ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center bgColor=#dddddd border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR bgColor=#ffffff><TD><TABLE height=30 cellSpacing=3 cellPadding=3 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD style="BACKGROUND-POSITION: right bottom; BACKGROUND-IMAGE: url(../bg/pagebg11.jpg); BACKGROUND-REPEAT: no-repeat">
    [​IMG]


    <TABLE height=400 align=center border=0><TBODY><TR><TD>

    ....น้ำตาริน..หลั่งรด..หยดสุดท้าย
    มิได้หมาย ว่าหมด หยดที่เห็น
    น้ำตาริน หลั่งไหลนี่ ที่กระเซ็น
    ใช่จะเป็น เพียงชาตินี้ ที่นองตา

    ที่ผ่านมี กี่กัปกัลป์ ทรงตรัสไว้
    มหาสมุทร ทั้งสี่ไซร้ ยังน้อยกว่า
    และยังคง ต้องรินหลั่ง ถั่งโถมมา
    ตราบจิตนี้ ที่เวียนพา วัฏฏาครอง

    ....แต่นี้ไป..หยุดหลั่งริน..ถวิลถึง
    คิดคำนึง ให้ดี ที่หม่นหมอง
    น้ำตาริน ร่วงหล่น ปนเศร้าครอง
    ลองคิดตรอง เหตุครองจิต พิศให้ดี

    การพลัดพราก จากสิ่งรัก เกิดทุกขา
    พาชีวา หม่นไหม้ ไร้ราศี
    ปรารถนา สิ่งใด ในฤดี
    ไม่สมหวัง ดั่งที่ ตั้งใจไว้

    ความทุกข์เศร้า จึงเคล้า แนบสนิท
    คุกรุ่นอยู่ ในจิต จะคิดไฉน
    วันเวลา ที่ผ่าน ยิ่งผลาญใจ
    ตัณหาไซร้ เข้าครอง จึงหมองตรม

    ....ความดี-ชั่ว..ตัวเคยทำ..เลิกคำนึง
    จะนึกถึง ไปใย ให้ขื่นขม
    ความชั่วที่ เคยทำ นำระทม
    มันสะสม อกุสลา พาสู่อบาย

    ส่วนความดี เคยทำไว้ ไฉนจะหยุด
    ต้องเร่งรุด เพียรให้มาก ให้หลากหลาย
    ความดีนั้น คือกุศล ดลทุกข์คลาย
    ขอสหาย "คนึง"คิด พินิจตรอง

    ....ขอรำพึง..."พุทโธ"...โอ้..นิพพาน
    จิตสราญ เพราะสดใส ไร้ความหมอง
    ฝึกจิตให้ ตั้งมั่นไว้ ในครรลอง
    เป็นทางเดียว ไม่มีสอง ครองนิพพาน

    ต้องเดินตาม มรรคา ศาสดาชี้
    เป็นทางที่ พ้นทุกข์ พบสุขศานต์
    อริยมรรค เป็นมรรคา พานิพพาน
    พระไตรฯจาร ไว้ชัดเจน เช่นลายแทง


    http://www.dhammathai.org/kaveedhamma/view.php?No=2267

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
  3. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    911
    ค่าพลัง:
    +4,285
    อเหตุกจิต ๓ ประการ

    ๑. ปัญจทวาราวัชชนจิต คือ กิริยาจิตที่แฝงอยู่ตาม อายตนะ หรือทวารทั้ง ๕ มีดังนี้
    ตา ไปกระทบกับรูป เกิด จักขุวิญญาณ คือการเห็น จะห้ามไม่ให้ ตา เห็นรูปไม่ได้
    <O:pหู ไปกระทบเสียง เกิด โสตวิญญาณ คือการได้ยิน จะห้ามไม่ให้ หู ได้ยินเสียงไม่ได้<O:p
    จมูก ไปกระทบกับกลิ่น เกิด ฆานวิญญาณ คือการได้กลิ่น จะห้ามไม่ให้ จมูก รับกลิ่นไม่ได้<O:p
    ลิ้น ไปกระทบกับรส เกิด ชิวหาวิญญาณ คือการได้รส จะห้ามไม่ให้ ลิ้น รับรู้รสไม่ได้
    <O:pกาย ไปกระทบกับโผฏฐัพพะ เกิด กายวิญญาณ คือการสัมผัส จะห้ามไม่ให้ กาย รับสัมผัสไม่ได้

    <O:pวิญญาณทั้ง ๕ อย่างนี้ เป็นกิริยาที่แฝงอยู่ในกายตามทวาร ทำหน้าที่รับรู้สิ่งต่างๆ ที่มากระทบ เป็นสภาวะแห่งธรรมชาติของมันเป็นอยู่เช่นนั้น ก็แต่ว่า เมื่อจิตอาศัยทวารทั้ง ๕ เพื่อเชื่อมต่อรับรู้เหตุการณ์ภายนอก ที่เข้ามากระทบ แล้วส่งไปยังสำนักงานจิตกลางเพื่อรับรู้ เราจะห้ามมิให้เกิด มี เป็นเช่นนั้น ย่อมกระทำไม่ได้

    การป้องกันทุกข์ที่จะเกิดจากทวารทั้ง ๕ นั้น เราจะต้องสำรวมอินทรีย์ทั้ง ๕ ไม่เพลิดเพลินในอายตนะเหล่านั้น หากจำเป็นต้องอาศัยอายตนะทั้ง ๕ นั้น ประกอบการงานทางกาย ก็ควรจะกำหนดจิตให้ตั้งอยู่ในจิต เช่นเมื่อเห็นก็สักแต่ว่าเห็น ไม่คิดปรุง ได้ยินก็สักแต่ว่าได้ยิน ไม่คิดปรุง ดังนี้ เป็นต้น (ไม่คิดปรุงหมายความว่า ไม่ให้จิตเอนเอียงไปในความเห็นดีชั่ว

    ๒. มโนทวาราวัชชนจิต คือ กิริยาจิตที่แฝงอยู่ที่มโนทวาร มีหน้าที่ผลิตความคิดนึกต่างๆ นานา คอยรับเหตุการณ์ภายในภายนอกมากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเอาไว้ จะห้ามจิตไม่ให้คิดในทุกๆ กรณีย่อมไม่ได้

    <O:pก็แต่ว่าเมื่อจิตคิดปรุงไปในเรื่องราวใดๆ ถึงวัตถุ สิ่งของ บุคคลอย่างไร ก็ให้กำหนดรู้ว่าจิตคิดถึงเรื่องเหล่านั้น ก็สักแต่ว่าความคิด ไม่ใช่สัตว์บุคคล เราเขา ไม่ยึดถือวิจารณ์ความคิดเหล่านั้น

    <O:pทำความเห็นให้เป็นปกติ ไม่ยึดถือความเห็นใดๆ ทั้งสิ้น จิตย่อมไม่ไหลตามกระแสอารมณ์เหล่านั้น ไม่เป็นทุกข์

    <O:p๓. หสิตุปบาท คือ กิริยาที่จิตยิ้มเอง โดยปราศจากเจตนาที่จะยิ้ม หมายความว่าไม่อยากยิ้มมันก็ยิ้มของมันเอง กิริยาจิตอันนี้มีเฉพาะเหล่าพระอริยเจ้าเท่านั้น ในสามัญชนไม่มี

    <O:pสำหรับ อเหตุกจิต ข้อ ๑ และ ๒ มีเท่ากันในพระอริยเจ้า และในสามัญชน นักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย เมื่อตั้งใจปฏิบัติตนออกจากกองทุกข์ควรพิจารณา อเหตุกจิต นี้ให้เข้าใจด้วย เพื่อความไม่ผิดพลาดในการบำเพ็ญปฏิบัติธรรม

    <O:pอเหตุกจิต นี้ นักปฏิบัติทั้งหลายควรทำความเข้าใจให้ได้ เพราะถ้าไม่เช่นนั้นแล้ว เราจะพยายามบังคับสังขารไปหมด ซึ่งเป็นอันตรายต่อการปฏิบัติธรรมมาก เพราะความไม่เข้าใจใน อเหตุกจิต ข้อ ๑ และ ๒ นี้เอง

    <O:pอเหตุกจิต ข้อ ๓ เป็นกิริยาจิตที่ยิ้มเองโดยปราศจากเจตนาที่จะยิ้ม เกิดในจิตของเหล่าพระอริยเจ้าเท่านั้น ในสามัญชนไม่มี เพราะกิริยาจิตนี้เป็นผลของการเจริญจิตจนอยู่เหนือมายาสังขารได้แล้ว จิตไม่ต้องติดข้องในโลกมายา เพราะความรู้เท่าทันเหตุปัจจัยแห่งการปรุงแต่งได้แล้ว เป็นอิสระด้วยตัวมันเอง
    <O:p
    ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซท์
    http://www.geocities.com/pudule/dharma1.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มกราคม 2009
  4. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    911
    ค่าพลัง:
    +4,285
    วิธีเจริญจิตภาวนา




    วิธีเจริญจิตภาวนาตามแนวการสอนของ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
    <O:p
    ๑. เริ่มต้นอริยาบถที่สบาย ยืน เดิน นั่ง นอน ได้ตามสะดวก ทำความรู้ตัวเต็มที่และรู้อยู่กับที่โดยไม่ต้องรู้อะไร คือ รู้ตัว อย่างเดียว<O:p รักษาจิตเช่นนี้ไว้เรื่อยๆ ให้"รู้อยู่เฉยๆ"ไม่ต้องไปจำแนกแยกแยะ อย่าบังคับ อย่าพยายาม อย่าปล่อยล่องลอยตามยถากรรม
    เมื่อรักษาได้สักครู่ จิตจะคิดแส่ไปในอารมณ์ต่างๆ โดยไม่มีทางรู้ทันก่อน เป็นธรรมดาสำหรับผู้ฝึกใหม่ ต่อเมื่อจิตแล่นไป คิดไปในอารมณ์นั้นๆ จนอิ่มแล้ว ก็จะรู้สึกตัวขึ้นมาเอง เมื่อรู้สึกตัวแล้วให้พิจารณาเปรียบเทียบภาวะของตนเอง ระหว่างที่มีความรู้อยู่กับที่ และระหว่างที่จิตคิดไปในอารมณ์ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อเป็นอุบายสอนจิตให้จดจำ<O:p
    จากนั้น ค่อยๆ รักษาจิตให้อยู่ในสภาวะรู้อยู่กับที่ต่อไป ครั้นพลั้งเผลอรักษาไม่ดีพอ จิตก็จะแล่นไปเสวยอารมณ์ข้างนอกอีก จนอิ่มแล้ว ก็จะกลับรู้ตัว รู้ตัวแล้วก็พิจารณา และรักษาจิตต่อไป<O:p
    ด้วยอุบายอย่างนี้ ไม่นานนัก ก็จะสามารถควบคุมจิตได้ และบรรลุสมาธิในที่สุด และจะเป็นผู้ฉลาดใน "พฤติแห่งจิต" โดยไม่ต้องไปปรึกษาหารือใคร
    ข้อห้าม ในเวลาจิตฟุ้งเต็มที่ อย่าทำ เพราะไม่มีประโยชน์ และยังทำให้บั่นทอนพลังความเพียร ไม่มีกำลังใจในการเจริญจิตครั้งต่อๆ ไป<O:p
    ในกรณีที่ไม่สามารถทำเช่นนี้ ให้ลองนึกคำว่า"พุทโธ"หรือคำอะไรก็ได้ที่ไม่เป็นเหตุเย้ายวน หรือเป็นเหตุขัดเคืองใจ นึกไปเรื่อยๆ แล้วสังเกตดูว่า คำที่นึกนั้น ชัดที่สุดที่ตรงไหน ที่ตรงนั้นแหละคือฐานแห่งจิต<O:p
    พึงสังเกตว่า ฐานนี้ไม่อยู่คงที่ตลอดกาล บางวันอยู่ที่หนึ่ง บางวันอยู่อีกที่หนึ่ง<O:p
    ฐานแห่งจิตที่คำนึงพุทโธปรากฏชัดที่สุดนี้ ย่อมไม่อยู่ภายนอกกายแน่นอน ต้องอยู่ภายในกายแน่แต่เมื่อพิจารณาดูให้ดีแล้ว จะเห็นว่าฐานนี้จะว่าอยู่ที่ส่วนไหนของร่างกายก็ไม่ถูก ดังนั้น จะว่าอยู่ภายนอกก็ไม่ใช่ จะว่าอยู่ภายในก็ไม่เชิง เมื่อเป็นเช่นนี้ แสดงว่าได้กำหนดถูกฐานแห่งจิตแล้ว<O:p
    เมื่อกำหนดถูก และพุทโธปรากฏในมโนนึกชัดเจนดี ก็ให้กำหนดนึกไปเรื่อย อย่าให้ขาดสายได้<O:p
    ถ้าขาดสายเมื่อใด จิตก็จะแล่นสู่อารมณ์ทันที<O:p
    เมื่อเสวยอารมณ์อิ่มแล้ว จึงจะรู้สึกตัวเองก็ค่อยๆ นึกพุทโธต่อไป ด้วยอุบายวิธีในทำนองเดียวกับที่กล่าวไว้เบื้องต้น ในที่สุดก็จะค่อยๆ ควบคุมจิตให้อยู่ในอำนาจได้เอง<O:p

    ข้อควรจำ ในการกำหนดจิตนั้น ต้องมีเจตจำนงแน่วแน่ ในอันที่จะเจริญจิตให้อยู่ในสภาวะที่ต้องการ<O:p
    เจตจำนงนี้ คือ ตัว "ศีล"
    การบริกรรม "พุทโธ" เปล่าๆ โดยไร้เจตจำนงไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย กลับเป็นเครื่องบั่นทอนความเพียร ทำลายกำลังใจในการเจริญจิตในคราวต่อๆ ไป<O:p
    แต่ถ้าเจตจำนงมั่นคง การเจริญจิตจะปรากฏผลทุกครั้งไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน
    ดังนั้น ในการนึก พุทโธ การเพ่งเล็งสอดส่อง ถึงความชัดเจน และความไม่ขาดสายของพุทโธ จะต้องเป็นไปด้วยความไม่ลดละ<O:p
    เจตจำนงที่มีอยู่อย่างไม่ลดละนี้ หลวงปู่เคย เปรียบไว้ว่า มีลักษณาการประหนึ่งบุรุษหนึ่งจดจ้องสายตาอยู่ที่คมดาบที่ข้าศึกเงื้อขึ้นสุดแขนพร้อมที่จะฟันลงมา บุรุษผู้นั้นจดจ้องคอยทีอยู่ว่า ถ้าคมดาบนั้นฟาดฟันลงมา ตนจะหลบหนีประการใดจึงจะพ้นอันตราย<O:p
    เจตจำนงต้องแน่วแน่เห็นปานนี้ จึงจะยังสมาธิให้บังเกิดได้ ไม่เช่นนั้นอย่าทำให้เสียเวลา และบั่นทอนความศรัทธาตนเองเลย<O:p
    เมื่อจิตค่อยๆ หยั่งลงสู่ความสงบทีละน้อย ๆ อาการที่จิตแล่นไปสู่อารมณ์ภายนอก ก็ค่อย ๆ ลดความรุนแรงลง ถึงไปก็ไปประเดี๋ยวประด๋าว ก็รู้สึกตัวได้เร็ว ถึงตอนนี้คำบริกรรมพุทโธ ก็จะขาดไปเอง เพราะคำบริกรรมนั้นเป็นอารมณ์หยาบ เมื่อจิตล่วงพ้นอารมณ์หยาบ และคำบริกรรมขาดไปแล้ว ไม่ต้องย้อนถอยมาบริกรรมอีก เพียงรักษาจิตไว้ในฐานที่กำหนดเดิมไปเรื่อยๆ และสังเกตดูความรู้สึกและ"พฤติแห่งจิต"ที่ฐานนั้นๆ<O:p
    บริกรรมเพื่อรวมจิตให้เป็นหนึ่ง สังเกตดูว่า ใครเป็นผู้บริกรรมพุทโธ<O:p
    ๒. ดูจิตเมื่ออารมณ์สงบแล้ว ให้สติจดจ่ออยู่ที่ฐานเดิมเช่นนั้น เมื่อมีอารมณ์อะไรเกิดขึ้น ก็ให้ละอารมณ์นั้นทิ้งไป มาดูที่จิตต่อไปอีก ไม่ต้องกังวลใจ พยายามประคับประคองรักษาให้จิตอยู่ในฐานที่ตั้งเสมอๆ สติคอยกำหนดควบคุมอยู่อย่างเงียบๆ (รู้อยู่) ไม่ต้องวิจารณ์กิริยาจิตใดๆ ที่เกิดขึ้น เพียงกำหนดรู้แล้วละไปเท่านั้น เป็นไปเช่นนี้เรื่อยๆ ก็จะค่อยๆ เข้าใจกิริยาหรือพฤติแห่งจิตได้เอง (จิตปรุงกิเลส หรือ กิเลสปรุงจิต)<O:p
    ทำความเข้าใจในอารมณ์ความนึกคิด สังเกตอารมณ์ทั้งสาม คือ ราคะ โทสะ โมหะ<O:p

    ๓. อย่าส่งจิตออกนอก กำหนดรู้อยู่ในอารมณ์เดียวเท่านั้น อย่าให้ซัดส่ายไปในอารมณ์ภายนอก เมื่อจิตเผลอคิดไปก็ให้ตั้งสติระลึกถึงฐานกำหนดเดิม รักษาสัมปชัญญะให้สมบูรณ์อยู่เสมอ (รูปนิมิตให้ยกไว้ ส่วนนามนิมิตทั้งหลายอย่าได้ใส่ใจกับมัน)
    ระวัง จิตไม่ให้คิดเรื่องภายนอก สังเกตการหวั่นไหวของจิตตามอารมณ์ที่รับมาทางอายตนะ ๖<O:p

    ๔. จงทำญาณให้เห็นจิต เหมือนดั่งตาเห็นรูปเมื่อเราสังเกตกิริยาจิตไปเรื่อย ๆ จนเข้าใจถึงเหตุปัจจัยของอารมณ์ความนึกคิดต่างๆ ได้แล้ว จิตก็จะค่อย ๆ รู้เท่าทันการเกิดของอารมณ์ต่างๆ อารมณ์ความนึกคิดต่างๆ ก็จะค่อยๆ ดับไปเรื่อยๆ จนจิตว่างจากอารมณ์ แล้วจิตก็จะเป็นอิสระ อยู่ต่างหากจากเวทนาของรูปกาย อยู่ที่ฐานกำหนดเดิมนั่นเอง การเห็นนี้เป็นการเห็นด้วยปัญญาจักษุ<O:p

    คิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิดจึงรู้ แต่ต้องอาศัยการคิด<O:p
    ๕. แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิตเมื่อสามารถเข้าใจได้ว่า จิต กับ กายอยู่คนละส่วนได้แล้ว ให้ดูที่จิตต่อไปว่า ยังมีอะไรหลงเหลืออยู่ที่ฐานที่กำหนด (จิต) อีกหรือไม่ พยายามให้สติสังเกตดูที่ จิตทำความสงบอยู่ในจิตไปเรื่อยๆ จนสามารถเข้าใจ พฤติของจิต ได้อย่างละเอียดลออตามขั้นตอน เข้าใจในความเป็นเหตุเป็นผลกันว่า เกิดจากความคิดมันออกไปจากจิตนี่เอง ไปหาปรุงหาแต่ง หาก่อ หาเกิด ไม่มีที่สิ้นสุด มันเป็นมายาหลอกลวงให้คนหลง แล้วจิตก็จะเพิกถอนสิ่งที่มีอยู่ในจิตไปเรื่อยๆ จนหมด หมายถึงเจริญจิตจนสามารถเพิกรูปปรมาณูวิญญาณที่เล็กที่สุดภายในจิตได้
    คำว่า แยกรูปถอด นั้น หมายความถึงแยกรูปวิญญาณนั่นเอง<O:p

    ๖. เหตุต้องละ ผลต้องละ เมื่อเจริญจิตจนปราศจากความคิดปรุงแต่งได้แล้ว (ว่าง) ก็ไม่ ต้องอิงอาศัยกับกฎเกณฑ์แห่งความเป็นเหตุเป็นผลใด ๆ ทั้งสิ้น จิตก็อยู่เหนือภาวะแห่งคลองความคิดนึกต่างๆ อยู่เป็นอิสระ ปราศจากสิ่งใดๆ ครอบงำอำพรางทั้งสิ้น
    เรียกว่า"สมุจเฉทธรรมทั้งปวง"<O:p

    ๗. ใช้หนี้--ก็หมด พ้นเหตุเกิด เมื่อเพิกรูปปรมาณูที่เล็กที่สุดเสียได้ กรรมชั่วที่ประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับรูปปรมาณูนั้น ก็หมดโอกาสที่จะให้ผลต่อไปในเบื้องหน้า การเพิ่มหนี้ก็เป็นอันสะดุดหยุดลง เหตุปัจจัยภายนอกภายในที่มากระทบ ก็เป็นสักแต่ว่ามากระทบ ไม่มีผลสืบเนื่องต่อไป หนี้กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ตั้งแต่ชาติแรก ก็เป็นอันได้รับการชดใช้หมดสิ้น หมดเรื่องหมดราวหมดพันธะผูกพันที่จะต้องเกิดมาใช้หนี้กรรมกันอีก เพราะ กรรมชั่วอันเป็นเหตุให้ต้องเกิดอีก ไม่อาจให้ผลต่อไปได้ เรียกว่า "พ้นเหตุเกิด"<O:p

    ๘. ผู้ที่ตรัสรู้แล้ว เขาไม่พูดหรอกว่า เขารู้อะไร เมื่อธรรมทั้งหลายได้ถูกถ่ายทอดไปแล้ว สิ่งที่เรียกว่า ธรรม จะเป็นธรรมไปได้อย่างไร สิ่งที่ว่า ไม่มีธรรม นั่นแหละมันเป็นธรรมของมันในตัว (ผู้รู้น่ะจริง แต่สิ่งที่รู้ทั้งหลายนั้นไม่จริง)
    เมื่อจิตว่างจาก"พฤติ"ต่างๆ แล้ว จิตก็จะถึง ความว่างที่แท้จริง ไม่มีอะไรให้สังเกตได้อีกต่อไป จึงทราบได้ว่าแท้ที่จริงแล้ว จิตนั้นไม่มีรูปร่าง มันรวมอยู่กับความว่าง ในความว่างนั้น ไม่มีขอบเขต ไม่มีประมาณ ซาบซึมอยู่ในสิ่งทุกๆ สิ่ง และจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน เมื่อจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน และเป็นความว่าง ก็ย่อมไม่มีอะไรที่จะให้อะไรหรือให้ใครรู้ถึง ไม่มีความเป็นอะไรจะไปรู้สภาวะของอะไร ไม่มีสภาวะของใครจะไปรู้ความมีความเป็นของอะไร<O:p
    เมื่อเจริญจิตจนเข้าถึงสภาวะเดิมแท้ของมันได้ดังนี้แล้ว"จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง" จิตก็จะอยู่เหนือสภาวะสมมุติบัญญัติทั้งปวง เหนือความมีความเป็นทั้งปวง มันอยู่เหนือคำพูด และพ้นไปจากการกล่าวอ้างใดๆ ทั้งสิ้น เป็นธรรมชาติอันบริสุทธิ์และสว่าง รวมกันเข้ากับความว่างอันบริสุทธิ์และสว่างของ จักรวาลเดิมเข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า "นิพพาน"<O:p
    โดยปกติ คำสอนธรรมะของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล นั้น เป็นแบบ"ปริศนาธรรม" มิใช่เป็นการบรรยายธรรม ฉะนั้น คำสอนของท่านจึงสั้น จำกัดในความหมายของธรรม เพื่อไม่ให้เฝือหรือฟุ่มเฟือยมากนัก เพราะจะทำให้สับสน เมื่อผู้ใดเป็นผู้ปฏิบัติธรรม เขาย่อมเข้าใจได้เองว่า กิริยาอาการของจิตที่เกิดขึ้นนั้นมีมากมายหลายอย่าง ยากที่จะอธิบายให้ได้หมด ด้วยเหตุนั้น หลวงปู่ท่านจึงใช้คำว่า "พฤติของจิต" แทนกิริยาทั้งหลายเหล่านั้น
    คำว่า"ดูจิต อย่าส่งจิตออกนอก ทำญาณให้เห็นจิต"เหล่านี้ ย่อมมีความหมายครอบคลุมไปทั้งหมดตลอดองค์ภาวนา แต่เพื่ออธิบายให้เป็นขั้นตอน จึงจัดเรียงให้ดูง่ายเท่านั้น หาได้จัดเรียงไปตามลำดับกระแสการเจริญจิตแต่อย่างใดไม่
    ท่านผู้มีจิตศรัทธาในทางปฏิบัติ เมื่อเจริญจิตภาวนาตามคำสอนแล้ว ตามธรรมดาการปฏิบัติในแนวนี้ ผู้ปฏิบัติจะค่อยๆ มีความรู้ความเข้าใจได้ด้วยตนเองเป็นลำดับๆ ไป เพราะมีการใส่ใจสังเกตและกำหนดรู้"พฤติแห่งจิต" อยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าหากเกิดปัญหาในระหว่างการปฏิบัติ ควรรีบเข้าหาครูบาอาจารย์ฝ่ายวิปัสสนาธุระโดยเร็ว หากประมาทแล้วอาจผิดพลาดเป็นปัญหาตามมาภายหลัง เพราะคำว่า"มรรคปฏิปทา" นั้น จะต้องอยู่ใน"มรรคจิต" เท่านั้น มิใช่มรรคภายนอกต่างๆ นานาเลย
    การเจริญจิตเข้าสู่ที่สุดแห่งทุกข์นั้น จะต้องถึงพร้อมด้วย วิสุทธิศีล วิสุทธิธรรม พร้อมทั้ง ๓ ทวาร คือ กาย วาจา ใจ จึงจะยังกิจให้ลุล่วงถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้<O:p
    <O:p
    ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซท์
    http://www.geocities.com/pudule/dharma1.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มกราคม 2009
  5. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    911
    ค่าพลัง:
    +4,285
    เคล็ดลับสำคัญในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในชีวิตประจำวัน
    ได้มาจากคำสอนของหลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม สุดยอดพระวิปัสสนาจารย์ของเมืองไทยในปัจจุบันนี้

    จุดสำคัญๆในร่างกาย 4 แห่ง ที่ใช้กำหนด คือ ลิ้นปี่-กลางหน้าผาก-ลูกกระเดือก-ใต้สะดือ 2 นิ้ว!!!

    1.เห็นหนอ-กำหนดที่กลางหน้าผาก(จุดส่งกระแสจิตออกไปภายนอก และใช้กำหนดดูนิสัยใจคอคนก็ได้

    2.โกรธหนอ-กำหนดที่ลิ้นปี่(กลางอกที่เป็นร่องบุ๋มๆ ที่ชีพจรหัวใจเต้น) เมื่อดีใจ-เสียใจ โดยหายใจลึกๆยาวๆจากจมูกถึงสะดือ

    3.รู้หนอ-กำหนดลมหายใจลึกๆยาวๆจากปลายจมูกลงไปถึงลิ้นปี่ เมื่อจิตว้าเหว่ โคลงเคลง ฟุ้งซ่าน สับสน หรือหากนั่งโงกไปโงกมา กำหนด"รู้หนอ"หายโงกเลย!!!

    4.คิดหนอ-กำหนดที่ลิ้นปี่ หายใจลึกๆยาวๆจากจมูกถึงสะดือ เมื่อคิดอะไรไม่ออก ไม่รู้จะทำอะไร ตัดสินใจอย่างไรดี?

    5.ปวดหนอ-เจ็บหนอ แสบหนอ (เวทนา-ความรู้สึก) เอาจิตปักที่เกิดเวทนานั้นๆ เอาสติตามดูว่ามันปวด เจ็บ แสบแค่ไหน มากน้อยเพียงใด หายไปเมื่อใด และเกิดขึ้นอีกเมื่อใด อย่างไรตามดูไปเรื่อยๆ อย่าเปลี่ยนอิริยาบถเด็ดขาด ตายให้ตาย!!! เวทนาสำคัญมาก "เพราะเวทนาเป็นตัวระลึกชาติ"ได้ทั้งในชาตินี้และชาติก่อนๆ

    6.ง่วงหนอ-ง่วง อยากนอน สำรวมจิตไว้ที่หน้าผาก รับรองหายง่วงทันที!!!

    7.นอนไม่หลับ-หายใจยาวๆ กลืนน้ำลาย เอาจิตไว้ที่ลูกกระเดือก ตั้งสติไว้ที่ลูกกระเดือก(จุดหลับอยู่ใต้ลูกกระเดือก)จะหลับผล็อยไปเลย เป็นการหลับแบบมีสติ พลิกตัวกี่ครั้ง? ยุงกัดที่ใด?ก็รู้หมด

    8.โงกหนอ-รู้หนอ-กำหนดที่"ลิ้นปี่" ถ้าไม่หาย กดจิตไว้ที่ใต้สะดือ 2 นิ้ว กดลงไปลึกๆ กำหนด"รู้หนอ" หายโงกทันที!!!

    9.ตื่นโดยไม่ต้องใช้นาฬิกา-ก่อนหลับ กำหนดจิตว่าจะตื่นเวลาใด แล้วนอนหลับ ถ้าไม่หลับให้กำหนดให้หลับที่"ลูกกระเดือก"ตามข้อ 7 พร้อมจิตสั่ง"หลับหนอ"ไปด้วยก็ได้ จะตื่นตรงเวลาที่ต้องการ ใหม่ๆอาจคลาดเคลื่อนไปบ้างเล็กน้อย

    10.นอนสมาธิ-เวลานอนทำสมาธิดีมาก เพราะร่างกายกำลังต้องการพักผ่อน จะนอนหลับแบบมีสติ ได้บุญไปด้วยเพราะมีศีล-สมาธิ-ปัญญาพร้อม ให้กำหนดดูท้องพอง-ยุบ หายใจเข้า-ท้องพอง หายใจออก-ท้องยุบ หรือดูลมหายใจเข้า-ออก ดูไปเรื่อยๆ แล้วให้พยายามจับให้ได้ว่า เราหลับไปตอนท้องพอง หรือท้องยุบ หายใจเข้าหรือหรือหายใจออก ถ้าจับได้เมื่อไร(น้อยครั้งมากที่จะจับได้) แสดงว่าจิตก้าวหน้าไปมากแล้ว

    ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซท์พุทธญาณ แสงทิพย์
    http://weblog.manager.co.th/publichome/SangthipHolyLight/

    BuddhayanSangthip@www.com


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR vAlign=top align=left><TD class=NormalText>[​IMG] </TD><TD width=5></TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  6. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    [​IMG]
    ก า ล เ ว ล า
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

    [​IMG] ส่งปีเก่า รับปีใหม่ อาศัยกาลเวลาที่มากับความเปลี่ยนแปลง


    เรื่องการส่งปีเก่าต้อนรับปีใหม่นั้นก็ได้เคยพูดมาหลายครั้งแล้วว่า

    ความจริงนั้นเป็นเรื่องสมมติ
    คือกาลเวลามันก็หมุนเวียนเรื่อย ๆ ไปตามปกติธรรมดา
    เราก็มาแบ่งจัดเป็นเดือน ๆ มีการกำหนดว่าเดือนนั้นมีเท่านั้นเท่านี้วัน อะไรทำนองนี้
    โดยคำนวณจากจำนวนวันทั้งหมด ๓๖๕ หรือ ๓๖๖ วัน ที่โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์


    การที่จะแบ่งเป็นเดือนนั้นเดือนนี้ มีเท่านั้นเท่านี้วันอะไรนี่ เป็นเรื่องของสมมติ
    ซึ่งเราจะตัดตอนเอาตรงไหนเป็นปีใหม่ก็ได้


    เพราะฉะนั้น เรื่องของโลกสมมตินี้จึงไม่เหมือนกัน


    [​IMG]
    บางแห่งและบางยุคบางสมัยก็ถือวันขึ้นปีใหม่ที่จุดหนึ่ง
    พอเปลี่ยนไปยุคสมัยหนึ่งหรือเปลี่ยนถิ่นฐานไป ก็มีประเพณีต่างออกไป
    มีการกำหนดวันส่งปีเก่าวันขึ้นปีใหม่อีกตอนหนึ่ง


    ดังจะเห็นว่ามีการส่งปีเก่า-ขึ้นปีใหม่แบบไทยเดิม
    หรือแบบสงกรานต์ก็มี หรือแบบเคยถือเดือนอ้ายก็มี
    ตลอดกระทั่งว่า แบบจีนก็มีตรุษจีน แบบฝรั่งก็มีตรุษฝรั่งอะไรทำนองนี้

    แล้วก็มาถือเป็นสากล ว่าวันที่ ๑ มกราคม
    อย่างที่เราจะจัดตามที่ถือกันในบัดนี้ รวมแล้วก็คือเป็นเรื่องของกาลเวลา
    http://www.agalico.com/board/showthread.php?t=25822
     
  7. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    [​IMG]
    ความทุกข์...
    ทุกข์เพราะความพลัดพราก
    ทุกข์เพราะการสูญเสีย
    ในขณะที่ยังยึดเกาะอยู่
    กับสิ่งที่ต้องพลัดพราก
    กับสิ่งที่ต้องสูญเสีย
    เป็นทุกข์ที่มืดมน
    ปิดบังปัญญา
    ที่จะเพ่งมองให้ถึงความเป็นจริง
    แห่งความพลัดพราก
    แห่งความสูญเสียนั้น
    วันที่ฉันทุกข์
    เหตุจากความพลัดพรากจากแม่
    ที่กำลังใกล้เข้ามา
    "หมอบอกว่า
    เลือดออกในสมองมาก
    แก้ไขอะไรไม่ได้
    รอเวลาแล้วกันนะ"

    คำพูดของหมอ
    ทำให้ฉันต้องนับเวลาถอยหลัง
    สำหรับวันที่เหลืออยู่ของแม่
    เพียงน้อยนิด
    การได้เห็น
    ร่างแม่นอนนิ่ง
    ไม่รับรู้แล้ว
    และ
    กับทุกวันวันละหลายเวลา
    ที่พยาบาลมาดูดเสมหะ
    ทุกครั้งที่ดูดเสมหะ
    ร่างที่เหมือนไม่มีความรู้สึกรับรู้ของแม่
    จะเกร็งตัวแอ่นสูงขึ้นมาจากที่นอน
    น้ำตาซึมออกมาจากตาสองข้างที่หลับสนิท
    หน้าตาของแม่
    แสดงความเจ็บปวดเป็นที่สุด
    ออกมาให้เห็น

    สำหรับพยาบาล
    ร่างแม่
    ก็คงจะเหมือนอะไรที่ไม่มีความหมาย
    แต่สำหรับฉัน
    แม่คือหัวใจ
    เมื่อหัวใจต้องกระทบกับความเจ็บปวด
    ฉันย่อมรับรู้และมีความรู้สึกไม่แตกต่างจากนั้น

    ดังนั้น
    ภาพเหล่านั้น
    จึงบาดลึกเข้าไปในใจฉัน
    แต่ละครั้ง แต่ละครั้ง แต่ละครั้ง
    เป็นทุกข์ที่บีดอัดอยู่ตลอดเวลา
    และทวีเพิ่มขึ้น
    จนปิดบังธรรมที่ฉันควรจะยกขึ้นมาทบทวน
    เพื่อให้ยอมรับในทุกข์นี้
    ซึ่งเป็นทุกข์ที่หมดหนทางแก้ไขเยียวยาแล้ว
    หนึ่งวัน
    สองวัน
    สามวัน
    วันที่สาม
    ทุกข์นั้นท่วมท้นจนฉันไม่อาจจะรับไว้ได้
    เดินออกมา
    ร้องไห้ ร้องไห้ ร้องไห้ และร้องไห้
    อย่างไม่อับอายผู้ใดเลย
    ฉันพยายามที่จะแหวกความมืดของทุกข์ออกมา
    เพื่อค้นหาหลักธรรมสักข้อ
    มาสอนตัวเอง
    แต่ก็
    ทำไม่ได้
    ระลึกถึงเพื่อนธรรมท่านหนึ่ง
    จึงโทรศัพท์ถึงท่าน
    ด้วยเสียงร้องไห้สะอึกสะอื้น
    ท่านถามด้วยเมตตาว่า

    "เป็นอะไร ?
    ตั้งสติให้มั่นก่อนนะ
    เล่าไปซิ
    เป็นอะไร ?"

    ฉันเล่าเรื่องราวทั้งหมดให้ท่านทราบ
    และขอร้องท่าน
    ได้โปรดให้ธรรมฉันสักข้อหนึ่งเถิดเพื่อที่ฉันจะได้มองเห็นว่า
    ข้างหน้า....
    ต่อไปนั้น
    ฉันควรทำเช่นไร ?

    "สังขิตเตน ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา"
    เป็นธรรมที่เพื่อนธรรมท่านนั้น
    ให้มา
    ฉันกราบขอบพระคุณท่าน
    ติดต่อเรียกน้องชายมาเฝ้าแม่
    แล้วกลับบ้านเข้าห้องพระ
    นั่งสมาธิ
    ทบทวนธรรมข้อนั้น
    ข้อที่เพื่อนธรรมท่านนั้นให้มา
    ตอนนั้น
    ฉันไม่อาจจะหาความหมายของธรรมนั้นได้
    เพื่อนธรรมก็มิได้บอกความหมายไว้ให้
    ในขณะที่ฉันตัดกังวล
    นั่งสมาธิ
    ทบทวนอยู่กับธรรมะที่ว่า...

    "สังขิตเตน ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา"
    อยู่นั้น
    ฉันได้คำสอนขึ้นมาว่า
    หนึ่ง
    ให้หาหนทางทำให้ตนเอง
    ตัดอุปาทานในแม่
    ให้ได้
    สอง
    ให้หาหนทางทำให้แม่
    ตัดอุปาทาน
    ในลูกหลานเหลนทรัพย์สินเงินทองบ้านเรือน
    ให้ได้

    เป็นคำสอนคำเตือน
    เป็นธรรมะที่ทำให้ฉันสว่างขึ้น
    สว่างในการที่จะดูแลตนเองและดูแลแม่
    ไปพร้อม ๆ กัน
    จากนั้น
    เบื้องแรก
    ฉันพยายามทำใจของฉัน
    ให้ยอมรับกับการพลัดพรากครั้งนี้
    ยอมรับความจริงแห่งชีวิตว่า

    ชีวิตที่เกิดมาชีวิตหนึ่ง
    ย่อมมีการดับไปเป็นธรรมดา
    และเป็นการดับไปในวัยที่สมควรแล้ว
    จะยึดแม่ไว้
    ก็ใช่ว่าจะยึดได้ตลอดกาลเสียเมื่อไหร่
    เกิด - ดับ
    เป็นไปตามธรรมดาของโลก

    เมื่อพอทำใจได้บ้างแล้ว
    ก็เริ่มมองหาทางว่า
    ในระหว่างนี้
    จะทำอย่างไรหนอ ?
    ให้แม่รับรู้ได้ว่า
    แม่ควรตัดอุปาทาน
    ในลูกหลานเหลนทรัพย์สินเงินทองบ้านเรือน
    เคยรับรู้ว่า
    ผู้ที่อยู่ในช่วงวิกฤติเช่นนี้
    ธาตุหูจะดีมาก
    แม้ตาและร่างกายจะไม่รับรู้ใด ๆ
    แต่หูจะรับรู้ได้ชัดเจนมาก
    ความคิดหนึ่งผุดขึ้นมา
    การให้แม่ได้ฟัง
    เป็นหนทางเดียว
    เพราะขณะที่ฟัง
    ผู้ฟังจะจับยึดและหน่วงสิ่งที่ฟังไว้ที่จิต
    จะให้แม่ฟังอะไรหนอ ?
    ที่ฟังแล้ว
    จิตของแม่จะหน่วงอยู่ในสิ่งที่ฟังนั้น
    จนไม่สามารถออกไปจับยึดติด
    ในลูกหลานเหลนทรัพย์สินเงินทองและบ้านเรือน

    ที่สุด
    ตัดสินใจให้แม่
    ได้ฟังในสิ่งที่แม่ท่องบ่นอยู่เป็นประจำจนขึ้นใจ
    "บทสวดมนต์คาถาพระชินบัญชร"

    คิดว่า
    เมื่อหูของแม่ จิตของแม่
    จับอยู่ที่เสียงสวดมนต์นี้ได้
    จิตแม่จะนิ่งอยู่ที่จุดเดียวนี้
    จิตแม่ก็จะไม่รับอุปาทานต่าง ๆ เหล่านั้น
    เข้ามาเป็นอารมณ์
    นอกจากนั้น
    เมื่อจบบทสวดมนต์
    ฉันกระซิบที่หูแม่ว่า
    "แม่เห็นหลวงพ่อไหม ?
    แม่กำหนดภาพหลวงพ่อไว้ที่กลางหน้าอกนะ
    แม่เห็นภาพหลวงพ่อชัดแล้วใช่ไหม ?
    แม่จับชายจีวรของหลวงพ่อไว้
    จับให้แน่น ๆ นะ
    แล้วเดินตามหลวงพ่อไปเลย
    เดินไปเลย
    ไม่ต้องหันหลังกลับมานะ
    ไม่ต้องหันหลังกลับมานะ"
    หนึ่งวันกับหนึ่งคืน
    ที่แม่ได้ยินเสียงสวดมนต์
    และเสียงฉัน

    เวลาสุดท้ายมาถึง
    เท้าแม่เย็นมือแม่เย็น
    ไล่เข้ามาเรื่อย ๆ
    หน้าแม่คล้ำลงและผิวหน้าเหี่ยวย่นเห็นได้ชัด
    ปากเริ่มซีดขาว
    ไร้สีเลือดขึ้นเรื่อย ๆ
    มุมปากกระตุก
    จังหวะการกระตุกช้าลง ช้าลง ช้าลง และช้าลง
    ที่สุด
    ทุกอย่างเงียบสงบ
    ผิวหน้าแม่ตึงขึ้น
    และขาวผ่องใสขึ้นมาอย่างน่าประหลาดใจ

    สิ้นสุดการเดินทางของแม่
    ทุกข์ในชาตินี้ภพนี้ของแม่
    สิ้นสุดลงแล้ว

    ขอเพียงการเดินทางในภพใหม่
    และภพต่อ ๆ ไปของแม่
    มีเพียงเส้นทางเดียวเท่านั้น
    เป็นเส้นทางที่จะน้อมนำแม่
    เข้าสู่กระแสพระนิพพาน
    เพื่อความสิ้นทุกข์
    อย่างถาวร
    สาธุ
    สาธุ
    สาธุ.

