กรรมฐานสำหรับเทวดา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย mongkolsak, 4 มีนาคม 2015.

  1. attasade

    attasade เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    342
    ค่าพลัง:
    +2,554
    นาน ๆ ทีจะเห็นคุณ nopphakan หลุดนะครับ 55+
     
  2. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,430
    ค่าพลัง:
    +35,010
    แห๋มๆ..พอขำๆ แค่พอรู้อะไรๆและก็จบ..
    แบบวัยรุ่น คับ ๕๕๕

    ปล.พอดีเคลียร์กับที่ถามนอกรอบไปแล้วคับ..
     
  3. เทพบุตรลั้ลลาลั้ลลั้ลลาาา

    เทพบุตรลั้ลลาลั้ลลั้ลลาาา เพื่อมวลมนุษย์แลสรรพสัตว์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    872
    ค่าพลัง:
    +1,936
    เข้าใจว่า นอกจากมหาภูตรูป4 และอุปาทายะรูปแล้ว
    ยังมีรูปปรมัติอีกนะครับ รูป สัทรูป คันธรูป รสรูปฯ.
     
  4. LetItGo

    LetItGo สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2013
    โพสต์:
    9
    ค่าพลัง:
    +22
    เทวดาบนสวรรค์ทั้ง 6 ชั้น เจริญกรรมฐานได้ 29 กองครับ
    ยกเว้นอาหาเรปฏิกูลสัญญาณ 1 และอสุภะกรรมฐาน 10 เพราะกายทิพย์ของเทวดา
    อันเสวยวิบากอันเป็นกุศลถ่ายเดียวนั้น มีความปราณีต
    และไม่มีสภาพที่จะทำอสุภะสัญญาให้บังเกิดขึ้นได้

    อย่างไรก็ดี ในท้ายที่สุดของกรรมฐานทั้งปวงนั้นแล้ว
    ต้องรวมลงเข้าสู่ไตรลักษณ์เพื่อเดินวิปัสสนาปัญญา
    จนสามารถยังวิมุตติให้เกิดขึ้นเป็นผลได้ (ละสังโยชน์)

    - สัตว์ในกามภพทั้งหมด (ซึ่งจุติด้วยยังมีกามธาตุ)
    ได้แก่ นรก, เปรต, อสุรกาย, สัตว์เดรัจฉาน,
    มนุษย์, เทวดาทั้ง ๖ ชั้น, รูปพรหมทั้ง ๑๖ ชั้น (ยกเว้นอสัญญีฯ)
    ล้วนมีขันธ์ ๕ ครบ
    แต่ความหยาบละเอียดของขันธ์ ๕ ต่างกันตามภพภูมิ
    แม้ความปราณีตในกายทิพย์(อทิสมานกาย) ของเทวดาแต่ละภูมิ
    ก็มีความหยาบละเอียดแตกต่างกัน

    - อสัญญสัตตาพรหม (พรหมลูกฟัก) มีเพียงขันธ์เดียว คือ รูปขันธ์
    เพราะอำนาจกำลังของฌานสมาบัติข่มนามขันธ์ไว้ (นามขันธ์ทั้ง 4 ที่เหลือ)
    ที่นามดับในขณะนั้น ไม่ใช่เพราะหมดกิเลส
    แต่เพราะมี "ตัณหา" อยากในการดับนามอย่างยิ่งยวด
    ด้วยอาจเห็นโทษของการมีอยู่ของนาม
    แต่พยายามข่มดับนามอย่างผิดวิธีด้วยกำลังสมาธิ มิได้เกิดจากปัญญาญาณ
    วิบากนั้นเลยส่งให้อยู่ภาวะดั่งถูก Freeze แช่แข็งไว้
    แม้ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าก็ไม่สามารถไปโปรดได้

    อีกทั้ง เหล่าพระโพธิสัตว์ทั้งหลายจะไม่จุติในภูมินี้อีกด้วย
    (ถือว่าเป็น 1 ในฐานะแห่งความอาภัพ 18 ประการ ที่นิยตโพธิสัตว์จะไม่ไปจุติ)

