คุณเห็นว่า รธน. ใหม่ ควรบรรจุ ให้ พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ หรือไม่ ?

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 2 พฤษภาคม 2007.

?
  1. ควรบรรจุ ให้ พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ

    0 vote(s)
    0.0%
  2. ไม่ ควรบรรจุ ให้ พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ

    0 vote(s)
    0.0%
  1. คนดนตรี

    คนดนตรี สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2006
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +14
    เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ
     
  2. yuboot

    yuboot Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +33
    (verygood)
    เห็นด้วย ที่สุดเลยครับ แต่ก็อย่ากให้คนทุกศาสนาสร้างความเข้าใจอันดีซึ่งกันและกันเข้าไว้ครับ ไม่อยากให้ศาสนาอื่นๆ รู้สึกว่าถูกแบ่งแยกหรือถูกกีดกันแต่อย่างใดเลยครับ อยากให้ทุกคนรักกันเข้าไว้นะครับ อภัยกันเข้าไว้ บ้านเมืองก็จะสงบสุขนะครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. ฅนเพาะกล้า

    ฅนเพาะกล้า สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +16
    ผมว่าการบรรจุพุทธศาสนาไว้ในรัฐธรรมนูญเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น เพราะอะไรเหรอครับ
    1. ในรัฐธรรมฉบับก่อน ๆ บอกไว้ว่า พระเจ้าแผ่นดินทรงเป็นพุทธมากะ อยู่แล้ว
    2. ในประเทศมีคนนับถืออื่นศาสนาก็มี
    3. การนับถือศาสนาพุทธเราก็นับถือจนเป็นศาสนาประจำชาติอยู่แล้วจึงไม่จำเป็นที่ต้องเรียกร้องให้บรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญ แล้วอาจจะก่อให้เกิดปัญหาสิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนาอีกต่างหาก
    4. พระสงฆ์ควรประพฤติส่งเสริมพระพุทธศาสนาดีกว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤษภาคม 2007
  4. redpeppers

    redpeppers Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2006
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +77
    ผมเห็นด้วยกับ rep ข้างต้นครับ มิควรมีการกีดกันทางศาสนา เพราะอาจจะทำให้เกิดปัญหาทางการเมืองตามมา
     
  5. joso

    joso เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    139
    ค่าพลัง:
    +563
    เหตุที่ต้องบัญญัติศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ
    1. เป็นการปกป้องพระศาสนาไว้เพื่ออนุชนรุ่นหลัง ที่มีดวงตาเห็นธรรมจักประพฤติปฏิบัติในการสืบทอดพระศาสนาต่อไป
    2. เป็นการปรามลัทธิอื่นๆ...หรือกลุ่มคนที่พยายามทำลายศาสนาพุทธโดยอาศัยอุบายอันแยบยล
    3. เป็นการธำรงความเป็นไทยโดยใช้ศาสนาพุทธช่วยประคับประคองประเทศชาติ(เพราะศาสนาพุทธถือหลักอหิงสาไม่เบียดเบียนคนอื่นและศาสนาอื่นๆ) หากแต่ถ้าเราศึกษาอย่างถ่องแท้แล้วจะเห็นว่าศาสนาพุทธไม่เคยทำสงครามเพราะศาสนาเลย
    4. ถ้าเราชาวพุทธไม่ยกย่องพระศาสนา...แล้วเราจะเป็นผู้ที่ได้ชื่อรักษาศาสนาได้อย่างไร
    5. ประเทศไทยเป็นประเทศที่ธำรงและตั้งมั่นของพุทธศาสนาจนถึงปัจจุบัน ประชากร 90 กว่าเปอร์เซ็นที่นับถือพุทธศาสนา เหตุไฉนแค่บัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติจึงใช้คำว่า ควรหรือไม่ควร น่าจะใช้คำว่าต้องเป็นกรณีเดียวมากกว่า....และควรใช้ตั้งนานแล้ว....
     