    บทความนี้
    สำหรับแม่
    ในเดือนที่ให้กำเนิดลูก
    (มิถุนายน ๒๕๕๑)
    ซึ่งแม่จะบอกเสมอว่า
    "ลูกทุกคน
    แม่ตั้งใจให้เกิดมานะ."
    http://www.agalico.com/board/showthread.php?t=25811
     
  8. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    [​IMG]

    ในชีวิตที่ยุ่งเหยิงวุ่นวาย เรามักจะรู้สึกรีบร้อนด้วยเรื่องบีบคั้นเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

    เรามักจะต้องรีบเสมอแต่เราจะรีบร้อนไปไหนเล่า?
    นี่เป็นคำถามที่เราไม่ค่อยถามตัวเอง การเดินจงกรมก็เหมือนกับการเดินเล่น เราจะไม่กำหนดเป้าหมายแน่นอนที่จะต้องไปถึง หรือกำหนดเวลาที่จะไปถึง

    เป้าหมายของการเดินจงกรม ก็คือการเดินจงกรม จุดสำคัญก็คือ การเดินโดยไม่มีการไปถึง

    การเดินจงกรมไม่ใช่วิธีการ แต่คือเป้าหมาย แต่ละก้าวคือชีวิต แต่ละก้าวคือความสุขสันติ นี่คือเหตุผลที่เราไม่ต้องเดินอย่างเร่งร้อน นี่คือเหตุผลของการก้าวเดินอย่างเนิบช้า

    เดิน แต่อย่าเอาแต่เดิน เดิน อย่าให้ความมุ่งหมายใดผลักเราไปข้างหน้า ด้วยวิธีนี้ เมื่อเราเดิน จงเดินพร้อมกับรอยยิ้มน้อยๆ บนใบหน้า
    http://www.agalico.com/board/showthread.php?t=25833

    ภาพประกอบ หนูน้อยอนุบาล กำลังยกหนอ..ย่างหนอ..เหยียบหนอ.
    http://images.google.co.th/imgres?i...%A3%E0%B8%A1&start=60&ndsp=20&um=1&hl=th&sa=N
     
  9. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    "พระพุทธเจ้าเป็นคนไทย"...ยืนยันโดยองค์หลวงปู่มั่น

    เรื่องมีอยู่ว่า สมัยที่ผู้เล่าอยู่กับท่านพระอาจารย์ที่บ้านหนองผือ มีชาวกรุงเทพมหานครไปกราบนมัสการ ถวายทานฟังเทศน์ และได้นำกระดาษห่อธูปมีเครื่องหมายการค้า รูปตราพระพุทธเจ้า (บัดนี้รูปตรานั้นไม่ปรากฏ) ตกหล่นที่บันไดกุฏิท่าน พอได้เวลาผู้เล่าขึ้นไปทำข้อวัตร ปฏิบัติท่านตามปกติ พบเข้าเลยเก็บขึ้นไป พอท่านฯเหลือบมาเห็น ถามว่า
     
  10. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    911
    ค่าพลัง:
    +4,285
    พระนางพญา โรงพยาบาลสงฆ์ปี2500

    <?xml:namespace prefix = v ns = "urn:schemas-microsoft-com:vml" /><v:shapetype class=inlineimg id=_x0000_t75 title="Tongue out" border="0" alt="" src="images/smilies/tongue-smile.gif" stroked="f" filled="f" path="m@4@5l@4@11@9@11@9@5xe" o:p</v:shapetype>
    [​IMG]

    <v:stroke joinstyle="miter"></v:stroke><v:formulas><v:f eqn="if lineDrawn pixelLineWidth 0"></v:f><v:f eqn="sum @0 1 0"></v:f><v:f eqn="sum 0 0 @1"></v:f><v:f eqn="prod @2 1 2"></v:f><v:f eqn="prod @3 21600 pixelWidth"></v:f><v:f eqn="prod @3 21600 pixelHeight"></v:f><v:f eqn="sum @0 0 1"></v:f><v:f eqn="prod @6 1 2"></v:f><v:f eqn="prod @7 21600 pixelWidth"></v:f><v:f eqn="sum @8 21600 0"></v:f><v:f eqn="prod @7 21600 pixelHeight"></v:f><v:f eqn="sum @10 21600 0"></v:f></v:formulas><V:p


    <v:shapetype class=inlineimg id=_x0000_t75 title="Tongue out" border="0" alt="" src="images/smilies/tongue-smile.gif" stroked="f" filled="f" path="m@4@5l@4@11@9@11@9@5xe" o:p</v:shapetype>

    เมื่อพ.ศ.2500คณะกรรมการแพทย์ได้มีศรัทธาบำเพ็ญพุทธบูชา โดยจัดสร้างพระพุทธรูปชนิดต่างๆรวมทั้งพระเครื่องอีกหลายชนิด เป็นพิธีอันมโหฬารถูกต้องตามพุทธเวทย์และครบถ้วนตามพิธีกรรมทุกประการ มีวัตถุประสงค์โดยย่อดังนี้<O:p
    1.เพื่อเป็นอนุสรณ์ในมงคลสมัยที่พระพุทธศาสนายุกาลจำเริญมาได้ ครบ2500ปี<O:p
    2.เพื่อได้รวบรวมทุนทรัพย์จากผู้มีจิตศรัทธาสร้างพระพุทธรูปต่างๆในครั้งนี้สำหรับตั้งเป็นทุนเพื่อวินิจฉัยค้นคว้าเกี่ยวกับวิชาการของแพทย์เพื่อเป็นประโยชน์แก่มนุษย์ชนทั่วไป
    <O:p
    โดยจะกล่าวแต่ที่เป็นพระเครื่องเท่านั้นดังมีใจความดังนี้<O:p
    นายแพทย์ผู้อำนวยการโรงพยาบาล ในแต่ละจังหวัดได้ขอผงศักดิ์สิทธิ์จากพระอาจารย์ที่ได้ลงอักขระในแผ่นโลหะสำหรับหล่อพระพุทธรูปโดยขอจังหวัดละ10องค์ แต่ได้ผงมาจากพระอาจารย์ทั้งหมด709องค์ รวมทั้งดินจากสังเวชนียสถานทั้ง4แห่ง.นอกจากนี้ยังได้ผงชินและผงศักดิ์สิทธิ์เก่าแก่อีกมาก หลังจากนั้นนำผงมาประสมรวม ณพระวิหารโรงพยาบาลสงฆ์ จากนั้นนำผงมาประสมใส่ในพระเครื่องดินเผาโดยคลุกเคล้าอย่างละเอียดทั่วทุกองค์พระที่สร้าง.คณะกรรมการได้สร้างพระเครื่องดินเผารวม3ชนิด คือ<O:p
    1.พระพุทธชินราช สำหรับประจำตัวชาย<O:p
    2.พระนางพญา สำหรับประจำตัวหญิง<O:p
    3.พระรอดสำหรับประจำตัวเด็ก
    <O:p
    โดยได้แยกทำ2แห่งคือ<O:p
    1.พระพุทธชินราชและพระนางพญา<O:p
    ประกอบพิธีสร้างที่พระวิหารหลวง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุจ.พิษณุโลก ประกอบพิธีสร้าง เมื่อ30และ31มกราคม2500. ในวันที่30ม.ค.2500ได้มีการนำพิมพ์พระและผงศักดิ์สิทธิ์มาตั้งไว้ภายในพระวิหารวงสายสิญจน์จากองค์พระหลวงพ่อพระพุทธชินราช ลงล้อมสิ่งของเครื่องพิธีทั้งปวงโดยเริ่มจุดเทียนชัยเวลา19.00น.มีเจ้าคณะจังหวัดเป็นประธานเจริญพระพุทธมนตร์และมีพระสงฆ์นั่งปรกบริกรรมปลุกเศกทั้งคืนโดยมีหลวงพ่อไซ้วัดช่องลมจ.อุตรดิตถ์เป็นประธาน.รุ่งขึ้นเวลาเช้าได้ปฐมฤกษ์ท่านเจ้าคุณพระธรรมวโรดมวัดพระเชตุพน ได้พิมพ์พระเป็นปฐมฤกษ์ พระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถาแล้วดับเทียนชัยแล้วทำการพิมพ์พระจนได้ครบจำนวน<O:p
    2.พระรอด<O:p
    ประกอบพิธีสร้างที่ พระวิหารหลวง วัดพระธาตุหริภุญชัยจ.ลำพูน<O:p></O:p>
    ได้ประกอบพิธีสร้างในวันที่31ม.ค.2500โดยเริ่มตั้งแต่เวลา08.05น.ได้มีการเจริญพระพุทธมนตร์และสวดเบิกตามแบบเมืองเหนือโดยประกอบพิธีการสร้างพระรอดแบบเก่าแต่ครั้งก่อนเสร็จพิธีแล้วได้นำผงศักดิ์สิทธิ์คลุกเคล้าลงในดินที่จะพิมพ์เป็นองค์พระ<O:p
    หลังจากนั้นจึงนำพระทั้งหมดมาเข้าพิธีพุทธาภิเษกและฉลองที่โรงพยาบาลสงฆ์ รวมเป็น3ครั้งด้วยกัน โดยทำการฉลองในวันที่
    1-2 พ.ค. 2500<O:p
    <O:p

    โดยมีพระอาจารย์ดังนี้<O:p

    1.สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสระเกศ<O:p
    2.ท่านเจ้าคุณราชโมลี วัดระฆังโฆสิตาราม<O:p
    3.หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม<O:p
    4.ท่านเจ้าคุณปภัสสรมุนี วัดมิ่งเมือง เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด<O:p
    5.หลวงพ่อเมี้ยน วัดพระเชตุพน<O:p
    6.หลวงพ่อหลาย วัดราษฎร์บำรุง ชลบุรี<O:p
    7.ท่านเจ้าคุณโสภณสมาจาร วัดหนองบัว กาญจนบุรี<O:p
    8.หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง นนทบุรี<O:p
    9.หลวงพ่อสุก วัดโตนดหลวง เพชรบุรี<O:p
    10.ท่านพระครูปลัดบุญรอด นครศรีธรรมราช<O:p
    11.หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี<O:p
    12.หลวงพ่อ เต๋ วัดสามง่าม นครปฐม<O:p
    13.หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อยุธยา<O:p
    14.หลวงพ่อแสวง วัดกลางสวน สมุทรปราการ<O:p
    15.หลวงพ่อบุญธรรม วัดพระปฐมเจดีย์ นครปฐม<O:p
    16.ท่านพระครูไพโรจน์วุฒิคุณ วัดโพธินิมิต ธนบุรี<O:p
    17.ท่านพระครูวิริยกิติ วัดประดู่ฉิมพลี ธนบุรี<O:p
    18.ท่านพระครูปลัดเกียรติ วัดมหาธาตุ พระนคร<O:p
    19. พระครูกัลยาณวิสุทธิคุณ วัดดอนยานนาวาพระนคร<O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 123.jpg
      123.jpg
      ขนาดไฟล์:
      28.3 KB
      เปิดดู:
      731
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มกราคม 2009
  11. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    911
    ค่าพลัง:
    +4,285
    [​IMG]

    [​IMG]

    ต้องขออภัยด้วยครับที่ตอบข้อข้องใจช้าไปหน่อย ลองอ่านข้อความด้านล่างนี้ดูนะครับจะได้ความเข้าใจและข้อสรุปที่ถูกต้องและตรงไปตรงมาและตรงกับที่ท่าน อ.ประถม ได้เคยบอกไว้

    จากบันทึกของท่านพระมหารัชชมังคลาจารย์
    (เทศ นิเทสโก) ดังกล่าวข้างต้น อาจที่จะสรุป
    เพื่อความเข้าใจง่ายที่สุดก็คือ

    <TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=bot2 bgColor=#f9f9f9 height=30>
    พระมงคลมหาลาภ




    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    1. พระผงมงคลมหาลาภนี้ สร้างในงานฉลอง"พระพุทโธภาสชินราชจอมมุนี" หรือ"พระพุทโธใหญ่"ที่คุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติมสร้างถวายเป็นพระประธานประจำพระอุโบสถ วัดสารนาถธรรมาราม อ.แกลง จ.ระยอง ของท่านเจ้าคุณพระมหารัชชมังคลาจารย์ อดีตเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ในสมัยนั้น ท่ามกลางเหตุปาฏิหาริย์มากมาย(จะได้กล่าวต่อไปในภายหลัง)

    2.ผงโสฬสมหาพรหมที่นำมาสร้างพระผงมงคลมหาลาภนี้ เกิดจากการใช้วิชาพรหมศาสตร์อัญเชิญพรหมอริยะชั้นโสฬส(สุทธาวาส) และพระผู้เป็นเจ้าของทั้ง 3 ศาสนา(พราหมณ์,คริสต์,อิสลาม) ซึ่งพระอริยคุณาธาร(ปุสโส เส็ง) และท่านผู้รู้ต่างๆกล่าวตรงกันว่า แท้จริงแล้ว "พระเจ้า"หรือ"พระผู้เป็นเจ้า"เหล่านี้ ก็เป็น"พระเถระ"ของ"พุทธ" ที่เดินทางไปเผยแพร่ศาสนาตามสถานที่ต่างๆ แล้วคนรุ่นต่อมามาตีความดัดแปลงไปตามความเชื่อส่วนตัวของศาสดานั้นๆ จนเคลื่อนจากหลักเดิมไป

    3. ผง"โสฬสมหาพรหม" (ความจริงน่าเรียกว่า ผง"มหาพรหมอริยะโพธิสัตว์ผู้เป็นเจ้า" จะตรงและครอบคลุมกว่า) ไม่ได้เป็นการลบผงทีละกระดาน (ไม่ทันกิน) เลยเล่นเอาผงปูนมาเสกทีละเป็นกระสอบๆ โดยเชิญ"พระเบื้องบน"ลงประทับทำ ซึ่งก็ได้ผลเป็นที่น่าอัศจรรย์ ที่แม้แต่ท่านพ่อลี วัดอโศการามเมื่อสัมผัสผงนี้แล้ว ก็ถึงกับสะดุ้งออกวาจาอุทานว่า "เฮ็ดหยังแรงจังซี่" ( อะไรจะพลังแรงได้ขนาดนี้??) ก่อนที่จะขอผงพระมงคลมหาลาภหักๆไปผสมทำพระใบโพธิ์ 25 ศตวรรษที่วัดอโศการามในเวลาต่อมา รวมถึงอาจารย์ประถม อาจสาครเอง ก็ได้เอาผงพระ"มงคลมหาลาภ"หักๆนี้ไปทำพระผงรุ่น"โสฬสมหาพรหม" 2505 ของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่จนดังระเบิดในเวลาต่อมาด้วย สมกับท่านอาจารย์ประถมบันทึกไว้เองว่า " รวบรวมผงหักป่นไว้ได้สักโหลใหญ่ พระที่ผมสร้างจึงขลัง"เพราะได้ผงหลักจาก"พระมงคลมหาลาภ"นี่เอง (ใครไม่มีพระผงโสฬสมหาพรหมของหลวงปู่ทิมที่หายากและแพงจัด หากมีพระผงมงคลมหาลาภนี้ไว้ ก็คง"นอนหลับฝันหวาน"ไป 3 วัน 7 วันได้แล้วนะครับ.....

    4.และเมื่อเอาผง"โสฬสมหาพรหม"หรือผง"มหาพรหมอริยะโพธิสัตว์ผู้เป็นเจ้า"มากดพิมพ์สร้างพระ"มงคลมหาลาภ"แล้ว ก็ได้ประกอบพิธีทางพรหมศาสตร์อัญเชิญ"พรหมโสฬส"และ"พระผู้เป็นเจ้า" ลงเสกซ้ำอีกครั้ง พร้อมด้วยพระเกจิคณาจารย์ชื่อดังยุค 2500 อย่างมหาศาล (มีหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ,หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอมฯลฯ )ที่วัดสัมพันธวงศ์เป็นประเดิมก่อน แล้วจึงอัญเชิญไปประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกพร้อมกับ"พระพุทโธภาสชินราชจอมมุนี"(พระพุทโธใหญ่) ที่วัดสารนาถธรรมาราม ระยองอีก 18 วัน 18 คืน โดยพระคณาจารย์สายหลวงปู่มั่น 100 กว่าองค์ (มีพระอาจารย์สิงห์ ขันยาคโม,หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯเป็นอาทิ) พร้อมกันนี้ ก็ยังได้นิมนต์พระสายตะวันออก,ระยองมาร่วมนั่งปรกด้วย (มี หลวงพ่อโต วัดเขาบ่อทอง, หลวงปู่ทิม อิสริโก วัดละหารไร่ เป็นต้น ฯลฯ) โดยมี"ท่านพ่อลี วัดอโศการาม" เป็น"เจ้าพิธี"ฝ่ายสงฆ์ และมี "คุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม" วัดอาวุธฯ เป็นทั้ง"เจ้าพิธี"และ"ประธานดำเนินการสร้าง/เสก" ทุกขั้นตอนเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มกราคม 2009
  12. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    [​IMG]

    [​IMG]

    จากรูปขออนุญาตพิจารณารูปพระปิดตาโสฬสมหาพรหมนี้นะครับ ดูแล้วพระนี้เป็นพระ ชุบรักมากกว่า คลุกรัก พระปิดตารุ่นนี้เป็นเนื้อคลุกรักเนื้อพระจะเสมอกันไม่สีอ่อนแก่ และ ดูจากรักยังสดมีความใหม่อยู่มาก พระนี้สร้างตั้งแต่ปี 03 จนถึงปัจจุบันเกือบ 50ปีผ่านมาแล้วรักต้องแห้งและที่สำคัญ รักที่ผสมลงไปในเนื้อพระ อาจารย์ประถมบอกว่าส่วนใหญ่เป็นรักดำ และผมมีพระรุ่นนี้ที่ได้จากอาจารย์ประถมมาเกือบยี่สิบปีแล้วก็เป็นรักดำครับ

    ประการสุดท้ายลองกำหนดดูด้วยความสามารถอันน้อยนิดและยังไม่เที่ยงก็รับรู้ว่าไม่ใช่หลวงปู่ทิมครับ

    ขออภัยที่ตอบตรงๆ ความรู้ผมมีน้อยอาจผิดจากความจริงก็ได้นะครับ อย่าเพิ่งเชื่อ ไว้พิจารณาก็แล้วกัน ยังไงก็กราบขมาหลวงปู่ทิมไว้ที่นี้ด้วยถ้าเป็นพระที่ท่านเสกครับ
     
  13. channarong_wo

    channarong_wo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    408
    ค่าพลัง:
    +1,510
    สวัสดีปีใหม่ครับ....พี่น้องทุกท่าน
    วันนี้ในเวลา 15.02 น. ได้ส่งปัจจัย ที่ได้รวบรวมประจำวันเพื่อร่วมทำบุญประจำเดือน
    ในนามของ คุณชาญณวิทย์และครอบครัว.......1000 บาท
    เพื่อนๆในที่ทำงาน Engineering...830 บาท
    ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านด้วยนะครับ โดยเฉพาะคณะทำงานทั้งหมด ที่ทำให้ผมได้ร่วมสร้างบุญใหญ่ในทุกๆเดือน
     
  14. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097

    ตามที่ได้แจ้งไว้ข้างต้นว่าในวันที่ 25 มกราคม 2552 จะเป็นวันสำหรับจัดกิจกรรมถวายสังฆทานอาหารและบริจาคปัจจัยให้ รพ.สงฆ์ ซึ่งเป็นกิจกรรมประจำเดือน มกราคม 2552 นี้แล้วนั้น เนื่องจากในวันดังกล่าวคณะกรรมการ และรองประธานที่ปรึกษา ทุนนิธิฯได้หารือกันแล้วว่า หลายท่านอาจจะไม่สะดวกในการไปร่วมงานได้ เนื่องจากอาจจะติดภารกิจในเทศกาลตรุษจีน ดังนั้น คณะกรรมการฯ และรองฯ จึงมีความเห็นตรงกันว่า จะเลื่อนการจัดกิจกรรมในเดือนมกราคม นี้ จากเดิมวันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม 2552 เข้ามาเป็นวันอาทิตย์ที่ 18 มกราคม 2552 นี้ แทน จึงขอประชาสัมพันธ์ให้ทราบไว้ในเบื้องต้นครับ ส่วนรายละเอียดต่างๆ จะได้แจ้งให้ทราบในภายหลังต่อไป


    พันวฤทธิ์
    7/1/52
     
  15. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    <CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER> </CENTER>
    นำภาพพระปิดตาโสฬสมหาพรหมที่ได้รับจากอาจารย์ประถมเมื่อยี่สิบปีมาแล้ว
     
  16. aries2947

    aries2947 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    2,031
    ค่าพลัง:
    +11,622
    <meta http-equiv="Content-Type" content="text/html; charset=utf-8"><meta name="ProgId" content="Word.Document"><meta name="Generator" content="Microsoft Word 12"><meta name="Originator" content="Microsoft Word 12"><link rel="File-List" href="file:///C:%5CDOCUME%7E1%5CPipAt%5CLOCALS%7E1%5CTemp%5Cmsohtmlclip1%5C01%5Cclip_filelist.xml"><link rel="themeData" href="file:///C:%5CDOCUME%7E1%5CPipAt%5CLOCALS%7E1%5CTemp%5Cmsohtmlclip1%5C01%5Cclip_themedata.thmx"><link rel="colorSchemeMapping" href="file:///C:%5CDOCUME%7E1%5CPipAt%5CLOCALS%7E1%5CTemp%5Cmsohtmlclip1%5C01%5Cclip_colorschememapping.xml"><!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:TrackMoves/> <w:TrackFormatting/> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:DoNotPromoteQF/> <w:LidThemeOther>EN-US</w:LidThemeOther> <w:LidThemeAsian>X-NONE</w:LidThemeAsian> <w:LidThemeComplexScript>TH</w:LidThemeComplexScript> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> <w:SplitPgBreakAndParaMark/> <w:DontVertAlignCellWithSp/> <w:DontBreakConstrainedForcedTables/> <w:DontVertAlignInTxbx/> <w:Word11KerningPairs/> <w:CachedColBalance/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> <m:mathPr> <m:mathFont m:val="Cambria Math"/> <m:brkBin m:val="before"/> <m:brkBinSub m:val="--"/> <m:smallFrac m:val="off"/> <m:dispDef/> <m:lMargin m:val="0"/> <m:rMargin m:val="0"/> <m:defJc m:val="centerGroup"/> <m:wrapIndent m:val="1440"/> <m:intLim m:val="subSup"/> <m:naryLim m:val="undOvr"/> </m:mathPr></w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" DefUnhideWhenUsed="true" DefSemiHidden="true" DefQFormat="false" DefPriority="99" LatentStyleCount="267"> <w:LsdException Locked="false" Priority="0" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Normal"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="heading 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 7"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 8"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 9"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 7"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 8"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 9"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="35" QFormat="true" Name="caption"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="10" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Title"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="1" Name="Default Paragraph Font"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="11" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtitle"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="22" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Strong"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="20" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="59" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Table Grid"/> <w:LsdException Locked="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Placeholder Text"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="1" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="No Spacing"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Revision"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="34" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="List Paragraph"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="29" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Quote"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="30" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Quote"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="19" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtle Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="21" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="31" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtle Reference"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="32" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Reference"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="33" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Book Title"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="37" Name="Bibliography"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" QFormat="true" Name="TOC Heading"/> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><style> <!-- /* Font Definitions */ @font-face {font-family:"Cordia New"; panose-1:2 11 3 4 2 2 2 2 2 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:swiss; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} @font-face {font-family:"Cambria Math"; panose-1:2 4 5 3 5 4 6 3 2 4; mso-font-charset:1; mso-generic-font-family:roman; mso-font-format:eek:ther; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:0 0 0 0 0 0;} @font-face {font-family:Tahoma; panose-1:2 11 6 4 3 5 4 4 2 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:swiss; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:1627400839 -2147483648 8 0 66047 0;} @font-face {font-family:CordiaUPC; panose-1:2 11 3 4 2 2 2 2 2 4; mso-font-charset:222; mso-generic-font-family:swiss; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65536 0;} @font-face {font-family:AngsanaUPC; panose-1:2 2 6 3 5 4 5 2 3 4; mso-font-charset:222; mso-generic-font-family:roman; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65536 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-unhide:no; mso-style-qformat:yes; mso-style-parent:""; margin:0cm; margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:12.0pt; mso-bidi-font-size:16.0pt; font-family:"Times New Roman","serif"; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:AngsanaUPC;} .MsoChpDefault {mso-style-type:export-only; mso-default-props:yes; font-size:10.0pt; mso-ansi-font-size:10.0pt; mso-bidi-font-size:10.0pt; mso-bidi-font-family:"Angsana New";} @page Section1 {size:612.0pt 792.0pt; margin:72.0pt 72.0pt 72.0pt 72.0pt; mso-header-margin:36.0pt; mso-footer-margin:36.0pt; mso-paper-source:0;} div.Section1 {page:Section1;} --> </style><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-priority:99; mso-style-qformat:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:11.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Calibri","sans-serif"; mso-ascii-font-family:Calibri; mso-ascii-theme-font:minor-latin; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-theme-font:minor-fareast; mso-hansi-font-family:Calibri; mso-hansi-theme-font:minor-latin; mso-bidi-font-family:"Cordia New"; mso-bidi-theme-font:minor-bidi;} </style> <![endif]-->
    [FONT=&quot]จิตคือพุทธะ[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT]
    [FONT=&quot]พระพุทธเจ้าทั้งปวง และสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากเป็นเพียง จิตหนึ่ง นอกจากจิตหนึ่งแล้ว มิได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่ง ซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งที่มิได้เกิดขึ้น และไม่อาจถูกทำลายได้เลย[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT]
    [FONT=&quot]มันไม่ใช่เป็นของมีสีเขียว หรือสีเหลือง และ ไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ ไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งที่มีการตั้งอยู่ และไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่า เป็นของใหม่หรือเก่า ไม่ใช่ของยาวหรือของสั้น ของใหญ่หรือของเล็ก[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT]
    [FONT=&quot]ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ และ เหนือการเปรียบเทียบทั้งหมด[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT]
    [FONT=&quot]จิตหนึ่งนี้ เป็นสิ่งที่เราเห็นตำตาเราอยู่แท้ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจะหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้ เป็นเหมือนกับความว่าง อันปราศจากขอบทุกๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจจะหยั่ง หรือวัดได้[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT]
    [FONT=&quot]จิตหนึ่ง [/FONT][FONT=&quot]นี้เท่านั้นเป็น พุทธะ ไม่มีความแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเอง ทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำเช่นนั้น เท่ากับ การใช้สิ่งที่เป็นพุทธะ ให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะได้พยายามจนสุดความสามารถของเขา อยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็มๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT]
    [FONT=&quot]เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเอง เพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหา เสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่า จิต นี้คือ พุทธะ นั่นเอง และ พุทธะ คือ สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายทั้งปวง นั่นเอง สิ่งๆ นี้ เมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ และเมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ [/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT]
    [FONT=&quot]สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วน เหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด เมื่อเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุกกรณีอยู่แล้ว คือเป็น จิตหนึ่ง หรือ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งที่สมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่างๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไหร่โอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉยๆ ก็แล้วกัน[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT]
    [FONT=&quot]ถ้าเราไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่า จิต นั้นคือ พุทธะ ก็ดี และถ้าเรายัง ยึดมั่นถือมั่น ต่อรูปธรรมต่างๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่างๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่างๆ ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ และไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับ ทาง ทางโน้นเสียแล้ว[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT]
    [FONT=&quot]จิตหนึ่ง [/FONT][FONT=&quot]นั่นแหละคือ พุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างหรือปรากฏการณ์ใดๆ เลย ถ้าเราใช้จิตของเราให้ปรุงแต่งความคิดฝันต่างๆ นั้น เท่ากับเราทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรม ซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT]
    [FONT=&quot]การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดที่คืบหน้าทีละขั้นๆ แต่พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังที่กล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้นๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเป็นเพียงแต่ ตื่น และ ลืมตา ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และ ไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกเลย[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT]
    [FONT=&quot]จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสน และความไม่ดีต่างๆ ดังจะเห็นได้ ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อดวงอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้น ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT]
    [FONT=&quot]ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออก ซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลที่เกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งเท่านั้น และไม่มีสิ่งใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะ จิตนั้นเอง คือ พุทธะ[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT]
    [FONT=&quot]เมื่อพวกเราที่เป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้นไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ จิตนี้ พวกเราจะปิดบัง จิต นั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง พวกเราจะเที่ยวแสวงหา พุทธะ นอกตัวเราเอง พวกเรายังคงยึดมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่างๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย และไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดที่กล่าวนั้นแต่อย่างใด[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT]
    [FONT=&quot]เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับไม้หรือก้อนหิน คือภายในนั้นปราศจาก การเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใดๆ สิ่งนี้ไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรม หรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้เลย[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT]
    [FONT=&quot]จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย และสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น พวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT]
    [FONT=&quot]หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ จิต [/FONT][FONT=&quot]นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ จิตนั่นแหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วมันก็ไม่ใช่จิต จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่จะกล่าวว่าจิตนั้นมิใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมายถึง สิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว และ พฤติของจิต ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT]
    [FONT=&quot]จิตนี้คือ พุทธโยนิ อันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน[/FONT][FONT=&quot] สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น และไม่แตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิดๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT]
    [FONT=&quot]ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นคือ ความว่าง เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT]
    [FONT=&quot]จงเข้าไปสู่สิ่งสิ่งนี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่ง สิ่งนั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีก[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT]
    [FONT=&quot]จิตคือพุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด[/FONT][FONT=&quot] นับแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นสิ่งที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานและแมลงต่างๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่ง มันย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุกๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ พุทธะ อยู่ตลอดเวลา[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT]
    [FONT=&quot]ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองได้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนี้เท่านั้น ก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT]
    [FONT=&quot]จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบเงียบอยู่จริงๆ เว้นขาดจากการคิดนึก ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิต แม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริงๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง[/FONT][FONT=&quot] แล้วเราก็จะพบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไรๆ ที่ไหน แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือไม่มีความเป็นอยู่ แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ เพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือกำเนิด ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้นและไม่อาจถูกทำลายได้เลย[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT]
    [FONT=&quot]ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่างๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่นึกคิด หรือสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT]
    [FONT=&quot]ยิ่งไปกว่านั้น แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไร ในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT]
    [FONT=&quot]มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น เป็นของว่างเปล่า และมูลธาตุทั้ง ๔ ของรูปกายนั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิต จริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมาหรืออาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆ ในส่วนลึกจริงๆ ของมันทั้งหมด[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT]
    [FONT=&quot]จิตของเรากับสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งๆ เดียวกัน[/FONT][FONT=&quot] ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริงๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเขิง และเป็นสิ่งเดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น เราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้น นี่แหละคือหลักธรรมที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT]
    [FONT=&quot]สัมมาสัมโพธิ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ[/FONT][FONT=&quot] ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT]
    [FONT=&quot]ปรัชญา คือความรู้แจ้ง ความรู้แจ้ง คือจิตต้นกำเนิดดั้งเดิม ซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ว่า ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำ คือจิตและวัตถุเป็นสิ่งๆ เดียวกัน นั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้ง และลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT]
    [FONT=&quot]สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น ไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยอวิชชา และไม่ได้รับกลับมา ในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตัตถตา ในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฐิ มันเต็มอยู่ในความว่าง[/FONT][FONT=&quot] เป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนี้แล้ว อารมณ์ต่างๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกความว่างนั้นได้อย่างไร[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT]
    [FONT=&quot]โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่างๆ แห่งการกินเนื้อที่ คือปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนั้น ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันเป็นสิ่งซึ่งสามารถจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริงๆ เราต้อง แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เหตุต้องละ ผลต้องละ ใช้หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT]
    [FONT=&quot]สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมี รูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิม ก็คือ ความว่างของจักรวาล เข้าคู่กันเป็น เหตุเกิด ตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูป ที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนาม ที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และ เกิดกาลเวลาขึ้น คือรูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่างคั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT]
    [FONT=&quot]เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุ สสารมีชีวิต และไม่มีชีวิตจึงต้องเปลี่ยนแปลง เป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับ สืบต่อทุกขณะจิตไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันได้[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT]
    [FONT=&quot]จิต วิญญาณ ก็เกิดมาจาก รูปนามของจักรวาล[/FONT][FONT=&quot] มันเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามที่มีชีวิต จากรูปนามที่มีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกัน คงเหลือแต่ นามว่างที่ปราศจากรูป นี้ เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT]
    [FONT=&quot]ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาลนั้น เป็นเหตุเกิด รูปนามพิภพ ต่างๆ ตลอดจนดวงดาวนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่างๆ เป็นเหตุให้เกิด รูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิด รูปนามสัตว์ เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT]
    [FONT=&quot]ความจริง รูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาล และ(เกิด) การเปลี่ยนแปลง บางอย่างเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT]
    [FONT=&quot]เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็น เหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT]
    [FONT=&quot]สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และ(มี)ความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุ ปัจจัย ภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วมาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็น สุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้นไว้ได้หมดสิ้น[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT]
    [FONT=&quot]เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ ได้ตายลง มี กรรมชั่ว อย่างเดียว เป็น เหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้อง ใช้หนี้ กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอม ใช้หนี้เกิด กันไม่ มันกลับ เพิ่มหนี้ ให้เป็น เหตุเกิด ทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมียเกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน ๕ กองนี้ เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติ[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT]
    [FONT=&quot]ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป ๕ กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น รูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า รูปวิญญาณ หรือจะเรียกว่า รูปถอด ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ ยืนนานกว่า รูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจาก นิพพาน เท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT]
    [FONT=&quot]ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กองนั้นรวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมี สำนักงานจิต ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมกันเป็นที่ทำงานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหนๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษา สุขุมรูป รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT]
    [FONT=&quot]เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้นๆ ก็หมดไปตามอายุขัย (ของ) ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้นๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่างๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฏฏะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT]
    [FONT=&quot]ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเอง[/FONT][FONT=&quot] นี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า กรรมชั่ว-เหตุเกิด จะหมดไป ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม-รูปวิญญาณ ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุกๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT]
    [FONT=&quot]เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสร้างชีวิตพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ทรงเสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ[/FONT][FONT=&quot],[/FONT][FONT=&quot] ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ คือสิ้นทั้งกิเลสและชีวิต) เป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบโดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็เจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนือ อรูปฌาน[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT]
    [FONT=&quot]ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่างๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่ายๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง ได้ทรงพากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดา (เป็น) ผู้ที่มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสว่า มันเป็นทุกข์[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT]
    [FONT=&quot]นี่แหละ กระบวนการกระทำจิตตน ให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผย แจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่สภาวะต้น คือ ปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้าย เสด็จดับขันธ์ต่างๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์แห่งชีวิต และร่างกายนั้น เพราะต้องดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT]
    [FONT=&quot]พระองค์เริ่มดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที อันจะส่งผลให้ก่อ วิภวตัณหา ได้ชั้นหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงได้เลื่อนเข้าสู่ ทุติยฌาน แล้วจึงดับ สัญญาขันธ์ เลื่อนเข้าสู่ ตติยฌาน เมื่อ พระองค์ดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนเข้าสู่ จตุตถฌาน คงมีแต่ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแห่งชีวิต นั้นแล คือลักษณาการแห่งขั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT]
    [FONT=&quot]เมื่อพระองค์ดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ใหญ่สุดท้ายที่มีทั้งสิ้นแล้ว แล้วก็มาดับ เวทนาขันธ์ อันเป็น จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ที่ในจิตส่วนในคือ ภวังคจิต เสียก่อน แล้วจึงได้ออกจาก จตุตถฌาน พร้อมกับมาดับ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ สุดท้ายจริงๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT]
    [FONT=&quot]นี่ พระองค์เข้าสู่นิพพานอย่างจริงๆ อยู่ตรงนี้ พระองค์ไม่ได้เข้าสู่นิพพานในฌานสมาบัติอะไรที่ไหนดอก เมื่อพระองค์ออกจากจตุตถฌานแล้ว จิตขันธ์หรือนามขันธ์ก็ดับพร้อม ไม่มีอะไรเหลือ นั่นคือ พระองค์ ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตปกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ถูกภาวะอื่นใดที่มาครอบงำอำพราง ให้หลงใหลใดๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT]
    [FONT=&quot]เมื่อ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแท้ๆ จริงๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ทั้งปวงใดๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่ รูปขันธ์ อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิตหากสิ้นนามเสียแล้ว ก็คือแท่ง คือก้อนวัตถุหนึ่ง เท่านั้นเอง[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT]
    [FONT=&quot]นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยจริงโดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย[/FONT]


    จาก
    http://www.dhammajak.net/dhamma/pudule/
    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT]
     
  17. aries2947

    aries2947 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    2,031
    ค่าพลัง:
    +11,622
    [​IMG]

    วิปัสสนูปกิเลส
    โดย หลวงปู่ดูลย์ อตุโล


    ในการปฏิบัติพระกัมมัฏฐานนั้น ในบางครั้งก็มีอุปสรรคขัดข้องต่างๆ รวมทั้งเกิดการหลงผิดบ้างก็มี ซึ่งหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ก็ได้ให้ความช่วยเหลือแนะนำและช่วยแก้ไขแก่ลูกศิษย์ลูกหาได้ทันท่วงที ดังตัวอย่างที่ยกมานี้

    มีอยู่ครั้งหนึ่งเกิดปัญหาเกี่ยวกับ “วิปัสสนูปกิเลส” ซึ่งหลวงปู่เคยอธิบายเรื่องนี้ว่า เมื่อได้ทำสมาธิจนสมาธิเกิดขึ้น และได้รับความสุขอันเกิดแต่ความสงบพอสมควรแล้ว จิตก็ค่อยๆ หยั่งลงสู่สมาธิส่วนลึก นักปฏิบัติบางคนจะพบอุปสรรคสำคัญอย่างหนึ่ง เรียกว่า วิปัสสนูปกิเลส ซึ่งมี ๑๖ อย่าง มี “โอภาส” คือ แสงสว่าง และ “อธิโมกข์” คือ ความน้อมใจเชื่อ เป็นต้น

    พลังแห่งโอภาสนั้นสามารถนำจิตไปสู่สภาวะต่างๆได้อย่างน่าพิศวง เช่น จิตอยากรู้อยากเห็นอะไรก็ได้เห็นได้รู้ในสิ่งนั้น แม้แต่กระทั่งได้กราบได้สนทนากับพระพุทธเจ้าก็มี

    เจ้าวิปัสสนูปกิเลสนี้มีอิทธิพลและอำนาจ จะทำให้เกิดความน้อมใจเชื่ออย่างรุนแรง โดยไม่รู้เท่าทันว่าเป็นการสำคัญผิด ซึ่งเป็นการสำคัญผิดอย่างสนิทสนมแนบเนียน และเกิดความภูมิใจในตัวเองอยู่เงียบๆ บางคน ถึงกับสำคัญตนว่าเป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งด้วยซ้ำ บางรายสำคัญผิด อย่างมีจิตกำเริบยโสโอหังถึงขนาดที่เรียกว่าเป็นบ้าวิกลจริตก็มี

    อย่างไรก็ตาม วิปัสสนูปกิเลสไม่ได้เป็นการวิกลจริต แม้บางครั้งจะมีอาการคล้ายคลึงคนบ้าก็ตาม แต่คงเป็นเพียงสติวิกล อัน เนื่องจากการที่จิตตั้งมั่นอยู่กับอารมณ์ภายนอก แล้วสติตามควบคุมไม่ทัน ไม่ได้สัด ไม่ได้ส่วนกันเท่านั้น ถ้าสติตั้งไว้ได้สัดส่วนกัน จิตก็จะสงบเป็นสมาธิลึกลงไปอีก โดยยังคงมีสิ่งอันเป็นภายนอกเป็นอารมณ์อยู่นั่นเอง

    เช่นเดียวกับการฝึกสมาธิของพวกฤาษีชีไพรที่ใช้วิธีเพ่งกสิณ เพื่อให้เกิดสมาธิ ในขณะแห่งสมาธิเช่นนี้ เราเรียกอารมณ์นั้นว่า ปฏิภาคนิมิต และเมื่อเพิกอารมณ์นั้นออกโดยการย้อนกลับไปสู่ “ผู้เห็นนิมิต” นั้น นั่นคือย้อนสู่ต้นตอคือ จิต นั่นเอง จิตก็จะบรรลุถึงสมาธิขั้นอัปปนาสมาธิ อันเป็นสมาธิจิตขั้นสูงสุดได้ทันที

    ในทางปฏิบัติที่มั่นคงและปลอดภัยนั้น หลวงปู่ดูลย์ท่านแนะนำว่า “การ ปฏิบัติแบบจิตเห็นจิต เป็นแนวทางปฏิบัติที่ลัดสั้น และบรรลุเป้าหมายได้ฉับพลัน ก้าวล่วงภยันตรายได้สิ้นเชิง ทันทีที่กำหนดจิตใจได้ถูกต้อง แม้เพียงเริ่มต้น ผู้ปฏิบัติก็จะเกิดความรู้ความเข้าใจได้ด้วยตนเองเป็นลำดับๆ ไป โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยครูบาอาจารย์อีก”

    ในประวัติของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล พอจะเห็นตัวอย่างของวิปัสสนูปกิเลส ๒ ตัวอย่าง คือกรณีของท่านหลวงตาพวง และกรณีของท่านพระอาจารย์เสร็จ จะขอยกกรณีของหลวงตาพวงมาเล่าเพื่อประดับความรู้ต่อไป

    ศิษย์ของหลวงปู่ชื่อ “หลวงตาพวง” ได้มาบวชตอนวัยชรา นับเป็นผู้บุกเบิก สำนักปฏิบัติธรรมบนเขาพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์

    หลวงตาพวงได้ทุ่มเทชีวิตจิตใจให้แก่การประพฤติปฏิบัติ เพราะท่านสำนึก ตนว่ามาบวชเมื่อแก่ มีเวลาแห่งชีวิตเหลือน้อย จึงเร่งความเพียรตลอดวัน ตลอดคืน

    พอเริ่มได้ผล เกิดความสงบ ก็เผชิญกับวิปัสสนูปกิเลสอย่างร้ายแรง เกิดความสำคัญผิดเชื่อมั่นอย่างสนิทว่าตนเองได้บรรลุอรหัตผล เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง เป็นผู้สำเร็จผู้เปี่ยมด้วยบุญญาธิการ ได้เล็งญาณ (คิดเอง) ไปจนทั่วสากลโลก เห็นว่าไม่มีใครรู้หรือเข้าถึงธรรมเสมอด้วยตน ดังนั้น หลวงตาพวงจึงได้เดินทางด้วยเท้าเปล่ามาจากเขาพนมรุ้ง เดินทางข้ามจังหวัดมาไม่ต่ำกว่า ๘๐ กิโลเมตร มาจนถึงวัดบูรพาราม หวังจะแสดงธรรมให้หลวงปู่ฟัง

    หลวงตาพวงมาถึงวัดบูรพาราม เวลา ๖ ทุ่มกว่า กุฏิทุกหลังปิดประตูหน้าต่าง หมดแล้ว พระเณรจำวัดกันหมด หลวงปู่ก็เข้าห้องไปแล้ว ท่านก็มาร้องเรียก หลวงปู่ด้วยเสียงอันดัง

    ตอนนั้นท่านเจ้าคุณพระโพธินันทมุนียังเป็นสามเณรอยู่ ได้ยินเสียงเรียกดังลั่นว่า “หลวงพ่อ หลวงพ่อ หลวงพ่อดูลย์.....” ก็จำได้ว่าเป็นเสียงของหลวงตาพวง จึงลุกไปเปิดประตูรับ

    สังเกตดูอากัปกิริยาก็ไม่เห็นมีอะไรผิดแปลก เพียงแต่รู้สึกแปลกใจว่า ตาม ธรรมดาท่านหลวงตาพวงมีความเคารพอ่อนน้อมต่อหลวงปู่ พูดเสียงเบา ไม่บังอาจระบุชื่อของท่าน แต่คืนนี้ค่อนข้างจะพูดเสียงดังและระบุชื่อด้วยว่า

    “หลวงตาดูลย์ ออกมาเดี๋ยวนี้ พระอรหันต์มาแล้ว”

    ครั้นเมื่อหลวงปู่ออกมาแล้ว ตามธรรมดาหลวงตาพวงจะต้องกราบหลวงปู่ แต่คราวนี้ไม่กราบ แถมยังต่อว่าเสียอีก “อ้าว ! ไม่เห็นกราบท่านผู้สำเร็จมาแล้ว ไม่เห็นกราบ”

    เข้าใจว่าหลวงปู่ท่านคงทราบโดยตลอดในทันทีนั้นว่าอะไรเป็นอะไร ท่านจึงนั่งเฉย ไม่พูดอะไรแม้แต่คำเดียว ปล่อยให้หลวงตาพวงพูดไปเรื่อยๆ

    หลวงตาพวงสำทับว่า “รู้ไหมว่าเดี๋ยวนี้ผู้สำเร็จอุบัติขึ้นแล้ว ที่มานี่ก็ด้วย เมตตา ต้องการจะมาโปรด ต้องการจะมาชี้แจงแสดงธรรมปฏิบัติให้เข้าใจ”

    หลวงปู่ยังคงวางเฉย ปล่อยให้ท่านพูดไปเป็นชั่วโมงทีเดียว สำหรับพวกเรา พระเณรที่ไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจ ก็พากันตกอกตกใจกันใหญ่ ด้วยไม่รู้ว่ามันเป็นอะไรกันแน่

    ครั้นปล่อยให้หลวงตาพวงพูดนานพอสมควรแล้ว หลวงปู่ก็ซักถามเป็นเชิง คล้อยตามเอาใจว่า “ที่ว่าอย่างนั้นๆ เป็นอย่างไร และหมายความว่าอย่างไร” หลวงตาพวงก็ตอบตะกุกตะกัก ผิดๆ ถูกๆ แต่ก็อุตส่าห์ตอบ

    เมื่อหลวงปู่เห็นว่าอาการรุนแรงมากเช่นนั้น จึงสั่งว่า “เออ เณรพาหลวงตาไปพักผ่อนที่โบสถ์ ไปโน่น ที่พระอุโบสถ”

    ท่านเณร (เจ้าคุณพระโพธินันทมุนี) ก็พาหลวงตาไปที่โบสถ์ ไปเรียกพระ องค์นั้นองค์นี้ที่ท่านรู้จักให้ลุกขึ้นมาฟังเทศน์ฟังธรรม รบกวนพระเณรตลอดทั้งคืน

    หลวงปู่พยายามแก้ไขหลวงตาพวงด้วยอุบายวิธีต่างๆ หลอกล่อให้หลวงตา นั่งสมาธิ ให้นั่งสงบแล้วย้อนจิตมาดูที่ต้นตอ มิให้จิตแล่นไปข้างหน้า จนกระทั่ง สองวันก็แล้ว สามวันก็แล้วไม่สำเร็จ

    หลวงปู่จึงใช้อีกวิธีหนึ่ง ซึ่งคงเป็นวิธีของท่านเอง ด้วยการพูดแรงให้โกรธ หลายครั้งก็ไม่ได้ผล ผ่านมาอีกหลายวันก็ยังสงบลงไม่ได้ หลวงปู่เลยพูดให้โกรธด้วยการด่าว่า “เออ ! สัตว์นรก สัตว์นรก ไปเดี๋ยวนี้ ออกจากกุฏิเดี๋ยวนี้”

    ทำให้หลวงตาพวงโกรธอย่างแรง ลุกพรวดพราดขึ้นไปหยิบเอาบาตร จีวร และกลดของท่านลงจากกุฏิ มุ่งหน้าไปวัดป่าโยธาประสิทธิ์ซึ่งอยู่ห่างจาก วัดบูรพารามไปทางใต้ประมาณ ๓ - ๔ กิโลเมตร ซึ่งขณะนั้นท่านเจ้าคุณพระราชสุทธาจารย์ (โชติ คุณสมฺปนฺโน) ยังพำนักอยู่ที่นั่น

    ที่เข้าใจว่าหลวงตาพวงโกรธนั้น เพราะเห็นท่านมือไม้สั่น หยิบของผิดๆ ถูกๆ คว้าเอาไต้ (สำหรับจุดไฟ) ดุ้นหนึ่ง นึกว่าเป็นกลด และยังเปล่งวาจาออกมา อย่างน่าขำว่า “เออ ! กูจะไปเดี๋ยวนี้ หลวงตาดูลย์ไม่ใช่แม่กู” เสร็จแล้วก็คว้า เอาบาตร จีวร และหยิบเอาไต้ดุ้นยาวขึ้นแบกไว้บนบ่า คงนึกว่าเป็นคันกลด ของท่าน แถมคว้าเอาไม้กวาดไปด้ามหนึ่งด้วย ไม่รู้เอาไปทำไม

    ครั้นหลวงตาพวงไปถึงวัดป่า ทันทีที่ย่างเท้าเข้าสู่บริเวณวัดป่านี่เอง อาการ ของจิตที่น้อมไปติดมั่นอยู่กับอารมณ์ภายนอก โดยปราศจากการควบคุมของ สติที่ได้สัดส่วนกันก็แตกทำลายลง เพราะถูกกระแทกด้วยอานุภาพแห่งความ โกรธ อันเป็นอารมณ์ที่รุนแรงกว่า ยังสติสัมปชัญญะให้บังเกิดขึ้น ระลึกย้อนกลับ ได้ว่า ตนเองได้ทำอะไรลงไปบ้าง ผิดถูกอย่างไร สำคัญตนผิดอย่างไร และได้ พูดวาจาไม่สมควรอย่างไรออกมาบ้าง

    เมื่อหลวงตาพวงได้สติสำนึกแล้ว ก็ได้เข้าพบท่านเจ้าคุณพระราชสุทธาจารย์ และเล่าเรื่องต่างๆ ให้ท่านทราบ ท่านเจ้าคุณฯ ก็ได้ช่วยแนะนำและเตือนสติ เพิ่มเติมอีก ทำให้หลวงตาพวงได้สติคืนมาอย่างสมบูรณ์ และบังเกิดความ ละอายใจเป็นอย่างยิ่ง

    หลังจากได้พักผ่อนเป็นเวลาพอสมควรแล้ว ก็ย้อนกลับมาขอขมาหลวงปู่ กราบเรียนว่าท่านจำคำพูดและการกระทำทุกอย่างได้หมด และรู้สึกละอายใจมากที่ตนทำอย่างนั้น

    หลวงปู่ได้แนะทางปฏิบัติให้ และบอกว่า “สิ่ง ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ ว่าถึงประโยชน์ ก็มีประโยชน์เหมือนกัน มีส่วนดีอยู่เหมือนกัน คือจะได้เป็นบรรทัดฐาน เป็นเครื่องนำสติมิให้ตกสู่ภาวะนี้อีก เป็นแนวทางตรงที่จะได้นำมาประกอบ การปฏิบัติให้ดำเนินไปอย่างมั่นคงในแนวทางตรงต่อไป”



    .........................................................................

