ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Clima Extremo 24


    อาร์เจนตินา



    ช่วงวินาทีที่ประตูระเบิด (microexplosion) เข้าไปในอาคารและทำให้เกิดความเสียหาย ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัส


    รูปภาพของพายุที่รุนแรงซึ่งฟาดลงมาในบ่ายวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ที่ซึ่งคนงานพยายามปิดประตูห้องใต้ดินเพื่อป้องกันลม ทันใดนั้นลมแรงก็ทำให้เกิดการระเบิด สีเงิน
     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Clima Extremo 24

    อิตาลี



    พายุใน balata di marzameni ด้วยคลื่นที่ทำลายล้าง และลมกระโชกแรง

    ในภาคใต้ของจังหวัด siracusa พายุและลมแรงในวันนี้ ได้ทำให้เกิดความเสียหาย และความไม่สะดวกอย่างมาก: น้ำท่วม balata di marzamemi (pachino) กับลมของมากกว่า 50 กม. ต่อชม.
     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Clima Extremo 24

    มอลตา



    พายุที่รุนแรงที่ Bugibba Promenade, Malta ในเวลาท้องถิ่น 24 กุมภาพันธ์
     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Clima Extremo 24


    ชิลี



    ไฟป่าขนาดใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อ Cerro San Cristóbal


    ในช่วงกลางคืนของวันอาทิตย์นี้ แจ้งเตือนไฟป่ากับผู้อยู่อาศัยของ Cerro San Cristobal เปลวไฟสามารถเห็นได้จากจุดต่าง ๆ ของเมืองหลวง


    เหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบทางด้านตะวันตกของเนินเขาและจนถึงปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุ


    เนื่องจากไฟไหม้จากสวนสาธารณะนครหลวงพวกเขาบอกว่าพวกเขาเริ่มการอพยพในสวนสัตว์เชิงป้องกัน
     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Clima Extremo 24


    บราซิล



    ช่วงเวลาของการมาถึงของพายุที่รุนแรงที่โจมตีเซาเปาโล, Basil 23 de Feb.
     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Clima Extremo 24


    เอกวาดอร์



    พายุกับลมแรงในบ่ายวันนี้ที่จิปิจาปา, มานาบี เอกวาดอร์
     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Clima Extremo 24


    แคนาดา



    ลมกระโชกแรงที่ความเร็ว 128 กม. / ชม. ทำให้เกิดทะเลสาบอีรีในพอร์ตคอลบอร์น รัฐออนแทรีโอ ประเทศแคนาดาล้นออกมา และทำให้เกิดน้ำท่วมโดย

    สึนามิน้ำแข็ง 24 ก.พ.
     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Clima Extremo 24


    สหรัฐอเมริกา



    ลมแรงที่ 128 กม. / ชม. ทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงต่อสิ่งก่อสร้างรอบๆ น้ำตกไนแองการา, นิวยอร์ก 24 ก.พ.
     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Clima Extremo 24


    สหรัฐอเมริกา



    ลมแรงเสาไฟ สายไฟตกลงมา และทำให้ชาวบ้านไม่มีแสงสว่าง ในบริเวณรอบๆ น้ำตกไนแองการ่า นิวยอร์ก 24 ก.พ.
     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Clima Extremo 24

    อินโดนีเซีย



    น้ำท่วมครั้งรุนแรงในปาปัว, จายาปุระแลนด์ (Jayapura landa)เขต 3 เนื่องจากฝนตกหนักที่ส่งผลกระทบต่อ 1,300 ครอบครัว และครอบครัวเหล่านี้ ต้องอพยพออกไป ไม่มีผู้เสียชีวิต
     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    แผ่นดินไหวขนาด 1.9
    CFBE7B44-600B-4B12-AAD5-5852B89370E6.jpeg
    ภูมิภาค อ.แม่ลาว จ.เชียงราย Amphoe MaeLao, ChiangRai

    เวลา 2019-02-25 11:16:01 ตามเวลามาตรฐาน UTC

    2019-02-25 18:16:01 ตามเวลาประเทศไทย พ.ศ. 2562

    Epicenter 19.78°N , 99.71°E


    http://www.earthquake.tmd.go.th/inside-info.html?earthquake=5609
     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    แผ่นดินไหวจังหวัดลำปาง ครั้งที่ 49 ขนาด 2.6
    98B6098D-B3D6-4A69-9456-91D5D71FC8D8.jpeg
    ภูมิภาค อ.วังเหนือ จ.ลำปาง Amphoe WangNuea,Lampang

    เวลา 2019-02-25 12:18:57 ตามเวลามาตรฐาน UTC

    2019-02-25 19:18:57 ตามเวลาประเทศไทย พ.ศ. 2562

    Epicenter 19.24°N , 99.61°E

    http://www.earthquake.tmd.go.th/inside-info.html?earthquake=5610
     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    China Report ASEAN - Thailand


    ซาอุดิอาระเบียบรรจุวิชา ‘ภาษาจีน’ เรียนทุกโรงเรียน ทุกมหาวิทยาลัย

    .

    มกุฎราชกุมารโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน แห่งซาอุดิอาระเบีย เสด็จเดินทางเยือนกรุงปักกิ่งของจีน และทรงพบปะพูดคุยหารือกับนายสี จิ้นผิง ผู้นำจีน ณ มหาศาลาประชาชน เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

    .

    การเสด็จเยือนครั้งนี้ นอกจากจะทรงมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างมิตรภาพ ความร่วมมือ และความเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างซาอุดิอาระเบีย-จีนแล้ว อีกหนึ่งข้อตกลงอันน่ายินดีคือ ซาอุฯเห็นพ้อง บรรจุวิชาภาษาจีนกลางลงในหลักสูตรการเรียนการสอนทุกระดับชั้นของโรงเรียนและมหาวิทยาลัยในซาอุดิอาระเบีย

    .

    มกุฎราชกุมารโมฮัมเหม็ดทรงตรัสว่า ภาษาจีนจะช่วยขยายความหลากหลายทางวัฒนธรรมของนักเรียนนักศึกษาในซาอุฯ ภาษาจีนจะมีส่วนเกื้อหนุนการบรรลุเป้าหมายระดับชาติด้านการศึกษา และเพิ่มโอกาสในการทำงานแก่ประชาชนชาวซาอุฯอีกด้วย

    .

     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students

    IMG_9971.JPG
    (Feb 25) จับตาซัมมิต 'ทรัมป์-คิม' จบ 70 ปีสงครามเกาหลี : อีกเพียงแค่ 2 วัน ก็จะถึงการประชุมใหญ่ที่ทั่วโลกต้องจับตามองอีกครั้งกับการประชุมสุดยอดระหว่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐ และผู้นำสูงสุดเกาหลีเหนือ คิมจองอึน ซึ่งจะเปิดฉากขึ้นที่กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ในวันที่ 27-28 ก.พ.นี้ เพื่อหารือเรื่องการปลดนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือและนำพาสันติภาพมาสู่คาบสมุทรเกาหลี



    การประชุมซัมมิตครั้งแรกที่สิงคโปร์อาจยังเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นที่หลายฝ่ายยังไม่ถึงกับตั้งความหวัง แต่นั่นไม่ใช่กับครั้งนี้ที่หลายฝ่ายจับตาว่าจำเป็นต้องมีผลการประชุมที่เป็นรูปธรรมบางอย่าง เพื่อไม่ให้เป็นเพียงแค่ละครฉากใหญ่ของโลกเท่านั้น



    นิวยอร์กไทมส์และเอพีรายงานอ้างแหล่งข่าวว่า สหรัฐกำลังพิจารณาข้อเสนอที่ทรัมป์สามารถเสนอให้คิมเพื่อเป็นแรงจูงใจให้ปลดอาวุธนิวเคลียร์ โดยข้อเสนอที่อยู่ในการพิจารณา ได้แก่ "การแลกเปลี่ยนศูนย์ประสานงานกับเปียงยาง" และ "การประกาศสิ้นสุดสงครามเกาหลี ที่ยืดเยื้อมาตั้งแต่ปี 1950-1953 อย่างเป็นทางการ"



    การทำข้อตกลงสันติภาพเพื่อยุติสงครามอย่างเป็นทางการนั้น เป็นภารกิจที่เกาหลีเหนือใฝ่ฝันมาตั้งแต่ยุคิมอิลซอง ผู้นำสูงสุดคนแรก และจะเป็นจุดสิ้นสุดสงครามเกาหลีที่แท้จริง จากเดิมที่เป็นเพียงรูปแบบข้อตกลงหยุดยิง หรือ "ความตกลงการสงบศึกเกาหลี"(Korean Armistice Agreement) ที่เกาหลีเหนือจีนและสหรัฐในนามกองบัญชาการสหประชาชาติลงนามไว้เมื่อปี 1953



    รายงานระบุว่า การทำข้อตกลงสันติภาพอาจนำไปสู่การผ่อนมาตรการคว่ำบาตรเกาหลีเหนือ และการปรับลดจำนวนทหารสหรัฐในเขตปลอดทหารทางตอนใต้ อีกทั้งจะเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับคิม ในช่วงที่เปียงยางพยายามปรับเปลี่ยนจากการเน้นการทหารไปเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตและปรับเศรษฐกิจให้ทันสมัย แต่ทั้งหมดนี้ก็ยังไม่ใช่เรื่องง่ายเช่นกัน โดยเฉพาะประเด็นการคงทหารกับระบบต่อต้านขีปนาวุธเอาไว้ในเกาหลีใต้



