ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,257
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เมื่อเห็นทุกอย่างตามที่เป็นจริง ความมี หรือไม่มี ก็ไม่สำคัญอีก มันก็เป็นเช่นนี้น่ะแหละ แล้วจะไปยินดี เสียใจ หลงใหล ไขว่คว้า ต่อไปทำไม
    80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%AF-1242385602%5B1%5D-jpg.jpg
    โอม นะโม ภควตี คตี คตี ปาระคตี ปาระสัมคะตี โพธิ สวาหา "โอม ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระปรัชญาปารมิตา ผู้นำไปสรรพสัตว์ข้ามไปสู่ ฝากฝั่งโพธิ"[​IMG]
    [​IMG]พระปรัชญาปารมิตา

    ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร



    คาถา[แก้]

    จุดเด่นสำคัญของปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร คือคาถาตอนท้ายพระสูตร ที่ว่า "คะเต คะเต ปารคะเต ปารสังคะเต โพธิสวาหา" หรืออาจแปลโดยคร่าวๆ ได้ว่า "จงไป จงไป ไปถึงฝั่งโน้น ไปให้พ้นโดยสิ้นเชิง บรรลุถึงความรู้แจ้ง หะเหวย!" อย่างไรก็ตาม ต้นฉบับในภาษาต่าง ๆ มักละไว้ ไม่แปลคาถานี้ ตามตำนานฝ่ายจีนระบุว่า คณาจารย์ชาวอินเดียที่เดินทางมาประกาศพระศาสนาในแผ่นดินจีน ไม่แปลคาถานี้เพราะท่านทราบดีว่า ไม่มีทางที่จะทำได้ และเป็นไปไม่ได้ที่จะอธิบายความนัยอันลี้ลับของคาถานี้ [20] กล่าวกันว่า หากผู้ใดสาธยายคาถาในพระสูตรจนบังเกิดสมาธิขึ้น บัดนั้นความนัยอันลึกซึ้งของคาถาก็จะเปิดเผยขึ้นมาเอง [21]

    ขณะที่คณาจารย์ทิเบตตีความไปในแนวทางพุทธตันตระ โดยบางท่านตีความว่า คาถานี้ เป็นการแสดงถึงการเคี่ยวกรำบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ผ่านภพภูมิต่างๆ กล่าววคือ ภพภูมิชั้นมูลฐาน หรือสัมภารมรรค (คะเต คะเต) ผ่านถึงภาคแรกของภพภูมิแรก หรือประโยคะมรรค (ปารคะเต) ถึงภาคที่สองของภพภูมิแรกจนถึงภพภูมิที่สิบ หรือประโยคะแห่งสุญตาจนถึงภาวนามรรค (ปารสังคะเต) กระทั่งจนถึงภูมิที่สิบเอ็ด หรืออไศกษะมรรค (โพธิสวาหา) ดังที่ เกเช เคลซัง กยัตโซ ได้อธิบายไว้ในหนังสือ The New Heart of Wisdom ความว่า "คาถานี้ ซึ่งอยู่ในพากย์ภาษาสันสกฤต อธิบายการปฏิบัติตามแนวทางมหายานไว้อย่างเข้มข้นที่สุด ซึ่งเราจักบรรลุและโดยสมบูรณ์โดยผ่านปัญญาบารมี (ปรัชญาปารมิตา) [22]

    พระมหาคณาจารย์โพธิ์แจ้งและมหาวัชราจารย์โซนัมรินโปเช่ กล่าวว่า "คำสวดนี้เป็นคาถาหัวใจของปรัชญาปารามิตาสูตร เลียนคำมาจากสันสฤตโบราณ ฉะนั้นจึงไม่ขอแปลความหมาย บทธารณีในภาษาจีนได้จบเพียงเท่านี้ แต่ในสันสฤตได้มีอีกประโยคว่า ได้กล่าวปรัชญาปารามิตาสูตรจบแล้ว ในภาษาทิเบตมีการบรรยายที่มาของพระสูตร และ บท สรุปของพระสูตรนี้ ดังที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ในสังยุตตนิกายว่า “ดูกรกัจจนะโลกนี้ติด อยู่กับสิ่งสองประการ คือ “ความมี”และ “ความไม่มี” ผู้ใดเห็นความเกิดขึ้นของสิ่งทั้งหลาย ในโลกตามความเป็นจริงและด้วยปัญญา “ความไม่มี”อะไรในโลกจะไม่มีแก่ผู้นั้น ดูก่อนกัจจนะ ผู้ใดเห็นความดับของสิ่งทั้งหลายในโลกตามความเป็นจริงและด้วยปัญญา “ความมี” อะไรในโลกจะไม่มีแก่ผู้นั้น”" [23]

    https://th.wikipedia.org/wiki/ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร
     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,257
    ค่าพลัง:
    +97,150
    มารา กล้วยตานี

    "น้ำตาของผู้หลงผิด และคำสารภาพต่อหน้าผู้เป็นแม่"
    เจ้าหน้าที่นำตัว นายมะสุกรี วาเต๊ะ ทำแผนประกอบคำรับสารภาพเหตุลอบยิงนางกัญญารัตน์ ยศอักษร เสียชีวิต บริเวณจุดที่รวมพลก่อนไปก่อเหตุ บริเวณ สวนยางพาราของมารดา ก็ได้พบกับมารดาและภรรยากรีดยางอยู่พอดี ณ วินาทีนั้นเอง นายมะสุกรีฯ รู้สึกเสียใจกับการเข้าร่วมเป็น ผกร.และ สารภาพกับแม่ โดยแม่ได้รับขวัญและยกโทษให้นายสุกรี..
    แม่นายมะสุกรี : ฟังที่แม่พูดก่อน อย่าร้อง ตอนนี้อายุก็ 20 กว่าแล้ว อดทน เราเป็นคน เราเป็นลูกผู้ชาย อดทน มันเป็นบททดสอบของพระเจ้า ถึงอย่างไรเราก็ต้องรับ ต้องทน ถึงจะเกิดอะไรขึ้น เราก็ต้องรับ อดทนนะ พระเจ้าได้กำหนดทุกอย่างไว้แล้ว เราไม่สามารถรู้ อย่าร้องในวันนี้ต้องตั้งตัวให้ดีๆ ที่สุกรีจะบอกแม่ หรือไม่บอกก็ไม่เป็นไร เดี่ยวยกโทษให้ แต่ในวันนี้ขอให้ตั้งมั่น อะไรที่ผ่านมาแล้ว เดี่ยวแม่รับเองหมด แต่ว่าสิ่งที่พระเจ้ากำหนดก็ต้องให้มันเป็นไปอย่างนั้น เราก็ต้องรับ ถ้ายังไม่พ้นก็ยังต้องเป็นแบบเดิมอยู่ดี เอาอย่างอื่นออกไปให้หมด นับหนึ่งใหม่
     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,257
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    &url=https%3A%2F%2Fassets.bwbx.io%2Fimages%2Fusers%2FiqjWHBFdfxIU%2Fi6se7.fgGKyI%2Fv0%2F1200x800.jpg
    (Feb13) ประธานเฟดกล่าวย้ำเศรษฐกิจสหรัฐแข็งแกร่งแต่มีบางพื้นที่ยังต้องการสนับสนุนเป็นพิเศษ: นาย Jerome Powell, Federal Reserve Chairman กล่าวว่าความเจริญของสหรัฐฯ ในภาพรวมนั้น มิได้ส่งผลเชิงบวกในหลายพื้นที่ของประเทศ โดยพื้นที่ชนบทยังต้องการการสนับสนุนมากเป็นพิเศษ เช่น การเข้าถึงสินเชื่อเพื่อริเริ่มการทำธุรกิจ รวมไปถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ ในส่วนของภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน

    นาย Powell มองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง และยังไม่รู้สึกถึงการปรับเพิ่มขึ้นของความเป็นไปได้ในการเกิดภาวะ recession ท่ามกลางระดับอัตราว่างงานที่ต่ำที่สุดในรอบ 50 ปี พร้อมทั้งเน้นย้ำว่าการปรับเพิ่มขึ้นของระดับ labor force participation ยังคงเป็นสิ่งที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ให้ความสำคัญในการดำเนินนโยบาย

    นอกจากนี้ นาย Powell ระบุว่ากว่าร้อยละ 70 ของ 473 เขต ที่ถูกจัดให้เป็นพื้นที่ที่มี persistent level of poverty นั้น อยู่ในพื้นที่ชนบท ซึ่ง Mississippi Delta (เขตที่นาย Powell ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์) ก็กำลังประสบปัญหาจากปรับลดลงของการจ้างงานในภาคการเกษตร และภาคการผลิตประเภทท low-skilled อันเป็นผลมาจากเทคโนโลยี automation และการ outsource ทั้งนี้ Mississippi เป็นหนึ่งในเขตที่คนจำนวนมากไม่สามารถเข้าถึงสวัสดิการ childcare ที่มีคุณภาพดีได้

    สำหรับประเด็นเกี่ยวกับ community banks นาย Powell กล่าวว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ริเริ่มหาแนวทางในการหลีกเลี่ยงการใช้กฎระเบียบที่ไม่จำเป็นจนส่งผลให้จำนวน community banks ปรับลดลง ซึ่งรวมไปถึงการทบทวนกฎ Community Reinvestment Act ด้วย

    Source: BOTSS

    - Powell Says Economy Is ‘Strong’ But Prosperity Missing Some Places:
    https://www.bloomberg.com/news/arti...syLPFk1RmM5P9N0NWeXRxEDATjnWpSDb37two9sxtw9ek
     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,257
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    sM39d6xtxTgMA&w=540&h=282&url=https%3A%2F%2Fichef.bbci.co.uk%2Fimages%2Fic%2F1024x576%2Fp070nsgd.jpg
    (Feb 13) ผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษกล่าวเตือนว่า ข้อตกลง Brexit ที่ดีเป็นสิ่งจำเป็น และ no-deal Brexit จะก่อให้เกิด Economic shock ต่อเศรษฐกิจของประเทศ: นาย Mark Carney ผู้ว่าการ BOE กล่าวว่า รัฐบาลสหราชอาณาจักรควรรีบหาทางออกให้กับสถานการณ์ Brexit โดยการถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปแบบไม่มีข้อตกลงท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอลงอันเนื่องมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและความตึงเครียดทางด้านการค้าโลกที่ปรับสูงขึ้น ถือเป็นภัยคุกคามอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจสหราชอาณาจักร

    สถานการณ์ความตึงเครียดทางด้านการค้าโลกและ Brexit เสมือนเป็นสิ่งที่บ่งชี้ให้เห็นถึงแรงกดดันว่าอาจจำเป็นต้องมีการ “reorder glabalisation” และการออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักรอาจส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ที่แนวทางใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นอาจช่วยพัฒนาให้เศรษฐกิจโลกมีความทนทานต่อสถานการณ์ต่างๆ ได้ดีขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็มีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะมีความแบ่งแยกมากขึ้นซึ่งจะส่งผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโดยรวม

    Brexit ก่อให้เกิดความไม่แน่นอนต่อเศรษฐกิจอย่างมากและทำให้บรรดาบริษัทต่างๆ ชะลอการตัดสินใจลงทุนที่สำคัญออกไป และการหาข้อตกลง Brexit ที่ดีและมีช่วงเปลี่ยนผ่านที่ราบรื่นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเศรษฐกิจสหราชอาณาจักร ขณะที่ no-deal Brexit จะเป็นการส่งสัญญาณให้ทั่วโลกได้ตระหนักถึงประเด็น “refounding globalization” รวมถึงจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจสหราชอาณาจักรและทำให้เงินปอนด์สเตอร์ลิงอ่อนค่าลง ซึ่งจะส่งผลต่อมาตรฐานความเป็นอยู่ของคนในสหราชอาณาจักรอย่างน้อยในระยะสั้น โดยการอ่อนค่าของเงินปอนด์สเตอร์ลิงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของกลไกการปรับตัวของเศรษฐกิจและไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจอย่างที่นักเศรษฐศาสตร์หลายท่านคาดการณ์

    เมื่อพิจารณาในหลายๆ ประเด็นแล้ว Brexit เสมือนเป็นบททดสอบต่อ new global order และเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าแนวทางใหม่ที่จะเกิดขึ้นจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์มากน้อยเพียงใด โดย ข้อตกลง Brexit ที่ประสบความสำเร็จอาจนำไปสู่การค้าระหว่างประเทศรูปแบบใหม่ที่ช่วยสร้างให้มีความสมดุลที่ดีขึ้นระหว่างผลประโยชน์ระดับประเทศและระดับโลก

    Source: BOTSS

    - Brexit: Mark Carney warns of no-deal 'economic shock: https://www.bbc.com/news/business-47209266
     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,257
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    pkzF08LkTjbWvxuLGYRs7nTETprq_f8LMxgwQwtrQdg13bQsxZ06wI_iRWO44-2AU6CAKqZQ&_nc_ht=scontent.fbkk6-1.png

    (Feb 13) 'แชมเปี้ยนยุโรป' ก้าวแรกเร่งแข่งจีน-สหรัฐ : ในขณะนี้คงอาจกล่าวได้ว่าสปอตไลต์ในศึกแข่งชิงเจ้าอุตสาหกรรมโลกกำลังสาดส่องไปที่ 2 มหาอำนาจเศรษฐกิจอย่าง "จีน" และ "สหรัฐ"

    ฝั่งสหรัฐนั้นมี "อเมริกามาก่อน" นโยบายของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ สู่การสร้างอเมริกาอันยิ่งใหญ่ ภายใต้นโยบายที่ว่าจึงทำให้สหรัฐเหนือความคาดหมายกว่าช่วงที่ผ่านๆ มา ไม่ว่าจะเป็นการหั่นภาษีครั้งใหญ่ เปิดศึกการค้ากับจีน เก็บภาษีเซฟการ์ดเหล็ก-อะลูมิเนียม และออกมาตรการสกัดเอกชนต่างชาติเข้ามาครอบงำภาคอุตสาหกรรมสหรัฐ โดยล่าสุดนั้นมีรายงานว่าทรัมป์เตรียมลงนามคำสั่งประธานาธิบดีให้รัฐบาลกลางทุ่มเททรัพยากรมากขึ้นในการวิจัยและพัฒนาด้านปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ)

