ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    บุคลากรทางการแพทย์ทหารมาถึงหวู่ฮั่นประเทศจีน # 13 ก.พ.
     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    หิมะตกหนักใน Malatya, อิสตันบูล, ตุรกี
     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    ทางการจีนทุบตีสุนัขด้วยไม้เท้าจนมันเสียชีวิต เห็นได้ชัดว่าสุนัขได้รับผลกระทบจาก coronavirus
     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    ไอซ์แลนด์จะโดนพายุเฮอริเคนในวันวาเลนไทน์
     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    John Traczyk

    พายุลูกเห็บที่รุนแรงเข้าโจมตีหลายเมืองในมณฑลกวางตุ้งของจีนตอนใต้ในวันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ 2020
    #hailstorm #Guangdong #China
    A severe hailstorm hit multiple cities in South China's Guangdong province on Thursday, February 13, 2020.
    #hailstorm #Guangdong #China
     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    John Traczyk

    เกือบ 3,500 คนถูกกักกันที่เมืองเกรละ, ประเทศอินเดีย มีการรายงานคดีที่ได้รับการยืนยัน "รายงาน" ... #coronavirus
    [3,420 รายถูกกักกันในบ้าน และ27 ราย ถูกกักกันในโรงพยาบาล]
    FB_IMG_1581639567583.jpg
    Almost 3500 quarantined in Kerala, India. "Reported" confirmed cases are being reported, but I am suddenly finding articles of 1000's being quarantined. #coronavirus
     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    ชุดป้องกันอันตรายในซานดิเอโก, แคลิฟอร์เนีย หลังจากมีคนยืนยันสำหรับโคโรนาไวรัส
     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    คลื่นที่แรงถูกบันทึกใน San Malo, ฝรั่งเศส # 12_13 ก.พ.
     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    การปล่อยเถ้าถ่านจากปล่องภูเขาไฟ Nakadake ญี่ปุ่น# 11 ก.พ.
     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    อินโดนีเซีย, ภูเขาไฟเมราปีปะทุขึ้นด้วยลาวาสีแดงเพลิงที่ลุกไหม้จากปล่องภูเขาไฟ ในขณะที่ภูเขาไฟระเบิดควันเถ้าสีเทาซึ่งลอยขึ้นไป 2,000 เมตรสู่ท้องฟ้า
     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    ผู้อยู่อาศัยในหวู่ฮั่นรวมถึง Jiangxia, Guanggu, Xudong, Nanhu, Dongxihu รายงานการเคลื่อนไหวของเฮลิคอปเตอร์ทหารผู้ใช้ Weibo Internet กล่าวว่ากระจกและพื้นสั่นสะเทือน
     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    HKO เตือนอากาศหนาวเย็นอีกระลอก ต่ำสุด 10 องศาเซลเซียส
    Hong Kong Observatory ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลพยากรณ์ว่า ในช่วงนี้จนถึงสุดสัปดาห์ จะมีฝนฟ้าคะนองเนื่องจากอิทธิพลของความปั่นป่วนของอากาศ
    และด้วยลมมรสุมฤดูหนาวจะนำอากาศแห้งและเย็นเข้าสู่ฮ่องกงในช่วงต้นและกลางสัปดาห์หน้า โดยอุณหภูมิจะลดลงต่ำสุด 12 องศาเซลเซียสในวันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ และลดลงต่ำสุด 10 องศาเซลเซียสในวันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์
    Source : HKO
    #ข่าวฮ่องกง #khaohongkong
     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra
    การระเบิดของภูเขาไฟ Merapi ในอินโดนีเซีย # 13 ก.พ.
     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เพิ่มเติมครั้งที่ 63
    ประกาศเป็นสภาวะฉุกเฉิน ระดับนานาชาติ(ขั้นรุนแรง)
    ห้อง 62 ภาคพื้นแปซิฟิก ติดตาม สถานการณ์การโรคปอดอักเสบขั้นรุนแรงระบาด ในประเทศจีน ต่อเนื่อง
    /// #เสียชีวิตแล้ว 1482 ราย
    * ติดเชื้อขั้นรุนแรง 8360 ราย
    * จีนติดเชื้อ 61000 ราย
    / ใกล้ชิดคนป่วย 170000 ราย
    / เฝ้าระวังพิเศษ (มีไข้) 35000-65000 ราย
    //ทางการประกาศให้ ประชาชนที่อยุ่ในพื้นที่เสี่ยงอยุ่ในบ้าน 7-14-24 วัน
    ** ประเทศที่พบการติดเชื้อ 31 ประเทศ รวม 446 ราย (ไม่นับรวมผู้หายป่วยแล้ว)
    ไทย 22 ราย (หาย 10 ราย)
    ญี่ปุ่น 225 ราย (หาย 4 ราย ตาย 1 ราย ) กักตัว 3700
    เกาหลีใต้ 24 ราย (หาย3)
    สหรัฐ 9 ราย (หาย3 )
    ออสเตรเลีย 10 ราย (หาย 5)
    ไต้หวัน 17ราย (หาย 1)
    มาเก๊า 10 ราย (หาย 1)
    สิงคโปร์ 42 ราย (หาย 6 )
    เวียดนาม 11 ราย (หาย 3)
    *ฮ่องกง 49 ราย (เสีย1)
    ฝรั่งเศษ 11 ราย *เนปาล(หายหมด)
    มาเลเซีย 15 ราย (หาย 3)
    แคนนาดา 7 ราย (หาย 1)
    รัสเซีย 2 ราย (หาย 5) กัมพูชา (หาย)
    เยอรมัน 14 ราย ศรีลังกา (หาย)
    UAE 8 ราย ทิเบต 1 ราย ฟินแลนด์ (หาย) ยูเครน 1 ราย ไอเวอรีโคสต์ 1 ราย
    อินเดีย 3 ราย ฟิลิปินส์ 1 ราย (เสีย1 หาย 1)
    อิตาลี 3 ราย (กักตัว 6200) สวีเดน 1 ราย สเปน 2 ราย
    พม่า 1 ราย เบลเยียม 1 ราย
    * อังกฤษ 1 ราย
    // แต่ละประเทศมีกักตัวเฝ้าระวังพิเศษรวมประมาน 11400 คน
    // จีนสั่งสร้าง รพ.พิเศษสามารถรองรับผู้ป่วยได้ 1,000 เตียง สำหรับ #coronavirus โดยได้อ้างอิงตามรูปการจัดการกับ SARS ในปี 2003
    * เปิดใช้งานวันนี้ 3 ก.พ. 62 กำลังพล 1400 คน
    // สั่งสร้าง รพ.ขนาด 1300 เตียงเพิ่มอีก 1 แห่ง ให้เส็ดภายใน 10 วัน
    // มีการร้องขอเตียงสนามเร่งด่วนเพิ่มอีก 10000 เตียง
    // จีน สั่งอัพเกรด รพ.20 แห่ง ให้รองรับผู้ป่วยได้ 10000 คน
    // จีนเปิดใช้ระบบ 5 G เต็มรูปแบบให้ทีมแพทย์ เพื่อประสานการช่วยเหลือ รพ.ต่างๆ
    ** จีน ได้จัดตั้ง รพ.ที่พึ่งสร้างใหม่ เป็น ศ.การแพทย์ 1 ใน 2 แห่ง ขนาด 1600 เตียง
    * จัดตั้ง ศ.อพยพ 132 แห่ง รองรับได้ 12500 เตียง
    * ห้องปฎิบัติการเคมีBGI สามาถรับได้วันละ 10000 ราย
    ***ต่างประเทศ***
    ตอนนี้ มีเรือสำราญ 3 ลำ ที่มีการควบคุมโรคระบาด
    1 อิตาลี มีคนอยุ่บนเรือ 6200 คน ตรวจพบ 2 คน
    2. ญี่ปุ่น มีคนอยู่บนเรือ 3,700 ราย ยืนยันติดเชื้อแล้ว 70 ราย
    3. ฮ่องกง ผู้โดยสาร 1800 คน
    ตรวจไม่พบผู้ติดเชื้อ
    4. ไทย ผู้โดยสารจากฮ่องกงจำนวน 2120 คน
    ** กัมพูชา ผู้โดยสาร 2200 คน ตรวจพบผู้ติดเชื้อ 22 คน อยุ่ระหว่างกักกัน
    ** ประเทศไทย เรือเดินสมุทรอีก 1 ลำ ผู้โดยสาร 2800 คน เทียบท่า จ.ภูเก็ต
    *** องค์การอนามัยโลก***
    *ประชุมด่วน วันที่ 1 ก.พ63 ประกาศสภาวะฉุกเฉินโรคระบาดระดับนานาชาติ
    *องค์การอนามัยโลก กำหนดชื่อเรียกโรคปอดอักเสบจากไวรัสสายพันธุ์ใหม่แล้วว่า "COVID-19"
    / cr ห้อง 62 ภาคพื้นแปซิฟิก / cr หน่วยวิจัยสถานการณ์ฉุกเฉินจีน
     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สิ้นชาติสูญเอกราช “พม่าเสียเมือง” เมื่อทูตพม่าปรับทุกข์กับทูตไทย ณ ปารีส!
    ผู้เขียน: ไกรฤกษ์ นานา
    ที่มา: ศิลปวัฒนธรรม www.silpa-mag.com ฉบับมีนาคม 2552
