TVJ
ความเคลื่อนไหวล่าสุด:
6 กรกฎาคม 2012
วันที่สมัครสมาชิก:
29 สิงหาคม 2007
โพสต์:
1
พลัง:
4

โพสต์เรตติ้ง

ได้รับ: ให้:
ถูกใจ 2 0
อนุโมทนา 1 0
รักเลย 0 0
ฮ่าๆ 0 0
ว้าว 1 0
เศร้า 0 0
โกรธ 0 0
ไม่เห็นด้วย 0 0

แชร์หน้านี้

TVJ

สมาชิกใหม่

TVJ เห็นครั้งสุดท้าย:
6 กรกฎาคม 2012
    1. AddWassana
    2. AddWassana
    3. อิสวาร์ยาไรท์
    4. TVJ
      TVJ
      ๖. ทัททัลลวิมาน
      ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในทัททัลลวิมาน
      นางภัททาเทพธิดาผู้พี่สาว ได้ถามนางสุภัททาเทพธิดาผู้น้องสาวว่า
      [๓๔] ท่านรุ่งเรืองด้วยรัศมี ทั้งเป็นผู้เรืองยศ ย่อมรุ่งเรืองโรจน์ล่วงเทพเจ้าชาว
      ดาวดึงส์ทั้งหมด ด้วยรัศมี ดิฉันไม่เคยเห็นท่านเพิ่งจะมาเห็นในวันนี้
      เป็นครั้งแรก ท่านมาจากเทวโลกชั้นไหน จึงมาเรียกดิฉันโดย
      ชื่อเดิมว่า ภัททา ดังนี้เล่า?
      นางสุภัททาเทพธิดาผู้น้องสาวตอบว่า
      ข้าแต่พี่ภัททา ฉันชื่อว่าสุภัททา ในภพก่อนครั้งเป็นมนุษย์อยู่ ดิฉัน
      ได้เป็นน้องสาวของพี่ ทั้งได้เคยเป็นภริยาร่วมสามีเดียวกับพี่มาด้วย
      ดิฉันตายจากมนุษยโลกนั้นมาแล้ว ได้มาเกิดเป็นเทพธิดาประจำสวรรค์
      ชั้นนิมมานรดี.
      นางภัททเทพธิดาจึงถามต่อไปอีกว่า
      ดูกรแม่สุภัททา ขอเธอได้บอกการอุบัติของเธอในหมู่เทพเจ้า เหล่า
      นิมมานรดี ซึ่งเป็นที่ๆ สัตว์ได้สั่งสมบุญกุศลไว้มาก แล้วจึงได้มา
      บังเกิด เธอได้มาเกิดในที่นี้ เพราะทำบุญกุศลสิ่งใดไว้ และใครเป็นครู
      ผู้แนะนำสั่งสอนเธอ เธอเป็นผู้เรืองยศ และถึงความสุขพิเศษไพบูลย์
      ถึงเช่นนี้ เพราะได้ให้ทานและรักษาศีลเช่นไรไว้ ดูกรแม่เทพธิดา
      ฉันถามเธอแล้ว นี่เป็นผลแห่งกรรมอะไร โปรดตอบฉันด้วย?
      นางสุภัททาเทพธิดาตอบว่า
      เมื่อชาติก่อน ดิฉันมีใจเลื่อมใส ได้ถวายบิณฑบาต ๘ ที่ แก่สงฆ์
      ผู้เป็นทักขิไณยบุคคล ๘ รูป ด้วยมือของตน เพราะบุญกรรมนั้น ดิฉัน
      จึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะ
      บุญกรรมนั้น.
      นางภัททาเทพธิดาได้ถามต่อไปอีกว่า
      พี่ได้เลี้ยงดูพระภิกษุทั้งหลาย ผู้สำรวมดี ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ให้
      อิ่มหนำสำราญด้วยข้าวและน้ำ ด้วยมือของตนเอง มากกว่าเธอ ครั้น
      ให้ทานมากกว่าเธอแล้ว ก็ยังได้บังเกิดในเหล่าเทพเจ้าต่ำกว่าเธอ ส่วนเธอ
      ได้ถวายทานเพียงเล็กน้อย อย่างไรจึงมาได้ผลอย่างพิเศษไพบูลย์ถึงเช่นนี้
      เล่า แน่ะแม่เทพธิดา ฉันถามเธอแล้ว นี่เป็นผลแห่งกรรมอะไร โปรด
      ตอบฉันด้วย?
      นางสุภัททาเทพธิดาตอบว่า
      เมื่อชาติก่อน ดิฉันได้เห็นพระภิกษุผู้อบรบทางจิตใจเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่
      จึงได้นิมนต์ท่านรวม ๘ รูปด้วยกัน มีพระเรวตเถระเป็นประธานด้วย
      ภัตตาหาร ท่านพระเรวตเถระนั้นมุ่งจะให้เกิดประโยชน์ อนุเคราะห์แก่
      ดิฉัน จึงบอกดิฉันว่า จงถวายสงฆ์เถิด ดิฉันได้ทำตามคำของท่าน
      ทักขิณาของดิฉันนั้น จึงเป็นสังฆทาน ดิฉันให้เข้าตั้งไว้ในสงฆ์เป็นทาน
      ที่ไม่อาจปริมาณผลได้ว่า มีอยู่เท่าไร ส่วนทานที่คุณพี่ได้ถวายแก่ภิกษุ
      ด้วยความเลื่อมใสเป็นรายบุคคล จึงมีผลไม่มาก.
      นางภัททาเทพธิดา เมื่อจะรับรองความข้อนั้นจึงกล่าวว่า
      พี่เพิ่งรู้เดี๋ยวนี้เองว่า การถวายสังฆทานนี้ มีผลมาก ถ้าว่าพี่ได้ไป
      บังเกิดเป็นมนุษย์อีก จักเป็นผู้รู้ความประสงค์ของผู้ขอ ปราศจากความ
      ตระหนี่ ถวายสัฆทาน และไม่ประมาทเป็นนิตย์.
      เมื่อสนทนากันแล้ว นางสุภัททาเทพธิดาก็กลับไปสู่ทิพยวิมานของตนบนสวรรค์ชั้น
      นิมมานรดี ท้าวสักกเทวราชได้ทรงสดับการสนทนานั้น เมื่อนางสุภัททาเทพธิดากลับไปแล้ว
      จึงตรัสถามนางเทพธิดาว่า
      ดูกรนางภัททา เทพธิดาผู้นั้นเป็นใคร มาสนทนาอยู่กับเธอ
      ย่อมรุ่งโรจน์กว่าเทพเจ้าเหล่าดาวดึงส์ทั้งหมดด้วยรัศมี?
      นางภัททาเทพธิดา เมื่อจะบรรยายข้อที่สังฆทานของเทพธิดาผู้น้องสาวว่ามีผลมาก
      จึงทูลว่า
      ขอเดชะ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมเทพ เทพธิดาผู้นั้น เมื่อชาติ
      ก่อนยังเป็นมนุษย์อยู่ในมนุษยโลก เป็นน้องสาวของหม่อมฉัน และ
      ได้เคยร่วมสามีเดียวกันกับหม่อมฉันด้วย เธอสั่งสมบุญกุศลคือถวาย
      สังฆทาน จึงได้ไพโรจน์ถึงอย่างนี้ เพค๊ะ.
      สมเด็จอัมรินทราธิราช เมื่อจะทรงสรรเสริญสังฆทาน จึงตรัสว่า ดูกร
      นางภัททา น้องสาวของเธอไพโรจน์กว่าเธอ ก็เพราะเหตุในปางก่อน
      คือการถวายสังฆทานที่ไม่อาจจะปริมาณผลได้ อันที่จริง ฉันได้ทูลถาม
      พระพุทธเจ้า ครั้งประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ถึงผลแห่งไทยธรรม
      ที่ได้จัดแจงถวายในเขตที่มีผลมาก ของมนุษย์ทั้งหลายผู้มุ่งบุญให้ทาน
      อยู่ หรือทำบุญปรารภเหตุแห่งการเวียนเกิดเวียนตาย จะถวายใน
      บุคคลประเภทใดจึงจะมีผลมาก พระพุทธเจ้าตรัสตอบข้อความนั้น
      แก่ฉันอย่างแจ่มแจ้งว่า ท่านผู้ปฏิบัติเพื่ออริยมรรค ๔ จำพวก และ
      ท่านผู้ตั้งอยู่ในอริยมรรค ๔ จำพวก พระอริยบุคคล ๘ จำพวกนี้
      ชื่อว่าสงฆ์ เป็นผู้ปฏิบัติตรงดำรงมั่นอยู่ในปัญญาและศีล เมื่อมนุษย์
      ทั้งหลายผู้มุ่งบุญถวายทานในท่านเหล่านี้ หรือทำบุญปรารภการเวียน
      เกิดเวียนตาย ทานที่ถวายในสงฆ์ ย่อมมีผลมาก พระสงฆ์นี้เป็น
      ผู้มีคุณความดีอันยิ่งใหญ่ ยังผลให้เกิดแก่ผู้ถวายทานในท่านอย่างไพบูลย์
      ยากที่ใครจะปริมาณว่าเท่านี้ๆ ได้ เหมือนทะเลยากที่จะคาดคะเน
      ได้ว่ามีน้ำเท่านี้ๆ ได้ ฉะนั้น พระสงฆ์เหล่านี้แล เป็นผู้ประ-
      เสริฐสุด เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าผู้มีความเพียร เป็นเยี่ยมในหมู่
      นรชนเป็นแหล่งสร้างแสงสว่าง คือ ญาณของชาวโลก ได้แก่ นำ
      เอาแสงสว่าง คือพระสัทธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศไว้แล้วมาชี้
      แจง ปวงชนที่ใคร่ต่อบุญเหล่าใด ถวายทานมุ่งตรงต่อสงฆ์ ทักขิณา
      ของเขาเหล่านั้นชื่อว่าเป็นทักขิณาที่ถวายดีแล้ว เป็นยัญวิธีที่เซ่นสรวงถูก
      ต้อง จัดเป็นบูชากรรมที่บูชาแล้วชอบ เพราะทักขิณานั้นจัดเป็นสังฆทาน
      มีผลมาก อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายผู้รู้แจ้งโลก ทรงสรรเสริญชน
      เหล่าใดยังท่องเที่ยวอยู่ในโลก มาหวนระลึกถึงบุญเช่นนี้ได้ เกิดปีติ
      โสมนัส ก็จะกำจัดมลทิน คือ ความตระหนี่พร้อมทั้งความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
      ความลังเลในใจ และการตีตนเสมอท่าน อันเป็นมูลฐานเสียได้
      ทั้งจะไม่เป็นผู้ถูกผู้รู้ติเตียน แต่นั้นก็จะเข้าถึงสถานที่ๆ เป็นแดน
      สวรรค์.
      จบ ทัททัลลวิมานที่ ๖.