    ฟากจีนก็มียุทธศาสตร์ "เมด อิน ไชน่า 2025" ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญผลักดันให้จีนผงาดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในภาคเทคโนโลยีที่มียักษ์เอกชนเป็นหัวหอกนำทีมอย่างอาลีบาบาและเทนเซนต์ ไม่เพียงเท่านั้น เอกชนจีนยังตะลุยซื้อกิจการต่างชาติในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

    "ยุโรป" ซึ่งอยู่ท่ามกลางการขับเคี่ยวกันอย่างดุเดือดระหว่างสองชาติ จึงออกมาเคลื่อนไหวเมื่อไม่นานนี้เพื่อหวังเร่งเกียร์ไล่ตามจีนและสหรัฐให้ทัน ด้วยการเปิดเผยแผนระยะยาวสู่การสร้าง "แชมเปี้ยนยุโรป" (European Champions)

    "เยอรมนี" คือผู้นำทัพในยุทธศาสตร์ดังกล่าว โดย ปีเตอร์ อัลท์ไมเออร์ รัฐมนตรีเศรษฐกิจเยอรมนี ได้เปิดเผยร่าง "ยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมแห่งชาติ 2030" ประกอบด้วยหลักการสำคัญ 6 ข้อ คือ

    รัฐต้องสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี และลดต้นทุนทางธุรกิจด้วยนโยบายใหม่ๆ ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม แก้ไขกฎหมายด้านการแข่งขันทางการค้า เพื่อเปิดทางให้เอกชนสามารถควบรวมกิจการได้ง่ายขึ้นในสถานการณ์เฉพาะ ที่บริษัทขนาดใหญ่กว่าอาจได้เปรียบในการแข่งขันระดับโลกมากกว่าบริษัทในอียูควรได้รับการสนับสนุนให้เข้าซื้อกิจการด้านเทคโนโลยีที่สำคัญ

    "ในกรณียกเว้นบางกรณี" รัฐต้องเข้าถือหุ้นในบริษัทเอกชน เพื่อ หลีกเลี่ยงการเข้าซื้อกิจการจากต่างชาติสร้างกองทุนเพื่อการลงทุนสำหรับสนับสนุนการเข้าซื้อกิจการ ซึ่งมีระยะเวลาที่จำกัด ตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนรายได้จากภาคอุตสาหกรรมของอียูให้เพิ่มขึ้นเป็น 20% ของรายได้ประเทศทั้งหมด และเยอรมนีเพิ่มขึ้นเป็น 25%

    หนังสือพิมพ์ ดี เวลต์ (Die Welt) ของเยอรมนีรายงานอ้างแหล่งข่าวว่า ยุทธศาสตร์ดังกล่าวยังรวมถึง "การให้การสนับสนุนพิเศษ" แก่บางภาคอุตสาหกรรม เช่น รถยนต์ไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ และการพิมพ์ 3 มิติด้วย รวมถึงเพิ่มการปกป้องภาคธุรกิจที่มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ ที่รวมถึงยานยนต์ วิศวกรรมเครื่องกล อุปกรณ์การแพทย์ อากาศยาน เทคโนโลยี สีเขียว และกลาโหม ซึ่งทำให้หลายฝ่ายมองว่ายุทธศาสตร์ใหม่ของเยอรมนีมีความคล้ายคลึงกับ เมด อิน ไชน่า 2025 อยู่ไม่น้อย

    แต่สิ่งน่าสนใจที่สะท้อนออกมาจากแผนยุทธศาสตร์ล่าสุดของยุโรป คือการกำลังหันสู่การใช้นโยบายปกป้องการค้ามากยิ่งขึ้น ซึ่งไม่เพียงมีเยอรมนียักษ์เศรษฐกิจแห่งยุโรปเป็นหัวหอกเท่านั้น แต่ยังได้รับแรงสนับสนุนจากฝรั่งเศสอีกชาติทรงอิทธิพลแห่งยุโรปด้วย หลังอียูล่าช้าอย่างมากในการเร่งเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน จนเอกชนจีนเข้ามาเทกโอเวอร์บริษัทยุโรปมากขึ้นเรื่อยๆ

    บลูมเบิร์กรายงานว่า นับตั้งแต่ช่วงปี 2008 เอกชนจีนและรัฐวิสาหกิจจีนมีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อตกลงเข้าซื้อและควบรวมกิจการคิดเป็นมูลค่าอย่างน้อย 2.55 แสนล้าน ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 8 ล้านล้านบาท) ทั่วทวีปยุโรป และมีบริษัทยุโรปประมาณ 360 แห่งถูกเทกโอเวอร์ไปเรียบร้อยแล้ว

    ด้วยเหตุนี้ แผนยุทธศาสตร์สร้างแชมเปี้ยนยุโรป จึงเกิดขึ้นมาเพื่อต้านอิทธิพลจีนเป็นหลัก และกำลังได้รับแรงสนับสนุน หลังคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป (อีซี) คว่ำดีลการ ควบรวมกิจการระหว่าง ซีเมนส์ จากเยอรมนี และอัลสตอม จากฝรั่งเศส ซึ่งเมื่อควบรวมธุรกิจกันแล้วจะสร้างยักษ์เอกชนด้านรถไฟแห่งยุโรป รายได้รวมกันถึง 1.5 หมื่นล้านยูโร (ราว 5.32 แสนล้านบาท)

    ทางอีซีให้เหตุผลว่า การควบรวม ซีเมนส์-อัลสตอม จะนำไปสู่การผูกขาดตลาด ทำให้ธุรกิจรายเล็กกว่าในภาคอุตสาหกรรมล้มหายตายจากไป อีกทั้งยังเป็นการลดการแข่งขันทางธุรกิจ และผู้บริโภคเสี่ยงเจอราคาค่าโดยสารแพงขึ้น

    ขณะที่รัฐบาลเยอรมนีและฝรั่งเศสที่สนับสนุนการควบรวมซีเมนส์-อัล สตอม มองว่า การผนึกสองบริษัทจะทำให้ยุโรปสามารถสร้างยักษ์เอกชน หรือแชมเปี้ยนยุโรป ไปแข่งขันกับจีน ที่กำลังแผ่อิทธิพลมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ

    ทั้งนี้ แนวคิดเรื่องแชมเปี้ยนยุโรปไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด เพราะได้รับการเสนอขึ้นมาแล้วโดยอีซีเมื่อปี 2012 แต่ไม่ค่อยได้รับการสนับสนุนจากบรรดาชาติยุโรปนัก ส่งผลให้แผนการดังกล่าวยังไม่เป็นรูปเป็นร่างเสียที

    อุปสรรคสำคัญของแผนดังกล่าวมาจากประเด็นข้อจำกัดเรื่องการควบรวมกิจการที่ไม่เอื้อต่อการเพิ่มอิทธิพลของเอกชนยุโรป โดยเมื่อปี 2018 รัฐบาล 19 ชาติอียูเสนอให้ปรับแก้กฎระเบียบต่อต้านการผูกขาดตลาด แต่ก็ไม่สามารถหาข้อสรุปได้

    ชาติยุโรปโดยเฉพาะเยอรมนีและฝรั่งเศสมองว่า กฎระเบียบด้านการควบรวมกิจการและต่อต้านการผูกขาดตลาดที่ล้าหลังของอียู เป็นอุปสรรคสำคัญสู่การผงาดขึ้นเป็นเจ้าอุตสาหกรรมของยุโรป เพราะขัดขวางการสร้างยักษ์เอกชนอันทรงพลังไปแข่งขันกับทั่วโลก

    สำหรับแนวทางหลักๆ ของกฎระเบียบดังกล่าวของอียูก็คล้ายคลึงกับหลายชาติ เช่น สหรัฐ คือมีจุดมุ่งหมายไม่ให้การควบรวมกิจการบั่นทอนการแข่งขันทางธุรกิจและไม่ทำให้ผู้บริโภคเสียค่าสินค้าและบริการเพิ่ม

    อย่างไรก็ดี ปัญหาของกฎดังกล่าวในยุโรป คือการที่อีซีเป็นผู้พิจารณาตัดสินว่าการควบรวมใดนำไปสู่การผูกขาดตลาดหรือไม่ ซึ่งสิ่งที่ตามมาจะออกมา 3 แบบคือ 1.อนุมัติ 2.บล็อกดีล 3.ผลักดันดีลเข้าสู่การยื่นประมูลสัมปทาน

    แม้ว่าชาติที่คัดค้านคำตัดสินของ อีซีสามารถยื่นเรื่องอุทธรณ์ไปยังศาลสูงที่ลักเซมเบิร์กได้ แต่การให้อีซีเป็นผู้ตัดสินใจก็ทำให้บางชาติไม่พอใจ เช่น เยอรมนีที่มองว่าการบล็อกดีลล่าสุดไม่ช่วยปกป้องธุรกิจท้องถิ่น ส่วนฝรั่งเศสวางแผนเสนอเพิ่มการตรวจสอบการเข้ามาลงทุนจากต่างชาติในยุโรป

    ล่าสุดนั้น ฝรั่งเศสได้ออกมากดดันให้อียูปรับเปลี่ยนกฎระเบียบทางการแข่งขันโดยเสนอให้รัฐมนตรีของบรรดาชาติอียูสามารถมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ซึ่งในกรณีของซีเมนส์-อัลสตอม คือเปิดทางให้ฝรั่งเศสและเยอรมนี เข้าไปคัดค้านมติอีซีได้

    ขณะที่แผนยุทธศาสตร์ใหม่ของเยอรมนีได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่าย แต่ก็ปลุกความกังวลว่าอาจเป็นจุดเริ่มต้นของ "การชี้นำและแทรกแซงเอกชนของรัฐบาล" ซึ่งจะนำไปสู่การผูกขาดตลาดยิ่งขึ้น เพราะรัฐไม่ได้มีกรอบเวลาชัดเจนในการเข้าไปสนับสนุนการเข้าซื้อกิจการ แม้อัลท์ ไมเออร์ย้ำว่ารัฐจะไม่เข้าไปแทรกแซงการตัดสินใจของเอกชนก็ตาม

    แผนยุทธศาสตร์ใหม่สู่การสร้างแชมเปี้ยนยุโรป จึงยังเป็นเพียงก้าวแรกเท่านั้นสู่การเร่งเครื่องแข่งขันกับทั่วโลก ซึ่งจะสำเร็จได้หรือไม่ในระยะยาวนั้น ก็ขึ้นอยู่ว่ายุโรปจะยอมผ่อนหลักการเพื่อแลกกับการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันหรือไม่

    โดย นรินรัตน์ พรหมพิทักษ์

    Source: Posttoday
     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,257
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    571yokyjv62Uywt9BZ6eGTa5ptSLUHWED73p1Yv75qpRdNBAVKjasIC8hFOH_LA1-E4gGA-w&_nc_ht=scontent.fbkk6-2.png

    (Feb 13) ไอเอ็มเอฟเตือนทั่วโลก เตรียมรับมือ'พายุเศรษฐกิจ': ความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะการชะลอตัว ของเศรษฐกิจโลกถูกตอกย้ำอีกครั้งในวันนี้ เมื่อกรรมการผู้จัดการไอเอ็มเอฟ เตือนทุกประเทศทั่วโลกให้เพิ่ม ความระมัดระวังและเตรียมรับมือกับ"พายุเศรษฐกิจ"ที่กำลังพัดโหมกระหน่ำทั่วโลกอีกครั้ง ซึ่งหากประมาท ตั้งรับไม่ดี เศรษฐกิจของประเทศอาจเสียหายจนไม่อาจประเมินค่าได้ พร้อมทั้งระบุถึง 4 ปัจจัยหลักที่จะบั่นทอนการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ติดตามรายละเอียดได้จากรายงาน

    "คริสติน ลาการ์ด" กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ( ไอเอ็มเอฟ ) กล่าวในที่ประชุม ซึ่ง จัดขึ้นที่ดูไบประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ว่าเศรษฐกิจโลกเติบโตช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้มีปัจจัยหลักๆอยู่ 4 ด้านที่กำลังทำลายเศรษฐกิจโลก พร้อมทั้งเตือนว่าอาจเกิดพายุเศรษฐกิจขึ้นได้อีกครั้ง ซึ่งคำเตือนครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากเมื่อเดือนที่แล้ว ไอเอ็มเอฟได้ปรับลดการคาดการณ์การเติบโต ของเศรษฐกิจโลกสำหรับปีนี้ จาก 3.7% เหลือเติบโต 3.5%

    นางลาการ์ด กล่าวถึงความเสี่ยง ด้านต่างๆที่จะทำให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ รอบใหม่ ซึ่งรวมถึงความตึงเครียดทางการค้า และการขึ้นอัตราภาษีศุลกากรมาตรการคุมเข้มทางการเงิน การไม่แน่นอนของผลลัพธ์และผลกระทบที่จะเกิดจากการถอนตัวจากสหภาพยุโรปของอังกฤษ (เบร็กซิท)

    กรรมการผู้จัดการไอเอ็มเอฟ บอกว่า ความตึงเครียดทางการค้า ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากความขัดแย้งเรื่องการขึ้นภาษีศุลกากรระหว่างสหรัฐและจีน ที่เป็นประเทศเศรษฐกิจรายใหญ่ที่สุดในโลก 2 ประเทศ ได้ส่งผล กระทบต่อโลกแล้ว ซึ่งไอเอ็มเอฟไม่แน่ใจว่า จะเป็นไปในทิศทางใดบ้าง แต่ที่ทราบแน่ชัดคือ การทำสงครามการค้าของสองประเทศยักษ์ใหญ่เริ่มส่งผลกระทบต่อการค้า รวมถึงความเชื่อมั่นและตลาดแล้ว ซึ่งเธอเตือนให้รัฐบาลประเทศต่างๆหลีกเลี่ยงลัทธิคุ้มครองทางการค้าด้วย

    นอกจากนี้ นางลาการ์ด ยังชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยงของการเพิ่มขึ้นของ หนี้สินของรัฐบาลต่างๆ รวมถึงบริษัทและครัวเรือน ซึ่งอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจขึ้นได้ด้วย