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    คัดลอกบางตอนมาจาก...หนังสือสมาธิ
    เรื่องการเจริญสมาธิด้วยการกำหนดรู้และละอารมณ์
    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=225
     
  18. aries2947

    aries2947 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    2,031
    ค่าพลัง:
    +11,622
    [FONT=&quot]อ่านฉบับเต็มได้ที่นี่ครับ เรื่องของบุญครับเอามาฝากครับ
    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=1188

    บุญแท้จริงไม่ติดโลก[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]โดย หลวงปู่ดุลย์ อตุโล[/FONT][FONT=&quot]

    [/FONT][FONT=&quot]ธรรมสภา รวบรวมและเรียบเรียง[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]๖[/FONT]
    [FONT=&quot]เล่าเรื่องบุญ - บาปจากอรรถกถาธรรมบท[/FONT]


    [FONT=&quot]เรื่องนางลาชเทวธิดา[/FONT]

    [FONT=&quot]หญิงถวายข้าวตอกแก่พระมหากัสสป[/FONT]

    [FONT=&quot]ความพิสดารว่า[/FONT] [FONT=&quot]ท่านมหากัสสป อยู่ที่ปิปผลิคูหา เข้าฌาณแล้ว ออกในวันที่ ๗[/FONT] [FONT=&quot]ตรวจดูที่เที่ยวไปเพื่อภิกษาด้วยทิพยจักษุ เห็นหญิงรักษานาข้าวสาลีคนหนึ่ง[/FONT] [FONT=&quot]เด็ดรวงข้าวสาลีทำข้าวตอกอยู่ พิจารณาว่า [/FONT]“[FONT=&quot]หญิงนี้มีศรัทธาหรือไม่หนอ [/FONT]?” [FONT=&quot]รู้ว่า [/FONT]“[FONT=&quot]มีศรัทธา[/FONT]” [FONT=&quot]ใคร่ครวญว่า [/FONT]“[FONT=&quot]เธอจักอาจ[/FONT] [FONT=&quot]เพื่อทำการสงเคราะห์แก่เราหรือไม่หนอ [/FONT]?” [FONT=&quot]รู้ว่า [/FONT]“[FONT=&quot]กุลธิดาเป็นหญิงแกล้วกล้า[/FONT] [FONT=&quot]จักทำการสงเคราะห์เรา[/FONT], [FONT=&quot]ก็แลครั้นทำแล้ว จักได้สมบัติเป็นอันมาก[/FONT]” [FONT=&quot]จึงครองจีวรถือบาตร ได้ยืนอยู่ที่ใกล้นาข้าวสาลี.[/FONT] [FONT=&quot]กุลธิดาพอเห็นพระเถระก็มีจิตเลื่อมใส มีสรีระอันปีติ ๕ อย่างถูกต้องแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]กล่าวว่า [/FONT]“[FONT=&quot]นิมนต์หยุดก่อน เจ้าข้า[/FONT]” [FONT=&quot]ถือข้าวตอกไปโดยเร็วเกลี่ยลงในบาตรของพระเถระแล้วไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์[/FONT] [FONT=&quot]๑ ได้ทำความปรารถนาว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ท่านเจ้าข้า[/FONT] [FONT=&quot]ขอดิฉันพึงเป็นผู้มีส่วนแห่งธรรมที่ท่านเห็นแล้ว[/FONT]”


    [FONT=&quot]จิตเลื่อมใสในทานไปเกิดในสวรรค์[/FONT]

    [FONT=&quot]พระเถระได้ทำอนุโมทนาว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ความปรารถนาอย่างนั้น จงสำเร็จ[/FONT]” [FONT=&quot]ฝ่ายนางไหว้พระเถระแล้ว พลางนึกถึงทานที่ตนถวายแล้วกลับไป.[/FONT] [FONT=&quot]ก็ในหนทางที่นางเดินไป บนคันนา มีงูพิษร้ายนอนอยู่ในรูแห่งหนึ่ง[/FONT] [FONT=&quot]งูไม่อาจขบกัดแข้งพระเถระอันปกปิดด้วยผ้ากาสะยะได้.[/FONT] [FONT=&quot]นางพลางระลึกถึงทานกลับไปถึงที่นั้น. งูเลื้อยออกจากรู กัดนางให้ล้มลง ณ[/FONT] [FONT=&quot]ที่นั้นเอง. นางมีจิตเลื่อมใส ทำกาละแล้ว ไปเกิดในวิมานทองประมาณ ๓๐ โยชน์[/FONT] [FONT=&quot]ในภพดาวดึงส์ มีอัตภาพประมาณ ๓ คาวุต๒ ประดับเครื่องอลังการทุกอย่าง[/FONT] [FONT=&quot]เหมือนหลับแล้วตื่นขึ้น.[/FONT]


    [FONT=&quot]วิธีทำทิพยสมบัติให้ถาวร[/FONT]

    [FONT=&quot]นางนุ่งผ้าทิพย์ประมาณ ๑๒ ศอกผืนหนึ่ง ห่มผืนหนึ่ง[/FONT] [FONT=&quot]แวดล้อมด้วยนางอัปสรตั้งพัน เพื่อประกาศบุรพกรรม[/FONT] [FONT=&quot]จึงยืนอยู่ที่ประตูวิมานอันประดับด้วยขันทองคำ[/FONT] [FONT=&quot]เต็มด้วยข้าวตอกทองคำห้อยระย้าอยู่ ตรวจดูสมบัติของตน[/FONT] [FONT=&quot]ใคร่ครวญด้วยทิพยจักษุว่า [/FONT]“[FONT=&quot]เราทำกรรมสิ่งไรหนอ จึงได้สมบัตินี้[/FONT]” [FONT=&quot]ได้รู้ว่า[/FONT] “[FONT=&quot]สมบัตินี้เราได้แล้ว[/FONT] [FONT=&quot]เพราะผลแห่งข้าวตอกที่เราถวายพระผู้เป็นเจ้ามหากัสสปเถระ[/FONT]” [FONT=&quot]นางคิดว่า[/FONT] “[FONT=&quot]เราได้สมบัติเห็นปานนี้ เพราะกรรมนิดหน่อยอย่างนี้[/FONT] [FONT=&quot]บัดนี้เราไม่ควรประมาท[/FONT], [FONT=&quot]เราจักทำวัตรปฏิบัติแก่พระผู้เป็นเจ้า[/FONT] [FONT=&quot]ทำสมบัตินี้ให้ถาวร[/FONT]” [FONT=&quot]จึงถือไม้กวาด[/FONT] [FONT=&quot]และกระเช้าสำหรับเทมูลฝอยสำเร็จด้วยทองไปกวาดบริเวณของพระเถระ[/FONT] [FONT=&quot]แล้วตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้แต่เช้าตรู่[/FONT]

    [FONT=&quot]พระเถระเห็นเช่นนั้น สำคัญว่า[/FONT] “[FONT=&quot]จักเป็นวัตรที่ภิกษุหนุ่มหรือสามเณรบางรูปทำ[/FONT]” [FONT=&quot]แม้ในวันที่ ๒[/FONT] [FONT=&quot]นางก็ได้ทำอย่างนั้น. ฝ่ายพระเถระก็สำคัญเช่นนั้นเหมือนกัน. แต่วันที่ ๓[/FONT] [FONT=&quot]พระเถระได้ยินเสียงไม้กวาดของนาง[/FONT] [FONT=&quot]และเห็นแสงสว่างแห่งสรีระฉายเข้าไปทางช่องลูกดาล จึงเปิดประตู (ออกมา)[/FONT] [FONT=&quot]ถามว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ใครนั่น กวาดอยู่ [/FONT]?”

    [FONT=&quot]นาง[/FONT] : [FONT=&quot]ท่านเจ้าขา[/FONT] [FONT=&quot]ดิฉันเอง[/FONT] [FONT=&quot]เป็นอุปัฏฐายิกาของท่าน[/FONT] [FONT=&quot]ชื่อลาชเทวธิดา[/FONT]

    [FONT=&quot]พระเถระ[/FONT] : “[FONT=&quot]อันอุปัฏฐายิกาของเรา[/FONT] [FONT=&quot]ผู้มีชื่ออย่างนี้[/FONT] [FONT=&quot]ดูเหมือนไม่มี[/FONT]”

    [FONT=&quot]นาง : ท่านเจ้าข้า ดิฉันผู้รักษานาข้าวสาลี[/FONT] [FONT=&quot]ถวายข้าวตอกแล้วมีจิตเลื่อมใสกำลังกลับไป ถูกงูกัด ทำกาละแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]บังเกิดในเทวโลกชั้นดาวดึงส์[/FONT], [FONT=&quot]ท่านเจ้าข้า ดิฉันคิดว่า[/FONT] [FONT=&quot]สมบัตินี้เราได้เพราะอาศัยพระผู้เป็นเจ้า[/FONT], [FONT=&quot]แม้ในบัดนี้[/FONT] [FONT=&quot]เราจักทำวัตรปฏิบัติแก่ท่าน ทำสมบัติให้มั่นคง[/FONT], [FONT=&quot]จึงได้มา[/FONT]

    [FONT=&quot]พระเถระ[/FONT] : [FONT=&quot]ทั้งวานนี้ทั้งวานซืนนี้[/FONT] [FONT=&quot]เจ้าคนเดียวกวาดที่นี้[/FONT], [FONT=&quot]เจ้าคนเดียวเข้าไปตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้หรือ [/FONT]?

    [FONT=&quot]นาง[/FONT] : [FONT=&quot]อย่างนั้น[/FONT] [FONT=&quot]เจ้าข้า[/FONT]

    [FONT=&quot]พระเถระ[/FONT] : [FONT=&quot]จงหลีกไปเสีย[/FONT] [FONT=&quot]นางเทวธิดา[/FONT], [FONT=&quot]วัตรที่เจ้าทำแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]จงเป็นอันทำแล้ว[/FONT], [FONT=&quot]ตั้งแต่นี้ไป[/FONT] [FONT=&quot]เจ้าอย่ามาที่นี้ (อีก)[/FONT]

    [FONT=&quot]นาง[/FONT] : [FONT=&quot]อย่าให้ดิฉันฉิบหายเสียเลยเจ้าข้า[/FONT], [FONT=&quot]ขอพระผู้เป็นเจ้าจงให้ดิฉันทำวัตรแก่พระผู้เป็นเจ้า[/FONT] [FONT=&quot]ทำสมบัติของดิฉันให้มั่นคงเถิด[/FONT]

    [FONT=&quot]พระเถระ : จงหลีกไป นางเทวธิดา[/FONT], [FONT=&quot]เจ้าอย่าทำให้เราถูกพรธรรมถึกทั้งหลาย[/FONT] [FONT=&quot]นั่งจับพัดอันวิจิตร พึงกล่าวในอนาคตว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ได้ยินว่า นาวเทวธิดาผู้หนึ่ง[/FONT] [FONT=&quot]มาทะวัตรปฏิบัติ เข้าไปตั้งน้ำฉันน้ำใช้ เพื่อพระมหากัสสปเถระ[/FONT]” [FONT=&quot]แต่นี้ไป[/FONT] [FONT=&quot]เจ้าอย่ามา ณ ที่นี้ จงกลับไปเสีย[/FONT]

    [FONT=&quot]นางจึงอ้อนวอนซ้ำๆ[/FONT] [FONT=&quot]อีกว่า[/FONT] “[FONT=&quot]ขอท่านอย่าให้ดิฉันฉิบหายเลยเจ้าข้า[/FONT]”

    [FONT=&quot]พระเถระคิดว่า[/FONT] “[FONT=&quot]นางเทวธิดานี้ไม่เชื่อฟังถ้อยคำของเรา[/FONT]” [FONT=&quot]จึงปรบมือด้วยกล่าวว่า[/FONT] “[FONT=&quot]เจ้าไม่รู้จักประมาณของเจ้า[/FONT]”

    [FONT=&quot]นางไม่อาจดำรงอยู่ที่นั้นได้ เหาะขึ้นในอากาศ ประคองอัญชลี[/FONT] [FONT=&quot]ได้ยืนร้องไห้ (คร่ำครวญอยู่) ในอากาศว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ท่านเจ้าข้า[/FONT] [FONT=&quot]อย่าให้สมบัติที่ดิฉันได้แล้วฉิบหายเสียเลย[/FONT], [FONT=&quot]จงให้เพื่อทำให้มั่นคงเถิด[/FONT]”


    [FONT=&quot]บุญให้เกิดสุขในภพทั้งสอง[/FONT]

    [FONT=&quot]พระศาสดา ประทับนั่งในพระคันธกุฎีนั่นเอง[/FONT] [FONT=&quot]ทรงสดับเสียงนางเทวธิดานั้นร้องไห้[/FONT] [FONT=&quot]ทรงแผ่พระรัศมีดุจประดับนั่งตรัสอยู่ในที่เฉพาะหน้านางเทวธิดา ตรัสว่า[/FONT] “[FONT=&quot]เทวธิดา การทำความสังวรนั่นเทียว เป็นภาระของกัสสปผู้เป็นบุตรของเรา[/FONT], [FONT=&quot]แต่การกำหนดว่า [/FONT]‘[FONT=&quot]นี้เป็นประโยชน์ของเรา แล้วมุ่งกระทำแต่บุญ[/FONT] [FONT=&quot]ย่อมเป้นภาระของผู้มีความต้องการด้วยบุญ[/FONT] [FONT=&quot]ด้วยการทำบุญเป็นเหตุให้เกิดสุขอย่างเดียว ทั้งในภพนี้ ทั้งภพหน้า[/FONT]” [FONT=&quot]ดังนี้[/FONT] [FONT=&quot]เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า[/FONT]

    “[FONT=&quot]ถ้าบุรุษพึงทำบุญไซร้[/FONT] [FONT=&quot]พึงทำบุญนั้นบ่อยๆ พึงทำความพอใจในบุญนั้น[/FONT] [FONT=&quot]เพราะว่า[/FONT] [FONT=&quot]ความสั่งสมบุญทำให้เกิดสุข[/FONT]”
    [FONT=&quot]เรื่องอนาถบิณฑิกเศรษฐี[/FONT]

    [FONT=&quot]ท่านเศรษฐีบำรุงภิกษุสามเณรเป็นนิตย์[/FONT]

    [FONT=&quot]ความพิศดารว่า อนาถบิณฑิกเศรษฐี จ่ายทรัพย์ตั้ง ๕๔ โกฏิ[/FONT] [FONT=&quot]ในพระพุทธศาสนาเฉพาะวิหารเท่านั้น[/FONT], [FONT=&quot]เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ในพระเชตวัน[/FONT] [FONT=&quot]ไปสู่ที่บำรุงใหญ่ ๓ แห่งทุกวัน[/FONT], [FONT=&quot]ก็เมื่อจะไป คิดว่า [/FONT]“[FONT=&quot]สามเณรก็ดี[/FONT] [FONT=&quot]ภิกษุก็ดี พึงแลแลดูแม้มือของเรา ด้วยการนึกว่า [/FONT]‘[FONT=&quot]เศรษฐีนั้นถืออะไรมาบ้าง[/FONT]’ [FONT=&quot]ดังนี้ ไม่เคยเป็นผู้ชื่อว่ามีมือเปล่าไปเลย[/FONT], [FONT=&quot]เมื่อไปเวลาเช้าให้คนถือข้าวต้มไป[/FONT] [FONT=&quot]บริโภคอาหารเช้าแล้วให้คนถือเภสัชทั้งหลาย มีเนยใส เนยข้นเป็นต้นไป[/FONT], [FONT=&quot]ในเวลาเย็น ให้ถือวัตถุต่างๆ มีระเบียบดอกไม้ ของหอม[/FONT] [FONT=&quot]เครื่องลูบไล้ผ้าเป็นต้น ไปสู่วิหาร[/FONT], [FONT=&quot]ถวายทาน รักษาศีล อย่างนี้ทุกๆ วัน[/FONT] [FONT=&quot]ตลอดกาลเป็นนิตย์ทีเดียว[/FONT]


    [FONT=&quot]การหมดสิ้นแห่งทรัพย์ของท่านเศรษฐี[/FONT]

    [FONT=&quot]ในกาลต่อมา เศรษฐีย่อมถึงความสิ้นไปแห่งทรัพย์.[/FONT] [FONT=&quot]ทั้งพวกพาณิชก็กู้หนี้เป็นทรัพย์ ๑๘ โกฏิ จากมือเศรษฐีนั้น. เงิน ๑๘ โกฏิ[/FONT] [FONT=&quot]แม้เป็นสมบัติแห่งตระกูลเศรษฐี ที่ฝังตั้งไว้ใกล้ฝั่งแม่น้ำ[/FONT] [FONT=&quot]เมื่อฝั่งพังลงเพราะน้ำ (เซาะ) ก็จมลงยังมหาสมุทร.[/FONT] [FONT=&quot]ทรัพย์ของเศรษฐีนั้นได้ถึงความหมดสิ้นไปโดยลำดับ ด้วยประการอย่างนี้.[/FONT]


    [FONT=&quot]เศรษฐีถวายทานตามมีตามได้[/FONT]

    [FONT=&quot]เศรษฐีแม้เป็นผู้อย่างนั้นแล้ว ก็ยังถวายทานแก่สงฆ์เรื่อยไป[/FONT], [FONT=&quot]แต่ไม่อาจถวายทำให้ประณีตได้[/FONT], [FONT=&quot]ในวันหนึ่งเศรษฐีเมื่อพระศาสดารับสั่งว่า[/FONT] “[FONT=&quot]คฤหบดีก็ทานในตระกูลท่านยังให้อยู่หรือ [/FONT]?” [FONT=&quot]กราบทูล [/FONT]“[FONT=&quot]พระเจ้าข้า[/FONT] [FONT=&quot]ทานในตระกูล ข้าพระองค์ยังให้อยู่[/FONT], [FONT=&quot]ก็แลทานนั้น (ใช้) ข้าวปลายเกรียน[/FONT] [FONT=&quot]มีน้ำส้มพะอูมเป็นที่ ๒[/FONT]”


    [FONT=&quot]เมื่อมีจิตผ่องใสทานที่ถวายไม่เป็นของเลว[/FONT]

    [FONT=&quot]ทีนั้น พระศาสดา ตรัสกะเศรษฐีว่า [/FONT]“[FONT=&quot]คฤหบดี ท่านอย่าคิดว่า[/FONT] ‘[FONT=&quot]เราถวายทานเศร้าหมอง[/FONT]’ [FONT=&quot]ด้วยว่าเมื่อจิตประณีตแล้ว[/FONT], [FONT=&quot]ทานที่บุคคลถวายแด่พระอรหันต์ทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น[/FONT] [FONT=&quot]ชื่อว่าเศร้าหมองย่อมไม่มี[/FONT], [FONT=&quot]คฤหบดี อีกประการหนึ่ง[/FONT] [FONT=&quot]ท่านได้ถวายทานแด่พระอริยบุคคลทั้ง ๘ แล้ว[/FONT]; [FONT=&quot]ส่วนเราในกาลเป็นเวลามพราหมณ์นั้นกระทำชาวชมพูทวีปทั้งสิ้น ให้พักไถนา[/FONT] [FONT=&quot]ยังมหาทานให้เป็นไปอยู่ไม่ได้ทักขิไณยบุคคลไรๆ แม้ผู้ถึงซึ่งไตรสรณะ[/FONT], [FONT=&quot]ชื่อว่าทักขิไณยบุคคลทั้งหลาย ยากที่บุคคลจะได้ด้วยประการฉะนี้[/FONT], [FONT=&quot]เพราะเหตุนั้นท่านอย่าคิดเลยว่า [/FONT]‘[FONT=&quot]ทานของเราเศร้าหมอง[/FONT]’ [FONT=&quot]ดังนี้แล้ว[/FONT] [FONT=&quot]ได้ตรัสเวลามสูตร ๑ แก่เศรษฐี[/FONT]

    [FONT=&quot]๑[/FONT]
    [FONT=&quot]อัง.นวก.[/FONT] [FONT=&quot]๒๓/๔๐๖[/FONT]


    [FONT=&quot]เทวดาเตือนเศรษฐีให้เลิกการบริจาค[/FONT]

    [FONT=&quot]ครั้งนั้น เทวดาซึ่งสถิตอยู่ที่ซุ้มประตูของเศรษฐี[/FONT] [FONT=&quot]เมื่อพระศาสดาและสาวกทั้งหลายเข้าไปสู่เรือน[/FONT], [FONT=&quot]ไม่อาจจะดำรงอยู่ได้เพราะเดชแห่งพระศาสดาและพระสาวกเหล่านั้น คิดว่า[/FONT] “[FONT=&quot]พระศาสดาและพระสาวกเหล่านี้จะไม่เข้าสู่เรือนนี้ได้ด้วยประการใด[/FONT], [FONT=&quot]เราจะยุยงคฤหบดีด้วยประการนั้น แม้ใคร่จะพูดกะเศรษฐีนั้น[/FONT] [FONT=&quot]ก็ไม่ได้อาจเพื่อจะกล่าวอะไรๆ ในกาลที่เศรษฐีเป็นอิสระ[/FONT]” [FONT=&quot]คิดว่า[/FONT] “[FONT=&quot]ก็บัดนี้เศรษฐีนี้เป็นผู้ยากจนแล้ว[/FONT], [FONT=&quot]คงจักเชื่อฟังคำสอนของเรา[/FONT]” [FONT=&quot]ในเวลาราตรี เข้าไปสู่ห้องอันเป็นสิริของเศรษฐี ได้ยืนอยู่ในอากาศ.[/FONT]

    [FONT=&quot]ขณะนั้น[/FONT] [FONT=&quot]เศรษฐีเห็นเทวดานั้นแล้วถามว่า[/FONT] “[FONT=&quot]นั่นใคร [/FONT]?”

    [FONT=&quot]เทวดา[/FONT] : [FONT=&quot]มหาเศรษฐี[/FONT] [FONT=&quot]ข้าพเจ้าเป็นเทวดาสถิตอยู่ที่ซุ้มประตูที่[/FONT] [FONT=&quot]๔[/FONT] [FONT=&quot]ของท่าน[/FONT] [FONT=&quot]มาเพื่อต้องการเตือนท่าน[/FONT]

    [FONT=&quot]เศรษฐี[/FONT] : [FONT=&quot]เทวดา[/FONT] [FONT=&quot]ถ้าเช่นนั้น[/FONT] [FONT=&quot]เชิญท่านพูดเถิด[/FONT]

    [FONT=&quot]เทวดา : มหาเศรษฐี[/FONT] [FONT=&quot]ท่านไม่เหลียวแลถึงกาลภายหลังเลยจ่ายทรัพย์เป็นอันมากในศาสนาของพระสมณโคดม[/FONT], [FONT=&quot]บัดนี้ ท่านแม้เป็นผู้ยากจนแล้ว ก็ยังไม่ละการจ่ายทรัพย์อีก[/FONT], [FONT=&quot]เมื่อท่านประพฤติอย่างนี้จักไม่ได้แม้วัตถุสักว่าอาหารและเครื่องนุ่งห่ม[/FONT] [FONT=&quot]โดย ๒ - ๓ วันแน่แท้ [/FONT]; [FONT=&quot]ท่านจะต้องการอะไรด้วยพระสมณโคดม[/FONT], [FONT=&quot]ท่านจงเลิกจากการบริจาคเงิน (กำลัง) เสียแล้วประกอบการงานทั้งหลาย[/FONT] [FONT=&quot]รวบรวมสมบัติไว้เถิด[/FONT]

    [FONT=&quot]เศรษฐี[/FONT] : [FONT=&quot]นี้เป็นโอวาทที่ท่านให้แก่ข้าพเจ้าหรือ [/FONT]?

    [FONT=&quot]เทวดา[/FONT] : [FONT=&quot]จ้ะ[/FONT] [FONT=&quot]มหาเศรษฐี[/FONT]

    [FONT=&quot]เศรษฐี : ไปเถิดท่าน[/FONT], [FONT=&quot]ข้าพเจ้าอันบุคลผู้เช่นท่าน แม้ตั้งร้อย ตั้งพัน[/FONT] [FONT=&quot]ตั้งแสนคน ก็ไม่อาจให้หวั่นไหวได้[/FONT], [FONT=&quot]ท่านกล่าวคำไม่สมควรจะต้องการอะไรด้วยท่านผู้อยู่ในเรือนของข้าพเจ้า[/FONT], [FONT=&quot]ท่านจงออกไปจากเรือนของข้าพเจ้าเร็วๆ[/FONT]


    [FONT=&quot]เทวดาถูกเศรษฐีขับไล่ไม่มีที่อาศัย[/FONT]

    [FONT=&quot]เทวดานั้น ฟังคำของเศรษฐีผู้เป็นโสดาบันอริยสาวกแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]ไม่อาจดำรงอยู่ได้ จึงพาทารกทั้งหลายออกไป[/FONT], [FONT=&quot]ก็แล[/FONT] [FONT=&quot]ครั้นออกไปแล้วไม่ได้ที่อยู่ในที่อื่น จึงคิดว่า[/FONT] “[FONT=&quot]เราจักให้ท่านเศรษฐีอดโทษแล้วอยู่ในที่เดิมนั้น[/FONT]” [FONT=&quot]เข้าไปหาเทพบุตรผู้รักษาพระนคร แจ้งความผิดที่ตนทำแล้ว กล่าวว่า[/FONT] “[FONT=&quot]เชิญมาเถิดท่าน[/FONT], [FONT=&quot]ขอท่านจงนำข้าพเจ้าไปยังสำนักของท่านเศรษฐี[/FONT] [FONT=&quot]ให้ท่านเศรษฐีอดโทษแล้วให้ที่อยู่ (แก่ข้าพเจ้า)[/FONT]”

    [FONT=&quot]เทพบุตรห้ามเทวดานั้นว่า[/FONT] “[FONT=&quot]ท่านกล่าวคำไม่สมควร[/FONT], [FONT=&quot]ข้าพเจ้าไม่อาจไปยังสำนักของเศรษฐีนั้นได้[/FONT]”

    [FONT=&quot]เทวดานั้นจึงไปสู่สำนักของท้าวมหาราชทั้ง ๔ ก็ถูกท่านเหล่านั้นห้ามไว้[/FONT] [FONT=&quot]จึงเข้าไปเฝ้าสักกเทวราช กราบทูลเรื่องนั้น (ให้ทรงทราบ)[/FONT] [FONT=&quot]แล้วทูลวิงวอนอย่างน่าสงสารว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ข้าแต่ข้าพเจ้า ข้าพระองค์ไม่ได้ที่อยู่[/FONT] [FONT=&quot]ต้องจูงพวกทารกเที่ยวระหกระเหิน หาที่พึ่งมิได้[/FONT], [FONT=&quot]ขอได้โปรดให้เศรษฐีให้ที่อยู่แก่ข้าพระองค์เถิด[/FONT]”


    [FONT=&quot]ท้าวสักกะทรงแนะนำอุบายให้เทวดา[/FONT]

    [FONT=&quot]คราวนั้น ท้าวสักกะ ตรัสกะเทวดานั้นว่า[/FONT] “[FONT=&quot]ถึงเราก็จักไม่อาจกล่าวกะเศรษฐีเพราะเหตุแห่งท่านได้ (เช่นเดียวกัน)[/FONT], [FONT=&quot]แต่จักบอกอุบายให้แก่ท่านสักอย่างหนึ่ง[/FONT]”

    [FONT=&quot]เทวดา[/FONT] : [FONT=&quot]ดีละ[/FONT] [FONT=&quot]เทพเจ้า[/FONT] [FONT=&quot]ขอพระองค์ทรงพระกรุณาตรัสบอกเถิด[/FONT]

    [FONT=&quot]ท้าวสักกะ : ไปเถิดท่าน จงแปลงเพศเป็นเสมียนของเศรษฐี ให้ใครนำหนังสือ[/FONT] ([FONT=&quot]สัญญากู้เงิน) จากมือเศรษฐีมาแล้ว (นำไป) ให้เขาชำระทรัพย์ ๑๘ โกฏิ[/FONT] [FONT=&quot]ที่พวกค้าขายถือเอาไว้ ด้วยอานุภาพของตนแล้ว บรรจุไว้ให้เต็มในห้องเปล่า[/FONT], [FONT=&quot]ทรัพย์ ๑๘ โกฏิ ที่จมลงยังมหาสมุทรมีอยู่ก็ดี[/FONT], [FONT=&quot]ทรัพย์ ๑๘ โกฏิ ส่วนอื่น[/FONT] [FONT=&quot]ซึ่งหาเจ้าของมิได้ มีอยู่ในโน้นก็ดี[/FONT], [FONT=&quot]จงรวบรวมทรัพย์ทั้งหมดนั้น[/FONT] [FONT=&quot]บรรจุไว้ให้เต็มในห้องเปล่าของเศรษฐี[/FONT] [FONT=&quot]ครั้นทำกรรมชื่อนี้ให้เป็นทัณฑกรรมแล้ว จึงขอขมาโทษเศรษฐี[/FONT]


    [FONT=&quot]เศรษฐีกลับรวยอย่างเดิม[/FONT]

    [FONT=&quot]เทวดานั้น รับว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ดีละ เทพเจ้า[/FONT]” [FONT=&quot]แล้วทำกรรมทุกๆ[/FONT] [FONT=&quot]อย่างตามนัยที่ท้าวสักกะตรัสบอกแล้วนั่นแล[/FONT] [FONT=&quot]ยังห้องอันเป็นสิริมงคลของท่านเศรษฐีให้สว่างไสว ดำรงอยู่ในอากาศ[/FONT] [FONT=&quot]เมื่อท่านเศรษฐีกล่าวว่า [/FONT]“[FONT=&quot]นั่นใคร[/FONT]” [FONT=&quot]จึงตอบว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ข้าพเจ้าเป็นเทวดาอันธพาล[/FONT] [FONT=&quot]ซึ่งสถิตอยู่ที่ซุ้มประตูที่ ๔ ของท่าน[/FONT] [FONT=&quot]คำใดอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วในสำนักของท่านด้วยความเป็นอันธพาล[/FONT], [FONT=&quot]ขอท่านจงอดโทษคำนั้นแก่ข้าพเจ้าเถิด[/FONT], [FONT=&quot]เพราะข้าพเจ้าได้ทำทัณฑกรรมด้วยการรวบรวมทรัพย์ ๕๔ โกฏิ[/FONT] [FONT=&quot]มาบรรจุไว้เต็มห้องเปล่า ตามบัญชีของท้าวสักกะ ข้าพเจ้าเมื่อไม่ได้ที่อยู่[/FONT] [FONT=&quot]ย่อมลำบาก[/FONT]”


    [FONT=&quot]เศรษฐีอดโทษแก่เทวดา[/FONT]

    [FONT=&quot]อนาถบิณฑิกเศรษฐี จินตนาการว่า [/FONT]“[FONT=&quot]เทวดานี้ กล่าวว่า ทัณฑกรรม[/FONT] [FONT=&quot]อันข้าพเจ้ากระทำแล้ว[/FONT]’ [FONT=&quot]ดังนี้[/FONT], [FONT=&quot]และรู้สึกโทษ (ความผิด) ของตน[/FONT] [FONT=&quot]เราจักแสดงเทวดานั้นแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า[/FONT]” [FONT=&quot]ท่านเศรษฐีนำเทวดานั้นไปสู่สำนักของพระศาสดา[/FONT] [FONT=&quot]กราบทูลกรรมอันเทวดานั้นทำแล้วทั้งหมด[/FONT]

    [FONT=&quot]เทวดาหมอบลงด้วยเศียรเกล้า แทบพระบาทยุคลแห่งพระศาสดากราบทูลว่า[/FONT] “[FONT=&quot]ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ทราบพระคุณทั้งหลายของพระองค์[/FONT] [FONT=&quot]ได้กล่าวคำใดอันชั่วช้า เพราะความเป็นอันธพาล[/FONT], [FONT=&quot]ขอพระองค์ทรงงดโทษคำนั้นแก่ข้าพระองค์[/FONT]” [FONT=&quot]ให้พระศาสดาทรงอดโทษแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]จึงให้ท่านมหาเศรษฐีอดโทษให้ (ในภายหลัง)[/FONT]


    [FONT=&quot]เมื่อกรรมให้ผล[/FONT][FONT=&quot]คนโง่จึงเห็นถูกต้อง[/FONT]

    [FONT=&quot]พระศาสดา เมื่อจะทรงโอวาทเศรษฐีและเทวดา[/FONT] [FONT=&quot]ด้วยสามารถวิบากแห่งกรรมดีและชั่วนั่นแล จึงตรัสว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ดูก่อนคฤหบดี[/FONT] [FONT=&quot]แม้บุคคลผู้ทำบาปในโลกนี้ ย่อมเห็นบาปว่าดี ตลอดกาลที่บาปยังไม่เผล็ดผล[/FONT], [FONT=&quot]แต่เมื่อใดบาปของเขาเผล็ดผล เมื่อนั้น เขาย่อมเห็นบาปว่าชั่วแท้ๆ[/FONT]; [FONT=&quot]ฝ่ายบุคคลผู้ทำกรรมดี ย่อมเห็นกรรมดีว่าชั่ว[/FONT] [FONT=&quot]ตลอดกาลที่กรรมดียังไม่เผล็ดผล[/FONT], [FONT=&quot]แต่เมื่อใดกรรมดีของเขาเผล็ดผล[/FONT], [FONT=&quot]เมื่อนั้นเขาย่อมเห็นกรรมดีว่า ดีจริงๆ[/FONT]” [FONT=&quot]ดังนี้แล้ว[/FONT] [FONT=&quot]เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงได้ภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า[/FONT]

    “[FONT=&quot]แม้คนผู้ทำบาป ย่อมเห็นบาปว่าดี ตลอดกาลที่บาปยังไม่เผล็ดผล[/FONT], [FONT=&quot]เมื่อใด[/FONT] [FONT=&quot]บาปเผล็ดผล[/FONT], [FONT=&quot]เมื่อนั้น เขาย่อมเห็นบาปว่าชั่วฝ่ายคนทำกรรมดี[/FONT] [FONT=&quot]ย่อมเห็นกรรมดีว่าชั่ว ตลอดกาลที่กรรมดียังไม่เผล็ดผล แม่เมื่อใด[/FONT] [FONT=&quot]กรรมดีเผล็ดผล เมื่อนั้น เขาย่อมเห็นกรรมดีว่าดี[/FONT]”
    [FONT=&quot]เรื่องเศรษฐีชื่อพิฬาลปทกะ[/FONT]

    [FONT=&quot]ให้ทานเองและชวนคนอื่น[/FONT][FONT=&quot]ได้สมบัติ[/FONT][FONT=&quot]๒[/FONT][FONT=&quot]อย่าง[/FONT]

    [FONT=&quot]ความพิสดารว่า สมัยหนึ่ง[/FONT] [FONT=&quot]ชาวเมืองสาวัตถีพากันถวายทานแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน[/FONT] [FONT=&quot]โดยเนื่องเป็นพวกเดียวกัน. อยู่มาวันหนึ่ง พระศาสดา เมื่อจะทรงทำอนุโมทนา[/FONT] [FONT=&quot]ตรัสอย่างนี้ว่า [/FONT]“[FONT=&quot]อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้[/FONT] [FONT=&quot]ให้ทานด้วยตน[/FONT], ([FONT=&quot]แต่) ไม่ชักชวนผู้อื่น[/FONT], [FONT=&quot]เขาย่อมได้โภคสมบัติ[/FONT], ([FONT=&quot]แต่)[/FONT] [FONT=&quot]ไม่ได้บริวารสมบัติในทีแห่งตนเกิดแล้วๆ[/FONT], [FONT=&quot]บางคนไม่ให้ทานด้วยตน[/FONT], [FONT=&quot]ชักชวนแต่คนอื่น[/FONT], [FONT=&quot]เขาย่อมได้บริวารสมบัติ (แต่)[/FONT] [FONT=&quot]ไม่ได้โภคสมบัติในที่แห่งตนเกิดแล้วๆ[/FONT]; [FONT=&quot]บางคนไม่ให้ทานด้วยตนด้วย[/FONT] [FONT=&quot]ไม่ชักชวนคนอื่นด้วย[/FONT], [FONT=&quot]เขาย่อมไม่ได้โภคสมบัติ ไม่ได้บริวารสมบัติ[/FONT] [FONT=&quot]ในที่แห่งตนเกิดแล้วๆ[/FONT]; [FONT=&quot]เป็นคนเที่ยวกินเดน บางคนให้ทานด้วยตนด้วย[/FONT] [FONT=&quot]ชักชวนคนอื่นด้วย[/FONT], [FONT=&quot]เขาย่อมได้ทั้งโภคสมบัติ และบริวารสมบัติ[/FONT] [FONT=&quot]ในที่แห่งตนเกิดแล้วๆ[/FONT]”


    [FONT=&quot]บัณฑิตเรี่ยไรของทำบุญ[/FONT]

    [FONT=&quot]ครั้งนั้น บัณฑิตบุรุษผู้หนึ่ง ฟังธรรมเทศนานั้นแล้ว คิดว่า [/FONT]“ [FONT=&quot]โอ ![/FONT] [FONT=&quot]เหตุนี้น่าอัศจรรย์[/FONT], [FONT=&quot]บัดนี้ เราจักทำกรรมที่เป็นไปเพื่อสมบัติทั้งสอง[/FONT]” [FONT=&quot]จึงกราบทูลพระศาสดาในเวลาเสด็จลุกไปว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ[/FONT] [FONT=&quot]พรุ่งนี้ขอพระองค์ทรงรับภิกษาของพวกข้าพระองค์[/FONT]”

    [FONT=&quot]พระศาสดา[/FONT] : [FONT=&quot]ก็ท่านมีความต้องการด้วยภิกษุสักเท่าไร [/FONT]?

