ความแตกต่างของสมาธิและสัมมาสมาธิ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 19 เมษายน 2015.

  1. chura

    chura เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    688
    ค่าพลัง:
    +1,971
    เรื่อง สมาธิ สมถะ ฌาณ เป็นเรื่องที่สับสนกันพอสมควร ขอแสดงความเห็นตามที่ผมรู้
    และศึกษามาพอจะเข้าใจได้บ้าง...

    สมถะ หรือ ฌาณ ที่ได้มาด้วยวิธีนิมิต เช่นการเพ่งกสิณ อันนี้ได้เป็นฌาณ แต่เกิดมา
    จากการเพ่งคือเรียกว่า ไม่สนใจเรื่องศิล ก็ได้ เพ่งอย่างเดียว กิเลสก็นั่งทับเอาไว้เพ่ง
    กระทั่งได้ฌาณ และวิธีให้ได้ฌาณขั้นสูงๆก็ต้องเพ่งไปในฌาณเข้าไปเรื่อยๆ เรียกว่า
    จิตจมแช่เข้าไปในฌาณ หูดับ ไม่ได้ยินเสียง แบบนี้เป็นฌาณดับ หรือ มิจฉาสมาธิ
    แต่ว่าถ้าจะขึ้นวิปัสสนา ท่านก็ต้องเจิรญมรรค8 และที่สำคัญ ต้องให้เกิดผู้รู้ แยกตัว
    ออกมาจากฌาณ ให้ได้ สติผู้รู้ จึงทำงานพิจารณาขันธ์5ได้ แต่ก็เป็นเรื่องยากน๊ะ
    สำหรับผู้ติดแนวทางนิมิต ฌาณแบบนี้...

    สมถะ หรือ ฌาร ที่ได้มาด้วยวิธีเจริญมรรค8 หรือเจริญสติปัฎฐานสี่ แนวทางนี้คือต้อง
    ฝึกเจริญสติ และนำกิเลสนิวรณ์ต่างๆออกไป การเจริญสติ สัมปชัญญะ กระทั่งวันนึง
    เมื่อสงัดจากกิเลสนิวรณ์ต่างๆ จิตเกิดปราโมทย์ ปิติ สุข จิตก็ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ เกิดฌาณ
    ขั้นต่างๆ จะสังเกตุในคำสอนจะมีคำว่า"อุเบกขา แล้วแลอยู่" คำว่าแล้วแลอยู่นี่แหละ
    คือ "ผู้รู้" และวิธีที่จะได้ฌาณขั้นสูงๆ แนวมรรค8 ก็ใช้วิธีสังเกตุไตรลักษณ์ของฌาณ
    แล้วปล่อยวาง ก็เข้าสู่ฌาณขั้นสูงๆขึ้นๆ....แต่จะสูงถึงขั้นไหนไม่ทราบ แต่คิดว่าคงต้อง
    ถึงฌาณสาม จึงเป็นกำลังมหาสติพร้อม และต้องมีตัวสติผู้รู้คอยสังเกตุเสมอ และกำลัง
    ที่ได้จากฌาณนี้ ก็ต้องนำมาพิจารณาลงที่ขันธ์5 จึงเกิดวิปัสสนาเห็นแจ้งในขันธ์5

    จะเห็นได้ว่า คำว่า สมถะ สมาธิ ฌาณ บางทีเป็นคำเดียวกัน แต่ที่มาไม่หมือนกัน ก็ทำ
    ให้เกิดความสับสนพอสมควร ผมขออธิบายตามที่เข้าใจ อาจจะผิดก็ได้ครับ...
     
  2. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    การอธิบายก็ยังสับสนอยู่แหละ สมถะ กับ วิปัสสนา
    มันข้อแตกต่างกันมีมากเช่น อารมณ์

    ในสมถะจะใช้เพ่งอารมณ์ เพื่อให้เกิดสมาธิ และอารมณ์นั้น ได้แก่ กสิณ ๑๐ สุภะ ๑๐
    อนุสสติ ๑๐ พรหมวิหาร ๔ อรูป ๔ อาหาเร ๑ จตุธาตุ ๑ รวมแล้วได้ ๔๐
    นี้คืออารมณ์ของสมถะกรรมฐาน มีตัวสมาธิเป็นประธาน เพ่งจนถึงให้เกิด อุปจารสมาธิ
    เพื่อกำจัดนิวรณ์ ๕ ให้เข้าถึงอัปปนาสมาธิ เข้าถึงฌานมีตั้งปฐมฌานเป็นต้นไป

