ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,491
    ค่าพลัง:
    +97,150
    FB_IMG_1724741385254.jpg

    (Aug 27) ทยอ่วมสินค้าจีนทะลัก กินรวมธุรกิจ ไม่ต่างจากทัวร์ศูนย์เหรียญ:ปัจจุบันผู้ประกอบการไทย ไม่เพียงจะเผชิญกับกำลังซื้อของคนไทยที่หดตัว ยังถูกสินค้าจีนทะลักเข้าไทย และการเข้ามาเปิดตลาดของแพลตฟอร์มจีน อย่าง TEMU ซึ่งขายสินค้าถูกกว่า เข้ามาตีตลาด

    รวมถึงการรุกคืบเข้ามาเปิดธุรกิจต่างๆ ทั้งร้านอาหาร ซุปเปอร์มาร์เก็ต เพื่อขายคนจีน ที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งก็เป็นโมเดลการกินรวมธุรกิจ ที่ไม่ต่างจากทัวร์ศูนย์เหรียญ

    การเข้ามาของทุนจีน มีทั้งที่ถูกต้องตามกฏหมาย การใช้นอมีนีไทยบังหน้า ไปจนถึงกลุ่มทุนสีเทา ซึ่งกลุ่มทุนจีนสีเทา เป็นปัญหาเรื้อรั้งที่เกิดขึ้นมานาน ที่ไม่เพียงยังปราบปรามกันไม่ได้ แต่นับวันรูปแบบการดำเนินธุรกิจยังมีความหลากหลายมากขึ้น

    โดยสิ่งที่น่ากังวลที่สุด คือ “ขนส่งศูนย์เหรียญ” ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ใหญ่มาก ซึ่งเป็นการวางเครือข่ายร่วมกับนอมินีจากไทยและลาว ขนส่งสินค้าจีนเข้ามาขายในไทย ทั้งบรรทุกเกินน้ำหนัก และไม่ติดจีพีเอส

    การที่บริษัทจากประเทศจีนเข้ามาประกอบกิจการในไทยเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ผู้ประกอบการในไทยได้รับผลกระทบไม่สามารถไปต่อได้ เนื่องจากประสบปัญหาขาดทุน รวมถึงมีภาระต้นทุนสูงขึ้น จึงทำให้ไม่มีเงินทุน ที่จะเดินหน้าธุรกิจ ทำให้หลายบริษัทต้องปิดตัวลง และจีนก็เข้ามาทำธุรกิจ และต่อยอดธุรกิจ

    วันนี้ธุรกิจของทุนจีน จึงลามไปเกือบจะทุกธุรกิจแล้ว ไม่ใช่แค่เรื่องท่องเที่ยวที่ก็กำลังเผชิญกับปัญหาทัวร์จีนทุ่มตลาด ขายทัวร์ราคาต่ำกว่าทัวร์ศูนย์เหรียญ หวังทุ่มตลาดให้ผู้ประกอบการเดิมอยู่ไม่ได้ก่อนจะเข้ามาครองตลาดเต็มตัวแล้วจึงปรับราคาขึ้น

    นายศักดิ์ชัย ภัทรปรีชากุล กรรมการบริหาร บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด ผู้บริหารศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เปิดเผยว่าในช่วง 8 เดือนแรก (ม.ค.-ส.ค.) ปี 2567 นี้ การเติบโตชัดเจนที่สุดในปีนี้คือประเทศจีน ซึ่งให้ความสนใจเดินทางมาร่วมงานที่ศูนย์ฯสิริกิติ์จำนวนมาก เพิ่มขึ้นกว่า 30% เทียบกับปีที่แล้ว จากจำนวนงานทั้งหมดที่เข้ามาจัดที่นี่

    ในปี 2566 มีธุรกิจหรือโรงงานจีนมาเข้าร่วมงานแสดงสินค้าไม่มากนัก แต่ปีนี้เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อาจจะเกิดจากความสะดวกสบายหลังรัฐบาล ไทย-จีน ประกาศมาตรการยกเว้นวีซ่า (วีซ่าฟรี) ถาวรระหว่างกัน ในแง่ธุรกิจถือว่ามีประโยชน์มาก แต่เรื่องการดูแลให้ทำถูกต้องตามกฎหมายเป็นหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐที่ต้องเข้ามาตรวจสอบและควบคุม

