ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    La nueva era de la tierra - respaldo

    รถถูกปกคลุมด้วยหิมะในกรีซว้าว
    24.02.2019
     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    La nueva era de la tierra - respaldo

    # ด่วน
    52611763_962485430628435_5840982817630060544_o.jpg?_nc_cat=105&_nc_ht=scontent.fbkk17-1.jpg
    รัสเซียเตือนประเทศสหรัฐอเมริกา

    ขีปนาวุธล่องเรือของรัสเซียสามารถทำลายศูนย์บัญชาการของสหรัฐอเมริกาได้ภายใน 5 นาทีหลังจากการเปิดตัว รัสเซียเตือนว่าสหรัฐ อเมริกาไม่ควรส่งจรวดขีปนาวุธไปยังยุโรป
     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    cations%2Fcnbc.com%2Fresources%2Fimg%2Feditorial%2F2017%2F11%2F13%2F104839111-RTS1J43Y.1910x1000.jpg

    (Feb 25) ทรัมป์ยืนยัน สหรัฐเลื่อนเวลาการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีน หลังเจรจาสองฝ่ายคืบหน้า : ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ประกาศผ่านทวิตเตอร์ว่า สหรัฐจะเลื่อนเวลาการปรับเพิ่มอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนออกไป จากเดิมที่กำหนดว่าจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มี.ค.นี้ หลังจากการเจรจาการค้าระหว่างเจ้าหน้าที่สหรัฐและจีนมีความคืบหน้าในประเด็นสำคัญ ซึ่งรวมถึงประเด็นการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา

    ปธน.ทรัมป์ได้ทวีตข้อความเมื่อวานนี้ตามเวลาสหรัฐว่า "ผมยินดีที่จะแจ้งให้ทราบว่า สหรัฐมีความคืบหน้าอย่างมากในการเจรจาการค้ากับจีนในประเด็นต่างๆที่มีความสำคัญในเชิงโครงสร้าง ซึ่งรวมถึงประเด็นการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา การโอนถ่ายเทคโนโลยี การเกษตร การบริการ ค่าเงิน และอีกหลายประเด็น"

    "ด้วยการเจรจาที่เป็นไปอย่างสร้างสรรค์มากเช่นนี้ เราจึงตัดสินใจที่จะเลื่อนเวลาการปรับเพิ่มอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนออกไป จากเดิมที่กำหนดว่าจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มี.ค.นี้ และเนื่องจากทั้งสองฝ่ายมีการเจรจาที่คืบหน้ามากขึ้น เราจึงวางแผนที่จะจัดการประชุมสุดยอดระหว่างประธานาธิบดีสี จิ้นผิง และผม โดยจะจัดขึ้นที่รีสอร์ท Mar-a-Lago ในรัฐฟลอริด้า เพื่อสรุปข้อตกลงที่ทั้งสองฝ่ายทำร่วมกัน นี่เป็นช่วงสุดสัปดาห์ที่สุดมากๆสำหรับสหรัฐและจีน" ปธน.ทรัมป์กล่าวผ่านทวิตเตอร์

    ก่อนหน้านี้ ปธน.ทรัมป์เคยเตือนว่า หากการเจรจาการค้าระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐและจีนไม่มีความคืบหน้า ทางสหรัฐก็จะปรับเพิ่มการเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจีนมูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์ สู่ระดับ 25% จากเดิม 10%

    Source: อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช

    -
    Trump says he will delay additional China tariffs originally scheduled to start on March 1: https://www.cnbc.com/2019/02/24/tru...WqmzXr260G6Qjj9uIY07_Ka_vzgU8-p9U0DvxxqOr1iBg
     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    49&url=https%3A%2F%2Fwww.dailynews.co.th%2Fadmin%2Fupload%2F20190224%2Fnews_xPGMOmAWjW174121_533.jpg
    (Feb 24) คลังเร่งปิดดีลควบรวมทหารไทย-ธนชาตจบมี.ค.นี้: คลังเร่งปิดดีลควบรวมทหารไทย-ธนชาตให้จบมี.ค.นี้ ก่อนเสนอครม.อนุมัติ เชื่อเสริมความแข็งแกร่ง-แข่งขันตปท.ได้

    นายประสงค์ พูนธเนศ ปลัดกระทรวงการคลัง และประธานกรรมการธนาคารทหารไทย เปิดเผยถึงความคืบหน้าการควบรวมกิจการระหว่างธนาคารทหารไทย กับธนาคารธนชาตว่า ขณะนี้ทั้ง 2 ธนาคารอยู่ระหว่างการพิจารณาในรายละเอียดต่างๆอย่างรอบคอบ เนื่องจากการควบรวมกิจการจะต้องพิจารณาถึงโครงสร้างของทั้ง 2 ธนาคารว่ามีขนาดใกล้เคียงกันหรือไม่ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการเพิ่มทุน รวมถึงโครงสร้างทางการเงินที่จะต้องมีความสมดุล และธุรกิจที่เอื้อประโยชน์ต่อกันได้

    นอกจากนี้ ยังต้องพิจารณาถึงราคาทรัพย์สินของธนาคาร ตำแหน่งผู้บริหาร รายได้ของพนักงานว่ามีความใกล้เคียงกันหรือไม่ ซึ่งขณะนี้คณะกรรมการบริหารของธนาคารกำลังพิจารณาอยู่ ก่อนที่จะส่งให้กระทรวงการคลัง และครม.พิจารณาต่อไป

    สำหรับเบื้องต้นได้วางกรอบเวลาให้เจรจา และลงนามการควบรวมกิจการ (เอ็มโอยู) ให้แล้วเสร็จในเดือนมี.ค. หลังจากนั้นจะใช้เวลาในการควบรวมอีก 3-4 เดือน โดยยืนยันว่าการควบรวมของทั้ง 2 ธนาคารจะสร้างประโยชน์ให้กับระบบธนาคารพาณิชย์ให้มีความแข็งแกร่ง สามารถแข่งขันกับธนาคารต่างประเทศได้ โดยในเบื้องต้นคาดว่าภายหลังการควบรวมกิจการแล้วแม้จะทำให้ขนาดของธนาคารอยู่อันดับที่ 5-6 เท่าเดิม แต่ในด้านสัดส่วนทุนจะเพิ่มขึ้น 1 เท่าตัว ซึ่งจะส่งผลดีต่อด้านการแข่งขัน ส่วนกระทรวงการคลังจำเป็นต้องเพิ่มทุนหรือไม่อยู่ที่การพิจารณาถึงผลประโยชน์

    Source: เดลินิวส์ออนไลน์ : https://www.dailynews.co.th/economic/695093
     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    cdn.theatlantic.com%2Fassets%2Fmedia%2Fimg%2Fmt%2F2019%2F02%2Fshutterstock_1299583525%2Ffacebook.jpg
    (Feb 24) จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าเด็กๆ ค้นหาประวัติตัวเองบนออนไลน์แล้วเจอทุกอย่างที่พ่อแม่โพสต์: โซเชียลมีเดียมีมาระยะเวลาหนึ่งแล้ว และมีมานานพอที่เด็กคนหนึ่งจะเกิดและเติบโตมาเห็นรูปภาพและข้อมูลของตัวเองที่พ่อแม่โพสต์ลงออนไลน์ได้
    เว็บไซต์ The Atlantic สัมภาษณ์เด็กๆ หลายคน เช่น Cara เด็กหญิงวัย 11 ปี พยายามถามแม่ของเธอว่าโพสต์อะไรเกี่ยวกับตัวเองลงออนไลน์บ้าง ผลปรากฏว่า ข้อมูลในทุกช่วงชีวิตของ Cara อยู่ในออนไลน์หมด เธอยังบอกด้วยว่า มันน่าประหลาดที่เห็นตัวเองในนั้น และบางรูปที่เธอก็ไม่ได้รู้สึกชอบตัวเองเท่าไรนัก และเธอคาดหวังว่า ครั้งต่อไปก่อนที่แม่โพสต์อะไรเกี่ยวกับเธอ ก็อยากให้มาบอกกันก่อน
    Ellen วัย 11 ปี ลองค้นข้อมูลตัวเองบน Google ในตอนแรกเธอไม่คิดว่าจะพบอะไรในนั้นมากนัก เพราะเธอไม่มีโซเชียลมีเดียของตัวเอง ปรากฏมันน่าตะลึง ว่าเธอเจอมากกว่าที่คาดไว้ สถิติว่ายน้ำ เรื่องส่วนตัวที่เธอเขียนตอน ป.3 ตีพิมพ์บนเว็บไซต์โรงเรียน พร้อมแนบชื่อเธอเสร็จสรรพ แม้จะไม่มีข้อมูลเซนซิทีฟ แต่มันก็ทำให้เธอรู้สึกหงุดหงิดที่ข้อมูลเธอถูกเผยแพร่ไปโดยไม่ได้ยินยอม คือแค่ว่ายน้ำ โลกก็รู้แล้ว
    เราอยู่ในยุคที่เด็กๆ อายุประมาณ 14 ปี เกิดมาก็มีโซเชียลมีเดียแล้ว ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพตอนเด็ก หรือแม้กระทั่งรูปอัลตร้าซาวด์ ตอนที่พูดได้ครั้งแรก ตอนทำกิจกรรมกีฬาในโรงเรียนอนุบาลต่างๆ ได้รับการโปรโมทโดยพ่อแม่ คุณครู โรงเรียน และข้อมูลทุกอย่างตั้งแต่เกิดก็อยู่ในโซเชียลมีเดีย ถือเป็นประสบการณ์ใหม่ของเด็กวัยนี้ที่ต้องรับมือเมื่อพบว่าบนโซเชียลมีเดียมีข้อมูลตัวเองตั้งแต่เกิดจนถึงตอนนี้ โดยที่ตัวเองไม่เคยรับรู้มาก่อน
    บริษัทรักษาความปลอดภัยอินเทอร์เน็ต AVG ได้ทำการสำรวจ พบว่าร้อยละ 92 ของเด็กวัยหัดเดินที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปี มีเอกลักษณ์ดิจิทัลของตนเองแล้ว โดยผู้ปกครองได้กำหนดรูปแบบบนดิจิทัลให้กับเด็กๆ ได้ก่อนที่เด็กๆจะใช้งานโซเชียลมีเดียเป็นเสียอีก รายงานจาก University of Florida Levin College of Law ระบุด้วยว่าผู้ปกครองเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นทั้งผู้รักษาประตูของข้อมูลส่วนบุคคลของเด็กๆ และในอีกทางหนึ่งก็เป็นผู้เปิดเผยเรื่องส่วนตัวของเด็กๆ เสียเอง
    อย่างไรก็ตามไม่ใช่เด็กทุกคนที่จะรู้สึกไม่ดีที่เจอข้อมูลตัวเองบนออนไลน์ Nate อายุ 13 ลองค้นประวัติตัวเอง และพบข้อมูลที่เขาทำเบอร์ริโตยักษ์ในนั้น เขารู้สึกประหลาดใจ แต่ก็ทำให้เขารู้สึกมีชื่อเสียง เขายังชอบค้นหาประวัติตัวเองบน Google อีกเรื่อยๆ ด้วย
    ในบทความต้นทางมีความรู้สึกของเด็กๆ อีกหลายคน สามารถไปตามอ่านกันได้ ในฝรั่งเศสยังเคยมีคดีเด็กฟ้องพ่อแม่ตัวเองที่เผยแพร่เรื่องส่วนตัวโดยไม่ได้รับความยินยอม ซึ่งถ้าเป็นพลเมืองยุโรปก็สามารถใช้สิทธิ์ right to be forgotten ให้ข้อมูลตัวเองถูกลืมบนออนไลน์ได้ แต่สิทธิ์ดังกล่าวยังจำกัดอยู่เฉพาะคนยุโรปเท่านั้น

    Source: Blognone,com
    https://www.theatlantic.com/technol...3Fbamom_pE4JfzJ2CfJscQPiccC8OkL8Yalqtny_Qy8wI
     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    safe_image.php?d=AQD3EYHjwxM1qJWm&w=540&h=282&url=https%3A%2F%2Fs2.reutersmedia.jpg
    (Feb 24) อินโดฯ' ฟื้นเจรจา'โสมขาว-ญี่ปุ่น''ปลุกการค้า-ลงทุน' โชว์ผลงาน -
    อินโดนีเซียกำลังเร่งสร้างผลงานก่อนถึงวันเลือกตั้งในเดือน เม.ย. 2562 โดยเตรียมฟื้นการเจรจาการค้าทวิภาคีกับ "เกาหลีใต้" หวังดึงดูดนักลงทุนแดนโสมให้เข้าลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษมากขึ้น

    รอยเตอร์สรายงานว่า อินโดนีเซียและเกาหลีใต้เตรียมจะกลับมาเจรจาความตกลงการค้า การลงทุนระหว่างกันอีกครั้ง โดย นายเองการ์เตียอัสโต ลูคิตา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าของอินโดนีเซีย กล่าวว่า รัฐบาล 2 ประเทศชะลอการเจรจาการค้าการลงทุน มาตั้งแต่ปี 2014 ผลพวงจากการเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ในจาการ์ตา ประกอบกับมีปัญหาในเชิงเทคนิคต่าง ๆ ทั้งนี้ การค้า 2 ทางระหว่างอินโดนีเซียกับเกาหลีใต้ มูลค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ/ปี ต่อเนื่องจนถึง ปี 2018 ขณะที่เป้าหมายคือต้องการเพิ่มการค้าระหว่างกันให้ถึง 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายใน 3 ปีข้างหน้า

    การฟื้นเจรจาการค้าการลงทุนกับเกาหลีใต้ เพื่อต้องการหลีกเลี่ยงการ "ถูกทอดทิ้ง" ไว้ข้างหลัง ขณะที่ความสัมพันธ์การค้าระหว่างเกาหลีใต้และเวียดนามแน่นแฟ้นมากขึ้น โดยปี 2018 มูลค่าการค้าระหว่างเกาหลีใต้กับเวียดนามสูงถึง 60,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

    "เกาหลีใต้" มีศักยภาพทั้งด้านการค้า การลงทุน ปัจจุบันเป็นนักลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศรายใหญ่อันดับ 5 ในกลุ่มชาติอาเซียน ขณะเดียวกัน "ญี่ปุ่น" ซึ่งมีความสำคัญในฐานะนักลงทุน รายใหญ่อันดับ 6 ในอาเซียน ดังนั้น รัฐบาลอินโดนีเซียจึงมีแผนจะเจรจาการค้าทั้งกับเกาหลีใต้และญี่ปุ่น หลังการค้าการลงทุนระหว่างกันชะลอตัวเล็กน้อย

    ปี 2018 ที่ผ่านมา อินโดนีเซียได้เร่งปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้หลายโครงการคืบหน้าอย่างมาก โดยได้เปิดใช้เส้นทางรถไฟเชื่อมต่อระหว่างสนามบินถึง 2 แห่ง แห่งแรกเป็นรถไฟเชื่อมต่อระหว่างสนามบินกัวลานามูกับเมืองเมดาน บนเกาะสุมาตรา แห่งที่ 2 คือ สนามบินนานาชาติซูการ์โน-ฮัตตา สู่ใจกลางย่านธุรกิจในกรุงจาการ์ตา และมีแผนจะเปิดรถไฟเชื่อมสนามบินเพิ่มอีก 3 เมือง คือ เมืองปาเลมบัง, เมืองปาดัง และเมืองสุราการ์ตา ซึ่งทั้งหมดอยู่ระหว่างก่อสร้าง

    โดยคาดหวังโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ จะเป็นตัวช่วยในการดึงดูดนักลงทุนใน เขตเศรษฐกิจพิเศษทั้ง 6 แห่ง ซึ่งอินโดนีเซียยอมรับว่า ปัจจุบันการลงทุน ในแต่ละเขตเศรษฐกิจพิเศษยังต่ำกว่าเป้าหมาย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะกฎระเบียบ ที่เข้มงวด และอัตราภาษีไม่จูงใจ

    Source: ประชาชาติธุรกิจ

    -Indonesia, South Korea aim to sign trade deal by November
    :
    https://www.reuters.com/article/us-...LUbXyP-l2Bzy_EtjDXqtnDQKSS5ciRaFBBoLP8nGCKcjs
     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    &url=https%3A%2F%2Fassets.bwbx.io%2Fimages%2Fusers%2FiqjWHBFdfxIU%2Fibcl87Sc.m54%2Fv0%2F1200x800.jpg

    (Feb 24) รุมบีบนายกฯผู้ดี ยืดเบร็กซิต3เดือน - นายกรัฐมนตรีอังกฤษอาจถูกบีบให้เลื่อนกำหนดเส้นตายเบร็กซิต ออกไป 3 เดือน หลังเหลวตกลงแผนสำรอง

    บลูมเบิร์กรายงานอ้างเจ้าหน้าที่ของสหภาพยุโรป (อียู) ว่า นายกรัฐมนตรี เทเรซา เมย์ แห่งอังกฤษ อาจถูกบีบให้ต้องขอเลื่อนกำหนดเส้นตายเบร็กซิตออกไปอีก 3 เดือน จากกำหนดเดิมในวันที่ 29 มี.ค.ที่จะถึงนี้ เนื่องจากรัฐสภาอังกฤษไม่สามารถตกลงกันเรื่องแผนสำรองเบร็กซิตของเมย์ได้