    คำเตือนของผู้นำไอเอ็มเอฟ มีขึ้น ในขณะที่ตลาดการเงินจับตาการเจรจาการค้ารอบใหม่ระหว่างสหรัฐและจีน ที่กรุงปักกิ่งในสัปดาห์นี้ โดยกระทรวงพาณิชย์จีน ยืนยันว่า "หลิว เหอ" รองนายกรัฐมนตรีจีน จะจัดการประชุมเพื่อเจรจาการค้ารอบใหม่กับนายโรเบิร์ต ไลท์ไฮเซอร์ ผู้แทนการค้าของสหรัฐ (ยูเอสทีอาร์) และ"สตีเวน มนูชิน" รัฐมนตรีคลังสหรัฐ ซึ่งการประชุมจะจัดขึ้นที่กรุงปักกิ่ง ในวันที่ 14-15 ก.พ.นี้

    ส่วนวันจันทร์(11ก.พ.)เป็นการพบกัน ของเจ้าหน้าที่ระดับรัฐมนตรีช่วยของจีนและสหรัฐ โดยเจ้าหน้าที่สหรัฐเดินทางไปกรุงปักกิ่ง เพื่อหารือในประเด็นต่างๆที่ได้พูดคุยกันไว้ในการประชุมครั้งก่อน ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงวอชิงตันเมื่อช่วงปลายเดือนม.ค.ที่ผ่านมา แต่ขณะนี้ยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดว่า เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐและจีน ซึ่งประกอบไปด้วยหลิว มนูชิน และไลท์ไฮเซอร์ เจรจาร่วมกันในประเด็นใดบ้างในระหว่างวันที่ 14-15 ก.พ.นี้

    การเจรจาการค้าระหว่างหลิว มนูชิน และไลท์ไฮเซอร์ในครั้งนี้ ถือว่ามีความสำคัญและถูกจับตามองอย่างใกล้ชิด หลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศว่า ไม่มีแผนที่จะพบปะกับประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ก่อนวันที่ 1 มี.ค. ซึ่งเป็นเส้นตายที่ทั้งสองฝ่ายกำหนดไว้สำหรับการบรรลุข้อตกลงทางการค้า หากทั้ง 2 ฝ่ายยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงทางการค้าก่อนวันที่ 1 มี.ค. ปธน.ทรัมป์จะเดินหน้าเพิ่มการเรียกเก็บภาษีนำเข้าต่อสินค้าจีนมูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์ สู่ระดับ 25% จากเดิม 10% ในขณะนี้

    นอกจากนางลาการ์ดจะเตือนทุกประเทศทั่วโลกให้เตรียมพร้อมรับมือพายุเศรษฐกิจที่ก่อตัวเตรียมพัดถล่มรอบใหม่แล้ว ผู้บริหารระดับสูงของไอเอ็มเอฟ ยังแสดงความเห็นว่า ทุกวันนี้บรรดาประเทศ ผู้ส่งออกน้ำมัน ยังไม่ฟื้นตัวอย่างเต็มที่จากผลกระทบของราคาน้ำมันที่ร่วงลงอย่างรุนแรงในปี 2557 และแนวโน้มราคาน้ำมันยังคงมีความไม่แน่นอนอย่างมาก แม้เศรษฐกิจจะมีการขยายตัวเล็กน้อย ก็ตาม

    "เนื่องจากรายได้ที่ลดลง ทำให้การขาดดุลทางการคลังลดลงอย่างเชื่องช้า แม้จะมีการปฏิรูปครั้งสำคัญทั้งด้านการใช้จ่ายและรายได้ รวมถึงการกำหนดภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีสรรพสามิต ปัจจัยดังกล่าวทำให้หนี้สาธารณะพุ่งขึ้นอย่างมากจาก 13% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ในปี 2556 เป็น 33% ในปี 2561" นางลาการ์ด กล่าว

    ไอเอ็มเอฟ ประกาศปรับลดตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในเดือนม.ค.ที่ผ่านมา พร้อมเตือนว่า เศรษฐกิจโลกยังคงเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงหลายประการ โดยคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจโลกจะขยายตัว 3.5% ในปีนี้ และ 3.6% ในปีหน้า ต่ำกว่าระดับ 3.7% สำหรับทั้ง 2 ปีที่มีการคาดการณ์ในเดือนต.ค.ปีที่แล้ว

    คำเตือนของกรรมการผู้จัดการ ไอเอ็มเอฟ ถือเป็นการส่งสัญญาณ ให้รัฐบาลประเทศต่างๆเตรียมรับมือสถานการณ์ไม่คาดฝันทางเศรษฐกิจไว้ให้พร้อม เพราะตั้งแต่ต้นปีมานี้ ข้อมูลเศรษฐกิจของจีนหลายตัวไม่สดใส ส่วนเศรษฐกิจสหรัฐแม้ขณะนี้ยังไปได้ แต่ก็ไม่ได้ถือว่าอยู่ในภาวะที่ปลอดภัย ส่วนยุโรป ล่าสุด คณะกรรมาธิการยุโรป (อีซี) ซึ่งเป็นองค์กรบริหารของสหภาพยุโรป (อียู) ประกาศปรับลดตัวเลขคาดการณ์ การขยายตัวของยูโรโซนในปีนี้ และปีหน้า จากการคาดการณ์ที่ว่า ประเทศขนาดใหญ่ในยูโรโซนจะมีเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง โดยได้รับผลกระทบจากความตึงเครียดทางการค้า ระหว่างประเทศ และหนี้ภาครัฐที่เพิ่มขึ้น

    อีซี คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจยูโรโซนจะมีการขยายตัว 1.3% ในปีนี้ ลดลง จากระดับ 1.9% ในปีที่แล้ว และคาดว่าจะดีดตัวสู่ระดับ 1.6% ในปีหน้า ก่อนหน้านี้ อีซี คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจยูโรโซน จะมีการขยายตัว 1.9% ในปีนี้ และ 1.7% ในปีหน้า

    Source: กรุงเทพธุรกิจ
     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,257
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    _yH4Dc8qfYbCysuzxqFTWQGDbQBPsIsbZah3sfVetFYxp1hPNyVHl2w9MW8UdDXmy5kGogKw&_nc_ht=scontent.fbkk6-1.png

    (Feb 13) ทูน่าไทยโตแสนล้านสร้างสถิติใหม่ยึดแชมปโลกยาว: อุตสาหกรรมทูน่าคึก มั่นใจปี 2562 สร้างสถิติใหม่ โต 1 แสนล้านบาท นำเข้าปลาวัตถุดิบมากสุดเป็นประวัติการณ์ หลังคู่แข่งจีน-ปาปัวนิวกินีเจอสกัดดาวรุ่ง บิ๊กวงการแข่งผลิตสินค้านวัตกรรม สร้างมูลค่าเพิ่ม ทิ้งคู่แข่ง

    อุตสาหกรรมทูน่าไทยยังครองอันดับ 1 ของโลกไว้ได้อย่างเหนียวแน่น ทั้งในแง่การผลิตและการส่งออก ซึ่งแม้ไทยจะไม่มีกองเรือจับปลาทูน่าเป็นของตัวเอง แต่ไทยเป็นผู้นำเข้าวัตถุดิบปลาทูน่า และมีศักยภาพในการแปรรูปส่งออกรายใหญ่สุดของโลกมานานกว่า 10 ปีแล้ว แต่ยังต้องเผชิญความผันผวนของราคาวัตถุดิบที่มีผลต่อราคาสินค้าและยอดส่งออกทุกปี นอกจากนี้ยังถูกเพ่งเล็งด้านแรงงาน และการทำประมงผิดกฎหมายที่ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการกีดกันการค้าจากประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหภาพยุโรป อย่างไรก็ดีในรอบปี 2561 การผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์ทูน่าของไทยก็ยังไปได้ดี (กราฟิกประกอบ) ปีนี้ยังมีทิศทางที่สดใส

    นายชนินทร์ ชลิศราพงศ์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย เผยในการให้สัมภาษณ์กับ "ฐานเศรษฐกิจ"ว่า ในปี 2561 ไทยสามารถส่งออกผลิตภัณฑ์ทูน่า รวมถึงอาหารสัตว์เลี้ยงที่ทำจากปลา ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน และปลาแมคเคอเรลปริมาณรวม 6.8 แสนตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 8% และด้านมูลค่าที่ 9.1 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 6% ปัจจัยหลักจากราคาวัตถุดิบนำเข้าค่อนข้างมีเสถียรภาพ ขึ้น-ลงไม่หวือหวา ระหว่าง 1,200-1,800 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน หรือเฉลี่ยทั้งปีที่ 1,550 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน จากปี 2560 ระหว่าง 1,200-2,400 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน หรือเฉลี่ยทั้งปี 1,800 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน

    "ราคาวัตถุดิบที่เฉลี่ยไม่แพงเกินไปและไม่ผันผวนมากในปีที่แล้วทำให้ราคาสินค้าต่อหน่วยไม่สูงเกินไป ค้าขายง่ายขึ้น ผู้ซื้อพอใจสามารถทำโปรโมชันส่งเสริมการขายได้ ภาพรวมไทยส่งออกไปกว่า 200 ประเทศ ตลาดหลักได้แก่ สหรัฐฯ ตะวันออกกลาง ญี่ปุ่นและอีเมอร์จิ้งมาร์เก็ตขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกตลาดยกเว้นตลาดสหภาพยุโรป (อียู) ที่ติดลบ จากไทยเสียเปรียบคู่แข่งขันต้องเสียภาษีนำเข้า 24% ขณะที่ปาปัวนิวกินี เอกวาดอร์ ฟิลิปปินส์ เวียดนามได้สิทธิพิเศษภาษีนำเข้า 0% รวมถึงปีที่ผ่านมาไทยยังติดใบเหลืองไอยูยู แต่มองว่าไม่กระทบมากเพราะสัดส่วนส่งออกไปตลาดนี้ของไทย 5-6% เท่านั้น"

    สำหรับในปี 2562 นี้ มีหลายปัจจัยบวกที่ส่งผลดีกับอุตสาหกรรม ได้แก่ ในปีที่ผ่านมาไทยถูกยกระดับขึ้นเป็นTier 2 ในรายงานการค้ามนุษย์ประจำปีของสหรัฐฯ ล่าสุดเดือนมกราคมปีนี้อียูได้ปลดใบเหลืองไอยูยูเป็นใบเขียวให้กับประเทศไทยแล้ว ทำให้สินค้าประมงของไทยมีภาพลักษณ์ที่ดี นอกจากนี้ผู้ประกอบการ เฉพาะอย่างยิ่งสมาชิกสมาคม 25 บริษัท ซึ่งคิดเป็น 95% ของการผลิตและส่งออกในภาพรวมได้มีการลงทุนวิจัยและพัฒนา (R&D)เพื่อยกระดับนวัตกรรมการผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม มีการพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ร่วมกับคู่ค้า มีการนำเครื่องจักร และระบบอัตโนมัติมาใช้แทนแรงงานคน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้ดีขึ้นและมากขึ้น

    ขณะที่สงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน ทำให้สินค้าทูน่าจากจีนซึ่งเป็นหนึ่งในคู่แข่งสินค้าไทยถูกสหรัฐฯเก็บภาษีนำเข้าเพิ่มขึ้นจากเดิมเสีย 12% เท่ากับไทย เพิ่มอีก 10% เป็น 22% ปาปัวนิวกินีหนึ่งในคู่แข่งไทยเร่งขยายการลงทุนแต่ติดปัญหาเรื่องคน และสาธารณูปโภคที่ไม่พร้อม ซึ่งจะทำให้วัตถุดิบปลาทูน่าไหลมาที่ไทยมากขึ้น คาดปีนี้จะมีการนำเข้า 8.5-9 แสนตัน มากสุดเป็นประวัติการณ์ จากในอดีตไทยไม่เคยนำเข้าเกิน 8.5 แสนตัน หรือถึง 9 แสนตัน

    "การส่งออกผลิตภัณฑ์ทูน่าของไทยปีนี้ ด้านมูลค่าคาดจะขยายตัวได้ 5-10% ส่วนด้านปริมาณที่ 10% ความสามารถในการทำกำไรสุทธิของผู้ประกอบการน่าจะดีขึ้นเฉลี่ยที่ 5-7% จากปีที่แล้วเฉลี่ยที่ 3-5% เมื่อรวมกับตลาดในประเทศอีกประมาณ7-8 พันล้านต่อปี ปีนี้มูลค่าอุตสาหกรรมทูน่าจะแตะ 1 แสน ล้านบาทเป็นปีแรก ส่วนปัจจัยลบมีตัวเดียวคือ เงินบาทที่แข็งค่ามากสุดในโลกกระทบความสามารถในการแข่งขันแต่ยังโชคดีวัตถุดิบทูน่าส่วนใหญ่นำเข้าทำให้บาลานซ์ความเสี่ยงได้ ไม่กระทบมากเหมือนสินค้าเกษตรและอาหารส่งออกอื่นๆ

    ณ วันนี้ไม่ห่วงคู่แข่งเช่นเวียดนาม จีน ฟิลิปปินส์จะก้าวตามทันไทย

    Source: ฐานเศรษฐกิจ
     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,257
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    &url=https%3A%2F%2Fassets.bwbx.io%2Fimages%2Fusers%2FiqjWHBFdfxIU%2FiJcqkJgOP4jQ%2Fv0%2F1200x800.jpg
    (Feb 13) EU ขึ้นบัญชีดำ 23 ประเทศมีพฤติกรรมฟอกเงิน,เป็นแหล่งเงินทุนก่อการร้าย: คณะกรรมาธิการยุโรป (EC) ซึ่งเป็นองค์กรบริหารของสหภาพยุโรป (EU) ประกาศขึ้นบัญชีดำ 23 ประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิก EU ซึ่งมีพฤติกรรมฟอกเงิน และเป็นแหล่งเงินทุนสนับสนุนการก่อการร้าย

    นางเวรา จูโรวา กรรมาธิการฝ่ายยุติธรรมของ EC กล่าวว่า รายชื่อประเทศดังกล่าว ซึ่งรวมถึงซาอุดีอาระเบีย เกาหลีเหนือ และไนจีเรีย จะถูกใช้ในการเพิ่มการตรวจสอบและสอบสวนเกี่ยวกับการดำเนินการทางการเงินเพื่อติดตามกระแสเงินที่ต้องสงสัย

