จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. UncleGee

    UncleGee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2012
    โพสต์:
    4,015
    ค่าพลัง:
    +10,241
    อุเบกขา

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    อุเบกขา (ภาษาบาลี: อุเปกขา ภาษาสันสกฤต: อุเปกษา) แปลว่า ความวางเฉย ความวางใจ เป็นกลาง

    อุเบกขา หมายถึง ความวางเฉยแบบวางใจเป็นกลางๆ โดยไม่เอนเอียงเข้าข้างเพราะชอบ เพราะชัง เพราะหลงและเพราะกลัว เช่นไม่เสียใจเมื่อคนที่ตนรักถึงความวิบัติ หรือไม่ดีใจเมื่อศัตรูถึงความวิบัติ มิใช่วางเฉยแบบไม่แยแสหรือไม่รู้ไม่ชี้ ทั้งๆ ที่สามารถช่วยเหลือได้เป็นต้น

    ลักษณะของผู้มีอุเบกขา คือเป็นคนหนักแน่นมีสติอยู่เสมอ ไม่ดีใจไม่เสียใจจนเกินเหตุ เป็นคนยุติธรรม ยึดหลักความเป็นผู้ใหญ่ รักษาความเป็นกลางไว้ได้มั่นคงไม่เอนเอียงเข้าข้าง ปฏิบัติหน้าที่ด้วยเหตุผลถูกต้องคลองธรรม และเป็นผู้วางเฉยได้เมื่อไม่อาจประพฤติเมตตา กรุณา หรือมุทิตาได้

    อุเบกขา 10 ประเภท
    1. ฉฬงฺคุเปกขา อุเบกขาประกอบด้วย องค์ 6 คือ การวางเฉยในอายตนะทั้ง 6
    2. พฺรหฺมวิหารุเปกฺขา อุเบกขาในพรหมวิหาร
    3. โพชฺฌงฺคุเปกฺขา อุเบกขาในโพชฌงค์ คือ อุเบกขาซึ่งอิงวิราคะ อิงวิเวก
    4. วิริยุเปกฺขา อุเบกขาใน วิริยะ คือ ทางสายกลางในการทำความเพียร ไม่หย่อนเกินไป ไม่ตึงเกินไป
    5. สงฺขารุเปกขา อุเบกขาในสังขาร คือการไม่ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5
    6. เวทนูเปกฺขา อุเบกขาในเวทนา ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุข
    7. วิปสฺสนูเปกขา อุเบกขาในวิปัสสนา อันเกิดจากเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    8. ตตฺรมชูฌตฺตุเปกขา อุเบกขาในเจตสิก หรืออุเบกขา ที่ยังธรรมทั้งหลาย ที่เกิดพร้อมกันให้เป็นไปเสมอกัน
    9. ฌานุเปกฺขา อุเบกขาในฌาน
    10. ปาริสุทฺธุเปกฺขา อุเบกขาบริสุทธิ์จากข้าศึก คือมีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา
     
  2. UncleGee

    UncleGee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2012
    โพสต์:
    4,015
    ค่าพลัง:
    +10,241
    พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 457

    ในคำว่า อุเปกฺขโก จ วิหรติ นี้ มีวิเคราะห์ว่า ธรรมที่ชื่อว่า

    อุเบกขา เพราะอรรถว่า ย่อมเห็นโดยความเกิดขึ้น อธิบายว่า ย่อมเห็นเสมอ

    คือเห็นอยู่โดยไม่ตกไปเป็นฝ่ายไหน. พระโยคาวจรผู้พรั่งพร้อมด้วยตติยฌาน

    ตรัสเรียกว่า อุเปกฺขโก (ผู้เข้าไปเพ่ง) เพราะประกอบด้วยอุเบกขาอันบริสุทธิ์

    ไพบูลมีกำลังนั้น.

    http://27.254.41.39/tripitaka91/91book/book75/451_500.htm#464
     
  3. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    ท่านพ่อสอนลูกๆ ทุกๆคน......ว่าคนที่มีความวุ่นวายติโน่นตินี่...ไอ้โน่นไม่ดี...ไอ้นี่เสีย...คนประเภทนี้คือคน...

    ...ที่ไม่รู้จักธรรมดา...พูดภาษาไทยๆ...เขาเรียกว่ากิเลสมันยังเลยหัวอยู่...

    ...ปลดอารมณ์นั้นเสียถ้าจิตของเรายอมรับนับถือกฏของธรรมดา...อะไรมันจะมา...

    ...ก็ให้ถือว่าเป็นเรื่องของมันอย่างนั้นไม่ต้องไปติ...สิ่งที่แก้ไขไม่ได้อย่าไปแก้มัน...

    ...อย่าไปแก้ที่วัตถุ...อย่าไปแก้ที่บุคคล...ให้มาแก้ที่ใจเรา...ทุกสิ่งทุกอย่างมันเป็น...

