จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. Patcharawan

    Patcharawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    187
    ค่าพลัง:
    +3,980
  2. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    วิชาจับจิต คือวิชาของพระพุทธเจ้าเพราะจิตเป็นสิ่งลี้ลับไม่มีอะไรมาตามจิตได้นอกจากอุบายของการภาวนาคือ"หลักธรรมของพระพุทธเจ้า"เพราะไม่มีอะไรจะทําให้จิตเสียใจดีใจ...เพราะการปฏิบัติธรรมก็เพื่อการตัดภพตัดชาติ จะต้องเป็นไปด้วยความเพียรถ้าไม่ได้ประจักษ์บนหัวใจของนักภาวนาแล้วจะไม่รู้ไม่เห็นตัว"กิเลส"ที่มายุแย่ก่อกวนเราที่เป็นตัวฉลาดแหลมคมมาก ก็มีแต่การภาวนาเท่านั้น เพราะถ้าจิตคิดผิดก็แสดงโทษขึ้นมา ถ้าจิตคิดถูกก็จะแสดงคุณขึ้นมาก็อาศัยกายวาจาใจเป็นเวทีที่แสดง...ผลก็จะสะท้อนไปสู่ใจแล้วก็แสดงทุกข์ขึ้นมา ถ้าผู้ปฏิบัติไม่เห็นใจเป็นของสําคัญจะไม่เห็นภัย เพราะธรรมเจริญอยู่ภายในใจ...เพราะใจถ้าเป็นฝ่ายดีก็จะส่งเสริมให้ดี ถ้าเป็นฝ่ายชั่วก็จะแสดงออกมาก็จะรีบแก้ไขให้ดีงามขึ้น เพราะทางโลกและทางธรรมนั้นก็มีสาเหตุแห่งที่มาของความสุขความเจริญ เพราะใจเป็นศูนย์กลางอย่างยิ่งที่ควรบํารุง...เพราะคนเราที่เป็นทุกข์นั้นขึ้นอยู่กับใจเป็นสําคัญ เพราะใจที่ตื่นเต็นจนเกินไปนั้น คือ"จิตลืมตัว"เพราะมัวเมาไปกับกิเลสนั้น...ก็จะมีแต่ทุกข์เท่านั้น...จึงต้องรีบแก้ไขลงที่ใจเท่านั้นและใจที่ถูกแก้ไขโดยธรรมแล้วก็จะเป็นใจที่บริสุทธิ์เพราะมีธรรมเป็นเครื่องรักษานั้นเอง...
    ทีมาจากเทปธรรมะขององค์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
    ลูกขอน้อมกราบองค์หลวงตาด้วยเศียรเกล้าค่ะ
     
  3. Pugsley

    Pugsley เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    282
    ค่าพลัง:
    +4,825
    ความลับของมนุษย์!

    ขอฝากคลิปนี้ไว้ให้สำหรับท่านผู้ที่กำลังตกอยู่ในความทุกข์ ผิดหวัง เศร้าโศรก เสียใจ รวมถึงนักปฏิบัติมือใหม่ ที่เข้ามาอ่านธรรมะในกระทู้แล้วไม่เข้าใจ (เขาเขียนอะไรกันไม่เห็นรู้เรื่องอ่านไม่เข้าใจ..อะไรประมาณนี้!)

    เพียงท่านดูคลิป 13 นาที แล้วลองทำตาม 7 วัน ชีวิตคุณจะเปลี่ยนจากขั้วลบ...เป็นขั้วบวก!

    คำเตือน สำหรับนักปฏิบัติธรรม(มืออาชีพ) ไม่จำเป็นต้องดูก็ได้ ถ้าดูท่านก็จะได้เพียงรอยยิ้มเล็กๆออกจากมุมปาก...เท่านั้นเอง ^^



    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=hKl-gu66b44&feature=share&list=UU4w2YIGslH3cmBvBHGGJjiA]ไขประเด็นดัง - YouTube[/ame]​
     
  4. natatik

    natatik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2012
    โพสต์:
    873
    ค่าพลัง:
    +3,607
    อนุโมทนาด้วยค่ะ หลวงพ่อท่านเป็นผู้ที่มีเมตตาสูงสุด บางครั้งบางทีลูกเผลอเดินหลงทาง ท่านก็คอยมาเตือนสติ

    และขอขอบคุณทุกท่านที่ได้เมตตานำ ธรรมะที่ท่านฝากไว้ มาคอยย้ำเตือนจิตอยู่เสมอ


    ขอมอบเพลงนี้ให้สำหรับ กัลยาณมิตรทุกท่านที่อยู่ห่างไกล แต่ล้วนแล้วมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน


    <iframe width="420" height="315" src="http://www.youtube.com/embed/P-5kjaz3zKE" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
     
  5. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444
    [​IMG]

    การฝึกหัดจิตให้มีสติทุกเมื่อ
    โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี


    แสดง ณ วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย
    วันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๔
    จาก...หนังสือเทสกานุสรณ์ หน้า ๑๗๑​


    วันนี้จะเทศนาเรื่อง การฝึกหัดจิต จิตของคนเราต้องฝึกหัด เช่นเดียวกับสัตว์ที่อยู่ในป่าที่เขาจับมาใช้ จะใช้งานได้ต้องฝึกต้องหัดเสียก่อน จิตของเรายังไม่ได้ฝึกหัดก็เหมือนกับสัตว์ที่อยู่ในป่านั่นแหละ เราจับจิตมาฝึกหัด คือ เราตั้งใจฝึกหัดจริงๆ จึงจะเรียกว่าเราฝึกหัดจิต

    การฝึกหัดสัตว์ป่า เช่น ช้าง เป็นต้น พอจับได้มาเขาก็ผูกมันไว้กับต้นเสา ตอนแรกมันก็แข็งแรงอยู่จะต่อสู้ดิ้นรนมาก เขาจึงไม่ให้กินหญ้ากินนํ้า หรือให้แต่เพียงเล็กน้อยพอไม่ให้ตาย จนซูบซีดผอมลงไป ทีนี้ก็เริ่มหัดมัน หัดจนกระทั่งมันยอมคนขึ้นขี่คอได้ หัดให้อยู่ในอำนาจของเราทุกอย่างได้ เมื่อมันอยู่ในอำนาจของเราเรียบร้อยดีแล้ว เราจึงให้อาหารมันกินอย่างอุดมสมบูรณ์

    การฝึกหัดจิตก็คล้ายๆกันนั่นแหละ แต่ไม่ต้องถึงอย่างนั้น เพราะสัตว์เป็นของภายนอกมีตัวตน ต้องฝึกหัดด้วยการทรมาน การฝึกหัดจิตต้องหัดด้วยอุบายวิธี จิตเป็นของไม่มีตัว จะขับขี่ก็ไม่ได้ จะตีก็ไม่ได้ แต่ทำให้มันอยู่ในอำนาจของตนนั้นได้ แต่ก็ยากแสนยากที่มันจะอยู่ในบังคับของเรา ต้องฝึกฝนอบรม

