ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,300
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เลือดแขก-ฝรั่งนองกรุงศรีอยุธยา! เมื่อเจ้าชายแห่งมากาซาแค้นฝรั่งกุมอำนาจ คนบ้าเลือด ๔๗ ชักกริชสู้คนถือปืน ๑,๐๐๐!! เผยแพร่: 30 มิ.ย. 2560 10:39 โดย: โรม บุนนาค
    560000006818801.jpg

    ภาพเขียนมักกะสันบ้าเลือด
    ความดุร้ายบ้าเลือดของพวกแขกมากาซาที่คนไทยเรียกกันว่า “แขกมักกะสัน” เป็นเรื่องลือลั่นอยู่ในประวัติศาสตร์ไทย เมื่อพวกแขกจากเกาะเซเลเบส หรือ สุราเวสี ที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารสมเด็จพระนารายณ์ เกิดความคับแค้นใจจากพวกฝรั่งที่มีอิทธิพลในยุคนั้น จึงวางแผนจะชิงอำนาจสำเร็จโทษสมเด็จพระนารายณ์ แล้วบังคับพระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่ให้นับถือศาสนาเดียวกับตน พวกมากาซามีกริชคนละเล่มเป็นอาวุธประจำกาย แต่ฆ่าพวกฝรั่งและไทยที่ถือปืนไปเป็นจำนวนมาก ด้วยความอำมหิตผิดมนุษย์ ไม่กลัวแม้ความตาย

    พวกมากกาซามีถิ่นฐานเดิมอยู่ในหมู่เกาะอินเดียตะวันออก นับถือศาสนาอิสลาม เมื่อถูกฮอลันดาโจมตีระหว่างปี พ.ศ.๒๑๕๙-๒๒๑๐ จึงกระจัดกระจายหลบไปอยู่ตามเกาะต่างๆ ทั้งของอินเดียและมลายู รวมทั้งเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาด้วย

    เจ้าชายองค์หนึ่งซึ่งอยู่ที่หมู่เกาะเซเลเบส ได้พาผู้ติดตามหนีร้อนมาพึ่งเย็นในราชอาณาจักรสยาม ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์ก็ทรงเมตตาต่อเจ้าชายผู้ตกระกำลำบาก พระราชทานที่ดินและบ้านให้อยู่ที่บริเวณปากคลองตะเคียน ซึ่งต่อมาที่แห่งนั้นถูกเรียกว่า “ทุ่งมักกะสัน”

    เมื่อคับแค้นใจจากพวกฝรั่งที่มีอิทธิพลอยู่ในราชสำนัก ทั้งยังได้รับการยุยงจากขุนนางแขกที่มีอยู่มากในยุคนั้น ทั้งแขกดำแขกขาว แต่ถูกลดอำนาจโดยเจ้าพระยาวิชเยนทร์ ในปี พ.ศ. ๒๒๒๙ พวกมักกะสันจึงวางแผนจะยกพวกจู่โจมเข้าจับสมเด็จพระนารายณ์สำเร็จโทษ แล้วยกเจ้าฟ้าอภัยทศ พระอนุชา ขึ้นครองราชย์ โดยบังคับให้พระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่นับถือศาสนาของพระมะหะหมัด ส่วนประชาชนหากใครไม่ยอมนับถือก็ให้ฆ่าเสีย แต่ความแตกเสียก่อนเมื่อขุนนางแขกจามคนหนึ่งล่วงรู้ความลับ แล้วนำความไปแจ้งกับเจ้าพระยาวิชเยนทร์ อัครมหาเสนาบดีชาวกรีกจึงจัดทัพใหญ่ปราบกบฏถึง ๗,๐๐๐ คน มีนายทัพนานาชาติ ๔๐ คน ทั้งฝรั่งเศส อังกฤษ โปรตุเกส ฮอลันดา ประกาศจะจับหัวหน้ากบฏให้ได้ แต่พวกมักกะสันก็ประกาศสวนออกมาว่า ถ้าใครมาจับก็จะฆ่าทุกคนไม่ให้เหลือ และขุดสนามเพลาะรอบหมู่บ้านพระราชทาน

    เมื่อทหารยกไปถึง พวกมักกะสันทำเป็นหนี นายทัพฝรั่งก็นำทหารไล่ติดตาม พอล่อทหารให้แตกเป็นกลุ่มเล็กๆแล้ว มักกะสันก็หันมาสู้ นายทัพฝรั่งตายไป ๑๗ คน ทหารไทยก็ตายไปมาก วิชเยนทร์เองก็เกือบไม่รอด ต้องโดดน้ำหนีจนเกือบจมน้ำตาย ผู้ติดตามช่วยให้เกาะเรือไว้ได้ แล้วจ้ำพายหนี ขณะที่มักกะสันว่ายน้ำตาม

    วิชเยนทร์เห็นว่ารบกับแขกมักกะสันต้องเสียไพร่พลอีกมากแน่ จึงเปลี่ยนแผนเป็นเอาน้ำเย็นเข้าลูบ เรียกเจ้าชายมักกะสันมาเจรจา เจ้าชายขอเดินทางออกนอกประเทศพร้อมผู้ก่อการ ๕๐ คน วิชเยนทร์ก็ยอม พร้อมกับเขียนหนังสืออนุญาตให้ผ่านด่าน แต่ก็แอบส่งม้าเร็วไปสั่งเชวาเลียร์ เดอ ฟอร์บัง ผู้บังคับการป้อมบางกอก ให้ขึงโซ่ขวางแม่น้ำไว้ แล้วจับพวกมักกะสันไว้ให้ได้

    เมื่อสำเภาของพวกมักกะสันมาถึงเมืองบางกอก เห็นมีโซ่ขวางไว้ ต้นหนจึงนำกลาสีอีก ๖ คนขึ้นมาขอพบฟอร์บังที่ป้อม ฟอร์บังทำเป็นไม่รู้เรื่องถามว่ามาจากไหนจะไปไหน ต้นหนก็เอาหนังสือผ่านด่านให้ดู ฟอร์บังว่าไม่มีปัญหา แต่เขาก็เป็นคนต่างประเทศเหมือนกัน ขอทำตามหน้าที่ไม่ให้ถูกตำหนิได้ ให้ทุกคนในเรือขึ้นมาขอตรวจดู ถ้ามีแต่มากาซาก็ออกไปได้ทุกคน เพราะตอนนั้นห้ามคนไทยออกนอกพระราชอาณาจักร ต้นหนก็ไม่ขัดข้อง แต่ขอพกกริชขึ้นมาด้วย ฟอร์บังหัวเราะแล้วว่า “เวลานี้เราทำสงครามกันอยู่หรือ” ต้นหนว่า “เราไม่ได้ทำสงครามกันจริงอยู่ แต่กริชที่เหน็บอยู่ข้างตัวนี้ เป็นอาวุธที่เรามีอยู่แก่ตัวเสมอ เป็นเครื่องหมายอันมีเกียรติที่ประจำตัวของเรา และเราไม่ยอมวางอาวุธนั้นให้ได้รับความอัปยศ” ฟอร์บังเห็นว่าอาวุธนั้นไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวอะไรเลย จึงยอมอนุโลม แต่ต่อมาเขาได้บันทึกไว้ว่า

    “...แต่การหาเป็นเช่นนั้นไม่ มันเป็นอาวุธที่ร้ายกาจมาก ดังที่เห็นกับตา...”

    ฟอร์บังบันทึกไว้ว่า “กริชนั้นเป็นมีดแหลมชนิดหนึ่ง ยาวประมาณ ๑ คืบ ๔ นิ้ว และที่ต่อกับด้ามก็ยาวประมาณครึ่งนิ้ว รูปคดเหมือนละลอกในกระแสน้ำ ปลายแหลมคล้ายลิ้นงู ทำด้วยเหล็กกล้า ทั้งสองข้างคมเหมือนใบมีดโกน เหน็บไว้ในฝักที่ทำด้วยไม้”

    ขณะที่ต้นหนส่งคนไปเรียกมักกะสันอีก ๔๗ คนในเรือให้ขึ้นมาที่ป้อม ฟอร์บังก็แอบไปกระซิบนายทหารโปรตุเกสแก่ๆคนหนึ่งที่เขาตั้งให้เป็นนายพันตรี และยืนรอคำสั่งอยู่ ให้ไปสั่งทหารที่วางกำลังซุ่มไว้แล้วระหว่างทางที่ขึ้นจากเรือมาป้อม ให้จับมักกะสันทั้งหมด

    นายทหารโปรตุเกสได้ฟังก็ตกใจ บอกว่า

    “ขอรับประทานโทษ ที่ท่านสั่งเช่นนั้น ไม่มีใครปฏิบัติตามได้ ท่านไม่รู้จักแขกมักกะสันเหมือนฉันรู้จักมัน ฉันเกิดมาในบูรพทิศประเทศ รู้จักมันดี ขอให้เชื่อถ้อยคำฉันเถิด คนเหล่านี้หายอมแพ้ง่ายๆไม่ ต้องฆ่ามันก่อนถึงจะจับตัวมันได้ ฉันขอเรียนให้ทราบด้วยว่า ถ้าท่านทำท่าทางที่จะจับต้นหนที่อยู่ในปะรำนั้น เขาและคนของเขาจะฆ่าพวกเราไม่ให้เหลืออยู่สักคนเดียว”

