เรื่องเด่น ตามรอยหลวงพ่อเงิน พุทธโชติ (กลุ่มหลวงพ่อเงิน)

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย เจ๊ตุ้ม, 16 มกราคม 2013.

  1. เจ๊ตุ้ม

    เจ๊ตุ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +6,607
    bhothale อ้างอิง:
    ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ ผมอ้วน
    รบกวนพี่ช่วยดูองค์นี้ให้ทีครับ ทัน ไม่ทัน เก๊หรือไม่ครับ
    ขอบคุณครับ

    ก่อนอื่นต้องขอบอกว่าผมเป็นเพียงผู้ใฝ่ศึกษาเรื่อง ลพ เงิน ..เท่านั้น..ไม่ใช่เซียนนะครับ ทุกๆความเห็นของผมเป็นความเห็นส่วนตัวที่พิจารณาจากภาพถ่าย..ซึ่งอาจจะผิดหรือถูกก็ได้..ไม่อาจนำไปใช้ประกอบการตัดสินใดๆ...สุดท้ายต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจในการวิเคราะห์ของท่านเอง....เพราะตัวท่านเองเท่านั้นที่ได้เห็นของจริง...
    สำหรับองค์นี้ ดูจากร่องรอยการสึกของใบหน้าพระ...ซึ่งดูไม่เป็นไปตามธรรมชาติของการใช้...ประกอบกับเนื้อโลหะยังดูไม่เก่ามาก..จึงมองว่าน่าจะไม่ทันยุคหลวงปู่...และจากเจตนาการแต่งเก่า...ทำให้มองได้ว่าเป็นพระแต่งเพื่ออัพราคา...ส่วนจะเป็นพระแท้หรือไม่..บอกได้ยาก..ขนาดออกจากโรงงานเดียวกันยังมีทั้งสองแบบ...คือผ่านพิธีหรือ..ไม่ผ่านพิธี...

    ก็ว่าไปตามที่สายตาเห็นจากภาพเท่านั้น...และอย่าลืมว่าการพิจารณาจากภาพ มีโอกาสผิดพลาดสูงมาก..ขนาดได้ดูองค์จริงตัวเป็นๆยังพลาดได้เลย..
    ผิดพลาดประการใดก็ขออภัยด้วย...

    มองเหมือนท่าน bhothale ครับ ถ้าให้ผมพิมพ์ตัวอักษรลง ผมจะพิมพ์คำว่า ปลอมครับ

    bhothale อ้างอิง:
    ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ ผมอ้วน
    มี 2 องค์ครับ องค์นี้อีกองค์ครับ ดูไม่เป็นจริงๆครับ

    ถ้าให้เลือกผมเอาองค์นี้ดีกว่า...แม้จะไม่ทันถึงหลวงปุ่...แต่เนื้อหาก็ดูดี
    ...ส่วนจะเป็นพระแท้หรือไม่..บอกได้ยาก..อย่างที่บอกแหละครับ
    ก็ว่าไปตามที่สายตาเห็นจากภาพเท่านั้น
    ผิดพลาดประการใดก็ขออภัยด้วย...

    psom อ้างอิง:
    ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ ผมอ้วน
    มี 2 องค์ครับ องค์นี้อีกองค์ครับ ดูไม่เป็นจริงๆครับ

    -------
    เมื่อ ขยายภาพ ดูแล้ว หลวงปู่สามชาย ....
    ดูแล้ว ผิว โลหะ มีหลายชั้น หลายมิติ คราบสนิม เบ้าดูเก่า ผมว่าลึกนะ ไม่ถึง วาระหนึ่ง แต่ผมมองถึงวาระสาม(มีสิทธิ)(เป็นเพียง 1 ความเห็นนะครับพี่ รอพี่ อีกหลายๆแนวทางครับผม)

    THEKOP1988 อ้างอิง:
    ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ ผมอ้วน
    มี 2 องค์ครับ องค์นี้อีกองค์ครับ ดูไม่เป็นจริงๆครับ