    แหล่งข่าวระบุว่า ทั้งอียูและอังกฤษต่างเสนอให้เมย์ยื่นเรื่องขอขยายระยะเวลาเบร็กซิตออกไป หากรัฐสภาอังกฤษให้การสนับสนุนแผนสำรองเบร็กซิตของเมย์ แต่แผนดังกล่าวไม่สามารถเซ็นรับรองได้ทันจนกระทั่งถึงการประชุมสุดยอดผู้นำอียูในวันที่ 21-22 มี.ค.นี้ โดยอียูต้องการให้เวลารัฐสภาอังกฤษผ่านกฎหมายที่จำเป็นเกี่ยวกับเบร็กซิตก่อน

    ทั้งนี้ อังกฤษเหลือเวลาอีกเพียง 5 สัปดาห์ก่อนจะถึงกำหนดออกจาก อียู ทำให้รัฐมนตรีหลายรายและสมาชิกวุฒิสภาของพรรครัฐบาลขู่ต่อต้านแผนสำรองเบร็กซิตของเมย์ ในการลงมติที่จะเกิดขึ้นในสัปดาห์หน้า เพื่อให้อำนาจแก่รัฐสภาเข้าควบคุมกระบวนการทั้งหมดแทนเมย์ที่ไม่สามารถทำให้กระบวนการมีความคืบหน้าได้

    ขณะที่ล่าสุด ฟิลิป แฮมมอนด์ รัฐมนตรีคลังอังกฤษ ออกมาขู่อีกครั้งว่าจะลาออก หากอังกฤษต้องออกจากอียูแบบโนดีล หรือการไม่มีข้อตกลงที่ชัดเจน

    Source: Posttoday

    -
    https://www.bloomberg.com/news/arti...mlI0vTuFuWTTbM1AwA_7-4s67PtuP-aYFj2ku9mE7tPQc
     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ถอดบทเรียนสองทศวรรษ การสื่อสารของธนาคารแห่งประเทศไทย
    วิเคราะห์การสื่อสารของ ธปท. ด้วย Text Mining


    dl-pdf.png PDF FILE https://www.pier.or.th/wp-content/uploads/2019/02/aBRIDGEd_2019_004.pdf
    stock026_resized.png
    สองทศวรรษที่ผ่านมา การสื่อสารของธนาคารกลางทั่วโลกพลิกโฉมไปมาก การดำเนินนโยบายที่แต่เดิมเคยให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการรักษาความลับ (secrecy) ได้หันมาใช้แนวทางการสื่อสารที่ชัดเจนและโปร่งใสมากขึ้น จนอาจกล่าวได้ว่าการสื่อสารเป็นเครื่องมือสำคัญของธนาคารกลาง ในช่วงเวลาดังกล่าว ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นอีกหนึ่งองค์กรที่ได้เปิดช่องทางการสื่อสารต่อสาธารณะมากขึ้นเป็นลำดับ ทั้งในแง่ของปริมาณและความหลากหลาย บทความนี้ทำการวิเคราะห์เนื้อหาสาระและประสิทธิภาพของการสื่อสารในช่องต่าง ๆ ของ ธปท. ที่ถูกบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อถอดบทเรียนจากประสบการณ์การสื่อสารในอดีต และตอบโจทย์สำคัญที่ว่า ท่ามกลางบริบททางเศรษฐกิจและรูปแบบการสื่อสารเชิงสาธารณะที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การสื่อสารของ ธปท. ในอนาคตควรเป็นอย่างไร

    หากมองย้อนไปในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจการเงิน จะเห็นได้ชัดว่าการสื่อสารต่อสาธารณชนเป็นมิติหนึ่งของการดำเนินนโยบายที่ธนาคารกลางพยายามที่จะค้นหาคำตอบมาโดยตลอด ในช่วงที่ธนาคารกลางหลายแห่งกำเนิดขึ้นในโลกเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว เชื่อกันตามทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ว่าธนาคารกลางควรจะสื่อสารกับสาธารณชนให้น้อยที่สุดทั้งในเชิงของปริมาณ ความชัดเจนของเนื้อหาสาระ และความถี่ของการสื่อสาร เพื่อให้การดำเนินนโยบายเกิดประสิทธิผลสูงสุด ในอดีต Paul Volcker ประธานของธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้เลือกคำว่า mystique เป็นคำแนะนำคำเดียว (one-word advice) ที่ให้แก่ Mervyn King ขณะที่กำลังจะเข้ารับตำแหน่งผู้ว่าการของ Bank of England

    อย่างไรก็ตาม ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 การที่ธนาคารกลางทั่วโลกเริ่มหันมาใช้กรอบนโยบายการเงินโดยใช้อัตราเงินเฟ้อเป็นเป้าหมาย (Inflation Targeting: IT) กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น ทำให้ธนาคารกลางต้องสื่อสารต่อสาธารณชนอย่างสม่ำเสมอถึงแนวโน้มการพยากรณ์เศรษฐกิจและเงินเฟ้อตลอดจนเหตุผลที่ใช้ในการตัดสินอัตราดอกเบี้ยนโยบาย สำหรับกรณีของประเทศไทยเป็นไปในทิศทางเดียวกับกระแสความคิดหลักในแวดวงธนาคารกลางทั่วโลก ในอดีต การสื่อสารมักกระทำผ่านการให้ข่าวตามแต่เหตุการณ์เป็นครั้ง ๆ ไป แต่หลังจากปี 2000 ซึ่งมีการปรับใช้กรอบ IT ธปท. ได้เปิดช่องทางการสื่อสารอย่างหลากหลาย ทั้งในรูปแบบที่แน่นอนและเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น แถลงข่าวผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) รายงานนโยบายการเงิน รายงานนโยบายสถาบันการเงิน และในรูปแบบอื่น ๆ เช่น สุนทรพจน์และการให้สัมภาษณ์สื่อของผู้บริหาร นอกจากนี้ ในปัจจุบัน ธปท. ได้มีความพยายามสื่อสารผ่าน social media เพิ่มขึ้นอย่างมากอีกด้วย

    บทความนี้จะย้อนทบทวนการสื่อสารของ ธปท. ในห้วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ผ่านการประมวลผลเอกสารที่เกี่ยวข้องจำนวนมากที่เผยแพร่โดย ธปท. โดยอาศัยศาสตร์และเครื่องมือทางด้าน text mining เพื่อตอบคำถามที่ว่า ธปท. สื่อสารอะไรกับสาธารณะบ้าง ทั้งการสื่อสารทางตรงที่อยู่ในกรอบนโยบายการเงินและการสื่อสารในเรื่องอื่น ๆ นอกจากนี้ ยังได้นำคลังข้อมูลข่าวเศรษฐกิจหลายแสนข่าวเข้ามาร่วมวิเคราะห์เพื่อดูว่า พื้นที่ในสื่อและความรับรู้ของสาธารณชนเกี่ยวกับ ธปท. เป็นอย่างไร





    การสื่อสารภายใต้กรอบนโยบายการเงิน


    กรอบ IT กำหนดให้ กนง. สื่อสารกับสาธารณชนอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้สาธารณชนทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ และตัวแปรอื่น ๆ ที่ กนง. ใช้ในการตัดสินนโยบาย (Policy input) ตลอดจนน้ำหนักที่ กนง. ให้ข้อพิจารณาด้านต่าง ๆ (Policy reaction function) ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ จุดมุ่งหมายคือ หากสาธารณชนรับทราบข้อมูลนี้แล้ว จะทำให้สามารถใช้ข้อมูลแนวโน้มเศรษฐกิจในการวางแผนตัดสินใจต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนสามารถคาดการณ์ทิศทางของอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้ ซึ่งทำให้อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ของสาธารณชน (inflation expectation) อยู่ภายในกรอบเป้าหมาย

    ในปัจจุบัน ช่องทางการสื่อสารหลักของ กนง. คือ แถลงข่าวนโยบายการเงิน หรือ Press Statement (PS) ซึ่งเผยแพร่ในวันเดียวกันกับการประชุม PS มีขนาดสั้นไม่เกิน 2 หน้ากระดาษและแสดงใจความหลักของการตัดสินนโยบายในครั้งนั้น ๆ Apaitan และ Tantasith (2019) ได้ใช้วิธีการ text mining ในการประมวลผล PS ที่มีอยู่ทั้งหมด (พ.ค. 2000 ถึง พ.ค. 2018) ในการแยกแยะหัวข้อต่าง ๆ ที่มีการกล่าวถึงใน PS และความเชื่อมโยงระหว่างหัวข้อเหล่านั้น โดยแสดงในรูปแบบของ network of topics ดังรูปที่ 1

    รูปที่ 1 network of topics ของ Press Statement

    abpic2019_004_01.png

    ที่มา: Apaitan และ Tantasith (2019)

    ในภาพรวม กล่าวได้ว่า การสื่อสารผ่าน PS นั้นก็คือการสื่อสารเกี่ยวกับ policy reaction function ของ กนง. นั่นเอง โดยให้น้ำหนักที่การร้อยเรียงเหตุผลที่ใช้ในการตัดสินนโยบายเป็นหลัก การตัดสินนโยบายเชื่อมโยงกับปัจจัยสองกลุ่ม ได้แก่ การเติบโต (growth – สีเหลือง) ทั้งเศรษฐกิจภายในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งเชื่อมโยงต่อไปยังแนวโน้มเงินเฟ้อ สำหรับกลุ่มที่สองคือ เงินเฟ้อ (สีฟ้า) หรือการรายงานภาวะราคาสินค้าและการเปลี่ยนแปลงอัตราเงินเฟ้อในช่วงที่ผ่านมามักนำไปสู่การอธิบายปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจอันเป็นข้อพิจารณาสำคัญของการตัดสินนโยบาย นอกจากนี้ PS ยังกล่าวถึงประเด็นอื่น ๆ ได้แก่ ดุลบัญชีเดินสะพัด อัตราแลกเปลี่ยน และเสถียรภาพ (สีม่วง) แต่มักกล่าวถึงอย่างเป็นเอกเทศ ไม่ได้เชื่อมโยงกับการตัดสินนโยบายเท่าไรนัก

    หากเราวิเคราะห์ PS ตามช่วงเวลาจะพบว่า น้ำหนักที่ กนง. ให้กับการสื่อสารในประเด็นต่าง ๆ (เมื่อวัดเป็นจำนวนคำ) จะมีสัดส่วนไม่คงที่ ดังเช่นแสดงในรูปที่ 2 โดยทั่วไป การตัดสินนโยบายครองพื้นที่ส่วนใหญ่ใน PS แต่ในบางช่วงหัวข้ออื่น ๆ มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจนมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการตัดสินนโยบาย เช่น การเติบโต ที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่ปี 2003 เป็นต้นมา หรือเศรษฐกิจต่างประเทศที่ได้รับการกล่าวถึงอย่างมากระหว่างปี 2008 ถึง 2014 ที่เห็นได้ชัดที่สุดคือในช่วง 2 ปีล่าสุดที่มีการกล่าวถึงเรื่องเงินเฟ้อลดลงและให้ความสำคัญกับอัตราแลกเปลี่ยนและเสถียรภาพเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

    รูปที่ 2 สัดส่วนของหัวข้อต่าง ๆ ที่ปรากฏใน Press Statement

    abpic2019_004_02-1024x324.png

    ที่มา: Apaitan และ Tantasith (2019)

    คำถามที่ตามมาก็คือ อะไรคือปัจจัยที่อยู่เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ แน่นอนว่ามีปัจจัยแวดล้อมหลายประการที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการตัดสินใจของ กนง. และถูกถ่ายทอดออกมาดังที่ปรากฏใน PS การศึกษาของ Apaitan และ Tantasith (2019) ได้ใช้วิธีทางเศรษฐมิติเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ และการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาสาระใน PS โดยแบ่งปัจจัยออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ปัจจัยที่เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ (policy input) และปัจจัยที่ไม่เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งในการศึกษาได้วิเคราะห์ผลของการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของ กนง. และเลขานุการ ซึ่งสะท้อนการเปลี่ยนแปลงของ policy reaction function ระดับของความชัดเจนในการสื่อสาร รวมถึงรูปแบบของการเขียนที่อาจเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา เป็นต้น

    ผลจากแบบจำลองทางเศรษฐมิติชี้ว่าการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักในหัวข้อต่าง ๆ มีความสัมพันธ์ทั้งกับปัจจัยเศรษฐกิจและองค์ประกอบของคณะกรรมการ การให้น้ำหนักของหลายหัวข้อมีความสอดคล้องกับตัวแปรทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น ในช่วงที่เศรษฐกิจร้อนแรง การแถลงนโยบายจะให้น้ำหนักเรื่อง “การเติบโต” มากขึ้นและให้น้ำหนักเรื่อง “ชะลอตัว” ลดลง และยังทำให้น้ำหนักของหัวข้อ “ราคาสินค้า” เพิ่มขึ้น สะท้อนความกังวลต่อแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ในทางตรงกันข้าม ในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัวหรือช่องว่างการผลิตเป็นลบ กนง. จะลดน้ำหนักการสื่อสารเรื่อง “การเติบโต” และหันไปให้น้ำหนัก “ชะลอตัว” มากขึ้นแทน

    ข้อค้นพบที่สำคัญอีกประการก็คือ องค์ประกอบของคณะกรรมการหรือเลขานุการส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักหัวข้ออย่างชัดเจนในบางช่วงเวลา หากเราแบ่งคณะกรรมการออกเป็น 11 ชุด ตามแต่ละช่วงเวลา (อาศัยเกณฑ์ว่า หากมีการเปลี่ยนกรรมการเกิน 3 ท่าน ให้ถือเป็นชุดใหม่) ตัวอย่างในรูปที่ 3 แสดงน้ำหนักในการสื่อสารเรื่อง “อัตราแลกเปลี่ยน” ของคณะกรรมการแต่ละชุดที่ปราศจากผลจากปัจจัยอื่น ๆ จะเห็นได้ว่า คณะกรรมการชุดสุดท้ายได้เพิ่มน้ำหนักของหัวข้อนี้มากกว่ากรรมการชุดก่อน ๆ อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งในการศึกษาพบว่า หลาย ๆ หัวข้อนั้นมีการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของคณะกรรมการอย่างชัดเจน การเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้สร้างความท้าทายต่อการสื่อสาร เพราะผู้รับสารไม่อาจทราบสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักหัวข้อได้อย่างแน่ชัด ดังนั้น ในกรณีที่ตลาดตีความได้ไม่ตรงกับที่ กนง. ต้องการจะสื่อสาร ประสิทธิภาพของการสื่อสารอาจถูกลดทอนลงได้

    รูปที่ 3 น้ำหนักในการสื่อสารเรื่อง “อัตราแลกเปลี่ยน” ของคณะกรรมการแต่ละชุด

    abpic2019_004_03-1024x301.png

    ที่มา: Apaitan และ Tantasith (2019)





    ความสอดคล้องระหว่างการสื่อสารกับการตัดสินนโยบาย


    นอกเหนือไปจากเนื้อหาสาระแล้ว คุณสมบัติที่สำคัญอีกประการของการสื่อสารนโยบายคือ ความสอดคล้องกับการกระทำ (action) ที่เกิดขึ้น ซึ่งจะส่งผลไปถึงการคาดการณ์ทิศทางการตัดสินนโยบายการเงินของตลาดการเงินได้อีกด้วย Apaitan และ Tantasith (2019) ได้ทดสอบความสอดคล้องของ PS กับผลการตัดสินนโยบายการเงิน โดยแปลง PS ให้อยู่ในรูปของตัวชี้วัด 3 ประการ ได้แก่ น้ำหนักที่ให้กับหัวข้อต่าง ๆ โทน (tone) ของการสื่อสาร (วัดจากจำนวนถ้อยคำที่สื่อความในทางบวกหรือลบ) และ สัญญาณการขึ้นหรือลงของอัตราดอกเบี้ย (ดูจากประโยคที่สื่อถึงการดำเนินนโยบายในอนาคต) แล้วใช้คุณลักษณะเหล่านั้นในการทำนายผลการประชุม ซึ่งหากผู้รับสารสามารถทำนายผลการประชุมได้โดยอาศัยเพียงข้อมูลที่ปรากฏใน PS โดยไม่ทราบข้อมูลอื่น ย่อมแสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องของตัวสารและผลการตัดสินนโยบาย นอกจากนี้ เนื่องจาก ธปท. อาจสื่อสารเพิ่มเติมผ่านสื่อในระหว่างรอบการประชุม จึงสร้างตัวชี้วัดจากข่าวเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับ ธปท. ในช่วง 30 วันก่อนหน้าการประชุมเข้ามาเป็นอีกหนึ่งตัวแปรในการพิจารณา

    ตารางที่ 1 การทำนายผลการประชุม กนง.

    abtable2019_004_01-1024x275.png

    ที่มา: Apaitan และ Tantasith (2019)