    ...ธรรมดาทำไมเราจึงต้องเดือดร้อนทำไมเราจึงต้องดิ้นรน...อย่าเป็นคนช่างติ...

    ...ถ้าจะติให้ติตัวเราเอง...ตามที่พระพุทธเจ้ากล่าวว่าอัตตนา โจทยัตตานัง...

    ...จงกล่าวโทษโจทความชั่วของตัวเองไว้เป็นปกติ...

    ...พระธรรมคำสอนของท่านพ่อฤาษีลิงดำ พระราชพรหมยาน...

    ...คัดมาจากเทปคำสอนนวสี ๙ ในมหาสติปัฏสูตร...

    ...ลูกขอน้อมกราบท่านพ่อด้วยเศียรเกล้าเจ้าค่ะ.กราบๆๆๆ...
     
  4. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    สาธุค่ะ ขออนุโมทนากับครูดาวที่ได้นำธรรมะของหลวงปู่ทวดมาเป็น

    ธรรมทาน. ถ้าเราอยู่เหนือทุกๆอย่างได้ ความสำเร็จของเราผู้ปฏิบัติดีและ

    ปฏิบัติชอบก็จะพบแต่ความสว่าง และจะไม่มีมารมาปิดกั้นขออนุโมทนาค่ะ

    และขอให้มีดวงตาเห็นธรรมยิ่งๆขึ้นไป.สาธุค่ะ สาธุ สาธุ.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มีนาคม 2013
  5. NOKMAM

    NOKMAM เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    300
    ค่าพลัง:
    +6,157
    [​IMG]
     
  6. NOKMAM

    NOKMAM เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    300
    ค่าพลัง:
    +6,157
    [​IMG]
     
  7. NOKMAM

    NOKMAM เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    300
    ค่าพลัง:
    +6,157
    [​IMG]
     
  8. NOKMAM

    NOKMAM เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    300
    ค่าพลัง:
    +6,157
    [​IMG]
     
  9. NOKMAM

    NOKMAM เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    300
    ค่าพลัง:
    +6,157
    [​IMG]
     
  10. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    มีคนสงสัย
    มีคนถามกันมาก
    มีคนเคยได้ยิน ได้ฟังจากผู้รู้ จากพระอริยสงฆ์
    พูดหลอกกันเล่นหรือปล่าว
    หลอกเราปฎิบัติธรรมหรือทำความดีหรือปล่าว
    ที่เขาบอกต่อๆกันมา

    บอกว่า..เมื่อภัยพิบัติธรรมชาติเกิดขึ้น
    เห็นมีแต่คนส่วนใหญ่ที่รอดชีวิตกัน ได้แก่ ผู้ที่มีศีลครบและมีธรรมอยู่ในจิตใจ
    นอกนั้น ส่วนใหญ่จะไม่รอด แต่อาจจะรอดบ้าง คือรอดแต่กาย จิตใจอาจจะไม่รอด
    คือจิตใจย่ำแย่ เป็นบ้า สติฟั่นเฟือน สาเหตุหลักมาจาก ทำใจไม่ได้ หรือ
    ยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้นกับตนไม่ได้ เพราะยามปกติไม่ฝึกสติ ไม่ได้ฝึกจิตกัน
    เรา(จิต)ก็เลยไม่รู้ความจริงแห่งโลกวัฎฎะ ว่าโลกนี้ แท้ที่จริงแล้วมันต้องเป็นยังไง
    เพราะโลกนี้ ล้วนมีแต่ความเปลี่ยนแปลงแทบทั้งสิ้น ไม่พ้นคำว่า ไตรลักษณ์
    คืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    สำหรับผู้ที่เข้าใจโลก คือคนเข้าใจธรรมะ เข้าถึงธรรมะ คือ จะมองเห็นสรรพสิ่งสมมุติทั้งปวง
    ก็แค่เกิด-ดับ เป็นธรรมดา แค่นั้นเอง นอกนั้น ไม่มี
    เพราะฉะนั้น จึงอย่าไปสงสัยว่า..ทำไมพวกเขาเหล่านั้น ไม่ค่อยเป็นทุกข์กัน

    เพราะฉะนั้น การปฎิบัติ การเจริญสติภาวนา หรือการทำสมาธิเพื่อให้จิตนิ่งนั้น
    จึงมีประโยชน์ทั้งโลกปัจจุบันนี้ และโลกหน้า คือโลกหลังความตาย
    อย่าลืมนะว่า โลกปัจจุบันของพวกเธอ หรือที่ที่เรากำลังหายใจเข้าและออกกันอยู่นี้
    มันเทียบกันไม่ได้เลย กับเวลาที่เราไม่ได้หายใจ เพราะโลกหลังความตายมันแสนนาน