      ๗. เสสวดีวิมาน
      ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในเสสวดีวิมาน
      เมื่อพระวังคีสเถระจะไต่ถามถึงบุรพกรรมของนางเทพธิดานั้น จึงสรรเสริญวิมานของ
      เธอเสียก่อนเป็นปฐม ด้วยคาถา ๗ คาถา ความว่า
      [๓๕] ดูกรแม่เทพธิดา อาตมาได้เห็นวิมานของท่านนี้ อันมุงและบังด้วย
      ข่ายแก้วผลึก ข่ายเงินและข่ายทองคำ มีพื้นที่เต็มไปด้วยต้นไม้มี
      ผลวิจิตรนานาพรรณเป็นระเบียบเรียบร้อย น่ารื่นรมย์ เป็นวิมาน
      ซึ่งเกิดกับสำหรับบุญ มีซุ้มประตูแล้วด้วยแก้ว ๗ ประการ ที่ลาน
      วิมานเรี่ยรายไปด้วยทรายทองงดงามมาก มีรัศมีส่องสว่างไปทั่วทุกทิศ
      เหมือนพระอาทิตย์มีรัศมีตั้งพัน ซึ่งกำจัดความมืดมนได้เป็นปกติใน
      ยามสรทกาล หรือเหมือนกับแสงเปลวเพลิงซึ่งกำลังลุกอยู่บนยอด
      ภูเขาในเวลากลางคืน หรือคล้ายกับการลืมตาขึ้นขณะที่ฟ้าแลบในโอกาส
      ฉะนั้น วิมานนี้เป็นวิมานลอยอยู่ในอากาศ ก้องกังวาลไปด้วยเสียง
      ดนตรี คือ พิณเครื่องใหญ่ กลอง และกังสดาล ประโคม
      อยู่มิได้ขาดระยะ สุทัสนะเทพนคร อันเป็นเมืองพระอินทร์ ซึ่ง
      มั่งคั่งไปด้วยสมบัติทิพย์ฉันใด วิมานของท่านนี้ก็ฉันนั้น วิมานของ
      ท่านนี้ฟุ้งไปด้วยกลิ่นหอมอย่างยอดเยี่ยมหลายอย่างต่างๆ กัน คือ
      กลิ่นดอกปทุม ดอกโกมุท ดอกอุบล ดอกจงกลณี ดอกคัดเค้า
      ดอกพุดซ้อน ดอกกุหลาบ ดอกอังกาบ ดอกรัง ดอกอโศก
      แย้มกลีบ ส่งกลิ่นหอมระรื่น ทั้งตั้งอยู่ริมฝั่งสระโบกขรณี น่า
      รื่นรมย์ เรียงรายไปด้วยไม้หูกวาง ขนุนสำมะรอ และต้นไม้
      กลิ่นหอม มีทั้งไม้เลื้อยชูดอกออกช่อหอมระรื่น ห้อยย้อยเกาะก่ายลงมา
      จากปลายใบต้นตาล และมะพร้าว คล้ายกับข่ายแก้วมณี และ
      แก้วประพาฬจัดเป็นของทิพย์ มีขึ้นสำหรับท่านผู้เรืองยศ อนึ่ง ต้น
      ไม้และดอกไม้ผลทั้งหลายซึ่งเป็นต้นไม้เกิดอยู่ในน้ำและบนบก ทั้ง
      เป็นรุกขชาติมีอยู่ในเมืองมนุษย์ และไม่มีในเมืองมนุษย์ ตลอด
      จนพรรณไม้ทิพย์ประจำเมืองสวรรค์ ก็ได้มีพร้อมอยู่ใกล้วิมานของท่าน
      ท่านได้สมบัติทิพย์ทั้งนี้ เป็นผลแห่งการประพฤติทางกาย วาจา ใจ
      และการฝึกฝนอินทรีย์อย่างไร เพราะผลกรรมอะไร ท่านจึงมาเกิดในวิมานนี้
      ดูกรนางเทพธิดาผู้มีขนตางอนงาม ขอท่านจงตอบถึงผลกรรม เป็นเหตุได้
      วิมานที่ท่านได้แล้วนี้ เป็นไปตามที่อาตมาถามท่านแล้วตามลำดับด้วย
      เถิด?
      ลำดับนั้น นางเทพธิดาตอบว่า
      ก็วิมานที่ดิฉันได้แล้วนี้ มีฝูงหงส์ นกกระเรียน ไก่ฟ้า นกกด
      และนกเขาไฟ เที่ยวร่อนร้องไปมา ทั้งเต็มไปด้วยหมู่นกนางนวล
      นกกะทุง และพญาหงส์ทอง ซึ่งเป็นนกทิพย์ เที่ยวบินไปมา
      อยู่ตามลำน้ำ และอึงคนึงไปด้วยฝูงนกประเภทอื่นๆ อีก คือ นก
      เป็ดน้ำ นกค้อนหอย นกดุเหว่าลาย นกดุเหว่าขาว มีทั้ง
      ต้นไม้ดอก ไม้ต้น ไม้ผล อันเกิดเองหลายอย่างต่างพรรณ
      คือ ต้นแคฝอย ต้นหว้า ต้นอโศก พระคุณเจ้าขา ดิฉันได้วิมาน
      เหตุนี้ด้วยเหตุผลอันใด ดิฉันจะเล่าเหตุผลอันนั้นถวายพระคุณเจ้า
      นิมนต์ฟังเถิด คือ มีหมู่บ้านหมู่หนึ่งชื่อนาฬกคาม ตั้งอยู่ทางทิศ
      ตะวันออกของพระนครราชคฤห์ ดิฉันเป็นบุตรสะใภ้ประจำตระกูล
      ของบ้านนั้นอันตั้งอยู่ภายในบุรี ชุมนุมในหมู่บ้านนั้นเรียกดิฉันว่า
      เสสวดี ดิฉันมีใจชื่นบาน ได้ก่อสร้างกุศลกรรมไว้ในชาตินั้น คือ
      ได้บูชาพระธาตุพระธรรมเสนาบดี นามว่า อุปติสสะ ซึ่งเป็นที่
      บูชาของทวยเทพและมนุษย์ทั้งหลายผู้มากไปด้วยคุณความดีมีศีลเป็นต้น
      หาประมาณมิได้ ซึ่งนิพพานไปแล้ว ด้วยเครื่องสักการะหลาย
      อย่าง ล้วนแต่รัตนะและดอกคำ ก็แหละครั้นบูชาพระธาตุของพระผู้
      แสวงหาซึ่งคุณอย่างยอดยิ่ง ผู้ถึงอนุปทิเสสนิพพานธาตุแล้ว ซึ่ง
      ในที่สุดยังเหลืออยู่แต่พระธาตุเท่านั้น ครั้นดิฉันละกายมนุษย์นั้นแล้ว
      จึงได้มาเกิดในดาวดึงส์สวรรค์ชั้นไตรทศ อยู่ประจำวิมานในเทวโลก.
      จบ เสสวดีวิมานที่ ๗.
      ๘. มัลลิกาวิมาน
      ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในมัลกาวิมาน
      พระนารทเถระไต่ถามนางมัลลิกาเทพธิดาว่า
      [๓๖] ดูกรนางเทพธิดา ผู้มีผ้านุ่งห่มและธงล้วนแต่สีเหลือง ประดับประดา
      ด้วยเครื่องก็ล้วนเหลือง เธอถึงจะไม่ประดับด้วยเครื่องประดับอันงดงาม
      เหลืองอร่ามเช่นนี้ ก็ยังงามโดยธรรมชาติ ดูกรนางเทพธิดา ผู้มีเครื่อง
      ประดับล้วนแต่ทองคำธรรมชาติ แก้วไพฑูรย์ จินดา มีกายาปกคลุม
      ไว้ด้วยร่างแหทองคำเหลืองอร่าม เป็นระเบียบงดงามด้วยสายแก้วสี
      ต่างๆ สายแก้วเหล่านั้น ล้วนแต่สำเร็จด้วยทองคำธรรมชาติ แก้วทับทิม
      แก้วมุกดา แก้วไพฑูรย์ บางสายก็ล้วนแล้วด้วยแก้วลาย คล้ายตาแมว
      บ้างก็สำเร็จด้วยแก้วแดงคล้ายสีเลือด บ้างก็สำเร็จด้วยแก้วอันสดใส
      สีตานกพิลาป เครื่องประดับทั้งหมดที่ตัวของท่านนี้ทุกๆ สาย ยามต้อง
      ลมพัด มีเสียงไพเราะเหมือนเสียงนกยูงพญาหงส์ทองหรือเสียงนก
      การะเวก หรือมิฉะนั้นก็เสียงเบญจางคดุริยดนตรี ที่พวกคนธรรพ์พากัน
      บรรเลงเป็นคู่ๆ อย่างไพเราะน่าฟังก็ปานกัน อนึ่ง รถของท่าน
      งดงามมาก หลากไปด้วยเนาวรัตนนานาพรรณ อันบุญกรรมจัดสรรมา
      ให้จากธาตุนานาชนิด ดูมูลมองพิจิตรจรัสจำรูญยามท่านยืนอยู่เหนือ
      สุพรรณรถขับไปถึงประเทศใด ที่ตรงนั้นก็สว่างไสวไปทั่วถึงกัน ดูกรนาง
      เทพธิดา อาตมาถามท่านแล้ว ท่านจงตอบอาตมาว่า นี้เป็นผลแห่ง
      กรรมอะไร?
      นางมัลลิกาเทพธิดาตอบว่า
      พระคุณเจ้าขา ดิฉันมีร่างกายซึ่งปกปิดไว้ด้วยร่างแหทองคำ วิจิตรไปด้วย
      แก้วแดงอ่อนๆ และแก้วมุกดา นับว่าดิฉันคลุมร่างไว้ด้วยตาข่าย
      ทองคำเช่นนี้ ก็เพราะดิฉันมีจิตผ่องใส ได้บูชาพระโคดมบรมครู
      ผู้ทรงพระคุณหาประมาณมิได้ ซึ่งเสด็จเข้าสู่นิพพานไปแล้ว ครั้นดิฉัน
      ทำกุศลธรรมที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายสรรเสริญแล้ว จึงสร่างโศก หมด
      โรคภัย ได้รับแต่ความสุขกาย สุขใจ รื่นเริงบันเทิงใจเป็นนิตย์.
      จบ มัลลิกาวิมานที่ ๘.
      ๙. วิสาลักขิวิมาน
      ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในวิสาลักขิวิมาน
      สมเด็จอัมรินทราธิราชตรัสถามนางสุนันทาเทพธิดาว่า
      [๓๗] ดูกรแม่เทพธิดาผู้มีนัยย์ตางาม เธอชื่อไร ได้ทำกรรมอะไรไว้ จึงได้มีหมู่
      นางฟ้าแวดล้อมเป็นบริวารเดินวนเวียนอยู่รอบๆ ในสวนจิตรลดาอันน่า
      รื่นรมย์ ในคราวที่พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ ล้วนแต่ขึ้นม้า ขึ้นรถ
      ตบแต่งร่างกายวิจิตรงดงาม เข้าไปยังสวนนั้นแล้ว จึงมาในที่นี้ แต่เมื่อ
      เธอพอมาถึงในที่นี้ กำลังเที่ยวชมสวน รัศมีก็สว่างไสวไปทั่วจิตรลดาวัน
      โอภาสของสวนมิได้ปรากฏ รัศมีของท่านมาข่มเสีย ดูกรแม่เทพธิดา
      ฉันถามเธอแล้ว ขอเธอจงบอกว่า นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไร?