    จนถึงอรูปฌาน ๔ เมื่อชำนาญในการเข้าออกฌาน และต้องการให้เกิดอภิญญา
    ก็ต้องออกจากฌานมากำหนดจิตเพื่ออธิษฐาณให้เกิดอภิญญา แล้วก็เข้าฌานต่ออีก
    เมื่ออภิญญาเกิดขึ้น จิตจะออกฌานมาโดยอัตตโนมัติ แสดงอภิญญาได้ตามประสงค์
    ตรงนี้จะสังเกตได้ว่าฌานกับอภิญญาเป็นคนละส่วนกัน คือ ฌานเป็นเหตุ อภิญญาเป็นผล


    ที่นี้ก็จะอธิบายในเรื่องของวิปัสสนาบ้าง วิปัสสนานั้นจะมีสติเป็นตัวนำ มีสมาธิก็เพียงเล็กน้อย
    จะมีปัญญาเป็นตัวประธาน วิปัสสนาจะเน้นหนักไปในเรื่องของปัญญา อารมณ์ของวิปัสสนา
    คือ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒, ปฏิจจสมุปบาท ๑๒, และอริยสัจจะ ๔
    เพื่อเป็นฐานหรือที่ตั้งในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ (กายานุปัสสนา,
    เวทนานุปัสสนา, จิตตานุปัสสนา, ธรรมานุปัสสนา)
    เพื่อให้แจ้งถึงไตรลักษณ์ โดยให้มรรค ๘ ประหานกิเลสเข้าสู่โลกุตรธรรม ๙

    เท่าที่อธิบายนี้ก็ย่อมจะมองเห็นได้ว่า สมถะ กับวิปัสสนา มีข้อแตกต่างกันอยู่มาก
    สำหรับผู้ที่ไม่เข้าใจก็ถามมาได้ สำหรับผู้ที่ไม่เข้าใจและก็ไม่สนใจหรือแกล้งทำเป็นไม่เข้าใจก็เดินเลี่ยงๆ ไปบ้างก็ได้
    เพื่อจะได้ไม่ขัดแย้งขัดแข้งขัดขากัน มันจะไม่ได้ประโยชน์หรืออาจทำให้เนิ่นช้ากว่าที่ควรจะเป็น
    เพราะเยิ่นเย้อเกินไปการงานก็ย่อมจะไม่ทำให้เกิดความสำเร็จลงได้

     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 เมษายน 2015
  3. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    ดีครับ ที่พยายามอธิบายที่เรียกว่าดัน.....เอา

    ก็บอกแล้วว่า สมาธิตามธรรมชาตินั้น ไม่มี
    คุณไปเอามาจากไหน อย่ามโนเองสิ เสียหายหมด
    ก็อย่างที่ถามไป แบบนี้คนกำลังเล่นไพ่ ดื่มสุรา เที่ยวอบายมุข
    ต้องมีสมาธิตามธรรมชาติกับเค้าด้วยหรือ?

    นิยามคำว่าสมาธิ คือ ความสงบตั้งมั่นของจิต
    ส่วนบริบทนั้นมีมากมาย สรุป จิตสงบตัวลงได้
    แล้วขอเถอะครับ ถ้าไม่รู้จักขณะแห่งสมาธิจริงๆ(ขณิกสมาธิ)
    รู้จักตามตำราที่มีในภายหลังอธิบายไว้
    ก็อย่าพยายามอธิบายเลยครับ นิยามแห่งสมาธิเสียหายหมด

    ส่วนที่พยายามอธิบายขัอ๗-๘ในหมวดแห่งสมาธิ ก็พอรับได้

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  4. chura

    chura เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    688
    ค่าพลัง:
    +1,971
    สมถะ วิปัสสนา ต้องเกิดควบคู่กัน แต่การได้สมถะ หรือฌาณ สัมมาสมาธิแนวมรรค8
    นั้นแตกต่างกัน คือ ต้องเป็นฌาณที่ไม่มี นิมิต แต่เกิดจากการเจริญสติ ชำระกิเลสนิวรณ์
    ต่างๆ คือต้องหมั่นทำเหตุตรงนี้ ไม่ใช่ไปเพ่งเพื่อจะเอาฌาณ...

    จะเริ่ม วิปัสสนาได้จริงต้องเกิด มหาสติ จากการเดินมรรค8และเจริญสติ กระทั่งเกิด
    สัมมาสมาธิ หรือฌาณ และต้องมีตัวจิตที่ตั้งมั่น หรือจิตผู้รู้ ที่ไม่จมแช่ในฌาณ ออกมา
    ทำงาน คือการพิจารณาขันธ์5 แบบนี้จึงเรียกว่าเดิน วิปัสสนา...
     
