คุณคิดว่าวิทยาศาสตร์กับศาสนามีความสัมพันธ์กันหรือไม่?

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย khajornwan, 8 พฤศจิกายน 2010.

  1. khajornwan

    khajornwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    901
    ค่าพลัง:
    +4,468
    ขอขอบคุณที่ติดตามและขอโทษด้วยค่ะที่ทำให้คุณเลขโนนสูงไม่เข้าใจ..
    มีอะไรให้ช่วยอธิบายประเด็นไหนก็ post มาได้เลยนะคะ.. ยินดีค่ะ
    สงกะสัยเราต้องอ่านด้วยจิตวิญญาณมังคะจึงจะสามารถเข้าใจได้
    หรือว่าขจรวรรณเข้าใจอยู่คนเดียว.. แงแง..
    pig_cryypig_cryypig_cryy
     
  2. khajornwan

    khajornwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    901
    ค่าพลัง:
    +4,468
    ประเด็นของคำสอนก็คล้ายกับของพุทธเราตรงที่ว่า
    ให้เราค้นหาจากภายใน ไม่ส่งจิตออกนอกนั่นเองค่ะ..:boo:
    ......................................
    คำสอนของพระเยซูเจ้าเรื่องการเพ่งพิศภาวนา (Contemplation)

    พระเยซูเจ้าทรงเป็นอาจารย์สอนการเพ่งพิศภาวนา พระองค์ไม่ได้เสด็จไปตามสถานที่ต่างๆ เพื่อพูดถึงการทำสมาธิแบบคริสต์ แต่พระองค์ทรงเป็นอาจารย์สอนการเพ่งพิศภาวนา ถ้าท่านอ่านบทเทศน์บนภูเขาของพระเยซูเจ้า “The Sermon on the Mount” ซึ่งเป็นแก่นแท้ของคำสอนของพระเยซูเจ้า (ในพระวรสารนักบุญ มัทธิว บทที่ 5, 6 และ 7 ) เมื่อมีคนถามพระเยซูเจ้าเรื่องการภาวนา พระองค์ไม่ได้บอกว่า ท่านต้องไปภาวนาที่ศาลาธรรมทุกวันเสาร์ หรือต้องบริจาคเงินใส่ถุงทาน หรือต้องเชื่อเรื่องนั้นเรื่องนี้หรือต้องถือตามกฎระเบียบข้อนั้นข้อนี้ของศาสนานั้นหรือของศาสนานี้ หรือต้องถือวันฉลองหรือเทศกาลและระเบียบพิเศษอื่นๆ ของศาสนาของเรา อันที่จริงพระองค์ไม่ได้เอ่ยถึงการถือกฎระเบียบปฏิบัติของศาสนามากนัก ข้าพเจ้าคิดว่า พระองค์คงคิดว่าผู้คนคงเคร่งศาสนาอยู่แล้วกระมัง

    แต่สิ่งที่เราเห็นในคำสอนของพระเยซูเจ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สิ่งที่พระองค์เน้นจริงๆ นั้น ไม่ใช่การปฏิบัติศาสนกิจหรือพิธีกรรมทางศาสนา ซึ่งล้วนเป็นเรื่องเปลือกนอก แต่ทรงเน้นที่ ชีวิตภายใน” (Interiority) โดยมีรากฐานจากประสบการณ์ของ “การเพ่งพิศภาวนา” ก่อนอื่น พระองค์ทรงเตือนเราให้ระวังอันตรายจากการยึดถืออยู่กับ “รูปแบบภายนอก” ของศาสนา การปฏิบัติศาสนกิจภายนอกโดยขาดจิตตารมณ์หรือแก่นความลึกภายในใจ หรืออีกนัยหนึ่ง คือ จงอย่าคิดว่า เพียงเพราะท่านรู้สึกดี ที่ท่านได้ปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาบางอย่างแล้ว ท่านก็ได้มีประสบการณ์กับพระเจ้า ข้าพเจ้าคิดว่า นั่นคือสิ่งที่พระองค์หมายถึง เมื่อพระองค์ตรัสถึงการได้รับความโปรดปรานจากพระเจ้า อย่าคิดว่าท่านได้เข้าสู่ประสบการณ์กับพระเจ้าอย่างแท้จริง เพียงแค่เพราะท่านคิดว่าท่านได้เคร่งศาสนาหรือศรัทธาอย่างแท้จริง

    นั่นเป็นสิ่งที่เราต้องรับฟังด้วยความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่มีการถือศาสนาอย่างสุดโต่ง (Fundamentalism)และการยึดถือตามประเพณีนิยมภายนอกหรือรูปแบบที่เป็นทางการภายนอก (Formalism) ใช่! เราอาจรักศาสนาของเรา และเราควรรักศาสนาของเราและเราควรรักที่จะปฏิบัติศาสนกิจ เพราะนี่คือสิ่งสำคัญสำหรับเรา พระเยซูเจ้าไม่ได้บอกว่าเราไม่ควรปฏิบัติศาสนกิจ แต่พระองค์ไม่ได้เน้นเรื่องนี้เป็นหลัก ตรงกันข้าม พระองค์ตรัสว่า “เมื่อท่านภาวนา จงเข้าไปใน ‘ห้องลับส่วนตัวของท่าน’(Your‘inner room’) ซึ่งก็คือหัวใจของท่าน” หรือ อีกนัยหนึ่ง แก่นแท้ของการภาวนาอยู่ที่ภายในใจ (Interiority) และความวิเวก (Solitude) ความวิเวกในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการแยกตัวเองออกจากผู้อื่น แต่หมายถึงการค้นพบ ‘ตัวตน’ ที่แท้จริงของตัวเรา และสัมผัสกับความพิเศษไม่เหมือนใครของเรา หรือความเป็นเอกลักษณ์ของเรา พระเยซูเจ้าตรัสว่าท่านต้องเข้าไปใน “ห้องลับส่วนตัวของท่าน” อันเป็นพื้นที่ “ภายใน” ของตัวตนของท่านเองและในที่นั่นนั่นแหละที่พระองค์บอกว่า ท่านจะได้พบกับการประทับอยู่ของพระเจ้า ในที่นั้นนั่นแหละที่ท่านจะมีประสบการณ์สัมพันธ์โดยตรงกับพระเจ้า และนี่แหละ คือความหมายของการได้รับความโปรดปรานจากพระเจ้า

    พระคัมภีร์กล่าวว่าอย่างไร พระคัมภีร์กล่าวว่า พระวาจาอยู่ใกล้ท่าน อยู่ในปากและในใจของท่าน<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งของคำสอนของพระองค์คือ “การวางใจ” (Trust) ในพระเจ้า พระองค์ทรงบอกว่า “เมื่อท่านภาวนา จงอย่าพูดพล่ามซ้ำซาก เหมือนพวกคนนอกรีต ผู้ที่คิดว่าถ้าเขายิ่งพูดมากเท่าไร พระเจ้าจะรับฟังเขามากเท่านั้น” และนั่นเป็นคำพูดที่ชวนให้เราต้องคิด ให้เราต้องตื่นจากภวังค์และไตร่ตรองสำรวจตัวเองให้ดี เพราะนั่นคือเรื่องอันตรายที่ยิ่งใหญ่สำหรับคนที่คิดว่าตัวเองศรัทธา ที่เราคิดว่า ยิ่งเราทำกิจกรรมทางศาสนามากเท่าไร ภาวนา ไปวัด และทำพลีกรรมมากเท่าไร เราก็จะยิ่งดึงดูดความสนใจของพระเจ้าได้มากเท่านั้น ถ้าเราคิดอย่างนั้น พระองค์เตือนเราอย่างแรงไม่ให้ทำเช่นนั้น ทรงบอกว่า “ จงอย่าพูดซ้ำซากเหมือนคนนอกรีต จงอย่ากลายเป็นพวก ‘นักวัตถุนิยมฝ่ายจิต’ (Spiritualmaterialists) อย่าคิดว่าท่านจะซื้อทางเข้าสู่อาณาจักรสวรรค์ได้ อย่าคิดว่าท่านสามารถซื้อทางเข้าสวรรค์ได้ ด้วยการสวดภาวนามากๆ หรือทำกิจกรรมทางศาสนกิจมากๆ” ดังนั้น พระองค์จึงทรงขอให้เราตรวจสอบสำรวจจิตวิทยาด้านศาสนาของเราเองให้ดี อันที่จริง ถ้าศึกษาให้ดี เราจะเห็นว่าพระวรสารทั้งหมด วิพากษ์วิจารณ์ศาสนาของมนุษย์อย่างรุนแรงไม่ใช่เพียงศาสนายิว แต่ทุกศาสนาที่ฉาบฉวยผิวเผินเน้นแต่ในกรอบภายนอก

    แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า ให้ท่านเลิกไปวัด หรือเลิกสวดภาวนาแบบอื่น ตรงกันข้าม การภาวนาแบบอื่นทั้งหลาย เช่น การอ่านพระวรสาร การรับศีลมหาสนิท ฯลฯ จะกลับกลายเป็นสิ่งที่มีพลังและมีความหมายมากขึ้น อันเป็นผลมาจากการทำสมาธิที่มุ่งเน้นตรง ชีวิตภายใน นั่นเอง ซึ่งมีผลทำให้ท่านรู้จักตนเองมากขึ้น และสำรวจตนเองอย่างเข้มงวดมากขึ้น ท่านเข้าใจว่าเหตุใดท่านจึงทำสิ่งต่างๆ เหล่านั้น และมันมีความหมายจริงๆ อย่างไร ฯลฯ

    [​IMG]

    การฝึกการทำสมาธิ เป็นการมุ่งเข้าไปใน “ห้องส่วนตัว” ในหัวใจของเรา ด้วยเหตุนี้จึงเป็นการยากที่จะหลอกตัวเอง และนี่อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เราพบว่าการทำสมาธิเป็นเรื่องยาก เพราะบางครั้ง มันยากที่จะเผชิญหน้ากับตัวเราเอง โดยเฉพาะเมื่อท่านได้ค้นพบว่า แท้จริงท่านได้หลอกลวงตัวเองมาตลอกเวลา หรือได้พยายามปัดฝุ่น- - - หรือเรื่องที่ไม่อยากจะเผชิญ- - -เข้าไปกลบเกลื่อนซ่อนไว้ใต้พรหมมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ฉะนั้นการเผชิญกับความเป็นจริงของตนเองจึงเป็นเรื่องที่ยากมาก การทำสมาธิจะนำแสงสว่างเข้าไปในทุกๆ ที่ ที่อยู่ในความมืดมาก่อน ทำให้เข้าใจทุกสิ่งชัดเจนขึ้น ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะแสงสว่างเข้าไปในหัวใจของเรา เริ่มสว่างจิตใจและพฤติกรรมทุกด้านของเรา และทำให้เราเห็นแรงจูงใจที่แท้จริงในทุกสิ่งที่เราทำ ทำให้เรารู้จักตนเอง และตระหนักรับรู้ตัวเองมากขึ้น

    และนี่เป็นเหตุที่การทำสมาธิจึงให้ผลในการช่วยชำระศาสนาให้บริสุทธิ์ขึ้นด้วยเสมอ และป้องกันมิให้ศาสนาของเรา กลายเป็นเพียงพิธีกรรมภายนอก หรือไปเน้นเรื่องการเชื่อถือเวทย์มนตร์คาถา หรือโชคลาง และเช่นกัน การทำสมาธิจึงเป็นยาแก้หรือยาถอนพิษ (Antidote) ที่ดีเยี่ยมสำหรับพวกถือศาสนาอย่างสุดโต่งด้วย (Fundamentalists) ศาสนาจะกลายเป็นเรื่องการถือโชคลาง ถ้าเราคิดถึงศาสนาและกระทำการภาวนาเหมือนกับกำลังบีบบังคับพระเจ้า หรือดึงดูดความสนใจของพระเจ้า เพื่อให้ทำบางสิ่งบางอย่างให้กับเราที่เราต้องการและวอนขอ แน่นอน ความเป็นมนุษย์ของเราทำให้เรามีแนวโน้มที่จะกระทำอย่างนั้น แต่เป็นสิ่งที่พระเยซูเจ้าทรงเตือนอย่างชัดเจนและอย่างแรงว่า ‘อย่าทำ’พระองค์บอกว่า “อย่าลืมว่าพระบิดาเจ้าทรงทราบแล้วว่าท่านต้องการอะไรก่อนที่ท่านจะขอเสียอีก” นี่คือ เรื่อง “ความไว้วางใจ” เพราะถ้าเรารับฟังจริงๆ ในสิ่งที่พระองค์ตรัส และเข้าใจจริงและจดจำไว้ เมื่อนั้น วิธีการภาวนาของเราก็จะเปลี่ยนไป

