คุณคิดว่าวิทยาศาสตร์กับศาสนามีความสัมพันธ์กันหรือไม่?

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย khajornwan, 8 พฤศจิกายน 2010.

  1. khajornwan

    khajornwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    901
    ค่าพลัง:
    +4,468
    ต้องขอขอบคุณคุณ Phusaard มากๆ เลยนะคะที่ช่วยแนะนำหนังสือมาให้อ่าน:cool:
    หนังสือเล่มนี้เคยหยิบๆ วางๆ มาหลายหนแล้วค่ะ แต่ทำไมไม่รู้สึกว่าตัวเองอยากจะอ่านเลย

    ปกติขจรวรรณจะเชื่อความรู้สึกแว๊ปแรกที่เจอ หนังสือบางเล่มนะคะบางทีเราเดินผ่านไปแล้ว
    แต่ก็ยังหันกลับมาเจอแล้วมีความรู้สึกว่าต้องซื้อมาอ่านให้ได้
    หรือบางเล่ม โอ้โฮ.. ไม่รู้อยู่ซอกเล็กแค่ไหนมือเรายังเอื้อมไปหยิบขึ้นมาเลยค่ะ
    เรื่องนี้ขออนุญาติติดไว้คุยกันในเรื่อง การถาม - ตอบ ทางจิตวิญญาณนะคะ
    ความบังเอิญที่ไม่บังเอิญ ใครเคยมีประสบการณ์ด้านนี้เชิญเข้ามาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันได้นะคะ

    หากมีประเด็นไหนในหนังสือเล่มนี้ที่น่าสนใจ
    รบกวนคุณ Phusaard ช่วยนำมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันบ้างนะคะ..
    คือช่วงนี้งานเยอะจริงๆ เลยค่ะคงไม่มีเวลาอ่านแหงมๆ เลยค่ะ
    ขอบคุณมั่กๆ นะคะคุณ phusaard
    (kiss)(kiss)(kiss)
     
  2. khajornwan

    khajornwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    901
    ค่าพลัง:
    +4,468
    ธรรมะวันละนิด

    บางทีทุกคนก็อยากจะได้ มรรค ผล นิพพาน
    อยากไปทางลัด ไม่ทำข้อวัตร
    ไม่รักษาศีล ความคิดอย่างนี้เป็นทางโค้ง
    ไม่ใช่ทางลัด ทางลัดที่สุด ก็คือ มีศีล มีการเสียสละ

    หลวงพ่อ..^_^
     
  3. khajornwan

    khajornwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    901
    ค่าพลัง:
    +4,468
    สารพี่นักเขียนฉบับล่าสุด

    ท่านอาจารย์อนาลัย เป็นจิตวิญญาณในภพภูมิใดกันหากจะเทียบ ใน 31 ภพภมิทางพุทธศาสนาครับ หากคำถามนี้ผมยังไม่ควรรู้พี่นักเขียนจะไม่ตอบก็ไม่เป็นไรครับ

    ด้วยความนับถืออย่างสูง
    อังคาร ประยงค์<O:p</O:p
    .........................................................................................................<O:p</O:p
    การตีความหมายข้อมูลทางศาสนาบางข้อมูล เป็นการตีความหมายตามความเข้าใจในธรรมชาติของจิตวิญญาณอย่างแท้จริง หรือตามเชื่อจำเพาะ และการถ่ายทอดถูกบิดเบือนด้วยความเชื่อส่วนบุคคล ส่วนกลุ่ม ซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างบุคคลและระหว่างศาสนาหรือไม่?

    พี่นักเขียนขอเชิญชวนให้ผู้อ่านทุกท่านใช้ "ความเป็นกลาง" พิจารณาข้อมูลของท่านอจ.อนาลัยที่พี่นักเขียนจะถ่ายทอดให้ต่อไปในวันนี้และวันหน้า เพราะไม่ว่าข้อมูลนี้จะเป็นเพียงความเป็นจริงที่แสนจะเรียบง่ายเพียงใดก็ตาม หากขัดกับการตีความหมายที่เกิดจากความเชื่อจำเพาะที่ฝังรากลึก ย่อมก่อให้เกิดความขัดแย้ง และทำให้ข้อมูลอื่นๆกลายเป็นข้อมูลที่เปล่าประโยชน์ไปโดยปริยาย

    ท่านอจ. อนาลัยได้กล่าวไว้เสมอๆว่า
    จิตวิญญาณอยู่นอกเหนือกฎเกณฑ์ของช่องว่าง-ระยะทางและกาลเวลา จิตวิญญาณจึงดำเนินชีวิตในทุกชาติภพ ในทุกภพภูมิ ทุกกาลเวลา พร้อมกันหมดเป็นปัจจุบัน และมีพัฒนาการที่เป็นระบบเครือข่าย ไม่ใช่พัฒนาการเป็นเส้นตรง-ตามเส้นทางแห่งกาลเวลาที่เรารู้จัก การพัฒนาเป็นระบบเครือข่าย เป็นระบบเดียวที่ทำให้การสนับสนุน การถ่ายทอด และการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เป็นไปได้อย่างทั่วถึง พร้อมมูลและฉับพลัน

    ท่านอจ.อนาลัยได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า
    จิต-คือ อารมณ์-จินตนาการและความรู้สึกนึกคิด
    วิญญาณ-คือ ข้อมูลความรู้และความทรงจำข้ามชาติภพ

    จิตและวิญญาณไม่เคยแยกกันอยู่ เมื่ออยู่รวมกันเป็น-จิตวิญญาณจึงหมายถึง ข้อมูลความรู้และความทรงจำข้ามชาติภพ ที่ถ่ายทอดด้วยอารมณ์-จินตนาการและความรู้สึกนึกคิด

    จิตวิญญาณปราศจากการเป็นเจ้าของเช่นเดียวกับลมหายใจที่ผ่านเข้าออกร่างกายแต่ละร่าง

    จิตวิญญาณไม่ได้จากร่างกายเนื้อหนังแต่ละร่างเป็นกลุ่มก้อน เป็นดวงเดียว เพื่อไปสู่ครรภ์มารดาเพื่อถือกำเนิดใหม่ เป็นบุคคลตัวตนใหม่ทั้งดวง. แต่การเป็นบุคคลตัวตนในแต่ละชาติภพ เกิดจากจิตวิญญาณหรือฐานของข้อมูลความรู้สามแหล่งด้วยกันคือ:
    1. จิตวิญญาณต่างร่างแต่ร่วมมิติในอดีต
    2. จิตวิญญาณต่างร่างแต่ร่วมวัตถุประสงค์ในปัจจุบัน
    3. จิตวิญญาณเสมือนร่วมร่างแต่ต่างมิติในอดีต-ปัจจุบัน-อนาคต

    เราจะเห็นได้ว่า จิตวิญญาณที่มาถือกำเนิดเป็นบุคคลตัวตนในแต่ละร่าง ปราศจากการแบ่งแยกเรา-เขา แต่เป็นทั้งเรา-ทั้งเขารวมกันหมดเป็นหนึ่งเดียว.

    เราจะสัมผัสความเป็นจริงนี้ได้เสมอๆหากเราใช้ "จิตใต้สำนึก" สัมพันธ์กับผู้อื่น เพราะจะทำให้เราเกิดความรักและความเมตตาโดยปราศจากเงื่อนไขกับทุกคน โดยปราศจากความระแวงหรือเคลือบแคลงใจทั้งปวง เช่นเดียวกับพ่อแม่ที่รักลูกโดยปราศจากเงื่อนไข ย่อมเจ็บปวดแทนลูก เศร้าสลดแทนลูก เหน็ดเหนื่อยแทนลูก หรือสนุกสนานและสุขแทนลูกเสมอ ราวกับว่า "เราเป็นเขา"

    ในนัยเดียวกันนี้ จิตวิญญาณที่ไปถือกำเนิดในภพภูมิทั้งหลาย แม้ปราศจากรูปกาย ก็ดำเนินไปตามธรรมชาติ "เป็นหนึ่งเดียว" โดยปราศจากตัวตนเรา-เขาต่อไป ไม่ว่าแต่ละตัวตนจะปรากฎในภพภูมิใดก็ตาม. ก็สัมพันธ์กัน เป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน และถ่ายทอดข้อมูลความรู้แก่กันและกัน เช่นเดียวกับที่การเป็นเรา-ท่านทั้งหลาย รับและถ่ายทอดจากจิตวิญญาณทั้งสามแหล่ง หรือสามฐานข้อมูลตลอดวันเวลา

    ท่านอจ.อนาลัย เป็นจิตวิญญาณ หรืออีกนัยหนึ่งคือ องค์ความรู้. หรือข้อมูลความรู้และความทรงจำข้ามชาติภพ ที่ถ่ายทอดด้วยอารมณ์-จินตนาการและความรู้สึกนึกคิด ที่เป็นส่วนหนึ่งของเรา-ท่านทั้งหลาย-เสมอเหมือนกันทุกคน จะต่างกันก็ตรงที่ว่า. เราจะสัมผัสจิตวิญญาณในตัวเราได้มาก-น้อยต่างกันเพียงใด.

    ความแตกต่างในการสัมผัสได้นี้. เป็นไปได้ด้วยความรักอันปราศจากเงื่อนไข เช่นเดียวกับการที่พ่อแม่สัมผัสรู้ถึงจิตวิญญาณของลูก หรือสัมผัสรู้ถึง ข้อมูลความรู้และความทรงจำข้ามชาติภพ ที่ถ่ายทอดด้วยอารมณ์-จินตนาการและความรู้สึกนึกคิดของลูก พ่อแม่ที่รักลูกโดยปราศจากเงื่อนไขย่อมรู้ใจลูก มีใจให้ลูก เห็นใจลูก เข้าใจลูก ชอบใจลูก พอใจลูก ขอบใจลูก รักน้ำใจลูก ตามใจลูกด้วยความเชื่อใจลูก และไว้วางใจในตัวลูกเสมอ

    ในทิศทางตรงกันข้าม ลูกที่รักคุณพ่อคุณแม่โดยปราศจากเงื่อนไข จะสัมผัสได้ถึงจิตวิญญาณของท่าน ไม่ว่าท่านจะมีชีวิตอยู่ หรือล่วงลับไปแล้ว เราจะตระหนักได้ว่า. ส่วนหนึ่งของท่าน-คือเรา. ข้อมูลความรู้และความทรงจำข้ามชาติภพ ที่ถ่ายทอดด้วยอารมณ์-จินตนาการและความรู้สึกนึกคิดของท่าน เป็นส่วนหนึ่งของตัวตนของเรา บ่อยครั้งเราจะตระหนักได้ว่า. เราเหมือนท่าน-เราคือท่าน ในหลายทิศทาง ไม่ว่าเราจะได้ใกล้ชิดท่านหรือไม่ก็ตาม

    ต่อคำถามข้างต้น จึงกล่าวได้ว่า. จิตวิญญาณทั้งหลายมีแก่นแท้เป็นหนึ่งเดียวกัน ไม่ว่าจะมีร่างกายตัวตนจำเพาะหรือไม่ก็ตาม
    จิตวิญญาณมีชีวิตอยู่-เป็นอยู่-ดำเนินไป ในทุกภพภูมิ. ในทุกร่างกาย ทุกตัวตน โดยปราศจากการแบ่งแยก

    ท่านอจ.อนาลัยจึงเป็นจิตวิญญาณหรือองค์ความรู้. หรือ ข้อมูลความรู้และความทรงจำข้ามชาติภพที่ถ่ายทอดด้วยอารมณ์รักอันปราศจากเงื่อนไข ด้วยจินตนาการอันสร้างสรรค์ และด้วยความรู้สึกนึกคิด ที่เต็มไปด้วยเมตตา และเป็นจิตวิญญาณที่ดำเนินชีวิตอยู่ในทุกชาติภพ ในทุกภพภูมิ ทุกกาลเวลา พร้อมกันหมดเป็นปัจจุบัน

    ด้วยรักและปรารถนาดี
    พี่นักเขียน
    chearrchearrchearr<O:p</O:p
     
  4. khajornwan

    khajornwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    901
    ค่าพลัง:
    +4,468
    พลังงานแห่งพระผู้เป็นเจ้า

    ลองมาดูแนวคิดของหลวงปู่องค์หนึ่ง เกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้าดูค่ะ..:boo:

    ..........................................