      นางสุนันทาเทพธิดาผู้เป็นอัครชายาทูลตอบว่า
      ขอเดชะ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมเทพ ผู้ทรงบำเพ็ญทานมาแต่เก่าก่อน รูป
      อันสวยงาม คติ ฤทธิ์ และอานุภาพของหม่อมฉัน ย่อมมีได้ด้วยกรรม
      อันใด ขอพระองค์จงทรงสดับกรรมนั้น หม่อมฉันเป็นอุบาสิกามีนามว่า
      สุนันทาอยู่ในพระนครราชคฤห์อันน่ารื่นรมย์ ถึงพร้อมด้วยศรัทธา และ
      ศีล ยินดีในการจำแนกทานทุกเมื่อ คือหม่อมฉันมีจิตเลื่อมใส ได้
      ถวายผ้านุ่งผ้าห่ม ภัตตาหาร เสนาสนะและเครื่องประทีป ในภิกษุ
      ทั้งหลายผู้เที่ยงตรง ทั้งได้รักษาอุโบสถ อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ
      ตลอดวัน ๑๔ ค่ำ วัน ๑๕ ค่ำ และวัน ๘ ค่ำแห่งปักษ์ และตลอด
      ปฏิหาริยปักษ์ เป็นผู้สำรวมอยู่ในศีลเป็นนิตย์ หม่อมฉันยินดีแล้วใน
      สิกขาบททั้ง ๕ คือ งดเว้นจากปาณาติบาต จากความเป็นขโมย
      จากการประพฤตินอกใจ ระมัดระวังจากการพูดเท็จ และเว้นไกล
      จากการดื่มน้ำเมา เป็นผู้ฉลาดในอริยสัจจธรรมทั้ง ๔
      เป็นอุบาสิกาของพระสมณโคดมผู้มีพระจักษุ ผู้เรืองยศ บิดาของหม่อม
      ฉันใช้ให้หม่อมฉันนำดอกไม้มาทุกๆ วัน หม่อมฉันได้บูชาที่สถูป
      อันเป็นที่บรรจุพระบรมธาตุของพระผู้มีพระภาคทุกๆ วัน ในวันอุโบสถ
      หม่อมฉันมีใจผ่องใส ได้ถือเอาพวงมาลัย ของหอมและเครื่องลูบไล้
      ไปบูชาพระสถูปของพระผู้มีพระภาคนั้นด้วยมือของตน ข้าแต่พระองค์
      ผู้จอมเทพ รูปอันสวยงาม คติ ฤทธิ์ และอนุภาพเช่นนี้ เกิดมีแก่
      หม่อมฉันเพราะกรรมนั้น มิใช่ว่าผลที่หม่อมฉันได้บูชาพระสถูปด้วย
      พวงมาลัย และที่หม่อมฉันได้รักษาศีล จะให้ผลเท่านั้นก็หามิได้ ยังกลับ
      ให้หม่อมฉันพึงได้สกทาคามี ตามความปรารถนาของหม่อมฉันอีกด้วย.
      จบ วิสาลักขิวิมานที่ ๙
      ๑๐. ปาริฉัตตกวิมาน
      ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในปาริฉัตตกวิมาน
      พระมหาโมคคัลลานเถระถามนางเทพธิดาตนหนึ่งว่า
      [๓๘] ดูนางเทพธิดา ท่านมาเก็บเอาดอกปาริกฉัตตกะ มีสีงามหอมหวนยวนใจ
      อันเป็นดอกไม้ทิพย์ มาร้อยกรองเป็นพวงมาลัยประดับกายขับร้องเล่น
      สำเริงอยู่ เมื่อท่านกำลังฟ้อนรำอยู่ เสียงอันเป็นทิพย์น่าฟังวังเวงใจ
      เปล่งจากอวัยวะใหญ่น้อยพร้อมๆ กัน ทั้งกลิ่นทิพย์อันหอมหวนยวนใจ
      ก็ฟุ้งขจรไปจากอวัยวะใหญ่น้อยทุกๆ ส่วน เมื่อท่านไหวกายผายผันกลับ
      ไปมา เสียงเครื่องประดับอันท่านประดับไว้ที่ช้องผมทุกๆ แห่ง เมื่อคราว
      ลมพัดพานมาต้องเข้า ก็เปล่งเสียงไพเราะ คล้ายกับเสียงดนตรีเครื่อง ๕
      อนึ่ง เสียงแห่งมาลัย เครื่องประดับเศียร คือ มงกุฏ ที่ถูกลมพัดต้อง
      เข้าแล้วก็กังวานไพเราะ คล้ายกับเสียงดนตรีเครื่อง ๕ แม้กลิ่นแห้ง
      ดอกไม้ที่ท่านสอดแซมไว้บนเศียรเกล้า ก็มีกลิ่นหอมหวนชวนให้ชื่นใจ
      หอมฟุ้งไปทั่วสารทิศ ดังต้นอุโลกที่มีอยู่บนเขาคันธมาทน์ ฉะนั้น ท่าน
      ย่อมสูดดมกลิ่นอันหอมหวนนั้น ทั้งได้ชมรูปทิพย์ซึ่งมิใช่ของมนุษย์
      ดูกรนางเทพธิดา อาตมาถามท่านแล้ว ขอท่านจงบอก นี้เป็นผลแห่ง
      กรรมอะไร?
      นางเทพธิดานั้นตอบว่า
      พระคุณเจ้าขา แต่ก่อน เมื่อดิฉันยังอยู่ในเมืองมนุษย์ ได้น้อมนำ
      เอาดอกอโศกซึ่งมีเกษรงามเลื่อมประภัสสร มีกลิ่นหอมฟุ้ง ไปบูชา
      พระพุทธเจ้า ครั้นดิฉันทำกุศลกรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญแล้ว
      จึงสร่างโศกหมดโรคภัย ได้รับแต่ความสุขกายสุขใจ รื่นเริงบันเทิงอยู่
      เป็นนิตย์.
      จบ ปาริฉัตตกวิมานที่ ๑๐
      ---------------
      รวมวิมานที่มีในวรรคนี้ คือ
      ๑. อุฬารวิมาน ๒. อังฉุวิมาน
      ๓. ปัลลังกวิมาน ๔. ลตาวิมาน
      ๕. คุตติลวิมาน ๖. ทัททัลลวิมาน
      ๗. เสสวดีวิมาน ๘. มัลลิกาวิมาน
      ๙. วิสาลักขิวิมาน ๑๐. ปาริฉัตตกวิมาน.
      จบ ปาริฉัตตกวรรคที่ ๓.
      -------------------
    5. TVJ
      TVJ
      ปาริฉัตตกวรรคที่ ๓
      ๑. อุฬารวิมาน
      ว่าด้วยอุฬารวิมาน
      [๒๙] พระมหาโมคคัลลานเถระ ถามนางเทพธิดาด้วยคาถาความว่า ดูกรนาง
      เทพธิดา ยศและวรรณะของท่านใหญ่ยิ่ง สว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เหล่า
      เทพนารีและเหล่าเทพบุตรทั้งหลายประดับประดาดีแล้ว ฟ้อนรำขับร้อง
      ทำให้ท่านร่าเริง ห้อมล้อมเพื่อบำเรอท่านอยู่ วิมานของท่านเหล่านี้
      ล้วนแต่เป็นวิมานทองคำ น่าดูน่าชมมาก ทั้งท่านเล่าก็เป็นใหญ่กว่า
      เทพเจ้า เหล่าที่สมบูรณ์ด้วยความปรารถนาทุกอย่าง มีความเป็นอยู่อัน
      ยิ่งใหญ่ ร่าเริงใจอยู่ในหมู่ทวยเทพ ดูกรนางเทพธิดา ท่านอันอาตมา
      ถามแล้ว ขอจงบอกผลนี้แห่งกรรมอะไร?
      นางเทพธิดาตอบว่า
      ดิฉันเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในมนุษยโลก เป็นบุตรสะใภ้ในตระกูลของคน
      ทุศีล ซึ่งเป็นตระกูลที่มีพ่อผัวแม่ผัวไม่มีศรัทธา เป็นคนตระหนี่
      ดิฉันถึงพร้อมด้วยศรัทธาและศีล ได้ถวายขนมเบื้องแก่ท่านซึ่งกำลังเที่ยว
      บิณฑบาตอยู่ แล้วจึงได้บอกแก่แม่ผัวว่า มีพระสมณะมาที่นี่ ดิฉัน
      เลื่อมใส ได้ถวายขนมเบื้องแก่ท่านด้วยมือของตน แม่ผัวด่าดิฉันว่า
      นางสู่รู้ ทำไมเธอจึงไม่ถามฉันเสียก่อนว่า จะถวายทานแก่สมณะดังนี้เล่า
      เพราะการถวายขนมเบื้องนั้น แม่ผัวเกรี้ยวกราดเอา ทุบตีดิฉันด้วยสาก
      ดิฉันไม่อาจมีชีวิตอยู่ได้นานจึงสิ้นชีพลง พ้นจากการทรมานอย่างสาหัส
      จุติจากมนุษย์นั้นแล้วจึงได้มาเกิดบนสวรรค์ เป็นพวกเดียวกันกับเทพเจ้า
      ชั้นดาวดึงส์ เพราะบุญกรรมนั้น ดิฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และ
      มีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมนั้น.
      จบ อุฬารวิมานที่ ๑.
      ๒. อุจฉุวิมาน
      ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในอุจฉุวิมาน
      [๓๐] พระมหาโมคคัลลานเถระ ถามนางเทพธิดานั้นด้วยคาถาความว่า
      ดูกรนางเทพธิดา ท่านมีศิริ มีผิวพรรณเปล่งปลั่ง มียศและเดช สว่าง
      ไสวไพโรจน์ทั่วแผ่นดินรวมทั้งเทวโลกเหมือนกับพระจันทร์และพระอาทิตย์ เป็นผู้
      ประเสริฐเหมือนท้าวมหาพรหม รุ่งเรืองกว่าเทพเจ้าเหล่าไตรทศพร้อมทั้ง
      อินทร์ อาตมาขอถามท่านผู้ทัดทรงดอกอุบล ยินดีแต่พวงมาลัยประดับ
      เศียร มีผิวพรรณเปล่งปลั่งดั่งทองคำ ประดับประดาอาภรณ์สวยงาม
      นุ่งห่มผ้าอย่างดี ดูกรนางเทพธิดาผู้เลอโฉม ท่านเป็นใครมาไหว้อาตมา
      อยู่ เมื่อก่อน ครั้งเมื่อเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ท่านได้ทำกรรมอะไร
      ไว้ด้วยตน ได้ให้ทานหรือรักษาศีลอย่างไรไว้ ท่านได้เข้าถึงสุคติ มี
      เกียรติยศ เพราะกรรมอะไร ดูกรนางเทพธิดา อาตมาถามแล้วขอจงบอก
      ผลนี้แห่งกรรมอะไร?