  6. redpeppers

    redpeppers Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2006
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +77
    ความจริงกฎหมายก็เอามาจากศาสนาล่ะครับ ไม่งั้น คนฆ่าคนตายก็คงไม่ผิดหรอกครับ
     
  7. redpeppers

    redpeppers Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2006
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +77
    เราเคยทำสงครามเย็นกับศาสนาพราหมณ์-ฮินดูมาแล้วนะครับ ลองดูในตามรอยพระพุทธเจ้า ของช่องเก้านะครับ

    แล้วอีกอย่าง เหตุที่เกิดสงครามครูเสดจริงๆ มันเกิดจากการเมืองครับ ไม่ใช่ศาสนา
     
  8. pannarai

    pannarai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2006
    โพสต์:
    169
    ค่าพลัง:
    +1,922
    ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมเป็น สยามประเทศ
    วัฒนธรรมต่างๆมาจากขนบธรรมเนียม ประเพณีที่เชื่อมโยงเกี่ยวพันกับศาสนา
    บ่งบอกความเป็นชาติไทย หากไม่มีแล้ว ไฉนเลย จะเป็นไท
     
  9. mali

    mali เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    1,020
    ค่าพลัง:
    +2,326
    สมควรบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญตั้งนานแล้ว และการรณรงค์เรื่องนี้ก็ไม่เห็นจะต้องไปว่าพระสงฆ์ หรือฆราวาสที่ยังรักษาศีล 5 หรือศีล 8 ไม่ได้ เห็นว่าไม่เกี่ยวข้องกัน เพราะพระและฆราวาสที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา มีความเสียสละสูงนั้นมีอยู่ก็ตั้งมากมาย และถ้าจะมาตั้งแง่กันว่าถ้าให้บรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ต้องตั้งกฏกับพระสงฆ์ให้มากขึ้น ก็ดูเหมือนว่าจะพาลพาโลนะ
     
  10. Tewadhol

    Tewadhol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    190
    ค่าพลัง:
    +694
    เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ เหตุผลมากมายฝอยไปก็ท่วมหลังช้าง

    แหม...เห็นปีศาจคาบไปป์กับนายเจิมสาก ให้ความเห็นออกมาทางสื่อแล้ว
    ไม่รู้จะเปรียบเทียบกับอะไร. ประเทศแถบตะวันออกกลางที่เค้ามีศาสนาเป็น
    กฎหมายก็มีเยอะแยะไปและเค้าก็บอกด้วยว่าเป็นศาสนาประจำชาติของเขา
    ถ้าคนของเขามาพูดดูถูกศาสนาตัวเองนะหรือ จะอยู่รอดเกิน 3 วันหรือเปล่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤษภาคม 2007
  11. ao.angsila

    ao.angsila เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,332
    ค่าพลัง:
    +26,683
    เห็นด้วยอยู่แล้วครับ

    พระเจ้าตากสินยอมสละชีพเพื่อกอบกู้รวมแผ่นดิน ถวายเป็นพุทธบูชาฯ

    ท่านทำเพื่อให้พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองอยู่ในประเทศไทยตลอดไป

    ผมจึงเห็นว่าควรให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ
    ประเทศไทยควรจะมีศาสนาหลักให้โลกได้รู้
    ปล.แต่ผมไม่ได้กีดกันศาสนาอื่นนะครับ ศาสนาอื่นก็อยู่ในประเทศไทยได้อยู่แล้ว
    นี่คือความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤษภาคม 2007
  12. meesak srisulae

    meesak srisulae Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +26
    ความสำคัญไม่ได้ อยู่ที่ บรรจุ หรือ ไม่ แต่อยุ่ที่ การปฏิบัต หรือ ไม่ ต่างหาก
     
  13. arame

    arame สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +3
    เห็นด้วยนะครับ เราคนใจ จิตใจพุทธ.................แต่ขอนิดนึงตรงที่ว่า เราชาวพุทธ เราคนไทย ทำไมต้องทำให้สิ่งที่เราเคารพนับถืบ พระภิษุสงฆ์มาดำเนินการต่างๆ อย่าลืมนะครับว่าสถานการณ์ตอนนี้ล่อแหลม จะทำให้เห็นว่าความต้องการนี้ ทำให้เห็นว่าเป็นความต้องการของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เราชาวพุทธ ฆราวาส มาร่วมแรงร่วมใจกันดีกว่านะครับ เพราะกลัวว่าบุคลอื่นๆที่ไม่เห็นด้วยจะนำมาเป็นข้ออ้างในการทำลายพระพุทธศาสนาของเรา.......
     