    ชอบจังครับองค์นี้ มีเสน่ห์อวบอ้วน มีอะไรหลายๆอย่างให้ค้นหา

    ส่วนตัวผมเองมองหลวงปู่สามชายองค์ ที่น้ำหนักไม่น่าจะต่ำกว่า หกสลึง ถึงจะมีบางส่วงของเนื้อโลหะที่วิ๊งๆ บ้าง เข้าไปได้สูงสุดก็เป็นพระที่สร้างขึ้นในวาระที่สามครับผมยังชอบลักษณะที่อวบอ้วนอยู่ดีเพราะจะไม่พบพระลักษณะนี้บ่อยนัก ยังไงก็หาผู้ที่ทราบเรื่องพระวาระ ส่ององค์จริงอีกทีครับ
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • .001.JPG
      .001.JPG
      ขนาดไฟล์:
      98.3 KB
      เปิดดู:
      3,658
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2013
  2. เจ๊ตุ้ม

    เจ๊ตุ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +6,607
    มองเป็นพระสร้างใหม่ครับ แต่สร้างใหม่พิมพ์ก็ หลวมๆ เหลือเกิน อาจเป็นเพราะภาพที่ไม่ชัดก็ได้ครับ ถ้าจะเอาทันกรุวัดขวางไม่ทันแน่ครับ ต้องเสี่ยอ้วนครับ เจ้าพ่อกรมกรุวัดขวางเลยครับ

    ประวัติบางส่วนกรุวัดขวางครับ
    เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 พระหลวงพ่อเงินบางคลาน พิมพ์รูปหล่อลอยองค์ และพระสังกัจจายน์ ได้ออกจากกรุวัดขวาง อ.โพทะเล จ.พิจิตร โดยหลวงพ่อเปรื่องเจ้าอาวาสวัดบางคลาน เจ้าคณะอำเภอโพทะเล พร้อมด้วย พ.ต.ท.บุญรัตน์ กล่อมการ สวญ. เป็นประธารเป็นกรุอย่างเป็นทางการ เพราะเนื่องจากมีคนร้ายจำนวน ประมาณ 5-6 คน ได้แอบเข้ามาขุดพระเจดีย์ เวลาประมาณตีครึ่ง โดยวางยาสุนัขที่วัดขวาง แต่บังเอิญมีชาวบ้านเข้ามาเห็นเหตุการณ์เข้า จึงรีบไปแจ้งผู้ใหญ่บ้านเสนาะ เม่นเกิด พร้อมด้วยชาวบ้านกลุ่มใหญ่ นำปืน .38ไล่ยิงกลุ่มคนร้ายที่ลักลอบขโมยหลวงพ่อเงินบางคลานกรุวัดขวางนี้แต่กระสุนดันด้านหมด ชาวบ้านย่านวัดขวาง เลยลือกันถึงความศักดิ์สิทธิ์ของพระหลวงพ่อเงินบางคลาน กรุวัดขวางในเหตุการณ์ครั้งนั้น

    ซึ่งสามารถสอบถามชาวบ้านย่านวัดขวางได้เป็นอย่างดี การเปิดกรุ หลวงพ่อเงินบางคลานกรุวัดขวางสมัยนั้น และท่านผู้อยู่ในเหตุการณ์กล่าวภายหลังว่า นอกจากพระทั้งสองพิมพ์ดังกล่าวที่ข้างต้น ยังมีเหรียญจอบใหญ่เม็ดพิมพ์หนา กับเหรียญจอบเล็ก ออกจากกรุมาพร้อมกันด้วย แต่มีผู้รู้เห็นน้อยมาก พระของหลวงพ่อเงินกรุวัดขวางนี้ ในสมัยอดีตท่านเจ้าอาวาสวัดขวางองค์หนึ่ง ชื่อหลวงปู่ไข่ ท่านเป็นพระสหธรรมมิกของหลวงพ่อเงิน และทั้งยังเป็นพระคู่สวดในพิธีสำคัญๆ ของหลวงพ่อเงินวัดบางคลานอยู่บ่อยๆ ครั้ง และอีกในทางหนึ่งหลวงปู่ไข่ ท่านก็ได้เรียนวิชากับหลวงพ่อเงินแห่งบางคลานด้วย เสมือนว่าจะเป็นลูกศิษย์ก็คงจะเรียกได้ รูปหล่อหลวงพ่อเงินกรุวัดขวาง-พระสังกัจจายน์ หลวงพ่อเงินท่านได้สร้างถวายให้หลวงปู่ไข่ นำบรรจุในพระเจดีย์วัดขวางในงานทอดผ้าป่า เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2452-2459 โดยหลวงพ่อเงินท่านได้ใส่ในโถลายคราม แล้วบรรจุในพระเจดีย์ด้วยตัวขององค์หลวงพ่อเงินเอง และหลวงพ่อเงินท่าน ยังนำเรือบรรทุกข้าวของมาถวายช่วยงานหลวงปู่ไข่ถึง 3 ลำ ช่วยในงานทอดผ้าป่าฉลองสร้างพระเจดีย์และพระอุโบสถเสร็จ