      นางเทพธิดานั้น อันพระมหาโมคคัลลานเถระถามแล้ว กล่าวตอบด้วยคาถาความว่า
      ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระเถระรูปหนึ่งเข้ามายังบ้านของดิฉันเพื่อบิณฑบาต
      ในกรุงราชคฤห์นี้ ทันใดนั้น ดิฉันมีจิตเลื่อมใส เพราะปีติสุดที่จะหา
      สิ่งใดมาเทียมได้ จึงได้ถวายท่อนอ้อยแก่ท่าน ภายหลังแม่ผัวได้ถามถึง
      ท่อนอ้อยที่หายไปว่า ท่อนอ้อยหายไปไหน จึงตอบว่า ท่อนอ้อยนั้น
      ดิฉันไม่ได้ทิ้ง ทั้งไม่ได้รับประทาน แต่ดิฉันได้ถวายแก่ภิกษุผู้สงบระงับ
      ทันใดนั้นแม่ผัวได้บริภาษดิฉันว่า เธอหรือฉันเป็นเจ้าของท่อนอ้อยนั้น
      ว่าแล้วก็คว้าเอาตั่งฟาดดิฉันจนถึงตาย เมื่อดิฉันจุติจากมนุษยโลกนั้น
      แล้ว จึงมาเกิดเป็นนางเทพธิดา ดิฉันได้ทำกุศลกรรมนั้นไว้อย่างเดียว
      เพราะกรรมนั้นเป็นเหตุ ดิฉันจึงมาเสวยความสุขด้วยตนเอง เพียบ
      พร้อมด้วยเทพเจ้าผู้รับใช้ ร่าเริงบันเทิงใจอยู่ด้วยเบญจกามคุณ อนึ่ง
      ดิฉันได้ทำกุศลกรรมนั้นเท่านั้น เพราะกรรมนั้นเป็นเหตุ ดิฉันจึงมาเสวย
      ความสุขด้วยตนเอง เป็นผู้ที่ท้าวสักกะจอมเทพคุ้มครองแล้ว และเป็นผู้
      อันเทพเจ้าชาวไตรทศอารักขาด้วย จึงเป็นผู้เพียบพร้อมไปด้วยเบญจ-
      กามคุณ ผลบุญเช่นนี้มิใช่น้อย การถวายท่อนอ้อยของดิฉันมีผลอัน
      ยิ่งใหญ่ ดิฉันเพียบพร้อมด้วยเทพเจ้าผู้รับใช้ ร่าเริงบันเทิงใจอยู่ด้วย
      เบญจกามคุณ ผลบุญเช่นนี้มิใช่น้อย การถวายท่อนอ้อยของดิฉันมีผล
      รุ่งเรืองมาก ดิฉันเป็นผู้ที่ท้าวสักกะจอมเทพทรงคุ้มครองแล้ว ทั้งเทพเจ้า
      ชาวไตรทศก็ให้อารักขาด้วย ดังท้าวสหัสสนัยน์ในสวนนันทวันฉะนั้น
      ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็ดิฉันเข้ามานมัสการท่านผู้มีความกรุณา มีปัญญา
      รู้แจ้งและถามถึงความไม่มีโรคภัยด้วย เพราะฉะนั้น ดิฉันมีใจเลื่อมใส
      ด้วยปีติสุดที่จะหาสิ่งใดๆ มาเทียบเคียงได้ ได้ถวายท่อนอ้อยแก่
      พระคุณเจ้าในครั้งนั้น.
      จบ อุจฉุวิมานที่ ๒
      ๓. ปัลลังกวิมาน
      ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในปัลลังกวิมาน
      [๓๑] พระมหาโมคคัลลานเถระ ถามนางเทพธิดานั้นด้วยคาถาความว่า
      ดูกรนางเทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก ท่านอยู่บนที่นอนใหญ่เป็นบัลลังก์
      อันประเสริฐ อันบุญกรรมตกแต่งให้วิจิตรด้วยแก้วมณีและทองคำ โรย
      ดอกไม้ไว้เกลื่อนกล่น อนึ่ง รอบๆ ตัวท่าน เหล่านางเทพอัปสรมีร่าง
      สมทรงแผลฤทธิ์ได้ต่างๆ ฟ้อนรำ ขับร้อง ให้ท่านร่าเริงบันเทิงใจอยู่
      เป็นนิจ ท่านเป็นนางเทพธิดาผู้ศักดิ์สิทธิ์มีฤทธิ์อานุภาพมากครั้ง เมื่อท่าน
      ยังเป็นมนุษย์อยู่ได้ทำบุญอะไรไว้ ท่านเป็นผู้มีอานุภาพอันรุ่งเรืองและ
      มีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่ว ทุกทิศอย่างนี้ เพราะบุญกรรมอะไร?
      นางเทพธิดานั้นตอบว่า
      ดิฉันเมื่อเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในมนุษยโลก เป็นบุตรสะใภ้ในตระกูลอัน
      มั่งคั่งตระกูลหนึ่ง ดิฉันเป็นผู้ไม่โกรธ เป็นผู้ประพฤติอยู่ใต้บังคับบัญชา
      ของสามี ไม่ประมาทในวันอุโบสถ เมื่อดิฉันยังเป็นสาวอยู่ เป็นผู้ภักดี
      ด้วยการไม่ประพฤตินอกใจสามีหนุ่ม ดิฉันเป็นที่โปรดปรานของสามี
      เป็นอย่างยิ่ง ก็เพราะดิฉันมีน้ำใจผ่องใส ดิฉันได้ประพฤติตนให้เป็นที่
      ชื่นชอบใจของสามีทั้งกลางวันและกลางคืน ชาติก่อนดิฉันเป็นผู้มีศีล
      เป็นผู้บำเพ็ญในสิกขาบททั้งหลายอย่างครบถ้วน คือ เว้นขาดจากการ
      ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ มีการงานทางกายบริสุทธิ์ ประพฤติพรมจรรย์
      อย่างสะอาดไม่กล่าวคำเท็จ และเว้นขาดจากดื่มน้ำเมา ดิฉันมีใจเลื่อมใส
      ประพฤติตามธรรม ปลาบปลื้มใจ เข้ารักษาอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘
      ประการ ในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และวัน ๘ ค่ำแห่งปักษ์ และตลอด
      ปาฏิหาริยปักษ์ ครั้นดิฉันสมาทานกุศลธรรมอันประกอบด้วยองค์ ๘
      ประการอย่างประเสริฐ เป็นอริยะ มีความสุขเป็นกำไร เช่นนี้แล้ว
      ชาติก่อนดิฉันได้เป็นสาวิกของพระสุคตเจ้า ได้เป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา
      ของสามีเป็นอันดี ครั้นดิฉันทำกุศลกรรมเช่นนี้ ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ใน
      มนุษยโลก เป็นผู้มีส่วนแห่งภพอันวิเศษ พอสิ้นชีพลงแล้ว ดิฉัน
      จึงถึงความเป็นนางเทพธิดาผู้มีฤทธิ์ ในอภิสัมปรายภพ มาสู่สวรรค์
      ห้อมล้อมด้วยหมู่นางเทพอัปสรในวิมานมีปราสาทอย่างประเสริฐ น่า
      รื่นรมย์ คณะเทพเจ้าและเหล่านางเทพธิดาทั้งหลาย ซึ่งมีรัศมีซ่านออก
      จากกายตน พากันมาชื่นชมยินดีกับดิฉันผู้มีอายุยืน มาสู่เทพวิมาน.
      จบ ปัลลังกวิมานที่ ๓.
      ๔. ลตาวิมาน
      ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในลตาวิมาน
      [๓๒] นางเทพนารี ๕ องค์ มีความรุ่งเรือง มีปัญญา งดงามด้วยคุณธรรม
      เป็นธิดาของท้าวเวสสวัณมหาราช คือ นางลดาเทพธิดา ๑ นางสัชชาเทพ
      ธิดา ๑ นางปวราเทพธิดา ๑ นางอัจฉิมุตีเทพธิดา ๑ นางสุดาเทพธิดา ๑
      ต่างเป็นนางบำเรอของท้าวสักกเทวราชผู้ประเสริฐ มีศิริ ได้พากันไปยัง
      แม่น้ำอันไหลมาจากสระอโนดาด มีน้ำเยือกเย็น มีดอกอุบลน่ารื่นรมย์
      ในป่าหิมพานต์ เพื่อสรงสนาน ครั้นสรงสนาน ฟ้อนรำขับร้อง รื่นเริง
      สำราญใจในแม่น้ำแล้ว จึงนางสุดาเทพธิดาได้ถามนางลดาเทพธิดาผู้พี่
      องค์ใหญ่ว่า
      เจ้าพี่จ๋าผู้มีดวงตาเหลืองปนแดง มีร่างประดับด้วยพวงมาลัย อุบล มี
      พวงมาลัยประดับเศียร ผิวพรรณก็งดงามเปล่งปลั่งดังทองคำ มีอวัยวะ
      ทุกส่วนงดงามผ่องใส เหมือนท้องฟ้าที่ปราศจากเมฆหมอก มีอายุยืน
      ดิฉันขอถามเจ้าพี่เพราะทำบุญอะไรไว้ เจ้าพี่จึงได้มียศมาก ทั้งเป็นที่รัก
      และโปรดปรานของพระภัสดา มีรูปงามสะสวยยิ่งนัก ทั้งฉลาดในการ
      ฟ้อนรำขับร้อง และบรรเลงเป็นเยี่ยม จนพวกเทพบุตรและเทพธิดา
      ไต่ถามถึงเสมอๆ ขอโปรดได้บอกแก่หม่อมฉันด้วยเถิด?
      นางเทพธิดาจึงตอบว่า
      ครั้นพี่ยังเป็นมนุษย์อยู่ในมนุษยโลก เป็นบุตรสะใภ้ในตระกูลมั่งคั่ง
      ตระกูลหนึ่ง พี่มิได้เป็นคนมักโกรธ เป็นผู้ประพฤติอยู่ใต้บังคับบัญชา
      ของสามี ไม่ประมาทในวันอุโบสถ เมื่อพี่ยังเป็นสาวอยู่ เป็นผู้ภักดี
      ด้วยการไม่ประพฤตินอกใจสามีหนุ่ม พี่เป็นที่โปรดปรานของสามีเป็น
      อย่างยิ่ง ก็เพราะพี่มีน้ำใจผ่องใส ได้ทำตัวให้เป็นที่โปรดปรานของสามี
      พร้อมทั้งญาติชั้นผู้ใหญ่ และบิดามารดาของสามี ตลอดจนคนใช้ชาย
      หญิง พี่จึงได้มีบริวารยศอันบุญกรรมจัดมาให้ถึงอย่างนี้ เพราะกุศลกรรม
      นั้น พี่จึงได้เป็นผู้พิเศษกว่านางฟ้าพวกอื่น ในที่ ๔ สถาน คือ อายุ
      วรรณะ สุขะ พละ ได้เสวยความยินดีมิใช่น้อย.