  14. cirkit

    cirkit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    62
    ค่าพลัง:
    +267
    เห็นด้วยครับผม
     
  15. อโมทัสสี

    อโมทัสสี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +253
    ผมว่าพวกเราพุทธบริษัท ที่เจริญตามมรรควิธี ไม่ควรมองความเห็นที่ต่างจากเราว่าเขาไม่ดีอย่างสุดโต่ง เพราะบัวมีสี่เหล่าครับ สำหรับผมนะครับผมมองว่า...

    ๑. จะบรรจุหรือไม่บรรจุก็ได้ แต่เมื่อบรรจุแล้วนอกจากความภาคภูมิแล้ว เราจะได้อะไรอีก เรามีข้อเสนอแนะอะไรบ้าง ที่จะได้ประโยชน์จากการบรรจุ เพราะผมเองไม่อยากให้เหมือนที่ระบุในเนาทะเบียนบ้านแล้ว หลายๆ คนอย่าว่าแต่ศีล ๕ เลยครับ วัดยังไม่อยกเข้าเลยเพราะอาย

    ๒. ผมว่าการที่จะรักษาพุทธศาสนาได้ดีที่สุด คือพุทธบริษัทต้อง มีศีล สมาธี ปัญญา ไม่ใช่แค่บรรจุอย่างเดียว

    ๓. การเรียกร้องโดยวิธีการเดินขบวนของพระ เพื่อกดดันนั้น ผมเห็นด้วยกับ หลวงพ่อพระราชพรหมยานของเรา ที่ท่านได้ตำหนิการเดินขบวนของพระอย่างรุนแรง เมื่อปี ๒๕๑๖ (ถ้าจำ พ.ศ.ไม่ผิด)...ท่านว่าไม่ใช่วิสัยของพระ

    (สรุปแล้วตัวผมเห็นว่า บรรจุก็ดี แต่ต้องมีมาตรการด้วยว่า จะทำอย่างไรต่อไป...เพราะผมเชื่อว่าเมื่อบรรจุแล้ว ชาวพุทธส่วนใหญ่ก็ยังเหมือนเดิม)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 12 พฤษภาคม 2007
  16. คนเก่า

    คนเก่า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,355
    ค่าพลัง:
    +15,055
    ดูจากการแอบอ้างหลวงพ่อพระราชพรหมยานโดยสมาชิกที่ใช้ชื่อว่า ศ.ธรรมทัสสีนี้แล้ว เชื่อว่ามีเจตนาไม่บริสุทธิ์ หาใช่ชาวพุทธที่แท้จริงไม่ เป็นผู้อยู่ในขบวนการทำลายชาติ ทำลายพระศาสนาที่เพียรสร้างความสับสน สร้างความแตกแยกให้กับคนไทย

    จึงขอเสนอให้คณะผู้ดูแลเว็บตัดไฟเสียแต่ต้นลม ด้วยการแจ้งให้ ศ.ธรรมทัสสี แสดงหลักฐานข้อความให้ชัดเจน ว่ามีจริงหรือไม่ และถ้ามีจริง มีเนื้อความทั้งหมดระบุว่าอย่างไร

    ซึ่งถ้าเพิกเฉยไม่แสดงหลักฐาน หรือพบหลักฐานที่กล่าวอ้างว่าผิดเพี้ยนไปจากการกล่าวอ้าง-นำมาใช้ประโยชน์สนันสนุนตนเอง ก็ย่อมชัดเจนว่าเจตนาไม่บริสุทธิ์จริง สมควรยกเลิกสมาชิกภาพเพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างต่อไป
     
  17. augustines

    augustines เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    104
    ค่าพลัง:
    +151
    ไม่มีเหตุจำเป็นที่จะต้องบรรจุข้อความว่า
    "ให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ"

    ไม่จำเป็นเลย แม้แต่นิดเดียว

    ถ้าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สมควร
    ทำไมถึงไม่บรรจุไว้ตั้งแต่สมัย รธน.ฉบับปี 40 หล่ะ
    ทั้งๆ ที่ฉบับนั้นเป็นฉบับที่สมบุรณ์ที่สุด
     
  18. lepus

    lepus เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    307
    ค่าพลัง:
    +1,881
    อยากให้คุณ ศ.ธรรมทัศนี และคุณ augustine รวมทั้งหลายๆ ท่านที่คัดค้านได้อ่านบทความนี้อย่างละเอียดดูนะครับ