    เมื่อนำตัวชี้วัดดังกล่าวไปใช้ในแบบจำลองเศรษฐมิติเพื่อทำนายผลการประชุม จากตารางที่ 1 ซึ่งแสดงเปอร์เซ็นต์ของการทำนายได้ถูกต้อง สำหรับการทำนายผลของการประชุมในครั้งเดียวกันกับการแถลงข่าว (คอลัมน์ที่ 2) ในภาพรวมจะเห็นได้ว่า เมื่อค่อย ๆ เพิ่มตัวชี้วัดขึ้นทีละอย่าง อัตราการทำนายได้ถูกต้องจะเพิ่มขึ้นตามลำดับ สะท้อนว่าข้อมูลที่แฝงอยู่ใน PS ในลักษณะต่าง ๆ รวมถึงการสื่อสารในสื่อหนังสือพิมพ์ต่างช่วยส่งเสริมให้ผู้รับสารสามารถเข้าใจในการกระทำ (การตัดสินนโยบาย) ได้มากขึ้น และหากใช้ทุกองค์ประกอบรวมกัน โดยรวมแล้วจะสามารถทำนายผลได้กว่า 80% หรือหากนับเฉพาะครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบาย (ลดหรือขึ้นอัตราดอกเบี้ย) ก็ยังมีอัตราการทำนายที่ถูกต้องได้ราวครึ่งหนึ่ง สิ่งนี้สะท้อนว่าสารหรือข้อมูลที่สื่อผ่าน PS นั้นมีความสอดคล้องกับการตัดสินนโยบายในระดับสูง ในขณะเดียวกัน หากใช้แบบจำลองเพื่อคาดการณ์ทิศทางผลการประชุมล่วงหน้าโดยอาศัยข้อมูลจาก PS ฉบับปัจจุบัน (คอลัมน์ที่ 3) จะพบว่าอัตราการทำนายได้ถูกต้องยังใกล้เคียงและเป็นไปในทิศทางเดียวกับคอลัมน์ที่ 2 ซึ่งสะท้อนว่าข้อมูลใน PS และสื่อสามารถส่งสัญญาณหรือช่วยเรื่องการคาดการณ์ของตลาดได้ค่อนข้างดีเช่นกัน





    ธปท. ในการรับรู้ของสาธารณชน


    นอกเหนือไปจากการสื่อสารภายใต้กรอบ IT แล้ว ธปท. ยังมีการสื่อสารกับสังคมในวงกว้าง ซึ่งมีหัวข้อที่หลากหลายผ่านสุนทรพจน์และสื่อสิ่งพิมพ์ ถ้าพลิกอ่านข่าวเศรษฐกิจในหน้าหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ หรือเลื่อนผ่าน news feed ใน facebook หรือ twitter มีโอกาสที่จะพบข่าวที่เกี่ยวกับ ธปท. อยู่เป็นระยะ ๆ ข่าวสารเหล่านี้มีที่มาทั้งจากที่ ธปท. เผยแพร่ต่อสาธารณชนแล้วสื่อหรือนักวิเคราะห์นำไปเขียนเป็นข่าว หรือจากการสัมภาษณ์ของสื่อโดยตรง ข่าวสร้างการรับรู้ของสาธารณชนเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของ ธปท. แนวทางการดำเนินนโยบาย วิสัยทัศน์ ตลอดจนทัศนคติที่สังคมมีต่อ ธปท.

    สำหรับในช่องทางสุนทรพจน์ เนื้อหาของสุนทรพจน์สะท้อนสิ่งที่ ธปท. ต้องการจะสื่อสารกับสังคมในวงกว้าง แม้ว่าการกล่าวสุนทรพจน์จะจำกัดอยู่กับผู้ฟังจำนวนไม่มากเมื่อเทียบกับประชากรทั้งประเทศ แต่ก็ถูกถ่ายทอดผ่านสื่อในหลาย ๆ ครั้ง Apaitan และ Tantasith (2019) ได้รวบรวมสุนทรพจน์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่กล่าวโดยผู้ว่าการและรองผู้ว่าการระหว่างปี 2001 ถึง 2018 และใช้เทคนิค text mining เพื่อช่วยจัดหมวดหมู่หัวข้อของเอกสารทั้งหมด พบว่า ในสุนทรพจน์ภาษาไทย (รูปที่ 4) ธปท. ให้ความสำคัญกับเรื่องการพัฒนาประเทศ เป็นอย่างมาก รองลงมาคือเรื่องเศรษฐกิจ (“เศรษฐกิจไทย” “ภาคการผลิต”) และนโยบายเกี่ยวกับระบบการเงินและสถาบันการเงิน(เช่น “สถาบันการเงิน” “กำกับสถาบันการเงิน” “ระบบการชำระเงิน” “บริการทางการเงิน”) ในส่วนของนโยบายการเงินซึ่งเป็นพันธกิจหลักของ ธปท. นั้นไม่ใช่หัวข้อหลักของสุนทรพจน์ ส่วนหนึ่งเพราะกรอบนโยบายการเงินมีช่องทางการสื่อสารเฉพาะในตัวอยู่แล้ว ประกอบกับทิศทางนโยบายการเงินอาจไม่ได้อยู่ในความสนใจของคนในวงกว้างมากเท่ากับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยหรือบริการทางการเงิน นอกจากนี้ ธปท. ยังมีความพยายามที่จะสื่อสารเกี่ยวกับบทบาทของ ธปท. เอง และความท้าทายของภาคธุรกิจและครัวเรือนต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ทางเศรษฐกิจอีกด้วย ในภาพรวมอาจกล่าวได้ว่า ธปท. ใช้สุนทรพจน์ภาษาไทยเป็นช่องทางในการให้ข้อมูลแนวโน้มเศรษฐกิจและข้อเสนอแนะแก่สังคม

    รูปที่ 4 สัดส่วนหัวข้อของสุนทรพจน์ภาษาไทย

    abpic2019_004_04.png

    ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย คำนวณโดยผู้วิจัย

    ขณะเดียวกัน ธปท. ใช้สุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ (รูปที่ 5) เพื่อสื่อสารในฐานะนายธนาคารกลางของประเทศทั้งกับธนาคารกลางของประเทศอื่นและนักลงทุนต่างชาติ หัวข้อที่มีน้ำหนักมากที่สุดยังคงเป็นเรื่องเศรษฐกิจไทย (“Thai Economy”) แต่หัวข้ออื่น ๆ ค่อนข้างแตกต่างจากที่กล่าวในสุนทรพจน์ภาษาไทย โดยสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษให้ความสำคัญกับความเชื่อมโยงของเศรษฐกิจภูมิภาค นโยบายสถาบันการเงิน และระบบการเงิน นอกจากนี้ สุนทรพจน์ภาษาอังกฤษมักกล่าวในเวทีของผู้ดำเนินนโยบายระดับนานาชาติ เนื้อหาจึงเป็นการแลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินนโยบายและสร้างความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ตลอดจนเสริมสร้างความมั่นใจของนักลงทุนต่างชาติ จึงมักปรากฏหัวข้อที่เกี่ยวข้อง เช่น เศรษฐกิจโลก อัตราแลกเปลี่ยน อัตราเงินเฟ้อ เป็นต้น

    รูปที่ 5 สัดส่วนหัวข้อของสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ

    abpic2019_004_05.png

    ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย คำนวณโดยผู้วิจัย

    ในฝั่งของสาธารณชน สังคมส่วนใหญ่รับรู้นโยบายของ ธปท. ผ่านข่าวหนังสือพิมพ์ (ซึ่งในปัจจุบันบางส่วนของบทความในหนังสือพิมพ์ก็ไปปรากฏที่สื่อ social media ด้วย) จากการรวบรวมข่าวเศรษฐกิจจากหนังสือพิมพ์ 5 ฉบับครอบคลุมกว่า 10 ปี รวมบทความ 415,010 ชิ้น เมื่อใช้เทคนิค text mining ในการแบ่งหัวข้อของข่าวที่เกี่ยวกับ ธปท. พบว่าข่าว ธปท. สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม เรื่องหลัก ได้แก่ กลุ่มนโยบายการเงิน เช่น ข่าวเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยและตลาดการเงิน และกลุ่มนโยบายสถาบันการเงิน ซึ่งมักเป็นข่าวเกี่ยวกับบริการทางการเงินและสถาบันการเงิน และหลายครั้งที่เราพบว่า ธปท. ปรากฏในข่าวที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับพันธกิจของ ธปท. โดยตรง คือกลุ่มข่าวที่เกี่ยวข้องกับนโยบายภาครัฐ เช่น การค้าระหว่างประเทศ งบประมาณ และอุตสาหกรรม เป็นต้น สะท้อนว่า แม้หัวข้อการสื่อสารของ ธปท. จะหลากหลาย แต่สื่อมักจะซึมซับเรื่องที่เกี่ยวกับนโยบายการเงินได้มากที่สุด

    หากมองในเชิง network ของหัวข้อข่าว รูปที่ 6 แสดงหัวข้อข่าวเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงกับ ธปท. (BOT) และองค์กรทางเศรษฐกิจอื่น ๆ ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ (MOC) กระทรวงการคลัง (MOF) และตลาดหลักทรัพย์ (SET) ภาพ network สะท้อนว่า สาธารณชนเชื่อมโยง ธปท. เข้ากับบทบาทในภาคการเงินมากกว่าด้านอื่น โดยมีตำแหน่งใกล้เคียงกับตลาดหลักทรัพย์ ในขณะที่บางเรื่อง แม้จะมีความสำคัญในการสื่อสารของ ธปท. แต่สาธารณชนจะเชื่อมโยงกับองค์กรอื่นได้มากกว่า เช่น กระทรวงพาณิชย์กับเรื่องเงินเฟ้อ

    รูปที่ 6 ตำแหน่งของ ธปท. ในพื้นที่ข่าว

    abpic2019_004_06.png

    ที่มา: Apaitan และ Tantasith (2019)

    กล่าวโดยสรุป การรับรู้ของสาธารณชนผ่านสื่อสิ่งพิมพ์กระแสหลักค่อนข้างสอดคล้องกับพันธกิจของ ธปท. แม้ว่าอาจจะยังไม่ครอบคลุมทุกเรื่องที่ ธปท. ต้องการสื่อสาร อย่างไรก็ตาม บทบาทสำคัญบางอย่างของ ธปท. เช่น การดูแลเงินเฟ้อให้อยู่ในกรอบเป้าหมาย อาจยังไม่มีน้ำหนักเท่าที่ควรในการรับรู้ของสาธารณชนโดยทั่วไป แม้จะเป็นหนึ่งในจุดมุ่งหมายหลักของกรอบ IT ก็ตาม ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งความท้าทายในการพัฒนาการสื่อสารนโยบายการเงินของ ธปท.





    บทสรุปและแนวทางการสื่อสารในอนาคต


    การสื่อสารของ ธปท. มีวิวัฒนาการมาตามลำดับตลอดสองทศวรรษที่ผ่านมา ทั้งในมิติของช่องทางการสื่อสารและเนื้อหาสาระ การสื่อสารของนโยบายการเงินมีความโปร่งใสมากขึ้นเป็นลำดับ สาระของการแถลงข่าวสามารถทำให้ผู้อ่านสกัดข้อมูลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจและนโยบายการเงินออกมาได้ และยังช่วยในการคาดการณ์ทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายของตลาดอีกด้วย และจากการวิเคราะห์การสื่อสารในช่องทางอื่น ๆ และข่าวเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง พบว่า ธปท. สามารถส่งสารถึงประชาชนเกี่ยวกับพันธกิจหลักของ ธปท. รวมไปถึงบทบาทการเป็นผู้นำทางความคิดในด้านการพัฒนาประเทศได้เป็นอย่างดี แต่ในภาพรวม ธปท. ยังมีช่องว่างระหว่างเรื่องที่เป็นพันธกิจหลักบางเรื่องกับการรับรู้ของสาธารณชน เช่น การดูแลเงินเฟ้อ ซึ่งอาจเป็นความท้าทายของ ธปท. ในระยะข้างหน้า

    มีประเด็นหลัก 3 ประการที่ควรต้องคำนึงถึงในอนาคต ได้แก่ (1) การหาสมดุลระหว่างบทบาทของธนาคารกลางที่เป็นพันธกิจหลัก คือการรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจการเงิน และการเข้าไปมีบทบาทพัฒนาและมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและสังคมมากขึ้น ธนาคารกลางสามารถเลือกที่จะสื่อสารเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับพันธกิจโดยตรง หรือสามารถสื่อสารเพื่อชี้นำกระแสทางความคิดของสังคมในประเด็นที่อาจจะไม่เกี่ยวข้องกับพันธกิจโดยตรงแต่มีความสำคัญกับความกินดีอยู่ดีของประชาชนในส่วนรวม ทั้งนี้ แนวทางการสื่อสารควรจะต้องมีความสอดคล้องต่อเนื่อง เพื่อให้สาธารณชนสามารถคาดการณ์บทบาทและท่าทีของ ธปท. ได้ตามสถานการณ์เศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลง (2) ความโปร่งใสของการสื่อสารของนโยบายการเงินควรจะไปถึงจุดใด? ซึ่งในทางปฏิบัติมี trade off หลายประการที่ต้องพิจารณา เช่น การเปิดเผยรายละเอียดจากการประชุมมากขึ้นทำให้ความโปร่งใสมากขึ้น นำมาสู่ accountability ที่สูงขึ้น ขณะเดียวกัน ก็อาจสร้างความสับสนในการตีความหรือเพิ่มโอกาสของการถูกแทรกแซงด้วยเช่นกัน (3) ธนาคารกลางควรจะ engage กับผู้รับสารในวงกว้างมากน้อยเท่าใด และวิธีใดจึงมีประสิทธิภาพสูงสุด ท่ามกลางเนื้อหาที่หลากหลายและกลุ่มผู้รับสารที่กำลังขยายขอบเขต การวัดระดับความเข้าใจและระดับความไว้เนื้อเชื่อใจของประชาชนที่เกิดขึ้นจากการสื่อสาร เช่น การทำ survey จะช่วยเพิ่มความเข้าใจและกำหนดกลยุทธ์การสื่อสารได้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงมากขึ้น

    เอกสารอ้างอิง


    Apaitan, T. and C. Tantasith (2019), “Central Bank Communication: Perspectives through Text Mining,” PIER Discussion Paper, forthcoming.

    ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความนี้เป็นความเห็นของผู้เขียน ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

    https://www.pier.or.th/?abridged=ถอดบทเรียนสองทศวรรษ-การ&fbclid=IwAR22iVV5xImmOGVZxXzING5nUXs_9xXlSprz-ekXGau2dqEAqJTagjnd4-E
     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    52777701_2410632835622861_5641134896970727424_n.jpg?_nc_cat=109&_nc_ht=scontent.fbkk17-1.jpg
    (Feb 24) คนสื่อระส่ำหนักค่ายใหญ่ลดอีก - อุตสาหกรรม "สื่อ" ระส่ำ จับตา "ไทยรัฐช่อง 3" ส่งสัญญาณเออร์ลี่มี.ค.นี้ หลังโพสต์ทูเดย์ M2F ประกาศปิดตัว ส่วนเดลินิวส์-สยามกีฬามติชน เลย์ออฟลดต้นทุน นักวิชาการแนะเร่งปรับตัว เชื่ออีก 2 ปีสถานการณ์สื่อระอุ

    นับจากปี 2540 ที่ "สื่อ" ต้องเผชิญกับวิกฤติครั้งใหญ่ ส่งผลให้หนังสือพิมพ์หลายรายต้องล้มครืน ไม่ว่าจะเป็น สื่อในเครือวัฏจักร ไทยไฟแนนเชียล คู่แข่งธุรกิจ สื่อธุรกิจ (ในเครือเดลินิวส์) และสยามโพสต์ (ในเครือโพสต์) ขณะที่หนังสือพิมพ์อื่นที่เลือกเดินหน้าต่อ ก็ต้องรัดเข็มขัดทั้งการลดเงินเดือน ลดคนและลดการผลิตเพื่อพยุงธุรกิจให้อยู่รอด สื่อสิ่งพิมพ์เริ่มกลับมาลืมตาอ้าปากได้ โดยเฉพาะในช่วงปี 2555-2556 ที่สื่อหนังสือพิมพ์มียอดเม็ดเงินจากการโฆษณามากถึง 1.5-1.6 หมื่นล้านบาท ก่อนที่จะซบเซาและถดถอยต่อเนื่องจนมาถึงปัจจุบันที่มีเม็ดเงินลดลงเหลือเพียง 6,100 ล้านบาทในปี 2561

    แต่ไม่ใช่เฉพาะสื่อหนังสือพิมพ์เท่านั้น พบว่าสื่อนิตยสาร วิทยุ สื่อในโรงภาพยนตร์ต่างเติบโตลดลง บางสื่อติดลบมากกว่า 10% ส่งผลให้ตลอด 4-5 ปีที่ผ่านมาหนังสือพิมพ์ นิตยสาร ทยอยปิดตัวลง บางรายเลือกที่จะเปลี่ยนโมเดลธุรกิจสู่ออนไลน์ ลดคน ลดต้นทุน และเจาะฐานลูกค้าเฉพาะกลุ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น "กุลสตรี" ที่เลิกอยู่บนแผง (หนังสือ) หันมาอยู่บนจอ (คอมพิวเตอร์) แทน ขณะที่มติชน เดลินิวส์ สยามกีฬา ฯลฯ เลือกที่จะลดคน ลดต้นทุน

