มาตรการคุ้มครอง และประเมิน compliance
    5) จะมีการทำลายข้อมูลหลังพ้นสถานการณ์ฉุกเฉินไปแล้วประมาณ 1 เดือน

    ในขณะเดียวกัน มีอย่างน้อย 3 ประเด็นที่ส่งผลต่อ privacy ได้เหมือนกัน
    1) มีการเก็บภาพใบหน้าของ user ตอนลงทะเบียน ซึ่งจะต้องใช้แสดงผลความเสี่ยงร่วมกับ QR Code และ color code เพื่อใช้ยืนยันตัวตน ตรงนี้ต้องยอมรับว่า เท่ากับมีผลให้ข้อมูลที่เก็บเรื่องพฤติกรรม ประวัติการไปสถานที่หรือสัมผัสคนอื่น เป็นข้อมูลส่วนบุคคลตามนิยามในกฎหมายโดยปริยาย แม้จะใช้ anonymous ID และไม่ผูกกับ SIM Card ก็ตาม และทำให้ประเด็นเรื่อง consent (ความยินยอม) โดยอิสระของ user สำคัญขึ้นมาอีก ยกเว้นจะมีฐานทางกฎหมายอื่นมารองรับการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวได้

    //
    Edit (3 พ.ค. 2563 20.36 น.) ทีมผู้พัฒนาแอป ให้ข้อมูลเพิ่มเติมกับผมว่า รูปถ่ายจะอยู่แต่ในเครื่องมือถือของเจ้าของนะครับ ไม่ได้ถูกส่งมาที่ server เพื่อไว้ประกอบ badge เป็นการยืนยันว่าระดับความเสี่ยงที่เห็นเป็นของบุคคลนั้นจริงๆ

    ตรงนี้ก็ทำให้ความกังวลเรื่อง privacy และ security ลดลงได้พอสมควร แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากภายในเครื่องก็ save ภาพใบหน้าไว้อยู่ดี จึงตอกย้ำเรื่องการให้ข้อมูลตอนใช้แอปให้ชัดเจน และขอความยินยอมแต่แรก เช่นกันครับ ซึ่งเชื่อว่าทีมได้ตระหนักในจุดนี้อยู่แล้ว (และข้อมูลในแอปก็ยังมีโอกาสถูกขโมยได้ เพียงแต่โอกาสอาจจะน้อยกว่าการอยู่บน cloud และอย่างน้อยก็คงสบายใจได้มากขึ้นว่าจะไม่มีคนของส่วนกลางเข้ามาดูข้อมูลภาพใบหน้าแต่อย่างใด)
    //

    2) สำหรับคนที่ป่วยเป็นโรค COVID-19 (ซึ่งจริงๆ ควรอยู่ใน รพ. หรือหลังหายแล้วก็กลับไปกักตัวที่บ้านจนครบ 1 เดือน) หรือคนที่ยังไม่เป็นโรคแต่อยู่ในข่ายที่ต้องกักตัวที่บ้าน กลุ่มนี้กรมควบคุมโรคจะมีข้อมูลในมือ และกลุ่มเหล่านี้ หากจะทำให้แอปนี้ได้ผลในการกรองคนกลุ่มนี้ไม่ให้ไปเดินเล่นที่ไหน (เพราะคุณควรจะอยู่บ้านมั้ย?) ก็ต้องมีวิธีเชื่อมระหว่างกรมควบคุมโรคกับแอปนี้

    ในแอป หาก risk ของผู้ป่วยเพิ่มขึ้น เช่น จากการตอบแบบสอบถาม พบว่ามีอาการไม่สบาย และ/หรือมีปัจจัยเสี่ยงเข้าเกณฑ์ที่กำหนด ก็จะขอเบอร์มือถือเอาไว้ (ซึ่งก็จะเก็บเอาไว้เฉยๆ ในแอป แต่เผื่อต้องใช้ link กับข้อมูลที่กรมควบคุมโรคส่งมา)

    เมื่อกรมควบคุมโรคส่งข้อมูลมาว่า ผู้ป่วย COVID-19 และผู้ที่ต้องกักตัว (ซึ่งคือกลุ่มที่ไม่ควรไปเดินเล่นที่ไหน) มีเบอร์มือถืออะไรบ้าง แอปก็จะไปเทียบกับข้อมูลในระบบ เฉพาะคนที่เสี่ยงเพิ่มขึ้นและให้เบอร์มา หากพบว่าเบอร์เดียวกัน ก็จะขยับ risk level ให้คนกลุ่มนี้ เอาไว้เตือนตัวเองว่าต้องกักตัวนะ และเวลาเขาไปที่ไหนแล้วโชว์ QR Code และ color code ก็จะเห็นว่าเขาไม่ควรไปเดินเล่นที่ไหน

    และในทางกลับกัน เมื่อวันดีคืนดี user คนปกติที่ใช้แอปนี้ เกิดป่วยแล้วพบว่าเป็น COVID-19 ขึ้นมา คนที่เขาไปสัมผัสในช่วง 14 วันก่อนหน้า ก็คือผู้ที่อยู่ในข่ายอาจต้องถูกกักตัว (ต้องถูกกักแน่ๆ หรือไม่ ขึ้นอยู่กับรายละเอียดการสัมผัส ตรงนี้ต้องให้แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ประเมินความเสี่ยงและพิจารณาว่าจะต้องส่งตรวจ หรือให้ทำอย่างไร กักตัวหรือไม่ โดยกรมควบคุมโรคมี guideline ไว้ให้อยู่แล้ว)

    คนใช้แอปคนอื่น ที่ไปสัมผัสผู้ป่วยรายใหม่นี้ ก็ควรจะถูกเรียกเข้ามาตรวจกับแพทย์ ดังนั้น ประวัติการ cross-path (เจอกัน) และ contact กัน ที่ detect ได้จาก Bluetooth และ GPS จึงอาจทำให้แอป notify user ให้ไปพบแพทย์เพราะอาจมีประวัติ contact ผู้ป่วย (แล้วให้แพทย์พิจารณารายละเอียดอีกที) รวมทั้งข้อมูลนี้อาจช่วยให้แพทย์ ทีมสอบสวนโรค และกรมควบคุมโรค ทำ contact tracing เพื่อระบุและติดตามคนที่สัมผัสผู้ป่วยมาตรวจ ทำได้ครบถ้วนขึ้น

    แน่นอนว่า การ "กวาด" เอาคนที่อาจ cross-path กันมาให้แพทย์ตรวจ ไม่ว่าจะเป็นการ notify user ผ่านแอปเองว่าให้มาตรวจ หรืออาจเปิดเผยข้อมูลให้กับทีมสอบสวนโรคเพื่อการติดตามหาตัวเพื่อเชิญมาตรวจ ก็อาจเป็นการละเมิด privacy ได้ แต่กรณีนี้ ผมยังเห็นว่า เป็นกรณีที่การละเมิด privacy นั้น มีขึ้นเพื่อการค้นหาผู้ป่วยและผู้สัมผัสให้ครบ และเอามากักกันให้ดี เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด กรณีนี้จึงน่าจะมองได้ว่า มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ และน่าจะเป็นอำนาจของกรมควบคุมโรค และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ หากมีเงื่อนไขของมาตรการการคุ้มครองการเข้าถึง ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเหมาะสม

    3) ในชีวิตจริง ต่อให้เราไม่ทราบว่า คนที่มีความเสี่ยงในระดับสีเหลือง ส้ม แดง ที่อยู่ใกล้เราคือใคร แต่หากเราให้ข้อมูล location-specific และ time-specific risk level (ระดับความเสี่ยง ณ สถานที่และเวลาหนึ่งๆ) ถ้าใน location & time นั้น มีคนอยู่เพียงไม่กี่คน เราก็จะทราบได้อยู่ดีว่าแต่ละคนเหล่านั้นมีความเสี่ยงแค่ไหน (ซึ่งหากเป็นกลุ่มสีแดงที่ต้องกักตัวเด็ดขาด แต่เราพบว่าไปเดิน "เพ่นพ่าน" อยู่ในห้าง (ขออภัยที่ใช้คำนี้นะครับ ใช้เพื่อให้เห็นภาพเท่านั้นครับ) ก็คงพอจะเข้าใจได้ แต่หากเขานอนกักตัวอยู่ที่บ้านเขา แล้วเราไปเห็นว่าแถวๆ นั้น มีคนที่เป็นสีแดง สีส้ม อยู่ล่ะ กล้ารับปากผมมั้ยครับว่าจะไม่มีใครไป bully หรือ stigmatize เขา) -> นั่นแปลว่า ข้อมูล location-specific และ time-specific risk level ไม่ควรเปิดเผยต่อ user (ยกเว้นเปิดเผยกับกรมควบคุมโรคหรือหน่วยงานที่ต้องดูแลความปลอดภัยของประชาชน หากมีอำนาจตามกฎหมาย) หรือควรทำ data obfuscation ให้ข้อมูลแตกต่างจากข้อเท็จจริงบ้าง หรือให้ข้อมูลแค่ในระดับ aggregate หยาบๆ ที่มีคนจำนวนมากจึง zoom in ระดับบุคคลได้ยาก แทน

    B. ประเด็นต่อมาที่ผมกังวล คือ จะเกิดความเข้าใจผิดว่า คนที่โดย GPS และ/หรือ Bluetooth พบว่าไปสัมผัสกับคนป่วยเข้า ถ้ามีการ "upgrade" ระดับความเสี่ยงของเขาเป็นสีสูงขึ้นโดยอัตโนมัติ จะทำให้เกิดผลกระทบต่อเขาได้หากต้องแสดง QR Code และ color code ความเสี่ยงของเขากับใคร ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้ว แพทย์ยังไม่ได้ screen เลยว่าตกลงอยู่ใกล้ผู้ป่วยจริงมั้ย ใกล้กันขนาดไหน สวมหน้ากากมั้ย อากาศถ่ายเทมั้ย นานแค่ไหน ช่วงเวลานั้นผู้ป่วยที่สัมผัสน่าจะป่วยและแพร่เชื้อได้แล้วยัง มีคำอธิบายอื่นๆ (เช่น ลืมมือถือไว้ที่ร้านอาหาร เลยอยู่ใกล้ผู้ป่วย แต่ตัวเองไม่ได้สัมผัสผู้ป่วย) มั้ย ฯลฯ

    ประเด็นนี้ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข 2 ข้อ คือ
    1) ความแม่นยำของเทคโนโลยีในการระบุคนที่สัมผัสผู้ป่วยเสี่ยง แม่นยำแค่ไหน ผมได้อภิปรายไปบ้างแล้ว
    2) เงื่อนไข หรือ algorithm ในการระบุว่าเป็นกลุ่มที่มีประวัติ cross-path กับกลุ่มเสี่ยง มี precision & recall แค่ไหน (หรือถ้าใช้ภาษาระบาดวิทยาก็คือ มี positive predictive value และ sensitivity แค่ไหน)

    Precision (หรือ positive predictive value) จะเป็นตัวบอกว่า ในบรรดาคนที่ถูกกวาดมาเคยมีประวัติสัมผัสหรือ cross-path กับผู้ป่วย 100 คนนั้น เป็นคนที่ cross-path จริงกี่คน (ไม่ใช่มั่วเพราะ technology detect ได้หยาบๆ แต่หมอซักไปซักมาแล้ว ไม่มีอะไรนี่หว่า)

    Recall (หรือ sensitivity = ความไว) จะเป็นตัวบอกว่า ในบรรดาคน 100 คน ที่ในชีวิตจริงสัมผัสหรือ cross-path อยู่ใกล้ผู้ป่วยจริงๆ ในระยะที่แพทย์มองว่าทำให้เขาเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องมาพบแพทย์นั้น แอปสามารถค้นหาเจอจากประวัติการสัมผัสในแอป แล้วแจ้งเตือนให้มาพบแพทย์ กี่คน

    คงเดาได้นะครับว่า ถ้าเราเลือกให้มี precision มากๆ เราอาจสูญเสียคนที่สัมผัสจริงบางคนไป (recall ต่ำลง) หรือถ้าเราจะเลือกกวาดมาให้เยอะๆ ก่อน (recall สูงๆ) ก็อาจต้องแลกกับ precision ที่ลดลง และภาระงานของแพทย์ที่ต้องมาตรวจคนที่ไม่ได้สัมผัสเสี่ยงสูงขนาดนั้น แต่แอปบอกว่าให้มาตรวจ เกิดภาระงานเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น แทนที่จะเอาเวลาไปดูแลผู้ป่วยอื่น

    C. มีหลายสถานการณ์ที่ทำให้ข้อมูลจากแอปนี้ มีข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์จริง เช่น
    - ไม่ download แอป
    - ไม่เปิด GPS หรือ Bluetooth หรือแอบปิดเป็นบางเวลาที่ไม่อยากให้เจอ
    - มือถือแบตหมด หรือ data หมด
    - คนหนึ่งคนใช้มือถือหลายเครื่องสลับกัน
    - คนหลายคน (เช่น ครอบครัวเดียวกัน) ใช้มือถือเครื่องเดียวกัน ยืมกันไปมา ทำให้แยกพฤติกรรมคนเหล่านี้ออกจากกันไม่ได้
    - ผู้ป่วย COVID-19 หรือผู้ที่ต้องถูกกักตัว ที่ระบุเบอร์มือถือให้กรมควบคุมโรค จริงๆ เป็นเบอร์และเครื่องมือถือของญาติ (ลองนึกภาพอาม่าคนนึงที่ไม่มีมือถือของตัวเอง แต่ตอนเจอว่าเป็นผู้ป่วย COVID-19 และต้องให้เบอร์ ก็ให้เบอร์ญาติไป) หรือพอรู้ว่าถูกจับตามอง ก็เลยเลี่ยงไปใช้เบอร์อื่นตอนไปเดินเล่น
    - คนที่ตอบแบบสอบถาม (ประวัติเสี่ยง อาการป่วย) ไม่ตรงความจริง
    - คนที่เมื่อมีความเสี่ยงขยับสูงขึ้น แล้วแอปถามเบอร์เผื่อช่วย link กับข้อมูลของกรมควบคุมโรค ให้เบอร์มือถือไม่ตรงความจริง หรือเลี่ยงไปใช้เบอร์อื่น
    - คนที่อยู่ใกล้ผู้ป่วยก็จริง แต่สวมหน้ากากป้องกันอย่างดี ในที่อากาศถ่ายเท เป็นเวลาไม่นาน (โดยเฉพาะโดยลักษณะของงานที่มีโอกาสเจอคนเยอะ เช่น พนักงานร้านค้า แพทย์/พยาบาลที่ต้องดูแลผู้ป่วย COVID-19 หรือเจ้าหน้าที่ที่จุดคัดกรองของสถานที่ทั้งของรัฐและเอกชน)

    ตรงนี้ทำให้เราคงพอมองเห็นว่า แอปนี้ไม่ใช่ silver bullet ที่จะเป็นทางออกที่สำคัญยิ่งยวดของสังคมในสถานการณ์นี้ (เหมือนที่วัคซีนและยารักษาที่ได้ผลดี จะเป็น silver bullet)

    และบางประเด็นที่ผมยกตัวอย่างมา หลายท่านคงคิดถึงมาตรการทางกฎหมายที่จะมาใช้บังคับว่าต้องทำอย่างนั้น ห้ามทำอย่างนี้ (เช่น ต้องโหลดแอปมาใช้ ห้ามปิด Bluetooth ฯลฯ) ซึ่งผมไม่เห็นด้วย เพราะเราไม่มีทางบังคับให้ได้ผลทุกประเด็นหรอกครับ (ลองนึกภาพ ถ้าเขาแบตหมด, ไม่มีมือถือ, ใช้สองเครื่อง, เครื่องเดียวใช้หลายคน, แกล้งปิด Bluetooth & GPS เป็นบางเวลา ไรงี้ ชีวิตจริงจะบังคับเขายังไง...ออกกฎหมายได้ แต่ก็บังคับใช้ไม่ได้อยู่ดี)