    พม่ากับไทยมีความบาดหมางกินใจกันมาช้านานนับเป็นร้อย ๆ ปี แต่แล้ววันหนึ่งเมื่อมหันตภัยที่ใหญ่ยิ่งกว่าของจักรวรรดินิยมตะวันตกเดินทางมาถึง ความระหองระแหงแบบเพื่อนบ้านทะเลาะกันก็พลันยุติลง พม่ากับไทยจำเป็นต้องเปลี่ยนบทบาทหันมาซบไหล่กันเพื่อเตือนภัยครั้งใหม่ที่กำลังมาเยือน บทเรียนกรณีพม่าเสียเมืองแก่อังกฤษ เป็นอุทาหรณ์สำหรับแนวทางการดำรงอยู่ของสยามประเทศ เป็นต้นเหตุของการต่อสู้เพื่อรักษาอธิปไตยของคนไทยกลุ่มหนึ่งที่คิดต่อต้านการคุกคามของชาวตะวันตกที่ต่อมากลายเป็นคำกราบบังคับทูลความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงราชการแผ่นดิน ร.ศ. 103 เรื่องราวต่อไปนี้เป็นฉากหนึ่งเบื้องหลังแรงบันดาลใจคราวนั้น
    กลางปี พ.ศ. 2551 ศาสตราจารย์สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา ได้กรุณาส่งหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ และข้อเสนอเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญฉบับแรก พ.ศ. 2427 (สถาบันพระปกเกล้า, 2550) มาให้อ่าน ผู้เขียนดีใจมาก รู้สึกสนใจเป็นพิเศษกับข้อความที่ปรากฏใน น. 79 ที่กล่าวว่า
    “ความสำคัญของข้อเสนอเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญใน พ.ศ. 2427 นั้นมีหลายส่วนที่มีผลเป็นรูปธรรมในเวลาต่อมา แต่ประเด็นที่สำคัญกว่านั้นก็คือประเด็นสุดท้าย ที่ได้จากการศึกษาวิจัยกรณีคำกราบบังคมทูลฯ ร.ศ. 103 จากปัญหาเรื่องพม่า ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์ให้พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ทรงแสดงพระดำริได้เต็มพระสติปัญญา แต่ประเด็นนี้ยังคงค้างคาในพระทัยพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ อยู่มิวาย”(4)
    ปัญหาเรื่องพม่า เป็นข้อสังเกตที่น่าสนใจมาก เป็นสิ่งดลใจให้ผู้เขียนเริ่มค้นคว้าหาที่มาของปัญหานี้ เพื่อทำความเข้าใจกับเหตุผลอันแท้จริงที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กริ้วพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ต่อคำกราบบังคมทูลดังกล่าว ด้วยเหตุผลพื้น ๆ ที่เมืองสยามยังไม่พร้อมที่จะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
    แต่เพราะสาเหตุหนึ่ง (ปัญหาเรื่องพม่า) ทำให้เกิดอีกสาเหตุหนึ่ง (คำกราบบังคมทูลความเห็น) ตรงนี้คือจุดเปลี่ยนที่น่าสนใจ จากการค้นคว้าเพิ่มเติมพบว่า ปัญหาเรื่องพม่า มีผลกระทบทางจิตใจต่อพระองค์เจ้าปฤษฎางค์อยู่ไม่น้อย เรื่องนี้นี่เองที่เป็นมูลเหตุและปฏิกิริยาลูกโซ่ที่ทำให้มีพระราชประสงค์ให้พระองค์เจ้าปฤษฎางค์กราบทูลแนวทางแก้ปัญหาการคุกคามจากชาติมหาอำนาจ เอกสาร 2-3 ฉบับเพิ่มเติมที่ผู้เขียนพบใหม่ในปารีสชี้เบาะแสของปัญหาเรื่องพม่าให้ชัดเจนแจ่มแจ้งขึ้น เมื่อรู้แล้วก็ใคร่จะได้ถ่ายทอดสิ่งที่ค้นพบมาเผยแพร่ต่อไป
    นอกเหนือไปกว่านี้ผู้อ่านจะได้พบความสัมพันธ์อันแปลกประหลาดของพระองค์เจ้าปฤษฎางค์กับทูตพม่าที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน แต่ต้องโคจรมาพบกันโดยบังเอิญ ทำให้ความลับของประเทศหนึ่งถูกเปิดเผยขึ้น เป็นกรณีศึกษาการที่พม่าและสยามจำต้องปรับตัวเข้าสู่ยุคใหม่ที่มีจักรวรรดินิยมเป็นตัวแปร ส่งผลกระทบต่อความล่มสลายของชาติหนึ่ง และความอยู่รอดของอีกชาติหนึ่ง ที่มีพัฒนาการทางการเมืองแบบเดียวกันเป็นเดิมพัน
    ประวัติศาสตร์พม่าก่อนที่จะถูกอังกฤษยึดครองใน ค.ศ. 1885 (พ.ศ. 2428) เป็นประวัติศาสตร์ของความขัดแย้งไม่ลงรอยกันของกลุ่มชนเผ่าพันธุ์ต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ภายในอาณาจักรเดียวกัน ได้แก่ กลุ่มชนชาติพม่าบริเวณลุ่มแม่น้ำอิรวดี กลุ่มชนชาติมอญที่อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ กลุ่มชาวไทยใหญ่หรือฉานทางภาคเหนือและตะวันออก กลุ่มชาวอาระกันหรือยะไข่ทางภาคตะวันตก ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มชนเหล่านี้ดำรงอยู่และเป็นปัญหาของพม่ามาจนทุกวันนี้ แต่รากเหง้าของปัญหาที่แท้จริง กลับเป็นความเหลื่อมล้ำทางสังคม และความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างชนชั้นที่ไม่เท่าเทียมกัน ผสมกับการแก่งแย่งชิงดีของชนชั้นปกครองภายในราชวงศ์เดียวกันซึ่งหาข้อยุติไม่ได้
    ความขัดแย้งทั้งปวงถูกซ้ำเติมให้รุนแรงขึ้น เมื่อพม่าเกิดปะทะกับอังกฤษในอินเดีย กลายเป็นสงคราม 2 ปีที่ต้องเผชิญหน้ากับประเทศมหาอำนาจที่เหนือกว่าทั้งแสนยานุภาพและเทคโนโลยี สงครามครั้งแรกกับอังกฤษ สิ้นสุดลงโดยสัญญาสงบศึกใน ค.ศ. 1824 (พ.ศ. 2367) แต่แล้วอังกฤษก็หาข้ออ้างในการครอบครองดินแดนเพิ่มในสงครามครั้งที่ 2 ค.ศ. 1852 (พ.ศ. 2395) ครั้งนี้พม่าตอนล่างทั้งหมดถูกผนวกเข้าเป็นอาณานิคมของอังกฤษ อังกฤษรอจังหวะเพื่อให้เกิดสงครามครั้งที่ 3 ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายใน ค.ศ. 1885 (พ.ศ. 2428) พม่าก็เสียเมือง และถูกผนวกเข้าไปเป็นแคว้นขนาดใหญ่ของการปกครองของอังกฤษในอินเดีย
    ภายในราชสำนัก พม่าก็ดูโชคร้ายในแง่ของผู้นำประเทศ แม้ว่ากษัตริย์ราชวงศ์คองบองหลายองค์จะมีความสามารถในการปกครอง จนสามารถรวมพม่าเป็นเอกภาพ การพิชิตอาณาจักรข้างเคียง เช่น อยุธยาและล้านช้าง ทำให้พม่าเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งในหมู่ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีอำนาจทางทหารเหนือยักษ์น้อยแห่งเอเชียคือสยามและเวียดนาม แต่ในระยะที่พม่าเผชิญหน้ากับจักรวรรดินิยมอังกฤษนั้น พม่าโชคไม่ดีที่กษัตริย์องค์หนึ่งมีความคิดสั้น กษัตริย์ 2 องค์เสียพระสติ และกษัตริย์อีกหลายองค์ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง(3)
    @ ประวัติศาสตร์นอกพงศาวดาร: พม่า–สยาม
    ภายหลังสงครามครั้งที่ 2 และก่อนสงครามครั้งที่ 3 นั้น พม่ามีกษัตริย์ 2 พระองค์ปกครองประเทศ ทรงพระนามว่าพระเจ้ามินดุงและพระเจ้าสีป่อ (บางทีก็เรียกพระเจ้าธีบอ–ผู้เขียน) ทั้ง 2 รัชกาลนี้มีความคล้ายคลึงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อเนื่องกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวของสยาม ทั้งรูปแบบการปกครอง นโยบายต่างประเทศ และต่างก็ถูกรุกรานโดยมหาอำนาจตะวันตกแบบเดียวกัน เรายังทราบว่าพระเจ้าแผ่นดินพม่าและไทย ล้วนมีแนวความคิด ทัศนคติ และพระราชนิยมที่คล้ายกันมาก ทำให้เหตุการณ์ในระยะนี้สามารถเปรียบเทียบกันได้อย่างสมน้ำสมเนื้อ แต่สิ่งที่ไม่เหมือนกันตอนจบก็คือ ปฏิกิริยาที่ทั้ง 2 ประเทศได้รับจากมหาอำนาจตะวันตก กลับมีผลลัพธ์ที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงดังจะได้กล่าวต่อไป
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจ้างแหม่มแอนนา เลียวโนเวนส์ ให้เข้ามาตั้งโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษแก่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และพระเจ้าลูกเธอในสมัยนั้น จนทุกพระองค์ทรงรู้และตรัสเป็นภาษาอังกฤษ ตลอดจนทรงพระอักษรในภาษานั้นได้แตกฉาน รวมถึงเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ด้วย ส่วนที่เมืองมัณฑะเลย์นั้น พระเจ้ามินดุงก็ทรงว่าจ้างมิชชันนารีชาวอังกฤษคนหนึ่งชื่อ หมอมาร์ค ให้ตั้งโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษในวัง จนพระโอรสธิดาทุกพระองค์ตรัสภาษาอังกฤษได้คล่องแคล่ว รวมถึงเจ้าฟ้าชายสีป่อซึ่งจะได้เถลิงราชสมบัติต่อจากพระเจ้ามินดุงด้วย(2)