    ก่อนหน้านี้ ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐและเกาหลีเหนือเคยมีแนวโน้มว่าจะดีขึ้น เมื่อรัฐบาลสหรัฐยุคประธานาธิบดี บิล คลินตัน บรรลุข้อตกลงสันติภาพบนคาบสมุทรเกาหลีในปี 1993 และ 2 ปีต่อมา ทั้งสองชาติให้คำมั่นว่าจะลดอุปสรรคด้านการค้าและการลงทุน เช่นเดียวกับการเปิดศูนย์ประสานงานในเมืองหลวงของทั้งสองชาติ และยกระดับความสัมพันธ์ทางการทูต



    ทว่าความสัมพันธ์กลับมาตึงเครียดอีกครั้ง หลังประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู. บุช กล่าวโจมตีเกาหลีเหนือว่าเป็น "อักษะแห่งปีศาจ" (axis of evil) ในปี 2002 ก่อนที่เปียงยางจะทดสอบนิวเคลียร์ครั้งแรกในปี 2006



    เสนอช่วยเหลือเศรษฐกิจ



    ทำเนียบประธานาธิบดีเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า ประธานาธิบดี มุนแจอิน ได้เปิดเผยกับทรัมป์ระหว่างการพูดคุยทางโทรศัพท์เมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า เกาหลีใต้พร้อมจะเสนอช่วยเหลือเรื่องเศรษฐกิจให้เกาหลีเหนือเป็นหนึ่งในข้อเสนอให้เปียงยางลดนิวเคลียร์ เช่น การรื้อโครงการเชื่อมต่อรางรถไฟและถนนระหว่างเกาหลี เช่นเดียวกับโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจด้านอื่นๆ เป็นส่วนหนึ่งของการช่วยลดภาระสหรัฐ



    ทั้งนี้ นับตั้งแต่ทรัมป์และคิม หารือกันครั้งแรกในเดือน มิ.ย.ปีที่แล้ว ที่สิงคโปร์ เกาหลีเหนือยังไม่มีความ คืบหน้าหลังการเจรจามากนัก โดยคิมและมุนได้จัดซัมมิตหลายครั้ง ทั้งยังให้คำมั่นเรื่องความร่วมมือต่างๆ ในทุกด้าน ตั้งแต่การลดความตึงเครียดบริเวณชายแดนไปจนถึงการเริ่มต้นความพยายามร่วมกันเสนอจัดเจ้าภาพโอลิมปิกเกมส์ 2032 ขณะที่คิมได้กล่าวในสุนทรพจน์ขึ้นปีใหม่ว่าต้องการให้เปิดเขตอุตสาหกรรมร่วมระหว่างเกาหลีในเมืองเกซองของเกาหลีเหนืออีกครั้ง เช่นเดียวกับการเปิดให้เกาหลีใต้สามารถท่องเที่ยวสู่ภูเขาคุมกังของเกาหลีเหนือ



    อย่างไรก็ดี โครงการทางเศรษฐกิจต่างๆ เช่น ทางรถไฟ การเปิดศูนย์อุตสาหกรรมร่วม และการเปิดให้นักท่องเที่ยวเกาหลีใต้เข้าเกาหลีเหนือ ยังคงไม่มีความคืบหน้า เนื่องจากสหรัฐยืนยันมาตลอดว่าจะไม่ผ่อนมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจของเกาหลีเหนือ จนกว่าจะมีความคืบหน้าที่ชัดเจนในการปลดนิวเคลียร์



    ทว่าผู้นำสหรัฐก็เริ่มแบ่งรับแบ่งสู้ โดยส่งสัญญาณเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่าพร้อมผ่อนปรนมาตรการคว่ำบาตรถ้าเปียงยางมีความคืบหน้าอย่างชัดเจนในการปลดอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งนับเป็นการส่งสัญญาณที่ชัดเจนที่สุดจากทรัมป์ ที่เชื่อว่าเกาหลีเหนือไม่ได้เล่นเกมซื้อเวลา


    ทีมข่าวต่างประเทศโพสต์ทูเดย์


    Source: Posttoday

    เพิ่มเติม

    - Trump and Kim May Declare End of War at Summit, South Korea Says : https://www.nytimes.com/2019/02/25/world/asia/trump-kim-jong-un-hanoi-summit.html
     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    1551096520117-960x0.jpg

    ทีวีรัสเซียระบุที่ตั้งทางทหารสหรัฐเป็นเป้าหมายนิวเคลียร์ ต่างประเทศ 25 ก.พ. 2019 19:08:45

    มอสโก 25 ก.พ.- สถานีโทรทัศน์ของทางการรัสเซียระบุรายชื่อที่ตั้งทางทหารของสหรัฐว่าจะเป็นเป้าหมายหากรัสเซียปฏิบัติการโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ และว่าขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียงที่รัสเซียกำลังพัฒนาอยู่นั้นจะสามารถถล่มเป้าหมายเหล่านี้ได้ในเวลาไม่ถึง 5 นาที

    นายดมิทรี คิเซลยอฟ ผู้ดำเนินรายการข่าวค่ำของสถานีโทรทัศน์รัสเซียเมื่อวันอาทิตย์แสดงแผนที่สหรัฐแล้วชี้เป้าหมายต่าง ๆ หลายจุดว่า จะถูกรัสเซียถล่มในกรณีที่เกิดสงครามนิวเคลียร์ เช่น กระทรวงกลาโหม บ้านพักประธานาธิบดีที่แคมป์เดวิด รัฐแมริแลนด์ ศูนย์ฝึกทหารฟอร์ตริตชีในรัฐแมริแลนด์ที่ปิดไปตั้งแต่ปี 2541 ฐานทัพอากาศแมคเคลเลนในรัฐแคลิฟอร์เนียที่ปิดไปในปี 2544 ฐานสื่อสารกองทัพเรือจิมครีกในรัฐวอชิงตัน นายคิเซลยอฟซึ่งสนิทสนมกับรัฐบาลรัสเซียกล่าวด้วยว่า เซอร์คอน ขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียงที่รัสเซียกำลังพัฒนาอยู่จะสามารถถล่มเป้าหมายได้ภายในเวลาไม่ถึง 5 นาทีหากยิงจากเรือดำน้ำ รัสเซียไม่ได้ขู่ แต่หากเกิดสถานการณ์ขึ้น รัสเซียก็จะตอบโต้อย่างทันที

    รายงานข่าวนี้มีขึ้นหลังจากประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูตินของรัสเซียกล่าวเมื่อหลายวันก่อนว่า กองทัพรัสเซียพร้อมรับมือกับวิกฤตแบบเดียวกับวิกฤตขีปนาวุธคิวบาหากสหรัฐต้องการให้เกิดขึ้น ความสัมพันธ์รัสเซีย-สหรัฐกลับมาตึงเครียดอีกครั้งเมื่อสหรัฐถอนตัวจากสนธิสัญญากองกำลังนิวเคลียร์พิสัยกลาง หรือไอเอ็นเอฟ (INF) ที่ทำไว้กับรัสเซียในปี 2530 โดยอ้างว่ารัสเซียละเมิดไอเอ็นเอฟหลายครั้ง สหรัฐเผยว่า ยังไม่คิดว่าประจำการขีปนาวุธในยุโรปและปัดคำเตือนของผู้นำรัสเซียว่าเป็นเพียงการโฆษณาชวนเชื่อ.-สำนักข่าวไทย

    https://www.tnamcot.com/view/Qo4XZa1
     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students

    (Feb 25) 3 คำถามยอดฮิตจากนักลงทุน : ปีนี้ต้องบอกว่า เป็นปีของความไม่แน่นอนคือมีหลายอย่างเกิดขึ้นทั้งในระดับประเทศและระดับสากล ที่กระทบการตัดสินใจของนักลงทุนและภาคธุรกิจอย่างสำคัญ เป็นความไม่แน่นอนก็เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นไม่มีใครสามารถบอกได้ว่าจะจบหรือลงเอยอย่างไร ในระดับเศรษฐกิจโลก ความไม่แน่นอนสำคัญคือความไม่แน่นอนด้านนโยบาย เช่นกรณีสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐ ว่าจะจบอย่างไรและจบเมื่อไร กรณีความเป็นหนี้ของรัฐบาลสหรัฐว่าจะสามารถปรับเพิ่มเพดานก่อหนี้สาธารณะได้หรือไม่ เพราะถ้าไม่สามารถกู้เงินใหม่ได้ การให้บริการต่างๆ ของภาครัฐในสหรัฐก็ต้องหยุด ซึ่งจะกระทบเศรษฐกิจมาก ที่อังกฤษก็มีกรณี Brexit ที่ยังหาทางออกไม่ได้ว่าจะยุติอย่างไร นอกจากนี้ก็มีเรื่องการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ที่ไม่ชัดเจนว่ารัฐบาลจีนจะใช้อัตราแลกเปลี่ยนเป็นเครื่องมือแก้ไขปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจหรือไม่ สิ่งเหล่านี้คือความไม่แน่นอนที่กระทบการตัดสินใจของนักลงทุนและภาคธุรกิจอย่างสำคัญ กระทบการไหลเข้าออกของเงินทุนต่างประเทศ กระทบเศรษฐกิจและผลตอบแทนต่อการลงทุน

    สำหรับประเทศไทย เราเองก็มีความไม่แน่นอนมากปีนี้ ทั้งผลที่จะมีต่อเศรษฐกิจจากความไม่แน่นอนในต่างประเทศอย่างที่กล่าว และจากภายในประเทศเองที่ปีนี้เราจะมีการเลือกตั้ง ซึ่งก็มีคำถามว่าสถานการณ์และการเปลี่ยนผ่านของการเมืองในประเทศจะมีผลต่อเศรษฐกิจของประเทศอย่างไร และนโยบายเศรษฐกิจของประเทศจะเป็นอย่างไร หลังการเมืองในประเทศมีการเปลี่ยนแปลง เป็นคำถามที่ทั้งภาคเอกชนและนักลงทุนอยากรู้ อยากเข้าใจถึงความเป็นไปได้ของผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