    ซึ่งบางประเด็น เคยมีไอเดียในทีมงานว่าจะหามาตรการอะไรมาบังคับหรือส่งสัญญาณรุนแรง เช่น ถ้าไม่ใช้แอปนี้ หากมา รพ. จะไม่รับรักษา หรือเบิกค่ารักษาจากรัฐไม่ได้ หรือได้คิวช้าลง ฯลฯ ซึ่งในทางปฏิบัติ ไม่สามารถทำได้เลย ตรงนี้ผมค้านหนักมาก และทางทีมพัฒนาก็ยอมรับแล้วว่าเป็นเพียงไอเดียภายในตอนระดมสมองของสมาชิกทีมบางส่วน แต่เนื่องจากนำไปใช้จริงไม่ได้ ก็พับไป ท่าน รมว. DES ได้กรุณาพูดชัดเจนหนักแน่นต่อหน้าผมแล้วว่าทำไม่ได้ ไม่มีแน่ๆ ตรงนี้ก็ทำให้ผมสบายใจขึ้นครับ

    D. ประเด็นสุดท้าย และเป็นประเด็นที่ทำให้ผมต้องตัดสินใจถอนตัวออกมาเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา คือ แนวคิดที่เหมือนจะเป็นหนึ่งรูปแบบการใช้งานของทีม ที่เหมือนจะได้ข้อสรุปกันแล้ว (หากผิด ทีมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แก้ไขได้ครับ) ว่า จะให้จุดคัดกรองของสถานที่ต่างๆ (น่าจะทั้งรัฐและเอกชน) ขอดู QR Code หรือ status สีตามความเสี่ยง ในแอปหมอชนะ ของผู้รับบริการแต่ละราย ถ้าไม่โชว์ หรือไม่ใช้แอป หรือมีเหตุผลต่างๆ นานาที่ทำให้ไม่สามารถโชว์ status ความเสี่ยงของตัวเองด้วยแอปนี้ได้ ก็ไม่ต้องให้เข้า

    ผมไม่เห็นด้วยกับมาตรการเชิงบังคับเช่นนี้ เพราะมันจะส่งผลกระทบรุนแรงต่อการใช้ชีวิตของคนบางกลุ่ม (เช่น กลุ่ม lower class) และจะยิ่งผลักเขาไปเป็นฝั่งตรงข้าม และมีผลกระทบรุนแรงตามมา (ยังจำโครงการเราไม่ทิ้งกันได้ใช่มั้ยครับ) และแอปนี้ ซึ่งรัฐหนุนหลัง ไม่ควรทำตัวเป็นคนส่งเสริมการใช้แอปในลักษณะเช่นนี้เสียเอง ควรเป็นเพียงการ provide ทางเลือกในการให้ข้อมูลความเสี่ยง ซึ่งใครจะนำไปใช้ในสถานที่ของตนอย่างไร และ user จะใช้หรือไม่ใช้แอปนี้หรือไม่อย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับสิทธิเสรีภาพและดุลพินิจของแต่ละบุคคล

    ผมพูดอย่างนี้เพราะผมมองเห็นว่า แอปนี้ไม่ได้มีประโยชน์ "ขนาดนั้น" มันไม่ใช่ silver bullet ที่เราจะต้องทำทุกวิถีทาง ยอมแลกสิทธิส่วนบุคคลโดยถือว่าผลกระทบต่อบุคคลและสังคมที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ "ขนาดนั้น" (แตกต่างจากมาตรการ social distancing, lockdown, curfew ที่มีเหตุผลหนักแน่นกว่าเยอะในเรื่องประโยชน์ในการคุ้มครองสาธารณะและการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อ) โดยเฉพาะในสถานการณ์ขณะนี้ของไทย ซึ่งไม่ใช่ catastrophe ถึงขนาดที่เราจะต้องยอมแลกทุกสิ่ง (รวมทั้งแอปนี้ที่มีข้อจำกัดและผลกระทบเยอะ) มาเพื่อ restore the way of life ขนาดนั้น

    อย่างไรก็ตาม ผมเชื่อว่ามีบางรูปแบบที่แอปนี้มีประโยชน์ในฐานะ "ข้อมูลเสริม" สำหรับกระบวนการ contact tracing เพื่อตามหาผู้สัมผัสผู้ป่วยที่ต้องมาตรวจหรือกักตัว ซึ่งไม่ได้ทดแทนกระบวนการเดิมของทีมสอบสวนโรค แต่อาจช่วยเสริมให้การ recall ประวัติการไปในที่ต่างๆ ของผู้ป่วย ทำได้ดีขึ้น และการ identify คนที่อาจจะสัมผัสใกล้ผู้ป่วย แต่ผู้ป่วยและผู้นั้นเองไม่รู้ตัว (เพราะเดินสวนกันหรือนั่งใกล้กันเฉยๆ แต่ไม่รู้จักหรือไม่มีปฏิสัมพันธ์กัน) ก็อาจทำให้ identify กลุ่มนี้เพื่อมาตรวจคัดกรองได้ดีขึ้น

    นอกจากนั้น การมีระดับความเสี่ยงเป็น QR Code และ color code หากการแบ่ง code มีความเหมาะสมและได้รับการ review จากกรมควบคุมโรคว่ามีความเหมาะสมแล้ว ก็ย่อมเป็นการ inform & educate risk level ให้กับ user เอง และเป็นการ provide ทางเลือก ในการให้ข้อมูลประกอบการคัดกรองของเจ้าของสถานที่ต่างๆ เองโดยสมัครใจ (ภายใต้เงื่อนไขว่า ไม่ใช่การบังคับใช้แอปโดยรัฐ หรือบังคับให้เจ้าของสถานที่ต่างๆ ต้องใช้แอปนี้ เปิดดู QR Code หรือ color code คัดกรองบุคคลอื่น คือ ใครใคร่ใช้ก็ใช้ ใครไม่ใคร่ใช้ก็ไม่ต้องใช้ และมีมาตรการรองรับกรณีที่มีข้อจำกัดในชีวิตจริงอย่างที่ผมยกตัวอย่างไปแล้ว เช่น ไม่ได้เอามือถือมา ไม่ได้โหลดแอป มือถือแบตหมด เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการให้บริการและการใช้ชีวิตของประชาชนเกินสมควร)

    แอปนี้ จะเป็น option เสริมที่ดี ในการจัดการเรื่องการระบาดของ COVID-19 หากผู้พัฒนา รัฐบาล และสังคม เข้าใจว่า critical success factors ของแอปนี้ คือ trust ที่สังคมมีต่อแอปนี้และการนำแอปนี้ไปใช้ ทำให้ยอมรับการเก็บข้อมูล และไม่หามาตรการอะไรมาหลบเลี่ยงด้วยความกลัวหรือต่อต้าน ซึ่งภาระในการพิสูจน์ trust, สร้าง trust และธำรงรักษา trust ย่อมตกอยู่กับผู้ดำเนินการนะครับ

    จริงๆ แอปนี้แม้จะเรียกว่า "หมอชนะ" แต่ในฐานะหมอคนหนึ่ง ผมเรียนเลยครับว่า เราไม่ได้มองว่าหมออย่างพวกเราคือผู้ยิ่งใหญ่ และต้องการให้หมออย่างพวกเราชนะหรอกครับ แต่เรากลับต้องการให้ประเทศไทยชนะ และคนไทยชนะ ในสงครามกับเชื้อไวรัสอันร้ายกาจตัวนี้ โดยหมอและบุคลากรทางการแพทย์ เป็นเพียงกองทัพหน้ากองทัพหนึ่งในการต่อสู้ เท่านั้นครับ

    หากผู้เกี่ยวข้อง เลือก approach ที่เหมาะสม แอป "หมอชนะ" จะเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ช่วยให้ "คนไทยชนะ" ครับ

    ขอชัยชนะจงมีต่อชาวไทย และประเทศไทย

    ดร. นพ.นวนรรน ธีระอัมพรพันธุ์
    นักวิชาการด้านสารสนเทศสุขภาพ
    รองคณบดีฝ่ายปฏิบัติการ
    คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
    มหาวิทยาลัยมหิดล
    3 พฤษภาคม 2563

