การพิจารณา กิเลส ในใจของตน แบบ ธรรมยุติ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ลุงมหา๑, 15 กันยายน 2013.

  1. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    ... ท่านสับสน! กล่าวไว้มีเหตุผลมากครับ สมเด็จพระบรมครูท่านทรงสอนให้พึ่งตนเองอยากไปนรก ไปสวรรค์ ไปพรหมโลก ไปพระนิพพาน อยากได้มรรคผล อยากบรรลุธรรม ก็ต้องปฏิบัติเอาทำเอา อย่าหวังให้เทพพรหมหรือใครมาช่วย หลี่ปู้เหวยสอนจิ๋นซีฮ่องเต้ไว้ว่า " ทองเป็นของตัวเอง ถึงรอก็ไม่มา ต้องไปคว้าเอาเอง "

    ... เหล็กไหลลูกแก้วอะไรนั่นเป็นสมบัติของโลก เป็นสมบัติผลัดกันชม ตายแล้วก็เอาไปด้วยไม่ได้ ไม่ต่างอะไรกับบ้านช่องลูกเมียทรัพย์สินเงินทองตายแล้วก็ทิ้งไว้ที่โลก ขนาดว่าเงินที่เขายัดใส่มือเอาใส่ไว้ในปาก ก็ยังไม่เห็นมีใครเอาไปได้ เดี๋ยวลูกหลานก็มาเขี่ยเอา

    ... ท่านพ่อแม่ครูบาจารย์พระโพธิญาณเถร(หลวงปู่ชา สุภัทโท) วัดหนองป่าพง ไม่เห็นท่านจะมีลูกแก้วเหล็กไหลอะไรนั่นเลย ท่านบอกให้ทำบุญทำทาน รักษาศีล๕ ศีล๘ นี้ให้บริสุทธิ์ ตั้งใจทำสมาธิทุกอิริยาบท มีปัญญาพิจารณาความตายเอาไว้เสมอ อย่างน้อยก่อนกินข้าวและก่อนนอน ก็เห็นหลวงปู่มีวัดสาขากว่า๕๐๐ วัดทั่วโลก พระเณรมีทั้งคนไทยคนต่างชาติ ลูกศิษย์ลูกหามีอยู่ทั่วโลก

    ... คนจะดีมีบุญบารมีก็ด้วยมีเมตตาจิตต่อคนและสัตว์ไม่คิดประทุษร้ายทำลายใคร ด้วยการให้ทาน การรักษาศีล๕ การเจิญภาวนาตามความสามารถ อย่างน้อยๆ ก็ภาวนาว่า พุทโธ ด้วยความเคารพก่อนนอน ก็มีอานิสงส์หาประมาณมิได้ เหล็กไหลลูกแก้วจะช่วยอะไรได้เล่าท่านมหาผู้มีภูมิรู้ ภูมิธรรมสูงส่ง

    ... ตายแล้วมีแต่บุญกับบาปที่ตนเองทำไว้คอยติดตามเป็นเพื่อนสอง ดังมีพระพุทธภาษิตที่ว่า “ปุญญานิ ปะระโลกัสมิง ปติฏฐา โหนติ ปาณินันติบุญแลเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย ผู้ท่องเที่ยวไปในปรโลก ดังนี้ ลุงมหาแกมีความเห็นวิปลาสไปนิดหน่อยเอง อย่าถือสาแกเลย ดูแต่ที่แกบอกว่าแกไม่เคยเข้าวัดกราบใครเป็นครูบาอาจารย์สิครับ คนเราไม่มีครูบาอาจารย์มันจะใช่หรือ หมูหมากาไก่มันยังมีครู ไอ้คนที่ไม่มีครูบาอาจารย์นี่ มันจะดีน้อยกว่าหมูหมากาไก่ไปหรือเปล่าครับ

    ... พิจารณา มหาพิจารณา

    ... " ว่าโตกะดัก เพิ่นแฮ่งกะด้อ "

    ... ถ้าลุงมหาเป็นลูกหลานอีสานขนานแท้ คงรู้ความหมายผญาข้างบนนี้ดีนะครับ

    ... ในตำราพิชัยสงครามสามก๊ก บทของฮองซูหงส์ห้าสี กล่าวไว้ว่า

    ... อันผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน แม้นมิเชื่อฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สำคัญตนว่าดีกว่าคนทั้งปวง ใครเตือนก็สำคัญว่าเขาอิจฉา ในที่สุดก็ต้องทอดร่างเป็นเหยื่อแก่แร้งกาในกลางดง "

    ... แล้วแต่จะคิดแล้วกันครับ
     
  2. ลุงมหา๑

    ลุงมหา๑ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    931
    ค่าพลัง:
    +3,937
    ความจำเป็นที่ต้องเรียนรู้ให้มากที่สุด ให้กว้างขวางที่สุด

    ขออนุญาตครับ

    ผู้คนนั้น ต่างภูมิรู้ ต่างภูมิธรรม ต่างจริต ต่างนิสสัย
    ต่างบุญ ต่างวาสนา ต่างบารมี ต่างสติ ต่างปัญญา
    ต่างสายบุญบารมี

    แต่ผมกลับผิดแผกแตกต่าง เพราะผมมีความสัมพันธ์กับแทบจะทุกสายบุญ

    นี่ก็มีพรรคพวกไปกราบครูบาอาจารย์ที่วัดท่าซุง
    พอกราบเรียนท่านว่า มาจากขอนแก่น

    ครูบาอาจารย์ผู้เป็นประธานสงฆ์ ท่านก็บอกว่า

    "คนบ้านเดียวกัน อย่าเพิ่งไปไหนนะ รอคุยกันก่อน"

    น่าเสียดาย ถูกสะกัดดาวรุ่ง เพราะติดรถไปกับเขา ก็เลยไม่มีโอกาส

    ตอนนี้ผมกำลังเป็นปลึ้มสุดๆ เพราะมีพรรคพวก พาไปเจอครูบาอาจารย์ที่เป็นที่สุด ของที่สุดสองท่าน

    ท่านแรก วิทยายุทธสูงล้ำ เป็นศูนย์รวมของสรรพวิชา แถมยังว่ากันว่า
    ในงานไหว้ครูของหลายๆสำนัก มีท่านเป็นประธาน
    ผมเคยคิดว่า ครูบาอาจารย์ระดับเล่นเหล็กไหลได้นั้น ก็ถือว่าสูงล้ำแล้ว
    ท่านผู้นี้กลับรู้ทุกๆเรื่องเกี่ยวกับเหล็กไหล
    ใครทะเล่อทะล่าเข้าไป โดนลองของ ไม่เกร่งจริง ก็ตัวใครตัวมัน