    ทำเถ๊อะๆ รีบเร่งกระทำความดีกันตั้งแต่ลมหายใจนี้ วินาทีนี้
    อย่าทำดีคู่กับความเลว
    แต่ให้กระทำความดีตามที่พระพุทธองค์ คือละชั่วทั้งหมดและทำความดีอย่างเดียว
    สำหรับคนที่มักพูดว่า เราทำดีแล้ว ทำบุญก็มาก แต่ทำไม ชีวิตยังไม่ดีขึ้นเลย
    ขอตอบว่า เรากระำทำความดีตามใจเรา หรือว่า กระทำความดีตามพระพุทธองค์
    (ขอให้เราตอบตนเอง)

    ครั้งยังมีลมหายใจ คนส่วนใหญ่มักไม่ให้ความสำคัญกับจิตตนเอง
    แต่อาจจะเห็นเฉพาะ ในขณะที่เป็นทุกข์ หรือรู้สึกทุกข์ เท่านั้นเอง

    เพราะฉะนั้น อย่าเพิ่งไปเชื่อมั่นตนเองมากนัก ตราบใดเรายังมีขันธ์๕ หรือ
    ยังมีลมหายใจ ให้รีบเร่งปฎิบัติธรรม เพื่อค้นหาความจริง ค้นหาคำตอบตนเอง
    อย่าเอาแต่สงสัย อย่าเอาแต่ขัดแย้ง ทะเลาะเบาะแว้ง หรือเห็นต่างกันอยู่เลย
    เพราะมันเสียเวลาปฎิบัติ เสียมรรคผลตนเอง ผู้ที่ฉลาด ผู้ที่เจริญแล้ว
    ย่อมไม่พากันประมาท แต่พวกเขากลับทำสิ่งตรงกันข้าม

    เพราะฉะนั้น ปัญญาญาณหรือญาณ จึงมีความหมายลึกซึ้งเกินกว่า คำว่า เหตุผล
    โดยเฉพาะ เหตุผลของมนุษย์ มักจะหาที่สิ้นสุด มิได้ หรือ infinity(∞)
    แต่เหตุผลทางธรรมนั้น ไม่มี หรือว่ามี แต่ไม่ยืดยื้อ คือมีวันจบสิ้น นั่นเอง
    เพราะจิตผู้ที่มีธรรมย่อมเข้าถึงธรรม ย่อมอยู่กับกาย กับใจตนเองเพียงผู้เดียว
    คือสงบภายในกายใจตนเองเท่านั้น ไม่ชอบเบียดเบียน ชอบปลีกวิเวก รักสันโดษ
    สังคมแบบนี้ จึงจะอยู่ได้อย่างสงบสุข

    แต่สังคมที่มีจิตใจยังไม่นิ่ง ไม่เป็นสมาธิจิต ไม่เจริญสติหรือฝึกจิต
    ย่อมหาความสงบสุข มิได้เลย
     
  11. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    พุทธศานาจะอยู่ครบ ๕๐๐๐ ปีได้
    ก็เพราะ พุทธบริษัททั้ง๔ ได้แก่ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา

    แต่ถ้าพุทธบริษัททั้ง๔ เหล่า เมื่อบรรลุธรรมแล้ว ก็หนีหาย เหมือนตายจากกันไป
    เอาแต่พากันเข้าอุเบกขา หรือเสพสุข เสพวิมุตติสุข เสพนิพพานกันตามลำพัง
    โดยไม่ช่วยนำพากัน รักษาศีล ทำภาวนา
    ไม่ช่วยกันออกมาเผยแผ่พระธรรม หรือคำสั่งสอนของพระพุทธองค์
    แล้วพระธรรมหรือคำสั่งสอนจะอยู่ครบ ๕๐๐๐ ปีกันไหม๊

    อย่าเอาพระธรรมหรือคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ เอาไว้แต่ภายนอกจิตใจ
    เพราะพระพุทธองค์ ท่านทรงต้องการให้พระธรรมหรือคำสั่งสอนนั้น
    อยู่ภายในจิตใจของพวกเราทุกๆคน


    อย่าพากันท่อง หรือจดจำเอาแต่ พุทธวจนะ พระไตรปิฎก พระธรรมขันธ์
    การจะเข้าใจธรรมะ หรือจะเข้าถึงธรรมะนั้น
    เราจะต้องพากันเข้าให้ถึงธรรมปฎิบัติ มากกว่าการเข้าถึงกันแค่อามิสบูชา
    โดยการนำพากันปฎิบัติให้มากๆ นั่นเอง

    หน้าที่พุทธบริษัทที่ดี ก็ควร..
    ๑. ศึกษาหลักธรรมให้เข้าใจก่อน
    ๒. แล้วค่อยนำไปปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ตนก่อน
    ๓. เผยแพร่พระธรรมหรือคำสั่งสอนของพระพุทธองค์
    และนำพากันปฏิบัติ เพื่อประโยชน์คนอื่น
    ๔. กล้าที่จะปกป้องพระพุทธศานา ผู้ที่สอนคลาดเคลื่อน กล่าวล่วงเกินพระธรรมวินัย
    หรือปรามาสพระรัตนตรัย โดยมิได้คำนึงถึงตนเองจะเสียหายหรือไม่
    เพราะผู้ปฎิบัติท่านนั้น เข้าถึงความเป็นอนัตตา

