กรรมของคนกินเนื้อหมา...

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย apichai53, 22 ธันวาคม 2009.

  1. apichai53

    apichai53 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    630
    ค่าพลัง:
    +2,261
    สุนัข อาหารรับประทานแก้หนาว? (จริงหรือ... ??)

    อดีตพ่อค้าเนี้อหมาข้ามชาติระบุ ชาวเวียตนามบางกลุ่มเชื่อ การได้กินเนื้อหมาขนสีเหลืองทำให้เป็นศิริมงคล ตลาดส่งออกคึกคักสั่งจากท่าแร่ เดือนละ 3 หมื่นตัว

    ชาวบ้านในพื้นที่ จ.สกลนคร และนครพนม ที่นิยมรับประทานเนื้อสุนัขเนื่องจากเชื่อว่าช่วยคลายหนาวในช่วงอากาศเย็น บรรดาพ่อค้าแม่ค้า ส่งสุนัข ออกไปยังประเทศเวียดนาม เพื่อนำไปทำเป็นอาหารรับประทานแก้หนาว ตามความเชื่อของชาวเวียดนามอีกด้วย โดยจากการเปิดเผยของอดีตผู้ค้าสุนัขรายหนึ่ง ในจังหวัดนครพนม บอกว่า เนื่องจากในช่วงหน้าหนาวชาวเวียดนามจะนิยมบริโภคเนื้อสุนัขแก้หนาวเพิ่มขึ้น ถ้าเป็นช่วงหน้าร้อนหน้าฝนยอดส่งสุนัขข้ามโขงเฉลี่ยเดือนละ 1.5 หมื่นตัวและช่วงหน้าหนาวจะมีคำสั่งซื้อประมาณเดือนละ 30,000 ตัว ทำให้ธุรกิจการค้าสุนัขข้ามชาติ ไทย-ลาว-เวียดนาม ตามแนวลำน้ำโขงเขต อ.บ้านแพง และ อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม คึกคักมาก

    "ช่วงนี้นี้สุนัขขนสีเหลืองจะเป็นที่ต้องการมากและมีราคาแพงเนื่องจากใกล้ถึงเทศกาลตรุษจีน ซึ่งชาวเวียดนามเชื่อว่าถ้าได้รับประทานเนื้อสุนัขสีเหลืองจะเป็นศิริมงคล โดยราคาแต่ละตัวตกประมาณตัวละ 4,000-4,500 บาท" อดีตพ่อค้าสุนัขรายเดิม กล่าว

    การค้าสุนัขข้ามชาติจะมีพ่อค้าไทย-ลาว-เวียตนาม ร่วมมือกันโดยกลุ่มผู้ค้าสุนัขรายใหญ่ซึ่งมีเพียงกลุ่มเดียว มีศูนย์กลางที่บ้านท่าแร่ จ.สกลนคร และกลุ่มผู้ค้าสุนัขรายย่อยอีก 4 กลุ่ม อยู่ในเขต อ.กุสุมาลย์ อ.โพนสวรรค์ อ.นาแก อ.ศรีสงครามอ.ธาตุพนม และใน จ.มุกดาหาร โดยผู้ค้าสุนัขรายย่อยจะเชื่อมถึงกันกับกลุ่มใหญ่บ้านท่าแร่ ซึ่งเป็นผู้หญิงชื่อ ”แดง” บริหารคล้ายรูปแบบสหกรณ์ขนส่ง มีรถ 20 คัน แหล่งใหญ่เดิมทีอยู่ในภาคอีสาน แต่ในปัจจุบันจะถูกกว้านมาจาคทางภาคกลางแถบ จ. ลพบุรี ราชบุรี นครสวรรค์ เพรชบูรณ์ จันบุรี กำแพงเพชร โดยในกรุงเทพจะไม่มีการเข้าไปแลกซื้อสุนัข เพราะคนรักสัตว์เยอะ ราคาส่งถึงจุดรับซื้อบ้านท่าแร่ จะเป็นราคาเหมารวมตัวละ 200-250 บาท โดยสุนัขตัวเล็กจะส่งขายปลีกตัวละ 300-350 บาท ส่งตามหมู่บ้านในฝั่งประเทศไทยเพื่อชำแหละขายเป็นชิ้นแยกส่วนขาหลัง 60-80 บาทขาหน้า 50-70 บาท อก 60 บาท หัวพร้อมตีน 50-80 บาท ไส้ 40 บาท กระเพาะ 40 บาท