    อีกท่าน พรรคพวกเรียกท่านว่า อาจารย์ย่า ท่านเป็นหัวเรือใหญ่สายศาลเจ้าจีน
    วิทยายุทธสูงล้ำ แค่คุยทางโทรศัพท์ บอกได้เหมือนตาเห็น
    เรื่องราวใดๆ ไม่ว่าจะพิศดารขนาดไหน รู้หมด แก้ให้ได้หมด

    เหตุที่ผมต้องเดินสายไปทั่ว ก็เพราะเหตุผลเดียว

    ศิษย์สายเทพ สายพรหม เขาหาเงินกันอย่างไร
    เขาสร้างสำนัก สร้างวัด กันอย่างไร
    เขาเอาเงินมาจากไหน

    เผื่อว่า ผมจะสามารถหาเงินได้ง่ายๆแบบเขาบ้าง

    เราหาเงินมา นอกจากจะเป็นของเราแล้ว ยังมีเหลือไปทำบุญอีกต่างหาก

    เห็นหลายๆท่าน พบสายบุญ พบเส้นทางของตนแล้ว

    แต่สำหรับผม ก็เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลา

    เกิดมาทั้งที ต้องเรียนรู้ ต้องสัมผัส ให้มากที่สุด

    จะได้ไม่้ต้องเสียดาย ที่ได้เกิดมา

    ใครเห็นผม ก็ยังคงพากันนึกว่า ผมเป็นคนโง่ๆ เซ่อๆ อยู่เหมือนเดิม

    ใครจะว่าอย่างไร ก็ช่างเขา ขอให้เราเป็นแค่ตัวของเราก็พอแล้ว

    เส้นทางเดินอันยาวไกล ไม่เรียนรู้ชาตินี้ หรือจะรอไปเรียนรู้ ในชาติหน้าๆ ถัดๆไป

    ผมก็มองไม่เห็นว่า คนรู้มาก คนเห็นมาก มันจะเสียหายตรงไหน

    ขอโมทนาบุญ ขออนุโมทนาบุญ

    ลุงมหา
     
  3. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    พวกไม่รู้ทันความฟู้งซ่านในจิตตัวเอง นี่มันชอบพล่ามไปเรื่อยๆ
    จะมีใครฟังแล้วได้ประโยชน์หรือเปล่า มันก็ไม่สนใจ มันทำไป เพราะสนองกิเลสในใจตนเอง บางทีกิเลสมันหนามาก มันก็ลืมดูโลกไปเลย ว่าคนอื่นเขายินดีจะฟังสิ่งที่พูดมาหรือเปล่า กลายเป็นไม่มีใครอยากฟัง แต่ตัวเองอยากพูด พล่ามออกมา ก็เลยมีคนค้านกันไป

    พวกที่รู้ทันความฟุ้งซ่านในจิตตนเองแล้ว พอมันดับลงได้ก็ไม่เห็นจะต้องพูดอะไรมากมาย มีใครสงสัยค่อยไขปัญหาให้เขา ถ้าเขายังไม่ยินดีจะรับรู้ ก็ยังไม่ต้องบอกเขา แบบนี้มันก็ไม่ค่อยจะมีใครค้านอะไร เพราะมันเป็นการช่วยเหลือสิ่งที่ผู้อื่นติดขัด ไม่ใช่ไปงัดกับทิฎฐิของใครๆ เขา
     
  4. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    ..... ในพระไตรปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ ท่านว่าไว้อย่างนี้

    ... พระทศพลญาณ พระบาลีเรียก พระตถาคตพละญาณ ๑๐ คือ พระญาณอันเป็นกำลังของพระตถาคตเจ้า ๑๐ ประการ ที่ทำให้พระองค์สามารถบันลือสีหนาท ประกาศพระศาสนาได้มั่นคง

    ... ๑. ฐานาฐานะญาณ ปรีชาหยั่งรู้ฐานะและอฐานะ คือ รู้กฎธรรมชาติเกี่ยวกับขอบเขตและขีดขั้นของสิ่งทั้งหลายว่า อะไรเป็นไปได้ อะไรเป็นไปไม่ได้ และแค่ไหนเพียงไร โดยเฉพาะในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผล และกฎเกณฑ์ทางจริยธรรมเกี่ยวกับสมรรถวิสัยของบุคคล ซึ่งจะได้รับผลกรรมที่ดีและชั่วต่างๆ กัน

    ... ๒. กรรมวิปากะญาณ ปรีชาหยั่งรู้ผลของกรรม คือ สามารถกำหนดแยกการให้ผลอย่างสลับซับซ้อน ระหว่างกรรมดีกับกรรมชั่ว ที่สัมพันธ์กับปัจจัยแวดล้อมต่างๆ มองเห็นรายละเอียดและความสัมพันธ์ภายในกระบวนการก่อผลของกรรมอย่างชัดเจน

    ... ๓. สัพพัตถะคามินีปฏิปทาญาณ ปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่คติทั้งปวง คือ สุคติ ทุคติ หรือพ้นจากคติ หรือปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่อรรถประโยชน์ทั้งปวง กล่าวคือ ทิฏฐธัมมิกัตถะ สัมปรายิกัตถะ หรือ ปรมัตถะ คือรู้ว่าเมื่อปรารถนาจะเข้าถึงคติหรือประโยชน์ใด จะต้องทำอะไรบ้าง มีรายละเอียดวิธีปฏิบัติอย่างไร

    ... ๔. นานาธาตุญาณ ปรีชาหยั่งรู้สภาวะของโลกอันประกอบด้วยธาตุต่างๆ เป็นเอนก คือ รู้สภาวะของธรรมชาติ ทั้งฝ่ายอุปาทินนกสังขารและฝ่ายอนุปาทินนกสังขาร เช่น รู้จักส่วนประกอบต่างๆ ของชีวิต สภาวะของส่วนประกอบเหล่านั้น พร้อมทั้งลักษณะและหน้าที่ของมันแต่ละอย่าง อาทิการปฏิบัติหน้าที่ของขันธ์ อายตนะ และธาตุต่างๆ ในกระบวนการรับรู้ เป็นต้น และรู้เหตุแห่งความแตกต่างกันของสิ่งทั้งหลาย

    ... ๕. นานาธิมุตติกะญาณ ปรีชาหยั่งรู้อธิมุติ คือ รู้อัธยาศัย ความโน้มเอียง ความเชื่อถือ แนวความสนใจ เป็นต้น ของสัตว์ทั้งหลายที่เป็นไปต่างๆ กัน