    ฐานะของพระพุทธศาสนาในรัฐธรรมนูญ (เสฐียรพงษ์ วรรณปก)


    แปดหมื่นสี่พันศุภมัสดุก็ไม่มีประโยชน์

    ศาสตราจารย์ ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เจอหน้าผมในสภาทักว่า "นี่ใจคอจะเขียนแต่เรื่องพระพุทธศาสนากับรัฐธรรมนูญตลอดปีเลยหรือ" เพราะเห็นผมซีรอกซ์บทความเรื่องพระพุทธศาสนากับรัฐธรรมนูญ แจกจ่ายให้สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติทุกครั้ง

    ผมเรียนท่านว่า ก็คงอย่างนั้น อย่างน้อยก็จนกว่าจะรู้รัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขออกมาแน่ชัดว่า ไม่มีคำว่า "พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ" และวรรคต่อไปว่า "ศาสนาอื่นคือศาสนาอิสลาม คริสต์ พราหมณ์-ฮินดู และซิกข์ ได้รับการรับรองจากรัฐ"

    เหตุผลของผมมีง่ายๆ สั้นๆ พูดครั้งเดียวก็เข้าใจ (แต่ทำไมพูดบ่อยจัง) คือ

    1. ในบททั่วไปของรัฐธรรมนูญ มีพูดถึงสถาบันชาติ และสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่สถาบันศาสนา ซึ่งเป็นหนึ่งในสามสถาบัน ทำไมตกไป หรือว่า เดี๋ยวนี้เรามีสองสถาบันเท่านั้น

    2. พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 ที่ทรงประดิษฐ์ธงไตรรงค์ และพระราชทานบทกวีบรรยายสีทั้งสามว่า สีแดง หมายถึง ชาติ, สีขาว หมายถึง พระพุทธศาสนา (ไตรรัตน์) และธรรมะคุ้มจิตไทย (ธรรมของพระพุทธศาสนาและของศาสนาอื่นที่มีอยู่ในประเทศไทย), สีน้ำเงิน หมายถึง สถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่เอาใช่ไหม "สีขาว" น่ะ จะให้มีธง ทวิรงค์ แทนธงไตรรงค์ ใช่ไหม

    ถ้าจะเอาอย่างนั้น ผมก็จะเลิกพูดเลิกเขียน

    3. พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ในสมัยก่อนมีรัฐธรรมนูญ ทรงทำหน้าที่ 2 ประการควบคู่กันไปคือ (1) ทรงปกครองประเทศ และ (2) ทรงอุปถัมภ์คุ้มครองพระพุทธศาสนา ใช่ไหม พอเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 คณะราษฎรถ่ายโอนพระราชอำนาจมาจากสถาบันพระมหากษัตริย์ เอามาเฉพาะหน้าที่ประการที่ 1 ลืมหน้าที่ประการที่ 2 ใช่ไหม เมื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรก จึงไม่มีเรื่องพระพุทธศาสนา ถ้ารุ่นก่อนลืม รุ่นนี้นึกขึ้นมาได้ ก็ใส่ไว้เสีย หน้าที่ที่รับถ่ายโอนมาจากสถาบันพระมหากษัตริย์จะได้สมบูรณ์

    พูดทำไมว่า ก็ในเมื่อฉบับก่อนไม่ใส่ไว้ แล้วจะใส่ทำไม ถ้าเช่นนั้นเราพูดเราเตือนกันทำไมว่า "พูดผิด พูดใหม่ได้" "ทำผิด แก้ใหม่ได้" หรือจะยินดีผิดมาแล้วก็ปล่อยให้ผิดต่อไปชั่วกัลปาวสาน จะเอาอย่างนั้นก็เอา ผมจะได้ไม่ตะบันเขียน

    การที่หลายคนถามซ้ำซากว่า ใส่ทำไม ใส่แล้วได้อะไร อีกหลายคนก็พูดซ้ำซากว่า ก็มันเป็นอยู่แล้วโดยจารีตประเพณี ไม่จำต้องใส่ก็ได้ ผมก็ตอบซ้ำซากเช่นกันว่า ใส่ไว้ดีกว่าไม่ใส่ ก็เมื่อเป็นอยู่แล้วโดยจารีต ไม่เป็นตัวหนังสือ ก็เขียนลงซะสิ จะได้หนักแน่นและถูกต้องขึ้น จะปล่อยไว้ครึ่งๆ กลางๆ กระนั้นหรือ