    Full disclosure: ผมเองก็ใช้แอปนี้นะครับ เป็นการใช้ที่ผมยินยอมเองหลังจากรับทราบแนวทางการทำงานของทีมผู้พัฒนาในประเด็นต่างๆ และชั่งน้ำหนักเองแล้ว (ส่วนหนึ่งก็ด้วยความอยากรู้กลไกการทำงาน ตอนที่เข้าไปร่วมทีมใหม่ๆ แต่ก็กะจะใช้ยาวเหมือนกัน) ทั้งนี้ ประเด็นของผมไม่ได้อยู่ที่ว่าเราไม่ควรใช้แอปนี้นะครับ (เพราะมันก็มีข้อดี) แต่ผมอยากให้มันเป็น choice ของประชาชนมากกว่า และถ้าประชาชนหมู่มาก trust ว่ามีมาตรการดูแลและคุ้มครองเขาที่เหมาะสม และคำนึงถึงผลกระทบรอบด้านแล้ว ดำเนินการอย่างได้สมดุลและเข้าใจคนทุกระดับแล้ว trust นั่นแหละครับ จะทำให้มีคนยอมรับแอปและใช้เยอะขึ้นเอง และยิ่งใช้ยิ่งเห็นประโยชน์ต่อตัวเองและสังคม และรัฐก็จะได้ประโยชน์เองจากการแพร่ระบาดที่ลดลง

    Edit History
    3 พ.ค. 2563 13.51 น. แก้ไข GPS accuracy จาก 3-4 เมตร เป็น average GPS accuracy 15-30 เมตร (maximum theoretical accuracy 3.5-4 เมตร) Credits: Dr. Bhume Bhumiratana ครับ

     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    New Normal ระบบสาธารณสุขไทย
    กับอีก 18 เดือน ที่ต้องอยู่กับโควิด - 19
    .
    .
    จนถึงตอนนี้ สิ่งที่ต้องยอมรับก็คือ “วัคซีน” สำหรับโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019 จะไม่เกิดขึ้นเร็ว และโรคนี้ จะไม่หายไปง่ายๆ ตามนิยามของนักวิทยาศาสตร์ - นักวิจัย และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ คือให้เตรียมตัวในกรณีที่ “แย่ที่สุด”ไปอีกอย่างน้อย 1 ปีครึ่ง
    .
    ปัญหาที่คนเหล่านี้กังวลก็คือ จะทำอย่างไรให้วิถีชีวิตหลังจากนี้ จะปลอดภัยจากการระบาด “เวฟที่ 2” มากที่สุด เพราะยังมีคนอีกมากที่มีเชื้ออยู่ในตัวแต่ไม่แสดงอาการ และผลการศึกษาหลายตัว ก็ชี้ไปในทางเดียวกันว่าโคโรนาไวรัส 2019 สามารถกลายพันธุ์ - ปรับตัว ได้ดีกว่าที่คาด ไม่ “ตาย” หรือหายไปแบบโรคซาร์ส ซึ่ง “ร้ายแรง” กว่า และมี “อัตราตาย” สูงกว่าโควิด - 19
    .
    คำถามสำคัญก็คือจะทำอย่างไร ให้ระบบเศรษฐกิจ และ “ชีวิต” ยังคงเดินหน้าต่อไปได้ พร้อมๆ ไปกับการยกการ์ดสูง ป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสกลับมา สิ่งที่ต้องยอมรับหลังจากนี้อีกอย่างน้อย 1 ปีครึ่ง ระบบหนึ่งที่ต้องปรับตัวไม่แพ้กันก็คือ ระบบการแพทย์ – สาธารณสุข ที่จะเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ
    .
    ก่อนหน้าการระบาดของโควิด – 19 บุคลากรทางการแพทย์นั้น ขึ้นชื่อว่า “งานหนัก” อยู่แล้ว แต่ในช่วงชีวิตคนที่ผ่านมา ไม่มีครั้งไหนที่ต้องเจอวิกฤตที่หนักหนาสาหัสในระดับนี้
    .
    ในสหรัฐอเมริกา เจอผู้ป่วยหลักล้านคน หลายประเทศในยุโรป เจอผู้ป่วยหลักหลายแสน แม้แต่ในประเทศไทย ที่เจอผู้ป่วย 2,000 กว่าคน แม้จะไม่มากนัก แต่วิกฤตนี้ ก็ทำให้บุคลากรสาธารณสุข ตกอยู่ใน “ความเสี่ยง” มากกว่าที่เคยเป็นมาก่อนหลายเท่า
    .
    สหรัฐฯ มีบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อล่าสุดเกิน 1 หมื่นคน สหราชอาณาจักร ซึ่งมีระบบสาธารณสุข ที่ “แข็งแรง” ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก หรือระบบ NHS นั้น มีแพทย์ - พยาบาล ติดเชื้อหลายพันคน และเสียชีวิตไปแล้ว 137 คน ในฟิลิปปินส์ บุคลากรทางการแพทย์ คิดเป็น 19% ของจำนวนผู้ติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ทั้งหมด และในไทย แม้จะควบคุมโรคนี้ได้ดี ก็มีแพทย์ – พยาบาล - ทันตแพทย์ และบุคลากรสาธารณสุขอื่น ติดเชื้อไปมากกว่า 80 คน
    .
    การติดเชื้อจำนวนมาก มาจากการขาดอุปกรณ์ป้องกันตัว ไม่ว่าจะหน้ากาก N95 ไม่ว่าจะชุด PPE และในเวลาที่วิกฤตหนัก ไม่รู้ว่าใครมีเชื้อบ้าง ก็ทำให้แพทย์ทุกคน มีความเสี่ยงติดเชื้อมากเข้าไปอีก
    .
    เป็นไปได้ว่า หากไม่สามารถรั้งบุคลากรเหล่านี้ไว้ในระบบได้ การขาดแคลน “บุคลากร” ด้านสาธารณสุข จะหนักกว่าเดิม เพราะไม่มีใครอยากที่จะเสี่ยงกับเชื้อไวรัสไปเรื่อยๆ ด้วยภาระงานที่หนักหน่วง อุปกรณ์ป้องกันตัวที่ไม่เพียงพอ และค่าตอบแทนที่ไม่คุ้มค่า
    .
    แน่นอน ในอีก 18 เดือนข้างหน้า รัฐจะลงทุนกับระบบสาธารณสุขมากขึ้น งบประมาณจะลงไปกับการป้องกันโรคระบาดมากขึ้น ควบคู่ไปกับการวิจัยและพัฒนาวัคซีน – สูตรยาสำหรับรักษาโควิด - 19
    .
    และก็ชัดเจนว่า ประเทศที่มีระบบสาธารณสุข “แข็งแกร่ง” อย่างไทย ซึ่ง “ระยะห่าง” ระหว่างโรงพยาบาล และคนไข้ ไม่ได้มากนัก ส่วนค่าใช้จ่ายในการรักษาก็ถูกแสนถูก ทำให้โรคนี้ไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คิด จะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ทั่วโลก หันมามองหาระบบสาธารณสุขที่ทำให้คน “เข้าถึง” การรักษาได้ง่ายขึ้น
    .
    แต่คำถามสำคัญก็คือ จะทำอย่างไรที่จะทำให้ฝั่งโรงพยาบาล ฝั่งระบบสุขภาพ ตั้งแต่ระดับสถานีอนามัย เรื่อยไปจนถึงโรงพยาบาลน้อยใหญ่ จะสามารถทำงานอยู่ได้ในอีก 18 เดือนข้างหน้า ภายใต้ New Normal โดยที่มีความเสี่ยงกับการติดเชื้อน้อยที่สุด มีความพร้อมรับมือการระบาดระลอกที่ 2 ที่ได้มากที่สุด ควบคู่ไปกับการทำให้บุคลากรสาธารณสุข สามารถทำงานได้ด้วยภาระงานที่ไม่ “ล้น” เกิน
    .
    อันดับแรกคือต้องจัดสรร จัดการตำแหน่ง ค่าตอบแทน สวัสดิการ บุคลากรเหล่านี้ให้ “สมน้ำสมเนื้อ” มากขึ้น เพื่อให้คุ้มกับความเสี่ยงในการทำงานช่วงเวลานี้ ซึ่งอาจลากยาวไปอีกนานหลายเดือน ซึ่งยังไม่นับรวมโรคตามฤดูกาลอย่าง “ไข้เลือดออก” ซึ่งจะทำให้ทั้ง อสม. ทั้งเจ้าหน้าที่ รพ.สต. และแพทย์ - พยาบาล ในโรงพยาบาล ต้องทำงานหนักยิ่งขึ้นในช่วงฤดูฝน
    .
    เพราะฉะนั้น การสร้างระบบสวัสดิการ การเพิ่มค่าตอบแทน จึงสำคัญมากในช่วงเวลาแบบนี้..
    .
    พร้อมกันนี้ ก็ควรต้องลงทุน จัดการหา “อุปกรณ์ป้องกันตัว” ไม่ว่าจะหน้ากาก N95 หรือชุด PPE เพื่อเตรียมความพร้อม รับมือกับโรคระบาดนี้ต่อไป ตราบใดที่ยังไม่เห็นทางออกของเรื่องนี้ง่ายๆ
    .
    ขณะเดียวกัน สิ่งที่ควรทำควบคู่ไปในช่วงเวลานี้ ก็คือการลงทุนกับระบบ Telemedicine หรือการแพทย์ทางไกล ควบคู่ไปด้วย เพราะต้องไม่ลืมว่า ในช่วงเวลานี้ มีแพทย์ – ทันตแพทย์ จำนวนมากที่ไม่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ต้อง “หยุดงาน” และคนไข้จำนวนมาก ก็ได้รับผลกระทบ เพราะไม่สามารถไปพบแพทย์ได้ตามปกติ ทั้งที่มีอาการป่วยด้วยโรคเรื้อรัง – โรคประจำตัวอื่นๆ หรือสงสัยว่าจะป่วยด้วยโควิด – 19
    .
    เมื่อ Telemedicine ถือเป็นหนึ่งในนโยบายของพรรคภูมิใจไทย และนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขยุคนี้อยู่แล้ว ก็สมควรกำหนดเดตไลน์ 2-3 เดือนนี้ ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยหาก Telemedicine สามารถเชื่อมโยงกับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ก็จะลดจำนวนผู้ที่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาล โดยเฉพาะผู้ที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง หรือคนแก่ เพื่อพบแพทย์ได้ และจะสามารถคัดกรองผู้ป่วยเบื้องต้น ลดภาระของโรงพยาบาล ของบุคลากรสาธารณสุขได้เช่นกัน
    .
    หากคนทำงานออฟฟิศ สามารถ Work from Home ได้ คนไข้ ผู้ป่วย ก็ควรที่จะปรึกษาแพทย์ ติดต่อแพทย์จากที่บ้านได้เช่นกัน ขอเพียงสร้างระบบที่เอื้ออำนวย เพื่อให้สามารถลดการเดินทาง และลดความเสี่ยงให้มากที่สุด
    .
    นี่คือตัวอย่างเล็กๆ ของการสร้าง New Normal ในวงการสาธารณสุข เพื่อมองให้ไกลกว่าการจัดการป้องกัน – ควบคุมโรคเฉพาะหน้า
    .
    เพราะต้องไม่ลืมว่า คนไทย และระบบสาธารณสุขไทย เพิ่งเจอโรคนี้ แค่ใน “ระลอกแรก” เท่านั้น ยังเหลืออีกเป็นปี กว่าที่จะผ่านไปได้...