    ส่วนสุนัขที่ตัวใหญ่และสมบูรณ์จะถูกคัดส่งไปขายประเทศเวียตนาม ราคาที่บริเวณท่าลงน้ำโขงในเขตอำเภอบ้านแพงโดยพ่อค้าชาวลาวซึ่งมีเพียงกลุ่มเดียวมารับช่วงซื้อตัวละ 500-600 บาท จ่ายเป็นเงินสดระหว่างพ่อค้าไทยกับพ่อค้าลาว เมื่อสุนัขลงเรือข้ามไปฝั่งลาวเป็น ต่อไปเป็นหน้าที่ของพ่อค้าชาวลาว ราคาจะเพิ่มขึ้นตัวละ 1,000-1,300 บาท ขนส่งไปตามถนนหมายเลข 13 เข้าสู่จังหวัดชายแดนของประเทศเวียตนาม ราคาสุนัขที่เวียตนามตัวละ 2,000 บาท สุนัขสีดำตัวละ 3,500 บาท ราคาจะเพิ่มขึ้นตามระยะทาง

    พ.ต.ท.สุวิทย์ สังฆะมณี ผบ.ร้อย ตชด.236 เปิดเผยว่า การจะจับยึดสุนัขของขบวนการค้าสุนัขตามแนวลำน้ำโขงลำบากมาก เนื่องจากผู้ค้ามีใบอนุญาตขนส่งสุนัข มีใบรับรองการฉีดวัคซีนและมีฟาร์มถูกต้องกฎหมาย การยึดสุนัขแต่ละครั้งจะทำได้ก็ต่อเมื่อมีการขนสุนัขลงเรือตามความผิดส่งสัตว์ไม่ผ่านพิธีศุลกากรเท่านั้น สำหรับเส้นทางลำเลียงสุนัขออกนอกประเทศนั้นมีหลายเส้นทาง ทั้งที่ อ.บ้านแพง อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม ซึ่งเป็นปลายทางของฝั่งไทยเพื่อไปสู่ประเทศเวียดนาม ระยะทางรวมประมาณ 150 -200 ก.ม. โดยพอข้ามโขงเข้าสู่ประเทศลาวแล้ว สุนัขก็จะถูกลำเลียงทางรถยนต์ตามถนนหมายเลข 13 เขตบริคำไซ สปป.ลาวเข้าสู่จังหวัดชายแดนเวียดนาม เมืองฮาติงห์ เงอาน ก่อนจะเข้าสู่จังหวัดตอนเหนือเข้าสู่ภัตาคาร และร้านอาหารที่คนนิยมรับประทานเนื้อสุนัข"พ.ต.ท.สุวิทย์ กล่าว

    นายชูศักดิ์ พงษ์พานิชน์ หัวหน้าด่านกักกันสัตว์นครพนม เปิดเผยว่า ปัจจุบันสุนัขที่หลายหน่วยงานยึดได้ริมฝั่งโขงเขต อ.บ้านแพง ถูกนำมากักกันไว้ที่นครพนมมี 220 ตัว อยู่หนองคาย 100 ตัว มุกดาหาร 80 ตัว โดยที่นครพนมมีสุนัขเสียชีวิต 24 ตัว จากสาเหตุกัดกันตายและเกิดโรคลำไส้อักเสบ โรคหัดสุนัข โดยสุนัขเหล่านี้จะติดเชื้อมาก่อน เพราะปกติสุนัขที่ชาวบ้านเลี้ยงจะฉีดเฉพาะวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า ขณะที่วัคซีนโรคลำใส้อักเสบและโรคไข้หัดสุนัขจะมีราคาแพง

    “ผมคิดว่าการจับยึดสุนัขไม่สามารถหยุดขบวนการค้าสุนัขข้ามโขงได้อย่างถาวรถึงแม้เราจะส่งเจ้าหน้าไปเฝ้าจับกุมแต่เมื่อเราเผลอเขาก็ขนการหยุดขบวนการค้าสุนัขได้ ต้องเริ่มที่พฤติกรรมการเลี้ยงสุนัขของชาวบ้านว่ามีกำลังเลี้ยงได้กี่ตัวพร้อมการคุมกำเนิดสุนัขเมื่อเลี้ยงแบบทิ้งขวางจำนวนมากเกินไปก็เกินกำลังสุดท้ายก็เข้าทางขบวนการค้าสุนัขถ้าไม่มีสุนัขแล้วเขาจะเอาสุนัขที่ไหนไปขาย" นายชูศักดิ์ กล่าว

    ที่มา http://news.sanook.com/crime/crime_71266.php
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 มกราคม 2010
  2. apichai53

    apichai53 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    630
    ค่าพลัง:
    +2,261
    ...แจ้งความคืบหน้า ร่าง พรบ. ป้องกันการทารุณกรรมสัตว์...