    ใส่ไว้เสียให้สมบูรณ์ อย่างน้อยก็จะได้ปลุกสำนึกของประชาชนแต่ละคนให้รำลึกเสมอๆ ว่า เราเป็นคนมีศาสนา ไม่ใช่คนป่าคนเถื่อน อันใดที่เป็นหน้าที่ของคนมีศาสนาจะพึงทำ ก็จะได้ทำ เพื่อความสุขความเจริญส่วนตัว และแก่สังคมประเทศชาติ อันใดที่คนมีศาสนาประจำใจไม่พึงทำ ก็จะได้เลิกละเสีย

    เตือนรัฐบาลผู้ปกครองประเทศว่า ตนมีหน้าที่ปกป้องดูแลพระพุทธศาสนา อันใดที่จัดทำให้พระศาสนาได้ เช่นเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญให้ชัดแจ้ง ก็รีบจัดรีบทำเสีย และมิใช่เพียงเขียนว่า เป็นศาสนาประจำชาติ เท่านั้นแล้วทุกอย่างจะดีขึ้นทันตาเห็น

    ต้องมีบท หรือมาตราใดมาตราหนึ่งพูดไว้ชัดแจ้งว่า จะดูแลพระศาสนาและส่งเสริมพระศาสนาอย่างใดบ้าง

    เพื่อจะได้ออกกฎหมายลูก หรือกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญในการส่งเสริม ดูแลพระศาสนาเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น เรื่องพระสงฆ์บางรูปบางองค์ปฏิบัติผิดเพี้ยนสร้างความมัวหมองแก่พระศาสนา (ดังที่ถูกยกมากล่าวประจาน) จะได้ลดน้อยลงและหมดไป

    คนมีพุทธศาสนาประจำใจคือคนที่เชื่อมั่นในศักยภาพของตน ถึงพระรัตนตรัย (พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์) เป็นที่พึ่งเป็นเครื่องนำทางชีวิต มากกว่าไปหลงใหลได้ปลื้มกับเทพกับมาร ไม่ว่าจะเทพจตุคงจตุคาม หรือมารราหงราหูด้วยความเข้าใจผิดว่าจะบันดาลความสุขความสงบแห่งจิตใจของตนได้

    พระพุทธเจ้าตรัสเตือนไว้เสมอๆ ว่า "เนตัง โข สะระณัง เขมัง เนตัง สะระณะมุตตะมัง เนตัง สะระณะมาคัมมะ สัพพะทุกขา ปะมุจจะเร = สิ่งนั้นมิใช่ที่พึ่งอันเกษมปลอดภัย มิใช่ที่พึ่งสูงสุด อาศัยที่พึ่งชนิดนั้นแล้ว หาพ้นจากทุกข์ทั้งปวงไม่"

    กระนั้นก็มีคนติงผมว่า อย่าห่วงว่าพระพุทธศาสนาจะหายไปจากเมืองไทยเลย โดยเฉพาะท่านกวีรัตนโกสินทร์ เขียนไว้ใน มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับล่าสุดว่า อย่าห่วงว่าใครอื่นจะทำพุทธศาสนาจะอันตรธานเลย พระพุทธเจ้าก็ตรัสไว้ว่าพระพุทธศาสนาจะยังอยู่หรือสาบสูญหายไปก็เพราะพุทธบริษัท ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา มากกว่า

    ถ้าพุทธบริษัทละเลยหน้าที่ของชาวพุทธ คือไม่สอนให้พุทธเป็นพุทธ สอนนอกทางของพุทธ หรือเป็นพุทธที่ไม่รู้จักพุทธ นั่นแหละพุทธศาสนาจะเสื่อมสูญ

    รัฐธรรมนูญเป็นเรื่องของกฎหมาย เจตนารมณ์นี้จะบังคับใช้เอากับ "ศาสนา" อันเป็น "นามธรรม" ซึ่งต่างกับอีกสองสถาบันหลักคือ ชาติ (ประชาชน) พระมหากษัตริย์ (องค์พระประมุข) อันเป็น "รูปธรรม" ได้อย่างไร ถ้าจะให้บัญญัติไว้ลอยๆ โดยไม่มีผลบังคับใช้อย่างนั้น สู้เกริ่นไว้ในบทนำที่เริ่มต้นด้วย "ศุภมัสดุ" นั้นจะมิดีกว่าหรือ ?

