ความแตกต่างของสมาธิและสัมมาสมาธิ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 19 เมษายน 2015.

  1. blackangel

    blackangel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,750
    ค่าพลัง:
    +1,919
    ครับ ผมก็เข้าใจอย่างงั้น
    ว่าจิตคือลิง จิตเกาะอารมณ์ ก็คือเหมือนลิง กระโดดต้นนั้นไปต้นนี้
    ว่าแต่จิตสังขาร กับ เจตสิก นี้ใช้อันเดียวกันมั้ยครับ หรือต่างกันยังไง สงสัยอยู่เหมือนกัน

    แล้วพอดีผมไปเห็นหลายกระทู้หลายเว็ปเก่าๆเขาคงเคยถกเถียงกันเรื่องนี้
    ตามข้อความอ้างอิงล่างนี้
    แล้วอยากรู้เพิ่มต่อไปว่า จิต ในความหมายที่ดวงเดียว ท่องเที่ยวไป ในพระสูตรอันนี้
    คือจิตแบบไหน ? ใช่จิตสังขารมั้ย หรือยังไง หรือเป็นจิต

    เลยทำให้งงไปอีกว่า แล้วแบบสมมุติถ้าเราตายไป เกิดภพอื่น จิตดวงเดิมยังตามไปอยู่มั้ย หรือเปลี่ยนดวง ? ยังกับเคยได้ยินที่ไหนไม่รู้พูดกันว่า มีตัวสืบต่อ สันตติ ไรนี่ซักอย่าง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 เมษายน 2015
  2. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ในพระสูตรนี้ ต้องยกพระอภิธรรมเข้ามาพูดด้วย ในความหมายของจิตนั้นมีดวงเดียว
    แต่ถ้าแยกตามประเภทของจิตที่เกิดขึ้นพร้อมกับเจตสิก ซึ่งสามารถแบ่งตามประเภทได้ ๘๙ - ๑๒๑ ดวง
    เพราะว่าจิตนั้นมีหลายประเภท มีจิต ที่โลภ ที่โกรธ ที่หลง ที่ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง เหล่านี้เป็นต้น
    ซึ่งก็เป็นจิตคนละประเภทกัน เพราะมันจะเปลี่ยนไปตามอำนาจของเจตสิกที่ปรุงแต่ง

    แต่ในบางที่ก็จะเรียกว่าสังขารปรุงแต่ง จิตโลภก็อย่างหนึ่ง จิตโกรธก็อย่างหนึ่ง จิตหลงก็อย่างหนึ่ง
    จิตไม่โลภก็อย่างหนึ่ง จิตไม่โกรธก็อย่างหนึ่ง จิตไม่หลงก็อย่างหนึ่ง อย่างนี้เป็นต้น
    ลองนับตามที่กล่าวมาเพียงแค่นี้ก็จะนับได้ถึง ๖ ประเภทแล้วใช่หรือไม่?
    และที่ยังไม่ได้กล่าวอีกก็มีอีกหลายประเภท เช่น จิตที่มีความฟุ้งซ่าน สงสัย ง่วงเหงาหาวนอน อิจฉา ริษยา
    ความเห็นผิด มีมานะ เป็นต้น นับไปตามประเภทแบบนี้ จึงมีได้ถึง ๑๒๑ ดวง

    อุปมาเหมือนหญิงคนหนึ่งเมื่ออยู่บ้านกับลูกจะถูกเรียกว่าแม่
    แต่พอไปโรงเรียนอยู่กับลูกศิษย์จะถูกเรียกว่าครู พอไปอยู่กับพ่อจะถูกเรียกว่าลูก
    พอไปอยู่กับพี่จะถูกเรียกว่าน้อง พอไปอยู่กับน้องจะถูกเรียกว่าพี่ อยู่กับสามีก็จะถูกว่าภรรยา
    พอไปทำอาหารก็จะถูกเรียกว่าแม่ครัว พอไปซักผ้าก็จะถูกเรียกว่าแม่บ้าน เป็นต้น ไปตามสถานะของเขา
    แท้จริงแล้วก็คนๆเดียวกันใช่หรือไม่? และเมื่อตายไปจะไปเกิดเป็นอะไรก็เรียกสถานะนั้น
    เมื่อตายจากคนไปเกิดเป็นเทวดาก็ไม่เรียกว่าคนจริงไหม? หรืออาจไปเกิดเป็นสัตว์ก็ไม่เรียกว่าคนจริงไหม?
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 เมษายน 2015
  3. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241