    ความเป็นมาของร่างพระราชบัญญัติป้องกันทารุณกรรมสัตว์

    นับตั้งแต่เริ่มรณรงค์ต่อต้านการค้าเนื้อหรือหนังสุนัขและแมวครั้งแรกเมื่อปลายปี พ.ศ. 2538 และอดีตนายกรัฐมนตรี ชวน หลีกภัย มีบัญชาเมื่อมิถุนายน 2543 ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ยกร่างพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ตามที่สมาคมพิทักษ์สัตว์(ไทย)เสนอ มีการแต่งตั้งกรรมการยกร่างขึ้นมาใหม่ถึงสองครั้ง (พ.ศ.2543และ พ.ศ.2547) มีประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ควบคุมการค้าสุนัขและแมว พ.ศ.2546จวบจนบัดนี้ พ.ศ. 2550 เป็นเวลาล่วงเลยมาถึงสิบเอ็ดปี ก็ยังมีการค้าเนื้อและหนังสุนัขอยู่ แต่ยังไม่มีพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณสัตว์

    สมาคมพิทักษ์สัตว์(ไทย)ได้รณรงค์โครงการต่อต้านการค้าเนื้อและหนังสุนัขอีกครั้ง เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2543 ครั้งนี้เข้าไปลุยถึง บ้านท่าแร่ จังหวัดสกลนคร โดยตรง ได้รับการตอบรับเป็นที่น่าพอใจและนำเสนอรัฐบาลเพื่อยืนยันว่า แม้แต่คนสกลนครเองก็ไม่เห็นด้วยกับการค้าเนื้อค้าหนังสุนัข และส่วนใหญ่ไม่บริโภคเนื้อสุนัข แต่ต้องพลอยมาเสียชื่อเพราะกลุ่มผลประโยชน์ไม่กี่ร้อยคนในท่านแร่ ซึ่งในจำนวนนั้นมี อบต. และ นักการเมืองท้องถิ่นรวมอยู่ด้วย การห้ามปรามจึงเป็นไปแทบไม่ได้ มีวุฒิสมาชิกและสมาชิกสภาในพื้นที่บางท่านออกมาให้ข้อมูลอย่างตรงไปตรงมากับสมาคมฯว่า “อย่าหวังให้ผู้แทนในพื้นที่แก้ไขปัญหาเพราะอยู่ใกล้ตัวเกินไปผุ้มีผลประโยชน์ส่วนใหญ่ก็เป็นฐานเสียงของเหล่าผู้แทนทั้งนั้น ข้าราชการที่มีหน้าที่ก็อยู่ในอาณัติของคนกลุ่มนี้ การแก้ปัญหาหมาท่าแร่ต้องมาจากเบื้องบนหรือรัฐบาลโดยตรง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงจะมีกำลังใจหรือฝใช้คำสั่งเป้นข้ออ้างกับผู้มีอิทธิพลได้...” พิจารณาแล้วน่าจะจริง เพราะเมื่อ พ.ศ. 2546 ผู้ว่าฯสกลนครได้ประกาศห้ามแต่ถูกอดีต ส.จ.และ ส.ส.นำม็อบผู้ค้าประท้วงจนต้องยกเลิกคำสั่งไป ..อ่านต่อ..

    ในส่วนของ พรบ ป้องกันการทารุณสัตว์และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ ก็มีอุปสรรคคล้ายกัน กล่าวคือ พรบ นี้เป็นผลมาจากการรนรงค์ต่อต้านการค้าเนื้อค้าหนังสุนัข และการยื่นถวายฎีกาของสมาคมพิทักษ์สัตว์(ไทย) ข้าราชการที่เกี่ยวข้องจึงมีความอึดอัดที่จะระบุว่า “ห้ามบริโภคสุนัขและแมว” ตามที่สมาคมฯเสนอ โดยให้เหตุผลว่า “ไม่เหมาะที่จะเจาะจงเฉพาะสุนัขและแมวหรือแม้แต่คำว่าบริโภคสัตว์เลี้ยง เพราะอาจเป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพหรือวัฒนธรรมของคนในท้องถิ่น...........” เป็นเหตุผลให้สมาคมพิทักษ์สัตว์(ไทย)ต้องทำโครงการในสกลอีกครั้งเพื่อยืนยันว่า“การบริโภคสุนัขไม่ใช่วัฒนธรรมของไทยหรือสกลนคร” แต่ยังไม่ทันจะได้ข้อสรุปก็มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างกรมปศุสัตว์เป็นผลให้ร่างที่ดำเนินการอยู่ถูกฉีกทิ้งมีการนำเรื่องของสัตว์ทดลองเข้ามาผนวกไว้ท้ายชื่อกฎหมาย ต้องถกเถียงกันอีกรอบว่า ปัญหาสัตว์ทดลองในประเทศไทยไม่ได้รุนแรงและกำลังมีดำริจะร่าง พรบ สัตว์ทดลองอยู่แล้ว ไม่สมควรยกขึ้นมาเป็นประเด็นหลักให้เกิดการไข้วเขว สมาคมพิทักษ์สัตว์(ไทย)แพ้โหวต ร่าง พรบ ป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ การจัดสวัสดิภาพสัตว์และสัตว์ทดลอง จึงได้รับการเสนอให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการ แล้วให้กรมปศุสัตว์นำกลับไปทบทวนงบประมาณและเนื้อหาให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล

    ขณะนั้นสมาคมฯกำลังเตรียมพร้อมรณรงค์คัดค้านร่างดังกล่าวเพื่อเสนอร่างฉบับประชาชนและเริ่มล่ารายชื่อ พอดีกับ พ.ศ. 2546 มีข่าวการค้าสุนัขรุนแรงขึ้นมาอีก สมาคมพิทักษ์สัตว์(ไทย)จึงได้นำผู้แทนกลุ่มและองค์กรสัตว์เข้าพบ นาย สรอรรถ กลิ่นประทุม รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรขณะนั้น ท่านมีคำสั่งให้กรมปศุสัตว์จัดทำ ข้อบัญญัติการค้าสุนัขและแมวขึ้นมาทันที ยังไม่ทันแล้วเสร็จก็ต้องมาถกกันในประเด็นกินหมาอีก ถึงขั้นนำเรื่องเข้าไปให้กฤษฎีกาตีความว่า “กรมปศุสัตว์มีอำนาจห้ามบริโภคสุนัขและแมวหรือไม่” ผลก็คือ หากใช้ พรบ โรคระบาดสัตว์เป็นฐาน ก็ห้ามไม่ได้ เพราะไม่มีข้อพิสูจน์ว่า มีการกินหมาหินแมวแล้วตาย จากนั้นข้อบัญญัติดังกล่าวก็หายเงียบเข้ากลีบเมฆไปเพราะถูกเรื่องไก่ชนกับไข้หวัดนกมาแทนที่ สมาคมพิทักษ์สัตว์(ไทย)จึงได้ทำหนังสือขอให้รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมพิจารณาประเด็นดังกล่าวแทน แต่เปลี่ยนรัฐมนตรีมาสามท่านไม่เคยมีใครตอบรับ ชวนให้คิดว่าผู้บริหารบ้านเมืองอาจเห็นเรื่องกินหมาและการทารุณสัตว์ไม่มีผลต่อวัฒนธรรม เรื่องห้ามใส่สายเดี่ยวสำคัญกว่า

    อย่างไรก็ดี เมื่อช่วงปี พ.ศ. 2548 กรมปศุสัตว์ได้เชิญให้ สมาคมพิทักษ์สัตว์(ไทย)ให้เข้าร่วมคณะกรรมการกลั่นกรองกฎหมาย ซึ่งทุกวันนี้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น พรบ ป้องกันการทารุณสัตว์และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ และอยู่ระหว่างพิจารณาข้อเสนอของสมาคมขอให้บรรจุข้อ “ห้ามการบริโภคสัตว์ประเภท ลิงชะนี ช้าง สุนัขและแมว”บังเอิญให้มีการปฏิวัติล้มรับาล เปลี่ยนรัฐมนตรี และอธิบดีกรมปศุสัตว์ แถมยังมีเรื่องไข้หวัดนกและวัคซีนไก่ชนเข้ามาเสริม การพิจารณากฎหมายสัตว์ทั้งหมดจึงมีอันต้องหยุดชะงัก

    สมาคมพิทักษ์สัตว์(ไทย)ได้ขอเข้าพบหัวหน้าคณะปฏิรูป และเจ้ากระทรวงที่เกี่ยวกับสัตว์ทุกกระทรวงทันที่ที่เข้ารับตำแหน่ง ทุกท่านให้เข้าพบมีเพียงรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ไม่เคยตอบ ขณะนี้กำลังทำหนังสือทวงคำตอบอยู่ไม่ทราบจะมีผลอย่างไร ก่อนหน้านั้นได้ทราบว่ามีความพยายามเสนอร่างกฎหมายป้องกันการทารุณสัตว์อีกฉบับ ชวนให้สาธารณชนสงสัยว่าตกลงมีกี่ร่างแน่ จึงขอชี้แจงไว้ ณ ที่นี้ว่า ปัจจุบันมีร่างกฎหมายป้องกันการทารุณสัตว์ทั้งหมด 3 ฉบับ ของกรมปศุสัตว์หนึ่งร่างชื่อ พรบ ป้องกันการทารุณสัตว์และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ ของ สมาคมพิทักษ์สัตว์(ไทย)หนึ่งร่างอยู่ระหว่างพิจารณารวมกัน และของสมาคมป้องกันการทารุณกรรมสัตว์หนึ่งร่าง จึงน่าจะนำมาเข้าร่วมพิจารณาพร้อมกันเพื่อความถูกต้อง เพราะการล่ารายชื่อเสนอกฎหมายกำหนดให้ต้องกระทำตามแบบฟอร์มของรัฐสภา คือ มีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งอย่างน้อยห้าหมื่นชื่อ ทุกชต้องมีสำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประชาชนที่ตรงกันและยังไม่หมดอายุ เป็นผู้ที่ไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งทุกครั้งไม่ขาด