    สองอาทิตย์ที่ผ่านมาต้องบอกว่าเป็นสองสัปดาห์ที่ผมได้มีโอกาสพูดคุยกับนักลงทุนมากที่สุดตั้งแต่เริ่มปีนี้ ทั้งนักลงทุนต่างประเทศและในประเทศ ที่ต้องการทราบความเห็นผมเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจและการเมืองของประเทศปีนี้

    ที่น่าสังเกตคือสิ่งที่นักลงทุนอยากรู้ ทั้งนักลงทุนในประเทศหรือต่างประเทศ ไม่แตกต่างกันเลย และที่ถูกถามมากก็มี 3 เรื่อง 1.ผลกระทบของสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐต่อเศรษฐกิจไทย 2.ผลกระทบของการเลือกตั้งและการเมืองในประเทศที่จะมีต่อเศรษฐกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และ 3.ทิศทางค่าเงินบาทจากที่เงินบาทได้แข็งค่ามาก คือแข็งค่าไปแล้ว 4.7 เปอร์เซ็นต์ ช่วง 2 เดือนแรกของปี นักลงทุนอยากทราบว่าแนวโน้มต่อไปจะเป็นอย่างไรและจะมีผลต่อเศรษฐกิจอย่างไร นี่คือ 3 คำถามที่ถูกถามมากช่วงสองอาทิตย์ที่ผ่านมา ซึ่งก็ได้ให้ความเห็นไปเท่าที่จะตอบได้ วันนี้จึงอยากจะนำความเห็นของผมในทั้ง 3 ประเด็น มาแชร์ให้แฟนคอลัมน์ "เศรษฐศาสตร์บัณฑิต" ทราบ

    เรื่องแรก ผลกระทบของสงคราม การค้าต่อเศรษฐกิจ ผลที่จะเกิดขึ้นจะมีทั้ง ผลทางตรงที่ประเทศคู่กรณี ทั้งจีนและสหรัฐจะหยุดซื้อสินค้าจากไทยหรือเราจะส่งออกไปทั้ง 2 ประเทศนี้ได้น้อยลง เพราะเราอยู่ในห่วงโซ่อุปทานการผลิตของทั้ง 2 ประเทศ และผลทางอ้อมจากการชะลอตัวของการค้าทั่วโลกที่มีเหตุมาจากสงครามการค้า ในทั้ง 2 ผลกระทบนี้ถ้าดูตัวเลขการส่งออกของไทยช่วงไตรมาส 4 ปีที่แล้ว ซึ่งเป็นช่วงที่การกีดกันการค้าเริ่มมีผล การส่งออกของไทยในไตรมาส 4 หดตัว 1.6% จากระยะเดียวกันปีก่อน สะท้อนภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอและอุปสงค์ในตลาดโลกที่ชะลอจากมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐและจีน

    แสดงว่าผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยจากสงครามการค้ามีจริงและปฏิเสธไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ถ้าดูเฉพาะสินค้าบริการส่งออก ที่ไม่ได้ถูกกระทบโดยมาตรการกีดกัน การค้า เช่น การท่องเที่ยว จะเห็นว่าจำนวนนักท่องเที่ยวขยายตัวได้ดีถึง 7.7% ช่วงไตรมาส 4 ปีที่แล้ว ทำให้ภาพรวมของการส่งออกสินค้าและบริการของไทยยังไม่ได้ถูกกระทบมาก ซึ่งเหตุผลสำคัญก็มาจากการที่โครงสร้างการส่งออกของเรามีการ กระจายตัวดี ทั้งในประเภทของสินค้าและตลาด ที่ได้ช่วยลดความรุนแรงของผลกระทบ ที่เกิดขึ้น

    แต่ที่น่าห่วงมากกว่าคือ การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนที่จะกระทบการส่งออกของเราโดยตรง เพราะจีนเป็นประเทศคู่ค้าหลักของไทยในปัจจุบัน เทียบเคียงได้กับสหรัฐและยุโรป ถ้าปีนี้เศรษฐกิจจีนชะลอมากก็จะกระทบการส่งออกของเรามากตามไปด้วย อีกปัจจัยหนึ่งที่น่าห่วงคือค่าเงินบาท เพราะ ถ้าเงินบาทแข็งค่ามากก็จะกระทบความสามารถ ในการแข่งขันด้านราคาของการส่งออกของไทย ซึ่งในภาวะที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัว อุปสงค์การใช้จ่ายของโลกชะลอ ความสามารถ ในการแข่งขันจะสำคัญมากต่อการส่งออก แต่ของเราปีนี้ปัจจัยค่าเงินเป็นข้อจำกัดมากกว่า เป็นปัจจัยสนับสนุนจากที่เงินบาท ได้แข็งค่ามากกว่า 4% ไปแล้ว สูงกว่าประเทศคู่แข่งอื่นๆ เป็นส่วนใหญ่

    นอกจากนี้ถ้าสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐยืดเยื้อ บริษัทต่างประเทศที่ไปลงทุนสร้างโรงงานในจีนก็คงต้องปรับตัว ย้ายฐานการผลิตออกจากจีนไปประเทศอื่น เพื่อลดกระทบจากการขึ้นภาษีและมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐ เป็นที่เข้าใจกันว่าประเทศในกลุ่มอาเซียนรวมถึงไทยน่าจะได้ประโยชน์และมองกันว่า จะมีคลื่นการลงทุนจากต่างประเทศรอบใหม่ เข้ามาในอาเซียนที่เป็นผลจากการย้ายฐานการผลิตออกจากจีน ประเด็นนี้จะเป็นผลดี ต่ออาเซียน แต่ความสามารถของแต่ละประเทศในอาเซียนที่จะดึงฐานการผลิตเข้า ประเทศตนคงจะขึ้นอยู่กับ 3-4 ปัจจัย

    ที่สำคัญคือ ต้นทุนการผลิต ค่าเงิน คุณภาพของแรงงานที่ประเทศมี และความมีเสถียรภาพของการเมืองในประเทศ ดังนั้น ต้องตระหนักว่าไทยอาจจะสูญเสียความสามารถในการดึงดูดเงินลงทุนเหล่านี้เข้าประเทศไทยได้ ถ้าประเทศเรามีอัตราเงินเฟ้อสูง ถ้าเงินบาทของเราแข็งค่าเกินไป ประเทศเราขาดแรงงานที่มีคุณภาพ และการเมืองในประเทศไม่มีเสถียรภาพ

    อยากเรียนว่าประเด็นนี้นักลงทุน ต่างประเทศให้ความสำคัญมากเพราะมีผลโดยตรงต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ และมี นักลงทุนหลายคนแสดงความเป็นห่วงว่า ประเทศไทยอาจพลาดกระแสคลื่นการลงทุนลูกใหม่นี้ ถ้าไม่สามารถบริหารจัดการเงื่อนไขเหล่านี้ได้อย่างที่ควร โดยเฉพาะประเด็นเรื่องเสถียรภาพการเมือง

    เรื่องที่ 2 ที่นักลงทุนถามมากคือผล กระทบของการเลือกตั้งที่จะมีต่อเศรษฐกิจ ปีนี้ ซึ่งผมคิดว่าในระยะสั้น ตั้งแต่ช่วงหาเสียง ไปถึงการเลือกตั้ง ไปถึงการจัดตั้งรัฐบาล ไปถึงการแถลงนโยบาย จนถึงเริ่มบริหารประเทศในระบบรัฐสภา ช่วงเวลาเหล่านี้จะเป็นช่วงเวลาของความไม่ชัดเจนที่ทั้งนักลงทุน ต่างประเทศและนักธุรกิจในประเทศจะรอดู สถานการณ์ ไม่มีการลงทุนใหม่ใดๆ เพื่อรอดู ความชัดเจนว่าใครจะมาเป็นรัฐบาลและนโยบายของรัฐบาลใหม่จะเป็นอย่างไร ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวนี้อาจนานถึง 3 ไตรมาส คือถึงเดือน ส.ค.หรือ ก.ย.ปีนี้ ขณะเดียวกันรัฐบาลใหม่ก็ต้องเตรียมงบประมาณ ประจำปี สำหรับปีงบประมาณหน้าที่จะเริ่มในเดือน ต.ค.ปีนี้ ที่ควรต้องสอดคล้องกับนโยบายใหม่ที่รัฐบาลได้แถลงไว้ ทำให้จะใช้เวลาอีกนานก่อนที่รัฐบาลใหม่จะสามารถบริหารประเทศได้ตามนโยบายใหม่ที่ได้แถลงไว้ทำให้การขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลปัจจุบันในช่วง 7-8 เดือนข้างหน้า จะสำคัญต่อโมเมนตัมของเศรษฐกิจปีนี้ แต่ก็มีความเสี่ยงว่าการขับเคลื่อนนโยบายช่วง 7-8 เดือนแรกของปีนี้ โดยระบบราชการอาจหยุดชะงักตามการเปลี่ยนแปลงของการเมือง ผลคือช่วง 8-9 เดือนแรกของปีนี้หลายอย่างอาจหยุดนิ่ง ทำให้หลายสำนักเริ่มปรับลดประมาณการเศรษฐกิจของไทยปีนี้ลงให้ต่ำกว่าปีที่แล้ว ทำให้ปีนี้ในทางเศรษฐกิจจะเป็นปีของการรักษาฐานการเติบโตมากกว่าเป็นปีของการขยายตัว และหลังจากปีนี้ไป แนวโน้มเศรษฐกิจในปีต่อๆ ไปจะขึ้นอยู่กับนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามาบริหารประเทศ บวกกับความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจที่จะมีต่อนโยบายเศรษฐกิจและความมีเสถียรภาพของการเมืองในประเทศ