    - ส่วนอรูปพรหมทั้ง ๔ ชั้น มี ๔ ขันธ์ ขาดรูปขันธ์




    ผู้ปฏิบัติบางท่าน เมื่อยังทิพยจักษุให้เกิดขึ้น จนสามารถเริ่มเห็นอทิสมานกาย
    ของเหล่ากายละเอียดเหล่านี้ ท่องเที่ยวในกามภูมิเหล่านี้
    ใหม่ๆ จึงมักจะเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่านั้นเป็นจิตของสัตว์ในภพภูมิเหล่านั้น
    แท้ที่จริงนั้น "กายทิพย์"(รูปขันธ์) กับนามขันธ์ (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณขันธ์) เป็นคนละส่วนกัน

    แม้กลุ่มทางตะวันตกที่ฝึกเปิดจักระ จนเกิดตาที่ 3 สามารเห็นอ่อร่าของมนุษย์ด้วยตาเปล่า
    ก็ยังมีกลุ่มที่เข้าใจคลาดเคลื่อนว่า ออร่านั้น คือ จิต (นาม) หรือเข้าใจว่าคือ Soul (รูปจิตวิญญาณที่เที่ยงแท้)

    ในทางพระพุทธศาสนา ถือว่า Soul (วิญญาณแท้) ไม่มีอยู่จริง
    แต่อยู่ในลักษณะของ Mind หรือภาวะของการมีอยู่เป็นขณะ
    หากแต่มีการสืบเนื่องส่งต่อของกิเลส กรรม วิบาก ไปด้วย

    แท้จริงแล้ว จิตนั้น เป็นนามธรรม
    เป็นสภาพที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเนื้อ หรือตาทิพย์ได้
    ส่วนที่เห็นได้ด้วยทิพยจักษุนั้น เป็นเพียงอทิสมานกาย (รูปขันธ์ละเอียด)
    ซึ่งแปรเปลี่ยนอย่างรวดเร็วตลอดเวลาไปตามสภาวธรรมของจิต (นามขันธ์)

    ฉะนั้น นามขันธ์ จะไม่สามารถ "ถูกเห็น" ได้ด้วยมังสจักษุ(ตาเนื้อ) หรือทิพยจักษุเลย
    แต่สามารถ "ถูกรู้" ได้ ผ่านความรู้สึกตัว (วิญญาณขันธ์)
    และร่วมนามขันธ์อื่นที่เหลือ




    ปัญญาญาณของเวไนยสัตว์ในระดับของสาวกภูมิญาณนั้นค่อนข้างคับแคบ
    แม้พระอรหันต์บางประเภทก็ยังไม่สามารถจะรู้แจ่มแจ้งได้
    หรือแม้แต่ระดับอัครสาวก ผู้พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาญาณ
    ก็ยังมีความเข้าใจผิดในองค์ความรู้ภาคสมมติบัญญัติหลายอย่างได้
    (แต่ในเรื่องการละสังโยชน์ ละกิเลสนั้น ย่อมเห็น เข้าถึงเหมือนกัน)
    ขอบเขตความรู้บางเรื่องท่านจึงจัดอยู่ในกลุ่มของอจิณไตย

    ยิ่งผู้มีกิเลสนั้น การรู้คลาดเคลื่อนย่อมเกิดขึ้นได้ทุกขณะ
    หากมีผู้วิเศษ 5 คน มีความรู้เห็น 5 ระดับ ที่แตกต่างกัน
    มั่นใจ เชื่อมั่นในญาณความรู้ของตน โดยไม่อาศัยหลักเกณฑ์ที่ถูกตรง
    จากพระพุทธเจ้า ผู้เป็นสัพพัญญูรู้แจ้งโลกแล้ว
    ก็อาจทำให้เกิดสำนัก ความเชื่อมากมายที่ล้มล้างคำสอนที่ถูกตรง