    ฟอร์บังไม่เชื่อ เห็นว่าเรื่องแค่นี้ไม่ยากเย็นอะไร จึงบอกเขาให้ไปทำตามคำสั่ง
    นายทหารโปรตุเกสเดินหน้าเศร้าไป หลังจากเตือนอีกครั้งว่า

    “ขอให้ท่านระวังตัวให้มาก มันคงฆ่าท่านเป็นแน่ เชื่อฉันเถิด ฉันเตือนโดยความหวังดีแท้ๆ”

    คำเตือนข้อหลังนี้ฟอร์บังยอมรับ เขาคัดเลือกทหารไทย ๒๐ คนให้เป็นองครักษ์ ๑๐ คนถือหอก อีก ๑๐ คนถือปืน แล้วบอกขุนนางไทยคนหนึ่งที่เป็นล่าม ให้บอกต้นหนว่ามีความเสียใจที่ได้รับคำสั่งให้จับเขา ขอให้เชื่อเถิดว่าเขาจะเลี้ยงดูเป็นอย่างดีในระหว่างที่ถูกคุมขัง

    ขุนนางไทยผู้น่าสงสารได้ปฏิบัติตามคำสั่งของฟอร์บัง พออ้าปากคำแรกว่าจะจับ มักกะสันทั้ง ๖ คนก็โยนหมวกลงพื้น ชักกริชออกจากฝัก กระโจนเข้ามาอย่างมัจจุราช แทงขุนนางไทยคนนั้นและอีก ๖ คนในปะรำ ฟอร์บังถอยออกมาแล้วสั่งทหารที่ติดตามยิงกราด มักกะสันคนหนึ่งยังฝ่ากระสุนเข้าถึงฟอร์บังได้ เขาจึงแทงด้วยหอกเข้าที่ท้อง แต่มักกะสันที่มีหอกทะลุคาท้องก็ไม่ได้แสดงอาการเจ็บปวด กลับดันเข้ามาจะแทงฟอร์บังให้ได้ ฟอร์บังไม่กล้าชักหอกออกจากท้อง และใช้ดันมักกะสันบ้าเลือดไว้ขณะที่ต้องถอยกรูด จนทหารคนหนึ่งได้ฆ่ามักกะสันตาย

    ฟอร์บังคิดถึงคำเตือนของนายทหารโปรตุเกส เชื่อว่าอีก ๔๗ คนที่กำลังขึ้นจากเรือมาก็ต้องไม่ยอมให้จับแน่ จึงสั่งนายร้อยเอกอังกฤษคนหนึ่งซึ่งคุมทหารโปรตุเกส ๔๐ คน ให้ไปหยุดพวกนั้นไว้ ถ้าขืนเข้ามาก็ให้ยิงได้ นายทหารอังกฤษไปยันไว้ในระยะห่าง ๑ เส้น แล้วบอกว่าถ้าจะกลับลงเรือก็กลับไปได้เลย และคิดว่าจะยิงทุกคนเมื่อไปถึงเรือที่ไม่มีที่กำบัง แต่มักกะสันว่าจะยอมกลับลงเรือถ้าคืนต้นหนมา เจรจากันอยู่พัก นายทหารอังกฤษเห็นว่าพูดกันไม่รู้เรื่องก็สั่งให้ทหารจับ แต่พอทหารขยับตัว มักกะสัน ๔๗ คนที่นั่งยองๆอยู่ก็ลุกขึ้นพร้อมกัน แก้ผ้าพันเอวออกมาพันที่แขนเป็นโล่ห์ แล้วพุ่งเข้าหากองทหารโปรตุเกสที่ยังงงๆ แทงด้วยกริชจนเนื้อหลุดเป็นชิ้นๆ แล้วพุ่งไปที่ป้อมซึ่งฟอร์บังตั้งแถวทหารรอรับถึงพันคน แต่ก่อนที่จะทำอะไรถูก ทหารหลายคนก็ถูกกริชทะลวงไส้ เกิดการต่อสู้ประชิดตัวจนโกลาหล ทหารหลายคนหนีเข้าไปในป้อมและระดมยิงลงมา

    เมื่อฆ่าคนจนไม่มีใครจะฆ่าแล้ว และรู้ว่าตัวเองก็ไม่รอด พวกมักกะสันได้กลับไปเผาเรือตัวเอง แล้วยังขึ้นมาเผาค่ายทหาร ก่อนบุกต่อไปยังกรุงศรีอยุธยา ฆ่าทุกคนที่พบไม่ว่าเด็กและผู้หญิง รวมทั้งฆ่าพระหมดทั้งวัด

    เมื่อพวกมักกะสันไปแล้ว ทหารที่ป้อมก็ออกมา เห็นศพทั้งไทยและฝรั่งเกลื่อนกราด บ้างก็ถูกกริชทะลวงหัวใจ บางคนก็ถูกคว้านท้องจนไส้ไหลออกมา จึงพากันลงเรือตามล่าพวกมักกะสันไปด้วยความโกรธแค้น และไม่ยอมเข้าประชิดตัว ใช้ปืนอย่างเดียว พวกมักกะสันหนีเข้าไปซ่อนในกระท่อมของชาวบ้าน ทหารก็ไม่กล้าเข้าไป ใช้ธนูไฟยิงเผาบ้าน แม้ไฟจะโหมหนักมักกะสันก็ยังไม่ออกมา จนตัวไหม้เกรียมจึงพุ่งออกมาเพื่อให้ศัตรูช่วยฆ่าให้พ้นความเจ็บปวด

    เมื่อกลับมาสำรวจความเสียหายโดยรอบป้อมบางกอก พบทหารและชาวบ้านเสียชีวิต ๓๖๖ คน มักกะสันตายเพียง ๑๗ คน โดยตายที่ป้อม ๖ คน หลังป้อม ๕ คน และที่วัด ๖ คน

    ส่วนทางกรุงศรีอยุธยา เจ้าพระยาวิชเยนทร์นำทหารฝรั่งทั้งอังกฤษ ฝรั่งเศส ฮอลันดา ลงเรือ ๒๐๐ ลำล่องไปที่ปากคลองตะเคียนอย่างเงียบๆในเวลากลางคืน พอรุ่งสางเรือรบที่เรียงรายกันเต็มผืนน้ำก็เปิดฉากถล่มด้วยปืนใหญ่ ตามด้วยธนูไฟไปที่หมู่บ้านมักกะสันเป็นห่าฝน ไฟได้ไหม้โชติช่วงทั้งหมู่บ้าน ไม่ว่าผู้หญิง เด็ก และคนชรา บาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก แต่ไม่มีการโต้ตอบจากพวกมักกะสันที่มีแค่กริช รอแต่ให้ศัตรูบุกขึ้นมาบนบกเท่านั้น

    ทหารชะล่าใจจึงเทียบเรือขึ้นฝั่ง ทหารฝรั่งบางคนก็ใส่เกราะกันคมกริชขึ้นไปด้วย ทันใดมักกะสันก็กระโจนออกมาจากที่ซ่อน ฆ่าทหารตายทันทีไปหลายคน ที่เหลือต่างกระโจนลงน้ำหนี คนที่ใส่เกราะเลยจมน้ำตายเพราะเกราะ

    ในบันทึกไม่ได้กล่าวถึงบทบาทของเจ้าชายในการทำศึกครั้งนี้ ก็คงจะถูกทหารของวิชเยนทร์ฆ่าในกลุ่มของมักกะสันบ้าเลือด ส่วนโอรส ๒ คนของเจ้าชายในวัย ๑๒ และ ๑๓ ปี แม้จะฉวยหอกเข้าสู้ทหารด้วย แต่ก็ไม่มีใครทำร้าย และได้รับอุปการะโดยบาทหลวง ถูกนำตัวไปฝรั่งเศส ต่อมาเข้ารับราชการเป็นทหารเรือที่นั่น

    กบฏมักกะสัน นับเป็นเหตุการณ์โหดร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย ทั้งไทยและฝรั่งต่างไม่คาดคิดว่า พวกมักกะสันจะบ้าเลือดอำมหิตถึงเพียงนั้น และยอมตายแต่ไม่ยอมให้จับเป็น เพราะทุกคนถูกฝังหัวให้เชื่อว่า เมื่อตายไปแล้วจะได้ขึ้นไปรับใช้พระเจ้าบนสวรรค์ ส่วนคนที่ถูกตนฆ่า ก็ได้ไปเป็นทาสของตัวบนสวรรค์ด้วย