    ... ๖. อินทริยะปะโรปริยัตตะญาณ ปรีชาหยั่งรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย คือ รู้ว่าสัตว์นั้นๆ มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แค่ไหน เพียงใด มีกิเลสมาก กิเลสน้อย มีอินทรีย์อ่อน หรือแก่กล้า สอนง่ายหรือสอนยาก มีความพร้อมที่จะตรัสรู้หรือไม่

    ... ๗. ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ ปรีชาหยั่งรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ่ว การออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิและสมาบัติทั้งหลาย

    ... ๘. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ปรีชาหยั่งรู้อันทำให้ระลึกภพที่เคยอยู่ในหนหลังได้โดยไม่มีจำกัด

    ... ๙. จุตูปปาตะญาณ ปรีชาหยั่งรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายอันเป็นไปตามกรรมที่ตัวเองได้ทำไว้

    ... ๑๐. อาสวักขยะญาณ ปรีชาหยั่งรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งของพระองค์เองและของผู้อื่น



    ..... ลุงมหาครับ ผมรอคำตอบอยู่นะ ไม่เห็นตอบสักที อ้างแต่ว่าตัวเองมีภูมิรู้สูง ภูมิธรรมสูง ศึกษามาจากหลายสำนักทั้งสายเทพสายธรรม แล้วเห็นคนอื่นด้อยกว่าต่ำกว่าตัวเองอยู่นั่นแหละ

    ... ที่ท่านว่าอาจารย์ท่านได้รู้ทศพลญาณและมีทศพลญาณเกือบเท่าพระพุทธเจ้านั้น ท่านจะยกอาจารย์ของท่านเทียบกับพระพุทธเจ้าเจียวหรือไร พระโพธิสัตว์ก็คือ สัตว์ผู้ฉลาด สัตว์ผู้ตรัสรู้ อีกอย่างหนึ่ง สัตว์ผู้ฝักใฝ่ คือมีใจจดจ่ออยู่ในโพธิ จึงได้ชื่อว่าพระโพธิสัตว์ ไม่มีพระโพธิสัตว์องค์ไหนหรอกจะว่าตัวเองเทียบเท่าพระพุทธเจ้า ขอบอกไว้เลย ณ ที่นี้

    ... ถ้าบังเอิญมีก็เห็นจะมีแต่พวกเอาคำว่า " พระโพธิสัตว์ " มาหากินเท่านั้นแหละ ตอนนี้ยังมีลมหายใจอยู่ ถ้าลุงมหาเห็นโทษเห็นภัยในการปรามาสต่อพระพุทธรัตนะ ก็หาดอกไม้ธูปเทียนขอขมาพระรัตนตรัย โทษหนักจะได้เป็นเบา

    ... ลุงมหาคิดได้ยังไง ยกยออาจารย์ตัวเองว่า มีบุญบารมีทางด้านสงเคราะห์เทียบเท่าพระพุทธเจ้า แลว่าจะศรัทธากันเหลือเกินนะ พระโพธิสัตว์ถ้ายังไม่ได้บรรลุพระอภเษกสัมมาสัมโพธิญาณ รู้แจ้งแทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณ ก็ปุถุชนดีๆ นี่เอง เขียนอะไรก็อย่านั่งเทียนเขียนส่งไปเรื่อย เอาความจริงมาเขียนบ้าง แหม! อภินิหาริย์เยอะจริงๆ เห็นนั่นเห็นนี่ เหมือนพระแถวๆศรีสะเกษที่เป็นเพื่อนกับพระอินทร์ วัดอะไรน้า ขันติธรรมอะไรนี่แหละ จำไม่ค่อยได้แล้ว

    ... ถ้าไม่เป็นความลำบากมากเกินไป ช่วยตอบแบบที่เข้าใจง่ายหน่อยนะครับ คิดได้ยังไง " ผู้บำเพ็ญบารมีมามากพอในระดับที่รู้ทศพลญาณ " " มีบุญบารมีทางด้านสงเคราะห์เทียบเท่าพระพุทธเจ้า และมีทศพลญาณเกือบเท่า พระพุทธเจ้าแล้ว " อย่าอ้างว่าภูมิรู้ภูมิธรรมท่านสูง แล้วว่าผมโง่บรมโง่ เรื่องนี้มันเป็นเรื่องความเคารพต่อพระรัตนตรัยและจิตสำนึกรับผิดชอบในสิ่งที่เขียน แทงยู.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤศจิกายน 2013
  5. DR-NOTH

    DR-NOTH เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    581
    ค่าพลัง:
    +1,276
    ท่านผู้ปฏิบัติทั้งหลาย ลองพิจารณาสภาวะจิตของตนให้ดี
    หากจิตกระเพื่อมเพราะความยินดียินร้าย
    หรือพอใจไม่พอใจในแต่ละกระทู้หรือบทความที่ได้อ่าน ได้เห็น หรือได้ยินได้ฟัง
    แสดงว่า จิตใจยังไม่มั่นคงและสงบพอ ยังไหลไปตามสิ่งเร้าภายนอก
    จึงควรกำหนดรู้อย่างเป็นกลาง ไม่ไหลไปตามอารมณ์กิเลสแห่งการปรุงแต่งทั้งหลาย
    ............ ​
     
  6. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    ... มันไม่ใช่ความยินดียินร้าย แต่เขากล่าวตู่พระพุทธเจ้า ก็ต้องเตือนกันบ้าง คนรักกันชอบพอกัน ทำอะไรผิดก็เตือนกันสิ ไม่ใช่ผิดก็ปล่อยให้ผิดไป ลีลาของผมอาจจะรุนแรงไปหน่อย แต่จริงใจ คนซื่อกล่าวคำไม่เพราะหู แต่เป็นประโยชน์แก่กาลภายหน้า

    ... เหมือนกับเพื่อนจะตกเหวก็ต้องดึงแขนไว้ ไม่ใช่ถีบส่งให้ตกเหวตาย

    ... เข้าใจหรือยังครับ
     
  7. kongkiatm

    kongkiatm เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    190
    ค่าพลัง:
    +1,263
    การพิจารณาในสิ่งใดๆ นั้นต้องนำตนไปเรียนให้เข้าถึงในสิ่งนั้นๆ แล้วใช้ปัญญาในการพิจารณา อย่าใช้อารมณ์ ความรู้สึกชอบ ไม่ชอบ ตัดสินความผิด ถูก จะทำให้เกิดความผิดพลาดได้