    ที่ว่าคล้ายกัน คือ ให้อดอาหารหรือฉันอาหารเพียงเล็กน้อย เพื่อให้มันมักน้อยที่สุด เป็นการฝึกหัดอบรมกาย แต่มันเนื่องถึงจิต เหมือนอย่างพระพุทธเจ้า พระองค์ไม่เสวยพระกระยาหาร แต่ไม่สำเร็จมรรคผลนิพพาน พระองค์จึงค่อยผ่อนเสวยพระกระยาหารทีละน้อยๆ จนกระทั่งพอดีพองาม ฉันพอสมควรไม่ฉันฟุ่มเฟือย พอให้กายอยู่ได้ไปวันๆหนึ่ง อาหารนั้นถ้าฉันมากจิตใจมันทื่อ มันกำเริบเฟิบฟาย มันไม่อยู่ในอำนาจของตน ผู้ที่ไม่ได้ฝึกฝนอบรม รับประทานอย่างอิ่มหนำสำราญก็ให้มันรับประทานเรื่อยไป แต่สำหรับคนที่ฝึกหัดอบรมใจนั้นจะฉันน้อยพอประมาณพอบำรุงร่างกาย เพื่อยังชีวิตให้เป็นไปในวันหนึ่งๆเท่านั้น แล้วก็ไม่สะสม การสะสมเป็นเรื่องของกิเลส ลองคิดดู ถ้าสะสมแล้วมันเป็นการพะวักพะวน ท่านจึงไม่ให้สะสม นี่พูดเฉพาะเรื่องของพระภิกษุ คือ ฉันแล้วก็ทิ้งไป ให้มันหมดเรื่องหมดราว วันหลังหาใหม่ ได้เท่าไรก็ฉันเท่านั้น ฉันเท่าที่มีอยู่ ถึงฆราวาสก็ดี ผู้ฝึกหัดจิตต้องฝึกฝนอบรมอย่างนั้น คือรับประทานมื้อเดียว ไม่ให้เกี่ยวข้องพัวพันในเรื่องอื่นๆ เอาปัจจุบัน แม้ว่าจะต้องเกี่ยวข้องพัวพันบ้างก็ตาม หากลงปัจจุบันในขณะนั้นก็ไม่มีอะไร เอาปัจจุบันเท่านั้น ไม่คิดอดีต อนาคต มันถึงจะเป็นไปได้ การฝึกฝนอบรมใจมันต้องไปจากกายนี้เหมือนกัน

    (Note - กล่าวคือ กายที่สมบูรณ์จากการกินเกินพอดี นอกจากทำให้มิทธะง่วงเหงาซึมเซาแล้ว ย่อมยังทำให้เกิดความกำหนัดคือราคะอีกด้วย หรือโผฏฐัพพะแต่ภายในเอง เป็นเหตุปัจจัยหนึ่งที่เนื่องหรือกระตุ้นจิตให้เกิดตัณหาขึ้น พึงเข้าใจว่า อดอาหารก็ด้วยสิ่งนี้เป็นเหตุ มิได้ด้วยเจตนาจะทรมานตนแต่ประการใด แต่เป็นไปเพื่อการลดละความซึมเซา ตัณหาและราคะโดยตรง)

    นอกจากอบรมทางกายแล้ว ยังต้องอบรมวาจาด้วย พูดให้น้อย พูดด้วยความสำรวมระวัง การที่ว่าสำรวมในที่นี้ไม่ได้หมายถึงไม่ให้พูด พูดได้แต่หากว่าให้มีสติควบคุมอยู่ พูดก็รู้เรื่องว่าพูดอยู่ พูดดีชั่ว หยาบละเอียด จะพูดสักเท่าไรก็ตามแต่รู้เท่ารู้ทันอยู่ทุกขณะ เรียกว่าสำรวมวาจา จะพูดอะไรก็พูดเถอะ การทำอะไรก็ทำเถอะ แต่รู้เรื่องอยู่ทุกขณะ สติควบคุมอยู่อย่างนี้ เรียกว่า มีสติระวังกายวาจา

    (Note - กล่าวคือ เหมือนกันทั้งกาย วาจา ใจ จึงไม่ใช่การไปหยุดการกระทำทางกาย วาจา ใจ แต่เป็นเมื่อกระทำทางกาย วาจา ใจ แล้วให้มีสติควบคุมอยู่ จึงไม่ใช่การปฏิบัติในลักษณะหยุดกระทำ หยุดพูด หยุดคิดเสียดื้อๆ)

    ส่วนการสำรวมระวังใจ ถ้าอยู่เฉยๆ ใจไม่มีเครื่องอยู่ ให้เอาคำบริกรรมอันใดอันหนึ่งมาเป็นเครื่องอยู่มาเป็นหลักผูกใจ เช่น พุทโธ อานาปานสติ ตามลมหายใจเข้าออก ยุบหนอพองหนอ หรือสัมมาอรหังก็ได้ เอาอันนั้นมาเป็นเครื่องอยู่เสียก่อน นึกคิดอยู่เสมอๆจนเป็นอารมณ์ มีสติควบคุมจิตอยู่ตรงนั้นแหละ จิตอยู่ที่ใดให้เอาสติไปตั้งตรงไว้ในที่นั่น จึงจะเรียกว่าควบคุมจิต รักษาจิต ที่จะห้ามไม่ให้คิดไม่ให้นึกนั้น ห้ามไม่ได้เด็ดขาด ธรรมดาของจิตมันต้องมีคิดมีนึก แต่หากมีสติควบคุมจิตอยู่เสมอ คิดนึกอะไรก็รู้ตัวอยู่ทุกขณะ เรียกว่า บริกรรมภาวนา

    การบริกรรมภาวนานี้มิใช่ของเลว คนบางคนเข้าใจว่าเป็นของเลว เป็นเบื้องต้น ที่จริงไม่ใช่เบื้องต้น ธรรมไม่มีเบื้องตน ท่ามกลาง ที่สุดหรอก ธรรมะอันเดียวกันนั่นแหละ ถ้าหากสติอ่อนเมื่อไรก็เป็นเบื้องต้นเมื่อนั้น สติแก่กล้าเมื่อไรก็เป็นท่ามกลางและที่สุดเมื่อนั้น คือหมายความว่าสติคุมจิตอยู่ทุกขณะ จนกระทั่งเป็นมหาสติปัฏฐาน จะยืน เดิน นั่ง นอน ในอิริยาบถใดๆทั้งหมด มีสติรอบตัวอยู่เสมอโดยที่ไม่ได้ตั้งใจให้มีสติ แต่มันเป็นของมันเอง สติควบคุมจิตไปในตัว เมื่อมีสติเช่นนั้นมันก็ไม่เกี่ยวข้องพัวพันกันกับสิ่งต่างๆ เมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง ลิ้นลิ้มรสต่างๆ กายได้สัมผัส มันก็เป็นสักแต่ว่า สัมผัสแล้วก็หายไปๆ ไม่ได้เอามาเป็นอารมณ์ ไม่เอามาคำนึงถึงใจ อันนั้นเป็น มหาสติ แท้ทีเดียว