    [FONT=&quot]บุรุษ[/FONT] : [FONT=&quot]ภิกษุทั้งหมด[/FONT] [FONT=&quot]พระเจ้าข้า[/FONT]

    [FONT=&quot]พระศาสดาทรงรับแล้ว. แม้เขาก็เข้าไปยังบ้าน เที่ยวป่าวร้องว่า[/FONT] “[FONT=&quot]ข้าแต่แม่และพ่อทั้งหลาย ข้าพเจ้านิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน[/FONT] [FONT=&quot]เพื่อฉันภัตตาหารในวันพรุ่งนี้[/FONT], [FONT=&quot]ผู้ใดอาจถวายแก่ภิกษุทั้งหลายมีประมาณเท่าใด[/FONT], [FONT=&quot]ผู้นั้นจงให้วัตถุต่างๆ[/FONT] [FONT=&quot]มีข้าวสาร เป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่อาหารมียาคูเป็นต้น[/FONT] [FONT=&quot]เพื่อภิกษุทั้งหลายมีประมาณเท่านั้น[/FONT], [FONT=&quot]พวกเราจักให้หุงต้มในที่แห่งเดียวกันแล้วถวายทาน[/FONT]”


    [FONT=&quot]เหตุที่เศรษฐีมีชื่อว่าพิฬาลปทกะ[/FONT]

    [FONT=&quot]ทีนั้น เศรษฐีคนหนึ่ง เห็นบุรุษนั้นมาถึงประตูร้านตลาดของตนก็โกรธว่า[/FONT] “[FONT=&quot]เจ้าคนนี้ ไม่นิมนต์ภิกษุแต่พอ (กำลัง) ของตน[/FONT] [FONT=&quot]ต้องมาเที่ยวชักชวนชาวบ้านทั้งหมด (อีก)[/FONT]” , [FONT=&quot]จึงบอกว่า[/FONT] “[FONT=&quot]แกจงนำเอาภาชนะที่แกถือมา[/FONT]” [FONT=&quot]ดังนี้แล้ว เอานิ้วมือ ๓ นิ้วหยิบ[/FONT] [FONT=&quot]ได้ให้ข้าวสารหน่อยหนึ่ง[/FONT], [FONT=&quot]ถั่วเขียว ถั่วราชมาษก็เหมือนกันแล. ตั้งแต่นั้น[/FONT] [FONT=&quot]เศรษฐีนั้นจึงมีชื่อว่า พิฬาลปทกเศรษฐี.[/FONT] [FONT=&quot]แม้เมื่อจะให้เภสัชมีเนยใสและน้ำอ้อยเป็นต้น ก็เอียงปากขวดเข้าที่หม้อ[/FONT] [FONT=&quot]ทำให้ปากขวดนั้นติดเป็นอันเดียวกัน[/FONT] [FONT=&quot]ให้เภสัชมีเนยใสและน้ำอ้อยเป็นต้นไหลลงทีละหยดๆ ได้ให้หน่อยหนึ่งเท่านั้น[/FONT]

    [FONT=&quot]อุบาสกทำวัตถุทานที่คนอื่นให้โดยรวมกัน (แต่) ได้ถือเอาสิ่งของที่เศรษฐีนี้ให้ไว้แผนกหนึ่งต่างหาก[/FONT]


    [FONT=&quot]เศรษฐีให้คนสนิทไปดูการทำของบุรุษผู้เรี่ยไร[/FONT]

    [FONT=&quot]เศรษฐีนั้น เห็นกิริยาของอุบาสกนั้นแล้ว คิดว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ทำไมหนอ[/FONT] [FONT=&quot]เจ้าคนนี้จึงรับสิ่งของที่เราให้ไว้แผนกหนึ่ง [/FONT]?” [FONT=&quot]จึงส่งจูฬุปัฏฐากคนหนึ่งไปข้างหลังเขา ด้วยสั่งว่า [/FONT]“[FONT=&quot]เจ้าจงไป[/FONT], [FONT=&quot]จงรู้กรรมที่เจ้านั่นทำ[/FONT]” [FONT=&quot]อุบาสกนั้นไปแล้ว กล่าวว่า[/FONT] “[FONT=&quot]ขอผลใหญ่จงมีแก่เศรษฐี[/FONT]” [FONT=&quot]ดังนี้แล้วใสข้าวสาร ๑ -๒ เมล็ด เพื่อประโยชน์[/FONT] [FONT=&quot]แก่ยาคู ภัต และขนม[/FONT], [FONT=&quot]ใส่ถั่วเขียวถั่วราชมาษบ้าง[/FONT] [FONT=&quot]หยาดน้ำมันและหยาดน้ำอ้อยเป็นต้นบ้างลงในภาชนะทุกๆ ภาชนะ.[/FONT] [FONT=&quot]จูฬุปัฏฐากไปบอกแก่เศรษฐีแล้ว. เศรษฐีฟังคำนั้นแล้ว จึงคิดว่า[/FONT] “[FONT=&quot]หากเจ้าคนนั้นจักกล่าวโทษเราท่ามกลางบริษัทไซร้[/FONT], [FONT=&quot]พอมันเอ่ยชื่อของเราขึ้นเท่านั้น เราจักประหารมันให้ตาย[/FONT]” [FONT=&quot]ในวันรุ่งขึ้น[/FONT] [FONT=&quot]จึงเหน็บกฤชไว้ในระหว่างผ้านุ่งแล้ว ได้ไปยืนอยู่ที่โรงครัว[/FONT]


    [FONT=&quot]ฉลาดพูดทำให้ผู้มุ่งร้ายกลับอ่อนน้อม[/FONT]

    [FONT=&quot]บุรุษนั้น เลี้ยงดูภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน[/FONT] [FONT=&quot]แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ[/FONT] [FONT=&quot]ข้าพระองค์ชักชวนมหาชนถวายทานนี้[/FONT], [FONT=&quot]พวกมนุษย์ข้าพระองค์ชักชวนแล้วในที่นั้น[/FONT] [FONT=&quot]ได้ให้ข้าวสารเป็นต้น มากบ้างน้อยบ้าง ตามกำลังของตน[/FONT], [FONT=&quot]ขอผลอันไพศาลจงมีแก่มหาชนเหล่านั้นทั้งหมด[/FONT]”

    [FONT=&quot]เศรษฐีได้ยินคำนั้นแล้ว คิดว่า [/FONT]“[FONT=&quot]เรามาด้วยตั้งใจ[/FONT] [FONT=&quot]พอมันเอ่ยชื่อของเราขึ้นว่า[/FONT] ‘[FONT=&quot]เศรษฐีชื่อโน้นถือเอาข้าวสารเป็นต้นด้วยหยิบมือให้[/FONT]’ [FONT=&quot]เราก็จักฆ่าบุรุษนี้ให้ตาย[/FONT], [FONT=&quot]แต่บุรุษนี้ ทำทานให้รวมกันทั้งหมด[/FONT] [FONT=&quot]แล้วกล่าวว่า [/FONT]‘[FONT=&quot]ทานที่ชนเหล่าใดตวงด้วยทะนานเป็นต้นแล้วให้ก็ดี[/FONT], [FONT=&quot]ทานที่ชนเหล่าใดถือเอาด้วยหยิบมือแล้วให้ก็ดี[/FONT], [FONT=&quot]ขอผลอันไพศาล[/FONT] [FONT=&quot]จงมีแก่ชนเหล่านั้นทั้งหมด[/FONT]’ [FONT=&quot]ถ้าเราจักไม่ให้บุรุษเห็นปานนี้อดโทษไซร้[/FONT], [FONT=&quot]อาชญาของเทพเจ้าจักตกลงบนศีรษะของเรา[/FONT]” [FONT=&quot]เศรษฐีนั้นหมอบลงแทบเท้าของอุบาสกนั้นแล้วกล่าวว่า [/FONT]“[FONT=&quot]นาย[/FONT] [FONT=&quot]ขอนายจงอดโทษให้ผมด้วย[/FONT]” [FONT=&quot]และถูกอุบาสกนั้นถามว่า [/FONT]“[FONT=&quot]นี้อะไรกัน [/FONT]?” [FONT=&quot]จึงบอกเรื่องนั้นทั้งหมด[/FONT]

    [FONT=&quot]พระศาสดาทรงเห็นกิริยานั้นแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]ตรัสถามผู้ขวนขวายในมานว่า[/FONT] “[FONT=&quot]นี่อะไรกัน [/FONT]?” [FONT=&quot]เขากราบทูลเรื่องนั้นทั้งหมดตั้งแต่วันที่แล้วๆ มา[/FONT]


    [FONT=&quot]อย่าดูหมิ่นบุญว่านิดหน่อย[/FONT]

    [FONT=&quot]ทีนั้น พระศาสดาตรัสถามเศรษฐีนั้นว่า [/FONT]“[FONT=&quot]นัยว่า เป็นอย่างนั้นหรือ [/FONT]? [FONT=&quot]เศรษฐี[/FONT]” [FONT=&quot]เมื่อเขากราบทูลว่า [/FONT]“[FONT=&quot]อย่างนั้น พระเจ้าข้า[/FONT]” [FONT=&quot]ตรัสว่า [/FONT]“[FONT=&quot]อุบาสก[/FONT] [FONT=&quot]ขึ้นชื่อว่าบุญ อันใครๆ ไม่ควรดูหมิ่นว่า [/FONT]‘[FONT=&quot]นิดหน่อย[/FONT]’ [FONT=&quot]อันบุคคลถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเช่นเราเป็นประธานแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]ไม่ควรดูหมิ่นว่า [/FONT]‘[FONT=&quot]เป้นของนิดหน่อย[/FONT]’ [FONT=&quot]ด้วยว่า[/FONT] [FONT=&quot]บุรุษผู้บัณฑิตทำบุญอยู่ย่อมเต็มไปด้วยบุญโดยลำดับแน่แท้[/FONT] [FONT=&quot]เปรียบเสมือนภาชนะที่เปิดปาก ย่อมเต็มไปด้วยน้ำ ฉะนั้น[/FONT]” [FONT=&quot]ดังนี้แล้ว[/FONT] [FONT=&quot]เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า[/FONT]

    “[FONT=&quot]บุคคลไม่ควรดูหมิ่นบุญว่า [/FONT]‘[FONT=&quot]บุญมีประมาณน้อย จักไม่มาถึง[/FONT]’ [FONT=&quot]แม้หม้อน้ำยังเต็มด้วยหยาดน้ำที่ตกลงมา (ทีละหยาดๆ) ได้ฉันใด ธีรชน[/FONT] ([FONT=&quot]ชนผู้มีปัญญา) สั่งสมบุญแม้ทีละน้อยๆ ย่อมเต็มด้วยบุญได้ฉันนั้น[/FONT]”
    [FONT=&quot]เรื่องธิดานายชั่งหูก[/FONT]

    [FONT=&quot]คนเจริญมรณสติไม่กลัวตาย[/FONT]

    [FONT=&quot]ความพิสดารว่า วันหนึ่ง พวกชาวเมืองอาฬวี[/FONT] [FONT=&quot]เมื่อพระศาสดาเสด็จถึงเมืองอาฬวีแล้ว ได้ทูลนิมนต์ถวายทานแล้ว.[/FONT] [FONT=&quot]พระศาสดาเมื่อจะทรงทำอนุโมทนาในเวลาเสร็จภัตกิจ จึงตรัสว่า[/FONT] “[FONT=&quot]ท่านทั้งหลายจงเจริญมรณสติอย่างนี้ว่า [/FONT]‘[FONT=&quot]ชีวิตของเราไม่ยั่งยืน[/FONT], [FONT=&quot]ความตายของเราแน่นอน[/FONT], [FONT=&quot]เราพึงตายแน่แท้[/FONT], [FONT=&quot]ชีวิตของเรามีความหมายเป็นที่สุด[/FONT], [FONT=&quot]ชีวิตของเราไม่เที่ยง[/FONT], [FONT=&quot]ความตายเที่ยง[/FONT]; [FONT=&quot]ก็มรณะอันชนทั้งหลายใดไม่เจริญแล้ว[/FONT], [FONT=&quot]ในกาลที่สุดชนทั้งหลายนั้น ย่อมถึงความสะดุ้งร้องอย่างงขลาดกลัวอยู่กาละ[/FONT] [FONT=&quot]เหมือนบุรุษเห็นอสรพิษแล้วกลัวฉะนั้น[/FONT]; [FONT=&quot]ส่วนมรณะอันชนทั้งหลายใดเจริญแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]ชนทั้งหลายนั้นย่อมสะดุ้งในกาลที่สุด ดุจบุรุษเห็นอสรพิษแต่ไกลเทียว[/FONT] [FONT=&quot]แล้วก็เอาท่อนไม่เขี่ยทิ้งไปยืนอยู่ฉะนั้น[/FONT]; [FONT=&quot]เพราะฉะนั้นมรณสติอันท่านทั้งหลายพึงเจริญ[/FONT]”


    [FONT=&quot]พระศาสดาเสด็จประทานโอวาทธิดาช่างหูก[/FONT]

    [FONT=&quot]พวกชนที่เหลือฟังธรรมเทศนานั้นแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]ได้เป็นผู้ขวนขวายในกิจของตนอย่างเดียว. ส่วนธิดาของนายช่างหูกอายุ ๑๖[/FONT] [FONT=&quot]ปีคนหนึ่งคิดว่า [/FONT]“[FONT=&quot]โอ ธรรมดาถ้อยคำของพระพุทธเจ้าทั้งหลายอัศจรรย์[/FONT], [FONT=&quot]เราเจริญมรณสติจึงควร[/FONT]” [FONT=&quot]ดังนี้แล้ว[/FONT] [FONT=&quot]ก็เจริญมรณสติอย่างเดียวตลอดทั้งกลางวันกลางคืน[/FONT] [FONT=&quot]ฝ่ายพระศาสดาเสด็จออกจากเมืองอาฬวีแล้วก็ได้เสด็จไปพระเชตวัน.[/FONT] [FONT=&quot]นางกุมาริกาแม้นั้น ก็เจริญมรณสติสิ้น ๓ ปีทีเดียว. ต่อมาวันหนึ่ง[/FONT] [FONT=&quot]พระศาสดาทรงตรวจดูโลก ในเวลาใกล้รุ่งทรงเห็นนางกุมาริกานั้น[/FONT] [FONT=&quot]เข้าไปภายในข่าย คือพระญาณของพระองค์ ทรงใคร่ครวญว่า [/FONT]“[FONT=&quot]เหตุอะไรหนอ [/FONT]? [FONT=&quot]จักมี[/FONT]” [FONT=&quot]ทรงทราบว่า [/FONT]“[FONT=&quot]นางกุมาริกานี้เจริญมรณสติแล้วสิ้น ๓ ปี[/FONT] [FONT=&quot]ตั้งแต่วันที่ฟังธรรมเทศนาของเรา[/FONT], [FONT=&quot]บัดนี้ เราไปในที่นั้นแล้ว ถามปัญหา ๔[/FONT] [FONT=&quot]ข้อกะนางกุมาริกานี้เมื่อนางแก้ปัญหาอยู่ จักให้สาธุการในฐานะ ๔[/FONT] [FONT=&quot]แล้วภาษิตคาถานี้[/FONT], [FONT=&quot]ในเวลาจบคาถา นางกุมาริกานั้น[/FONT] [FONT=&quot]จักตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล[/FONT], [FONT=&quot]เพราะอาศัยนางกุมาริกานั้น[/FONT] [FONT=&quot]เทศนาจักมีประโยชน์แม้แก่มหาชน[/FONT]” [FONT=&quot]ดังนี้แล้ว มีภิกษุประมาณ ๕๐๐[/FONT] [FONT=&quot]รูปเป็นบริวาร ได้เสด็จออกจากพระเชตวัน ไปสู่อัคคาฬววิหารโดยลำดับ.[/FONT] [FONT=&quot]ชาวเมืองอาฬวีทราบว่า [/FONT]“[FONT=&quot]พระศาสดาเสด็จมาแล้ว[/FONT]” [FONT=&quot]จึงไปวิหาร ทูลนิมนแล้ว.[/FONT] [FONT=&quot]แม้นางกุมาริกานั้น ทราบการเสด็จมาของพระศาสดา มีใจยินดีว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ข่าวว่า[/FONT] [FONT=&quot]พระมหาโคดมพุทธเจ้าผู้พรระบิดา ผู้เป็นใหญ่ เป็นพระอาจารย์[/FONT] [FONT=&quot]ผู้มีพระพักตร์ดังพระจันทร์เพ็ญของเราเสด็จมาแล้ว[/FONT]” [FONT=&quot]จึงคิดว่า [/FONT]“[FONT=&quot]พระศาสดา[/FONT] [FONT=&quot]ผู้มีวรรณะดังทองคำ อันเราเคยเห็น ในที่สุด ๓ ปี แต่วันนี้[/FONT], [FONT=&quot]บัดนี้[/FONT] [FONT=&quot]เราจักได้เห็นพระสรีระซึ่งมีวรรณะดังทองคำ และฟังธรรมอันเป็นโอวาท[/FONT] [FONT=&quot]ซึ่งมีโอชะอันไพเราะ (จับใจ) ของพระศาสดานั้น[/FONT]”

    [FONT=&quot]ฝ่ายบิดาของนาง เมื่อจะไปสู่โรงหูก ได้สั่งไว้ว่า [/FONT]“[FONT=&quot]แม่ ผ้าสาฎก[/FONT] [FONT=&quot]ซึ่งเป็นของคนอื่น เรายกขึ้นไว้ (กำลังทอ)[/FONT], [FONT=&quot]ผ้านั้นประมาณคืบหนึ่งยังไม่สำเร็จ เราจะให้ผ้านั้นเสร็จในวันนี้[/FONT], [FONT=&quot]เจ้ากรอด้ายหลอดแล้วพึงนำมาให้แก่พ่อโดยเร็ว[/FONT]” [FONT=&quot]นางกุมาริกานั้นคิดว่า[/FONT] “[FONT=&quot]เราใคร่จะฟังธรรมของพระศาสดา[/FONT], [FONT=&quot]ก็บิดาสั่งเราไว้อย่างนี้[/FONT]; [FONT=&quot]เราจะฟังธรรมของพระศาสดาหรือหนอแล หรือจะกรอด้ายหลอหดแล้วนำไปให้แก่บิดา[/FONT] ?” [FONT=&quot]ครั้งนั้น นางกุมาริกานั้น ได้มีความปริวิตกอย่างนี้ว่า[/FONT] “[FONT=&quot]เมื่อเราไปนำด้ายหลอดให้ บิดาพึงโบยเราบ้าง พึงตีเราบ้าง[/FONT], [FONT=&quot]เพราะฉะนั้น[/FONT] [FONT=&quot]เรากรอด้ายหลอดให้แก่ท่านแล้ว จึงจักฟังธรรมในภายหลัง[/FONT]” [FONT=&quot]ดังนี้แล้ว[/FONT] [FONT=&quot]จึงนั่งกรอด้ายหลอดอยู่บนตั่ง แม้พวกชาวเมืองอาฬวีอังคาสพระศาสดาแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]ได้รับบาตร ยืนอยู่เพื่อต้องการอนุโมทนา. พระศาสดาประทับนิ่งแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]ด้วยทรงดำริว่า [/FONT]“[FONT=&quot]เราอาศัยกุลธิดาใดมาแล้วสิ้นทาง ๓๐ โยชน์[/FONT], [FONT=&quot]กุลธิดานั้น[/FONT] [FONT=&quot]ไม่มีโอกาสแม้ในวันนี้[/FONT], [FONT=&quot]เมื่อกุลธิดานั้นได้โอกาสเราจักทำอนุโมทนา[/FONT]” [FONT=&quot]ก็ใครๆ[/FONT] [FONT=&quot]ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ย่อมไม่อาจเพื่อจะทูลอะไรๆ กะพระศาสดา[/FONT] [FONT=&quot]ผู้ทรงนิ่งอย่างนั้นได้[/FONT], [FONT=&quot]แม้นางกุมาริกานั้นแล[/FONT] [FONT=&quot]กรอด้ายหลอดแล้วใส่ในกระเช้าเดินไปสู่สำนักของบิดา ถึงที่สุดของบริษัทแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]ก็ได้เดินแลดูพระศาสดาไป. แม้พระศาสดา ก็ทรงชะเง้อ๑[/FONT] [FONT=&quot]ทอดพระเนตรนางกุมาริกานั้น. เหมือนกันว่า [/FONT]“[FONT=&quot]พระศาสดา[/FONT] [FONT=&quot]ประทับนั่งอยู่ในท่ามกลางบริษัทเห็นปานนั้น ทอดพระเนตรเราอยู่[/FONT] [FONT=&quot]ย่อมทรงหวังการมาของเรา ย่อมทรงหวังการมาสู่สำนักของพระองค์ทีเดียว[/FONT]” [FONT=&quot]นางวางกระเช้าด้ายหลอดแล้วได้ไปยังสำนักของพระศาสดา[/FONT]

    [FONT=&quot]ถามว่า[/FONT] “[FONT=&quot]ก็เพราะเหตุอะไร [/FONT]? [FONT=&quot]พระศาสดา[/FONT] [FONT=&quot]จึงทอดพระเนตรนางกุมาริกานั้น[/FONT]”

    [FONT=&quot]แก้ว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ได้ยินว่า พระองค์ได้ทรงปริวิตกอย่างนี้ว่า นางกุมาริกานั้น[/FONT] [FONT=&quot]เมื่อไปจากที่นี้ ทำกาลกิริยาอย่างปุถุชนแล้ว จักเป็นผู้มีคติไม่แน่นอน[/FONT], [FONT=&quot]แต่มาสู่สำนักของเราแล้วไปอยู่ บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]จักเป็นผู้มีคติแน่นอน เกิดในดุสิตวิมาน[/FONT]” [FONT=&quot]นัยว่า ในวันนั้น[/FONT] [FONT=&quot]ชื่อว่าความพ้นจากความตายไม่มีแก่นางกุมาริกานั้น[/FONT]

    [FONT=&quot]นางกุมาริกานั้น เข้าเฝ้าพระศาสดา[/FONT] [FONT=&quot]ด้วยเครื่องหมายอันพระศาสดาทอดพระเนตรนั่นแล เข้าไปสู่ระหว่างรัศมี[/FONT] [FONT=&quot]มีพรรณะ ๖ ถวายบังคมแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่ง[/FONT]


    [FONT=&quot]พระศาสดาตรัสถามปัญหากะธิดาช่างหูก[/FONT]

    [FONT=&quot]ในขณะที่นางกุมาริกานั้นถวายบังคมพระศาสดาผู้ประทับนั่งนิ่งในท่าม[/FONT] [FONT=&quot]กลางบริษัทเห็นปานนั้นแล้ว ยืนอยู่นั่นแล พระศาสดาตรัสกะนางว่า [/FONT]“[FONT=&quot]กุมาริกา[/FONT] [FONT=&quot]เธอมาจากไหน [/FONT]?”

    [FONT=&quot]กุมาริกา[/FONT] : [FONT=&quot]ไม่ทราบ[/FONT] [FONT=&quot]พระเจ้าข้า[/FONT]
    [FONT=&quot]พระศาสดา[/FONT] : [FONT=&quot]เธอจักไป[/FONT] [FONT=&quot]ณ[/FONT] [FONT=&quot]ที่ไหน [/FONT]?
    [FONT=&quot]กุมาริกา[/FONT] : [FONT=&quot]ไม่ทราบ[/FONT] [FONT=&quot]พระเจ้าข้า[/FONT]
    [FONT=&quot]พระศาสดา[/FONT] : [FONT=&quot]เธอไม่ทราบหรือ [/FONT]?
    [FONT=&quot]กุมาริกา[/FONT] : [FONT=&quot]ทราบ[/FONT] [FONT=&quot]พระเจ้าข้า[/FONT]
    [FONT=&quot]พระศาสดา[/FONT] : [FONT=&quot]เธอทราบหรือ [/FONT]?
    [FONT=&quot]กุมาริกา[/FONT] : [FONT=&quot]ไม่ทราบ[/FONT] [FONT=&quot]พระเจ้าข้า[/FONT]

    [FONT=&quot]พระศาสดาตรัสถามปัญหา[/FONT] [FONT=&quot]๔[/FONT] [FONT=&quot]ข้อ กะนางกุมาริกานั้น[/FONT] [FONT=&quot]ด้วยประการฉะนี้[/FONT]

    [FONT=&quot]มหาชนโพนทะนาว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ผู้เจริญทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงดูธิดาของช่างหูกนี้[/FONT] [FONT=&quot]พูดคำอันตนปรารถนาแล้วๆ กับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า[/FONT] [FONT=&quot]เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า [/FONT]‘[FONT=&quot]เธอมาจากไหน [/FONT]?’ [FONT=&quot]ธิดาของช่างหูกนี้ควรพูดว่า [/FONT]‘[FONT=&quot]จากเรือนของช่างหูก[/FONT]’ [FONT=&quot]เมื่อตรัสว่า[/FONT] ‘[FONT=&quot]เธอจะไปไหน [/FONT]?’ [FONT=&quot]ก็ควรกล่าวว่า [/FONT]‘[FONT=&quot]ไปโรงของช่างหูก[/FONT]’ [FONT=&quot]มิใช่หรือ [/FONT]? [FONT=&quot]พระศาสดาทรงกระทำมหาชนให้เงียบเสียงแล้ว ตรัสถามว่า [/FONT]‘[FONT=&quot]กุมาริกา เธอ เมื่อ[/FONT] [FONT=&quot]เรากล่าวว่า มาจากไหน [/FONT]?’ [FONT=&quot]เพราะเหตุใดเธอจึงตอบว่า [/FONT]‘[FONT=&quot]ไม่ทราบ[/FONT]’

    [FONT=&quot]กุมาริกา [/FONT]“[FONT=&quot]พระเจ้าข้า[/FONT] [FONT=&quot]พระองค์ย่อมทรงทราบความที่หม่อมฉันมาจากเรือนช่างหูก[/FONT] [FONT=&quot]แต่พระองค์เมื่อตรัสถามว่า [/FONT]‘[FONT=&quot]เธอมาจากไหน [/FONT]?’ [FONT=&quot]ย่อมตรัสถามว่า[/FONT] ‘[FONT=&quot]เธอมาจากที่ไหน จึงเกิดแล้วในที่นี่ [/FONT]?’ [FONT=&quot]แต่หม่อมฉันย่อมไม่ทราบว่า[/FONT] ‘[FONT=&quot]ก็เรามาแล้วจากไหน จึงเกิดในที่นี้[/FONT]’

    [FONT=&quot]ลำดับนั้น พระศาสดาประทานสาธุการเป็นครั้งแรกแก่นางกุมาริกานั้นว่า[/FONT] “[FONT=&quot]ดีละ ดีละ กุมาริกา ปัญหาอันเราถามแล้วนั่นแล อันเธอแก้ได้แล้ว[/FONT]” [FONT=&quot]แล้วตรัสถามแม้ข้อต่อไปว่า [/FONT]“[FONT=&quot]เธอ อันเราถามแล้วว่า [/FONT]‘[FONT=&quot]เธอจะไปไหน [/FONT]?’ [FONT=&quot]เพราะเหตุไร จึงกล่าวว่า [/FONT]'[FONT=&quot]ไม่ทราบ[/FONT]' ?

    [FONT=&quot]๑[/FONT]
    [FONT=&quot]คีวํ[/FONT] [FONT=&quot]อุกุขิปิตุวา.[/FONT]

    [FONT=&quot]กุมาริกา [/FONT]“[FONT=&quot]พระเจ้าข้า[/FONT] [FONT=&quot]พระองค์ทรงทราบหม่อมฉันผู้ถือกระเช้าด้ายหลอดเดินไปยังโรงของช่างหูก[/FONT], [FONT=&quot]พระองค์ย่อมตรัสถามว่า [/FONT]‘[FONT=&quot]ก็เธอไปจากโลกนี้แล้ว จักเกิดในที่ไหน [/FONT]?’ [FONT=&quot]ก็หม่อมฉันจุติจากโลกนี้ย่อมไม่ทราบว่า [/FONT]‘[FONT=&quot]จักไปเกิดในที่ไหน[/FONT]’

    [FONT=&quot]ลำดับนั้น พระศาสดา ประทานสาธุการแก่นางเป็นครั้งที่ ๒ ว่า[/FONT] “[FONT=&quot]ปัญหาอันเราถามแล้วนั่นแล เธอแก้ได้แล้ว[/FONT]” [FONT=&quot]แล้วตรัสถามแม้ข้อต่อไปว่า[/FONT] “[FONT=&quot]เมื่อเช่นนั้น เธอ อันเราถามว่า [/FONT]‘[FONT=&quot]ไม่ทราบหรือ [/FONT]?’ [FONT=&quot]เพราะเหตุไรจึงกล่าวว่า[/FONT] ‘[FONT=&quot]ทราบ[/FONT]’ ?”

    [FONT=&quot]กุมาริกา[/FONT] “[FONT=&quot]พระพุทธเจ้าข้า[/FONT] [FONT=&quot]หม่อมฉันย่อมทราบภาวะคือความตายของหม่อมฉันเท่านั้น[/FONT] [FONT=&quot]เหตุนั้น[/FONT] [FONT=&quot]จึงกราบทูลอย่างนั้น[/FONT]”

    [FONT=&quot]ลำดับนั้น พระศาสดาประทานสาธุการแก่นางเป็นครั้งที่ ๓ ว่า[/FONT] “[FONT=&quot]ปัญหาอันเราถามแล้วนั่นแล เธอแก้ได้แล้ว[/FONT]” [FONT=&quot]แล้วตรัสถามแม้ข้อต่อไปว่า[/FONT] “[FONT=&quot]เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอ อันเราถามว่า [/FONT]‘[FONT=&quot]เธอย่อมทราบหรือ [/FONT]?’ [FONT=&quot]เพราะเหตุไร[/FONT] [FONT=&quot]จึงพูดว่า [/FONT]‘[FONT=&quot]ไม่ทราบ[/FONT]’?

    [FONT=&quot]กุมาริกา [/FONT]“[FONT=&quot]หม่อมฉันย่อมทราบแต่ภาวะคือความตายของหม่อมฉันเท่านั้น[/FONT] [FONT=&quot]พระเจ้าข้า แต่ย่อมไม่ทราบว่า จักตายในเวลากลางคืน[/FONT] [FONT=&quot]กลางวันหรือเวลาเช้าเป็นต้น ในกาลชื่อโน้น[/FONT], [FONT=&quot]เพราะเหตุนั้น จึงพูดอย่างนั้น[/FONT]


    [FONT=&quot]คนมีปัญญาชื่อว่ามีจักษุ[/FONT]

    [FONT=&quot]ลำดับนั้น พระศาสดาประทานสาธุการครั้งที่ ๔ แก่นางว่า[/FONT] “[FONT=&quot]ปัญหาอันเราถามแล้วนั่นแล เธอแก้ได้แล้ว[/FONT]” [FONT=&quot]แล้วตรัสเตือนบริษัทว่า[/FONT] “[FONT=&quot]พวกท่านย่อมไม่ทราบถ้อยคำชื่อประมาณเท่านี้ ที่นางกุมาริกานี้กล่าวแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]ย่อมโพนทะนาอย่างเดียวเท่านั้น[/FONT]; [FONT=&quot]เพราะจักษุคือปัญญาของชนเหล่าใดไม่มี[/FONT], [FONT=&quot]ขนเหล่านั้นเป็น (ดุจ) คนบอดทีเดียว[/FONT]; [FONT=&quot]จักษุคือปัญญาของชนเหล่าใดมีอยู่[/FONT]; [FONT=&quot]ชนเหล่านั้นนั่นแล เป็นผู้มีจักษุ[/FONT]” [FONT=&quot]ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-[/FONT]

    “[FONT=&quot]สัตว์โลกนี้เป็นเหมือนคนตาบอด[/FONT], [FONT=&quot]ในโลกนี้น้อยคนนัก จะเห็นแจ้ง[/FONT], [FONT=&quot]น้อยคนนักจะไปในสวรรค์ เหมือนนกหลุดแล้วจากข่าย (มีน้อย) ฉะนั้น[/FONT]”


    [FONT=&quot]ธิดาช่างหูกตายไปเกิดในดุสิตภพ[/FONT]

    [FONT=&quot]แม้นางกุมาริกานั้น ได้ถือกระเช้าด้ายหลอดไปสู่สำนักของบิดาแล้ว.[/FONT] [FONT=&quot]แม้บิดานั้น ก็นั่งหลับแล้ว. เมื่อนางไม่กำหนดแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]น้อมกระเช้าด้ายหลอดเข้าไปอยู่ กระเช้าด้ายหลอดกระทบที่สุดฟืม[/FONT] [FONT=&quot]ทำเสียงตกไป. บิดานั้นตื่นขึ้นแล้ว ฉุดที่สุดฟืมไป[/FONT] [FONT=&quot]ด้วยนิมิตที่ตนจับเอาแล้วนั่นเอง. ที่สุดฟืมไปประหารนางกุมาริกานั้นที่อก[/FONT], [FONT=&quot]นางทำกาละ ณ ที่นั้นนั่นเอง บังเกิดแล้วในที่สุดภพ. ลำดับนั้น[/FONT] [FONT=&quot]บิดาของนางเมื่อแลดูนาง[/FONT] [FONT=&quot]ได้เห็นนางมีสรีระทั้งสิ้นเปื้อนด้วยโลหิตล้มลงตายแล้ว. ลำดับนั้น[/FONT] [FONT=&quot]ความโศกใหญ่บังเกิดขึ้นแก่บิดานั้น. เขาร้องไห้อยู่ด้วยคิดว่า[/FONT] “[FONT=&quot]ผู้อื่นจักไม่สามารถเพื่อยังความโศกของเราให้ดับได้[/FONT]” [FONT=&quot]จึงไปสู่สำนักของพระศาสดา กราบทูลเนื้อความนั้นแล้ ว[/FONT] [FONT=&quot]กราบทูลว่า[/FONT]”[FONT=&quot]พระเจ้าข้า ขอพระองค์จงยังความโศกของข้าพระองค์ให้ดับ[/FONT]” [FONT=&quot]พระศาสดาทรงปลอบเขาแล้ว ตรัสว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ท่านอย่าโศกแล้ว.[/FONT] [FONT=&quot]เพราะว่าน้ำตาของท่านอันไหลออกแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]ในกาลเป็นที่ตายแห่งธิดาของท่านด้วยอาการอย่างนี้นั่นแล ในสงสารมีที่สุด[/FONT] [FONT=&quot]ที่ใครๆ ไม่รู้แล้วเป็นของยิ่งกว่าน้ำมหาสมุทรทั้ง ๔[/FONT]“ [FONT=&quot]ดังนี้แล้ ว จึงตรัส[/FONT] [FONT=&quot]สอนมตัคคสูตร. เขามีความโศกเบาบาง ทูลขอบรรพชากะพระศาสดา ได้อุปสมบทแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]ต่อกาลไม่นานบรรลุพระอรหัตแล้วดังนี้แล.[/FONT]
    [FONT=&quot]เรื่องบุตรของนายโคฆาตก์[/FONT]

    [FONT=&quot]นายโคฆาตก์สั่งให้ภรรยาปิ้งเนื้อ[/FONT]

    [FONT=&quot]ดังได้สดับมา นายโคฆาตก์คนหนึ่งในนครสาวัตถี[/FONT] [FONT=&quot]ฆ่าโคแล้วถือเอาเนื้อล่ำปิ้งแล้ว นั่งพร้อมด้วยบุตรและภริยาเคี้ยวกินเนื้อ[/FONT] [FONT=&quot]และขายด้วยราคา เขาทำการของคนฆ่าโคอยู่อย่างนี้ตลอด ๕๕ ปี[/FONT] [FONT=&quot]มิได้ถวายยาคูหรือภัต แม้มาตรว่าทัพพีหนึ่งในวันหนึ่งแด่พระศาสดา[/FONT] [FONT=&quot]ซึ่งประทับอยู่ในวิหารใกล้ เขาเว้นจากเนื้อเสีย ย่อมไม่บริโภคภัต[/FONT] [FONT=&quot]วันหนึ่งเขาขายเนื้อในตอนกลางวันแล้ว ให้ก้อนเนื้อก้อนหนึ่งแก่ภริยา[/FONT] [FONT=&quot]เพื่อปิ้ง เพื่อประโยชน์แก่ตน แล้วได้ไปอาบน้ำ[/FONT]

    [FONT=&quot]ลำดับนั้น[/FONT] [FONT=&quot]สหายของเขามาสู่เรือนแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]พูดกะภริยาว่า[/FONT] “[FONT=&quot]หล่อนจงให้เนื้อที่จะขายพึงขายแก่ฉันหน่อยหนึ่ง[/FONT], ([FONT=&quot]เพราะ)[/FONT] [FONT=&quot]แขกมาที่เรือนฉัน[/FONT]”

    [FONT=&quot]ภริยานายโคฆาตก์[/FONT] : [FONT=&quot]เนื้อที่จะพึงขายไม่มี[/FONT], [FONT=&quot]สหายของท่านขายเนื้อแล้วบัดนี้ไปอาบน้ำ[/FONT]

    [FONT=&quot]สหาย[/FONT] : [FONT=&quot]อย่าทำอย่างนี้เลย[/FONT] [FONT=&quot]ถ้าก้อนเนื้อมี[/FONT] [FONT=&quot]ขอจงให้เถิด[/FONT]

    [FONT=&quot]ภริยานายโคฆาตก์[/FONT] : [FONT=&quot]เว้นก้อนเนื้อที่ฉันเก็บไว้เพื่อสหายของท่านแล้วเนื้ออื่นไม่มี[/FONT]

    [FONT=&quot]เขาคิดว่า[/FONT] “[FONT=&quot]เนื้ออื่นจากเนื้อหญิงนี้เก็บไว้เพื่อประโยชน์แก่สหายของเราไม่มี[/FONT], [FONT=&quot]อนึ่ง[/FONT] [FONT=&quot]สหายของเรานั้น เว้นจากเนื้อย่อมไม่บริโภค. หญิงนี้จักไม่ให้[/FONT]” [FONT=&quot]จึงถือเอาเนื้อนั้นเองหลีกไป[/FONT]

    [FONT=&quot]ฝ่ายนายโคฆาตก์อาบน้ำแล้วกลับมา.[/FONT] [FONT=&quot]เมื่อภรริยานั้นคดภัตนำเข้าไปพร้อมกับน้ำผักต้มเพื่อตน[/FONT], [FONT=&quot]จึงพูดว่า[/FONT] “[FONT=&quot]เนื้ออยู่ที่ไหน[/FONT]”

    [FONT=&quot]ภริยา[/FONT] : [FONT=&quot]นาย[/FONT] [FONT=&quot]เนื้อไม่มี[/FONT]

    [FONT=&quot]นายโคฆาตก์[/FONT] : [FONT=&quot]เราให้เนื้อไว้เพื่อต้องการปิ้งแล้วจึงไป[/FONT] [FONT=&quot]มิใช่หรือ [/FONT]?

    [FONT=&quot]ภริยา : สหายของท่านมาบอกว่า [/FONT]“[FONT=&quot]แขกของฉันมา[/FONT], [FONT=&quot]หล่อนจงให้เนื้อที่จะพึงขายแก่ฉัน[/FONT]” [FONT=&quot]เมื่อฉันตอบว่า[/FONT] “[FONT=&quot]เนื้ออื่นจากเนื้อที่ฉันเก็บไว้เพื่อสหายของท่านไม่มี[/FONT], [FONT=&quot]อนึ่ง[/FONT] [FONT=&quot]สหายของท่านนั้น เว้นจากเนื้อย่อมไม่บริโภค[/FONT]” [FONT=&quot]ก็ถือเอาเนื้อนั้นโดยพลการเองทีเดียวไปแล้ว[/FONT]

    [FONT=&quot]นายโคฆาตก์[/FONT] : [FONT=&quot]เราเว้นจากเนื้อ[/FONT] [FONT=&quot]ไม่บริโภคภัต[/FONT], [FONT=&quot]หล่อนจงนำภัตนั้นไป[/FONT]

    [FONT=&quot]ภริยา[/FONT] : [FONT=&quot]ฉันอาจทำอย่างไรได้[/FONT], [FONT=&quot]ขอจงบริโภคเถิดนาย[/FONT]


    [FONT=&quot]นายโคฆาตก์ตัดลิ้นโคปิ้งบริโภค[/FONT]

    [FONT=&quot]นายโคฆาตก์นั้นตอบว่า [/FONT]“[FONT=&quot]เราไม่บริโภคภัต[/FONT]” [FONT=&quot]ให้ภริยานำภัตนั้นไปแล้ว[/FONT], [FONT=&quot]ถือมีดไปสู่สำนักโคตัวยืนอยู่ที่หลังเรือน[/FONT] [FONT=&quot]แล้วสอดมือเข้าไปในปากดึงลิ้นออกมาเอามีดตัดที่โคน (ลิ้น)[/FONT] [FONT=&quot]แล้วถือไปให้ปิ้งบนถ่านเพลิงแล้ว วางไว้บนภัต[/FONT] [FONT=&quot]นั่งบริโภคก้อนภัตก้อนหนึ่งไว้ในปาก. ในขณะนั้นเอง[/FONT] [FONT=&quot]ลิ้นของเขาขาดตกลงในถาดสำหรับใส่ภัต ในขณะนั้นแล[/FONT] [FONT=&quot]เขาได้วิบากที่เห็นสมด้วยกรรม. แม้เขาแลเป็นเหมือนโค[/FONT] [FONT=&quot]มีสายเลือดไหลออกจากปากเข้าไปในเรือนเที่ยวคลาน ร้องไป.[/FONT]


    [FONT=&quot]บุตรนายโคฆาตก์หนี[/FONT]

    [FONT=&quot]สมัยนั้น บุตรของนายโคฆาตก์ยืนแลดูบิดาอยู่ในที่ใกล้.[/FONT] [FONT=&quot]ลำดับนั้นมารดาพูดกะเขาว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ลูก[/FONT]” [FONT=&quot]เจ้าจงดูบิดานี้เที่ยวคลานร้องไปในท่ามกลางเรือนเหมือนโค[/FONT] [FONT=&quot]ความทุกข์นี้จักตกบนกระหม่อมของเจ้า เจ้าไม่ต้องห่วง แม้ซึ่งแม่[/FONT] [FONT=&quot]จงทำความสวัสดีแก่ตนหนีไปเถิด[/FONT]” [FONT=&quot]บุตรนายโคฆาตก์นั้นถูกมรณภัยคุกคาม[/FONT] [FONT=&quot]ไหว้มารดาแล้วหนีไป ก็แลครั้นหนีไปแล้ว ได้ไปยังนครตักกสิลา.[/FONT] [FONT=&quot]แม้นายโคฆาตก์ก็เหมือนโค เที่ยวร้องไปในท่ามกลางเรือน[/FONT] [FONT=&quot]ทำกาละแล้วเกิดในอเวจี. แม้โคก็ได้ทำกาละแล้ว.[/FONT] [FONT=&quot]ฝ่ายบุตรของนายโคฆาตก์ก็ไปนครตักสิลา เรียนกางงานของนายช่างทอง.[/FONT] [FONT=&quot]ลำดับนั้นอาจารย์ของเขา เมื่อจะไปบ้านสั่งไว้ว่า[/FONT] “[FONT=&quot]เธอพึงทำเครื่องประดับชื่อเห็นปานนี้[/FONT]” [FONT=&quot]แล้วหลีกไป.[/FONT] [FONT=&quot]แม้เขามาเห็นเครื่องประดับแล้ว ดำริว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ชายผู้นี้ไปในที่ใดที่หนึ่ง[/FONT] [FONT=&quot]เป็นผู้สามารถจะเลี้ยงชีพได้[/FONT]” [FONT=&quot]จึงได้ให้ธิดาผู้เจริญวัยของตน (แก่เขา).[/FONT] [FONT=&quot]เขาเจริญด้วยบุตรธิดาแล้ว.[/FONT]


    [FONT=&quot]ลูกทำบุญให้พ่อ[/FONT]

    [FONT=&quot]ลำดับนั้น บุตรทั้งหลายของเขาเจริญวัยแล้ว เรียนศิลปะ[/FONT], [FONT=&quot]ในกาลต่อมาไปพระนครสาวัตถี ดำรงฆราวาสอยู่ในพระนครนั้น[/FONT] [FONT=&quot]ได้เป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส. ฝ่ายบิดาของพวกเขาไม่ทำกุศลอะไรๆ[/FONT] [FONT=&quot]เลยถึงความชราในนครตักกสิลาแล้ว. ลำดับนั้น พวกบุตรของเขาปรึกษากันว่า[/FONT] “[FONT=&quot]บิดาของพวกเราแก่[/FONT]” [FONT=&quot]แล้วให้เรียกมายังสำนักของตน พูดว่า[/FONT] “[FONT=&quot]พวกฉันจะถวายทานเพื่อประโยชน์แก่บิดา[/FONT]” [FONT=&quot]แล้วนิมนต์ภิกษุสงฆ์[/FONT] [FONT=&quot]มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน. วันรุ่งขึ้น[/FONT] [FONT=&quot]พวกเขานิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าประธานให้นั่งภายในเรือนแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]อังคาสโดยเคารพ[/FONT], [FONT=&quot]ในเวลาเสร็จภัตกิจ กราบทูลพระศาสดาว่า[/FONT] “[FONT=&quot]พระเจ้าข้าพวกข้าพระองค์ ถวายภัตนี้ให้เป็นชีวภัต[/FONT] ([FONT=&quot]ภัตเพื่อบุคคลผู้เป็นอยู่) เพื่อบิดา. ขอพระองค์จงทรงทำอนุโมทนา[/FONT] [FONT=&quot]แก่บิดาของพวกข้าพระองค์เถิด[/FONT]”


    [FONT=&quot]พระศาสดาทรงแสดงธรรม[/FONT]

    [FONT=&quot]พระศาสดา ตรัสเรียกบิดาองพวกเขามาแล้ว ตรัสว่า [/FONT]“[FONT=&quot]อุบาสกท่านเป็นคนแก่[/FONT] [FONT=&quot]มีสรีระแก่หง่อมเช่นกับใบไม้เหลือง[/FONT], [FONT=&quot]เสบียงทางคือกุศลเพื่อจะไปยังปรโลกของท่านยังไม่มี[/FONT], [FONT=&quot]ท่านจงทำที่พึ่งแก่ตน[/FONT] [FONT=&quot]จงเป็นบัณฑิต อย่าพาล[/FONT]” [FONT=&quot]ดังนี้แล้ว เมื่อทรงทำอนุโมทนา[/FONT] [FONT=&quot]จึงได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า:-[/FONT]

    “[FONT=&quot]บัดนี้ ท่านเป็นดุจใบไม้เหลือง[/FONT], [FONT=&quot]อนึ่ง บุรุษแห่งยายม (คือความตาย)[/FONT] [FONT=&quot]ปรากฏแก่ท่านแล้ว. ท่านตั้งอยู่ใกล้ปากแห่งความเสื่อม[/FONT], [FONT=&quot]อนึ่ง[/FONT] [FONT=&quot]แม้เสบียงทางของท่าน ก็ยังไม่มี. ท่านนั้น จงทำที่พึ่งแก่ตน[/FONT], [FONT=&quot]จงรีบพยายาม[/FONT] [FONT=&quot]จงเป็นบัณฑิต ท่านกำจัดมลทินได้แล้วไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน[/FONT] [FONT=&quot]จักถึงอริยภูมิอันเป็นทิพย์[/FONT]”


    [FONT=&quot]พวกบุตรถวายทานอีก[/FONT]

    [FONT=&quot]บุตรเหล่านั้น ทูลนิมนต์พระศาสดา แม้ประโยชน์ในวันรุ่งขึ้น[/FONT] [FONT=&quot]ถวายทานแล้ว ได้กราบทูลพระศาสดาผู้ทรงทำภัตกิจแล้ว ในเวลาทรงอนุโมทนาว่า[/FONT] “[FONT=&quot]พระเจ้าข้า[/FONT] [FONT=&quot]แม้ภัตนี้พวกข้าพระองค์ถวายให้เป็นชีวภัตเพื่อบิดาของปวงข้าพระองค์เหมือน[/FONT] [FONT=&quot]กัน[/FONT], [FONT=&quot]ขอพระองค์จงทรงทำอนุโมทนาแก่บิดานี้นี่แล[/FONT]”

    [FONT=&quot]พระศาสดา[/FONT] [FONT=&quot]เมื่อจะทำอนุโมทนาแก่เขา[/FONT] [FONT=&quot]ได้ตรัส[/FONT] [FONT=&quot]๒[/FONT] [FONT=&quot]พระคาถานี้ว่า :-[/FONT]

    ”[FONT=&quot]บัดนี้ ท่านเป็นผู้มีวัยอันชรานำเข้าไปแล้ว[/FONT], [FONT=&quot]เป็นผู้เตรียมพร้อมเพื่อจะไปสู่สำนักของพระยายม[/FONT], [FONT=&quot]อนึ่ง[/FONT] [FONT=&quot]แม้ที่พักในระหว่างทางของท่านก็ยังไม่มี[/FONT], [FONT=&quot]อนึ่ง ถึงเสบียงทางของท่าน[/FONT] [FONT=&quot]ก็หามีไม่[/FONT], [FONT=&quot]ท่านนั้นจงทำที่พึ่งแก่ตน[/FONT], [FONT=&quot]จงรีบพยายาม จงเป็นบัณฑิต[/FONT] [FONT=&quot]ท่านเป็นผู้มีมลทินอันกำจัดได้แล้ว ไม่มีกิเลส เพียงดังเนิน[/FONT] [FONT=&quot]จักไม่เข้าถึงชาติชราอีก[/FONT]”
    [FONT=&quot]เรื่องบุตรเศรษฐีชื่อเขมกะ[/FONT]

    [FONT=&quot]เขมกะเป็นนักเลงเจ้าชู้[/FONT][FONT=&quot]ถูกจับถึง[/FONT][FONT=&quot]๓[/FONT][FONT=&quot]ครั้ง[/FONT]

    [FONT=&quot]ดังได้สดับมา นายเขมกะนั้นเป็นผู้มีรูปสวย. โดยมากหญิงทั้งหลายเห็นเขาแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]ถูกราคะครอบงำ ม่สามารถดำรงอยู่ตามภาวะของตนได้.[/FONT] [FONT=&quot]แม้เขาก็ได้เป็นผู้ยินดียิ่งในปรทารกรรม เหมือนกัน[/FONT]

    [FONT=&quot]ต่อมาในเวลากลางคืน พวกราชบุรุษจับเขานำไปแสดงแด่พระราชา.[/FONT] [FONT=&quot]พระราชามิได้ตรัสอะไรกะเขา ด้วยดำริว่า [/FONT]“[FONT=&quot]เราละอายต่อมหาเศรษฐี[/FONT]” [FONT=&quot]แล้วรับสั่งให้ปล่อยไป. ฝ่ายนายเขมกะนั้น ก็มิได้งดเว้นเลย. ต่อมา (อีก )[/FONT] [FONT=&quot]พวกราชบุรุษก็จับเขาแล้วแสดงแด่พระราชาถึงครั้งที่ ๒ ที่ ๓.[/FONT] [FONT=&quot]พระราชบุรุษก็รับสั่งปล่อยเช่นเคย. มหาเศรษฐีทราบเรื่องนั้นแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]พาเขาไปสำนักพระศาสดา กราบทูลเรื่องนั้นแล้วทูลว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ[/FONT] [FONT=&quot]ขอพระองค์โปรดแสดงธรรมแก่นายเขมกะนี้[/FONT]”


    [FONT=&quot]พระศาสดาทรงแสดงโทษแห่งปรทารกรรม[/FONT]

    [FONT=&quot]พระศาสดาตรัสสังเวคกถาแก่เขาแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]เมื่อจะทรงแสดงโทษในการเสพภรรยาของคนอื่น[/FONT] [FONT=&quot]ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-[/FONT]

    “[FONT=&quot]นระผู้ประมาทชอบเสพภรรยาของผู้อื่น ย่อมถึงฐานะ ๔ อย่างคือ :[/FONT] [FONT=&quot]การได้สิ่งที่มิใช่บุญ เป็นที่ ๑ การนอนไม่ได้ตามความปรารถนา เป็นที่ ๒[/FONT] [FONT=&quot]การนินทา เป็นที่ ๓ นรก เป็นที่ ๔. การได้สิ่งมิใช่บุญอย่างหนึ่ง[/FONT], [FONT=&quot]คติลามกอย่างหนึ่ง[/FONT], [FONT=&quot]ความยินดีของบุรุษผู้กลัวกับด้วยหญิงผู้กลัว[/FONT] [FONT=&quot]มีประมาณน้อยอย่างหนึ่ง[/FONT], [FONT=&quot]พระราชาย่อมลงอาชญาอันหนักอย่างหนึ่ง[/FONT], [FONT=&quot]เพราะฉะนั้น นระไม่ควรเสพภรรยาของคนอื่น[/FONT]”


    [FONT=&quot]บุรพกรรมของนายเขมกะ[/FONT]

    [FONT=&quot]ถามว่า[/FONT] “[FONT=&quot]ก็บุรพกรรมของนายเขมกะนั้น[/FONT] [FONT=&quot]เป็นอย่างไร [/FONT]?”