    ล่าสุดกับการประกาศปิดตัวหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ และ M2F ของเครือโพสต์ เขย่าให้วงการสื่อต้องย้อนกลับมาดูตัวเองอีกครั้งว่าเกิดอะไรขึ้น ทำไมสื่อใหญ่ที่มีทักษะ มีความแข็งแกร่ง กลับไม่สามารถยืนหยัด ปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค การ Disrupt ของโลกดิจิทัล และการแข่งขันบนโลกธุรกิจ เพราะไม่ใช่แค่เครือโพสต์เท่านั้น แต่ยักษ์ใหญ่อย่างเครือมติชน ที่ก่อนหน้านี้ประกาศลดพนักงาน และยังมีพี่ใหญ่อย่าง "ไทยรัฐ" ที่กำลังเขย่าคนในสื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อสร้างเสถียรภาพให้องค์กร เช่นเดียวกับ "ช่อง 3" ที่มีแผนลดคน ลดต้นทุนอีกระลอกในเดือนมีนาคมนี้ เพื่อต่อลมหายใจ

    ปิดโพสต์ทูเดย์ ปลุกสื่อระอุ

    ดร.สิขเรศ ศิรากานต์ นักวิชาการอิสระด้านสื่อดิจิทัลและสื่อใหม่ เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่านับเวลาจาก 5 ปีที่ผ่านมา เกิดการปลดพนักงานไปจำนวนมาก ซึ่งล่าสุดเกิดขึ้นกับกลุ่มโพสต์ โดยส่วนตัวมองว่าครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งสุดท้าย แต่เป็นจุดเริ่มต้นที่สะท้อนให้เห็นว่าจากนี้ไปอีก 2 ปีข้างหน้าสถานการณ์สื่อจะแข่งขันรุนแรงมากขึ้น และหนักกว่านี้

    "ปัจจัยที่เป็นสาเหตุให้สื่อในประเทศไทยและสื่อโลกไม่สามารถอยู่ได้ เนื่องจากในขณะนี้อุตสาหกรรมสื่อกำลังอยู่ในยุคของการปรับสมดุล และการเข้าสู่เทคโนโลยี AI และ IoT เต็มรูปแบบ”

    ทุกสื่อต้องปรับตัว

    สถานการณ์ในวันนี้ไม่ใช่เพียงแต่สื่อสิ่งพิมพ์เท่านั้นที่จำเป็นที่ต้องปรับตัว แต่เป็นสื่อทุกประเภทที่ต้องปรับตัว พร้อมทั้งยอมรับว่าสื่อสามารถอยู่ได้โดยอาศัยรายได้และกำไรที่เกิดขึ้น และเมื่อยอมรับได้ก็ควรปรับตัวอย่างเร่งด่วน หรือมองหาจุดสมดุลขององค์กรให้เจอ ซึ่งแต่ละองค์กรต่างมีคาแรกเตอร์ และกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน ดังนั้นสื่อควรเริ่มมองหากลุ่มเป้าหมายของตัวเองให้เจอก่อน จากนั้นมุ่งเน้นการสร้างรายได้โดยให้ความสำคัญกับสินค้าและบริการของตัวเองให้มากขึ้น ไม่ใช่มุ่งเน้นไปที่สินทรัพย์ประเภทอื่นๆจนไม่มีเวลาพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพ

    ขณะเดียวกันการปลดพนักงานในอุตสาหกรรมสื่อไม่ได้รุนแรงเพียงแค่ประเทศไทยเท่านั้นแต่เป็นทั่วโลกที่เกิดขึ้น ไม่เว้นแม้แต่สื่อออนไลน์ชื่อดังระดับโลก Buzzfeed ที่ได้ออกมาประกาศปลดพนักงานกว่า 15% หรือจำนวนกว่า 200 ตำแหน่ง ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวอาจจะสะท้อนให้สื่อออนไลน์ในประเทศไทยได้คิดตามว่าวันนี้สื่อออนไลน์แบรนด์ต่างๆ มีกลุ่มเป้าหมายของตัวเองชัดเจนหรือยัง หรือมีช่องทางสร้างรายได้อย่างไรบ้าง

    ชี้ทิศ "สื่อ" ปิดตัวเพม

    ด้านนางระริน อุทกะพันธ์ ปัญจรุ่งโรจน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การมีออนไลน์เข้ามานับเป็นปัจจัยสำคัญ และหากสื่อใดยังไม่ปรับตัวอาจจะทำให้อยู่ได้อย่างลำบากหรือเกิดเหตุการณ์ที่ต้องปิดตัวลง เช่นเดียวกับสื่อจำนวนมากที่ผ่านมาที่ต้องปิดตัว ขณะเดียวกันส่วนตัวมองว่ากลุ่มแบรนด์หรือลูกค้าในปัจจุบัน รวมถึงประชาชนทั่วไปยังมีกำลังซื้อแต่สิ่งสำคัญที่สื่อต่างๆต้องสำรวจคือการค้นหาว่ากลุ่มลูกค้าของสื่อนั้นอยู่ที่ใด และนำเสนอสินค้าและบริการให้ตรงตามต้องการ

    "อมรินทร์ปรับตัวเองมาอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับหนังสือบ้านและสวน ที่บริษัทไม่ใช่เพิ่งมาทำออนไลน์แต่ลองผิด ลองถูกมานานมากกว่า 5 ปี และที่ผ่านมาส่วนตัวเชื่อว่าฐานผู้อ่านยังมีอยู่ แต่ในวันนี้ไม่ได้แค่อยู่ในรูปแบบของสื่อสิ่งพิมพ์แล้วเท่านั้นแต่อยู่แพลตฟอร์มของออนไลน์เพิ่มเติม”

    Source: ฐานเศรษฐกิจ
     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    82&url=https%3A%2F%2Ftechcrunch.com%2Fwp-content%2Fuploads%2F2018%2F09%2FGettyImages-10174979961.jpg

    (Feb 24) แอ๊ปเปิ้ลรุกขายไอโฟน เงินผ่อน-ปลอดดอกเบี้ย : แอ๊ปเปิ้ล พยายามดิ้นรนเพื่อกระตุ้นยอดขายในตลาดจีน ล่าสุด จับมือกับแอนท์ ไฟแนนเชียล เซอร์วิสเซส กรุ๊ป ในเครืออาลีบาบาและธนาคารท้องถิ่นจีนหลายแห่ง ให้บริการซื้อไอโฟนแบบผ่อนชำระรายเดือนโดยไม่คิดดอกเบี้ย มั่นใจว่ากลยุทธ์การตลาดรูปแบบนี้ช่วยกระตุ้นยอดขายไอโฟนที่ร่วงลงได้

    แอ๊ปเปิ้ล อิงค์ ยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสัญชาติสหรัฐ ซึ่งออกแถลงการณ์เตือนว่ายอดขายไอโฟนในจีนจะร่วงลงเมื่อเดือน ที่แล้ว เนื่องจากผู้บริโภคเริ่มใช้จ่ายอย่างระมัดระวังมากขึ้นเพราะภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและเศรษฐกิจในหลายประเทศทั่วโลก

    แอ๊ปเปิ้ล ระบุในหน้าเว็บไซต์บริษัทว่า ภายใต้แผนส่งเสริมการขาย ครั้งนี้ ลูกค้าสามารถจ่ายเงินแค่เดือนละ 271 หยวน (40.31 ดอลลาร์)เพื่อซื้อไอโฟนเอ็กซ์อาร์ และจ่ายแค่เดือนละ 362 หยวนเพื่อซื้อ ไอโฟนเอ็กซ์เอส และหากลูกค้านำไอโฟนรุ่นเก่ามาแลกซื้อไอโฟนเครื่องใหม่จะได้ราคาที่ถูกลงไปอีก

    นอกจากนี้ ผู้ซื้อที่ซื้อผลิตภัณฑ์ของแอ๊ปเปิ้ลในมูลค่าขั้นต่ำ 4,000 หยวน สามารถขอสินเชื่อปลอดดอกเบี้ยที่มีระยะเวลาการผ่อนชำระ 3 เดือน 6 เดือน 9 เดือน 12 เดือน หรือ 24 เดือน โดยไอโฟนเอ็กซ์อาร์ และเอ็กซ์เอส ขนาด 64 กิกะไบท์ มีราคาขายอยู่ที่ 6,499 หยวนและ 8,699 หยวน ตามลำดับ

    ข้อเสนอนี้ของแอ๊ปเปิ้ล ทำร่วมกับบริษัทแอนท์ ไฟแนนเชียล บริษัทให้บริการทางการเงินในเครืออาลีบาบา ยักษ์ใหญ่ในธุรกิจอีคอมเมิร์ซของจีน ขณะที่ธนาคารชั้นนำของจีนหลายแห่งอย่าง ไชนา คอนสตรักชั่น แบงก์ คอร์ป ไชนา เมอร์แชนท์ แบงก์ โค จำกัด อะกริคัลเจอรัล แบงก์ ออฟ ไชนา จำกัด และอินดัสเตรียล แอนด์ คอมเมอร์เชียล แบงก์ ออฟ ไชนา จำกัด ก็เสนอสินเชื่อให้กับผลิตภัณฑ์ของแอ๊ปเปิ้ลเช่นกัน ในราคาซื้อขายขั้นต่ำที่ 300 หยวน

    ข้อมูลจากบริษัทวิจัย เคาน์เตอร์พอยท์ รีเสิร์ช ระบุว่า ยอดขายในจีนของแอ๊ปเปิ้ลแซงหน้าซัมซุงเมื่อปี 2558 คิดเป็นสัดส่วน 14% ของยอดขายมือถือในประเทศ แต่หลังจากนั้น แอ๊ปเปิ้ลก็ประสบภาวะ ขาลง เนื่องจาก "หัวเว่ย เทคโนโลยีส์ โค" และผู้ผลิตสมาร์ทโฟนเจ้าถิ่นรายอื่นๆ เข้ามาชิงส่วนแบ่งตลาด ด้วยการเสนอสมาร์ทโฟนที่มีรูปลักษณ์และฟีเจอร์คล้ายกันแต่มีราคาถูกกว่า

    เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา แอ๊ปเปิ้ล ได้ปรับลดตัวเลขคาดการณ์ รายได้ของตน โดยอ้างว่ามียอดขายซบเซาในจีน อย่างไรก็ตาม บริษัทอเมริกัน รายนี้ยังคงมีแนวโน้มดีกว่าซัมซุงในตลาดแดนมังกร แบรนด์แอ๊ปเปิ้ลยังครองใจกลุ่มลูกค้าชาวจีนที่ร่ำรวยมากขึ้นบางส่วน และยังรักษา ส่วนแบ่งตลาดของตัวเองได้อย่างเหนียวแน่ อีกทั้งบริษัทยังผลิตไอโฟน ในจีน ซึ่งช่วยสร้างงานได้จำนวนมาก

    นอกจากนี้ การทำสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน ส่งผลกระทบ โดยตรงต่อยอดขายและธุรกิจของแอ๊ปเปิ้ล แม้ในปี 2561 บริษัทจะสร้างประวัติศาสตร์กลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่ากว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ก็ตาม แต่เมื่อสรุปรายได้ในไตรมาสที่ 4 พบว่า รายได้บริษัทลดลงอยู่ที่ 84,000 ล้านดอลลาร์ จากเดิมที่เคยทำได้สูงสุดประมาณ 89,000-93,000 ล้านดอลลาร์ จนต้องส่งจดหมายแจ้งให้นักลงทุนทราบถึงสิ่งที่เกิดขึ้น และมีการคาดการณ์ว่าในไตรมาสที่ 1 ของปีนี้ รายได้จะลดลงอีก

    สำหรับสถานการณ์ของแอ๊ปเปิ้ล ตลาดจีนยังคงเป็นตลาดสำคัญใน การสร้างรายได้ คิดเป็น 15% ของรายได้ทั่วโลกที่บริษัททำได้ ส่วนสินค้าหลัก ที่สร้างรายได้คือผลิตภัณฑ์ไอโฟน สร้างรายได้ในสัดส่วนสองในสามให้บริษัท และไอโฟนยังเป็นสินค้าหลักที่เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคใช้สินค้าพ่วง ประเภทอื่นๆเพิ่ม อย่าง แม็คบุ๊ค แอ๊ปเปิ้ล วอทช์ แอร์พอดส์ และบริการต่างๆ อย่าง แอ๊ปเปิ้ล มิวสิค และแอ็พ สโตร์

    Source: กรุงเทพธุรกิจ

    -https://techcrunch.com/2019/02/22/apple-iphone-interest-free-china/?fbclid=IwAR0zfg6maDdQv4NqoO6ZBn6PAQsMqPsnRiew7z08ERi7J4mWG9KMW3AQJTM
     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students

    (Feb 24) แบงก์เปิดศึก ชิงเค้ก สินเชื่อออนไลน์ - แบงก์เปิดศึกชิงตลาดดิจิตอล "ไทยพาณิชย์" นำร่องเจาะตลาดบัตรเครดิตออนไลน์ 1.5 แสนใบคาดกวาดเม็ดเงิน 2 หมื่นล้านบาท "กรุงศรี อยุธยา" ดันพอร์ตออนไลน์เป็น 15% วงเงิน 3 พันล้านบาท ขณะที่ "กสิกรไทย"ขอโต 1 เท่าตัว ยอดแตะ 3 หมื่นล้านบาทฟาก "ซีไอเอ็มบี ไทย" จับมือพันธมิตรจีนรุกลูกค้าผ่านโซเชียล

    ภาพระบบการชำระเงินออนไลน์ ปี 2561 ที่เพิ่มขึ้น 83% จากปี 2559 โดยเฉพาะรายย่อยที่เติบโตขึ้นถึง 115% ขณะที่การชำระเงินผ่านอินเตอร์เน็ตหรือโมบาย แบงกิ้งโตขึ้นถึง 260% ซึ่งสวนทางกับการโอนเงินผ่านสาขาที่ลดลงไป 30% สะท้อนว่า คนหันมาใช้ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้นที่สำคัญการถอนเงินสดผ่าน ATM ลดลงเป็นครั้งแรกเช่นกัน จากที่เคยเพิ่มขึ้นปีละ 2-3% สอดคล้องกับทิศทางการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ที่จะหันมาปล่อยสินเชื่อผ่านออนไลน์มากขึ้นเช่นกัน

    นายสารัชต์ รัตนาภรณ์ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ทิศทางการปล่อยสินเชื่อออนไลน์ หรือ Digital Lending ปีนี้ จะเน้นขยายฐานสินเชื่อผ่านลูกค้าโมบายแบงกิ้ง หรือ SCB Easy เพื่อต่อยอดไปสู่การปล่อยสินเชื่อ ตั้งเป้าเพิ่มฐานลูกค้าโมบายแบงกิ้งรายใหม่ 3 ล้านราย จากปัจจุบัน 9 ล้านราย โดยจะขยายสินเชื่อบนฐานลูกค้าบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล (Presonal Loan) และสินเชื่อผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก (SSME)

    ทั้งนี้ ตั้งเป้าเพิ่มลูกค้ารายใหม่บัตรเครดิตบนช่องทาง ออนไลน์ 1.5 แสนใบ จากเป้ารวมทั้งปี 4 แสนใบ จะมีเม็ดเงินสินเชื่อระยะสั้น 6-10 เดือนราว 2 หมื่นล้านบาท ส่วนลูกค้า SSME คาดว่าจะมีเม็ดเงินราว 1 หมื่นล้านบาท ส่วนอัตราดอกเบี้ยจะแตกต่างกัน ขึ้นกับวงเงินและระยะเวลาการผ่อนชำระ แต่จะต่ำกว่าปกติทั่วไป โดยช่วงแรกจะเน้นขยายฐานลูกค้าเดิมก่อน เพราะมีข้อมูล สามารถวิเคราะห์โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาช่วยวิเคราะห์พฤติกรรมและสามารถทำการตลาดบนดิจิทัล(Marketing Digital) ที่ตรงความต้องการในแต่ละรายได้เหมาะสม

    นายฐากร ปิยะพันธ์ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านกรุงศรี คอนซูมเมอร์ และผู้บริหารสายงานดิจิทัลแบงกิ้งและนวัตกรรม ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การปล่อยสินเชื่อออนไลน์หรือ สินเชื่อ iFin ยังเป็นการขอสินเชื่อผ่านออนไลน์ที่ทำงานบนออฟไลน์อยู่ เพราะยังต้องให้ลูกค้าเซ็นเอกสาร แต่เชื่อว่า หลังจากมีการพิสูจน์ตัวตนผ่านอิเล็กทรอนิกส์ (e-KYC) จะทำให้การขอสินเชื่อเป็นออนไลน์ทั้งหมด โดยลูกค้าจะทำธุรกรรมที่เรียกว่า e-Signature และขั้นตอนอนุมัติ 1 วัน แม้จะลดลงจากอดีต 5-6 วัน แต่ระยะใกล้น่าจะอนุมัติได้ภายในนาทีหรือวินาทีได้ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการปล่อยสินเชื่อลงได้ 30-40% เทียบกับการปล่อยสินเชื่อแบบเดิม