    คำถามที่ 3 ที่ยอดฮิตคือค่าเงินบาทที่เงินบาทแข็งค่ามากปีนี้เป็นการแข็งค่ามากที่สุดในรอบ 5 ปี และนักลงทุนอยากทราบว่า แนวโน้มค่าเงินบาทต่อไปจะเป็นอย่างไร ซึ่งเรื่องที่ตอบยาก เพราะส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับ ปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจ ขึ้นอยู่กับ แนวโน้มของค่าเงินดอลลาร์ และขึ้นอยู่กับท่าทีของภาคทางการไทยเอง ที่ต้องพิจารณาว่าการแข็งค่าของเงินบาทที่เกิดขึ้นเหมาะสม กับภาวะเศรษฐกิจของประเทศหรือไม่



    ในส่วนของปัจจัยพื้นฐาน การแข็งค่าของเงินบาทมาจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ที่เศรษฐกิจไม่มีการใช้จ่าย ไม่มีการลงทุน แต่มีการเติบโตของการส่งออกและการ ท่องเที่ยว ทำให้ประเทศมีรายได้จากเงินตราต่างประเทศ แต่ไม่มีการใช้จ่าย ดุลบัญชี เดินสะพัดจึงเกินดุล ส่งผลให้เงินบาทแข็งค่า ดังนั้น ตราบใดที่เศรษฐกิจเรายังขยายตัวไม่ได้มาก ภาคธุรกิจยังไม่ลงทุน แรงกดดันต่อค่าเงินบาทให้แข็งค่าก็จะมีต่อไป สวนทางกับเงินดอลลาร์ขณะนี้ที่เข้าสู่แนวโน้มการอ่อนตัว จากภาวะเศรษฐกิจสหรัฐที่เริ่มชะลอและแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐที่อาจจะไม่มีการปรับขึ้นอีก ส่งผลให้ค่าเงินบาทเทียบกับเงินดอลลาร์ยิ่งจะแข็งค่าได้ง่ายขึ้น และท้ายสุด เมื่อเงินบาทแข็งค่าและดูดีกว่าเงินสกุลอื่นๆ ในภูมิภาค เงินทุนต่างประเทศระยะสั้นก็ เข้ามาเก็งกำไรเพื่อหาประโยชน์จาก แนวโน้มดังกล่าว ส่งผลให้เงินบาทยิ่งแข็งค่ามากขึ้น ที่สำคัญแรงกดดันเหล่านี้คงจะมีต่อ ถ้าสัญญาณด้านนโยบายจากภาคทางการ ไม่แสดงความวิตกกังวลต่อแนวโน้มเงินบาท ที่แข็งค่ามาก ซึ่งจะสร้างแรงจูงใจให้เงินบาทยิ่งจะแข็งค่าต่อไป



    นี่คือ 3 คำถามยอดฮิตและคำตอบของ ผมที่ได้ให้ไป ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์


    คอลัมน์ เศรษฐศาสตร์บัณฑิต โดย ดร.บัณฑิต นิจถาวร

    ประธานมูลนิธินโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล

    bandid.econ@gmail.com


    Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

    http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/646650
     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    China Report ASEAN - Thailand


    มลพิษในอากาศของกรุงปักกิ่ง 'กลับมาสูงขึ้นอีกครั้ง'

    และนี่คือมาตรการเร่งด่วน!

    .

    สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา มลภาวะทางอากาศในกรุงปักกิ่งเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้ง ทำให้สำนักงานสิ่งแวดล้อมและนิเวศวิทยาประจำกรุงปักกิ่งต้องออกคำเตือนภาวะมลภาวะทางอากาศระดับสีส้ม ซึ่งหมายถึง ‘ระดับที่รุนแรง’

    .

    สำนักข่าว China Xinhua News รายงานว่า มาตรการที่กรุงปักกิ่งนำมาใช้ในทันทีมีมากมาย หนึ่งในนั้นคือ การขอให้บริษัทเดินรถประจำทาง Beijing Public Transport มีคำสั่งให้พนักงานขับรถประจำทางดับเครื่องขณะติดไฟแดง เพื่อลดการปล่อยไอเสีย

    .

    บริษัทเดินรถฯนั้นให้ความร่วมมือเต็มที่ อีกทั้งยังออกนโยบายสร้างแรงจูงใจให้พนักงาน ด้วยการกำหนดเงินรางวัลพิเศษให้พนักงานขับรถที่สามารถลดการใช้น้ำมัน เงินรางวัลนั้นเฉลี่ยอยู่ที่ 3-5% ของเงินเดือน

    .

    แม้จะเป็นมาตรการเร่งด่วน แต่ก็เป็นธรรมดาที่ชาวจีนในโลกโซเชียลจะแสดงความคิดเห็น ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แต่ส่วนใหญ่จะออกไปในเชิงไม่เห็นด้วยเสียมากกว่า

    .

    อาทิ มาตรการดับเครื่องขณะรถติดไฟแดงจะมีประสิทธิภาพจริงหรือ?? เปลี่ยนรถประจำทางเป็นรถพลังงานไฟฟ้าให้หมดเลยน่าจะดีกว่า!! มาตรการนี้ช่วยลดมลพิษได้มากเท่าไหร่ มีการคำนวณเป็นตัวเลขออกมาแล้วหรือยัง?!?

    .

     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ข่าวอาเซียน: จับกุมแม่บ้านอินโดนีเซียเผยแพร่คลิปกล่าวหาปธน.วิโดโดทรยศอิสลาม

    แม่บ้านชาวอินโดนีเซีย 3 คนถูกจับหลังจากเผยแพร่คลิปวีดิโอที่ให้ร้ายประธานาธิบดีโจโก วิโดโด ว่าหากเขาได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีอีกครั้ง จะสั่งห้ามการเรียกละหมาด และทำให้การแต่งงานของ LGBT ถูกกฎหมาย ซึ่งวิโดโดได้หลบเลี่ยงข้อกล่าวหาเกี่ยวกับคุณสมบัติความเป็นมุสลิมมาได้นานหลายปี แต่ข้อกล่าวหาก็ถูกรื้อฟื้นขึ้นอีกครั้งก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีในเดือนเมษายนที่จะถึงนี้

    https://www.tcijthai.com/news/2019/2/asean/8802

     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    คุณไม่อาจเข้าใจ “ไอซิส” ถ้าคุณไม่รู้ประวัติ “ลัทธิวะฮาบี” ในซาอุดิอาระเบีย!! โดย Ummul Shuhada - 28 พฤศจิกายน 2015
    isis-nuke-696x502.jpg
    เบรุต – การที่ดาอิช (ไอซิส) เข้ามาในประเทศอิรักได้สร้างความตกตะลึงให้กับหลายคนในตะวันตก หลายคนฉงน และหวาดกลัว กับความรุนแรงของมันและอำนาจดึงดูดที่ไอซิสมีต่อเยาวชนซุนนี แต่ยิ่งไปกว่านั้น พวกเขาพบว่าความสับสนของซาอุดิอาระเบียต่อหน้าเหตุการณ์นี้ที่ทั้งน่าหนักใจและอธิบายไม่ได้ พวกเขาสงสัยว่า “ซาอุดิอาระเบีย ไม่เข้าใจหรือว่าไอซิซก็เป็นภัยคุกคามกับพวกเขาด้วยเหมือนกัน?”

    เห็นได้ชัดว่า แม้กระทั่งถึงตอนนี้ คนชั้นปกครองของซาอุฯ แบ่งเป็นฝักฝ่าย บางคนยกย่องว่าไอซิสกำลังต่อสู้กับ “ไฟ” ของชีอะฮ์อิหร่านด้วย “ไฟ” ของซุนนี และรัฐใหม่ของซุนนีกำลังจะก่อตัวขึ้นตรงใจกลางของบริเวณที่พวกเขาถือว่าเป็นมรดกทางประวัติศาสตร์ของซุนนี และพวกเขากำลังถูกดึงดูดด้วยอุดมการณ์ซาลาฟีที่เคร่งครัดของดาอิช
    ชาวซาอุฯ บางส่วนกลับหวาดกลัว และนึกถึงประวัติศาสตร์ของการก่อกบฏต่ออับดุลอาซิซโดยกลุ่มวะฮาบีอิควาน (หมายเหตุ : อิควานในที่นี้ไม่เกี่ยวข้องใดๆ กับกลุ่มอิควาน ภราดรภาพมุสลิม การกล่าวถึงอิควานครั้งต่อๆ ไปในที่นี้หมายถึงกลุ่มวะฮาบีอิควาน ไม่ใช่กลุ่มอิควาน ภราดรภาพมุสลิม) ซึ่งเกือบจะเกิดความแตกแยกกันภายในลัทธิวะฮาบีและตระกูลอัล-ซาอูดในช่วงปลายยุค 1920s

    ชาวซาอุฯ จำนวนมากรำคาญใจกับหลักคำสอนแบบสุดโต่งของดาอิช(ไอซิส) และเริ่มจะตั้งคำถามต่อบางแง่มุมในการชี้นำและวาทกรรมของซาอุดิอารเบีย

    สองฝ่ายของซาอุดีอาระเบีย
    ความบาดหมางภายในและความตึงเครียดของซาอุดิอาระเบียเนื่องจากไอซิซสามารถทำความเข้าใจอย่างรู้ซึ้งถึงความเป็นสองฝักสองฝ่ายที่ฝังอยู่ในแกนของการวางทฤษฎีของซาอุฯ และต้นกำเนิดทางประวัติศาสตร์ของซาอุ