    เอาหล่ะ! พระองค์ไม่ได้บอกว่า ท่านไม่ควรพูดถึงความต้องการของท่านออกมาเป็นคำพูด หรือเป็นคำวิงวอน เพราะนั่นเป็นวิธีตามธรรมชาติของมนุษย์เราที่จะทำ โดยเฉพาะเมื่อใจของท่านกำลังหนักอึ้ง มีเรื่องกังวลใจ หรือมีปัญหาที่ท่านต้องการจะระบาย หรือแบ่งปันกับผู้อื่นในระหว่างการภาวนา ดังนั้น จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่ท่านควรแสดงออก ไม่ว่าในช่วงที่ท่านอยู่ตามลำพัง หรือต่อหน้าชุมชนที่กำลังถวายนมัสการเมื่อเราภาวนาสวดให้แก่กันและกัน หรือสวดให้แก่ชาวโลก เพียงแต่ว่า เราต้องภาวนาจากใจจริง พระเยซูเจ้ามิได้บอกว่าเราไม่ควรทำเช่นนี้ แต่บอกว่า เมื่อท่านทำ จงจำไว้ว่าพระเจ้าได้ทรงทราบทุกอย่างหมดแล้ว นั่นก็หมายความว่า ท่านกำลังบอกเราว่า เวลาภาวนา จงอย่าพูดมากเหมือนพยายามจะบอกอะไรกับพระเจ้า ยังกับว่ากลัวว่าพระเจ้าจะตกข่าวซีเอ็นเอ็น (CNN) อย่างนั้น หรือยังกับว่ากลัวพระเจ้าจะเปลี่ยนใจรึเกิดอาการความจำเสื่อมชั่วขณะ ลืมในสิ่งที่เราได้ขอท่านไว้ และปล่อยให้สิ่งที่เป็นปัญหาแย่ๆ เกิดขึ้นกับเรา หรือยังกับว่ากำลังขอพระเจ้าให้ทรงกดปุ่มย้อนหลัง (Rewind button) เพื่อเปลี่ยนชะตากรรมของเรา หรือขอให้พระองค์ช่วยเหลือเรา ยังกับว่าเราเป็นที่โปรดปรานของพระองค์มากกว่าคนทั่วไป

    นักบุญเปาโล เคยกล่าวประโยคสำคัญมากประโยคหนึ่งว่า “พระเจ้าไม่ได้เข้าข้างใครเป็นพิเศษ” ไม่ว่าจะเป็นคริสตชนหรือชาวยิวก็ตาม “เราทุกคนได้รับเลือกอย่างเท่าเทียมกัน และพระเจ้าทรงรักเราอย่างเท่าเทียมกัน” ฉะนั้น เราจึงไม่ภาวนาเพื่อให้พระเจ้าทรงเข้าข้างเรา โดยทำให้ผู้อื่นเสียเปรียบ การภาวนาไม่ใช่เป็นเรื่องของการต่อรอง และเราจะสามารถเข้าใจได้และระลึกได้ว่า พระเจ้าทรงทราบความต้องการต่างๆ ของเราทั้งหมดอยู่แล้ว

    พระเยซูเจ้าตรัสต่อไปอีกว่า ยังมีองค์ประกอบสำคัญอื่นๆ ของการภาวนา เช่น “จงอย่ากังวลใจ จงดูนกบนท้องฟ้า และดอกลิลี่ในทุ่งนาเถิด อย่ากังวลว่า ท่านจะกินอะไรหรือจะสวมใส่อะไร” พระองค์ไม่ได้บอกว่า สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ความกังวลใจตามปกติในชีวิตประจำวันของมนุษย์เรา แต่พระองค์กำลังบอกว่า “จงอย่าหมกมุ่น อย่ากระวนกระวายใจจนเกินไปในความต้องการทางวัตถุในชีวิต” พระองค์กล่าวว่า ถ้าท่านพบว่าตนเองหมกมุ่น กังวล เครียด เมื่อนั้น วิธีแก้ไขที่ดีที่สุด คือการหันไปสนใจกับความงามของธรรมชาติ ที่พระเจ้าได้สร้างมา จงมองดูว่าชีวิตนี้มันงดงาม จงมองดูดอกลิลี่ในทุ่งนา และนกบนท้องฟ้า ความงามของชีวิตและความงามของสิ่งสร้าง เป็นสิ่งที่เราลืมได้ง่ายๆ เมื่อเราปล่อยให้ความกังวลใจเข้ามาครอบงำท่วมทับเรา จนเราไม่เห็นอะไรอย่างอื่นเลย เราลืมไปว่าชีวิตนั้นดีและสวยงาม และแม้แต่ท่ามกลางความทุกข์ทรมาน เราก็ยังสามารถชื่นชมกับความงามนี้ และความดีงามของชีวิตได้ ดังนั้น พระเยซูเจ้าจึงตรัสว่า “ให้มองดูนกบนท้องฟ้า และดอกลิลลี่ในทุ่งนา” เพียงการมองดูอาจยังไม่พอ เราต้องมองให้เห็นด้วย มองให้เห็นความงามอันเรียบง่ายตามธรรมชาติของมัน เมื่อนั้นเราจะเห็นว่า ชีวิตของเราเองนั้นเป็นพระพร (Gift) อย่างแท้จริงที่พระเจ้าได้ประทานให้เราเปล่าๆ ท่านจำคำพูดของคุณ<?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com[​IMG]</st1:personName>พ่อ ยอห์น เกี่ยวกับการทำสมาธิได้หรือไม่? คุณ<st1:personName w:st="on" ProductID="พ่อ ยอห์น">พ่อ ยอห์น</st1:personName> บอกว่า“ในการทำสมาธิ เรายอมรับพระพรแห่ง “ตัวตน” ของเรา (Gift of our being)” เมื่อเราพิจารณาคำสอนฝ่ายจิตเหล่านี้ที่พระเยซูเจ้าได้สอนเรา เราก็จะเห็นว่าผู้ที่เคร่งศาสนาที่แท้จริงจะเป็นคนที่ได้สัมผัสพระพรแห่ง “ตัวตน” ที่แท้จริง ภายในส่วนลึกของหัวใจ และด้วยความไว้วางใจอันลึกล้ำ และนั่นก็คือจุดเริ่มต้นนมัสการอย่างแท้จริงทั้งหลาย
    ( ยังมีต่อ )
    pig_balletpig_balletpig_ballet<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 ธันวาคม 2010
  3. Jjfreeman

    Jjfreeman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กันยายน 2010
    โพสต์:
    101
    ค่าพลัง:
    +130
    สวัสดีครับ คุง khajornwan
    ไม่ได้เข้ามาอ่านหลายวัน มีข้อความดีเพิ่มเพียบเลยครับ ดีแล้ว ถูกแล้ว( อย่าว่างั้นว่างี้เลยนะ ก็คงเปิดตัวแบบ คุณ ไอ สไตน์ เหมื่อนเดิมอ่าๆๆ)

    สมการต่อไปนี้เป็นสมการที่แสดงถึงสิ่งต่างๆที่ไอสไตน์อธิบายได้เหมือนที่พระพุทธเจ้าอธิบาย
    ขัณธ์๕
    คือ"ร่างกายและจิตใจ"นั่นเอง
    ประกอบด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาญ

    รูป - ร่างกาย(รวมถึงพฤติกรรมของร่างกายเช่น หายใจ)

    เวทนา - ความรู้สึกที่เกิดขึ้นต่อสิ่งที่รับรู้มี3อย่างคือ
    ความรู้สึกสุข(สุขเวทนา)
    ความรู้สึกทุกข์(ทุกขเวทนา)
    ความรู้สึกเฉยๆ(อุเบกขเวทนา)

    สัญญา - การแยกแยะว่าอะไรเป็นอะไร(อาจจะเป็นขั้นต่อของเวทนา)

    สังขาร - สิ่งที่กระตุ้นผลักดันการกระทำของมนุษย์(ผลรวมของการรับรู้[วิญญาญ]ความรู้สึก[เวทนา]ความจำได้ [สัญญา]
    เช่น
    เห็นแก้ว(วิญญาญ)รู้สึกว่าสวยดี(เวทนา)จำติดตาว่าเป็นกลมๆใสๆ(สัญญา)และอยากได้จึงหยิบมา(สังขาร)

    วิญญาญ
    การรับรู้จากประสาททั้ง๕คือ
    ทางตา(จักขุวิญญาญ),จมูก(ฆานวิญญาญ),หู(โสตวิญญาญ),ลิ้น(ชิวหาวิญญาญ),กาย(กายวิญญาญ),
    จิตใจ(มโนวิญญาญ)
    อายตนะที่เกี่ยวกับวิญญาญ ที่ประกอบด้วย ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ พวกนี้ทางพระพุทธจะเรียก
    ว่า"อายตนะภายใน"
    ส่วนที่ประกอบด้วย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ พวกนี้เรีกว่า"อายตนะภายนอก"
    เมื่ออายตนะทั้งในและนอกมาบรรจบกันแล้วก็จะเกิดการรับรู้(หรือวิญญาญ)

    ***อยากรู้จักทำไมมันไม่สลับกัน เอาพวกตานี่เป็นภายนอกใจเป็นภายใน***

    เอาล่ะทีนี้มาดูสมการกันดีกว่าว่าเขียนยังไง
    [​IMG]
    นี่คือ"สมการ"ของพระพุทธเจ้า
    ที่จริงแล้ว หลักการของไอน์สไตน์ในเรื่อง มวลกับพลังงาน ก็สามารถนำมาพูดเทียบเคียงกับสมการดังกล่าวข้างต้น ปัญญาชนทุกคนล้วนรู้จัก e=mc<SUP>2 </SUP>ซึ่งเป็นสูตรที่นำมาสร้างระเบิดปรมณู ดิฉันดูสารคดีที่อังกฤษเกี่ยวกับสมการนี้ของไอน์สไตน์ นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษท่านหนึ่งพูดว่า ไอน์สไตน์เป็นคนแรกที่พูดออกมาอย่างชัดเจนว่า พลังงาน หรือ e (energy) กับมวล หรือ m (mass) เป็นสิ่งเดียวกัน แต่ต่างรูปแบบเท่านั้น ฉะนั้น ถ้าเราไม่พูดเรื่องการสร้างพลังงานนิวเคลียร์อันเป็นผลจากปฏิกิริยาลูกโซ่ และเลือกพูดแต่ความคิดหลัก ๆ ของไอน์สไตน์ที่สามารถประสานกับความรู้ของพระพุทธเจ้าได้แล้วละก็ เราสามารถเอาความเร็วของแสงยกกำลังสอง หรือ c<SUP>2</SUP> ออกไป สมการที่เหลือจึงได้
    e=m
    energy = mass
    พลังงาน = มวล
    นาม = รูป ความคิด ความจำ
    ความรู้สึก = ภาพ (รูป) เสียง กลิ่น รส สัมผัส
    นามธรร= รูปธรรม
    โลกภายใน = โลกภายนอก


    ฉะนั้น คุณจะเห็นว่า สิ่งที่พระพุทธเจ้าได้อธิบายนั้นเป็นเรื่องเดียวกับที่ไอน์สไตน์ค้นพบภายหลังพระพุทธเจ้าถึง ๒๕๐๐ กว่าปี นั่นคือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ก็คือ มวล ที่มีค่าเหมือนกับความคิด ความจำ ความรู้สึก อันเป็นส่วนของพลังงาน


    คำว่า รูป ที่เขียนคู่กับ นาม ของพระพุทธเจ้านั้น ต่างจากความหมายของ รูป อันเป็นสิ่งที่เห็นได้ทางตา หรือ ภาพ “รูป” คำใหญ่ที่เขียนคู่กับ “นาม” นั้น มีความหมายกว้างมาก ครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาลนี้ มีความหมายเหมือนกับคำว่า “ธรรม” แต่เป็นทุกอย่างของโลกภายนอกในเชิงกายภาพ จึงมีคำใช้ที่เหมาะเจาะว่า “รูปธรรม” คือทุกสิ่งทุกอย่างในฝ่ายกายภาพหรือฝ่ายรูป ฉะนั้น ถ้าจะกระจายคำว่า รูป ก็จะแยกรายละเอียดออกมาเป็น ภาพ (รูป) เสียง กลิ่น รส สัมผัส ซึ่งตรงกับสมการด้านบนที่เขียนไปแล้ว เมื่อ “รูปธรรม” เหล่านี้เข้าไปในใจของเราแล้ว ก็กลายเป็นธรรมชาติฝ่ายนามของโลกภายใน หรือ “นามธรรม” คือ ทุกสิ่งทุกอย่างในส่วนที่จับต้องไม่ได้ ที่มีอยู่ในรูปกายของเรา ก็จะแยกรายละเอียดออกมาเป็น ความคิด ความจำ ความรู้สึก ดังสมการด้านบน เช่นกัน

    .:boo:..........................................:boo:.................................................:boo:
     
  4. khajornwan

    khajornwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    901
    ค่าพลัง:
    +4,468
    คำสอนของพระเยซูเจ้าเกี่ยวกับการเพ่งพิศภาวนา ( ต่อ )