    ขอประทานโทษ คุณพี่เนาว์ เมื่อพูดถึงพระพุทธศาสนา ย่อมหมายรวมเอาทั้งรูปธรรมและนามธรรม นามธรรมก็มีทั้งระดับสมมุติและระดับปรมัตถะ พระพุทธวจนะที่ตรัสไว้ว่า "ความจริงสูงสุดนั้นย่อมอยู่เป็น ธรรมธาตุ ธรรมฐิติ ธรรมนิยาม หาได้ขึ้นอยู่กับการเกิดขึ้น หรือดำรงอยู่ของพระพุทธเจ้าไม่" หมายเอาระดับปรมัตถะครับ ระดับอื่นยังไงๆ ก็เสื่อมถ้ารักษาไว้ไม่ดี หรือถ้ารักษาดีก็อาจอยู่ได้นานหน่อย

    ที่เขาห่วงนั้น เขาไม่ได้ห่วงพระพุทธศาสนาระดับปรมัตถธรรมดอกครับ ที่ห่วงนั้นคือพุทธศาสนาระดับสมมุติบัญญัติ และพุทธศาสนาส่วนที่เป็นวัตถุ บุคคลนั้นต่างหาก กรุณาอย่าพูดข้ามชอตไปไกล ทำให้คนงง

    พุทธศาสนาเสื่อมจากอินเดีย ใครๆ ก็รู้ อินเดียไม่มีศาสนบุคคล คือพระสงฆ์เมื่อไม่มีศาสนบุคคล ศาสนวัตถุ ศาสนพิธี และพระวินัยบัญญัติของพระพุทธเจ้าก็มีไม่ได้

    แต่ในแง่ปรมัตถสัจจะที่พระพุทธองค์ตรัสรู้แล้วนำเอามาสั่งสอนชาวโลกน่ะ ไม่มีใครเขาสงสัยว่าไม่มีอยู่ เชื่อว่ามันคงอยู่ เป็นธรรมธาตุ ธรรมฐิติ ธรรมนิยามอยู่อย่างนั้นตลอดกาล

    ยังไงๆ ก็ขอให้ยึดหลักไว้บ้างเมื่อพูดถึงพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาแบ่งเป็น 4 ส่วน

    (1) ศาสนวัตถุ วัดวาอาราม ปูชนียสถานต่างๆ

    (2) ศาสนบุคคล พุทธบริษัท 4 สรุปเป็น 2 คือคฤหัสถ์ และบรรพชิต

    (3) ศาสนพิธี พิธีกรรมที่ปฏิบัติในทางศาสนา

    (4) ศาสนธรรม คำสอนทั้งระดับสมมติสัจจะ และปรมัตถสัจจะ

    พระพุทธศาสนาในข้อที่ 1, 2, 3 และ 4 (เฉพาะสมมติสัจจะ) นั้นต่างหากที่เขาห่วงจะพินาศฉิบหายไป จากภัยภายในพุทธบริษัทกันเองนี่เป็นส่วนใหญ่ (ภัยจากปัจจัยภายนอกก็มี แต่ตัวแปรที่สำคัญคือภัยจากพุทธบริษัทกันเอง)

    การเอารัฐธรรมนูญมาใช้กับ "พระพุทธศาสนา" ใช้เฉพาะในแง่ที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมระดับสมมุติ ไม่เกี่ยวกับระดับปรมัตถสัจจะ และการนำมาใช้ก็มิได้ในความหมายมาบังคับแทรกแซงพระศาสนา หรือเอาศาสนามายุ่งกับการเมือง หากเป็นนโยบายแห่งรัฐมากกว่า ว่าเมื่อพระพุทธศาสนาได้รับยกย่องโดยสมบูรณ์ทั้งด้านจารีตและลายลักษณ์ว่าเป็นศาสนาประจำชาติ รัฐพึงมีมาตรการอย่างใดที่จะอุปถัมภ์ ส่งเสริม พระพุทธศาสนา ทั้งด้านการศึกษา ปฏิบัติ เผยแผ่ และปกป้องพระพุทธศาสนาของพุทธบริษัท ทั้งในด้านการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาและศีลธรรมของเยาวชนของชาติ