    #COVID19 #โควิด #NewNormal

     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สำรวจ Exit Strategy ทั่วโลก
    ไทยควรเปิดบ้าง หรือยังต้อง “นิ่งไว้”
    จนกว่าผู้ติดเชื้อจะเหลือ 0


    ท่าทีล่าสุดของรัฐบาลเริ่มเปลี่ยนไปชัดเจน ช่วง 3-4 วันให้หลัง เมื่อสามารถกดการแพร่ระบาดลงให้เหลือในระดับ 20-30 คนได้ และอัตราการตายไม่ได้สูงมากนัก

    จากที่ก่อนหน้านี้ นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์โควิดฯ พูดเสมอว่า “การ์ดห้ามตก” และ ตัวเลขที่ลดลง ยังไม่น่าพอใจ ยังต้องเฝ้าระวังกันต่อ เริ่มเปลี่ยนมาเป็นการหา Exit Strategy หรือหา “ทางออก” จากการล็อกดาวน์มากขึ้น

    ชัดเจนว่าช่วงเวลาวิกฤตของ “เวฟ” แรก ที่มีผู้ติดเชื้อสูงขึ้นถึงวันละ 100 คน นั้นผ่านไปแล้ว และระบบสาธารณสุขก็
    สามารถคุมสภาพได้

    เอาเข้าจริง ช่วงเวลาพีคที่คาดการณ์ไว้ว่าปลายเดือน เม.ย. จะมีผู้ติดเชื้อสูงสุดวันละนับพันคนนั้น ไม่ได้แย่อย่างที่คิด จากมาตรการหลายอย่างที่ได้ผล ไม่ว่าจะเป็นการสอบสวนเส้นทางการระบาดของโรค หรือ Contact Tracing ที่จำกัดวงได้ การคุมเข้มทุกคนที่เดินทางเข้าประเทศ และการจัดการ Social Distancing เว้นระยะห่างทางสังคม งดการรวมตัวกัน ก็ได้ผลตอบรับที่ดี

    แต่ที่ยังต้องระวังต่อก็คือจำนวนการ “เทสต์” ที่สัปดาห์ก่อน บอกว่าไทยจะสามารถเทสต์ได้สูงสุด 2 หมื่นราย ต่อวันนั้น ล่าสุดยังอยู่ที่ราว 3,000 – 3,500 คน ซึ่งยังไม่มากนัก และน่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การ “เปิดล็อก” ยังทำได้ไม่เต็มที่ ยังต้องรอให้ตรวจได้มากกว่านี้ก่อน เพราะจำนวนผู้ติดเชื้อแฝง ที่ไม่แสดงอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อต่อได้นั้น บทเรียนจากหลายประเทศพบว่า มีความเสี่ยงสูงมาก ที่ทำให้เกิดการแพร่เชื้อเป็นวงกว้าง

    แน่นอน นี่คือสิ่งที่ต้องทำมากขึ้น และทำให้เร็วขึ้น เพราะเริ่มมีคนสิ้นหวังจากความ “อดอยาก” มากขึ้นเรื่อยๆ และต้องยอมรับว่าคนไทยจำนวนมาก อยู่ในภาคบริการที่ไม่ได้เงินเดือนประจำ โดยที่เงินเยียวยาจากรัฐไม่เคยไปถึง และไม่มีทางไปถึง

    นั่นทำให้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ประเมินว่าปีนี้ ไทย คือประเทศที่ได้รับผลกระทบจากโควิด – 19 ในทางเศรษฐกิจหนักที่สุด โดยปีนี้ GDP จะติดลบหนักที่สุดในภูมิภาค คือ -6.7% หนักกว่าเศรษฐกิจโลกที่คาดว่าจะ -3% เหตุเพราะไทย พึ่งพาการส่งออก และพึ่งพา “การท่องเที่ยว” ในสัดส่วนเกินกว่า 70% ของ GDP

    เพราะฉะนั้น แรงกดดันให้เร่ง Exit Strategy กลับมาเปิดกิจการ อย่างน้อยก็ตลาดนัด ร้านค้าขนาดเล็ก ร้านตัดผม ห้างสรรพสินค้า หรือร้านค้าอื่นๆ ที่ถูกสั่งปิดไปก่อนหน้านี้ จึงดังขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะระบบเศรษฐกิจ ไม่อาจแบกรับการ “ล็อกดาวน์” ที่นานกว่านี้ โดยไม่มีรายได้เข้ามาได้อีกแล้ว...

    ข้อเสนอจากทีมกรมควบคุมโรคก็คือ เริ่มเปิดอย่าง “ค่อยเป็นค่อยไป” ในจังหวัดที่ปลอดผู้ติดเชื้อก่อน แล้วค่อยๆ เขยิบไปยังจังหวัดที่จำนวนผู้ติดเชื้อเริ่มนิ่ง โดยเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ ชลบุรี สมุทรปราการ นนทบุรี นั้น อาจเปิดหลังสุดช่วงเดือน มิ.ย. หากสามารถจัดการได้

    คำถามก็คือแผนเปิดประเทศ ควรเป็นอย่างไร แล้วควรจะเริ่มแบบไหน ให้มีความเสี่ยงในการระบาดน้อยที่สุด?