    สมาคมพิทักษ์สัตว์(ไทย) จึงเห็นว่าจะง่ายกว่าหากทุกคนพร้อมใจกันส่งไปรษณียบัตรมา ระบุ “เราต้องการ พรบ สวัสดิภาพสัตว์และการป้องกันการทารุณสัตว์เดี๋ยวนี้” สมาคมพิทักษ์สัตว์(ไทย) อาสาจะนำไปมอบให้ถึงมือ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ไม่จำเป็นต้องรอครบห้าหมื่นชื่อ ไม่จำเป็นต้องตรวจสอบสิทธิหรือเอกสาร ไม่จำเป็นต้องรอรัฐธรรมนูญซึ่งอาจไม่เปิดช่องให้มีกฎหมายสัตว์ด้วยซ้ำไป

    ท่านที่ต้องการทราบรายละเอียดหรือมีความคิดเห็นหรือข้อสงสัยสามารถติดต่อได้ที่ สมาคมพิทักษ์สัตว์(ไทย) เลขที่ 45 ม.4 ถ. สุขาภิบาล 3 เขตและแขวงสะพานสูง กทม. 10240 หรือ อีเมล์ thaiaga@hotmail.com,thaiaga@gmail.com

    *******************************************************************************
    ที่มา http://www.thaiaga.org/AnimalLaw_TH.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 มกราคม 2010
  3. apichai53

    apichai53 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    630
    ค่าพลัง:
    +2,261
    ครม.พิจารณาอนุมัติกฎหมายป้องกันการทารุณสัตว์

    Thursday, 16 April 2009 10:39 -- ทั่วไป

    กรุงเทพฯ--16 เม.ย.--สมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย
    <O:p
    ...กว่า 20 ปีที่รอคอย ในที่สุดคณะรัฐมนตรีก็มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ...... ซึ่งเป็นฉบับที่สมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย (TSPCA) และกรมปศุสัตว์ได้บูรณาการรวมร่างนำเสนอกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เมื่อปลายปี 2551 ซึ่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว ถ้าผ่านกระบวนการพิจารณากฎหมายของรัฐสภาแล้ว ก็จะเป็นกฎหมายป้องกันการทารุณกรรมและจัดสวัสดิภาพสัตว์ฉบับแรกในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย

    ...นาย<?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com[​IMG]</st1:personName>สวรรค์ แสงบัลลังค์ เลขาธิการสมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย (TSPCA) ได้กล่าวว่า นับเป็นข่าวดีเบื้องต้นสำหรับประชาชนผู้รักสัตว์ในประเทศ เพราะในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 มีนาคม ที่ผ่านมา ได้มีการพิจารณารับหลักการ พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าว ซึ่งทางสมาคมฯ ได้ร่วมมือกับกรมปศุสัตว์ได้นำร่างเสนอเข้าสู่การพิจารณาอนุมัติของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยมีองค์กรภาครัฐและเอกชน สถาบันการศึกษาและตัวแทนจากภาคประชาชนผู้รักสัตว์กว่า 60 องค์กรทั่วประเทศเข้ามีส่วนร่วม

    โดยสภาทนายความช่วยพิจารณากลั่นกรองฉบับร่างในส่วนของสมาคมฯ และต่อมาได้รับการบูรณาการรวมเป็นร่างเดียวกันกับของกรมปศุสัตว์พร้อมได้รับความเห็นชอบจากกระทรวง ทบวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก่อนนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีและได้รับการพิจารณาอนุมัติในที่สุด ซึ่งขั้นตอนต่อไปก็จะเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา

    เลขาธิการสมาคมฯ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ภาพลักษณ์ของประเทศไทยในระยะกว่า 10 ปีที่ผ่านมา ได้มีสภาพการทารุณสัตว์เป็นที่กล่าวขานของนานาประเทศทั่วโลก นับตั้งแต่การลักลอบค้าสัตว์ป่าในประเทศไทยและประเทศใกล้เคียง โดยใช้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการค้าและต่อมาก็มีการกีดกันทางการค้าในกลุ่มประเทศอียูอันเนื่องจากผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ของไทยไม่ได้มาตรฐานสากลอันเนื่องจากกระบวนการจัดการสวัสดิภาพสัตว์ไม่ได้มาตรฐาน

    ซึ่งรวมตั้งแต่การเลี้ยงสัตว์ การใช้งานสัตว์ การขนส่งสัตว์ การฆ่าและการชำแหละ ฯลฯ รวมตลอดถึงสัตว์เลี้ยงและสัตว์บ้านโดยทั่วไป ก็ยังไม่มีกฎหมายใดๆ ควบคุมดูแลจนก่อให้เกิดสภาพการทารุณสัตว์ในรูปแบบต่าง ๆ จนปัจจุบันได้มีสุนัขและแมวถูกทอดทิ้งและถูกกระทำทารุณนับเฉพาะกรุงเทพฯ มีมากกว่า 300,000 ตัว ซึ่งไม่นับเมืองอุตสาหกรรมและเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญอื่น ๆ ของประเทศ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขอนามัยและสภาพแวดล้อมของชุมชนที่เกิดจากสัตว์จรจัดมากมาย อาทิ โรคพิษสุนัขบ้า โรคฉี่หนู การก่อมลพิษในชุมชน อุบัติเหตุทางรถยนต์และปัญหาด้านสาธารณสุขอื่น ๆ