      เมื่อนางสุดาเทพธิดาได้ฟังดังนี้แล้ว จึงได้พูดกับพี่สาวทั้งสามว่า
      ข้าแต่เจ้าพี่ทั้งสาม เจ้าพี่ลดาได้แถลงถ้อยคำน่าฟังมากมิใช่หรือจ้ะ
      หม่อมฉันทูลถามถึงเรื่องที่พวกเราชอบสงสัยกันมาก ก็กล่าวแก้ได้อย่าง
      ไม่ผิดพลาด เจ้าพี่ลดาควรเป็นตัวอย่างอันดีเยี่ยมสำหรับเราทั้งสี่และ
      นารีทั้งหลาย มาเราทั้งปวงพึงประพฤติธรรมในสามีทั้งหลาย เราทั้งปวง
      พึงประพฤติในสามี เหมือนอย่างสตรีที่ดีประพฤติยำเกรงสามี ฉะนั้น
      ครั้นเราทั้งหลายปฏิบัติธรรม คือ การอนุเคราะห์ต่อสามีด้วยสภาพทั้ง ๕
      อย่างแล้ว ก็จะได้สมบัติอย่างที่เจ้าพี่ลดาพูดถึงอยู่ประเดี๋ยวนี้ พระยา
      ราชสีห์ผู้สัญจรไปตามราวไพรใกล้เชิงเขา อาศัยอยู่บนบรรพตเขาหลวง
      แล้วก็เที่ยวตะครุบจับสัตว์ ๔ เท้าใหญ่น้อยทุกๆ ชนิดกัดกินเป็นอาหาร
      ได้ ฉันใด สตรีที่มีศรัทธาเป็นอริยสาวิกาในศาสนานี้ ก็ฉันนั้น เมื่อ
      ยังอาศัยภัสดาอยู่ ควรประพฤติยำเกรงสามี ฆ่าความโกรธเสีย กำจัด
      ความตระหนี่เสียได้แล้ว เขาผู้ประพฤติธรรมโดยชอบ จึงรื่นเริงบันเทิงใจ
      อยู่บนสวรรค์.
      จบ ลตาวิมานที่ ๔.
      ๕. คุตติลวิมาน
      ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในคุตติลวิมาน
      [๓๓] พระมหาสัตว์นามว่าคุตติลบัณฑิต อันสมเด็จอัมรินทราธิราชทรงจำแลงองค์เป็น
      พราหมณ์โกสิยโคตร เสด็จเข้าไปหาทรงซักถามแล้ว ได้ทูลตอบแสดงความเจ็บใจของตนให้
      ท้าวเธอทรงทราบ ด้วยคาถาความว่า
      ข้าแต่ท้าวโกสีย์ ข้าพระองค์ได้สอนวิชาดีดพิณ ๗ สาย อันมีเสียง
      ไพเราะมาก น่ารื่นรมย์ ให้แก่มุสิละผู้เป็นศิษย์ เขาตั้งใจจะดีดพิณ
      ประชันกับข้าพระองค์บนกลางเวที ขอพระองค์ทรงเป็นที่พึ่งของข้าพระ-
      องค์ด้วย.
      สมเด็จอัมรินทราธิราช ทรงสดับคำปรับทุกข์นั้นแล้ว เมื่อจะทรงปลอบอาจารย์ จึงตรัส
      ปลุกใจด้วยคาถาความว่า
      จะกลัวไปทำไมนะท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าจะเป็นที่พึ่งของท่านอาจารย์
      เพราะข้าพเจ้าเป็นผู้บูชาท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าผู้เป็นศิษย์จะไม่ปล่อยให้
      ท่านอาจารย์ปราชัย ท่านอาจารย์ต้องเป็นผู้ชนะนายมุสิละผู้เป็นศิษย์
      แน่นอน.
      เมื่อสมเด็จอัมรินทราธิราชตรัสปลอบใจเช่นนี้ คุตติลบัณฑิตก็โล่งใจ คลายทุกข์
      พอถึงวันนัดก็ไปประลองศิลป์กันบนเวทีหน้าพระโรง ในที่สุดคุตติลบัณฑิตผู้อาจารย์เป็นฝ่ายชนะ
      นายมุสิละผู้เป็นศิษย์เป็นฝ่ายแพ้ถึงแก่ความตายกลางเวที เพราะอาชญาของปวงชน สมเด็จ
      อัมรินทราธิราชทรงกล่าววาจาแสดงความยินดีด้วยคุตติลบัณฑิตแล้ว เสด็จกลับเทวสถาน ครั้น
      กาลต่อมา สมเด็จอัมรินทราธิราชตรัสใช้ให้พระมาตลีเทพสารถี นำเวชยันตราชรถลงมารับ
      คุตติลบัณฑิตไปยังเทวโลกเพื่อให้ดีดพิณถวาย คุตติลบัณฑิตจึงกราบทูลท้าวโกสีย์ในท่ามกลาง
      เทพบริษัท เพื่อไต่ถามถึงบุรพกรรมของเทพธิดาทั้งหลาย ณ ที่นั้น เป็นรางวัลแห่งการดีดพิณ
      เสียก่อน เมื่อได้รับพระอนุญาตแล้ว จึงไต่ถามถึงบุรพกรรมของเทพธิดาเหล่านั้นว่า
      ดูกรแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีส่องแสงสว่างไปทั่ว
      ทุกทิศ สถิตอยู่เหมือนดาวประกายพฤกษ์ เพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงมี
      วรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรม
      อะไร?
      นางเทพธิดานั้น อันคุตติลบัณฑิตถามเหมือนท่านพระมหาโมคคัลลาน
      เถระถามแล้วมีใจยินดี ได้พยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า
      ดิฉันเป็นสตรีผู้ประเสริฐในนระและนารีทั้งหลาย ได้ถวายผ้าอย่างดี
      ผืนหนึ่งแก่ภิกษุรูปหนึ่ง ดิฉันได้ถวายผ้าอันน่ารักอย่างนี้ จึงมาได้
      ทิพยวิมานอันน่าปลื้มใจถึงเช่นนี้ เชิญดูวิมานของดิฉันนั้นเถิด ยิ่งกว่า
      นั้น ดิฉันยังเป็นนางฟ้าที่มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารัก ทั้งยังเป็นผู้เลิศ
      กว่านางอัปสรตั้งพันนางอีกด้วย เชิญดูผลแห่งบุญ คือ การถวายผ้า
      อย่างดีทั้งหลายนั้นเถิด เพราะบุญกรรมนั้น ดิฉันจึงมีวรรณะงาม
      เช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมนั้น.
      ๔. วิมานที่จะกล่าวต่อไปนี้ มีความพิสดารเหมือนวัตถทายิกวิมาน.
      (๑) พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า
      ดูกรแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่ว
      ทุกทิศ เพราะบุญกรรมอะไร?
      นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ
      ได้พยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า
      ดิฉันเป็นสตรีผู้ประเสริฐในนระและนารีทั้งหลาย ได้ถวายดอกมะลิ
      อย่างดีแก่ภิกษุรูปหนึ่ง ดิฉันได้ถวายดอกมะลิอันน่ารักอย่างนี้ จึงมาได้
      ทิพยวิมานน่าปลื้มใจถึงเช่นนี้ นิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดิฉันนั้นเถิด
      ยิ่งกว่านั้น ดิฉันยังเป็นนางฟ้าที่มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารัก ทั้งยังเป็น
      ผู้เลิศกว่านางอัปสรตั้งพันอีกด้วย นิมนต์พระคุณเจ้าดูผลแห่งบุญ คือ
      การถวายดอกมะลิอย่างดีทั้งหลายนั้นเถิด เพราะบุญกรรมนั้น ดิฉันจึงมี
      วรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะ
      บุญกรรมนั้น.
      (๒) พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า
      ดูกรแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีส่องสว่างไสวไปทั่ว
      ทุกทิศ สถิตอยู่เหมือนดาวประกายพฤกษ์เพราะบุญกรรมอะไร ท่าน
      จึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะ
      บุญกรรมอะไร?
      นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ
      ได้พยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า
      ดิฉันเป็นสตรีผู้ประเสริฐในนระและนารีทั้งหลาย ได้ถวายจุรณของหอม
      อย่างดีแก่ภิกษุรูปหนึ่ง ดิฉันได้ถวายจุรณของหอมอันน่ารักอย่างนี้ จึง
      มาได้ทิพยวิมานอันน่าปลื้มใจเช่นนี้ นิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดิฉัน
      นี้เถิด ยิ่งกว่านั้น ดิฉันยังเป็นนางฟ้าที่มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารัก ทั้ง
      ยังเป็นผู้เลิศกว่านางอัปสรตั้งพันนางอีกด้วย นิมนต์พระคุณเจ้าดูผลแห่ง
      บุญ คือ การถวายจุรณของหอมอย่างดีทั้งหลายนั้นเถิด เพราะบุญกรรม
      นั้น ดิฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีส่องสว่างไปทั่วทุกทิศ
      เพราะบุญกรรมนั้น.
      (๓) พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า
      ดูกรแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีส่องสว่างไสวไปทั่ว
      ทุกทิศ สถิตอยู่เหมือนดาวประกายพฤกษ์ เพราะบุญกรรมอะไร ท่าน
      จึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะ
      บุญกรรมอะไร?
      นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ
      ได้พยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า
      ดิฉันเป็นสตรีผู้ประเสริฐในนระและนารีทั้งหลาย ได้ถวายผลไม้อย่างดี
      แก่ภิกษุรูปหนึ่ง ดิฉันได้ถวายผลไม้อันน่ารักอย่างนี้ จึงมาได้ทิพยวิมาน
      อันน่าปลื้มใจถึงเช่นนี้ นิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดิฉันนั้นเถิด ยิ่งกว่า
      นั้น ดิฉันยังเป็นนางฟ้าที่มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารัก ทั้งยังเป็นผู้เลิศ
      กว่านางอัปสรตั้งพันนางอีกด้วย นิมนต์พระคุณเจ้าดูผลแห่งบุญ คือ
      การถวายผลไม้อย่างดีทั้งหลายนั้นเถิด เพราะบุญกรรมนั้น ดิฉันจึงมี
      วรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะ
      บุญกรรมนั้น.
      (๔) พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า
      ดูกรแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ
      สถิตอยู่เหมือนดาวประกายพฤกษ์ เพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงมีวรรณะ
      งามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมอะไร?
      นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ
      ได้พยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า
      ดิฉันเป็นสตรีผู้ประเสริฐในนระและนารีทั้งหลาย ได้ถวายอาหารมีรส
      อย่างดีแก่ภิกษุรูปหนึ่ง ดิฉันได้ถวายอาหารอันน่ารักอย่างนี้ จึงมาได้
      ทิพยวิมานอันน่าปลื้มใจถึงเช่นนี้ นิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดิฉันนั้น
      เถิด ยิ่งกว่านั้น ดิฉันยังเป็นนางฟ้าที่มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารัก ทั้งยัง
      เป็นผู้เลิศกว่านางอัปสรตั้งพันนางอีกด้วย นิมนต์พระคุณเจ้าดูผลแห่งบุญ
      คือการถวายอาหารมีรสอย่างดีทั้งหลายนั้นเถิด เพราะบุญกรรมนั้น ดิฉัน
      จึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะ
      บุญกรรมนั้น.
      พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า
      ดูกรแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ
      สถิตอยู่เหมือนดาวประกายพฤกษ์ เพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงมีวรรณะ
      งามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมอะไร?
      นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลื้มใจ ได้
      พยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า
      ดิฉันได้นำของหอม ๕ อย่าง ไปประพรมที่องค์พระสถูปทองคำ สำหรับ
      บรรจุพระบรมธาตุของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า นิมนต์พระคุณเจ้า
      ดูวิมานของดิฉันนี้เถิด ยิ่งกว่านั้น ดิฉันยังเป็นนางฟ้าที่มีรูปร่างและ
      ผิวพรรณน่ารัก ทั้งยังเป็นผู้เลิศกว่านางอัปสรตั้งพันนางอีกด้วย นิมนต์
      พระคุณเจ้าดูผลแห่งบุญคือการถวายของหอม ๕ อย่างนั้นเถิด เพราะบุญ
      กรรมนั้น ดิฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่ว
      ทุกทิศ เพราะบุญกรรมนั้น.
      ๔. วิมานที่จะกล่าวต่อไปนี้ มีเนื้อความพิสดารเหมือนกับคันธปัญจังคลิกวิมาน
      (๑) พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า
      ดูกรแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีส่องสว่างไสวไปทั่วทุก
      ทิศ สถิตอยู่เหมือนดาวประกายพฤกษ์ เพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงมี
      วรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญ
      กรรมอะไร?
      นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ
      ได้พยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า ดิฉัน ภิกษุและภิกษุณี
      ทั้งหลาย พากันเดินทางไกล ได้ฟังธรรมเทศนาของท่านเหล่านั้น ได้
      เข้ารักษาอุโบสถอยู่วันหนึ่ง คืนหนึ่ง นิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดิฉัน
      นั้นเถิด ยิ่งกว่านั้น ดิฉันยังเป็นนางฟ้าที่มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารัก
      ทั้งยังเป็นผู้เลิศกว่านางอัปสรตั้งพันนางอีกด้วย นิมนต์พระคุณเจ้าดูผล
      แห่งบุญทั้งหลายเถิด เพราะบุญกรรมนั้น ดิฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ
      และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมนั้น.
      (๒) พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า
      ดูกรแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีส่องสว่างไสวไปทั่วทุก
      ทิศ สถิตอยู่เหมือนดาวประกายพฤกษ์ เพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงมี
      วรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญ
      กรรมอะไร?
      นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ
      ได้พยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามว่า ดิฉันยืนอยู่ในน้ำ มีจิต
      เลื่อมใส ได้ถวายน้ำใช้และน้ำฉันแก่ภิกษุรูปหนึ่ง นิมนต์พระคุณเจ้าดู
      วิมานของดิฉันนั้นเถิด ยิ่งกว่านั้น ดิฉันยังเป็นนางฟ้าที่มีรูปร่างและ
      ผิวพรรณน่ารัก ทั้งยังเป็นผู้เลิศกว่านางอัปสรตั้งพันนางอีกด้วย นิมนต์
      พระคุณเจ้าดูผลแห่งบุญทั้งหลายเถิด เพราะบุญกรรมนั้น ดิฉันจึงมี
      วรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญ
      กรรมนั้น.
      (๓) พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า
      ดูกรแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีส่องสว่างไสวไปทั่วทุก
      ทิศ สถิตอยู่เหมือนดาวประกายพฤกษ์ เพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงมี
      วรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรม
      อะไร?
      นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ
      ได้พยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า ดิฉันไม่คิดมุ่งร้าย ตั้งใจ
      ปฏิบัติเป็นอย่างดี ซึ่งแม่ผัวและพ่อผัวผู้ดุร้าย ผู้มักโกรธง่ายและหยาบ
      คาย เป็นผู้ไม่ประมาทในการรักษาศีลของตน นิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมาน
      ของดิฉันนั้นเถิด ยิ่งกว่านั้น ดิฉันยังเป็นนางฟ้าที่มีรูปร่างและผิวพรรณ
      น่ารัก ทั้งยังเป็นผู้เลิศกว่านางอัปสรตั้งพันนางอีกด้วย นิมนต์พระคุณเจ้า
      ดูผลแห่งบุญทั้งหลายเถิด เพราะบุญกรรมนั้น ดิฉันจึงมีวรรณะงาม
      เช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมนั้น.
      (๔) พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า
      ดูกรแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีส่องสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ
      สถิตอยู่เหมือนดาวประกายพฤกษ์ เพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงมี
      วรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะ
      บุญกรรมอะไร?
      นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้ม
      ใจ ได้พยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า ดิฉันเป็นหญิง
      รับใช้ รับจ้างทำกิจการงานของคนอื่น ไม่เกียจคร้าน ไม่เป็นคน
      โกรธง่าย ไม่ถือตัว ชอบแบ่งปันสิ่งของ อันเป็นส่วนของตนที่ได้
      มาแก่ปวงชนที่ต้องการ นิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดิฉันนั้นเถิด ยิ่ง
      กว่านั้นดิฉันยังเป็นนางฟ้าที่มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารัก ทั้งยังเป็นผู้เลิศ
      กว่านางอัปสรตั้งพันนางอีกด้วย นิมนต์พระคุณเจ้าดูผลแห่งบุญทั้ง
      หลายเถิด เพราะบุญกรรมนั้น ดิฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ
      และมีรัศมีส่องสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมนั้น.
      พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า
      ดูกรแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีส่องสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ
      สถิตอยู่เหมือนดาวประกายพฤกษ์ เพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงมี
      วรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญ
      กรรมอะไร?
      นางเทพธิดานั้น อันพระมหาโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบ
      ปลื้มใจ จึงพยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า
      ดิฉันได้ถวายข้าวสุกคลุกนมวัวสดแก่ภิกษุรูปหนึ่ง ผู้กำลังเที่ยวบิณฑ-
      บาตอยู่ นิมนต์พระคุณเจ้าจงดูวิมานของดิฉันนั้นเถิด ยิ่งกว่านั้น
      ดิฉันเป็นนางฟ้าที่มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารัก ทั้งยังเป็นผู้เลิศกว่านางอัปสร
      ตั้งพันนางอีกด้วย เพราะบุญกรรมนั้น ดิฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ
      และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมนั้น.
      ในวิมานเหล่านั้น ๒๕ วิมานที่จะกล่าวต่อไปนี้ มีเนื้อความพิสดารเหมือนกับขีโรทนทา-
      *ยิกาวิมาน.
      พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า
      ดูกรแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสว
      ไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมอะไร?
      นางเทพธิดานั้น อันพระมหาโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบ
      ปลื้มใจ จึงพยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า ดิฉันได้ถวาย
      (๑) น้ำอ้อยงบ ฯลฯ
      (๒) ผลมะพลับสุก ฯลฯ
      (๓) อ้อยท่อนหนึ่ง ฯลฯ
      (๔) แตงโมผลหนึ่ง ฯลฯ
      (๕) ฟักทองผลหนึ่ง ฯลฯ
      (๖) ยอดผักต้ม ฯลฯ
      (๗) ผลลิ้นจี่ ฯลฯ
      (๘) เชิงกราน ฯลฯ
      (๙) ผักดองกำหนึ่ง ฯลฯ
      (๑๐) ดอกไม้กำหนึ่ง ฯลฯ
      (๑๑) มัน ฯลฯ
      (๑๒) สะเดากำหนึ่ง ฯลฯ
      (๑๓) น้ำผักดอง ฯลฯ
      (๑๔) แป้งคลุกงาคั่ว ฯลฯ
      (๑๕) ประคตเอว ฯลฯ
      (๑๖) ผ้าอังสะ ฯลฯ
      (๑๗) พัด ฯลฯ
      (๑๘) พัดสี่เหลี่ยม ฯลฯ
      (๑๙) พัดใบตาล ฯลฯ
      (๒๐) หางนกยูงกำหนึ่ง ฯลฯ
      (๒๑) ร่ม ฯลฯ
      (๒๒) รองเท้า ฯลฯ
      (๒๓) ขนม ฯลฯ
      (๒๔) ขนมต้ม ฯลฯ
      (๒๕) น้ำตาลกรวด
      แก่ภิกษุรูปหนึ่งผู้กำลังบิณฑบาตอยู่ นิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดิฉัน
      นั้นเถิด ยิ่งกว่านั้น ดิฉันยังเป็นนางฟ้าที่มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารัก ทั้งยัง
      เป็นผู้เลิศกว่านางอัปสรตั้งพันนางอีกด้วย เพราะบุญกรรมนั้น ดิฉัน
      จึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะ
      บุญกรรมนั้น.
      เมื่อนางเทพธิดาเหล่านั้น เฉลยผลกรรมที่ได้ทำมาเป็นอันดีอย่างนี้แล้ว คุตติลบัณฑิต
      ร่าเริง บันเทิงใจ เมื่อจะแสดงความชื่นชมยินดีของตน จึงกล่าวว่า
      ข้าพเจ้ามาถึงเมืองสวรรค์วันนี้ เป็นการดีแท้ เป็นฤกษ์งามยามดีที่
      ข้าพเจ้าได้เห็นนางเทพธิดาทั้งหลาย ที่เป็นนางฟ้ามีรูปร่างและผิวพรรณ
      น่ารักใคร่ ทั้งยังได้ฟังธรรมอันแนะนำทางบุญกุศลจากเธอเหล่านั้นด้วย
      แต่นี้ไป ข้าพเจ้าจักกระทำบุญกุศลให้มาก ด้วยการให้ทาน ด้วยการ
      ประพฤติธรรมสม่ำเสมอ ด้วยการรักษาศีลสังวร และด้วยการฝึก
      อินทรีย์ ข้าพเจ้าจักได้ไปสู่สถานที่ๆ ไปแล้วไม่เศร้าโศก.
      จบ คุตติลวิมานที่ ๕.