    ในระหว่างที่ทรงครองราชย์อยู่นั้น พระเจ้ามินดุงทรงตระหนักถึงความจำเป็นในการเปิดประเทศ และการเจริญสัมพันธไมตรีกับทางยุโรป จึงทรงจัดส่งคณะราชทูตออกไปฝรั่งเศส อังกฤษ และอิตาลี ถึง 2 คณะ ใน ค.ศ. 1856 (พ.ศ. 2399) และ ค.ศ. 1872 (พ.ศ. 2415) ทางเมืองไทยก็เช่นเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจัดส่งคณะราชทูตไปอังกฤษ ใน ค.ศ. 1857 (พ.ศ. 2400) และฝรั่งเศส ใน ค.ศ. 1861 (พ.ศ. 2404) ถึงกระนั้นทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสก็ยังดำเนินนโยบายคุกคามทั้งพม่าและไทยไปพร้อม ๆ กัน กล่าวคือทางด้านอินโดจีน ฝรั่งเศสยึดเวียดนามได้ทั้งหมดแล้ว ก็เริ่มขยับขยายเข้ามาทางลาวล้านช้าง ดังนั้นดินแดนในเขตอิทธิพลของฝรั่งเศสก็ประชิดกับเขตแดนพม่าตอนบน (สามเหลี่ยมทองคำในปัจจุบัน–ผู้เขียน)
    การแผ่อำนาจของฝรั่งเศสทำให้อังกฤษวิตกกังวลว่าฝรั่งเศสจะก้าวก่ายเข้ามาในเขตอิทธิพลของอังกฤษ ประกอบกับพม่าในสมัยพระเจ้ามินดุงและสีป่อเองก็พยายามผูกมิตรกับฝรั่งเศส และพยายามตกลงทางการค้ากัน พม่าหวังอยู่เสมอว่าจะได้ฝรั่งเศสมาถ่วงดุลอังกฤษและจะได้ขอซื้ออาวุธจากฝรั่งเศสอีกด้วย ส่วนทางเมืองไทยนั้นเมื่อฝรั่งเศสยึดครองเวียดนามแล้วก็หันมาสนใจเขมรและลาว ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของไทยมาก่อน ไทยจึงหันไปหาอังกฤษและมั่นใจอยู่เสมอว่าอังกฤษจะไม่ทอดทิ้งไทยหากฝรั่งเศสหักหาญน้ำใจไทย
    ทั้งพม่าและไทยต่างก็ดำเนินนโยบายตอบโต้อังกฤษและฝรั่งเศสในรูปแบบเดียวกันโดยใช้ทั้งไม้อ่อนและไม้แข็ง เพื่อยับยั้งอิทธิพลของจักรวรรดินิยม พระมหากษัตริย์ทั้งพม่าและไทยต่างก็ทรงใช้วิถีทางการเมืองทุกรูปแบบในการต่อรอง จนเกิดแนวนโยบายที่สอดคล้องใกล้เคียงกันในช่วงนี้ รวมถึงนโยบายถ่วงดุลอำนาจ นโยบายลู่ตามลม และนโยบายพันธมิตรซ้อนพันธมิตร โดยอาศัยการทูตนำการเมืองเป็นแนวทางปฏิบัติ
    สำหรับเมืองไทย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำเนินพระราชวิเทโศบายที่ละมุนละม่อมกว่าทางพม่า ทรงลดพระองค์ลงมาเป็นผู้น้อย ไม่ทะนงตัวสูงทัดเทียมพระเจ้ากรุงอังกฤษ–ฝรั่งเศส ทรงคิดวิธีผ่อนหนักผ่อนเบา ถึงขนาดที่ทรงทดลองทำในสิ่งที่พระมหากษัตริย์ก่อนหน้าพระองค์ไม่เคยทรงกระทำมาก่อน เช่น จำลองพระมหาพิชัยมงกุฎ และเครื่องราชูปโภคส่งไปพระราชทานพระเจ้ากรุงอังกฤษ–ฝรั่งเศส อันเป็นกุศโลบายเหมือนการยอมตนเข้าสวามิภักดิ์อยู่ภายใต้พระบารมีกษัตริย์ยุโรป ก่อนที่อังกฤษ–ฝรั่งเศส จะดำเนินมาตรการรุนแรงหรือแสดงอำนาจบาตรใหญ่กับไทย การเปิดฉากเดินเกมการเมืองแบบอ่านใจออกของฝ่ายไทยดูจะได้ผลดีกว่าทางพม่า เห็นได้จากการที่รัฐบาลอังกฤษ–ฝรั่งเศส หันมาปรองดองกันโดยตั้งให้สยามเป็นดินแดนกันกระทบ (Buffer State) ในปี ค.ศ. 1896 (พ.ศ. 2439) ผลตอบแทนลักษณะนี้เป็นสิ่งที่พม่าไม่เคยได้รับ(1)
    @สถานการณ์ภายใน–นอกประเทศ: สมัยพระเจ้ามินดุง
    พระเจ้ามินดุงเสด็จขึ้นเป็นกษัตริย์ด้วยการทำรัฐประหารในราชสำนัก โดยล้มพระเจ้าพุกามแมงกษัตริย์องค์ก่อน ทรงมีนโยบายในการปกครองแบบสันติวิธี และคัดค้านนโยบายเก่าของพระเจ้าพุกามแมงในการทำสงครามครั้งที่ 2 กับอังกฤษ พระองค์ทรงเล็งเห็นว่าทางรอดของพม่าอยู่ที่การเป็นมิตรกับอังกฤษ และโอนอ่อนผ่อนตามข้อเรียกร้องของมหาอำนาจยุโรป ทรงเป็นกษัตริย์ที่สามารถที่สุดพระองค์หนึ่งที่พม่าเคยมีมา มีพระอัจฉริยภาพพิเศษเช่นเดียวกับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสามารถนำทัศนคติสมัยใหม่จากตะวันตกมาปฏิบัติใช้ได้จริง
    ทรงมีความคิดและวิสัยทัศน์ก้าวหน้ากว่าคนยุคเดียวกัน ขณะเดียวกันก็ทรงเปิดการค้าเสรีภายในราชอาณาจักร ทรงนำระบบเงินตราเข้ามาทดแทนระบบแลกเปลี่ยนสิ่งของ ทั้งยังโปรดให้ตั้งโรงกษาปณ์ขึ้นผลิตเหรียญใช้เป็นครั้งแรกในประเทศด้วย ทรงตระหนักถึงความสำคัญของอุตสาหกรรม จึงทรงว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญชาวยุโรปให้มาสำรวจและปรับปรุงวิธีการทำเหมืองแร่และป่าไม้ ทรงว่าจ้างชาวอังกฤษและฝรั่งเศสเป็นที่ปรึกษาส่วนพระองค์และทรงเปิดประเทศเต็มรูปแบบ
    พระเจ้ามินดุงทรงปรารถนาให้มีผู้แทนรัฐบาลอังกฤษมาอยู่ที่เมืองหลวงนานมาแล้ว แต่ก็ยังคงผิดหวัง เพราะอังกฤษยังไม่ยอมให้พระองค์ส่งผู้แทนพม่าไปประจำที่ลอนดอน อังกฤษหาได้ยอมรับว่าพระเจ้ามินดุงมีฐานะและตำแหน่งเทียบเท่ากับพระนางเจ้าวิกตอเรีย ทั้งบางส่วนของพม่าก็เป็นเขตแดนที่ขึ้นกับอังกฤษ ในระยะนั้นอังกฤษมีการติดต่อโดยตรงจากลอนดอนกับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวของไทย จึงเท่ากับอังกฤษตั้งใจเหยียดหยามพระเจ้ามินดุงอยู่มาก
    ต่อมาเมื่อพระองค์ทรงได้รับการตอบรับไมตรีจิตจากพระนางเจ้าวิกตอเรียผ่านข้าหลวงใหญ่ ทำให้ทรงรู้สึกกล้าขึ้น และใน ค.ศ. 1872 (พ.ศ. 2415) พระองค์ได้ทรงส่งคณะทูตชุดที่ 2 โดยการนำของเสนาบดีผู้เฒ่า คือ ท่านกินหวุ่นมินจี ผู้เป็นพระสหายใกล้ชิดให้เป็นผู้แทนพระองค์ไปอังกฤษ บนเส้นทางไปอังกฤษ คณะทูตผ่านทางอิตาลีและฝรั่งเศส และได้รับการต้อนรับอย่างสมเกียรติจากรัฐบาลของทั้ง 2 ประเทศในฐานะที่พม่าเป็นราชอาณาจักรที่มีกษัตริย์ปกครอง
    แต่พอมาถึงพระราชวังวินด์เซอร์ในอังกฤษ กลับไม่มีเสนาบดีฝ่ายต่างประเทศอยู่ในพิธีเข้าเฝ้า มีแต่เพียงขุนนางฝ่ายกิจการอินเดียเป็นผู้นำเข้าเฝ้าแทน แสดงว่าราชสำนักเซ็นต์เจมส์จัดฐานะของพม่าไว้ต่ำกว่าสยาม ทั้งยังแสดงให้เห็นถึงท่าทีของอังกฤษที่มีต่อพม่า คือ ยังคิดว่ามิใช่ราชอาณาจักรที่เป็นเอกราชแต่เป็นอาณานิคมของอังกฤษมาแต่เดิมเท่านั้น
    นอกจากนั้นสิ่งที่บั่นบอนพระราชหฤทัยของพระเจ้ามินดุงเรื่อยมา คือ ตลอดรัชสมัยของพระองค์ อังกฤษก็ยังไม่แสดงความมั่นใจในราชสำนักพม่าและยังเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับผลประโยชน์ในแคว้นกะเหรี่ยงเป็นพักๆ การแทรกแซงกิจการภายในของพม่าทั้งด้านการทหารและพลเรือนมีผลทำให้หัวหน้าพวกกะเหรี่ยงบางกลุ่มได้ใจจึงตั้งตัวเป็นกบฏต่อต้านรัฐบาลกลางของพม่า และทำตัวเป็นปฏิปักษ์กับราชสำนักด้วยการสนับสนุนอย่างออกนอกหน้าของพวกอังกฤษ
    ความมัวหมองจากกิจการภายนอกและความระส่ำระสายของกิจการภายใน ทำให้ทรงท้อแท้พระทัยและสิ้นหวัง ตลอดรัชสมัยพระเจ้ามินดุงทรงรีรอที่จะแต่งตั้งพระราชโอรสองค์หนึ่งองค์ใดเป็นรัชทายาท เพราะทรงเกรงว่าจะเป็นอันตราย เนื่องจากภายในราชสำนักยังขาดความสามัคคี และไม่มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
    พอถึง ค.ศ. 1878 (พ.ศ. 2421) ขณะที่พระเจ้ามินดุงใกล้สวรรคต พระมเหสีกับเสนาบดีคนโปรด คือ เตียงดามินจี และ กินหวุ่นมินจี ร่วมกันวางแผนยึดอำนาจด้วยการยกเจ้าชายสีป่อ ผู้ไม่มีชื่อเสียงขึ้นเป็นกษัตริย์องค์ใหม่ แล้วให้อภิเษกสมรสกับพระธิดา 2 องค์ของพระมเหสีองค์นั้น คือ เจ้าหญิงศุภยลัต และเจ้าหญิงศุภยจี ผู้ทรงเป็นพระขนิษฐาร่วมพระราชบิดา คณะผู้วางแผนเชื่อมั่นว่า เจ้าชายสีป่อจะต้องอยู่ในอำนาจตนเพราะทรงมีอุปนิสัยอ่อนแอ ทั้งขาดอิทธิพลและการสนับสนุนจากฝ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น(5) และ(6)