  5. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,235
    เถรวาทะ หรือเถระวาที
    หรือวาทะยากร

    เช่นท่านไม่เห็ฯความแตกต่างระหว่างเอกวีร์ กะบุญยง
    แต่เห็นความแตกต่างระหว่าง สมถะ กะวิปัสนา

    วาทะยากร คือคนใช้มือ วันทยา
    วาทะแปลว่าเล่นดนตรีก็ได้

    เพื่อแสดงอำนาจของพระสังฆรัตนะ
    ว่าสามารถรวม บุญญง กะัเอกวีร์ ซึ่งเป็ฯคนละคนให้เป็นคนเดียวกันได้
    ด้วยวาทะยากร
    และแยกสมถะ ออกจากวิปัสนาได้
    ก็ด้วยวาทะยากร
     
  6. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,235
    ผมเรียนเรื่องภาษามาน้อย
    วาทะยากร
    น่าจะรวมจาก
    วันทยา + อากร

    อย่าหาว่าผมไม่สุภาพเลย
    ประสา ภาษา Bazaar
    คือควาย ที่จะข้ามน้ำ มันจะไปออกที่ริมน้ำ
    และรอจนควายตัวแรกข้าม และจะไม่ยอมหยุดข้ามจนกว่าจะหมดฝูง

    สมถะ และวิปัสสนาก็เช่นกัน
    บุญยง และเอกวีร์ก็เช่นกัน

    ถ้าไม่มีตัวแรกข้ามน้ำก่อน ก็จะไม่มีใครข้าม
    และตัวสุดท้ายยังข้ามไปไม่เสร็จ ก็จะหลงฝูงไม่สามารถรวมกะฝูงได้อีกเลย

    นี่คือประสา อากร
    วันทยา และอากร
     
  7. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    ดีครับ ที่พยายามอธิบายแบบจำๆมาอธิบาย
    คุณเล่นกระโดดพรวดเดียว ใช่ปัญญาปล่อยเลยหรือ

    ถามตรงๆเถอะ เคยปฏิบัตธรรมกรรมฐานภาวนาแบบจริงจังมาหรือยัง
    ปุถุชนชนคนอุนจิเหม็นทั้งหลาย
    ที่ฝึกปฏิบัติธรรมกรรมฐานภาวนาใหม่ๆ ไม่ต้องกดข่มบังคับบ้าง?

    ไม่มีหรอกที่ว่า เหตุใกล้ทำให้เกิดสติอัตโนมัติ
    แล้วที่คุณบอกว่า "ที่สงบลงได้นั้น เป็นผลจากปัญญาครับ"
    ช่วยบอกเหตุด้วยว่า อะไรที่ทำให้เกิดผลจากปัญญา
    ขอแบบชัดๆนะ ที่อธิบายไว้ข้างล่าง"ดูเฉย" "รู้เฉย" ไม่ใช่ครับ


    งง!!!จริงที่บอกว่า"สัมมาสติที่ถูกต้องนั้นเป็นปัญญา ครับ
    คือ ดูเฉยๆ ตามดูตามรู้สภาะวะของกายและใจ ตามสิ่งที่มันเป็น
    สักแต่ว่า รู้เฉยๆ จนเห็นเป็นไตรลักษ์"

    คุณไม่รู้จริงๆหรือว่า การ"ดูเฉยๆ" การ"รู้เฉยๆ" ทำให้เห็นไตรลักษณ์ไม่ได้
    พระพุทธพจน์ชัดเจนนะครับ ต้องกำหนดรู้ลงไปด้วยไม่ใช่หรือ?
    เมื่อกำหนดรู้แล้วทำไง? ต้องละสิ่งที่กำหนดรู้มั้ย? เมื่อต้องละ วางจิตลงตรงไหน?

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 เมษายน 2015
  8. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    คุณchura
    สมถะและวิปัสสนา ต้องเดินควบคู่กันไปตลอด ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ

    ฌานคือการเพ่ง จะเป็นสมาบัติ๘ หรือสัมมาสมาธิ
    ล้วนต้องมีนิมิตหมายในการเพ่ง
    ต่างกันที่ สัมมาสมาธินั้น เอานิมิตหมายในสติปัฏฐาน๔มาเพ่งครับ

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  9. biox

    biox Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    58
    ค่าพลัง:
    +60
    แล้วแต่คุณธรรมภูตเห็นสมควรครับ เป็นสมาชิกเวปนี้มา8ปี ผมมีไม่ถึง10ข้อความจริงๆ ไม่รู้ว่าจะได้กลับมาอีกเมื่อไหร่ อยู่เย็นเป็นสุขครับ ...
     