    สาธารณรัฐเชค เริ่มต้นเมื่อวันที่ 13 เม.ย. ที่ผ่านมา ด้วยการเปิด “ตลาดนัดเกษตรกร” และ โชว์รูมรถยนต์ รวมถึงร้านขายของชำขนาดเล็ก ที่สามารถเว้นระยะห่างทางกายภาพได้ และให้ประชาชนสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกจากบ้าน

    ออสเตรีย เป็นอีกหนึ่งประเทศที่เริ่มเปิดกิจการวันเดียวกัน เริ่มจากร้านตกแต่งสวน ร้านค้าปลักขนาดเล็ก โดยใช้เงื่อนไขคล้ายกันกับเชค คือต้องสวมหน้ากาก และต้องเว้นระยะห่าง 1 เมตร โดยหากสามารถคุมการติดเชื้อได้ กราฟไม่กลับมาพุ่งสูงขึ้นอีก ร้านค้าประเภทอื่น ก็จะกลับมาเปิดตามปกติในเดือน พ.ค.

    ปัจจุบัน ออสเตรีย สามารถกดจำนวนผู้ติดเชื้อ ต่ำมาได้ถึงวันละ 46 คน จากที่เคยสูงสุดวันละ 1,321 คน ส่วนเชค อยู่ที่วันละ 70-80 คน

    ด้านสโลวีเนีย ประเทศที่มีผู้ติดเชื้อล่าสุดอยู่ที่ 5 คนนั้น เริ่มอนุญาตให้ประชาชนกลับมาออกกำลังกายกลางแจ้ง ไม่ว่าจะเป็นเทนนิส หรือปั่นจักรยาน ส่วนอิตาลี เริ่มเปิดร้านหนังสือ ร้านเสื้อผ้าเด็ก และร้านซักรีด ในเวลาที่ยังมีผู้ติดเชื้อวันละ 2,000 – 3,000 คน

    ขณะที่สเปน แม้จะมีผู้ติดเชื้อวันละ 3,000 – 4,000 คน ก็เริ่มกลับมาเปิดโรงงาน และให้แรงงานก่อสร้างกลับมาทำงานต่ออีกครั้ง หลังจากหยุดชะงักมานาน

    ทั่วโลก เริ่มจับตาดูว่าโมเดลดังกล่าวได้ผลหรือไม่ และเร็วเกินไปหรือไม่ แต่ที่ผ่านมา 1 สัปดาห์ ตัวเลขของประเทศที่กลับมาเปิดให้บริการ ก็ยังไม่ได้มีอะไรเพิ่มขึ้นผิดปกติ..

    ในทางตรงข้าม หลายประเทศก็ยังเข้ม “ล็อกดาวน์” ต่อไป แม้จะกดกราฟให้ต่ำลงได้มาก และมีเสียงเรียกร้องให้ผ่อนปรน ไม่ว่าจะเป็นออสเตรเลีย ที่คงเหลือยอดผู้ติดเชื้อล่าสุดเพียงวันละ 20 คน จากที่พีคสุดวันละ 530 คนนั้น ขยายการล็อกดาวน์ออกไปถึงอย่างน้อยกลางเดือน พ.ค.

    นิวซีแลนด์ ซึ่งเหลือผู้ติดเชื้อล่าสุดวันละ 9 คน ก็บอกว่ายังไม่มีความคิดที่จะผ่อนกฎล็อกดาวน์ไปถึงอย่างน้อย วันที่ 11 พ.ค. และมาเลเซีย ประเทศเพื่อนบ้านเรา แม้จะกดจำนวนผู้ติดเชื้อลงมาเหลือที่ 57 ราย จากที่เคยพีคไปวันละหลายร้อยราย ก็ยังปฏิเสธผ่อนปรนล็อคดาวน์ จนกว่าตัวเลขจะนิ่งกว่านี้

    มาตรการที่ต้องเตรียมรับมือ และต้องตัดสินใจก็คือ รัฐบาลจะสามารถจัดการได้หรือไม่ หากพบคลัสเตอร์ใหม่ และมีการระบาดรอบสอง ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ แบบเดียวกับสิงคโปร์ ที่ไปพบคลัสเตอร์ในแคมป์คนงาน จากมีการติดเชื้อใหม่หลักสิบ กลายเป็นการติดเชื้อหลักพันในเวลาไม่กี่วัน

    ขณะเดียวกัน เวฟที่สอง อาจรุนแรงกว่าครั้งแรกเสมอ หากดูเส้นทางการระบาด โดยเอาไข้หวัดสเปน เมื่อ 104 ปีที่แล้ว ที่เวฟที่สอง เกิดการกลายพันธุ์ จนทำให้มีคนตายอีกเป็นจำนวนมาก

    คำถามสำคัญ ก็คือไทย ควรเริ่มคลายจุดไหน แน่นอน ควรเริ่มจากธุรกิจขนาดเล็ก ที่สามารถเว้นระยะห่างทางสังคมได้ และอาจตามมาด้วยร้านค้า ห้างสรรพสินค้า ที่จัดให้มีการเว้นระยะห่าง พอจะจัดการได้ ก่อนจะขยายไปยัง “ร้านอาหาร” โดยให้มีการเว้นระยะห่างที่มากพอ

    ทั้งหมดนี้ ยังต้องควบคู่ไปกับการ “มอนิเตอร์” ที่เข้มข้น ไม่ปล่อยให้มีการรวมฝูงชน การจัดอีเวนท์ที่มีคนจำนวนมาก หรือการแห่กันเข้าไปใช้บริการ ซ้ำยังต้องตั้งจุด “คัดกรอง” วัดไข้ในทุกสถานที่ ซึ่งจะกลายเป็นมาตรฐานใหม่ไปจนกว่าโรคนี้จะ “หายไปเอง” แบบโรคซาร์ส หรือจะมีวัคซีน เกิดขึ้นในอีกเกือบ 2 ปีข้างหน้า

    ส่วน “เครื่องยนต์หลัก” ของประเทศอย่าง “การท่องเที่ยว” ซึ่งหมายรวมไปถึงโรงแรม ผับ - บาร์ และการเดินทางทางอากาศนั้น จนถึงเวลานี้ ยังลูกผีลูกคน ไม่สามารถบอกได้ว่าจะเปิดได้เร็วขนาดไหน แต่ถ้ามีช่องที่พอจะจัดการได้ ก็ควรจะเริ่มเปิดได้แล้ว จากเบาไปหาหนัก เพราะไม่งั้นคนจะตกงาน อดอยากอีกหลายล้านคน

    ณ เวลานี้ การชั่งน้ำหนักระหว่างเรื่องสาธารณสุข และเรื่องเศรษฐกิจ ถือเป็นเรื่องยากยิ่ง แต่การไม่ทำอะไรเลยเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยง ปฏิเสธไม่ได้ว่า ในที่สุด คนจะอดตาย เราจะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจขนาดใหญ่ และผลสุดท้าย ก็จะสะท้อนกลับมาที่ระบบสาธารณสุขอยู่ดี

    เพราะฉะนั้น หากเปิดได้ ก็ควรจะกลับมาเปิดได้แล้ว..