    เวลา งง ตรงนี้ หากกลับไปอ่านพระสูตร ให้ครบทั้งหมด ไม่อ่านเอาตาม
    ที่ " ทำมาปู๊ด (ธรรมภู๊ตตต !!!)" เขาตัดแปะ ก็อาจจะทราบ ถ้อยความที่พระ
    พุทธองค์ทรงแนะแก้ทิฏฐิ

    แต่ถ้า จะให้ อธิบายกันตรงนี้

    อย่าไปหลงกล คุณสมาชิก ทำมาปู๊ด

    เราต้องใคร่ครวญให้ดีๆว่า หาก ลิง มันเลิกจับ กิ่งไม้ พอมือมันจะเอื้อมไป
    จับกิ่งไม้ คุณสมาชิกทำมาปู๊ดแนะว่าให้ตัดอารมณ์นั้นเสีย คือ ไม่ยื่นมือ
    ไปจับ

    หากลิงตัวนั้น มันทะลึ่ง สะดิ้งธรรม ไม่จับกิ่งไม้ ไม่เสพอารมณ์กลางอากาศ

    ลิงนั้น จะยังคงเป็นลิง ได้อยู่ไหม หรือ เป็นลิงคางเหลือง

    ถ้า สมมติว่า คุณสมาชิกบอกว่า ลิงไม่ได้อยู่บนต้นไม้ เลิกโหน แล้วมา
    เดินบนพื้นดิน มานั่ง ธรรมมาสเทศนาสอนพระ ก็ถามคำถามเดิมว่า
    แล้วจะ อุปมาเป็นลิง ทำเฮียอะไร

    ลิง ธรรมชาติมันต้อง โหน ....ต่อให้ บรรลุธรรม ก็ยังต้องแบก ขันธ์5 แบก
    วิบาก เหมือนดั่งเอา หมาเน่าแขวคอ ไว้อยู่ คือ ต่อให้ บรรลุธรรม ก็ยัง
    ต้อง โหนเถาวัลย์ต่อไป เพียงแต่ ทุกครั้งที่จับ มันจับเพื่อประโยชน์ของโลก
    เป็นไปเพื่อธรรม

    ถามว่า

    ลิงที่บรรลุธรรมแล้ง ยังสมควรไปเห็นว่า เมื่อถึงกาล ปรินิพพานแล้ว ยังควร
    เรียก ลิง อยู่หรือ



    นี่ ดัดแปลงค่อนข้างเยอะ เพื่อบอกว่า อย่าไปโดนเขาหลอก เรื่อง จิตเที่ยง
    วิญญาณเที่ยง จิตปูเสฉวน วิญญาณปูเสฉวน เปลี่ยนกระดอง
     
  4. blackangel

    blackangel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,750
    ค่าพลัง:
    +1,919
    แต่ จิต กับ วิญญาณในขันธ์ 5 มันคนละอย่างกันนี่ครับ ??

    หรือว่าจิตมีแค่ดวงเดียว และไอ้ดวงนี้ก็ไปเกิดมานับไม่ถ้วนแล้ว
    แต่อยู่ที่ว่า จะทำให้เป็นจิตที่ยังยึดในขันธ์ 5 อยู่ กับจิต ที่ไม่ยึด ที่เบื่อหน่าย คลายกำหนัด ถอดถอน ในขันธ์5 ? แต่ก็ต้องดำรงไว้ ทำหน้าที่ทำประโยชน์ก็ว่าไป

    แล้วแบบไหนถึงจะไม่พลาดไปเป็นแบบ อรูปพรหม หล่ะครับงั้น
     
  5. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    จิตทั้งหมด ๑๒๑ ดวงเมื่อว่าโดยขันธ์แล้ว จิตเป็นวิญญานขันธ์ จิตกับวิญญาณขันธ์จึงเป็นอันเดียวกัน
    จิตยังยึดติดกับจิตว่าจิตเป็นเราเป็นของเรา นั่นก็หมายความว่าจิตยึดกับวิญญาณขันธ์
    เมื่อจิตไม่มีอุปาทานก็หมายความว่าจิตเบื่อหน่ายวิญญาณขันธ์ การเบื่อหน่ายไม่ใช่ตัวจิตเขาเบื่อหน่าย
    จิตเขามีหน้าที่รู้อย่างเดียว ที่รู้เรื่องราวนึกคิดเรื่องราวต่างๆได้นั้นเป็นเพราะสังขารหรือเจตสิกเป็นผู้ปรุงแต่งให้จิตรู้