    คำว่าพระผู้เป็นเจ้า ไม่ได้หมายถึงเทพยดาทั่วๆ ไปในสวรรค์ชั้นกามาพจร พระผู้เป็นเจ้า คือ พลังอำนาจอันทรงพลังสูงสุด ทำหน้าที่ควบคุมกลไกความเป็นไปของจักรวาล โดยมีหน้าที่หลักสามประการ คือ การสร้าง การดำรงรักษา และการทำลาย ทั้งนี้องค์พระผู้เป็นเจ้าสามารถแสดงกายปรากฏให้เห็นเป็นรูปต่างๆ แก่ผู้บรรลุฌาน ๔ ขึ้นไป
    <O:p</O:p
    พลังจากพระผู้เป็นเจ้านี้ ส่วนหนึ่งที่แผ่ลงมาในโลกธาตุ คือพลังงานที่โยคีเรียกว่า ปราณชีวิต หรือที่ผู้ฝึกฝนสมาธิในปัจจุบันเรียกกันว่า แม่เหล็กไฟฟ้า, พลังจักรวาล ด้วยเหตุนี้เองอำนาจจากพระเครื่องของหลวงปู่.... จึงมีพลังงานมหาศาล ทั้งการดึงดูดและถ่ายเท เพราะมีอำนาจของพระผู้เป็นเจ้าหรืออำนาจแห่งพลังจักรวาลอันเร้นลับอยู่ภายใน
    <O:p</O:p
    พลังงานเหนือโลกมีจริงแน่ๆ เทพเจ้าทั้งหลายมีจริง ต้นคติของพระผู้เป็นเจ้ามาจากการเข้าฌานของฤาษียุคแรก และได้เห็นได้ยินภาพลักษณ์แห่งพระผู้เป็นเจ้าได้เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า ศูรติ และต่อมาได้เกิดเป็นศาสนาพราหมณ์จนกระทั่งพัฒนากลายเป็นศาสนาฮินดูในปัจจุบัน
    <O:p</O:p
    ศาสนาพุทธกับพราหมณ์ได้อิงอาศัยกันมาโดยตลอด ในไทยเราและแถบสุวรรณุภูมิก็มีการนับถือพุทธคู่กับพราหมณ์มาเป็นระยเวลาไม่ต่ำกว่า 1,600 ปี สำหรับชาพพุทธควรมีทัศนะอย่างไรกับการนับถือเทพ เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องยาก ครูบาอาจารย์ได้สอนข้าพเจ้าว่า พลังงานเหนือโลกมีจริง พระผู้เป็นเจ้า หรือทวยเทพเทวานั้นมีจริง การเป็นพุทธศาสนิกชนกับการนับถือเทพนั้นก็ทำควบคู่กันได้ ไม่ใช่เรื่องแปลก
    <O:p</O:p
    กล่าวคือเรายึดมั่นในพระรัตนตรัยสูงสุด ประการต่อมา มีความนอบน้อมต่อพลังงานเหนือโลก เพราะพลังงานเหล่านี้ทำหน้าที่ดูแลพระพุทธศาสนาและดูแลรักษาคุณงามความดีของโลกโดยไม่เลือกชนชั้นวรรณะ ประการสุดท้ายคือการประพฤติตัวตามคำสอนที่ดีงามของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาต่างๆ เข้าทำนองที่ว่า คนดีผีคุ้ม
    <O:p</O:p
    แต่ที่สำคัญที่สุดคือ พระเครื่องของหลวงปู่ทุกชิ้นมีอำนาจจากพลังงานเหนือโลก ซึ่งหมายถึงอำนาจจากพระผู้เป็นเจ้า อันเป็นพลังงานแก่นแท้แห่งจักรวาลหรือพลังงานต้นกำเนิด ที่บันดาลให้จักรวาลนี้และทุกชีวิตดำรงอยู่ได้ พลังงานเหนือโลกนี้คือพลังงานที่เป็นกลางๆ โดยไม่ได้จำกัดอยู่ในชาติพันธุ์ใด ศาสนาใด วัฒนธรรมใดๆ ทั้งสิ้น ผู้ที่มีจิตเข้าถึงฌานสี่ทุกท่านก็สามารถรับพลังงานนี้ได้ ยิ่งผู้ที่มีวาสนาทางนี้ด้วยแล้ว ยิ่งสามารถอัญเชิญหรือรับพลังงานนี้ได้เป็นอย่างดี
    ;9k;9k;9k<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 พฤศจิกายน 2010
  5. khajornwan

    khajornwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    901
    ค่าพลัง:
    +4,468
    ธรรมะวันละนิด

    การภาวนานั้น เบื้องต้นต้องยึด " พุทโธ " เป็นหลัก
    ทุกอิริยาบทเลยถ้าเราเจริญวิปัสนาเลย จะข้ามขั้นตอนไป
    ทำให้ใจไม่มีหลัก การเจริญปัญญาด้วยการพิจารณาวิปัสนา
    ก็ไม่เกิดผลเท่าที่ควร หรือไม่ได้ผล
    กลับกลายเป็นความฟุ้งซ่านรำคาญ เป็นวิปัสนึก ไม่ใช่วิปัสนา
    เพราะนึกเอาคาดเดาเอา แล้วยึดว่าเรารู้จริงเห็นจริง

    หลวงปู่.. ^_^
     
  6. Amantrai

    Amantrai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    273
    ค่าพลัง:
    +162
    ศาสนาเกิดขึ้นจากความกลัว ตัวอย่างศาสนาพุทธ เกิดจาก ความกลัว การ แก่ ความเจ็บ และ ตาย มองเห็นการ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นทุกข์ (ซึ่งก็มีบางศาสนา หรือ ลัทธิ ที่ไม่ได้รู้สึกว่า การเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นทุกข์)

    ส่วนวิทยาศาสตร์เกิดจากความรู้ และความอยากรู้

    ความจริงควรเป็นสิ่งที่สัมผัสได้ ทั้งเมื่ออยู่ในจิตวิสัย และ ภาวะวิสัย

    ;););)
     
  7. khajornwan

    khajornwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    901
    ค่าพลัง:
    +4,468
    ขอบคุณคุณ manofkama มากๆ ค่ะ ที่แวะเข้ามาคุยกะขจรวรรณ
    นึกว่าจะไม่มีใครมาคุยกะขจรวรรณแว้ว.. โม้อยู่คนเดียว:':)':)'(

    .......................................
    ศาสนาเกิดขึ้นเกิดขึ้นภายหลัง การค้นพบธรรมชาติแห่งความเป็นจริงส่วนบุคคล แต่แล้วศาสนาก็พาคนจำนวนมากหลงทางด้วยกฏเกณฑ์และความเชื่อส่วนบุคคล หรือส่วนกลุ่มชนที่มนุษย์ผู้บริหารศาสนาตั้งขึ้น ศาสนาซึ่งบริหารตามความเชื่อของกลุ่มชนจึงไม่อาจเข้าถึงธรรมชาติของความจริงได้ เธอจะเห็นความจริงนี้ได้ง่ายๆ จากความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างศาสนา ระหว่างลัทธิความเชื่อ เพราะหากทุกศาสนาและทุกลัทธิความเชื่อยึดถือในธรรมชาติแห่งความเป็นจริงร่วมกัน ความขัดแย้งย่อมไม่ปรากฏ หากเธอแสวงหาผู้รู้หรือผู้ตอบคำถาม เธอควรจะตระหนักในธรรมชาติแห่งความเป็นจริงที่ว่า
    <O:p</O:p
    สรรพสิ่งทั้งหลายที่เธอรู้เห็นในร่างมนุษย์
    เป็นเพียงจินตนาการของความไม่รู้
    จิตวิญญาณในร่างมนุษย์ทุกร่างคือ
    “ ผู้ที่กำลังเรียนรู้ “
    ...........................................................

    เธออาจรู้สึกข้องใจว่า เหตุใดฉันจึงต้องกล่าวถึง เซลล์ อะตอม โมเลกุล อนุภาค อิเลคตรอน โปรตรอน หรือนิวเคลียส ในบทต่อไปและในหนังสือเล่มอื่นๆ ในชุดนี้ ฉันจำเป็นต้องกล่าวครอบคลุมถึงสิ่งเหล่านี้ เพราะการศึกษาธรรมชาติแห่งความเป็นจริงทั้งหลายจะต้องเป็นวิทยาศาสตร์ คือ สิ่งที่ทำซ้ำได้และพิสูจน์ได้ นอกจากฉันจะให้บทฝึกฝนที่ทำให้เธอทั้งหลายสามารถทำได้และพิสูจน์ได้ด้วยตนเองแล้ว ฉันก็สนับสนุนให้เธอแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้ที่กำลังเรียนรู้อื่นๆ เพื่อพิสูจน์ว่า ผู้อื่นก็สามารถทำซ้ำและพิสูจน์ด้วยตนเองได้เช่นกัน กระบวนการดังกล่าวจึงจะมีความเป็นวิทยาศาสตร์ที่สมบูรณ์
    <O:p</O:p
    วิทยาศาสตร์ที่แท้จริงควรจะสามารถอธิบายเกี่ยวกับธรรมชาติความเป็นจริงของจิตวิญญาณ ชาติภพ การเกิดของโลก – จักรวาล และสรรพสิ่งทั้งปวงได้ เธอทั้งหลายสามารถเป็นผู้ศึกษาค้นคว้าวิทยาศาสตร์สาขาจิตวิญญาณ หรือฟิสิกส์สาขาจิตวิญญาณและเป็นแพทย์ที่แท้จริง ผู้ที่สามารถรักษาโรคทางกาย – ทางจิต รักษาชีวิต – รักษาความตายให้กับตนเองได้
    <O:p</O:p
    เมื่อสังคมโลกของเธอขาดแคลนวิทยาศาสตร์และการแพทย์สาขาดังกล่าว ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์มุ่งแสวงหาการค้นคว้าที่เกี่ยวพันแต่วัตถุธาตุและทางกายภาพแต่เพียงอย่างเดียว วิทยาศาสตร์ทั้งหลายได้สูญเสียเวลาไปอย่างมหาศาลกับการค้นคว้า เพราะต้นกำเนิดของสรรพสิ่งทั้งหลายล้วนถือกำเนิดมาจากความเป็นจิตวิญญาณ ความเป็นจินตภาพ ความรู้สึกนึกคิดและจินตนาการ ตราบใดที่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ปรับทิศทางการจดจ่อไปสู่สาระของจิตวิญญาณ วิทยาศาสตร์จะค้นไม่พบต้นกำเนิดที่แท้จริงของสรรพสิ่งทั้งหลายและไม่รู้จักธรรมชาติที่แท้จริง นักวิทยาศาสตร์จะค้นพบได้อย่างมากก็เพียงสภาวะจำกัดหนึ่งๆ ของปัจจัยอันเป็นเหตุ และสภาวะจำกัดหนึ่งของปัจจัยอันเป็นผล การค้นพบของพวกเขาเหล่านั้น เป็นเพียงการค้นพบระนาบเดียวหรือมิติเดียวของเหตุหลากมิติและผลหลากมิติ ซึ่งส่งผลกระทบและสร้างสรรค์สภาวะทั้งหลายในโลกแห่งความเป็นจริงในปัจจุบัน
    โนวา อนาลัย
    (f)(f)(f)<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 พฤศจิกายน 2010
  8. khajornwan

    khajornwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    901
    ค่าพลัง:
    +4,468
    การพัฒนาจิตวิญญาณคืออะไร?