    (Note - ถ้าบริกรรมอย่างมีสติ หมายถึงไม่ปล่อยให้เลื่อนไหลไปลงภวังค์ กล่าวคือไม่ลงลึกไปในฌานหรือสมาธิอันละเอียดจนเคลิบเคลิ้มท่องเที่ยวไปในภวังค์หรือเพลิดเพลินไปในนิมิต ก็จักเกิดประโยชน์อย่างมาก จะทำให้เห็นจิตคือคำบริกรรมนั้นๆ อันย่อมเป็นจิตสังขารอย่างหนึ่ง จึงเป็นการฝึกให้เห็นจิตหรือจิตสังขารอย่างหนึ่งหรือจิตตานุปัสสนาอย่างหนึ่งอย่างดียิ่ง ที่เมื่อสั่งสมอย่างถูกต้องดีงามแล้วก็จะเกิดอาการเห็น จิตมีโทสะ จิตมีราคะ จิตฟุ้งซ่าน จิตหดหู่ ฯ. ตลอดจนยังเป็นวิหารธรรมหรือเครื่องอยู่ของจิต จิตจึงไม่ส่งออกไปปรุงแต่งฟุ้งซ่าน)

    ถ้าจิตอ่อนเมื่อไร จิตจะส่งไปตามอายตนะทั้ง ๖ เมื่อนั้น เช่น ตาได้เห็นรูปอะไร หูได้ยินเสียงอะไร มันก็จะพุ่งไปตามรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยินนั้นแหละ เมื่อเป็นเช่นนั้นก็ต้องเอาบริกรรมมาใช้อีก ให้จิตมันอยู่กับบริกรรมนั้นอีก บริกรรม คือ สัมมาอรหัง พุทโธ อานาปานสติ อะไรต่างๆก็ตาม ที่ท่านสอนแต่ละสำนักนั้น มันเป็นไปตามความชำนาญของแต่ละท่าน มันเป็นนโยบายของท่านต่างหาก แท้ที่จริงก็อันเดียวกันนั่นแหละ ใครจะเลือกภาวนาบริกรรม อันใดก็ได้ ความต้องการคือ มุ่งหมายเอาสติอย่างเดียว เพื่อตั้งสติให้มั่นคง จึงว่าคำบริกรรมเป็นคู่กับการฝึกหัดจิต คำบริกรรมเปรียบเหมือนกับเครื่องล่อจิต เหมือนกับเด็กเล็กๆที่มันร้องไห้ เราเอาขนมมาล่อให้มันกิน มันก็หยุดร้อง จิตของเราก็ยังเป็นเด็กอยู่เหมือนกัน คือว่ายังไม่เป็นผู้ใหญ่ ยังรักษาตัวเองไม่ได้ ยังต้องอาศัยคำบริกรรมอยู่ จึงเรียกว่าเป็นเด็ก คนเฒ่าคนแก่กระทั่งผมหงอกผมขาวก็ตาม ถ้ายังควบคุมจิตของตนไม่ได้ก็ยังเป็นเด็กอยู่นั่นแหละ ถ้าหากควบคุมจิตได้แล้ว แม้จะเป็นเด็กก็ตามนับเป็นผู้ใหญ่ได้ ในพุทธศาสนา ผู้บวชตั้งร้อยพรรษา โดยธรรมแล้ว ถ้าควบคุมจิตไม่ได้ก็เรียกว่ายังเป็นเด็กอยู่ องค์ใดบวชในพรรษานั้นแต่ว่าควบคุมจิตได้ ก็เรียกว่าเป็นเถระ การรักษาจิตควบคุมจิตจึงต้องมีเครื่องอยู่ ได้แก่ การบริกรรม

    จิตเป็นของสูงๆตํ่าๆ คือ ฝึกหัดไม่สมํ่าเสมอ สูงหมายถึงว่าเจริญขึ้นไป คือ มีสติควบคุมอยู่ ขณะที่มีสติควบคุมอยู่ก็กล้าหาญเด็ดเดี่ยว ต่อสู้กับอารมณ์ได้ อะไรมาก็ไม่กลัว พอสัมผัสมากระทบเข้าจริงๆจังๆ อ่อนปวกลงไปเลย นั่นมันตํ่าลงไปแล้ว มันไม่เป็นผู้ใหญ่ ดังนั้นจึงต้องหัดสติตัวนี้ให้แก่กล้า ให้แข็งแรงที่สุด

    ในพุทธศาสนานี้มีการฝึกหัดสติอันเดียว การฝึกหัดเรื่องอะไรก็ตาม ฝึกหัดสติอันเดียวเท่านั้น พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนสาวกทั้งหลายแต่ก่อนนี้ ก็ทรงสอนให้ฝึกสติอันเดียวเท่านั้น ทรงสอนฆราวาสก็เหมือนกัน ทรงสอนเรื่องสติ ให้มนุษย์คนเราพากันมีสติ พวกเราก็พากันถือคำสอนของพระองค์นั่นแหละมาพูด เช่น พอพลั้งๆเผลอๆ ก็ว่า ไม่มีสตินี่ ก็พูดกันไปอย่างนั้นแหละ ตัวผู้พูดเองก็ไม่รู้เรื่องว่าตัวสติมันเป็นอย่างไร พูดไปเฉยๆ อย่างนั้นแหละ มิหนำซํ้าบางคนไม่มีสติอยู่แล้ว ยิ่งไปดื่มสุรายาเมาเข้า ยิ่งไปใหญ่จนเสียสติเป็นบ้าไปก็มี เหตุนี้จึงว่า คำสอนของพุทธศาสนาทั้งหมดมาลงที่สติอันเดียว ตั้งแต่เบื้องต้นก็สอนสติ ท่ามกลาง ที่สุดก็สอนสติ เป็นศาสนาที่สอนถึงที่สุด แต่คนทำนั่น ทำสติไม่ถึงที่สุดสักที ทำมากี่ปีกี่ชาติก็ไม่สมบูรณ์สักที พระพุทธเจ้าพระองค์ใดก็ทรงสอนสติตัวเดียวนี้

    เราเกิดมากี่ภพกี่ชาติก็มาหัดสติตัวเดียวนี้ แต่ก็หัดสติไม่สมบูรณ์สักที เหตุนั้นจึงควรที่พวกเราจะพากันรีบเร่งหัดสติทุกคนแต่บัดนี้ อายุอานามมาถึงป่านนี้แล้ว เรียกว่าจวนเต็มที จวนจะหมดสิ้น จวนจะตายอยู่แล้ว ไม่ทราบว่าจะตายวันไหน ควรที่จะหัดสติให้อยู่ในเงื้อมมือของตนให้ได้ อย่าให้จิตไปอยู่ในเงื้อมมือของความหลงมัวเมา ผู้ใดจิตไม่อยู่ในอำนาจของตนก็ชื่อว่าเราเกิดมาแล้วเสียเปล่า ได้ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้าเสียเปล่า เปล่าจากประโยชน์

    อย่าให้จิตอยู่แต่ในอำนาจของกิเลส ให้จิตอยู่แต่ในอำนาจของสติ สติเป็นตัวระมัดระวัง อันนั้นแหละเป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยแท้ ถ้าจิตอยู่ใต้อำนาจของกิเลสแล้วหมดท่า ตัวของเราจึงเป็นทาสของกิเลส เหตุนั้นจึงควรที่จะพากันรู้สึกตัว ตื่นตัวเสียตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป แล้วฝึกอบรมกัมมัฏฐาน