    นางจูโรวากล่าวว่า "เราต้องสร้างความมั่นใจว่าเงินสกปรกจากประเทศอื่นจะไม่สามารถเข้าสู่ระบบการเงินของเรา และยุโรปจะไม่ตกเป็นเครื่องซักรีดเงินสกปรก"

    หลังการเปิดเผยรายชื่อ 23 ประเทศในวันนี้ รัฐสภายุโรป และประเทศสมาชิก EU จะต้องให้การรับรองการขึ้นบัญชีดำของประเทศดังกล่าวในช่วงไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า

    Source: อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ก้องเกียรติ กอวีรกิติ โทร.02-2535000 อีเมล์: kon

    EU Blacklists Saudi Arabia in Fight Against Money-Laundering and Terror Financing
    https://www.bloomberg.com/news/arti...Yn4zos5lf30GzOMfzFxUE9vA19ZgKwO0q6H8IS7U1SEJM
     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,257
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    thumb%2Fmsid-67713480%2Cwidth-1070%2Cheight-580%2Cimgsize-114824%2Coverlay-economictimes%2Fphoto.jpg
    (Feb 13) จีนเตรียมเปิดโครงการทางด่วนอัจฉริยะติดตั้งสถานีฐาน 5G แห่งแรกที่เหอเป่ย : ผู้ให้บริการโทรคมนาคมและการทางพิเศษของจีนเห็นพ้องร่วมกันเรื่องการเปิดให้บริการโครงการทางหลวงอัจฉริยะเครือข่าย 5G แห่งแรกของประเทศที่มณฑลเหอเป่ย

    บริษัท ไชน่า โมบายล์ สาขามณฑลเหอเป่ย อยู่ในระหว่างการวางแผนเรื่องทำเลของการติดตั้งสถานีฐานเครือข่าย 5G บนทางหลวงทั่วพื้นที่ของมณฑลดังกล่าว เพื่อเดินหน้าทดสอบระบบของสถานีเก็บค่าผ่านทางแบบอัจฉริยะในจุดต่างๆ และระบบการส่งสัญญาณ 5G บนทางหลวงในเขตชุมชน

    เครือข่าย 5G หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไร้สายรุ่นที่ 5 จะมีสัญญาณความเร็วเพิ่มขึ้น อาการหน่วงน้อยลง ในขณะที่มีการเชื่อมโยงกับเครือข่ายดังกล่าว รวมถึงความสามารถในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆเข้ากับอินเทอร์เน็ตอย่างราบรื่น

    นอกจากนี้ ผู้ให้บริการยังเตรียมเรื่องการทดสอบการขับขี่แบบอัตโนมัติโดยใช้ระบบ 5G บนทางหลวงในพื้นที่ด้วยเช่นกัน
    ผู้ให้บริการเครือข่ายดังกล่าว ระบุว่า ทางด่วนอัจฉริยะเครือข่าย 5G จะสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลการจราจรแบบเรียลไทม์ และจัดทำการคาดการณ์ โดยอิงข้อมูลจากระบบบิ๊กดาต้า

    สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า สถานีรองรับเครือข่าย 5G ทั้ง 31 แห่งถูกสร้างขึ้นที่เมืองอู่ฮั่น ซึ่งเป็นเมืองหลวงของมณฑลเหอเป่ย และเสร็จสิ้นลงในช่วงปลายปี 2561 ทั้งนี้ ไชน่า โมบายล์ วางแผนที่จะใช้งบประมาณ 1 พันล้านหยวน (ประมาณ 147 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในปีนี้ เพื่อสร้างสถานีรองรับอีก 2,000 แห่งในมณฑลดังกล่าว

    Source: อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รณชัย ชายผา/สุนิตา

    - China launches 5G base station in Tibet-Qinghai region
    https://economictimes.indiatimes.co...5K0ZHoSrSEe8MPm_UPIwwadXat8KAIi_yMJw0Pdeo2lKk
     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,257
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    =https%3A%2F%2Fbrandinside.asia%2Fwp-content%2Fuploads%2F2019%2F02%2Fwashington-dc-1264256-unspx.jpg

    (Feb 13) นักวิเคราะห์กังวล หนี้รัฐบาลสหรัฐฯ ทำสถิติสูงสุดใหม่ที่ 22 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ: หนี้ของรัฐบาลสหรัฐทำลายสถิติใหม่สู่ 22 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้เกิดความกังวลว่าหนี้จำนวนมหาศาลเหล่านี้จะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐเกิดการชะลอตัวลงด้วย

    กระทรวงการคลังของสหรัฐฯ ได้รายงานหนี้ปัจจุบันของรัฐบาลสหรัฐฯ อยู่ที่ 22 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 692 ล้านล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกเดือน โดยเฉพาะในเดือนนี้หนี้ของรัฐบาลสหรัฐเพิ่มขึ้นถึง 30,000 ล้านเหรียญสหรัฐอีกด้วย

    สำหรับในช่วงของรัฐบาลประธานาธิบดีทรัมป์นั้น หนี้ของรัฐบาลสหรัฐได้เพิ่มขึ้นราวๆ 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ สาเหตุมาจากประธานาธิบดีทรัมป์เองนั้นได้ออกนโยบายลดภาษีให้กับบริษัทเอกชน รวมไปถึงการเพิ่มงบประมาณสำหรับกองทัพสหรัฐฯ และรวมไปถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ ของรัฐบาล นอกจากนี้สภาครองเกรสเองยังคาดว่างบประมาณของรัฐบาลสหรัฐในปีนี้น่าจะเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 15% อีกด้วย

    ไม่เพียงนั้นแต่หนี้ต่อ GDP ของสหรัฐฯ ก็ยังได้ทำลายสถิติใหม่คือสูงสุดตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 อีกด้วย เรื่องนี้ทำให้นักวิเคราะห์เศรษฐกิจเริ่มที่จะกังวลกับเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ว่าถ้าหากจะต้องลดปริมาณหนี้ของรัฐบาลลงนั้นจะต้องใช้วิธีขึ้นดอกเบี้ย ทำให้เกิดความกังวลว่าเศรษฐกิจอาจเกิดการชะลอตัวลงได้

    โดย Wattanapong Jaiwat

    Source: Brandinside.asia

    https://brandinside.asia/us-nationa...fAGhiHDffRuqz9wBbfl74G6WQHlfKa0y1qqOpa4F4VK2w
     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,257
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    recognition-artificial-intelligence-cs-544p_cb8566c65e46d5f77aa43b9833a47d89.nbcnews-fp-1200-630.jpg
    (Feb 13) ทรัมป์'สั่งเสริมแกร่งเอไอรับมือจีน : ประธานาธิบดีทรัมป์ สั่งรัฐบาลให้ความสำคัญกับเอไอมากขึ้น รักษาตำแหน่งการนำในช่วงที่จีนกำลังมาแรง

    ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐ ออกคำสั่งฝ่ายบริหาร เรื่องโครงการริเริ่มเอไอ อเมริกัน เรียกร้องให้รัฐบาลทุ่มเททรัพยากร ทั้งหมดที่มีช่วยส่งเสริมนวัตกรรมเอไอ

    แถลงการณ์จากทำเนียบขาวระบุ "ชาวอเมริกันได้กำไรมหาศาลจากการเป็นนักพัฒนาในช่วงแรก และเป็นผู้นำโลก ด้านเอไอ แต่นวัตกรรมเอไอเพิ่มขึ้นมาก ทั่วโลก เราจึงไม่สามารถนิ่งเฉยแล้วทึกทัก ว่าเรายังเป็นผู้นำอยู่ต่อไป"

    อย่างไรก็ตาม คำสั่งฝ่ายบริหารไม่ได้กล่าวถึง งบประมาณเฉพาะ หรือรายละเอียดของ ยุทธศาสตร์การพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ)

    ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นท่ามกลาง ความกังวลว่า จีนที่มียุทธศาสตร์ชาติหลายด้าน และเร่งลงทุนอาจแซงหน้าสหรัฐในด้านเอไอได้

    นายดาร์เรล เวสต์ ประธานศูนย์เทคโนโลยี นวัตกรรม สถาบันบรุคกิงส์ กล่าวว่า ทำเนียบขาวเคลื่อนไหวถูกเวลา แต่ยังไม่ แน่ชัดว่าจะปฏิบัติได้อย่างไรในเมื่อไม่มี งบประมาณชัดเจน

    "บางครั้งประธานาธิบดีประกาศโครงการ ที่ฟังดูดี แต่มีผลจริงเพียงเล็กน้อย จีนลงทุน 1.5 แสนล้านดอลลาร์ภายในปี 2573 มีเป้าหมาย จะเป็นประเทศเอไอที่โดดเด่นของโลก สหรัฐจึงต้องแข่งขันให้ได้ เพราะเอไอ จะเปลี่ยนโฉมหลายภาคส่วน"

    ด้านนายแดเนียล คาสโตร จากศูนย์ ข้อมูลนวัตกรรม กลุ่มคลังสมองที่ติดตาม ประเด็นเทคโนโลยีก็ให้มุมมองคล้ายกัน

    "ถ้ารัฐบาลต้องการให้โครงการเอไอ สร้างการเปลี่ยนแปลงได้ ก็จำเป็นต้องเพิ่ม งบประมาณปรับโครงการที่มีอยู่แล้วมาวิจัย ด้านเอไอ พัฒนาทักษะ และปรับปรุงโครงสร้าง พื้นฐาน" นายคาสโตรตอบรับกับโครงการนี้ แต่อยากให้มียุทธศาสตร์เอไอที่ครอบคลุม มากขึ้นรวมหลายสาขา เช่น การค้าเสรีดิจิทัล นโยบายรวบรวมข้อมูล และประเด็นอื่นๆ

    ขณะที่นายมาร์โก รูบิโอ สมาชิกวุฒิสภา ทวีตข้อความว่าโครงการนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี

    "จีนคือความท้าทายใหญ่สุดในทุกด้าน ที่เราเผชิญจากคู่ต่อสู้ระดับใกล้ๆ กัน ในช่วงกว่า 50 ปีที่ผ่านมา การเผชิญหน้า กับจีนจำเป็นต้องตอบโต้ในทุกด้าน"

    ทำเนียบขาวเรียกแผนนี้ว่า เป็นการ ปลดปล่อยเอไอ ด้วยการเพิ่มทรัพยากร ให้กับนักวิจัย กำหนดระเบียบคู่มือ ส่งเสริมการศึกษาด้านเอไอ และยกระดับ ความสามารถในการแข่งขันของสหรัฐ

    แถลงการณ์ทำเนียบขาวไม่ได้พูดถึงจีน แต่ขอให้มีแผนปฏิบัติการปกป้องความได้เปรียบ ของสหรัฐจากน้ำมือคู่แข่งเชิงยุทธศาสตร์ และอริต่างชาติ

    ชาวอเมริกันได้กำไรมหาศาลจากการเป็นนักพัฒนาในช่วงแรก และเป็นผู้นำโลกด้านเอไอ แต่นวัตกรรมเอไอเพิ่มขึ้นมากทั่วโลก เราจึงไม่สามารถนิ่งเฉยแล้วทึกทักว่า เรายังเป็นผู้นำอยู่ต่อไป

    Source: กรุงเทพธุรกิจ

    - Trump's artificial intelligence order lacks funding but not a target — China
    https://www.nbcnews.com/tech/tech-n...8i-ziicdOYvyMC7Q5LFra93e5Yi27ZhGmcw9TyBJFuxFE
     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,257
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    ying--spokeswoman-of-china-s-foreign-ministry--speaks-at-a-regular-news-conference--in-beijing-1.jpg
    (Feb 14) จีนจวกนสพ.ยักษ์ใหญ่อเมริกามั่วข่าว: รัฐบาลจีนกล่าวเมื่อวันพุธ ว่า รายงานของหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ของสหรัฐ ที่ระบุว่า เจ้าหน้าที่การทูตจีนนัดพบเจรจากับฝ่ายค้านเวเนซุเอลาในกรุงวอชิงตัน เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของจีนในเวเนซุเอลานั้น เป็น "ข่าวปลอม"

    สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานจากกรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 13 ก.พ. ว่า หนังสือพิมพ์วอลล์ สตรีท เจอร์นัล ของสหรัฐ รายงานว่า กลุ่มเจ้าหน้าที่การทูตจีน ซึ่งมีความวิตกเกี่ยวกับโครงการน้ำมันของจีนในเวเนซุเอลา และเงินจำนวนเกือบ 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่การากัสเป็นหนี้ปักกิ่ง พบปะเจรจาในกรุงวอชิงตัน เมืองหลวงสหรัฐ กับคณะตัวแทนของนายฮวน กวยโด ผู้นำฝ่ายค้านเวเนซุเอลา และหัวหน้ากลุ่มเคลื่อนไหวที่สหรัฐหนุนหลัง ในความพยายามขับไล่ประธานาธิบดีนิโคลัส มาดูโร ผู้นำเวเนซุเอลา

    นางหัว ชุนหยิง โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน เผยต่อสื่อมวลชน ที่กระทรวงฯ ในกรุงปักกิ่ง เมื่อวันพุธ ว่า รายงานของวอลล์ สตรีท เจอร์นัล ไม่ถูกต้อง เป็นข่าวบิดเบือน

    กลุ่มชาติตะวันตกส่วนใหญ่ รวมถึงสหรัฐ ให้การรับรองกวยโด เป็นประมุขแห่งรัฐที่ถูกต้องตามกฎหมายของเวเนซุเอลา แต่มาดูโรยังคงได้รับการสนับสนุนจากรัสเซียและจีน และควบคุมสถาบันของรัฐเกือบทั้งหมด รวมถึงกองทัพ

    นางหัวกล่าวเสริมว่า "กิจการ" ของเวเนซุเอลา ควรแก้ไขด้วยการเจรจา เป็นการย้ำจุดยืนเดิมของจีน

    ในระยะเวลา 10 ปีล่าสุด จีนให้เวเนซุเอลากู้เงินมากกว่า 50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (1,564,190 ล้านบาท) โดยผ่านข้อตกลง "น้ำมันเพื่อเงินกู้" เพื่อหาพลังงานป้อนเศรษฐกิจประเทศที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว

    กวยโดกล่าวให้สัมภาษณ์เมื่อเดือนที่แล้วว่า การเปลี่ยนแปลงรัฐบาลในเวเนซุเอลา จะเอื้อประโยชน์ต่อ 2 เจ้าหนี้ต่างชาติรายใหญ่คือ รัสเซียและจีน

    Source: เดลินิวส์ออนไลน์: https://www.dailynews.co.th/foreign/693177

    - China says report of talks with Venezuela opposition 'fake news':
    https://www.channelnewsasia.com/new...W8tKkOUhPmMl4QbcLFTFS-eczyhpg3KaOm8E7rDXDFjlE
     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,257
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    &url=https%3A%2F%2Fassets.bwbx.io%2Fimages%2Fusers%2FiqjWHBFdfxIU%2FidWvANadBxQs%2Fv1%2F1200x791.jpg
    (Feb 14) ทรัมป์-มนูชินประสานเสียง การเจรจาการค้ากับจีนกำลังไปได้ดี: ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กล่าวว่า สหรัฐได้ส่งคณะเจรจาที่มีความสามารถไปยังจีนในสัปดาห์นี้ และการเจรจาก็กำลังดำเนินไปอย่างดียิ่ง

    ทางด้านนายสตีเวน มนูชิน รมว.คลังสหรัฐ กล่าวว่า การเจรจาการค้ากับจีนเป็นไปด้วยดีในวันนี้

    ต่อข้อถามเกี่ยวกับการประชุมที่กรุงปักกิ่ง นายมนูชินกล่าวว่า "จนถึงขณะนี้ การเจรจาเป็นไปด้วยดี"อย่างไรก็ดี นายมนูชินไม่ได้เปิดเผยว่า เขาได้พบปะกับเจ้าหน้าที่จีนรายใด

    ก่อนหน้านี้ นายมนูชินคาดหวังว่า การเจรจาจะเกิดผลเพื่อยุติความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐและจีน

    ปธน.ทรัมป์กล่าวว่า เขาจะพิจารณาเลื่อนกำหนดเส้นตายในการบรรลุข้อตกลงทางการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนจากเดิมในวันที่ 1 มี.ค.ออกไป หากคณะเจรจาของสหรัฐและจีนสามารถบรรลุข้อตกลงทางการค้าในไม่ช้า

    ก่อนหน้านี้ ปธน.ทรัมป์กำหนดเส้นตายสำหรับการบรรลุข้อตกลงทางการค้าในวันที่ 1 มี.ค. ซึ่งหากทั้ง 2 ฝ่ายยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงก่อนวันดังกล่าว ปธน.ทรัมป์ก็จะเดินหน้าเพิ่มการเรียกเก็บภาษีนำเข้าต่อสินค้าจีนมูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์ สู่ระดับ 25% จากเดิม 10% ในขณะนี้

    Source: อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ก้องเกียรติ กอวีรกิติ

    - Trump Says China Trade Talks Going ‘Very Well’ Ahead of Deadline:
    https://www.bloomberg.com/news/arti...eUXjZ6g4Z_vu4gUjgfDSFRZnOk-Vj4uUZfZ0ZRgINEzHQ
     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,257
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    vu8dqpgbMBhRwxtKeF_Tn1f7gd0ecfNOZQwQ6WwSCjNoHoR3M44vgjNWvPO5Ue-JFgxiJX_A&_nc_ht=scontent.fbkk6-2.png

    (Feb 14) ปัจจัยลบรุมเร้า ศก.โลกเสี่ยงเข้าถดถอย: ความกังวลว่าเศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) อาจไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะมีการพูดถึงกันมาได้ 1-2 ปีแล้ว เพียงแต่ในช่วงแรกนั้น ปัจจัยความกังวลส่วนใหญ่ยังเป็นเรื่องของวัฏจักรวิกฤตเศรษฐกิจที่มักจะเกิดขึ้นทุกๆ 10 ปี มากกว่าจะเป็นเพราะปัจจัยเสี่ยงจริง ทำให้ยังไม่ค่อยมีใครซื้อไอเดียนี้กันมากนัก

    ทว่าสถานการณ์ปัจจุบันกำลังเปลี่ยนจากต้นปี 2018 เหมือนหนังคนละม้วน "สงครามการค้า" ทำให้เศรษฐกิจ "จีน" โตต่ำสุดในรอบ 28 ปี และกำลังกดดันเศรษฐกิจทั่วโลกไปด้วย ส่วนกระบวนการถอนตัวของสหราชอาณาจักรออกจากสหภาพยุโรป หรือ "เบร็กซิต" ก็ยังลูกผีลูกคนทั้งที่ใกล้งวดเส้นตาย 29 มี.ค. ขณะที่เศรษฐกิจ "ยุโรป" ก็เต็มไปด้วยตัวเลขเชิงลบจนล่าสุด "อิตาลี" ได้ประเดิมเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยไปก่อนใครแล้ว

    การพูดถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอยในวันนี้ จึงไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้เหมือนเก่า และมีนักเศรษฐศาสตร์ตลอดจนนักลงทุนทยอยออกมาส่งสัญญาณเตือนกันตั้งแต่ปลายปี 2018 ที่ผ่านมา

    พอล ครุกแมน เจ้าของรางวัล โนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ปี 2008 คือนักเศรษฐศาสตร์รายล่าสุดที่ออกมาตอกย้ำว่า มีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่ภาวะถดถอยภายในปี 2019 นี้ หรือปีหน้า 2020 เพียงแต่วิกฤต ในครั้งนี้จะต่างไปจากช่วงปี 2008 ที่มีต้นเหตุหลักๆ เรื่องเดียวแล้วระเบิดออกมาเป็นวิกฤตขนาดใหญ่ทั่วโลก เพราะครั้งนี้ปัจจัยต้นเหตุจะกระจัดกระจายออกไป ตั้งแต่ปัญหา ในจีน ยุโรป จนถึงสหรัฐเอง

    ครุกแมนกล่าวในงานประชุมสุดยอดรัฐบาลโลกที่ดูไบ ว่า นอกจากเศรษฐกิจจีนและยุโรปที่แย่ลงแล้ว แม้แต่สหรัฐเองก็อาจหนีไม่พ้น โดยอ้างถึงมาตรการลดภาษีของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่ออกมาในปี 2017 ว่า เป็นนโยบายที่ไม่มีประสิทธิภาพ และกลับทำให้เกิดฟองสบู่ขึ้นด้วยซ้ำ แต่แม้ว่าความเสี่ยงวิกฤตรอบนี้อาจไม่ได้ระเบิดออกมาครั้งใหญ่เหมือนเมื่อ 10 ปีก่อน แต่ก็ไม่ได้น่าห่วงน้อยไปกว่ากัน เพราะปัญหาก็คือ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) แทบ ไม่เหลือกระสุนที่จะใช้รับมือวิกฤตรอบใหม่แล้ว

    แน่นอนว่าการทำนายวิกฤตเศรษฐกิจถดถอยเป็นเรื่องปราบเซียน และมีการหักปากกาเซียนกันมาหลายคนแล้ว แม้แต่ครุกแมนก็ยังออกตัวว่าไม่ได้แม่นเรื่องนี้มากนัก แต่ก็มีผู้เชี่ยวชาญหลายคนที่ทยอยออกมาให้ความทำนองนี้อย่างต่อเนื่อง

    ในมุมมองอย่างร้ายก็คือ เศรษฐกิจสหรัฐ/โลก มีความเสี่ยงจะเข้าสู่ภาวะถดถอยภายใน 1-2 ปีนี้ ซึ่งฝ่ายที่มีมุมมองสนับสนุนมาด้านนี้ก็เช่น ครุกแมน / เจ้าพ่อเฮดจ์ฟันด์ เรย์ ดาลิโอ จากบริดจ์วอเตอร์ / บิล กรอส จากยานุส แคปิตอล / บริษัทวิเคราะห์มูดีส์ แอนาไลติกส์ ไปจนถึงเจพีมอร์แกน

    และในมุมมองอย่างดีก็คือ ไม่ถึงกับเข้าสู่ภาวะถดถอยที่จีดีพีหดตัว 2 ไตรมาสติดกัน แต่เศรษฐกิจโลกจะซึมลงและจะชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัดเจน ซึ่งมุมมองหลังนี้เป็นแนวความเห็นของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ธนำคารโกลด์แมน แซคส์ และนักเศรษฐศาสตร์ที่เคยทำนายวิกฤตปี 2008 เอาไว้อย่าง นูเรียล รูบินี ที่คาดว่าเศรษฐกิจโลก จะไม่ถดถอย แต่จะเผชิญภาวะซบเซาลงทั่วโลกอย่างพร้อมเพรียงกัน (Synchronised global deceleration)

    "ยุโรป" โดยเฉพาะกลุ่มประเทศยูโรโซน คือโซนที่ใกล้ความเสี่ยงของเศรษฐกิจถดถอยมากที่สุด หลังจาก ที่เริ่มมีสัญญาณชัดเจนมาตั้งแต่ไตรมาส 4 ปีที่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นจีดีพี การผลิตและส่งออก การบริโภค อัตราเงินเฟ้อ ไปจนถึงความปั่นป่วนเพราะผลจากเบร็กซิต จน อิตาลี กลายเป็นชาติแรกที่เข้าสู่ภาวะถดถอย หลังจาก จีดีพีไตรมาส 4 ปีที่แล้ว หดตัวไป 0.2% ซึ่งเป็นการหดตัวต่อเนื่องจากไตรมาส 3 ที่ 0.1%

    สิ่งที่หลายฝ่ายกลัวไม่ใช่อิตาลี เพราะมีขนาดเล็กเกินกว่าที่จะส่งผลสะเทือนไปทั่วยุโรป แต่ความกังวลหลักอยู่ที่เขตเศรษฐกิจเบอร์ 1 อย่าง "เยอรมนี" ซึ่งกำลังได้รับสัญญาณเตือนจากหน่วยงานเศรษฐกิจหลายฝ่ายว่า อาจเป็นรายต่อไป และจะกลาย เป็นฝันร้ายของยุโรปของจริงไปด้วย

    เศรษฐกิจเมืองเบียร์ส่งสัญญาณชัดในไตรมาส 3 ที่ผ่านมา กับจีดีพีหดตัว 0.2% จากไตรมาสก่อนหน้า และทำให้หลายหน่วยงาน อาทิ ดอยช์แบงก์ และเจพีมอร์แกน เตือนเรื่องความเสี่ยงถดถอย แม้เยอรมนีจะรอดพ้นภาวะถดถอยมาได้เพราะจีดีพีไตรมาส 4 ขยายตัวได้ 0.1% แต่ก็เป็นการรอดมาได้อย่างหวุดหวิด และทำให้ต้องลุ้นกันต่อในปีนี้ เพราะการผลิตในภาคอุตสาหกรรมซึ่งเป็นหัวใจหลักอย่างหนึ่งของเศรษฐกิจ นั้นมีสัญญาญย่ำแย่ โดยดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน พ.ย. ลดลง 1.9% ต่อเนื่องจากที่ลดลง 0.8% ในเดือน ต.ค.

    เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คณะกรรมาธิการยุโรป (อีซี) ยังได้ประกาศลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจยูโรโซนในปีนี้อย่างรุนแรง โดยคาดว่าจะโตได้เพียง 1.3% เท่านั้น จากที่คาดการณ์เอาไว้ 1.9% เมื่อเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งนับเป็นการลดลงอย่างรุนแรง และแย่ลงมาจากการเติบโตในปี 2018 ซึ่งอยู่ที่ 1.9%

    ขณะที่ "จีน" ก็ยังคงเป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงหลักของเศรษฐกิจทั่วโลก ในปีนี้ หลังจากที่เปิดเผยจีดีพีปี 2018 ออกมาว่า เป็นการขยายตัวต่ำสุดในรอบเกือบ 30 ปีของจีน และมีแนวโน้มจะชะลอตัวลงต่อในปีนี้ เพราะเจอ ผลกระทบหลายทางเหลือเกิน ตั้งแต่สงครามการค้าที่กำลังบั่นทอนภาคการผลิต ส่งออก และบริโภคในประเทศอย่างหนัก ไปจนถึงการถูกเตะตัดขาสกัดอิทธิพลด้านเทคโนโลยี กับสงครามไอทีที่ หัวเว่ย เทคโนโลยีส์ กำลังอ่วมหนักในขณะนี้

    ตัวเลขหลายด้านของจีนล้วนระบุตรงกันว่า เศรษฐกิจกำลังชะลอตัวลงในเกือบทุกทิศทาง โดยช่วงตรุษจีนที่ผ่านมา ยอดค้าปลีกและธุรกิจร้านอาหารจีนในช่วงตรุษจีน ระหว่างวันที่ 4-10 ก.พ. อยู่ที่ 1.005 ล้านล้านหยวน (ราว 4.67 ล้านล้านบาท) เพิ่มขึ้น 8.5% เมื่อเทียบกับปีก่อน นับเป็นอัตราการเติบโตที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เริ่มเก็บข้อมูลมาในปี 2005 ขณะที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลปักกิ่ง ที่คาดว่าจะออกมาในเดือน มี.ค.นี้ ระหว่างการประชุมสภาประชาชน แห่งชาติ ก็ยังไม่สามารถคาดหวังว่าจะช่วยพลิกสถานการณ์ได้มาก เพราะรัฐบาลจีนส่งสัญญาณมาแล้วว่าจะไม่ทุ่มหว่านเงินมโหฬารในครั้งเดียวเหมือนยุคที่ผ่านมา แต่จะค่อยๆ กระตุ้นแบบตรงจุดในแต่ละภาคส่วน ที่จำเป็น นอกจากนี้ ยังต้องตามเรื่องสงครามการค้าก่อนถึงเส้นตายวันที่ 1 มี.ค.นี้ ว่าจะออกหัวหรือก้อยอย่างไรด้วย ซึ่งยังเป็นเรื่องที่ไม่มีกล้าฟันธงอะไรออกมาในขณะนี้