    กว่ามนุษย์จะวิวัฒนาการจากสิ่งมีชีวิตที่เดินด้วยเท้าสี่เท้ามาเป็นสิ่งมีชีวิตที่เดินด้วยเท้าสองเท้านั้นใช้เวลานานหลายล้านปีซึ่งนับเป็นการวิวัฒนาการที่ก้าวหน้าและสำคัญ

    การแสวงหาทางจิตวิญญาณหรือการพัฒนาทางจิตวิญญาณคืออะไร? นี่เป็นเรื่องนอกเหนือจากการทำความดีและการพูดด้วยความจริงใจ

    การพัฒนาทางจิตวิญญาณ หมายถึงการพัฒนาทางด้านสมองและด้านจิตใจไปสู่การรู้ถึงความรู้แจ้งเห็นจริงละกิเลสและพัฒนาจิตให้อยู่เหนือโลกและวัตถุ ( Transcendence ) การจะไปถึงจุดนั้นได้เราต้องมีความถ่อมตน ฝึกฝนตนเอง ละความเห็นแก่ตัวยึดมั่นในหลักการพื้นฐานของความรักความเมตตาพร้อมกับอยู่ในขอบข่ายแห่งความเป็นจริง

    ส่วนนี้เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการฝึกฝนสมาธิหลังจากการฝึกฝนให้อยู่เหนือโลกของวัตถุได้ในระดับหนึ่งเราก็สามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้ซึ่งเป็นการสั่งสมบารมีในขณะที่มีชีวิตอยู่

    การทำสมาธิเป็นการพัฒนาความสามารถของจิตให้ไปถึงความรู้แจ้งเห็นจริงคือเข้าใจความจริงอันสูงสุด ( สัจธรรม ) เราต้องใช้ความพยายามของเราไปให้ถึงจุดนั้นไม่มีใครให้ปริญญาหรือประกาศนียบัตร ให้ของขวัญเพื่อทำให้คนเป็นพระพุทธเจ้าหรือพระเยซูคริสต์ได้สิ่งศักดิ์สิทธิ์เบื้องบนสามารถปกป้องหรือช่วยเหลือเราให้มาสู่ระดับการพัฒนาเป็นผู้ประเสริฐ ( Supreme Being ) แต่ในการรักษาตัวเองให้อยู่ในระดับนั้นได้จิตใจของเราจะต้องเอื้ออาทรและมีความรักความเมตตาต่อมนุษย์ทั้งมวล

    หากเราจะดำเนินชีวิตไปในเส้นทางที่คลุมเครือและไร้จุดหมายเราก็ควรที่จะเลิกล้มความคิดที่จะแสวงหาจิตวิญญาณเลยดีกว่าเพราะการทำอย่างนั้นเป็นการสูญเปล่าไม่มีทางได้พบชีวิตทางจิตวิญญาณและจะเป็นการสั่งสมกรรมให้เพิ่มพูนขึ้น

    [​IMG]
    <O:p</O:p
    การทำสมาธิ เป็นการช่วยให้เราก้าวหน้าไปสู่ระดับสูงขึ้นและเป็นทางที่ถูกต้องที่จะนำไปสู่การตื่นตัวจากตัวเองและการรู้แจ้งเห็นจริงความเข้าใจในพลังจักรวาล เข้าใจในธรรมชาติของโลกที่มองเห็นและที่มองไม่เห็นและเข้าใจในสิ่งศักดิ์สิทธิ์เบื้องบนสูงสุดวิธีการใดที่ไม่ช่วยให้เราไปถึงเป้าหมายและไม่ช่วยปลดปล่อยเราจากภาพลวงตาวิธีการนั้นก็ไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้อง

    วิทยาศาสตร์สมัยใหม่บอกว่าร่างกายประกอบด้วย เลือดเนื้อ กระดูก สมองตลอดจนอวัยวะต่างๆ ระบบการไหลเวียนของโลหิตและระบบประสาทนอกเหนือจากศาสตร์เกี่ยวกับการฝังเข็มและศิลปะการต่อสู้ป้องการตัวโดยไม่ใช้อาวุธแล้ววิทยาศาสตร์สมัยใหม่ยังไม่ยอมรับว่านอกจากระบบต่างๆที่แจกจ่ายพลังภายในร่างกายไปสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกายแล้วยังมีจุดสำคัญอีก 7 จุดในร่างกายมนุษย์ที่มีความสำคัญสูงสุด จุดสำคัญ 7 จุดนี้ ก็คือ “ จักระ ” ซึ่งเป็นภาษาสันสกฤต หมายถึง วงล้อที่หมุนด้วยความเร็วด้วยเหตุนี้อาจารย์สอนโยคะจึงเรียกจุดนี้ว่า “ วงล้อ ”

    <O:p</O:p
    ในสมัยดึกดำบรรพ์ เมื่อผู้คนเริ่มสะสมกรรม ( บาป )กรรมที่ร้ายแรงที่สุดได้แก่ความหยิ่งทะนง ความฟุ้งเฟ้อการโกหกหลอกลวงและการคิดว่าตัวเองมีพลังมีความสามารถมากกว่าหรือเทียบเท่ากับสิ่งศักดิ์สิทธิ์เบื้องบนพวกเขาจึงสูญเสียความสามารถพิเศษที่มีอยู่และจักระของพวกเขาก็ถูกปิดสนิทเพราะความหลงผิดเหล่านั้นซึ่งก็คล้ายกับเรื่องในคัมภีร์ของศาสนาคริสต์ที่มนุษย์ถูกอัปเปหิจากสวรรค์เมื่อจักระถูกปิดคนก็จะมีวิวัฒนาการถอยหลังกลับไปสู่กรรมไม่ดีทั้งหลายมากขึ้นทุกทีคือความหลงในวัตถุ ความขัดแย้งต่างๆ การฆ่าฟันกันและก่อนสงคราม

    ดังนั้นหากเราต้องการจะยกระดับจิตวิญญาณให้รู้ขึ้นกว่าอดีตเราจะต้องพัฒนาจิตวิญญาณของเราความจริงเราไม่ได้ถึงกับเริ่มต้นจากข้างล่างสุดขึ้นมาสู่ข้างบนแต่เราเริ่มต้นจากข้างบนและตกต่ำลงสู่ข้างล่างต่างหากดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับเราว่าจะรวบรวมกำลังกลับไปสู่ที่เดิมและขจัดกรรมชั่วต่างๆที่เราจมอยู่นั้นได้อย่างไร วิถีทางที่จะขจัดการเกิด แก่ เจ็บ ตายหรือวัฏสงสารที่ทางพุทธศาสนาเรียกว่า “ นิพพาน ” นั้น เราต้องแสวงหาทางหลุดพ้นซึ่งก็คือ “ สัจธรรม ” นั่นเอง

    เราต้องรักษาร่างกายให้แข็งแรงโดยการได้รับประทานอาหารและโภชนาการที่ดีถึงจะทำให้เรามีกำลังภายในและเซลล์ในร่างกายทำงานได้ดีฉะนั้นหากเราจำกัดตัวเองด้วยการกินอาหารมังสวิรัติที่มีคุณค่าไม่ครบถ้วนและอดอาหารเซลล์ของสมองก็จะไม่พัฒนา สมองก็จะว่างเปล่า กำลังกายและกำลังภายในก็ไม่มียิ่งกว่านั้นเราจะไม่สามารถทำสมาธิได้อย่างเต็มที่ สมองไม่ทำงาน จิตใจไม่แจ่มใสเพราะฉะนั้นร่างกายที่จะแข็งแรงได้ก็จะต้องทานอาหารให้เต็มที่และมีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย

    อาหารช่วยให้เราดำเนินอยู่ในวิถีของการพัฒนาจิตวิญญาณพระพุทธเจ้าก็เคยใช้ชีวิตอดอยากทุกข์ทรมานแบบฤาษีอยู่นานถึง 5 ปี แต่ก็ไร้ผลจนท่านเลิกทำและมานั่งอยู่ที่ใต้ต้นมหาโพธิ์ รู้สึกท้อแท้ เหน็ดเหนื่อยร่างกายผ่ายผอมมีแต่หนังหุ้มกระดูกและท่านได้ตั้งปณิธานว่าจะไม่ลุกจากต้นโพธิ์จนกว่าจะตรัสรู้พระองค์ประทับอยู่อย่างนั้นจนกระทั่งมีหญิงคนหนึ่งนำน้ำนมมาถวายเมื่อท่านได้ฉันท์น้ำนมท่านก็มีกำลังวังชาที่จะทำสมาธิ หลังจากนั้น 49 วันท่านก็บรรลุ “ นิพพาน ” คนที่อยากมีรูปร่างดีและควบคุมกำหนัดของตัวเองสามารถอยู่ได้ด้วยการกินอาหารในปริมาณน้อยแต่ในความเป็นจริงเมื่อคนเราอยู่ในวิถีแห่งสัจธรรมได้อย่างแท้จริงแล้วเขาย่อมต้องมีพลังพิเศษมากกว่าคนอื่นไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบไหนและพลังนี้สามารถเปลี่ยนเป็นความสามารถเหนือธรรมดาเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นได้

    ร่างกายคนเรามีจักระ 7 จักระซึ่งตั้งอยู่ระหว่างกลางไหล่เมื่อได้รับการเปิดแล้วและนำมาฝึกฝนอย่างถูกวิธีเราก็จะมีหูทิพย์ซึ่งจะช่วยให้สามารถได้รับคำสอนของสิ่งศักดิ์สิทธิ์เบื้องบนที่ชี้นำเราสอนให้รู้ถึงการพัฒนาจิตวิญญาณและการฝึกฝนปฏิบัติในการทำสมาธิและเราสามารถจะได้รับคำแนะนำของท่านเหล่านั้นได้ ตามปกติเรามักจะได้รับคำสอนมากมายแต่จะคิดว่าเป็นความคิดของเราเองและปฏิเสธว่าสิ่งนี้ไม่ใช่คำสอนของสิ่งศักดิ์สิทธิ์เบื้องบนหรือที่เราเรียกว่าความคิดจากสวรรค์ ( Divine thoughts ) ซึ่งส่งมาถึงจิตเราโดยตรงแต่เราคิดไปว่าเป็นความคิดของเราเอง ความคิดจากสวรรค์นี้คืออาจารย์ของเราเราควรจะน้อมรับเอาไว้ด้วยความเคารพ

    เมื่อจิตใจและวิญญาณของเราพัฒนาสูงขึ้นเราก็จะรู้วิธีใช้ความสามารถใหม่ๆ เหล่านี้ และถ้าเราพัฒนาได้สูงขึ้นอีกเรื่อยๆเราก็จะเริ่มเข้าใจความจริงได้โดยไม่ต้องเรียนรู้จากผู้อื่นและเราจะรู้สึกถึงการลื่นไหลของความคิดของเราที่ประสานกับจิตวิญญาณของสิ่งศักดิ์สิทธิ์เบื้องบนสูงสุดเมื่อนั้นเราจะรู้ว่าทุกอย่างเป็นหนึ่งเดียว
    อ.เลือง มินห์ ด๋าง
    sleeping_rbsleeping_rbsleeping_rb
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 พฤศจิกายน 2010
  9. khajornwan

    khajornwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    901
    ค่าพลัง:
    +4,468
    เรื่องนี้ก็น่าสนใจค่ะ.. การยึดจิตไว้กับ " พุทโธ "
    มีการฝึกสมาธิอยู่วิธีหนึ่งเรียกว่า.. กิริยาโยคะ..
    การฝึกก็คือฝึกลมหายใจยาวและอยู่กับปัจจุบันขณะ.. คล้ายโยคะ
    แต่ต่างกันตรงที่ว่า.. ทุกๆ การกระทำ ทุกๆ การเคลื่อนไหวของเค้า
    มี " สิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุด " อยู่ในใจทุกลมหายใจเข้าออก..
    เพื่อที่จะมีแสงสว่างเป็นเครื่องนำทางให้เข้าใจในหลักสัจธรรม
    ซึ่งหมายถึงความจริงหรือทางที่ถูกต้อง..
    ไม่หลงทางเสียเวลาไปกับความเชื่อที่ผิด
    :z6:z6:z6
     
  10. khajornwan

    khajornwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    901
    ค่าพลัง:
    +4,468
    การฝึกสมาธิตามแนวคริสต์

    เข้าใจนะคะว่าเราชาวพุทธมักจะมีความรู้สึกต่อต้านกับคำว่า " พระเจ้า "
    ลองมาดูวิธีการฝึกสมาธิตามแนวของศาสนาคริสต์ดูว่าคล้ายกับของชาวพุทธกันรึปล่าว?
    วิธีการที่จะทำให้เราอ่านแล้วไม่รู้สึกต่อต้านก็ลองเอาคำว่า " พุทธะ " หรือ " พระธรรม "
    ไปแทนคำว่า " พระเจ้า " ดูค่ะ ว่ารู้สึกยังงัยบ้าง?
    ความจริงแล้ว " พุทธะ " " พระธรรม " หรือ " พระเจ้า " ก็เป็นเพียงภาษาที่เราใช้ในการสื่อสารเท่านั้น
    คุณหนุมานอาจใช้คำว่า " โลกุตตระ " ก็ไม่ต่างกันหรอกนะคะ
    สิ่งสำคัญอยู่ที่ว่าเราเข้าใจในคำๆ นั้นหรือไม่เท่านั้นเอง

    ...............................