    เกลียวที่โดดเด่นเส้นที่หนึ่งในอัตลักษณ์ของซาอุฯ เกี่ยวข้องโดยตรงกับมุฮัมมัด อิบนฺ อับดุลวะฮาบ (ผู้ก่อตั้งลัทธิวะฮาบี) ซึ่งหลักการที่เคร่งจัดสุดโต่งของเขาถูกนำมาใช้โดยอิบนฺ ซาอูด (ซึ่งขณะนั้นไม่ได้เป็นมากไปกว่าผู้นำชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่งจากชนเผ่าเบดูอินมากมายหลายกลุ่มที่รบราฆ่าฟันกันอยู่ในทะเลทรายร้อนระดุทุระกันดานแห่งดินแดนนัจญด์)

    เกลียวเส้นที่สองของสองฝ่ายที่น่ามึนงงนี้ เกี่ยวข้องอย่างชัดเจนกับการเปลี่ยนให้เป็นรัฐของกษัตริย์อับดุลอาซิซในยุค 1920s การที่เขายับยั้งความรุนแรงของกลุ่มอิควาน (เพื่อให้มีที่ยืนทางการทูตในฐานะรัฐชาติกับอังกฤษและอเมริกา) และต่อมาก็ฉวยจังหวะการขึ้นลงที่เหมาะสมของปิโตรดอลล่าร์ในยุค 1920s เพื่อเป็นช่องทางในการส่งออกกระแสของกลุ่มอิควานออกไปจากบ้าน ด้วยการแพร่กระจายการปฏิวัติทางวัฒนธรรมแทนการปฏิวัติด้วยความรุนแรงไปทั่วโลกมุสลิม

    แต่การ “ปฏิวัติทางวัฒนธรรม” นี้ไม่ใช่แนวการปฏิรูปที่ว่าง่าย มันเป็นการปฏิวัติที่ได้มาจากความเกลียดชังต่อแนวคิดที่เห็นต่างของอับดุลวะฮาบ ดังนั้นเขาจึงเรียกร้องให้กวาดล้างความคิดนอกรีตทั้งหมดของอิสลามและการบูชารูปปั้น
    มุสลิมจอมปลอม

    นักเขียนและนักหนังสือพิมพ์ชาวอเมริกัน สตีเวน คอลล์ ได้เขียนถึงหลักการที่เคร่งครัดและช่างจับผิดของอิบนฺ ตัยมียะฮ์ นักวิชาการแห่งศตวรรษที่ 14 ว่าเขาดูหมิ่นเหยียดหยามอย่างไรต่อ “ชาวอียิปต์ที่มีมารยาท รักศิลปะ สูบบุหรี่ สูบกัญชา ตีกลอง และชนชั้นสูงชาวออตโตมานที่เดินทางข้ามดินแดนอาหรับเพื่อมาสวดมนต์ที่มักกะฮ์”

    ในทัศนะของอับดุลวะฮาบ พวกเขาเหล่านี้ไม่ใช่มุสลิม พวกเขาเป็นคนนอกรีดที่แสร้งทำตัวเป็นมุสลิม ที่จริงแล้วเขาก็ไม่พบว่าพฤติกรรมของชาวอาหรับเบดูอินพื้นเมืองจะดีกว่าสักเท่าใด พวกเขาทำให้อับดุลวะฮาบขัดเคืองใจด้วยการให้เกียรติแก่บรรดานักบุญ ตั้งป้ายหินบนสุสาน และ “การเชื่อโชคลาง” ของพวกเขา

    พฤติกรรมทั้งหมดนี้ อับดุลวะฮาบประณามว่าเป็น “บิดอะห์” (อุตริกรรม) ซึ่งพระเจ้าได้ทรงห้ามไว้ เช่นเดียวกับตัยมียะฮ์ก่อนหน้าเขา อับดุลวะฮาบเชื่อว่าช่วงเวลาที่ศาสดามุฮัมมัดอยู่ในมะดีนะฮ์เป็นสังคมมุสลิมในอุดมคติ ที่มุสลิมทุกคนควรปรารถนาที่จะลอกเลียนแบบ (นี่คือแนวคิดซาลาฟี)

    ตัยมียะฮ์ได้ประกาศสงครามกับชีอะฮ์ ซาลาฟี และปรัชญากรีก เขาพูดต่อต้านการไปเยือนสุสานของท่านศาสดาและการฉลองวันประสูติของท่าน โดยประกาศว่าการปฏิบัติเช่นนั้นเป็นการลอกเลียนแบบการเทิดทูนบูชาพระเยซูเสมือนพระเจ้าของชาวคริสต์ อับดุลวะฮาบรับเอาคำสอนทั้งหมดเหล่านี้มายึดถือ โดยระบุว่า “การสงสัยหรือลังเลใจใดๆ” ของผู้ศรัทธาในการยอมรับการอธิบายศาสนาอิสลามแบบนี้จะทำให้ “เขาไม่มีความปลอดภัยในทรัพย์สินและชีวิตของเขา”

    หลักการสำคัญอย่างหนึ่งจากคำสอนของอับดุลวะฮาบได้กลายเป็นแนวคิดสำคัญของการ “ตักฟีร” (การวินิจฉัยผู้อื่นว่าเป็นผู้ปฏิเสธ) ภายใต้หลักคำสอนตักฟิรีนี้ อับดุลวะฮาบและสาวกของเขาสามารถคิดว่า มุสลิมคนอื่นๆ เป็นผู้ละทิ้งศาสนาได้ ถ้าหากว่าพวกเขาเข้าร่วมในกิจกรรมที่อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นการล่วงละเมิดอำนาจสูงสุดของผู้มีอำนาจเบ็ดเสร็จ (นั่นก็คือ กษัตริย์)

    อับดุลวะฮาบประณามมุสลิมทุกคนที่ยกย่องให้เกียรติแก่คนตาย นักบุญ หรือเทวทูต เขาถือว่าเป็นการหันเหออกไปจากการยอมจำนนโดยสิ้นเชิงที่จะต้องรู้สึกต่อพระเจ้าองค์เดียวเท่านั้น อิสลามสายวะฮาบีจึงห้ามการขอพรแก่นักบุญหรือคนตาย การไปแสวงบุญที่สุสานหรือมัสยิดพิเศษ เทศกาลทางศาสนาที่ฉลองแก่นักบุญ การเทิดเกียรติแก่วันประสูติของศาสดามุฮัมัด และห้ามแม้กระทั่งการใช้แผ่นหินจารึกที่หลุมฝังศพเมื่อมีการฝังผู้ตาย

    “เขาเขียนว่า ผู้ที่ไม่ทำตามความเห็นนี้จะต้องถูกฆ่า ภรรยาและลูกสาวของพวกเขาจะถูกล่วงละเมิด และทรัพย์สินของพวกเขาจะถูกยึด”

    อับดุลวะฮาบสั่งให้ทำไปตามนั้น ทำตามคือการแสดงออกทางกายและให้เห็นเด่นชัด เขาให้เหตุผลว่า มุสลิมทุกคนจะต้องให้สัตยาบรรณแก่ผู้นำมุสลิมคนหนึ่ง(คอลิฟะฮ์) เป็นรายบุคคล เขาเขียนว่า ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตาความเห็นนี้จะต้องถูกฆ่า ภรรยาและลูกสาวของพวกเขาจะถูกล่วงละเมิด และทรัพย์สินของพวกเขาจะถูกริบ ผู้ละทิ้งศาสนาที่สมควรตายนั้นประกอบด้วย ชีอะฮ์ ซูฟี และมุสลิมสายอื่นๆ ที่อับดุลวะฮาบไม่ถือว่าเขาเป็นมุสลิม

    ตรงจุดนี้ไม่มีอะไรที่แยกลัทธิวะฮาบีออกจากไอซิซ รอยร้าวจะปรากฏขึ้นในภายหลัง : จากการตั้งเป็นสถาบันแห่งหลักคำสอนของมุฮัมมัด อิบนฺ อับดุลวะฮาบในเรื่อง “หนึ่งผู้ปกครอง, หนึ่งอำนาจ, หนึ่งมัสยิด” เสาหลักทั้งสามนี้กำลังถูกนำมากล่าวถึงตามลำดับคือ กษัตริย์ซาอุฯ อำนาจเบ็ดเสร็จอย่างเป็นทางการของลัทธิวะฮาบี และการควบคุม “โลก” ของตน (เช่น มัสยิด)

    รอยร้าวนี้เองที่ทำให้ไอซิซ ซึ่งมีความสอดคล้องกับลัทธิวะฮาบีทุกด้าน กลายมาเป็นภัยคุกคามลึกๆ ต่อซาอุดิอาระเบีย

    ย่อประวัติศาสตร์ 1741-1818
    การสนับสนุนแนวคิดสุดโต่งเหล่านี้ของอับดุลวะฮาบทำให้เขาต้องออกจากบ้านเกิด และในปี 1741 เขาพบกับที่ลี้ภัยภายใต้การปกป้องคุ้มครองของอิบนฺ ซาอูด และเผ่าของเขา สิ่งที่อิบนฺ ซาอูด มองเห็นในคำสนของอับดุลวะฮาบก็คือ ช่องทางที่จะล้มล้างธรรมเนียมประเพณีของชาวอาหรับ มันคือเส้นทางไปสู่การกุมอำนาจ

    “ยุทธศาสตร์ของพวกเขาที่เหมือนกับของไอซิสปัจจุบันก็คือ ทำให้ประชาชนที่พวกเขาพิชิตได้ยอมจำนน พวกเขามีเป้าหมายที่จะสร้างความหวาดกลัว”