    การอบรมกัมมัฏฐานนั้น ทุกคนต้องอบรมเหมือนกันหมด มิใช่อบรมเฉพาะพระภิกษุ สามเณร แม่ชี อุบาสกอุบาสิกาเท่านั้น การฝึกหัดธรรมะก็ต้องหัดสติตัวนี้แหละ ถือพุทธศาสนาก็ต้องหัดสติตัวนี้แหละ มีสติสมบูรณ์บริบูรณ์ก็เรียกว่าถึงศาสนา ถ้ายังไม่มีสติเสียเลยก็เรียกว่ายังไม่ถึงศาสนา เอาละ วันนี้เทศน์ให้ฟังเพียงเท่านี้ เอวํฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มีนาคม 2013
  6. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    เกร็ดความรู้ทั่วไป
    อะไรถ้าไม่ใช่เรื่องสติหรือจิต อย่าสนใจหรือหลงมันมากนัก เพราะมันไม่ใช่เขตบุญกุศล
    ถ้าเป็นไปได้ ทุกขณะจิต หรือคิดพูดทำ ขอให้ตั้งอยู่แต่บุญและกุศล เท่านั้น
    แต่ถ้าผู้ใดไม่ทำอย่างนั้น ย่อมเท่ากับเราไปยืนปากเหว หรือปากนรกกันแล้ว
    และไม่ทราบว่าวันใด เราประมาทหรืออาจจะพลาดพลั้งตกลงไปเข้าสักวัน

    เรื่องการเจริญสติหรือการสร้างสตินั้น เราจะต้องทำให้มาก ทำบ่อยๆจนเราชิน
    เพราะมีอยู่ทางเดียวที่จะทำให้จิตเรานิ่ง มีสมาธิและก็พบปัญญาของตนได้ในที่สุด

    สำหรับเรื่องความทุกข์ หรือการหลุดพ้น เราจะต้องเข้าให้ถึงธรรมปฎิบัติ เท่านั้น
    เรา(จิต)จึงจะพ้นทุกข์ หรือหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดได้

    สำหรับเข้าให้ถึงการปฎิบัตินั้น เราจะต้องนำจิตตนเองไปเรียนรู้อริยสัจ กฎไตรลักษณ์ก่อน
    แล้วทำความเข้าใจการเจริญสติภาวนา ว่าเขาทำกันอย่างไร
    การเจริญสติภาวนา หรือการเจริญพระกรรมฐาน เป็นวิธี เป็นอุบายที่จะทำให้จิตของผู้ปฎิบัตินิ่ง
    เป็นสมาธิ และเกิดปัญญาไปตามลำดับ ตามขั้นตอน ตามผลที่ได้ของตนภายหลัง
    และก่อนการลงมือปฎิบัติเราจะต้องรักษาศีลหยาบ(ศีล)ของตนให้ครบบริบูรณ์ด้วย
    โดยถือเอาตัวเจตนาของตนเป็นตัวชีวัด ศีลและธรรมจะค่อยๆละเอียดตามจิตของผู้ปฎิบัติ

    ในระหว่างการปฎิบัติธรรม อย่าลืมคอยตามเช็คเรื่องศีล
    (การตั้งใจที่จะทำความดีก่อน ศีลเป็นพื้นฐานคุณสมบัติของคนดี)
    พรหมวิหาร(ดูการพัฒนาจิตใจตนสูงขึ้นหรือไม่ ดูง่ายที่สุดก็คือ เราให้อภัยคนอื่นง่ายไหม)
    อิทธิบาท(การติดตามผลของการปฎิบัติแห่งตน ไม่ใช่ทำเล่น ทำไปเรื่อยๆ ถือว่าใช้ไม่ได้)
    สังโยชน์๑๐ประการ เราสามารถละ ลด เลิกได้กี่ข้อแล้ว เพราะตรงนี้จะวัดระดับจิต
    วัดความเป็นอริยบุคคลของตนเองได้เป็นอย่างดี
    ที่เหลือดูบารมี๑๐ทัศ กรรมบท๑๐ เป็นต้น หรือเรียกได้ว่าอะไรที่เขาทำดีกันเราก็ทำตามหมด
    ผู้นั้นจึงจะได้ชื่อว่า เรา(จิต)ของตนตั้งอยู่แต่ฝ่ายบุญ ฝ่ายกุศล เพียงอย่างเดียว
    การปฎิบัติธรรม อยากพ้นทุกข์ อยากพ้นเวียนว่ายตายเกิด
    หรืออยากมีดวงตาเห็นธรรม เราเท่านั้น ที่จะต้องทำเอง
    เปรียบเสมือนคนที่อยากอิ่มท้อง ก็ต้องรับประทานเอง หรือปฎิบัติเอง

    ถ้าเรากำลังปฎิบัติอยู่ หรือปฎิบัติสำเร็จไปแล้ว คือมีดวงตาเห็นธรรมเป็นอย่างต่ำ
    ก็อย่าลืมนำจิตตนเองมาเจริญรอยตามอริยมรรค หรือมรรคมีองค์๘ ให้ได้ตลอดต่อเนื่อง
    จนเราดับขันธ์๕ นี้ไป เพื่อมิให้หลงตนเอง หลงการปฎิบัติ หลงเดินทางอ้อม หรือ
    กิเลสมารจะไม่มีทางติดตามเราทันแน่นอน ตามที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ดีแล้ว ชอบแล้ว

    หน้าที่อย่างอื่นข้าฯไม่รู้ คิดแต่ว่า ข้าตายแน่ๆ
    จะทำอย่างไร ถึงจะนำพาหรือช่วยตามหาดวงจิตลูกหลานของท่านพ่อ
    หรือพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ครูบาอาจารย์ทุกท่าน โดยเฉพาะหลวงพ่อฤาษีลิงดำ
    (ลูกจะทำตามที่พ่อได้ตั้งคำสัตย์อธิษฐานกับสมเด็จองค์ปฐมและเทพพรหมทั้งหลาย)
    กลับบ้านเดิมให้มากที่สุด
    และจะทำต่อไป ส่วนจะได้แค่ไหน ไม่สนใจ รู้เพียงแค่ว่า ลูกคนนี้จะตั้งใจคิดพูดทำ
    เพื่อการนี้โดยเฉพาะ ตราบเท่าอายุขัยตน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 17 มีนาคม 2013
  7. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    [​IMG]

    หลวงพ่อชาท่านเมตตาเล่าความรู้สึก
    ในการอยู่ป่าช้าขณะนั้น เพื่อเป็นคติธรรมว่า
    มันกลัวมาก เปรียบเหมือนกับน้ำที่เราเทใส่ในโอ่ง
    เทใส่มากจนเต็มมันก็ล้นออกมา
    ความกลัวเหมือนกัน มันกลัวมากจน หมดกลัว แล้วก็ล้นออกมา...
    ใจหนึ่งเลยถามว่า...ที่กลัวมากกลัวมายนัก มันกลัวอะไร?
    กลัวตาย อีกใจหนึ่งตอบ
    แล้วความตายมันอยู่ที่ไหน...ทำไมกลัวเกินบ้านเมืองเขานัก...
    หาที่ตายดูซิ มันอยู่ไหน
    ความตายอยู่กับตัวเอง อยู่กับตัวเอง
    แล้วจะหนีไปไหนจึงจะพ้นมันล่ะ...วิ่งหนี ก็ตาย...นั่งอยู่ก็ตาย
    เพราะมันอยู่กับเราไปไหนมันก็ไปด้วย เพราะความตายมัน อยู่กับเรา...
    กลัวหรือไม่กลัว.. ก็ตายเหมือนกัน หนีมันไม่ได้หรอก...