    560000006818802.jpg

    กริชและฝัก อาวุธประจำตัวมักกะสัน

    https://mgronline.com/onlinesection/detail/9600000065707
     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,300
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สงครามก็คือสงคราม สงครามมิเคยปราณีผู้ใด ไม่ว่าจะเป็นศาสนิกชนในศาสนาเดียวกันหรือไม่ก็ตาม มุสลิมกับมุสลิม มลายูกับมลายู หรือพุทธกับพุทธก็มิได้รับการยกเว้นแต่อย่างใด แน่นอนหากการทำสงครามนั้นเกิดขึ้นระหว่างนครรัฐ และพลเมืองที่ถือศาสนาต่างกัน ความชอบธรรมก็มักจะเป็นข้ออ้างของทั้งสองฝ่ายเสมอในการปกป้องศาสนาและความเชื่อของฝ่ายตน ผลของสงครามที่หลีกเลี่ยงมิได้ ก็คือการสูญเสียกำลังพล ชีวิตและทรัพย์สินตลอดจนเกิดความระส่ำระสาย บ้านแตกสาแหรกขาด พลัดบ้านพลัดเมือง ในบรรยากาศเช่นนั้นความชิงชังและการอาฆาตพยาบาทในฝ่ายผู้สูญเสียและปราชัยย่อมเป็นปฏิกิริยาที่เกิดตามมาเป็นธรรมดา

    K4950974-3.jpg

    บทความเพื่อความสมานฉันท์ เกร็ดความรู้จาก “ประวัติศาสตร์สยาม-ปัตตานี”
    BY อาลี เสือสมิง · สิงหาคม 20, 2009

    1. สยาม-ปัตตานีดารุสสลามเคยมีการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างสองอาณาจักรอยู่หลายครั้งในสมัยกรุงศรีอยุธยา ดังนี้
    * รัชสมัยสุลตอนมุศ็อฟฟัร ชาห์ (คศ.1530-1564) ได้เสด็จเยือนกรุงศรีอยุธยา แผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พระเจ้าช้างเผือก) (พ.ศ.2091-2111) โดยขบวนเรือของสุลตอนได้เคลื่อนออกจากปัตตานี เดินทางเลียบชายฝั่งทะเลจีน จนถึงอ่าวสยามแล้วแล่นเข้าสู่แม่น้ำเจ้าพระยาล่องขึ้นไปถึงท่าเรือกรุงศรีอยุธยา โดยมีพระยาพระคลังออกมาต้อนรับ แล้วนำเสด็จสุลตอนเข้าเฝ้าสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ

    ในระหว่างที่สุลตอนพำนักอยู่ในกรุงศรีอยุธยา พระองค์ได้รับการต้อนรับและการรับรองอย่างดีด้วยการจัดสถานที่พำนักในตำหนักไว้โดยเฉพาะ สุลตอนได้พำนักอยู่ในกรุงศรีอยุธยาประมาณ 2 เดือน ก็เสด็จไปบังคมลาสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เพื่อเสด็จนิวัติปัตตานีดารุสสลามในกาลนั้น สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้พระราชทานเชลยชาวพม่าจำนวน 60 คนและเชลยชาวลาวอีกจำนวน 100 คนเป็นกำนัลให้สุลตอน มุศ็อฟฟัร ชาห์นำกลับนครปัตตานีด้วย เมื่อสุลต่านเสด็จกลับถึงปัตตานีแล้ว พระองค์ทรงมีรับสั่งให้นำเชลยชาวพม่าไปไว้ที่หมู่บ้านกะดีเพื่อให้เลี้ยงช้าง ส่วนเชลยชาวลาวนั้นพระองค์ทรงมีรับสั่งให้ไปทำนาปลูกข้าวที่ ทุ่งปาเระใกล้ ๆ กับพระราชวังอิสตานะฮฺ นีลัมที่กรือเซะ (ปาตานีประวัติศาสตร์และการเมืองในโลกมลายู ; อารีฟีน บินจิ และคณะ (2550) หน้า 71-73)

    * รัชสมัยสุลตอนมันโซร์ ชาห์ (คศ.1564-1572) โอรสพระองค์ที่สามของสุลตอนอิสมาแอล ชาฮฺ ทรงมีพระดำริจะเจริญสัมพันธไมตรีกับกรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง จึงทรงมีบัญชาให้บรรดาขุนนางในราชสำนักร่วมประชุมคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมเพื่อไปเป็นราชทูต ในที่สุดบรรดาขุนนางได้มีมีติเลือกท่านวัน มุฮำมัด บิน ชีค ซ่อฟียุดดีน (ราญา ศรี ฟากีฮฺ) โดยสุลตอนมันโซร์ ชาห์ได้แต่งตั้งให้ท่านวันมุฮำมัด บิน ชีคซ่อฟียุดดีน เป็น “โอรัง กายอ สรี อาฆัร ดิ ราญอ” (Orang Kaya Seri Agar di Raja) เมื่อท่านวันมุฮำมัดฯ เดินทางไปถึงกรุงศรีอยุธยาก็ได้รับโปรดเกล้าฯให้เข้าเฝ้าสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช (พระสรรเพชญ์ที่ 1) (พ.ศ.2112-2133) และถวายสาส์นของสุลต่านปัตตานี ท่านวันมุฮำมัดฯได้พำนักอยู่ในกรุงศรีอยุธยาเป็นเวลา 2 วัน เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจแล้ว ท่านวันมุฮำมัดฯราชทูตก็เดินทางกลับสู่นครปัตตานีพร้อมด้วยพระราชสาส์นของสมเด็จพระมหาธรรมราชาไปถวายต่อสุลตานมันโซร์ ชาห์ (อ้างแล้ว หน้า 79)

    * รัชสมัยราญาอูงู (คศ.1624-1635) พระนางทรงเสด็จเยือนกรุงศรีอยุธยา ในเดือนสิงหาคม คศ.1641 ตรงกับแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ.2172-2199) เพื่อฟื้นฟูสันติภาพระหว่างนครปัตตานีกับสยาม (อ้างแล้ว หน้า 112)

    * รัชสมัยราญากูนิง (คศ.1635-1686) พระนางได้เสด็จเยือนกรุงศรีอยุธยา เพื่อฟื้นฟูราชไมตรีต่อกันอีกครั้ง

    จะเห็นได้ว่า การเสด็จเยือนกรุงศรีอยุธยาเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีของบรรดาผู้ครองนครรัฐปัตตานีดารุสสลามนั้นเกิดขึ้นอย่างน้อย 4 ครั้งในสมัยราชวงศ์ศรีวังสาซึ่งสิ้นสุดลงในรัชสมัยราญากูนิงเป็นเกร็ดประวัติศาสตร์ที่ถูกมองข้ามเนื่องจากถูกมายาคติเข้าครอบงำ มายาคติดังกล่าว คือ การพยายามสร้างบทบาทของตัวละครในประวัติศาสตร์ระหว่างสยามและปัตตานีว่ามีแต่การรบพุ่ง ทำสงครามกันตลอดเวลา โดยมีสยามเป็นผู้รุกรานแต่ฝ่ายเดียว กล่าวคือ เป็นผู้ร้ายตลอดกาล ทั้ง ๆ ที่ข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์หาเป็นเช่นนั้นไม่

    2. สงครามระหว่างสยาม-ปัตตานี ฝ่ายใดเริ่มต้นก่อน?
    หากถามคำถามนี้กับบรรดาเยาวชนมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ หรือแม้แต่กับบรรดา พี่น้องมุสลิมทั่วไปใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ก็อาจจะได้รับคำตอบว่า สิแย (สยาม) เป็นฝ่ายเริ่มต้นก่อน และถ้าถามถึงรายละเอียดต่อไปว่า สยามเริ่มทำสงครามและรุกรานปัตตานีดารุสสลามก่อนเมื่อใด? ก็อาจจะได้รับคำตอบว่า ก็ในรัชสมัยสุลตอนมุศ็อฟฟัร ชาห์นั่นเอง หรือไม่ก็ในรัชสมัยราญาฮิเญา โดยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำการรุกรานปัตตานีก่อน ทว่าหากเราย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์สยาม-ปัตตานี เราจะพบว่า ฝ่ายที่เริ่มก่อสงครามก่อนน่าจะเป็นฝ่ายของปัตตานีดารุสสลาม กล่าวคือ ปัตตานีในช่วงต้นราชวงศ์ศรีวังสานั้นมีความสัมพันธ์ฉันท์พันธมิตรกับสยาม (กรุงศรีอยุธยา)

    ดังที่มีเอกสารและพงศาวดารระบุว่า ในรัชสมัยสุลตอนมุศ็อฟฟัร ชาห์ (คศ.1530-1564) นั้น พระองค์เคยเสด็จเยือนกรุงศรีอยุธยาเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างสองอาณาจักร แต่ทว่าเมื่อลุสู่ปี พ.ศ.2106 พระเจ้าบุเรงนองของพม่า ได้ยกทัพเข้าโจมตีกรุงศรีอยุธยา ตรงกับแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พระเจ้าช้างเผือก) (พ.ศ.2091-2111) พม่าเข้ามาครั้งนั้นมีไพร่พลมากถึง 200,000 คน ทางกรุงศรีอยุธยาจึงมีหนังสือไปแจ้งยังนครรัฐที่เป็นพันธมิตรให้ช่วยยกทัพมาช่วยรบกับพม่า สุลตอนมุศ็อฟฟัร ชาห์แห่งปัตตานีดารุสสลามจึงได้นำกองทัพมลายูปัตตานีไปอยุธยาโดยขบวนเรือจำนวน 200 ลำ กำลังพลอีก 1,600 คน ในจำนวนนั้นเป็นสตรีเสีย 100 คน