    นอกจากนี้ยังมี รายงานข่าวและการร้องเรียน จากทุกส่วนของประเทศและองค์กรพิทักษ์สิทธิสัตว์ต่างประเทศเกี่ยวกับสภาพการทารุณสัตว์ในแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ๆ ของไทยทั้งในสวนสัตว์ภาคเอกชนและของรัฐ ตลอดถึงการนำสัตว์ออกมาใช้ในกิจกรรมท่องเที่ยวและการหารายได้ให้ได้เห็นภาพการทารุณสัตว์อย่างไม่มีการจบสิ้นดังเช่นปัญหาของช้างในปัจจุบัน

    นาย<st1:personName ProductID="สวรรค์ แสงบัลลังค์" w:st="on">สวรรค์ แสงบัลลังค์</st1:personName> เลขาธิการสมาคมฯ ได้กล่าวสรุปถึงสาระสำคัญของ พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและ จัดสวัสดิภาพสัตว์ว่า

    - เป็น พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและพัฒนาสวัสดิภาพสัตว์โดยครอบคลุมสัตว์ 4 ประเภท กล่าวคือ สัตว์บ้าน / สัตว์เลี้ยง สัตว์เศรษฐกิจ (ปศุสัตว์) สัตว์ป่า (สัตว์สงวน / สัตว์คุ้มครอง สัตว์ป่าทั่วไป (ทั้งสัตว์น้ำและสัตว์บก) ตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535) และสัตว์ทดลอง

    - มีนิยามคำว่า ทารุณกรรมชัดเจน (โดยกำหนดว่าทำอย่างไรเรียกว่าทารุณ อย่างไรไม่เรียกว่าทารุณ) มีข้อกำหนดให้มี

    1) การจัดตั้งสถานสงเคราะห์สัตว์เพื่อจัดระเบียบสัตว์จรจัดและสัตว์ที่ถูก กระทำทารุณทั่วประเทศ

    2) กำหนดบทบาทหน้าที่และมอบอำนาจให้องค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) ด้านการป้องกันการทารุณสัตว์ให้สามารถดำเนินการทางกฎหมายเกี่ยวกับผู้ละเมิดสิทธิสัตว์ได้

    3)กระจายอำนาจการบังคับใช้กฎหมายให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพ ทั่วถึงและ

    4) มีการจัดตั้งกองทุนสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมการป้องกันการทารุณสัตว์และคุ้มครองสวัสดิภาพสัตว์ขึ้นในประเทศไทยมีข้อกำหนดขอบเขตและประเภทการทารุณกรรมสัตว์ไว้อย่างชัดเจนตามมาตรฐานสากลทั้งสัตว์บ้าน สัตว์เศรษฐกิจ สัตว์ป่า และสัตว์ทดลอง (หมวด 6 ส่วนที่ 1 มาตร 45 ) มีข้อกำหนดขอบเขตและประเภทการจัดสวัสดิภาพสัตว์ไว้อย่างชัดเจนตามมาตรฐานสากล อาทิ การเลี้ยงสัตว์ การฝึกและการใช้งานสัตว์ การขนส่งสัตว์ การควบคุมและกักขังสัตว์ การฆ่าและชำแหละสัตว์ การนำสัตว์มาใช้ในงานแสดง การโฆษณา และใช้เป็นรางวัล ฯลฯ (มาตรา 46,47 และ 48)

    - มีข้อกำหนดให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการควบคุมและส่งเสริมมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ เพื่อให้มีการพัฒนาสวัสดิภาพสัตว์อย่างจริงจังและต่อเนื่องขึ้นในประเทศ เพื่อส่งเสริมเกษตรอุตสาหกรรม การส่งออกซึ่งจะเป็นการสนับสนุนการพัฒนาสวัสดิภาพทางสังคมและสิ่งแวดล้อมของประเทศ (หมวด 8 /ส่วนที่ 2 มาตรา 64,65,66,67,68,70) มีบทกำหนดโทษการละเมิดสิทธิสัตว์ การกระทำทารุณต่อสัตว์และการไม่จัดให้มีสวัสดิภาพสัตว์

    โดยบทลงโทษมีความชัดเจนและเหมาะสมเป็นไปตามหลักสากลสามารถใช้ทดแทนประมวลกฎหมายอาญาเดิมที่ระบุการลงโทษที่เพียงบางเบา ซึ่งไม่สามารถปรามผู้กระทำผิดได้ กล่าวคือ ลงโทษจำคุกสูงสุดเพียง 1 เดือน ปรับสูงสุด 1 พันบาท (มาตรา 381 และ 382) ส่วนร่าง พ.ร.บ.ใหม่มีการกำหนดบทลงโทษหรือปรับอย่างต่ำ 10,000 บาท จำคุก 6 เดือน จนสูงสุดปรับ ถึง 100,000 บาท จำคุกสูงสุด 5 ปี (หมวด 10 บทกำหนดโทษ : มาตรา 77,78,79,80,81,82,83,84)