    ขอให้ผู้เจริญทั้งหลาย จงตื่นออกมาจากคราบมนุษย์ของตนเสีย
    เพราะมีลมหายใจไม่นานนัก เดี๋ยวก็จะตายจากโลกนี้กันไปแล้ว
    แต่ถ้าผู้ใด รู้ตัวว่าตนเองเป็นพุทธภูมิ พุทธบุตร สาวกภูมิ
    ก็ให้พร้อมทำหน้าที่กันไป ตามแต่กำลังใจของท่านด้วยเถิด
     
  12. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    พระบรมราโชวาท.........พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพ่อหลวงของชาวไทย

    ระมัดระวังทุกการทำ...พูด คิด สุขกาย สบายจิตแน่นอน...

    "...ขอให้พิจารณาให้ดีว่า...ถ้าเรามีความระวังอยู่เสมอ...ในการทำอะไรด้วยกาย...

    ...ด้วยการพูดอะไรด้วยวาจา และแม้แต่คิดด้วยใจ ให้สำรวมกายวาจาใจให้ดี...

    ...และปฏิบัติต่อไปในทางที่เจริญ...ในทางที่เกื้อกูลต่อผู้อื่นก็เป็นประกันว่า...

    ...อนาคตของท่านจะรุ่งเรืองขึ้น ในทางกาย ทั้งในใจ โดยเฉพาะทางใจ...

    ...นี่ก็จะรุ่งเรือง เพราะว่าจิตใจก็จะผ่องใส...มีความสบายแน่นอน..."

    ...พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช...

    ...พระองค์ท่านได้พระราชทานไว้เมื่อวันที่ ๑๓ กรกฏาคม ๒๕๒๕.

    ...ลูกขอน้อมรับคำสั่งสอนของพระองค์ท่านเจ้าค่ะ...

    ...ขอให้พระองค์ท่าน ทรงพระเจริญ ทรงพระเจริญ ทรงพระเจริญ...

    ...ขอกราบแทบเท้าพระองค์ท่านด้วยความเคารพยิ่งกราบเจ้าค่ะ.
     
  13. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    อย่าไปหาเหตุผลให้กับตน
    อย่าไปโหยหาความยุติธรรมที่ใด
    เพราะมันไม่มีอยู่ในโลกใบนี้

    แต่ถ้าจะหาเหตุผล หาความยุติธรรม หาคำตอบให้คลายความสงสัยตน
    พยายามอยู่กับกาย กับใจตนเอง นี่แหล่ะดี คอยหมั่นรักษาศีล ทำภาวนา
    ปฎิบัติเพื่อการหลุดพ้น เราจึงจะพ้นทุกข์ พ้นเวียนว่ายตายเกิด
     
  14. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    กระแสจิต คือพลังงานไฟฟ้าชนิดหนึ่ง
    ที่พยายามหล่อเลี้ยงกายใจให้อยู่คงสภาพ(ชั่วคราว) เท่านั้น
    เมื่อกายตาย แค่กายดับสูญสิ้นมลาย แต่จิตมิได้ตายตาม
    จิตไม่มีคำว่าสูญ จิตเป็นสุญญตา จิตเป็นอมตะ เพราะมีแสงตนเอง

    เพราะฉะนั้น คนตาย ก็แค่เคลื่อนย้ายภพภูมิของดวงจิต เท่านั้นเอง
    อย่าไปตกใจ หรือเสียใจกันให้มันเมื่อย
    แต่ควรน่าจะตกใจ เสียใจกันมากกว่า ก็คือ ตอนที่ยังมีชีวิตกัน ไม่ยอมฝึกสติ ฝึกจิตกัน
    อันนี้น่าเสีย น่าตกใจ และน่าเสียดายจริงๆ

    ผู้ปฎิบัติธรรม ถือเป็นผู้ที่เข้าเขตของผู้เจริญ
    ผู้ปฎิบัติธรรม ถือว่าเป็นผู้ที่มีพลังงานบวก

    เพราะฉะนั้น ผู้ที่มีพลังงานบวก จึงมักพากันรักษาศีล ทำภาวนา
    นำพากันทำแต่บุญหรือกุศล ความสุข ความสบายใจ
    ไม่นำพากันไปที่ไม่ใช่บุญหรือกุศล หรือไปทำเรื่องยุ่งหรือวุ่นวายใจ
    แต่ก็ต้องไปตามจริตแห่งตนด้วย

    สำหรับผู้ที่มีพลังงานลบ ก็จะพากันไปทำแต่สิ่งที่ไม่ดี
    ตัวอย่างเช่น คนที่ผิดศีลข้อที่๕ คือชอบดื่มสุราหรือของมึนเมา
    ก็มักจะพากันไปทำผิดศีลข้ออื่นๆได้ง่าย ได้แก่ ฆ่าคน ทำร้ายกัน
    ปล้นทรัพย์ ลักทรัพย์ ผิดลูกผิดเมียชาวบ้าน มักใช้คำพูดวาจาไม่สำรวม
    เป็นต้น