    อาจารย์ทิพากรณ์นั้นมีบุญบารมีมาก มีเพียงไม่กี่ท่านในประเทศไทย

    เรื่องการสงเคราะห์ได้เทียบเท่าพระพุทธเจ้านั้น เป็นเรื่องที่เกินความสามารถของข้าพเจ้า ที่จะพิจารณาได้ ตรงนี้ขึ้นอยู่กับตัวของผู้เขียนเอง

    เรื่องที่ได้รับรู้มา เกิดจากความอยากรู้ อยากเห็นของตัวข้าพเจ้าเอง ที่อยากรู้อยากเห็นว่าเป็นตามที่กล่าวกันไว้ไหม?? โดยการไปร่วมพิธีเปิดบุญบารมี ในพิธีนั้นมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์เต็ม (เทวดา พรหม) ในการเปิดบุญ อาจารย์ได้เปิดจิตของข้าพเจ้าให้สว่างไสวไปทั่ว อาจารย์บอกให้สว่างไปสุดขอบจักรวาล ก็ได้ไปพบกับขอบจักรวาลจริงๆ เมื่อจิตของข้าพเจ้าสว่างขึ้น จึงได้เห็นบุญบารมีที่ข้าพเจ้ากระทำมาทั้งหมด และได้พบกับพระแม่ธรณีอีก เป็นอะไรที่อัศจรรย์มากๆ

    ทั้งๆที่อยู่ด้วยกันไม่นานนัก และไม่ได้สนทนาด้วย ทั้งๆที่ได้ยืนรับของกับอาจารย์ มันทำให้ข้าพเจ้ารับรู้ถึงความอบอุ่น รับรู้ถึงความเมตตา เหมือนกับอยู่ด้วยกันมานาน

    ขอจบเพียงเท่านี้ ด้วยจะออกทะเลไปไกล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 พฤศจิกายน 2013
  8. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    ..เป็นความเชื่อส่วนตัวท่าน..หากเล่าต่อไป ก็อย่าออกไปไกลนัก เกรงว่าจะกลับมาไม่ถูกนะครับ จำทางเดิมไว้ให้ดี สัมมาทิฏฐิ..อัตตาหิอัตตโนนาโถ สาธุ
     
  9. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ทั่วทั้งผืนแผ่นดินนี้ ยังไม่เจอพระโพธิสัตว์ผู้ใด มีบารมีสูงเทียบเท่าในหลวง
    และในหลวง ก็ยังไม่มีบารมีสงเคราะห์เทียบเท่าพระพุทธองค์

    ออกจะเป็นการกล่าวข้ามหน้าข้ามตาเกินไปหน่อย ถ้าจะกล่าวแบบอื่นนะ
     
  10. kongkiatm

    kongkiatm เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    190
    ค่าพลัง:
    +1,263
    ข้อนี้ข้าพเจ้าทราบดีครับ

    อย่าได้เปิดประเด็นเรื่องใครมีบารมีมากกว่าใครเลยครับ เดียวมันจะถกเทียงกันไม่จบ
    แต่ไม่มีผู้ใดมีบารมีมากไปกว่าในหลวงครับ
     
  11. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ก็สิ่งที่ ลุงมหา๑ พูดมา มันขัดกันเองนะครับ

    ในเมื่อเห็นความจริงถูกบิดเบือนต่อหน้า ผมก็แค่บอกความจริงที่ไม่ถูกบิดเบือน

    เดี๋ยวนี้ ยุคสมัยนี้ ในแวดวงของผู้อยู่ในพุทธศาสนา เกี่ยวข้องกับการทำบุญ ปฏิบัติธรรม การพูดความจริงที่ไม่ถูกบิดเบือน เป็นเรื่องที่ต้องปิดบัง ต้องซ่อนเร้น ต้องงดพูด หรือครับ?
     
  12. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    การพิจารณา กิเลส ในใจของตน แบบ ธรรมยุติ


    เช่น


    .....ถอดเสียง ....หลวงปู่พุธ ฐานิโย อธิบาย คำว่า พิจารณา

    เราสังเกตุดูว่า ในเมื่อจิตสงบแล้ว มันไม่มีความรู้ แล้วมันขึ้นวิปัสนาที่ตอนไหน

    เอากันอย่างนี้ก็แล้วกัน
    ในเมื่อท่านทำจิตให้สงบนิ่งเป็นสมาธิขั้นละเอียดแล้ว
    ในขณะนั้นความรู้สึกที่จะยกจิตไปไหนเนี๊ยะมันไม่มีแล้วล่ะ

    อย่าไปหาว่า
    แต่เราต้องรอเวลาที่จิตถอนจากสมาธิขั้นนี้มาแล้ว
    พอรู้สึกว่ามีกายปรากฎเท่านั้น อย่ารีบดีใจ กระโดดโลดเต้นออกจาก
    ที่นั่งสมาธิทันที
    พระอาจารย์สิงห์ ท่านสอนให้ พิจารณาทบทวนความเป็นไปของจิต
    ในระหว่างที่ทำสมาธิภาวนาก่อน เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนจิตให้เกิดมีควาคิด
    หรือบางทีพอจิตถอนออกมาแล้ว รู้สึกมีกายปั๊ปเท่านั้น ความคิดบังเกิดขึ้นทันที
    ในเมื่อจิตมีความคิดบังเกิดขึ้น เราปล่อยให้คิดไป แต่ให้มีสติตามรู้ไปรู้ไปรู้ไป

    นี่เป็นลักษณะของจิตเดินก้าวขึ้นสู่ภูมิแห่งวิปัสนา

    แต่ในคัมภีร์ ท่านกล่าวว่า การเจริญ วิปัสนานี่
    ต้องกำหนดพิจารณา ขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 พิจารณาปัจจยาการ
    อวิชาปัจจยาสังขารา อันนั้นเป็นภาคปฏิบัติ แม้ว่าเราจะตั้งใจกำหนดจิตพิจารณา รูปังอนิจจัง เวทนาอนิจจา รูป เวทนา สัญญา สังขาร
    วิญญาณไม่เที่ยง

    เรานึกเอา นึกเอา นึกเอา ด้วยความคิดธรรมดาๆ นี่แหล่ะ แต่เมื่อจิตสงบลง
    เป็นสมาธิแล้วนี่ มันทิ้งคำว่า อนิจจังทุกขังอนัตตาไปแล้ว
    จ้างอีกมันก็ไม่มีคำว่า รูปังอนิจจัง เวนาอนิจจา รูปัง ทุกขัง มันก็ไม่มี พอสงบปั๊ปลงไปเป็นสมาธิ มันจะบรรดาล ให้เกิด ความรู้ ความคิดขึ้นมาเอง โดยที่เราไม่ได้ตั้งใจ