    ซึ่งหากเราได้พิจารณาดูแล้ว พระกรุวัดขวางนี้ได้สร้างโดยช่างผู้มีฝีมือดีอีกด้วย พระกรุวัดขวางเมื่อล้างเนื้อหรือเกลาองค์พระท่านออก จะพบผิวโลหะชั้นนอกเป็นสีทองคำดอกบวบ เมื่อขั้นลึกถึงเนื้อในจะเป็นทองผสม แสดงว่าเป็นพระกะหลั่ยทอง บางท่านว่าเป็นกะหลั่ยทองบางสะพาน

    พระหลวงพ่อเงิน กรุวัดขวางมีด้วยกัน 4 พิมพ์คือ พิมพ์นิยม พิมพ์ขี้ตา พิมพ์สังกัจจายน์ใหญ่ (เศียรโตพุงป่อง) และสังกัจจายน์เล็ก

    หลวงพ่อเงิน บางคลาน ทุกรุ่นประสบการณ์ดีทางด้านคงกระพันชาตรี แคล้วคลาดจากภัยทั้งปวง เมตตามหานิยม โชคลาภ และค้าขายดีมาก ผู้มีพลังศรัทธาต่อหลวงพ่อเงิน ต้องการที่จะมีไว้ในครอบครอง พระหลวงพ่อเงินไม่จำเป็นต้องทันท่านปลุกเสกเสมอไป ขอให้พิธีดี เจตนาสร้างดี บารมีหลวงพ่อเงินก็แผ่ถึงแล้วครับ ผู้ที่ศรัทธาหลวงพ่อเงินต่างประจักษ์กันทั่วหน้าครับ
     
  3. ผมอ้วน

    ผมอ้วน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    147
    ค่าพลัง:
    +465

    ขอขอบคุณครับพี่ และท่านพี่ท่านอื่นทุกท่าน ที่ช่วยชี้แนะ ผมเพียงไม่ได้เอามาให้พี่ๆตรวจสอบเพื่อหวังในทางการค้าครับ เพียงแต่พ่อเพื่อนเสียไป แล้วเพื่อน
    เอามาฝากให้ดูให้เพื่อบันทึกไว้ว่าเป็นพระอะไร ที่ไหน แล้วก็จะเก็บไว้เป็นสมบัติพ่อให้ต่อไป เพื่อนเป็นผู้หญิงที่ไม่รู้เรื่องราวอะไรเลยเกี่ยวกับพระ รู้แต่ว่าพระที่คล้องคออยู่ เป็นหลวงปู่ทวดที่พ่อให้มาเท่านั้น ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเป็นพิมพ์อะไร ผมเองก็ดูได้เป็นบางที่เท่านั้น ไม่ใช่เซียนเป็นแค่คนชอบสะสมเท่านั้นครับ
     
  4. ผมอ้วน

    ผมอ้วน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    147
    ค่าพลัง:
    +465
    รบกวนองค์เดิมองค์นี้ อีกทีครับ แบบนี้ถ้าเป็นของวัดห้วยเขน แบบทรงพิมพ์เป็นไปได้ไหมครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. เจ๊ตุ้ม