  10. biox

    biox Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    58
    ค่าพลัง:
    +60
    ท่านเคยเอะใจมั้ยว่า ..
    - ทำไมในมรรค8 ทรงวางสัมมาทิฐิ ไว้เป็นองค์แรก
    - ทำไม พระพุทธเจ้าจึงทรงมา ประสูตร ตรัสรู้ ปรินิพพานบนโลกมนุษย์ ไม่เกิดในเทวโลกและพรหมโลก
    - คนสมัยนั้นแค่ได้ฟังคำพูดเพียงสั้นๆ ก็ดวงตาเห็นธรรม กันมาก
    - ทรงแต่งตั้งพระสารีบุตรเป็นอัครสาวกเบื้องขวา ทั้งที่มีฤทธิ์ น้อยกว่า พระโมคคัลลานะ
    - ทรงยกย่องว่าพระสารีบุตรเหมือนแม่ และทรงยกย่องพระโมคคัลลานะว่าเหมือนแม่นม
     
  11. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    รู้จริงขยายไปเก็บไว้ทำไม ขยายไปได้บุญ
     
  12. biox

    biox Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    58
    ค่าพลัง:
    +60
    นี่เป็นคำถามทดสอบควมเข้าใจครับ
    ผมพบว่าที่นี่มีผู้คงแก่เรียน แตกฉานในตำรากันมาก
    แต่ความจริง พุทธศาสนาเป็นเรื่องความเข้าใจ ถ้าไม่เข้าใจ ทำไปหลายร้อยชาติก็ไม่ได้อะไรขึ้นมาครับ
    ผมทิ้งช่วงเวลาให้ท่านผู้คงแก่เรียน เปิดตำราครับ 1วันผ่านไป ก็ยังไม่มีผู้กล้ามาตอบ
    .
    .
    .
    .
    เชื่อผมมั้ยละ หลังจากผมเฉลยตอนนี้ จะมีคนแย้งผมอีกตามประสา เพราะว่าท่านเป็นผู้คงแก่เรียน

    เฉลยครับ

    พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญให้ทำ2อย่างในภาคปฏิบัติคือ
    1. สมถะ(ฌาน) คือทรงแนะนำให้ทำตั้งแต่รูปฌาน คือตั้งแต่ ฌาน1ถึงฌาน4 และให้ทำต่อ อรุปฌาน ถ้าผู้ฝึกต้องการ
    ผลของ การฝึกฌานนั้นทำให่้เกิด ความพิเศษ เกิดฤทธิ์ ต่างๆ อันนี้พระพุทธเจ้าท่านก็เตือนไว้ด้วยว่า เป็นของเล่น เป็นชั่วโมงกิจกรรม

    ที่มีคนถามว่า พระพุทธพจน์ชัดเจนนะครับ ต้องกำหนดรู้ลงไปด้วยไม่ใช่หรือ?

    ขอตอบว่า ในส่วนของการฝึกสมถะ(ฌาน) นั้น คือฌาน1 ให้กำหนดลมหายใจ กำหนดคำบริกรรม เช่น พุทโธ หรือ สัมมาอรหัง
    แต่พอฌาน2 คำบริกรรม ก็หายไป ฌาน3 ตัวเกรงๆแข็งๆ ฌาน4 กายและจิตแยกออกจากกัน
    จะเห็นได้ว่า คำบริกรรมก็ไม่เที่ยง ไม่ได้กอดไว้ตลอดเวลา เมื่อถึงจุดหนึ่งก็ต้องวาง ใช่หรือมั้ย


    2.วิปัสนา (ญาน) อันนี้ท่านเน้นมาก เพราะนี้คือคำสอนตรงของท่าน โดยประกาศอริยสัจจ์4 และ ขยายความด้วย มรรค8 อันนี้คือความรู้ที่เรียกว่า ปัญญา ที่จะพาให้พ้นทุกข์

    - ทำไมในมรรค8 ทรงวางสัมมาทิฐิ ไว้เป็นองค์แรก
    เพราะสัมมาทิฐิ นั้น คือ ความเห็นชอบ ความเข้าใจในเรื่องของโลก ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาทั้ง รูป และ นาม
    แล้ว รูป และ นาม นี่มันคืออะไร?
    รูป และ นาม คือ กายและจิต คือ ขันธ์ 5 ประกอบด้วย รูป เวนทนา สัญญา สังขาร วิญาณ นั่นแหละ

    การศึกษาภาคปฏิบัติใน พุทธศาสนา จึงให้ศึกษาที่ตัวเราเอง ถ้ายังไม่เห็นอย่างนี้ในภาคปฏิบัติ
    ยังไม่เริ่มเป็นสัมมาทิฐิ อ่านตำราทั้งโลกก็ยังไม่เข้าใจ
    ถ้าไม่มาเห็น กาย ใจ ตัวเอง

    - ทำไม พระพุทธเจ้าจึงทรงมา ประสูตร ตรัสรู้ ปรินิพพานบนโลกมนุษย์ ไม่เกิดในเทวโลกและพรหมโลก
    เพราะ จิตมนุษย์นั้น เป็นเป็นได้หมดตั้งแต่ คนใจเปรต คนใจมนุษย์ คนใจยักษ์ คนใจเทวดา คนใจพรหม ร่างกายที่ไม่เที่ยง เกิด แก่ เจ็บตาย หิวก็ต้องกิน ต้องทำงาน เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่เหมือนพวกเทวดา หรือ พรหม ที่ไม่ต้องกิน ไม่ต้องป่วย ไม่ต้องอาบน้ำ แปรงฟัน เพราะเป็นทิพย์ จึงยากกว่าในการสอนให้ดู ความเปลี่ยนแปลงของขันธ์5 หรือดูไตรลักษณ์ แล้วแต่จะเรียก