    ภายใต้ความเสี่ยงหนักๆ จากหลายด้านและยังคาดเดาอะไรไม่ได้เช่นนี้ จึงอาจไม่ใช่เรื่องที่เกินจริงไปนักหากนักวิเคราะห์หลายฝ่ายจะเริ่มส่งสัญญาณเตือนว่า โลกอาจจะกำลังเสี่ยงกลับ เข้าสู่ภาวะถดถอยในอีกไม่นานนี้

    โดย นันทิยา วรเพชรายุทธ

    Source: Posttoday
     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,257
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    9cR3HFxz7tib0v6d-m_bcCOZsOq12JS3UiSs-kNFAd7G0JOq2g0xtEX3YwA0udmB-9Es-fDw&_nc_ht=scontent.fbkk6-1.jpg

    1kAtyD3aMgv-EgEuT-YtItk1gkyB4Cb1DSWMKWb3zQTu5Dep10BJmtcj9On-F8bwlH5XSyiA&_nc_ht=scontent.fbkk6-2.jpg

    (Feb 14) ผู้ว่าการ ธปท.ยันไม่พบเงินบาทเคลื่อนไหวผิดปกติ ยอมรับเงินบาทแข็งค่าเร็วจากปัจจัยภายนอก : นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า การที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ธปท.ได้ติดตามดูแลอย่างใกล้ชิดและไม่พบความผิดปกติในการเคลื่อนไหว ซึ่งก็ยอมรับว่าเงินบาทแข็งค่าเร็วบางช่วง ซึ่ง ธปท.ได้เข้าดูแล โดยพบว่าเงินทุนที่ไหลเข้าไทยเป็นเงินที่มาจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด โดยเฉพาะจากการค้าและบริการที่มาจากนักท่องเที่ยวจีนที่กลับมาเที่ยวไทยตั้งแต่ปลายไตรมาส 4 ปี 2561 ส่งผลให้ปีที่ผ่านมาไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัดถึง 37,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เฉพาะเดือนธันวาคม 2561 เกินดุล 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

    นอกจากนี้ ผู้ว่าการ ธปท.ยังยืนยันว่าหลายคนเข้าใจผิดคิดว่าค่าเงินบาทที่แข็งค่าเร็วมากจากการเก็งกำไร หลังจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง.ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 ทำให้ประเทศไทยเป็นแหล่งพักเงินของนักลงทุน ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด เพราะตั้งแต่ต้นปี 2562 จนถึงปัจจุบันนักลงทุนขายสุทธิในตลาดพันธบัตรมูลค่า 400 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเฉพาะเป็นพันธบัตรระยะสั้น ขณะที่มีเงินทุนไหลเข้าตลาดหุ้นซื้อสุทธิ 100 ล้านเหรียญสหรัฐ รวมปริมาณเงินทุนไหลออกสุทธิ 300 ล้านเหรียญสหรัฐ

    ขณะที่ดอกเบี้ยนโยบายของไทยอยู่ที่ร้อยละ 1.75 ต่ำกว่าสหรัฐที่ร้อยละ 2.50 และยังต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้าน เช่น อินโดนีเซียร้อยละ 6 ฟิลิปปินส์ร้อยละ 6 เวียดนามร้อยละ 6.25 มาเลเซียร้อยละ 3.25

    ผู้ว่าการ ธปท. ยืนยันว่าไม่สามารถกำหนดค่าเงินบาทให้คงที่ได้ เพราะปัจจัยต่างประเทศมีผลกระทบต่อค่าเงินบาทมากและมีแนวโน้มผันผวนจากสถานการณ์การเมืองในสหรัฐ เศรษฐกิจโลก และการเมืองระหว่างประเทศ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกันทำให้เศรษฐกิจไทยสามารถรองรับความผันผวนได้มากขึ้น เพราะหากเทียบกับประเทศอื่นสามารถรองรับความผันผวนได้มากกว่าไทยและเห็นว่าในช่วงที่เงินบาทแข็งค่า ไทยควรเร่งเรื่องของการลงทุน นำเข้าสินค้าทุนเพิ่มขึ้น เพื่อลดภาวะการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดและลดต้นทุนการนำเข้าสินค้าทุนได้ นอกจากนี้ ต้องปรับคุณภาพสินค้า ตราสินค้า เพื่อให้สินค้าไทยแข่งขันกับคู่แข่งได้ ไม่ใช่เน้นเรื่องราคา เพราะจะไม่ยั่งยืน

    พร้อมกันนี้แนะนำให้ผู้ส่งออกใช้สกุลท้องถิ่นในการค้าขายต่างประเทศ เพราะจะมีความผันผวนน้อยกว่าเงินดอลลาร์สหรัฐ เพราะปัจจุบันผู้ส่งออกใช้สกุลเงินดอลลาร์ในการค้าขายต่างประเทศร้อยละ 70-75 และให้ผู้ส่งออกทำประกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือใช้ FX Option กับธนาคารพาณิชย์ทั้ง 8 แห่งได้

    Source: สำนักข่าวไทย
    https://www.tnamcot.com/view/5c651c52e3f8e40ac88e67f9

    ************************
    ผู้ว่า ธปท.ชี้เงินบาทในระดับกลางๆ เมื่อเทียบกลุ่มประเทศเกิดใหม่ โดยเป็นผลจากปัจจัยภายนอกโดยเฉพาะการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ สรอ.เป็นสำคัญ

    นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า หลังจาก midterm election มุมมองของนักลงทุนเกี่ยวกับค่าเงินดอลลาร์ สรอ.เปลี่ยนไป จากหลายปัจจัยทั้งจากเหตุการณ์ government shutdown ที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ การที่นักลงทุนเทขายหุ้นจากมุมมองความเสี่ยงที่เปลี่ยนไป และการที่ธนาคารกลางของสหรัฐฯส่งสัญญาณว่าจะปรับขึ้นดอกเบี้ยช้ากว่าเดิม ในขณะที่ปัญหาความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนยังไม่คืบหน้า ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์ สรอ.อ่อนค่าลง และผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯปรับลดลง

    การอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ สรอ. ทำให้สกุลเงินของประเทศเกิดใหม่แข็งค่าขึ้น ส่วนผลกระทบจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสถานะของแต่ละประเทศ ทั้งดุลบัญชีเดินสะพัดและเงินที่เข้ามาลงทุนในระยะยาว (FDI) สำหรับประเทศไทย ตั้งแต่ต้นปี 2562 เงินบาทแข็งค่าขึ้น 3.93% อยู่ในระดับกลางๆ เมื่อเทียบกับสกุลเงินประเทศเกิดใหม่และประเทศในภูมิภาค ซึ่งเป็นผลจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่ยังสูง แม้ว่าการส่งออกจะชะลอลงบ้างจากภาวะการค้าโลกที่ตึงเครียด แต่การนำเข้าชะลอลงด้วย ในขณะที่รายได้จากการท่องเที่ยวที่ลดลงในช่วงไตรมาส 3 ปรับดีขึ้นมากในช่วงปลายปี 2561 ต่อเนื่องมาถึงต้นปี 2562 ซึ่งเป็น high season นอกจากนี้ มีเงินลงทุนจากต่างชาติที่เข้ามาลงทุนระยะยาว (FDI) มากขึ้นด้วย ทั้งนี้ในปี 2561 ไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัด 3.7 หมื่นล้านเหรียญดอลลาร์ สรอ. แบ่งเป็นการเกินดุลการค้า 2.3 หมื่นล้านล้านเหรียญดอลลาร์ สรอ. และเป็นการเกินดุลบริการ 1.4 หมื่นล้านเหรียญดอลลาร์ สรอ.

    อาจจะมีความเข้าใจที่คาดเคลื่อนว่าการปรับดอกเบี้ยนโยบายของ กนง. เมื่อปลายปี 61 ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นเพราะมีเงินไหลเข้ามาในตลาดพันธบัตรและตลาดหุ้น แต่ข้อเท็จจริงของสถานการณ์ในปีนี้ ซึ่งต่างจากปีก่อนๆ คือ ตั้งแต่ต้นปี 2562 มีเงินไหลออกจากตลาดพันธบัตรไทย 407 ล้านเหรียญดอลลาร์ สรอ. ขณะที่มีเงินไหลเข้าตลาดหุ้น 123 ล้านเหรียญดอลลาร์ สรอ. ทำให้ภาพรวมมีเงินทุนไหลออกสุทธิ 284 ล้านดอลล่าร์ สรอ. และ ดอกเบี้ยนโยบายของไทย 1.75% ยังต่ำกว่าของสหรัฐ 2.25-2.5% และต่ำกว่าประเทศในภูมิภาค เวียดนาม 6.25% อินโดนีเซีย 6.75% ฟิลิปปินส์ 4.75% มาเลเซีย 3.25%

    ที่ผ่านมา ธปท. ติดตามสถานการณ์ค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิด โดยในระยะสั้นถ้าเห็นการเก็งกำไรที่ผิดปกติ หรือการเคลื่อนไหวผันผวนรุนแรงไม่สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ก็เข้าดูแลเหมือนกับที่ผ่านมา

    เรื่องค่าเงินเป็นประเด็นอ่อนไหว เป็นเหมือนเหรียญสองด้าน ที่เวลาเงินบาทแข็งหรืออ่อน จะมีทั้งคนได้คนเสีย รวมทั้งเป็นประเด็นที่ถูกจับตา เราต้องระวังไม่ให้ไทยถูกจัดเป็นประเทศที่บิดเบือนค่าเงิน ซึ่งอาจจะถูกมาตรการกีดกัน สถานการณ์จะยิ่งแย่ลง

    โจทย์สำคัญไม่ใช่ว่าค่าเงินบาทควรอยู่ที่ระดับเท่าใด (เรากำหนดไม่ได้) แต่ควรเป็นว่าระบบเศรษฐกิจของประเทศจะสามารถรองรับความผันผวนจากการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินได้อย่างไร? ทั้งนี้ ถ้าพิจารณาตัวเลขความผันผวนของค่าเงินบาทถือว่าอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับสกุลเงินของประเทศเกิดใหม่

    ในด้านเศรษฐกิจมหภาค สาเหตุของการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดส่วนหนึ่งเพราะการลงทุนของไทยที่ผ่านมาอยู่ในระดับต่ำ ไทยจำเป็นต้องเร่งปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ โดยช่วงที่เงินบาทที่แข็งค่าถือเป็นโอกาสดีที่จะลงทุน นำเข้าเครื่องจักรเพื่อยกระดับศักยภาพการผลิต

    สำหรับภาคธุรกิจ มีโจทย์หลายเรื่องที่ต้องร่วมกันคิด อัตราแลกเปลี่ยนเป็นส่วนหนึ่งของราคา ซึ่งปัจจุบันเรายังเน้นแต่การแข่งขันด้านราคาอยู่ค่อนข้างมาก การแข่งแต่ราคาอย่างเดียวอาจไม่ยั่งยืน จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพสินค้า และทำให้สินค้ามีจุดขาย มีความต่าง ของดีแม้ราคาจะแพงหน่อย คนก็ยังซื้อ เช่น โรงแรมดีๆ แม้ราคาจะสูงหน่อยแต่คนก็ยังพร้อมที่จะจ่าย มองไปข้างหน้า ความผันผวนยังจะอยู่กับเรา การบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเป็นอีกเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ ซึ่งทำได้หลายวิธี เช่น การใช้เครื่องมือทางการเงินในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งจากข้อมูลพบว่าผู้นำเข้าค่อนข้างมีวินัยมีการปิดความเสี่ยงต่อเนื่อง ในขณะที่ผู้ส่งออกมักจะเร่งทำตอนค่าเงินแข็ง ไม่ใช่ได้ทยอยทำ หรือ การเลือกใช้สกุลเงินท้องถิ่นหรือเงินสกุลของคู่ค้าเป็น invoice currency แทนการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐ ปัจจุบันแม้เราจะค้าขายโดยตรงกับสหรัฐเพียงประมาณ 10% แต่ในการซื้อขายส่วนใหญ่ยังอยู่ในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐกว่า 70%

    สำหรับ ธปท. ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องที่จะทำให้ระบบการเงินมีเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนที่เพียงพอเพื่อผู้ประกอบการสามารถเลือกใช้ได้เหมาะสม อาทิ การทำให้ตลาด forward โปร่งใสขึ้นมากขึ้น โครงการ FX option ที่ผู้ประกอบการสามารถล๊อกเรท การมีบัญชีเงินฝากสำหรับเงินตราต่างประเทศ (FCD) สำหรับผู้ประกอบการที่ยังไม่ต้องการแลกเงินตราต่างประเทศเป็นเงินบาท รวมทั้ง การส่งเสริมให้มีการใช้เงินสกุลท้องถิ่นในการค้าขายให้มากขึ้น ซึ่งหนึ่งในโครงการที่ผลักดันคือการส่งเสริมให้ใช้ บาท-หยวนในมณฑลยูนานในช่วงเริ่มต้น ปัจจุบันได้ขยายไปทั่วประเทศ

    Source: BOT
     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,257
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    Sr87-AS0bCmIDu-Swvw9RBzTZJdfEo6fjUTcrQx48ZJ1N6g0XWG86Fnf2BPMcR6BUHo3nHGw&_nc_ht=scontent.fbkk6-2.png

    VqHNxquYnYaJ_YSqy5HcsIuznR5D3g-O3WlzWRLHrdf5Q5uUhyJomYUrdbHwAQ2sOSiI-1hg&_nc_ht=scontent.fbkk6-1.png

    bv4ZVs3EPKtSb6YP_3V7_y8e33vYaV9-3wtTxmMrCrp1vbV0AMjyhHpuAH_7NQroDykD8ZxA&_nc_ht=scontent.fbkk6-2.png


    (Feb 14) ธปท. กางแผนกลยุทธ์ระบบการชำระเงิน ฉบับ 4 ช่วงปี 62-64 มุ่งสู่ Digital Payment : นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นประธานในงานแถลงข่าวแผนกลยุทธ์ระบบการชำระเงิน ฉบับที่ 4 และร่วมเสวนาในหัวข้อ "ก้าวต่อไปของ Digital Payment" โดยมีผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย น.ส.สิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน, นายปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย, น.ส.สุธีรา ศรีไพบูลย์ รองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ, นายศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์กรมหาชน) และนายวราวุธ นาถประดิษฐ์ รองผู้จัดการทั่วไปสายงานการค้า บริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย)