    ที่นี่เมื่อจิต ของเราเกิดความรู้ ความคิดขึ้นมาเองเนี๊ยะ พึงรู้เถิดว่า
    ความคิดเป็นวิตก สติรู้พร้อมเป็น วิจาร ถ้าเราไม่เข้าใจผิด ปล่อยให้มันคิดไป ตามอำเภอใจของมัน แล้วเราจะรู้สึกว่า มีปีติ มีความสุข มีกายเบาจิตเบา แล้วจิตก็ได้สมาธิขั้นต้นซึ่งเรียกว่า ปฐมฌาน มี วิตก วิจาร ปีติ สุข
    เอกคัคตา

    นี่ ลองลอง ลอง ลอง ดู
    อย่าไปยึดมั่นแต่เพียงแค่ว่า ภาวนา พุทโธ พุทโธ แล้ว พอจิตทิ้งพุทโธแล้ว
    ดึงมาหาพุทโธอีก มันจะเป็นการเริ่มต้นอยู่ตลอดเวลา

    ต้องพิจารณาดูให้ดี ว่า

    พุทโธ ที่เราคิดอยู่ก็คือความคิด ความคิดที่จิตคิดขึ้นมาเองก็คือ
    ความคิด

    เพราะฉะนั้น ในช่วงใด ที่จิต คิดไม่เป็น เราเอาพุทโธ พุทโธ มากระตุ้น ให้มันเกิดพลังแห่งความคิด

    ทีนี่เมื่อมันสงบลงไปนิดหน่อย มันทิ้งพุทโธ มันไปหาความคิดใหม่ของมันมา ก็ปล่อยให้มันคิดไป แต่ให่มี สติสัมปชัญญะ ตามรู้ไปเรื่อยๆ

    ต่อไปแล้ว อะไรมันเกิดขึ้น ให้กำหนดรู้ สิ่งนั้น เพียงแต่เรากำหนดรู้จิตของเราอยู่เฉยๆ อะไรมันเกิดขึ้นกับจิตเราจะรู้เองโดยอัตโนมัติ ในเมื่อรู้แล้วก็ให้ มีสติกำกับ อย่าไปเผลอ สติ สติตัวเดียวเท่านั้นเป็นเรื่องสำคัญ


    หลวงปู่แหวน ท่านเคยให้คติเตือนใจว่า อย่าไปดูอื่น ให้จี้ ลงที่จิต ของตนเอง
    บาปมันเกิดที่จิต บุญมันเกิดที่จิต ดีมันเกิดที่จิต ชั่วมันเกิดที่จิต เพราะฉะนั้นให้ดูจิตเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แล้วเราสามารถ ที่จะรู้หมดทุกสิ่ง ทุกอย่าง


    และอีกอย่างหนึ่ง มีผู้กล่าวว่า ถ้าจิต เกิดความคิดอะไรขึ้นมา เกิดความรู้อะไรขึ้นมา
    ให้พิจารณา สิ่งนั้น แล้วก็ไปเข้าใจว่า เราตั้งใจพิจารณา ตั้งใจคิด

    แต่ความจริงน่ะ ไม่ใช่อย่างนั้น คำว่า พิจารณา นี่ ก็หมายถึงว่า กำหนดรู้สิ่ง ที่มันเกิดขึ้นดับไปเอง โดยอัตโนมัติ


    ที่นี่ ถ้าสิ่งที่มันเกิดขึ้น เราข้องใจสงสัยเราไปตั้งใจพิจารณาเท่านั้น
    จิตมันจะถอนจากสมาธิเด๊ะ

    แต่ถ้าอะไรมันเกิดขึ้น เรามี สติกำหนดดู ให้มันรู้อยู่ในที จิตมันจะไม่ถอนจากสมาธิ แล้วมันจะย้อนกลับ สงบละเอียดเข้าไปสู่สมาธิตามขั้นตอนอีกครั้งหนึ่ง

    เพราะฉะนั้น เวลาท่านนั่งสมาธิ จิตสงบดีแล้ว เมื่อจิต ถอน จากสมาธิมา พอรู้สึกว่ามีกาย อย่ารีบ ออกจากที่นั่งสมาธิ ให้กำหนดรู้จิต ของตนเองอยู่ซักพักหนึ่ง ก่อน ถ้าหากว่าจิต ไม่เกิดความรู้ ความคิด ขึ้นมาเอง ก็ให้พิจารณา ทบทวนอ่า.. ที่เราเริ่มปฏิบัติมา ตั้งแต่เบื้องต้น เราได้ไหว้พระสวดมนต์ เราได้อธิฐานจิต เราได้แผ่เมตตา เราได้กำหนดอารมณ์จิต
    จิตของเรา สงบหรือไม่ สงบ รู้หรือไม่รู้ สว่างหรือไม่ สว่าง

    กำหนดพิจารณา ทบทวนดูซัก สอง สามทีก่อนออกจากที่นั่งสมาธิ
    อันนี้เป็นแนวทางของท่าน พระอาจารย์ สิงห์ ที่ท่านเขียนไว้
    ในพระไตรสรณะคม ย่อ

    ดังนั้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ได้ตรัสรู้ ก็เพราะอาศัย
    การเจริญสมาธิ อาศัยหลักธรรมชาติ คือท่าน มีสติ กำหนดดู ลมหายใจ
    อันเป็นธรรมชาติ ของร่างกาย

    มีสติกำหนดดูความคิดอันเป็นธรรมชาติของจิต แล้ว ในที่สุด จิตก็ตามลมหายใจ เข้าไปสงบ นิ่ง สว่าง อยู่ในท่ามกลาง ของร่างกาย เป็นเหตุให้รู้ความจริง ของร่างกาย จิตดำเนินเข้าไปสู่ฌาน สมาบัติตามขั้นตอน แล้ว วกเข้าสู่ นิโรธสมาบัติ เรียกว่า

    เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ไปสร้างพลังจิตเพื่อการ ตรัสรู้ อยู่ที่ตรงนี้ แล้วจิต เปล่งบาน สว่าง ไสว ออกมาได้ ตรัสรู้ เป็น โลกะวิทู เป็นโคตระภูญาณ ได้พิจารณา ทบทวน ตลอดยามทั้ง สาม จิตยอมรับสภาพความเป็นจริง แล้วก็หมดกิเลส ได้เป็น พระอะระหังสัมมาสัมพุทโธ ภควา พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้ด้วยตนเอง การตรัสรู้สมบูรณ์แบบในปัชฌิมยามด้วยประการฉะนี้
     