    การทำสมาธิในคริสตศาสนา
    (ถอดความบางตอนจากการพูดนำการทำสมาธิของ)
    คุณ<?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com[​IMG]</st1:personName>พ่อ ลอเรนซ์ ฟรีแมน OSB
    ผู้อำนวยการ
    The World Communuty for ChristianMeditation
    WCCM International Centre
    ............................................
    การทำสมาธิเป็นรูปแบบการภาวนาที่ “จริงใจ” (Sincere) เมื่อเราทำสมาธิเราก้าวเข้าไปสู่รูปแบบการภาวนาที่คริสตชนในยุคแรกเรียกว่า “การภาวนาที่บริสุทธิ์” (Pure prayer) ที่ว่า “บริสุทธิ์” (Pure) ก็เพราะเป็นการชำระใจให้บริสุทธิ์ปราศจากภาพลักษณ์ต่างๆ ปราศจากอารมณ์กิเลส ความอยาก ความปรารถนา และความกลัวต่างๆ รวมทั้งปราศจากความสลับซับซ้อนทั้งปวงที่พัวพันเกี่ยวข้องกับอารมณ์ความรู้สึกเหล่านั้น สิ่งที่ “บริสุทธิ์” ย่อมเป็นสิ่งที่เรียบง่าย (Simple) ในที่นี้เรากำลังพูดถึง “ความบริสุทธิ์” และ “ความเรียบง่าย” ดังนั้นเมื่อเราทำสมาธิ เราไม่ได้กำลังพูดกับพระเจ้า เราไม่ได้กำลังคิดถึงพระเจ้าด้วยวิธีการที่ยุ่งยากซับซ้อน เราไม่ได้กำลังนำปัญหาของเรามาโปะให้กับพระเจ้า และติดบนบอร์ดเพื่อเตือนให้พระเจ้าได้เห็นปัญหาของเราเหล่านี้ เพื่อที่พระองค์จะได้ช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ให้เรา เราสามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้ด้วยวิธีการภาวนารูปแบบอื่นๆ ที่เราคุ้นเคยและได้ทำกันมาเป็นประจำอยู่แล้ว ซึ่งก็ล้วนเป็นวิธีการภาวนาที่ถูกต้องและมีประโยชน์ทั้งนั้น ฉะนั้น การทำสมาธิ ไม่ใช่สิ่งที่จะมาทดแทนการภาวนารูปแบบอื่นๆ ที่ทำกันอยู่แล้ว แต่รูปแบบการภาวนาที่ จริงใจ นี่ต่างหากที่เราควรจะต้องเข้าใจ

    การภาวนาที่ “จริงใจ” หมายความว่าอะไร? ในบทที่ 6 ของพระวรสารโดยนักบุญมัทธิว พระเยซูเจ้าทรงสอนเรื่องการภาวนาว่า “เมื่อท่านภาวนาจงเข้าไปใน ‘ห้องลับส่วนตัว’ ของท่าน (Your‘inner’ room) และอธิฐานต่อพระบิดาเจ้าภายในสถานที่ ‘ลับ’ นั้น อย่ายืนภาวนาที่มุมถนนเพื่อให้ใครๆ เขาได้เห็นและยกย่อง” พระองค์ตรัสว่า “จงภาวนาอย่างซื่อๆ เรียบง่ายโดยไม่ใช้คำพูดมากมายจงอยู่ใน “ขณะปัจจุบัน” (At the present moment) และจงละทิ้งความกังวลใจทั้งหลาย เมื่อท่านภาวนา” คำสอนของพระเยซูเจ้าในเรื่องการภาวนาเป็นคำอธิบายถึงการทำสมาธิที่สมบูรณ์ที่สุด นี่คือเครื่องหมายที่บ่งบอกว่าพระเยซูเจ้าทรงเป็นพระอาจารย์สอนการเพ่งพิศภาวนา

    แต่ข้าพเจ้าคิดว่า เมื่อพระองค์ตรัสถึง “ความจริงใจ” ทรงหมายถึง “การภาวนาที่ออกมาจากหัวใจ” บ่อยครั้งที่การทำสมาธินี้ถูกเรียกว่า “การภาวนาจากใจ” ในความเป็นจริง ตามปกติเมื่อเราภาวนา (ตามที่เราเคยถูกสอนกันมา) เรามักจะภาวนาโดยมีจุดประสงค์เพื่ออยากจะเปลี่ยนแปลงโลก หรืออยากจะเปลี่ยนแปลงผู้อื่นที่ทำให้เราอารมณ์เสีย หรือเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ที่เป็นปัญหาในชีวิตของเรา และนั่นคือ “จุดประสงค์” (Intention) ของเรา และเราก็นำ “จุดประสงค์” นี้มาด้วยเมื่อเราภาวนาต่อพระเจ้า เพื่อขอให้พระองค์ทรงเปลี่ยนแปลงสถานการณ์รอบชีวิตเราให้ดีขึ้นและเปลี่ยนชีวิตเราให้เป็นชีวิตที่ดีขึ้น ฟังดูแล้วการภาวนาอย่างมี “เป้าประสงค์” ในการขออย่างนี้ก็ดูจะไม่ค่อยจริงใจเท่าไรนัก เพราะหลักการสำคัญของการภาวนามิใช่เพื่อให้เราพยายามเปลี่ยนแปลงโลกรอบข้างของเรา เพราะนั่นเป็นธุระของพระเจ้า เราคิดว่าเราเป็นใครที่จะไปเที่ยวขอให้พระเจ้าไปเปลี่ยนโน่นเปลี่ยนนี่ให้เรา ด้วยเหตุนี้ เราจะภาวนาอย่าง “จริงใจ” ได้ก็ต่อเมื่อเราพร้อมที่จะ “เปิดใจ” เราจริงๆ และพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนการ “เปิดใจ” ของเราและการยอมรับความจริงในตัวเราและพร้อมที่จะปรับเปลี่ยน เป็นก้าวสำคัญที่จะนำไปสู่ “ความจริงใจ” ในการภาวนาของเรา

    ดังนั้นในเวลาทำสมาธิ เราจึงไม่นำเอาคำวิงวอนต่างๆ ของเราหรือ จุดประสงค์(Intention) ของเราเข้ามาขอกับพระเจ้า เราไม่ต้องเอามาพูดขอเพราะพระองค์ทราบความต้องการของเราอยู่แล้วก่อนที่เราจะเอ่ยปากขอเสียอีก แต่เราต้องให้ ความสนใจ หรือ ความใส่ใจ หรือมี ใจจดจ่อ (Attention) อยู่กับใน ขณะปัจจุบัน (At the present moment) ไม่ใช่แสดง จุดประสงค์ ในการขอโน่นขอนี่ของเรา นี่คือการมองเห็นอันบริสุทธิ์ของการทำสมาธิ เป็นการเพ่งพิศภาวนา ด้วยเหตุนี้เราจึงไม่เก็บความคิดอะไรไว้ในใจของเรา แต่เรากำลังทำบางสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่า ยอห์นเมนกล่าวว่า เราจะรับรู้ความสามารถที่ลึกล้ำที่สุดของเราเมื่อเราทำสมาธิ นั่นคือความสามารถที่จะ อยู่กับพระเจ้า (With God)ในพระเจ้า (In God) ที่นี่ (Here) และใน ขณะนี้
    <O:p</O:p<O:p</O:p

    [​IMG]

    วิธีการทำสมาธิ

    ข้าพเจ้าขออธิบายถึงวิธีการทำสมาธิก่อน จากนั้นเราก็จะใช้เวลาสักครู่หนึ่งฝึกทำสมาธิร่วมกัน สิ่งแรกที่เราทำเมื่อเราทำสมาธิ คือ “ความเงียบ” ซึ่งหมายความว่าเราต้องอยู่นิ่งๆ และเงียบ ดังนั้นสิ่งแรกที่เราทำคือการนั่งนิ่งๆ เงียบๆ โดยพยายามทำให้ร่างกายสงบเงียบที่สุดเท่าที่จะทำได้ หมายความว่าท่านต้องไม่ขยับตัวไม่ไอไม่แกะห่อขนมหรือท๊อฟฟี่ ไม่รูปซิปกระเป๋าหรือสั่งน้ำมูก หรือเอาเท้ามาถูกัน ฯลฯ โดยสรุปคือ ไม่ทำให้เกิดเสียงใดๆ ทางร่างกายเลย นี่คือด่านแรกในการทำสมาธิ นั่นก็คือความเงียบนิ่งทางกาย บางทีนี่อาจจะฟังดูเหมือนเป็นก้าวแรกที่ง่ายๆ ในการเดินทางแห่งการเพ่งฌานอันยิ่งใหญ่ แต่เป็นก้าวที่มักจะทำให้ท่านได้เรียนรู้มากมาย ยอห์นเมนกล่าวว่า “เพียงการเรียนรู้ที่จะนั่งนิ่งๆ ไม่ทำเสียงอะไรก็จะสอนบทเรียนเกี่ยวกับการเดินทางของชีวิตฝ่ายจิตให้แก่ท่านได้มากมายแล้ว” เพราะสำหรับพวกเราบางคน นี่คือก้าวที่สำคัญ เป็นก้าวแรกที่จะก้าวไปเกินกว่าจะคาดหวัง ดังนั้น การทำตัวทำใจให้เงียบนิ่งให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้และอย่างผ่อนคลายแต่จริงจัง จึงเป็นก้าวแรกของการทำสมาธิ

    จากนั้น การทำความนิ่งเงียบเป็นเรื่องของ “ภายในใจเรา” (Interior) เป็นความเงียบนิ่งทางใจ ตรงนี้ยากมาก เพราะเราจะเริ่มค้นพบว่าพอเรานั่งนิ่งๆ สมองเราจะอยู่นิ่งไม่ได้ เหมือนลิงกระโดดไปมาบนต้นไม้ ใจของเราไม่หยุดนิ่ง ใจไม่เงียบ แต่กำลังวิ่งเป็นวงกลม กระวนกระวายเต็มไปด้วยความกลัว ความปรารถนา ความเพ้อฝัน ความทรงจำ และแผนการต่างๆ ในใจเรา ตามคำกล่าวของนักพรตคริสตชนในยุคแรกของศาสนาเรา (ที่ยอห์นเมนได้เรียนรู้ประเพณีของการทำสมาธิแบบคริสต์) ความวุ่นวายกระวนกระวายใจและการขาดสมาธิในสมองของเรานี้ คือความหมายที่แท้จริงของบาปกำเนิดของเรานั่นเอง มันเป็น ความไร้สมรรถภาพของเราที่จะให้ความสนใจกับพระเจ้าใน "ขณะปัจจุบัน" อะไรจะเรียบง่ายไปกว่าการให้ความสนใจกับ “ขณะปัจจุบัน”? แต่สิ่งที่เรียบง่ายไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย

    พระเจ้าทรงเป็นอยู่ทุกหนทุกแห่ง (God Is!) พระองค์อยู่ที่นี่ ! (God Is Here!) และในขณะนี้! (God Is Now!) เราก็อยู่ที่นี้! (I am here!) และขณะนี้! (I am now!)แต่ทำไมจึงดูเหมือนว่าพระองค์ไม่ได้อยู่ที่นี่? ทำไมจึงดูเหมือนว่าพระองค์ทรงอยู่ห่างไกล? ทำไมบางครั้งจึงดูเหมือนว่ายังกับไม่มีพระเจ้า? สาเหตุไม่ใช่เป็นเพราะพระเจ้าไม่ได้อยู่ที่นี่ หรือไม่มีพระเจ้า แต่เป็นเพราะ “ใจฉันไม่ได้อยู่ที่นี่ ณ ขณะนี้ กับพระเจ้า” ต่างหาก<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เมื่อเราทำสมาธิเราเห็นทุกสิ่งที่ว่ามานี้ราวกับเห็นในกระจกเงา ทันทีที่เราเริ่มนั่งลงเพื่อทำสมาธิ เรามองเห็นภาพสะท้อนของตัวเราในใจของเราเอง เห็นเรากำลังสับสน วุ่นวาย กระวนกระวาย (Distracted, turbulent, agitated) ไม่มั่นใจในตัวเอง (Insecure) หวาดกลัว (Frightened) เป็นคนเห็นแก่ตัวและเห็นแต่ความสำคัญของตัวเองเท่านั้น (Egocentric) เต็มไปด้วยความฝัน ความเพ้อฝัน (Fantasies) ความกลัว (Fears) ความกังวล (Anxieties) ความโกรธ (Anger) และความกลัวความรุนแรง ถ้าท่านสามารถวิเคราะห์สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในใจของท่านได้ ณ จุดใดจุดหนึ่ง ท่านก็จะพบว่า มีความคิดเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีต ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ท่านได้ทำไปในวันนั้น หรือเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้วหรือเป็นเหตุการณ์ที่น่าเศร้าในชีวิตของท่านที่เกิดขึ้นในอดีตนานมาแล้ว เหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องของอดีต ถ้าใจของเราจมปักติดยึดอยู่กับอดีต เราก็ไม่น่าจะรู้สึกสงบสุขหรือชื่นชมยินดีเท่าไรนัก เราจะรู้สึกค่อนข้างเศร้าหรือเสียใจ หรือรู้สึกผิด หรือโหยหาอดีต

    ถ้าสมองเราไม่วนเวียนอยู่กับอดีต เราก็มักจะหมกมุ่นอยู่กับอนาคต เราจะวางแผนว่าจะทำอะไรในคืนนี้ พรุ่งนี้ ปีหน้า หรือเมื่อเราเกษียณอายุในอีก 20 ปีข้างหน้า ทันทีที่เราเริ่มวางแผน—ซึ่งเป็นสิ่งที่เราอดไม่ได้ที่จะทำ เพราะนี่คือวิธีควบคุมความเป็นจริงของเรา—เมื่อนั้นเราจะเริ่มรู้สึกกังวล เพราะเรารู้ว่า เราไม่สามารถควบคุมความเป็นจริงในชีวิตได้ อะไรก็เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ด้วยเหตุนี้ทันทีที่เราเริ่มวางแผน หรือคิดถึงอนาคต เราก็จะเริ่มกระตุ้นความกลัวความตายของเราขึ้นมาด้วย
    ( ยังมีต่อ )
    dannce_dannce_dannce_<O:p</O:p
     
  11. Kama-Manas

    Kama-Manas เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    5,351
    ค่าพลัง:
    +6,491
    "สิ่งที่เรียบง่าย ไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย" ชอบประโยคนี้นะ (เข้ามาให้กำลังใจค่ะ คุณเก่งจริงๆ)
     
  12. khajornwan

    khajornwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    901
    ค่าพลัง:
    +4,468
    ขอบคุณค่ะ คุณ Kama-Manas ที่มาช่วยให้กะลังใจ ต่อเลยค่ะ..^_^
    .............................