    ส่วนมาตรฐานของสินค้าจากธุรกิจหรือโรงงานจีนที่นำมาออกบูธ ได้รับการตรวจสอบว่าผ่านมาตรฐานจากประเทศต้นทางแล้ว เพราะหลายสินค้าต้องสัมผัสร่างกายและเป็นอาหารการกิน

    อย่างล่าสุด งาน Food & Hospitality Thailand 2024 จัดระหว่างวันที่ 21-24 ส.ค.2567 เป็นงานสำคัญที่ผู้อยู่ในธุรกิจท่องเที่ยวและบริการต้องเข้าเยี่ยมชม เพราะมีการจัดแสดงสินค้า ผลิตภัณฑ์ และโซลูชั่นด้านธุรกิจท่องเที่ยวกว่า 3,000 แบรนด์ จาก 18 ประเทศ

    โดยพบว่าในงานนี้ได้รับความสนใจจากธุรกิจในต่างประเทศจำนวนมาก โดยเป็นธุรกิจจากจีนครองสัดส่วนการร่วมงานกว่า 30% ของผู้ร่วมงานทั้งหมด

    “เราจึงอยากให้รัฐบาลสนับสนุนประเทศไทยเป็นมาร์เก็ตเพลสสำหรับภูมิภาคนี้ เพราะหลังหมดยุคโควิดระบาดพบว่าตลาดต่างประเทศฟื้นตัวชัดเจน ยกเว้นตลาดในประเทศที่ยังมีปัญหาเรื่องการบริโภคภายในประเทศ" นายศักดิ์ชัย กล่าวทิ้งท้าย

    ด้านนางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่ากรณีทุนจีน ที่เข้าดำเนินธุรกิจในไทย ขณะนี้รัฐบาลก็กำลังเข้าไปดูแลแล้ว โดยถ้ามองในมุมผู้บริโภค คนที่ซื้อสินค้าจีน ก็อยากจะได้ของที่ราคาถูก แต่สิ่งสำคัญ คือ ต้องมีเรื่องของการจัดเก็บภาษีที่ชัดเจน

    ส่วนในเรื่องที่มองกันว่าจะกินรวบเรื่องท่องเที่ยว ตอนนี้เรื่องท่องเที่ยวทางรัฐบาลก็ให้ความสำคัญในการไปดูแลกำกับ เพื่อไม่ให้เกิดการกินรวบอยู่แล้ว ก็ชัดเจนว่า กระทรวง กรม ต่างๆที่เกี่ยวข้องต้องไปบังคับใช้กฏหมายในมืออย่างแท้จริง เพื่อไม่ให้เกิดเหตุแบบนี้

    ตอนนี้ตำรวจ ก็ต้องควบคุมดูแล ส่วนกรมการท่องเที่ยว ต้องดูว่าบริษัทนำเที่ยว และมัคคุเทศก์ ถูกต้องหรือเปล่า ต้องขึ้นบัญชีดำถ้าเขาทำไม่ถูกต้อง ส่วนกระทรวงพาณิชยต้องมีการขึ้นกำกับดูแล ทุกคนต้องทำหน้าที่ เพราะมันไม่ใช่แค่ตลาดจีน ประเทศไหน ถ้าเกิดว่ามาทำธุรกิจแบบผิดกฎหมาย ไม่ได้ผ่านการจ่ายภาษี หรือการทำไม่ถูกต้อง ก็จะต้องทำให้จดทะเบียนถูกต้อง

    โดยต้องตรวจสอบทุกประเทศ ไม่ใช่แค่จีน เรื่องท่องเที่ยว มันไม่ใช่เป็นหน่วยงานเดียวที่ทำเรื่องท่องเที่ยว ทุกหน่วยงานมีส่วนเกี่ยวข้องในธุรกิจภาคบริการ ร้านอาหาร ร้านค้า ร้านอะไร ก็ต้องจดทะเบียนขึ้นทะเบียนให้ถูกต้อง

    ปีนี้ททท.ตั้งเป้านักท่องเที่ยวจีนเที่ยวไทย 8 ล้านคน และในปีหน้าคาดว่าจะอยู่ที่ 11 ล้านคน สร้างรายได้กว่า 5 แสนกว่าล้านบาท ซึ่งหลังโควิดเราจะเห็นการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวมีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น