    ทั้งนี้ในปี 2562 หลังจาก e-KYC ออกมา ตั้งเป้าขยับสัดส่วนสินเชื่อออนไลน์อยู่ที่ 15% ของยอดคำขอสินเชื่อออนไลน์ทั้งหมด จากปัจจุบันเพียง 5% โดยคิดเป็นสินเชื่อ 3,000 ล้านบาท จากปี 2561 ที่สินเชื่อ iFin อนุมัติได้ 200 ล้านบาท หรือมีผู้ยื่นคำขอ 3 หมื่นราย ซึ่งเริ่มจากฐานลูกค้าเก่า โดยจะเป็นการปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อบัตรเครดิตเท่านั้น แต่ภายในไตรมาส 3 จะเริ่มปล่อยสินเชื่อออนไลน์ในส่วนของสินเชื่อรถยนต์และสินเชื่อที่อยู่อาศัย

    นายอดิศร เสริมชัยวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจรายย่อย บมจ.ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวว่า บริษัทอยู่ระหว่างหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เพื่อขออนุมัติปล่อยสินเชื่อดิจิทัล ภายใต้สินเชื่อบุคคล ซึ่งภายในเดือนกุมภาพันธ์ชี้แจงรายละเอียดและหลักการวิเคราะห์สินเชื่อ คาดว่าน่าจะเริ่มทดลองทำได้ในเดือนเมษายน เบื้องต้นตั้งวงเงินปล่อยกู้ไว้ 2,000 ล้านบาท โดยทำร่วมกับพันธมิตรสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ (Non Bank) ในจีน 2-3 ราย ซึ่งล่าสุดคัดเลือก 1 ราย และทำระบบไว้แล้ว

    "พันธมิตรจะเข้ามาช่วยเรื่องขั้นตอนการเก็บข้อมูล เพื่อนำไปวิเคราะห์สินเชื่อและดูพฤติกรรมการชำระหนี้และวินัยการเงิน เช่น ข้อมูลโซเชียล ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ต้นทุนตามความเสี่ยง จากเดิมที่วิเคราะห์ตามรายได้ผู้กู้ แต่ในอนาคตจะวิเคราะห์ตามพฤติกรรมและวินัยเช่น คนมีรายได้น้อย แต่มีวินัยดี ชำระหนี้ที่ดี อัตราดอกเบี้ยจะถูกลง เมื่อเทียบคนที่มีรายได้สูง”

    นายพัชร สมะลาภา กรรมการผู้จัดการ บมจ.ธนาคารกสิกรไทยกล่าวว่า ธนาคารตั้งเป้าการปล่อยสินเชื่อดิจิทัลเติบโต 1 เท่าจากปีก่อน คิดเป็นวงเงิน 3 หมื่นล้านบาทจากปีก่อน 1.5 หมื่นล้านบาท โดยลูกค้าสามารถขอวงเงินผ่านแอพพลิเคชัน K PLUS ได้ แต่การอนุมัติสินเชื่อ (Approve) ยังใช้ทีมงานหลังบ้านเป็นคนอนุมัติ
    7.jpg 8.jpg
    Source: ฐานเศรษฐกิจ
     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    tps%3A%2F%2Fbrandinside.asia%2Fwp-content%2Fuploads%2F2019%2F02%2Fshutterstock-444483793-buffett.jpg

    (Feb 24) สรุปจดหมาย Warren Buffett ถึงผู้ถือหุ้น Berkshire Hathaway ประจำปี 2018 :Brand Inside สรุปประเด็นสำคัญๆ จากจดหมายของ Warren Buffett ถึงผู้ถือหุ้น Berkshire Hathaway ซึ่งในปีที่ผ่านมาบริษัทสามารถเอาชนะดัชนี S&P 500 ได้ Warren Buffett มหาเศรษฐีชาวสหรัฐฯ ประธานของบริษัทลงทุน Berkshire Hathaway ได้เขียนจดหมายถึงนักลงทุนของบริษัท ในปี 2018 เป็นปีที่ท้าทายการลงทุนของบริษัทเป็นอย่างมาก เนื่องจากปัญหาสงครามการค้า ฯลฯ แม้ว่าปีที่ผ่านมาดัชนี S&P 500 จะทำผลตอบแทนได้แย่โดยติดลบไป 4.4% แต่บริษัทของ Buffett เองกลับทำผลตอบแทนได้เอาชนะตลาด โดยปีที่ผ่านมาทำผลตอบแทนได้ 0.4%
    Brand Inside สรุปประเด็นสำคัญๆ ในจดหมายมาฝาก

    - ล่าสุด Berkshire Hathaway มีเงินสดอยู่ในมือประมาณ 112,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3.5 ล้านล้านบาท

    - ปัญหาของบริษัทที่มีเงินสดเยอะๆ คือจะบริหารและใช้จ่ายเงินสดที่มีมหาศาลอย่างไรดี Buffett ได้เขียนไว้ว่า ปัจจุบันการซื้อบริษัทใหญ่ๆ เป็นเรื่องที่ไม่ดีเท่าไหร่นัก เนื่องจากมีมูลค่าค่อนข้างแพงเมื่อเทียบกับความคุ้มค่าระยะยาว

    - Buffett ยังกล่าวต่อว่าเขาเองจะนำเงินสดที่มีอยู่มาลงทุนมากขึ้น แต่เขาเองก็ยังดูๆ บริษัทที่น่าสนใจที่จะซื้ออยู่ จะได้ทำให้หัวใจได้เต้นแรงบ้าง

    - การที่เขาบอกว่าจะซื้อหุ้นปีนี้ ไม่ได้แปลว่าจะชวนให้คนอื่นๆ ซื้อตาม เพราะเขาก็ไม่รู้เหมือนกันว่าตลาดในอนาคตจะเป็นอย่างไร

    - ปลายปีที่ผ่านมาพอร์ตการลงทุนของบริษัทได้ผันผวนสูงมาก โดยมีอยู่ช่วง 2-3 วันที่พอร์ตการลงทุนผันผวนระดับ 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐเลยทีเดียว

    - ธุรกิจเดินรถไฟกับประกันภัยได้ประโยชน์จากนโยบายลดภาษีของประธานาธิบดีทรัมป์

    - ปีที่ผ่านมาบริษัทได้รับผลกระทบจากกรณีของ Kraft Heinz ปรับลดมูลค่าของแบรนด์ลง ทำให้ในไตรมาส 4 ที่ผ่านมาบริษัทได้รับผลกระทบถึง 2,700 ล้านเหรียญสหรัฐ

    โดย attanapong Jaiwat
    Source: Brandinside.asia

    - https://brandinside.asia/warren-buf...kPN8I1TYYO4J4NQZsWwadVOm0_Cv14-pA7sfmQ4LekVwg
     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    ces%2Fimg%2Feditorial%2F2019%2F02%2F23%2F105756615-1550942384766gettyimages-1126874645.1910x1000.jpg
    (Feb 24) เกิดเหตุปะทะกันด้วยกำลังระหว่างประชาชนและเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงบริเวณชายแดนเวเนซุเอลาติดบราซิลและโคลัมเบีย ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตเบื้องต้น 2 คน : ชนวนเหตุครั้งนี้เกิดจากความขัดแย้งที่ประธานาธิบดีนิโคลัส มาดูโร สั่งปิดชายแดนและห้ามขนย้ายสิ่งของบรรเทาทุกข์จากนานาชาติ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นของสหรัฐเข้าประเทศ แต่ชาวบ้านต้องการเสบียงอาหารและยาเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนยาอย่างหนัก เพราะภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ
    ชาวบ้านจำนวนมากจึงแห่ไปชายแดนหลังจากแกนนำฝ่ายค้าน รวมถึงนายฮวน กุยโด ที่ประกาศตัวเป็นประธานาธิบดีรักษาการ รวบรวมกลุ่มผู้สนับสนันไปขนย้ายสิ่งของบรรเทาทุกข์เข้าประเทศ แม้ว่าจะเกิดเหตุปะทะที่ทำให้มีผู้เสียชีวิต
    ส่วนทหารได้รับคำสั่งให้สกัดกั้นการขนย้ายสิ่งของบรรเทาทุกข์นี้ จึงเกิดการเผาเสบียงทิ้ง ขณะที่ประชาชนพยายามฝ่าแก๊สน้ำตาเข้าไปขนถ่ายสิ่งของที่ยังไม่ถูกไฟไหม้
    อย่างไรก็ตาม บริเวณที่เกิดการปะทะกันอย่างรุนแรงระหว่างประชาชนและเจ้าหน้าที่คือที่สะพานซานตานเดอร์ หลังจากสามีภรรยาคู่หนึ่งถูกสังหารบริเวณพรมแดนติดบราซิล และเจ้าหน้าที่ยังคงยิงแก๊สน้ำตาสกัดประชาชนไม่ให้เข้าไปขนย้ายสิ่งของบริจาคที่เมืองยูเรนา แต่ผู้ประท้วงยังคงฝืนตอบโต้กลับด้วยการปาหินเข้าใส่ โดยมีรายงานว่า มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากการปะทะบริเวณนี้อย่างน้อย 24 คน
    ขณะที่นายกุยโด แม้จะได้รับการรับรองจากรัฐบาลประเทศต่างๆกว่า 50 ประเทศ รวมถึงสหรัฐ และชาติยุโรป แต่ยังไม่สามารถเปลี่ยนท่าทีทหารระดับสูงในกองทัพได้ และปัญหาขัดแย้งทางการเมืองในประเทศนี้ส่อเค้าว่าจะยืดเยื้อต่อไปอีกนาน
    Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    - Venezuela protests flare, at least 2 dead amid fight over assistance at Colombian border: https://www.cnbc.com/2019/02/23/reu...01pH45tS4RqUa2NY9fmUyMWUHb4R1dFSTfR4tbCzN_Hc8
     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    f_k8i0E_bYMFMF-z8Uj5TUoysZcYXydbytYEaVVn9BDiaeEQ2ibgnm-fnYHhJB8egt9MDZg&_nc_ht=scontent.fbkk17-1.jpg

    (Feb 23) ลุ้นบาทแข็งยาวถึงกลางปี แบรนด์เนมแฟชั่น หั่นราคา : หากเงินบาทแข็งค่าขึ้นในระดับที่มากพอ จะส่งแรงกระเพื่อมให้กลุ่มแฟชั่นมีมูฟเมนต์ ทั้งการนำเข้าและการแข่งขัน

    ลุ้นเงินบาทแข็งค่ายาวต่อเนื่องถึงกลางปี ส่งอานิสงส์ผู้ประกอบการนำเข้าวัตถุดิบ เครื่องจักร และเอสเอ็มอี ขณะที่กลุ่มแฟชั่นเสื้อผ้า แบรนด์เนม ไร้สัญญาณปรับราคาสินค้าลดลง

    สถานการณ์เงินบาทแข็งค่าที่ต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออก ที่เรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกมาตรการช่วยเหลือ เพื่อบรรเทาผลกระทบที่จะเกิดขึ้น แต่ในทางตรงข้ามผู้นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศย่อมได้อานิสงส์ จากอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้น ทำให้สามารถสร้างมูลค่าทางธุรกิจได้มากขึ้น โอกาสที่สินค้าต่างๆ จะลดราคาลง ท่ามกลางภาวะค่าครองชีพที่สูงในปัจจุบัน

    นายรอนนี่ โกรเวอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท รอนนี่ อินเตอร์-เทรดดิ้ง จำกัด ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายสินค้าแฟชั่นเสื้อผ้าและเครื่องประดับจากต่างประเทศ อาทิ Knot ,Daniel Wellington, We-wood, Victoria, See By Chloe, Calvin Klein Jeans, Diadora, Hey Dude และ Knott เป็นต้น เปิด เผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"ว่า ในช่วงนี้แม้ค่าเงินบาทจะมีผลต่อกลุ่มธุรกิจนำเข้าก็จริง แต่ต้องยอมรับว่ายังมีผลไม่มาก เนื่องจากการแข็งตัวขึ้นของค่าเงินบาทไม่ได้มีการแข็งตัวขึ้นมากจนเห็นได้ชัดหรือมีอัตราแลกเปลี่ยนที่สูงมาก ซึ่งกลุ่มธุรกิจที่ได้รับอานิสงส์จากค่าเงินบาทที่แข็งตัวขึ้นในช่วงนี้มองว่าเป็นกลุ่มผู้นำเข้าชิ้นส่วนหรือวัตถุดิบต่างๆ ที่ไปใช้ผลิตเป็นสินค้าในโรงงานต่างๆ ภายในประเทศมากกว่าที่จะได้รับประโยชน์

    "มองว่ากลุ่มโรงงานการผลิตที่มีการนำเข้าชิ้นส่วนหรือวัตถุดิบจะเป็นกลุ่มที่ได้รับประโยชน์จากค่าเงินบาทที่แข็งตัวมากที่สุด เพราะว่ามีการนำเข้ามาจำนวนมากและต่อเนื่องเพื่อใช้ในการผลิต ซึ่งการแข็งตัวแม้จะแค่ .50 บาท หรือแค่ 1 ดอลลาร์ ก็ถือว่าเป็นสัดส่วนที่สูงมากเมื่อเทียบกับการนำเข้าจำนวนมากในการผลิต แต่หากถามว่าในกลุ่มแฟชั่นนำเข้านั้นได้รับผลดีหรือไม่แน่นอนว่าก็ย่อมเป็นผลดีแต่ไม่หวือหวา”

    อย่างไรก็ตามท้ายที่สุดมองว่าหากค่าเงินบาทแข็งตัวมากขึ้นกว่านี้ในระยะยาวแน่นอนว่าอาจจะมีผลต่อกลุ่มธุรกิจแฟชั่นในไทย ทำให้โอกาสที่ราคาสินค้าจะลดลง แต่ทั้งการแข่งขันก็จะสูงขึ้น ผู้เล่นแต่ละรายจะงัดกลยุทธ์มาแข่งกัน จำนวนผู้นำเข้าที่อาจจะมากขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นที่ผ่านมาเรื่องค่าเงินบาทแข็งตัวยังไม่ได้กระทบหรือเห็นผลชัดเจนในกลุ่มธุรกิจแฟชั่น ซึ่งหากค่าเงินบาทแข็งตัวในระดับที่มากขึ้นเมื่อเทียบอัตราแลกเปลี่ยน ถึงจะสามารถส่งแรงกระเพื่อมให้กลุ่มแฟชั่นมีมูฟเมนต์ที่เห็นได้ชัด นั่นเองจะเห็นการนำเข้า หรือมิติการแข่งขันใหม่ๆ ในแวดวงแฟชั่นนำเข้า แต่โดยส่วนตัวเชื่อว่าค่าเงินบาทจะไม่มีทางแข็งตัวขึ้นไปจนถึงระดับนั้นอย่างแน่นอน เนื่องจากรัฐบาลของแต่ละประเทศคงต้องมีการป้องกันหรือแก้ไขปัญหาที่อาจจะส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศอยู่แล้ว

    ด้านนางสาวภัทรพร เพ็ญประพัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายการตลาดและประชาสัมพันธ์บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด ผู้บริหาร เซ็นทรัลฟู้ด ฮอลล์ และ ท็อปส์ กล่าวว่า สินค้านำเข้าที่วางจำหน่ายในร้านค้าปลีก จะมาจาก 2 ส่วนคือ สินค้าที่บริษัทนำเข้าโดยตรง และสินค้าที่นำเข้าโดยซัพพลายเออร์ ซึ่งหากซัพพลายเออร์ไม่ปรับขึ้นราคาสินค้า รีเทลก็จะไม่ปรับขึ้นราคาเช่นกัน ขณะที่การนำเข้าโดยตรง ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าประเภทซีซันนัล เช่น ผลไม้ ฯลฯ ซึ่งราคาจะขึ้นลงตามดีมานด์ซัพพลาย ทั้งนี้หากค่าเงินบาทยังแข็งค่ายาวต่อเนื่องไปจนถึงกลางปี อาจจะส่งผลกระทบบ้างเล็กน้อย

    ขณะที่นายฉัตรชัย ตวงรัตนพันธุ์ ผู้อำนวยการบริหารสมาคมผู้ค้าปลีกไทย กล่าวว่า เชื่อว่าค่าเงินบาทที่แข็งค่าในขณะนี้จะไม่ส่งผลกระทบเชิงบวกหรือลบต่อผู้ประกอบการนำเข้ารายใหญ่ โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าแบรนด์เนมมากนัก เพราะกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะมีการประกันความเสี่ยงจากการลงทุน แต่ที่จะได้อานิสงส์จะเป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อมหรือกลุ่มเอสเอ็มอี ซึ่งกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะไม่ได้ทำประกันความเสี่ยงแต่อย่างใด ซึ่งหากค่าเงินบาทแข็งจะส่งผลดี แต่ขณะเดียวกันก็ต้องระวังหากเกิดกรณีค่าเงินบาทอ่อน กลุ่มนี้ก็จะได้รับผลกระทบเช่นกัน แต่โดยภาพรวมเชื่อว่าผู้ประกอบการจะปรับตัวได้ เช่นเดียวกับหลายๆ ประเทศ