    การทำสมาธิในศาสนาคริสต์ ( ต่อ ):boo:

    คราวนี้เราจะทำอย่างไร?

    เมื่อเราหาความสงบสุขไม่ได้จากอดีต และหาความสงบสุขหรือความปิติยินดีไม่ได้จากการหมกมุ่นอยู่กับอนาคต ดังนั้นจิตใจเราจึงมองหาที่ที่เราจะหลบหนีไป แล้วมันก็หนีไปหาโลกของดิสนีย์เวิลดิ์ (Disney World) เราหลบเข้าไปอยู่ในอาณาจักรของความเพ้อฝัน และการฝันกลางวัน (Daydreams) และสนองตัณหาตอนเอง การลอยอยู่ในความเพ้อฝันอาจช่วยให้เราหลบหนีความเป็นจริงไปได้สักชั่วขณะหนึ่ง แต่แล้วในที่สุด เราก็ต้องหล่นตุ๊บกลับลงมาสู่โลกแห่งความเป็นจริงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ฉะนั้น เราก็ไม่พบกับความสงบสุขและความชื่นชมยินดีมากนักแม้แต่ในโลกแห่งความเพ้อฝันของดิสนีย์เวิลดิ์ก็ตาม

    แล้วเราจะไปที่ไหนกัน?

    คำถามนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางฝ่ายจิต (Spiritual journey) ซึ่งเราจะได้เห็นในความแตกต่างระหว่างสภาวะจิต (State ofmind) ทั้งสามแบบคือ- -“การอยู่กับอดีตอยู่กับอนาคต และอยู่กับการฝันกลางวัน” ไม่มีสภาวะใดที่จะให้ความสงบสุข หรือความพึงพอใจที่ลึกซึ้งหรือความสุขแก่เราได้ เราไม่อาจจะรู้สึกถึงความชื่นชมยินดีและความสุขอันบริสุทธิ์ในสภาวะทั้งสามนี้ แล้วเราจะหันไปทางไหนล่ะ? ที่ใดล่ะที่มีความสงบสุข? ที่ใดล่ะที่มีความชื่นชมยินดี? เราจะมองหาจากภายนอกหรือ? ถ้าเช่นนั้นจากที่ไหน? ในที่สุดการแสวงหาและการพิเคราะห์แยกแยะเช่นนี้จะนำเรากลับไปสู่สถานที่เดียว ที่เราจะพบพระเจ้าได้จริง นั่นก็คือ “ที่นี่” (HERE) และเวลาเดียวที่เราสมารถจะสัมผัสพระเจ้าได้ นั่นก็คือ “ขณะนี้” (NOW)<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    นี่คือสิ่งที่เราเรียกว่าการเพ่งพิศภาวนา (Contemplation) หรือชีวิตเพ่งพิศภาวนา (the comtemplative way of life) หรือสภาวะจิตที่เพ่งพิศภาวนา (a contemplativestare of mind) คือ “การดำรงอยู่ในขณะปัจจุบัน” (Living, being, in the presentmoment) และนี่คือสิ่งที่เราฝึกปฏิบัติเมื่อเราทำสมาธิ ดังนั้นเมื่อเราเริ่มทำสมาธิในอีกสักครู่ จิตใจของเราจะวิ่งวนไปรอบๆ กลับไปกลับมา จากอดีตไปอนาคต สลับกับการฝันกลางวัน สิ่งที่เราทำระหว่างช่วงเวลาของการทำสมาธิดังกล่าวนี้ คือการแสดง “ความมุ่งมั่นใส่ใจ” (Attention) กับ “ขณะปัจจุบัน” (The present moment) นี่อย่างเต็มที่สุดๆ เท่าที่เราจะทำได้

    เราต้องมีวิธีการเพื่อนที่จะช่วยให้เราทำเช่นนี้ได้ และเรามีหลักฝึกปฏิบัติที่ง่ายมาก (Simple discipline) - -คือ “การฝึกฝนฝ่ายจิต” (the spiritual practice) - - -เป็นวิธีการที่เรียบง่ายมากที่ท่านจะพบได้ในศาสนาใหญ่ๆ ทุกศาสนา ยอห์นเมน ค้นพบวิธีการนี้ขณะที่เขาใช้ชีวิตอาศัยอยู่ในเอเชีย ต่อมาเขาได้ค้นพบว่า นี่คือส่วนหนึ่งของธรรมประเพณีคริสตชนในยุคแรก เมื่อเขาศึกษาจากข้อเขียนและคำสั่งสอนของนักพรตคริสตชนในยุคแรกหรือที่เรียกว่าบรรดาปิตาจารย์ที่ดำรงชีวิตในทะเลทราย (The Fathers and Mothers of the Desert) สิ่งที่บุคคลเหล่านี้แนะนำคือการใช้ “มันตรา”<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    อาจารย์คริสตชนในยุคแรกแนะนำวิธีการภาวนาอันบริสุทธิ์ที่เรียบง่ายและปฏิบัติได้ ดังนี้ คือระหว่างการทำสมาธิให้ท่านเลือกคำๆ หนึ่งหรือวลีสั้นๆ และกล่าวคำหรือวลีนั้นซ้ำๆ ไปเรื่อยๆ- - -ซึ่งคำนี้เป็นที่เรียกกันว่า “มันตรา”- -- ให้กล่าวคำนี้ซ้ำไปซ้ำมาในสมองและในใจของท่านอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงเวลาการทำสมาธิ การกล่าวคำพูดซ้ำๆ ง่ายๆ นี่แหละจะช่วยนำท่านออกจากความคิดไปสู่หัวใจออกจากความกระวนกระวายไปสู่ความสงบสุข ออกจากการขาดสมาธิ (Distraction) ไปสู่ภาวะใน “ขณะปัจจุบัน” (the present moment) การกล่าวคำพูดนี้จะสร้างทางแคบๆ แห่งความเงียบให้ท่านเดินตาม ฝ่าเสียงดังต่างๆ ฝ่าความวอกแวกความกระวนกระวาย และฝ่าความสับสนของความคิดต่างๆ ไป จำไว้ว่าพระเยซูเจ้าตรัสเกี่ยวกับวิถีทางสู่ชีวิตว่า “ทางไปสู่ชีวิตเป็นทางที่แคบ และน้อยคนที่พบทางนี้”

    ฉะนั้นการกล่าวคำของท่านนี้จึงเป็นหลักการฝึกปฏิบัติตนที่สำคัญ จำเป็น และเป็นศิลป์ของการทำสมาธิ ให้ท่านนั่งลง นั่งให้นิ่ง นั่งเงียบๆ กฎข้อแรกของท่านั่ง คือให้นั่งหลังตรง ซึ่งจะช่วยให้ท่านไม่หลับ และตื่นตัวอยู่เสมอ จากนั้นท่านจะกล่าว “มันตรา” ของท่านเบาๆ ภายในใจซ้ำไปซ้ำมา ให้กล่าวคำนี้โดยไม่ขยับริมฝีปากหรือลิ้น<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    การเลือกคำเป็นสิ่งสำคัญ เพราะท่านจะใช้คำเดียวนี้ตลอดช่วงเวลาการทำสมาธิและทุกครั้งที่ทำสมาธิ ให้ทำสมาธิทุกเช้าและเย็น ครั้งละประมาณครึ่งชั่วโมง และให้ใช้คำเดียวกันนี้ทุกครั้ง การยึดมั่นในคำนี้จะช่วยให้คำนี้จมลงในสติสัมปชัญญะระดับลึกลงไปทีละน้อย จมลงไปสู่ใน “หัวใจ” โดยที่เราไม่รู้ตัว - - - ด้วยเหตุนี้ การเลือกคำจึงสำคัญ ท่านอาจจะใช้คำว่า “เยซู” ซึ่งเป็น “มันตรา” ที่ใช้ในภาวนาของคริสตชนในยุคโบราณ หรือท่านอาจใช้คำว่า “อับบา” ซึ่งเป็นคำที่งดงามที่พระเยซูเจ้าทรงทำให้ศักดิ์สิทธิ์ในบทภาวนาของพระองค์เอง คำที่ข้าพเจ้าขอแนะนำ และเป็นคำที่คุณ<?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com[​IMG]</st1:personName>พ่อยอห์น เมน แนะนำคือ “มารานาธา” (Maranatha )

    “มารานาธา” เป็นคำภาวนาที่เก่าแก่ที่สุดของคริสตชนแปลว่า “เชิญเสด็จมาเถิด พระเจ้าข้า” เป็นคำภาษาอาราเมอิก ซึ่งเป็นภาษาที่พระเยซูเจ้าทรงใช้พูด นักบุญเปาโลใช้คำนี้ปิดท้ายจดหมายของท่านถึงชาวโครินธ์ฉบับที่หนึ่ง ถ้าท่านเลือกคำนี้ จงกล่าวคำออกเป็น 4 พยางค์ คือ “มา-รา-นา-ธา และเปล่งคำนี้อย่างชัดเจนในใจของท่าน ฟังคำนี้เมื่อท่านเอ่ยออกมา อย่าคิดถึงความหมายของคำ การทำสมาธิ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ท่านจะคิด ในระหว่างการทำสมาธิ จงปล่อยความคิดทั้งหมดออกไปแม้แต่ความคิดที่ดีหรือความเข้าใจฝ่ายจิต (Spiritualinsight) ก็ตาม ถามว่าท่านจะปลดปล่อยความคิดทั้งหลายได้อย่างไร ? ก็โดยการกลับมาหา “มันตรา” ของท่านทันทีที่ท่านรู้ตัวว่าใจของท่านกำลังวอกแวกไปกับความคิดความกังวลต่างๆ และนี่คือความหมายของคำว่า การฝึกปฏิบัติ ความยากจนฝ่ายจิต” (Poverty in spirit) - - - หมายถึง การปลดปล่อยหรือปล่อยวางจากทุกสิ่ง” (Letting go of everything) พระเยซูเจ้าตรัสว่า ผู้ที่มีใจยากจนย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะได้ครอบครองอาณาจักรของพระเจ้า วิธีที่เราฝึกปฏิบัติ “ความยากจนฝ่ายจิต” นี่ (- - - หรือการปล่อยวางซึ่งเป็น “อิสรภาพ” อันน่าพิศวงที่ได้รับจากความยากจนฝ่ายจิต- - -) ก็โดยการการกลับมาหาคำ “มันตรา” นี้ อย่างมุ่งมั่นและอย่างซื่อสัตย์ ฉะนั้นจำไว้ จงกล่าวคำ “มันตรา” นี้อย่างนุ่มนวลเบาๆ ไม่ต้องออกแรง แต่ให้กล่าวอย่างซื่อสัตย์และต่อเนื่อง และให้หันกลับมาหาคำนี้ทันทีที่ท่านรู้ตัวว่าท่านได้หยุดกล่าวคำนี้<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เมื่อท่านเริ่มต้นทำสมาธิ ถ้าท่านสามารถนั่งได้สัก 2 หรือ 3 วินาที ก็ต้องนับได้ว่าท่านโชคดีมากแล้วก่อนที่สมองท่านจะถูกรุมเร้าด้วยเรื่องในอดีต หรืออนาคต หรือเริ่มเพ้อฝันหรือฝันกลางวัน หรือจินตนาการคำสนทนาต่างๆ หรือความกลัวหรือความกังวลใจเล็กๆ น้อยๆ จะเริ่มเข้ามาในความคิดของท่านหรือเริ่มวางแผนงานที่ท่านจะทำต่อไป