    เชื้อสายของอิบนฺ ซาอูด ที่ยึดมั่นกับหลักคำสอนของอับดุลวะฮาบ ก็สามารถทำสิ่งที่พวกเขาเคยทำมาเสมอได้ ซึ่งก็คือการบุกรุกเข้าไปในหมู่บ้านใกล้เคียงและปล้นทรัพย์สินของพวกเขา เพียงแต่ตอนนี้พวกเขาไม่ได้ทำภายในขอบเขตของประเพณีชาวอาหรับเท่านั้น แต่ทำภายใต้ธงของการญิฮาด อิบนฺซาอูด และอับดุลวะฮาบยังได้นำแนวคิดของการพลีชีพในนามของญิฮากลับมาใช้ใหม่อีกด้วย เพราะเขาถือว่าผู้พลีชีพจะได้เข้าสวรรค์ทันที

    ช่วงแรกเริ่ม พวกเขาพิชิตชุมชนต่างๆ ในท้องถิ่นได้และบังคับใช้กฎของตัวเองกับชุมชนเหล่านั้น (ผู้แพ้ได้รับทางเลือดที่จำกัด คือเปลี่ยนมาเป็นวะฮาบี หรือตาย) ภายในปี 1790 พันธมิตรนี้ได้ควบคุมอำนาจส่วนใหญ่บนคาบสมุทรอาหรับ และเข้ารุกรานมะดีนะฮ์ ซีเรีย และอิรัก หลายครั้ง

    ยุทธศาสตร์ของพวกเขาที่เหมือนกับของไอซิสปัจจุบันก็คือ ทำให้ประชาชนที่พวกเขาพิชิตได้ยอมจำนน พวกเขามีเป้าหมายที่จะสร้างความหวาดกลัว ในปี 1801 พันธมิตรกลุ่มนี้ได้เข้าโจมตีเมืองกัรบาลาในอิรัก พวกเขาได้สังหารหมู่ชาวชีอะฮ์หลายพันคน รวมทั้งผู้หญิงและเด็ก สถานศักดิ์สิทธิ์ของชีอะฮ์หลายแห่งถูกทำลาย รวมถึงสุสานของอิหม่ามฮุเซน หลานชายผู้ถูกสังหารของศาสดามุฮัมมัด

    ร้อยโทฟรานซิส วอร์เดน เจ้าหน้าที่อังกฤษที่สังเกตสถานการณ์อยู่ในขณะนั้นได้เขียนไว้ว่า “พวกเขาปล้นสะดมไปทั่วกัรบาลา และเข้าปล้นสุสานของฮุเซน… ทำการเข่นฆ่าสังหารชาวเมืองในวันเดียว มากกว่าหน้าพันคน ด้วยวิธีการที่โหดร้ายอย่างแปลกประหลาด”

    อุสมาน อิบนฺ บิชร์ นัจดี นักประวัติศาสตร์ของรัฐแรกของซาอุฯ ได้เขียนว่า อิบนฺ ซาอูดได้ทำการสังหารหมู่ในกัรบาลาในปี 1801 เขาบันทึกเหตุการณ์สังหารหมู่ครั้งนั้นด้วยความภาคภูมิใจ โดยกล่าวว่า “เรายึดกัรบาลา เข่นฆ่า และจับชาวเมือง (มาเป็นทาส) ดังนั้น การสรรเสริญเป็นของอัลลอฮ์ พระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก และเราจะไม่แสดงความเสียใจสำหรับสิ่งนั้น และกล่าวว่า “และสำหรับผู้ปฏิเสธศรัทธานั้น คือการปฏิบัติแบบเดียวกัน”

    ในปี 1803 อับดุลอาซิซจึงได้เข้าไปในเมืองมักกะฮ์อันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งได้ยอมแพ้ภายใต้การกระหน่ำของความรุนแรงและตื่นตระหนก (ชะตากรรมเดียวกันนี้ประสบแก่มะดีนะฮ์ด้วยเช่นกัน) สมุนของอับดุลวะฮาบได้ทำลายปูชนียสถานทางประวัติศาสตร์ สุสาน และสถานศักดิ์สิทธิ์ทั้งหมด ท้ายที่สุด พวกเขาได้ทำลายสถาปัตยกรรมอายุหลายศตวรรษของอิสลามที่อยู่ใกล้กับมัสยิดศักดิ์สิทธิ์

    แต่ในเดือนพฤศจิกายน 1803 ผู้ลอบสังหารชาวชีอะฮ์คนหนึ่งได้สังหารกษัตริย์อับดุลอาซิซ (เพื่อแก้แค้นให้แก่การสังหารหมู่ที่กัรบาลา) ซาอูด บิน อับดุลอาซิซ บุตรชายของเขาจึงได้สืบทอดตำแหน่งแทน และพิชิตดินแดนอาหรับต่อไป อย่างไรก็ตาม ผู้ปกครองแห่งออตโตมานไม่อาจนิ่งดูดายและเฝ้าดูอาณาจักรของพวกเขาถูกล้างผลาญไปทีละชิ้นได้อีกต่อไป ในปี 1812 กองทัพออตโตมาน ผสมกับชาวอียิปต์ ได้ผลักดันพันธมิตรนี้อกไปจากมะดีนะฮ์ ญิดดะฮ์ และมักกะฮ์ ในปี 1814 ซาอูด บิน อับดุลอาซิซ เสียชีวิตจากการป่วย ส่วนลูกชายของเขา อับดุลลอฮ์ บิน ซาอูด ถูกชาวออตโตมานจับตัวไปอิสตันบูล เขาถูกประหารชีวิตอย่างน่าสยดสยอง (ผู้ไปเยือนอิสตันบูลคนหนึ่งรายงานว่า เห็นเขาถูกนำไปประจานบนท้องถนนของอิสตันบูลเป็นเวลาสามวัน หลังจากนั้นถูกแขวนคอและตัดศีรษะ ศีรษะของเขาถูกยิงจากปืนใหญ่ และหัวใจถูกตัดออกมาเสียบติดกับร่างของเขา)

    ในปี 1815 กองกำลังวะฮาบีถูกชาวอียิปต์บดขยี้ (ปฏิบัติการแทนออตโตโตมาน) ในสมรภูมิชี้ขาด ในปี 1818 ออตโตมานได้ยึดและทำลายเมืองดารียะฮ์ เมืองหลวงของวะฮาบี ไม่มีรัฐแรกของซาอุฯ อีกต่อไป ชาววะฮาบีที่เหลือไม่กี่คนได้ถอยเข้าไปในทะเลทรายเพื่อรวมตัวกันอีกครั้ง และพวกเขาอยู่ที่นั่น นิ่งสงบมาเกือบตลอดศตวรรษที่ 19

    ประวัติศาสตร์ย้อนกลับโดยไอซิส
    มันไม่ยากที่จะเข้าใจว่าการก่อตั้งรัฐอิสลามของไอซิสในปัจจุบันทำให้หลายคนนึกถึงประวัติศาสตร์นี้อย่างไรบ้าง อันที่จริงลักษณะพื้นฐานของลัทธิวะฮาบีในศตวรรษที่ 18 ไม่ใช่จะเลือนหายไปในนัจญด์เท่านั้น แต่มันกลับมามีชีวิตใหม่เมื่ออาณาจักรออตโตมานล่มสลายในช่วงความวุ่นวายของสงครามโลกครั้งที่ 1

    ตระกูลอัล-ซาอูด ในยุคฟื้นฟูของศตวรรษที่ 20 นี้ นำโดยอับดุลอาซิซผู้พูดน้อยและชาญฉลาดด้านการเมือง ผู้ซึ่งรวบรวมชาวเผ่าเบดูอินกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยเป็นหนึ่งเดียว และเริ่มต้นขบวนการ “อิควาน” ตามเจตนารมณ์แห่งการต่อสู้กับบรรดาผู้หันเหออกจากศาสนาของอับดุลวะฮาบและอิบนฺ ซาอูด

    กลุ่มอิควานเป็นการกลับมาเกิดใหม่ของขบวนการ “ผู้มีศีลธรรม” วะฮาบีติดอาวุธของผู้นำกึ่งอิสระที่โหดร้ายในยุคต้นๆ ผู้ซึ่งเกือบจะประสบความสำเร็จในการยึดดินแดนอาหรับช่วงต้นยุค 1800s ด้วยลักษณะเดียวกันนั้น กลุ่มอิควานประสบความสำเร็จอีกครั้งในการยึดเมืองมักกะฮ์, มะดีนะฮ์ และญิดดะฮ์ ระหว่างปี 1914 ถึง 1926 อย่างไรก็ตาม อับดุลอาซิซเริ่มรู้สึกว่าผลประโยชน์ที่กว้างขวางขึ้นของเขาถูกคุกคามโดยการปฏิวัติ “แนวคิดจาโคบิน” ที่แสดงออกโดยกลุ่มอิควาน อิควานทำการปฏิวัติ นำไปสู่สงครามกลางเมืองที่ยาวนานจนถึงยุค 1930s เมื่อกษัตริย์ได้กำหราบพวกเขาลง ด้วยการใช้ปืนกล

    สำหรับกษัตริย์ผู้นี้ (อับดุลอาซิซ) ความหลากหลายในสมัยก่อนกำลังสึกหรอ น้ำมันถูกค้นพบในคาบสมุทรแห่งนี้ อังกฤษและอเมริกาเอาเอกเอาใจอับดุลอาซิซ แต่ก็ยังคงมีทีท่าสนับสนุนชาริฟ ฮุเซนให้เป็นผู้ปกครองดินแดนอาหรับที่ชอบธรรมเพียงคนเดียว ซาอุฯ จำเป็นต้องพัฒนาท่าทีทางการทูตให้ทันสมัยมากขึ้น