    - คนสมัยนั้นแค่ได้ฟังคำพูดเพียงสั้นๆ ก็ดวงตาเห็นธรรม กันมาก
    เพราะคนสมัยก่อนไม่คิด ไม่ได้กอดตำรา แต่เห็นและยอมรับความจริงด้วยใจซื่อๆ จึงมาดวงตาเห็นธรรม ตั้งแต่พระโสดาบันกันขึ้นมา อันนี้แหละเป็น วิปัสนา

    บางคนอาจนึกสงสัยว่าว่า แล้วการกำหนดเช่น พุทโธ สัมมาอรหังละ
    อันนี้ท่านก็สอน เพราะกำลังใจคนไม่เสมอกัน แต่สอนในส่วนของสมถะ(ฌาน) คือฌาน1 ให้กำหนดลมหายใจ กำหนดคำบริกรรม แต่พอฌาน2 คำบริกรรม ก็หายไป ฌาน3 ตัวเกรงๆแข็งๆ ฌาน4 กายและจิตแยกออกจากกัน
    จะเห็นได้ว่า คำบริกรรมก็ไม่เที่ยง ไม่ได้กอดไว้ตลอดเวลา เมื่อถึงจุดหนึ่งก็ต้องวาง

    แต่เมื่อตั้งจิตขึ้นวิปัสนาแล้ว ท่านสั่งให้ลดกำลังฌาน ลงมาที่อุปจาระสมาธิ ก่อนคือ สมาธิธรรมดาของคนทั่วไป

    ที่คุณสงสัย เคยถามว่า ท่านอุปติสสะ แค่ได้ฟังธรรมจาก พระอัสสชิเถระเรื่อง เยธัมมาเหตุปับภวา...

    ท่านก็ไม่ไม่ทรงฌาน อะไร แต่เพราะปัญญาท่านอุปติสสะ ได้เริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลงของโลก หรือของกองสังขาร หรือ ขันธ์5 ก็ได้ ตามที่พระอัสสชิเถระท่านแสดงธรรม
    อันนี้แหละ "ดวงตาเห็นธรรม" กลายเป็น โสดาบัน ตั้งแต่ก่อนบวช

    ทีนี้...ผมขอเน้นในส่วนวิปัสนา นะครับ
    เคยบอกไปแล้ว ว่าสติ คือ กุญแจ ดอกเอก
    เมื่อเราอยู่ที่ อุปจาระสมาธิ แล้วเห็น ความเปลี่ยนแปลงของสังขาร ตามความเป็นจริงแล้ว ก็จะเป็น สัมมาสติ ในวินาทีที่เห็นนั้น
    เมื่อ เราได้ ดู อย่างต่อเนื่อง เห็น2วินาทีบ้าง 3 วินาทีบ้าง และไม่เห็น 1 นาทีบ้าง เกิดคความต่อเนื่องในการดู คือทั้งเห็นและไม่เห็น เรียกว่า
    สัมมาสมาธิ ได้เกิดแล้ว เพราะ สัมมาสมาธิ ไม่มีส่วนใดเกี่ยวกับสมถะเลย ถ้าเห็นสภาวะแบบนี้ได้ อันนี้แหละ "วิชา" ในพระพุทธศาสนา
    ดังนั้น เมื่อเรา สัมมาสติบริบูรณ์ จึงเป็นเห็นให้ สัมมาสมาธิ บริบูรณ์ด้วย
    อันนี้แหละ ความหมายของ เอาจิตดูจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็น มรรค ของหลวงปู่ดุลย์ อตุโล

    ดังนั้น วิปัสนา จึงเป็นคำสอนโดยตรงของพระพุทธศาสนา
    ในการฝึกผมจึงบอกว่า ฝึกวิปัสนาโดยตรงได้ ไม่ต้องฝึกสมถะก่อนก็ได้ แต่ไม่ได้ปฏิเสธ สมถะ
    อันนี้ ขึ้นอยู่กับจริตแต่ละคน เพราะจริตแต่ละคนไม่เสมอกัน
    แต่ในขณะฝึกตน หากสติยังไม่แข็งแรงพอ ก็ ใช้สมถะช่วยในการข่มกดก่อนก็ได้ อันนี้ไม่ผิดกติกาอะไร แต่ที่จะได้แต้ม ต้องเป็นวิปัสนา คนที่สงสัยว่ากระโดดมาวิปัสนาได้เลยหรือคงพอเข้าใจขึ้น