    "ณ วันนี้เชื่อว่าสินค้านำเข้าต่างๆ จะยังไม่ได้ประโยชน์ จากค่าเงินบาทที่แข็งตัวมากนัก เพราะสินค้าที่วางขายในปัจจุบันส่วนใหญ่ออร์เดอร์นำเข้าเมื่อ 6-8 เดือนก่อน และส่วนใหญ่จะประกันความเสี่ยงต่างๆ รวมถึงความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนด้วย ดังนั้นเชื่อว่าแบรนด์เนมจะไม่ได้รับผลกระทบเชิงบวกมากนัก”

    Source: ฐานเศรษฐกิจ
     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    i-3937bb4%252Fimages%252F7%252F8%252F4%252F6%252F19416487-3-eng-GB%252FCropped-15505751420054707.jpg

    (Feb 23) ตลาดเกิดใหม่เอเชีย รับอานิสงส์วิตกการค้า : บรรดานักลงทุนแห่ย้ายเงินทุนกลับไปในตลาดเกิดใหม่ของเอเชีย และพื้นที่อื่นๆ โดยหวังว่าสหรัฐจะชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ย และบรรลุข้อตกลง การค้ากับจีน อย่างไรก็ตาม นักลงทุนจำนวนมากยังคงกระวนกระวาย เนื่องจากการเจรจาระหว่างสหรัฐกับจีนแทบไม่มีแนวโน้มที่จะได้ผลสำเร็จขนาดนั้น

    ข้อมูลจากบริษัทควิก-แฟคท์เซต ระบุว่า นับตั้งแต่เริ่มต้นปีนี้ มีเงินทุนสุทธิจำนวน 1.6 หมื่นล้านดอลลาร์ไหลเข้าเศรษฐกิจเกิดใหม่ ผ่านกองทุนเปิดที่ จดทะเบียนและซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ (อีทีเอฟ) สหรัฐ ตัวเลขดังกล่าวยังเห็นได้ชัดเจนในบรรดากองทุนอีทีเอฟสหรัฐที่เชี่ยวชาญข้อมูลในจีน

    เมื่อเดือนม.ค. บรรดานักลงทุน ต่างชาติซื้อหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดเซี่ยงไฮ้และเสิ่นเจิ้นผ่านฮ่องกง มูลค่าสุทธิ 6.07 หมื่นล้านหยวน นับเป็นการซื้อ รายเดือนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และยังเพิ่มขึ้น 73% จากช่วงเดียวกันของ ปีก่อนหน้า

    การซื้อสุทธิขนาดใหญ่ยังเกิดขึ้นต่อเนื่องถึงเดือนนี้ และในเดือนครึ่งแรกของปี เงินไหลเข้าสุทธิสู่ตลาดหุ้นจีนแตะที่ 9.9 หมื่นล้านหยวน แซงหน้าตัวเลขเฉลี่ยรายเดือน ของปีที่แล้ว ซึ่งอยู่ที่ 2.45 หมื่นล้านหยวน

    ในเดือนพ.ค.-ก.ค. ปีที่แล้ว มีเงินไหลออกสุทธิจากตลาดเกิดใหม่จำนวน 1.14 หมื่นล้านดอลลาร์ ส่วนหนึ่งได้รับแรงกระตุ้นจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และวิกฤติค่าเงินในอาร์เจนตินาและตุรกี

    อย่างไรก็ดี ความเชื่อมั่นของตลาดกลับมาสดใสอย่างรวดเร็วในช่วงต้นเดือนม.ค. ที่ผ่านมา หลังเจอโรม พาวเวล ประธานเฟดส่งสัญญาณว่าจะชะลอ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยลงในปีนี้

    ขณะที่การลงทุนในตลาดเกิดใหม่แตะระดับสูงสุดในรอบ 1 ปีมาอยู่ที่ 1.01 หมื่นล้าน ดอลลาร์ในเดือนม.ค. และจนถึงขณะนี้ยังมีแนวโน้มที่จะเติบโตอีกในเดือนนี้

    "ผลตอบแทนไหลเข้าสู่เศรษฐกิจเกิดใหม่เป็นหลักฐานชัดเจนว่า กองทุนต่างๆ กลับมาสู่ตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรแล้ว" ทาคาฟูมิ โฮริอูจิ นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารมิซูโฮ กล่าว

    ดัชนีหุ้นในบรรดาเศรษฐกิจเกิดใหม่และประเทศในเอเชีย ต่างเพิ่มขึ้นเกือบทั่วทุกพื้นที่ ดัชนีเซี่ยงไฮ้ คอมโพซิต ทะยาน 10% นับตั้งแต่เริ่มต้นปีนี้ ฟื้นตัวจากที่เคยร่วง 25% ในปีก่อน ขณะที่ดัชนีตลาดเกิดใหม่เอ็มเอสซีไอ เพิ่มขึ้น 6% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

    นอกจากนั้น ค่าเงินในบรรดาตลาดเกิดใหม่ยังแข็งค่าขึ้น เช่นเงินหยวนซึ่งอ่อนค่าแตะระดับต่ำที่สุดในรอบ 10 ปีเมื่อปีที่แล้ว กำลังแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง

    การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐมีแนวโน้มที่จะทำให้เงินทุนไหลออกและทำให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น แม้บรรดาเศรษฐกิจเกิดใหม่ถูกบีบให้ต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อปกป้องค่าเงินของตนในปี 2561 และมีแนวโน้มมากขึ้น ที่จะผ่อนคลายนโยบายทางการเงินเพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ปัจจุบัน เฟดเรียกร้องให้ระงับการปรับขึ้น ดอกเบี้ยเป็นการชั่วคราว

    เมื่อต้นเดือนนี้ พอล คิตนีย์ หัวหน้า นักกลยุทธ์หุ้นฝ่ายการวิจัยเอเชียแปซิฟิกของบริษัทไดวะ แคปิตัล มาร์เก็ตส์ในฮ่องกง แนะนำว่า นักลงทุนควรหันไปให้ความสำคัญกับหุ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น และว่าฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียไม่มีความจำเป็นต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกต่อไป

    ผู้ค้าหลักทรัพย์รายหนึ่งในฮ่องกง เผยว่า นอกจากแนวโน้มที่ผ่อนคลายลงของเฟดแล้ว หลายฝ่ายยังมองว่าการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนน่าจะเสร็จสิ้นพร้อมกับการบรรลุข้อตกลง

    ตลาดหลายแห่งได้รับผลกระทบอย่างหนักจากความตึงเครียดทางการค้าเมื่อปีที่แล้ว เนื่องจาก 2 เศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดในโลกต่างออกมาตรการเก็บภาษีตอบโต้กันไปมา

    รัฐบาลวอชิงตันและปักกิ่งได้กำหนดกรอบการเจรจา 90 วันเมื่อเดือนธ.ค. ที่ผ่านมา แต่กลับขจัดความแตกตื่นในตลาดไม่ได้อย่างสิ้นเชิง เนื่องจากความเชื่อมั่นนักลงทุนถูกสั่นคลอนซ้ำหลายครั้ง จากรายงานข่าวที่ขัดแย้งกันเกี่ยวกับความคืบหน้าของการเจรจาดังกล่าว

    มีกระแสคาดการณ์มากขึ้นว่า 2 ยักษ์เศรษฐกิจโลกจะบรรลุข้อตกลงกันได้ โดยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐ ส่งสัญญาณว่าเต็มใจที่จะประนีประนอมกับจีน เช่น ขยายเส้นตาย การเจรจาออกไปจากเดิมซึ่งกำหนดไว้ในวันที่ 1 มี.ค.นี้

    แม้เศรษฐกิจจีนอยู่ในช่วงชะลอตัว แต่ตลาดเงินต่างหวังว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลปักกิ่งจะเริ่มเห็นผลในช่วงครึ่งหลังของปีนี้

    ในขณะที่หุ้นในฮ่องกงและไต้หวันกำลังเปราะบางต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในจีน แต่หุ้นเหล่านี้กำลังฟื้นตัวขึ้นจากภาวะตกต่ำในปีที่แล้ว

    หนึ่งในสัญญาณสำคัญคือบรรดาบริษัทจีนซึ่งปรับลดคาดการณ์รายได้ของตนอยู่บ่อยครั้ง นักลงทุนรายหนึ่งในฮ่องกง กล่าวว่า ขณะนี้ราคาหุ้นกำลังทะยานขึ้นอย่างมีความหวัง แม้จะยังขาดแรงจูงใจในการซื้อหุ้นรอบใหม่ก็ตาม

    ในอดีต สภาพคล่องที่มากเกินไปซึ่งเกิดจากการผ่อนคลายทางการเงิน ส่งผลให้เกิดภาวะฟองสบู่ และในขณะที่การพักปรับขึ้นดอกเบี้ยของเฟดกระตุ้นให้มีเงินไหลเข้าเศรษฐกิจเกิดใหม่มากขึ้น ความเสี่ยง ต่อราคาสินทรัพย์จะยังคงเพิ่มขึ้น ต่อไป

    Source: กรุงเทพธุรกิจ

    - Money returns to Asian emerging markets as fears fade:
    https://asia.nikkei.com/Business/Ma...KxCsSJf2zFQcAaLvM6-MW2mFAte4GorzX3WrXNwDdPHUM
     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    GRbXyw60tBRWJXbzC4_fj-4d7QCAzUVGSP2paz9RvoT7uOc3Wrj6ivYsf1Cvyxn-1nFqf1A&_nc_ht=scontent.fbkk17-1.jpg
    (Feb 23) กม.ไซเบอร์-คุ้มครองข้อมูล : การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เมื่อ 22 ก.พ.ที่ผ่านมา ได้มีวาระการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคง ปลอดภัยทางไซเบอร์ และร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ซึ่งหาก สนช.ให้ความเห็นชอบในวาระ 2-3 ก็พร้อมประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาทันที

    ตั้งกรรมการพรึ่บ ! คุมไซเบอร์

    สำหรับร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ หากประกาศใช้จะมีการตั้ง "กมช." คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่ง อาทิ รัฐมนตรีกลาโหม เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นผู้กำหนดนโยบายและแผนงาน

    แต่ในการดำเนินงานจะมี "กกม." คณะกรรมการกำกับดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ซึ่งมีรัฐมนตรีดีอีเป็นประธาน มีกรรมการโดยตำแหน่ง อาทิ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ปลัดกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ผู้ว่าการ ธปท. เลขาธิการ ก.ล.ต. เลขาธิการ กสทช. กำหนดแนวทางปฏิบัติของหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ (CII) และประสานการเผชิญเหตุโดยหากเป็นภัยคุกคามระดับ "ร้ายแรง" อาจมอบอำนาจให้รัฐมนตรีดีอี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ปฏิบัติการได้

    กำหนด CII 8 ด้าน

    สาระสำคัญ คือ จะประกาศรายชื่อหน่วยงานที่มีภารกิจ หรือ บริการใน 8 ด้าน เป็นหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทาง สารสนเทศ ได้แก่ ความมั่นคงของรัฐ บริการภาครัฐที่สำคัญ การเงินการธนาคาร ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม การขนส่งและโลจิสติกส์ พลังงานและสาธารณูปโภค สาธารณสุข และด้านอื่น ๆ ตามที่บอร์ดกำหนดเพิ่มเติม ซึ่งมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยที่กำหนด

    ทั้งยังได้แบ่งประเภทภัยคุกคามทางไซเบอร์ออกเป็น 3 ระดับ คือ "ไม่ร้ายแรง" หมายถึง ภัยคุกคามที่มีความเสี่ยงทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ของ CII หรือบริการของรัฐด้อยประสิทธิภาพลง "ร้ายแรง" หมายถึง การโจมตีระบบ มุ่งเป้าที่ CII ทำให้บริการภาครัฐ ความมั่นคงของรัฐ การป้องกันประเทศ เศรษฐกิจ สาธารณสุข ความปลอดภัยสาธารณะ หรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนเสียหายจนไม่สามารถทำงานหรือใช้บริการได้

    "วิกฤต" มีการโจมตีที่ส่งผลกระทบรุนแรงในวงกว้าง ทำให้ระบบล้มเหลวจนรัฐไม่สามารถควบคุมได้ มีความเสี่ยงที่จะลามไปยังโครงสร้างพื้นฐานสำคัญอื่น ๆ หรือเป็นภัยที่กระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือความมั่นคงของรัฐ หรืออาจทำให้ประเทศหรือส่วนใดส่วนหนึ่งตกอยู่ในภาวะคับขัน ซึ่งจำเป็นต้องมีมาตรการเร่งด่วนเพื่อรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ

    ให้อำนาจเมื่อภัยร้ายแรง-วิกฤต

    เมื่อ กกม.เห็นว่าเกิดหรือคาดว่าจะเกิดภัยคุกคามระดับร้ายแรง ให้ออกคำสั่งเพื่อรับมือ ได้มีหนังสือขอความร่วมมือบุคคลมาให้ข้อมูล ขอเอกสาร เข้าไปในอสังหาริมทรัพย์หรือสถานประกอบการที่เกี่ยวข้อง หรือคาดว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับภัยคุกคาม โดยได้รับความยินยอมจากผู้ครอบครองสถานที่นั้น กรณีจำเป็นต้องเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์และระบบ รวมถึงการยึด-อายัดอุปกรณ์ ให้ยื่นคำร้องต่อศาล

    หากเป็นภัย "วิกฤต" ให้สภาความมั่นคงแห่งชาติดำเนินการตามกฎหมายนี้ และหากจำเป็นเร่งด่วน ให้เลขาธิการดำเนินการได้ทันที ไม่ต้องยื่นคำร้องต่อศาลในระหว่างจัดตั้งสำนักงาน ให้สำนักงานปลัดกระทรวงดีอีทำหน้าที่ตาม พ.ร.บ.นี้ และให้ปลัดดีอีทำหน้าที่เป็นเลขาธิการ

    ข้อมูลส่วนบุคคลต้องได้รับการยินยอม

    ขณะที่ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ล่าสุดให้เวลาเตรียมตัว 1 ปี หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา ทั้งยัง "ตัดทิ้ง" ข้อยกเว้นการบังคับใช้ตามร่างเดิม แต่เพิ่มเรื่องเสรีภาพในการเสนอข่าวสารหรือการแสดงความคิดเห็นที่ไม่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจนเกินสมควร หรือเป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ

    โดยหลังประกาศใช้จะมีการตั้งคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยประธานจะได้มาจากการสรรหาผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งนายกรัฐมนตรีและประธานรัฐสภา ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นผู้แต่งตั้งกรรมการสรรหา

    หลักสำคัญ คือ การเก็บรวบรวม การใช้ การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลอย่างชัดเจน และสามารถถอนความยินยอมได้ในภายหลัง รวมถึงเจ้าของข้อมูลมีสิทธิขอให้ลบหรือทำลาย เมื่อการเก็บ ใช้ เปิดเผย ทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือเมื่อถอนความยินยอม

    ทั้งการระบุให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหากฝ่าฝืนกฎหมายนี้ ไม่ว่าจะเกิดจากการจงใจหรือประมาท

    ขณะเดียวกันได้กำหนดโทษทางอาญาของผู้ฝ่าฝืนด้วย โดยหากเก็บ-ใช้-เปิดเผยข้อมูล โดยไม่ได้รับการยินยอม ทำให้ผู้อื่น เกิดความเสียหาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หากเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ เพิ่มเป็น จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท แต่ยอมความได้

    ส่วนผู้ควบคุมข้อมูลไม่ดำเนินการเกี่ยวกับการขอคำยินยอมตามแบบที่กำหนด มีโทษปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หากหลอกลวงหรือทำให้เข้าใจผิดเพื่อให้ความยินยอม หรือส่ง-โอนข้อมูลไม่ถูกต้อง โทษปรับไม่เกิน 3 ล้านบาท ในกรณีเป็นข้อมูลมีข้อกำหนดพิเศษในการจัดเก็บ หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 5 ล้านบาท

    หากไม่เข้ามาชี้แจงข้อเท็จจริงตามคำสั่งของคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ หรือไม่อำนวยความสะดวกต่อเจ้าหน้าที่ ที่มีคำสั่งศาลให้เข้าไปในสถานที่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง ยึดหรืออายัดเอกสาร มีโทษปรับไม่เกิน 5 แสนบาท โดยคณะกรรมการ ผู้เชี่ยวชาญมีอำนาจในการพิจารณาลงโทษปรับทางปกครองได้บทเฉพาะกาลให้สำนักงานปลัดดีอี ทำหน้าที่ในระหว่างการจัดตั้งสำนักงาน และให้รองปลัดดีอีเป็นเลขาธิการไปก่อน