    สรุปแล้ว ทั้งผู้ที่มีพลังงานบวกและลบนั้น ต่างก็ยังหนีไม่พ้น คำว่า นรก
    โดยเฉพาะ ผู้ที่ไม่สำรวมจิต ตราบใดยังมีขันธ์๕ ประมาทมิได้
    ฝึกสติ ก็คือ การฝึกจิตให้รอดก่อน ส่วนกายไม่ต้องเป็นห่วง เพราะไม่รอดอยู่แล้ว
    เพราะร่างกายนี้ เป็นสมบัติของโลก เป็นที่อยู่ของจิตชั่วคราว เท่านั้นเอง
     
  15. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    สมเด็จองค์ปฐม
    ทรงสอนไว้เสมอว่า..

    ให้เรารู้สภาวะที่แท้จริงของร่างกายในปัจจุบัน หรือ อริยสัจจ์
    เป็นตัวทุกข์ ทุกคนต้องยอมรับ
    ไม่ฝืนสภาพของร่างกาย ไม่ฝืนกฎธรรมดา คือสังขารุเบกขาญาณ

    โดยเฉพาะ คำว่า..
    "ร่างกายนี้มิใช่เรา มิใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา"

    ถึงร่างกายจะเหนื่อยมากแค่ไหน ควรยิ่งซ้อมตาย คือทิ้งกายให้มากเท่านั้น
    และให้จิตไปเกาะพระนิพพานให้ได้ ส่วนภาพจะชัดหรือไม่ ไม่สำคัญ
    ขอให้เราปักอารมณ์พระนิพพาน ให้ได้ก็แล้วกัน
    อย่าไปสนใจอารมณ์ปฎิฆะ ชอบบ่น ท้อแท้ ทรมานกาย ใจ
    ทำจิตให้เฉยเป็นอุเบกขา แยกกาย แยกจิตให้ชัดเจน ให้เด็ดขาด
    นั่งมองจิตตนให้ออก ว่า..อันไหนเป็นจิตเดิมแท้ อันไหนเป็นตัวเจตสิก(อารมณ์จิต)
    แต่ถ้ารู้ว่า เป็นอารมณ์จิตหรือความคิด ก็ให้ละเสียเดี๋ยวนั้น
    เราจะได้ไม่ไปหลงตามดู ตามคิด เพราะมันจะปรุงแต่งต่อไป
    และตามมาด้วยความฟุ้งซ่าน และที่สุดก็ไม่พ้น คำว่า "ทุกขเวทนา"

    เฉพาะฉะนั้น ผู้ที่อยากไปพระนิพพาน ให้ละขันธ์๕ให้เด็ดขาดเสียก่อน
    เมื่อละได้เด็ดขาดแล้ว อย่าหยุดแค่นั้น
    เพื่อความไม่ประมาท ให้เจริญอริยมรรคไปจนกว่าเราจะดับขันธ์

     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 20 มีนาคม 2013
  16. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    อนาคตประเทศไทย ​
    จะอยู่ไม่ได้
    มิใช่ เพราะภัยพิบัติธรรมชาติใดๆ
    แต่จะวิบัติ เพราะว่าคนไทย ไม่พากันรักษาศีล ทำภาวนา

    ทุกวันนี้ ทุกคนต้องยอมรับสภาพ ยอมรับความจริง ก็คือ
    ยอมรับกรรมที่คนส่วนใหญ่ทั้งประเทศเขาทำกันไว้
    เพราะคนไทยส่วนใหญ่เป็นพุทธแต่ทะเบียนบ้าน แต่ใจหาใช่พุทธไม่
    เมื่อคนส่วนใหญ่เก่งๆกันทั้งนั้น ความรู้ดีกันทั้งนั้น มีศีลคือมีสติ
    แต่ไม่รักษาศีลตนจริงจัง ก็เลยเบียดเบียน เบียดบัง ฉ้อราษฎ์บังหลวงกันมาก
    อย่าไปถามคนไทยด้วยกัน ไปถามคนไทยในต่างแดน คนต่างชาติ เขารู้หมดกันหมดแล้ว
    โดยเฉพาะ ประเทศไทย ติดอันดับคอรัปชั่น ที่เท่าไหร่ของเอเชีย ของโลก
    ผู้ใหญ่ในประเทศรู้ไหม๊ (รู้มั้ง) แต่ทำเฉย ไม่รู้ไม่ชี้
    แต่คนดีๆ เขาเอาแต่เข้าถ้ำ ปลีกวิเวก ถือศีล รักษาจิตตน อุเบกขา
    จะบอกให้นะ ต่อไปถ้าประเทศร้อนเป็นไฟ ดูสิว่า วัด สถานที่ปฎิบัติ จะอยู่กันได้ไหม
    ทำไม โดยเฉพาะคนดี ก็มีมากเช่นเดียวกัน แต่ไม่ยอมออกมาปกป้องสถาบันพุทธศาสนา
    เมื่อพวกเราปกป้องพระพุทธศาสนาได้แล้ว อย่างอื่นไม่ยากแล้ว