    #โควิด19 #ผ่อนล็อกดาวน์ #ปลดล็อก #ExitStrategy

     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ไต้หวันกลับเข้า UN เถอะ
    .
    ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ไต้หวันกำลังก้าวเข้ามามีบทบาททางการเมืองโลกมากขึ้นจากการที่เขาจัดการกระระบาดของโควิด 19 ได้ดีและเริ่มช่วยชาติอื่นทำให้ประชาชนในหลายชาติแสดงความเห็นผ่าน ทวิตเตอร์สนับสนุนให้ไต้หวันกลับเข้า UN และ WHO ใน Tag #TweetForTaiwan ซึ่งจากการสำรวจพบว่าชาวอินเดีย หนุนเป็นอันดับแรกตามมาด้วยสหรัฐฯ UAE เยอรมัน ส่วนชาวทวิตฯไทยหนุนปรากฏการณ์นี้ในลำดับที่ 10

     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เรือนจำหลายประเทศจลาจล ผวาภัยโควิด-19
    สถานการณ์ระบาดของโคโรนาไวรัส “โควิด-19” ทั่วโลก ก่อให้เกิดความปั่นป่วนภายในเรือนจำและสถานควบคุมตัวบุคคลหลายแห่งทั่วโลก เฉพาะเหตุจลาจลในเรือนจำลอส ลาโนส เมืองกัวนาเร ของเวเนซุเอล
    Source : #ไทยรัฐ #ไทยรัฐทีวี #Thairath #ThairathOnline

     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ... "ธนาคารกลางจีน กำลังจะออกเงินดิจิตัล"

    ... "เงินดิจิตัลของธนาคารกลาง" หรือ CBDC , Central bank digital currency กำลังเป็นแนวโน้มใหม่ในโลกอนาคต ที่เป็นเงินที่ออกจากรัฐบาลไม่ใช่เงินคริปโตหรือ เงินเสมือนของบล็อคเชนเอกชน

    ... "จีน" เฝ้าศึกษาและพัฒนาเรื่องนี้มานานตั้งแต่ปี 2014, จนถึงวันนี้ฝันของจีนใกล้เป็นจริงแล้ว และกำลังจะทดสอบนำร่องการใช้ในหลายเมือง เช่น ซูโจว Suzhou, เซี่ยงอัน Xiong'an, เฉิงตู Chengdu, เสินเจิ้น Shenzhen, โดยหวังจะเป็นธนาคารกลางแห่งแรกของโลกที่ทำได้

    ... โดยตอนนี้เริ่มมีการแสดงหน้าตาของ "เงินดิจิตัลหยวน" "digital banknote" ออกมาให้ยลกันแล้วตามอินเตอร์เน็ตแล้ว

    ... ทางการจีนบอกว่า คนมักเข้าใจผิดว่ามันเหมือนเงินคริปโตของบล๊อคเชนเอกชน เช่น บิตคอยน์ หรือ ไลบราของเฟสบุ๊ค ทั้งๆที่ความจริงระบบคนละอย่างกัน เพราะ "เงินดิจิตัลหยวน" นี้มันแค่เป็น "online version" หรือ "ภาคออนไลน์ของเงินหยวน" ที่ออกโดยธนาคารกลาง ของรัฐบาลจีน แค่นั้นเอง

    ... ความจริงปีหลังมา "จีน" ก็มีการใช้จ่ายซื้อของด้วยการออนไลน์ผ่านโทรศัพท์มานานแล้ว โดยเฉพาะคนอายุน้อยผ่านแอปชื่อดัง และจีนก็ต้องการให้สังคมเป็นไปแบบนั้นมากขึ้นเป็น "สังคมไร้เงินสด" หรือ "cashless society"

    ... ตามข้อมูลจาก PBOC ในปี 2019 มีการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 223.34 พันล้านรายการ คิดเป็นมูลค่า 347.11 ล้านล้านหยวน (49.1 ล้านล้านดอลลาร์อเมริกา) ภายในประเทศจีน ในบรรดาธุรกรรมเหล่านี้เกือบครึ่งหนึ่งเป็นการชำระเงินผ่านมือถือเป็นมูลค่า 347.11 ล้านล้านหยวน, เพิ่มขึ้น 67.57% และ 25.13% เมื่อเทียบเป็นรายปีตามลำดับ และเกือบ 50 เปอร์เซ็นต์ของการทำธุรกรรมเหล่านี้ทำบนแอป Alipay ของ Ant Financial ตามด้วย WeChat Pay ของ Tencent ซึ่งคิดเป็นกว่าหนึ่งในสาม

    ... "จีน" บอกว่ามันไม่ใช่การสร้างสกุลเงินใหม่หรือมาทดแทนการจ่ายผ่านแอปชื่อดังเหล่านั้นแต่อย่างใด แค่เป็น "ภาคออนไลน์ของเงินหยวนของรัฐบาล" ที่สะดวกในการทำธุรกรรมมากขึ้น และป้องกันการเฟ้อและลดค่าของเงินแค่นั้นเอง ( fractional reserve )

    .

    ... https://news.cgtn.com/news/2020-04-...-digital-currency-dream-PQxYys1eBq/index.html

     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ชื่นชม! หนุ่มไต้ก๋งเรือกระบี่ปล่อยฉลามวาฬขนาดใหญ่ ยาวกว่า 7 เมตร เข้ามาติดอวนล้อมจับ ขณะทำประมงที่เกาะรอก อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ เผยติดอวนพร้อมกัน 6 ตัว
    .
    ด้าน "ผศ.ดร.ธรณ์" ชื่นชมลูกเรือเป็นมือโปร ที่ช่วยฉลามวาฬโดยไม่ได้รับบาดเจ็บ เมื่อคนหยุดสัตว์ทะเลก็เริงร่า
    .
    สอบถามนายกฤษดา พวงงาม หรือไต๋ปุ๋ย อายุ 32 ปี ไต้ก๋งเรือประมงสังวาย์เพชร ทราบว่า เหตุการณ์ในคลิปเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 พ.ค.ที่ผ่านมา ช่วงเวลาประมาณ 03.00 น. ขณะที่ตนนำเรือประมงอวนล้อมจับออกไปจับปลาที่บริเวณห่างจากทางทิศเหนือกาะรอก ต.เกาะลันตาใหญ่ อ.เกาะลันตา ประมาณ 4 ไมล์ทะเล ระหว่างที่กำลังเบ็ดอวนขึ้นมานั้นปรากฏว่า มีฉลามวาฬขนาดใหญ่ขนาด 7-8 เมตร ติดอวนขึ้นมารวม 6 ตัว รู้สึกแปลกใจเป็นอย่างมาก จึงให้ลูกเรือลงไปช่วยกันปล่อยออกจากอวนทีละตัว โดยใช้เวลาร่วม 3 ชั่วโมง กว่าจะปล่อยหมดทุกตัว โดย 2 ตัวสุดท้าย ถ่ายคลิปเอาไว้ก่อนโพสต์ลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว CK Kritsada ซึ่งต้องขอขอบคุณทุกคนที่ชื่นชมและเป็นกำลังใจ ในการช่วยกันอนุรักษ์สัตว์ทะเล
    .
    ไต๋ปุ๋ยยังบอก อีกว่า ตั้งแต่ตนทำประมงมากว่า 10 ปี ยังไม่เคยเจอฉลามวาฬติดอวนมากถึง 6 ตัว ในครั้งเดียว คาดว่าช่วงนี้ไม่มีการทำกิจกรรมท่องเที่ยว ทำให้ทะเลฟื้นตัวสัตว์ทะเลออกมาหากินมากขึ้น ทั้งนี้ ในช่วงสัปดาห์ก่อนหน้านี้เจอติดอวนแทบทุกคืน คืนละตัว บางคืน ก็ 2 ตัว ซึ่งตนก็จะปล่อยทุกครั้ง เพราะตามความเชื่อของชาวประมงหากเจอสัตว์ใหญ่ให้ปล่อยคืนธรรมชาติ อย่าไปฆ่าแกงมัน เพราะมันจะนำโชคมาให้ ซึ่งตอนที่ออกทำประมงกับพ่อเมื่อสิบกว่าปีก่อน จะเห็นพ่อปล่อยสัตว์ใหญ่ที่ติดอวนมาตลอด ไม่เอาขึ้นเรือ นอกจากฉลามวาฬแล้ว ยังพบเต่าะทะเลติดขึ้นมาด้วย ตนจึงทำตามพ่อมาตลอด

     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    พิษโควิดทำมะม่วงขายไม่ออก 'นพค.21' โดดอุ้มรับซื้อ นำขายต่อ ปชช.ราคาถูก
    "ผู้การเต้ย" นำ นักรบสีน้ำเงิน ช่วยเหลือชาวเกษตรกร ผู้ปลูกมะม่วงพันธุ์มหาชนก ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติ โควิด-19 ไม่สามารถส่งออกขายยังต่างประเทศได้ ส่งผลให้สินค้าล้นตลาด การขนส่งชะลอตัว
    Source : #ไทยรัฐ #ไทยรัฐทีวี #Thairath #ThairathOnline