    เจ๊ตุ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +6,607
    เข้าใจครับ แต่ก็อย่างว่าครับการพิจรณาจากภาพเป็นเรื่องที่ไม่สามารถจะสรุปได้ครับเป็นเพียงแค่แนวทาง หรือช่องทางเล็กๆ เท่านั้นเองครับ
    อย่างองค์แรกเป็นพิมพ์ทรงของหลวงพ่อพิศสร้างครับ แต่เนื้อยังไม่ถึงอายุในยุคนั้นครับ ทองเหลืองแบ่งโทนสี โทนเนื้อได้ตามอายุระหว่างปีที่สร้าง บวกความเก่าของผิว ประกอบกับการสึกที่ใบหน้าผิดปรกติ ผิดธรรมชาติของการห้อยบูชา ช่วงข้างๆของคางก็เหมือนสึกจากการห้อย แต่ผมนึกไม่ออกว่าห้อยคอลักษณะไหนจึงสึกได้แบบนี้ ในขณะที่ฐานยื่นออกมามากที่สุดกลับไม่ถูกสัมผัสเลย เลยเชื่อได้ว่าสร้างเลียนแบบครับ ห้วยเขนพิมพ์ทรงจะอีกอย่างครับ องค์นี้ไม่ใช่ห้วยเขนแน่ครับ
    [​IMG]
    พบร่องรอยการตะไบแต่ในส่วนเศียร มองว่าการเก็บแต่งยังไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร เหมือนกับว่า.....
    ลองสอบถามหลายๆ ที่นะครับคนเก่งๆ มีแยะ

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2013
  6. ผมอ้วน

    ผมอ้วน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    147
    ค่าพลัง:
    +465

    ขอคุณท่านพี่เป็นอย่างสูงครับ กระจ่างแจ้งครับ ขอบคุณครับ
     
  7. อิฟ

    อิฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    310
    ค่าพลัง:
    +1,044
    ขอบคุณครับ

    รูปจากเครื่องสแกนมันเลือนจริงๆ ไว้ได้รูปจากกล้องจะมาลงปรึกษาใหม่ครับ
     
  8. ppick

    ppick เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    329
    ค่าพลัง:
    +1,458
    ดีน๊ะที่เราไม่มี อิอิ เจ๊ตุ้มครับช่วยขยายความ "ระวังอีกรอบครับ วัดใหม่คำวัน กำลังวางทุ่นระเบิดอยู่"ให้หน่อยน๊า
     
  9. ppick

    ppick เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    329
    ค่าพลัง:
    +1,458
    ขอความเห็นจากเพื่อนสมาชิกด้วยครับ พระผมเอง ผิดถูกไม่มีปัญหารับได้หมดครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. นาย ธนพล ขุมทรัพย์

    นาย ธนพล ขุมทรัพย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2008
    โพสต์:
    535
    ค่าพลัง:
    +1,978
    พี่ smurf1ครับ องค์นี้2448 สวยฟุดๆไปเลยนะครับ
     
  11. psom

    psom เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    1,903
    ค่าพลัง:
    +8,391
    สวัสดียามบ่ายครับ
    [​IMG]
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_9148.JPG
      IMG_9148.JPG
      ขนาดไฟล์:
      211 KB
      เปิดดู:
      106
    • IMG_9152.JPG
      IMG_9152.JPG
      ขนาดไฟล์:
      226.9 KB
      เปิดดู:
      87
    • IMG_9150.JPG
      IMG_9150.JPG
      ขนาดไฟล์:
      167.1 KB
      เปิดดู:
      104
    • IMG_9155.JPG
      IMG_9155.JPG
      ขนาดไฟล์:
      164.9 KB
      เปิดดู:
      90
    • IMG_9159.JPG
      IMG_9159.JPG
      ขนาดไฟล์:
      182.9 KB
      เปิดดู:
      117
  12. เจ๊ตุ้ม