    ขณะที่นายอดิษฐ์ ชัยรัตนานนท์ เลขาธิการสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (แอตต้า) กล่าวว่า กระแสข่าวสินค้าจีน ทุบตลาด เริ่มเป็นประเด็นต่อเนื่อง จาก TEMU รวมถึงชามตราไก่ ที่เราเอามาจากจีนประเด็นคงไม่ใช่เรื่องราคาที่จีนมาทุบตลาด แต่เป็นปัญหาของ คนไทยเราเองที่ปรับตัวรองรับการแข่งขันด้านราคาของสินค้าจีนไม่ได้

    เพราะสินค้าจีนทะลักมาผ่านออนไลน์ และ คนไทยที่เป็นผู้บริโภค ได้ของถูกที่ตรงกับสภาวะที่เราต้องรัดเข็มขัด และ การขนส่งในปัจจุบันเข้าถึงสินค้าได้ง่าย ราคาที่ทุกคนจับต้องได้

    ประเด็นที่ผมอยากชวนคิด คือ พอเราต้องแข่งกับของถูก ก็มีปัญหาต้นทุนการผลิต ที่ Economy of scale เราใหญ่ไม่พอ แต่พอต้องแข่งเรื่อง คุณภาพ และ นวัตกรรม ก็บอกว่า เราเก่งไม่พอ พัฒนาเองไม่ได้

    แต่สินค้าที่เราผลิตเอง ที่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่น และ แหล่งธรรมชาติของเรา ก็กลัวขายไม่ได้ ผมว่า “เราเองต่างหากคือปัญหา”เรายอมแพ้ตั้งแต่ไม่ได้สู้ และ กังวลในทุกมุม

    เราจึงติดกับดับความคิดตนเอง ตั้งแต่ระดับนโยบาย ที่ไม่กล้าออกกฎหมาย หรือ มาตรการคุ้มกันคนไทย ผู้ประกอบการ ไม่กล้าที่จะสู้ในด้านคุณภาพ และ ยกระดับการสร้างแบรนด์สินค้าให้เกิดมูลค่า ส่วนผู้บริโภค ให้ความสำคัญ และคุณค่ากับคำว่า “Made in Thailand” น้อยเดินไป กลายเป็น ”เราด้อยค่าตนเองในทุกมิติ“

    แถมมาเจอการเมืองที่อ่อนแอ แข่งขันช่วงชิงอำนาจจนแทบไม่มีเวลาออกทำนโยบายในการแก้ไข ปัญหาของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ วันนี้ประเทศไทยต้องรณรงค์ให้เชื่อตนเอง มีความเชื่อมั่น และ ศรัทธา กับประเทศตนเอง คิดใหม่ เชื่อมั่น ศรัทธา เราคือไทยที่เข้มแข็ง และมีคุณภาพที่จะยืนหยัดบนเวทีโลกได้อย่างภาคภูมิ

    Source: ฐานเศรษฐกิจออนไลน์
    https://www.thansettakij.com/business/tourism/605130

    https://www.facebook.com/share/p/eJFtRrVg4cNYZYx8/?mibextid=oFDknk
     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,491
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Aug 27, 2024 สั่งเกาะติด! ครม.ไฟเขียวตั้ง ซิงเกิลคอมมานด์ บริหารอุทกภัย จัดงบฯช่วยน้ำท่วม ตั้งภูมิธรรมเป็นประธาน มีอำนาจในการสั่งการบริหารสถานการณ์น้ำ อนุมัติงบกลางฯรับมือ

    นางสาวนัทรียา ทวีวงศ์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่าที่ประชุมได้มีการหารือกันเรื่องของสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่หลายจังหวัดและได้ตกลงให้มีการตั้งศูนย์อำนวยการสถานการณ์อุทกภัย โดยลักษณะการบริหารเป็นรูปแบบซิงเกิลคอมมานด์ เพื่อบริหารจัดการในเรื่องของสถานการณ์น้ำ ข้อมูลที่จะสื่อสารให้กับประชาชนได้รับทราบสถานการณ์น้ำในแต่ละพื้นที่ รวมทั้งจัดสรรงบประมาณที่จะจัดสรรลงไปทั้งให้การช่วยเหลือประชาชนและฟื้นฟูพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วม

    โดยองค์ประกอบของคณะกรรมการได้แก่ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะรักษาการนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน มีรองประธาน 2 ท่านได้แก่นายธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย ส่วนคณะกรรมการท่านอื่นๆจะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาเป็นกรรมการ โดยขณะนี้คำสั่งนี้อยู่ระหว่างการจัดทำและคาดว่าจะออกเป็นประกาศอย่างเป็นทางการได้เร็วๆนี้