    พอคิดได้อย่างนี้เท่านั้น สัญญาพลิกกลับ...
    ความคิดก็เปลี่ยนขึ้นมาทันที ความกลัว ทั้งหลายเลยหายไป
    ปานพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ อัศจรรย์เหลือเกิน
    ความกลัวมากๆ มันหายไปได้ ความไม่กลัวมันกลับมาแทนในที่เดียวกันนี้
    โอ...ใจมันสูงขึ้น...สูงขึ้นเหมือน อยู่บนฟ้านะ...เปรียบไม่ถูก

    พอเอาชนะความกลัวได้แล้ว ฝนเริ่มตกทันทีเลย
    ลมพัดแรงมาก แต่ก็ไม่กลัวตายแล้ว
    ไม่กลัวต้นไม้กิ่งไม้มันจะหักลงมาทับ ไม่สนใจมันเลย...
    ฝนตกลงมาหนักเหมือนฝนเดือนสี่
    พอฝนหยุด...เปียกหมดทั้งตัว นั่งนิ่งไม่กระดิกเลย
    ...ร้องไห้...นั่งร้องไห้น้ำตาไหลอาบแก้มลงมา

    ร้องไห้เพราะเกิดนึกไปว่า ตัวเรานี่ทำไมเหมือนคนไม่มีพ่อมีแม่แท้
    มานั่งตากฝนยังกับคนไม่มีอะไร ยังกับคนสิ้นทุกสิ่งทุกอย่าง
    คนที่เขามีบ้านอยู่ดีๆ เขาคงจะไม่คิดหรอกว่า จะมีพระมานั่งตากฝนอยู่ทั้งคืนอย่างนี้
    เขาคงจะนอนห่มผ้าสบาย คิดไปวิตกไป เลยสังเวช ชีวิตของตน
    ร้องไห้น้ำตาไหลพรากๆ เอ้า...น้ำไม่ดีนี่ให้มันไหลออกมาให้หมด...อย่าให้ มันมีอยู่

    เมื่อคิดได้อย่างนี้...เมื่อชนะความรู้สึกแล้ว
    ก็นั่งดูจิตดูใจอยู่อย่างนั้น ความรู้เห็นสารพัด เรื่องเกิดขึ้นมา...พรรณนาไม่ได้

    คิดถึงพระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ว่า
    ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ วิญญูชนพึงรู้ได้เฉพาะตน...
    ความทุกข์ที่นั่งตากฝน...ความกลัวที่มันหายไป
    ความรู้สึกต่อมาเป็นอย่างไร ก็รู้แต่เฉพาะเราเอง ใครอื่นจะมารู้ด้วย...
    นั่งพิจารณาอยู่อย่างนี้จนสว่าง จิตมีกำลังศรัทธาขึ้น

    หลวงพ่อชาท่านเมตตาเล่าให้ศิษย์ฟัง
    โดยเน้นให้ศิษย์มองเห็นคุณค่าของการต่อสู้ให้ถึงที่สุด...
    สู้ชนิดเอาชีวิตเข้าแลก แล้วปัญญาความรู้แจ้งเห็นจริงจะเกิดขึ้นตรงนั้น
    ดังคำที่หลวงพ่อมักใช้ปลุกใจลูกศิษย์ว่า
    ไม่ดีก็ให้มันตาย...ไม่ตายก็ให้มันดี!
    ลูกขอน้อมกราบหลวงปู่ด้วยเศียรเกล้า
     
  8. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    ปัญญาเห็นชอบ จะไม่มีสิ่งมาขัดแย้งได้เพราะการพิจารณานั้นเป็นปัญญาที่เห็นตาม"หลักความจริง" เพราะความจริงได้ส่งเสริมก็จะเจริญขึ้นไปเรื่อยๆ พอเห็นความจริงแค่ไหนตัว"อุปทาน"ก็ลดน้อยถอยลงไปเรื่อยๆเราต้องพิจารณาในกายนุสติเป็นของสําคัญมาก เมื่อปัญญาที่เห็นตามความจริงก็จะถอดถอนตัวอุปทานความยึดมั่นออกจากใจ เราต้องแยกออกตามความเหมาะสมในกองธาตุแล้วแต่จริตของอุปนิสัยเราต้องพิจารณาอยู่เสมํ่าเสมอจนพอ เหมือนเรารับประทานอาหารถ้าเรายังไม่อิ่มเราก็ยังไม่หยุดรับประทาน..เราต้องพิจารณาจนอิ่มในกาย แล้วก็พิจารณาลงไปในสัญญาต่อไปอีก เพราะเราใช้ปัญญาพิจารณาเป็นขั้นๆ ปัญญาขั้นต้นต้องพิจารณาที่กาย ปัญญาขั้นที่สองต้องพิจารณาสัญญา เวทนา สังขาร และวิญญาณ และขั้นที่สามต้องพิจารณาลงที่ใจใช้ปัญญาเป็นขั้นๆ พอถึงขั้นนี้อาจจะติดสุขหรือท่านเรียกว่า"ขั้นติดสมาธิ"นั้นก็ได้ก็ต้องคอยระวัง...คือละบาปแล้วมาติดบุญนั้นเองมาถึงจุดนี้คนจึงติดสมาธิกันได้ง่าย เราต้องไม่เอาทั้งบาปและบุญ เพราะทั้งสองอย่างก็เป็นสมมติทั้งคู่เราต้องแยกออกจนถึงขั้น"ทําใจให้ประเสริฐนั้นก็จะได้พบแต่ความสุขอย่างแท้จริงคือตามความเป็นจริงนั้นเอง...
    ที่มาจากเทปธรรมะขององค์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
    ลูกขอน้อมกราบองค์หลวงตาด้วยเศียรเกล้าค่ะ
     
  9. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    นวัตกรรมแห่งจิต
    หรือกว่าจะได้จิตเดิมแท้หรือจิตประภัสสร กลับคืนมา

    สติเป็นตัวรู้
    จิตเป็นผู้รู้
    ปัญญาเป็นตัวรู้มาก
    แต่ปัญญาญาณเป็นตัวรู้แจ้งแทงตลอด

    สติเป็นได้มากก็แค่พี่เลี้ยงจิต เพราะฉะนั้น จงอย่าเอาสติไปนำจิต
    เมื่อสติเกิดขึ้นมากๆ สติจะเป็นตัวช่วยแยกแยะ ดีหรือชั่วให้กับจิต
    จิตที่ยังมิได้ฝึกนั้น เปรียบเสมือนเด็ก หรือผ้าขาว
    ปกติ หรือจิตเดิมแท้นั้น เป็นประภัสสรหรือขาวบริสุทธิ์
    เหตุที่จิตเป็นสีเทาหรือดำ หรือเศร้าหมอง ก็เพราะว่า กิเลสจรมาบดบังจิต
    เหมือนดั่งก้อนเมฆมาบดบังดวงจันทร์