    เจ๊ตุ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +6,607
    ก็ไม่มีอะไรครับช่วงนี้เห็นกำลังระบาดอยู่เท่านั้นเองครับ ในจำนวนหนึ่งหน้าในเวฟใหญ่ ไม่ใช่หน้าหลวงพ่อเงิน พบให้ประมูลหลวงพ่อเงินจำนวนมากกว่าในรูปที่รวมมา พบหลวงพ่อองค์อื่นๆ น้อยมาก แสดงถึงความนิยมของหลวงปู่มากมาย พบวัดใหม๊ใหม่คำวันสามชายเป็นจำนวนแยะสุด พิมพ์นิยม ห้วยเขน ช้างคู่ จอบ ช. สังขจาย อ.แจ๊ะ 4 ชาย 5 ชาย อย่าวิจารย์พระเค๊านะครับผมไปดึงรูปเค๊ามาครับ (รวมรูปเฉพาะหลวงพ่อเงินเพียง 1 หน้าการประมูลเท่านั้น)
    [​IMG]
    เสี่ย ppick ทราบคำตอบอยู่แล้วครับ สำหรับเหรียญขัวญถุงปี 15 เหรียญนี้ อิอิอิ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • .01.JPG
      .01.JPG
      ขนาดไฟล์:
      120.4 KB
      เปิดดู:
      1,604
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2013
  13. ppick

    ppick เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    329
    ค่าพลัง:
    +1,458
    ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับเจ๊ สงสัยต้องโฉบเข้าไปดูหน่อย ไม่เคยประมูลเลยครับ
     
  14. ppick

    ppick เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    329
    ค่าพลัง:
    +1,458
    แหม๋ๆๆๆๆเจ๊ก็...ผมอยากฟังความเห็นหลายๆท่านดู อาจมีมุมมองที่แตกต่างกัน
     
  15. เจ๊ตุ้ม

    เจ๊ตุ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +6,607
    จากรูป รูปไหนก็ไม่รู้ (รูปในอนาคตมั๊ง) เอาเนื้อเป็นหลักเอาคราบเป็นรอง (แบบฝึกหัด) พอจะมีองค์ไหนผ่านมั่งไม๊ รูปหล่อมีอายุการสร้างเกิน 3-5 ปีหรือเปล่า
    พักก่อนนะครับ เดี๋ยวโดนยิง ช่วงนี้กำลังฮิตซ๊ะด้วย ไม่ต้องตอบผมหรอกครับ คำตอบของผมกับของทุกท่านเหมือนกัน

    ----------------------------------------------------------------------------------------
    ขออำนาจ คุณพระ สีกัปตัน สีทีโอเอ สีเจบีพี สีกันสนิม จงปกป้องบ้านทุกท่าน จะได้ไม่มีเชื้อรา คราบใคร บ้านจะได้สดใสสวยงามมมมมม อิอิอิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2013
  16. ppick

    ppick เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    329
    ค่าพลัง:
    +1,458
    อิอิ มาทุกแม่สีเลย ขาดแม่ศรีเรือนครับเจ๊
     
  17. เจ๊ตุ้ม

    เจ๊ตุ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +6,607
    ประชาสัมพันธ์คร๊าบบบบ
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • ..0.jpg
      ..0.jpg
      ขนาดไฟล์:
      150.5 KB
      เปิดดู:
      1,654
  18. เจ๊ตุ้ม

    เจ๊ตุ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +6,607
    [​IMG]
    ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เวลา 19:30 นาฬิกา ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เนื่องจากติดเชื้อในกระแสพระโลหิต

    พระประวัติ
    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) (3 ตุลาคม พ.ศ. 2456—24 ตุลาคม พ.ศ. 2556) เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อ พ.ศ. 2532 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ปัจจุบันทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชที่มีพระชันษามากกว่าสมเด็จพระสังฆราชทุกพระองค์ในอดีตและทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์แรกของไทยที่มีพระชันษา 100 ปี

    พระประวัติ ขณะทรงพระเยาว์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มีพระนามเดิมว่า เจริญ คชวัตร ประสูติเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2456 เป็นบุตรคนโตของนายน้อย คชวัตร และนางกิมน้อย คชวัตร ชาวกาญจนบุรี พระองค์มีน้องชาย 2 คน ได้แก่ นายจำเนียร คชวัตร และนายสมุทร คชวัตร บิดาของพระองค์ป่วยเป็นโรคเนื้องอกและเสียชีวิตไปตั้งแต่พระองค์ยังเล็ก หลังจากนั้น พระองค์ได้มาอยู่ในความดูแลของป้าเฮงซึ่งเป็นพี่สาวของนางกิมน้อยที่ได้ขอพระองค์มาเลี้ยงดู