    ด้วยพระหรรษทานของพระเจ้า นี่คือความลี้ลับอันยิ่งใหญ่ของจิตสำนึก (Consciousness) - - -ที่ท่านรู้ตัวในความจริงที่ว่าท่านกำลังขาดสมาธิเพราะใจท่านได้วอกแวกออกไป และที่ท่านรับรู้เช่นนี้ได้ก็เพราะพระจิตเจ้าทรงกำลังภาวนาอยู่ในตัวท่านด้วยนั่นเอง ฉะนั้นทันทีที่ท่านตระหนักว่าท่านได้หยุดกล่าว “มันตรา” จงอย่าเสียเวลาวิเคราะห์หรือรู้สึกผิด หรือคิดว่าตนเองล้มเหลวในการทำสมาธิ แต่จงหันกลับมาเริ่มต้นกล่าว “มันตรา” อีกครั้งหนึ่ง ด้วยวิธีนี้เราจะปรับตัวตนส่วนลึกที่สุดของเราให้เคลื่อนไหวอย่างสอดคล้องกับพระจิตเจ้า ดังนั้น จงหยุดคิดประเมินถึงความสำเร็จหรือความล้มเหลวในการทำสมาธิ เป็นธรรมดาที่ “อัตตา” ของท่านจะบอกท่านว่า “เธอทำไม่ได้เรื่อยเลย เสียเวลาเปล่าๆ เธอไม่มีความสามารถที่จะทำสมาธิได้ดีหรอก ลองวิธีอื่นที่จะทำให้เธอมีความพอใจได้มากกว่านี้ดีกว่า อะไรก็ได้ที่จะให้ความรู้สึกสาสมแก่ใจได้เร็วกว่านี้ได้” เมื่อท่านได้ยินเสียง “ อัตตา” เช่นนี้ จงขับไล่มันไปเสีย - - - “ไปเสียเถิด อย่ามายุ่งกับฉัน”<O:p</O:p

    [​IMG]
    <O:p</O:p
    ดังนั้นจงพยายามตัดขาดจากการยึดติดอยู่กับเรื่องความล้มเหลวหรือความสำเร็จ เพราะการยึดติดอยู่กับเรื่องความล้มเหลวหรือความสำเร็จนั้น มันเป็นปัญหาของเรื่อง “อัตตา” (Ego) ของเรา ทันทีที่รู้ตัวว่าท่านได้หยุดกล่าว “มันตรา” ท่านไม่ต้องเสียเวลาประเมินผลงานของท่านว่าท่านทำได้ดีแค่ไหน ท่านเพียงแต่ ‘มันตรา’ ด้วย ‘ความซื่อสัตย์และเรียบง่าย’ (Simplicity) และความสุภาพถ่อมตน (Humility) " เหมือนเด็ก” การฝึกวินัยเช่นนี้จะสอนท่านโดยตรงถึงความหมายของพระวาจาของพระเยซูเจ้าที่ว่า “ถ้าท่านไม่กลายเป็นเด็กเล็กๆ ท่านจะไม่สามารถเข้าพระอาณาจักรของพระเจ้าได้” บางครั้งคนจะมองหาวิธีทำสมาธิที่สลับซับซ้อน แต่แท้จริงแล้ววิธีปฏิบัติที่บริสุทธิ์และเรียบง่าย (Simplicity) นี่แหละที่ความล้ำลึกของการดำรงอยู่จะเผยให้เห็น<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ถ้าท่านกำลังคาดหวังหรือมองหาประสบการณ์ที่ลึกลับจากการทำสมาธิละก็ จงอย่าคิดหรือมองหาว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น คุณพ่อยอห์นเมนเคยบอกว่า “ถ้ามีอะไรเกิดขึ้น ก็อย่าไปสนใจมัน และถ้าไม่มีอะไรเกิดขึ้น ก็ควรจะรู้สึกขอบคุณ” ที่จริงแล้ว มีความล้ำลึกซ่อนอยู่ในคำพูดนี้ ทันทีที่ท่านฝึกปฏิบัติสมาธิ - - -ด้วยวิธีที่บริสุทธิ์และเรียบง่ายนี้ (Simplicity) - - - ความลึกลับอันยิ่งใหญ่ของการดำรงอยู่จะเผยให้เห็น ดังนั้น คำสอนขั้นต้นก็คือ “ความซื่อสัตย์และเรียบง่าย” นั่นเอง ไม่ว่าท่านจะฝึกมาแล้วเป็นปีๆ หรือฝึกๆ หยุดๆ หรือเพิ่งเริ่มฝึก เราทุกคนกำลังเริ่มต้นที่จุดเดียวกัน เราทุกคนเป็นผู้เริ่มต้น เราทุกคนอยู่ที่นี่ (HERE) ณ เวลานี้ (NOW) เราทุกคนกำลังเริ่มต้นก้าวไปบนเส้นทางเดียวกันอีกครั้งหนึ่ง<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    พระเยซูเจ้าตรัสว่า เมื่อเราภาวนา เราต้อง ละทิ้ง ตัวตน ของเราไว้เบื้องหลัง (Leave “Self” behind) พระองค์ตรัสว่า “ไม่มีใครเป็นศิษย์ของเราได้เว้นแต่ผู้นั้นจะละทิ้งตนเองไว้เบื้องหลัง” นี่คือเสียงเรียกที่เรียบง่าย (Simple) สุดขั้ว (Radical) น่าพิศวง (Wonderful) แต่ท้าทายยิ่ง (Challenging) จากพระวรสารคริสตศาสนา ที่เรียกร้องชาวคริสต์ไม่ใช่เพียงให้เชื่อบางสิ่งบางอย่าง หรือปฏิบัติตามกฎบางข้อ หรือเคร่งศาสนาในกรอบภายนอก แต่เรียกร้องให้ ละทิ้งตัวตนไว้เบื้องหลังนั่นแปลว่าอะไร? นั่นแปลว่าเราควรจะหยุดการยึดถือตัวเราเองเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ควรหยุดการยึดถือตัวเราเองเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่ง เรามักจะห่วงกังวล อยากได้ทุกสิ่งให้เป็นไปตามที่เราต้องการ (Our egotistical mind) ให้เราหยุดคิดถึงตนเอง แต่ให้ขยายตัวออกไปจาก “โลก ‘อัตตา’ (Ego) ที่คับแคบของเรา” (Our narrow ego) และเคลื่อนไหวและขยายตัวเข้าสู่จิตใจของพระคริสตเจ้า
    ( ยังมีต่อ )
    yimmyimmyimm
    <O:p</O:p
     
  13. Kama-Manas

    Kama-Manas เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    5,351
    ค่าพลัง:
    +6,491
    เป็นกระทู้คุณภาพกระทู้หนึ่ง ชอบธรรมะแบบนี้ อ่านแล้วเข้าใจง่ายดี ไม่ต้องแปล ขอบคุณท่านจขกท.ขออนุโมทนา(ทำไมคนเราจึงไม่ชอบอยู่กับปัจจุบัน?)
     
  14. khajornwan

    khajornwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    901
    ค่าพลัง:
    +4,468
    การทำสมาธิในศาสนาคริสต์ ( ต่อ )

    อะไรคือแก่นแท้ของคำสอนนี้ของพระเยซูเจ้า?

    ขอให้เราย้อนกลับมายังจุดสำคัญ - - - นั่นคือ “ใครที่ต้องการเป็นศิษย์ของเรา ต้องละทิ้งตัวตนไว้เบื้องหลัง” นั่นหมายความว่าอะไร ให้ “ละทิ้ง ‘ตัวตน’ ของเราไว้เบื้องหลัง” ? “การละทิ้งตัวตน” ฟังดูอาจมีความหมายในด้านลบ อาจหมายถึงการต้องปฏิเสธตัวเอง เป็นเรื่องที่ค่อนข้างต้องบีบคั้นกดดันตัวเอง (Self-destructive) ทำให้รู้สึกห่อเหี่ยวใจ (Repressive) แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ “การละทิ้งตัวตน” ไม่ได้หมายความว่าเราต้องบีบคั้นกดดันตัวเอง ไม่ได้หมายความว่าเราต้องปฏิเสธการหาความสุขสำราญในชีวิตของเรา หรือต้องลงโทษตัวเราเอง ไม่ได้หมายความว่าเมื่อเราใกล้ชิดพระเจ้ามากขึ้น เราต้องปฏิเสธตัวเองละทำให้ตนเองเจ็บมากขึ้น แน่นอน นั่นไม่ใช่จิตตารมณ์ของพระวรสารที่ต้องการให้เราเป็นอย่างนั้น นั่นไม่ใช่บุคลิกของพระเยซูเจ้า พระวรสารของพระเยซูเจ้าเกี่ยวข้องกับการค้นพบ “สันติสุข และความชื่นชมยินดี” (Peace and joy) และแบ่งปันคุณสมบัติที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตนี้ให้แก่ผู้อื่น

    เราคงไม่สามารถที่จะมีความสงบสุขได้มากนักหรอก ถ้าเรามีทัศนคติที่เป็นลบต่อตัวเอง ที่คอยกดดันบีบคั้นตัวเราเองอยู การละทิ้ง ตัวตนไว้เบื้องหลัง ไม่ได้มีความหมายในแง่ลบ ไม่ใช่เป็นเรื่องการปฏิเสธตัวเอง หรือลงโทษทำร้ายจิตใจตัวเอง การเจริญชีวิตฝ่ายจิตไม่มีความหมายในแง่ลบ ที่เรามีแนวโน้มที่จะมองให้แง่ลบ ก็คงเป็นเพราะบางครั้งในฐานะคริสตชน เราได้รับเอาสภาวะจิตในการมองและคิดในด้านลบ (Negative state of mind) มาโดยไม่รู้ตัว เราหมกมุ่นกับความรู้สึกผิด (Guilt) รู้สึกบาป รู้สึกกลัวในการถูกลงโทษ (Punishment) กลัวตกนรก และหมกมุ่นกับการคิดว่าความรอดเป็นเหมือนชมรมพิเศษหรือคลับพิเศษที่จำกัดเฉพาะสมาชิกบางกลุ่มเท่านั้น มีแต่บางคนเท่านั้นที่ได้รับเรียกให้เขาได้ ส่วนคนอื่นๆ จะถูกกีดกันไม่ให้เข้า แต่ทั้งหมดนี้ไม่เป็นจริงและไม่ถูกต้องเกี่ยวกับพระวรสารของพระเยซูเจ้า พระวรสารท้าทายให้เรามีชีวิตชีวา มิใช่ให้เราตื่นตระหนกหวาดกลัว พระเยซูเจ้าไม่ทรงต้องการให้เรารู้สึกผิด (Guilty) นั่นไม่ใช่ความหมายของการสำนึกผิดที่ได้ทำบาป (Repentence) พระองค์ทรงบอกให้เราสำนึกผิด ซึ่งแปลว่า “ใช่ ! ฉันได้ทำผิดไปจริง..ฉันไม่ได้ทำเต็มที่ตามที่ฉันควรทำสุดๆ ตามศักยภาพของฉัน...แต่ต่อไปนี้ ฉันจะทำตัวให้ดีกว่านี้” แต่ความรู้สึกผิด (Guilt) เป็นสภาวะจิตในด้านลบที่บ่อนทำลาย ในพระวรสารของพระเยซูเจ้าไม่มีข้อความใดเลยที่เสนอภาพของพระเจ้าผู้ต้องการลงโทษเรา บาปมีโทษทัณฑ์อยู่ในตัวของมันเองอยู่แล้ว พระเจ้าไม่จำเป็นที่จะต้องลงโทษเรา พระเจ้าไม่ทรงต้องการจะลงโทษเรา เพราะมันขัดกับภาพลักษณ์ของพระเจ้าซึ่งเป็นภาพแห่งความรัก เพราะการลงโทษไม่ได้อยู่ในธรรมชาติของความรัก จริงอยู่ ที่ความรักโดยทั่วไปสามารถทำให้เราเจ็บปวดได้ ความรักอาจจะนำมาซึ่งความจริงที่แย่ที่เราต้องยอมรับด้วยความเจ็บปวดก็ได้ แต่ ”ความรักไม่ลงโทษ” แล้วเหตุใดเล่าที่เราคริสตชนจึงยึดมั่นอยู่กับภาพลักษณ์ของพระเจ้าผู้จะลงโทษเรา? เราไม่สามารถรักพระเจ้าผู้จะลงโทษได้ ถ้าท่านคิดถึงใครบางคนที่จะลงโทษท่าน ย่อมเป็นการยากที่ท่านจะรักเขาได้ไว้ใจเขาได้<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ทั้งหมดนี้ชี้ให้เห็นความจริงว่า “การละทิ้ง ‘ตัวตน’ ไว้เบื้องหลัง” ไม่เกี่ยวข้องกับการเจริญชีวิตฝ่ายจิตในแง่ลบ ไม่เกี่ยวข้องกับการบีบคั้นกดดันหรือความรู้สึกผิด แต่หมายถึง “การปลดปล่อยให้เป็นอิสระ” (Liberation) คือ “ปลดปล่อยให้หลุดพ้นจากความหมกมุ่นยึดติดอยู่กับ ‘อัตตา’ นิยมทั้งปวง (Egotisticalobsessions) ให้หลุดพ้นจากโลกที่ผูกพันอยู่กับ ‘ อัตตา’ (Ego-bounded world) ให้หลุดพ้นจาก ‘คุก’ แห่งความเห็นแก่ตัว (Selfishness) คิดถึงแต่ตนเอง (Self-centeredness) ให้หลุดพ้นจาก ‘คุก’ แห่งกิเลสและความปรารถนา (Desires) หรือแรงกิเลสที่กระตุ้นบังคับ (Com-pulsion) หรือการเสพติด (Addiction) หรือความกลัว และความไม่มั่นใจในตัวเอง (Insecurity)” ฉะนั้น “การละทิ้ง ‘ตัวตน’ ไว้เบื้องหลัง” คือ “การละทิ้ง ‘อัตตา’ หรือ ‘ตัวกูของกู’ ไว้เบื้องหลัง” และออกจาก ‘คุก’ เล็กๆ นี้ไปสู่ที่โล่งกว้างแห่งจิต- - - ออกไปสู่อิสรภาพของบุตรของพระเจ้า<O:p</O:p
    <O:p
    [​IMG]
    </O:p
    อิสรภาพจาก อัตตาหรือความเป็น ตัวกูของกู’” (Freedom from theEgo)

    การทำสมาธิจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ “อิสรภาพ” (Freedom) สิ่งที่เกิดขึ้นในการทำสมาธิคือ “ท่านปลดตนเองให้หลุดออกจาก ‘อัตตา’ ของท่าน” (You unhookyourself from your Ego) และเชื่อมต่อกับตัวตนที่แท้จริงของท่าน (Your true self) อีกครั้งหนึ่ง...ในการทำสมาธิ เรา “เคลื่อนตัวออกจากการยึดมั่นในตนเอง (Self-fixation) และความหมกมุ่นอยู่กับตนเอง (Selfobsesstion)” ออกไปสู่อิสรภาพใหม่ของฝ่ายจิต คนที่ยึดมั่นในตนเองย่อมไม่สามารถจะรักใครได้ (Aself-fixated person cannot love) และคนที่เห็นแก่ตัวก็ไม่สามารถจะมีความสุขได้ (Aselfish person cannot be happy) มีคำสั่งสอนที่สรุปพุทธศาสนานิกายมหายานไว้อย่างน่าฟังว่า “ความทุกข์ทั้งหมดในโลกเกิดมาจากบุคคลที่พยายามแสวงหาความสุขให้กับตนเอง และความสุขทั้งหมดในโลกเกิดจากบุคคลที่พยายามทำให้ผู้อื่นมีความสุข” และนั่นเป็นความจริงตรงกับพระวรสาร นี่คือความหมายของ “การละทิ้งตัวตน” - - -คือการพบความสุขโดยการ “ปลดปล่อยตนเองจาก ‘อัตตา’ ของเรา” (Freeing ourselves from our ‘Ego’) และเข้าสู่ความสัมพันธ์อันยิ่งใหญ่- - - ซึ่งก็คือ พระเจ้า<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เราจะทำเช่นนั้นได้ด้วยการทำสมาธิได้อย่างไร?- - - ก็ด้วย “ความเรียบง่าย” (Simplicity) คือเราต้องหยุดคิดถึงเกี่ยวกับตัวเราเอง เราค้นหาด้วยกระบวนการปลูกจิตสำนึกให้รู้จักตัวของเราเองและแน่นอน เหมือนที่ข้าพเจ้าได้เคยพูดไว้แล้วว่า “สิ่งที่เรียบง่าย” ไม่ได้หมายความว่าต้องเป็นเรื่องที่ “ง่าย” มันไม่ง่ายที่จะหยุดคิดถึงตัวเราเอง เพราะเราได้คุ้นเคยกับการหมกหมุ่นอยู่กับตัวเราเองอยู่ตลอดเวลามาตลอดชีวิต ฉะนั้นมันไม่ง่าย แต่ในการทำสมาธิ เราจะกลับกระบวนการนั้นเสีย เราจะดัดนิสัยของภาวะจิตของเรา โดยลองทำบางสิ่งที่แตกต่างจากที่เราทำอย่างคุ้นเคยอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้น เมื่อเราเริ่มหยุดคิดถึงตนเอง ความสนใจของเราก็จะเคลื่อนลงสู่สถานที่ที่ลึกยิ่งกว่า บริสุทธิ์ยิ่งกว่า- - - ซึ่งเงียบกว่า และมีสติกว่า- - -ในขณะที่เราเคลื่อนเข้าสู่จิตใจของพระคริสตเจ้า<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    คำสอนสำคัญอีกข้อหนึ่งของพระเยซูเจ้า อยู่ในวลีของพระองค์ที่ว่า ไม่มีใครเป็นศิษย์ของเราได้เว้นแต่เขาจะละทิ้งสมบัติทั้งหมดของเขา (No one can bea follower of mine, unless they renounce all their possessions) นั่นหมายความว่าอะไร? จะให้ความหมายว่า “การละทิ้งสมบัติทั้งหมด” นั้น แปลว่าเราทุกคนจะต้องสละกระเป๋าเงินของเราที่เรามีอยู่ในตอนนี้ รวมทั้งบัตรเครดิตของเรา รถยนต์ บ้าน และเสื้อผ้า เข้าของทั้งหมดของเรา อย่างนั้นหรือ? ถ้าเช่นนั้นเราคงจะไม่สามารถปฏิบัติตามคำสอนนี้ได้อย่างแน่นอน “จะทำอย่างไง? ฉันยังผูกพันกับสมบัติทั้งหลายของฉันอย่างมาก เช่น นาฬิกาที่สวมอยู่บนข้อมือในตอนนี้ และอะไรต่างๆ อีกเยอะแยะ......” ฉะนั้น “การสะสมบัติทั้งหมดของท่าน”นั้น จริงๆ หมายความว่าอย่างไร? จะให้หมายความว่าเราทุกคนต้องเริ่มดำรงชีวิตเหมือนนักบุญ ฟรังซิส ตั้งแต่บัดนี้ โดยนำสมบัติทั้งหมดของเราไปแจกจ่ายให้กับคนจน อย่างนั้นหรือ? บางทีอาจมีบางคนที่คิดว่านี่คือความหมายที่แท้จริงสำหรับเขา ก็เป็นไปได้ และเราก็ได้ประโยชน์จากแบบฉบับบุคคลที่ถือความยากจนทางร่างกายเหล่านี้ แต่ข้าพเจ้าไม่คิดว่า นี่คือความหมายสำหรับทุกคน เพราะมันยากที่จะทำเช่นนั้นได้ นักบุญฟรังซิสคงจะไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ ถ้าท่านต้องเลี้ยงดูครอบครัวของท่าน และรับผิดชอบดูแลบุตรของท่าน ไม่ใช่ว่าเราทุกคนจะต้องเป็นฤษี ไม่ใช่ว่าเราทุกคนจะต้องเป็นสันยาสี (Sanyases) ไม่ใช่ว่าทุกคนจะต้องเป็นขอทาน<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    แต่ข้าพเจ้าคิดว่าความหมายที่แท้จริงก็คือ เราต้องพยายามฝึกฝน “ให้แก่นของหัวใจตัวเองหลุดจากการยึดติดอยู่กับกิเลสที่ต้องการจะเป็นเจ้าของครอบครองทุกสิ่ง” (Non-possessive to the very core of our being)ไม่ว่าจะเป็นการอยากครอบครองสมบัติสิ่งของ ตลอดจนการอยากครอบครองจิตใจคนอื่นให้ทุกคนรอบข้างต้องทำตามใจเรา ฯลฯ เราต้องหยุดความพยายามที่จะเป็นเจ้าของบุคคล หรืออยากครอบครองสิ่งที่เราบังเอิญครอบครองอยู่ในขณะใดขณะหนึ่ง เราต้องหนักและยอมรับในความเป็นจริงที่ว่า ทุกสิ่งที่เราคิดว่าเราได้ครอบครองอยู่ ณ จุดนี้นั้น จริงๆ แล้วเราก็เป็นเพียงแค่การดูแลรักษาสิ่งเหล่านี้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ในตอนนี้เท่านั้น มันจะไม่ได้อยู่กับเราตลอดกาล ถ้าเราหมั่นฝึกฝน “การปล่อยวาง” จากการยึดติดอยู่กับสมบัติของเรา และมีวิธีการใช้สิ่งเหล่านี้ของเราอย่าง “ปล่อยวาง” ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินเงินทอง บัตรเครดิต และบ้านของเรา ฯลฯ เราก็จะเป็นคนที่ต่างไปจากเดิมมาก<O:p</O:p

    ข้าพเจ้าใคร่จะให้ท่านพ้นจากความยุ่งยากนั้น พี่น้องทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอบอกท่านว่า เวลานั้นสั้นนัก ตั้งแต่นี้ไปผู้ที่มีภรรยาจงเป็นเสมือนผู้ที่ไม่มีภรรยา ผู้ที่ร้องไห้จงเป็นเสมือนผู้ที่ไม่ร้องไห้ ผู้ที่มีความสุขจงเป็นเสมือนผู้ที่ไม่มีความสุข ผู้ที่ซื้อจงเป็นเสมือนผู้ที่ไม่มีสิ่งใดเป็นกรรมสิทธิ์ และผู้ที่ใช้ของของโลกนี้จงเป็นเสมือนผู้ที่มิได้ใช้ เพราะโลกดังที่เป็นอยู่กำลังจะผ่านไป ข้าพเจ้าต้องการให้ท่านปราศจากความกังวล

    ฉะนั้น การมีจิตใจที่ไม่อยากจะครอบครอง (To be non-possessive) หมายถึงการฝึกดำรงชีวิตอย่าง ‘ปล่อยวาง’ ไม่ยึดติด (to live “detachment”) นั่นก็หมายความว่า ถ้าท่านมาหาข้าพเจ้าและพูดว่า “ฉันทำนาฬิกาฉันหาย และฉันจำเป็นต้องใช้นาฬิกา ขอนาฬิกาของคุณให้ฉันได้ไหม?” เมื่อนั้นข้าพเจ้าควรจะสามารถพูดได้ว่า “ได้! เอาไปสิ” และสามารถทำเช่นนั้นได้ด้วยความยินดีและด้วยจิตตารมณ์แห่งการ ‘ปล่อยวาง’ โดยไม่มีความรู้สึกถึงการถูกบีบบังคับแต่อย่างใด วิธีเดียวที่เราสามารถจะฝึกการ ‘ปล่อยวาง’ ได้ในขณะที่ดำรงชีวิตอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริงนี้ ก็คือการกลับไปหารากเหง้าของความอยากครอบครองของเรา นั่นก็คือ “อัตตา” ของเรา (Ourego) ถ้าเราสามารถปล่อยวาง “อัตตาของเรา” - - - “ละทิ้งตัวตนไว้เบื้องหลัง” ดังที่พระเยซูเจ้าได้ตรัสไว้ - - - เมื่อนั้น การสละสมบัติทั้งหลายจะเป็นเรื่องธรรมดาสามัญที่สุดในโลก ถ้าเราสามารถละทิ้ง ‘ตัวตน’ ของเรา ก็จะกลายเป็นสิ่งที่เราจะแบ่งปันให้ผู้อื่นได้ไม่ยากนัก จริงอยู่ นี่คือบางสิ่งที่เราปฏิบัติได้ในความสัมพันธ์ส่วนตัวในชีวิตของเรา แต่มันก็ยังเป็นความจริงที่นำเราไปสู่แกนหลักของสังคม - - - ความสัมพันธ์ของมนุษย์ที่มีต่อกัน
    ( ยังมีต่อ )
    rabbit_sleepyrabbit_sleepyrabbit_sleepy<O:p</O:p
     
  15. khajornwan

    khajornwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    901
    ค่าพลัง:
    +4,468
    ใช่ๆ การอยู่กับปัจจุบัน เป็นหัวใจหลักของการฝึกสมาธิทุกๆ แนวค่ะ.. คุณ MERA
    แต่ส่วนใหญ่มักจะไปจมอยู่กับอดีตที่ผ่านไปแล้ว หรืออนาคตที่ยังมาไม่ถึงกันมากกว่า
    เคยมีเพื่อนรักอยู่คู่หนึ่งตอนแรกก็รักกันดีอยู่..
    แต่พอปฏิบัติไปเรื่อยๆ เกิดระลึกชาติได้ว่าอีกฝ่ายเคยหักหลังเอาดาบฟันตัวเอง
    เลยกลายเป็นว่าทะเลาะกันไปเลยก็มีค่ะ..
    อย่างที่หลวงพ่อองค์หนึ่งเคยบอกว่า " กรรมฐานคืออารมณ์ "
    ถ้าเราไม่สามารถข้ามพ้นอารมณ์นั้นได้จิตวิญญาณเราก็ยังไม่ได้รับการพัฒนา..
    (f)(f)(f)
     
  16. Little Mermaid

    Little Mermaid เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    718
    ค่าพลัง:
    +1,768
    เนื้อหาสาระมากมาย
    หลากหลายชวนคิด
    ตามติดอ่านดูด้วยจิต
    ศาสนาวิทย์ มิบิดเบือน..