    ที่ว่านี้ก็หมายรวมถึงศาสนาอื่นในเมืองไทยด้วย ซึ่งได้รับการอุปถัมภ์ดูแลจากรัฐทัดเทียมกันในทุกด้านดังที่พูดไว้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา

    เพียงใส่ไว้ในคำปรารภว่า "ศุภมัสดุ" ไม่เกี่ยวกับเนื้อหาที่พึงปฏิบัติแต่ประการใด ต่อให้ใส่แปดหมื่นสี่พันศุภมัสดุเท่าพระธรรมขันธ์ ก็ไม่เกิดผลดอกครับ
     
  19. lepus

    lepus เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    307
    ค่าพลัง:
    +1,881
    มีคนถามว่า พระพุทธศาสนาสำคัญอย่างไร จึงควรใส่ไว้ในรัฐธรรมนูญว่าเป็นศาสนาประจำชาติ ผมมองหน้าคนถาม บอกเขาไปว่า คุณถามผิด ที่ถูกควรถามว่า รัฐธรรมนูญสำคัญนักหนาเชียวหรือ ถึงไม่กล้าใส่พระพุทธศาสนาว่าเป็นศาสนาของประเทศไทย คงไม่ลืมว่าประเทศนี้โดยจารีต ขนบธรรมเนียมประเพณี แม้แต่ราชประเพณี ตลอดจนวัฒนธรรม พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติมาตั้งแต่ต้น

    พระราชามหากษัตริย์ทุกพระองค์ทรงยืนยันว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาของประเทศนี้ ไม่ต้องย้อนไปไกลถึงสุโขทัย เอาแค่กรุงธนบุรี และรัตนโกสินทร์

    พระเจ้าตากสินมหาราช ตรัสว่า "พระศาสนาคงอยู่คู่กษัตรา พระศาสดาตรัสไว้ให้คู่กัน"

    รัชกาลที่หนึ่งแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ตรัสไว้ในพระปฐมบรมราชโองการว่า "ตั้งใจจะอุปถัมภก ยอยกพระพุทธศาสนา จะป้องกันขอบขัณฑสีมา รักษาประชาชนและมนตรี"

    รัชกาลที่หก ตรัสว่า "พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาสำหรับชาติของเรา เป็นความจำเป็นที่เราทั้งหลายผู้เป็นไทยจะตั้งมั่นอยู่ในศาสนาพระพุทธซึ่งเป็นศาสนาสำหรับชาติเรา"

    เมื่อทรงประดิษฐ์ธงไตรรงค์ และทรงกำหนดสีต่างๆ เป็นสัญลักษณ์แทนสถาบันทั้งสามคือ "ขาว บริสุทธิ์ศรีสวัสดิ์ หมายพระไตรลักษณ์ และธรรมะคุ้มจิตไทย แดง คือโลหิตเราไซร้ ซึ่งยอมสละได้ เพื่อรักษ์ชาติศาสนา น้ำเงิน คือสีโสภา อันจอมประชา ธ โปรดเป็นของพระองค์"

    พระเจ้าอยู่หัวของเราได้มีกระแสพระราชดำรัสกับสันตะปาปา จอห์นปอลที่ 2 เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2527 ตอนหนึ่ง "คนไทยเป็นศาสนิกชนที่ดีทั่วกัน ส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาประจำชาติ"

    สรุปพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทยมาแต่โบราณกาล โดยราชประเพณี โดยจารีต โดยวัฒนธรรม และโดยวิถีชีวิต พระพุทธศาสนาเป็นหลักยึดเหนี่ยวจิตใจของไทยมาตั้งแต่ต้น พูดให้ชัดคือ เป็นศาสนาประจำชาติไทยมาตลอด เพียงแต่มิได้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร

    เมื่อมีรัฐธรรมนูญขึ้น ตั้งแต่ฉบับแรกจนถึงฉบับชั่วคราว (พ.ศ.2550) ผู้ร่างมิได้ใส่ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งมิใช่เป็นความผิดของพระพุทธศาสนา หากเป็นความผิดของกรรมาธิการผู้ร่างรัฐธรรมนูญ