    @สถานการณ์ภายใน–นอกประเทศ: สมัยพระเจ้าสีป่อ
    รัชกาลใหม่ในพม่าเริ่มต้นอย่างไม่ราบรื่นนัก เมื่อเริ่มขึ้นรัชกาลก็เกิดข่าวลือทั่วไปในพม่าตอนล่าง ว่ากษัตริย์องค์ใหม่กำลังวางแผนบุกดินแดนอังกฤษ พ่อค้าอังกฤษในพม่าพากันยื่นคำร้องเพื่อขอกำลังคุ้มครองจากรัฐบาลอังกฤษ สงครามอังกฤษกับพม่าครั้งที่ 3 ดูไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ในสถานการณ์เช่นนี้ และอังกฤษเองก็มีแผนการที่จะสนับสนุนเจ้าชายนยองยาน ขึ้นเป็นกษัตริย์แทนพระเจ้าสีป่อ และผนวกพม่าตอนบนเป็นดินแดนในอารักขา แต่สงครามก็ยังไม่เกิดขึ้นในระยะนี้ด้วยเหตุผล 2 ประการ คือ 1. อังกฤษกำลังวุ่นวายอยู่กับการปราบกบฏในอัฟกานิสถาน และ 2. ชนเผ่าซูลูในแอฟริกาก็กำลังกำเริบเสิบสาน วิกฤติการณ์ในพม่าช่วง ค.ศ. 1880 (พ.ศ. 2423) จึงผ่านพ้นไปโดยไม่มีอะไรเกิดขึ้น
    ภายในราชสำนัก แผนการของกินหวุ่นมินจีที่จะทำให้พระเจ้าสีป่อเป็นหุ่นเชิดดูไร้ผล เพราะพระราชินีศุภยลัตคุมอำนาจทั้งหมดอยู่เหนือกษัตริย์ผู้อ่อนแอ พระนางทรงมีความทะเยอทะยาน มุทะลุ และมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง อิทธิพลของพระนางมีส่วนสำคัญต่อการสั่งปลดเสนาบดีชั้นผู้ใหญ่ตามใจชอบ รวมทั้งสั่งระงับแผนการที่จะเปลี่ยนแปลงพม่าไปสู่ระบอบรัฐธรรมนูญที่เสนาบดีเหล่านั้นได้เตรียมการไว้ สถานการณ์เลวลงอีกใน ค.ศ. 1883 ในปีเดียวกันพระเจ้าสีป่อทรงจัดให้คณะทูตชุดหนึ่งเดินทางไปฝรั่งเศส
    ฝ่ายอังกฤษสงสัยในจุดมุ่งหมายของพม่าแล้วแต่เริ่มแรก อังกฤษหวาดระแวงอยู่ตลอดเวลาว่าฝรั่งเศสต้องการดินแดนบางส่วนของพม่าเช่นกัน เพราะฝรั่งเศสเสียดินแดนส่วนอื่น ๆ ของโลกให้อังกฤษมามากแล้ว จึงหันมาตั้งนโยบายรุกรานแบบรวบรัดในเอเชียบ้าง อังกฤษพยายามกีดกันมิให้ทูตพม่าไปฝรั่งเศส ส่วนราชสำนักก็พยายามทุกวิถีทางให้คณะทูตออกเดินทางให้ได้ จุดประสงค์ก็เพื่อเจรจาทำสนธิสัญญาทางการค้าและมิตรภาพกับทางยุโรป แต่จุดหมายอันซ่อนเร้นก็เพื่อเจรจาให้รัฐบาลฝรั่งเศสแทรกแซงกิจการภายในของพม่า
    คณะทูตพำนักอยู่ในฝรั่งเศสเป็นเวลาหลายเดือน ตลอดเวลานั้นทูตอังกฤษประจำกรุงปารีสก็จับตาดูความเคลื่อนไหวของคณะทูตพม่าอย่างไม่พอใจ และรีบบอกเสนาบดีต่างประเทศของฝรั่งเศสอย่างไม่เกรงใจว่ารัฐบาลอังกฤษจะประท้วงหากข้อระบุในสัญญากับพม่าจะมีข้อแม้อื่น ๆ นอกเหนือไปจากการค้าขายแต่เพียงอย่างเดียว ในที่สุดสนธิสัญญาก็ตกลงลงนามกันในเดือนมกราคม ค.ศ. 1885 (พ.ศ. 2428)
    ในระหว่างนี้สถานการณ์ในพม่าเลวร้ายลงอีก วันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1884 (พ.ศ. 2427) อังกฤษก็เคลื่อนทัพประชิดชายแดนพม่า กองทัพอันทรงอานุภาพของอังกฤษเดินทัพถึงกรุงอังวะโดยปราศจากการต่อต้าน อังกฤษได้ชัยชนะที่ไม่น่าภูมิใจนักและสงครามก็กินเวลาเพียง 11 วัน วันที่ 29 พฤศจิกายน พระเจ้าสีป่อและพระราชินีเสด็จออกท้องพระโรงเป็นครั้งสุดท้าย รอการเข้าเฝ้าของแม่ทัพอังกฤษ คือ นายพลเอกเปรนเดอกาสท์ ท่านแม่ทัพแสดงคารวะแต่เข้มงวด และได้ถวายเวลาให้กษัตริย์และพระราชินี 45 นาที เพื่อเตรียมการเสด็จโดยจะถูกเนรเทศไปยังฝั่งตะวันตกของอินเดีย ขณะที่คุณพนักงานกำลังรีบเก็บฉลองพระองค์และเพชรพลอยอันมีค่า พระเจ้าสีป่อได้ทรงขอที่จะออกจากวังด้วยการทรงช้างหรือขึ้นวอตามพระเกียรติยศ แต่แม่ทัพอังกฤษซึ่งต้องการหยามหน้ากษัตริย์พม่า ได้จัดรถกูบ (คล้ายเกวียน) เทียมวัว 2 ตัว มาให้กษัตริย์และพระราชินีทรงออกจากวัง
    ตามรายทางที่ขบวนเสด็จผ่านไปมีราษฎรมายืนเรียงรายเต็มไปทุกถนน ราษฎรเริ่มตระหนักว่าตนกำลังสูญเสียเอกราชของชาติและพม่าจะไม่มีพระเจ้าแผ่นดินอีกต่อไป ภาพที่เห็นเป็นภาพของชายร่างเล็ก ท่าทางสง่าแต่สิ้นหวัง พระพักตร์ซีดขาว ประทับอยู่บนเกวียนแบบชาวบ้าน แวดล้อมด้วยทหารอินเดียโพกผ้าจำนวนหลายร้อยคน เป็นภาพครั้งสุดท้ายที่จับใจราษฎรเป็นอย่างยิ่ง หญิงชราจำนวนมากต่างทุ่มตัวลงคร่ำครวญร่ำไห้กับพื้นดิน(5) และ(8)
    @ทูตพม่าถอดใจกับทูตไทย: เรื่องพม่าเสียเมือง
    บางทีเหตุร้าวฉานที่เกิดขึ้นระหว่างพม่ากับอังกฤษในปี พ.ศ. 2428 อาจไม่เกิดขึ้นก็ได้ เพราะกรุงรัตนะบุระอังวะที่ไม่มีประเทศมหาอำนาจใดเป็นมิตรนั้น อังกฤษถือว่าไม่เป็นภัยต่ออังกฤษ แต่กรุงอังวะที่มีฝรั่งเศสอันเป็นคู่แข่งกับอังกฤษเป็นมิตรนั้น อังกฤษเห็นว่าเป็นภัยใหญ่หลวงต่อระบบการหาเมืองขึ้น และการปกครองเมืองขึ้นของอังกฤษทีเดียว แต่เหตุที่พระเจ้าสีป่อทรงกระตือรือร้นที่จะคบกับฝรั่งเศสก็เพราะทรงทราบว่าฝรั่งเศสเป็นคู่แข่งกับอังกฤษนั่นเอง จึงทรงคิดไปว่ากรุงอังวะที่มีฝรั่งเศสหนุนหลังอยู่นั้นคงจะเป็นที่เกรงขามแก่อังกฤษต่อไป สิ่งที่ไม่ทรงทราบก็คือกรุงลอนดอนในเวลานั้นมีอิทธิพลทางการทูตอยู่เหนือกรุงปารีสมากอยู่ อาจบังคับปารีสให้ทำอะไรตามใจลอนดอนได้มาก ยิ่งไปกว่านั้นทางปารีสก็รู้อยู่แก่ใจว่า พม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษตั้งแต่สมัยพระเจ้ามินดุงแล้ว(2)
    ขณะที่พำนักอยู่ในปารีส คณะทูตพม่าโดยการนำของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ 2 คน คือ ธันเจะต์หวุ่นดอก (Thangyet Wundauk) ราชทูตเป็นหัวหน้าคณะ และ จอกมยองอัตวินหวุ่น (Kyaukmyaung Atwinwun) อุปทูตพม่า ก็ประสบความสำเร็จในการแลกเปลี่ยนสัตยาบันของสัญญาการค้าและมิตรภาพ ฉบับวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 1885 กับรัฐบาลฝรั่งเศส แต่หลังจากนั้นเพียงไม่กี่วัน ราชทูตพม่าก็มายืนอยู่หน้าสถานทูตสยาม เลขที่ 13 (ถนน) Rue De Siam กลางกรุงปารีส เพื่อขอพบราชทูตสยามอย่างไม่เป็นทางการ
    การมาเยือนเป็นส่วนตัวครั้งนี้เป็นภารกิจที่ค่อนข้างลึกลับพอดู เพื่อปรับทุกข์เกี่ยวกับกิจการบ้านเมืองที่กำลังเข้าขั้นวิกฤติ การพบปะกันครั้งนี้ได้รับการตีแผ่อยู่ในหนังสือที่พิมพ์เป็นภาษาอังกฤษชื่อ Prince Prisdang Files on His Diplomatic Activities in Europe, 1880-1886 หรือภารกิจด้านการทูตในทวีปยุโรปจากแฟ้มของพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ระหว่าง ค.ศ. 1880-1886 เรียบเรียงโดย ม.ล. มานิจ ชุมสาย ณ อยุธยา ภายใต้หัวข้อว่า
    “เรื่องพม่าเสียเมืองให้อังกฤษ”
    มีเหตุการณ์แปลก ๆ เกิดขึ้นที่กรุงปารีส เมื่อพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงดำรงตำแหน่งราชทูตอยู่ ณ เมืองนั้น คณะทูตชุดหนึ่งจากรัฐบาลพม่าถูกส่งมายังปารีส เพื่อขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลฝรั่งเศส ในการต่อต้านอังกฤษซึ่งพยายามยึดครองพม่าอยู่ในเวลานั้น ขณะที่คณะทูตพำนักอยู่ที่ปารีส ประเทศพม่าก็ตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ พระเจ้าสีป่อทรงถูกจับกุมและรอการเนรเทศออกนอกประเทศ รัฐบาลโดยชอบธรรมจึงหมดอำนาจลง ทำให้คณะทูตตกค้างอยู่ในปารีสโดยปราศจากทุนรอนเป็นค่าใช้จ่ายกลับบ้าน เมื่อแพแตกและขาดที่พึ่งอย่างกะทันหัน ทูตพม่าได้เดินทางมาขอพบพระองค์เจ้าปฤษฎางค์เพื่อขอความช่วยเหลือ ในช่วงเวลาอันคับขัน