    อรูปพรหมคือผู้ที่ทำฌาน มีอรูปฌาน ๔ และยินดีพอใจในฌานใดทรงฌานนั้นไว้ เมื่อตายลงในฌานใด ก็จะต้องไปเกิดในฌานนั้น
     
  6. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    เอาไป ใคร่ครวญเองนะ กล่าวไปแล้ว อย่าโน้มไปด้วยการเชื่อ


    จิต กับ วิญญาณ ตามพระไตรปิฏก มันคือ สิ่งเดียวกัน ไม่ใช่ สัตว์ เป็นเพียง ธาตุ
    ที่หยิบยืมโลกเขามา ร้อยรัดด้วย สัญญาหมาย และ วนลูปด้วยตัววิญญาณเอง

    หรือที่เรียกว่า วิญญาณหาร ในเรื่อง อาหาร4

    ปุถุชนผู้ไม่หมั่นสดับ ไม่น้อมไปในธรรมของผู้มีพระภาค จะ ไม่เห็น " วิญญาณหาร "

    พอไม่เห็น ก็ อุปทานไปว่า จิต หรือ วิญญาณ คือ ตัวตน คือ ปูเสฉวน คือ สิ่งเที่ยง ไม่มีวันตาย

    ถ้า การสิ้นไปของวิญญาณาหาร ไม่มีแล้วละก้อ พระพุทธองค์ก็ตรัสว่า วิมตติคงไม่มี

    แต่นี่ วิมุตติมีอยู่ พระพุทธองค์ประกาศสัจจะ นั้น ....แล้วไง คุณจะ นมสิการ
    ธรรมของผู้มีพระภาค หรือ จะโน้มไปตาม อำนาจแห่งการวนลูปด้วย จิต ที่ตน
    ยังหมายๆ ทั้งๆที่ " สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น ดับไป "


    การไม่พลาดไปอรูปพรหม

    คือ พอได้ยิน หรือ เข้าใจ ธรรมที่เรียกว่า จิต ว่ามันเป็น ธาตุ พอได้ยินแบบ
    นั้น ก็ไป จงใจเจตนาละวางจิต เจตนาปล่อยจิต เพิกจิตออก ตรงนี้แหละ จะพลาด
    ไปสู่อรูปพรหม เพราะมันเป็น " มโนสัญเจตนาหาร " เปรียบเหมือนเล็งผลจะพ้น
    ไปจากจิต ก็ทำไปด้วยวิภวตัณหา [ พระไตรปิฏก จะให้ อุปมา คนโดนหามแล้ว
    โยนเข้ากองไฟ คนถูกโยน จะเกิด มโนสัญญาในการอยากพ้น อัตโนมัติ ]

    ดังนั้น

    แค่กำหนดรู้ถึง(ปฏิบัติ) ด้วยหลักอาหาร4 ให้ถูกต้อง ทั่วถึง แค่นี้แหละ
    ก็พ้น อรูปพรหม ได้แน่นอน พ้นสังสารวัฏด้วย
     
  7. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    เอกเอ๋ย นิสัยพอเปลี่ยนได้ แต่สัน...เปลี่ยนยากจริง

    สัน...ที่ชอบบัญญัติอะไรมั่วๆหละถนัดนัก

    ขอหลักฐานด้วย มีพระพุทธพจน์ทรงตรัสไว้ที่ไหนว่า

    จิตกับวิญญาณ ตามพระไตรปิฎกมันคือ สิ่งเดียวกัน (เอาที่ชัดๆนะที่รัก)

    แล้วที่เอกวีร์ที่รักบอกว่า จิต กับ วิญญาณ ไม่ใช่ สัตว์ ไปมั่วเอามาจากไหน?

    แค่นี้ก่อนนะที่รักของ....