    คำถามก็คือ กรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญถือสิทธิ์อะไรที่ละเลย ไม่บันทึกข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ของชาตินี้

    เมื่อใครพูด (เช่น ครูสอนหนังสือแก่เด็ก) ว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ก็ท้วงติงว่าไม่ควรพูดอย่างนั้น เพราะแม้รัฐธรรมนูญยังไม่พูดว่าเป็นศาสนาประจำชาติเลย

    แล้วทำไมต้องอ้างอิงรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีความบกพร่องไม่สมบูรณ์ ทำไมไม่รับรู้ความเป็นจริงของสังคมไทยเล่า
     
  20. lepus

    lepus เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    307
    ค่าพลัง:
    +1,881
    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=11481&postdays=0&postorder=asc&start=0

    .....ที่อาจารย์ท่านหนึ่งว่า ดูรัฐธรรมนูญที่ผ่านมาทุกฉบับไม่มีฉบับไหนใส่ว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ พูดผิดพูดใหม่ได้นะครับ ท่านอาจารย์ธงทอง (ไหนว่าจะไม่เอ่ยไง)

    ลองช่วยค้นเอกสารเก่าๆ ดู ในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ.2475 "ในร่างเดิมนั้นมีข้อความว่า "พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำอาณาจักรสยาม" แต่ถูกตัดออก "อนุกรรมาธิการร่างจำต้องตัดออกไปก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรให้พิจารณาและลงมติ เพราะ...มันเกรงใจเพื่อน...ของมัน"

    ข้อมูลบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ จากบันทึกในเรื่องเดียวกันนี้ ท่านปรีดี พนมยงค์ ยังได้เล่าให้ทราบว่า เมื่อเสร็จการประชุมก่อตั้งคณะราษฎรแล้ว ข้าพเจ้ากลับสยามในเดือนมีนาคมปีนั้น แล้วเพื่อนที่ยังอยู่ในปารีสเลือกเฟ้นผู้ที่สมควรชวนร่วมคณะราษฎรต่อไป อีกประมาณ 2-3 เดือน เพื่อนได้ชวนนายทวี บุณยเกตุ นักศึกษาวิชาเกษตร และนายบรรจง ศรีจรูญ ไทยมุสลิมจากอียิปต์ที่มาเยือนปารีส ซึ่งรับภาระจัดตั้งมุสลิมต่อไป อาทิ นายแช่ม มุสตาฟา (บุตรหัวหน้าศาสนาอิสลามในไทย ที่รู้จักกันในนามว่า "ครูฟา" ต่อมานายแช่มเปลี่ยนนามสกุลว่า "พรหมยงค์" คล้ายนามสกุลของข้าพเจ้า)"

    ความจริงก็คือว่า เคยมีในร่างของอนุกรรมาธิการ แต่ถูกดึงออกก่อนเสนอสภาแบบเส้นยาแดงผ่าแปด

    แต่โดยราชประเพณี โดยประวัติศาสตร์ โดยจารีตประเพณีและวัฒนธรรม พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทยอยู่แล้ว เพียงแต่ไม่ได้จารึกเป็นลายลักษณ์ ด้วยภาพหลอนภาพลวงที่สืบทอดกันมาดังกล่าว จึงไม่ได้รับการบันทึกเป็นลายลักษณ์เท่านั้น

    คราวนี้ก็แว่วว่า ดึงออกตั้งแต่ไม่บันทึกแล้ว คือ ดึงออกจากใจของคณะกรรมาธิการร่างทั้งหลาย (คงไม่หมดทุกคน) ท่านที่รับปากผมแล้วก็ไม่ต้องเกรงใจว่าจะผิดคำพูด เพราะผมรู้ดีว่าท่านเพียงแต่พูดว่า "ผมจะพิจารณา ผมจะนำเข้าสู่ที่ประชุม" ส่วนที่ประชุมจะเอาอย่างนี้ก็ไม่ว่าอะไร เพราะคาดการณ์ล่วงหน้าอยู่แล้ว

    เพียงต้องการบอกว่า ผมจะคัดค้านและยกมือไม่ผ่านร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ครับ ใครจะเอากับผมด้วยก็ยกมือ
     

แชร์หน้านี้

Loading...