    การฝึกจิต(ดูจิต) จึงเป็นที่มาของการเจริญสติภาวนา
    เพราะการเจริญสติภาวนา เป็นกลอุบายที่จะทำให้จิตคนเรานิ่งเป็นสมาธิ เป็นปัญญา
    และตัวปัญญาที่กล่าวมานี้ ก็คือ ปัญญาทางธรรม หาใช่ปัญญาทางโลก
    หรือ นักภาวนาหรือนักปฎิบัติธรรม ที่กำลังตามหากันอยู่ทุกวันนี้

    ความรู้ รู้แค่ไหน
    สติ ให้รู้เท่าทันในสังขาร ๓
    ได้แก่ รู้การเคลื่อนไหว(กายสังขาร) การสร้างกรรมต่างๆ ศีลจะควบคุม
    รู้อารมณ์ที่ปรุงแต่งจิต(จิตสังขาร) สมาธิจะควบคุมอารมณ์การปรุงแต่งของจิต
    รู้ความคิด(วจีสังขาร) คิดแบบมีเหตุผล คือความรู้ระดับปัญญา

    ความรู้ระดับสติ เท่ากับความรู้ปุถุชนหรือคนธรรมดา
    ส่วนความรู้ระดับปัญญา เท่ากับความรู้ในทางธรรม(สมถกรรมฐาน)
    หรือเรียกว่า ภาวนามยปัญญา คือปัญญาที่ได้จากการภาวนาทหรือำสมาธิ
    แต่ความรู้ระดับปัญญาญาณนั้น เท่ากับความรู้ในทางธรรม(วิปัสสนากรรมฐาน)

    คุณภาพหรือความสามารถในการระงับหรือดับกิเลส
    ระดับสติ แค่ระงับกิเลสได้ชั่วคราว คือกิเลสหมอบ ดับกิเลสหยาบ
    แต่เมื่อไหร่เราเผลอสติ กิเลสต่างๆ ก็จะกลับมาเจริญงอกงามเหมือนเดิม
    ระดับสมาธิหรือฌาน แค่หินทับหญ้า ดับกิเลสขนาดกลาง ดับทุกข์ได้เฉพาะที่เป็นสมาธิหรือฌาน
    แต่ถ้าถอนสมาธิหรือฌาน ทุกข์ก็จะกลับมาเหมือนเดิม หรือทุกข์ลดลง
    ระดับปัญญา สามารถระงับหรือดับกิเลสละเอียดได้ แต่ยังไม่สิ้นอาสวกิเลส ยังไม่หมดจดซะทีเดียว
    แต่ยังเหลืออัตตา มานะหรือกิเลสอย่างละเอียดยิ๊บๆ
    ได้แก่ กิเลสานุสัยหรืออนุสัย คือกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน กิเลสวัฎฎะ คืออวิชชา ตัณหา อุปาทาน
    ระดับปัญญาญาณ ไม่มีตัวกิเลสละเอียดใด จะไปปิดบังหรือซ่อนเร้นในปัญญาระดับนี้ได้

    การที่จะได้มาระดับปัญญาญาณ หรือญาณ(ยาน) ที่กล่าวมานี้
    นักภาวนา หรือนักปฎิบัติธรรมจะต้องวิปัสสนาให้ขาด
    เจริญอริยมรรค จนอินทรีย์แก่กล้า จนวิมุตติ๕ คือความหลุดพ้นกิเลส๕ประการ
    จนได้ญาณใด อย่างหนึ่ง ในญาณ๑๖ อย่างแน่นอน
    หรือบรรลุธรรมขั้นใด ขั้นหนึ่งอย่างแน่นอน ในโลกุตรธรรม๙
    ได้แก่ มรรค๔ ผล๔ นิพพาน๑
     
  10. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    คิดสิ่งใด ทำสิ่งใด ย่อมได้สิ่งนั้น
    พูดเรื่องธรรม มีแค่ความสุข ความสงบ
    พูดเรื่องทางโลก พูดเรื่องสังคม การเมือง มีแต่ทะเลาะเบาะแว้ง มีความเห็นต่าง
    สุดท้ายก็หนีไม่พ้นเรื่องกรรมไม่ดีมาเกี่ยวข้อง มีแต่การเบียดเบียนและทำร้าย

    พูดเรื่องสติและจิต พร่ำได้ทั้งวัน ไม่มีเบื่อ
    แต่ถ้าพูดเรื่องที่ ไม่ใช่สติ ไม่ใช่จิต มีแต่ความเบื่อหน่าย มีแต่ทุกข์
    เพราะวันๆนึง คนเรามัวแต่ไปยุ่งกับกิเลสตนเอง คนอื่นและโลก อยู่แต่สมมุติ
    ไม่สนใจเจริญสติ ไม่สนใจจิตหรือดูจิต (ดูจิตเฉพาะตนเท่านั้น)
    ผลสุดท้าย ก็คงออกจากทุกข์ตนเอง ไม่ได้

    ดูกาย ดูจิต เท่ากับดูธรรม รู้ความจริง มีแต่ความสุข ความหลุดพ้น
    พวกเราเคยเห็นผู้ที่ไม่สนใจเรื่องกาย เรื่องจิตของตน
    แล้วได้เป็นอริยบุคคล หรือพระอรหันต์กันไหม๊

     
  11. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    คำสั่งสอนของหลวงปู่ทอง พระธรรมมังคลาจารย์ วัดพระธาตุศรีจอมทอง.

    "นิ่งได้ ทนได้ รอได้ ช้าได้ ดีได้" หลวงปู่ทองได้สอนไว้

    ซึ่งผู้ปฏิบัติทุกๆท่านที่ได้ปฏิบัติตาม คงทราบแล้วว่าการนิ่งเสียซึ่งการกระทบ

    กระทั่งก็ทำให้เรามีความอดทนได้ รอได้ ช้าได้ด้วยความเพียร เมื่อมีความเพียร

    เราก็จะพบกับสิ่งที่ดีๆ ถ้าทำได้อย่างที่หลวงปู่ทอง ท่านได้สอนไว้เราก็จะพบ

    และเห็นตัวตนของตัวเราเอง. กราบนมัสการหลวงปู่เจ้าค่ะ สาธุ สาธุ สาธุ.
     
  12. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    คนเรานี้ทุกข์มีเพราะอยาก ทุกข์มากเพราะยึด ทุกข์ยึดเพราะพลอย

    ทุกข์น้อยเพราะหยุด ทุกข์หลุดก็เพราะเราปล่อย.

    จงเห็นยาวยิ่งกว่าสั้น และเห็นสั้นยิ่งกว่ายาว.

    คือรักยาวให้บั่น เวรย่อมระงับด้วยการไม่มีเวร.

    รักสั้นให้ต่อ จงรักษามิตรภาพซึ่งกันและกัน.

    การแตกมิตรเป็นการตัด อย่าไปเห็นสั้นและคิดสั้น.