    ที่เคยบอก เครื่องวัดที่ดีที่สุด ตรงที่สุด คือสังโยชน์10นี่แหละ
    ให้ดูว่า เราลดอะไรได้บ้างหรือยังคือ
    1. สักกายทิฏฐิ
    2. วิจิกิจฉา
    3. สีลัพพตปรามาส
    4. กามราคะ
    5. ปฏิฆะ
    6. รูปราคะ
    7. อรูปราคะ
    8. มานะ
    9. อุทธัจจะ
    10. อวิชชา

    สำหรับ คนที่สงสัยว่า ดูเฉยๆ รู้เฉย ไม่ต้องกำหนด แค่ดูตามความเป็นจริง แล้วจะวางได้อย่างไร อันนี้ต้องอาศัยกำลังใจสูงหน่อยว่าท่านทำกันอย่างไร
    ขอยกตัวอย่าง คนที่ละสังโชยน์ 5 ได้แล้วกัน เพราะผู้ที่ละสังโชยน์ ข้อ5. ปฏิฆะ ได้แล้ว

    ท่านไม่ต้องข่มกด ความโกรธ ความหงุดหงิดใจ เลย เพราะปัญญาท่านพอที่จะวางได้ตามเองตลอดเวลา ไม่ต้องไปข่มอะไร
    ส่วนข้อ
    6. รูปราคะ
    7. อรูปราคะ
    8. มานะ
    9. อุทธัจจะ
    10. อวิชชา
    อันนี้ ท่านก็ตามดู ตามรู้ ไปเรื่อยๆ วางทันก็วาง ถ้ากระแสมันแรง วางไม่ทัน จะข่มไว้ก่อนก็ได้ ไม่ผิดกติกา ส่วนพระอรหันต์ ท่านวางได้หมด ทั้ง10ข้อ เพราะกำลังใจท่านเต็มแล้ว สบายๆของท่าน

    - แล้วมีคนถามว่า แบบนี้คนกำลังเล่นไพ่
    ต้องมีสมาธิตามธรรมชาติกับเค้าด้วยหรือ?

    ขอยืนยันอีกครั้งว่ามี เพราะสมาธิ หมายถึงใจตั้งมั่น
    เช่นคุณขับรถอยู่ คนไม่ต้องทรงฌาน1-4(สมถะ) ใช่มั้ย
    เพราะถ้าไม่มีสมาธิ เล่นไพ่ก็แพ้ ตั้งแต่ไม่จั่วแล้ว
    ขับรถอยู่ เห็นหลุม ยังรู้จักหลบ เพราะมีสมาธิในการขับรถ ใช่มั้ย
    ทรงฌาน4 กับ ไม่ต้องทรงฌาน4 อันไหนขับรถง่ายกว่า?

    ส่วนดื่มสุรานั้น เที่ยวอบายมุข
    ถ้ามีใจตั้งมั่นในการดื่มสุรา ในการเที่ยว ตลอดก็เป็นสมาธิเหมือนกัน คือมีสมาธิในการทำลายตนเอง ลงนรกได้ตามความต้องการ

    - ทรงแต่งตั้งพระสารีบุตรเป็นอัครสาวกเบื้องขวา ทั้งที่มีฤทธิ์ น้อยกว่า พระโมคคัลลานะ
    เราพระพุทธองค์ให้ความสำคัญในส่วน วิปัสนา มากกว่า สมถะ ไงครับ แต่ผมไม่ได้บอกว่า สมถะ ไม่ดี สมถะนั้นก็ดี ที่ต้องสอน เพราะสมัยก่อน พรหม ฤษี ก็ทำ สมถะ กันเป็นปกติ มีฤทธ์ อภิญญากันเป็นปกติ ถ้าท่านไม่สอน สมถะ เพื่อ ให้มีฤทธ์ ปราบฤทธ์ ก่อน จะแสดงธรรมไม่ได้ เช่น พระองค์เองก็ทรงแสดงฤทธ์ ปราบพญานาค (ทำให้เกิดเป็นที่มาของพระ ปางห้ามสมุทร) ก่อน แล้ว จึงเทศนาสั่งสอนให้เห็นตาม การเทศนาสั่งสอนให้เห็นตามนี้ เพื่อโปรดให้ผู้ฟัง
    วิปัสนาตาม จนดวงตาเห็นธรรม

    - ทรงยกย่องว่าพระสารีบุตรเหมือนแม่ และทรงยกย่องพระโมคคัลลานะว่าเหมือนแม่นม

    เพราะพระสารีบุตรเก่งในการเทศนา สั่งสอนให้ผู้ฟังวิปัสนาตาม เกิดดวงตาเห็นธรรมได้ง่าย ท่านจึงเป็แม่