    การเสวนา "ก้าวต่อไปของ Digital Payment" ครอบคลุมสาระสำคัญของแผนกลยุทธ์ระบบการชำระเงิน ฉบับที่ 4 ซึ่งมุ่งสร้างระบบนิเวศน์ หรือ Ecosystem ให้ Digital Payment เป็นทางเลือกหลักของการชำระเงิน โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงิน และบริการชำระเงินให้มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ราคาถูก และตรงความต้องการของผู้ใช้ทั้งประชาชน ธุรกิจ e-Commerce และ Social Commerce ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมถึงธุรกิจ SME และธุรกิจขนาดใหญ่ ตลอดจนขยายการใช้บริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ให้ครอบคลุมทั่วประเทศผ่านกรอบการพัฒนา 5 ด้าน ได้แก่

    (1) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินให้ได้มาตรฐานพร้อมเชื่อมโยง (Interoperable Infrastructure) โดยเพิ่มขีดความสามารถและความมั่นคงปลอดภัยของระบบการชำระเงินสำคัญให้ได้มาตรฐานสากล ยกระดับการใช้ ISO20022 เพื่อรองรับการส่งข้อมูลทางธุรกิจและการเชื่อมโยงกับต่างประเทศ

    (2) การส่งเสริมนวัตกรรมและบริการชำระเงิน (Innovation) โดยพัฒนาบริการที่ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ

    (3) การส่งเสริมการเข้าถึงและใช้บริการชำระเงิน (Inclusion) โดยขยายการใช้ Digital Payment และความรู้ความเข้าใจในทุกภาคส่วน

    (4) การกำกับดูแลและบริหารความเสี่ยง (Immunity) สร้างภูมิคุ้นกันพร้อมรับมือภัยไซเบอร์และคุ้มครองผู้ใช้บริการอย่างเหมาะสม

    (5) การพัฒนาข้อมูลชำระเงิน (Information) โดยเชื่อมโยงข้อมูลการชำระเงินอย่างบูรณาการและพัฒนาการวิเคราะห์เชิงลึก
    การขับเคลื่อนแผนกลยุทธ์ฯ ฉบับนี้ มีระยะเวลาดำเนินการระหว่างปี 2562 - 2564 โดย ธปท. จะร่วมกับสถาบันการเงิน ผู้ให้บริการชำระเงิน และหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลักดันมาตรการต่างๆ ให้บรรลุผล ซึ่งจะช่วยยกระดับโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินให้มีความมั่นคง ปลอดภัย รองรับการพัฒนานวัตกรรม เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ และสร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการเงินของประชาชน

    ทั้งนี้ การขับเคลื่อนแผนกลยุทธ์ระบบการชำระเงิน ฉบับที่ 3 ที่ผ่านมา ช่วยให้การใช้ Digital Payment ในภาพรวมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีปริมาณการใช้ถึง 5,868 ล้านรายการต่อปี (ณ 31 ธ.ค.61) เพิ่มขึ้น 83% จากปี 2559 เฉลี่ย 89 ครั้ง/คน/ปี

    โดยการใช้พร้อมเพย์มีการลงทะเบียนรวม 46.5 ล้านเลขหมาย (ณ 31 ธ.ค.61) เฉลี่ย 4.5 ล้านรายการต่อวัน มูลค่าเฉลี่ย 5,000 บาทต่อรายการ ในปี 2561 เติบโตเฉลี่ย 20% ต่อเดือน สำหรับการใช้ Mobile Payment มีจำนวน 47 ล้านบัญชี (ณ 31 ธ.ค.61) เพิ่มขึ้นจาก 21 ล้านบัญชีในปี 2559 และ Internet Banking มีจำนวน 27.8 ล้านบัญชี (ณ 31 ธ.ค.61) เพิ่มขึ้นจาก 14.6 ล้านบัญชีในปี 2559 นอกจากนี้ การใช้บัตรเดบิตและเครดิตขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะทาง Online ที่จำนวนการทำรายการเพิ่มขึ้น 155%

    Source: ผู้จัดการออนไลน์

    https://mgronline.com/stockmarket/detail/9620000015852
    ข่าว ธปท.
    https://www.bot.or.th/Thai/Pressand...l9EiYdWXiF3OqTvSkPkfxetYkh81bqPJj1z85GPa8snfA
     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,257
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    c.com%2Fresources%2Fimg%2Feditorial%2F2018%2F06%2F05%2F105251908-GettyImages-452906976.1910x1000.jpg
    ( Feb 14) “แอร์บัส” ประกาศเลิกผลิตเครื่องบินซุปเปอร์จัมโบ้ “เอ380” : แอร์บัส บริษัทผลิตเครื่องบินของยุโรปประกาศว่าจะยุติการผลิตเครื่องบินรุ่น เอ380 ซึ่งเป็นเครื่องบินพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกแล้ว โดยในแถลงการณ์ที่แอร์บัสเผยแพร่ออกมาเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ แอร์บัสระบุว่าจะยุติการส่งมอบเครื่องบินดังกล่าวในปี 2564

    การตัดสินใจประกาศยุติการผลิตเครื่องแอร์บัส เอ380 มีขึ้นหลังจากที่สายการบินเอมิเรตส์ ซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่สำหรับเครื่องบินรุ่นดังกล่าวลดจำนวนการสั่งซื้อเครื่องบินลงจาก 162 ลำ เหลือเพียง 123 ลำ ทำให้เครื่องบินที่มีขนาดใหญ่และมีราคาแพงรุ่นนี้ต้องประสบปัญหาในการแข่งขันกับเครื่องบินที่มีประสิทธิภาพสูงแต่มีขนาดเล็กกว่า

    นายทอม เอนเดอร์ส ประธานบริหารของแอร์บัส กล่าวว่า ผลจากการตัดสินใจของสายการบินเอมิเรตส์ทำให้ไม่มีงานผลิต เอ380 ที่ยังคงเหลือค้าง จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องคงการผลิตเครื่องรุ่นดังกล่าวต่อไป แม้ว่าแอร์บัสจะพยายามที่จะทำการขายเครื่องบินแอร์บัส เอ380 ให้กับสายการบินอื่นๆ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาก็ตาม ดังนั้นแอร์บัสจะยุติการส่งมอบเครื่องบิน เอ380 ในปี 2564

    เอนเดอร์สรับว่า การประกาศการตัดสินใจดังกล่าวถือเป็นเรื่องเจ็บปวด เพราะผู้โดยสารทั่วโลกต่างก็รักที่จะบินด้วยเครื่องบินที่ยิ่งใหญ่ลำนี้ การประกาศยุติการผลิตเครื่องบินแอร์บัส เอ380 จึงไม่เพียงแต่จะเป็นความเจ็บปวดสำหรับบริษัท แต่ยังรวมถึงชุมชนคนรักเอ380 ทั่วโลกด้วย

    Source: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
    https://www.prachachat.net/world-news/news-290316

    - Airbus set to scrap production of the world's largest airliner
    https://www.cnbc.com/2019/02/14/a38...Zlcb3_5n_mdoAHQISRmr6Btajoshz9NCO46l0gM8YGWXQ
     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,257
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    x79VL-kr6FI1PYnoY5bskG-MiEm4pUsvowfqQk3QAsdwdDh-2tE6PilG9-rTset-eEWnJq7A&_nc_ht=scontent.fbkk6-1.png
    (Feb 14) แผนระบบชำระเงิน เชื่อมโลก-รวมเอทีเอ็ม : ระบบชำระเงินของไทยพัฒนาไปเร็วมากในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เมื่อมีโครงสร้างพื้นฐานพร้อมเพย์ก็เกิดพัฒนาการ ใหม่ตามมา อาทิ คิวอาร์โค้ด การคืน ภาษี ค่าธรรมเนียมช่องทางดิจิทัลถูกยกเลิก ควบคู่กับการใช้เครื่องอีดีซีกับบัตรเดบิต ตามเป้าหมายเป็นสังคม ลดใช้เงินสด

    เบื้องหลังของความสำเร็จ เพราะ มีหัวเรือหลักอย่าง ยศ กิมสวัสดิ์ ประธานสำนักระบบการชำระเงิน สมาคมธนาคารไทย ที่มาช่วยขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ของสมาคมธนาคารไทยในด้านการชำระเงินจนสามารถแข่งขันได้ทันกับยุคที่เทคโนโลยีแพลตฟอร์มเข้ามาตีตลาด

    ยศ กล่าวว่า พร้อมเพย์ไม่มีเฟสสุดท้าย มีแต่การต่อยอดการใช้งานเพิ่มเรื่อยๆ โดยในระยะอันใกล้พร้อมเพย์จะสามารถใช้โอนเงิน ชำระเงินข้ามประเทศได้ผ่านคิวอาร์โค้ด เหมือน อาลีเพย์ที่รับชำระเงินจากคนจีนที่มาไทย ในอนาคตคนไทยที่ไปต่างประเทศสามารถสแกนพร้อมเพย์ชำระเงิน ได้ ซึ่งหลังจากนี้จะเห็นความร่วมมือกับต่างประเทศในเรื่องการชำระเงินมากขึ้น

    นอกจากนี้ กำลังเร่งส่งเสริมการใช้ประโยชน์พร้อมเพย์สำหรับระบบเก็บเงินปลายทาง (COD) โดยมีธนาคารเป็นตัวกลางสร้างความเชื่อมั่นให้ ผู้ซื้อและผู้ขาย จากเพนพอยต์ของ ผู้ซื้อที่กลัวโอนเงินแล้วของไม่ส่ง หรือของส่งมาไม่ตรงปก ส่วนผู้ขายกลัว ส่งของแล้วไม่ได้เงิน ส่วนนี้พร้อมเพย์จะเข้ามาช่วยในการการันตี รับโอนเงินมาพักไว้ แจ้งให้ผู้ขายเห็นว่าจ่ายจริง และเมื่อของส่งมาถึง ผู้ซื้อพึงพอใจก็ค่อยกดอนุมัติการโอน

    ระบบพร้อมเพย์สำหรับ COD ต้องการร่วมมือกับอี-คอมเมิร์ซ เพื่อ ส่งเสริมธุรกิจค้าออนไลน์ โดยรูปแบบร่วมมือมีหลายวิธี จะทำเป็นระบบพื้นฐานกลางของสถาบันการเงินก็ได้ หรือแต่ละธนาคารทำเองโดยร่วมกับพาร์ตเนอร์ก็ได้ ซึ่งทำไม่ยาก เพราะพร้อมเพย์ได้ขึ้นระบบรีเควสต์ทูเพย์ และเพย์อะเลิร์ท ไว้พร้อมแล้ว

    แม้ว่าพร้อมเพย์จะติดลมบนเป็นช่องทางโอนเงินและชำระเงิน แต่ แผนการพัฒนาระบบชำระเงินยังไม่ จบสิ้น เพราะโครงสร้างพื้นฐานเดิมที่ ต้องเปลี่ยนไปเมื่อคนใช้เงินสดน้อยลง โดยหนึ่งในประเด็นที่ต้องจัดการ คือ "เครื่องเอทีเอ็ม"

    ยศ กล่าวว่า เอทีเอ็มสีขาว หรือ เอทีเอ็ม ไวท์ เลเบล (White Label) ที่พูดคุยกันมานานกว่า 1 ปี แต่ไม่ได้ข้อสรุป เนื่องจากแต่ละธนาคารลงทุนเครื่องเอทีเอ็มไม่เท่ากัน ธนาคารใหญ่ลงทุนมากกว่าธนาคารเล็ก อีกทั้งระบบเอทีเอ็มเกิดขึ้นมานาน ธนาคารใหญ่ที่มีเอทีเอ็มมากปรับปรุงการบริหารจัดการจนต้นทุนต่ำลงมาก

    ฉะนั้น สิ่งที่จะทำให้เกิดการแชร์เอทีเอ็มได้สำเร็จ ต้องทำให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกัน ซึ่ง แนวคิดง่ายที่สุดที่จะชักชวนให้ใช้เอทีเอ็มร่วม คือ ทุกธนาคารจะได้รับผลประโยชน์จากการลดค่าใช้จ่าย ไม่ว่าจะเป็นธนาคารใหญ่หรือธนาคารเล็ก และคิดไปถึงประโยชน์ที่จับต้องไม่ได้ (Intangible) เช่น ภาพลักษณ์ มาร์เก็ตติ้ง ที่หายไปจากการเป็นป้ายขาว มีสิ่งใดที่จะทดแทน แม้ว่าบางธนาคารพร้อมจะเสียสละส่วนนี้ เพื่อการลดต้นทุนของอุตสาห กรรมในอนาคต

    ในแง่ของผู้บริโภค ยังไม่ได้หารือถึงระดับนั้น แต่หากให้คิดเร็วๆ อาทิ ใช้บริการไวท์ เลเบล ได้ฟรี X ครั้งต่อเดือนจากนั้นเสียเงิน แต่หากใช้ครบและไม่อยากเสียเงินครั้งต่อไปก็เดินไปที่เครื่องของธนาคารเจ้าของบัตรก็ได้

    1.ปัจจุบันมีเอทีเอ็มทั่วประเทศประมาณ 7 หมื่นเครื่อง มีเงินในเครื่อง 1.5 ล้านบาท หักเบิกถอนอย่างน้อยต้องมี 7.5 หมื่นล้านบาท นอนนิ่งอยู่ในเอทีเอ็ม เป็นต้นทุนที่ไม่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศ ถ้าลดลงเหลือ 5 หมื่นตู้ เงินที่นอนนิ่งจะลดลงได้เป็นหมื่นล้านบาท

    2.เครื่องเอทีเอ็มเครื่องละ 3-4 แสนบาท หากต้องซื้อเครื่อง 2 หมื่นเครื่องเพื่อมาลงในจุดพลุกพล่านหรือทดแทนเครื่องเดิม ต้องหมดเงินอีก 8 หมื่นล้านบาท ให้ต่างชาติ เพราะไทยผลิตไม่ได้ ถ้าเป็นไวท์เลเบล ลดเหลือ 5 หมื่นเครื่องก็ช่วยเศรษฐกิจได้