    อย่างไรก็ตาม รัฐบาลมีงบประมาณในการดูแลน้ำท่วมเพียงพอ และเป็นงบฯคนละส่วนที่จะใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือการแจกเงินในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ส่วนการอนุมัติงบประมาณเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือนั้น ขณะนี้แต่ละจังหวัดที่ประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติสามารถใช้งบประมาณฉุกเฉินที่มีอยู่จังหวัดละ 20 ล้านบาทมาใช้เพื่อแก้ปัญหาในส่วนนี้ก่อน หากไม่เพียงพอให้เสนอคำของบประมาณมาที่ส่วนกลางเป็นขั้นตอน

    พร้อมกันนี้ ยังได้มีการหารือถึงสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้น โดยสถานการณ์ที่เกิดขึ้นถือเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นแทบทุกปี ซึ่งในพื้นที่ภาคเหนือต้องยอมรับว่าในหลายพื้นที่ไม่มีอ่างกักเก็บน้ำขนาดใหญ่ เมื่อเกิดฝนตกที่มีปริมาณน้ำฝนมากซึ่งตกเป็นจุดๆในพื้นที่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Chang) ซึ่งทำให้ต้องมีการจ่ายเงินเยียวยาทุกปี อย่างไรก็ตามในปีนี้มีการรายงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าสถานการณ์น้ำท่วมในปีนี้จะไม่ได้รุนแรงเหมือนกับในปี 2554

    สำหรับ การแก้ปัญหาสถานการณ์น้ำท่วมต้องแบ่งเป็น 3 ระยะคือ
    1.การแก้ปัญหาในระยะสั้น ซึ่งต้องให้การช่วยเหลือประชาชนที่กำลังประสบอุทกภัยในพื้นที่ต่างๆ
    2.การเยียวยาผู้ที่ประสบภัย เมื่อระดับน้ำลดลง
    3.การวางแผนบริหารจัดการน้ำท่วมในระยะยาว ซึ่งที่ประชุมได้หารือว่าเมื่อมี ครม.ชุดใหม่ก็จะเสนอให้การแก้ปัญหาน้ำเป็นวาระแห่งชาติ และเสนอเป็นวาระเร่งด่วนที่จะต้องมีการบริหารจัดการเรื่องนี้ต่อไป

    #ครม. #น้ำท่วม #น้ำท่วมภาคเหนือ #ซิงเกิลคอมมานด์ #ศูนย์อำนวยการสถานการณ์อุทกภัย #BTimes

    https://www.facebook.com/share/p/URHCCmCDLSQBtTm5/?mibextid=oFDknk
     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,491
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Aug 27, 2024 อนุบาลไม่รอด! โรงเรียนอนุบาลในจีนปิดตัวกว่า 20,000 แห่งทั่วประเทศ ค่าใช้จ่ายเลี้ยงลูกถึงวัยก่อนเข้ามหาวิทยาลัยพุ่งแซงรายได้ เด็กเกิดใหม่ตกต่ำต่อเนื่อง

    กระทรวงศึกษาธิการ ประเทศจีน เปิดเผยว่า ในช่วงปี 2021-2023 โรงเรียนอนุบาลทั่วประเทศปิดกิจการรวมทั้งสิ้น 20,352 แห่ง จากเดิมที่มีจำนวน 294,832 แห่ง ลดลงมาเหลือ 274,480 แห่ง หรือลดลงมากถึง -6.90% สาเหตุจากอัตราและจำนวนการเกิดเด็กทารกใหม่ตกต่ำลงต่อเนื่อง โอกาสและอนาคตการหางานทำของคนแรงงานวัยหนุ่มสาวไม่สดใสเหมือนหลายทศวรรษก่อนหน้านี้ และนโยบายการกวาดล้างโรงเรียนที่มีผลกำไรสูงมากเกินความเหมาะสมแท้จริง ซึ่งจำนวนโรงเรียนอนุบาลที่ปิดตัวลงจากทั้ง 3 ปัจจัยหลักล้วนเป็นโรงเรียนอนุบาลของเอกชน