    พระเยซูเจ้าทรงสอนเราเกี่ยวกับการภาวนา โดยทรงบอกเราว่า ในชีวิตฝ่ายจิตของเรา (Spiritual lift) เราควรมีสติ มีสมาธิ ที่ไม่กระวนกระวายและกระจุยกระจายไปทั่วทุกทิศ (Distracted or scattered)- - -ซึ่งหมายถึงการดำรงชีวิตอยู่ในสำนึกของ “ขณะปัจจุบัน” (The present moment) อยู่ตลอดเวลา เรื่องนี้ซ่อนอยู่ในคำกล่าวของพระองค์อย่างชัดเจนมากเมื่อพระองค์บอกเราว่า “เราควรตั้งเป้ามุ่งไปที่พระอาณาจักรของพระเจ้าก่อนสิ่งอื่นใดทั้งหมด แล้วสิ่งอื่นใดทั้งหมดนั้นก็จะตามมาหาเราทีหลังเอง” นั่นแปลว่าอะไร? แน่นอน นั่นหมายความว่า เราต้อง- - -อยู่กับ “ขณะปัจจุบัน”- - -ดำรงชีวิตอย่างตั้งใจใน “ขณะปัจจุบัน” นี่คือ การตระหนักถึงพระอาณาจักรของพระเจ้า- - - -ซึ่งหมายถึงการประทับอยู่ของพระเจ้าภายในตัวเรา และท่ามกลางเราตลอดเวลา- - - -ในความหมายนี้ใกล้เคียงมากกับคำว่า “มีสติ” (Mindfulness) ของพุทธศาสนิกชน และที่ธรรมประเพณีคริสตชนเรียกว่า “การภาวนาตลอดเวลา” (Praying at alltimes)<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ผลประโยชน์ยิ่งใหญ่อย่างหนึ่งของการทำสมาธิเป็นประจำทุกเช้าและเย็นนั้น คือท่านจะเริ่มพบว่าท่านรับรู้ได้มากขึ้นและลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้น ถึงการประทับอยู่ของชีวิตพระจิตอย่างต่อเนื่องในตัวท่าน ชีวิตฝ่ายจิตนี้ดำเนินไปในส่วนลึกของตัวท่านตลอดเวลา ไม่ใช่เพียงในระหว่างที่ท่านกำลังภาวนาเท่านั้นแต่ตลอดเวลาทั้งวันทั้งคืน ไม่ว่าท่านจะกำลังทำอะไร อยู่ที่ไหน อยู่กับใคร และไม่ว่าท่านจะรู้สึกอย่างไร นี่คือพื้นที่ส่วนลึกสุดของความเป็น “ตัวตน” ของเรา (“Being”) - - -เป็นระดับพื้นส่วนลึกของการดำรงอยู่ของเรา (Ground level of existence) ซึ่งเรากำลังยืนอยู่ใน “ขณะปัจจุบัน”- - -“ขณะปัจจุบัน” ที่มีทั้งอดีตและอนาคตอยู่ในตัว เราจะอยู่ใน “ขณะปัจจุบัน” อยู่เสมอ แม้ในขณะที่เรากำลังคิดถึงอดีตหรืออนาคต และนี่คือความหมายของคำว่า “ภาวนาตลอดเวลา” (Praying at alltimes)

    [​IMG]

    การมีชีวิตอย่างเพ่งพิศภาวนาไม่ได้แปลว่าเราต้องอยู่ในอาราม หรือต้องใช้วิถีชีวิตอยู่อย่างเงียบๆ แต่หมายความว่า ไม่ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ ในขณะที่เรากำลังทำหน้าที่ของเรา หรือปฏิบัติตามอาชีพของเราอยู่นั้น เราอยู่ใน “ขณะปัจจุบัน” และต่อหน้าการประทับอยู่ของพระเจ้าในการกระทำที่เรากำลังทำอยู่นั้นเสมอ “การภาวนาตลอดเวลา” หมายถึงว่า เรากำลังเปิดจิตสำนึกในระดับที่ลึกลงไปของเรา ซึ่งเป็นระดับที่พระคริสตเจ้าทรงกำลังภาวนาในตัวเรา นักบุญเปาโลช่วยให้เราเข้าใจ เมื่อท่นบอกเราว่า “เราไม่รู้วิธีภาวนา แต่พระจิตเจ้าทรงภาวนาภายในตัวเรา อย่างลึกซึ้งมากกว่าคำพูด” สิ่งที่เป็นผลของประสบการณ์นี้คือ “ความชื่นชมยินดี และสันติสุข” (Joy and peace)ท่านรู้สึก “ชื่นชมยินดี” ได้แม้เมื่อเหตุการณ์ไม่เป็นไปตามความคาดหมาย และท่านสามารถรู้สึกถึง “สันติสุข” ได้แม้ในยามที่ท่านเครียด หรือกังวลใจ เพราะความ “ชื่นชมยินดี” และ “สันติสุข” ที่พระเยซูเจ้าทรงสัญญาและประทานแก่เรานี้ คือ “สันติสุข” และความ “ชื่นชมยินดี” ของพระองค์เอง ในพระวรสารของนักบุญยอห์น พระเยซูเจ้าตรัสว่า “เรามอบสันติสุขของเราแก่ท่าน เป็นของขวัญที่มอบให้ท่านก่อนจากกัน” พระองค์ตรัสว่า “เราขอมอบความชื่นชมยินดีของเราแก่ท่าน เป็นของขวัญที่มอบให้ท่านก่อนจากกัน” พระองค์ตรัสว่า “เราขอมอบความชื่นชมยินดีของเราแก่ท่าน เพื่อให้ความชื่นชมยินดีของท่านครบบริบูรณ์”<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ในตอนท้ายของพระวรสารของนักบุญมัทธิว พระเยซูเจ้าบอกเราว่า จงอย่ากังวลถึงวันพรุ่งนี้ เพราะแต่ละวันก็มีทุกข์ของมันพอแล้ว ในที่นี้ พระองค์กำลังพูดถึงการใช้ชีวิตอย่างเต็มที่และอย่างซื่อสัตย์ใน ขณะปัจจุบัน อยู่ตลอดเวลา จงอยู่ใน “ขณะปัจจุบัน” จงอยู่กับความจริง อันที่จริง เมื่อท่านเข้าใจและค้นพบว่า การอยู่ใน “ปัจจุบัน” หมายถึงอะไร และการมีชีวิตใน “ขณะปัจจุบัน” เป็นอย่างไรแล้ว ท่านจะค้นพบด้วยตนเองว่า ในขณะที่ท่านทำสมาธิในแต่ละวัน ท่านไม่ได้ลืมอดีต ท่านไม่ได้ขาดความรับผิดชอบต่ออนาคต แต่ทั้งอดีตและอนาคต สัมพันธ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอยู่ใน “ขณะปัจจุบัน” จริงอยู่ อาจมีบางเรื่องในอดีตที่ท่านยังต้องจัดการ มีธุรกิจคั่งค้างที่ท่านต้องไปทำให้เสร็จ มีความรับผิดชอบทางอารมณ์ หรือทางศีลธรรมที่ท่านยังไม่ได้จัดการ ซึ่งเกิดจากอดีตหรือพฤติกรรมในอดีต บางทีอาจมีบางสิ่งที่ท่านไม่เข้าใจเกี่ยวกับอดีตที่ท่านต้องทำความเข้าใจก่อนจะดำเนินชีวิตต่อไป และแน่นอนท่านจะไม่เพิกเฉยต่ออนาคต และไม่เสแสร้งว่าไม่มีอนาคต ท่านยังคงจ่ายเบี้ยประกันภัยและภาษีรถยนต์ของท่าน ท่านยังจองตั๋วเครื่องบินล่วงหน้าเพื่อให้ได้ตั๋วในราคาถูกเป็นพิเศษ อดีตและอนาคตมีความเป็นจริงบางอย่างที่เราต้องเคารพ และปฏิเสธไม่ได้<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    แต่ท่านจะค้นพบว่า ในขณะที่ท่านเรียนรู้ที่จะอยู่กับ “ขณะปัจจุบัน”“ท่านจะกังวลน้อยลงเกี่ยวกับอนาคต” และ “ท่านจะถูกอำนาจในอดีตควบคุมบีบคั้นท่านได้น้อยลง” ชีวิตท่านจะไม่ถูกทับถมครอบงำด้วยความกลัวในสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หรือความทรงจำในอดีต ท่านจะไม่ติดกับอยู่ในอดีต โดยเฉพาะอดีตที่สร้างความโกรธแค้น ความรู้สึกผิด หรือความเศร้าให้กับท่าน เป็นธรรมดาที่เราทุกคนมีความขัดแย้งกับผู้อื่น หรือกับคนในครอบครัว หรือมีคนทรยศหักหลังเรา มีความสัมพันธ์ที่ร้าวฉาน มีนายจ้างที่ให้เราออกจากงาน หรือเราอาจทะเลาะกับเพื่อน ฯลฯ ประสบการณ์ในอดีตของเราเหล่านี้มีอิทธิพลมาก และเรามักไม่ลืมมันโดยง่าย เราอาจต้องต่อสู้กับการที่จะให้อภัยเป็นเวลานานหลายๆ ปี บ้างก็ไม่สามารถทำได้สำเร็จข แต่เมื่อท่านได้ค้นพบความหมายของการอยู่ “ขณะปัจจุบัน” แล้ว ท่านก็จะพบว่าท่านสามารถรับมือกับความทรงจำที่ขมขื่นและประสบการณ์ที่เจ็บปวดในอดีตเหล่านั้นได้อย่างเป็นอิสระมากขึ้น ดีขึ้น และด้วยความสงบมากขึ้น “การเพ่งพิศภาวนาทำให้เราเป็นอิสระ” เมื่อพระเยซูเจ้าตรัสว่าพระองค์เสด็จมาชี้ทางให้แก่เรา และนำเราไปสู่ความบริบูรณ์ของชีวิต เพื่อให้เราดำรงชีวิตอย่างเต็มที่ และใช้ศักยภาพมนุษย์ของเราอย่างเต็มที่พระองค์ตรัสว่า “ความจริง” จะปลดปล่อยท่านให้เป็นอิสระ และนั่นเป็นสิ่งที่เราค้นพบผ่านการทำสมาธิ- - -ซึ่งก็ คือ “ความจริง”

    สิ่งเหล่านี้คือองค์ประกอบสำคัญของคำสอนของพระเยซูเจ้าเกี่ยวกับการภาวนาที่เราพบได้ในบทเทศน์บนภูเขา (Sermon on the Mont) - - - - นั่นคือ “การเป็น ‘อิสระ” จากความหมกมุ่นและยึดติดอยู่กับเรื่องเปลือกนอก การฝึกจิตภายใน (Interiority) ความเงียบ ความไว้วางใจ ความสงบของจิตใจ การมีสติ และการอยู่ใน ‘ขณะปัจจุบัน’”และถ้าท่านจะถามว่า “ฉันจะนำคำสอนดีๆ เหล่านี้ไปปฏิบัติได้อย่างไร?” ก็เท่ากับท่านกำลังถามว่า “ฉันจะภาวนาอย่างไร?” และคำถามเหล่านี้ เช่น “ฉันภาวนาอย่างแท้จริงได้อย่างไร?” “ฉันจะภาวนาให้ลึกซึ้งได้อย่างไร?”“ฉันจะภาวนาให้ดียิ่งขึ้นได้อย่างไร?” ฯลฯ เมื่อเราถามคำถามเหล่านี้อย่างจริงใจ คำถามเหล่านี้จะนำเราไปสู่การเดินทางฝ่ายจิตในระดับที่ลึกซึ้งขึ้น จะนำเราไปตามเวลาที่พระเจ้าทรงกำหนด ท่ามกลางความกรุณาของพระเจ้า ไปสู่การภาวนาที่เราพบในหัวใจของเรา

    Christian Meditation Centre (<?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com[​IMG]</st1:country-region>Thailand</ST1:p)
    51/1 <st1:address w:st="on"><st1:Street w:st="on">Sedsiri Road</st1:Street>
    <st1:City w:st="on">Bangkok</st1:City> <st1:postalCode w:st="on">10400</st1:postalCode></st1:address>
    Contact: EmiliKetudat
    Tel: 662-271-3295
    Fax: 662-271-2632
    E-mail: sketudat@mozart.inet.co.th

    เย้เย้เย้.. เก็บตกจบแล้วคับ:boo:
    black_pigblack_pigblack_pig<O:p</O:p
     
  5. khajornwan

    khajornwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    901
    ค่าพลัง:
    +4,468
    555+++ ขอบคุณค่ะที่ยังม่ายทิ้งกาน..:cool:
    คุณไอน์สไตน์นี่เค้าเป็นคู่ปรับของขจรวรรณมาตั้งแต่สมัยมัธยมมาแล้ว พอมาถึงตอนนี้เค้าก็ยังตามมาหลอกหลอนเราอยู่อีกแน่ะ! เอิ๊กๆๆ
    <O:p</O:p
    ถ้าคิดให้ดีนะ.. คุณไอน์สไตน์เค้าได้สูตรนี้มาด้วยความบังเอิญจริงๆ ก็คือว่ามีอยู่วันหนึ่งเค้าคิดอะรัยก็ไม่ออกสักที ก็เลยเดินๆ ไปนั่งทอดอาลัยอยู่ ณ ใต้ต้นแอปเปิ้ล ( ความว่ายังงั้นนะคะ ) เสร็จแล้วอยู่ๆ ลูกแอปเปิ้ลก็หล่นลงมาตุ๊บ ( ไม่รู้ว่าโดนหัวรึเปล่า?.. ฮี่ฮี่ ) แล้วเค้าก็กระโดดโลดเต้นออกมาด้วยความดีจัยว่า “ แรงโน้มถ่วงของโลกมีผลต่อการเคลื่อนที่ของวัตถุ " ( ถ้าเป็นเราแอปเปิ้ลล่วงลงมาข้าพเจ้าคงจากิงซะเลย.. อาหย่อยดี เหอเหอ.. )
    <O:p</O:p
    จากสูตร E = mc<SUP>2 </SUP>
    อัตราความเร็ว = มวล * อัตราเร่งคงที่ ( จำม่ายล่ายแล้วว่าเท่าไหร่? คิดจากแรงโน้มถ่วงของโลก) ยกกะลัง 2<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    จริงๆ แล้วเราไม่สามารถใช้สูตรใดๆ ในการคำนวณหาค่าตัวเลขทางจิตวิญญาณได้ เพราะจิตวิญญาณปราศจากปริมาตรหรือปริมาณ
    แต่ขจรวรรณก็จะพยายามคิดตามแบบคุณไอน์สไตน์เป็น 2 กรณีอย่างนี้ว่า
    <O:p</O:p
    1. กรณีที่จิตนั้นสะอาดบริสุทธิ์ ( มวลเป็น 0 หรือใกล้เคียง, ค่าคงที่เป็น 0 เพราะแรงโน้มถ่วงของโลกไม่มีผลต่อจิตวิญญาณ )
    <O:p</O:p
    E จิตวิญญาณ = 0 = ระยะทาง / เวลา