    รากเหง้าที่แท้จริงของ...ทุกความทุกข์ ทุกปัญหานั้น
    ล้วนเกิดมาจากจิตมนุษย์ทั้งนั้น
    เพราะว่าจิตของคนเรา เกือบจะครึ่งค่อนประเทศ มันยังไม่นิ่ง
    แถมไม่พากันรักษาศีล ไม่พากันทำภาวนา

    ทั้งๆที่คนเราสามารถกำหนดทิศทางกรรมตนได้ แต่เฉพาะกรรมในอนาคต
    โดยละชั่วทั้งหมด และทำแต่กรรมดีเท่านั้น
    แต่กรรมในอดีต วางเป็นอุเบกขาไป ยอมรับไปตามกฎแห่งกรรมเขาไป
    ตอนนี้ทำให้ดีที่สุด ก็คือ ทำบุญหนีกรรม โดยเฉพาะกรรมไม่ดีที่จะส่งผลปัจจุบัน

    จากคนประเทศไทยคนหนึ่งในต่างแดน รักชาติ รักศาสนาพุทธ รักพระมหากษัตริย์
    แต่ไม่ได้ยึดติด เพราะมิได้เป็นทุกข์ หรือร้อนรนอะไร
    กลับมีแต่ความเมตตากับจิตผู้ที่บริสุทธิ์ ที่ต้องมาเดือดร้อน มารับกรรม

    แต่จะให้รอดพ้นจากทุกข์กันจริงๆ พวกเราต้องพากันรักษาศีลและภาวนากันให้มาก
    เป็นการสร้างพลังบวกให้กับประเทศไทยด้วย

    *ขออภัย! โปรดอโหสิกรรม*
    ผู้เขียนมิได้มีเจตนาพูดเรื่องทางโลก หรือล่วงเกินกรรมผู้ใด
    มีแต่ความปรารถนาดีกับประเทศไทย โดยเฉพาะคนไทย

     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 20 มีนาคม 2013
  17. UncleGee

    UncleGee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2012
    โพสต์:
    4,015
    ค่าพลัง:
    +10,241
    ว่าด้วยอุเบกขา ๑๐ อย่าง



    ก็อุเบกขามี ๑๐ อย่าง คือ

    ฉฬังคูเบกขา (อุเบกขาของพระขีณาสพคือตัตรมัชฌัตตตา)

    พรหมวิหารูเบกขา (อุเบกขาในพรหมวิหารคือตัตรมัชฌัตตตา)

    โพชฌังคูเบกขา (อุเบกขาในสัมโพชฌงค์คือตัตรมัชฌัตตตา)

    วิริยูเบกขา (อุเบกขาคือความเพียร)

    สังขารูเบกขา (อุเบกขาในฌานและวิปัสสนาคือปัญญา)

    เวทนูเบกขา (อุเบกขาเวทนา)

    วิปัสสนูเบกขา (อุเบกขาในวิปัสสนาคือปัญญา)

    ตัตรมัชฌัตตูเบกขา (ตัตรมัชฌัตตเจตสิก)

    ฌานูเบกขา (อุเบกขาในฌานคือตัตรมัชฌัตตตา)

    ปาริสุทธิอุเบกขา (อุเบกขาทำสติให้บริสุทธิ์คือตัตรมัชฌัตตตา).

    บรรดาอุเบกขา ๑๐ เหล่านั้น อุเบกขาใดเป็นธรรมบริสุทธิ์เป็นปกติ

    ในคลองแห่งอารมณ์ ๖ ที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนาในทวาร ๖ ของพระ-

    ขีณาสพเป็นอาการมีอยู่ที่มาในพระบาลีอย่างนี้ว่า ภิกษุผู้เป็นขีณาสพในธรรม

    วินัยนี้เห็นรูป ด้วยจักษุแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีสติ มีความรู้สึกตัว วางเฉย

    อยู่เทียว ย่อมอยู่ ดังนี้ อุเบกขานี้ ชื่อว่า ฉฬวคูเบกขา.

    http://27.254.41.39/tripitaka91/91book/book75/451_500.htm#464
     
  18. UncleGee

    UncleGee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2012
    โพสต์:
    4,015
    ค่าพลัง:
    +10,241
    พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 458

    ก็อุเบกขาใดมีอาการเป็นกลางในสัตว์ทั้งหลาย มีมาในพระบาลีอย่างนี้

    ว่า ภิกษุมีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปสู่ทิศหนึ่งอยู่ ดังนี้ อุเบกขานี้ชื่อว่า

    อุเบกขาในพรหมวิหาร.