  13. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    การพิจารณา กิเลส ในใจของตน แบบ ธรรมยุติ


    เช่น



    หลวงปู่พุธ ฐานิโย อธิบาย การพิจารณา จิตในจิต
    ถอดเสียง หลวงปู่ พุธ ฐานิโย

    ถ้าพิจารณาดูความเจ็บหัวเข่า หรือเหน็บชา ได้ชื่อว่าพิจารณาจิต ถูกหรือไม่
    พิจารณาความเจ็บ อันนั่นพิจารณาเวทนา เพราะความเจ็บเป็นเวทนา เวทนาที่เราจะรู้ได้ ความเหน็บชาก็ดีเจ็บหัวเข่าก็ดี เพราะเรามีจิต
    ในเมื่อกำหนดจิตลงรู้ที่นั้น ก็เรียกว่า พิจารณาเวทนา แต่จิตเป็นผู้รู้เวทนานั้น
    ทีนี่ การพิจารณาจิตในจิต หมายถึงว่า กำหนดจิต ที่กำลังคิดอยู่ หรือในการที่เราคิด ว่าหัวเข่ามันเจ็บ มันเกิดเหน็บชา
    แม้จะเป็นการพิจารณาหัวเข่า แต่เราก็ชื่อว่า พิจารณาจิต รู้อยู่ที่จิตก็ได้
    เพราะจิตเป็นผู้รู้
    อ่า..เรื่องของเวทนานี่ กาย เวทนา จิต ธรรม เมื่อเรากำหนดจิตรู้ลงที่จิต แม้ว่าเรา ไม่ได้กำหนด กาย ไม่ได้กำหนดอะไร เป็นแต่เพียงกำหนดจิตอย่างเดียว ขณะที่จิตกับกายยังมีความสัมพันธ์ กันอยู่ ยังไม่แยกจากกัน
    เหตุการอันใด เกิดขึ้นที่กาย จิตเค้ารู้หมด กายนั่งตรงหรือไม่ตรง จิตเค้าก็รู้ กายมีทุกข์มีสุขเค้าก็รู้ กายจะเคลื่อนไหวไปมาอะไรเค้าก็รู้ อะไรมากระทบกายเค้ารู้หมดทั้งนั้น แต่ว่าจิตเป็นผู้รู้
    ทีนี่การพิจารณาจิตในจิต นี่ หมายถึง การกำหนดรู้ ความรู้สึก นึกคิด คือรู้ในจิตอย่างเดียว อันนี้ในเมื่อจิตของเราละเอียดลงไปแล้วมันจะแยกของมันเอง

    สมาธิเป็นการขจัดความคิดฟุ้งซ่าน แต่ก็จำเป็น เพราะจิตจะได้มีกำลังถูกหรือไม่
    สมาธิเป็นการกำจัดอ่า..ความฟุ้งซ่านของจิตและเป็นฐานที่สร้างพลังของจิต
    แต่เมื่อ สมาธิมั่นคง สติมีการ อ่า.. สติสัมปชัญญะ มีพลังงาน อ่า.เพียงพอแล้ว แม้จิตจะมีความคิดอยู่ ถ้า สติสามารถตามรู้ทัน ความคิดที่คิดอยู่ ทุกวาระจิตได้ ไม่ได้ชื่อว่าเป็นจิตฟุ้งซ่าน เป็นจิตเกิดปัญญาความรอบรู้
     
  14. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    การพิจารณา กิเลส ในใจของตน แบบ ธรรมยุติ


    เช่น


    เกร็ดธรรม

    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

    คำว่าพิจารณาจิต จะพิจารณาอย่างไร..

    จิตก็พิจารณาเจตสิกซึ่งเกิดขึ้นจากใจนั่นเอง
    ว่าไปสำคัญมั่นหมายในกายในเวทนาเหล่านี้ เป็นอะไรบ้าง
    ปรุงแต่งจะเป็น กายนอกก็ตาม กายในก็ตาม ปรุงว่าอย่างไร หมายว่าอย่างไร
    กำหนดพิจารณาตามกระแสของใจ สิ่งที่ไปหมายหรืออารมณ์เหล่านั้น เป็นธรรมขึ้นมาแล้วที่นี่ เรียกว่าเป้าหมายนั่นเอง

    อารมณ์ที่จิตพิจารณา ที่จิตจดจ่อนั้น

    เรียกว่า

    เป็นเป้าหมายของใจ เป้าหมายนั้นเอง ท่านเรียกว่า ธรรม




    ทีนี้ ท่านว่าพิจารณา เวทนาใน เวทนานอก
    อันนี้เป็นปัญหาอันหนึ่ง ส่วนกายใน กายนอก เราพอทราบกันได้ชัด
    เช่น อย่างกายของคนอื่นหรือเราไปเยี่ยมป่าช้า ก็แสดงว่าเราไปพิจารณากายนอก
    แต่เวทนาในนี้ จะหมายถึงเวทนาอะไร เวทนานอกหมายถึง เวทนาอะไร
    เวทนานอก ถ้าเราจะไปหมายคนอื่นเป็นทุกข์ทนลำบาก
    หากเขาไม่แสดงกิริยามารยาทอาการให้เราเห็นว่าเขาเป็นสุขหรือเป็นทุกข์แล้ว
    เราจะมีช่องทางหรือโอกาสพิจารณาเวทนาของเขาได้อย่างไร นี่เป็นปัญหาอยู่

    แต่นี้ เพื่อจะให้เป็นสิ่งสำเร็จรูปในทางด้านปฏิบัติของเรา จะถูกก็ตามผิดก็ตาม
    ข้อสำคัญให้ถือเอาผลประโยชน์ซึ่งเกิดขึ้นในการกระทำของตน
    เป็นความสุข
    เป็นไปเพื่อความสงบ
    เป็นไปเพื่อความแยบคาย
    เป็นไปเพื่อความเฉลียวฉลาดแล้ว

    ให้ถือว่า นั้นเป็นของใช้ได้
    เป็นการถูกกับหลักธรรมของพระพุทธเจ้า

    เพราะฉะนั้น ในสถานที่นี้ หรือเวลานี้
    จะขออธิบายตามอัตโนมัติ
    หรือความรู้โดยตนได้พิจารณาอย่างไร ให้บรรดาท่านทั้งหลายฟัง
    เวทนานอกนั้นหมายถึงกายเวทนา เวทนาในหมายถึงจิตเวทนา
    คือ เวทนาซึ่งเกิดขึ้นในส่วนแห่งกาย จะเป็นการเจ็บท้อง ปวดหัวก็ตาม เจ็บส่วนแห่งอวัยวะ
    หรือปวดที่ตรงไหน ทุกข์ที่ตรงไหนก็ตาม