    เพราะฉะนั้น ระยะทางหรือเวลาแทบจะไม่มีผลต่อการเคลื่อนที่ของจิตวิญญาณที่บริสุทธิ์ ( เพราะแค่คิดก็ถึงแล้ว )
    <O:p</O:p
    2. กรณีที่จิตนั้นยังยึดติดอยู่กับเรื่องราวทางโลก

    mจิตวิญญาณ = ขั้วบวก, ขั้วลบ หรือโปรตรอน, อิเล็คตรอน
    = กิเลส, ตัณหา, รัก, โลภ, โกรธ, หลง ฯลฯ ( สิ่งเหล่านี้ตีค่าเป็นพลังงานทั้งหมด )

    cจิตวิญญาณ = ก็น่าจะยังคงมีอยู่เพราะจิตยังยึดติออยู่กับเรื่องราวทางโลก
    <O:p</O:p
    เพราะฉะนั้น Eจิตวิญญาณ = กิเลส, ตัณหาฯลฯ * ค่าคงที่ ยกกะลัง 2

    อัตราความเร็วของจิตวิญญาณ จึงขึ้นอยู่กับกิเลสตัณหา, อุปทานฯลฯ รวมทั้งแรงโน้มถ่วงของโลกด้วย
    ยิ่งมีมากเท่าไหร่ก็จะทำให้มวลหรือน้ำหนักตัวสูง ( ตัวอ้วนปุ๊กทำให้วิ่งก็ช้า, กระโดดก็ไม่ขึ้น อิอิ )<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เป็นงัยคะคุณไอน์สไตน์ ขจรวรรณมั่วได้จัยมั้ยคะ? คราวนี้คุณไอน์สไตน์จาหั้ยคะแนนนู๋เท่าไหร่เหยอ? เอิ๊กเอิ๊ก..
    (one-eye)(one-eye)(one-eye)
    <O:p</O:p
     
  6. Pelagia

    Pelagia เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    790
    ค่าพลัง:
    +1,198
    เอ ที่แอปเปิ้ลตกลงมาไม่ใช่ไอแซค นิวตันเหรอครับ หรือว่าไอสไตน์ก็ปิ้งไอเดียจากลูกแอปเปิ้ลที่ตกลงมาเหมือนกัน?
     
  7. khajornwan

    khajornwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    901
    ค่าพลัง:
    +4,468
    แว๊ก.. ข้าน้อยจำผิดไปแล้ว พึ่งวิ่งไปถามอากู๋มา อากู๋ตอบมาแบบนี้ค่ะ
    สรุปแล้วข้าพเจ้าสอบตกคร๊าบ.. ฮือฮือ..:'(
    ขอขอบคุณคุณ Pelagia ที่มาช่วยเฉลยค่ะ..
    สงกะสัยว่าจะเจอนักวิทยาศาสตร์ตัวจริงเสียงจริงเข้าให้แล้ว.. อิอิ
    วันหลังแวะมาตรวจสอบบ่อยๆ นะคะ จาได้เข้าใจได้ถูกต้องตรงกันค๊า:cool:
    ...............................





    <CENTER>[​IMG]</CENTER>





    [​IMG] [SIZE=+1]<DD>[/SIZE]อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เป็น<WBR>ทั้ง<WBR>นัก<WBR>คณิต<WBR>ศาสตร์<WBR>และ<WBR>นัก<WBR>ฟิสิกส์<WBR>ที่<WBR>มี<WBR>ชื่อ<WBR>เสียง<WBR>โด่ง<WBR>ดัง<WBR>มาก เป็น<WBR>นัก<WBR>คิด<WBR>ค้น<WBR>ที่<WBR>ไม่<WBR>ยอม<WBR>หยุด<WBR>นิ่ง เป็น<WBR>คน<WBR>ที่<WBR>รัก<WBR>ความ<WBR>สงบ มี<WBR>นิสัย<WBR>นอบ<WBR>น้อม<WBR>ถ่อม<WBR>ตน ไอน์สไตน์ เกิด<WBR>เมื่อ<WBR>วัน<WBR>ที่ 14 มีนาคม ปี คศ. <WBR>1879 ที่<WBR>เมือง<WBR>อูล์ม ทางตอน<WBR>ใต้<WBR>ของ<WBR>ประเทศ<WBR>เยอรมันนี บิดา<WBR>ของ<WBR>ไอน์สไตน์เป็น<WBR>ชาว<WBR>ยิว มี<WBR>ชีวิต<WBR>ใน<WBR>วัย<WBR>เด็ก<WBR>เหมือน<WBR>เด็ก<WBR>ทั่ว<WBR>ไป มี<WBR>การ<WBR>กล่าว<WBR>กัน<WBR>ว่า<WBR>จุด<WBR>ที่<WBR>ทำ<WBR>ให้<WBR>ไอน์สไตน์มา<WBR>สน<WBR>ใจ<WBR>วิทยา<WBR>ศาสตร์<WBR>อย่าง<WBR>มาก<WBR>คือ<WBR>เข็ม<WBR>ทิศ ใน<WBR>ขณะ<WBR>นั้น<WBR>เขา<WBR>มี<WBR>อายุ<WBR>ได้ 5 ปี และ<WBR>กำลัง<WBR>นอน<WBR>ป่วย<WBR>อยู่<WBR>บน<WBR>เตียง บิดา<WBR>ได้<WBR>นำ<WBR>เข็ม<WBR>ทิศ<WBR>มา<WBR>ให้<WBR>เล่น เขา<WBR>ใส่<WBR>ใจ<WBR>และ<WBR>สน<WBR>ใจ<WBR>อยาก<WBR>รู้<WBR>ว่า<WBR>ทำไม<WBR>เข็ม<WBR>ทิศ<WBR>จึง<WBR>ชี้<WBR>ไป<WBR>ทางทิศ<WBR>เหนือ และ<WBR>ตั้ง<WBR>แต่<WBR>นั้น<WBR>มา<WBR>เขา<WBR>เริ่ม<WBR>สน<WBR>ใจ<WBR>ทางคณิต<WBR>ศาสตร์<WBR>และ<WBR>ฟิสิกส์

    หนังสือ<WBR>เรขา<WBR>คณิต<WBR>เป็น<WBR>หนังสือ<WBR>ที่<WBR>เขา<WBR>โปรดปราน<WBR>มาก เขา<WBR>ศึกษา<WBR>เรขา<WBR>คณิต<WBR>จาก<WBR>หนังสือ<WBR>ของ<WBR><WBR>ยูคลิด<WBR><WBR> อายุ<WBR>เพียง 12 ปี <WBR>เขา<WBR>ทำ<WBR>ความ<WBR>เข้า<WBR>ใจ<WBR>ใน<WBR>เรื่อง<WBR>เรขา<WBR>คณิต<WBR>ของยูคลิด<WBR>เป็น<WBR>อย่าง<WBR>ดี ครั้ง<WBR>เมื่อ<WBR>เติบ<WBR>โต<WBR>ขึ้น<WBR>จน<WBR>อายุ<WBR>เข้า 16 ปี เขา<WBR>ก็<WBR>สามารถ<WBR>เรียน<WBR>รู้<WBR>หลัก<WBR>การ<WBR>ทางคณิต<WBR>ศาสตร์<WBR>ชั้น<WBR>สูง<WBR>หลาย<WBR>อย่าง เช่น วิชา<WBR>การ<WBR>แคลคูลัส และดิฟเฟอเรนเชียน การอินทิกรัล และ<WBR>กฎ<WBR>ของ<WBR><WBR>นิวตัน<WBR><WBR> ตลอด<WBR>จน<WBR>หลัก<WBR>การ<WBR>ทางฟิสิกส์<WBR>อีก<WBR>มาก<WBR>มาย
    วัน<WBR>หนึ่ง<WBR>ใน<WBR>วัย<WBR>เรียน<WBR>หนังสือ<WBR>เขา<WBR>มอง<WBR>ดู<WBR>ท้อง<WBR>ฟ้า และ<WBR>จินตนาการ<WBR>ว่า<WBR>ถ้า<WBR>ตัว<WBR>เขา<WBR>วิ่ง<WBR>ไล่<WBR>ตาม<WBR>แสง<WBR>ด้วย<WBR>ความ<WBR>เร็ว<WBR>เท่ากับแสง<WBR>แล้ว<WBR>อะไร<WBR>จะ<WBR>เกิด<WBR>ขึ้น<WBR><WBR> เขา<WBR>จะ<WBR>มอง<WBR>เห็น<WBR>แสง<WBR>หรือ<WBR>ไม่ ถ้า<WBR>ไล่<WBR>ตาม<WBR>แสง<WBR>ด้วย<WBR>ความ<WBR>เร็ว<WBR>เท่ากับแสง ความ<WBR>เร็ว<WBR>สัมพันธ์<WBR>ของ<WBR>แสง<WBR>จะ<WBR>เท่ากับศูนย์<WBR>หรือ<WBR>ไม่ ถ้า<WBR>แสง<WBR>หยุดชงัก มัน<WBR>ก็<WBR>จะ<WBR>ไม่<WBR>มา<WBR>ถึง<WBR>ตา<WBR>เรา วัตถุ<WBR>ทั้ง<WBR>หลาย<WBR>ก็<WBR>จะ<WBR>หาย<WBR>ไป สิ่ง<WBR>นี้<WBR>ทำ<WBR>ให้<WBR>เขา<WBR>ขบ<WBR>คิด<WBR>อยู่<WBR>ตลอด<WBR>มา
    [​IMG] ต่อ<WBR>มา<WBR>เขา<WBR>ได้<WBR>เข้า<WBR>มหาวิทยาลัย และ<WBR>เลือก<WBR>เรียน<WBR>วิชา<WBR>ฟิสิกส์<WBR>เป็น<WBR>วิชา<WBR>เอก<WBR><WBR> เขา<WBR>สน<WBR>ใจ<WBR>ใน<WBR>วิชา<WBR>ฟิสิกส์<WBR>อย่าง<WBR>มาก เขา<WBR>ได้<WBR>มี<WBR>โอกาส<WBR>ศึกษา<WBR>วิชา<WBR>ฟิสิกส์<WBR>ของ<WBR>ผู้<WBR>ยิ่ง<WBR>ใหญ่<WBR>ที่<WBR>ผ่าน<WBR>มา<WBR>หลาย<WBR>คน จน<WBR>ใน ปี คศ<WBR>. 1900 เขา<WBR>สำเร็จ<WBR>การ<WBR>ศึกษา<WBR>จาก<WBR>มหาวิทยาลัย<WBR>และ<WBR>ได้<WBR>สิทธิ<WBR>การ<WBR>เป็น<WBR>พลเมืองสวิส หลัง<WBR>จาก<WBR>นั้น<WBR>ได้<WBR>มี<WBR>โอกาส<WBR>ทำ<WBR>การ<WBR>วิจัย<WBR>ที่<WBR>หน่วย<WBR>งาน<WBR><WBR> จด<WBR>ทะเบียน<WBR>ลิขสิทธิ์<WBR>สิ่ง<WBR>ประดิษฐ์<WBR>ที่เบิร์น ประเทศ<WBR>สวิสเซอร์แลนด์<WBR><WBR> จาก<WBR>การ<WBR>ทำ<WBR>วิจัย<WBR>ใน<WBR>วัย<WBR>หนุ่ม<WBR>ของ<WBR>เขา<WBR>นี้<WBR>เอง<WBR><WBR> ทำ<WBR>ให้<WBR>เขา<WBR>ได้<WBR>พบกับท<WBR>ฤษฎีสำคัญ<WBR>ยิ่ง สาม<WBR>ทฤษฎี<WBR>คือ ทฤษฎี<WBR>ปรากฎ<WBR>การณ์โฟโตอิเล็ก<WBR>ตริก<WBR>การ<WBR>เคลื่อน<WBR>ที่<WBR>แบบบราว<WBR>เนียน<WBR><WBR> และ<WBR><WBR>ทฤษฎี<WBR>สัมพัทธภาพ<WBR>พิเศษ<WBR><WBR>