    ส่วนพระโมคคัลลานะ นั้น เมื่อผู้ที่ดวงตาเห็นธรรมแล้ว ไปขอความรู้จากท่าน เพื่อฝนตนให้เห็นธรรมที่สูงขึ้น ท่านจึงเป็นพี่เลี้ยงหรือ แม่นม ในสมัยก่อน

    สรุป
    ตำรานั้นดี เหมือนมีลายแทง เป็นแนวทางให้เรา ปฏิบัติตาม
    แต่การปฏิบัติจริงๆ ต้องอาศัยความเข้าใจ ไม่งั้นทำไปหลายร้อยชาติก็ไม่เกิดปัญญา
    ผมลองให้ท่านผู้คงแก่เรียนมาตอบ คำถามทดสอบความเข้าใจดู
    เสียดายไม่มีผู้กล้า

    คำแนะนำ
    ลองไป หาครู อาจารย์ ที่ท่านสอนวิปัสนากรรมฐานโดยตรงให้เป็นกัลลามิตร ที่ท่านเคารพ เป็นครูสอนท่าน ง่ายกว่า นั่งคลำเองเยอะครับอย่าเป็นคนติดตำรา ว่าตามตำราได้มาก แต่ปฏิบัติไม่ตรง ระวังจะเป็น ใบลานปล่าว
    อย่างพระเทวทัต เพราะไปอธิฐาน จะรู้ด้วยตนเองเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าไว้
    พระพุทธเจ้า สอนเท่าไหร่ก็ไม่ฟัง ไม่เข้าใจ เพราะมานะมากเหลือเกิน พระพุทธเจ้าท่านก็สอนไม่ได้เลยต้องพบกรรมใหญ่ในนรก ก่อนกี่ชาติเท่าไหร่ยังไม่รู้ กว่าจะหมดกรรม พระเทวทัต เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนมาก เรื่องนี้

    ส่วนผมเอง เหตุที่เข้ามากระทู้นี้ เพราะเห็นคำว่าสัมมาสมาธิ ครับ และคงจบกระทู้นี้ไว้เพียงแค่นี้ คงไม่กลับมาตอบกระทู้นี้อีก หลังจากนี้ท่านจะมีความเห็นอย่างไรก็เรื่องของท่าน
    อยู่เย็นเป็นสุข ทุกท่านครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 เมษายน 2015
  13. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อ่านกระทู้ที่ท่านสาธยายบทความแล้ว ถึงจะไม่สละสลวยมากนัก
    แต่ก็เป็นที่เข้าใจได้ดี ทำให้มองถึงจิตใจที่โปร่งเบาสบาย ถ้าท่านจะวางคำสอนไว้แค่นี้
    ก็คิดว่าพอสมควรแก่ผู้มีปัญญามาคัดสรรเอาเอง มากนักหลากหลายคน
    ก็หลากหลายความคิดก็ย่อมอาจไม่เป็นที่ถูกใจได้ทุกคน จนอาจกลายเป็นการสนทนาเพื่อเอาชนะกัน

    อนุโมทนาครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 เมษายน 2015
  14. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852
    สัมมาสมาธิที่ทำให้หลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง เมื่อจิตมีวิมุตติธรรมแล้ว ได้มาอย่างไร
    ได้มาจากสติปัฏฐาน 4 ที่อบรมให้แก่กล้าแล้ว เหมาะแก่การบรรลุธรรม
    มีมรรคทั้งแปด เป็นวิถี ต้องเจริญจิตให้ถึงความสงบ แล้วออกจากจิตที่สงบ
    มาพิจารณาใน ความเป็นของไม่เที่ยง ภาวนามยปัญญาจะมีขึ้นตรงจุดนี้ท่าน
    ผู้เจริญ ปัญญาที่เกิดจากภาวนา จึงไม่เสื่อม ไม่ถอย ยังทำให้สิ้งลังเลสังสัยได้
    ความไม่รู้แจ้งใน อริยสัจ 4 ก็จะกลับเปลี่ยนเป็นความรู้แจ้งแทงตลอดในอริยสัจ 4
    ท่านผู้คงแก่เรียน.
     
  15. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ู^
    ^
    เฮ้อ!!! เล่นพูดในสิ่งที่อยากพูดแล้ว ก็ชิ่งหนี แบบนี้พระพุทธพจน์เสียหายหมด

    อย่ามโนเองสิว่า พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญใหทำสองอย่าง

    พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ที่ไหน? อย่ามั่วนิ่มเลยครับ

    ทรงปฏิเสธหรือที่เรียกว่าบอกปัด "อรูปฌาน"ว่าไม่ใช่หนทางพ้นทุกข์

    ส่วนผลของอรูปฌานนั้น แม้รูปฌานก็ทำได้เช่นกัน เป็นเรื่องของจริตนิสัย

    อย่าพยายามเอาฌานนอกพระพุทธศาสนา

    มาปนเปกับฌานในพระพุทธศาสนาเลย ฤทธิ์ทางใจต่างกันมหาศาล

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  16. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    เฮ้อ!!!ว่าไปนั่น