    ผลสะท้อนจากเหตุการณ์นี้กระทบกระเทือนจิตใจของราชทูตไทยอย่างใหญ่หลวง และจะเป็นผลกระทบไปยังชาวพม่าที่อาศัยอยู่นอกประเทศอีกด้วย บทเรียนในพม่าสร้างความกดดันแก่ประเทศต่าง ๆ ที่มีสถานะเดียวกันแม้แต่ประเทศสยามเอง ทำให้เกิดความเห็นแตกต่างทางความคิดของชนชั้นปกครองและผู้อยู่ใต้ปกครองอย่างกว้างขวาง
    ในเวลานี้ รัฐบาลฝรั่งเศสต้องการรวบรัดให้สัตยาบันสนธิสัญญาที่รอการพิจารณาอยู่ และจะเป็นผลประโยชน์โดยตรงของรัฐบาลฝรั่งเศสเอง สิ่งที่ต้องตัดสินใจคือฝรั่งเศสจะได้อะไรจากการที่พม่าหมดอิสรภาพลง ทำให้ไม่สามารถเรียกร้องอะไรต่อไปได้ อังกฤษก็คงจะยกเลิกสิทธิประโยชน์ทั้งหมดภายในพม่าโดยปริยาย
    ***ที่สถานทูตสยาม*** ชาวพม่าได้รับการต้อนรับฉันมิตรประเทศ ความรู้สึกเกลียดชังจากสงครามในอดีตระหว่างเราหยุดลงชั่วขณะ สำหรับชาวพม่า สยามก็คือเพื่อนบ้านที่ไม่สามารถเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่น เปรียบได้กับญาติสนิทที่มีหัวอกเดียวกันในยามนี้ ความรู้สึกของท่านทูตพรั่งพรูออกมาดังนี้...
    1. ทูตพม่าสิ้นหวังที่จะช่วยรักษาอิสรภาพของชาติไว้ได้ มันสายเกินไปที่จะหาทางมาแก้ไขสถานการณ์ได้ พวกเขาไม่ได้รับข่าวคราวจากบ้านอีกเลย และเงินทองก็หมดลงอย่างรวดเร็ว คณะทูตถูกลอยแพอยู่ในฝรั่งเศส และต้องขออนุญาตรัฐบาลอังกฤษเพื่อเดินทางกลับแม้จะเป็นการกลับบ้านเกิดของตนเองก็ตาม
    2. การที่พ่อค้าอังกฤษพากันส่งเสริมรัฐบาลของตนในวิกฤติการณ์นี้ ทูตพม่าได้ขอความเห็นใจไปยังรัฐบาลทั้งในอิตาลี เยอรมนี และฝรั่งเศส ให้รู้ว่ารัฐบาลต่าง ๆ ก็จะพลอยเสียผลประโยชน์ไปด้วยเช่นกัน แต่ก็แทบจะไม่มีเสียงตอบในเวลานี้ คณะทูตอ้อนวอนรัฐบาลอังกฤษให้ยับยั้งชั่งใจที่จะทำสงครามกับชาวพม่า และขอเป็นคนกลางในการเจรจากับรัฐบาลของตนเอง แต่จนบัดนี้ก็ยังไม่ได้รับการติดต่ออย่างใด คณะทูตรู้สึกเศร้าสลดที่ถูกทอดทิ้ง
    3. ก่อนการเดินทางมายุโรป ทูตพม่าเต็มไปด้วยความมั่นใจในการหาข้อตกลงกับรัฐบาลอังกฤษ แต่ข่าวที่ได้รับก็คือรัฐบาลพม่าใช้ความกดดันให้พระเจ้าแผ่นดินตอบโต้อังกฤษ พระเจ้าแผ่นดินทรงขาดการติดต่อกับประชาชนมานาน และทรงถูกตัดขาดจากโลกภายนอก
    4. ทูตพม่าให้การว่า เมื่อเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ พระบรมวงศานุวงศ์จากรัชกาลที่ผ่านมาก็ถูกจับกุมเป็นเชลย และหมดอิสรภาพ เปรียบได้กับการกบฏภายในราชสำนักที่พระเจ้าแผ่นดินทรงรู้เห็นด้วย พระองค์ทรงหวาดระแวงการปฏิวัติของพระเชษฐาองค์โต เมื่อไม่สำเร็จก็เสด็จหนีออกนอกประเทศไป พระราชโอรสจากพระเจ้าแผ่นดินองค์ก่อนอีกประมาณ 30 พระองค์ ถูกประหารชีวิตจนหมดเมื่อพระเจ้าแผ่นดินองค์ปัจจุบันขึ้นครองราชสมบัติ
    6. พม่าต้องตกอยู่ในเงื้อมมือของอังกฤษอย่างง่ายดาย หลังจากนี้คงต้องทนทุกข์ทรมานภายใต้การกดขี่ข่มเหงของคนอังกฤษ ชาวพม่าหวังจะได้รับความพึ่งพาจากมหาอำนาจชาติอื่น แต่ก็ต้องหมดหวัง
    7. คณะทูตแสดงความเสียใจต่อการสูญเสียเอกราชและอธิปไตย แต่ก็ยังหวังว่าจะได้รับความยุติธรรมจากรัฐบาลอังกฤษ
    8. ต้นเหตุของวิกฤติการณ์ในชาติ เกิดจากการที่ผู้นำประเทศขาดวุฒิภาวะในการบริหารราชการแผ่นดิน พระเจ้าแผ่นดินทรงรายล้อมอยู่ด้วยผู้ไม่หวังดีและพวกประจบสอพลอ
    ทูตพม่ากล่าวว่าเหตุการณ์ทำนองนี้อาจเกิดขึ้นกับประเทศใดก็ได้แม้กระทั่งประเทศสยาม พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงตอบโต้ว่ารัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มองเหตุการณ์ไปไกลกว่าพม่ามากนัก พระองค์ทรงมีวิสัยทัศน์ ทรงมีความคิดก้าวหน้ากว่าชาวเอเชียทั่วไป และไม่ทรงนิ่งนอนใจที่จะพัฒนาประเทศตลอดมา
    ทูตพม่าขอความคิดเห็นจากพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ว่าอังกฤษจะยอมให้พม่ามีพระเจ้าแผ่นดินต่อไปหรือไม่? ทูตไทยลงความเห็นว่า ถ้ารัฐบาลอนุรักษนิยมมีอำนาจในอังกฤษแล้ว ก็คงเป็นไปได้ยาก พม่าก็จะกลายเป็นอาณานิคมในเครือจักรภพเช่นเดียวกับอินเดีย พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงตั้งคำถามว่าชาวพม่าจะคัดเลือกกษัตริย์ของตนเองอย่างไรในเมื่อราชวงศ์ถูกประหารไปจนหมด ทูตพม่าตอบว่าที่เหลืออยู่มีแต่พระเชษฐาของพระเจ้าสีป่อที่ขณะนี้ทรงลี้ภัยการเมืองอยู่ ณ เมืองปองดิเชอร์รี่ (Pondicherry) ซึ่งเป็นอาณานิคมเก่าแก่ของฝรั่งเศสในอินเดีย
    คำให้การทั้งหมดถูกถ่ายทอดลงในสาส์นของพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ที่ส่งขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประกอบคำชี้แจงอื่น ๆ(7)
    (หมายเหตุ : ถอดความเป็นภาษาไทย จากต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษ)
    นิตยสารต่างประเทศอีกฉบับหนึ่ง บรรยายเหตุการณ์ตอนพม่าเสียเมือง ให้ข้อมูลเกี่ยวกับพระชะตากรรมในช่วงบั้นปลายของพระเจ้าสีป่อและพระนางศุภยลัต ผู้เขียนเห็นว่ามีสาระดีจึงนำมาถ่ายทอดไว้เป็นบทสรุปของประวัติศาสตร์หน้านี้เพื่อมิให้สูญหายไป
    “หลังจากที่อังกฤษได้กุมพระองค์พระเจ้าสีป่อ และพระนางศุภยลัตพระมเหสีส่งออกจากพม่าไปยังอินเดียแล้ว พระเจ้าสีป่อและพระมเหสี ตลอดจนข้าราชบริพารจำนวนมากก็ได้ไปพำนักอยู่ที่เมืองมัทราฐเป็นเวลาสองสามเดือน แล้วอังกฤษจึงส่งเสด็จต่อไปยังเมืองรัตนคิรี
    เมื่อเสียเมืองแก่อังกฤษนั้น พระเจ้าสีป่อได้ตรัสว่าก่อนเสด็จออกจากเมืองได้ทรงมอบเครื่องเพชรทองอันเป็นเครื่องต้นราชูปโภคไว้แก่ผู้บัญชาการอังกฤษเพื่อความปลอดภัย แต่แล้วก็มิได้คืนเลย เครื่องราชูปโภคและเครื่องต้นเหล่านั้นมีค่านับเป็นล้าน ๆ รูปี ในบัญชีนั้นปรากฏว่ามีสร้อยพระศอเพชร 20 ชุด พระสังวาลเพชร 10 องค์ และทับทิมเม็ดใหญ่อันหาค่ามิได้ ชื่อ ‘งาหมอก’
    ทรัพย์สินเหล่านี้ปรากฏภายหลังว่าทหารอังกฤษที่เข้ายึดเมืองได้นั้นหยิบฉวยเอาไปเป็นส่วนตัวเสียมาก ที่เหลือก็ส่งต่อไปยังคณะกรรมการรางวัล (Prize Comittee) ของกองทัพบกอังกฤษ กรมเครื่องต้นแห่งประเทศอังกฤษ และพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ในอังกฤษ
    แต่ถึงอย่างนั้นพระเจ้าสีป่อและพระมเหสีก็ยังได้ทรงนำทรัพย์สมบัติอันมีค่าติดพระองค์ออกมาได้เป็นจำนวนมาก ว่ากันว่ามีราคาถึงเจ็ดแสนรูปี
    เมื่อเสด็จออกจากพม่านั้นพระนางศุภยลัตทรงพระครรภ์แก่และได้ประสูติพระราชธิดาที่เมืองมัทราฐ เมื่อประสูติแล้วก็มีการสมโภชขึ้นพระอู่ตามพระราชประเพณี ในการนั้นพระเจ้าสีป่อได้โปรดให้สร้างถาดทองคำขึ้นสรงพระราชธิดา ถาดนั้นวัดได้สามฟุตโดยรอบและฝังทับทิมล้วน
    พระเจ้าสีป่อพร้อมด้วยพระมเหสีและพระราชธิดาและข้าราชบริพารเสด็จถึงเมืองรัตนคิรีเมื่อวันที่ 16 เมษายน ค.ศ. 1886 (พ.ศ. 2429) ทางราชการอังกฤษได้จัดบ้านหลังใหญ่สองหลังให้เป็นที่ประทับ ต่อมาเห็นว่าบ้านนั้นไม่สมพระราชอิสริยยศ จึงได้สร้างพระที่นั่งขึ้นถวายเมื่อ พ.ศ. 2453 เป็นตึกสองชั้น มีห้องที่ประทับและห้องอื่น ๆ 15 ห้อง มีท้องพระโรงและมีเรือนข้าราชบริพารอยู่ได้ 60 คน สิ้นเงินไปแสนสองหมื่นห้าพันรูปี