    เมื่อพระชันษาได้ 8 ปี ทรงเข้าเรียนที่โรงเรียนประชาบาล วัดเทวสังฆาราม จนจบชั้นประถม 5 (เทียบเท่าชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2 ในปัจจุบัน) เมื่อ พ.ศ. 2468 ในขณะที่มีพระชันษา 12 ปี หลังจากนั้น ทรงไม่รู้ว่าจะเรียนอะไรต่อและไม่รู้ว่าจะเรียนที่ไหน ทรงเล่าว่า "เมื่อเยาว์วัยมีพระอัธยาศัยค่อนข้างขลาด กลัวต่อคนแปลกหน้า และค่อนข้างจะเป็นคนติดป้าที่อยู่ ใกล้ชิดกันมาแต่ทรงพระเยาว์โดยไม่เคยแยกจากกันเลย" จึงทำให้พระองค์ไม่กล้าตัดสินพระทัยไปเรียนต่อที่อื่น

    บรรพชาและอุปสมบท เมื่อพระองค์ยังทรงพระเยาว์นั้นทรงเจ็บป่วยออดแอดอยู่เสมอ โดยมีอยู่คราวหนึ่งที่ทรงป่วยหนักจนญาติ ๆ ต่างพากันคิดว่าคงไม่รอดแล้วและได้บนไว้ว่า ถ้าหายป่วยจะให้บวชเพื่อแก้บน แต่เมื่อหายป่วยแล้ว พระองค์ก็ยังไม่ได้บวช จนกระทั่งเรียนจบชั้นประถม 5 แล้ว พระองค์จึงได้ทรงบรรพชาเป็นสามเณรเพื่อแก้บนในปี พ.ศ. 2469 ขณะมีพระชันษาได้ 14 ปี ที่วัดเทวสังฆาราม โดยมีพระเทพมงคลรังษี (ดี พุทธฺโชติ) เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆารามเป็นพระอุปัชฌาย์และพระครูนิวิฐสมาจาร (เหรียญ สุวณฺณโชติ) เจ้าอาวาสสวัดศรีอุปลารามเป็นพระอาจารย์ให้สรณะและศีล

    ภายหลังบรรพชาแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดเทวสังฆาราม 1 พรรษาและได้มาศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดเสน่หา จังหวัดนครปฐม หลังจากนั้น พระเทพมงคลรังษี (ดี พุทธฺโชติ) พระอุปัชฌาย์ได้พาพระองค์ไปยังวัดบวรนิเวศวิหาร และนำพระองค์ขึ้นเฝ้าถวายตัวต่อสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร (ต่อมา คือ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์) เพื่ออยู่ศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักวัดบวรนิเวศวิหาร พระงอค์ทรงได้รับประทานนามฉายาจากสมเด็จพระสังฆราชว่า “สุวฑฺฒโน” ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้เจริญดี” จนกระทั่ง พระชันษาครบอุปสมบทจึงทรงเดินทางกลับไปอุปสมบทที่วัดเทวสังฆารามเมื่อ พ.ศ. 2476 ภายหลังจึงได้เดินทางเข้ามาจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร เพื่อทรงศึกษาพระธรรมวินัยและที่วัดบวรนิเวศวิหารนี่เอง พระองค์ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบทซ้ำเป็นธรรมยุติกนิกาย โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นพระอุปัชฌาย์