    ดังนั้น ลัทธิวะฮาบีจึงถูกบีบให้เปลี่ยนจากขบวนการปฏิวัติญีฮาดและขจัดมลทินต่อพระเจ้าแบบตักฟีรี มาเป็นขบวนการทางสังคม การเมือง ศาสนาเชิงอนุรักษ์นิยม และการดะอฺวะฮ์(เรียกร้องสู่อิสลาม) เพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่สถาบันที่มีความจงรักภักดีต่อราชวงศ์ซาอุฯ และอำนาจเบ็ดเสร็จของกษัตริย์

    ความมั่งคั่งน้ำมันแพร่ลัทธิวะฮาบี
    ด้วยการปรากฏขึ้นของขุมทรัพย์น้ำมันนี้ นักวิชาการชาวฝรั่งเศส Giles Kepel เขียนไว้ว่า เป้าหมายของซาอุฯ คือ “การติดต่อสัมพันธ์และเผยแพร่ลัทธิวะฮาบีไปทั่วโลกมุสลิม… เพื่อทำให้อิสลาม “กลายเป็นวะฮาบี” เป็นการลด “เสียงอีกมากมายภายในศาสนานี้” ให้เหลือเพียง “หลักความเชื่อเดียว” เป็นขบวนการที่อยู่นอกเหนือฝ่ายต่างๆ ของชาติ เงินหลายพันล้านดอลล่าร์ได้ถูกทุ่มลงไปในการแสดงถึงอำนาจอ่อนนี้

    การวางโครงการอำนาจอ่อนหลายพันล้านดอลล่าร์นี้ บวกกับความเต็มใจของซาอุฯ ที่จะจัดการให้โลกอิสลามส่งเสริมผลประโยชน์ของอเมริกา เพราะมันช่วยปลูกฝังแนวคิดวะฮาบีเข้าไปทางการศึกษา ทางสังคม ทางวัฒนธรรมทั่วดินแดนอิสลาม ทำซาอุดิอารเบียต้องพึ่งพาอาศัยนโยบายของตะวันตก เป็นการพึ่งพาอาศัยที่มีมาตั้งแต่อับดุลอาซิซได้เข้าพบกับรูสเวลต์บนเรือรบลำหนึ่งของสหรัฐฯ (ที่นำประธานาธิบดีท่านนี้กลับจากการประชุมยัลต้า) จนกระทั่งถึงปัจจุบัน

    ชาวตะวันตกมองมาที่ราชอาณาจักรแห่งนี้ และสายตาของพวกเขาถูกจับจ้องโดยกลุ่มคนรวย โดยความทันสมัย โดยผู้นำโลกมุสลิม พวกเขาเลือกที่จะเข้าใจเอาเองว่าราชอาณาจักรนี้กำลังโน้มเอียงไปสู่กฎเกณฑ์ของชีวิตที่ทันสมัย และการบริหารจัดการอิสลามซุนนีก็จะต้องโน้มน้าวราชอาณาจักรนี้ไปสู่ชีวิตที่ทันสมัยด้วยเช่นกัน

    แต่การเข้าไปสู่อิสลามของกลุ่มอิควานซาอุฯ ไม่ได้ตายไปในยุค 1930s มันล่าถอยไป แต่ยังจับยึดอยู่ในส่วนต่างๆ ของระบบนี้ ซึ่งนั่นก็คือความเป็นสองฝ่ายที่เรามองเห็นในท่าทีของซาอุฯ ที่มีต่อไอซิสปัจจุบัน

    ด้านหนึ่ง ไอซิสไปกับวะฮาบีอย่างลึกซึ้ง อีกด้านหนึ่ง มันมีความสุดโต่งในอีกลักษณะหนึ่ง มันอาจถูกมองได้ว่าเป็นขบวนการแก้ไขแนวคิดวะฮาบีร่วมสมัยให้ถูกต้อง

    ไอซิส คือขบวนการ “หลังสมัยมะดีนะฮ์” มันมองดูการปฏิบัติของคอลิฟะฮ์สองคนแรกมาเป็นตัวอย่างเพื่อทำตาม แทนที่จะมองไปที่ศาสดามุฮัมมัด และมันปฏิเสธการอ้างอำนาจการปกครองของซาอุฯ อย่างแข็งขัน

    ขณะที่ระบอบกษัตริย์ของซาอุฯ เบ่งบานขึ้นเป็นสถาบันที่ลอยตัวมากกว่าที่เคยในยุคน้ำมัน คำเรียกร้องจากสาส์นของกลุ่มอิควานได้รับคะแนนนิยมมากยิ่งขึ้น (แม้จะมีการรณรงค์เพื่อให้เกิดความทันสมัยของกษัตริย์ไฟซาล) “วิธีการแบบอิควาน” เคยได้รับและยังคงได้รับการสนับสนุนจากบุคคลสำคัญมากมายทั้งชายหญิงและเชค อุษามะฮ์ บิน ลาดิน ก็เป็นตัวแทนของวิธีการแบบอิควาน

    ปัจจุบัน การที่ไอซิสบ่อนทำลายความชอบธรรมของกษัตริย์ดูเหมือนไม่น่าจะเป็นปัญหา แต่การกลับมาของโครงการดั้งเดิมที่แท้จริงของซาอุฯ-วะฮาบต่างหากที่เป็นปัญหา

    ในการร่วมมือกันจัดการภูมิภาคนี้ของซาอุฯ และตะวันตก เพื่อให้เป็นไปตามหลายโครงการของตะวันตก (การต่อต้านแนวคิดสังคมนิยม, แนวคิดบาธ, แนวคิดแบบนัสเซอร์, อิทธิพลของโซเวียตและอิหร่าน) นักการเมืองตะวันตกได้แสดงให้เห็นว่าตัวเลือกของพวกเขาคือซาอุดิอารเบีย (ความมั่งคั่ง, ความทันสมัย และอิทธิพล) แต่พวกเขาเลือกที่จะไม่สนใจแรงกระตุ้นของวะฮาบี

    อย่างไรก็ตาม ขบวนการอิสลามที่สุดโต่งมากยิ่งขึ้นถูกหน่วยงานข่าวกรองของตะวันตกมองว่าจะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในการโค่นล้มสหภาพโซเวียตในอัฟกานิสถาน และในการสู้รบกับผู้นำและรัฐในตะวันออกกลางที่ไม่เป็นที่ชื่นชอบแล้ว

    แล้วทำไมเราจะต้องประหลาดใจ ที่คำสั่งร่วมซาอุฯ-ตะวันตกของเจ้าชายบันดาร์เพื่อจัดการให้เกิดการจลาจลต่อต้านประธานาธิบดีอัสซาดในซีเรียจะทำให้เกิดกลุ่มอิควานใหม่ เป็นขบวนการแนวหน้าที่ก่อความหวาดกลัวและความรุนแรง นั่นก็คือ ไอซิซ? และทำไมเราจะต้องประหลาดใจที่กลุ่มกบฏ “สายกลาง” ในซีเรียจะกลายเป็นสิ่งที่หาได้ยากกว่ายูนิคอร์นในตำนาน? ทำไมเราจะต้องจินตนาการว่าลัทธิวะฮาบีสุดโต่งจะสร้างกลุ่มสายกลางขึ้นมา? หรือทำไมเราจึงสามารถจิตนาการได้ว่า หลักคำสอนเรื่อง “หนึ่งผู้นำ, หนึ่งอำนาจ, หนึ่งมัสยิด : ยอมรับกับมัน หรือจะถูกฆ่า” จะสามารถนำไปสู่ทางสายกลางหรือความเปิดกว้างได้อย่างแท้จริง?

    หรือบางที เราอาจจะไม่เคยคิดจินตนาการเลย!!!
    —–
    **** รายงานชิ้นนี้เขียน โดย Alastair Crooke อดีตสายลับ เอ็มไอ 6 ผู้เขียนหนังสือ ‘Resistance: The Essence of Islamic Revolution’ รายงานเผยแพร่ในเว็บไซต์ ฮัฟฟิงตันโพสต์ สื่ออังกฤษชื่อดัง เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2014 ซึ่งกองบก.เอบีนิวส์ทูเดย์ เห็นว่าเป็นเรื่องที่ยังเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันจึงแปล/เรียบเรียงมานำเสนอ

    ที่มา http://www.huffingtonpost.com/alastair-crooke/isis-wahhabism-saudi-arabia_b_5717157.html

    http://www.abnewstoday.com/6045
     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สหรัฐฯนำพันธมิตรนานาปท. ประณาม'มาดูโร'ขวางคาราวานความช่วยเหลือ เหล่าชาติละตินอเมริกาหารือปิดล้อมทางการทูต
    เผยแพร่: 25 ก.พ. 2562 20:18 โดย: ผู้จัดการออนไลน์
    562000002011201.jpg

    ชาวเวเนซุเอลารอคอยอยู่ในเมืองอูเรนา เมืองเล็กๆ ใกล้ชายแดนระหว่างเวเนซุเอลากับโคลอมเบีย ขณะที่ทางการเวเนซุเอลาปิดการข้ามไปมาระหว่างประเทศทั้งสองในวันจันทร์ (25 ก.พ.) ภายหลังเกิดการปะทะกันในพื้นที่แถบนี้เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อกองกำลังของรัฐบาลมาดูโรขัดขวางไม่ให้ฝ่ายค้านนำขบวนความช่วยเหลือจากนานาชาตินำโดยสหรัฐฯข้ามเข้ามา
    เอเจนซีส์ – นานาชาติเพิ่มความกดดัน “มาดูโร” วอชิงตันยันเวลาของประธานาธิบดีเวเนซุเอลาใกล้หมดลงแล้ว อียูประณามการใช้กำลังปราบปรามผู้ประท้วงและขัดขวางการลำเลียงความช่วยเหลือจากต่างชาติ ด้านบราซิลเรียกร้องประเทศต่างๆ ร่วมกันปลดปล่อยเวเนซุเอลา โดยในวันจันทร์ (25 ก.พ.) ผู้นำ “กลุ่มลิมา” ซึ่งประกอบด้วยประเทศละตินอเมริกาที่ต่อต้านรัฐบาลมาดูโร จะร่วมหารือมาตรการปิดล้อมทางการทูตต่อระบอบปกครองการากัส