    <DD>ใน<WBR>ปี คศ. <WBR>1909 มหาวิทยาลัย<WBR>ชู<WBR>ริก<WBR>ได้<WBR>เชิญ<WBR>เขา<WBR>เป็น<WBR>อาจารย์<WBR>และ<WBR>ต่อ<WBR>มา<WBR>ได้<WBR>รับ<WBR>แต่ง<WBR>ตั้ง<WBR>ให้<WBR>เป็น<WBR>ศาสตราจารย์ และ<WBR>ได้<WBR>ทำ<WBR>การ<WBR>สอน<WBR>ใน<WBR>อีก<WBR>หลาย<WBR>มหาวิทยาลัย เช่น มหาวิทยาลัยปราก มหาวิทยาลัย<WBR>โป<WBR>ลิ<WBR>เทคนิค<WBR>แห่งสวิ<WBR>ส มหาวิทยาลัย<WBR>เบอร์<WBR>ริช และ<WBR>ไอน์สไตน์ยัง<WBR>ได้<WBR>แสดง<WBR>ให้<WBR>เห็น<WBR>ถึง<WBR>อิทธิ<WBR>พล<WBR>ที่<WBR>ทำ<WBR>ให้<WBR>เกิด<WBR>การ<WBR>ดึง<WBR>ดูด<WBR>ที่<WBR>มี<WBR>ต่อ<WBR>การ<WBR>เดิน<WBR>ทางขอ<WBR><WBR>งแสง ซึ่ง<WBR>เป็น<WBR>การ<WBR>แสดง<WBR>ให้<WBR>เห็น<WBR>ว่า<WBR>แสง<WBR>เป็น<WBR>อนุภาค<WBR>ซึ่ง<WBR>เป็น<WBR>สิ่ง<WBR>ที่<WBR>โต้<WBR>แย้ง<WBR>มา<WBR>นาน<WBR>ว่า<WBR><WBR> แสง<WBR>เป็น<WBR>อนุภาค<WBR>หรือ<WBR>เป็น<WBR>คลื่น<WBR><WBR> การ<WBR>สรุป<WBR>ครั้ง<WBR>นี้<WBR>ทำ<WBR>ให้<WBR>ทราบ<WBR>ว่า<WBR>แสง<WBR>เป็น<WBR>ทั้ง<WBR>อนุภาค<WBR>และ<WBR>คลื่น


    <DD>
    ใน<WBR>ปี คศ.1<WBR>922 ไอน์สไตน์ได้<WBR>รับ<WBR>รางวัล<WBR>ใน<WBR>สาขา<WBR>ฟิสิกส์ ต่อ<WBR>มา<WBR>ใน<WBR>ปี คศ.1<WBR>933 ขณะ<WBR>ที่<WBR>เขา<WBR>มี<WBR>อายุ 54 ปี ที่<WBR>เยอร์มัน นา<WBR>ซี<WBR>ได้<WBR>ยึด<WBR>อำนาจ<WBR>การ<WBR>ปก<WBR>ครอง ไอน์สไตน์จึง<WBR>หลบ<WBR>ออก<WBR>จาก<WBR>เยอรมัน เข้า<WBR>เป็น<WBR>สมาชิก<WBR>ของ<WBR>ศูนย์<WBR>วิทยา<WBR>ศาสตร์<WBR>ชั้น<WBR>สูง<WBR>ของ<WBR>อเมริกา และ<WBR>ใช้<WBR>ชีวิต<WBR>ที่<WBR>เหลือ<WBR>ทั้ง<WBR>หมด<WBR>ใน<WBR>สหรัฐ<WBR>อเมริกา


    <DD>
    เมื่อ<WBR>เกิด<WBR>สงคราม<WBR>โลก<WBR>ครั้ง<WBR>ที่<WBR>สอง มี<WBR>ข่าว<WBR>คราว<WBR>ว่า<WBR>เยอรมันนี<WBR>กำลัง<WBR>พัฒนา<WBR>ระเบิด<WBR>ปรมาณู ไอน์สไตน์กลัว<WBR>ว่า<WBR>เยอรมันนี<WBR>จะ<WBR>พัฒนา<WBR>ระ<WBR>เปิด<WBR>ปรมาณู<WBR>ได้<WBR>ก่อน<WBR><WBR> จึง<WBR>ทำ<WBR>จด<WBR>หมาย<WBR>ถึง<WBR>ประธานาธิบดี<WBR>โรสเวลท์เสนอ<WBR>ให้<WBR>ศึกษา<WBR>การ<WBR>พัฒนา<WBR>ระเบิด<WBR>ปรมาณู ขณะ<WBR>ที่<WBR>อเมริกา<WBR>กำลัง<WBR>พัฒนา<WBR>ระ<WBR>เปิด<WBR>ปรมาณู โดย<WBR>ใช้<WBR>ชื่อ<WBR>โครง<WBR>การ<WBR>ว่า<WBR>แมนฮัตตัน<WBR><WBR> ใน<WBR>ปี 1940 ไอน์สไตน์ได้<WBR>ปฏิเสธ<WBR>ที่<WBR>จะ<WBR>ร่วมใน<WBR>องค์<WBR>กร<WBR>พัฒนา<WBR>ระเบิด<WBR>ปรมาณู แต่<WBR>การ<WBR>พัฒนา<WBR>ระเบิด<WBR>ก็<WBR>ทำ<WBR>ได้<WBR>สำเร็จ<WBR><WBR> และ<WBR>นำ<WBR>มา<WBR>ทิ้ง<WBR>ที่ฮิโร<WBR>ชิ<WBR>มา<WBR>และ<WBR>นางา<WBR>ซากิ ชีวิต<WBR>ใน<WBR>ปั้น<WBR>ปลาย ไอน์สไตน์ได้<WBR>รณ<WBR>รงค์<WBR>เรื่อง<WBR>การ<WBR>ต่อ<WBR>ต้าน<WBR>การ<WBR>ผลิต<WBR>อาวุธ<WBR>นิวเคลียร์ เขา<WBR>เสีย<WBR>ชีวิต<WBR>ที่พรินซ์ตัน ใน<WBR>ปี คศ. <WBR>1955 ขณะ<WBR>ที่<WBR>มี<WBR>อายุ<WBR>ได้ 76 ปี


    <DD>อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

    (tm-love)(tm-love)(tm-love)
    <DD>





    </DD>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ธันวาคม 2010
  8. naiman3000

    naiman3000 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2008
    โพสต์:
    152
    ค่าพลัง:
    +106
    ขอบคุณ มากความรู้เยอะขึ้นเลย

    ใช้สิ่งนี้ ผมระลึกอยู่ทุกวัน ท่องอยู่ประจำ บางครั้งลืมบาง


    สุ จิ ปุ ลิ คือ หัวใจนักปราชญ์ นักปราชญ์แปลว่า "ผู้รู้" ดังนั้น ผู้รู้จะรู้ได้ ต้องทำอะไรบ้าง

    สุ-คือ สุตมยปัญญา การฟังธรรมด้วยความเคารพ ทำให้เกิดปัญญา
    จิ-คือ จินตามยปัญญา การคิดใคร่ครวญในธรรม ทำให้เกิดปัญญา
    ปุ- คือ ปุจฉา-วิสัชนา สงสสัยไม่รู้ ต้องไต่ถาม จึงเกิดปัญญา
    ลิ- คือ ลิขิต การจดจำ หรือบันทึกเอาไว้ เพื่อศึกษาและปฏิบัติต่อไปเป็นแบบอย่าง.....

    ผมไม่ค่อยจำความหมาย ได้สักเท่าไหร่ คุณตาของผมให้ท่องจำให้ขึ้นใจ

    ที่มา
     
  9. Pelagia

    Pelagia เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    790
    ค่าพลัง:
    +1,198
    แหม ไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์หรอกครับ แค่รู้อะไรนิดหน่อยเท่านั้นเอง
     
  10. khajornwan

    khajornwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    901
    ค่าพลัง:
    +4,468
    [​IMG]

    ทรงเป็นนักคิดอิสระ
    ทรงเสียสละน่าสรรเสริญ
    ทรงนำไทยให้เจริญ
    ทรงพระดำเนินแห่งหนใด ไทยร่มเย็น..

    ขอพระองค์ทรงมีพระสุขภาพพลานามัยที่แข็งแรง
    เป็นร่มโพธิ์ ร่มไทร ของพสกนิกรชาวไทยตลอดไป

    ด้วยเกล้ากระหม่อมขอเดชะ
     
  11. khajornwan

    khajornwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    901
    ค่าพลัง:
    +4,468
    [​IMG]

    พระพุทธศาสนามีคำสั่งสอนที่เป็นสัจธรรมและเป็นไปตามเหตุผล ดังนั้นผู้มีปัญญาตริตรองจึงเห็นจริงและมีศรัทธาเกิดขึ้นอย่างมั่นคง การส่งเสริม เผยแพร่พระศาสนากล่าวได้ว่า ควรจะเน้นที่การสร้างศรัทธาเป็นข้อสำคัญ
    <O:p</O:p
    ศรัทธาความเชื่อนั้น กล่าวได้ว่า มีสองอย่าง ได้แก่ ศรัทธาที่มีผู้อื่นชักนำกับศรัทธาที่เกิดขึ้นในตนเอง ศรัทธาอย่างไหนก็ตามอาจให้ผลได้ทั้งทางดีและทางเสื่อม ขึ้นอยู่กับวิธีการที่สร้างขึ้น ถ้าสักแต่ว่าเชื่อ ไม่ได้ใช้ปัญญาพิจารณาแล้ว ก็ไม่ได้ประโยชน์จากศรัทธานั้น อาจเกิดโทษก็ได้ จำเป็นต้องใช้ปัญญา ความรู้เหตุรู้ผล พิจารณาวิเคราะห์ให้เห็นถ่องแท้ก่อนว่า เรื่องใด สิ่งใด มาจากความคิดที่ดีหรือจากความคิดที่ชั่วแล้วปลูกศรัทธาลง แต่ในส่วนที่เกิดจากความคิดที่ดี จึงจะได้ประโยชน์เต็มเปี่ยม
    <O:p</O:p
    ผู้ที่จะเผยแพร่พุทธธรรม ควรอย่างยิ่งที่จะถือเป็นภาระเบื้องต้นในการชี้แจงให้ผู้ฟังเห็นโทษของสิ่งต่างๆ โดยชัดแจ้ง จึงจะสามารถสร้างศรัทธาที่ถูกต้องให้เกิดขึ้นได้ และสามารถจรรโลงพระศาสนา ส่งเสริมจริยธรรมได้เป็นผลสำเร็จ
    <O:p</O:p
    พระราชทานเพื่อเชิญไปอ่านในการเปิดประชุมใหญ่
    ของสมาคมพุทธศาสนาทั่วราชอาณาจักร ครั้งที่ ๒๒
    ณ หอประชุมวัดโสธรฯ อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา
    วันที่ ๗ - ๙ ธันวาคม ๒๕๑๗
     
  12. khajornwan

    khajornwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    901
    ค่าพลัง:
    +4,468
    ประเด็นนี้ก็น่าสนใจนะคะ เคยมีการสนทนากันในกลุ่มของนักจิตวิญญาณว่า ต่อไปนักวิทยาศาสตร์โลกจะเริ่มค้นพบดวงดาวใหม่ๆ ในจักรวาล ทั้งที่จริงๆ แล้วไม่ได้เป็นเพราะว่ามีดวงดาวเกิดขึ้นมาใหม่หรอก เค้ามีของเค้าอยู่ก่อนแล้วแต่เราไม่สามารถมองเค้าได้ด้วยตาเปล่า นั่นเป็นเพราะคุณสมบัติการเดินทางของแสงที่ยังเดินทางไปไม่ถึงดวงดาวนั้นตั่งหาก.. อันนี้สงกะสัยต้องใช้เวลาในการพิจารณากันต่อไปนะคร๊าบคุณนักวิทย์ฯ ที่น่ารัก.. เฮอเฮอ..:boo:

    <DD>

    </DD>
     
  13. Kama-Manas

    Kama-Manas เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    5,351
    ค่าพลัง:
    +6,491
    ตามอ่านและตามให้กำลังใจคนเก่งๆ สู้ต่อไปนะ
     
  14. khajornwan

    khajornwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    901
    ค่าพลัง:
    +4,468
    บังเอิญเจอบทสนทนานี้น่าสนใจ เผื่อจะมีประโยชน์กับใครแถวนี้บ้าง
    ขอบคุณคุณ Kama-manas ที่มาคอยให้กะลังใจค่ะ:cool:
    <O:p</O:p
    <TABLE class=MsoNormalTable style="WIDTH: 100%; mso-cellspacing: 0cm; mso-padding-alt: 4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-firstrow: yes; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="BORDER-RIGHT: #ebebeb 1pt inset; PADDING-RIGHT: 4.5pt; BORDER-TOP: #ebebeb 1pt inset; PADDING-LEFT: 4.5pt; BACKGROUND: #f7f3f7; PADDING-BOTTOM: 4.5pt; BORDER-LEFT: #ebebeb 1pt inset; PADDING-TOP: 4.5pt; BORDER-BOTTOM: #ebebeb 1pt inset; mso-border-alt: inset windowtext .75pt">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณmead

    พอดีคุยกันหลังห้องครับ
    เกี่ยวกับการสัมผัสพลังตรงหว่างคิ้ว (ตาที่สาม)
    จริงๆแล้วขอให้พี่นักเขียนมาช่วยเสริมความรู้ให้จะดีกว่าครับ

    เข้าใจว่าคุณซิปฯถูกกระตุ้นตาที่สามโดยพลังอะไรสักอย่างเข้าแล้วล่ะครับอาจเป็นการจดจ่อเพ่งมองที่อะไรเป็นพิเศษรึเปล่าครับอย่างเช่นการอ่านหนังสือด้านจิตวิญญาณ จ้อมมองรูปปั้นหรือรูปภาพเช่นพระเยซู+ไม้กางเขน วัตถุธาตุต่างๆ หรือการครุ่นคิดหาความรู้ที่เป็นนามธรรมต่อมพิทูอิทารี่จะทำงานขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติเชื่อว่าถูกกระตุ้นด้วยความคิดของตัวเองได้เหมือนกัน ผมเคยเพ่งมองเครื่องหมายอังค์ (อียิปต์) หรือรูปปั้นหินทรายบางอย่าง มันเต้นตุ้บๆ แบบชัดเจนมากก็เคยสงสัยอยู่ว่ากล้ามเนื้อตรงนั้นมันผิดปกติมั๊ย..แต่ทำมัยต้องมาเป็นเอาตอนที่จ้องมองด้วย..ก็เริ่มรู้สึกว่าน่าจะเกี่ยวข้องกันครับถ้าเป็นแง่วิทยาศาสตร์ก็คือเพราะเราส่งจิตออกไปเกิดการดึงดูดพลังงานนั้นเข้ามากระทบ ทำให้รู้สึกตรงจุดนั้นได้เพราะเป็นจุดแห่งการรับรู้ของจิตวิญาณครับ
    เอาไปโพสถามพี่นักเขียนน่าจะดีครับคุณซิปฯ<O:p</O:p



    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    พี่นักเขียนเคยคิดว่า ตาที่สาม คือ ตำแหน่งบนร่างกายทางกายภาพ เมื่อฝึกสมาธิไปนานๆเข้า เปลี่ยนความรู้สึกและความเข้าใจเป็นว่าตาที่สามเป็นภาวะทางจินตภาพ พอหันมาฝึกฝัน รู้เห็นในความฝัน ตระหนักว่าตาที่สามเป็นภาวะจิต


    <DD>อันได้แก่ภาวะที่การรู้เห็นทั้งหลายเป็นไปด้วยประสาทสัมผัสภายในซึ่งไม่ใช่มองเห็นด้วยตาในแต่เพียงอย่างเดียวแต่เป็นไปด้วยประสาทสัมผัสภายในที่ท่านอาจารย์อนาลัยได้กล่าวถึงในความฝันกับวิถีแห่งจิตวิญญาณ บทที่ 4 ประสาทสัมผัสภายใน (หน้า 38)

    ประสาทสัมผัสภายในที่พี่นักเขียนคุ้นเคยที่สุดในความฝันหรือตระหนักว่าใช้การได้ดีที่สุดในความฝันคือการร่วมรู้สึก
    มันเป็นมากกว่าตาพิเศษหรือตาที่สาม เพราะภาวะจิตของการร่วมรู้สึกหมายถึง การมองเห็นโลกและความเป็นไปทั้งหลายรวมทั้งชีวิตและบุคลิกภาพของบุคคลหนึ่งๆ ผ่านดวงตาของเขา ทัศนคติของเขามุมมองของเขา เรียกได้ว่า เราเป็นเขา ภาวะดังกล่าวทำให้เรารู้เห็นได้ว่าภาวะจิตของเขาจะเหนี่ยวนำประสบการณ์ชีวิตใดๆมาสู่อนาคตของเขาเสมือนการเข้าไปเห็นแบบพิมพ์เขียวที่เขาจะสร้างบ้านอ่านแบบหรือถอดรหัสความฝันหรือสัญญลักษณ์ต่างๆที่ปรากฏนั้นได้ก็รู้ได้ว่าบ้านหลังนั้นจะหน้าตาเป็นอย่างไรเมื่อสร้างเสร็จในอนาคต

    ภาวะจิตเป็นต้นกำเนิดของสรรพสิ่งทั้งปวงซึ่งจะสะท้อนออกมาสู่ความรู้สึกนึกคิดหรือภาวะอันเป็นจินตภาพและฉายออกมาสู่ภาวะทางกายภาพอีกทอดหนึ่งเสมอ

    กล่าวได้ว่าภาวะจิตของการรู้เห็นด้วยประสาทสัมผัสภายใน หรือตาที่สาม เกิดขึ้นอยู่ตลอดวันเวลาเราจึงมีอารมณ์-จินตนาการและความรู้สึกนึกคิด จากนั้นมันก็ฉายออกมาสู่โลกทางกายภาพเป็นวัตถุธาตุ สิ่งของ บุคคล ประสบการณ์ ปรากฏการณ์ทั้งหลายให้เรารู้เห็นได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าอีกครั้งหนึ่ง

    แต่จิตวิญญาณของเราทั้งหลายมาถือกำเนิดเป็นร่างกายเนื้อหนังมายาวนานตามที่ท่านอาจารย์อนาลัยได้กล่าวถึงไว้ในประวัติศาสตร์ของจิตวิญญาณ ว่า มันทำให้เราลืมเลือนต้นกำเนิดที่แท้จริงของปลายเหตุอันได้แก่ภาวะทางกายภาพทั้งหมด จนกระทั่งเรารู้เห็นหรือมีความเชื่อกลับทิศว่าสรรพสิ่งทั้งหลายเกิดขึ้น-มีอยู่-เป็นไป เป็นเอกเทศ-อยู่ภายนอกตัวตนของเราจากนั้นเรารู้เห็นมันด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าเราจึงเกิดอารมณ์-จินตนาการและความรู้สึกนึกคิดและจากนั้นมันจึงส่งผลกระทบที่ทำให้ภาวะจิตของเราเป็นไป

    การศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติความเป็นจริงของจิตวิญญาณและตัวตนของเรา กระตุ้นให้เราเกิดความรู้ และตระหนักได้ว่ากระบวนการของการก่อเกิดทั้งหลายมีต้นกำเนิดมาจากภายใน

    เราต่างก็ได้ยินและได้รับข้อมูลเกี่ยวกับตาที่สามมาไม่มากก็น้อยอารมณ์-จินตนาการและความรู้สึกนึกคิดของเราย่อมก่อเกิดประสบการณ์ที่คล้อยตามความเชื่อของเราเสมอ

    หากเราเชื่อว่าตาที่สามเป็นภาวะทางกายภาพ เราก็ย่อมสัมผัสกับมันได้ในระดับกายภาพ
    หากเราเชื่อว่า ตาที่สามเป็นภาวะทางจินตภาพเราก็ย่อมสัมผัสกับมันได้ในระดับจินตภาพ
    หากเราตระหนักได้ว่าตาที่สามเป็นภาวะจิต เราก็จะใช้การมันได้ เพราะเราได้เข้าถึงกลไกของมัน

    [​IMG]

    การถ่ายทอดพลังงานทั้งหลายปราศจากกาลเวลาที่เป็นไปตามเส้นทางแห่งกาลเวลาที่เรารู้จักพลังงานที่เราทั้งหลายรู้จักดี อันได้แก่ พลังงานจากดวงอาทิตย์เป็นสิ่งที่พิสูจน์ความจริงข้อนี้ได้เสมอ

    ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากโลก 93 ล้านไมล์ หรือ 26,000 ปีแสง แสงแดดที่ตกกระทบผิวโลกในแต่ละวันจึงเป็นแสงที่ไม่ได้มาจากดวงอาทิตย์ ณ วินาทีนี้แต่เป็นแสงที่เปล่งออกจากดวงอาทิตย์เมื่อ 8.32 นาทีที่แล้วแสงอาทิตย์ใช้เวลาเดินทาง 86.282ไมล์ต่อวินาที หรือ 299,792,458 เมตรต่อวินาทีซึ่งหมายความว่าแสงอาทิตย์ใช้เวลา 8.32 นาทีที่จะเดินทางจากดวงอาทิตย์มาถึงผิวโลกเราจึงมองเห็นดวงอาทิตย์ ช้ากว่าภาวะจริงที่ดวงอาทิตย์กำลังเป็นไป 8.32 นาที

    นักฟิสิกส์คำนวณว่าหากนำสัตว์ที่วิ่งเร็วที่สุดในโลก ซึ่งได้แก่ cheetah หรือเสือดาววิ่งจากดวงอาทิตย์มายังโลก ด้วยความเร็ว 70 ไมล์ต่อชั่วโมงโดยไม่มีวันหยุดเลยมันจะใช้เวลาวิ่ง 151 ปี

    แสงทั้งหลายเป็นพลังงานแสงอาทิตย์อาจเป็นตัวอย่างที่ไม่โดดเด่นนักเพราะว่ามันอยู่ใกล้โลก
    และการเดินทาง 8.32 นาทีก็อาจจะไม่ได้ทำให้เราสนเท่ห์เกี่ยวกับคำว่าปราศจากกาลเวลาเท่าไรนัก
    แต่เราก็มองเห็นดวงดาวอื่นๆช้ากว่าภาวะจริงที่มันกำลังเป็นไปได้หลายปี หรือแม้แต่หลายพันล้านปี
    แล้วแต่ระยะทางที่มันอยู่ห่างจากโลก ดังเช่นที่นักดาราศาสตร์กล่าวเสมอๆว่า "เรามองเห็นอดีตในท้องฟ้า"
    ดาวบางดวงบนท้องฟ้าอาจดับสลายหรือแปลงสภาวะเป็นอื่นไปแล้วแต่ภาวะก่อนหน้านั้น อันได้แก่ภาวะเมื่อหลายล้านปีที่แล้วเพิ่งจะฉายแสงมาถึงพื้นโลกทำให้เราเพิ่งจะมองเห็นมันในวันนี้

    การสัมผัสกับตาที่่สามในระดับกายภาพหรือรู้สึกได้ในตำแหน่งใดๆบนร่างกายของเราในวันนี้ หรือวันใดวันหนึ่งไม่ต่างไปจากการที่เรามองเห็นดาวบนท้องฟ้าภายหลังจากที่พลังงานของมันได้ออกเดินทางมาสู่โลก-หลายล้านปีมาแล้วเพราะภาวะจิตของเราเป็นไป ดำเนินไป หลายล้านปีมาแล้ว ตั้งแต่ต้นกำเนิดของจิตวิญญาณแต่กว่าที่เราจะตระหนักได้ว่าเรารู้เห็นความเป็นไปเหล่านั้นก็ต่อเมื่อมันมาสู่โลกทางกายภาพหรือสัมผัสกับการกระตุกของกล้ามเนื้อ ณตำแหน่งที่เราเรียกมันว่าตาที่สาม

    ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า ตำแหน่งของตาที่สามทางกายภาพปราศจากความหมายปราศจากความเป็นจริง เพราะเราสามารถอาศัยตำแหน่งทางกายภาพเป็นจุดอ้างอิงที่จะย้อนกลับไปหาต้นกำเนิดของมันได้เช่นเดียวกันกับที่นักดาราศาสตร์อาศัยตำแหน่งของดาวที่เขาแลเห็นบนท้องฟ้าเพื่อย้อนกลับไปคำนวณหาอายุ และต้นกำเนิดของมันได้<?xml:namespace prefix = v ns = "urn:schemas-microsoft-com:vml" /><v:shape id=_x0000_i1026 style="WIDTH: 14.25pt; HEIGHT: 14.25pt" alt="" type="#_x0000_t75"> <v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\Admin\LOCALS~1\Temp\msohtml1\01\clip_image002.gif" o:href="http://palungjit.org/images/smilies/rose.gif"></v:imagedata></v:shape>
    (deejai)(deejai)(deejai)


    </DD>
     
  15. khajornwan

    khajornwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    901
    ค่าพลัง:
    +4,468
    ไม่จำนนต่อกรรมเก่า

    ไม่ลืมที่จะคุยกับคุณหนุมานค่ะ แต่ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่อาจต้องมีการคุยกันยาววววว.. อิอิ..
    ลองดูแนวคิดของ พระไพศาล วิสาโล ดูค่ะว่าท่านมีแนวคิดเป็นเช่นไร?
    ...............................
    [​IMG]

    จักรชัยมีภรรยาที่ขยันและใส่ใจในงานบ้าน เมื่อเขากลับจากที่ทำงานก็แทบจะไม่ต้องทำอะไรเลย เพราะภรรยาดูแลกิจธุระต่างๆ ในบ้านให้หมด แต่แล้ววันหนึ่งภรรยาได้ลมป่วยด้วยโรคมะเร็งขั้นสุดท้าย มิหนำซ้ำแม่ยายซึ่งเป็นอัลไซเมอร์ก็มีอาการรุนแรงขึ้น ทั้งสองคนช่วยตัวเองแทบไม่ได้เลย จักรชัยซึ่งเคยมีชีวิตที่สบาย ต้องหันมาดูแลทั้งภรรยาและแม่ยาย แม้จะจ้างคนมาช่วย แต่เมื่อเขากลับจากที่ทำงานก็ต้องมาช่วยป้อนข้าว อาบน้ำ เช็ดตัว เช็ดอุจจาระให้ผู้ป่วย