    ต้องรักษาไมตรีกันตลอดไป...หลวงปู่ทองท่านฝากไว้. สาธุ สาธุ สาธุ
     
  13. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    หลวงพ่อปาน โสนันโท เคยได้เทศน์โปรดว่า...

    "คนที่สอน คือตัวเรา...คนที่รู้ คือ เรา...สุข ทุกข์ก็เรา...

    ไม่สุข...ไม่ทุกข์ก็เรา...ความทุกข์ทั้งหมดอยู่ที่กายเจ้าของ...

    ความรู้ทั้งหมดอยู่ที่กายเจ้าของ...ความดีทั้งหมดอยู่ที่กายเจ้าของ...

    ความไม่รู้ทั้งหมดอยู่ที่กายของเจ้า...ความเห็นถูกและผิดอยู่ที่กาย...

    ความรักและไม่รักอยู่ที่กายของเจ้า...ความเห็นจริง...ไม่จริงอยู่ที่กายของเจ้า...

    ทุกข์ สุข ไม่ทุกข์ ไม่สุขอยู่ที่กายของเจ้า...ความเห็นของเจ้า...ความยินดี ไม่ยินดี...

    ความยินร้ายในตัวผู้อื่น...ถ้าหากเจ้าคิด...พิจารณาไตร่ตรอง...

    ความธรรมดาทั้งหมดอยู่ที่ตัวของเจ้า.กราบนมัสการเจ้าค่ะสาธุๆ
     
  14. Pugsley

    Pugsley เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    282
    ค่าพลัง:
    +4,825
    [​IMG]

    พระธรรมคำสอน…หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร

    บางวัน ก็นั่งสมาธิได้ดี จิตนิ่ง
    บางวัน ก็ฟุ้งซ่าน หากวันใดนั่งสมาธิ
    แล้วฟุ้งซ่าน ก็ "อย่าท้อใจ"

    แต่ ให้ลงมาดูที่ "ใจ"
    เพื่อ ให้รู้ทันความชอบ ไม่ชอบ หรือ เฉยๆ
    และ หากวันใดนั่งสมาธิแล้ว จิตสงบดี
    ก็ให้ลงมาดูที่ใจ
    เพื่อให้รู้ทันความชอบ
    ไม่ชอบ หรือ เฉยๆ เหมือนกัน

    อย่าไปยึดติดว่า วันต่อๆ มา
    หรือ ทุกๆ วัน จะต้องสงบ เหมือนวันนี้
    ความสงบ หรือ ความฟุ้งซ่าน ก็เป็น "ของชั่วคราว"
    เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เป็นธรรมดา
     
  15. Pugsley

    Pugsley เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    282
    ค่าพลัง:
    +4,825
    [​IMG]

    พระธรรมคำสอน…หลวงปู่ทวด วัดช้างให้

    การที่เราจะไม่ต้อง ทุกข์มากนั้น
    เราจะต้องรู้ว่า เรานี้จะต้อง
    "ไม่เอาชีวิต ไปฝากสังคม"
    เราต้องเป็นตัวของเราเอง
    และ เราจะต้องวินิจฉัย ในเหตุการณ์
    ที่จะเข้ามาเกี่ยวข้อง กับตัวเราว่า
    "สิ่งใดเราควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ"

    ในภาวะแห่งการที่จะอยู่ อย่างสบายนั้น
    เราต้องอยู่กันอย่าง-ไม่ยึด
    อยู่กันอย่าง-ไม่ยินดี
    อยู่กันอย่าง-ไม่ยินร้าย

    อยู่กันอย่าง พยายามให้ "จิตวิญญาณ"
    ของนามธรรมนั้น เหนืออารมณ์
    เหนือคำสรรเสริญ เหนือนินทา
    เหนือความผิดหวัง เหนือความสำเร็จ
    เหนือรัก เหนือชัง
     
  16. Pugsley

    Pugsley เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    282
    ค่าพลัง:
    +4,825
    [​IMG]

    พระธรรมคำสอน…ครูบาบุญชุ่ม ญาณสังวโร

    ยิ่งคิดยิ่งไม่รู้ ยิ่งดูยิ่งไม่เห็น ยิ่งทำยิ่งไม่เป็น
    ธรรมะนี้ เหมือนเส้นผมบังภูเขา
    เมื่อหยุดทำ หยุดคิด หยุดดู
    แล้วธรรมสภาวะ จะเกิดขึ้นเอง
    สำคัญอยู่ที่ "จิตดวงเดียว"

    อันว่า ความทุกข์สุข อยู่ที่ใจมิใช่หรือ
    ถ้าใจยึดถือ เป็นทุกข์ ไม่สุกใส
    ถ้าใจไม่ยึดถือ ก็สุข ไม่ทุกข์ใจ
    อะไรๆ สำคัญอยู่ที่ "ใจ" ของเราเอย
     
  17. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    ข้าหยุดแล้ว เจ้าหยุดหรือยัง
    ๑.หยุดวิ่งตามสิ่งกระทบจิต
    ๒.หยุดวิ่งตามความคิด

    ํธรรมสองอย่างนี้ เราจะต้องตามรู้ให้ทันด้วยปัญญา
    แต่จะเป็นปัญญาระดับใด มากหรือน้อย ผู้นั้นจะต้องรู้เอง
    แต่ถ้ายังตามรู้ไม่ทัน นั่นก็แสดงว่า ปัญญาน้อยเกินไป
    โดยเฉพาะความคิด หรืิออารมณ์จิต(เจตสิก) จะต้องใช้ปัญญามาก

    ทั้งนี้ ทั้งนั้น จะต้องอาศัยเจริญสติจนเกิดสมาธิ เกิดปัญญา
    เสมือนสมถะเป็นบาทฐานวิปัสสนา

    หยุดวิ่งตามสิ่งกระทบจิต
    โดยการมีสติตามดู ตามรู้และด้วยใจเป็นกลาง
    เช่น เห็นสักแต่ว่าเห็น ได้ยินสักแต่ว่าได้ยิน รู้สักแต่ว่ารู้ เป็นต้น
    อย่าได้คิดต่อ ปรุงแต่งต่อ เพราะต่อไปจะฟุ้งซ่าน และไม่พ้น คำว่า ทุกข์

    ส่วนหยุดวิ่งตามความคิด หรืออารมณ์จิต(เจตสิก)
    โดยมีสติตามดู ตามรู้และด้วยใจเป็นกลาง คือนิ่งดูเฉยๆด้วยปัญญา
    ไม่มีผู้ใด ห้ามหรือหยุดความคิดได้

    ทุกธรรมจึงหนีไม่พ้นกฎไตรลักษณ์ไปได้
    เพราะฉะนั้น เวลาเห็น ได้ยิน รู้อะไรก็มาก็ตาม หัดวิปัสสนาตามไปด้วยทุกครั้ง
    ในขณะที่จิตเป็นสมาธิหรือฌาน แต่ถ้าไม่ทำ เดี๋ยวจะติดสุขจากฌาน โดยมิรู้ตัว
    เพราะสุดท้าย ก่อนจะเข้าวิมุตติหรือนิพพาน เราจะต้องไม่ยินดีหรือติดสุขจากฌาน

    อย่าลืม!
    สติละกิเลสหยาบ สมาธิหรือฌานละกิเลสขนาดกลาง ปัญญาละกิเลสละเอียด
    ถ้าจะละกิเลสนุสัย หรืออนุสัย๗ คือกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน
    แต่จะปรากฏเมื่อมีอารมณ์มายั่วยุ เหมือนตะกอนน้ำที่อยู่ก้นโอ่ง
    ถ้าไม่มีคนกวนตะกอนก็นอนเฉยอยู่ ถ้ากวนน้ำเข้าตะกอนก็ลอยขึ้น ฯ-
    หรือกิเลสวัฎฎ์ คืออวิชชา ตัณหาและอุปาทาน จะต้องเป็นปัญญาญาณ
    เราจึงจะมองเห็นได้อย่างทะลุปรุโปร่ง
     
  18. Pugsley

    Pugsley เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    282
    ค่าพลัง:
    +4,825
    [​IMG]

    ถาม : ฝึกกรรมฐานทำอย่างไร ให้จิตนิ่ง
    จิตนิ่งแล้ว ผมควรปฏิบัติอย่างไรต่อครับ ?