    ทั้ง 7 ประเด็นนี้ นับว่ามีความสำคัญยิ่งต่อกระบวนการป้องกันการทารุณกรรมและการพัฒนาสวัสดิภาพสัตว์ที่มีปัญหามายาวนานในประเทศไทย และมีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศนอกเหนือจาการยกระดับทางจริยธรรมของประชาชนที่มีต่อสัตว์ ดังที่มหาตม คานธี อดีตรัฐบุรุษของประเทศอินเดียได้กล่าวว่าความยิ่งใหญ่และความเจริญในจริยธรรมและศีลธรรมของชาติหนึ่งชาติใดนั้น สามารถวัดได้จากพฤติกรรมที่แสดงออกและการปฏิบัติต่อสัตว์

    ****************************************************

    ที่มา ครม.พิจารณาอนุมัติกฎหมายป้องกันการทารุณสัตว์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 มกราคม 2010
  4. apichai53

    apichai53 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    630
    ค่าพลัง:
    +2,261
    ความคืบหน้าล่าสุด พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ....

    กรุงเทพฯ 4 ม.ค.2553 สมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย

    ......จากการเข้าพบอธิบดีกรมปศุสัตว์ นายปรีชา สมบูรณ์ประเสริฐ เมื่อเร็วๆนี้ สมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย(TSPCA) นำโดย นาย สวรรค์ แสงบัลลังค์ เลขาธิการสมาคมฯได้ปรึกษาหารือถึงกิจกรรมเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ ซึ่งทางสมาคมฯ และ กรมปศุสัตว์ ได้ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนร่วมกันมาช้านาน ไม่ว่าจะเป็น เรื่อง สนับสนุนด้านอาหารให้แก่สัตว์ที่ถูกจับจากการส่งออกข้ามลำน้ำโขง และ ณ ด่านกักกันสัตว์, ความร่วมมือรณรงค์ฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าทั่วกรุงเทพฯ ระหว่างกรมปศุสัตว์ กับ กทม ซึ่งอยู่ในช่วงเจรจา. แต่ข่าวสำคัญคงหนีไม่พ้น เรื่องความก้าวหน้าร่าง พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.... ซึ่งสมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย (TSPCA) ร่วมกับกรมปศุสัตว์ได้ร่วมกันนำเสนอได้เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีและปัจจุบันกำลังรอเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยเรื่องนี้ อธิบดีกรมปศุสัตว์ได้เรียก คุณสุเทพ ยิ้มละมุน ผู้อำนวยการฝ่ายนิติกรกรมปศุสัตว์ เข้าพบเพื่อปรึกษาหารือร่วมกับสมาคมฯ

    ซึ่งคุณสุเทพได้แจ้งให้ทราบว่าขณะนี้ร่าง พ.ร.บ. กำลังได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการกฤษฎีกาอยู่ แม้ในวันนี้ ซึ่งได้มีการพิจารณาผ่านไปแล้ว 20 มาตรา จากทั้งหมด 42 มาตรา ซึ่งนับว่าครึ่งต่อครึ่งแล้ว จะติดอยู่ก็เพียงมาตราเกี่ยวกับเรื่องงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานภายใต้ พ.ร.บ. ซึ่งกำลังมอบให้กระทรวงการคลังพิจารณาข้อมูลเพื่อนำเสนอความเห็นให้แก่คณะกรรมการกฤษฎีกาอยู่ ทางอธิบดีได้แสดงข้อคิดเห็นว่า ถ้างบประมาณได้รับการพิจารณาให้ผ่านก็จะเป็นการดียิ่ง เพราะจะช่วยในการดำเนินโครงการและกิจกรรมพัฒนาสวัสดิภาพสัตว์ต่างๆ ที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ. จะทำให้งานดูง่ายยิ่งขึ้น

    ทางเลขาธิการสมาคมฯ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ถ้าประสบความสำเร็จตามที่คาดหวังไว้ พ.ร.บ. ดังกล่าวก็จะสามารถเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา และ สามารถประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายครอบคลุมไปทั้งประเทศไทย ซึ่งจะช่วยลดการทารุณสัตว์และพัฒนาสวัสดิภาพสัตว์ได้อย่างยั่งยืนตลอดไป....


    ที่มา ความคืบหน้า พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรณและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ....
     