     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    กพท. ประกาศ รายชื่อ 28 สนามบิน ให้บริการเที่ยวบินได้ ตามเวลาที่กำหนด

    จากประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง เงื่อนไขและเงื่อนวลาในการใช้ท่าอากาศยานเพื่อการขึ้นลงของอากาศยาน โดยระบุใจความว่า

    ตามที่ได้มีข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 5) ประกาศ ณ วันที่ 1 พ.ค.2563 โดยในข้อ 2 (3) กำหนดห้ามหรือจำกัดการดำเนินการหรือการทำกิจกรรมบางอย่างตามพระราชกำหนดและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งครอบคลุมถึงห้ามผู้ใดใช้ท่าอากาศยานเพื่อการขึ้นลงของอากาศยาน เว้นแต่เป็นไปตามประกาศ เงื่อนไขและเงื่อนเวลาที่ผู้มีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศกำหนด

    เพื่อประโยชน์ในการรักษาความต่อเนื่องของการบินพลเรือนและสนับสนุนการบังคับใช้มาตรการต่างๆ ให้ยังคงดำรงอยู่ต่อไปเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ไปสู่พื้นที่อื่นและป้องกันมิให้โรคกลับมาแพร่ระบาดใหม่ในพื้นที่ซึ่งเคยควบคุมได้ ผู้อำนวยการสานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยอาศัยอำนาจตามความในข้อ 2 (3) ของข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 5) ประกอบกับมาตรา 15/10 (6) แห่งพ.ร.บ.การเดินอากาศ พ.ศ. 2497 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพ.ร.บ.การเดินอากาศ (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2562 ออกประกาศกำหนดเงื่อนไขและเงื่อนเวลาในการใช้ท่าอากศยานเพื่อการขึ้นลงของอากาศยาน ดังต่อไปนี้

    1.รายชื่อท่าอากาศยานที่เปิดให้อากาศยานขึ้นลงได้ ให้เป็นไปตามบัญชีแนบท้ายประกาศนี้

    2.ให้ท่าอากาศยานที่ให้บริการเฉพาะการบินภายในประเทศ เปิดให้อากาศยานขึ้นลงได้ เฉพาะระหว่างเวลา 07.00-19.00 น. ผู้ดำเนินการสนามบินอาจพิจารณากำหนดระยะเวลาการเปิดให้อากาศยานขึ้นลงได้ให้สั้นกว่าระยะเวลาตามวรรคหนึ่งได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม

    3.ให้ท่าอากาศยานที่ให้บริการทั้งการบินภายในประเทศและระหว่างประเทศ เปิดให้อากาศยานขึ้นลงได้ตามระยะเวลาที่กำหนดในเงื่อนไขท้ายใบอนุญาตจัดตั้งสนามบินหรือท้ายใบรับรองการดาเนินงานสนามบินสาธารณะ หากท่าอากาศยานใดไม่มีข้อจำกัดหรือเงื่อนไขเกี่ยวกับระยะเวลาทาการ ให้เปิดให้อากาศยานขึ้นลงได้เฉพาะระหว่างเวลา 07.00-19.00 น.

    4.ห้ามท่าอากาศยานตาม 3. ให้บริการแก่อากาศยานที่ขนส่งคนโดยสารจากต่างประเทศเข้ามายังประเทศไทย เว้นแต่อากาศยานนั้นจะเป็นประเภทใดประเภทหนี่งดังต่อไปนี้

    (1) อากาศยานราชการหรือที่ใช้ในราชการทหาร (State or Military Aircraft)

    (2) อากาศยานที่ขอลงฉุกเฉิน (Emergency Landing)

    (3) อากาศยานที่ขอลงทางเทคนิค (Technical landing) โดยไม่มีผู้โดยสารออกจากเครื่อง

    (4) อากาศยานที่ทาการบินเพื่อให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม ทาการบินทางการแพทย์หรือการขนส่งสิ่งของเพื่อสงเคราะห์แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 (Humanitarian Aid, Medical and Relief Flights)

    (5) อากาศยานที่ได้รับอนุญาตให้ทาการบินรับส่งบุคคลกลับประเทศไทยหรือกลับภูมิลาเนา (Repatriation)

    (6) อากาศยานขนส่งสินค้า (Cargo Aircraft)

    5.ท่าอากาศยานอาจเปิดให้อากาศยานขึ้นลงนอกระยะเวลาตามที่กำหนดตาม 2. หรือ 3. ได้ ถ้าปรากฏว่าเป็นกรณีที่อากาศยานนั้นเป็นอากาศยานราชการหรือที่ใช้ในราชการทหาร (State or MilitaryAircraft) ขอลงฉุกเฉิน (Emergency Landing) หรือขอลงทางเทคนิค (Technical landing) โดยไม่มีผู้โดยสารออกจากเครื่อง

    6.ให้ผู้ดำเนินการสนามบินปฏิบัติตามบรรดาข้อกำหนดที่ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 มาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนด และประกาศสานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศที่มีผลบังคับใช้กับท่าอากาศยานโดยเคร่งครัด

    7.ให้ผู้ดำเนินการเดินอากาศแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการการจำกัดการเดินทางเข้า-ออกพื้นที่และมาตรการป้องกันโรคตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดต่างๆ กำหนด ให้ผู้โดยสารได้รับทราบในเวลาการจาหน่ายบัตรโดยสารและเมื่อผู้โดยสารแสดงตนก่อนขึ้นเครื่อง (Check in) หากผู้โดยสารแจ้งความประสงค์ขอเลื่อนการเดินทางออกไปเนื่องจากไม่พร้อมที่จะปฏิบัติตาม มาตรการของจังหวัดตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ดำเนินการเดินอากาศดำเนินการออกบัตรโดยสารให้ใหม่โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

    8.ให้ผู้ดำเนินการเดินอากาศปฏิบัติตามบรรดาข้อกำหนดที่ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 มาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนด และประกาศสานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศที่มีผลบังคับใช้กับผู้ดำเนินการเดินอากาศโดยเคร่งครัด

    9.ผู้โดยสารและบุคคลผู้เดินทางโดยอากาศยานจะต้องรับการตรวจคัดกรองและต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนด ในท่าอากาศยานปลายทางและจังหวัดปลายทางที่ตนจะเดินทางไปโดยเคร่งครัด

    10.คำสั่งระงับการดาเนินงานของสนามบินหรือการอนุญาตให้หยุดการดำเนินงานสนามบินที่ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยได้ออกหรืออนุญาตไปก่อนแล้วตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ รวมถึงข้อยกเว้นหรือเงื่อนไขประกอบคำสั่งหรือการอนุญาตนั้น ให้ยังคงมีผลใช้ได้ต่อไปจนกว่าระยะเวลาตามคำสั่งหรือการอนุญาตนั้นจะสิ้นสุดลง

    ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะมีประกาศอื่นเปลี่ยนแปลง

    สำหรับบัญชีแนบท้ายประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง เงื่อนไขและเงื่อนเวลาในการใช้ท่าอากาศยานเพื่อการขึ้นลงของอากาศยาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

    1.ให้บริการเฉพาะการบินภายในประเทศ โดยมีท่าอากาศยานที่เปิดให้บริการขึ้นลงได้ได้แก่ น่านนคร พิษณุโลก แพร่ แม่สอด แม่ฮ่องสอน ลำปาง ขอนแก่น นครพนม บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด เลย สกลนคร อุดรธานี อุบลราชธานี ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช ระนอง

    2.ให้บริการทั้งการบินภายในประเทศและระหว่างประเทศ โดยมีท่าอากาศยานที่เปิดให้บริการขึ้นลงได้ได้แก่ กระบี่ เชียงใหม่ เชียงราย ดอนเมือง สมุย สุวรรณภูมิ สุราษฎร์ธานี หาดใหญ่ หัวหิน อู่ตะเภา

    The post กพท. ประกาศ รายชื่อ 28 สนามบิน ให้บริการเที่ยวบินได้ ตามเวลาที่กำหนด appeared first on SpringNews.

    Source : #Springnews #สปริงนิวส์

     

แชร์หน้านี้

Loading...