    เมื่อกองทัพมลายูปัตตานีมาถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยา ปรากฏว่ากองทัพพม่าได้ล่าถอยออกไปเสียแล้ว เพราะสมเด็จพระมหาจักรพรรดิจำใจต้องยอมรับเป็นไมตรีต่อพม่า และสูญเสียช้างเผือกไป 4 เชือกพร้อมด้วยตัวประกันเอาไปไว้ที่กรุงหงสาวดี สุลตอนมุศ็อฟฟัร ชาห์ ได้นำกองทัพชาวมลายูเข้าไปพักในกรุงศรีอยุธยา ในระหว่างที่พักอยู่ในกรุงศรีอยุธยานั้นได้เกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างกองทัพมลายูปัตตานีกับกองทัพสยาม จึงได้เกิดการขัดแย้งขึ้นระหว่างกองทัพมลายูปัตตานีกับกองทัพสยาม จึงได้เกิดการสู้รบกันขึ้น สุลตอนปัตตานีนำทหารมลายูเข้ายึดพระราชวังของกษัตริย์สยามได้ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิจึงต้องเสด็จหนีไปที่เกาะมหาพราหมณ์ สุลตอนปัตตานียึดกรุงศรีอยุธยาได้ประมาณ 1 เดือน

    กษัตริย์สยามจึงส่งทหารเข้าไปสู้รบแย่งชิงกรุงศรีอยุธยาจากสุลตอนปัตตานีคืนมาได้ (ดูในปัตตานี ประวัติศาสตร์และการเมืองในโลกมลายู ; อาริฟีน บินจิ และคณะ หน้า 73-74) ปรามินทร์ เครือทอง ระบุว่า “………ครั้งหนึ่งสุลต่านเมืองปัตตานีถึงกับนำทหารรุกพระราชวังหลวงของกรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ซึ่งขณะนั้นสยามกำลังติดพันศึกอยู่กับหงสาวดี เหตุการณ์ปรากฏอยู่ในพระราชพงศาวดาร ฉบับหลวงประเสริฐฯ ดังนี้

    (ศักราช ๙๒๕) “ครั้งนั้นพระญาศรีสุรต่านพระญาตานีมาช่วยการเศิก พระญาตานีนั้นเปนขบถ แลคุมชาวตานีทั้งปวงเข้าในพระราชวังครั้นแล เข้าในพระราชวังได้เอาช้างเผือกมาขี่ยืนอยู่ ณ ท้องสนามแล้วจึงลงช้างออกไป ณ ทางตะแลงแกง แลชาวพระนครเอาพวงขึงไว้ต่อรบด้วยชาวตานีฯนั้นตายมาก แลพระญาตานีนั้นลงสำเภาหนีรอดไป” ส่วนในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ลงความไว้คล้ายกัน แต่มีรายละเอียดมากกว่า

    (ศักราช ๙๑๑) “ขณะนั้นพระยาตานีศรีสุลต่าน ยกทัพเรือหย่าหยับสองร้อยลำเข้ามาช่วยราชการสงคราม ถึงทอดอยู่หน้าวัดกุฎีบางกะจะ รุ่งขึ้นยกเข้ามาทอดอยู่ประตูไชย พระยาตานีศรีสุลต่านได้ทีกลับเป็นกบฏ ก็ยกเข้ามาในพระราชวัง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้าไม่ทันรู้ตัวเสด็จลงเรือพระที่นั่งศรีสักหลาดหนีไปเกาะมหาพราหมณ์และเสนาบดีมุขมนตรีพร้อมกันเข้าไปในพระราชวัง สะพัดไล่ชาวตานีแตกฉานลงเรือรุดหนีไป ฝ่ายมุขมนตรีทั้งปวงก็ออกไปเชิญเสด็จสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราช พระเจ้าช้างเผือกเสด็จเข้าสู่พระราชนิเวศมหาสถาน”

    พระยาตานีคนนี้คือ สุลต่านมุซาฟาร์ ชาฮฺ (Sulan Muzafar syah) พระราชโอรสของสุลต่านอิสมาเอล ชาฮฺ แต่เรื่องราวของพระองค์ในเอกสารของทางฝ่ายปัตตานีกล่าวไว้ต่างกัน คือ สุลต่าน มุซาฟาร์ ชาฮฺเคยเสด็จไปเชื่อมสัมพันธ์ไมตรีกับสยาม แต่ฝ่ายสยามต้อนรับไม่สมพระเกียรติ จึงเสด็จกลับปัตตานีด้วยความน้อยพระทัย ต่อมาเมื่อทราบว่าสยามติดพันสงครามอยู่กับหงสาวดี จึงยกทัพเข้าตีกรุงศรีอยุธยา บุกเข้าพระราชวังได้ แต่กษัตริย์สยามหนีออกมาทันไปหลบอยู่ที่เกาะมหาพราหมณ์ แล้วจึงรวบรวมกำลังเข้าตีตอบโต้ กองทัพปัตตานีต้องถอยร่นออกมาถึงปากอ่าว สุลต่านมุซาฟาร์ ชาฮฺ สิ้นพระชนม์ขณะยกทัพกลับพระศพถูกฝังไว้ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณปากอ่าว” (พญาตานีฯ ปรามินทร์ เครือทอง, รัฐปัตตานี ในศรีวิชัยฯ สำนักพิมพ์มติชน (2547) กรุงเทพฯ หน้า 305-306)

    การระบุว่า สุลต่านปัตตานีทรงน้อยพระทัย เนื่องจากฝ่ายสยามต้อนรับไม่สมพระเกียรติเมื่อครั้งเสด็จสู่กรุงศรีอยุธยาเพื่อเจริญสัมพันธไมตรี นั้นดูจะขัดกันกับเรื่องราวที่ระบุมาก่อนหน้านี้ว่า : ในระหว่างที่พระองค์พำนักอยู่ในกรุงศรีอยุธยา พระองค์ได้รับการต้อนรับและการรับรองอย่างดี และก่อนเสด็จกลับ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงพระราชทานเชลยชาวพม่าจำนวน 60 คน และเชลยชาวลาวอีกจำนวน 100 คนเป็นของกำนัล (ดูปัตตานี ประวัติศาสตร์และการเมืองในโลกมลายู อ้างแล้ว หน้า 72) ส่วนที่ว่ามาช่วยการศึกนั้นสอดคล้องกัน แต่ปัญหาอยู่ตรงที่ว่า เพราะอะไรจึงเกิดความขัดแย้งระหว่างกองทัพมลายูปัตตานีกับกองทัพสยามในระหว่างที่กองทัพมลายูปัตตานีเข้าสู่กรุงศรีอยุธยา เป็นเพราะกรุงศรีอยุธยากำลังอยู่ในช่วงอ่อนแอเนื่องจากเสียไพร่พลและทรัพย์สมบัติเป็นอันมากในการศึกกับพม่า

    อีกทั้งพระมหากษัตริย์ของสยามทรงสูญเสียพระเดชานุภาพในคราวเสียช้างเผือก 4 เชือกนั้นใช่หรือไม่ จึงทำให้สุลต่านปัตตานีคิดประทุษร้ายเป็นกบถเข้ายึดพระราชวังหลวง อย่างไรก็ตามสงครามยึดพระราชวังหลวงในครั้งนั้นย่อมถือเป็นการเริ่มก่อสงครามจากฝ่ายของปัตตานีก่อน ไม่ว่าจะมีสาเหตุมาจากกรณีใดก็ตาม นี่คือข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่จำต้องวิเคราะห์และพิจารณาอย่างเป็นกลาง ถึงแม้จะค้านกับความรู้สึกและการรับรู้ที่เคยถ่ายทอดกันมาก็ตาม ในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานได้ระบุว่า