    ............................ศุภักษร
     
  17. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,681
    ค่าพลัง:
    +51,931
    *** อดีต ปัจจุบัน อนาคต ****

    เราไม่สามารถ ย้อนเวลากลับไปแก้ไขการกระทำในอดีตได้
    แต่ เราสามารถแก้ไขนิสัยที่ติดตัวมาจากอดีตได้ ด้วยการกระทำในปัจจุบัน
    เพื่อ อนาคตที่ดีของตนเอง

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  18. khajornwan

    khajornwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    901
    ค่าพลัง:
    +4,468
    การมี ใจจดจ่อ” (Paying attention)

    การทำสมาธิเป็นเรื่องของการฝึกการคุมสติให้ “ใส่ใจ” หรือมี “ใจจดจ่อ” (Paying attention) นั่นถึงได้อธิบายถึงว่า ทำไมสมองของเราจึงไม่สามารถอยู่นิ่งได้เมื่อเราเริ่มทำสมาธิ ก็เพราะเราคุมสติของเราไม่อยู่นั่นเอง เราคุมสติของเราให้มี “ใจจดจ่อ” แน่วแน่อยู่กับที่ไม่ได้ เมื่อเราคุมสติของเราให้มี “ใจจดจ่อ” แน่วแน่อยู่กับที่ไม่ได้ เราจึงไม่มีสมาธิ ถ้าหากเราสามารถจะเข้าใจได้อย่างแท้จริงว่า การให้ความ “ใส่ใจ” หรือมี “ใจจดจ่อ” หมายถึงอะไร โดยจากประสบการณ์ในการทำสมาธิแล้วละก็ เราก็จะเห็นด้วยว่าการทำสมาธิมีความหมายและเป็นประสบการณ์ที่ลึกซึ้งที่สุดในชีวิตของเรา และสะท้อนให้เห็นว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของจักรวาลของเราอย่างมีความหมาย เพราะจักรวาลคือผลของความสนใจหรือความใส่ใจอย่างสร้างสรรค์และเต็มไปด้วยความรักที่พระเจ้ามีต่อเรา เราเกิดมาเป็นมนุษย์ก็เพราะพระเจ้าทรงรักเรา ทรงสนใจใส่ใจในตัวเรา แม้ตั้งแต่ก่อนที่เราจะรู้ว่าเรามีตัวตนเสียด้วยซ้ำไป นอกจากนี้ยังมีความหมายโยงไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างกันของเราในแต่ละวันด้วย เราสามารถพบกระเจ้าในทุกคนรอบข้างเรา โดยการให้ความสนใจเขา และรักเราเหมือนรักตัวเราเอง บางครั้ง คนทั่วไปคิดว่าการทำสมาธิเป็นเรื่องของการสนใจใส่ใจแต่ตัวเอง นั่งเพ่งพิศอยู่กับสะดือตัวเอง เป็นการคิดถึงแต่ตนเอง เป็นแนวทางการปฏิบัติที่เห็นแก่ตัว หลีกเลี่ยงและปัดความรับผิดชอบออกไปให้กับผู้อื่น เพื่อสร้างชีวิตฝ่ายจิตของตัวเอง แต่ข้าพเจ้าคิดว่าใครก็ตามที่เข้าใจในวินัยการทำสมาธิอย่างแท้จริงและฝึกความสนใจอย่าง “จดจ่อ” ในการทำสมาธิแล้ว ท่านนั้นก็จะตระหนักว่า ท่านกำลังมุ่งส่ง “ใจจดจ่อ” กับส่วนลึกที่สุดของตัวตนท่าน ท่านกำลังส่ง “ใจจดจ่อ” กับพระเจ้าและท่านกำลังให้ความสนใจอย่างจริงใจกับเพื่อนมนุษย์ของท่าน<O:p</O:p
    <O:p
    [​IMG]
    </O:p
    เมื่อเราเริ่มเห็นว่าเรื่องการให้ความสนใจอย่าง “จดจ่อ” เช่นนี้เป็นเรื่องธรรมดา และเป็นเรื่องที่ปฏิบัติได้ เราก็จะเริ่มเห็นว่าการทำสมาธิจะเปลี่ยนชีวิตของเราอย่างไร ลองคิดดูว่า ณ จุดหนึ่งในชีวิตของท่าน เมื่อท่านกำลังประสบกับปัญหา และต้องการจะระบายความไม่สบายใจกับใครสักคน ท่านไปหาเพื่อนคนหนึ่งที่ท่านวางใจ และพูดว่า “ฉันกำลังกลุ้มใจมาก ฉันมีบางอย่างที่อยากจะขอคุยด้วยพอมีเวลาขอคุยด้วยได้ไหม?” แล้วท่านก็เริ่มพูด และเขาก็ฟัง สิ่งที่ท่านต้องการให้เขาทำจริงๆ คือให้ท่านรับฟังท่าน รับฟังด้วยหัวใจ ให้เขาสนใจท่าน ไม่ใช่เพราะท่านต้องการคำตอบสำหรับปัญหาของท่าน ถ้าบุคคลนั้นให้ความสนใจแก่ท่านจริงๆ เปิดใจรับฟังท่านจริงๆ เมื่อนั้นท่านจะรู้สึกเบาใจขึ้นท่านจะรู่สึกว่าท่านได้แบ่งเบาความทุกข์ทรมานบางอย่างในชีวิตของท่านแล้ว ท่านจะรู้สึกว่ามีกำลังใจมากขึ้น และมีความหวังมากขึ้น ที่จะรับมือกับสถานการณ์ที่ท่านกำลังเผชิญอยู่ แต่ถ้าบุคคลที่ท่านกำลังพูดด้วยนั้น เพียงแต่ให้คำตอบ บอกวิธีแก้ปัญหา หรือขัดจังหวะท่าน หลังจากที่ท่านเพิ่งจะพูดได้เพียงไม่กี่วินาที และเริ่มต้นเล่าประสบการณ์ของตัวเขาเองให้ท่านฟัง ถ้าเขาไม่สามารถให้ความสนใจแก่ท่านได้อย่างเต็มที่ เมื่อนั้น ท่านจะรู้สึกว่า ท่านไม่ได้พูดกับเขา หรือรู้สึกว่าท่านไม่ได้รับความรักจากเพื่อนคนนี้เท่าไหร่นัก

    “การสนใจหรือการให้ความใส่ใจคือความรัก” เมื่อเราแสดงความสนใจหรือใส่ใจต่อใคร เรากำลังแสดงความรักต่อคนนั้น และงานใดที่เรากระทำด้วยความสนใจและความมุ่งมั่นใส่ใจอย่างแท้จริงงานนั้นก็จะกลายเป็นกิจการที่สร้างสรรค์และเปี่ยมไปด้วยความรัก เราได้รับความรักเมื่อมีใครให้ความสนใจใส่ใจกับเรา (ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงความรักโรแมนติก แต่หมายถึงความรักที่มนุษย์มีต่อกันด้วยความหวังดี) ในชีวิตสมรส ท่านอาจอยู่กับบุคคลเดิมทุกวัน ทำกิจวัตรประจำวันร่วมกับเขา แต่ท่านจะพบว่าเมื่อเวลาผ่านไปหลายปี ท่านได้หยุดให้ความสนใจแก่เขา และแล้วท่านจะตระหนักในทันใดนั้นว่า ความรักได้จางหายไปจากความสัมพันธ์นั้นแล้ว และเมื่อค้นพบเช่นนี้ อนาคตความสัมพันธ์นี้ อาจจะกลายเป็นประสบการณ์ที่น่ากลัวของชีวิตสมรสที่ล้มเหลว ที่สร้างความเจ็บปวดให้กับทุกคนที่เกี่ยวข้องด้วยได้ มันเป็นประสบการณ์ที่ทำให้เราได้เรียนรู้ว่า การมีความสัมพันธ์นั้น ไม่ได้หมายถึงแค่การทำกิจวัตรประจำวันร่วมกันเท่านั้น การมีความสัมพันธ์จริง - - - การรักเพื่อนมนุษย์ - - - - หมายความว่า ท่านมอบแก่นของตนเองให้แก่เขา โดยการให้ความสนใจเขา การให้ความสนใจ หรือการเปิดใจตั้งใจรับฟัง ก็คือการให้ความรักนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นความรักต่อพระเจ้า ความรักต่อเพื่อนมนุษย์ หรือการรักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตัวเอง<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    และแน่นอน ดังที่เราทุกคนก็ทราบกันดีว่า การให้ความสนใจหรือใส่ใจต่อผู้ใด หรือการหยุดการมี “ใจจดจ่อ” สนใจแต่ตนเองนั้น เป็นสิ่งที่ยากมาก อย่างเก่งเราสามารถทำได้ระหว่างช่วงเวลาสั้นๆ จากนั้น เราก็เหนื่อยและเริ่มต้นกลับมาคิดถึงตนเองอีกครั้ง เหมือนเส้นหนังสะติ๊กที่ดีดปึ๋งสั้นๆ กลับมาที่เก่า ดังนั้น การเรียนรู้ที่จะให้ความสนใจหรือมี “ใจจดจ่อ” จึงเป็นวินัยการฝึกตนอย่างหนึ่งและเป็นศิลปะอันยิ่งใหญ่ของการดำรงวชีวิตและการรัก ด้วยเหตุนี้ วินัยแห่งการให้ความสนใจหรือมี “ใจจดจ่อ” ในการทำสมาธิ จึงสอนเราให้มีชีวิตอย่างเต็มและอย่างมีความเป็นมนุษย์มากขึ้น ด้วยเหตุนี้เอง การทำสมาธิจึงเกี่ยวข้องกับการให้ความสนใจหรือการมี “ใจจดจ่อ” พุทธศาสนิกชน เรียกว่า การมีสติ (Mindfulness) ธรรมประเพณีคริสต์ศาสนาเรียกว่า เป็นการดำรงชีวิตใน “ขณะปัจจุบัน” หรือฝึกหัดรับรู้การประทับอยู่ของพระเจ้าใน “ขณะปัจจุบัน” นี่คือ ความหมายเมื่อพระเยซูเจ้าตรัสว่า “จงตื่น จงรู้ตัวและระวังตัว” (Being awake, beingalert) เป็นการเรียนรู้ที่จะตั้งใจกล่าว “มันตรา” และเมื่อเราเสียสมาธิ เรียนรู้ที่จะกลับมากล่าว “มันตรา” ใหม่อีกครั้งอย่างซื่อสัตย์และด้วยความรัก การทำสมาธิจะเปลี่ยนวิถีชีวิตของเราได้ด้วยวิธีนี้
    ( ยังมีต่อ )
    :VO:VO:VO<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 ธันวาคม 2010
  19. khajornwan

    khajornwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    901
    ค่าพลัง:
    +4,468
    ขอติดประเด็นนี้ไว้ก่อนนะคะ.. เรื่องกรรมหรือการกระทำ
    หากเราเข้าใจได้ว่าธรรมชาติของจิตวิญญานนั้นไม่มีอดีตหรืออนาคต
    มีแต่ปัจจุบันแล้ว เราก็จะเข้าใจความหมายที่คุณหนุมานกล่าวไว้ค่ะ..

    อดีต ปัจจุบัน อนาคต มีอยู่ เป็นอยู่ พร้อมกันหมดเป็นปัจจุบัน

    โนวา อนาลัย
    (kiss)(kiss)(kiss)
     
  20. เลขโนนสูง

    เลขโนนสูง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2010
    โพสต์:
    360
    ค่าพลัง:
    +825
    มาบอกว่าติดตามนะครับ บางอย่างที่ไม่เข้าใจผมก็ข้างๆเหมือนกันครับ ขอสารภาพ ^__^

    ความสุขใดๆในโลกนี้
    ถ้าไม่เป็นไปเพื่อความสงบทางกาย วาจา และใจแล้ว
    ความสุขนั้นก็ยังไม่เป็นความสุขที่แท้จริง
    และเมื่อไม่เป็นความสุขที่แท้จริง
    ย่อมเจือปนไปด้วยทุกข์ทั้งนั้น...
    พุทธพจน์
     

แชร์หน้านี้

Loading...