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน

     
  8. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ฮี้ ฮี้ ฮี้

    ผมพอจำได้แค่เลาๆ อะฮับว่า " ด้วยเหตุเท่าไหร่หนอ จึงเรียกว่า สัตว์ "

    ก็จะตรัสว่า เพราะ " มีอุปทาน " สภาพแห่งการเป็น สัตว์ ก็เกิด

    เอาตาม ถ้อยคำดังกล่าว ก็ไม่ต้อง ตีลังกาคิดไปให้มาก "วิญญาณ"
    เปล่าๆ จิตเปล่าๆ จะเป็น สัตว์ได้ยังไงหละฮับ คุงทำมาปู๊ดดดดดด ผู้ภาวนา
    แทบตาย เพื่อให้มี จิตยังคงเป็นสัตว์แช่แป้งงงงงงงงงง ไม่แปรเปลี่ยน
     
  9. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    หลักฐานในพระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน

    หน้า ๘๐ ข้อ ๘๗ ...ธรรมที่เป็นจิตและไม่ใช่จิต ธรรมที่เป็นจิตนั้นเป็นไฉน?
    จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ
    (ความรู้สึกทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ )

    ธรรมเหล่านี้เป็นจิต ธรรมที่ไม่เป็นจิตเป็นไฉน? เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ รูป
    และ นิพพาน ธรรมเหล่านี้ ไม่ใช่จิต

    ต่อมา หน้า ๑๐๘ หัวข้อ ๑๗๓...จิต มโน วิญญาณ เกิดดับ

    “ดูก่อนภิกษุ ธรรมชาติที่เรียกว่าจิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง อันใดผู้ไม่สดับ ไม่สามารถพอที่จะเบื่อหน่าย
    คลายกำหนัด และพ้นไปจากธรรมชาตินั้นได้ เพราะเหตุไร ?
    เพราะธรรมชาตินั้น อันปุถุชนผู้มิได้สดับ ฝังใจ ยึดถือ ลูบคลำ มานานแล้วว่า "นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นตนของเรา
    เพราะเหตุนั้น ปุถุชนผู้ไม่สดับไม่สามารถพอที่จะเบื่อหน่าย คลายกำหนัด และพ้นไปจากธรรมชาตินั้น

    [๓๕๗] จิต มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
    จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ กายวิญญาณธาตุที่สมกัน
    ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิต มีในสมัยนั้น. .......นี่ก็แสดงอีกว่า จิต กับวิญญาณขันธ์ เป็นสิ่งเดียวกัน
    ไปดูพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต)

    หน้า ๒๗๔ วิญญาณ = ความรู้แจ้งอารมณ์, จิต , .............
    จากหลักฐานหลายแหล่งอ้างอิงข้างต้น ความตรงกันว่า วิญญาณ คือ จิต เป็นอันเดียวกัน
    ส่วนสังขารนั้นไม่ใช่จิต เป็นเจตสิก เป็นส่วนประกอบจิต ดังนั้นจิตควรมาก่อนสังขารหรือไม่
    ในคำสอนเรื่องปฏิจจสมุปบาท หรือว่าเป็นการถูกแล้วที่สังขารมาก่อนจิต

    ลองกดเข้าไปอ่านนะครับ
    http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=74&t=48081
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 1 พฤษภาคม 2015
  10. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ู^
    ^
    เอกวีร์ที่รัก

    แล้วไปเอา จิต วิญญาณ เปล่าๆมาจากไหน

    วิญญาณชื่อก็ชัดๆว่า ผสมปนเปมาเรียบร้อย

    ส่วนจิตนั้น อรรถกถาจารย์ก็ชัดๆอีกเช่นกันว่า ไม่ผสมไม่มี

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน

     
  11. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ถ้าจิตกับวิญญาณขันเป็นอันเดียวกัน

    ในอนัตตลักขณสูตร คงต้องมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความเสียใหม่แล้วมั๊ง

    V

    ๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขารทั้งหลาย
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ(จิต)
    เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด เพราะสิ้นกำหนัด จิต(วิญญาณ)ก็พ้น
    เมื่อจิต(วิญญาณ)พ้นแล้ว ก็รู้ว่าพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นทราบชัดว่า
    ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว
    กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.