    และย่อมยากที่จะวินิจฉัยให้รู้ได้ว่า คำสอนแบบไหนที่ถูกตรงถึงแล้วจริงๆ
    แบบไหนยังไม่ถึงหรืออยู่ระหว่างทาง หรือแบบไหนที่สอนผิด
    (เช่นในอดีตที่เคยเกิดเรื่องบางสำนักเจริญมิจฉาสมาธิด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
    จนเกิดวิปัสสนูปกิเลส และเข้าใจว่าเป็นมรรคผล เป็นทางที่ถูก)

    เหตุนี้ การมีปริยัติเป็นแนวทางตรวจสอบนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญ
    ทั้งนี้ก็มิได้มีไว้เพื่อให้ยึดติด เป็นหนอนแทะกระดาษ
    เพียงแต่เป็นแผนที่ประกอบไปเท่านั้น
    การเทียบเคียงผลของการปฏิบัติที่ได้ผล
    ตรวจสอบกับหลักปริยัติ จึงเป็นสิ่งที่เราชาวพุทธควรกระทำยิ่ง

    และจริงๆ แล้ว คำว่า "ปริยัติ" นั้น
    ผู้ที่กล่าวคนแรก ก็คือพระพุทธเจ้านั่นเอง
    หาใช่นักปราชญ์ หนอนหนังสือรุ่นหลังมาเขียนขึ้นไม่

    ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ก็เพื่อปรารถนาให้เพื่อนนักปฏฺิบัติ
    ไม่พึงละเลยการนำผลจากการปฏิบัติ
    มาตรวจสอบเทียบเคียงกับหลักปริยัติ
    อันเป็นคำสอบหลักของพระบรมศาสดาเท่านั้น

    แต่หากไปยึดมั่น ติดในปริยัติ
    เสียจนละเลยกิจในการปฏิบัติ
    ก็ย่อมเป็นดั่งเต่าแบกตำรา
    ที่ไม่สามารถรู้แจ้งในสิ่งที่ตนแบกเช่นกัน

    แผนที่ ที่พระพุทธเจ้าให้ไว้ก็ควรมี
    การพากเพียรเดินทางก็ควรกระทำอย่างต่อเนื่อง
    จึงจะสามารถเข้าใกล้จนเข้าถึงหลักคำสอนที่ถูกตรง
    ตามหลักพระพุทธศาสนาได้
    คำสอนอันเหล่าสาวก 4 คู่ 8 จำพวก
    ได้กระทำให้ถึงแล้ว ให้แจ้งแล้วโดยหมดข้อสงสัย

    ด้วยความปรารถนาดี


    ------------------------------------

    วิชชมานาวิชชมานวาร

    [๑๐๙๕] ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด ขันธ์เท่าไร ย่อมเกิดปรากฏ ฯลฯ
    จิตเท่าไร ย่อมเกิดปรากฏ
    ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด ขันธ์ ๕ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก
    ...
    ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด อายตนะ ๑๑ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์จำพวกไหน

    ในขณะที่เกิด อายตนะ ๑๑ คือ จักขายตนะ รูปายตนะ โสตายตนะ
    ฆานายตนะ คันธายตนะ ชิวหายตนะ รสายตนะ กายายตนะ โผฏฐัพพายตนะ
    มนายตนะ ธัมมายตนะ ย่อมเกิดปรากฏแก่ กามาวจรเทวดา มนุษย์สมัยปฐมกัป
    เปรต อสุรกาย สัตว์ดิรัจฉาน สัตว์(ใน) นรก ที่เป็นอุปปาติกสัตว์ ซึ่งมีอายตนะ
    บริบูรณ์ ในกามธาตุ ในขณะที่เกิดอายตนะ ๑๑ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์เหล่านี้


    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕
    บรรทัดที่ ๑๔๑๘๒ - ๑๔๔๘๒. หน้าที่ ๖๐๘ - ๖๒๑.
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=35&A=14182&Z=14482&pagebreak=0
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 เมษายน 2015

แชร์หน้านี้

Loading...