    ฮวน กวยโด ผู้นำฝ่ายค้านที่ประกาศตัวเป็นประธานาธิบดีเฉพาะกาลของเวเนซุเอลา มีกำหนดเข้าประชุมในวันจันทร์ (25 ) กับผู้นำของกลุ่มลิมา ซึ่งประกอบด้วย 14 ประเทศละตินอเมริกา โดยจัดขึ้นที่กรุงโบโกตา เมืองหลวงของโคลอมเบีย เขาเรียกร้องนานาชาติพิจารณามาตรการทั้งหมดเพื่อปลดปล่อยเวเนซุเอลา ภายหลังเกิดการปะทะกันระหว่างพวกที่สนับสนุนตัวเขากับกองทหารเวเนซุเอลา ที่บริเวณชายแดนหลายจุดทำให้มีผู้เสียชีวิต 4 คนนับจากวันศุกร์ที่ผ่านมา (22) ในจำนวนนี้รวมถึงเด็กชายวัย 14 ปีที่เสียชีวิตเมื่อวันเสาร์ (23)

    โดยที่วันเสาร์คือกำหนดเส้นตายที่กวยโดประกาศไว้ว่า จะลำเลียงอาหารและยาจากนานาชาตินำโดยสหรัฐฯซึ่งเตรียมไว้ที่ชายแดนโคลอมเบียและบราซิลเข้าสู่เวเนซุเอลาเพื่อนำไปแจกจ่ายให้แก่ประชาชน อย่างไรก็ดี จากการที่กองทหารยังคงจงรักภักดีต่อประธานาธิบดีนิโคลัส มาดูโร หลังเกิดการปะทะกันตรงบริเวณชายแดนแล้ว ความพยายามคราวนี้ของฝ่ายค้านเวเนซุเอลาจึงเป็นอันล้มเหลวลง

    ทางด้านเฟเดอริกา โมเกรินี ประธานนโยบายต่างประเทศของสหภาพยุโรป (อียู) ประณามการใช้กลุ่มติดอาวุธคุกคามพลเรือนและสมาชิกรัฐสภาที่พยายามลำเลียงความช่วยเหลือเข้าสู่เวเนซุเอลา และสำทับว่า บรัสเซลส์กำลังเตรียมยกระดับการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการพัฒนาให้แก่ประเทศละตินอเมริกาแห่งนั้น

    ขณะที่ อันโตนิโอ กูเตียเรส เลขาธิการสหประชาชาติ บอกว่า ตกใจและเสียใจกับการเสียชีวิตของชาวเวเนซุเอลา และเรียกร้องให้ทุกฝ่ายหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง

    ทว่า มาร์โก รูบิโอ วุฒิสมาชิกสหรัฐฯจากรัฐฟลอริดา ที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันโยบายเวเนซุเอลาของอเมริกา กล่าวว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในวันเสาร์เปิดโอกาสสำหรับการดำเนินการร่วมกันของนานาประเทศ ที่เมื่อ 24 ชั่วโมงก่อนหน้านั้นยังไม่อยู่ในการพิจารณาด้วยซ้ำ ทั้งนี้เห็นกันว่าเขาน่าจะหมายรวมถึงการใช้กำลังจากภายนอกเข้าโค่นล้มรัฐบาลมาดูโรด้วย และไม่กี่ชั่วโมงต่อมาเขายังทวิตภาพของ มานูเอล นอริกา อดีตผู้นำเผด็จการปานามา ขณะถูกกองทัพอเมริกาบุกเข้ารุกรานปานามาและจับกุมตัวเมื่อปี 1990

    ทางด้าน ไมค์ พอมเพโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ แสดงความเชื่อมั่นว่า เวลาของมาดูโร ใกล้หมดลงแล้ว และประณามความรุนแรงบริเวณชายแดนเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เกิดขึ้นจากน้ำมือกลุ่มติดอาวุธที่ภักดีต่อมาดูโรที่ชื่อว่า “โคเล็กติโวส์” ก่อนทิ้งท้ายว่า อเมริกากำลังมุ่งมั่นกับภารกิจหนึ่งเดียวเพื่อให้ชาวเวเนซุเอลาได้รับประชาธิปไตยที่คู่ควร

    ก่อนหน้านี้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศว่า วอชิงตันไม่ตัดความเป็นไปได้ในการใช้อาวุธแทรกแซงเวเนซุเอลา

    562000002011202.jpg

    ทหารรักษาการณ์แห่งชาติของเวเนซุเอลา เดินอยู่บริเวณชายแดนเวเนซุเอลากับโคลอมเบีย ในเขตเมืองอูเรนา เมื่อวันจันทร์ (25 ก.พ.)
    ฝ่ายค้านเวเนซุเอลาและโลกตะวันตกนำโดยสหรัฐฯตลอดจนชาติละตินอเมริกาที่อยู่ข้างสหรัฐฯ พยายามอาศัยเรื่องการลำเลียงขนส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมที่ส่วนใหญ่มาจากอเมริกา เข้าไปในเวเนซุเอลาซึ่งกำลังเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ อาหารและยาที่จำเป็นขาดแคลนส่วนอัตราเงินเฟ้อก็พุ่งทะยานรุนแรง มาเป็นประเด็นในการต่อสู้กับมาดูโร เนื่องจากฝ่ายมาดูโรคัดค้านเรื่องนี้อย่างเต็มที่โดยระบุว่าเป็นแผนการบังหน้าเพื่อที่จะให้ประเทศภายนอกเข้ามาแทรกแซง

    ดิออสดาโด คาเบลโล ผู้ช่วยมือขวาของมาดูโรยืนยันหนักแน่นว่า จะไม่ยอมให้รถบรรทุกความช่วยเหลือแม้แต่คันเดียวข้ามชายแดนเข้าสู่เวเนซุเอลา

    มาดูโรกล่าวหาว่า ความช่วยเหลือเหล่านั้นเป็นฉากบังหน้าเพื่อเข้ารุกรานของอเมริกา และสั่งปิดจุดผ่านแดนจำนวนมากตลอดแนวชายแดนติดกับโคลอมเบียและบราซิล โดยในวันเสาร์กองทัพเวเนซุเอลาได้ใช้กระสุนยางและแก๊สน้ำยาปราบปรามผู้ประท้วงที่พยายามผลักดันให้เปิดชายแดนรับคาราวานความช่วยเหลือ นอกจากนั้นยังมีรายงานว่า กลุ่มติดอาวุธที่สนับสนุนรัฐบาลใช้กระสุนจริงยิงใส่ผู้ประท้วง โดยมีผู้ได้รับบาดเจ็บกว่า 300 คน และเสียชีวิต 2 คน

    วันอาทิตย์ (24) จอร์จี โรดริเกซ รัฐมนตรีกระทรวงข้อมูลเวเนซุเอลาแถลงอย่างพึงพอใจเกี่ยวกับความล้มเหลวของฝ่ายค้าน และเรียกกวยโดว่า เป็นหุ่นเชิดและถุงยางอนามัยใช้แล้ว

    ทางด้านประธานาธิบดีมิเกล ดิแอซ-คาเนลของคิวบา ขานรับว่า เวเนซุเอลาเป็นเหยื่อความพยายามของประเทศจักรวรรดินิยมอเมริกาในการรื้อฟื้นลัทธิเสรีนิยมใหม่ในละตินอเมริกา

    ที่โบโกตา ประธานาธิบดีอีวาน ดูเก ของโคลอมเบียที่คาดว่ารองรับผู้อพยพจากเวเนซุเอลาอยู่ถึง 3.4 ล้านคน ทวิตประณามกองทัพเวเนซุเอลา “ป่าเถื่อน” และว่า การประชุมสุดยอดในวันจันทร์จะมีการหารือวิธีปิดล้อมทางการทูตต่อผู้นำเผด็จการเวเนซุเอลา

    ดูเกเสริมว่า กวยโดซึ่งเป็นตัวแทนโดยชอบธรรมของเวเนซุเอลา จะเข้าร่วมการประชุมลิมาอย่างเป็นทางการและได้พบกับรองประธานาธิบดีไมค์ เพนซ์ของสหรัฐฯ

    ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่อาวุโสในคณะบริหารของทรัมป์เผยว่า เพนซ์จะประกาศขั้นตอนรูปธรรมและมาตรการที่ชัดเจนในการจัดการวิกฤตเวเนซุเอลา หลังจากเดือนที่ผ่านมาวอชิงตันบังคับใช้มาตรการแซงก์ชันกับอุตสาหกรรมน้ำมันเวเนซุเอลาเพื่อตัดช่องทางรายได้จากต่างประเทศ

    ขณะเดียวกัน กระทรวงการต่างประเทศบราซิลออกแถลงการณ์เรียกร้องให้นานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่ยังไม่ได้ให้การรับรองกวยโดในตำแหน่งประธานาธิบดีเฉพาะกาลของเวเนซุเอลา ร่วมกัน “ปลดปล่อย” เวเนซุเอลา

    https://m.mgronline.com/around/detail/9620000019633
     

แชร์หน้านี้

Loading...