    [FONT=&quot]แก้ว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ดังได้สดับมาในสมัยของพระพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสป[/FONT] [FONT=&quot]เขาเป็นนักมวยที่เก่งที่สุด ยกธงทอง ๒[/FONT] [FONT=&quot]แผ่นขึ้นไว้ที่กาญจนสถูปของพระทศพลแล้ว หญิงที่เหลือเห็นเราแล้วจงกำหนัด[/FONT]” [FONT=&quot]นี้เป็นบุรพกรรมของเขาด้วยประการฉะนี้. เพราะฉะนั้น หญิงคนเหล่าอื่น[/FONT] [FONT=&quot]เห็นเขาในที่เขาเกิดแล้วจึงไม่สามารถเพื่อจะดำรงอยู่ตามภาวะของตนได้ดังนี้[/FONT] [FONT=&quot]แล[/FONT]
    [FONT=&quot]เรื่องสาวกเดียรถีย์[/FONT]

    [FONT=&quot]พวกเดียรถีย์สอนบุตรไม่ให้ไหว้สมณะ[/FONT]

    [FONT=&quot]ความพิสดารว่า สมัยหนึ่งพวกสาวกอัญญเดียรถีย์ เห็นพวกลูกๆ[/FONT] [FONT=&quot]ของตนพร้อมทั้งบริวาร เล่นอยู่กับพวกลูกของพวกอุบาสกผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ[/FONT] [FONT=&quot]ในเวลาลูกเหล่านั้นมาเรือนแล้ว จึงต่างให้กระทำปฏิญาณว่า [/FONT]“[FONT=&quot]สมณะ[/FONT] [FONT=&quot]พวกศากยบุตร พวกเจ้าไม่พึงไหว้[/FONT], [FONT=&quot]แม้วิหารของสมณะเหล่านั้น[/FONT] [FONT=&quot]พวกเจ้าก็ไม่พึงเข้าไป[/FONT]” [FONT=&quot]วันหนึ่ง ลูกของพวกอัญญเดีรถีย์เหล่านั้น[/FONT] [FONT=&quot]กำลังเล่นอยู่ในที่ใกล้แห่งซุ้มประตูนอกพระเชตวันวิหาร[/FONT] [FONT=&quot]มีความกระหายน้ำขึ้น ทีนั้น[/FONT] [FONT=&quot]พวกเขาจึงส่งเด็กของอุบาสกคนหนึ่งไปสู่พระวิหาร สั่งว่า[/FONT] “[FONT=&quot]เจ้าไปดื่มน้ำในพระวิหารนั้นแล้ว จงนำมาเพื่อพวกเราบ้าง[/FONT]” [FONT=&quot]เด็กนั้นก็เข้าไปยังพระวิหาร ถวายบังคมพระศาสดาแล้วกราบทูลความข้อนั้น.[/FONT]


    [FONT=&quot]บุตรพวกเดียรถีย์นับถือพระพุทธศาสนา[/FONT]

    [FONT=&quot]ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสกะเด็กนั้นว่า [/FONT]“[FONT=&quot]เจ้าเท่านั้น ดื่มน้ำแล้วไป[/FONT] [FONT=&quot]จงส่งแม้พวกเด็กนอกนี้มา เพื่อต้องการแก่การดื่มน้ำในที่นี้เทียว[/FONT]” [FONT=&quot]เขาได้ทำอย่างนั้น. พวกเด็กเหล่านั้นมาดื่มน้ำแล้ว.[/FONT] [FONT=&quot]พระศาสดารับสั่งให้หาเด็กเหล่านั้นมาแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]ตรัสธรรมกถาที่สบายแก่เด็กเหล่านั้น[/FONT] [FONT=&quot]ทรงทำเด็กเหล่านั้นให้มีศรัทธามั่นคงแล้ว ให้ตั้งอยู่ในสรณะและศีล[/FONT] [FONT=&quot]เด็กเหล่านั้นไปสู่เรือนของตนๆ แล้ว แจ้งความนั้นแก่มารดาและบิดา[/FONT] [FONT=&quot]ครั้งนั้นมารดาและบิดาของพวกเขา ถึงความโทมนัสปริเทวนาว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ลูกของพวกเรา[/FONT] [FONT=&quot]เกิดเป็นคนมีทิฏฐิวิบัติเสียแล้ว[/FONT]” [FONT=&quot]ครั้งนั้น[/FONT] [FONT=&quot]คนที่สนิทสนมของพวกนั้นเป็นคนฉลาด มากล่าวธรรมแก่คนเหล่านั้น[/FONT] [FONT=&quot]เพื่อต้องการแก่อันยังความโทมนัสให้สงบ[/FONT]

    [FONT=&quot]มารดาและบิดาของพวกเด็กเหล่านั้น[/FONT] [FONT=&quot]ฟังถ้อยคำของเหล่านั้นแล้วจึงกล่าวว่า [/FONT]“[FONT=&quot]พวกเราจักมอบพวกเด็กๆ[/FONT] [FONT=&quot]เหล่านี้แก่พระสมณโคดมเสียทีเดียว[/FONT]” [FONT=&quot]ดังนี้แล้ว[/FONT] [FONT=&quot]นำไปสู่พระวิหารพร้อมด้วยหมู่ญาติเป็นอันมาก[/FONT]


    [FONT=&quot]ความเห็นเป็นเหตุให้สัตว์ไปทุคติและสุคติ[/FONT]

    [FONT=&quot]พระศาสดาทรงตรวจดูอาสนะของคนเหล่านั้นแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]เมื่อจะทรงแสดงธรรม[/FONT] [FONT=&quot]ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล้านี้ว่า[/FONT] :-

    “[FONT=&quot]สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีความรู้ว่ามีโทษในธรรมที่หาโทษมิได้[/FONT] [FONT=&quot]มีปกติเห็นว่าหาโทษมิได้ในธรรมที่มีโทษ[/FONT] [FONT=&quot]เป็นผู้ถือด้วยดีซึ่งมิจฉาทิฏฐิย่อมไปสู่ทุคติ. สัตว์ทั้งหลาย[/FONT] [FONT=&quot]รู้ธรรมที่มีโทษ โดยธรรมมีโทษ รู้ธรรมที่หาโทษมิได้[/FONT] [FONT=&quot]โดยความเป็นธรรมหาโทษมิได้ เป็นผู้ถือด้วยดีซึ่งสัมมาทิฏฐิ[/FONT] [FONT=&quot]ย่อมไปสู่สุคติ[/FONT]”
    [FONT=&quot]เรื่องอังกุรเทพบุตร[/FONT]

    [FONT=&quot]ทานที่เลือกให้พระพุทธเจ้าตรัสสรรเสริญ[/FONT]

    [FONT=&quot]ข้าพเจ้าทำเรื่องให้พิสดารแล้วแล ในพระคาถาว่า [/FONT]“[FONT=&quot]เย ฌานปปสุตา ธีรา[/FONT]” [FONT=&quot]เป็นต้น.[/FONT] [FONT=&quot]สมจริงดังคำที่ข้าพเจ้าปรารภอินทกเทพบุตรกล่าวไว้ในเรื่องนั้นดังนี้ว่า :[/FONT] “[FONT=&quot]ได้ยินว่า อินทกเทพบุตรนั้นยังภิกษาทัพพีหนึ่ง ที่เขานำมาเพื่อตน[/FONT] [FONT=&quot]ให้ถึงแล้วแก่พระอนุรุทธเถระผู้เข้าไปสู่ภายในหมู่บ้านเพื่อบิณฑบาต[/FONT] [FONT=&quot]บุญนั้นของอินทกเทพบุตรนั้น มีผลมากกว่าทานที่อังกุรเทพบุตร[/FONT] [FONT=&quot]ทำระเบียบแห่งเตาประมาณ ๑๒ โยชน์ ถวายแล้วสิ้นหมื่นปี[/FONT]” [FONT=&quot]เพราะเหตุนั้น[/FONT] [FONT=&quot]อินทกเทพบุตร จึงกล่าวอย่างนั้น. เมื่ออินทกเทพบุตรกล่าวอย่างนั้นแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]พระศาสดาจึงตรัสว่า [/FONT]“[FONT=&quot]อังกุระ[/FONT]” [FONT=&quot]ชื่อว่าการเลือกให้ทานย่อมควร[/FONT], [FONT=&quot]ทาน[/FONT] ([FONT=&quot]ของอินทกะ) นั้นเป็นของมีผลมาก ดังพืชที่หว่านดีแล้วในนาดี อย่างนี้[/FONT], [FONT=&quot]แต่ท่านไม่ได้ทำอย่างนั้น เพราะฉะนั้น ทานของท่านจึงไม่มีผลมาก[/FONT]” [FONT=&quot]เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนี้ จึงตรัสว่า :-[/FONT]

    “[FONT=&quot]บุคคลควรเลือกให้ทาน ในเขตที่ตนให้แล้ว จะมีผลมากเพราะการเลือกให้[/FONT] [FONT=&quot]พระสุคตทรงสรรเสริญแล้ว ทานที่ให้ในท่านผู้เป็นทักขิไณยบุคคล ในชีวโลกนี้[/FONT] [FONT=&quot]เป็นของมีผลมากเหมือนพืชที่หว่านในนาดีฉะนั้น[/FONT]”

    [FONT=&quot]เมื่อจะทรงแสดงธรรมให้ยิ่งขึ้นไป[/FONT] [FONT=&quot]จึงได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า[/FONT] :-

    “[FONT=&quot]นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ[/FONT], [FONT=&quot]หมู่สัตว์นี้ก็มีราคะเป็นโทษ[/FONT]; [FONT=&quot]ฉะนั้นแล[/FONT] [FONT=&quot]ทานที่ให้ในท่านผู้ปราศจากราคะ จึงมีผลมาก[/FONT], [FONT=&quot]นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ[/FONT], [FONT=&quot]หมู่สัตว์นี้ก็มีโทสะเป็นโทษ[/FONT], [FONT=&quot]ฉะนั้นแล ทานที่ให้ในท่านผู้ปราศจากโทสะ[/FONT] [FONT=&quot]จึงมีผลมาก. นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ[/FONT], [FONT=&quot]หมู่สัตว์นี้ก็มีโมหะเป็นโทษ[/FONT], [FONT=&quot]ฉะนั้นแล ท่านที่ให้ในท่านผู้ปราศจากโมหะ จึงมีผลมาก.[/FONT] [FONT=&quot]นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ[/FONT], [FONT=&quot]หมู่สัตว์นี้ก็มีความอยากเป็นโทษ[/FONT]; [FONT=&quot]ฉะนั้นแล[/FONT] [FONT=&quot]ทานที่ให้ในท่านผู้ปราศจากความอยาก จึงมีผลมาก.[/FONT]”
    [FONT=&quot]เรื่องภิกษุฆ่าหงส์[/FONT]

    [FONT=&quot]สองสหายออกบวช[/FONT]

    [FONT=&quot]ดังได้สดับมา[/FONT] [FONT=&quot]สหายสองคนชาวกรุงสาวัตถี[/FONT] [FONT=&quot]ได้บรรพชาอุปสมบทใน[/FONT] ([FONT=&quot]สำนัก)[/FONT] [FONT=&quot]ภิกษุทั้งหลายแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]โดยมากเที่ยวไปด้วยกัน[/FONT]

    [FONT=&quot]ในวันหนึ่งภิกษุสองรูปนั้นไปสู่แม่น้ำอจริวดี[/FONT] [FONT=&quot]สรงน้ำแล้วผิงแดดอยู่[/FONT] [FONT=&quot]ได้ยืนพูดกันถึงสารณียกถา. ในขณะนั้น[/FONT] [FONT=&quot]หงส์สองตัวบินมาโดยอากาศ[/FONT]


    [FONT=&quot]ภิกษุรูปหนึ่งดีดตาหงส์ด้วยก้อนกรวด[/FONT]

    [FONT=&quot]ขณะนั้น[/FONT] [FONT=&quot]ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งหยิบก้อนกรวดแล้วพูดว่า[/FONT] “[FONT=&quot]ผมจักดีดตาของหงส์ตัวหนึ่ง[/FONT]” [FONT=&quot]ภิกษุนอกนี้กล่าวว่า[/FONT] “[FONT=&quot]ท่านจักไม่สามารถ[/FONT]”

    [FONT=&quot]ภิกษุรูปที่หนึ่ง[/FONT] : [FONT=&quot]ตาข้างนี้จงยกไว้[/FONT], [FONT=&quot]ผมจักยกไว้ดีดตาข้างโน้น.[/FONT]

    [FONT=&quot]ภิกษุรูปที่สอง[/FONT] : [FONT=&quot]แม้ตาข้างนี้[/FONT] [FONT=&quot]ท่านก็จักไม่สามารถ[/FONT] ([FONT=&quot]ดีด)[/FONT] [FONT=&quot]เหมือนกัน.[/FONT]

    [FONT=&quot]ภิกษุรูปที่หนึ่ง : [/FONT]“[FONT=&quot]ถ้าอย่างนั้น ท่านจงคอยดู[/FONT]” [FONT=&quot]แล้วหยิบกรวดก้อนที่สอง[/FONT] [FONT=&quot]ดีดไปทางข้างหลังของหงส์. หงส์ได้ยินเสียงก้อนกรวดจึงเหลียวดู. ขณะนั้น[/FONT] [FONT=&quot]เธอหยิบก้อนกรวดกลมอีกก้อนกนึ่ง แล้วดีดหงส์ตัวนั้นที่ตาข้างโน้น[/FONT] [FONT=&quot]ให้ทะลุออกตาข้างนี้. หงส์ร้อง ม้วนตกลงแทบเท้าของภิกษุเหล่านั้นนั่นแล.[/FONT]


    [FONT=&quot]ภิกษุทั้งหลายติเตียนแล้วทูลแด่พระศาสดา[/FONT]

    [FONT=&quot]ภิกษุทั้งหลาย ยืนอยู่ในที่นั้นๆ เห็นแล้ว จึงกล่าวว่า[/FONT] “[FONT=&quot]ผู้มีอายุเธอบวชในพระพุทธศาสนา ทำปาณาติบาต (นับว่า) ทำกรรมไม่สมควร[/FONT]” [FONT=&quot]แล้วพาภิกษุทั้งสองรูปนั้นไปเฝ้าพระตถาคต.[/FONT]


    [FONT=&quot]พระศาสดาประทานโอวาท[/FONT]

    [FONT=&quot]พระศาสดาตรัสถามว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ภิกษุ ได้ยินว่า เธอทำปาณาติบาตจริงหรือ [/FONT]?” [FONT=&quot]เมื่อเธอกราบทูลว่า [/FONT]“[FONT=&quot]จริง พระเจ้าข้า[/FONT]” [FONT=&quot]จึงตรัสว่า[/FONT] “[FONT=&quot]ภิกษุเธอบวชในพระศาสนาที่เป็นเหตุนำสัตว์ออกจากทุกข์[/FONT] [FONT=&quot]เห็นปานนี้ได้ทำแล้วอย่างนี้ เพราะเหตุอะไร [/FONT]? [FONT=&quot]บัณฑิตในปางก่อน[/FONT] [FONT=&quot]เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่ทรงอุบัติ อยู่ในท่ามกลางเรือน[/FONT] [FONT=&quot]ทำความรังเกียจในฐานะแม้มีประมาณน้อย[/FONT], [FONT=&quot]ส่วนเธอบวชในพระพุทธศาสนาเห็นปานนี้หาได้ทำแม้มาตรว่าความรังเกียจไม่[/FONT]” [FONT=&quot]อันภิกษุเหล่านั้นทูลอ้อนวอนแล้ว ทรงนำอดีตนิทานมา (ตรัส) ว่า :-[/FONT]


    [FONT=&quot]ศีล[/FONT][FONT=&quot]๕[/FONT][FONT=&quot]ชื่อกุรุธรรม[/FONT]

    “[FONT=&quot]ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าธนญชัยเสวยราชสมบัติอยู่ในพระนครชื่ออินทปัตตะ[/FONT] [FONT=&quot]ในแคว้นกุรุ[/FONT], [FONT=&quot]พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีของพระราชานั้น[/FONT] [FONT=&quot]ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้วโดยลำดับ[/FONT] [FONT=&quot]ทรงเรียนศิลปะทั้งหลายในเมืองตักกสิลาแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]อันพระบิดาทรงให้ดำรงในตำแหน่งอุปราช ในกาลต่อมา[/FONT] [FONT=&quot]โดยกาลเป็นที่ล่วงไปแห่งพระบิดา ได้รับราชสมบัติแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]ไม่ทรงละเมิดราชธรรมทั้ง ๑๐ ประการ ทรงประพฤติอยู่ในกุรุธรรมแล้ว. ศีล ๕[/FONT] [FONT=&quot]ชื่อว่ากุรุธรรม. พระโพธิสัตว์ทรงรักษาศีล ๕ นั้น ทำให้บริสุทธิ์. พระชนนี[/FONT] [FONT=&quot]พระอัครมเหสี พระอนุชา อุปราช พราหมณ์ปุโรหิต อำมาตย์ผู้ถือเชือก นายสารถี[/FONT] [FONT=&quot]เศรษฐี มหาอำมาตย์ผู้เป็นขุนคลัง คนรักษาประตู นางวรรณทาสี[/FONT] [FONT=&quot]ผู้เป็นหญิงงามเมืองของพระโพธิสัตว์นั้น ย่อมรักษาศีล ๕[/FONT] [FONT=&quot]เหมือนพระโพธิสัตว์ ด้วยประการฉะนี้.[/FONT]


    [FONT=&quot]แคว้นกาลิงคะเกิดฝนแล้ง[/FONT]

    [FONT=&quot]เมื่อชนทั้ง ๑๑ คนนี้ รักษากุรุธรรมอยู่อย่างนั้น[/FONT], [FONT=&quot]เมื่อพระราชาทรงพระนามว่ากาลิงคะ เสวยราชสมบัติอยุ่ในพระนครทันตบุรี[/FONT] [FONT=&quot]ในแคว้นกาลิงคะ ฝนมิได้ตกในแคว้นของพระองค์แล้ว.[/FONT] [FONT=&quot]ก็ช้างมงคลชื่อว่าอัญชนาสภะของพระมหาสัตว์ เป็นสัตว์มีบุญมาก.[/FONT] [FONT=&quot]ชาวแคว้นพากันกราบทูลด้วยสำคัญว่า [/FONT]“[FONT=&quot]เมื่อนำช้างนั้นมาแล้ว ฝนจักตก[/FONT]”

    [FONT=&quot]พระราชาทรงส่งพวกพราหมณ์ไป เพื่อต้องการนำช้างนั้นมา.[/FONT] [FONT=&quot]พราหมณ์เหล่านั้นไปแล้ว ทูลขอช้างกะพระมหาสัตว์แล้ว.[/FONT] [FONT=&quot]เพื่อจะทรงแสดงอาการขอนี้ของพราหมณ์เหล่านั้น[/FONT] [FONT=&quot]พระศาสดาจึงตรัสชาดกในติกนิบาตรนี้เป็นต้นว่า :-[/FONT]

    “[FONT=&quot]ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่แห่งชน[/FONT] [FONT=&quot]ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายนทราบศรัทธาและศีลของพระองค์แล้ว[/FONT] [FONT=&quot]ขอพระราชทานแลกทองด้วยช้าง ซึ่งมีสีดุจดอกอัญชัน ไปในแคว้นกาลิงคะ[/FONT]”

    [FONT=&quot]ก็เมื่อพราหมณ์ทั้งหลายนำช้างมาแล้ว[/FONT], [FONT=&quot]เมื่อฝนไม่ตก[/FONT], [FONT=&quot]ด้วยทรงสำคัญว่า[/FONT] “[FONT=&quot]พระราชานั้นทรงรักษากุรุธรรม[/FONT]; [FONT=&quot]เพราะฉะนั้น ฝนจึงตกในแคว้นของพระองค์[/FONT]” [FONT=&quot]พระเจ้ากาลิงคะ จึงทรงส่งพวกพราหมณ์และอำมาตย์ไปอีก ด้วยพระดำรัสว่า[/FONT] “[FONT=&quot]พวกท่านจงจารึกกุรุธรรมที่พระราชานั้นรักษาลงในแผ่นทองคำแล้วนำมา.[/FONT]” [FONT=&quot]เมื่อพราหมณ์และอำมาตย์เหล่านั้นไปทูลขออยู่[/FONT], [FONT=&quot]ชนเหล่านั้นแม้ทั้งหมด[/FONT] [FONT=&quot]นับแต่พระราชาเป็นต้น[/FONT] [FONT=&quot]กระทำอาการสักว่าความรังเกียจบางอย่างในศีลทั้งหลายของตนๆ แล้ว ห้ามว่า[/FONT] “[FONT=&quot]ศีลของพวกเราไม่บริสุทธิ์[/FONT]” [FONT=&quot]ถูกพราหมณ์และอำมาตย์เหล่านั้นอ้อนวอนหนักเข้าว่า[/FONT] “[FONT=&quot]ความทำลายแห่งศีลหาได้มีด้วยเหตุเพียงเท่านี้ไม่[/FONT]” [FONT=&quot]จึงได้บอกศีลทั้งหลายของตนๆ แล้ว.[/FONT]


    [FONT=&quot]พระเจ้ากาลิงคะทรงรักษากุรุธรรมฝนจึงตก[/FONT]

    [FONT=&quot]พระเจ้ากาลิงคะ[/FONT] [FONT=&quot]ได้ทอดพระเนตรกุรุธรรมที่พวกพราหมณ์และอำมาตย์จารึกลงในแผ่นทองคำนำมา[/FONT] [FONT=&quot]ทรงสมาทานบำเพ็ญให้บริบูรณ์ด้วยดี. ฝนจึงตกในแคว้นของพระองค์[/FONT], [FONT=&quot]แว่นแคว้นได้เกษมมีภิกษาหาได้โดยง่ายแล้ว.[/FONT]

    [FONT=&quot]พระศาสดาครั้นทรงนำอดีตนิทานนี้มาแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]ทรงประชุมชาดกว่า[/FONT] :-

    “[FONT=&quot]หญิงแพศยาในครั้งนั้น ได้เป็นนางอุบลวรรณา[/FONT], [FONT=&quot]คนรักษาประตู[/FONT] [FONT=&quot]ได้เป็นภิกษุชื่อว่าปุณณะ[/FONT], [FONT=&quot]อำมาตย์ผู้ถือเชือก ได้เป็นกัจจานภิกษุ[/FONT], [FONT=&quot]และอำมาตย์ผู้เป็นขุนคลัง ได้เป็นโกลิตะ[/FONT], [FONT=&quot]เศรษฐีในครั้งนั้นได้เป็นสารีบุตร[/FONT], [FONT=&quot]นายสารถี ได้เป็นอนุรุทธะ[/FONT], [FONT=&quot]พราหมณ์ได้เป็นกัสสปเถระ[/FONT], [FONT=&quot]อปราช ได้เป็นนั้นบัณฑิต[/FONT], [FONT=&quot]พระมเหสี[/FONT] [FONT=&quot]ได้เป็นมารดาของราหุล[/FONT], [FONT=&quot]พระชนนี ได้เป็นพระนางมายาเทวี[/FONT], [FONT=&quot]พระเจ้ากุระ[/FONT] [FONT=&quot]ได้เป็นพระโพธิสัตว์[/FONT]; [FONT=&quot]พวกเธอจงจำชาดกไว้ด้วยอาการอย่างนี้[/FONT]”

    [FONT=&quot]ดังนี้แล้ว ตรัสว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ภิกษุ บัณฑิตในครั้งก่อน[/FONT] [FONT=&quot]เมื่อความรำคาญแม้มีประมาณน้อยเกิดขึ้นแล้ว[/FONT], [FONT=&quot]ทำศีลเภทของตนให้เป็นเครื่องรังเกียจแล้วอย่างนี้[/FONT], [FONT=&quot]ส่วนเธอ[/FONT] [FONT=&quot]บวชในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้เช่นกับด้วยเรา ยังปาณาติบาตอยู่ (นับว่า)[/FONT] [FONT=&quot]ได้ทำกรรมอันหนักยิ่งนัก [/FONT]; [FONT=&quot]ธรรมดาภิกษุ ควรเป็นผู้สำรวมด้วยมือ เท้า[/FONT] [FONT=&quot]และวาจา[/FONT]” [FONT=&quot]ดังนี้แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า :-[/FONT]

    “[FONT=&quot]บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวบุคคลผู้มีมือสำรวมแล้ว มีเท้าสำรวมแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]มีวาจาสำรวมแล้ว ยินดีในธรรมอันเป็นไปภายใน มีจิตตั้งมั่นแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]เป็นคนโดดเดี่ยว สันโดษว่า เป็นภิกษุ.[/FONT]”
    [FONT=&quot]เรื่องนายจุนทสูกริก[/FONT]

    [FONT=&quot]นายจุนทะเลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงสุกรขาย[/FONT]

    [FONT=&quot]ได้ยินว่า นายจุนทสูกริกนั้น ฆ่าสุกรทั้งหลายกินบ้าง[/FONT] [FONT=&quot]ขายบ้างเลี้ยงชีวิตอยู่สิ้น ๕๕ ปี ในเวลาข้าวแพง[/FONT] [FONT=&quot]เขาเอาเกวียนบรรทุกข้าวเปลือกไปสู่ชนบท แลกลูกสุกรบ้าน[/FONT] [FONT=&quot]ด้วยข้าวเปลือกประมาณ ๑ ทะนานหรือ ๒ ทะนาน บรรทุกเต็มเกวียนแล้วกลับมา[/FONT] [FONT=&quot]ล้อมที่แห่งหนึ่งดุจคอกข้างหลังที่อยู่แล้วปลูกผักในที่นั้นแล[/FONT] [FONT=&quot]เพื่อลูกสุกรเหล่านั้น[/FONT], [FONT=&quot]เมื่อลูกสุกรเหล่านั้น กินกอผักต่างๆ บ้าง[/FONT] [FONT=&quot]สรีรวลัญชะ (คูถ) บ้าง ก็เติบโตขึ้น (เขา) มีความประสงค์จะฆ่าตัวใดๆ[/FONT] [FONT=&quot]ก็มัดตัวนั้นๆ ให้แน่น ณ ที่ฆ่าแล้ว ทุบด้วยค้อน ๔ เหลียม[/FONT] [FONT=&quot]เพื่อให้เนื้อสุกรพองหนาขึ้น รู้ว่าเนื้อหนาขึ้นแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]ก็ง้างปากสอดไม้เข้าไปในระหว่างฟัน กรอกน้ำร้อนที่เดือดพล่าน[/FONT] [FONT=&quot]เข้าไปในปากด้วยทะนานโลหะ. น้ำร้อนนั้น เข้าไปพล่านในท้อง[/FONT] [FONT=&quot]ขับกรีสออกมาโดยส่วนเบื้องต่ำ (ทวารหนัก) กรีสน้อยหนึ่งยังมีอยู่เพียงใด[/FONT] [FONT=&quot]ย่อมออกเป็นน้ำขุ่นเพียงนั้น เมื่อท้องสะอาดแล้ว[/FONT], [FONT=&quot]จึงออกเป็นน้ำใส[/FONT] [FONT=&quot]ไม่ขุ่น[/FONT], [FONT=&quot]ทีนั้น เขาจึงราดน้ำที่เหลือบนหลังสุกรนั้น.[/FONT] [FONT=&quot]น้ำนั้นลอกเอาหนังดำออกไป. แต่นั้นจึงลนขนด้วยคบหญ้าแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]ตัดศีรษะด้วยดาบอันคม. รองโลหิตที่ไหลออกด้วยภาชนะ[/FONT] [FONT=&quot]เคล้าเนื้อด้วยโลหิตแล้วปิ้งนั่งรับประทานในท่ามกลางบุตรและภรรยา[/FONT] [FONT=&quot]ขายส่วนที่เหลือ.[/FONT]

    [FONT=&quot]เมื่อเขาเลี้ยงชีวิตโดยทำนองนี้นั่นแล[/FONT], [FONT=&quot]เวลาได้ล่วงไป ๕๕ ปี.[/FONT] [FONT=&quot]เมื่อพระตถาคตประทับอยู่ในธุรวิหาร[/FONT], [FONT=&quot]การบูชาด้วยดอกไม้เพียงกำหนึ่งก็ดี[/FONT] [FONT=&quot]การถวายภิกษาเพียงทัพพีหนึ่งก็ดี ชื่อว่าบุญอื่นน้อยหนึ่งก็ดี[/FONT] [FONT=&quot]มิได้มีแล้วสักวันหนึ่ง.[/FONT]

    [FONT=&quot]ครั้งนั้น[/FONT] [FONT=&quot]โรคเกิดขึ้นในสรีระของเขา[/FONT], [FONT=&quot]ความเร่าร้อนอเวจีมหานรก[/FONT] [FONT=&quot]ปรากฏแก่เขาทั้งเป็นทีเดียว.[/FONT]


    [FONT=&quot]อเวจีนรกร้อนยิ่งกว่าไฟธรรมดา[/FONT]

    [FONT=&quot]ขึ้นชื่อว่าความเร่าร้อนในอเวจี[/FONT] [FONT=&quot]ย่อมเป็นความร้อนที่สามารถทำลายนัยน์ตาของผู้ยืนดูอยู่ในที่ประมาณ ๑๐๐[/FONT] [FONT=&quot]โยชน์ได้. สมจริงดังคำที่พระภาคเจ้า ตรัสไว้ดังนี้แล้ว[/FONT]

    “[FONT=&quot]ความเร่าร้อนในอเวจี[/FONT] [FONT=&quot]แผ่ไปตลอด[/FONT] [FONT=&quot]๑๐๐[/FONT] [FONT=&quot]โยชน์โดยรอบ[/FONT] [FONT=&quot]ตั้งอยู่ทุกเมื่อ.[/FONT]”

    [FONT=&quot]และเพราะเหตุที่ความเร่าร้อนในอเวจีนั้น[/FONT] [FONT=&quot]มีประมาณยิ่งกว่าความเร่าร้อนของไฟโดยปกติ[/FONT] [FONT=&quot]พระนาคเสนเถระจึงกล่าวอุปมานี้ไว้ว่า [/FONT]“[FONT=&quot]มหาบพิตร แม้หินประมาณเท่าเรือนยอด[/FONT] [FONT=&quot]อันบุคคลทุ่มไปในไฟนรกย่อมถึงความย่อยยับได้โดยขณะเดียวฉันใด[/FONT] [FONT=&quot]ส่วนสัตว์ที่เกิดในนรกนั้นเป็นประหนึ่งอยู่ในครรภ์มารดา[/FONT] [FONT=&quot]จะย่อยยับไปเพราะกำลังแห่งกรรมเหมือนฉันนั้น หามิได้.[/FONT]


    [FONT=&quot]นายจุนทะเสวยผลกรรมทันตาเห็น[/FONT]

    [FONT=&quot]เมื่อความเร่าร้อนนั้น ปรากฏแก่นายจุนทสูกริกนั้นแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]อาการอันเหมาะสมด้วยก็เกิดขึ้น. เขาร้องเสียงเหมือนหมู[/FONT] [FONT=&quot]คลานไปในท่ามกลางเรือนนั่นเอง[/FONT], [FONT=&quot]ไปสู่ที่ในทิศตะวันออกบ้าง[/FONT] [FONT=&quot]สู่ที่ในทิศตะวันตกบ้าง[/FONT]

    [FONT=&quot]ลำดับนั้น พวกคนในเรือนของเขา จับเขาไว้ให้มั่นแล้วปิดปาก.[/FONT] [FONT=&quot]ธรรมดาผลแห่งกรรม อันใครๆ ไม่สามารถจะห้ามได้.[/FONT] [FONT=&quot]เขาเที่ยวร้องไปข้างโน้นบ้าง ข้างนี้บ้าง. คนใน ๗[/FONT] [FONT=&quot]หลังคาเรือนโดยรอบย่อมไม่ได้หลับนอน. อนึ่ง คนในเรือนทั้งหมด[/FONT] [FONT=&quot]เมื่อไม่สามารถจะห้ามการออกไปภายนอกของเขาผู้ถูกมรณภัยคุกคามแล้วได้[/FONT] [FONT=&quot]จึงปิดประตูเรือนล้อมรักษาอยู่ภายนอกเรือน[/FONT] [FONT=&quot]โดยประการที่เขาอยู่ภายในไม่สามารถจะเที่ยวไปข้างนอกได้.[/FONT]


    [FONT=&quot]เสวยผลกรรมในสัมปรายภพ[/FONT]

    [FONT=&quot]แม้นายจุนทสูกริก เที่ยวร้องไปข้างโน้นบ้าง ข้างนี้บ้าง[/FONT] [FONT=&quot]ภายในเรือนนั่นเอง ด้วยความเร่าร้อนในนรก. เขาเที่ยวไปอย่างนั้นตลอด ๗[/FONT] [FONT=&quot]วัน[/FONT], [FONT=&quot]ในวันที่ ๘ ทำกาละแล้ว ไปเกิดในอเวจีมหานรก อเวจีมหานรก[/FONT] [FONT=&quot]ปราชญ์พึงพรรณนาตามเทวทูตสูตร.[/FONT]


    [FONT=&quot]พวกภิกษุเข้าใจว่าเขาฆ่าสุกรทำการมงคล[/FONT]

    [FONT=&quot]พวกภิกษุเดินไปทางประตูเรือนของเขา ได้ยินเสียงนั้นแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]เป็นผู้มรความสำคัญว่า [/FONT]“[FONT=&quot]เสียงสุกร[/FONT]” [FONT=&quot]ไปสู่วิหาร[/FONT] [FONT=&quot]นั่งในสำนักพระศาสดาแล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ[/FONT] [FONT=&quot]เมื่อสุกรทั้งหลายอันนายจุนทสูกริก ปิดประตุเรือนฆ่าอยู่[/FONT], [FONT=&quot]วันนี้เป็นวันที่ ๗[/FONT], [FONT=&quot]มงคลกิริยาไรๆ ชะรอยจักมีเรือน (ของเขา)[/FONT], [FONT=&quot]ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญเมตตาจิต หรือความกรุณาแม้อย่างหนึ่งของเขา[/FONT] [FONT=&quot]ผู้ฆ่าสุกรทั้งหลายชื่อถึงเท่านี้ ย่อมไม่มี[/FONT], [FONT=&quot]ก็สัตว์ผู้ร้ายกาจหยาบช้าเช่นนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่เคยเห็นเลย.[/FONT]”

    [FONT=&quot]พระศาสดา ตรัสว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ภิกษุทั้งหลาย เขาฆ่าสุกรตลอด ๗ วันนี้หามิได้.[/FONT] [FONT=&quot]อันผลที่เหมาะสมด้วยกรรมเกิดขึ้นแล้วแก่เขา[/FONT], [FONT=&quot]ความเร่าร้อนในอเวจีมหานรกปรากฏแก่เขาทั้งเป็นทีเดียว[/FONT], [FONT=&quot]ด้วยความเร่าร้อนนั้นเขาร้องเหมือนหมูเที่ยวไปภายนิเวศน์อยู่ ตลอด ๗ วัน[/FONT] [FONT=&quot]วันนี้ทำกาละแล้ว (ไป) เกิดในอเวจี.[/FONT]” [FONT=&quot]เมื่อพวกภิกษุทราบทูลว่า[/FONT] “[FONT=&quot]ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เขาเศร้าโศกอย่างนี้ในโลกนี้แล้ว[/FONT] [FONT=&quot]ยังจะไปเกิดในฐานะเป็นที่เศร้าโศกเช่นกันอีกหรือ[/FONT]?” [FONT=&quot]ตรัสว่า [/FONT]“[FONT=&quot]อย่างนั้น[/FONT] [FONT=&quot]ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าผู้ประมาทแล้ว เป็นคฤหัสถ์ก็ตาม[/FONT] [FONT=&quot]บรรพชิตก็ตามย่อมเศร้าโศกในโลกทั้งสองเป็นแท้[/FONT]” [FONT=&quot]ดังนี้แล้ว[/FONT] [FONT=&quot]ตรัสพระคาถานี้ว่า[/FONT]

    “[FONT=&quot]ผู้ทำบาปเป็นปกติ ย่อมเศร้าโศกในโลกนี้[/FONT] [FONT=&quot]ละไปแล้วย่อมเศร้าโศกในโลกที่สอง เขาเห็นกรรมเศร้าหมองของตนแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]ย่อมเศร้าโศก[/FONT], [FONT=&quot]เขาย่อมเดือดร้อน[/FONT]”

    <link rel="File-List" href="file:///C:%5CDOCUME%7E1%5CPipAt%5CLOCALS%7E1%5CTemp%5Cmsohtmlclip1%5C01%5Cclip_filelist.xml"><link rel="themeData" href="file:///C:%5CDOCUME%7E1%5CPipAt%5CLOCALS%7E1%5CTemp%5Cmsohtmlclip1%5C01%5Cclip_themedata.thmx"><link rel="colorSchemeMapping" href="file:///C:%5CDOCUME%7E1%5CPipAt%5CLOCALS%7E1%5CTemp%5Cmsohtmlclip1%5C01%5Cclip_colorschememapping.xml"><!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:TrackMoves/> <w:TrackFormatting/> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:DoNotPromoteQF/> <w:LidThemeOther>EN-US</w:LidThemeOther> <w:LidThemeAsian>X-NONE</w:LidThemeAsian> <w:LidThemeComplexScript>TH</w:LidThemeComplexScript> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> <w:SplitPgBreakAndParaMark/> <w:DontVertAlignCellWithSp/> <w:DontBreakConstrainedForcedTables/> <w:DontVertAlignInTxbx/> <w:Word11KerningPairs/> <w:CachedColBalance/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> <m:mathPr> <m:mathFont m:val="Cambria Math"/> <m:brkBin m:val="before"/> <m:brkBinSub m:val="--"/> <m:smallFrac m:val="off"/> <m:dispDef/> <m:lMargin m:val="0"/> <m:rMargin m:val="0"/> <m:defJc m:val="centerGroup"/> <m:wrapIndent m:val="1440"/> <m:intLim m:val="subSup"/> <m:naryLim m:val="undOvr"/> </m:mathPr></w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" DefUnhideWhenUsed="true" DefSemiHidden="true" DefQFormat="false" DefPriority="99" LatentStyleCount="267"> <w:LsdException Locked="false" Priority="0" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Normal"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="heading 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 7"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 8"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 9"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 7"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 8"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 9"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="35" QFormat="true" Name="caption"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="10" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Title"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="0" Name="Default Paragraph Font"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="11" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtitle"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="22" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Strong"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="20" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="59" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Table Grid"/> <w:LsdException Locked="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Placeholder Text"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="1" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="No Spacing"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Revision"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="34" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="List Paragraph"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="29" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Quote"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="30" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Quote"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="19" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtle Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="21" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="31" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtle Reference"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="32" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Reference"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="33" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Book Title"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="37" Name="Bibliography"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" QFormat="true" Name="TOC Heading"/> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><style> <!-- /* Font Definitions */ @font-face {font-family:"Angsana New"; panose-1:2 2 6 3 5 4 5 2 3 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:roman; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} @font-face {font-family:"Cordia New"; panose-1:2 11 3 4 2 2 2 2 2 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:swiss; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} @font-face {font-family:"Cambria Math"; panose-1:2 4 5 3 5 4 6 3 2 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:roman; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:-1610611985 1107304683 0 0 159 0;} @font-face {font-family:Calibri; panose-1:2 15 5 2 2 2 4 3 2 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:swiss; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:-1610611985 1073750139 0 0 159 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-unhide:no; mso-style-qformat:yes; mso-style-parent:""; margin-top:0cm; margin-right:0cm; margin-bottom:10.0pt; margin-left:0cm; line-height:115%; mso-pagination:widow-orphan; font-size:11.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Calibri","sans-serif"; mso-fareast-font-family:Calibri; mso-bidi-font-family:"Cordia New";} a:link, span.MsoHyperlink {mso-style-noshow:yes; mso-style-priority:99; color:blue; text-decoration:underline; text-underline:single;} a:visited, span.MsoHyperlinkFollowed {mso-style-noshow:yes; mso-style-priority:99; color:purple; mso-themecolor:followedhyperlink; text-decoration:underline; text-underline:single;} p {mso-style-priority:99; mso-margin-top-alt:auto; margin-right:0cm; mso-margin-bottom-alt:auto; margin-left:0cm; mso-pagination:widow-orphan; font-size:14.0pt; font-family:"Angsana New","serif"; mso-fareast-font-family:"Times New Roman";} .MsoChpDefault {mso-style-type:export-only; mso-default-props:yes; font-size:10.0pt; mso-ansi-font-size:10.0pt; mso-bidi-font-size:10.0pt; mso-ascii-font-family:Calibri; mso-fareast-font-family:Calibri; mso-hansi-font-family:Calibri; mso-bidi-font-family:"Cordia New";} @page Section1 {size:612.0pt 792.0pt; margin:72.0pt 72.0pt 72.0pt 72.0pt; mso-header-margin:36.0pt; mso-footer-margin:36.0pt; mso-paper-source:0;} div.Section1 {page:Section1;} --> </style><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-priority:99; mso-style-qformat:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:11.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Calibri","sans-serif"; mso-ascii-font-family:Calibri; mso-ascii-theme-font:minor-latin; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-theme-font:minor-fareast; mso-hansi-font-family:Calibri; mso-hansi-theme-font:minor-latin; mso-bidi-font-family:"Cordia New"; mso-bidi-theme-font:minor-bidi;} </style> <![endif]--> [FONT=&quot]๖[/FONT]
    [FONT=&quot]เล่าเรื่องบุญ - บาปจากอรรถกถาธรรมบท[/FONT]