    وَلاَ يَجْرِمَنَّكُمْ شَنَآنُ قَوْمٍ عَلَى أَلاَّ تَعْدِلُواْ اعْدِلُواْ هُوَ أَقْرَبُ لِلتَّقْوَى
    “และจงอย่าให้ความชิงชังที่มีต่อกลุ่มชนหนึ่งโน้มนำให้พวกท่านไม่มีความเป็นกลาง (เป็นธรรม) พวกท่านทั้งหลายจงมีความเป็นกลาง (เป็นธรรม) อันความเป็นกลางนั้นมันเป็นสิ่งที่ใกล้ชิดกับความยำเกรงเป็นที่สุด” (อัลมาอิดะฮฺ อายะฮฺที่ 8)
    3. ปัตตานีดารุสสลามในอดีตถูกสยามรุกรานแต่เพียงฝ่ายเดียวกระนั้นหรือ?
    ดูเหมือนว่า มายาคติที่แฝงอยู่ในความเข้าใจของผู้คนทั่วไป โดยเฉพาะผู้คนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งบางส่วนถูกปลูกฝังด้วยคำบอกเล่าถึงสงครามสยาม – ปัตตานีในอดีตว่า สยาม (กรุงศรีอยุธยา) เป็นผู้รุกรานและหมายยึดครองนครรัฐปัตตานีเป็นส่วนหนึ่งของตนมาโดยตลอดจนดูเป็นว่า ปัตตานีไม่มีคู่รักคู่แค้นใดนอกจากสยาม (สิแย) และคงจะเป็นเช่นนั้นเรื่อยไปจวบจนถึงวันโลกาวินาศ (วันกิยามะฮฺ) มายาคติเช่นนี้บ่มเพาะความชิงชังระหว่างคนนายูกับคนสิแยมาตราบจนทุกวันนี้ แต่ถ้าหากเราพิจารณาและศึกษาประวัติศาสตร์อย่างรอบด้านและถ้วน ทั่ว เราก็จะพบว่าข้อเท็จจริงอาจมิได้เป็นเช่นนั้นไปเสียทั้งหมด

    กล่าวคือผู้รุกรานปัตตานีหรือผู้สร้างความเสียหายในนครรัฐปัตตานี หาใช่ชาวสยามแต่เพียงกลุ่มชนเดียว ปัตตานีเองก็เคยรุกรานและเปิดศึกกับฝ่ายสยามก่อนเช่นกัน ดังกรณีเหตุการณ์ยึดพระราชวังหลวงในกรุงศรีอยุธยาของกองทัพชาวมลายูตานี ภายใต้การนำของสุลตอนมุศ็อฟฟัร ชาห์ซึ่งกล่าวถึงมาแล้วในเกร็ดความรู้ข้อที่ 2 นอกจากนี้ปัตตานีก็เคยยกทัพของตนเข้าโจมตีเมืองพัทลุงจนถึงเขตแดนนครศรีธรรมราช ในปีคศ.1631 ตรงกับรัชสมัยราญาอูงู (คศ.1624-1635) ในช่วงการศึกกับเมืองพัทลุงนี้ ฝ่ายปัตตานียังได้ยึดเรือสินค้าของสยามที่กำลังเดินทางผ่านน่านน้ำของปัตตานี เพื่อไปปัตตาเวีย (ชวา) พร้อมกับควบคุมลูกเรือของสยามซึ่งเป็นชาวญี่ปุ่น 7 คน พ่อค้าชาวฮอลันดา 2 คนอีกด้วย (ดูปัตตานี ประวัติศาสตร์และการเมืองในโลกมลายู อ้างแล้ว หน้า 106)

    เมื่อราชวงศ์ศรีมหาวังสา สิ้นสุดลงด้วยการสิ้นพระชนม์ของราญากูนิง อำนาจการปกครองปัตตานีได้ตกไปอยู่กับราญาสักตี หรือ สุลตอนมุฮัมมัดที่ 1 (คศ.1650-1662) แห่งกลันตัน ราญาสักตีได้นำกองทัพมลายูมุ่งไปทางทิศเหนือเข้าโจมตีเมืองสงขลาจนถึงพัทลุงและเขตแดนของเมืองนครศรีธรรมราช และยึดหัวเมืองดังกล่าวพร้อมด้วยตรังกานูเข้ามาไว้ในอำนาจแล้วประกาศจัดตั้งอาณาจักรปัตตานีเสียใหม่เป็นสหพันธรัฐปัตตานี (Patani Besar) อันประกอบด้วย กลันตัน ปัตตานี สงขลา พัทลุง และตรังกานู ราญาสักตี จึงเป็นปฐมกษัตริย์ปัตตานีที่ได้ก่อตั้งราชวงศ์ใหม่ ที่เรียกว่า “ราชวงศ์ราชาจึมบาล หรือ “Keluarga di Raja Jembal” (อ้างแล้ว หน้า 130)

    การทำสงครามยึดครองดินแดนชายขอบของสยาม โดยกองทัพมลายูปัตตานีรวมถึงกลันตันนั้นเป็นข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่ยืนยันว่า สงครามประเพณีระหว่างสองอาณาจักรนี้มิใช่เป็นการตั้งรับแต่ฝ่ายเดียว หากแต่เป็นการขับเคี่ยวกันจากทั้งสองฝ่าย ผลัดกันรุกผลัดกันรับ คราใดที่ฝ่ายหนึ่งอ่อนแอหรือมีปัญหาภายใน อีกฝ่ายหนึ่งก็จะใช้โอกาสและสถานการณ์ที่เป็นต่อในการแผ่แสนยานุภาพของตนเข้ายึดครองเขตแดนของปัจจามิตร นอกจากนี้การทำสงครามรบพุ่งระหว่างชาวมลายูด้วยกันเองในอาณาบริเวณแถบนี้ก็มีปรากฏอยู่หลายครั้งในประวัติศาสตร์เมื่อครั้งอดีต ดังเช่นในรัชสมัยสุลตอนมันโซร์ ชาห์ (Soltan Mansur Syah) (คศ.1564-1572) สุลตอนแห่งปาเล็มบัง (ชวา) ได้ส่งกองทัพเรือชวามีจำนวนกำลังพล 1 แสนคน นำทัพโดยกิไย บันดาร์ (Kiyai Bandar) เพื่อทำศึกยึดครองปัตตานี

    กองทัพเรือชวาได้สู้รบกับนครรัฐปัตตานีเป็นเวลา 5 วัน 5 คืน ก็ไม่สามารถยกพลขึ้นบกและเข้ายึดปัตตานีได้จึงต้องถอยทัพกลับสู่ปาเล็มบัง ต่อมาอีก 45 วันในเดือนถัดมา สุลตอนแห่งปาเล็มบัง จึงส่งกิไย กือลาซัง (Kiyai Kelasang) นำทัพกองเรือชวาเข้าทำศึกกับปัตตานีอีกครั้งโดยมีกำลังพล 1 แสนคน ในครั้งนี้พวกชวาสามารถยกพลขึ้นบกและเข้าประชิดกำแพงเมืองปัตตานีได้สำเร็จ แต่ก็ต้องถูกปืนใหญ่ของปัตตานียิงเข้าใส่จนทหารชวาล้มตายเป็นอันมาก ในที่สุดก็จำต้องล่าถอยกลับสู่ปาเล็มบัง (สุมาตรา) อีกครั้ง (อ้างแล้ว หน้า 78)

    ฝ่ายสุลตอนแห่งยะโฮร์เองก็มุ่งหมายจะรุกรานปัตตานีอยู่หลายครั้ง ในรัชสมัยราญาฮิเญา (คศ.1584-1616) ต่อมาในรัชสมัยราญากูนิง (คศ.1635-1686) ระหว่างปีคศ.1671-1679 ปัตตานีก็ทำสงครามรบพุ่งกันสิงขรานคร (สงขลา) ซึ่งเป็นรัฐมุสลิมชายขอบของสยามเช่นกัน เมืองเคดะห์ (ไทรบุรี) เองก็เคยถูกกองทัพของอาเจ๊ะ (จากตอนเหนือของเกาะสุมาตรา) เข้ารุกราน จนเป็นเหตุให้เจ้าเมืองเคดะห์พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ต้องลี้ภัยมาอยู่ที่ปัตตานี และต่อมาเจ้าเมืองเคดะห์ก็ได้สมรสกับสตรีชาวปัตตานีเป็นชายา จนเกิดพระธิดาที่ชื่อ ราญาเดวี ซึ่งปกครองปัตตานีในระหว่างปีคศ.1710-1719 (อ้างแล้ว หน้า 135) และในปีพ.ศ.2301 ลงฆอฟฟาร์ ได้นำนักรบจากเมืองระแงะ และรามันเข้าตีเมืองกลันตันในประวัติศาสตร์ เมืองกลันตันเรียกว่า ศึกกูบังลาบู ครั้งที่ 1 (ดูปาตานี ดารุสสลาม ; อาริฟีน บินจิ, ศูนย์วัฒนธรรมชายแดนภาคใต้ หน้า 73-77) ต่อมาในปีพ.ศ.2276 ลงฆอฟฟาร์บุตรพญาเมืองรามันได้นำทัพในศึกกูบังลาบูครั้งที่ 2 (เล่มเดียวกัน หน้า 82)

    จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์ข้างต้น ย่อมชี้ให้เห็นว่า สงครามที่เกิดขึ้นในนครรัฐปัตตานีและหัวเมืองมลายูในหลายครั้งก็เป็นการรบพุ่งเองระหว่างชาวมลายูกับชาวมลายูซึ่งเป็นภาวะทั่วไปสำหรับสงครามประเพณีในอดีตที่มักจะมีข้อบาดหมางระหว่างกันเองหรือไม่ก็เป็นการแผ่ขยายอำนาจเพื่อครอบครองดินแดนของนครรัฐใกล้เคียง สงครามที่รบพุ่งกันเองนี้มิได้มุ่งหมายว่าเป็นการทำสงครามศาสนาเป็นการเฉพาะ ทั้งนี้เพราะชาวมลายูส่วนใหญ่ตลอดจนนครรัฐที่อยู่ร่วมสมัยกับปัตตานีดารุสสลามในเวลานั้นส่วนใหญ่ได้เข้ารับอิสลามมาเป็นเวลานานแล้ว ทำนองเดียวกับการศึกสงครามที่เกิดขึ้นระหว่างนครรัฐในสุวรรณภูมิซึ่งล้วนแต่ถือในศาสนาพุทธเหมือนกัน ดังกรณีของสงครามระหว่างสยามกับพม่า, กัมพูชา และลาว ซึ่งต่างก็เป็นพุทธด้วยกัน มิหนำซ้ำการรบพุ่งระหว่างชาวพุทธในสุวรรณภูมิด้วยกันเองนั้นรุนแรงและเกิดขึ้นมากครั้งยิ่งกว่าการรบพุ่งระหว่างสยามกับปัตตานีเสียอีก

    สงครามประเพณีระหว่างสยามกับพม่านั้นกินเวลานับร้อยปีทีเดียว กล่าวคือเริ่มตั้งแต่ปีพ.ศ.2081 (ศึกเชียงกราน รัชสมัยพระไชยราชาธิราช) จนถึงปีพ.ศ.2148 ซึ่งเป็นช่วงแรกของการทำสงครามระหว่างกัน ส่วนช่วงหลัง ระหว่างปีพ.ศ.2302 ถึงปีพ.ศ.2310 (สงครามครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2) สมเด็จพระวันรัตวัดพระเชตุพนในรัชกาลที่ 1 ได้รจนาสภาพบ้านเมืองหลังสงครามครั้งเสียกรุงเมื่อปีพ.ศ.2310 ในหนังสือสังคีติยวงศ์ ว่า “บ้านเมืองอยู่ในสภาพไม่ต่างไปจากกาลกลียุค พระพุทธศาสนาตกต่ำจนพระภิกษุไร้อาหารที่เคยได้จากการออกบิณฑบาตต้อง “พากันสึกออกหาเลี้ยงชีพตามสติกำลัง” ส่วนพวกมิจฉาทิฐิทั้งหลายต่างชิงกันทำลายพระพุทธรูป พระธรรมวินัย และพระไตรปิฎกเพื่อยื้อแย่งเอาของมีค่าไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตน” (สังคีติยวงศ์ พระนคร : โรงพิมพ์ไท, 2466 หน้า 408-412, 423-424)

    สงครามก็คือสงคราม สงครามมิเคยปราณีผู้ใด ไม่ว่าจะเป็นศาสนิกชนในศาสนาเดียวกันหรือไม่ก็ตาม มุสลิมกับมุสลิม มลายูกับมลายู หรือพุทธกับพุทธก็มิได้รับการยกเว้นแต่อย่างใด แน่นอนหากการทำสงครามนั้นเกิดขึ้นระหว่างนครรัฐ และพลเมืองที่ถือศาสนาต่างกัน ความชอบธรรมก็มักจะเป็นข้ออ้างของทั้งสองฝ่ายเสมอในการปกป้องศาสนาและความเชื่อของฝ่ายตน ผลของสงครามที่หลีกเลี่ยงมิได้ ก็คือการสูญเสียกำลังพล ชีวิตและทรัพย์สินตลอดจนเกิดความระส่ำระสาย บ้านแตกสาแหรกขาด พลัดบ้านพลัดเมือง ในบรรยากาศเช่นนั้นความชิงชังและการอาฆาตพยาบาทในฝ่ายผู้สูญเสียและปราชัยย่อมเป็นปฏิกิริยาที่เกิดตามมาเป็นธรรมดา

    เราในฐานะเป็นอนุชนรุ่นหลังที่อ่านประวัติศาสตร์ก็คงต้องวิเคราะห์และใช้วิจารณญาณด้วยหลักของเหตุผลและความเป็นกลาง กรุงศรีอยุธยาก็แตกสลายไปแล้ว พม่าก็เสียเมืองและแปรเปลี่ยนไปแล้ว ในขณะเดียวกันปัตตานีดารุสสลามก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทยมาเนิ่นนานแล้ว สถานการณ์และวิถีทางการเมืองและรัฐศาสตร์ก็แปรเปลี่ยนไปแล้วเช่นกัน การตอกย้ำความชิงชังและเคียดแค้นระหว่างกันก็คงไม่มีประโยชน์อันใดอีกต่อไป

    คงถึงเวลาแล้วที่ชาวมลายูในบ้านนี้เมืองนี้ต้องกำหนดอนาคตและวิถีทางของตนว่าจะเอาอย่างไร จะรบราฆ่าฟันบนพื้นฐานของความชิงชังเคียดแค้นหรือจะปรับยุทธศาสตร์ในการต่อสู้เพื่อให้ได้สิทธิและเสรีภาพบนพื้นฐานของความเป็นพลเมืองไทยและสันติวิธีซึ่งเป็นวิถีแห่งอิสลามที่แท้จริง ทั้งนี้เพราะลูกหลานมลายูมุสลิมจะต้องดำรงอยู่ต่อไป สงครามและการประหัตประหารผู้บริสุทธิ์ที่เกิดจากน้ำมือของฝ่ายใดก็ตาม ย่อมมิใช่คำตอบและทางเลือกสุดท้าย ตราบใดที่โอกาสและสันติวิธียังคงสามารถขับเคลื่อนวิถีทางของผู้คนในบ้านนี้เมืองนี้ได้อยู่ มิได้หมดสิ้นหนทางไปเสียทั้งหมด


    وَمَن يَتَّقِ اللَّهَ يَجْعَل لَّه مَخْرَجاً
    “และผู้ใดที่เขายำเกรงต่อเอกองค์อัลลอฮฺ พระองค์จะทรงดลบันดาลทางออกให้แก่เขาผู้นั้น” (อัลกุรอาน)

    http://alisuasaming.org/main/?p=688

    ภาพจาก http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2006/12/K4950974/K4950974.html
     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,300
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือฯ ช็อกส่งออกม.ค. ติดลบถึง 5.7% จี้ธปท. ดูแลอัตราแลกเปลี่ยน วันที่ 5 มีนาคม 2562 - 13:01 น.

    0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%9A-696x392.jpg
    สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือฯ ช็อกการส่งออกในเดือนม.ค. 62 ติดลบถึง 5.7% จี้ธปท.กำกับดูแลอัตราแลกเปลี่ยน หวั่นกระทบความสามารถการแข่งขันและผู้ลงทุนอาจชะลอการลงทุน
    ช็อกส่งออกม.ค. ติดลบ 5.7% – น.ส.กัญญภัค ตันติพิพัฒน์พงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือสภาผู้ส่งออก เปิดเผยถึงสถานการณ์ส่งออกในขณะนี้ว่า การส่งออกในเดือนม.ค. 2562 ติดลบ 5.7% แม้ผู้ส่งออกจะรู้สึกช็อกแต่ก็เข้าใจว่า ปัจจัยลบที่เกิดขึ้นนั้นยากต่อการควบคุม ส่วนหนึ่งมาจากความผันผวนของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ที่กดดันให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น ซึ่งผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ทำให้ผู้ส่งออกไม่สามารถแข่งขันด้านราคา โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าที่ใช้วัตถุดิบจากภายในประเทศ โดยจากการคำนวณพบว่าทุกๆ 1 บาท ที่เงินบาทแข็งค่าขึ้น จะทำให้รายได้จากการส่งออก ลดลง 3% ขณะที่อัตราเติบโตของการส่งออกจะลดลง 1% ในทุกๆ การแข็งค่าขึ้น 1 บาท อย่างไรก็ตาม สรท. ร้องขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำกับดูแลอัตราแลกเปลี่ยนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกับประเทศคู่ค่า โดยหลังจากเข้าพบผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ก็เป็นที่น่ายินดีว่าเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อย

    ส่วนภาพรวมการส่งออกในปี 2562 แม้ว่ามูลค่าอาจจะต่ำกว่าปีที่แล้วแต่หากดูตัวเลขย้อนหลังก็เชื่อว่าจะไม่แย่มากนัก โดยสรท. ยังคงคาดการณ์การส่งออกปี 2562 ว่าจะโตที่ 5% บนสมมติฐานค่าเงินบาท 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

    [​IMG]
    อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงที่อาจเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการส่งออกของไทยประกอบด้วย 1. บรรยากาศการค้าโลก ความผันผวนของบรรยากาศการค้าโลกจากทั้งภาวะของสงครามการค้า และการเจรจา Brexit ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับสิทธิประโยชน์ทางการค้า และความไม่สงบระหว่างประเทศอินเดียและปากีสถาน ที่ส่งผลกระทบระยะสั้นต่อภาคการส่งออกและการขนส่งสินค้าทางอากาศ 2. ความผันผวนของค่าเงิน ที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันด้านการเสนอราคาที่ ซึ่งทั้งสองปัจจัยนี้จะทำให้ผู้ประกอบการมีความเสี่ยง และต้นทุนที่ต้องจัดการมากขึ้นขณะที่รายได้ในรูปของเงินบาทที่ลดลงทำให้ผู้ลงทุนอาจจะทบทวนการลงทุน

    https://www.khaosod.co.th/economics/news_2276045
     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,300
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Watchers