  5. apichai53

    apichai53 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    630
    ค่าพลัง:
    +2,261
    หากพรบ. ฉบับดังกล่าวผ่านสภาและมีผลบังคับใช้การทรมานสัตว์ การฆ่าสัตว์เลี้ยง เช่น หมา เพื่อการบริโภคและจำหน่าย จะถูกดำเนินคดีทันที เพราะมีมีข้อกำหนดขอบเขตและประเภทการทารุณกรรมสัตว์ไว้อย่างชัดเจนตามมาตรฐานสากลทั้งสัตว์บ้าน สัตว์เศรษฐกิจ สัตว์ป่า และสัตว์ทดลอง (หมวด 6 ส่วนที่ 1 มาตร 45 ) มีข้อกำหนดขอบเขตและประเภทการจัดสวัสดิภาพสัตว์ไว้อย่างชัดเจนตามมาตรฐานสากล อาทิ การเลี้ยงสัตว์ การฝึกและการใช้งานสัตว์ การขนส่งสัตว์ การควบคุมและกักขังสัตว์ การฆ่าและชำแหละสัตว์ การนำสัตว์มาใช้ในงานแสดง การโฆษณา และใช้เป็นรางวัล ฯลฯ (มาตรา 46,47 และ 48)
     
  6. นิพพาน.

    นิพพาน. สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +13
    อนุโมทนาครับ ขอให้กฎหมายฉบับนี้นำออกมาใช้โดยเร็ว
    เพื่อน้องหมา สัตว์เลี้ยงที่น่ารักของเรา จะได้อยู่เย็นเป็นสุข
     
  7. Rajithida

    Rajithida Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    89
    ค่าพลัง:
    +48
    ขอเอาใจช่วยให้ พรบ. นี้ประกาศออกมาใช้ไวๆ นะคะ
    สงสารน้องหมาค่ะ..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มกราคม 2010
  8. ปุยฝ้าย.

    ปุยฝ้าย. สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2010
    โพสต์:
    26
    ค่าพลัง:
    +4
    เอาใจช่วยด้วยคนจ้า ...
     
  9. willma.

    willma. Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2010
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +62
    บอกตามตรง อ่านแล้วรู้สึกสลดใจมากเลยค่ะ T-T
    จิตใจคนเราหนอ มันทำด้วยอะไรกันนะ?
    ไม่คิดถึงใจของสุนัขบ้างเลย...
    น่าสงสารสุนัข T-T

    ขอบคุณที่นำเรื่องราวมาแบ่งปันนะคะ คุณจขกท.
    และก้ขอบคุณ คุณ Komodo สำหรับเรื่องคำสอนของท่านพระพุทธเจ้า นะคะ

    อนุโมทนาค่ะ :)
     
  10. beaw_peaker

    beaw_peaker สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +3
    ทำไมมนุษย์ชอบสร้างแต่บาปกรรมขึ้นเรื่อยๆ ชอบฆ่าสัตว์ตัดชีวิตโดยเจตนา ไม่มีความเมตตา ขอสารภาพว่าผมอ่านไปแล้วร้องไห้ไปด้วย เพราะผมเป็นคนรักสุนัขมาก เป็นเพื่อนที่ดีที่สุดของมนุษย์ แต่สิ่งที่มนุษย์ตอบแทนคือการฆ่า ผมอยากรู้ว่ายังมีจิตใจอยู่หรือเปล่า ทำกับสัตว์ที่บริสุทธิ์แบบนี้ได้อย่างไร ผมเป็นคนหนึ่งที่ไม่สามารถที่จะยอมรับอาชีพแบบนี้ได้เลย ไม่ว่าสุนัขหรือแมวหรือสัตว์อื่นๆ ผมคิดว่าเค้าไม่ใช่อาหารทั้งนั้น มนุษย์เป็นผู้กำหนดเองทั้งนั้นว่าอะไรคืออาหาร มันไม่ยุติธรรมเลยสำหรับสัตว์ ถ้ามันคือกรรมผมไม่อยากให้ชดใช้กรรมตอนเกิดเป็นสัตว์ อยากให้ชดใช้กรรมตอนที่ยังเป็นมนุษย์นี่แหละ จะได้รู้สึก
     
  11. bamrung

    bamrung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2006
    โพสต์:
    836
    ค่าพลัง:
    +1,524
    เห็นพูดกันมาก ว่ากินไม่บาปไม่ใช่เหรอ สัตว์อื่นที่ไม่ใช่หมามันไม่เจ็บหรือไง อ้างไปทั่วว่ามันเกิดมาให้เรากิน เคยถามมันสักคำไม๊ว่ามันอนุญาติให้พวกมึงกินหรือยัง ทุกคนแหละที่ยังเห็นดีเห็นงามกับการกินเนื้อสัตว์แล้วมาโวยวายในกระทู้นี้ พอคนจะรณรงค์ให้กินมังสวิรัติ มันก็โวยวายอีกบอกเป็นพวกเทวทัต
     
  12. หมาปากซอย

    หมาปากซอย สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    26
    ค่าพลัง:
    +11
    กรรมกินเนื้อหมา = กรรมกินเนื้อหมู = กรรมกินเนื้อวัว = กรรมกินเนื้อสัตว์...
     

แชร์หน้านี้

Loading...