    เพื่อนบ้านเห็นวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปของจักรชัยก็สรุปว่าเขากำลังใช้กรรม ชาติที่แล้วเขาคงจะทำอะไรไม่ดีกับภรรยาและแม่ยายเอาไว้ ชาตินี้จึงต้องมารับผลกรรมดังกล่าว

    แต่จริงหรือที่จักรชัยกำลังชดใช้กรรมเก่า ที่จริงน่าจะมองว่าเขากำลังทำกรรมใหม่ที่ดีงาม เพราะแทนที่เขาจะทิ้งภรรยาหรือนิ่งดูดายกับอาการของแม่ยายอย่างที่ผู้ชายจำนวนมากนิยมทำ เข้ากลับช่วยพยาบาลบุคคลทั้งสองอย่างไม่มีความรักเกียจ นี่คือการกระทำที่เสียสละและเปี่ยมด้วยความเมตตา เป็นการกระทำดีที่เขาเป็นฝ่ายเลือกเอง ทั้งๆ ที่มีทางเลี่ยง

    การพูดเช่นนี้ไม่ได้ปฏิเสธเรื่องกรรมเก่า เป็นไปได้ว่าการที่ชีวิตครอบครัวของจักรชัยต้องมาประสบปัญหาเช่นนี้ อาจเป็นเพราะกรรมเก่าของเขาก็ได้ ( ส่วนจะเก่าแค่ไหน ย้อนไปถึงชาติที่แล้วหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ) แต่การที่เขาตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรกับปัญหาดังกล่าว ไม่ใช่เรื่องของกรรมเก่าอย่างแน่นอน เพราะเขาสามารถเลือกได้ว่าจะรับมีกับปัญหาหรือเพิกเฉยหลบหนี และเมื่อเขาตัดสินใจรับมือกับปัญหาด้วยการดูแลรับผิดชอบกับภรรยาและแม่ยาย นั่นคือกรรมใหม่หรือกรรมปัจจุบันที่ดีงามอันสาธุชนควรสรรเสริญและเอาเป็นเยี่ยงอย่าง หาควรไม่ที่จะซ้ำเติมด้วยการอ้างกฏแห่งกรรม ซึ่งทำให้ความดีของเขากลายเป็นสิ่งไร้ค่า มีสภาพไม่ต่างจากการใช้โทษอย่างสาสม

    กฏแห่งกรรมนั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เราตระหนักว่าชีวิตของเรานั้นสามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ด้วยการกระทำของเราเอง มิใช่ด้วยการดลบันดาลของเทพยดาหรือพระเจ้า กล่าวอีกนัยหนึ่ง กฏแห่งกรรมช่วยให้เราเห็นคุณค่าของความเพียร แต่ทุกวันนี้กฏแห่งกรรมถูกใช้เพื่อสะกดให้ผู้คนยอมจำนนกับปัญหา โดยไม่คิดที่จะทำอะไรเพื่อเปลี่ยนแปลงตนเองหรือสถานการณ์

    เมื่อภรรยาถูกสามีทุบตีหรือข่มเหงทั้งกายและใจ คำแนะนำที่มักจะให้แกฝ่ายหญิงก็คือให้ยอมทนไปเรื่อยๆ เพราะนี้เป็นผลของกรรมเก่า ( หรือวิบาก ) ที่ต้องชดใช้ นี้คือตัวอย่างการใช้กฏแห่งกรรมที่ทำให้ผู้คนยอมจำนนต่อปัญหา อีกทั้งยังเป็นการกล่าวโทษฝ่ายหญิงแต่ฝ่ายเดียว จริงอยู่การเลือกผู้ชายเช่นนี้มาเป็นสามีย่อมเป็นความรับผิดชอบของฝ่ายหญิง ดังนั้นเมื่อถูกเขาข่มเหง จึงถือได้ว่าเป็นผลจากกรรมเก่าของเธอด้วยส่วนหนึ่ง แต่การทนให้เขาทำร้ายนั้นไม่ใช่เรื่องของกรรมเก่าหรือการชดใช้กรรมแล้ว แต่เป็นการสร้างกรรมใหม่และกรรมใหม่ที่ผู้หญิงเลือกที่จะทนให้ผู้ชายมากระทำย่ำยีนี้เอง ที่เป็นตัวการทำให้เธอต้องระทมทุกข์ พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ความทุกข์ที่เกิดขึ้นกับฝ่ายหญิงส่วนหนึ่งเป็นผลจากการกระทำในปัจจุบันของเธอเอง ไม่ใช่เป็นเพราะกรรมเก่าในอดีต ( ไม่ว่าชาตินี้หรือชาติที่แล้ว )

    [​IMG]


    กฏแห่งกรรมนั้นเน้นที่การสร้างกรรมใหม่หรือกรรมในปัจจุบัน เพราะกรรมใหม่อยู่ในวิสัยที่เราจะควบคุมได้ ( แม้จะไม่ทั้งหมด เพราะการกระทำอะไรก็ตามย่อมอยู่ภายใต้เงื่อนไขหรือเหตุปัจจัยที่จำกัดเสมอ ) กรรมใหม่นั้นเราสามารถเลือกได้ว่าจะทำหรือไม่ทำอะไร ทั้งหมดนี้อยู่ที่การตัดสินใจของเรา ในขณะที่กรรมเก่านั้นเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้เพราะเป็นอดีตไปแล้ว การที่กฏแห่งกรรมพูดถึงกรรมเก่านั้นก็เพื่อให้เรารับผิดชอบกับการกระทำของตนเอง จะได้ไม่โทษผู้อื่นหรือเทวดาฟ้าดินว่าเป็นตัวการทำให้เราทุกข์ แต่อีกด้านหนึ่งของกฏแห่งกรรมซึ่งเป็นจุดเน้นที่สำคัญของพุทธศาสนา ก็คือการสร้างกรรมใหม่ในปัจจุบันเพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลงชีวิตของตนให้เป็นไปในทางที่ดีงาม แต่ความเข้าใจในปัจจุบันกลับเน้นไปที่กรรมเก่าและการยอมจำนนต่อกรรมเก่า
    <O:p</O:p
    ทุกวันนี้ชาวพุทธจำนวนไม่น้อยมีความเข้าใจว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของตนเองทั้งหมดล้วนเป็นเพราะกรรมเก่า ความคิดเช่นนี้แท้จริงแล้วขัดกับหลักการทางพุทธศาสนา พระพุทธองค์ได้เคยตรัสไว้ว่า 1 ใน 3 ของลัทธินอกพุทธศาสนา ได้แก่ ลัทธิกรรมเก่า ( ปุพเพกตเหตุวาท ) คือความเชื่อที่ว่าสิ่งใดก็ตามที่ได้ประสบ จะเป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ตาม ล้วนเป็นเพราะกรรมที่ได้ทำไว้ในปางก่อน ใช่แต่เท่านั้น พระองค์ยังทรงเตือนว่า “ เมื่อบุคคลมายึดเอากรรมที่ทำไว้ในปางก่อนเป็นสาระ ฉันทะก็ดี ความพยายามก็ดี ว่าสิ่งนี้ควรทำ สิ่งนี้ไม่ควรทำ ก็ย่อมไม่มี ”

    อดีตกับปัจจุบันนั้นไม่อาจแยกขาดจากกันได้ฉันใด การกระทำในอดีตก็ย่อมส่งผลถึงปัจจุบันฉันนั้น แต่ปัจจุบันก็หาใช่เป็นทาสในอดีตไม่ เพราะเราสามารถเลือกได้ว่าจะทำอย่างไรกับสิ่งที่สืบเนื่องจากอดีต รวมทั้งสามารถเอาผลจากกรรมเก่านั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่เราได้ด้วย เช่น ความเจ็บป่วย อันที่จริงเหตุปัจจัยแห่งความเจ็บไข้ได้ป่วยนั้นมีหลายอย่าง ไม่ได้เกิดจากกรรมเก่าเท่านั้น หากยังเป็นผลจากดินฟ้าอากาศ ( อุตุนิยาม ) หรือกรรมพันธ์ ( พีชนิยาม ) แต่ไม่ว่าจะเกิดอะไรก็ตาม ก็ใช่ว่าเราจะเป็นฝ่ายถูกความเจ็บป่วยมากระทำเท่านั้น หากเรายังสามารถใช้ความเจ็บป่วยให้เกิดประโยชน์ได้ด้วย ตรงนี้แหล่ะเป็นเรื่องของการสร้างกรรมใหม่หรือกรรมปัจจุบัน

    มีคนจำนวนไม่น้อยเมื่อเจ็บป่วยแล้วแทนที่จะคร่ำครวญหรือเป็นทุกข์ กลับสามารถทำใจให้เป็นปกติได้ ยิ่งกว่านั้นก็คือกลับมีจิตใจที่ดีขึ้น เพราะได้อาศัยความเจ็บป่วยนั้นมาช่วยให้เกิดปัญญา จนแลเห็นความไม่เที่ยงของชีวิตปล่อยวางจากทรัพย์สมบัติที่เคยยึดถือ และหันมาให้ความสนใจกับการพัฒนาจิตใจ ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปหลังจากล้มเจ็บทำให้หลายคนบอกว่า “ โชคดีที่เป็นมะเร็ง ”

    แน่นอนว่านอกจากความเจ็บป่วยแล้ว ยังมีสิ่งที่ไม่พึงประสงค์อีกมากมายที่อาจเกิดจากการกระทำในอดีต เช่น ความพลัดพรากสูญเสีย หรือการถูกประทุษร้าย แม้เราจะหลีกหนีมันไม่พ้น แต่เราก็สามารถที่จะเอามันมาใช้ให้เกิดประโยชน์ พูดอีกอย่างคือ แทนที่เราจะถูกกรรมเก่ามากระทำย่ำยี เราสามารถใช้กรรมเก่านั้นให้เกิดประโยชน์ได้

    ในพุทธกาลได้เกิดเหตุอันน่าสยดสยองขึ้น เมื่อนางสามาวดีและบริวารทั้ง 500 คน ถูกไฟครอกตายทั้งเป็น พระนางสามาวดีนั้นเป็นพระมเหสีที่พระเจ้าอุเทนโปรดปราน เนื่องจากพระนางเป็นผู้ที่มีความประพฤติที่ดีงามและใฝ่ในบุญกุศล อุปถัมภ์บำรุงพระพุทธองค์และคณะสงฆ์มาโดยตลอด แต่พระนางเป็นที่อิจฉาของพระนางมาคันทิยา ซึ่งเป็นอัครมเหสีของพระเจ้าอุเทน ฝ่ายหลังนั้นได้พยายามหาทางทำร้ายพระนางสามาวดีมาหลายครั้ง จนประสบความสำเร็จด้วยการหลอกขังพระนางสามาวดีและบริวารในเรือนคลัง แล้วจุดไฟเผาทั้งปราสาทจนเสียชีวิตทั้งหมด

    ในอรรถกถา ซึ่งเป็นคัมภีร์รองจากพระไตรปิฏกอธิบายว่า พระนางสามาวดีและบริวารนั้นในอดีตชาติเคยทำกรรมหนักด้วยการจุดไฟครอกและเผาทำลายสรีระของพระปัจเจกพุทธเจ้า ผลจากกรรมดังกล่าวทำให้พระนางและบริวารถูกไฟครอกและเผาทำลายสรีระของพระปัจเจกพุทธเจ้า ผลจากกรรมดังกล่าวทำให้พระนางและบริวารถูกไฟครอกตาย อย่างไรก็ตาม เรื่องไม่ได้มีแค่นี้ เพราะในขณะที่ถูกไฟกำลังลุกท่วมปราสาทนั้น พระนางสามาวดีมีสติมั่นคง หาได้ตื่นตกใจไม่ กลับแนะให้บริวารกำหนดจิตบำเพ็ญภาวนา โดยถือเอาทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นมาเป็นอารมณ์กรรมฐาน บริวารทั้งหมดได้ทำตามคำแนะนำจนหมดลม ผลก็คือทั้งหมดได้บรรลุธรรม บ้างเป็นโสดาบัน บ้างเป็นอนาคามี พระพุทธองค์ได้กล่าวถึงทั้งหมดในเวลาต่อมาว่า “ อุบาสิกาเหล่านั้น ทำกาละ ( ตาย ) อย่างไม่ไร้ผล ”

    จากเรื่องดังกล่าวจะเห็นได้ว่า พระนางสามาวดีและบริวารแม้จะหนีกรรมเก่าไม่พ้น แต่ก็ไม่ได้ปล่อยให้กรรมเก่ามากระทำฝ่ายเดียว หากยังไม่ใช้ประโยชน์จากกรรมเก่าด้วย การนำเหตุร้ายที่เกิดขึ้นมาเป็นอุปกรณ์ในการยกระดับจิตจนเข้าสู่อริยภูมิขั้นสูง ถ้าหากว่ากรณีดังกล่าวคือการใช้กรรมก็เป็นการใช้กรรมที่พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญ นั่นคือใช้กรรมเก่าให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาจิต มิใช่ยอมจำนนต่อกรรมเก่าอย่างคนจนตรอก นี้คือท่าทีต่อกรรมเก่าที่ชาวพุทธควรใส่ใจให้มาก