    อุเบกขาใดมีความเป็นกลางในสหชาตธรรมทั้งหลาย ที่มาในพระบาลี

    ว่า ภิกษุเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อาศัยวิเวก ดังนี้ อุเบกขานี้ ชื่อว่า อุเบกขา-

    สัมโพชฌงค์.

    อุเบกขาใด กล่าวคือความเพียรที่ไม่หย่อนไม่ยิ่งของความเพียรเกินไป

    มาในพระบาลีอย่างนี้ว่า ภิกษุมนสิการนิมิตอุเบกขาตลอดกาล ดังนี้ อุเบกขา-

    นี้ ชื่อว่า วิริยูเบกขา.

    อุเบกขาใดมีอาการเป็นกลาง มีการกำหนดพิจารณานีวรณ์เป็นต้น

    มีมาในพระบาลีอย่างนี้ว่า สังขารูเบกขาเท่าไร ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมาธิ

    สังขารูเบกขาเท่าไร ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา สังขารูเบกขา ๘ อย่าง

    ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมาธิ สังขารูเบกขา ๑๐ อย่าง ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจ

    วิปัสสนา ดังนี้ อุเบกขารนี้ ชื่อว่า สังขารูเบกขา.

    อุเบกขาใดที่หมายรู้ในความไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุข ที่มาในพระบาลี

    อย่างนี้ว่า กามาวจรกุศลจิต ย่อมเกิดขึ้นในสมัยนั้น ดังนี้ อุเบกขานี้ชื่อว่า

    เวทนูเบกขา.

    อุเบกขาใดมีความเป็นกลางในการค้นหาพิจารณา ที่มาในพระบาลี

    อย่างนี้ว่า สิ่งใดมีอยู่เป็นแล้ว ย่อมละสิ่งนั้นเสีย ภิกษุย่อมได้เฉพาะซึ่งอุเบกขา

    ดังนี้ อุเบกขานี้ชื่อว่า วิปัสสนูเบกขา.

    อุเบกขาใดยังสหชาตธรรมให้เป็นไปสม่ำเสมอ ที่มาในเยวาปนกธรรม

    ทั้งหลายมีฉันทะเป็นต้น อุเบกขานี้ชื่อว่า ตัตรมัชฌัตตูเบกขา.

    http://27.254.41.39/tripitaka91/91book/book75/451_500.htm#464
     
  19. UncleGee

    UncleGee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2012
    โพสต์:
    4,015
    ค่าพลัง:
    +10,241
    พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 459

    อุเบกขาใดเป็นชาติตกไปในความสุขแห่งฌานนั้น แม้เป็นสุขอันเลิศ

    ที่มาในพระบาลีอย่างนี้ว่า เป็นผู้เพ่งอยู่ดังนี้ ชื่อว่า ฌานูเบกขา.

    อุเบกขาใดบริสุทธิ์จากปัจจนิกธรรมทั้งปวง ไม่ต้องขวนขวายแม้ใน

    การสงบปัจจนิกธรรม ที่มีมาในพระบาลีอย่างนี้ว่า ฌานที่ ๔ มีสติบริสุทธิ์

    เพราะอุเบกขา ดังนี้ อุเบกขานี้ชื่อว่า ปาริสุทธิอุเบกขา.

    บรรดาอุเบกขาทั้ง ๑๐ เหล่านั้น ฉฬังคูเบกขา พรหมวิหารูเบกขา

    โพชฌังคูเบกขา ตัตรมัชฌัตตูเบกขา ฌานูเบกขา ปาริสุทธิอุเบกขา โดย

    อรรถเป็นอย่างเดียวกัน คือเป็นตัตรมัชฌัตตเบกขา. แต่ว่าความแตกต่างกัน

    แห่งอุเบกขาตามที่กล่าวมานั้น เพราะแยกประเภทนั้น ๆ ไว้ ดุจความแตกต่าง

    กันแห่งคนแม้คนเดียว คือโดยเป็นเด็ก เป็นหนุ่ม เป็นผู้ใหญ่ เป็นเสนาบดี

    และเป็นพระราชาเป็นต้น เพราะฉะนั้น บรรดาฉฬังคูเบกขาเป็นต้นเหล่านั้น

    ในที่ใดไม่มีฉฬังคูเบกขา พึงทราบว่าในที่นั้นมีโพชฌังคูเบกขาเป็นต้น หรือว่า

    ในที่ใดไม่มีโพชฌังคูเบกขา พึงทราบว่า ในที่นั้นมีฉฬังคูเบกขาเป็นต้น.