    ขณะนั้นปรากฏว่าคนในขบวนของพระเจ้าสีป่อทั้งสิ้นมีถึง 161 คน ต่างก็อยู่ในเมืองรัตนคิรีนั้น และพระเจ้าสีป่อก็ทรงมีพระราชภาระที่จะต้องจ่ายพระราชทรัพย์เลี้ยงดูคนเหล่านี้ตลอดไป นับว่าเป็นภาระที่หนัก และสิ้นเปลืองพระราชทรัพย์มาก
    ความเป็นอยู่ในราชสำนักนั้นก็มิได้เปลี่ยนแปลงไปกว่าเมื่อครั้งยังอยู่ในพม่า ยังคงหรูหราฟุ่มเฟือยอยู่เช่นเดิม เมื่อมีท้องพระโรงก็เสด็จออกให้ข้าราชการเฝ้า คนในราชสำนักก็ยังหมอบคลานเฝ้าแหนเหมือนแต่ก่อน พระนางศุภยลัต ทรงรักษาประเพณีเดิมโดยเคร่งครัด เวลาพระเจ้าสีป่อตื่นพระบรรทมในตอนเช้าทุกวัน พระนางศุภยลัตก็ทรงคลานเข้าไปเฝ้าหมอบกราบถวายบังคมแล้วตั้งพานเครื่องพระสุคนธ์
    ความเป็นอยู่อย่างเดิมนั้นหมดเปลืองมาก เป็นเหตุให้พระเจ้าสีป่อต้องทรงจำนำพระราชทรัพย์ของมีค่าต่าง ๆ เพื่อนำเงินมาจ่าย ภายในระยะสิ้นปีแรกที่ประทับอยู่ที่เมืองรัตนคิรีนั้นต้องทรงตกเป็นเหยื่อของพวกรับจำนำของหาดอกเบี้ย และพระราชทรัพย์ที่จำนำนั้นหลุดไปเป็นของคนพวกนี้อยู่มาก และอย่างเสียเปรียบ เพชรเม็ดใหญ่เม็ดหนึ่งมีค่าสองแสนรูปีต้องหลุดจำนำตกไปเป็นของเจ้าหนี้ด้วยเงินเพียงสี่หมื่นรูปีเท่านั้น
    รัฐบาลอังกฤษในอินเดียได้ถวายเงินให้เป็นค่าใช้จ่ายปีละ 46,794 รูปี แต่ก็ปรากฏว่าไม่พอ พระเจ้าสีป่อต้องทรงจำนำพระราชทรัพย์และกู้เงินมาใช้จ่ายอยู่เรื่อย ๆ จนในที่สุดรัฐบาลอังกฤษในอินเดียต้องออกกฎหมายบังคับมิให้พระเจ้าสีป่อทรงกระทำนิติกรรมใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้สัญญาเงินกู้และสัญญาจำนำมีผลผูกมัดถึงพระองค์ และมิให้พวกเจ้าหนี้เอารัดเอาเปรียบขูดรีดพระองค์ได้
    อังกฤษได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งเพื่อจัดการทรัพย์สินของพระเจ้าสีป่อ และเมื่อพระเจ้าสีป่อสวรรคตใน พ.ศ. 2459 กรรมการคณะนี้มีพระราชทรัพย์เหลืออยู่ เพื่อมอบให้แก่ทายาทได้เป็นจำนวนสามหมื่นเก้าพันรูปี
    พระเจ้าสีป่อประทับอยู่ที่เมืองรัตนคิรีถึงสามสิบปี มิได้ทรงทำอะไรเป็นแก่นสาร ปฏิบัติพระองค์ตามราชประเพณีที่ไร้ความหมายเสียแล้ว ที่เห็นเป็นบาปกรรมที่สุดก็คือที่เมืองรัตนคิรีไม่มีพระพุทธศาสนา แม้จะบำเพ็ญพระราชกุศลทรงธรรมก็ไม่มีทางจะทำได้
    วันหนึ่ง ๆ ก็ได้แต่ทรงเขียนพระราชสาสน์ถึงรัฐบาลอังกฤษ ขอร้องให้ช่วยเหลือในกรณีต่าง ๆ เมื่อครั้งพระเจ้ายอร์ชที่ 5 แห่งอังกฤษเสด็จเยือนอินเดียใน พ.ศ. 2458 พระเจ้าสีป่อก็ทรงพยายามไปเฝ้าให้ถึงพระองค์ แต่ทางราชการอังกฤษไม่อนุญาต
    พระเจ้าสีป่อมีพระราชธิดาสี่พระองค์ ไม่มีพระราชโอรส พระราชธิดาองค์ใหญ่ตกเป็นภรรยาลับ ๆ ของชาวอินเดียคนหนึ่ง และพระราชธิดาองค์เล็กหนีตามมหาดเล็กซึ่งเป็นชาวพม่าไป
    พระเจ้าสีป่อสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 2459 สามสิบปีหลังจากที่ได้เสด็จไปประทับ ณ เมืองรัตนคิรี พระประยูรญาติแสดงความจำนงจะเชิญพระบรมศพกลับไปยังพม่า แต่รัฐบาลอังกฤษไม่อนุญาต สวรรคตแล้วถึงสามปี คือใน พ.ศ. 2463 จึงได้สร้างพระสถูปบรรจุพระบรมศพไว้ที่เมืองรัตนคิรี เดี๋ยวนี้ก็ยังอยู่ ณ ที่นั้น(2)
    การล่มสลายของราชอาณาจักรพม่า ถูกตีแผ่ตามหน้าหนังสือพิมพ์และนิตยสารต่าง ๆ ทั่วโลกเมื่อร้อยกว่าปีที่ผ่านมา พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงตัดเก็บบทความจากที่ต่าง ๆ ทรงแปล แล้วทรงจัดส่งเข้ามาทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมกับรายงานการเข้าพบของทูตพม่าที่ปารีส พระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสนพระทัยในเรื่องนี้อย่างมาก แล้วจึงมีพระบรมราชโองการให้พระองค์เจ้าปฤษฎางค์กราบบังคมทูลความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้เข้ามา(7)
    ในตอนแรกพระองค์เจ้าปฤษฎางค์กราบบังคมทูลว่า ท่านมิใช่คนที่เหมาะสม จึงมิอาจเอื้อมถวายความเห็นในกรณีดังกล่าวได้ แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ยังทรงยืนยันให้ท่านลองถวายความเห็นดูว่าถ้าเหตุการณ์ทำนองนี้เกิดขึ้นกับสยามบ้าง เราควรจะป้องกันอย่างไร? หลังจากนั้นพระองค์เจ้าปฤษฎางค์จึงทรงรับเอาพระราชกระแสมาทรงปรึกษากับพระเจ้าน้องยาเธออีก 3 พระองค์ ที่ทรงพำนักอยู่ในยุโรป
    ขณะนั้นมีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นเรศร์วรฤทธิ์ พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ และพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต ตลอดจนข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ทำงานอยู่ในสถานทูตทั้งที่ลอนดอนและปารีส โดยมีจุดประสงค์ที่จะกราบบังคมทูลความเห็นร่วมกันและรับผิดชอบร่วมกัน อันเป็นที่มาของการเสนอให้สยามมีรัฐธรรมนูญ เพื่อจัดการเปลี่ยนแปลงการบริหารราชการแผ่นดิน ร.ศ. 103(4)
    ในภายหลัง พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงตระหนักว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปรึกษาหารือมาเป็นการส่วนพระองค์ ทำให้ไม่สมควรที่จะเปิดเผยแก่ผู้อื่นได้รับรู้ด้วย และให้เก็บเป็นเรื่องภายในโดยเฉพาะ จึงทรงรู้ตัวว่าได้คิดและทำผิดพลาดไป มารู้สึกตัวว่าเป็นโทษทัณฑ์ก็ต่อเมื่อได้ทูลเกล้าฯ ถวายเข้ามาแล้ว(4)
    ****เอกสารประกอบการค้นคว้า :
    (1) ไกรฤกษ์ นานา. กุศโลบายของรัชกาลที่ 4 จากเอกสารต่างประเทศฉบับใหม่, ใน ศิลปวัฒนธรรม (ธันวาคม 2551), น. 108-121.
    (2) คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. พม่าเสียเมือง. กรุงเทพฯ : ดอกหญ้า, 2000.
    (3) ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. พม่า : อดีตและปัจจุบัน. เชียงใหม่ : โครงการตำรามหาวิทยาลัย สำหรับหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2526.
    (4) สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา และคณะ. พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ และข้อเสนอเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญฉบับแรก พ.ศ. 2427. นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า, 2550.
    (5) หม่องทินอ่อง. A HISTORY OF BURMA. (ฉบับแปลโดย เพ็ชรี สุมิตร). จัดพิมพ์โดยมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย, 2548.
    (6) Bruce, George. The Burma Wars (1824-1886). London : Hart-Davis & Macgibbon, 1973.
    (7) Manich Jumsai, M.L. Prince Prisdangs Files On His Diplomatic Activities In Europe, 1880-1886. Bangkok : Chalermnit, 1977.
    (8) L’UNIVERS ILLUSTRE, Paris, ฉบับวันที่ 29 พฤศจิกายน 1884
    __________________________________________________
    Article and photos: https://www.silpa-mag.com/history/article_40617
    https://www.silpa-mag.com/culture/article_7392
    https://talk.mthai.com/inbox/380625.html
     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    กัมพูชายันผู้โดยสารบนเรือ'เวสเตอร์ดัม'ไม่ติดไวรัสโควิด-19