    รู้มั้ยว่าทำไมต้องวางเรื่อง "ทิฐิ" ไว้เป็นข้อแรก
    เพราะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดศรัทธาในสิ่งที่รู้เห็น
    ถ้าตราบใดที่จิตยังไม่สงบตั่งมั่น
    ไม่มีทางรู้เห็นตามความเป็นจริงได้หรอก อย่ามโนเองสิ
    ชอบเอาสัญญามาแอบอ้างว่าเป็นปัญญา

    เมื่อมีความเห็นที่ถูก ที่ตรงแล้ว ต้องลงมือพิสูจน์ความจริงใช่หรือไม่?
    ต้องพิสูจน์ด้วยการลงมือปฏิบัติเพียรเพ่งภาวนามยปัญญา
    จึงจะเปลี่ยนความเห็นถูก เห็นตรงเป็น"เห็นชอบ"(สัมมาทิฐิ)ได้ใช่หรือไม่?

    ขอเถอะแบบจำๆมาพูดหนะ ทำให้การปฏิบัติธรรมที่ถูกต้องเสียหายหมด

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  17. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    เฮ้อ!!! ยิ่งอ่านยิ่งมีข้อข้องใจสงสัยมาก ไม่ไหวจริงๆ

    ไม่รู้ไม่ตอบก็คงไม่มีใครกล่าวหาว่า "โง่หรอก"จริงมั้ย?

    แต่รู้ไม่จริงแต่พยายามอธิบาย แถมยังยกตนว่า "รู้จริง" เป็นเรื่องน่าอายมากๆ

    แม้ธรรมภูตเองก็ยังต้องตรวจสอบ สอบสวน เทียบเคียงกับพระพุทธพจน์ทุกครั้ง

    คุณไปเอามาจากไหนที่ว่า"วิปัสสนา" จึงเป็นคำสอนโดยตรงของพระพุทธศาสนา

    มีพระพุทธพจน์ที่ทรงครัสไว้ตรงไหนว่า

    "วิปัสสนาเป็นคำสั่งสอนโดยตรงของพระพุทธองค์"

    ในอริยสัจ๔ ในอริยมรรค๘ ในสติปัฏฐาน๔ ในธรรมจักกัปปวัตนสูตร ไม่เห็นมี

    เรื่องดูเฉย รู้เฉย อย่าพยายามมั่วไปไกลกว่านี้อีกเลย

    เป็นการจำมาพูดชัด ดูเฉย รู้เฉย โดยไม่ต้องกำหนด แสดงให้เห็นว่า"จำมาพูด"

    ดูเฉย รู้เฉย เป็นเรื่องของจิตสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหวใช่หรือไม่?

    แล้วก่อนหน้าดูเฉย รู้เฉยหละ ต้องกำหนดรู้ แล้วละใช่หรือไม่?

    เพราะกำหนดรู้ แล้วละ เป็นเรื่องของปัญญาล้วนใช่หรือไม่?

    ถ้าไม่เคยผ่านประสบการณ์จริง ก็แสดงเท่าที่รู้คงไม่ใครต้องมาถามหรอก

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  18. VERAJAK

    VERAJAK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    998
    ค่าพลัง:
    +1,579
    สาธุครับ ถ้าท่านยังมีเมตตาจะเข้ามากล่าวธรรมอีกก็จะเป็นบุญของผู้ที่เข้ามาศึกษาธรรมครับ. สิ่งที่ท่านกล่าวจะขอน้อมนำไปปฏิบัติครับ ขอท่านเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปครับ สาธุ
    ป.ล. ธรรมเป็นสิ่งที่ต้องเข้าใจจริงตามท่านว่าถ้าไม่เข้าใจ หรือเข้าใจผิดก็จบ ขนาดเข้าใจถูกทำได้รึเปล่ายังมีปัญหาอยู่เลย แต่การรบย่อมมีแพ้มีชนะเป็นธรรมดาจนกว่าจะรบชนะเด็ดขาดตัดรากถอนโคนจนสิ้นนั้นแหละ ถึงจะเสร็จกิจที่ต้องทำครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 เมษายน 2015
  19. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    บรรลุในสมาธิก็ได้ ในสัมมาสมาธิก็ได้ อยู่ที่สติในขณะนั้นๆ สติสำคัญนะ อยู่ที่ขณะจิต
     
  20. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    ย้ำว่าพระพุทธเจ้าท่านดีนะ ท่านเป็นศาสดา ใครประมาทพลาดพลั้งจาบจ้วงท่านให้ตั้งสติกราบขอขมาลาโทษท่านซะ ท่านดี
     

แชร์หน้านี้

Loading...