    ^

    พระพุทธพจน์ทรงตรัสไว้ชัดๆ

    แยกจิตออกจากวิญญาณขันธ์ แยกวิญญาณขันธ์ออกจากจิต

    ถ้าจิตกับวิญญาณขันธ์เป็นเรื่องเดียวกัน

    ในครั้งนั้น คงทำให้เกิดพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลกไม่ได้หรอกใช่หรือไม่?

    แบบนี้ต้องเชิญให้ท่านพระอาจารย์ปัญจวัคคีย์ มาเรียนใหม่กับอรรถกถาจารย์หรือไม่?

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  12. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    แค่นี้น่ะหรือ ตายหละ! ตีความหมายในสูตรนี้ไม่ออก ก็ตรงตัวอยู่เป๊ะๆ อยู่แล้ว
    เมื่อตัวจิตพ้นแล้วมันก็พ้นจากอุปาทาน เท่านี้จิตก็รู้แล้วว่าพ้นแล้ว เมื่อขันธ์ ๕ มันดับ
    (วิญญาณ(จิต) ก็ดับ เพราะสังขารทั้งหลายที่ปรุงแต่งจิตหรือวิญญาณให้เป็นผู้
    หมดตัวปรุงแต่งซะแล้ว จิตหรือวิญญาณจะไปรู้อะไรได้ เมื่อรู้อะไรไม่ได้จิตหรือวิญญานก็ต้องดับ

    ทีนี้รองถอยหลังมาดูว่าถ้าพูดคำว่า จิต มันก็เป็สภาพที่รู้อารมณ์ใช่หรือไม่
    ที่เรามาพูดถึง วิญญาน บ้างว่ามีสภาพธรรมเช่นไร ก็ต้องหมายถึงเป็นตัวรู่้ และรู้อะไรมันก็ต้องรู้อารมณ์อีกใช่หรือไม่
    เช่นว่า จักขุวิญญาณ รู้อะไร ก็ต้องบอกว่ารู้ รูป, โสตวิญญาณ รู้อะไร ก็ต้องบอกว่ารู้เสียง, ใช่หรือไม่
    ที่นี้เรามาประมวลตัวรู้ ที่ว่า รู้รูป รู้เสียง จะเรียกว่าจิตก็ได้ จะเรียกว่าวิญญาณก็ได้ ใช่หรือไม่ ทวารอื่นๆก็เป็นไป

    ในทำนองเดียวกัน เพราะจิตหรือวิญญาณเขาจะมีที่เกิดตามทวารต่างๆ ในร่างกายเรานี้เอง
    ไม่ใช่ล่องลอยไปเกิดที่โน่นที่นี่ ที่ผู้ที่ขาดการศึกษาชำนาญเรียกกันว่าวิญญาณ
    เที่ยวล่องลอยหาที่เกิด หรือพอตายแล้วเป็นสัมภเวสีคอยหาที่เกิด เหล่านี้เป็นต้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 1 พฤษภาคม 2015
  13. kengkenny2

    kengkenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    592
    ค่าพลัง:
    +289
    ขอมั่วนิ่มและนิ่มเกินกว่าจะเอามาบรรยายด้วยคน มันไปเกี่ยวอะไรกับอกุศล และกุศลธรรมดาๆ ยังจะเอาไปร้อยกับอภิญญาโน่นนี่นั้นได้อีก ถ้าสมาธิเป็นเพียงความสงบละ อยู่เพียงภายในอยู่คู่กับจิตละ เดิมถ้าจิตเป็นกุศลหรือเป็นสัมมาทิฐิ สมาธิของจิตนั้นควรจะหรือต้องให้ผลที่ดีและถ้าตรงกันข้ามเป็นอกุศลเป็นมิจฉาทิฐิ สมาธิของจิตนั้นควรจะหรือต้องให้ผลที่ไม่ดีแต่มันอาจจะดีสำหรับคนที่ไม่ต้องการธรรมที่เป็นไปเพื่อความหลุดพ้นก็ได้ พลอยให้เกิดกิเลสหนักขึ้นสำหรับจิตพวกนี้ สังเกตไม่ยากถ้าพิจารณาจากผู้ฝึกตนเพราะเห็นผลของความไม่เที่ยงกับผู้ฝึกตนเพราะเห็นผลของการทำสิ่งไม่เที่ยงให้เที่ยง (คนที่เชื่อในสิ่งที่ไม่สามารถทำได้จริงๆ หรือไม่มีเหตุผล) เพราะระลึกได้เพียงทำเพื่อความเหนือกว่ากลัวความด้อยกว่า จึงไม่อาจรู้ธรรมนั้นได้ตามเป็นจริง
    ขอเสนอความคิดเห็นด้วยเท่านั้นคั๊บ
     