    750x422_866272_1581637966.jpg
    14 กุมภาพันธ์ 2563

    ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขกัมพูชาระบุว่า ผลการตรวจตัวอย่างเลือดของผู้โดยสาร 20 รายบนเรือที่มีอาการป่วย พบว่า ทุกคนไม่มีการติดเชื้อไวรัสโควิด-19

    ด้านผู้ว่าราชการเมืองสีหนุวิลล์ กล่าวว่า ผู้โดยสารบนเรือจะเริ่มขึ้นฝั่งในเช้าวันนี้ โดยพวกเขาจะขึ้นรถไปยังสนามบินของสีหนุวิลล์เพื่อขึ้นเครื่องบินเช่าเหมาลำไปยังกรุงพนมเปญ ก่อนที่จะขึ้นเครื่องบินเพื่อกลับประเทศ

    ทั้งนี้ รัฐบาลกัมพูชาได้อนุญาตให้เรือสำราญเวสเตอร์ดัมเข้าจอดเทียบท่า หลังจากถูกปฏิเสธจากทางการไทย, ญี่ปุ่น, ไต้หวัน, ฟิลิปปินส์ และเกาะกวม เนื่องจากวิตกว่าผู้โดยสารในเรืออาจติดเชื้อไวรัสโควิด-19

    เรือสำราญเวสเตอร์ดัมมีผู้โดยสารจำนวน 1,455 คน และลูกเรือ 802 คน

    https://www.bangkokbiznews.com/news...medium=internal_referral&utm_campaign=foreign
     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Too Young to Die

    นักวิทยาศาสตร์เนเธอแลนด์วางแผนสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วมจากภาวะโลกร้อน
    724485_7058818483718455296_o.jpg?_nc_cat=106&_nc_ohc=XkFv-zyJntEAX9avuoF&_nc_ht=scontent.fbkk6-2.jpg
    รัฐบาลเนเธอแลนด์วางแผนสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ในทะเลเหนือ เพื่อป้องกันประชาชนยุโรป25 ล้านคนที่จะได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน

    Sjoerd Groeskamp จาก Royal Netherland Institute for Sea Research กล่าวถึงแผนสร้างเขื่อนยาว 475กม. กั้นระหว่างตอนเหนือของสก็อตแลนด์และตะวันตกของนอร์เวย์ อีกแห่งยาว 160 กม.กั้นระหว่างฝรั่งเศสและตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษ ดูจะเป็นแผนที่เป็นไปได้มากที่สุดขณะนี้ในการต่อสู้กับปัญหาภาวะโลกร้อนที่รอเราอยู่ในอนาคต

    การสร้างเขื่อนดังกล่าว เท่ากับเป็นการปิดทะเล Baltic ตัดการเชื่อมต่อกับมหาสมุทรภายนอก กลายเป็นเขื่อนขนาดใหญ่ที่อยู่ตรงกลางระหว่างประเทศเหล่านี้ อังกฤษ นอร์เวย์ ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ เยอรมัน เดนมาร์ก สวีเดน ฟินแลนด์ ฯลฯ

    รายงานล่าสุดของ American Journal of Metereology กล่าวว่า การสร้างเขื่อนล้อมรอบ North Sea ของยุโรปจะใช้เงินมูลค่าสูงถึง 250-500 พันล้านยูโร แต่เทียบกับความคุ้มค่าแล้ว ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายต่อปีที่จะช่วยป้องกัน14 ประเทศ ในระยะเวลา 20ปี คิดเป็น 0.1%ของ GDP ทุกประเทศรวมกัน

    Hannah Cloke ศาสตราจารย์จาก University odf Reading ให้ความเห็นสนับสนุนแผนดังกล่าว “ ทั้งหมดขึ้นอยู่กับระยะเวลา เป็นสิ่งที่ดีที่เราพยายามคิดนอกกรอบ เพราะดูจากสถานการณ์ในอนาคตนั้นค่อนข้างน่ากลัวทีเดียว ย้อนไปในปี 1940 การสร้างกำแพงกั้นแม่น้ำThamesในปัจจุบันอาจจะดูเป็นเรื่องตลก แต่20-30 ปีให้หลังกลับมีประโยชน์ แต่ทางที่ดีการใช้เงินปริมาณมากขนาดนี้ ควรนำไปใช้ในการป้องกันน้ำท่วมแนวทางอื่นและแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนไม่ให้แย่ขึ้นจะดีกว่า “