    ในช่วงที่ผ่านมา สถานการณ์ผู้ปกครองชาวจีนไปยืนต่อคิวตั้งแต่เช้ามืดบริเวณหน้าประตู้รั้วทางเข้าโรงเรียนอนุบาลชื่อดังหลายแห่ง เพื่อเข้ายื่นใบสมัครเรียนในระดับก่อนชั้นอนุบาลได้หายไปแล้ว โดยมีจำนวนใบสมัครลดลงมากถึง 5 ล้านคน มาอยู่ที่ 40.92 ล้านคนจากเดิมที่ 45.92 ล้านคน ทำสถิติจำนวนยื่นใบสมัครเข้าเรียนที่ตกต่ำมากที่สุดในรอบ 10 ปี หรือนับตั้งแต่ปี 2014 สอดรับกับจำนวนตำแหน่งเปิดรับครูสอบระดับก่อนชั้นอนุบาลแบบบรรจุเต็มเวลาได้หายไปถึง 170,000 อัตราในปี 2023 ผ่านมา

    นางหลี ซึ่งไม่ขอเปิดเผยนามสกุล ซึ่งเป็น หนึ่งในผู้ปกครองชาวจีนอาศัยอยู่ในเจียงซู ที่ต้องเผชิญกับข้อจำกัดในการมีบุคคลที่ 2 หรือคนที่ 3 รวมถึงข้อจำกัดในการหารายได้เพื่อส่งเสียลูกเข้าคนแรกที่มีอายุ 2 ขวบเข้าเรียนในระดับก่อนชั้นอนุบาล เปิดเผยว่า เงินสำคัญที่สุด แบะกำลังถกเถียงเหตุและผลกับสามีว่า จะพาลูกเข้าเรียนในโรงเรียนก่อนชั้นอนุบาลของรัฐบาล หรือของเอกชนดี ขณะที่คุณภาพการศึกษาสำคัญที่สุด แต่ก็ได้ใช้จ่ายค่าเทอมของลูกสาวถึงเดือนละกว่า 10,000 หยวน หรือกว่า 48,200 บาทต่อเดือน เพราะฉะนั้นจึงไม่สามารถที่จะมีลูกคนที่ 2 หรือคนที่ 3 ได้แน่นอน

    สถาบันวิจัยประชากรยู่หวา ประเทศจีน เปิดเผยว่า ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยในการเลี้ยงดูเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งอายุครบ 18 ปี คิดเป็น 6.3 เท่าของรายได้ต่อหัวของประชากรจีน จากการเปรียบเทียบทั้งหมด 13 ประเทศ พบว่าประเทศเกาหลีใต้มีค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยในการเลี้ยงดูเด็กในช่วงระยะเวลาเดียวกันสูงถึง 7.79 เท่าของรายได้ต่อหัวประชากรเกาหลีใต้ ขณะที่ในออสเตรเลียค่าใช้จ่ายดังกล่าวมีอยู่เพียง 2.8 เท่า สหรัฐอเมริกาคิดเป็น 4.11 เท่า และประเทศญี่ปุ่นคิดเป็น 4.26 เท่า

    เมื่อต้นปีนี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน รายงานจำนวนประชากรของจีนในปี 2023 พบว่าลดลงติดต่อกันเป็นปีที่ 2 โดยลดลงไป 2.08 ล้านคนหรือ 0.15% เหลือประชากรจีน 1.409 พันล้านคน ตัวเลขนี้ลดลงมากกว่าปีก่อนหน้านั้นด้วย เพราะปี 2022 ประชากรจีนลดลงไป 850,000 คน ทั้งนี้ การลดลงของประชากรจีนในปี 2022-2023 นั้น ถือเป็นการลดลงคร้งแรกในรอบกว่า 60 ปี นับตั้งแต่ปี 1961 ในช่วงที่เกิดความอดอยากครั้งใหญ่ในสมัย เหมา เจ๋อตุง

    ขณะที่ในปี 2022 อัตราการเกิดใหม่ของเด็กจีนลดลงไปถึง 5.7% เหลือ 9.02 ล้านคน และอัตราการเกิดต่ำเป็นประวัติการณ์ที่ 6.39 คนต่อประชากร 1,000 คน ลดลงจาก 6.77 คน ด้านสหประชาชาติ หรือยูเอ็น ประเมินว่า จำนวนประชากรของจีนอาจลดลงไปถึง 109 ล้านคนภายในปี 2050 เพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม 3 เท่าจากการคาดการณ์ครั้งก่อน

    #อนุบาล #โรงเรียนอนุบาล #ปิดกิจการ #จีน #เด็กนักเรียน #BTimes

    https://www.facebook.com/share/p/5frYkCPhiQQ82cHR/?mibextid=oFDknk
     

แชร์หน้านี้

Loading...