    [FONT=&quot]เรื่องนางลาชเทวธิดา[/FONT]

    [FONT=&quot]หญิงถวายข้าวตอกแก่พระมหากัสสป[/FONT]

    [FONT=&quot]ความพิสดารว่า[/FONT] [FONT=&quot]ท่านมหากัสสป อยู่ที่ปิปผลิคูหา เข้าฌาณแล้ว ออกในวันที่ ๗[/FONT] [FONT=&quot]ตรวจดูที่เที่ยวไปเพื่อภิกษาด้วยทิพยจักษุ เห็นหญิงรักษานาข้าวสาลีคนหนึ่ง[/FONT] [FONT=&quot]เด็ดรวงข้าวสาลีทำข้าวตอกอยู่ พิจารณาว่า [/FONT]“[FONT=&quot]หญิงนี้มีศรัทธาหรือไม่หนอ [/FONT]?” [FONT=&quot]รู้ว่า [/FONT]“[FONT=&quot]มีศรัทธา[/FONT]” [FONT=&quot]ใคร่ครวญว่า [/FONT]“[FONT=&quot]เธอจักอาจ[/FONT] [FONT=&quot]เพื่อทำการสงเคราะห์แก่เราหรือไม่หนอ [/FONT]?” [FONT=&quot]รู้ว่า [/FONT]“[FONT=&quot]กุลธิดาเป็นหญิงแกล้วกล้า[/FONT] [FONT=&quot]จักทำการสงเคราะห์เรา[/FONT], [FONT=&quot]ก็แลครั้นทำแล้ว จักได้สมบัติเป็นอันมาก[/FONT]” [FONT=&quot]จึงครองจีวรถือบาตร ได้ยืนอยู่ที่ใกล้นาข้าวสาลี.[/FONT] [FONT=&quot]กุลธิดาพอเห็นพระเถระก็มีจิตเลื่อมใส มีสรีระอันปีติ ๕ อย่างถูกต้องแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]กล่าวว่า [/FONT]“[FONT=&quot]นิมนต์หยุดก่อน เจ้าข้า[/FONT]” [FONT=&quot]ถือข้าวตอกไปโดยเร็วเกลี่ยลงในบาตรของพระเถระแล้วไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์[/FONT] [FONT=&quot]๑ ได้ทำความปรารถนาว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ท่านเจ้าข้า[/FONT] [FONT=&quot]ขอดิฉันพึงเป็นผู้มีส่วนแห่งธรรมที่ท่านเห็นแล้ว[/FONT]”


    [FONT=&quot]จิตเลื่อมใสในทานไปเกิดในสวรรค์[/FONT]

    [FONT=&quot]พระเถระได้ทำอนุโมทนาว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ความปรารถนาอย่างนั้น จงสำเร็จ[/FONT]” [FONT=&quot]ฝ่ายนางไหว้พระเถระแล้ว พลางนึกถึงทานที่ตนถวายแล้วกลับไป.[/FONT] [FONT=&quot]ก็ในหนทางที่นางเดินไป บนคันนา มีงูพิษร้ายนอนอยู่ในรูแห่งหนึ่ง[/FONT] [FONT=&quot]งูไม่อาจขบกัดแข้งพระเถระอันปกปิดด้วยผ้ากาสะยะได้.[/FONT] [FONT=&quot]นางพลางระลึกถึงทานกลับไปถึงที่นั้น. งูเลื้อยออกจากรู กัดนางให้ล้มลง ณ[/FONT] [FONT=&quot]ที่นั้นเอง. นางมีจิตเลื่อมใส ทำกาละแล้ว ไปเกิดในวิมานทองประมาณ ๓๐ โยชน์[/FONT] [FONT=&quot]ในภพดาวดึงส์ มีอัตภาพประมาณ ๓ คาวุต๒ ประดับเครื่องอลังการทุกอย่าง[/FONT] [FONT=&quot]เหมือนหลับแล้วตื่นขึ้น.[/FONT]


    [FONT=&quot]วิธีทำทิพยสมบัติให้ถาวร[/FONT]

    [FONT=&quot]นางนุ่งผ้าทิพย์ประมาณ ๑๒ ศอกผืนหนึ่ง ห่มผืนหนึ่ง[/FONT] [FONT=&quot]แวดล้อมด้วยนางอัปสรตั้งพัน เพื่อประกาศบุรพกรรม[/FONT] [FONT=&quot]จึงยืนอยู่ที่ประตูวิมานอันประดับด้วยขันทองคำ[/FONT] [FONT=&quot]เต็มด้วยข้าวตอกทองคำห้อยระย้าอยู่ ตรวจดูสมบัติของตน[/FONT] [FONT=&quot]ใคร่ครวญด้วยทิพยจักษุว่า [/FONT]“[FONT=&quot]เราทำกรรมสิ่งไรหนอ จึงได้สมบัตินี้[/FONT]” [FONT=&quot]ได้รู้ว่า[/FONT] “[FONT=&quot]สมบัตินี้เราได้แล้ว[/FONT] [FONT=&quot]เพราะผลแห่งข้าวตอกที่เราถวายพระผู้เป็นเจ้ามหากัสสปเถระ[/FONT]” [FONT=&quot]นางคิดว่า[/FONT] “[FONT=&quot]เราได้สมบัติเห็นปานนี้ เพราะกรรมนิดหน่อยอย่างนี้[/FONT] [FONT=&quot]บัดนี้เราไม่ควรประมาท[/FONT], [FONT=&quot]เราจักทำวัตรปฏิบัติแก่พระผู้เป็นเจ้า[/FONT] [FONT=&quot]ทำสมบัตินี้ให้ถาวร[/FONT]” [FONT=&quot]จึงถือไม้กวาด[/FONT] [FONT=&quot]และกระเช้าสำหรับเทมูลฝอยสำเร็จด้วยทองไปกวาดบริเวณของพระเถระ[/FONT] [FONT=&quot]แล้วตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้แต่เช้าตรู่[/FONT]

    [FONT=&quot]พระเถระเห็นเช่นนั้น สำคัญว่า[/FONT] “[FONT=&quot]จักเป็นวัตรที่ภิกษุหนุ่มหรือสามเณรบางรูปทำ[/FONT]” [FONT=&quot]แม้ในวันที่ ๒[/FONT] [FONT=&quot]นางก็ได้ทำอย่างนั้น. ฝ่ายพระเถระก็สำคัญเช่นนั้นเหมือนกัน. แต่วันที่ ๓[/FONT] [FONT=&quot]พระเถระได้ยินเสียงไม้กวาดของนาง[/FONT] [FONT=&quot]และเห็นแสงสว่างแห่งสรีระฉายเข้าไปทางช่องลูกดาล จึงเปิดประตู (ออกมา)[/FONT] [FONT=&quot]ถามว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ใครนั่น กวาดอยู่ [/FONT]?”

    [FONT=&quot]นาง[/FONT] : [FONT=&quot]ท่านเจ้าขา[/FONT] [FONT=&quot]ดิฉันเอง[/FONT] [FONT=&quot]เป็นอุปัฏฐายิกาของท่าน[/FONT] [FONT=&quot]ชื่อลาชเทวธิดา[/FONT]

    [FONT=&quot]พระเถระ[/FONT] : “[FONT=&quot]อันอุปัฏฐายิกาของเรา[/FONT] [FONT=&quot]ผู้มีชื่ออย่างนี้[/FONT] [FONT=&quot]ดูเหมือนไม่มี[/FONT]”

    [FONT=&quot]นาง : ท่านเจ้าข้า ดิฉันผู้รักษานาข้าวสาลี[/FONT] [FONT=&quot]ถวายข้าวตอกแล้วมีจิตเลื่อมใสกำลังกลับไป ถูกงูกัด ทำกาละแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]บังเกิดในเทวโลกชั้นดาวดึงส์[/FONT], [FONT=&quot]ท่านเจ้าข้า ดิฉันคิดว่า[/FONT] [FONT=&quot]สมบัตินี้เราได้เพราะอาศัยพระผู้เป็นเจ้า[/FONT], [FONT=&quot]แม้ในบัดนี้[/FONT] [FONT=&quot]เราจักทำวัตรปฏิบัติแก่ท่าน ทำสมบัติให้มั่นคง[/FONT], [FONT=&quot]จึงได้มา[/FONT]

    [FONT=&quot]พระเถระ[/FONT] : [FONT=&quot]ทั้งวานนี้ทั้งวานซืนนี้[/FONT] [FONT=&quot]เจ้าคนเดียวกวาดที่นี้[/FONT], [FONT=&quot]เจ้าคนเดียวเข้าไปตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้หรือ [/FONT]?

    [FONT=&quot]นาง[/FONT] : [FONT=&quot]อย่างนั้น[/FONT] [FONT=&quot]เจ้าข้า[/FONT]

    [FONT=&quot]พระเถระ[/FONT] : [FONT=&quot]จงหลีกไปเสีย[/FONT] [FONT=&quot]นางเทวธิดา[/FONT], [FONT=&quot]วัตรที่เจ้าทำแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]จงเป็นอันทำแล้ว[/FONT], [FONT=&quot]ตั้งแต่นี้ไป[/FONT] [FONT=&quot]เจ้าอย่ามาที่นี้ (อีก)[/FONT]

    [FONT=&quot]นาง[/FONT] : [FONT=&quot]อย่าให้ดิฉันฉิบหายเสียเลยเจ้าข้า[/FONT], [FONT=&quot]ขอพระผู้เป็นเจ้าจงให้ดิฉันทำวัตรแก่พระผู้เป็นเจ้า[/FONT] [FONT=&quot]ทำสมบัติของดิฉันให้มั่นคงเถิด[/FONT]

    [FONT=&quot]พระเถระ : จงหลีกไป นางเทวธิดา[/FONT], [FONT=&quot]เจ้าอย่าทำให้เราถูกพรธรรมถึกทั้งหลาย[/FONT] [FONT=&quot]นั่งจับพัดอันวิจิตร พึงกล่าวในอนาคตว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ได้ยินว่า นาวเทวธิดาผู้หนึ่ง[/FONT] [FONT=&quot]มาทะวัตรปฏิบัติ เข้าไปตั้งน้ำฉันน้ำใช้ เพื่อพระมหากัสสปเถระ[/FONT]” [FONT=&quot]แต่นี้ไป[/FONT] [FONT=&quot]เจ้าอย่ามา ณ ที่นี้ จงกลับไปเสีย[/FONT]

    [FONT=&quot]นางจึงอ้อนวอนซ้ำๆ[/FONT] [FONT=&quot]อีกว่า[/FONT] “[FONT=&quot]ขอท่านอย่าให้ดิฉันฉิบหายเลยเจ้าข้า[/FONT]”

    [FONT=&quot]พระเถระคิดว่า[/FONT] “[FONT=&quot]นางเทวธิดานี้ไม่เชื่อฟังถ้อยคำของเรา[/FONT]” [FONT=&quot]จึงปรบมือด้วยกล่าวว่า[/FONT] “[FONT=&quot]เจ้าไม่รู้จักประมาณของเจ้า[/FONT]”

    [FONT=&quot]นางไม่อาจดำรงอยู่ที่นั้นได้ เหาะขึ้นในอากาศ ประคองอัญชลี[/FONT] [FONT=&quot]ได้ยืนร้องไห้ (คร่ำครวญอยู่) ในอากาศว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ท่านเจ้าข้า[/FONT] [FONT=&quot]อย่าให้สมบัติที่ดิฉันได้แล้วฉิบหายเสียเลย[/FONT], [FONT=&quot]จงให้เพื่อทำให้มั่นคงเถิด[/FONT]”


    [FONT=&quot]บุญให้เกิดสุขในภพทั้งสอง[/FONT]

    [FONT=&quot]พระศาสดา ประทับนั่งในพระคันธกุฎีนั่นเอง[/FONT] [FONT=&quot]ทรงสดับเสียงนางเทวธิดานั้นร้องไห้[/FONT] [FONT=&quot]ทรงแผ่พระรัศมีดุจประดับนั่งตรัสอยู่ในที่เฉพาะหน้านางเทวธิดา ตรัสว่า[/FONT] “[FONT=&quot]เทวธิดา การทำความสังวรนั่นเทียว เป็นภาระของกัสสปผู้เป็นบุตรของเรา[/FONT], [FONT=&quot]แต่การกำหนดว่า [/FONT]‘[FONT=&quot]นี้เป็นประโยชน์ของเรา แล้วมุ่งกระทำแต่บุญ[/FONT] [FONT=&quot]ย่อมเป้นภาระของผู้มีความต้องการด้วยบุญ[/FONT] [FONT=&quot]ด้วยการทำบุญเป็นเหตุให้เกิดสุขอย่างเดียว ทั้งในภพนี้ ทั้งภพหน้า[/FONT]” [FONT=&quot]ดังนี้[/FONT] [FONT=&quot]เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า[/FONT]

    “[FONT=&quot]ถ้าบุรุษพึงทำบุญไซร้[/FONT] [FONT=&quot]พึงทำบุญนั้นบ่อยๆ พึงทำความพอใจในบุญนั้น[/FONT] [FONT=&quot]เพราะว่า[/FONT] [FONT=&quot]ความสั่งสมบุญทำให้เกิดสุข[/FONT]”
    [FONT=&quot]เรื่องอนาถบิณฑิกเศรษฐี[/FONT]

    [FONT=&quot]ท่านเศรษฐีบำรุงภิกษุสามเณรเป็นนิตย์[/FONT]

    [FONT=&quot]ความพิศดารว่า อนาถบิณฑิกเศรษฐี จ่ายทรัพย์ตั้ง ๕๔ โกฏิ[/FONT] [FONT=&quot]ในพระพุทธศาสนาเฉพาะวิหารเท่านั้น[/FONT], [FONT=&quot]เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ในพระเชตวัน[/FONT] [FONT=&quot]ไปสู่ที่บำรุงใหญ่ ๓ แห่งทุกวัน[/FONT], [FONT=&quot]ก็เมื่อจะไป คิดว่า [/FONT]“[FONT=&quot]สามเณรก็ดี[/FONT] [FONT=&quot]ภิกษุก็ดี พึงแลแลดูแม้มือของเรา ด้วยการนึกว่า [/FONT]‘[FONT=&quot]เศรษฐีนั้นถืออะไรมาบ้าง[/FONT]’ [FONT=&quot]ดังนี้ ไม่เคยเป็นผู้ชื่อว่ามีมือเปล่าไปเลย[/FONT], [FONT=&quot]เมื่อไปเวลาเช้าให้คนถือข้าวต้มไป[/FONT] [FONT=&quot]บริโภคอาหารเช้าแล้วให้คนถือเภสัชทั้งหลาย มีเนยใส เนยข้นเป็นต้นไป[/FONT], [FONT=&quot]ในเวลาเย็น ให้ถือวัตถุต่างๆ มีระเบียบดอกไม้ ของหอม[/FONT] [FONT=&quot]เครื่องลูบไล้ผ้าเป็นต้น ไปสู่วิหาร[/FONT], [FONT=&quot]ถวายทาน รักษาศีล อย่างนี้ทุกๆ วัน[/FONT] [FONT=&quot]ตลอดกาลเป็นนิตย์ทีเดียว[/FONT]


    [FONT=&quot]การหมดสิ้นแห่งทรัพย์ของท่านเศรษฐี[/FONT]

    [FONT=&quot]ในกาลต่อมา เศรษฐีย่อมถึงความสิ้นไปแห่งทรัพย์.[/FONT] [FONT=&quot]ทั้งพวกพาณิชก็กู้หนี้เป็นทรัพย์ ๑๘ โกฏิ จากมือเศรษฐีนั้น. เงิน ๑๘ โกฏิ[/FONT] [FONT=&quot]แม้เป็นสมบัติแห่งตระกูลเศรษฐี ที่ฝังตั้งไว้ใกล้ฝั่งแม่น้ำ[/FONT] [FONT=&quot]เมื่อฝั่งพังลงเพราะน้ำ (เซาะ) ก็จมลงยังมหาสมุทร.[/FONT] [FONT=&quot]ทรัพย์ของเศรษฐีนั้นได้ถึงความหมดสิ้นไปโดยลำดับ ด้วยประการอย่างนี้.[/FONT]


    [FONT=&quot]เศรษฐีถวายทานตามมีตามได้[/FONT]

    [FONT=&quot]เศรษฐีแม้เป็นผู้อย่างนั้นแล้ว ก็ยังถวายทานแก่สงฆ์เรื่อยไป[/FONT], [FONT=&quot]แต่ไม่อาจถวายทำให้ประณีตได้[/FONT], [FONT=&quot]ในวันหนึ่งเศรษฐีเมื่อพระศาสดารับสั่งว่า[/FONT] “[FONT=&quot]คฤหบดีก็ทานในตระกูลท่านยังให้อยู่หรือ [/FONT]?” [FONT=&quot]กราบทูล [/FONT]“[FONT=&quot]พระเจ้าข้า[/FONT] [FONT=&quot]ทานในตระกูล ข้าพระองค์ยังให้อยู่[/FONT], [FONT=&quot]ก็แลทานนั้น (ใช้) ข้าวปลายเกรียน[/FONT] [FONT=&quot]มีน้ำส้มพะอูมเป็นที่ ๒[/FONT]”


    [FONT=&quot]เมื่อมีจิตผ่องใสทานที่ถวายไม่เป็นของเลว[/FONT]

    [FONT=&quot]ทีนั้น พระศาสดา ตรัสกะเศรษฐีว่า [/FONT]“[FONT=&quot]คฤหบดี ท่านอย่าคิดว่า[/FONT] ‘[FONT=&quot]เราถวายทานเศร้าหมอง[/FONT]’ [FONT=&quot]ด้วยว่าเมื่อจิตประณีตแล้ว[/FONT], [FONT=&quot]ทานที่บุคคลถวายแด่พระอรหันต์ทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น[/FONT] [FONT=&quot]ชื่อว่าเศร้าหมองย่อมไม่มี[/FONT], [FONT=&quot]คฤหบดี อีกประการหนึ่ง[/FONT] [FONT=&quot]ท่านได้ถวายทานแด่พระอริยบุคคลทั้ง ๘ แล้ว[/FONT]; [FONT=&quot]ส่วนเราในกาลเป็นเวลามพราหมณ์นั้นกระทำชาวชมพูทวีปทั้งสิ้น ให้พักไถนา[/FONT] [FONT=&quot]ยังมหาทานให้เป็นไปอยู่ไม่ได้ทักขิไณยบุคคลไรๆ แม้ผู้ถึงซึ่งไตรสรณะ[/FONT], [FONT=&quot]ชื่อว่าทักขิไณยบุคคลทั้งหลาย ยากที่บุคคลจะได้ด้วยประการฉะนี้[/FONT], [FONT=&quot]เพราะเหตุนั้นท่านอย่าคิดเลยว่า [/FONT]‘[FONT=&quot]ทานของเราเศร้าหมอง[/FONT]’ [FONT=&quot]ดังนี้แล้ว[/FONT] [FONT=&quot]ได้ตรัสเวลามสูตร ๑ แก่เศรษฐี[/FONT]

    [FONT=&quot]๑[/FONT]
    [FONT=&quot]อัง.นวก.[/FONT] [FONT=&quot]๒๓/๔๐๖[/FONT]


    [FONT=&quot]เทวดาเตือนเศรษฐีให้เลิกการบริจาค[/FONT]

    [FONT=&quot]ครั้งนั้น เทวดาซึ่งสถิตอยู่ที่ซุ้มประตูของเศรษฐี[/FONT] [FONT=&quot]เมื่อพระศาสดาและสาวกทั้งหลายเข้าไปสู่เรือน[/FONT], [FONT=&quot]ไม่อาจจะดำรงอยู่ได้เพราะเดชแห่งพระศาสดาและพระสาวกเหล่านั้น คิดว่า[/FONT] “[FONT=&quot]พระศาสดาและพระสาวกเหล่านี้จะไม่เข้าสู่เรือนนี้ได้ด้วยประการใด[/FONT], [FONT=&quot]เราจะยุยงคฤหบดีด้วยประการนั้น แม้ใคร่จะพูดกะเศรษฐีนั้น[/FONT] [FONT=&quot]ก็ไม่ได้อาจเพื่อจะกล่าวอะไรๆ ในกาลที่เศรษฐีเป็นอิสระ[/FONT]” [FONT=&quot]คิดว่า[/FONT] “[FONT=&quot]ก็บัดนี้เศรษฐีนี้เป็นผู้ยากจนแล้ว[/FONT], [FONT=&quot]คงจักเชื่อฟังคำสอนของเรา[/FONT]” [FONT=&quot]ในเวลาราตรี เข้าไปสู่ห้องอันเป็นสิริของเศรษฐี ได้ยืนอยู่ในอากาศ.[/FONT]

    [FONT=&quot]ขณะนั้น[/FONT] [FONT=&quot]เศรษฐีเห็นเทวดานั้นแล้วถามว่า[/FONT] “[FONT=&quot]นั่นใคร [/FONT]?”

    [FONT=&quot]เทวดา[/FONT] : [FONT=&quot]มหาเศรษฐี[/FONT] [FONT=&quot]ข้าพเจ้าเป็นเทวดาสถิตอยู่ที่ซุ้มประตูที่[/FONT] [FONT=&quot]๔[/FONT] [FONT=&quot]ของท่าน[/FONT] [FONT=&quot]มาเพื่อต้องการเตือนท่าน[/FONT]

    [FONT=&quot]เศรษฐี[/FONT] : [FONT=&quot]เทวดา[/FONT] [FONT=&quot]ถ้าเช่นนั้น[/FONT] [FONT=&quot]เชิญท่านพูดเถิด[/FONT]

    [FONT=&quot]เทวดา : มหาเศรษฐี[/FONT] [FONT=&quot]ท่านไม่เหลียวแลถึงกาลภายหลังเลยจ่ายทรัพย์เป็นอันมากในศาสนาของพระสมณโคดม[/FONT], [FONT=&quot]บัดนี้ ท่านแม้เป็นผู้ยากจนแล้ว ก็ยังไม่ละการจ่ายทรัพย์อีก[/FONT], [FONT=&quot]เมื่อท่านประพฤติอย่างนี้จักไม่ได้แม้วัตถุสักว่าอาหารและเครื่องนุ่งห่ม[/FONT] [FONT=&quot]โดย ๒ - ๓ วันแน่แท้ [/FONT]; [FONT=&quot]ท่านจะต้องการอะไรด้วยพระสมณโคดม[/FONT], [FONT=&quot]ท่านจงเลิกจากการบริจาคเงิน (กำลัง) เสียแล้วประกอบการงานทั้งหลาย[/FONT] [FONT=&quot]รวบรวมสมบัติไว้เถิด[/FONT]

    [FONT=&quot]เศรษฐี[/FONT] : [FONT=&quot]นี้เป็นโอวาทที่ท่านให้แก่ข้าพเจ้าหรือ [/FONT]?

    [FONT=&quot]เทวดา[/FONT] : [FONT=&quot]จ้ะ[/FONT] [FONT=&quot]มหาเศรษฐี[/FONT]

    [FONT=&quot]เศรษฐี : ไปเถิดท่าน[/FONT], [FONT=&quot]ข้าพเจ้าอันบุคลผู้เช่นท่าน แม้ตั้งร้อย ตั้งพัน[/FONT] [FONT=&quot]ตั้งแสนคน ก็ไม่อาจให้หวั่นไหวได้[/FONT], [FONT=&quot]ท่านกล่าวคำไม่สมควรจะต้องการอะไรด้วยท่านผู้อยู่ในเรือนของข้าพเจ้า[/FONT], [FONT=&quot]ท่านจงออกไปจากเรือนของข้าพเจ้าเร็วๆ[/FONT]


    [FONT=&quot]เทวดาถูกเศรษฐีขับไล่ไม่มีที่อาศัย[/FONT]

    [FONT=&quot]เทวดานั้น ฟังคำของเศรษฐีผู้เป็นโสดาบันอริยสาวกแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]ไม่อาจดำรงอยู่ได้ จึงพาทารกทั้งหลายออกไป[/FONT], [FONT=&quot]ก็แล[/FONT] [FONT=&quot]ครั้นออกไปแล้วไม่ได้ที่อยู่ในที่อื่น จึงคิดว่า[/FONT] “[FONT=&quot]เราจักให้ท่านเศรษฐีอดโทษแล้วอยู่ในที่เดิมนั้น[/FONT]” [FONT=&quot]เข้าไปหาเทพบุตรผู้รักษาพระนคร แจ้งความผิดที่ตนทำแล้ว กล่าวว่า[/FONT] “[FONT=&quot]เชิญมาเถิดท่าน[/FONT], [FONT=&quot]ขอท่านจงนำข้าพเจ้าไปยังสำนักของท่านเศรษฐี[/FONT] [FONT=&quot]ให้ท่านเศรษฐีอดโทษแล้วให้ที่อยู่ (แก่ข้าพเจ้า)[/FONT]”

    [FONT=&quot]เทพบุตรห้ามเทวดานั้นว่า[/FONT] “[FONT=&quot]ท่านกล่าวคำไม่สมควร[/FONT], [FONT=&quot]ข้าพเจ้าไม่อาจไปยังสำนักของเศรษฐีนั้นได้[/FONT]”

    [FONT=&quot]เทวดานั้นจึงไปสู่สำนักของท้าวมหาราชทั้ง ๔ ก็ถูกท่านเหล่านั้นห้ามไว้[/FONT] [FONT=&quot]จึงเข้าไปเฝ้าสักกเทวราช กราบทูลเรื่องนั้น (ให้ทรงทราบ)[/FONT] [FONT=&quot]แล้วทูลวิงวอนอย่างน่าสงสารว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ข้าแต่ข้าพเจ้า ข้าพระองค์ไม่ได้ที่อยู่[/FONT] [FONT=&quot]ต้องจูงพวกทารกเที่ยวระหกระเหิน หาที่พึ่งมิได้[/FONT], [FONT=&quot]ขอได้โปรดให้เศรษฐีให้ที่อยู่แก่ข้าพระองค์เถิด[/FONT]”


    [FONT=&quot]ท้าวสักกะทรงแนะนำอุบายให้เทวดา[/FONT]

    [FONT=&quot]คราวนั้น ท้าวสักกะ ตรัสกะเทวดานั้นว่า[/FONT] “[FONT=&quot]ถึงเราก็จักไม่อาจกล่าวกะเศรษฐีเพราะเหตุแห่งท่านได้ (เช่นเดียวกัน)[/FONT], [FONT=&quot]แต่จักบอกอุบายให้แก่ท่านสักอย่างหนึ่ง[/FONT]”

    [FONT=&quot]เทวดา[/FONT] : [FONT=&quot]ดีละ[/FONT] [FONT=&quot]เทพเจ้า[/FONT] [FONT=&quot]ขอพระองค์ทรงพระกรุณาตรัสบอกเถิด[/FONT]

    [FONT=&quot]ท้าวสักกะ : ไปเถิดท่าน จงแปลงเพศเป็นเสมียนของเศรษฐี ให้ใครนำหนังสือ[/FONT] ([FONT=&quot]สัญญากู้เงิน) จากมือเศรษฐีมาแล้ว (นำไป) ให้เขาชำระทรัพย์ ๑๘ โกฏิ[/FONT] [FONT=&quot]ที่พวกค้าขายถือเอาไว้ ด้วยอานุภาพของตนแล้ว บรรจุไว้ให้เต็มในห้องเปล่า[/FONT], [FONT=&quot]ทรัพย์ ๑๘ โกฏิ ที่จมลงยังมหาสมุทรมีอยู่ก็ดี[/FONT], [FONT=&quot]ทรัพย์ ๑๘ โกฏิ ส่วนอื่น[/FONT] [FONT=&quot]ซึ่งหาเจ้าของมิได้ มีอยู่ในโน้นก็ดี[/FONT], [FONT=&quot]จงรวบรวมทรัพย์ทั้งหมดนั้น[/FONT] [FONT=&quot]บรรจุไว้ให้เต็มในห้องเปล่าของเศรษฐี[/FONT] [FONT=&quot]ครั้นทำกรรมชื่อนี้ให้เป็นทัณฑกรรมแล้ว จึงขอขมาโทษเศรษฐี[/FONT]


    [FONT=&quot]เศรษฐีกลับรวยอย่างเดิม[/FONT]

    [FONT=&quot]เทวดานั้น รับว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ดีละ เทพเจ้า[/FONT]” [FONT=&quot]แล้วทำกรรมทุกๆ[/FONT] [FONT=&quot]อย่างตามนัยที่ท้าวสักกะตรัสบอกแล้วนั่นแล[/FONT] [FONT=&quot]ยังห้องอันเป็นสิริมงคลของท่านเศรษฐีให้สว่างไสว ดำรงอยู่ในอากาศ[/FONT] [FONT=&quot]เมื่อท่านเศรษฐีกล่าวว่า [/FONT]“[FONT=&quot]นั่นใคร[/FONT]” [FONT=&quot]จึงตอบว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ข้าพเจ้าเป็นเทวดาอันธพาล[/FONT] [FONT=&quot]ซึ่งสถิตอยู่ที่ซุ้มประตูที่ ๔ ของท่าน[/FONT] [FONT=&quot]คำใดอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วในสำนักของท่านด้วยความเป็นอันธพาล[/FONT], [FONT=&quot]ขอท่านจงอดโทษคำนั้นแก่ข้าพเจ้าเถิด[/FONT], [FONT=&quot]เพราะข้าพเจ้าได้ทำทัณฑกรรมด้วยการรวบรวมทรัพย์ ๕๔ โกฏิ[/FONT] [FONT=&quot]มาบรรจุไว้เต็มห้องเปล่า ตามบัญชีของท้าวสักกะ ข้าพเจ้าเมื่อไม่ได้ที่อยู่[/FONT] [FONT=&quot]ย่อมลำบาก[/FONT]”


    [FONT=&quot]เศรษฐีอดโทษแก่เทวดา[/FONT]

    [FONT=&quot]อนาถบิณฑิกเศรษฐี จินตนาการว่า [/FONT]“[FONT=&quot]เทวดานี้ กล่าวว่า ทัณฑกรรม[/FONT] [FONT=&quot]อันข้าพเจ้ากระทำแล้ว[/FONT]’ [FONT=&quot]ดังนี้[/FONT], [FONT=&quot]และรู้สึกโทษ (ความผิด) ของตน[/FONT] [FONT=&quot]เราจักแสดงเทวดานั้นแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า[/FONT]” [FONT=&quot]ท่านเศรษฐีนำเทวดานั้นไปสู่สำนักของพระศาสดา[/FONT] [FONT=&quot]กราบทูลกรรมอันเทวดานั้นทำแล้วทั้งหมด[/FONT]

    [FONT=&quot]เทวดาหมอบลงด้วยเศียรเกล้า แทบพระบาทยุคลแห่งพระศาสดากราบทูลว่า[/FONT] “[FONT=&quot]ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ทราบพระคุณทั้งหลายของพระองค์[/FONT] [FONT=&quot]ได้กล่าวคำใดอันชั่วช้า เพราะความเป็นอันธพาล[/FONT], [FONT=&quot]ขอพระองค์ทรงงดโทษคำนั้นแก่ข้าพระองค์[/FONT]” [FONT=&quot]ให้พระศาสดาทรงอดโทษแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]จึงให้ท่านมหาเศรษฐีอดโทษให้ (ในภายหลัง)[/FONT]


    [FONT=&quot]เมื่อกรรมให้ผล[/FONT][FONT=&quot]คนโง่จึงเห็นถูกต้อง[/FONT]

    [FONT=&quot]พระศาสดา เมื่อจะทรงโอวาทเศรษฐีและเทวดา[/FONT] [FONT=&quot]ด้วยสามารถวิบากแห่งกรรมดีและชั่วนั่นแล จึงตรัสว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ดูก่อนคฤหบดี[/FONT] [FONT=&quot]แม้บุคคลผู้ทำบาปในโลกนี้ ย่อมเห็นบาปว่าดี ตลอดกาลที่บาปยังไม่เผล็ดผล[/FONT], [FONT=&quot]แต่เมื่อใดบาปของเขาเผล็ดผล เมื่อนั้น เขาย่อมเห็นบาปว่าชั่วแท้ๆ[/FONT]; [FONT=&quot]ฝ่ายบุคคลผู้ทำกรรมดี ย่อมเห็นกรรมดีว่าชั่ว[/FONT] [FONT=&quot]ตลอดกาลที่กรรมดียังไม่เผล็ดผล[/FONT], [FONT=&quot]แต่เมื่อใดกรรมดีของเขาเผล็ดผล[/FONT], [FONT=&quot]เมื่อนั้นเขาย่อมเห็นกรรมดีว่า ดีจริงๆ[/FONT]” [FONT=&quot]ดังนี้แล้ว[/FONT] [FONT=&quot]เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงได้ภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า[/FONT]

    “[FONT=&quot]แม้คนผู้ทำบาป ย่อมเห็นบาปว่าดี ตลอดกาลที่บาปยังไม่เผล็ดผล[/FONT], [FONT=&quot]เมื่อใด[/FONT] [FONT=&quot]บาปเผล็ดผล[/FONT], [FONT=&quot]เมื่อนั้น เขาย่อมเห็นบาปว่าชั่วฝ่ายคนทำกรรมดี[/FONT] [FONT=&quot]ย่อมเห็นกรรมดีว่าชั่ว ตลอดกาลที่กรรมดียังไม่เผล็ดผล แม่เมื่อใด[/FONT] [FONT=&quot]กรรมดีเผล็ดผล เมื่อนั้น เขาย่อมเห็นกรรมดีว่าดี[/FONT]”
    [FONT=&quot]เรื่องเศรษฐีชื่อพิฬาลปทกะ[/FONT]

    [FONT=&quot]ให้ทานเองและชวนคนอื่น[/FONT][FONT=&quot]ได้สมบัติ[/FONT][FONT=&quot]๒[/FONT][FONT=&quot]อย่าง[/FONT]

    [FONT=&quot]ความพิสดารว่า สมัยหนึ่ง[/FONT] [FONT=&quot]ชาวเมืองสาวัตถีพากันถวายทานแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน[/FONT] [FONT=&quot]โดยเนื่องเป็นพวกเดียวกัน. อยู่มาวันหนึ่ง พระศาสดา เมื่อจะทรงทำอนุโมทนา[/FONT] [FONT=&quot]ตรัสอย่างนี้ว่า [/FONT]“[FONT=&quot]อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้[/FONT] [FONT=&quot]ให้ทานด้วยตน[/FONT], ([FONT=&quot]แต่) ไม่ชักชวนผู้อื่น[/FONT], [FONT=&quot]เขาย่อมได้โภคสมบัติ[/FONT], ([FONT=&quot]แต่)[/FONT] [FONT=&quot]ไม่ได้บริวารสมบัติในทีแห่งตนเกิดแล้วๆ[/FONT], [FONT=&quot]บางคนไม่ให้ทานด้วยตน[/FONT], [FONT=&quot]ชักชวนแต่คนอื่น[/FONT], [FONT=&quot]เขาย่อมได้บริวารสมบัติ (แต่)[/FONT] [FONT=&quot]ไม่ได้โภคสมบัติในที่แห่งตนเกิดแล้วๆ[/FONT]; [FONT=&quot]บางคนไม่ให้ทานด้วยตนด้วย[/FONT] [FONT=&quot]ไม่ชักชวนคนอื่นด้วย[/FONT], [FONT=&quot]เขาย่อมไม่ได้โภคสมบัติ ไม่ได้บริวารสมบัติ[/FONT] [FONT=&quot]ในที่แห่งตนเกิดแล้วๆ[/FONT]; [FONT=&quot]เป็นคนเที่ยวกินเดน บางคนให้ทานด้วยตนด้วย[/FONT] [FONT=&quot]ชักชวนคนอื่นด้วย[/FONT], [FONT=&quot]เขาย่อมได้ทั้งโภคสมบัติ และบริวารสมบัติ[/FONT] [FONT=&quot]ในที่แห่งตนเกิดแล้วๆ[/FONT]”


    [FONT=&quot]บัณฑิตเรี่ยไรของทำบุญ[/FONT]

    [FONT=&quot]ครั้งนั้น บัณฑิตบุรุษผู้หนึ่ง ฟังธรรมเทศนานั้นแล้ว คิดว่า [/FONT]“ [FONT=&quot]โอ ![/FONT] [FONT=&quot]เหตุนี้น่าอัศจรรย์[/FONT], [FONT=&quot]บัดนี้ เราจักทำกรรมที่เป็นไปเพื่อสมบัติทั้งสอง[/FONT]” [FONT=&quot]จึงกราบทูลพระศาสดาในเวลาเสด็จลุกไปว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ[/FONT] [FONT=&quot]พรุ่งนี้ขอพระองค์ทรงรับภิกษาของพวกข้าพระองค์[/FONT]”

    [FONT=&quot]พระศาสดา[/FONT] : [FONT=&quot]ก็ท่านมีความต้องการด้วยภิกษุสักเท่าไร [/FONT]?