    การสร้างเขื่อนมีข้อเสียคือ จะทำให้ North Sea กลายสภาพไปเป็นทะเลสาบ และส่งผลให้ระบบนิเวศน์เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ต้องคำนึงรายได้ที่สูญเสียจากการประมงในเขต North Sea , การขนส่งข้าม North Sea ที่เปลี่ยนไป , การปั๊มน้ำจืดปริมาณมากจากแม่น้ำที่ไหลลงทะเลไปอีกฟากของเขื่อน

    แต่เทียบผลเสียจากการสร้างเขื่อน ย่อมน้อยกว่า ความเสียหายที่เกิดจากน้ำทะเลที่สูงขึ้นในอนาคตแน่นอน “ปี2500 น้ำทะเลอาจสูงถึง 10 เมตร การสร้างเขื่อนนี้เป็นการสะท้อนให้เห็นว่าเราควรลงมือแก้ไขภาวะโลกร้อนอย่างเร่งด่วน เพราะถ้าเราไม่ทำอะไรเลย เขื่อนคงเป็นแค่ทางเลือกเดียวที่ช่วยเราได้ตอนนี้ “ Groeskamp กล่าว

    องค์กร Intergovernmental Panel on Climate Change หรือ IPCC คำนวณไว้ว่าอนาคตปี 2100 น้ำทะเลอาจสูงขึ้น 30-60 ซม หากทุกประเทศสามารถทำตามข้อตกลงลดก๊าซเรือนกระจก Paris Agreement ได้ แต่ในความเป็นจริง ปัจจุบันไม่มีประเทศไหนทำได้เลย และหากปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกยังคงเพิ่มขึ้นในอัตราปัจจุบัน น้ำทะเลจะสูงขึ้น 84 ซม ในปี 2100 และสูงถึง 5.4 เมตรในปี 2300

    งานวิจัยชี้ว่ามีหลายเมืองที่ต้องอยู่ใต้น้ำ ไม่ว่าจะเป็น London , New York , Shanghai , Los Angeles และเมืองอื่นๆทั่วโลก คิดรวมเป็นพื้นที่ 1.79 ล้านตารางกิโลเมตร. หนึ่งในนั้นมีกรุงเทพมหานครด้วยเช่นกัน

    https://www.theguardian.com/environment/2020/feb/12/giant-dams-could-protect-millions-from-rising-north-sea

    https://www.independent.co.uk/environment/climate-crisis-north-sea-dam-uk-norway-sea-level-rise-flooding-emissions-a9333136.html

    https://www.dutchnews.nl/news/2020/02/dutch-mega-dam-scheme-raises-awareness-of-climate-crisis/

     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Too Young to Die

    ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศสูงที่สุด ทำลายสถิติอีกแล้ว
    แต่ปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากด้านพลังงานในกลุ่มประเทศเจริญแล้วมีแนวโน้มลดลง
    674487_1900280448727121920_o.jpg?_nc_cat=106&_nc_ohc=xtF09uMdpwUAX9Bfx-9&_nc_ht=scontent.fbkk6-2.jpg
    ดูเหมือนว่า ปี 2020 จะยังไม่มีเรื่องดีๆเลย ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ วัดได้ที่ Mauna Loa Observatory สูงถึง 416.08 ppm ( ทำลายสถิติสูงสุดปีที่แล้ว ที่วัดได้ 411.97 ppm) ตั้งแต่เริ่มต้นปีมา เดือนมกราคมเป็นมกราคมที่ร้อนที่สุด และ Antarctica อุณหภูมิวัดได้สูงที่สุดที่เคยมีมาเช่นกัน

    อย่างไรก็ตาม พอจะมีข่าวดีคือ คาร์บอนไดออกไซด์จากภาคพลังงานทั่วโลกมีแนวโน้มที่จะหยุดนิ่งในปี 2018-2019 ( จากที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นแน่นอน)
    ปี 2019 ในประเทศที่เจริญแล้ว หรือมี advance economy มีการลดลงของปริมาณคาร์บอนไดออก คาดว่าเกิดจากการเปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาดเช่น ลม หรือ solar มากขึ้น และปริมาณการใช้ถ่านหินลดลง 15% รายงานจาก International Energy Agency (IEA) ชี้ว่า ปี 2019 คาร์บอนไดออกไซด์จากภาคพลังงานอยู่ที่ 33 GtCO2 ค่อนข้างคงตัว เทียบกับ 2018

    UN เสนอว่า ทั่วโลกควรลดการสร้างก๊าซเรือนกระจกลงปีละ 7.6% เพื่อที่จะอยู่รอดภายใต้ 1.5C ในปี 2030 ล่าสุดแม้ว่าโดยรวมทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น แต่พอมีสัญญาณดีลดลงในบางกลุ่มประเทศ

    ในกลุ่มประเทศยุโรปลดลง 5% หรือเทียบเท่า 160 ล้านเมตริกตัน โดยเยอรมันมีตัวเลขดีสุดคือ 8% ในขณะเดียวกัน ถึงแม้ว่าสหรัฐอเมริกา ที่ถอนตัวจาก Paris Agreement แต่สามารถลดปริมาณลงได้ 2.9%

    เห็นได้ว่าประเทศที่เจริญแล้ว มีแนวโน้มที่ดีขึ้นบ้างในการลดลงของก๊าซเรือนกระจกภาคพลังงาน แต่โดยรวม ก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกยังคงเพิ่มขึ้น ถึงเวลาแล้วหรือยังที่กลุ่มประเทศอย่างเรา ต้องแสดงความรับผิดชอบบ้าง

    หลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจถึงความสำคัญนี้ องค์กร IPCC ตั้งเป้าไว้ว่าโลกควรจะจำกัดการเพิ่มอุณหภูมิไว้ที่ไม่เกิน 1.5C เทียบกับก่อนยุคอุตสาหกรรม มิเช่นนั้นสภาพอากาศจะเสียหายถาวร ระบบนิเวศน์เสียหาย เกิดภัยธรรมชาติรุนแรงมากขึ้น ทุกวันนี้จากการใช้ชีวิตของมนุษย์ ทุกกิจกรรม ล้วนอาศัยพลังงานฟอสซิล อันเป็นแหล่งก๊าซเรือนกระจกมหาศาล

    โลกมีโควต้า Carbon Budget หรือสามารถปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เพิ่มอีกประมาณ 420 GtCO2 จะมีโอกาสอยู่รอดภายใต้ 1.5C 67% (IPCC 2018)แต่ทุกวันนี้ โลกเราปล่อยก๊าซเรือนกระจกปีละ 40-50 GtCO2 ลองคำนวณดู เรามาเวลาไม่กี่ปี ไม่ถึง 10 ปี ก็จะหมดโควต้าแล้ว แต่ค่า CO2 ก็ยังสูงขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี

    สิ่งที่ระดับประชาชนทำได้คือเปลี่ยนวิถีชีวิต และคำนึงถึง Carbon Footprint ที่ตนเองสร้างขึ้น ทุกการบริโภคอุปโภาค ล้วนอาศัยพลังงาน หรือแม้แต่อาหารที่เรากิน ต่างสร้างก๊าซเรือนกระจกทั้งนั้น ช่วยกันลดการบริโภคที่ไม่จำเป็น ลดการสร้างขยะ recycle ลดการขับรถ ประหยัดไฟ ที่สำคัญ สิ่งที่ประชาชนทำจะไม่มีความหมาย ถ้ารัฐบาลไม่อำนวยความสะดวก คือสนับสนุนพลังงานสะอาด ลดพลังงานฟอสซิล จัดสรรการคมนาคมสาธารณะที่ดี มีระบบการกำจัดขยะและสนับสนุนธุรกิจที่ sustainable

    https://www.esrl.noaa.gov/gmd/ccgg/trends/monthly.html

    https://time.com/5782089/iea-emissions-energy-climate-change/

     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ข่าวฮ่องกง

    พบประชาชนติดเชื้อลีเจียนแนร์ 11 คน ที่ Wong Tai Sin
    435442_5358271030915760128_n.jpg?_nc_cat=105&_nc_ohc=Q7aSQM4GsW0AX_PktUk&_nc_ht=scontent.fbkk6-1.jpg
    มีประชาชนติดเชื้อลีเจียนแนร์ 11 คน ที่ Wong Tai Sin ซึ่งเชื้อลีเจียนแนร์เป็นสาเหตุให้เกิดโรคปอดอักเสบลีเจียนแนร์ (Legionnaires' disease) และโรคไข้ปอนเตียก (Pontiac fever)

    จากการสำรวจของสาธารณสุข ซึ่งได้ตรวจที่ MTR 4 สถานี พบว่ามีแทงค์น้ำที่สถานี MTR Choi Hung มีการปนเปื้อน ก่อนหน้านี้ในวันที่ 4 และ 12 กุมภาพันธ์เคยตรวจล้างไปแล้วแต่ยังคงพบเชื้ออยู่ ทั้งนี้จะต้องทำการล้างและฆ่าเชื้อ และรอตรวจอีกครั้ง

    อย่างไรก็ดีทางสาธารณสุขแนะนำ MTR ให้ปิดทั้งสถานี Choi Hung เพื่อระงับการจ่ายน้ำทั้งสถานีเพื่อทำการฆ่าเชื้อ

    Source : https://www.facebook.com/710476795704610/posts/2854225511329717/?d=n, https://www.facebook.com/105259197447/posts/10158628260177448/?d=n

    #ข่าวฮ่องกง #khaohongkong

     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150

แชร์หน้านี้

Loading...