    #Lightning



    04/03/19
    ประเภทของฟ้าผ่าที่รู้จักมากที่สุด:
    สายฟ้าจากเมฆสู่โลก (อันตรายที่สุด)
    สายฟ้าจากดินสู่บนก้อนเมฆ (น้อยไปหามาก)
    เมฆฟ้าผ่าสู่เมฆ (ฟ้าแลบ)
    แสงแฟลช(ลูกบอลแห่งแสง)

    เครดิต Natural Disasters,@UmbraDeSol
    คลิป(พายุในควีนส์แลนด์,ออสเตรเลีย)
    #Watchers
     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,300
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เฮลิคอปเตอร์อิสราเอลโจมตีที่มั่นฮามาสในฉนวนกาซา
    โดย กองบรรณาธิการ-5 มีนาคม 2019
    066fe06e-a548-451a-8583-c12272b6183e.jpg
    แฟ้มภาพ By AFP
    เฮลิคอปเตอร์ของอิสราเอลโจมตีฐานของ “ฮามาส” ขบวนการต่อต้านแห่งปาเลสไตน์ในฉนวนกาซาที่ถูกล้อม เพรสทีวีรายงาน

    ทหารของรัฐบาลเทลอาวีฟกล่าวในแถลงการณ์เมื่อวันจันทร์ (4 มี.ค.) ว่า ที่มั่นของฮามาสสองจุดตกเป็นเป้าหมายโจมตีเพื่อตอบโต้ต่อการเปิดตัวล่าสุดของ “อุปกรณ์ลูกโป่งบรรจุระเบิด” จากกาซา

    “ช่อลูกโป่งที่บรรจุอุปกรณ์ระเบิดได้เปิดตัวจากฉนวนกาซาทางใต้” ไปยังอิสราเอล แถลงการณ์ระบุ

    อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ชาวปาเลสไตน์กล่าวว่า มีการยิงฐานสังเกตการณ์ทางทหารถึงสามครั้ง

    หลายชั่วโมงก่อนการโจมตีด้วยเฮลิคอปเตอร์ เครื่องบินรบของอิสราเอลได้เปิดปฏิบัติการโจมตีทางอากาศครั้งใหม่ต่อหนึ่งในฐานของฮามาสทางตะวันออกของเบต ฮานูน (Beit Hanoun) เมืองทางตะวันออกเฉียงเหนือของฉนวนกาซา

    ฮามาสกล่าวว่าอิสราเอลต้องรับผิดชอบต่อความผิดทั้งหมดที่เกิดขึ้นในพื้นที่ปิดล้อม

    การตอบสนองต่อการโจมตีทางอากาศครั้งล่าสุดหัวหน้าของฮามาส “อิสมาอีล ฮานีเยะห์” ได้เตือนนายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ของอิสราเอลว่า อย่าได้หาเรื่อง “ฝ่าอันตราย” ใดๆ ในฉนวนกาซาก่อนการเลือกตั้งของอิสราเอลในเดือนหน้า

    https://www.publicpostonline.net/24...G0EO1D408x1-fO2MlGPkHU8EfngHiC6s9ZrULDKRRwAck
     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,300
    ค่าพลัง:
    +97,150
    วารีวิทยา - Waree Witthaya
    53037415_382358152315160_6248423558725238784_n.jpg?_nc_cat=108&_nc_ht=scontent.fbkk7-3.jpg
    ปี 62 แล้งสุดในรอบ 30 ปี เหตุ “เอลนีโญ” ทำให้ฤดูร้อนมาเร็วกว่าทุกปี และปริมาณฝนน้อยกว่าปกติ
    เผยอีสานตอนล่าง 6 จังหวัดน่าห่วง แนะใช้น้ำอย่างประหยัด งดทำนาปรังรอบ2
    .
    .
    ภัยแล้งของไทย ปี 2562 ส่อรุนแรงกว่าปีที่ผ่านมา เหตุเพราะฤดูร้อนจากปรากฏการณ์ “เอลนีโญ” มาเร็วกว่าทุกปี ขณะที่ปริมาณฝนตกลดลง ต่ำกว่าค่าปกติเฉลี่ยรอบ 30 ปี ร้อยละ 5 ทำให้ไม่มีน้ำลงเขื่อน
    .
    .
    ----- สรุป คาดการณ์สถานการณ์หน้าแล้ง ปี 62 -----
    .
    .
    เตือน 9 จังหวัดภาคเหนือ-กลาง มีน้ำใช้การได้แค่ร้อยละ 9 ทำให้น้ำอาจจะไม่เพียงต่อการทำเกษตร ได้แก่ อุทัยธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี นครสวรรค์ พิษณุโลก แพร่ สุโขทัย พิจิตร และกำแพงเพชร
    .
    .
    ส่วนภาคอีสานตอนล่างน่าห่วงสุด 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ชัยภูมิ ขอนแก่น และเลย เหตุเพราะไม่มีทั้งฝน และเขื่อนขนาดใหญ่เพื่อกักเก็บน้ำ
    .
    .
    แนะประชาชน ใช้น้ำอย่างประหยัด งดทำนาปรังรอบ 2
    .
    .
    ด้านนายกฯ ห่วงภัยแล้ง กำชับบริหารน้ำเร่งด่วน ตั้งศูนย์ฝนหลวง 5 ภูมิภาค 12 หน่วยปฏิบัติการปูพรม ทำฝนหลวง 1 มี.ค.-31 ต.ค.
    .
    .
    ที่มาข้อมูล : กรมอุตุนิยมวิทยา
    สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (สสนก.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

    #วารีวิทยา by #TRF
    #แล้ง #น้ำ #แล้งสุดในรอบ30ปี
    #ElNino #water #drought

     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,300
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ข่าวช่อง 8


    ขอนแก่น แก่งใหญ่ที่สุดเนื้อที่เกือบ 2 หมื่นไร่แล้งหนักรอบ 30 ปี

    ชาวบ้านขอนแก่นกังวล หลังอ่างเก็บน้ำแก่งละว้า อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น ปริมาณน้ำลดลง จนเหลือก้นอ่า งภายในรอบ 30 ปี หวั่นใช้ทำการเกษตร และอุปโภคบริโภคไม่เพียงพอ

    โดยชาวบ้าน บอกว่า ปกติระดับน้ำ จะไม่แห้งขอดมากแบบนี้ แต่ปีนี้ลดลงจนถึงก้นอ่าง จึงจำเป็นต้องหาสูบน้ำ ตามแหล่งน้ำที่พอเหลืออยู่บ้างเข้าไปที่นาของตน

    และเมื่อก่อนจะสูบน้ำช่วงเดียว ก็จะถึงที่นาตนแล้ว แต่ปีนี้ ต้องสูบน้ำเป็น 2 ช่วง เพิ่มรายจ่ายค่าน้ำมันเครื่องสูบน้ำขึ้นไปอีกเท่าตัว จาก 500 บาท เป็น 1 พันบาทต่อวัน

    ส่วนสาเหตุคิดว่า เป็นเพราะหน่วยงานราชการ เปิดประตูระบายน้ำทิ้งไว้ยาวติดต่อกันนาน 3 เดือน ป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ จนชาวบ้านรวมตัวไปขอร้อง เจ้าหน้าที่จึงหยุดการระบายน้ำ

    สำหรับอ่างเก็บน้ำแก่งละว้า ถือเป็นอ่างเก็บน้ำที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดขอนแก่น มีพื้นที่รวมเกือบ 2 หมื่นไร่ มีประชาชนได้ใช้ประโยชน์จากอ่างเก็บน้ำ 2 อำเภอ คือ อำเภอบ้านแฮด และอำเภอบ้านไผ่

    #ข่าวช่อง8 #น้ำแห้งขอด #อ่างเก็บน้ำแก่งละว้า

    Cr. ธนดล // ขอนแก่น
     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,300
    ค่าพลัง:
    +97,150
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,300
    ค่าพลัง:
    +97,150
    จีนประจำการเครื่องบินทิ้งระเบิด H-6 ที่ฐานทัพห่างไต้หวันเพียง450 กม.ก.กลาโหมไต้หวันขอให้ประชาชนวางใจ
    5 March, 2019 อัญชัน ทรงพุทธิ์ 3a585026baff9a6c4eff304cbfd6ce9a.jpg
    จีนประจำการเครื่องบินทิ้งระเบิด H-6 ที่ฐานทัพห่างไต้หวันเพียง 450 กม. ก.กลาโหมไต้หวันขอให้ประชาชนวางใจ