  14. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    สมาธินั้นมี ๓ ระครับ
    ขณิกสมาธิ ๑ สมาธิชนิดนี้เป็นสมาธินิดหน่อย เกิดขึ้นกับการที่ทำอยู่ตลอดเวลา
    ไม่ว่าจะเป็นไปในทางกุศลหรืออกุศล เช่นวาดรูป เขียนหนังสือ คิดเลข เหล่านี้
    ล้วนแล้วต้องใช้สมาธิทั้งสิ้น แล้วก็ต้องดูเจตนาด้วยว่าสิ่งที่เขาทำนั้นเจตนาในอารมณ์เป็นไปเช่นไร
    เช่นเขียนหนังสือเพื่อขายทำมาหาเลี้ยงชีพก็เป็นสมาธิที่ประกอบอาชีพการงานทั่วไป

    ในทำนองเดียวกันเขียนหนังสือเพื่อขายโดยใช้วิธีโกหกหลวงไม่ตรงกับความจริงกับที่เขียน
    เช่นนี้สมาธิก็เป็นไปในทางอกุศล และในทำนองเดียวกันเขียนหนังสือเพื่อแจกเป็นธรรมทานให้ความรู้
    ให้ปัญญากับคนที่ยังเขลาอยู่อย่างนี้ก็เรียกว่าสมาธิไปในทางกุศล ใช่หรือไม่?

    อุปจารสมาธิ ๑ เป็นสมาธิที่ใกล้จะถึงฌาน เป็นสมาธิที่ใช้ไปในทางสมถะและวิปัสสนา
    เพราะสมาธิอันนี้จะตั้งมั่นอยู่กับอารมณ์ พิจารณาอารมณ์ ถ้าพิจารณาอารมณ์ที่เป็นรูปเป็นนาม
    ก็จะทำให้ได้เห็นไตรลักษณ์ แต่ถ้าอารมณ์เป็นกสิณกองใดกองหนึ่งใน ๔๐ ก็ให้เข้าถึงปฐมฌานเป็นเบื้องต้น

    อัปปณาสมาธิ ๑ อันเป็นสมาธิที่แนบแน่นอยู่ในฌาน และไปในฌานเบื้องสูง
    จนถึงขั้นทำให้เกิดอภิญญา ถ้าเข้าใจตามนี้ก็คงไม่มั่วนิ่มมั้งคับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 พฤษภาคม 2015
  15. kengkenny2

    kengkenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    592
    ค่าพลัง:
    +289
    คืออย่างนี้ครับ สิ่งที่ทำให้เกิดเป็นสมาธิได้จริงๆนั้นเท่าที่ผมทราบคือมีองค์ประกอบด้วยสติ ขั้นแรกประกอบกับสติเพียงอ่อนๆ คือ รู้บ้างไม่รู้บ้างเพราะมีองคืประกอบอื่นๆ บดบังเช่นการวาดรูป มีองค์ประกอบของอารมณ์และตัณหาบางอย่างร่วมด้วย
    สมาธิลำดับต่อมา ประกอบด้วยสติที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นคือรับรู้ว่าทำอะไรลงไปได้มากขึ้นมีผลขององค์ประกอบอื่นๆน้อยลงเกือบจะไม่มีเลย
    สมาธิลำดับสุดท้าย เป็นสมาธิที่มีสติสัมปัชชัญญะสมบูรณ์ ผลของสิ่งต่างๆไม่สามารถกระทบได้เลยเปลี่ยนแปลงสมาธินั้นได้เลย สมาธินั้นจึงเหมาะสมและสมควรนำมาใช้ทำอะไรก็ตามที่ประกอบด้วยผลอันเป็นที่พอใจของแต่ละบุคคล ส่วนฌานผมเข้าใจว่าเป็นเพียงวิธีเรียนรู้เรื่องสมาธิเท่านั้น เพราะประกอบด้วยสิ่งที่ต้องก้าวผ่านนิวรณ์ อันเป็นตัวขวางกั้นซึ่งผู้ฝึกตนจะประหนึ่งทราบว่าจะต้องพบและเกิดกับตนอาจหมายถึงทราบอยู่แล้วโดยผ่านการอ่านหรือการฟังและบางครั้งก็ไม่ได้ทราบมาก่อนก็มี (คนที่ไม่เคยหรือไม่อยู่ในศาสนาใดๆที่สอนสมาธิ) ก็อาจมีบ้าง เมื่อฝึกจนถึงที่สุดแล้วก็คงได้สิ่งเดียวกันคือ สมาธิ แต่ที่แตกต่างคือ เกิดจากสิ่งใดเท่านั้นเอง ถ้าเกิดจากความทะยานอยากก็เป็นเพียงทางโลกคือได้เพียงเรื่องโลกๆ ถึงมีฤทธิ์ก็เป็นฤทธิ์แบบโลกๆ คือ วนเวียนอยู่ในตัณหา กิเลส ต่างๆ แต่ถ้าเกิดจากความเบื่อหน่ายในสิ่งดังกล่าวหรือเริ่มจากความเบื่อหน่าย หรือความเข้าใจในสัจจะความจริงว่า ไม่มีสิ่งอื่นใดในโลกนี้เที่ยงแท้และแน่นอนทุกชีวิตต้องม้วยมรณา เข้าใจจริงๆว่า ไม่มีความยึดติดใดที่ดีที่สุดต่อตนเองและผู้อื่น สมาธินั้นก็สร้างฤทธิ์ได้เช่นกัน แต่เป็นฤทธิ์ที่เป็นสิ่งสูงค่าเกินจะบรรยาย ผมเข้าใจอย่างนั้น กสิณต่างๆ น่าจะสร้างเพื่อรองรับความแตกต่างของบุคคลในอันจะสามารถสร้างสมาธิเพื่อประโยชน์ในทางธรรม จึงมีหลายบทหลายกอง ดังที่เห็นกันในปัจจุบัน
    ผมก็ว่าไปอย่างนั้นแหละคั๊บ อ่านเป็นธรรมก็ได้ธรรม อ่านไม่เป็นก็แล้วแต่
     
  16. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ก็มีความเข้าใจตรงกันครับ...
     
  17. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    ลุงชักจะมั่วไปกันใหญ่

    ลุงถามว่า จิตมีสภาพรู้อารมณ์ใช่หรือไม่?

    ก่อนตอบคำถามนี้ มีคำถามๆลุงๆช่วยตอบแบบชัดๆด้วยนะ

    อย่าตอบแบบเบียงประเด็นตามถนัดอีกหละ

    จิตเป็นผู้รู้ใช่หรือไม่? อารมณ์คือสิ่งที่ถูกจิตรู้ใช่หรือไม่?

    จิตที่มีอุเบกขาสติปาริสุทธิง คือจิตที่มีสติสงบวางเฉยใช่หรือไม่?

    ที่เฉยเพราะอะไร? เพราะปราศจากอารมณ์ใช่หรือไม่? จบเรื่องจิต

    มาว่าเรื่องวิญญาณ

    วิญญาณ คือการแจ้งในอารมณ์นั้นๆ

    ที่ลุงอ้างอิงว่า โสตวิญญาณ คือรู้แจ้งอารมณ์ทางหู

    คนหูหนวกมีโสตวิญญาณมั้ย?

    แต่ยังมีจิตรู้ว่า ตนเองไม่มีโสตวิญญาณใช่หรือไม่?

    ถ้าวิญญาณกับจิตเป็นอันเดียวกัน

    ตนเองต้องไม่รู้สิว่า ตนเองไม่มีวิญญาณทางหู

    พยายามกันจริง ที่จะลบหลู่ดูถูกทั้งพระพุทธเจ้า พระสังฆเจ้า(อริยสาวก)

    พระพุทธพจน์ชัดเจนโดยไม่ต้องตีความใดๆว่า

    ขันธ์๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่ใช่จิต

    มีในหลายๆพระสูตรที่พระพุทธองค์ทรงรับรองไว้

    ยังจะดันทุรังไปให้ได้ จำเอาไว้นะ

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  18. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    จะให้ตอบแค่ไหนล่ะถึงจะช้ดๆ ให้ได้ทะลุจักรวาล
     