    พระไพศาล วิสาโล – บุญที่ถูกลืม<O:p</O:p
     
  16. เซี่ยมหล่อนั๊ง

    เซี่ยมหล่อนั๊ง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    439
    ค่าพลัง:
    +665
    วิทยาศาสตร์ มัความสัมพันธ์ในเขิงการอธิบาย สิ่งที่ศาสนาพุทธโดยศาสดาได้อธิบายไว้แล้ว แต่วิทยาศาสตร์เพิ่งสามารถพบ หรือค้นพบในเชิงวัตถุ หรือหลักฐาน ส่วนศาสดาเราได้ไปไกลกว่านั้น เพราะวิทยาศาสตร์ว่าตามจริงก็เพิ่งเจริญมาเพียงสองร้อยกว่าปี เพราะเขาปฏิเสธสิ่งที่ไม่เห็นจริงจากวัตถุ จึงทึกทักว่าวิทยาศาสตร์นั้นเหนือกว่า เพียงเพราะเขายังศึกษาไม่ถึง และขาดความเข้าใจในมิติอื่นอย่างแท้จริง
     
  17. khajornwan

    khajornwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    901
    ค่าพลัง:
    +4,468
    สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม

    ไหนๆ เราก็คุยกันเรื่องกรรมแล้ว เรามาช่วยกันทำความเข้าใจเรื่องกรรมร่วมกันเถอะ^_^<O:p</O:p
    ในฐานะที่ขจรวรรณเองก็เป็นชาวพุทธ เรื่องกฎแห่งกรรมนี่เป็นอะไรที่แยกออกจากกันไม่ออกจิงๆ<O:p</O:p
    ยิ่งข้าพเจ้าเคยฝึกสมาธิตามแนวสติปัฏฐาน 4 มาก่อน เรื่องกฏแห่งกรรมนี่เรียกว่าขยาดกันไปเลยก็ว่าได้

    <O:p</O:pเรื่องนี้เคยถามอาจารย์ด๋างเมื่อครั้งที่ท่านเดินทางมาเยี่ยมลูกศิษย์ในเมืองไทยครั้งนึงว่า<O:p</O:p
    พวกเราที่นับถือศาสนาพุทธส่วนใหญ่จะเชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรม แล้วที่อาจารย์สอนให้พวกเราส่งพลังให้กับสัตว์เลี้ยงนี่ถือเป็นการส่งเสริมให้เราฆ่าสัตว์ตัดชีวิตรึเปล่า?<O:p</O:p
    ท่านตอบมายาวเลยแต่สรุปได้ประมาณว่าอาจารย์ก็เป็นคนหนึ่งที่นับถือศาสนาพุทธ แต่ถ้าจะให้อาจารย์สอนในเรื่องของกฎแห่งกรรมนี่เราเรียนกัน 7 วัน 7 คืนก็ไม่จบ 55++
    <O:p</O:p
    เมื่อมาศึกษาถึงธรรมชาติของจิตวิญญาณกับโนวา อนาลัยแล้วกลับบอกว่า
    <O:p</O:p
    เธอทั้งหลายไม่ได้มาถือกำเนิดบนโลกมนุษย์นี้เพื่อชดใช้กรรม
    <O:p</O:p
    ข้าพเจ้ายอมรับว่าเอ๋อรับประทานไปเลยคับ ทีนี้เอาไงดีบวกลบคูณหารออกมาแล้วก็ได้คำตอบออกมาประมาณว่า มันอยู่ที่วิธีการคิดของเราว่าจะให้ออกมาในรูปแบบไหนมากกว่า
    <O:p</O:p<O:p</O:p
    กระบวนการเกิดกฎแห่งกรรม<O:p</O:p
    อารมณ์จินตนาการและความรู้สึกนึกคิด ( ดี – ชั่ว ) ก่อให้เกิดการกระทำ ( ดี - ชั่ว ) ซึ่งเป็นผลให้เกิดประสบการณ์ต่อตนเอง ( ดี – ชั่ว )
    <O:p</O:p
    ในเมื่อต้นเหตุที่แท้จริงของกฎแห่งกรรมนั้นเกิดจากอารมณ์จินตนาการและความรู้สึกนึกคิดแล้ว<O:p</O:p
    จิตของเราจึงต้องมีสติรู้เท่าทัน + พลังงานมากพอ เพื่อจะเปลี่ยนทิศทางอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดในแง่ลบให้เป็นไปในแง่บวก
    <O:p</O:p<O:p</O:p
    สังเกตดูจากประสบการณ์ของคนที่สามารถระลึกชาติหรือกรรมของตัวเองได้นะ ส่วนใหญ่แล้วจะจมอยู่กับความรู้สึกนึกคิดที่ว่าเราทำกรรมใดไว้เราต้องชดใช้กรรมให้เค้า เลยทำให้ผู้ที่จมอยู่กับอารมณ์ดังกล่าวเหนี่ยวนำเอาผลของกรรมมาสู่ตัวเองเร็วยิ่งขึ้น ( ยิ่งจิตมีพลังมากเท่าไร่ผลตอบกลับจะเร็วมากเท่านั้น )
    ซึ่งมักเกิดกับผู้ที่ฝึกสมาธิมาเยอะ อาจารย์จึงย้ำกับพวกเราอยู่เสมอว่าให้เราคิดดีคิดบวกเข้าไว้เพราะจิตเรามีพลังประสบการณ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นในชีวิตเราเป็นเพียงบทเรียนหรือบททดสอบเพื่อพัฒนาจิตวิญญาณเท่านั้น เมื่อเรารู้แล้วเข้าใจแล้วในบทเรียนนั้นเราก็จะได้เรียนในบทเรียนใหม่ต่อไป นี่เป็นบทเรียนที่ว่าด้วยการประยุกต์ใช้ในเรื่องของความรัก
    <O:p</O:p<O:p</O:p
    ธรรมชาติของจิตวิญญาณต้นกำเนิดนั้นมีอารมณ์เดียวเท่านั้น คือ อารมณ์ของความรักโดยไม่มีเงื่อนไขหรือไม่หวังผลตอบแทน
    <O:p</O:p<O:p</O:p
    มีคำแนะนำจากพระท่านนึงกล่าวว่า<O:p</O:p
    ให้เราตั้งจิตอธิษฐานว่า หนี้กรรมใดที่เราเคยทำไว้ขอพักชำระหนี้ไว้ก่อนเพื่อขอประวิงเวลาให้เราสะสมบุญบารมีใหม่ก่อนแล้วจะนำบุญที่ได้มาจ่ายคืนให้ เพราะถ้าเราตั้งหน้าตั้งตาจะชดใช้หนี้กรรมอย่างเดียวนะ ชาตินี้ทั้งชาติก็ใช้ไม่หมด ( เข้าใจว่าถ้าบุญมากขึ้นกรรมคงจะตามมาไม่ทันมั้ง อิอิ )<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ส่วนท่านอาจารย์อนาลัยกล่าวว่า<O:p</O:p
    เราสามารถแก้ไขอดีตได้ด้วยปัจจุบัน ซึ่งหมายความว่าจิตที่ตั้งอยู่ในสภาวะปัจจุบันนั้นมีพลังอำนาจสูงสุดที่จะเป็นตัวกำหนดผลในอนาคต ดังนั้นเราจึงต้องสร้างอารมณ์และความรู้สึกนึกคิดให้เป็นไปในแง่บวกอยู่เสมอ โดยมองย้อนกลับไปในอดีตของเราว่าช่วงวัยไหนที่จิตของเราบริสุทธิ์ที่สุด ให้เรานึกถึงหรือจำอารมณ์นั้นไว้ตลอดเวลา ( โดยเฉพาะวัยเด็กอายุไม่เกิน 3 ขวบซึ่งเป็นวัยของการเจริญเติบโตและการสร้างใหม่ – ลองกลับไปรื้อรูปเก่าๆ ของเราแล้วก็มองรูปนั้นแล้วระลึกถึงอารมณ์ความรู้สึกของเราในวัยนั้นดูบางทีอาจจะงงๆ ด้วยซ้ำไปว่านี่คือเรารึเปล่า? )

    ว่างๆ เราก็ลองฝึกอมยิ้มนิดๆ ดูค่ะว่ารู้สึกยังงัยกันบ้าง.. ฮี่ฮี่..
    <O:p</O:pchearrchearrchearr
     
  18. khajornwan

    khajornwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    901
    ค่าพลัง:
    +4,468
    ขอบคุณค่ะ คุณเซี่ยมหล่อนั้งที่ช่วยแสดงความคิดเห็น

    ขจรวรรณคิดว่าทั้งสองศาสตร์ต่างก็มีคุณค่าด้วยกันทั้งคู่ เพียงแต่ว่าถ้าเราสามารถนำความรู้ทั้งสองมาประยุกต์ใช้ร่วมกันได้ ก็น่าจะสามารถทำให้เราพ้นจากความเชื่อที่ผิดที่ไม่ได้รับการพิสูจน์ หรือไม่หลงไปกับวัตถุตามที่นักวิทยาศาสตร์ยุคใหม่กำลังหลงทางกันอยู่..

    วิทยาศาสตร์ คือความรู้ที่เกิดขึ้นจากการสังเกตุปรากฏการณ์ของธรรมชาติ
    วิทยาศาสตร์ถึงแม้จะมีกระบวนการอยู่หลายข้อ เช่น ตั้งสมมติฐาน แล้วทดสอบสมตติฐาน เป็นต้น

    แต่เรารู้หรือไม่ว่า หลักอันเป็นหัวใจของวิทยาศาสตร์นั้นคืออะไร?
    หลักอันเป็นหัวใจของวิทยาศาสตร์ก็สรุปอยู่ที่

    ๑. ศึกษาจากสิ่งที่มีอยู่จริง
    ๒.ศึกษาโดยให้เหตุใช้ผล
    ๓.ศึกษาอย่างเป็นระบบ
    ๔.จะเชื่อก็ต่อเมื่อได้มีการพิสูจน์จนเห็นผลอย่างแน่ชัดแล้วเท่านั้น

    เด๋วต้องออกไปข้างนอกแล้ว กลับมาค่อยมาคุยกันใหม่จ้า:cool:

     
  19. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,681
    ค่าพลัง:
    +51,931
    *** การกระทำ ตัวกระทำ ****

    ทุกการกระทำ ทั้งใจ ปาก กายกระทำ
    ก่อให้เกิด "ตัวกระทำ" ขึ้นมา ....เสมือนถ่ายวีโดโอเอาไว้
    ตัวกระทำ... เป็นตัวตน ที่มองไม่เห็น แต่มีอยู่จริงในธรรมชาติ
    ตัวกระทำ.... เป็นตัวตน ที่ไม่ตาย คือไม่สูญสลาย จะคงอยู่ไปนานแสนนาน
    ตัวกระทำ... จะตามติดผู้กระทำ เหมือนเงาตามตัว ไม่ว่าร่างกายตายแล้ว
    แต่ตัวกระทำ ก็ตามติดอยู่กับดวงวิญญาณของตนเอง
    การเกิดขึ้นบนโลก...จะมี ตัวกระทำเก่าๆ เป็นผู้จัดสรรการเกิดในรูปกาย สังขารวัตถุธาตุ
    ทุกผู้ทุกนาม ที่เกิดมาบนโลก .... ก็จะมีตัวกระทำเก่าๆติดมาด้วยตั้งแต่เกิด
    เป็นตัวนิสัย ที่มองไม่เห็นตัว ...แต่มีอยู่จริง อยู่กับตัวเรานี่เอง

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  20. khajornwan

    khajornwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    901
    ค่าพลัง:
    +4,468
    มาช่วยกันวิเคราะห์ภาษาของคุณหนุมานดูค่ะ..:cool:

    การกระทำ หมายถึง การแสดงออกทางกาย วาจา และความคิดที่กำลังก่อเกิดอยู่ภายใน ( ใจ )
    .. มีพระท่านหนึ่งเคยพูดว่า จิตอยู่ภายนอก ใจอยู่ภายใน

    ตัวกระทำ หมายถึง พลังงานบวกหรือลบที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
    แต่เราก็สามารถสัมผัสพลังงานเหล่านั้นได้ด้วยการใช้ประสาทสัมผัสภายในหรืออารมณ์ความรู้สึก..
    แต่จิตต้องอยู่ในสมาธิระดับสูง.. แม้ลืมตาก็มีสมาธิ

    ตัวนิสัย ที่มองไม่เห็นตัว คือ อารมณ์จินตนาการและความรู้สึกนึกคิดที่อยู่กับตัวเรา มีสภาวะเป็นพลังงาน


    สรุปแล้วเป็นเรื่องเดียวกัน แต่ต่างกันเพียงภาษาที่ใช้ในการถ่ายทอดเท่านั้น
    เมื่อไหร่ที่เราไม่ยึดติดกับภาษา.. จิตก็เริ่มวางลงเรื่อยๆ จนไม่มีอะไรเลย.. เป็น 0 เฮอเฮอ..
    (kiss)(kiss)(kiss)
     

แชร์หน้านี้

Loading...