    ในส่วนแห่งอวัยวะนี้ ทั้งหมดเรียกว่าเป็น เวทนานอก
    จะเป็นสุขทางกายก็ตาม
    เฉยๆขึ้นทางกายก็ตาม
    จัดว่าเป็นเวทนานอกทั้งนั้น

    ส่วนเวทนาในนั้น หมายถึงใจได้รับอารมณ์อันใดขึ้นมา
    เพราะอำนาจของสมุทัยเป็นเครื่องผลักดัน
    เกิดความทุกข์ขึ้นมาบ้าง
    เกิดความสุขความรื่นเริงขึ้นมาบ้าง
    เฉยๆ บ้าง เรียกว่าเวทนาใน

    การพิจารณาเวทนานอก การพิจารณาเวทนาใน มีไตรลักษณ์เป็นเครื่องยืนยันหรือเป็นเครื่องตัดสิน
    เป็นเครื่องดำเนินด้วยกันทั้งนั้น

    แต่เมื่อเราได้พิจารณาในส่วนกายให้เห็นชัด
    ส่วนเวทนานอกขึ้นอยู่กับกายนี้ชัดแล้ว
    แม้จะพิจารณาเวทนาส่วนภายในนี้ก็ย่อมจะชัดไปได้
    เพราะอำนาจของปัญญาที่มีความละเอียดเข้าไปเป็นลำดับ

    นี่การพิจารณาสติปัฏฐานพิจารณาอย่างนี้

    พิจารณาจิต ตามปริยัติท่านกล่าวไว้นั้น
    บรรดาท่านผู้ฟังทั้งหลายก็พอเข้าใจแล้ว

    กระแสของใจเรามีความเกี่ยวข้องกระดิกพลิกแพลงไปในอารมณ์อันใด
    คอยสังเกตความเคลื่อนไหวของใจอยู่เสมอ นี่เรียกว่าพิจารณาจิต
    คือ พิจารณาในขณะเดียวกันนั่นเอง

    เวลานั่งหรือเวลายืนเวลาทำความเพียรอยู่นั้นเอง
    ในกาลในสมัยเดียวนั้นเอง
    สามารถที่จะพิจารณาสติปัฏฐานทั้งสี่นี้ไปพร้อม ๆ กันได้

    เพราะอาการทั้งสี่นี้เป็นสิ่งที่ปรากฏขึ้นสับสนปนเปกันอยู่ตลอดเวลา
    ไม่ได้มีการกำหนดว่า
    กายจะต้องปรากฏขึ้นก่อน
    แล้ว เวทนาเป็นที่สอง
    จิตเป็นที่สามธรรมเป็นที่สี่

    ไม่ใช่อย่างนั้น

    เป็นสิ่งที่สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน
    อยู่ทั่วสรรพางค์ร่างกาย
    และจิตใจของเราล้วนแล้วตั้งแต่เป็นเรื่องของสติปัฏฐาน ๔ ทั้งนั้น

    การที่เราจะพิจารณาในส่วนสภาวะทั้งหลาย
    ที่ปรากฏขึ้นมาสัมผัสกับใจของเราส่วนใดนั้นเป็นเรื่องถูกต้อง
     
  15. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    และอย่าลืม

    เกร็ดธรรม
    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน




    การบำเพ็ญเพียรที่เป็นไปตามพระประสงค์ของพระพุทธเจ้าและพระสัทธรรม

    คือ ความจงใจ ใคร่ต่อการประพฤติดีจริงๆ
    ธุระหน้าที่ที่ตนจะพึงทำทุกอย่าง
    ควรทำด้วยความจงใจ

    การประกอบการงานทุกประเภทถ้าขาดความจงใจแล้ว
    แม้จะเป็นงานเล็กน้อย ย่อมไม่สำเร็จลงได้ด้วยความเรียบร้อยและน่าดูเลย
    เพราะความจงใจ เป็นเรื่องของสติและหลักใจ
    ที่จะยังงานนั้นๆ ให้สำเร็จได้ขาดไปจากตัวและวงงาน

    ผู้มีสติและหลักใจประจำตัวและงาน จึงชื่อว่าผู้มีความเพียรไปในตัว

    ทั้งกิจนอกการใน ถ้าขาดความจงใจ เป็นเครื่องจดจ่อต่องานแล้ว
    แม้ผู้เป็นนายช่างทำสิ่งต่างๆ ซึ่งมีความฉลาดอยู่บ้าง
    ทำอะไรมีความสวยงามและแน่นหนามั่นคง

    แต่ถ้าขาดความจงใจใคร่ต่องานแล้ว
    แม้งานนั้นจะสำเร็จก็ย่อมลดคุณภาพและความสวยงาม

    ฉะนั้น
    ความตั้งใจจึงเป็นสิ่งสำคัญ
    โดยผู้มุ่งต่อผลของงานอันสมบูรณ์จึงไม่ควรมองข้ามไป

    เราเป็นนักบวชและนักปฏิบัติ
    ควรเห็นความตั้งใจจดจ่อต่อธุระหน้าที่ที่ตนจะพึงทำทุกประเภท
    โดยมีความรู้สึกอยู่กับงานนั้นๆ

    แม้ที่สุดปัดกวาดลานวัด เช็ดถูกุฎีและศาลา ปูอาสนะ ตั้งน้ำใช้น้ำฉัน
    ตลอดการเคลื่อนไหวไปมา เหลือบซ้ายแลขวา
    ควรมีสติประจำอยู่ทุกๆขณะ ชื่อว่าผู้มีความเพียรประจำตน

    การฝึกหัดนิสัยเพื่อเป็นคนมีสติอันเคยชิน
    จำต้องอาศัยการงานเป็นเครื่องฝึกหัด

    การประกอบการงานภายนอกแต่ละประเภทเป็นธุระชิ้นหนึ่งๆ
    การเดินจงกรมและนั่งสมาธิภาวนาเป็นธุระชิ้นหนึ่งๆ

    ทั้งนี้ ถ้ามีสติจดจ่อกับงานที่ทำ ชื่อว่ามีความเพียร ไม่ขาดวรรคขาดตอน

    การฝึกหัดนิสัยของผู้ใคร่ต่อธรรมชั้นสูง
    จึงควรเริ่มและรีบเร่งฝึกหัดสติไปกับงานทุกประเภทแต่ต้นมือ
     