    อนึ่ง อุเบกขา ๖ เหล่านั้น ว่าโดยอรรถมีภาวะเป็นอันเดียวกัน ฉันใด

    แม้สังขารูเบกขาและวิปัสสนูเบกขาก็เป็นภาวะอันเดียวกัน ฉันนั้น. ก็สังขาร-

    เบกขาและวิปัสสนูเบกขานั้นคือปัญญานั่นเอง แตกแยกเป็น ๒ ด้วยสามารถ

    แห่งกิจ. เหมือนอย่างว่า เมื่อบุรุษถือไม้มีสัณฐานเหมือนเท้าแพะแสวงหางู

    ซึ่งเข้าไปสู่บ้านในเวลาเย็น เห็นงูนั้นนอนในที่หลบซ่อนในกองสิ่งของก็มองดู

    อยู่ด้วยสงสัยว่า ใช่งูหรือไม่หนอ เห็นเครื่องหมายดอกจันทน์ก็หมดความสงสัย

    จึงเป็นผู้วางเฉยในการที่จะวินิจฉัยว่าเป็นงูหรือมิใช่ ฉันใด เมื่อพระโยคาวจร

    ผู้ปรารภวิปัสสนาเห็นไตรลักษณ์ด้วยวิปัสสนาญาณแล้ว ความเป็นผู้วางเฉย

    ในการที่จะพิจารณาสังขารทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้นย่อมเกิดขึ้น ฉันนั้น

    ความเป็นผู้วางเฉย (มัชฌัตตตา) นี้ ชื่อว่า วิปัสสนาอุเบกขา.

    http://27.254.41.39/tripitaka91/91book/book75/451_500.htm#464
     
  20. UncleGee

    UncleGee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2012
    โพสต์:
    4,015
    ค่าพลัง:
    +10,241
    พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 460

    เหมือนอย่างว่า เมื่อบุรุษนั้นเอาไม้มีสัณฐานเหมือนเท้าแพะกดคองู

    แล้วแสวงหาอาการที่จะปลอดภัยว่า โดยวิธีใด เราจะจับงูนี้ไม่ลำบาก และ

    โดยอุบายอย่างไร เราจึงจะไม่ให้งูกัดเราได้ ดังนี้ การวางเฉย (มัชฌัตตตา)

    ในการจับจึงมี ฉันใด เมื่อพระโยคาวจรเห็นภพทั้ง ๓ ดุจไฟติดทั่วแล้ว เพราะ

    เห็นไตรลักษณ์ ก็มีความวางเฉย (มัชฌัตตตา) ในการยึดถือสังขารฉันนั้น

    เหมือนกัน มัชฌัตตตานี้ ชื่อว่า สังขารูเบกขา. ด้วยประการตามที่กล่าว

    มานี้ แม้สังขารูเบกขาจะสำเร็จได้ก็เพราะวิปัสสนูเบกขาสำเร็จแล้วโดยแท้. ก็

    อุเบกขา (คือปัญญา) นี้แยกออกเป็น ๒ อย่างโดยกิจนี้ กล่าวคือการวางเฉย

    ในการพิจารณา และในการยึดถือ ดังนี้. ส่วนวิริยูเบกขา และเวทนูเบกขา

    โดยอรรถต่างกัน และต่างจากอุเบกขาที่เหลือด้วย.

    บรรดาอุเบกขาเหล่านั้น ตามที่กล่าวมาในที่นี้ ท่านประสงค์เอาฌานู-

    เบกขา. ฌานูเบกขานั้นมีความวางตนเป็นกลางเป็นลักษณะ มีความไม่คำนึง

    ถึงเป็นรส มีการไม่ขวนขวายเป็นปัจจุปัฏฐาน มีความคลายปีติเป็นปทัฏฐาน.

    ในอธิการแห่งฌานที่ ๓ นี้ หากมีผู้ค้านว่า ฌานูเบกขานี้โดยอรรถ

    ก็เป็นตัตรมัชฌัตตตูเบกขามิใช่หรือ และตัตรมัชฌัตตตูเบกขานั้น ก็มีอยู่ใน

    ปฐมฌานและทุติยฌาน เพราะเหตุนั้น แม้ในปฐมฌานและทุติยฌานนั้น

    ฌานูเบกขานี้ก็ควรกล่าวว่า อุเปกฺขโก จ วิหรติ (ผู้เพ่งอยู่) ดังนี้ เพราะ

    เหตุไร จึงไม่ตรัสฌานูเบกขาไว้. ตอบว่า เพราะปฐมฌานและทุติยฌานนี้

    มีกิจยังไม่แจ่มแจ้ง. จริงอยู่ กิจคือความแจ่มแจ้งในปฐมฌานและทุติยฌานนั้น

    ไม่มี เพราะถูกธรรมอันเป็นข้าศึกทั้งหลายมีวิตกเป็นต้นครอบงำแล้ว แต่ใน

    ตติยฌานนี้ ไม่มีข้าศึกคือวิตกวิจารและปีติครอบงำแล้ว เป็นดุจยกศีรษะขึ้น

    ได้แล้ว มีกิจอันแจ่มแจ้งแล้ว เพราะฉะนั้น จึงกล่าวฌานูเบกขาไว้ในตติยฌาน

    นี้แล.

    http://27.254.41.39/tripitaka91/91book/book75/451_500.htm#464
     

แชร์หน้านี้

Loading...