    [FONT=&quot]บุรุษ[/FONT] : [FONT=&quot]ภิกษุทั้งหมด[/FONT] [FONT=&quot]พระเจ้าข้า[/FONT]

    [FONT=&quot]พระศาสดาทรงรับแล้ว. แม้เขาก็เข้าไปยังบ้าน เที่ยวป่าวร้องว่า[/FONT] “[FONT=&quot]ข้าแต่แม่และพ่อทั้งหลาย ข้าพเจ้านิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน[/FONT] [FONT=&quot]เพื่อฉันภัตตาหารในวันพรุ่งนี้[/FONT], [FONT=&quot]ผู้ใดอาจถวายแก่ภิกษุทั้งหลายมีประมาณเท่าใด[/FONT], [FONT=&quot]ผู้นั้นจงให้วัตถุต่างๆ[/FONT] [FONT=&quot]มีข้าวสาร เป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่อาหารมียาคูเป็นต้น[/FONT] [FONT=&quot]เพื่อภิกษุทั้งหลายมีประมาณเท่านั้น[/FONT], [FONT=&quot]พวกเราจักให้หุงต้มในที่แห่งเดียวกันแล้วถวายทาน[/FONT]”


    [FONT=&quot]เหตุที่เศรษฐีมีชื่อว่าพิฬาลปทกะ[/FONT]

    [FONT=&quot]ทีนั้น เศรษฐีคนหนึ่ง เห็นบุรุษนั้นมาถึงประตูร้านตลาดของตนก็โกรธว่า[/FONT] “[FONT=&quot]เจ้าคนนี้ ไม่นิมนต์ภิกษุแต่พอ (กำลัง) ของตน[/FONT] [FONT=&quot]ต้องมาเที่ยวชักชวนชาวบ้านทั้งหมด (อีก)[/FONT]” , [FONT=&quot]จึงบอกว่า[/FONT] “[FONT=&quot]แกจงนำเอาภาชนะที่แกถือมา[/FONT]” [FONT=&quot]ดังนี้แล้ว เอานิ้วมือ ๓ นิ้วหยิบ[/FONT] [FONT=&quot]ได้ให้ข้าวสารหน่อยหนึ่ง[/FONT], [FONT=&quot]ถั่วเขียว ถั่วราชมาษก็เหมือนกันแล. ตั้งแต่นั้น[/FONT] [FONT=&quot]เศรษฐีนั้นจึงมีชื่อว่า พิฬาลปทกเศรษฐี.[/FONT] [FONT=&quot]แม้เมื่อจะให้เภสัชมีเนยใสและน้ำอ้อยเป็นต้น ก็เอียงปากขวดเข้าที่หม้อ[/FONT] [FONT=&quot]ทำให้ปากขวดนั้นติดเป็นอันเดียวกัน[/FONT] [FONT=&quot]ให้เภสัชมีเนยใสและน้ำอ้อยเป็นต้นไหลลงทีละหยดๆ ได้ให้หน่อยหนึ่งเท่านั้น[/FONT]

    [FONT=&quot]อุบาสกทำวัตถุทานที่คนอื่นให้โดยรวมกัน (แต่) ได้ถือเอาสิ่งของที่เศรษฐีนี้ให้ไว้แผนกหนึ่งต่างหาก[/FONT]


    [FONT=&quot]เศรษฐีให้คนสนิทไปดูการทำของบุรุษผู้เรี่ยไร[/FONT]

    [FONT=&quot]เศรษฐีนั้น เห็นกิริยาของอุบาสกนั้นแล้ว คิดว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ทำไมหนอ[/FONT] [FONT=&quot]เจ้าคนนี้จึงรับสิ่งของที่เราให้ไว้แผนกหนึ่ง [/FONT]?” [FONT=&quot]จึงส่งจูฬุปัฏฐากคนหนึ่งไปข้างหลังเขา ด้วยสั่งว่า [/FONT]“[FONT=&quot]เจ้าจงไป[/FONT], [FONT=&quot]จงรู้กรรมที่เจ้านั่นทำ[/FONT]” [FONT=&quot]อุบาสกนั้นไปแล้ว กล่าวว่า[/FONT] “[FONT=&quot]ขอผลใหญ่จงมีแก่เศรษฐี[/FONT]” [FONT=&quot]ดังนี้แล้วใสข้าวสาร ๑ -๒ เมล็ด เพื่อประโยชน์[/FONT] [FONT=&quot]แก่ยาคู ภัต และขนม[/FONT], [FONT=&quot]ใส่ถั่วเขียวถั่วราชมาษบ้าง[/FONT] [FONT=&quot]หยาดน้ำมันและหยาดน้ำอ้อยเป็นต้นบ้างลงในภาชนะทุกๆ ภาชนะ.[/FONT] [FONT=&quot]จูฬุปัฏฐากไปบอกแก่เศรษฐีแล้ว. เศรษฐีฟังคำนั้นแล้ว จึงคิดว่า[/FONT] “[FONT=&quot]หากเจ้าคนนั้นจักกล่าวโทษเราท่ามกลางบริษัทไซร้[/FONT], [FONT=&quot]พอมันเอ่ยชื่อของเราขึ้นเท่านั้น เราจักประหารมันให้ตาย[/FONT]” [FONT=&quot]ในวันรุ่งขึ้น[/FONT] [FONT=&quot]จึงเหน็บกฤชไว้ในระหว่างผ้านุ่งแล้ว ได้ไปยืนอยู่ที่โรงครัว[/FONT]


    [FONT=&quot]ฉลาดพูดทำให้ผู้มุ่งร้ายกลับอ่อนน้อม[/FONT]

    [FONT=&quot]บุรุษนั้น เลี้ยงดูภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน[/FONT] [FONT=&quot]แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ[/FONT] [FONT=&quot]ข้าพระองค์ชักชวนมหาชนถวายทานนี้[/FONT], [FONT=&quot]พวกมนุษย์ข้าพระองค์ชักชวนแล้วในที่นั้น[/FONT] [FONT=&quot]ได้ให้ข้าวสารเป็นต้น มากบ้างน้อยบ้าง ตามกำลังของตน[/FONT], [FONT=&quot]ขอผลอันไพศาลจงมีแก่มหาชนเหล่านั้นทั้งหมด[/FONT]”

    [FONT=&quot]เศรษฐีได้ยินคำนั้นแล้ว คิดว่า [/FONT]“[FONT=&quot]เรามาด้วยตั้งใจ[/FONT] [FONT=&quot]พอมันเอ่ยชื่อของเราขึ้นว่า[/FONT] ‘[FONT=&quot]เศรษฐีชื่อโน้นถือเอาข้าวสารเป็นต้นด้วยหยิบมือให้[/FONT]’ [FONT=&quot]เราก็จักฆ่าบุรุษนี้ให้ตาย[/FONT], [FONT=&quot]แต่บุรุษนี้ ทำทานให้รวมกันทั้งหมด[/FONT] [FONT=&quot]แล้วกล่าวว่า [/FONT]‘[FONT=&quot]ทานที่ชนเหล่าใดตวงด้วยทะนานเป็นต้นแล้วให้ก็ดี[/FONT], [FONT=&quot]ทานที่ชนเหล่าใดถือเอาด้วยหยิบมือแล้วให้ก็ดี[/FONT], [FONT=&quot]ขอผลอันไพศาล[/FONT] [FONT=&quot]จงมีแก่ชนเหล่านั้นทั้งหมด[/FONT]’ [FONT=&quot]ถ้าเราจักไม่ให้บุรุษเห็นปานนี้อดโทษไซร้[/FONT], [FONT=&quot]อาชญาของเทพเจ้าจักตกลงบนศีรษะของเรา[/FONT]” [FONT=&quot]เศรษฐีนั้นหมอบลงแทบเท้าของอุบาสกนั้นแล้วกล่าวว่า [/FONT]“[FONT=&quot]นาย[/FONT] [FONT=&quot]ขอนายจงอดโทษให้ผมด้วย[/FONT]” [FONT=&quot]และถูกอุบาสกนั้นถามว่า [/FONT]“[FONT=&quot]นี้อะไรกัน [/FONT]?” [FONT=&quot]จึงบอกเรื่องนั้นทั้งหมด[/FONT]

    [FONT=&quot]พระศาสดาทรงเห็นกิริยานั้นแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]ตรัสถามผู้ขวนขวายในมานว่า[/FONT] “[FONT=&quot]นี่อะไรกัน [/FONT]?” [FONT=&quot]เขากราบทูลเรื่องนั้นทั้งหมดตั้งแต่วันที่แล้วๆ มา[/FONT]


    [FONT=&quot]อย่าดูหมิ่นบุญว่านิดหน่อย[/FONT]

    [FONT=&quot]ทีนั้น พระศาสดาตรัสถามเศรษฐีนั้นว่า [/FONT]“[FONT=&quot]นัยว่า เป็นอย่างนั้นหรือ [/FONT]? [FONT=&quot]เศรษฐี[/FONT]” [FONT=&quot]เมื่อเขากราบทูลว่า [/FONT]“[FONT=&quot]อย่างนั้น พระเจ้าข้า[/FONT]” [FONT=&quot]ตรัสว่า [/FONT]“[FONT=&quot]อุบาสก[/FONT] [FONT=&quot]ขึ้นชื่อว่าบุญ อันใครๆ ไม่ควรดูหมิ่นว่า [/FONT]‘[FONT=&quot]นิดหน่อย[/FONT]’ [FONT=&quot]อันบุคคลถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเช่นเราเป็นประธานแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]ไม่ควรดูหมิ่นว่า [/FONT]‘[FONT=&quot]เป้นของนิดหน่อย[/FONT]’ [FONT=&quot]ด้วยว่า[/FONT] [FONT=&quot]บุรุษผู้บัณฑิตทำบุญอยู่ย่อมเต็มไปด้วยบุญโดยลำดับแน่แท้[/FONT] [FONT=&quot]เปรียบเสมือนภาชนะที่เปิดปาก ย่อมเต็มไปด้วยน้ำ ฉะนั้น[/FONT]” [FONT=&quot]ดังนี้แล้ว[/FONT] [FONT=&quot]เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า[/FONT]

    “[FONT=&quot]บุคคลไม่ควรดูหมิ่นบุญว่า [/FONT]‘[FONT=&quot]บุญมีประมาณน้อย จักไม่มาถึง[/FONT]’ [FONT=&quot]แม้หม้อน้ำยังเต็มด้วยหยาดน้ำที่ตกลงมา (ทีละหยาดๆ) ได้ฉันใด ธีรชน[/FONT] ([FONT=&quot]ชนผู้มีปัญญา) สั่งสมบุญแม้ทีละน้อยๆ ย่อมเต็มด้วยบุญได้ฉันนั้น[/FONT]”
    [FONT=&quot]เรื่องธิดานายชั่งหูก[/FONT]

    [FONT=&quot]คนเจริญมรณสติไม่กลัวตาย[/FONT]

    [FONT=&quot]ความพิสดารว่า วันหนึ่ง พวกชาวเมืองอาฬวี[/FONT] [FONT=&quot]เมื่อพระศาสดาเสด็จถึงเมืองอาฬวีแล้ว ได้ทูลนิมนต์ถวายทานแล้ว.[/FONT] [FONT=&quot]พระศาสดาเมื่อจะทรงทำอนุโมทนาในเวลาเสร็จภัตกิจ จึงตรัสว่า[/FONT] “[FONT=&quot]ท่านทั้งหลายจงเจริญมรณสติอย่างนี้ว่า [/FONT]‘[FONT=&quot]ชีวิตของเราไม่ยั่งยืน[/FONT], [FONT=&quot]ความตายของเราแน่นอน[/FONT], [FONT=&quot]เราพึงตายแน่แท้[/FONT], [FONT=&quot]ชีวิตของเรามีความหมายเป็นที่สุด[/FONT], [FONT=&quot]ชีวิตของเราไม่เที่ยง[/FONT], [FONT=&quot]ความตายเที่ยง[/FONT]; [FONT=&quot]ก็มรณะอันชนทั้งหลายใดไม่เจริญแล้ว[/FONT], [FONT=&quot]ในกาลที่สุดชนทั้งหลายนั้น ย่อมถึงความสะดุ้งร้องอย่างงขลาดกลัวอยู่กาละ[/FONT] [FONT=&quot]เหมือนบุรุษเห็นอสรพิษแล้วกลัวฉะนั้น[/FONT]; [FONT=&quot]ส่วนมรณะอันชนทั้งหลายใดเจริญแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]ชนทั้งหลายนั้นย่อมสะดุ้งในกาลที่สุด ดุจบุรุษเห็นอสรพิษแต่ไกลเทียว[/FONT] [FONT=&quot]แล้วก็เอาท่อนไม่เขี่ยทิ้งไปยืนอยู่ฉะนั้น[/FONT]; [FONT=&quot]เพราะฉะนั้นมรณสติอันท่านทั้งหลายพึงเจริญ[/FONT]”


    [FONT=&quot]พระศาสดาเสด็จประทานโอวาทธิดาช่างหูก[/FONT]

    [FONT=&quot]พวกชนที่เหลือฟังธรรมเทศนานั้นแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]ได้เป็นผู้ขวนขวายในกิจของตนอย่างเดียว. ส่วนธิดาของนายช่างหูกอายุ ๑๖[/FONT] [FONT=&quot]ปีคนหนึ่งคิดว่า [/FONT]“[FONT=&quot]โอ ธรรมดาถ้อยคำของพระพุทธเจ้าทั้งหลายอัศจรรย์[/FONT], [FONT=&quot]เราเจริญมรณสติจึงควร[/FONT]” [FONT=&quot]ดังนี้แล้ว[/FONT] [FONT=&quot]ก็เจริญมรณสติอย่างเดียวตลอดทั้งกลางวันกลางคืน[/FONT] [FONT=&quot]ฝ่ายพระศาสดาเสด็จออกจากเมืองอาฬวีแล้วก็ได้เสด็จไปพระเชตวัน.[/FONT] [FONT=&quot]นางกุมาริกาแม้นั้น ก็เจริญมรณสติสิ้น ๓ ปีทีเดียว. ต่อมาวันหนึ่ง[/FONT] [FONT=&quot]พระศาสดาทรงตรวจดูโลก ในเวลาใกล้รุ่งทรงเห็นนางกุมาริกานั้น[/FONT] [FONT=&quot]เข้าไปภายในข่าย คือพระญาณของพระองค์ ทรงใคร่ครวญว่า [/FONT]“[FONT=&quot]เหตุอะไรหนอ [/FONT]? [FONT=&quot]จักมี[/FONT]” [FONT=&quot]ทรงทราบว่า [/FONT]“[FONT=&quot]นางกุมาริกานี้เจริญมรณสติแล้วสิ้น ๓ ปี[/FONT] [FONT=&quot]ตั้งแต่วันที่ฟังธรรมเทศนาของเรา[/FONT], [FONT=&quot]บัดนี้ เราไปในที่นั้นแล้ว ถามปัญหา ๔[/FONT] [FONT=&quot]ข้อกะนางกุมาริกานี้เมื่อนางแก้ปัญหาอยู่ จักให้สาธุการในฐานะ ๔[/FONT] [FONT=&quot]แล้วภาษิตคาถานี้[/FONT], [FONT=&quot]ในเวลาจบคาถา นางกุมาริกานั้น[/FONT] [FONT=&quot]จักตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล[/FONT], [FONT=&quot]เพราะอาศัยนางกุมาริกานั้น[/FONT] [FONT=&quot]เทศนาจักมีประโยชน์แม้แก่มหาชน[/FONT]” [FONT=&quot]ดังนี้แล้ว มีภิกษุประมาณ ๕๐๐[/FONT] [FONT=&quot]รูปเป็นบริวาร ได้เสด็จออกจากพระเชตวัน ไปสู่อัคคาฬววิหารโดยลำดับ.[/FONT] [FONT=&quot]ชาวเมืองอาฬวีทราบว่า [/FONT]“[FONT=&quot]พระศาสดาเสด็จมาแล้ว[/FONT]” [FONT=&quot]จึงไปวิหาร ทูลนิมนแล้ว.[/FONT] [FONT=&quot]แม้นางกุมาริกานั้น ทราบการเสด็จมาของพระศาสดา มีใจยินดีว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ข่าวว่า[/FONT] [FONT=&quot]พระมหาโคดมพุทธเจ้าผู้พรระบิดา ผู้เป็นใหญ่ เป็นพระอาจารย์[/FONT] [FONT=&quot]ผู้มีพระพักตร์ดังพระจันทร์เพ็ญของเราเสด็จมาแล้ว[/FONT]” [FONT=&quot]จึงคิดว่า [/FONT]“[FONT=&quot]พระศาสดา[/FONT] [FONT=&quot]ผู้มีวรรณะดังทองคำ อันเราเคยเห็น ในที่สุด ๓ ปี แต่วันนี้[/FONT], [FONT=&quot]บัดนี้[/FONT] [FONT=&quot]เราจักได้เห็นพระสรีระซึ่งมีวรรณะดังทองคำ และฟังธรรมอันเป็นโอวาท[/FONT] [FONT=&quot]ซึ่งมีโอชะอันไพเราะ (จับใจ) ของพระศาสดานั้น[/FONT]”

    [FONT=&quot]ฝ่ายบิดาของนาง เมื่อจะไปสู่โรงหูก ได้สั่งไว้ว่า [/FONT]“[FONT=&quot]แม่ ผ้าสาฎก[/FONT] [FONT=&quot]ซึ่งเป็นของคนอื่น เรายกขึ้นไว้ (กำลังทอ)[/FONT], [FONT=&quot]ผ้านั้นประมาณคืบหนึ่งยังไม่สำเร็จ เราจะให้ผ้านั้นเสร็จในวันนี้[/FONT], [FONT=&quot]เจ้ากรอด้ายหลอดแล้วพึงนำมาให้แก่พ่อโดยเร็ว[/FONT]” [FONT=&quot]นางกุมาริกานั้นคิดว่า[/FONT] “[FONT=&quot]เราใคร่จะฟังธรรมของพระศาสดา[/FONT], [FONT=&quot]ก็บิดาสั่งเราไว้อย่างนี้[/FONT]; [FONT=&quot]เราจะฟังธรรมของพระศาสดาหรือหนอแล หรือจะกรอด้ายหลอหดแล้วนำไปให้แก่บิดา[/FONT] ?” [FONT=&quot]ครั้งนั้น นางกุมาริกานั้น ได้มีความปริวิตกอย่างนี้ว่า[/FONT] “[FONT=&quot]เมื่อเราไปนำด้ายหลอดให้ บิดาพึงโบยเราบ้าง พึงตีเราบ้าง[/FONT], [FONT=&quot]เพราะฉะนั้น[/FONT] [FONT=&quot]เรากรอด้ายหลอดให้แก่ท่านแล้ว จึงจักฟังธรรมในภายหลัง[/FONT]” [FONT=&quot]ดังนี้แล้ว[/FONT] [FONT=&quot]จึงนั่งกรอด้ายหลอดอยู่บนตั่ง แม้พวกชาวเมืองอาฬวีอังคาสพระศาสดาแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]ได้รับบาตร ยืนอยู่เพื่อต้องการอนุโมทนา. พระศาสดาประทับนิ่งแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]ด้วยทรงดำริว่า [/FONT]“[FONT=&quot]เราอาศัยกุลธิดาใดมาแล้วสิ้นทาง ๓๐ โยชน์[/FONT], [FONT=&quot]กุลธิดานั้น[/FONT] [FONT=&quot]ไม่มีโอกาสแม้ในวันนี้[/FONT], [FONT=&quot]เมื่อกุลธิดานั้นได้โอกาสเราจักทำอนุโมทนา[/FONT]” [FONT=&quot]ก็ใครๆ[/FONT] [FONT=&quot]ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ย่อมไม่อาจเพื่อจะทูลอะไรๆ กะพระศาสดา[/FONT] [FONT=&quot]ผู้ทรงนิ่งอย่างนั้นได้[/FONT], [FONT=&quot]แม้นางกุมาริกานั้นแล[/FONT] [FONT=&quot]กรอด้ายหลอดแล้วใส่ในกระเช้าเดินไปสู่สำนักของบิดา ถึงที่สุดของบริษัทแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]ก็ได้เดินแลดูพระศาสดาไป. แม้พระศาสดา ก็ทรงชะเง้อ๑[/FONT] [FONT=&quot]ทอดพระเนตรนางกุมาริกานั้น. เหมือนกันว่า [/FONT]“[FONT=&quot]พระศาสดา[/FONT] [FONT=&quot]ประทับนั่งอยู่ในท่ามกลางบริษัทเห็นปานนั้น ทอดพระเนตรเราอยู่[/FONT] [FONT=&quot]ย่อมทรงหวังการมาของเรา ย่อมทรงหวังการมาสู่สำนักของพระองค์ทีเดียว[/FONT]” [FONT=&quot]นางวางกระเช้าด้ายหลอดแล้วได้ไปยังสำนักของพระศาสดา[/FONT]

    [FONT=&quot]ถามว่า[/FONT] “[FONT=&quot]ก็เพราะเหตุอะไร [/FONT]? [FONT=&quot]พระศาสดา[/FONT] [FONT=&quot]จึงทอดพระเนตรนางกุมาริกานั้น[/FONT]”

    [FONT=&quot]แก้ว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ได้ยินว่า พระองค์ได้ทรงปริวิตกอย่างนี้ว่า นางกุมาริกานั้น[/FONT] [FONT=&quot]เมื่อไปจากที่นี้ ทำกาลกิริยาอย่างปุถุชนแล้ว จักเป็นผู้มีคติไม่แน่นอน[/FONT], [FONT=&quot]แต่มาสู่สำนักของเราแล้วไปอยู่ บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]จักเป็นผู้มีคติแน่นอน เกิดในดุสิตวิมาน[/FONT]” [FONT=&quot]นัยว่า ในวันนั้น[/FONT] [FONT=&quot]ชื่อว่าความพ้นจากความตายไม่มีแก่นางกุมาริกานั้น[/FONT]

    [FONT=&quot]นางกุมาริกานั้น เข้าเฝ้าพระศาสดา[/FONT] [FONT=&quot]ด้วยเครื่องหมายอันพระศาสดาทอดพระเนตรนั่นแล เข้าไปสู่ระหว่างรัศมี[/FONT] [FONT=&quot]มีพรรณะ ๖ ถวายบังคมแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่ง[/FONT]


    [FONT=&quot]พระศาสดาตรัสถามปัญหากะธิดาช่างหูก[/FONT]

    [FONT=&quot]ในขณะที่นางกุมาริกานั้นถวายบังคมพระศาสดาผู้ประทับนั่งนิ่งในท่าม[/FONT] [FONT=&quot]กลางบริษัทเห็นปานนั้นแล้ว ยืนอยู่นั่นแล พระศาสดาตรัสกะนางว่า [/FONT]“[FONT=&quot]กุมาริกา[/FONT] [FONT=&quot]เธอมาจากไหน [/FONT]?”

    [FONT=&quot]กุมาริกา[/FONT] : [FONT=&quot]ไม่ทราบ[/FONT] [FONT=&quot]พระเจ้าข้า[/FONT]
    [FONT=&quot]พระศาสดา[/FONT] : [FONT=&quot]เธอจักไป[/FONT] [FONT=&quot]ณ[/FONT] [FONT=&quot]ที่ไหน [/FONT]?
    [FONT=&quot]กุมาริกา[/FONT] : [FONT=&quot]ไม่ทราบ[/FONT] [FONT=&quot]พระเจ้าข้า[/FONT]
    [FONT=&quot]พระศาสดา[/FONT] : [FONT=&quot]เธอไม่ทราบหรือ [/FONT]?
    [FONT=&quot]กุมาริกา[/FONT] : [FONT=&quot]ทราบ[/FONT] [FONT=&quot]พระเจ้าข้า[/FONT]
    [FONT=&quot]พระศาสดา[/FONT] : [FONT=&quot]เธอทราบหรือ [/FONT]?
    [FONT=&quot]กุมาริกา[/FONT] : [FONT=&quot]ไม่ทราบ[/FONT] [FONT=&quot]พระเจ้าข้า[/FONT]

    [FONT=&quot]พระศาสดาตรัสถามปัญหา[/FONT] [FONT=&quot]๔[/FONT] [FONT=&quot]ข้อ กะนางกุมาริกานั้น[/FONT] [FONT=&quot]ด้วยประการฉะนี้[/FONT]

    [FONT=&quot]มหาชนโพนทะนาว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ผู้เจริญทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงดูธิดาของช่างหูกนี้[/FONT] [FONT=&quot]พูดคำอันตนปรารถนาแล้วๆ กับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า[/FONT] [FONT=&quot]เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า [/FONT]‘[FONT=&quot]เธอมาจากไหน [/FONT]?’ [FONT=&quot]ธิดาของช่างหูกนี้ควรพูดว่า [/FONT]‘[FONT=&quot]จากเรือนของช่างหูก[/FONT]’ [FONT=&quot]เมื่อตรัสว่า[/FONT] ‘[FONT=&quot]เธอจะไปไหน [/FONT]?’ [FONT=&quot]ก็ควรกล่าวว่า [/FONT]‘[FONT=&quot]ไปโรงของช่างหูก[/FONT]’ [FONT=&quot]มิใช่หรือ [/FONT]? [FONT=&quot]พระศาสดาทรงกระทำมหาชนให้เงียบเสียงแล้ว ตรัสถามว่า [/FONT]‘[FONT=&quot]กุมาริกา เธอ เมื่อ[/FONT] [FONT=&quot]เรากล่าวว่า มาจากไหน [/FONT]?’ [FONT=&quot]เพราะเหตุใดเธอจึงตอบว่า [/FONT]‘[FONT=&quot]ไม่ทราบ[/FONT]’

    [FONT=&quot]กุมาริกา [/FONT]“[FONT=&quot]พระเจ้าข้า[/FONT] [FONT=&quot]พระองค์ย่อมทรงทราบความที่หม่อมฉันมาจากเรือนช่างหูก[/FONT] [FONT=&quot]แต่พระองค์เมื่อตรัสถามว่า [/FONT]‘[FONT=&quot]เธอมาจากไหน [/FONT]?’ [FONT=&quot]ย่อมตรัสถามว่า[/FONT] ‘[FONT=&quot]เธอมาจากที่ไหน จึงเกิดแล้วในที่นี่ [/FONT]?’ [FONT=&quot]แต่หม่อมฉันย่อมไม่ทราบว่า[/FONT] ‘[FONT=&quot]ก็เรามาแล้วจากไหน จึงเกิดในที่นี้[/FONT]’

    [FONT=&quot]ลำดับนั้น พระศาสดาประทานสาธุการเป็นครั้งแรกแก่นางกุมาริกานั้นว่า[/FONT] “[FONT=&quot]ดีละ ดีละ กุมาริกา ปัญหาอันเราถามแล้วนั่นแล อันเธอแก้ได้แล้ว[/FONT]” [FONT=&quot]แล้วตรัสถามแม้ข้อต่อไปว่า [/FONT]“[FONT=&quot]เธอ อันเราถามแล้วว่า [/FONT]‘[FONT=&quot]เธอจะไปไหน [/FONT]?’ [FONT=&quot]เพราะเหตุไร จึงกล่าวว่า [/FONT]'[FONT=&quot]ไม่ทราบ[/FONT]' ?

    [FONT=&quot]๑[/FONT]
    [FONT=&quot]คีวํ[/FONT] [FONT=&quot]อุกุขิปิตุวา.[/FONT]

    [FONT=&quot]กุมาริกา [/FONT]“[FONT=&quot]พระเจ้าข้า[/FONT] [FONT=&quot]พระองค์ทรงทราบหม่อมฉันผู้ถือกระเช้าด้ายหลอดเดินไปยังโรงของช่างหูก[/FONT], [FONT=&quot]พระองค์ย่อมตรัสถามว่า [/FONT]‘[FONT=&quot]ก็เธอไปจากโลกนี้แล้ว จักเกิดในที่ไหน [/FONT]?’ [FONT=&quot]ก็หม่อมฉันจุติจากโลกนี้ย่อมไม่ทราบว่า [/FONT]‘[FONT=&quot]จักไปเกิดในที่ไหน[/FONT]’

    [FONT=&quot]ลำดับนั้น พระศาสดา ประทานสาธุการแก่นางเป็นครั้งที่ ๒ ว่า[/FONT] “[FONT=&quot]ปัญหาอันเราถามแล้วนั่นแล เธอแก้ได้แล้ว[/FONT]” [FONT=&quot]แล้วตรัสถามแม้ข้อต่อไปว่า[/FONT] “[FONT=&quot]เมื่อเช่นนั้น เธอ อันเราถามว่า [/FONT]‘[FONT=&quot]ไม่ทราบหรือ [/FONT]?’ [FONT=&quot]เพราะเหตุไรจึงกล่าวว่า[/FONT] ‘[FONT=&quot]ทราบ[/FONT]’ ?”

    [FONT=&quot]กุมาริกา[/FONT] “[FONT=&quot]พระพุทธเจ้าข้า[/FONT] [FONT=&quot]หม่อมฉันย่อมทราบภาวะคือความตายของหม่อมฉันเท่านั้น[/FONT] [FONT=&quot]เหตุนั้น[/FONT] [FONT=&quot]จึงกราบทูลอย่างนั้น[/FONT]”

    [FONT=&quot]ลำดับนั้น พระศาสดาประทานสาธุการแก่นางเป็นครั้งที่ ๓ ว่า[/FONT] “[FONT=&quot]ปัญหาอันเราถามแล้วนั่นแล เธอแก้ได้แล้ว[/FONT]” [FONT=&quot]แล้วตรัสถามแม้ข้อต่อไปว่า[/FONT] “[FONT=&quot]เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอ อันเราถามว่า [/FONT]‘[FONT=&quot]เธอย่อมทราบหรือ [/FONT]?’ [FONT=&quot]เพราะเหตุไร[/FONT] [FONT=&quot]จึงพูดว่า [/FONT]‘[FONT=&quot]ไม่ทราบ[/FONT]’?

    [FONT=&quot]กุมาริกา [/FONT]“[FONT=&quot]หม่อมฉันย่อมทราบแต่ภาวะคือความตายของหม่อมฉันเท่านั้น[/FONT] [FONT=&quot]พระเจ้าข้า แต่ย่อมไม่ทราบว่า จักตายในเวลากลางคืน[/FONT] [FONT=&quot]กลางวันหรือเวลาเช้าเป็นต้น ในกาลชื่อโน้น[/FONT], [FONT=&quot]เพราะเหตุนั้น จึงพูดอย่างนั้น[/FONT]


    [FONT=&quot]คนมีปัญญาชื่อว่ามีจักษุ[/FONT]

    [FONT=&quot]ลำดับนั้น พระศาสดาประทานสาธุการครั้งที่ ๔ แก่นางว่า[/FONT] “[FONT=&quot]ปัญหาอันเราถามแล้วนั่นแล เธอแก้ได้แล้ว[/FONT]” [FONT=&quot]แล้วตรัสเตือนบริษัทว่า[/FONT] “[FONT=&quot]พวกท่านย่อมไม่ทราบถ้อยคำชื่อประมาณเท่านี้ ที่นางกุมาริกานี้กล่าวแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]ย่อมโพนทะนาอย่างเดียวเท่านั้น[/FONT]; [FONT=&quot]เพราะจักษุคือปัญญาของชนเหล่าใดไม่มี[/FONT], [FONT=&quot]ขนเหล่านั้นเป็น (ดุจ) คนบอดทีเดียว[/FONT]; [FONT=&quot]จักษุคือปัญญาของชนเหล่าใดมีอยู่[/FONT]; [FONT=&quot]ชนเหล่านั้นนั่นแล เป็นผู้มีจักษุ[/FONT]” [FONT=&quot]ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-[/FONT]

    “[FONT=&quot]สัตว์โลกนี้เป็นเหมือนคนตาบอด[/FONT], [FONT=&quot]ในโลกนี้น้อยคนนัก จะเห็นแจ้ง[/FONT], [FONT=&quot]น้อยคนนักจะไปในสวรรค์ เหมือนนกหลุดแล้วจากข่าย (มีน้อย) ฉะนั้น[/FONT]”


    [FONT=&quot]ธิดาช่างหูกตายไปเกิดในดุสิตภพ[/FONT]

    [FONT=&quot]แม้นางกุมาริกานั้น ได้ถือกระเช้าด้ายหลอดไปสู่สำนักของบิดาแล้ว.[/FONT] [FONT=&quot]แม้บิดานั้น ก็นั่งหลับแล้ว. เมื่อนางไม่กำหนดแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]น้อมกระเช้าด้ายหลอดเข้าไปอยู่ กระเช้าด้ายหลอดกระทบที่สุดฟืม[/FONT] [FONT=&quot]ทำเสียงตกไป. บิดานั้นตื่นขึ้นแล้ว ฉุดที่สุดฟืมไป[/FONT] [FONT=&quot]ด้วยนิมิตที่ตนจับเอาแล้วนั่นเอง. ที่สุดฟืมไปประหารนางกุมาริกานั้นที่อก[/FONT], [FONT=&quot]นางทำกาละ ณ ที่นั้นนั่นเอง บังเกิดแล้วในที่สุดภพ. ลำดับนั้น[/FONT] [FONT=&quot]บิดาของนางเมื่อแลดูนาง[/FONT] [FONT=&quot]ได้เห็นนางมีสรีระทั้งสิ้นเปื้อนด้วยโลหิตล้มลงตายแล้ว. ลำดับนั้น[/FONT] [FONT=&quot]ความโศกใหญ่บังเกิดขึ้นแก่บิดานั้น. เขาร้องไห้อยู่ด้วยคิดว่า[/FONT] “[FONT=&quot]ผู้อื่นจักไม่สามารถเพื่อยังความโศกของเราให้ดับได้[/FONT]” [FONT=&quot]จึงไปสู่สำนักของพระศาสดา กราบทูลเนื้อความนั้นแล้ ว[/FONT] [FONT=&quot]กราบทูลว่า[/FONT]”[FONT=&quot]พระเจ้าข้า ขอพระองค์จงยังความโศกของข้าพระองค์ให้ดับ[/FONT]” [FONT=&quot]พระศาสดาทรงปลอบเขาแล้ว ตรัสว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ท่านอย่าโศกแล้ว.[/FONT] [FONT=&quot]เพราะว่าน้ำตาของท่านอันไหลออกแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]ในกาลเป็นที่ตายแห่งธิดาของท่านด้วยอาการอย่างนี้นั่นแล ในสงสารมีที่สุด[/FONT] [FONT=&quot]ที่ใครๆ ไม่รู้แล้วเป็นของยิ่งกว่าน้ำมหาสมุทรทั้ง ๔[/FONT]“ [FONT=&quot]ดังนี้แล้ ว จึงตรัส[/FONT] [FONT=&quot]สอนมตัคคสูตร. เขามีความโศกเบาบาง ทูลขอบรรพชากะพระศาสดา ได้อุปสมบทแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]ต่อกาลไม่นานบรรลุพระอรหัตแล้วดังนี้แล.[/FONT]
    [FONT=&quot]เรื่องบุตรของนายโคฆาตก์[/FONT]

    [FONT=&quot]นายโคฆาตก์สั่งให้ภรรยาปิ้งเนื้อ[/FONT]

    [FONT=&quot]ดังได้สดับมา นายโคฆาตก์คนหนึ่งในนครสาวัตถี[/FONT] [FONT=&quot]ฆ่าโคแล้วถือเอาเนื้อล่ำปิ้งแล้ว นั่งพร้อมด้วยบุตรและภริยาเคี้ยวกินเนื้อ[/FONT] [FONT=&quot]และขายด้วยราคา เขาทำการของคนฆ่าโคอยู่อย่างนี้ตลอด ๕๕ ปี[/FONT] [FONT=&quot]มิได้ถวายยาคูหรือภัต แม้มาตรว่าทัพพีหนึ่งในวันหนึ่งแด่พระศาสดา[/FONT] [FONT=&quot]ซึ่งประทับอยู่ในวิหารใกล้ เขาเว้นจากเนื้อเสีย ย่อมไม่บริโภคภัต[/FONT] [FONT=&quot]วันหนึ่งเขาขายเนื้อในตอนกลางวันแล้ว ให้ก้อนเนื้อก้อนหนึ่งแก่ภริยา[/FONT] [FONT=&quot]เพื่อปิ้ง เพื่อประโยชน์แก่ตน แล้วได้ไปอาบน้ำ[/FONT]

    [FONT=&quot]ลำดับนั้น[/FONT] [FONT=&quot]สหายของเขามาสู่เรือนแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]พูดกะภริยาว่า[/FONT] “[FONT=&quot]หล่อนจงให้เนื้อที่จะขายพึงขายแก่ฉันหน่อยหนึ่ง[/FONT], ([FONT=&quot]เพราะ)[/FONT] [FONT=&quot]แขกมาที่เรือนฉัน[/FONT]”

    [FONT=&quot]ภริยานายโคฆาตก์[/FONT] : [FONT=&quot]เนื้อที่จะพึงขายไม่มี[/FONT], [FONT=&quot]สหายของท่านขายเนื้อแล้วบัดนี้ไปอาบน้ำ[/FONT]

    [FONT=&quot]สหาย[/FONT] : [FONT=&quot]อย่าทำอย่างนี้เลย[/FONT] [FONT=&quot]ถ้าก้อนเนื้อมี[/FONT] [FONT=&quot]ขอจงให้เถิด[/FONT]

    [FONT=&quot]ภริยานายโคฆาตก์[/FONT] : [FONT=&quot]เว้นก้อนเนื้อที่ฉันเก็บไว้เพื่อสหายของท่านแล้วเนื้ออื่นไม่มี[/FONT]

    [FONT=&quot]เขาคิดว่า[/FONT] “[FONT=&quot]เนื้ออื่นจากเนื้อหญิงนี้เก็บไว้เพื่อประโยชน์แก่สหายของเราไม่มี[/FONT], [FONT=&quot]อนึ่ง[/FONT] [FONT=&quot]สหายของเรานั้น เว้นจากเนื้อย่อมไม่บริโภค. หญิงนี้จักไม่ให้[/FONT]” [FONT=&quot]จึงถือเอาเนื้อนั้นเองหลีกไป[/FONT]

    [FONT=&quot]ฝ่ายนายโคฆาตก์อาบน้ำแล้วกลับมา.[/FONT] [FONT=&quot]เมื่อภรริยานั้นคดภัตนำเข้าไปพร้อมกับน้ำผักต้มเพื่อตน[/FONT], [FONT=&quot]จึงพูดว่า[/FONT] “[FONT=&quot]เนื้ออยู่ที่ไหน[/FONT]”

    [FONT=&quot]ภริยา[/FONT] : [FONT=&quot]นาย[/FONT] [FONT=&quot]เนื้อไม่มี[/FONT]

    [FONT=&quot]นายโคฆาตก์[/FONT] : [FONT=&quot]เราให้เนื้อไว้เพื่อต้องการปิ้งแล้วจึงไป[/FONT] [FONT=&quot]มิใช่หรือ [/FONT]?

    [FONT=&quot]ภริยา : สหายของท่านมาบอกว่า [/FONT]“[FONT=&quot]แขกของฉันมา[/FONT], [FONT=&quot]หล่อนจงให้เนื้อที่จะพึงขายแก่ฉัน[/FONT]” [FONT=&quot]เมื่อฉันตอบว่า[/FONT] “[FONT=&quot]เนื้ออื่นจากเนื้อที่ฉันเก็บไว้เพื่อสหายของท่านไม่มี[/FONT], [FONT=&quot]อนึ่ง[/FONT] [FONT=&quot]สหายของท่านนั้น เว้นจากเนื้อย่อมไม่บริโภค[/FONT]” [FONT=&quot]ก็ถือเอาเนื้อนั้นโดยพลการเองทีเดียวไปแล้ว[/FONT]

    [FONT=&quot]นายโคฆาตก์[/FONT] : [FONT=&quot]เราเว้นจากเนื้อ[/FONT] [FONT=&quot]ไม่บริโภคภัต[/FONT], [FONT=&quot]หล่อนจงนำภัตนั้นไป[/FONT]

    [FONT=&quot]ภริยา[/FONT] : [FONT=&quot]ฉันอาจทำอย่างไรได้[/FONT], [FONT=&quot]ขอจงบริโภคเถิดนาย[/FONT]


    [FONT=&quot]นายโคฆาตก์ตัดลิ้นโคปิ้งบริโภค[/FONT]

    [FONT=&quot]นายโคฆาตก์นั้นตอบว่า [/FONT]“[FONT=&quot]เราไม่บริโภคภัต[/FONT]” [FONT=&quot]ให้ภริยานำภัตนั้นไปแล้ว[/FONT], [FONT=&quot]ถือมีดไปสู่สำนักโคตัวยืนอยู่ที่หลังเรือน[/FONT] [FONT=&quot]แล้วสอดมือเข้าไปในปากดึงลิ้นออกมาเอามีดตัดที่โคน (ลิ้น)[/FONT] [FONT=&quot]แล้วถือไปให้ปิ้งบนถ่านเพลิงแล้ว วางไว้บนภัต[/FONT] [FONT=&quot]นั่งบริโภคก้อนภัตก้อนหนึ่งไว้ในปาก. ในขณะนั้นเอง[/FONT] [FONT=&quot]ลิ้นของเขาขาดตกลงในถาดสำหรับใส่ภัต ในขณะนั้นแล[/FONT] [FONT=&quot]เขาได้วิบากที่เห็นสมด้วยกรรม. แม้เขาแลเป็นเหมือนโค[/FONT] [FONT=&quot]มีสายเลือดไหลออกจากปากเข้าไปในเรือนเที่ยวคลาน ร้องไป.[/FONT]


    [FONT=&quot]บุตรนายโคฆาตก์หนี[/FONT]

    [FONT=&quot]สมัยนั้น บุตรของนายโคฆาตก์ยืนแลดูบิดาอยู่ในที่ใกล้.[/FONT] [FONT=&quot]ลำดับนั้นมารดาพูดกะเขาว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ลูก[/FONT]” [FONT=&quot]เจ้าจงดูบิดานี้เที่ยวคลานร้องไปในท่ามกลางเรือนเหมือนโค[/FONT] [FONT=&quot]ความทุกข์นี้จักตกบนกระหม่อมของเจ้า เจ้าไม่ต้องห่วง แม้ซึ่งแม่[/FONT] [FONT=&quot]จงทำความสวัสดีแก่ตนหนีไปเถิด[/FONT]” [FONT=&quot]บุตรนายโคฆาตก์นั้นถูกมรณภัยคุกคาม[/FONT] [FONT=&quot]ไหว้มารดาแล้วหนีไป ก็แลครั้นหนีไปแล้ว ได้ไปยังนครตักกสิลา.[/FONT] [FONT=&quot]แม้นายโคฆาตก์ก็เหมือนโค เที่ยวร้องไปในท่ามกลางเรือน[/FONT] [FONT=&quot]ทำกาละแล้วเกิดในอเวจี. แม้โคก็ได้ทำกาละแล้ว.[/FONT] [FONT=&quot]ฝ่ายบุตรของนายโคฆาตก์ก็ไปนครตักสิลา เรียนกางงานของนายช่างทอง.[/FONT] [FONT=&quot]ลำดับนั้นอาจารย์ของเขา เมื่อจะไปบ้านสั่งไว้ว่า[/FONT] “[FONT=&quot]เธอพึงทำเครื่องประดับชื่อเห็นปานนี้[/FONT]” [FONT=&quot]แล้วหลีกไป.[/FONT] [FONT=&quot]แม้เขามาเห็นเครื่องประดับแล้ว ดำริว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ชายผู้นี้ไปในที่ใดที่หนึ่ง[/FONT] [FONT=&quot]เป็นผู้สามารถจะเลี้ยงชีพได้[/FONT]” [FONT=&quot]จึงได้ให้ธิดาผู้เจริญวัยของตน (แก่เขา).[/FONT] [FONT=&quot]เขาเจริญด้วยบุตรธิดาแล้ว.[/FONT]


    [FONT=&quot]ลูกทำบุญให้พ่อ[/FONT]

    [FONT=&quot]ลำดับนั้น บุตรทั้งหลายของเขาเจริญวัยแล้ว เรียนศิลปะ[/FONT], [FONT=&quot]ในกาลต่อมาไปพระนครสาวัตถี ดำรงฆราวาสอยู่ในพระนครนั้น[/FONT] [FONT=&quot]ได้เป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส. ฝ่ายบิดาของพวกเขาไม่ทำกุศลอะไรๆ[/FONT] [FONT=&quot]เลยถึงความชราในนครตักกสิลาแล้ว. ลำดับนั้น พวกบุตรของเขาปรึกษากันว่า[/FONT] “[FONT=&quot]บิดาของพวกเราแก่[/FONT]” [FONT=&quot]แล้วให้เรียกมายังสำนักของตน พูดว่า[/FONT] “[FONT=&quot]พวกฉันจะถวายทานเพื่อประโยชน์แก่บิดา[/FONT]” [FONT=&quot]แล้วนิมนต์ภิกษุสงฆ์[/FONT] [FONT=&quot]มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน. วันรุ่งขึ้น[/FONT] [FONT=&quot]พวกเขานิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าประธานให้นั่งภายในเรือนแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]อังคาสโดยเคารพ[/FONT], [FONT=&quot]ในเวลาเสร็จภัตกิจ กราบทูลพระศาสดาว่า[/FONT] “[FONT=&quot]พระเจ้าข้าพวกข้าพระองค์ ถวายภัตนี้ให้เป็นชีวภัต[/FONT] ([FONT=&quot]ภัตเพื่อบุคคลผู้เป็นอยู่) เพื่อบิดา. ขอพระองค์จงทรงทำอนุโมทนา[/FONT] [FONT=&quot]แก่บิดาของพวกข้าพระองค์เถิด[/FONT]”


    [FONT=&quot]พระศาสดาทรงแสดงธรรม[/FONT]

    [FONT=&quot]พระศาสดา ตรัสเรียกบิดาองพวกเขามาแล้ว ตรัสว่า [/FONT]“[FONT=&quot]อุบาสกท่านเป็นคนแก่[/FONT] [FONT=&quot]มีสรีระแก่หง่อมเช่นกับใบไม้เหลือง[/FONT], [FONT=&quot]เสบียงทางคือกุศลเพื่อจะไปยังปรโลกของท่านยังไม่มี[/FONT], [FONT=&quot]ท่านจงทำที่พึ่งแก่ตน[/FONT] [FONT=&quot]จงเป็นบัณฑิต อย่าพาล[/FONT]” [FONT=&quot]ดังนี้แล้ว เมื่อทรงทำอนุโมทนา[/FONT] [FONT=&quot]จึงได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า:-[/FONT]

    “[FONT=&quot]บัดนี้ ท่านเป็นดุจใบไม้เหลือง[/FONT], [FONT=&quot]อนึ่ง บุรุษแห่งยายม (คือความตาย)[/FONT] [FONT=&quot]ปรากฏแก่ท่านแล้ว. ท่านตั้งอยู่ใกล้ปากแห่งความเสื่อม[/FONT], [FONT=&quot]อนึ่ง[/FONT] [FONT=&quot]แม้เสบียงทางของท่าน ก็ยังไม่มี. ท่านนั้น จงทำที่พึ่งแก่ตน[/FONT], [FONT=&quot]จงรีบพยายาม[/FONT] [FONT=&quot]จงเป็นบัณฑิต ท่านกำจัดมลทินได้แล้วไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน[/FONT] [FONT=&quot]จักถึงอริยภูมิอันเป็นทิพย์[/FONT]”


    [FONT=&quot]พวกบุตรถวายทานอีก[/FONT]

    [FONT=&quot]บุตรเหล่านั้น ทูลนิมนต์พระศาสดา แม้ประโยชน์ในวันรุ่งขึ้น[/FONT] [FONT=&quot]ถวายทานแล้ว ได้กราบทูลพระศาสดาผู้ทรงทำภัตกิจแล้ว ในเวลาทรงอนุโมทนาว่า[/FONT] “[FONT=&quot]พระเจ้าข้า[/FONT] [FONT=&quot]แม้ภัตนี้พวกข้าพระองค์ถวายให้เป็นชีวภัตเพื่อบิดาของปวงข้าพระองค์เหมือน[/FONT] [FONT=&quot]กัน[/FONT], [FONT=&quot]ขอพระองค์จงทรงทำอนุโมทนาแก่บิดานี้นี่แล[/FONT]”

    [FONT=&quot]พระศาสดา[/FONT] [FONT=&quot]เมื่อจะทำอนุโมทนาแก่เขา[/FONT] [FONT=&quot]ได้ตรัส[/FONT] [FONT=&quot]๒[/FONT] [FONT=&quot]พระคาถานี้ว่า :-[/FONT]

    ”[FONT=&quot]บัดนี้ ท่านเป็นผู้มีวัยอันชรานำเข้าไปแล้ว[/FONT], [FONT=&quot]เป็นผู้เตรียมพร้อมเพื่อจะไปสู่สำนักของพระยายม[/FONT], [FONT=&quot]อนึ่ง[/FONT] [FONT=&quot]แม้ที่พักในระหว่างทางของท่านก็ยังไม่มี[/FONT], [FONT=&quot]อนึ่ง ถึงเสบียงทางของท่าน[/FONT] [FONT=&quot]ก็หามีไม่[/FONT], [FONT=&quot]ท่านนั้นจงทำที่พึ่งแก่ตน[/FONT], [FONT=&quot]จงรีบพยายาม จงเป็นบัณฑิต[/FONT] [FONT=&quot]ท่านเป็นผู้มีมลทินอันกำจัดได้แล้ว ไม่มีกิเลส เพียงดังเนิน[/FONT] [FONT=&quot]จักไม่เข้าถึงชาติชราอีก[/FONT]”
    [FONT=&quot]เรื่องบุตรเศรษฐีชื่อเขมกะ[/FONT]

    [FONT=&quot]เขมกะเป็นนักเลงเจ้าชู้[/FONT][FONT=&quot]ถูกจับถึง[/FONT][FONT=&quot]๓[/FONT][FONT=&quot]ครั้ง[/FONT]

    [FONT=&quot]ดังได้สดับมา นายเขมกะนั้นเป็นผู้มีรูปสวย. โดยมากหญิงทั้งหลายเห็นเขาแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]ถูกราคะครอบงำ ม่สามารถดำรงอยู่ตามภาวะของตนได้.[/FONT] [FONT=&quot]แม้เขาก็ได้เป็นผู้ยินดียิ่งในปรทารกรรม เหมือนกัน[/FONT]

    [FONT=&quot]ต่อมาในเวลากลางคืน พวกราชบุรุษจับเขานำไปแสดงแด่พระราชา.[/FONT] [FONT=&quot]พระราชามิได้ตรัสอะไรกะเขา ด้วยดำริว่า [/FONT]“[FONT=&quot]เราละอายต่อมหาเศรษฐี[/FONT]” [FONT=&quot]แล้วรับสั่งให้ปล่อยไป. ฝ่ายนายเขมกะนั้น ก็มิได้งดเว้นเลย. ต่อมา (อีก )[/FONT] [FONT=&quot]พวกราชบุรุษก็จับเขาแล้วแสดงแด่พระราชาถึงครั้งที่ ๒ ที่ ๓.[/FONT] [FONT=&quot]พระราชบุรุษก็รับสั่งปล่อยเช่นเคย. มหาเศรษฐีทราบเรื่องนั้นแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]พาเขาไปสำนักพระศาสดา กราบทูลเรื่องนั้นแล้วทูลว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ[/FONT] [FONT=&quot]ขอพระองค์โปรดแสดงธรรมแก่นายเขมกะนี้[/FONT]”


    [FONT=&quot]พระศาสดาทรงแสดงโทษแห่งปรทารกรรม[/FONT]

    [FONT=&quot]พระศาสดาตรัสสังเวคกถาแก่เขาแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]เมื่อจะทรงแสดงโทษในการเสพภรรยาของคนอื่น[/FONT] [FONT=&quot]ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-[/FONT]

    “[FONT=&quot]นระผู้ประมาทชอบเสพภรรยาของผู้อื่น ย่อมถึงฐานะ ๔ อย่างคือ :[/FONT] [FONT=&quot]การได้สิ่งที่มิใช่บุญ เป็นที่ ๑ การนอนไม่ได้ตามความปรารถนา เป็นที่ ๒[/FONT] [FONT=&quot]การนินทา เป็นที่ ๓ นรก เป็นที่ ๔. การได้สิ่งมิใช่บุญอย่างหนึ่ง[/FONT], [FONT=&quot]คติลามกอย่างหนึ่ง[/FONT], [FONT=&quot]ความยินดีของบุรุษผู้กลัวกับด้วยหญิงผู้กลัว[/FONT] [FONT=&quot]มีประมาณน้อยอย่างหนึ่ง[/FONT], [FONT=&quot]พระราชาย่อมลงอาชญาอันหนักอย่างหนึ่ง[/FONT], [FONT=&quot]เพราะฉะนั้น นระไม่ควรเสพภรรยาของคนอื่น[/FONT]”


    [FONT=&quot]บุรพกรรมของนายเขมกะ[/FONT]

    [FONT=&quot]ถามว่า[/FONT] “[FONT=&quot]ก็บุรพกรรมของนายเขมกะนั้น[/FONT] [FONT=&quot]เป็นอย่างไร [/FONT]?”