    "อีก 3-5 ปีข้างหน้าคนใช้เอทีเอ็มน้อยลง เห็นจากปัจจุบันธุรกรรมโอนจ่ายหายไปแล้ว เหลือแต่ถอนเงิน อนาคตหากจ่ายเงินผ่านโมบายเป็นเรื่องธรรมดาในชีวิตประจำวัน การถอนเงินก็น้อยลงเรื่อยๆ" ยศ กล่าว

    ยศ มองว่า ไม่มีทางที่ไทยจะ ไร้เงินสด แต่ที่เป็นได้คือสังคมใช้เงินสดน้อยลง โดยเห็นการชำระเงินผ่านดิจิทัลเพิ่มขึ้นเท่าตัวในแต่ละปี โดยตั้งเป้าให้เติบโตเช่นนี้ต่อไป เพื่อให้ไทยเข้าสู่การเป็นสังคมลดใช้เงินสดได้สำเร็จ

    โดย ศุภลักษณ์ เอกกิตติวงษ์

    Source: Posttoday
     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,257
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    VsZWdyYXBoLmNvbS9zdG9yYWdlL3VwbG9hZHMvdmlldy84NTBjYjY3NDg1ZGY1MzgzOWRmYzViZTAzMDM0MTlmMi5qcGc%3D.jpg

    (Feb 14) เจพีมอร์แกน เชสเชียร์ซื้อหุ้นเอเชีย คาดให้ผลตอบแทนสูงช่วงครึ่งปีแรก: นักวิเคราะห์จากเจพีมอร์แกน เชสระบุว่า ตลาดหุ้นเอเชียจะให้ผลตอบแทนสูงในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ ขณะที่ปัจจัยลบจากปีที่แล้วได้เบาบางลง
    "เราคาดว่าตลาดห้นจะมีอัพไซด์มากขึ้นในช่วงครึ่งปีแรก ผมคิดว่าคุณจะได้ผลตอบแทนดีที่สุดจากหุ้นเอเชียในช่วงครึ่งปีแรก" นายมิโซ ดาส นักวิเคราะห์หุ้นเอเชียของเจพีมอร์แกน เชส กล่าว

    นายดาสกล่าวว่า เมื่อปลายปีที่แล้ว นักลงทุนมีความวิตกเกี่ยวกับหลายปัจจัย ซึ่งได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐ, การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน และการทำสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เลวร้ายมากตามที่มีความวิตกกังวลก่อนหน้านี้

    "เมื่อเราเห็นความชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับการทำข้อตกลงการค้าระหว่างสหรัฐและจีน ขณะที่เศรษฐกิจจีนเริ่มฟื้นตัว และเศรษฐกิจสหรัฐสามารถหลีกเลี่ยงภาวะถดถอยในปีนี้ สิ่งเหล่านี้บ่งชี้ว่าความเสี่ยงกำลังลดลง และเป็นสาเหตุที่หนุนตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นในช่วงครึ่งปีแรก" เขากล่าว

    นอกจากนี้ นายดาสยังระบุว่า เขาชื่นชอบหุ้นประเภท value stock ซึ่งมีมูลค่าต่ำกว่าที่นักลงทุนประเมินไว้ รวมทั้งหุ้นในตลาดจีน สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์

    Source -อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ก้องเกียรติ กอวีรกิติ

    **********
    เจพีมอร์แกน เชสเชียร์ซื้อหุ้นเอเชีย คาดให้ผลตอบแทนสูงช่วงครึ่งปีแรก:

    นักวิเคราะห์จากเจพีมอร์แกน เชสระบุว่า ตลาดหุ้นเอเชียจะให้ผลตอบแทนสูงในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ ขณะที่ปัจจัยลบจากปีที่แล้วได้เบาบางลง
    "เราคาดว่าตลาดห้นจะมีอัพไซด์มากขึ้นในช่วงครึ่งปีแรก ผมคิดว่าคุณจะได้ผลตอบแทนดีที่สุดจากหุ้นเอเชียในช่วงครึ่งปีแรก" นายมิโซ ดาส นักวิเคราะห์หุ้นเอเชียของเจพีมอร์แกน เชส กล่าว

    นายดาสกล่าวว่า เมื่อปลายปีที่แล้ว นักลงทุนมีความวิตกเกี่ยวกับหลายปัจจัย ซึ่งได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐ, การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน และการทำสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เลวร้ายมากตามที่มีความวิตกกังวลก่อนหน้านี้

    "เมื่อเราเห็นความชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับการทำข้อตกลงการค้าระหว่างสหรัฐและจีน ขณะที่เศรษฐกิจจีนเริ่มฟื้นตัว และเศรษฐกิจสหรัฐสามารถหลีกเลี่ยงภาวะถดถอยในปีนี้ สิ่งเหล่านี้บ่งชี้ว่าความเสี่ยงกำลังลดลง และเป็นสาเหตุที่หนุนตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นในช่วงครึ่งปีแรก" เขากล่าว

    นอกจากนี้ นายดาสยังระบุว่า เขาชื่นชอบหุ้นประเภท value stock ซึ่งมีมูลค่าต่ำกว่าที่นักลงทุนประเมินไว้ รวมทั้งหุ้นในตลาดจีน สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์

    Source -อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ก้องเกียรติ กอวีรกิติ

    -https://cointelegraph.com/news/jpmorgan-chase-launches-jpm-coin-using-crypto-to-speed-settlements?fbclid=IwAR2pIkaikMI8CQSBiy2w_dYFZO9eTNvW5keI6w0Wk6jZLONfYUFf01Ipk6k
     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,257
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    Fsites%2Fdefault%2Ffiles%2Fstyles%2Fblog_hero%2Fpublic%2Fblog_hero_images%2Fconsumer-price-index.jpg

    (Feb 14) โลกปั่นป่วน ดัน'ทอง'ไปต่อ : ถึงคราวที่ "ทองคำ" จะกลับมา คัมแบ็กอีกครั้ง ท่ามกลางความเสี่ยง ที่กำลังรุมเร้า ทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมือง ซึ่งอาจฉุดให้ทั่วโลกเข้าสู่ภาวะซึมเซายาวไปตลอดทั้งปี

    แม้ก่อนหน้านี้ มีคาดการณ์กันว่าทองน่าจะกลับมาฟื้นคืนชีพในปีนี้ แต่ก็ไม่น่าจะเปรี้ยงปร้างนักเหมือนช่วงต้นทศวรรษปี 2000 เนื่องจากปัจจัยหนุนราคาทองขึ้นยังมีอยู่จำกัด ขณะที่ภาวะเงินเฟ้อยังอยู่ระดับต่ำ

    อย่างไรก็ดี ทองยังคงมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง เพราะกำลังได้แรงหนุนจากความเสี่ยงทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งอาจดันให้ราคาทองปรับขึ้นไปแตะ 1,425 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ ภายในช่วง 12 เดือนนี้ ตามคาดการณ์ของโกลด์แมน แซคส์ จากระดับปัจจุบันที่ 1,313.43 ดอลลาร์/ออนซ์ ระหว่างการซื้อขายวันที่ 13 ก.พ.

    สำหรับในระยะสั้นนั้น "ค่าเงินดอลลาร์" กำลังส่งผลต่อทิศทาง ราคาทองในขณะนี้ ทิศทางค่าเงินดอลลาร์กำลังอยู่ในช่วงผันผวน โดยดัชนีค่าเงินดอลลาร์ เทียบ 6 ตะกร้าสกุลเงินหลัก ปรับลง 0.35% อยู่ที่ 96.65 จุด ระหว่างการซื้อขายวานนี้ จากความคาดหวังของตลาดว่าจีนและสหรัฐอาจมีความคืบหน้าในการยุติศึกการค้า ซึ่งทิศทางอ่อนค่าของดอลลาร์จะยังคงเป็นปัจจัยหนุนราคาทองต่อไป

    นอกจากปัจจัยเรื่องดอลลาร์แล้ว ทองยังอาจได้อานิสงส์จากสัญญาณแตะเบรกขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ด้วยเช่นกัน ซึ่งโดยปกติแล้ว การขึ้นดอกเบี้ยจะส่งผลให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้น และทำให้ราคาทองปรับตัวลง

    สถานการณ์ดังกล่าวจึงมีแนวโน้มว่าเงินลงทุนอาจไหลเข้าไปสู่ทองคำมากขึ้น แทนที่จะเข้าไปสู่สินทรัพย์เสี่ยงอย่างในตลาดหุ้น ซึ่งไม่ใช่ตัวเลือกการลงทุนที่ดีนักในตอนนี้

    ล่าสุดนั้น ธนาคาร เครดิตสวิส เพิ่งหั่นมุมมองการลงทุนในตลาดหุ้นโลกจาก Overweight (เพิ่มน้ำหนักการลงทุน) สู่ Neural (คงน้ำหนักการลงทุน) โดยระบุว่า ตลาดหุ้นเสี่ยงเผชิญความผันผวนระยะสั้น จากทั้งศึกการค้าจีน-สหรัฐ และความตึงเครียดทางการเมืองในยุโรป

    สำหรับปัจจัยระยะกลาง-ระยะยาว ที่อาจหนุนให้ราคาทองปรับตัวขึ้น แต่อาจขึ้นไม่มากนัก ประกอบด้วย 4 อย่างด้วยกัน

    อย่างแรกคือความไม่แน่นอนเรื่องการเมืองสหรัฐ แม้ล่าสุดนั้น ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ เปิดเผยว่า ภาวะชัตดาวน์รอบ 2 ไม่น่าจะเกิดขึ้น หลังพรรครีพับลิกันและพรรค เดโมแครต บรรลุข้อตกลงเบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณด้านความมั่นคง ที่เป็นส่วนหนึ่งของร่างงบประมาณระยะสั้น ท่ามกลางความคาดหวังว่าจะช่วยให้สหรัฐไม่ต้องเผชิญ ภาวะชัตดาวน์ ขณะที่งบประมาณชั่วคราวจะหมดลงในวันที่ 15 ก.พ.

    ถึงทรัมป์คาดว่าจะลงนามในร่าง ดังกล่าว แต่ร่างที่ว่ายังคงไม่มี "งบสร้างกำแพงกั้นพรมแดนสหรัฐ-เม็กซิโก" วงเงิน 5,700 ล้านดอลลาร์ (ราว 1.78 แสนล้านบาท) ตามที่ทรัมป์เรียกร้อง แต่มีเพียงงบสร้างรั้วบริเวณแนวพรมแดนตอนใต้กว่า 1,370 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 4.3 หมื่นล้านบาท) เท่านั้น

    ปัจจัยต่อมาที่ต้องจับตาต่อคือ สงครามการค้าจีน-สหรัฐ โดยทรัมป์เพิ่งส่งสัญญาณว่า "อาจ" เลื่อนกำหนดการปรับขึ้นภาษีสินค้าจีนมูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์ จาก 10% เป็น 25% ขณะที่เส้นตายข้อตกลงพักรบศึกการค้าชั่วคราว 90 วัน ใกล้จะสิ้นสุดลงแล้วในวันที่ 1 มี.ค. หากสหรัฐและจีนมีแนวโน้มบรรลุข้อตกลงสงบศึกการค้ากันได้

    ล่าสุดนั้น โรเบิร์ต ไลท์ไฮเซอร์ ผู้แทนการค้าสหรัฐ และสตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีคลังสหรัฐ กำลังอยู่ระหว่าง พูดคุยกับจีนวันที่ 14-15 ก.พ.นี้ โดยมนูชินเปิดเผยว่า การเจรจาครั้งนี้น่าจะมีความคืบหน้ามากขึ้นและความเสี่ยงอันยิ่งใหญ่ที่จะมองข้ามไปไม่ได้คือ เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง โดยความอ่อนแรงเริ่มปรากฏให้เห็นแล้วใน "จีน" และ "ยุโรป"

    ในฝั่งจีนนั้น จีดีพีปี 2018 โตต่ำสุดในรอบเกือบ 30 ปี และมีแนวโน้มชะลอตัวลงต่อ สะท้อนออกมาจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ดูไม่สดใสนัก อย่างล่าสุดคือยอดค้าปลีกช่วงตรุษจีนระหว่างวันที่ 4-10 ก.พ. อยู่ที่ 1.005 ล้านล้านหยวน (ราว 4.67 ล้านล้านบาท) เพิ่มขึ้น 8.5% เมื่อเทียบกับ ปีก่อน นับเป็นอัตราการเติบโตที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เริ่มเก็บข้อมูลมาในปี 2005

    ด้านยุโรปนั้น คณะกรรมาธิการยุโรป (อีซี) เพิ่งประกาศหั่นเป้าจีดีพีเศรษฐกิจกลุ่มประเทศยูโรโซน โดยมองว่าจะขยายตัวเพียง 1.3% ในปี 2019 ลดลงจากคาดการณ์เดิมที่ 1.9% และยังลดฮวบจากการขยายตัวปีก่อนหน้านี้ที่ 1.9%

    ความเสี่ยงสุดท้ายย่อมหนีไม่พ้นกรณี เบร็กซิต หรือการที่สหราชอาณาจักรจะถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป (อียู) ที่กำหนดไว้ในวันที่ 29 มี.ค.นี้ แต่จนแล้วจนรอดก็ยังคงไม่มีความชัดเจน และสถานการณ์ ยิ่งโกลาหลขึ้นเรื่อยๆ เพราะความวุ่นวายของการเมืองอังกฤษที่ยังไม่สามารถตกลงกันเรื่องร่างเบร็กซิตได้ ทำให้อังกฤษอาจต้องออกจากอียูไปแบบไร้ข้อตกลง (โนดีล) ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจและภาคธุรกิจ

    ด้วยเหตุนี้ ความต้องการ ถือครองทองคำ สินทรัพย์ปลอดภัยเอาไว้เพื่อความอุ่นใจ จึงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และจะหนุนให้ราคาปรับตัวขึ้นต่อ ท่ามกลางสถานการณ์โลก ที่ไม่สามารถเอาแน่เอานอนได้ ในระยะนี้

    โดย นรินรัตน์ พรหมพิทักษ์

    Source :posttoday

    ความคืบหน้า
    - Spot Gold Price Gains With No Change in US Consumer Prices
    https://goldprice.org/news/spot-gol...L2ezCfVM8BIDThUFo8hT69e2Ljx_Xanug5sOI7A14RZFs
     

แชร์หน้านี้

Loading...