    การศึกษาพระปริยัติธรรม พระองค์ทรงเริ่มเรียนพระปริยัติธรรมตามคำชักชวนของพระเทพมงคลรังษี (ดี พุทธฺโชติ) พระอุปัชฌาย์ ที่ตั้งใจจะให้พระองค์กลับมาสอนพระปริยัติธรรมที่วัดเทวสังฆารามและจะสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมเตรียมไว้ให้ โดยพระอุปัชฌาย์นำพระองค์ไปฝากไว้กับพระครูสังวรวินัย (อาจ) เจ้าอาวาสวัดเสน่หา เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2470 แล้วจึงเริ่มเรียนภาษาบาลีโดยมีพระเปรียญจากวัดมกุฏกษัตริยารามวรวิหาร กรุงเทพมหานคร เป็นอาจารย์สอน หลังจากนั้น จึงเดินทางมายังกรุงเทพมหานครเพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดบวรนิเวศวิหาร พระองค์ทรงสอบได้นักธรรมชั้นตรีได้เมื่อ พ.ศ. 2472 และทรงสอบได้นักธรรมชั้นโทและเปรียญธรรม 3 ประโยค ในปี พ.ศ. 2473

    พระองค์ทรงตั้งพระทัยอย่างมากในการสอบเปรียญธรรม 4 ประโยค แต่ผลปรากฏว่าทรงสอบตก ทำให้ทรงรู้สึกท้อแท้และคิดว่า "คงจะหมดวาสนาในทางพระศาสนาเสียแล้ว" แต่เมื่อทรงคิดทบทวนและไตร่ตรองดูว่าทำไมจึงสอบตก ก็ทรงตระหนักได้ว่าเหตุแห่งการสอบตกนั้นเกิดจากความประมาทโดยแท้ กล่าวคือ ทรงทำข้อสอบโดยไม่พิจารณาให้รอบคอบด้วยสำคัญผิดว่าตนรู้ดีแล้ว ทั้งยังมุ่งอ่านเฉพาะเนื้อหาที่เก็งว่าจะออกเป็นข้อสอบเท่านั้น ซึ่งพระองค์ทรงพบว่าเป็นวิธีการเรียนที่ไม่ถูกต้องเพราะไม่ทำให้เกิดความรู้อย่างแท้จริง จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้พระองค์สอบตก เมื่อพระองค์ทรงตระหนักได้ดังนี้แล้วจึงทรงเปลี่ยนมาใช้วิธีเรียนแบบสม่ำเสมอและทั่วถึง พระองค์จึงสอบได้ทั้งนักธรรมชั้นเอกและเปรียญธรรม 4 ประโยค ในปี พ.ศ. 2475

    หลังจากนั้น พระองค์ทรงกลับไปสอนพระปริยัติธรรมที่โรงเรียนเทวานุกูล วัดเทวสังฆาราม เพื่อสนองพระคุณพระเทพมงคลรังษีเป็นเวลา 1 พรรษา แล้วจึงทรงกลับมาอยู่วัดบวรนิเวศวิหารเพื่อทรงศึกษาพระปริยัติธรรมต่อไป โดยทรงสอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค โดยในระหว่างที่ทรงอยู่วัดบวรนิเวศวิหารนั้น พระองค์ก็ยังคงกลับไปช่วยสอนพระปริยัติธรรมที่วัดเทวสังฆารามอยู่เสมอ พระองค์ยังทรงศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่ง สอบได้เปรียญธรรม 9 ในปี พ.ศ. 2484

    การปฏิบัติหน้าที่ด้านคณะสงฆ์
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงฉายภาพหมู่ร่วมกับคณะพระภิกษุสงฆ์วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อคราวผนวชหลังจากที่พระองค์สอบได้เปรียญธรรม 9 แล้ว พระองค์ทรงเริ่มงานอันเกี่ยวเนื่องกับคณะสงฆ์อีกมากมาย ซึ่งนอกเหนือจากเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมแล้ว พระองค์ยังเป็นผู้อำนวยการศึกษาสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหารซึ่งมีหน้าที่จัดการศึกษาของภิกษุสามเณรทั้งแผนกธรรมและแผนกบาลี รวมทั้งทรงเป็นสมาชิกสังฆสภาโดยตำแหน่งในฐานะเป็นพระเปรียญ 9 ประโยค ต่อมา เมื่อมีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2488 พระองค์ทรงรับหน้าที่เป็นกรรมการสภาการศึกษาและอาจารย์ของมหาวิทยาลัย รวมทั้ง เป็นพระวินัยธรชั้นอุทธรณ์และรักษาการพระวินัยธรชั้นฎีกาในกาลต่อมา นอกจากนี้ ยังทรงเป็นเลขานุการในสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์อีกด้วย