    มี ดีกว่าไม่มี

    ด้านนายสุธี ทวิรัตน์ กรรมการสมาคมความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ (TISA) เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กฎหมายทั้ง 2 ฉบับ "มี ดีกว่าไม่มี" แม้ว่าจะมีการแก้เนื้อหา เรื่องรวบอำนาจไว้เบ็ดเสร็จ แต่ก็ยังมีหลายส่วนที่ไม่เป็นไป ตามมาตรฐานสากล เนื่องจากส่วนใหญ่เน้นไปที่การจัดตั้งสำนักงาน อย่าง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มีแค่ราว 10 มาตรา ที่ระบุเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิประชาชนจริง ๆ

    "สำคัญ ทุกวันนี้ยังไม่มีหน่วยงานที่จะกำกับดูแล CII ในแต่ละด้านที่มีมาตรฐาน และจะต้องมีกฎหมายลูกที่ออก ตามมา แต่ก็ยังไม่เห็นเนื้อหา”

    นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวว่า เห็นด้วยในหลักการของกฎหมาย แต่มีหลายส่วนที่ท้าทายในการทำธุรกิจ เช่น หลังจากลูกค้าเข้ามาซื้อประกันแล้ว มาขอยกเลิกการยินยอมให้ข้อมูลในภายหลัง จะเกิดอะไรขึ้นกับธุรกิจ เป็นประเด็นที่กำลังรอดูผลกระทบ

    ด้าน นางสาววิไลพร ทวีลาภพันทอง หุ้นส่วนสายงานธุรกิจที่ปรึกษา บริษัท PwC ประเทศไทย เปิดเผยว่า เป็นเรื่องดีที่จะมีกฎหมายคุ้มครอง แต่ภาคธุรกิจอาจได้รับผล กระทบที่ต้องปรับกระบวนการทำงาน และต้องออกแบบการทำงานเพิ่มขึ้น

    Source: ประชาชาติธุรกิจ
     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    โป๊ปให้คำมั่นหลังปิดการประชุมบิช็อป เดินหน้าต่อสู้แก้ไขเรื่องบาทหลวง‘ละเมิดทางเพศ’ ทว่า‘เหยื่อ’ยังคงรู้สึกผิดหวัง
    เผยแพร่: 25 ก.พ. 2562 00:51 โดย: ผู้จัดการออนไลน์
    562000001997201.jpg

    พระสันตะปาปาฟรานซิส ทรงประกอบพิธีมิสซาที่ห้องซาลา เรเจีย ในสำนักวาติกันเมื่อวันอาทิตย์ (24 ก.พ.) เพื่อปิดการประชุมบิชอปจากทั่วโลกที่ดำเนินมา 4 วัน ในเรื่องว่าด้วยการป้องกันการล่วงละเมิดทางเพศของพวกนักบวช และการพิทักษ์คุ้มครองเด็กๆ จากพวกบาทหลวงนักล่าเหยื่อ
    รอยเตอร/เอเจนซีส์ – สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ปิดฉากการประชุมครั้งสำคัญว่าด้วยเรื่องบาทหลวงล่วงละเมิดทางเพศเด็ก โดยเรียกร้องในวันอาทิตย์ (24 ก.พ.) ให้ดำเนิน “การสู้รบอย่างทุ่มเทเต็มที่” เพื่อคัดค้านอาชญากรรมซึ่งพระองค์ตรัสว่า ควรที่จะ “ถูกลบออกไปจากผิวหน้าของโลกใบนี้”

    โป๊ปทรงให้คำมั่นว่า จะมีการทบทวนและเพิ่มความเข้มแข็งให้แก่พวกคู่มือการปฏิบัติซึ่งทางคณะหัวหน้าบาทหลวงชั้นบิชอปในระดับชาติใช้กันอยู่ ในเรื่องการป้องกันการล่วงละเมิดและการลงโทษผู้กระทำความผิด พระองค์ตรัสด้วยว่าคำจำกัดความทางกฎหมายของคริสตจักรคาทอลิกในเรื่องผู้เยาว์ ซึ่งปัจจุบันกำหนดอายุสูงสุดเอาไว้แค่ 14 ปี จะมีการปรบให้สูงขึ้น เพื่อเป็นการ “ขยายความคุ้มครอง” ให้แก่คนวัยหนุ่มสาว

    อย่างไรก็ดี กลุ่มที่ต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรมให้แก่บรรดาเหยื่อที่ถูกนักบวชคาทอลิกล่วงละเมิด ยังคงแสดงความผิดหวังเป็นอย่างยิ่ง โดยกล่าวว่าพระสันตะปาปาฟรานซินเพียงแต่ทรงกล่าวย้ำคำมั่นสัญญาเก่าๆ เดิมๆ ขณะที่แทบไม่ได้มีข้อเสนออันเป็นรูปธรรมใหม่ๆ เอาเลย

    โป๊ปฟรานซิสทรงประกาศว่า คริสตจักรคาทอลิกจะ “ใช้ความพยายามอย่างไม่มีขีดจำกัด” เพื่อนำเอาพวกผู้ละเมิดกระทำความผิดทั้งหลายมาลงโทษ และจะไม่ปกปิดซุกซ่อนหรือประเมินการล่วงละเมิดให้ต่ำกว่าความเป็นจริง ขณะที่ทรงตรัสในตอนท้ายของพิธีมิสซาซึ่งจัดขึ้นที่ห้องซาลา เรเจีย (Sala Regia) ในพระราชวังที่ประทับของโป๊ป (Apostolic Palace) ในกรุงวาติกัน

    อย่างไรก็ดี พระสันตะปาปาฟรานซิสทรงอุทิศเนื้อหาจำนวนมากในส่วนแรกของพระดำรัสที่กินเวลานานกว่าครึ่งชั่วโมง ให้แก่พวกตัวเลขสถิติจากสหประชาชาติและองค์กรอื่นๆ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการล่วงละเมิดทางเพศที่กระทำแก่เด็กนั้น ส่วนใหญ่ที่สุดเกิดขึ้นในครอบครัว

    “ด้วยเหตุนี้ เราจึงกำลังเผชิญกับปัญหาที่เป็นสากล ปรากฏขึ้นอย่างน่าเศร้าสลดในที่แทบทุกหนทุกแห่งและกำลังกระทบกระเทือนทุกๆ คน กระนั้นเราก็จำเป็นต้องมีความกระจ่างชัดว่า ขณะที่มันกำลังมีผลกระทบกระเทือนอย่างเลวร้ายต่อสังคมของเราโดยรวม เจ้าปีศาจร้ายนี้ก็ไม่มีทางเลยที่จะเลวทรามต่ำช้าลดน้อยลงเมื่อมันเกิดขึ้นภายในคริสตจักร” พระองค์ตรัส

    562000001997202.jpg

    เหยื่อผู้เคยถูกล่วงละเมิดทางเพศ ซึ่งยังขอให้ปกปิดชื่อเสียงเรียงนามของเขาต่อไป (ด้านหลังของภาพทางขวามือ) เล่าเรื่องราวของเขาในระหว่างพิธีสวดเพื่อการสำนึกบาปที่สำนักวาติกันเมื่อวันเสาร์ (23 ก.พ.) ซึ่งโป๊ปฟรานซิสทรงเข้าร่วมด้วย

    แอนน์ แบร์เรตต์-ดอยล์ แห่งเว็บไซต์ bishopaccountability.org ที่เป็นกลุ่มซึ่งตั้งฐานอยู่ในสหรัฐฯที่คอยเฝ้าติดตามการล่วงละเมิดของพวกนักบวชคาทอลิก กล่าวถึงผลการประชุมคราวนี้ว่า “ทำให้รู้สึกหมดศรัทธาอย่างแรง” เนื่องจากไม่ได้แก้ไขเยียวยาความหดหู่เศร้าใจและความโกรธเกรี้ยวของสาธุชนผู้ศรัทธาอย่างเพียงพอ

    “ขณะที่ชาวคาทอลิกของโลกพากันเรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม โป๊ปกลับเพียงแค่ให้คำมั่นสัญญาอย่างจืดชืด โดยคำมั่นสัญญาเหล่านี้ทั้งหมดเป็นสิ่งที่เราเคยได้ยินมาก่อนทั้งนั้น” เธอกล่าวในคำแถลงฉบับหนึ่ง

    “สิ่งที่ทำให้รู้สึกเศร้าเสียใจเป็นพิเศษก็คือ วิธีการให้เหตุผลแบบที่เราคุ้นเคยกันดีอยู่แล้วของโป๊ป ที่ว่าการล่วงละเมิดเกิดขึ้นในทุกๆ ภาคส่วนของสังคม ... เราต้องการให้พระองค์เสนอแผนการที่ห้าวหาญและเด็ดขาด แต่พระองค์กลับให้เราแค่ถ้อยคำโวหารรีไซเคิลของเก่ามาเล่าใหม่ซึ่งมุ่งที่จะแก้เนื้อแก้ตัว” เธอกล่าว

    เวลาต่อมา ในพิธีมิสซาสำหรับสาธารณชนที่จัตุรัสเซนต์ปีเตอร์วันอาทิตย์ ซึ่งเป็นประเพณีที่โป๊ปฟรานซิสจะทรงเป็นผู้นำพิธีนั้น พระองค์ตรัสว่า การปกปิดซุกซ่อนเรื่องการล่วงละเมิดโดยใครบางคนในคริสตจักรในอดีตที่ผ่านมา ตลอดจนการปกป้องคุ้มครองพวกล่วงละเมิดนั้น เป็นสิ่งที่ “ไม่มีเหตุผลสมควรใดๆ เลย”

    เวลานี้สำนักวาติกันประกาศว่า จะจัดทำมาตรการติดตามผลเพื่อให้แน่ใจว่าบาทหลวงชั้นบิชอปทุกๆ รูปตลอดทั่วโลกเมื่อเดินทางกลับบ้านแล้ว จะมีความรู้ว่าต้องทำอย่างไรเพื่อให้กระบวนวิธีเพื่อการต่อต้านการล่วงละเมิดเข้าที่เข้าทางใช้การได้

    สำหรับการประชุมคราวนี้มีบิชอปจากชาติต่างๆ เข้าร่วม ทั้งจากพวกประเทศอย่างเช่นสหรัฐฯ ซึ่งกรณีการล่วงละเมิดได้ลดฮวบฮาบลงสืบเนื่องจากมาตรการต่างๆ ที่นำออกมาใช้ตั้งแต่เมื่อก่อน 20 ปีก่อน และทั้งจากประเทศห่างไกลที่ส่วนใหญ่เป็นชาติยากจนซึ่งยังคงไม่ได้มีองค์ความรู้ในการรับมือกับปัญหานี้

    ในตอนเริ่มการประชุมบิชอปคราวนี้เมื่อวันพฤหัสบดี (21) พระสันตะปาปาและผู้เข้าร่วมได้ชมวิดีโอซึ่งเหยื่อ 5 รายบอกเล่าเรื่องราวการถูกล่วงละเมิดของพวกเขาและการปกปิดเรื่องที่ติดตามมา

    https://mgronline.com/around/detail/9620000019291
     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ประชามติชาวเกาะโอกินาวา เสียงท่วมท้นคัดค้านย้ายฐานทัพสหรัฐฯ
    เผยแพร่: 25 ก.พ. 2562 01:49 โดย: ผู้จัดการออนไลน์
    562000001997801.jpg

    ชาวโอกินาวาที่ออกเสียงคัดค้านการโยกย้ายฐานทัพอเมริกัน แสดงความยินดีเมื่อผลอย่างเป็นทางการของการลงประชามติในวันอาทิตย์ (24 ก.พ.) แสดงว่า คนส่วนใหญ่ท่วมท้นไม่ต้องการให้ย้ายไปตั้งที่แห่งใหม่ ซึ่งยังคงอยู่บนเกาะโอกินาวาเหมือนเดิม
    เอเอฟพี/เอเจนซีส์ – ผู้ออกเสียงจำนวนท่วมท้นบนเกาะโอกินาวาของญี่ปุ่น ปฏิเสธไม่เห็นด้วยกับการโยกย้ายสถานที่ตั้งฐานทัพสหรัฐฯซึ่งก่อให้เกิดปัญหาและความขัดแย้งมากมาย ทั้งนี้เป็นผลอย่างเป็นทางการของการลงประชามติแบบไม่มีผลผูกพันซึ่งจัดขึ้นในวันอาทิตย์ (24 ก.พ.)

    คะแนนเสียงราว 72% ของผู้มีใช้สิทธิลงประชามติคราวนี้ คัดค้านการโยกย้าย ขณะที่คะแนนเสียงที่เห็นด้วยมีราว 19% โดยที่มีผู้ออกมาใช้สิทธิเป็นจำนวน 52% รัฐบาลท้องถิ่นของโอกินาวาประกาศ

    จำนวนผู้คัดค้านการโยกย้ายฐานทัพอเมริกันคราวนี้ ซึ่งอยู่ในราว 434,000 คน ถือเป็นจำนวนมากเกินกว่าตัวเลขขั้นต่ำที่จะทำให้ เดนนี ทามากิ ผู้ว่าการเกาะทางตอนใต้ของญี่ปุ่นแห่งนี้ต้อง “เคารพ”ผลลัพธ์ของการลงประชามติเชิงสัญลักษณ์คราวนี้ คำแถลงของรัฐบาลท้องถิ่นระบุ

    ทั้งนี้ ข้อกำหนดที่จะทำให้ผู้ว่าการโอกินาวาต้อง “เคารพ” ผลการลงประชามติคือ หนึ่งในสี่ของผู้มีสิทธิออกเสียง ซึ่งคิดเป็นตัวเลขออกมาก็จะเท่ากับราวๆ 290,000 คน ต้องไปโหวตทางเลือกหนึ่งใดใน 3 ทางที่ให้ลงประชามติ อันได้แก่ เห็นด้วยกับการย้ายฐานทัพ, คัดค้านการย้ายฐานทัพ, และ ไม่เอาทั้งสองอย่าง

    ทางด้านทามากิ ซึ่งมีแนวทางต่อต้านฐานทัพอยู่แล้ว แถลงกับพวกผู้สื่อข่าวว่า ผลการลงประชามติคราวนี้ “มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง” และเขาจะเรียกร้องต่อรัฐบาลกลางให้ทราบถึงเจตนารมณ์อันเด็ดเดี่ยวของประชาชนชาวโอกินาวา ทบทวนนโยบายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันทันที และระงับการก่อสร้างฐานทัพแห่งใหม่ที่ทหารอเมริกันจะโยกย้ายไปเอาไว้ก่อน

    อย่างไรก็ตาม การออกเสียงคราวนี้ไม่ได้มีผลผูกพันรัฐบาลกลาง รวมทั้งจำนวนผู้ใช้สิทธิซึ่งสูงกว่าครึ่งหนึ่งไม่มาก จึงเป็นจุดอ่อนทำให้ถูกโจมตีได้ว่ายังไม่ใช่ประชามติที่หนักแน่น

    562000001997802.jpg

    ผู้ออกเสียงชาวโอกินาวาไปโหวตลงประชามติที่หน่วยเลือกตั้งแห่งหนึ่งในเมืองนาฮา ของเกาะโอกินาวา เมื่อวันอาทิตย์ (24 ก.พ.)