    [FONT=&quot]แก้ว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ดังได้สดับมาในสมัยของพระพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสป[/FONT] [FONT=&quot]เขาเป็นนักมวยที่เก่งที่สุด ยกธงทอง ๒[/FONT] [FONT=&quot]แผ่นขึ้นไว้ที่กาญจนสถูปของพระทศพลแล้ว หญิงที่เหลือเห็นเราแล้วจงกำหนัด[/FONT]” [FONT=&quot]นี้เป็นบุรพกรรมของเขาด้วยประการฉะนี้. เพราะฉะนั้น หญิงคนเหล่าอื่น[/FONT] [FONT=&quot]เห็นเขาในที่เขาเกิดแล้วจึงไม่สามารถเพื่อจะดำรงอยู่ตามภาวะของตนได้ดังนี้[/FONT] [FONT=&quot]แล[/FONT]
    [FONT=&quot]เรื่องสาวกเดียรถีย์[/FONT]

    [FONT=&quot]พวกเดียรถีย์สอนบุตรไม่ให้ไหว้สมณะ[/FONT]

    [FONT=&quot]ความพิสดารว่า สมัยหนึ่งพวกสาวกอัญญเดียรถีย์ เห็นพวกลูกๆ[/FONT] [FONT=&quot]ของตนพร้อมทั้งบริวาร เล่นอยู่กับพวกลูกของพวกอุบาสกผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ[/FONT] [FONT=&quot]ในเวลาลูกเหล่านั้นมาเรือนแล้ว จึงต่างให้กระทำปฏิญาณว่า [/FONT]“[FONT=&quot]สมณะ[/FONT] [FONT=&quot]พวกศากยบุตร พวกเจ้าไม่พึงไหว้[/FONT], [FONT=&quot]แม้วิหารของสมณะเหล่านั้น[/FONT] [FONT=&quot]พวกเจ้าก็ไม่พึงเข้าไป[/FONT]” [FONT=&quot]วันหนึ่ง ลูกของพวกอัญญเดีรถีย์เหล่านั้น[/FONT] [FONT=&quot]กำลังเล่นอยู่ในที่ใกล้แห่งซุ้มประตูนอกพระเชตวันวิหาร[/FONT] [FONT=&quot]มีความกระหายน้ำขึ้น ทีนั้น[/FONT] [FONT=&quot]พวกเขาจึงส่งเด็กของอุบาสกคนหนึ่งไปสู่พระวิหาร สั่งว่า[/FONT] “[FONT=&quot]เจ้าไปดื่มน้ำในพระวิหารนั้นแล้ว จงนำมาเพื่อพวกเราบ้าง[/FONT]” [FONT=&quot]เด็กนั้นก็เข้าไปยังพระวิหาร ถวายบังคมพระศาสดาแล้วกราบทูลความข้อนั้น.[/FONT]


    [FONT=&quot]บุตรพวกเดียรถีย์นับถือพระพุทธศาสนา[/FONT]

    [FONT=&quot]ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสกะเด็กนั้นว่า [/FONT]“[FONT=&quot]เจ้าเท่านั้น ดื่มน้ำแล้วไป[/FONT] [FONT=&quot]จงส่งแม้พวกเด็กนอกนี้มา เพื่อต้องการแก่การดื่มน้ำในที่นี้เทียว[/FONT]” [FONT=&quot]เขาได้ทำอย่างนั้น. พวกเด็กเหล่านั้นมาดื่มน้ำแล้ว.[/FONT] [FONT=&quot]พระศาสดารับสั่งให้หาเด็กเหล่านั้นมาแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]ตรัสธรรมกถาที่สบายแก่เด็กเหล่านั้น[/FONT] [FONT=&quot]ทรงทำเด็กเหล่านั้นให้มีศรัทธามั่นคงแล้ว ให้ตั้งอยู่ในสรณะและศีล[/FONT] [FONT=&quot]เด็กเหล่านั้นไปสู่เรือนของตนๆ แล้ว แจ้งความนั้นแก่มารดาและบิดา[/FONT] [FONT=&quot]ครั้งนั้นมารดาและบิดาของพวกเขา ถึงความโทมนัสปริเทวนาว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ลูกของพวกเรา[/FONT] [FONT=&quot]เกิดเป็นคนมีทิฏฐิวิบัติเสียแล้ว[/FONT]” [FONT=&quot]ครั้งนั้น[/FONT] [FONT=&quot]คนที่สนิทสนมของพวกนั้นเป็นคนฉลาด มากล่าวธรรมแก่คนเหล่านั้น[/FONT] [FONT=&quot]เพื่อต้องการแก่อันยังความโทมนัสให้สงบ[/FONT]

    [FONT=&quot]มารดาและบิดาของพวกเด็กเหล่านั้น[/FONT] [FONT=&quot]ฟังถ้อยคำของเหล่านั้นแล้วจึงกล่าวว่า [/FONT]“[FONT=&quot]พวกเราจักมอบพวกเด็กๆ[/FONT] [FONT=&quot]เหล่านี้แก่พระสมณโคดมเสียทีเดียว[/FONT]” [FONT=&quot]ดังนี้แล้ว[/FONT] [FONT=&quot]นำไปสู่พระวิหารพร้อมด้วยหมู่ญาติเป็นอันมาก[/FONT]


    [FONT=&quot]ความเห็นเป็นเหตุให้สัตว์ไปทุคติและสุคติ[/FONT]

    [FONT=&quot]พระศาสดาทรงตรวจดูอาสนะของคนเหล่านั้นแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]เมื่อจะทรงแสดงธรรม[/FONT] [FONT=&quot]ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล้านี้ว่า[/FONT] :-

    “[FONT=&quot]สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีความรู้ว่ามีโทษในธรรมที่หาโทษมิได้[/FONT] [FONT=&quot]มีปกติเห็นว่าหาโทษมิได้ในธรรมที่มีโทษ[/FONT] [FONT=&quot]เป็นผู้ถือด้วยดีซึ่งมิจฉาทิฏฐิย่อมไปสู่ทุคติ. สัตว์ทั้งหลาย[/FONT] [FONT=&quot]รู้ธรรมที่มีโทษ โดยธรรมมีโทษ รู้ธรรมที่หาโทษมิได้[/FONT] [FONT=&quot]โดยความเป็นธรรมหาโทษมิได้ เป็นผู้ถือด้วยดีซึ่งสัมมาทิฏฐิ[/FONT] [FONT=&quot]ย่อมไปสู่สุคติ[/FONT]”
    [FONT=&quot]เรื่องอังกุรเทพบุตร[/FONT]

    [FONT=&quot]ทานที่เลือกให้พระพุทธเจ้าตรัสสรรเสริญ[/FONT]

    [FONT=&quot]ข้าพเจ้าทำเรื่องให้พิสดารแล้วแล ในพระคาถาว่า [/FONT]“[FONT=&quot]เย ฌานปปสุตา ธีรา[/FONT]” [FONT=&quot]เป็นต้น.[/FONT] [FONT=&quot]สมจริงดังคำที่ข้าพเจ้าปรารภอินทกเทพบุตรกล่าวไว้ในเรื่องนั้นดังนี้ว่า :[/FONT] “[FONT=&quot]ได้ยินว่า อินทกเทพบุตรนั้นยังภิกษาทัพพีหนึ่ง ที่เขานำมาเพื่อตน[/FONT] [FONT=&quot]ให้ถึงแล้วแก่พระอนุรุทธเถระผู้เข้าไปสู่ภายในหมู่บ้านเพื่อบิณฑบาต[/FONT] [FONT=&quot]บุญนั้นของอินทกเทพบุตรนั้น มีผลมากกว่าทานที่อังกุรเทพบุตร[/FONT] [FONT=&quot]ทำระเบียบแห่งเตาประมาณ ๑๒ โยชน์ ถวายแล้วสิ้นหมื่นปี[/FONT]” [FONT=&quot]เพราะเหตุนั้น[/FONT] [FONT=&quot]อินทกเทพบุตร จึงกล่าวอย่างนั้น. เมื่ออินทกเทพบุตรกล่าวอย่างนั้นแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]พระศาสดาจึงตรัสว่า [/FONT]“[FONT=&quot]อังกุระ[/FONT]” [FONT=&quot]ชื่อว่าการเลือกให้ทานย่อมควร[/FONT], [FONT=&quot]ทาน[/FONT] ([FONT=&quot]ของอินทกะ) นั้นเป็นของมีผลมาก ดังพืชที่หว่านดีแล้วในนาดี อย่างนี้[/FONT], [FONT=&quot]แต่ท่านไม่ได้ทำอย่างนั้น เพราะฉะนั้น ทานของท่านจึงไม่มีผลมาก[/FONT]” [FONT=&quot]เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนี้ จึงตรัสว่า :-[/FONT]

    “[FONT=&quot]บุคคลควรเลือกให้ทาน ในเขตที่ตนให้แล้ว จะมีผลมากเพราะการเลือกให้[/FONT] [FONT=&quot]พระสุคตทรงสรรเสริญแล้ว ทานที่ให้ในท่านผู้เป็นทักขิไณยบุคคล ในชีวโลกนี้[/FONT] [FONT=&quot]เป็นของมีผลมากเหมือนพืชที่หว่านในนาดีฉะนั้น[/FONT]”

    [FONT=&quot]เมื่อจะทรงแสดงธรรมให้ยิ่งขึ้นไป[/FONT] [FONT=&quot]จึงได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า[/FONT] :-

    “[FONT=&quot]นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ[/FONT], [FONT=&quot]หมู่สัตว์นี้ก็มีราคะเป็นโทษ[/FONT]; [FONT=&quot]ฉะนั้นแล[/FONT] [FONT=&quot]ทานที่ให้ในท่านผู้ปราศจากราคะ จึงมีผลมาก[/FONT], [FONT=&quot]นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ[/FONT], [FONT=&quot]หมู่สัตว์นี้ก็มีโทสะเป็นโทษ[/FONT], [FONT=&quot]ฉะนั้นแล ทานที่ให้ในท่านผู้ปราศจากโทสะ[/FONT] [FONT=&quot]จึงมีผลมาก. นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ[/FONT], [FONT=&quot]หมู่สัตว์นี้ก็มีโมหะเป็นโทษ[/FONT], [FONT=&quot]ฉะนั้นแล ท่านที่ให้ในท่านผู้ปราศจากโมหะ จึงมีผลมาก.[/FONT] [FONT=&quot]นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ[/FONT], [FONT=&quot]หมู่สัตว์นี้ก็มีความอยากเป็นโทษ[/FONT]; [FONT=&quot]ฉะนั้นแล[/FONT] [FONT=&quot]ทานที่ให้ในท่านผู้ปราศจากความอยาก จึงมีผลมาก.[/FONT]”
    [FONT=&quot]เรื่องภิกษุฆ่าหงส์[/FONT]

    [FONT=&quot]สองสหายออกบวช[/FONT]

    [FONT=&quot]ดังได้สดับมา[/FONT] [FONT=&quot]สหายสองคนชาวกรุงสาวัตถี[/FONT] [FONT=&quot]ได้บรรพชาอุปสมบทใน[/FONT] ([FONT=&quot]สำนัก)[/FONT] [FONT=&quot]ภิกษุทั้งหลายแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]โดยมากเที่ยวไปด้วยกัน[/FONT]

    [FONT=&quot]ในวันหนึ่งภิกษุสองรูปนั้นไปสู่แม่น้ำอจริวดี[/FONT] [FONT=&quot]สรงน้ำแล้วผิงแดดอยู่[/FONT] [FONT=&quot]ได้ยืนพูดกันถึงสารณียกถา. ในขณะนั้น[/FONT] [FONT=&quot]หงส์สองตัวบินมาโดยอากาศ[/FONT]


    [FONT=&quot]ภิกษุรูปหนึ่งดีดตาหงส์ด้วยก้อนกรวด[/FONT]

    [FONT=&quot]ขณะนั้น[/FONT] [FONT=&quot]ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งหยิบก้อนกรวดแล้วพูดว่า[/FONT] “[FONT=&quot]ผมจักดีดตาของหงส์ตัวหนึ่ง[/FONT]” [FONT=&quot]ภิกษุนอกนี้กล่าวว่า[/FONT] “[FONT=&quot]ท่านจักไม่สามารถ[/FONT]”

    [FONT=&quot]ภิกษุรูปที่หนึ่ง[/FONT] : [FONT=&quot]ตาข้างนี้จงยกไว้[/FONT], [FONT=&quot]ผมจักยกไว้ดีดตาข้างโน้น.[/FONT]

    [FONT=&quot]ภิกษุรูปที่สอง[/FONT] : [FONT=&quot]แม้ตาข้างนี้[/FONT] [FONT=&quot]ท่านก็จักไม่สามารถ[/FONT] ([FONT=&quot]ดีด)[/FONT] [FONT=&quot]เหมือนกัน.[/FONT]

    [FONT=&quot]ภิกษุรูปที่หนึ่ง : [/FONT]“[FONT=&quot]ถ้าอย่างนั้น ท่านจงคอยดู[/FONT]” [FONT=&quot]แล้วหยิบกรวดก้อนที่สอง[/FONT] [FONT=&quot]ดีดไปทางข้างหลังของหงส์. หงส์ได้ยินเสียงก้อนกรวดจึงเหลียวดู. ขณะนั้น[/FONT] [FONT=&quot]เธอหยิบก้อนกรวดกลมอีกก้อนกนึ่ง แล้วดีดหงส์ตัวนั้นที่ตาข้างโน้น[/FONT] [FONT=&quot]ให้ทะลุออกตาข้างนี้. หงส์ร้อง ม้วนตกลงแทบเท้าของภิกษุเหล่านั้นนั่นแล.[/FONT]


    [FONT=&quot]ภิกษุทั้งหลายติเตียนแล้วทูลแด่พระศาสดา[/FONT]

    [FONT=&quot]ภิกษุทั้งหลาย ยืนอยู่ในที่นั้นๆ เห็นแล้ว จึงกล่าวว่า[/FONT] “[FONT=&quot]ผู้มีอายุเธอบวชในพระพุทธศาสนา ทำปาณาติบาต (นับว่า) ทำกรรมไม่สมควร[/FONT]” [FONT=&quot]แล้วพาภิกษุทั้งสองรูปนั้นไปเฝ้าพระตถาคต.[/FONT]


    [FONT=&quot]พระศาสดาประทานโอวาท[/FONT]

    [FONT=&quot]พระศาสดาตรัสถามว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ภิกษุ ได้ยินว่า เธอทำปาณาติบาตจริงหรือ [/FONT]?” [FONT=&quot]เมื่อเธอกราบทูลว่า [/FONT]“[FONT=&quot]จริง พระเจ้าข้า[/FONT]” [FONT=&quot]จึงตรัสว่า[/FONT] “[FONT=&quot]ภิกษุเธอบวชในพระศาสนาที่เป็นเหตุนำสัตว์ออกจากทุกข์[/FONT] [FONT=&quot]เห็นปานนี้ได้ทำแล้วอย่างนี้ เพราะเหตุอะไร [/FONT]? [FONT=&quot]บัณฑิตในปางก่อน[/FONT] [FONT=&quot]เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่ทรงอุบัติ อยู่ในท่ามกลางเรือน[/FONT] [FONT=&quot]ทำความรังเกียจในฐานะแม้มีประมาณน้อย[/FONT], [FONT=&quot]ส่วนเธอบวชในพระพุทธศาสนาเห็นปานนี้หาได้ทำแม้มาตรว่าความรังเกียจไม่[/FONT]” [FONT=&quot]อันภิกษุเหล่านั้นทูลอ้อนวอนแล้ว ทรงนำอดีตนิทานมา (ตรัส) ว่า :-[/FONT]


    [FONT=&quot]ศีล[/FONT][FONT=&quot]๕[/FONT][FONT=&quot]ชื่อกุรุธรรม[/FONT]

    “[FONT=&quot]ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าธนญชัยเสวยราชสมบัติอยู่ในพระนครชื่ออินทปัตตะ[/FONT] [FONT=&quot]ในแคว้นกุรุ[/FONT], [FONT=&quot]พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีของพระราชานั้น[/FONT] [FONT=&quot]ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้วโดยลำดับ[/FONT] [FONT=&quot]ทรงเรียนศิลปะทั้งหลายในเมืองตักกสิลาแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]อันพระบิดาทรงให้ดำรงในตำแหน่งอุปราช ในกาลต่อมา[/FONT] [FONT=&quot]โดยกาลเป็นที่ล่วงไปแห่งพระบิดา ได้รับราชสมบัติแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]ไม่ทรงละเมิดราชธรรมทั้ง ๑๐ ประการ ทรงประพฤติอยู่ในกุรุธรรมแล้ว. ศีล ๕[/FONT] [FONT=&quot]ชื่อว่ากุรุธรรม. พระโพธิสัตว์ทรงรักษาศีล ๕ นั้น ทำให้บริสุทธิ์. พระชนนี[/FONT] [FONT=&quot]พระอัครมเหสี พระอนุชา อุปราช พราหมณ์ปุโรหิต อำมาตย์ผู้ถือเชือก นายสารถี[/FONT] [FONT=&quot]เศรษฐี มหาอำมาตย์ผู้เป็นขุนคลัง คนรักษาประตู นางวรรณทาสี[/FONT] [FONT=&quot]ผู้เป็นหญิงงามเมืองของพระโพธิสัตว์นั้น ย่อมรักษาศีล ๕[/FONT] [FONT=&quot]เหมือนพระโพธิสัตว์ ด้วยประการฉะนี้.[/FONT]


    [FONT=&quot]แคว้นกาลิงคะเกิดฝนแล้ง[/FONT]

    [FONT=&quot]เมื่อชนทั้ง ๑๑ คนนี้ รักษากุรุธรรมอยู่อย่างนั้น[/FONT], [FONT=&quot]เมื่อพระราชาทรงพระนามว่ากาลิงคะ เสวยราชสมบัติอยุ่ในพระนครทันตบุรี[/FONT] [FONT=&quot]ในแคว้นกาลิงคะ ฝนมิได้ตกในแคว้นของพระองค์แล้ว.[/FONT] [FONT=&quot]ก็ช้างมงคลชื่อว่าอัญชนาสภะของพระมหาสัตว์ เป็นสัตว์มีบุญมาก.[/FONT] [FONT=&quot]ชาวแคว้นพากันกราบทูลด้วยสำคัญว่า [/FONT]“[FONT=&quot]เมื่อนำช้างนั้นมาแล้ว ฝนจักตก[/FONT]”

    [FONT=&quot]พระราชาทรงส่งพวกพราหมณ์ไป เพื่อต้องการนำช้างนั้นมา.[/FONT] [FONT=&quot]พราหมณ์เหล่านั้นไปแล้ว ทูลขอช้างกะพระมหาสัตว์แล้ว.[/FONT] [FONT=&quot]เพื่อจะทรงแสดงอาการขอนี้ของพราหมณ์เหล่านั้น[/FONT] [FONT=&quot]พระศาสดาจึงตรัสชาดกในติกนิบาตรนี้เป็นต้นว่า :-[/FONT]

    “[FONT=&quot]ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่แห่งชน[/FONT] [FONT=&quot]ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายนทราบศรัทธาและศีลของพระองค์แล้ว[/FONT] [FONT=&quot]ขอพระราชทานแลกทองด้วยช้าง ซึ่งมีสีดุจดอกอัญชัน ไปในแคว้นกาลิงคะ[/FONT]”

    [FONT=&quot]ก็เมื่อพราหมณ์ทั้งหลายนำช้างมาแล้ว[/FONT], [FONT=&quot]เมื่อฝนไม่ตก[/FONT], [FONT=&quot]ด้วยทรงสำคัญว่า[/FONT] “[FONT=&quot]พระราชานั้นทรงรักษากุรุธรรม[/FONT]; [FONT=&quot]เพราะฉะนั้น ฝนจึงตกในแคว้นของพระองค์[/FONT]” [FONT=&quot]พระเจ้ากาลิงคะ จึงทรงส่งพวกพราหมณ์และอำมาตย์ไปอีก ด้วยพระดำรัสว่า[/FONT] “[FONT=&quot]พวกท่านจงจารึกกุรุธรรมที่พระราชานั้นรักษาลงในแผ่นทองคำแล้วนำมา.[/FONT]” [FONT=&quot]เมื่อพราหมณ์และอำมาตย์เหล่านั้นไปทูลขออยู่[/FONT], [FONT=&quot]ชนเหล่านั้นแม้ทั้งหมด[/FONT] [FONT=&quot]นับแต่พระราชาเป็นต้น[/FONT] [FONT=&quot]กระทำอาการสักว่าความรังเกียจบางอย่างในศีลทั้งหลายของตนๆ แล้ว ห้ามว่า[/FONT] “[FONT=&quot]ศีลของพวกเราไม่บริสุทธิ์[/FONT]” [FONT=&quot]ถูกพราหมณ์และอำมาตย์เหล่านั้นอ้อนวอนหนักเข้าว่า[/FONT] “[FONT=&quot]ความทำลายแห่งศีลหาได้มีด้วยเหตุเพียงเท่านี้ไม่[/FONT]” [FONT=&quot]จึงได้บอกศีลทั้งหลายของตนๆ แล้ว.[/FONT]


    [FONT=&quot]พระเจ้ากาลิงคะทรงรักษากุรุธรรมฝนจึงตก[/FONT]

    [FONT=&quot]พระเจ้ากาลิงคะ[/FONT] [FONT=&quot]ได้ทอดพระเนตรกุรุธรรมที่พวกพราหมณ์และอำมาตย์จารึกลงในแผ่นทองคำนำมา[/FONT] [FONT=&quot]ทรงสมาทานบำเพ็ญให้บริบูรณ์ด้วยดี. ฝนจึงตกในแคว้นของพระองค์[/FONT], [FONT=&quot]แว่นแคว้นได้เกษมมีภิกษาหาได้โดยง่ายแล้ว.[/FONT]

    [FONT=&quot]พระศาสดาครั้นทรงนำอดีตนิทานนี้มาแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]ทรงประชุมชาดกว่า[/FONT] :-

    “[FONT=&quot]หญิงแพศยาในครั้งนั้น ได้เป็นนางอุบลวรรณา[/FONT], [FONT=&quot]คนรักษาประตู[/FONT] [FONT=&quot]ได้เป็นภิกษุชื่อว่าปุณณะ[/FONT], [FONT=&quot]อำมาตย์ผู้ถือเชือก ได้เป็นกัจจานภิกษุ[/FONT], [FONT=&quot]และอำมาตย์ผู้เป็นขุนคลัง ได้เป็นโกลิตะ[/FONT], [FONT=&quot]เศรษฐีในครั้งนั้นได้เป็นสารีบุตร[/FONT], [FONT=&quot]นายสารถี ได้เป็นอนุรุทธะ[/FONT], [FONT=&quot]พราหมณ์ได้เป็นกัสสปเถระ[/FONT], [FONT=&quot]อปราช ได้เป็นนั้นบัณฑิต[/FONT], [FONT=&quot]พระมเหสี[/FONT] [FONT=&quot]ได้เป็นมารดาของราหุล[/FONT], [FONT=&quot]พระชนนี ได้เป็นพระนางมายาเทวี[/FONT], [FONT=&quot]พระเจ้ากุระ[/FONT] [FONT=&quot]ได้เป็นพระโพธิสัตว์[/FONT]; [FONT=&quot]พวกเธอจงจำชาดกไว้ด้วยอาการอย่างนี้[/FONT]”

    [FONT=&quot]ดังนี้แล้ว ตรัสว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ภิกษุ บัณฑิตในครั้งก่อน[/FONT] [FONT=&quot]เมื่อความรำคาญแม้มีประมาณน้อยเกิดขึ้นแล้ว[/FONT], [FONT=&quot]ทำศีลเภทของตนให้เป็นเครื่องรังเกียจแล้วอย่างนี้[/FONT], [FONT=&quot]ส่วนเธอ[/FONT] [FONT=&quot]บวชในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้เช่นกับด้วยเรา ยังปาณาติบาตอยู่ (นับว่า)[/FONT] [FONT=&quot]ได้ทำกรรมอันหนักยิ่งนัก [/FONT]; [FONT=&quot]ธรรมดาภิกษุ ควรเป็นผู้สำรวมด้วยมือ เท้า[/FONT] [FONT=&quot]และวาจา[/FONT]” [FONT=&quot]ดังนี้แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า :-[/FONT]

    “[FONT=&quot]บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวบุคคลผู้มีมือสำรวมแล้ว มีเท้าสำรวมแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]มีวาจาสำรวมแล้ว ยินดีในธรรมอันเป็นไปภายใน มีจิตตั้งมั่นแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]เป็นคนโดดเดี่ยว สันโดษว่า เป็นภิกษุ.[/FONT]”
    [FONT=&quot]เรื่องนายจุนทสูกริก[/FONT]

    [FONT=&quot]นายจุนทะเลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงสุกรขาย[/FONT]

    [FONT=&quot]ได้ยินว่า นายจุนทสูกริกนั้น ฆ่าสุกรทั้งหลายกินบ้าง[/FONT] [FONT=&quot]ขายบ้างเลี้ยงชีวิตอยู่สิ้น ๕๕ ปี ในเวลาข้าวแพง[/FONT] [FONT=&quot]เขาเอาเกวียนบรรทุกข้าวเปลือกไปสู่ชนบท แลกลูกสุกรบ้าน[/FONT] [FONT=&quot]ด้วยข้าวเปลือกประมาณ ๑ ทะนานหรือ ๒ ทะนาน บรรทุกเต็มเกวียนแล้วกลับมา[/FONT] [FONT=&quot]ล้อมที่แห่งหนึ่งดุจคอกข้างหลังที่อยู่แล้วปลูกผักในที่นั้นแล[/FONT] [FONT=&quot]เพื่อลูกสุกรเหล่านั้น[/FONT], [FONT=&quot]เมื่อลูกสุกรเหล่านั้น กินกอผักต่างๆ บ้าง[/FONT] [FONT=&quot]สรีรวลัญชะ (คูถ) บ้าง ก็เติบโตขึ้น (เขา) มีความประสงค์จะฆ่าตัวใดๆ[/FONT] [FONT=&quot]ก็มัดตัวนั้นๆ ให้แน่น ณ ที่ฆ่าแล้ว ทุบด้วยค้อน ๔ เหลียม[/FONT] [FONT=&quot]เพื่อให้เนื้อสุกรพองหนาขึ้น รู้ว่าเนื้อหนาขึ้นแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]ก็ง้างปากสอดไม้เข้าไปในระหว่างฟัน กรอกน้ำร้อนที่เดือดพล่าน[/FONT] [FONT=&quot]เข้าไปในปากด้วยทะนานโลหะ. น้ำร้อนนั้น เข้าไปพล่านในท้อง[/FONT] [FONT=&quot]ขับกรีสออกมาโดยส่วนเบื้องต่ำ (ทวารหนัก) กรีสน้อยหนึ่งยังมีอยู่เพียงใด[/FONT] [FONT=&quot]ย่อมออกเป็นน้ำขุ่นเพียงนั้น เมื่อท้องสะอาดแล้ว[/FONT], [FONT=&quot]จึงออกเป็นน้ำใส[/FONT] [FONT=&quot]ไม่ขุ่น[/FONT], [FONT=&quot]ทีนั้น เขาจึงราดน้ำที่เหลือบนหลังสุกรนั้น.[/FONT] [FONT=&quot]น้ำนั้นลอกเอาหนังดำออกไป. แต่นั้นจึงลนขนด้วยคบหญ้าแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]ตัดศีรษะด้วยดาบอันคม. รองโลหิตที่ไหลออกด้วยภาชนะ[/FONT] [FONT=&quot]เคล้าเนื้อด้วยโลหิตแล้วปิ้งนั่งรับประทานในท่ามกลางบุตรและภรรยา[/FONT] [FONT=&quot]ขายส่วนที่เหลือ.[/FONT]

    [FONT=&quot]เมื่อเขาเลี้ยงชีวิตโดยทำนองนี้นั่นแล[/FONT], [FONT=&quot]เวลาได้ล่วงไป ๕๕ ปี.[/FONT] [FONT=&quot]เมื่อพระตถาคตประทับอยู่ในธุรวิหาร[/FONT], [FONT=&quot]การบูชาด้วยดอกไม้เพียงกำหนึ่งก็ดี[/FONT] [FONT=&quot]การถวายภิกษาเพียงทัพพีหนึ่งก็ดี ชื่อว่าบุญอื่นน้อยหนึ่งก็ดี[/FONT] [FONT=&quot]มิได้มีแล้วสักวันหนึ่ง.[/FONT]

    [FONT=&quot]ครั้งนั้น[/FONT] [FONT=&quot]โรคเกิดขึ้นในสรีระของเขา[/FONT], [FONT=&quot]ความเร่าร้อนอเวจีมหานรก[/FONT] [FONT=&quot]ปรากฏแก่เขาทั้งเป็นทีเดียว.[/FONT]


    [FONT=&quot]อเวจีนรกร้อนยิ่งกว่าไฟธรรมดา[/FONT]

    [FONT=&quot]ขึ้นชื่อว่าความเร่าร้อนในอเวจี[/FONT] [FONT=&quot]ย่อมเป็นความร้อนที่สามารถทำลายนัยน์ตาของผู้ยืนดูอยู่ในที่ประมาณ ๑๐๐[/FONT] [FONT=&quot]โยชน์ได้. สมจริงดังคำที่พระภาคเจ้า ตรัสไว้ดังนี้แล้ว[/FONT]

    “[FONT=&quot]ความเร่าร้อนในอเวจี[/FONT] [FONT=&quot]แผ่ไปตลอด[/FONT] [FONT=&quot]๑๐๐[/FONT] [FONT=&quot]โยชน์โดยรอบ[/FONT] [FONT=&quot]ตั้งอยู่ทุกเมื่อ.[/FONT]”

    [FONT=&quot]และเพราะเหตุที่ความเร่าร้อนในอเวจีนั้น[/FONT] [FONT=&quot]มีประมาณยิ่งกว่าความเร่าร้อนของไฟโดยปกติ[/FONT] [FONT=&quot]พระนาคเสนเถระจึงกล่าวอุปมานี้ไว้ว่า [/FONT]“[FONT=&quot]มหาบพิตร แม้หินประมาณเท่าเรือนยอด[/FONT] [FONT=&quot]อันบุคคลทุ่มไปในไฟนรกย่อมถึงความย่อยยับได้โดยขณะเดียวฉันใด[/FONT] [FONT=&quot]ส่วนสัตว์ที่เกิดในนรกนั้นเป็นประหนึ่งอยู่ในครรภ์มารดา[/FONT] [FONT=&quot]จะย่อยยับไปเพราะกำลังแห่งกรรมเหมือนฉันนั้น หามิได้.[/FONT]


    [FONT=&quot]นายจุนทะเสวยผลกรรมทันตาเห็น[/FONT]

    [FONT=&quot]เมื่อความเร่าร้อนนั้น ปรากฏแก่นายจุนทสูกริกนั้นแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]อาการอันเหมาะสมด้วยก็เกิดขึ้น. เขาร้องเสียงเหมือนหมู[/FONT] [FONT=&quot]คลานไปในท่ามกลางเรือนนั่นเอง[/FONT], [FONT=&quot]ไปสู่ที่ในทิศตะวันออกบ้าง[/FONT] [FONT=&quot]สู่ที่ในทิศตะวันตกบ้าง[/FONT]

    [FONT=&quot]ลำดับนั้น พวกคนในเรือนของเขา จับเขาไว้ให้มั่นแล้วปิดปาก.[/FONT] [FONT=&quot]ธรรมดาผลแห่งกรรม อันใครๆ ไม่สามารถจะห้ามได้.[/FONT] [FONT=&quot]เขาเที่ยวร้องไปข้างโน้นบ้าง ข้างนี้บ้าง. คนใน ๗[/FONT] [FONT=&quot]หลังคาเรือนโดยรอบย่อมไม่ได้หลับนอน. อนึ่ง คนในเรือนทั้งหมด[/FONT] [FONT=&quot]เมื่อไม่สามารถจะห้ามการออกไปภายนอกของเขาผู้ถูกมรณภัยคุกคามแล้วได้[/FONT] [FONT=&quot]จึงปิดประตูเรือนล้อมรักษาอยู่ภายนอกเรือน[/FONT] [FONT=&quot]โดยประการที่เขาอยู่ภายในไม่สามารถจะเที่ยวไปข้างนอกได้.[/FONT]


    [FONT=&quot]เสวยผลกรรมในสัมปรายภพ[/FONT]

    [FONT=&quot]แม้นายจุนทสูกริก เที่ยวร้องไปข้างโน้นบ้าง ข้างนี้บ้าง[/FONT] [FONT=&quot]ภายในเรือนนั่นเอง ด้วยความเร่าร้อนในนรก. เขาเที่ยวไปอย่างนั้นตลอด ๗[/FONT] [FONT=&quot]วัน[/FONT], [FONT=&quot]ในวันที่ ๘ ทำกาละแล้ว ไปเกิดในอเวจีมหานรก อเวจีมหานรก[/FONT] [FONT=&quot]ปราชญ์พึงพรรณนาตามเทวทูตสูตร.[/FONT]


    [FONT=&quot]พวกภิกษุเข้าใจว่าเขาฆ่าสุกรทำการมงคล[/FONT]

    [FONT=&quot]พวกภิกษุเดินไปทางประตูเรือนของเขา ได้ยินเสียงนั้นแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]เป็นผู้มรความสำคัญว่า [/FONT]“[FONT=&quot]เสียงสุกร[/FONT]” [FONT=&quot]ไปสู่วิหาร[/FONT] [FONT=&quot]นั่งในสำนักพระศาสดาแล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ[/FONT] [FONT=&quot]เมื่อสุกรทั้งหลายอันนายจุนทสูกริก ปิดประตุเรือนฆ่าอยู่[/FONT], [FONT=&quot]วันนี้เป็นวันที่ ๗[/FONT], [FONT=&quot]มงคลกิริยาไรๆ ชะรอยจักมีเรือน (ของเขา)[/FONT], [FONT=&quot]ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญเมตตาจิต หรือความกรุณาแม้อย่างหนึ่งของเขา[/FONT] [FONT=&quot]ผู้ฆ่าสุกรทั้งหลายชื่อถึงเท่านี้ ย่อมไม่มี[/FONT], [FONT=&quot]ก็สัตว์ผู้ร้ายกาจหยาบช้าเช่นนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่เคยเห็นเลย.[/FONT]”

    [FONT=&quot]พระศาสดา ตรัสว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ภิกษุทั้งหลาย เขาฆ่าสุกรตลอด ๗ วันนี้หามิได้.[/FONT] [FONT=&quot]อันผลที่เหมาะสมด้วยกรรมเกิดขึ้นแล้วแก่เขา[/FONT], [FONT=&quot]ความเร่าร้อนในอเวจีมหานรกปรากฏแก่เขาทั้งเป็นทีเดียว[/FONT], [FONT=&quot]ด้วยความเร่าร้อนนั้นเขาร้องเหมือนหมูเที่ยวไปภายนิเวศน์อยู่ ตลอด ๗ วัน[/FONT] [FONT=&quot]วันนี้ทำกาละแล้ว (ไป) เกิดในอเวจี.[/FONT]” [FONT=&quot]เมื่อพวกภิกษุทราบทูลว่า[/FONT] “[FONT=&quot]ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เขาเศร้าโศกอย่างนี้ในโลกนี้แล้ว[/FONT] [FONT=&quot]ยังจะไปเกิดในฐานะเป็นที่เศร้าโศกเช่นกันอีกหรือ[/FONT]?” [FONT=&quot]ตรัสว่า [/FONT]“[FONT=&quot]อย่างนั้น[/FONT] [FONT=&quot]ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าผู้ประมาทแล้ว เป็นคฤหัสถ์ก็ตาม[/FONT] [FONT=&quot]บรรพชิตก็ตามย่อมเศร้าโศกในโลกทั้งสองเป็นแท้[/FONT]” [FONT=&quot]ดังนี้แล้ว[/FONT] [FONT=&quot]ตรัสพระคาถานี้ว่า[/FONT]

    “[FONT=&quot]ผู้ทำบาปเป็นปกติ ย่อมเศร้าโศกในโลกนี้[/FONT] [FONT=&quot]ละไปแล้วย่อมเศร้าโศกในโลกที่สอง เขาเห็นกรรมเศร้าหมองของตนแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]ย่อมเศร้าโศก[/FONT], [FONT=&quot]เขาย่อมเดือดร้อน[/FONT]”
     
  19. aries2947

    aries2947 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    2,031
    ค่าพลัง:
    +11,622
    "ถ้าเดินทางเสียแต่วันนี้นะ ข้างหน้าก็ถึง
    ถ้าวันนี้ไม่เริ่มต้น ข้างหน้ามันไปไม่ได้หรอก
    ลองได้ยินธรรมะเกี่ยวกับการเจริญสติจนถึงขนาดนี้แล้ว ยังไม่ทำ จะทำเมื่อไหร่
    ไม่เริ่มวันนี้จะเริ่มเมื่อไหร่ รอให้แก่หรือ รอให้ตายหรือ หรือจะไปเริ่มชาติหน้า
    หรือจะไปรอพระศรีอาริย์ ถ้านิสัยสันดานขี้เกียจขี้คร้าน
    ไปเจอพระศรีอาริย์ก็ยิ่งขี้เกียจกว่านี้อีก เพราะสะสมนิสัยไม่ดีไป"

    "พวกเราอย่าประมาทนะ ต้องลงมือปฏิบัติตั้งแต่เดี๋ยวนี้
    ไม่ใช่ว่าขอฟังก่อน แล้วเดี๋ยวกลับบ้านจะไปปฏิบัติ
    นั่นพวกประมาทนะ รู้ได้ยังไงว่าจะถึงบ้าน"

    - - หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช _/|\_
     
  20. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    [​IMG]

    ผู้แผ่เมตตา จะได้รับคุณแห่งเมตตาด้วยตนเองก่อน

    เมตตาเป็นเครื่องค้ำจุนโลก นี้เป็นธรรม นี้เป็นสัจจะ นี้เป็นสิ่งที่แทบทุกคนเคยได้ยินได้ฟัง และน่าจะเคยพูดออกจากปากตนเองมาแล้วเป็นส่วนมาก แต่จะมีความเข้าใจในความหมายลึกซึ้งเพียงไหน ก็ย่อมไม่เหมือนกัน และที่จะถึงใจในสัจจะนี้เพียงไหนก็ไม่เหมือนกัน เป็นเรื่องเฉพาะจิตของแต่ละคน

    อย่างไรก็ตามอาจกล่าวได้ว่า ทุกคนปรารถนาจะได้รับเมตตา ไม่มีผู้ใดปรารถนาจะให้ผู้อื่นขาดความเมตตาในตน ถ้าทุกคนระลึกถึงความจริงว่า เมตตาเป็นสิ่งที่สวยงามมีค่าสำหรับตนเป็นที่ปรารถนาของตน เมตตาก็เป็นสิ่งสวยงามมีค่าสำหรับผู้อื่นและเป็นที่ปรารถนาสำหรับผู้อื่นเช่นเดียวกัน

    ถ้าทุกคนระลึกถึงความจริงว่าดังกล่าวนี้ไว้เสมอ จนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับจิตใจ ก็จะเป็นที่ประจักษ์ชัดจริง ๆ ว่า เมตตาเป็นเครื่องค้ำจุนโลกแน่นอน โลกก็มิได้หมายถึงอะไรที่ไหน ก็หมายถึงตัวเรานี้แหละป็นสำคัญ ตัวเราของทุกคนนี้แหละคือโลก เมตตาเป็นเครื่องค้ำจุนตัวเราทุกคนนี้แหละ

    อันเครื่องค้ำจุนทั้งหลายก็เช่นเดียวกับเมตตา เช่นไม้ค้ำ แม้เป็นไม้เล็กๆ เพียงอันเดียว ก็จะมีกำลังค้ำเพียงนิดเดียว ให้ความปลอดภัยมั่นคงแก่สิ่งที่ค้ำได้เพียงนิดเดียว แม้เป็นไม้ใหญ่หลายอันก็จะมีกำลังค้ำจุนมาก ให้ความปลอดภัยแก่สิ่งที่ค้ำได้มาก

    เมตตาก็เช่นเดียวกัน เมตตาเพียงเล็กน้อยก็ให้ความค้ำจุนอบอุ่นปลอดภัยแก่โลก คือตัวเราทุกคนนี้แหละเพียงเล็กน้อย เมตตาอย่างยิ่งก็ให้ความค้ำจุนอบอุ่นปลอดภัยแก่โลก คือตัวเราทุกคนนี้แหละได้มากมาย อันแรงค้ำจุนของเมตตาที่จะให้ความอบอุ่นปลอดภัยร่มเย็นเป็นสุขแก่โลก คือตัวเรานี้นั้นเป็นสิ่งมหัศจรรย์อย่างยากจะเข้าใจได้ง่าย ๆ

    และการค้ำจุนของเมตตาก็เป็นสิ่งที่เข้าใจได้ยาก ไม่เหมือนกับการค้ำจุนของเครื่องค้ำจุนอันเป็นวัตถุทั้งหลาย อันวัตถุเครื่องค้ำจุนทั้งหลายนั้น เราไปจัดวาง เพื่อค้ำจุนสิ่งใดก็จะค้ำจุนเพียงเฉพาะสิ่งนั้นให้มั่นคงดำรงอยู่ แต่เมตตาเครื่องค้ำจุนนั้นมิได้เป็นแบบเดียวกับวัตถุเครื่องค้ำจุน

    เราแผ่เมตตาไปในผู้อื่นสัตว์อื่น ผู้ที่ได้รับผลจากเมตตาเครื่องค้ำจุนก่อนผู้อื่นสัตว์อื่น คือตัวเราผู้แผ่เมตตานั้นเอง แม้ผู้อื่นสัตว์อื่นจะได้รับความค้ำจุนจากเมตตาของเรา แต่ก็จะได้รับที่หลัง จะไม่ได้รับก่อนผู้แผ่เมตตาเป็นอันขาด ฟังแล้วไม่น่าเป็นไปได้ แต่ก็เป็นสิ่งที่เป็นจริงเช่นนี้

    : พระนิพนธุ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=4443
     

แชร์หน้านี้

Loading...