  19. blackangel

    blackangel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,750
    ค่าพลัง:
    +1,919
    ขอบคุณคำตอบนะครับ (ถึงแม้จะยังไม่เคลียเท่าไร แหะๆ ^^")

    มีคำถามเพิ่มครับ
    จิต กับ ใจ นี้ถือว่าเป็นอันเดียวกันหรือเปล่าครับ(ใน อายตภายใน 6 นะครับ)
    หรือแยกๆดูก็เป็นคนละอัน จิตตัวพาเกิด ใจเป็นตัวรับรู้ อารมณ์ รับรู้แล้วก็ส่งต่อไปให้จิตอีกต่อ

    ที่มา
    ����ûԮ�������� � - ����Թ�»Ԯ�������� �
    ����ûԮ�������� �� - ����ص�ѹ��Ԯ�������� ��
    ����ûԮ�������� �� - ����ص�ѹ��Ԯ�������� ��
    ����ûԮ�������� �� - ����ص�ѹ��Ԯ�������� ��
     
  20. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ขอตอบ จิต กับ ใจ อันเดียวกันหรือเปล่า ดังนี้

    วิสัชชนา! จิต เป็นนามธรรม ใจ เป็นรูปธรรม ซึ่งจะเป็นคนละส่วนกัน
    ใจ คือก้อนเนื้อที่เราเรียกว่าหัวใจ ทางธรรมเรียกว่า หทยวัตถุ ซึ่งเป็นที่อาศัยเกิดของจิต
    เพื่อรับรู้เรื่องราวต่างๆ ทางทวารทั้ง ๕ ด้วย

    ใจ รับรู้เรื่องราวต่างๆไม่ได้ แต่ จิต รับรู้เรื่องราวต่างๆได้

    เอาคำตอบเดิมที่ได้ตอบไปแล้วมายืนยันอีกครั้ง แต่คิดว่ายังไม่ได้อ่านก็ได้ ดังนี้


    หลักฐานในพระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน

    หน้า ๘๐ ข้อ ๘๗ ...ธรรมที่เป็นจิตและไม่ใช่จิต ธรรมที่เป็นจิตนั้นเป็นไฉน?
    จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ
    (ความรู้สึกทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ) (ตรงนี้เป็นรูปธรรม)

    ธรรมเหล่านี้เป็นจิต ธรรมที่ไม่เป็นจิตเป็นไฉน? เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ รูป
    และ นิพพาน ธรรมเหล่านี้ ไม่ใช่จิต

    ต่อมา หน้า ๑๐๘ หัวข้อ ๑๗๓...จิต มโน วิญญาณ เกิดดับ

    “ดูก่อนภิกษุ ธรรมชาติที่เรียกว่าจิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง อันใดผู้ไม่สดับ ไม่สามารถพอที่จะเบื่อหน่าย
    คลายกำหนัด และพ้นไปจากธรรมชาตินั้นได้ เพราะเหตุไร ?
    เพราะธรรมชาตินั้น อันปุถุชนผู้มิได้สดับ ฝังใจ ยึดถือ ลูบคลำ มานานแล้วว่า "นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นตนของเรา
    เพราะเหตุนั้น ปุถุชนผู้ไม่สดับไม่สามารถพอที่จะเบื่อหน่าย คลายกำหนัด และพ้นไปจากธรรมชาตินั้น

    [๓๕๗] จิต มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
    จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ กายวิญญาณธาตุที่สมกัน
    ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิต มีในสมัยนั้น. .......นี่ก็แสดงอีกว่า จิต กับวิญญาณขันธ์ เป็นสิ่งเดียวกัน
    ไปดูพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต)

    หน้า ๒๗๔ วิญญาณ = ความรู้แจ้งอารมณ์, จิต , .............
    จากหลักฐานหลายแหล่งอ้างอิงข้างต้น ความตรงกันว่า วิญญาณ คือ จิต เป็นอันเดียวกัน
    ส่วนสังขารนั้นไม่ใช่จิต เป็นเจตสิก เป็นส่วนประกอบจิต ดังนั้นจิตควรมาก่อนสังขารหรือไม่
    ในคำสอนเรื่องปฏิจจสมุปบาท หรือว่าเป็นการถูกแล้วที่สังขารมาก่อนจิต
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 7 พฤษภาคม 2015

แชร์หน้านี้

Loading...