    เมื่อมีพระชันษาได้ 34 ปี พระองค์ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ชั้นสามัญ ที่ พระโศภนคณาภรณ์ โดยพระองค์ได้รับเลือกจากสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ให้เป็นพระอภิบาลของพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชในระหว่างที่ผนวชเป็นพระภิกษุและเสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อปี พ.ศ. 2499 ต่อมา ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ชั้นธรรม ที่ พระธรรมวราภรณ์ โดยราชทินนามทั้ง 2 ข้างต้นนั้นเป็นราชทินนามที่ตั้งขึ้นใหม่สำหรับพระราชทานแก่พระองค์เป็นรูปแรก

    ในปี พ.ศ. 2504 พระองค์ได้รับตำแหน่งเป็นผู้รักษาการเจ้าคณะธรรมยุตภาคทุกภาคและเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร ในปีเดียวกันนี้เองพระองค์ได้รับการสถาปนาที่ พระสาสนโสภณ พระองค์เข้ารับตำแหน่งกรรมการมหาเถรสมาคมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 และยังคงดำรงตำแหน่งมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้น ยังได้ทรงนิพนธ์ผลงานทางวิชาการ เอกสาร และตำราด้านพุทธศาสนาไว้มากมาย

    สมเด็จพระสังฆราช พ.ศ. 2515 พระองค์ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณสังวร ซึ่งเป็นราชทินนามที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดให้ตั้งขึ้นใหม่สำหรับพระราชทานสถาปนาสมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) พระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2359 ตำแหน่งสมเด็จพระราชาคณะที่สมเด็จพระญาณสังวร จึงเป็นตำแหน่งพิเศษที่โปรดพระราชทานสถาปนาแก่พระเถระผู้ทรงคุณทางวิปัสสนาธุระเท่านั้น

    เมื่อสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน)สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2531 ทำให้ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชจึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในราชทินนามเดิม คือ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ซึ่งราชทินนามดังกล่าวนับเป็นราชทินนามพิเศษ กล่าวคือ สมเด็จพระสังฆราชที่มิได้เป็นพระบรมวงศานุวงศ์นั้น โดยปกติจะใช้ราชทินนามว่า สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ บางพระองค์ ครั้งนี้จึงนับเป็นอืหนึ่งครั้งมีการใช้ราชทินนาม สมเด็จพระญาณสังวร สำหรับสมเด็จพระสังฆราชเพื่อเป็นพระเกียรติคุณทางวิปัสสนาธุระของพระองค์ นับเป็นสมเด็จพระญาณสังวรสังฆราชพระองค์แรกของประเทศไทย
    [​IMG]

    ขอน้อมกราบพระบาทส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย
    ขอโนบน้อมกราบพระบาท อัญชลี วันทา อภิวาท องค์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ข้าพเจ้าพึ่งได้ดูโทรทัศน์รายการเฉพาะกิจ ขอแสดงความอาลัยต่อพระองค์เป็นอย่างยิ่ง ท่านทรงเป็นประมุขแห่งคณะสงฆ์ แห่งราชวงค์รัตนโกสินทร์ ขอให้พระองค์เสด็จสู่สวรรค์คาลัย

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • ...0.jpg
      ...0.jpg
      ขนาดไฟล์:
      89.6 KB
      เปิดดู:
      1,689
    • ฮ12.jpg
      ฮ12.jpg
      ขนาดไฟล์:
      26.1 KB
      เปิดดู:
      1,546
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2013
  19. smurf1

    smurf1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    459
    ค่าพลัง:
    +1,067
    ท่านเกิดบ้านเดียวกับผม...ขอแสดงความเสียใจเป็นอย่างสูง
     
  20. psom

    psom เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    1,903
    ค่าพลัง:
    +8,391
    ถวายความอารัย

    น้อมส่งองค์สมเด็จพระสังฆราช สู่พระนิพพาน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 ตุลาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...