    รัฐบาลกลางของญี่ปุ่นที่มี ชินโซ อาเบะ เป็นนายกรัฐมนตรี ป่าวประกาศเรื่อยมาว่าจะเดินหน้าผลักดันเรื่องย้ายฐานทัพอเมริกันนี้ รวมทั้งเรื่องนี้ก็ได้รับการหนุนหลังจากวอชิงตันแล้ว

    แผนการโยกย้ายฐานทัพอเมริกันฟูเทนมะ ซึ่งเป็นที่ตั้งในปัจจุบัน ไปยัง นาโงะ ที่อยู่ห่างออกไปราว 50 กิโลเมตร แต่ก็ยังคงอยู่บนเกาะโอกินาวาเหมือนเดิม ญี่ปุ่นกับสหรัฐฯได้ทำความตกลงกันครั้งแรกเมื่อปี 1996 โดยที่สหรัฐฯมุ่งหาทางบรรเทาความโกรธแค้นของชาวบ้านท้องถิ่น ภายหลังทหารอเมริกันก่อเหตุรุมข่มขืนนักเรียนหญิงชาวโอกินาวา

    แต่แล้วแผนการนี้ก็มีอันชะงักงันอยู่เป็นเวลานาน ส่วนหนึ่งเนื่องจากชาวโอกินาวายังคงคัดค้านอยู่นั่นเอง

    ทั้งนี้ในบัตรลงคะแนนถามชาวโอกินาวาว่า พวกเขาสนับสนุนหรือไม่เรื่องแผนการสร้างฐานทัพอเมริกันแห่งใหม่ในพื้นที่ชายฝั่งที่อยู่ห่างไกลอย่างนาโงะ เพื่อจะได้โยกย้ายออกไปจากฟูเทนมะ ซึ่งอยู่ในบริเวณที่มีประชากรอาศัยกันหนาแน่น

    ชาวโอกินาวาบอกว่า ต้องการให้โยกย้ายฐานทัพทหารอเมริกันออกไปจากเกาะโอกินาวาเลยมากกว่า โดยควรจะไปตั้งอยู่บริเวณส่วนอื่นของประเทศญี่ปุ่น

    https://mgronline.com/around/detail/9620000019294
     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    Gv86tQd6zgABdKb293lBFQ4YGbDJqySrghMRtLzqI4jyoGsG-S9a1PsRGSDwQCTq17YAOuQ&_nc_ht=scontent.fbkk17-1.jpg
    (Feb 24) ตลาดรถยนต์แรงรับปี62 รถใหม่-แคมเปญดันยอดม.ค.พุ่ง17%: ตลาดรถยนต์ปี 2561 ที่ผ่านมา ปิดปีด้วยตัวเลขร้อนแรงทีเดียว เติบโตจากปีก่อนหน้าในระดับสูงที่ 19.5% โดยที่หลายคนก็มองว่า มันเป็นการเติบโต ที่สูงไปสักหน่อย แม้จะไม่มีการกระตุ้น ในเชิงนโยบายจากภาครัฐก็ตาม พร้อมกับ คาดการณ์ว่าปีนี้ตลาดรวมน่าจะอยู่ใน ระดับทรงตัว

    แต่ดูเหมือนว่าเดือนแรกของปี ตลาดจะยังคงมีความร้อนแรงต่อไป จากการรายงานของบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ที่พบว่าตัวเลขการขาย ในเดือนม.ค. นั้น เพิ่มขึ้นถึง 17.3% จากเดือนเดียวกันปีที่แล้ว

    ปวีณา นันทิกุลวาณิช ผู้ช่วย กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า ยอดขายรถยนต์ประจำเดือน ม.ค. มียอด รวมทั้งสิ้น 7.8 หมื่นคัน เพิ่มขึ้น 17.3% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 3.02 หมื่นคัน เพิ่มขึ้น 17.4% รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ (รวมปิกอัพ) 4.78 หมื่นคัน เพิ่มขึ้น 17.3% และรถปิกอัพ 1 ตัน รวมกับพีพีวี มียอด 3.96 หมื่นคัน เพิ่มขึ้น 21%

    ตลาดที่ขยายตัวสูงในเดือน ม.ค. เป็นผลมาจากการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ หลายรุ่น และความต่อเนื่องของกิจกรรม ส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการต่างๆ รวมถึงยังมีรถจำนวนหนึ่งที่อยู่ในระหว่าง การทยอยส่งมอบจากการจองในงาน มหกรรมยานยนต์ ช่วงปลายปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังเป็นผลมาจากความเชื่อมั่น ของผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น เนื่องจาก การเมืองในประเทศมีสัญญาณดีขึ้น จากการกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปที่ชัดเจน

    ส่วนทิศทางตลาดในเดือน ก.พ. ประเมินว่าคงมีแนวโน้มดีขึ้น เนื่องจาก ภาพรวมของเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้ม ขยายตัวต่อเนื่อง จากการฟื้นตัวของ การท่องเที่ยวและอุปสงค์ในประเทศ รวมถึงการบริโภคของภาคเอกชนที่มี แนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง

    "แม้ว่าขณะนี้จะมีปัจจัยเสี่ยงจาก การส่งออกสินค้าที่ได้รับผลกระทบจาก เศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัว แต่ก็ยัง ไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดรถยนต์ในประเทศ มากนัก" ปวีณากล่าว

    สำหรับยอดขาย 3 อันดับแรกในประเภท รถต่างๆ เดือน ม.ค. ตลาดรวม โตโยต้า มียอดขายสูงสุด 2.67 หมื่นคัน เพิ่มขึ้น จากเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 56.1% ส่วนแบ่งตลาด 34.3% อันดับที่ 2 อีซูซุ 1.27 หมื่นคัน เพิ่มขึ้น 3.9% ส่วนแบ่งตลาด 16.3% ฮอนด้า 9,290 คัน เพิ่มขึ้น 2% ส่วนแบ่งตลาด 11.9%

    ตลาดรถยนต์นั่ง โตโยต้ามียอดขาย สูงสุด 9,301 คัน เพิ่มขึ้น 26.5% ส่วนแบ่ง ตลาด 30.8% ตามมาด้วย ฮอนด้า 6,926 คัน ลดลง 0.2% ส่วนแบ่งตลาด 22.9% และมาสด้ายังยึดอันดับ 3 ไว้ได้อย่าง เหนียวแน่นด้วยยอด 4,231 คัน และมี อัตราการเติบโตที่โดดเด่นทีเดียว 49.8% มีส่วนแบ่งตลาด 14.0%

    รถปิกอัพ ซึ่งมียอดขายรวม 3.47 หมื่นคัน เพิ่มขึ้น 22.9% โตโยต้ามียอดสูงสุด 1.36 หมื่นคัน เพิ่มขึ้น 83.3% ส่วนแบ่ง ตลาด 39.1% ตามมาด้วย อีซูซุ 1.1 หมื่นคัน เพิ่มขึ้น 6.4% ส่วนแบ่งตลาด 31.6% และอันดับที่ 3 ยังคงเป็นฟอร์ด 3,626 คัน แต่ว่าลดลง 7.9% ส่วนแบ่ง ตลาด 10.4%

    ส่วนรถในกลุ่มพีพีวี หรือรถที่มี พื้นฐานมาจากปิกอัพ มียอดขายรวม 4,888 คัน โตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์ มียอดขาย สูงสุด 2,264 คัน มิตซูบิชิ ปาเจโร่ สปอร์ต 1,025 คัน อีซูซุ มิวเอ็กซ์ 716 คัน ฟอร์ด เอเวอเรสต์ 503 คัน นิสสัน เทอร์ร่า 221 คัน และเชฟโรเลต เทรลเบลเซอร์ 159 คัน

    ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า ตำแหน่งในตลาด ต่างๆ ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง รถยนต์นั่งนั้น โตโยต้ายังนำ และตามด้วยฮอนด้า ซึ่งในส่วนของฮอนด้า ซึ่งปีที่แล้วไม่มีการ ขยับตัวในด้านสินค้าช่วงครึ่งปีแรกทำให้ ยอดขายติดลบ ก่อนจะเริ่มดีขึ้นในช่วง กลางปี ทำให้สิ้นปี 2561 ยอดขายกลับมา เติบโตเล็กน้อย ต่อเนื่องมาถึงต้นปีนี้ ที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเช่นกัน ทั้งนี้ฮอนด้า มีแผนที่จะเปิดตัวรถรุ่นใหม่ คือ แอคคอร์ด ในเดือน มี.ค.นี้ ซึ่งต้องติดตามดูต่อไป ว่าจะมีผลกับตลาดมากน้อยแค่ไหน

    ขณะที่ตลาดปิกอัพ เป็นการสู้กัน อย่างสนุกของโตโยต้า กับอีซูซุ ที่ปีที่แล้ว โตโยต้ากลับมาทวงตำแหน่งผู้นำตลาดได้ หลังจากพลาดไปอย่างยาวนาน และต้นปี ก็ยังคงรักษาโมเมนตัมไว้ได้ แต่สิ่งเหล่านี้จะเป็นสัญญาณ บ่งบอกถึงความรุนแรงในการแข่งขันปีนี้ เพราะอีซูซุ ที่มีความเชี่ยวชาญในตลาดนี้ อย่างมาก และมีความแข็งแกร่งในด้าน ตราสินค้า และตัวแทนจำหน่าย คงไม่ ปล่อยให้โตโยต้าเดินได้สะดวกตลอดปี อย่างแน่นอน

    Source: กรุงเทพธุรกิจ
     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students

    (Feb 25) การสงบศึกสงครามทางการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน: นักลงทุนสามารถคลายความกังวลใจไปได้ในระดับหนึ่ง เมื่อประธานาธิบดีทรัมป์แสดงท่าทีชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ว่าพร้อมจะขยายเวลาของเส้นตาย

    ที่เคยกำหนดเอาไว้วันที่ 1 มี.ค. 2019 ที่เคยขู่เอาไว้ว่าจะปรับขึ้นภาษีศุลกากร สินค้านำเข้าจากจีนมูลค่า 2 แสนล้านเหรียญจาก 10% เป็น 25% ทั้งนี้ ประธานาธิบดีทรัมป์ อ้างว่ามีความคืบหน้าในการเจรจาไปอย่างมาก และฝ่ายจีนก็มีความต้องการที่จะให้ทั้ง 2 ฝ่าย สามารถบรรลุถึงข้อตกลงให้จงได้ ซึ่งในความเห็นของผมนั้น ฝ่ายจีนมิได้ปรับเปลี่ยนท่าทีหลักๆ ของตนเลย จากที่ได้เคยยืนยันท่าทีดังกล่าวไปแล้วในต้นเดือน ม.ค. แต่คนที่อยากบรรลุถึงข้อตกลงนั้น น่าจะเป็นประธานาธิบดีทรัมป์มากกว่า เพราะคงอยากมีผลงานในเชิงการเมืองที่สามารถนำไปโฆษณาหาเสียงได้ ทั้งในเรื่องของการแก้ปัญหาการค้ากับจีนและการพบปะกับนายคิมจองอัน ประธานาธิบดีของเกาหลีเหนือ ในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกันในเดือนมี.ค.นี้

    ทั้งนี้ นอกจากคำกล่าวของประธานาธิบดีทรัมป์แล้ว ก็ยังมีรายงานข่าวว่า ฝ่ายสหรัฐและจีนได้ตกลงกันแล้วว่ารูปแบบของการเจรจาเพื่อนำไปสู่การประนีประนอมกัน คือการเจรจาเพื่อให้ได้มาซึ่งบันทึกช่วยจำ (memorandum of understanding) ซึ่งในความเห็นของผมนั้นน่าจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่จีนจะสามารถผ่อนปรนให้กับสหรัฐ ได้ประมาณ 4 เรื่อง และส่วนที่จีนมีจุดยืนชัดเจนที่แย้งกับสหรัฐอีก 3 เรื่อง แต่ก็จะยอมที่เจรจาพูดคุยกับฝ่ายสหรัฐ ต่อไป (แต่ไม่น่าจะสามารถกำหนดได้เมื่อใด) โดยจะเป็น “การปรึกษาหารือกันอย่างสร้างสรรค์” (constructive dialogue) ซึ่งอาจกล่าวถึงความพยายามที่จะหาข้อยุติกันให้ได้ในที่สุด บนพื้นฐานของความเป็นธรรมและหลักสากล เป็นต้น กล่าวคือใช้ภาษาการทูตเพื่อบอกว่า we agree to disagree but will keep talking ทั้งนี้สหรัฐจะตอบสนองจีน โดยการไม่ปรับขึ้นภาษีศุลกากรกับสินค้าที่นำเข้าจากจีน และในบางส่วนอาจต้องปรับลดลงบ้างอีกด้วยเ พื่อให้จีนสามารถกล่าวได้ว่ามิได้เป็นฝ่ายที่ต้อง “ให้” สหรัฐแต่ฝ่ายเดียว

    ส่วนที่จีนน่าจะมีความยืดหยุ่นและพร้อมจะ “ให้” ฝ่ายสหรัฐนั้น น่าจะมีอยู่ 4 เรื่องหลักๆ คือ
    - จีนจะยอมซื้อสินค้าจากสหรัฐเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะสินค้าเกษตรและพลังงาน (ก๊าซแอลเอ็นจี) ตลอด semi-conductor และสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูงของสหรัฐ หากสหรัฐจะยินดีขายให้
    - จีนพร้อมจะเร่งกระบวนการพิจารณาเห็นชอบให้บริษัทสหรัฐสามารถเข้าไปทำการผลิตและบริการในประเทศจีนได้ง่ายขึ้นเช่น การอนุมัติให้บริษัท Visa และ American Express สามารถทำธุรกิจในจีนได้ และให้สถาบันการเงินของสหรัฐสามารถเข้าไปเปิดสาขาในประเทศจีน โดยสหรัฐเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ไม่ถูกจำกัดว่าถือหุ้นได้ไม่เกิน 49% เป็นต้น
    - จีนน่าจะยอมให้คำมั่นสัญญาว่า จะคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเคร่งครัดมากขึ้นไม่เฉพาะทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐ แต่ทรัพย์สินทางปัญหาทั้งหมด
    - จีนน่าจะแสดงความพร้อมในหลักการว่า จะไม่บิดเบือนอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการค้ากล่าวคือจีนจะไม่มีนโยบายลดค่าเงินหยวน เพื่อเอาเปรียบประเทศคู่ค้า

    ทั้ง 4 ข้อข้างต้นนี้ จีนน่าจะ “ยอม” สหรัฐได้ เพราะผู้นำจีนสามารถพูดได้ว่าเป็นเรื่องที่จะเป็นประโยชน์กับคนจีนและเศรษฐกิจจีนเอง เช่น ข้อ 1 ก็จะเป็นประโยชน์ในการลดค่าครองชีพของคนจีนและให้มีทางเลือกมากขึ้น (แต่สหรัฐเองที่มีการผลิตเต็มกำลังอยู่แล้วและอัตราการว่างงานก็ต่ำ จะสามารถตอบสนองความต้องการของจีนได้มากน้อยเพียงใด อาจเป็นประเด็นมากกว่า) ในส่วนของข้อ 2 ก็ทำนองเดียวกันคือเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภคของจีน สำหรับข้อ 3 นั้น จีนก็กำลังจะก้าวเป็นผู้นำเทคโนโลยีด้านต่างๆ (ปัจจุบันโทรศัพท์มือถือของหัวเว่ยมียอดขายที่สูงที่สุด) ดังนั้นจึงเป็นผลประโยชน์ของจีนเองที่จะต้องปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา ในส่วนของข้อ 4 นั้น ผู้นำจีนไม่ต้องการส่งเสริมการส่งออก เพราะต้องการลดการพึ่งพาตลาดโลกและต้องการขยายตลาดภายในประเทศมากกว่า ดังนั้น จึงไม่น่าจะมีความประสงค์ที่จะทำให้เงินหยวยอ่อนค่าอย่างต่อเนื่องแต่อย่างใด

    แต่ส่วนที่จีนน่าจะ “ยอมไม่ได้” และบันทึกช่วยจำน่าจะพยายาม “กล้อมแกล้ม” ให้ดูเสมือนว่าประธานาธิบดีทรัมป์ สามารถอ้างว่าได้ประสบความสำเร็จในการกดดันจีนคือ

    - การให้จีนยุติการบีบบังคับให้บริษัทสหรัฐต้องถ่ายโอนเทคโนโลยีให้กับจีน เพื่อแลกกับการขายสินค้าและบริการในจีนซึ่งจีนไม่เคยยอมรับว่าบีบบังคับบริษัทสหรัฐ (แต่บริษัทสหรัฐยินยอมถ่ายโอนเทคโนโลยีเองเพื่อแลกกับประโยชน์ในการทำธุรกิจในจีน) ผมเข้าใจว่าการเร่งพัฒนาเทคโนโลยีให้ทัน (และแซงหน้า) ประเทศตะวันตกเป็นวาระแห่งชาติที่สำคัญยิ่งของจีน
    - การให้จีนยกเลิกยุทธศาสตร์ Made in China 2025กล่าวคือยกเลิกนโยบายสนับสนุนรัฐวิสาหกิจของจีนในการพัฒนาให้จีนเป็นผู้นำเทคโนโลยีด้านต่างๆ ผมเชื่อว่าจีนจะยืดมั่นแนวทางของ state-led capitalism อย่างไม่ลดละ เพราะเป็นแนวทางที่ทำให้เศรษฐกิจจีนขยายตัวอย่างก้าวกระโดดในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา และเป็นกลไกหลักของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในการควบคุมและปกครองประเทศอย่างเบ็ดเสร็จ
    - สหรัฐอ้างว่าจีนเคยให้คำมั่นสัญญามากมายในอดีตแต่มักจะไม่ทำตามสัญญาดังกล่าว ดังนั้นฝ่ายสหรัฐจึงต้องการให้มีกลไกบังคับให้มีการปฏิบัติตามสัญญา เช่น สหรัฐต้องมีสิทธิที่จะประเมินเองและตัดสินใจเองว่าจีนทำตามคำมั่นสัญญาหรือไม่ และหากสหรัฐสรุปว่าไม่ได้ทำตามสัญญา สหรัฐย่อมจะสามารถเก็บภาษีศุลกากรเพิ่มสำหรับสินค้านำเข้าจากจีนได้ทันที่ (snap back) เป็นต้น
    ทั้ง 3 ข้อเรียกร้องดังกล่าวของสหรัฐนั้น ผมเชื่อว่าจีนยอมรับไม่ได้เลย แต่สหรัฐและจีนจะต้องนำไปเขียนลงในบันทึกช่วยจำว่า มีความคืบหน้าในประเด็นดังกล่าวเพียงพอที่ประธานาธิบดีทรัมป์จะประกาศชัยชนะ แต่ในขณะเดียวกันฝ่ายจีนก็จะต้องมั่นใจว่าได้สามารถปกป้องผลประโยชน์ของตนอย่างครบถ้วน จึงจะยอมลงนามร่วมในบันทึกช่วยจำดังกล่าวในที่สุดครับ

    โดย ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

    คอลัมนิสต์ผู้เชี่ยวชาญด้านการเศรษฐกิจ คอลัมน์ "เศรษฐศาสตร์จานร้อน”

    Source: กรุงเทพธุรกกิจออนไลน์
    - http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/646653
     

แชร์หน้านี้

Loading...