    หลวงพ่อฤาษีฯ เมตตาตอบ :
    ฝึกกรรมฐาน ต้องการให้ จิตนิ่ง
    คือ เราเป็นรูปปั้นเสีย
    ถ้าไม่ปั้น ไม่หล่อ จิตมันไม่นิ่ง (หัวเราะ)
    พระพุทธเจ้าเมื่อทรงพระชนม์อยู่ ก็ไม่นิ่ง
    ถ้าต้องการให้จิตนิ่งจริงๆ ก็ใช้สติ๊กนินนะ
    เป็นกรรมฐานกองที่ ๔๑

    ไอ้คำว่า "จิตนิ่ง" นี่มันไม่มี
    อย่าลืมนะ จิตของปุถุชน คนที่ทรงฌาน
    จิตเข้าถึงฌาน ๔ ก็ไม่นิ่ง อารมณ์มันทรงตัว

    คำว่า "อารมณ์เป็นเอกัคคตารมณ์"
    นี่มันไม่นิ่งนะ มันจับอารมณ์อย่างเดียว
    เป็นพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี
    พระอรหันต์ ก็ไม่นิ่ง เพราะจิตมันอิ่ม
    ด้านกุศลอย่างเดียว เป็นพระพุทธเจ้าก็ไม่นิ่ง
    จิตอยู่ใน มหากรุณาธิคุณ

    คำว่า "นิ่ง" หมายความว่า จิตนิ่งจากอกุศล
    คือ ไม่คิดชั่ว คิดดีอย่างเดียว เข้าใจไหม
    นิ่งจากอกุศล คือ ไม่นิ่งในเรื่องของกุศล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มีนาคม 2013
  19. Pugsley

    Pugsley เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    282
    ค่าพลัง:
    +4,825
    อ า นิ ส ง ส์ ก า ร ฟั ง ธ ร ร ม ต า ม ก า ล

    [​IMG]

    ๑. เป็นการเพิ่มพูนความรู้ใหม่ เพราะผู้แสดงธรรมย่อมจะศึกษา ค้นคว้าขบคิด นำข้อธรรมะต่างๆ มาแสดง ทำให้เราได้ยินได้ฟังธรรมะที่ไม่เคย ได้ยินได้ฟังมาก่อน

    ๒. เป็นการทบทวนความรู้เดิม คือถ้าหัวข้อธรรมที่ผู้แสดงนำมาแสดงนั้น ตรงกับสิ่งที่เราเคยศึกษามาแล้ว ก็จะทำให้เราได้ทบทวนความรู้เดิม ให้เกิดความเข้าใจแตกฉาน และสามารถจดจำได้แม่นยำยิ่งขึ้น

    ๓. เป็นการปลดเปลื้องความสงสัยเสียได้ คือถ้าผู้ฟังยังมีความลังเลสงสัยในการละความชั่วบางอย่าง หรือการทำความดีบางอย่าง เมื่อได้ฟังธรรมะเพิ่มเติมแล้ว จะทำให้ความลังเลสงสัยนั้นหมดไป ตัดสินใจละความชั่วทำความดีง่ายขึ้น

    ๔. เป็นการปรับความเห็นให้ตรง คือในระหว่างการดำเนินชีวิตสู่จุดหมายของคนเรานั้น เราจะถูกมาร คือกิเลสและสิ่งแวดล้อมไม่ดีต่างๆ ทำให้ มีความเห็นผิดๆ เกิดขึ้นได้ แล้วทำให้การดำเนินชีวิต วกวนเฉไฉผิดเป้าหมายไป การฟังธรรมจะช่วยให้เราเกิดความสำนึกตัวว่า ความคิดเห็นของเราได้บิดเบือนไปอย่างไร แล้วจะได้เลิกความเห็นที่ผิดเสีย ประคองความเห็นที่ถูกไว้

    ๕. เป็นการฝึกอบรมจิตใจให้สูงขึ้น เพราะการฟังธรรม จะเป็นเครื่องเตือนสติเรา ทำให้ใจของเรา เลิกละจากความคิดฟุ้งซ่าน ในเรื่องกาม ความคิดพยาบาทอาฆาต ความคิดเบียดเบียนผู้อื่น และสอดส่องชี้ให้เราเห็นถึงจุดอ่อนข้อบกพร่องในตัว ซึ่งจะต้องปรับปรุงแก้ไข ยกระดับจิตใจของเราให้สูงขึ้นๆ จนกระทั่งสามารถขจัดข้อบกพร่องได้เด็ดขาด บรรลุมรรคผลนิพพานได้ในที่สุด

    “ดูก่อน ท่านผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสารทั้งหลาย สมัยใด พระอริยสาวกฟังธรรม ฟังให้จรดกระดูก ฝังไว้ในใจ รวบรวมกำลังใจทั้งหมดมา เงี่ยหูลงมาฟังจริงๆ ในสมัยนั้น นิวรณ์ ๕ ของเธอย่อมไม่มี และโพชฌงค์ ๗ ก็จะถึงซึ่งความสมบูรณ์เต็มเปี่ยม เพราะอำนาจแห่งภาวนา” สํ. ม. ๑๙/๔๙๒/๑๓๔


    (จากหนังสือมงคลชีวิต โดยพระมหาสมชาย ฐานวุฑฺโฒ)
     
  20. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    กรรมดีหรือกรรมชั่ว...จะติดตามผู้ทำไปยังภพหน้า...

    เมื่อกายนี้ตายไปแล้ว...ผู้ฝึกจิตตนหมดสิ้นกรรมดี กรรมชั่ว...

    ...ไม่เอาบาป...ไม่เอาบุญที่ใจ...

    ...ผู้นั้นจะไปอยู่ที่นิพพาน...นิพพาน...ไม่มีใจบาป...ไม่มีใจบุญ...

    ...ไม่มีทุกข์...ไม่มีสุข...ไม่มีอะไรเลย...มีแต่ความสงบนิ่ง...

    ...พระธรรมคำสอนของหลวงพ่อปาน โสนันโท. สาธุ กราบหลวงพ่อปานเจ้าค่ะ.
     

แชร์หน้านี้

Loading...