  16. DR-NOTH

    DR-NOTH เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    581
    ค่าพลัง:
    +1,276
    ผู้รู้ธรรมนั้นมีมาก
    แต่ผู้ที่เข้าถึงธรรมจริงๆนั้นมีน้อย .....​
     
  17. กลายแก้ว

    กลายแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    751
    ค่าพลัง:
    +634
    ขอโทษนะคะถ้าถามอะไรที่ไม่ตรงใจ ตั้งใจมาหาคำตอบนะคะ เผื่อจะได้คำตอบ

    1.การปฏิบัติธรรมทุกคนจะปฏิเสธความคิดทั้งหมด ไม่ให้คิด ซึ่งความจริงแล้วมนุษย์ทุกคนไม่มีใครเลยที่ไม่คิด หรือ ที่ว่าไม่คิดที่จริงนั้นคิด นอกจากผู้ตรัสรู้แล้วที่รู้ได้ไม่ได้คิด ทำไมความคิดจึงเป็นอุปสรรคนัก เหมือนกันเรื่องตัวตน ที่เราต้องมีตัวตนเพื่อละตัวตน เหมือนเรือ ที่เราต้องใช้ข้ามฟาก พอถึงจุดหมายที่ฝั่งเราก็ทิ้งเรือ ถ้าเราใช้ความคิดที่เป็นเหตุผล เพื่อนำไปหาความจริง เพื่อละกิเลสขั้นหยาบไปถึงขั้นละเอียด ก็เป็นไปได้ไหม

    คำหลวงปู่ดูลย์ อตุลโล กล่าวไว้ว่า "คิดคิดเท่าไรไม่รู้ แต่จะรู้ได้เมื่อหยุดคิด ถ้าจะรู้ต้องนำความคิดเข้าไปรู้"

    2.เลยได้ยินคำนี้ไหมค่ะ ข้าพเจ้าทราบมา

    วันที่พระพุทธเจ้าฉันข้าวมธุปายาสของนางสุชาดาแล้วลอยถาดเสี่ยงอธิษฐานบารมีนั้น ถาดไหลทวนกระแสสู่ต้นกำเนิดน้าและจมห้วงบาดาลพิภพ เป็นรหัสบุคลาธิษฐานของการภาวนาว่า

    ต้องทวนเข้าสู่ต้นน้ำหรือ สมูฎฐานของความคิด ความคิดออกมาจากที่ไนก็รู้ไปที่นั่น ลำธารนั้นไม่ใช่แม่น้ำเนรัญชรา แต่คือ กระแสธารของอารมณ์ ซึ่งผิดกับแตกต่างกับกรรมวิธีที่เพ่งอารมณ์เป็นใหญ่ อันนำจิตไปสู่ภพต่าง ๆ ไม่ใช่การสิ้นภพสิ้นชาติ แต่ติดอยู่ในภพประณีต

    "อย่าเข้าไปในกระแสหรือห่วงโซ่ความคิด อย่าหยุดคิด แต่ให้ดูความคิด

    3.เคยได้ยินคำว่าจิตคือ อะไรไหม

    จิตคือ กลุ่มความคิดที่มีพลังงานหุ่อหุ้มเอาไว้ (ถ้าใครเข้าถึงตัวจิตที่แท้ได้จริงจะไม่ปฏิเสธคำนี้เลย)

    เป็นพลังรวมความคิด การรับรู้ และจินตนาการของมนุษย์ ที่มีส่วนประกอบสำคัญ 3 ประการ คือ 1.คลื่นความคิด 2.เป็นคลื่นแสง 3. เป็นอนุภาคที่เป็นพลังงาน
     
  18. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    อยากรู้จักจิต ก็ให้ลองดูที่ความคับอกคับใจเอา

    เรามาคิดตอนมันกำลังคับอกคับใจอยู่นี่ เขาไม่ให้คิด มันยิ่งฟุ้งหนักไปใหญ่

    และเชื่อถืออะไรไม่ได้เลย เนื่องจากตัณหากำลังบงการชีวิต ไม่ใช่สตินำทาง

    ดังนั้นรอให้ จิตกลับเป็นปกติดีเสียก่อน คือไม่พลุ่งพล่าน ไม่ซ่านไปในอารมณ์ ไม่รู้สึกคับอกคับใจใด ๆ แล้วค่อยหัดสังเกต มีสติหัดสังเกตไปทีละน้อย ๆ

    ความคิดตอนใจดี ๆ ไม่มีร้อนใจ กับความคิดตอนกลุ้ม ผลออกมาไม่เหมือนกันเลยนะ นั่นพระท่านจึงให้ระวัง ไม่ใช่คิดตะพึดตะพือ

    อย่าสงสัยเลย เรื่องจิตกับใจ ช่างมันไปก่อน ถึงรู้ก็ไม่ได้ทำให้ชีวิตตอนนี้ดีขึ้นแต่อย่างใด รู้แล้วไง รู้แล้วเพิ่มทิฏฐิเอาไปถกเถียง อย่างนั้นก็ไม่มีประโยชน์นะ

    ฝึกสงบใจให้ได้บ่อย ๆ แล้วอะไร ๆ มันก็จะค่อย ๆ ชัดเจนขึ้นเอง ถึงตอนนั้นจะเริ่มมีจุดให้เรียนรู้ต่อไปเอง อย่าใจร้อนก็พอ..
     
  19. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ไม่มีอะไรมากมาย
    แต่ลองกลับไปฟังคำสอนหลวงปู่ดูลใหม่ ว่า ท่านกล่าวอย่างที่คุณกลายแก้วว่าจริงไหมตรงกันไหม

    แล้วก็ มองดูที่ตัวเองว่า


    การฟังพระเทศน์
    1.เราตั้งใจฟังหรือเปล่า
    2.เราจำฟังคำที่พระท่านเทสน์ได้ถูกไหม
    3.เราทำตามคำที่เราจำได้จากพระเทสน์ได้หรือไม่และต่อเนื่อกันอย่างยิ่งยวดได้หรือเปล่า




    เอาเฉพาะแค่ว่า เราจำคำพระท่านเทศน์สอนได้หรือเปล่า แค่นี้ก็ลองถามตัวเองดู ถ้ายังไม่แน่ กลับไปฟังพระท่านเทศน์ใหม่
     
  20. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    มันจะเป็นประโยชน์มาก หากไม่กล่าวคำหรือปรัชญาหล่อๆ

    แต่แนะแนววิธีการฝึก ว่ามั๊ย
     

แชร์หน้านี้

Loading...