    กรณีที่ดาวเทียมของบริษัท ImageSat International (ISI) ถ่ายภาพการประจำการเครื่องบินทิ้งระเบิด H-6 ของจีนจำนวน 4 ลำที่ฐานทัพอากาศซิงหนิง ในมณฑลกวางตุ้ง ซึ่งอยู่ห่างจากเกาะไต้หวันเพียง 450 กม.และนำออกเผยแพร่ทางทวิตเตอร์เมื่อคืนวันที่ 4 มี.ค.ที่ผ่านมานั้น พลตรีเฉินจงจี๋ โฆษกกระทรวงกลาโหม ไต้หวันสาธารณรัฐจีนแถลงในวันที่ 5 มี.ค.นี้ว่า กระทรวงกลาโหมไต้หวันเฝ้าสังเกตการณ์ความเคลื่อนไหวของกองทัพจีนตลอด 24 ชม.ขอให้ประชาชนวางใจและเชื่อมั่นประสิทธิภาพในการสอดส่องข่าวกรองด้านการทหารของกองทัพไต้หวัน

    ทั้งนี้เครื่องบินทิ้งระเบิด H-6 ผลิตโดย Xian Aircraft Corporation (XAC) ซึ่งทำการลอกแบบมาจาก Tu-16 ของอดีตสหภาพโซเวียต โดยเริ่มทำการผลิตในจีนมาตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษ1960
    และเป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์หลักของกองทัพอากาศจีนมาตลอด


    https://th.rti.org.tw/news/view/id/...Qp6kcN89_uNdKg4xl6MlecoKhe9kcu4w99ZULCoSZa_kU
     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,300
    ค่าพลัง:
    +97,150
    อยากรู้เหมือนกันว่าคุณธนาธร นับถือศาสนาไหน แต่สำหรับผมก็นับถือทุกศาสนา แต่ไม่เห็นด้วยกับ นโยบายหาเสียงที่เอาทหารออกจากภาคใต้ รับชาวโรฮิญยาเข้ามาทำงานในประเทศไทย เพราะจะสร้างความเดือดร้อนให้กับผม ที่อาจจะสิ้นชาติ สิ้นแผ่นดิน โดยกองกำลังก่อการร้ายมุสลิมหัวรุนแรง ผมหวังว่าคุณธนาธร จะเปลี่ยนใจน่ะครับ


    นโยบายของพรรคอนาคตใหม่ของนายธนาธร เอาทหารออกจากภาคใต้, ส่งเสริมชาวอิสฺะลามเลี้ยงแพะ, รับชาวโรฮิญยาเข้ามาทำงานในประเทศไทย
    ----------------
    ที่มา : สุธีราช บุญเกิด


    53296985_2234542506805087_3047945596263464960_n.jpg?_nc_cat=104&_nc_ht=scontent.fbkk7-2.jpg


    53065778_2234542516805086_6556176824685035520_n.jpg?_nc_cat=107&_nc_ht=scontent.fbkk7-3.jpg


    53091907_2234542633471741_6286373606284853248_n.jpg?_nc_cat=109&_nc_ht=scontent.fbkk7-2.jpg

    53611090_2234542653471739_7989865701550587904_n.jpg?_nc_cat=105&_nc_ht=scontent.fbkk7-3.jpg
     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,300
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Clima Extremo 24

    อาร์เจนตินา



    สิ่งที่ทิ้งไว้เบื้องหลังพายุจากไป บ้านหลังนี้ หลังคาปลิวขึ้นไป ในเอสเปรันซา เมื่อวานนี้ตอนรุ่งเช้า
     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,300
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Clima Extremo 24


    บราซิล



    เมืองFlorianópolis / SC เต็มไปด้วยขยะทุกที่
     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,300
    ค่าพลัง:
    +97,150
    La nueva era de la tierra - respaldo

    #ด่วน

    IMG_0291.JPG

    เรือดำน้ำของอินเดียเข้าไปในน่านน้ำของปากีสถาน


     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,300
    ค่าพลัง:
    +97,150
    La nueva era de la tierra - respaldo


    # ด่วน



    เรือดำน้ำของอินเดียเข้าสู่น่านน้ำของปากีสถานในไม่กี่นาที หลังจากการปะทะกันระหว่างกองทัพทั้งสองเริ่มต้น
     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,300
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students

    IMG_0292.JPG
    (Mar 5) จีนตั้งเป้าเศรษฐกิจปี 2019 โต 6 - 6.5% : นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีนกล่าวระหว่างรายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาลว่า จีนตั้งเป้าให้เศรษฐกิจจีนปี 2019 โต 6 - 6.5 % โดยปีนี้การพัฒนาเศรษฐกิจของจีนเผชิญกับสถานการณ์ที่ล่อแหลมมาก แต่การพัฒนาเศรษฐกิจในระยะยาวยังคงมีแนวโน้มที่ดีต่อไป ปีนี้ จีนจะเพิ่มการจ้างงานอีกกว่า 11 ล้านคน การสนับสนุนการจ้างงานนั้นถือเป็นนโยบายมหภาคที่มีความสำคัญในอันดับต้นๆของรัฐบาล


    Source: China Radio International


    เพิ่มเติม

    - Chinese premier: 'We must be fully prepared for a tough struggle' : https://www.cnbc.com/2019/03/05/china-economy-2019-growth-target-set-at-6percent-6point5percent.html

    - หลี่ เค่อเฉียงเผยรัฐบาลจีนเตรียมยกระดับการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาอย่างครอบคลุม: https://www.ryt9.com/s/iq29/2962981

    - รัฐบาลจีนตั้งเป้าลดการใช้พลังงานต่อตัวเลข GDP ลง 3% ในปี 2562: https://www.ryt9.com/s/iq30/2962976
     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,300
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สารเร่งลำไยระเบิดอีกแล้ว..ที่โปงน้ำร้อน จันทบุรี ฉีกร่างเจ้าสวนขาด2ท่อน กระเด็นไปไกลกว่า100เมตร

     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,300
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ฝากถึงคุณว่าที่ลูกเขย สงสารพ่อตาบ้าง ใครอยากสมัคร เก็บของมาเจอกัน คัดตัว 1 เมษายน นี้

     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,300
    ค่าพลัง:
    +97,150
    จอร์แดนอนุญาตให้สายการบินเปิดให้บริการเที่ยวบินผ่านน่านฟ้าซีเรียแล้ว หลังระงับไป 7 ปี
    https://www.publicpostonline.net/24104

     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,300
    ค่าพลัง:
    +97,150
    บ่าวน้อยและไม่เหลือน้อยทั่วไทยแห่สมัครขอเป็นเขยเศรษฐีเจ้าของล้งทุเรียน อ.หลังสวน จ.ชุมพร ซึ่งนอกจากจะมีหนุ่มๆแห่ส่งใบสมัครเป็นลูกเขยแล้ว ยังมีหญิงสาวทั้งสาวน้อยสาวใหญ่สาวจิ๊ดริ๊ด ต่างพากันโทรหาเสี่ยเจ้าของล้งทุเรียนเพื่อสมัครเป็นเมียน้อย ตลอดจนขอยืมเงินเสี่ยอีกด้วย

    จากกรณี นายอานนท์ รถทอง เศรษฐีเจ้าของล้งทุเรียนใน อ.หลังสวน จ.ชุมพร ได้ประกาศตามหาผู้ชายเพื่อเป็นคู่ชีวิตให้ลูกสาว แถมยังบอกอีกว่าไม่ต้องนำเงินหรือหาสินสอดทองหมั้นใดๆ มาให้ ขอเพียงแค่รักลูกสาวตนจริงและดูแลธุรกิจทุเรียนให้มั่นคง จะมอบเงินให้ 10 ล้านบาท รถยนต์ 10 คัน บ้านอีก 1 หลัง เป็นรางวัลด้วย ทำเอาหนุ่มเล็กหนุ่มใหญ่หลายคนร่อนใบสมัครกันยกใหญ่

    ที่มา http://news.ch3thailand.com/online-social/89459

     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,300
    ค่าพลัง:
    +97,150
    กองทัพเรือปากีสถานแถลงการณ์ตรวจพบเรือดำน้ำอินเดียแต่สามารถสกัดกั้นและป้องกันการละเมิดน่านน้ำของปากีสถานได้ จากแถลงข่าวของโฆษกกองทัพเรือปากีสถาน นับเป็นครั้งที่2แล้วที่เรือดำน้ำอินเดียถูกตรวจจับได้ขณะกำลังล่วงล้ำเข้าพื้นที่ของปากีสถานในเดือนพฤศจิกายน 2016 เหตการณ์ในครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่3มีนาคมที่ผ่านมา โดยกองทัพเรือปากีสถานแสดงหลักฐานเป็นภาพจากกล้องบนอากาศยานลาดตระเวณจับภาพของกล้องเปอริสโคปของเรือดำน้ำที่ยกขึ้นเพื่อทำการตรวจการณ์ด้วยสายตาได้ จากนั้นจึงใช้กระบวนการแจ้งเตือนเพื่อให้เรือดำน้ำที่พวกเขาพิสูจน์ทราบว่าเป็นของอินเดียถอยห่างออกจากน่านน้ำของปากีสถาน
    https://www.newsone.tv/pakistan-new...an-submarine-cripples-enemy-plans-to-sneak-in

     

แชร์หน้านี้

Loading...