    6. TVJ
      TVJ
      ๗. อุโบสถวิมาน
      ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในอุโบสถวิมาน
      [๒๔] ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระ ได้ถามถึงบุรพกรรมของนางเทพธิดานั้นว่า
      ดูกรแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีส่องสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ
      สถิตอยู่เหมือนดาวประกายพฤกษ์ เพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงมีผิวพรรณ
      งามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรม
      อะไร?
      นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ
      ได้พยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า
      ดิฉันเป็นอุบาสิกาอยู่ในเมืองสาเกต ประชาชนเรียกดิฉันว่าแม่อุโบสถ
      เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศรัทธาและศีล ... ได้เป็นอุบาสิกาของพระสมณโคดม
      ผู้มีพระจักษุ สมบูรณ์ด้วยพระเกียรติยศ เพราะบุญกรรมนั้น ดิฉันจึง
      มีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะ
      บุญนั้น.
      เมื่อจะแสดงโทษของตน นางเทพธิดานั้นจึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถาอีกว่า
      ความพอใจได้เกิดมีแก่ดิฉัน เพราะได้ทราบถึงทิพสมบัติต่างๆ ใน
      นันทวันเนืองๆ เพราะเหตุที่ตั้งใจไว้ ดิฉันจึงได้บังเกิดในนันทวัน
      ชั้นดาวดึงสพิภพนั้น ดิฉันมิได้ใส่ใจถึง เพราะวาจาของพระพุทธเจ้า
      เหล่ากอแห่งพระอาทิตย์ ตั้งจิตไว้ในภพอันเลว จึงมีความเดือดร้อนใน
      ภายหลัง.
      เพื่อจะปลุกปลอบใจนางเทพธิดานั้น พระมหาโมคคัลลานเถระจึงกล่าวคาถานั้น ความว่า
      ดูกรแม่เทพธิดา อาตมาถามท่านแล้ว ถ้าทราบอายุของท่าน ผู้อยู่ใน
      อุโบสถวิมาน ในโลกนี้ จงบอกว่าสิ้นกาลนานเท่าไร?
      นางเทพธิดานั้นตอบว่า
      ข้าแต่ท่านจอมปราชญ์ดิฉันดำรงอยู่ในอุโบสถวิมานนี้ สิ้นกาลประมาณ
      หกหมื่นปีทิพย์ จุติจากที่นี้แล้ว จักไปบังเกิดเป็นมนุษย์.
      พระมหาโมคคัลลานเถระ ได้ยังนางเทพธิดานั้นให้อาจหาญร่าเริงด้วย
      คาถานี้ ความว่า
      ท่านอย่าสะทกสะท้านถึงการอยู่ในอุโบสถวิมานนี้เลย ท่านเป็นผู้อัน
      พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ไว้แล้ว ท่านจักถึงคุณวิเศษ คือ เป็น
      พระโสดาบัน ทุคติของท่านก็จักพลันเสื่อมไป.
      จบ อุโบสถวิมานที่ ๗.
      ๘. สุนิททาวิมาน
      ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในสุนิททาวิมาน
      [๒๕] พระมหาโมคคัลลานเถระ เมื่อจะถามถึงบุรพกรรมของนางเทพธิดานั้น
      จึงกล่าวคาถานี้ความว่า
      ดูกรแม่เทพธิดา ท่านเป็นผู้มีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีส่องสว่างไสวไป
      ทั่วทุกทิศ สถิตอยู่เหมือนดาวประกายพฤกษ์ เพราะบุรพกรรมอะไร
      ท่านจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ
      เพราะบุญกรรมอะไร?
      นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ
      ได้พยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า ดิฉันเป็นอุบาสิกาอยู่ใน
      พระนครราชคฤห์ ประชาชนเรียกว่า สุนิททา เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศรัทธา
      และศีล ... เป็นอุบาสิกาของพระสมณโคดมผู้มีพระจักษุ สมบูรณ์ด้วย
      พระเกียรติยศ เพราะบุญกรรมนั้น และจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ
      ดิฉันมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมนั้น
      จบ สุนิททาวิมานที่ ๘.
      ๙. สุทินนาวิมาน
      ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในสุทินนาวิมาน
      [๒๖] พระมหาโมคคัลลานเถระ เมื่อจะถามถึงบุรพกรรมของนางเทพธิดานั้น จึงกล่าว
      คาถานี้ความว่า
      ดูกรแม่เทพธิดา ท่านเป็นผู้มีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีส่องสว่างไปทั่ว
      ทุกทิศ สถิตอยู่เหมือนดาวประกายพฤกษ์ เพราะบุญกรรมอะไร?
      ท่านจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ
      เพราะบุญกรรมอะไร?
      นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ
      ได้พยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า
      ดิฉันเป็นอุบาสิกาอยู่ในเมืองราชคฤห์ ประชาชนเรียกดิฉันว่า แม่สุทินนา
      เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศรัทธาและศีล ... เป็นอุบาสิกาของพระสมณโคดมผู้มี
      พระจักษุ สมบูรณ์ด้วยพระเกียรติยศ เพราะบุญกรรมนั้น ดิฉันจึงมี
      วรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญ
      กรรมนั้น.
      จบ สุทินนาวิมานที่ ๙.
      ๑๐. ภิกษาทายิกาวิมานที่ ๑
      ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในภิกษาทายิกาวิมานที่ ๑
      [๒๗] พระมหาโมคคัลลานเถระถามนางเทพธิดานั้น ด้วยคาถาเหล่านี้ ความว่า
      ดูกรแม่เทพธิดา ท่านเป็นผู้มีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีส่องสว่างไสวไปทั่ว
      ทุกทิศ สถิตอยู่เหมือนดาวประกายพฤกษ์ เพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึง
      มีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญ
      กรรมอะไร?
      นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ
      ได้พยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่พระเถระถามนั้นว่า
      ในชาติก่อน ดิฉันเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ในมนุษยโลก ได้พบเห็น
      พระพุทธเจ้าผู้ปราศจากกิเลสธุลี มีอินทรีย์ผ่องใสไม่ขุ่นมัว ดิฉันเกิด
      ความเลื่อมใส ได้ทูลถวายภิกษาแด่พระองค์ท่านด้วยมือของดิฉันเอง
      เพราะบุญกรรมอันนั้น ดิฉันจึงมีวรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่าง
      ไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมนั้น.
      จบ ภิกษาทายิกาวิมานที่ ๑๐.
      ๑๑. ภิกษาทายิกาวิมานที่ ๒
      ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในภิกษาทายิกาวิมานที่ ๒
      [๒๘] พระมหาโมคคัลลานเถระถามนางเทพธิดาตนนั้น ด้วยคาถานี้ความว่า.
      ดูกรแม่เทพธิดา ท่านเป็นผู้มีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีส่องสว่างไสว
      ไปทั่วทุกทิศ สถิตอยู่เหมือนดาวประกายพฤกษ์ เพราะบุญกรรมอะไร
      ท่านจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะ
      บุญกรรมอะไร?
      นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ
      ได้พยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่พระเถระถามนั้นว่า
      ในชาติก่อน ดิฉันเกิดเป็นมนุษย์ในหมู่ในมนุษย์มนุษยโลก ได้พบเห็น
      พระพุทธเจ้าผู้ปราศจากกิเลสธุลี มีอินทรีย์ผ่องใสไม่ขุ่นมัว ดิฉันเกิดความ
      เลื่อมใส ได้ทูลถวายภิกษาแด่พระองค์ท่านด้วยมือของดิฉันเอง เพราะ
      บุญกรรมอันนั้น ดิฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสว
      ไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมนั้น.
      จบ ทุติยภิกษาทายิกาวิมานที่ ๑๑.
      -------------------
      รวมวิมานที่มีในวรรคนี้ คือ
      ๑. ทาสีวิมาน ๒. ลขุมาวิมาน ๓. อาจามทายิกาวิมาน ๔. จัณฑาลิวิมาน ๕. ภัททิต-
      *ถิกาวิมาน ๖. โสณทินนาวิมาน ๗. อุโปสถวิมาน ๘. สุนิททาวิมาน ๙. สุนินนาวิมาน ๑๐. ภิกษา
      ทายิกาวิมานที่ ๑ ๑๑. ภิกษาทายิกาวิมานที่ ๒.
      จบ วรรคที่ ๒ ในอิตถีวิมาน.
      จบ ปฐมภาณวาร.
    7. TVJ
      TVJ
      จิตตลดาวรรคที่ ๒
      ๑. ทาสีวิมาน
      ว่าด้วยบุญที่ทำให้ไปเกิดในทาสีวิมาน
      [๑๘] ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า
      ท่านผู้แวดล้อมด้วยหมู่นางเทพนารี เที่ยวชมไปโดยรอบในสวนจิตตลดา-
      วันอันน่ารื่นรมย์ ประดุจท้าวสักกเทวาธิราช ยังทิศทั้งปวงให้สว่างไสว
      เหมือนดาวประกายพฤกษ์ ท่านมีวรรณะเช่นนี้ เพราะกรรมอะไร อิฐผล
      ย่อมสำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้ เพราะกรรมอะไร ประการหนึ่ง โภคสมบัติ
      ต่างๆ อันเป็นเครื่องปลื้มใจ ย่อมเกิดขึ้นแก่ท่านเพราะกรรมอะไร ดูกร
      นางเทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามท่าน ครั้งเมื่อท่านเกิดเป็น
      มนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้ ท่านเป็นผู้มีอานุภาพรุ่งเรืองเช่นนี้ และมี
      รัศมีสว่างไสวไปทั่วทิศ เพราะบุญกรรมอะไร?
      นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลื้มใจ จึง
      ได้พยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า ครั้งเมื่อดิฉันเกิดเป็น
      มนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ ได้เป็นทาสีหญิงรับใช้ในตระกูลแห่งชนอื่น
      ดิฉันนั้นเป็นอุบาสิกาของพระสมณโคดม ผู้มีพระจักษุและพระเกียรติยศ
      เมื่อดิฉันรักษาศีล ทำมนสิการในกรรมฐานอยู่ ๑๖ ปี กรรมฐานกล่าวคือ
      โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการได้สำเร็จแก่ดิฉัน ด้วยอานุภาพแห่งการ
      มนสิการนั้น การออกไปจากกิเลสได้เกิดมีแก่ดิฉัน ในศาสนาของพระ
      สมณโคดมผู้ทรงพระคุณคงที่ เพราะมีมนสิการมั่นอยู่ในจิตว่า แม้ถึง
      ร่างกายนี้จะแตกทำลายไปก็ตามที การที่จะหยุดความเพียรในการเจริญ
      กรรมฐานนี้ เป็นอันไม่มีเป็นอันขาด ขอท่านจงดูผลแห่งความเพียร
      เป็นเหตุก้าวไปสู่คุณเบื้องหน้า กล่าวคือความสวัสดี ความเกษม
      ความปราศจากเสี้ยนหนามคือกิเลส สภาวะที่หาเครื่องยึดเหนี่ยวมิได้
      ความซื่อตรง และองค์อริยมรรค ที่สัตบุรุษทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้า
      เป็นต้นประกาศแล้ว อันเป็นอุปนิสัยสืบเนื่องมาจากการรักษาสิกขาบท ๕
      ประการของดิฉันนั้น อันเป็นเหตุให้บรรลุซึ่งผลอันนี้ ดิฉันเป็นที่โปรด
      ปรานและคุ้นเคยกับท้าวสักกเทวราช เทพบุตรอันมีนามว่าอาลัมพะ
      คัคคมะ ภีมะ สาธุวาที ปสังสิยะ โปกขรา และสุผัสสะ และเหล่า
      เทพธิดาน้อยๆ อันมีนามว่า วีณา โมกขา นันทา สุนันทา โสณทินนา
      สุจิมหิตา อาลัมพุสา มิสสเกสี และนางบุณฑริกา ได้ทำการบำเรอ
      ปลุกปลื้มแก่ดิฉัน ด้วยดนตรีทิพย์มีประมาณได้หกหมื่น และนางเทพ
      กัญญาเหล่านี้ คือ นางเอนิปัสสา นางสุปัสสา นางสุภัททา นางมุทุกาวที
      ผู้ประเสริฐกว่า นางเทพอัปสรทั้งหลาย และนางเทพกัญญาเหล่าอื่นผู้บำรุง
      บำเรอ นางเทพอัปสรทั้งหลายเหล่านั้น ได้เข้ามาสู่ที่ใกล้ชิดตามกาล
      อันควร สนองเสนอดิฉันด้วยวาจาที่น่ายินดีว่า เอาเถอะ พวกดิฉันจัก
      ฟ้อนรำ ขับร้อง จักยังท่านให้รื่นรมย์ ดังนี้ ฐานะที่ดิฉันได้รับในบัดนี้
      ย่อมไม่มีแก่ผู้ที่ไม่ได้ทำบุญไว้ ฐานะที่หาความโศกมิได้ น่าเพลิดเพลิน
      น่ารื่นรมย์ เป็นอุทยานใหญ่ของเทวดาชาวไตรทศเช่นนี้ ย่อมเกิดมีสำหรับ
      ผู้มีบุญเท่านั้น ผู้ไม่ได้ทำบุญไว้ ย่อมไม่มีความสุขทั้งในโลกนี้และโลก
      หน้า ส่วนผู้มีบุญอันได้บำเพ็ญแล้ว ย่อมมีความสุขทั้งในโลกนี้และโลก
      หน้า อันบุคคลผู้ปรารถนา เพื่อสถิตร่วมกับเทวดาชาวไตรเทศเหล่านั้น
      ควรจะบำเพ็ญกุศลไว้ให้มาก เพราะว่าผู้มีบุญอันก่อสร้างไว้แล้ว ย่อม
      เพรียบพร้อมด้วยโภคสมบัติ ร่าเริงบันเทิงอยู่ในสวรรค์.
      จบ ทาสีวิมานที่ ๑.
      ๒. ลขุมาวิมาน
      ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในลขุมาวิมาน
      [๑๙] พระมหาโมคคัลลานเถระ เมื่อขณะท่องเที่ยวอยู่ ณ เทวสถานได้ถามนางเทพธิดา
      ตนหนึ่งว่า
      ดูกรนางเทพธิดา ท่านเป็นผู้มีรัศมีงามยิ่งนัก ส่องสว่างไสวไปทั่วทิศ
      สถิตอยู่ ประดุจดาวประจำรุ่ง ฉะนั้น ท่านมีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญ
      กรรมอะไร ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทิศ เพราะบุญกรรมอะไร?
      นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลื้มใจ ได้
      พยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า เมื่อดิฉันยังเป็นมนุษย์อยู่
      บ้านของดิฉันตั้งอยู่ใกล้กับประตูบ้านชาวประมง ดิฉันได้ถวายข้าวสุก
      ขนมกุมมาส ผักดอง และน้ำเครื่องดื่ม เจือด้วยรสต่างๆ แก่พระ
      สาวกทั้งหลายผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ยิ่ง ซึ่งออกจากประตูบ้านชาวประมง
      กำลังท่องเที่ยวไปในบ้านของดิฉันนั้น ประการหนึ่ง ดิฉันเป็นผู้มีจิต
      เลื่อมใสในพระอริยสาวกผู้มีจิตอันซื่อตรง ได้เข้ารักษาอุโบสถศีลอัน
      ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ตลอดวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ๘ ค่ำ และ
      ตลอดปาฏิหาริยปักษ์ เป็นผู้สังวรด้วยดีในองค์ศีลทุกเมื่อ เป็นผู้สำรวม
      และจำแนกทาน จึงได้ครอบครองวิมานนี้ เป็นผู้เว้นจากปาณาติบาต
      เว้นขาดจากการเอาสิ่งของของผู้อื่นด้วยไถยจิต จากการประพฤติล่วง
      ละเมิดในกาม สำรวมจากมุสาวาท และจากการดื่มน้ำเมา เป็นผู้ยินดี
      ในเบญจศีล ฉลาดในอริยสัจ เป็นอุบาสิกาของพระสมณโคดมผู้มี
      พระจักษุ และพระเกียรติยศ ดิฉันมีวรรณะเช่นนี้เพราะบุญกรรมนั้น ฯลฯ
      และมีรัศมีสว่างไสว ไปทั่วทุกทิศ ประการหนึ่ง ขอท่านผู้เจริญพึง
      ถวายบังคมพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า แล้วทูลตาม
      คำของดิฉันว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุบาสิกาชื่อลขุมา ถวายบังคม
      พระบาททั้งคู่ของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็การ
      ที่พระผู้มีพระภาคพึงทรงพยากรณ์ดิฉันในสามัญผล อย่างใดอย่างหนึ่งนั้น
      ไม่น่าอัศจรรย์ แต่การที่พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ดิฉัน ในสกทาคามิผล
      นั้น น่าอัศจรรย์แท้จริง.
      จบ ลขุมาวิมานที่ ๒.
      ๓. อาจามทายิกาวิมาน
      ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในอาจามทายิกาวิมาน
      [๒๐] ท้าวสักกเทวราชเมื่อจะตรัสถามถึงที่เกิดแห่งหญิงนั้น กะพระมหากัสสปเถระ
      จึงตรัสคาถาสองคาถาความว่า
      หญิงขัดสน เป็นคนกำพร้า อาศัยชายคาเรือนของคนอื่นอยู่ มีจิตเลื่อมใส
      ได้ถวายข้าวตังแด่พระคุณเจ้าผู้เที่ยวไปบิณฑบาต ซึ่งมาหยุดยืนนิ่งอยู่
      เฉพาะหน้า ด้วยมือของตนเอง ครั้นละจากอัตภาพมนุษย์แล้ว ได้ไป
      บังเกิดในฉกามาพจรสวรรค์ชั้นไหนหนอ?
      พระมหากัสสปเถระถวายพระพรว่า
      หญิงขัดสน เป็นคนกำพร้า อาศัยชายคาเรือนของคนอื่นอยู่ มีจิต
      เลื่อมใส ได้ถวายข้าวตังแก่อาตมภาพผู้กำลังเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาต
      ซึ่งมายืนหยุดนิ่งเฉพาะหน้า ด้วยมือของตนเองนั้น ครั้นละจากอัตภาพ
      มนุษย์ จุติจากมนุษยโลกนี้พ้นไปแล้ว ได้บังเกิดเป็นเทพธิดาผู้มี
      ฤทธิ์มาก อยู่ ณ ชั้นนิมมานรดี ถึงความสุขอันเป็นทิพย์ ร่าเริง
      บันเทิงใจอยู่ในชั้นนิมมานรดีนั้น เหตุสักว่าอาจามทานฯ
      ท้าวสักกเทวราชกล่าวสรรเสริญทานนั้นว่า
      น่าอัศจรรย์จริงหนอ ทานของคนกำพร้าไร้ญาติ เป็นทานที่นำมาแต่
      ผู้อื่นแล้ว ได้นอบน้อมถวายแก่พระมหากัสสป สำเร็จเป็นทักษิณา
      มากถึงเพียงนี้ นางแก้วผู้งามทั่วสรรพางค์ สามีไม่จืดจางในการมอง
      ชม ได้รับอภิเษกเป็นเอกอัครมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ ก็ยังไม่
      เทียบเท่าเสี้ยวที่ ๑๖ ของอาจามทานนี้ ทองคำแท่งมีปริมาณตั้งร้อยก็ดี
      ม้ามีกำลังเร็วมีปริมาณตั้งร้อยก็ดี ราชรถอันเทียมด้วยม้าอัศดรตั้งร้อย
      ก็ดี นางราชกัญญาอันประดับประดาแล้วด้วยแก้วมุกดา และแก้วมณี
      และต่างหูมีปริมาณตั้งแสนก็ดี ก็ยังไม่เทียบเท่าเสี้ยวที่ ๑๖ ของอาจาม-
      ทานนี้ คชสารตัวประเสริฐเกิดแต่ป่าหิมพานต์ เป็นคชสารตระกูลมา-
      ตังคะ มีงางามงอนดุจงอนรถ มีสายรัดแล้วด้วยทองคำ มีข่ายทองคำ
      ปกเหนือกระพองศีรษะ มีประมาณตั้งร้อยเชือก ก็ยังไม่เทียบเท่าเสี้ยว
      ที่ ๑๖ ของอาจามทานนี้ ถึงแม้พระเจ้าจักรพรรดิ ได้เสวยราชสมบัติ เป็น
      ใหญ่ในมหาทวีปทั้งสี่ ก็ยังไม่เทียบเท่าเสี้ยวที่ ๑๖ ของอาจามทานนี้.
      จบ อาจามทายิกาวิมานที่ ๓
      ๔. จัณฑาลิวิมาน
      ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในจัณฑาลิวิมาน
      [๒๑] พระมหาโมคคัลลานเถระได้กล่าวคาถาสองคาถาความว่าแน่ะยายจัณฑาล
      ท่านจงถวายอภิวาทพระบาทยุคลของพระสมณโคดมผู้อุดม ด้วยพระ-
      เกียรติยศ พระองค์ผู้ประเสริฐกว่าผู้วิเศษทั้งหลาย ได้ประทับยืนอยู่เพื่อ
      ทรงอนุเคราะห์ท่านคนเดียวเท่านั้น ท่านจงยังจิตให้เลื่อมใสยิ่ง ใน
      พระพุทธเจ้าผู้ห่างไกลจากกิเลสทั้งมวล เป็นผู้หนักแน่น แล้วจงประคอง
      หัตถ์ถวายอภิวาทโดยเร็วเถิด ชีวิตของท่านยังเหลือน้อยเต็มที.
      เพื่อจะแสดงประวัติของหญิงจัณฑาลนั้นโดยตลอด ท่านพระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวคาถา
      สองคาถานี้ว่า
      หญิงจัณฑาลผู้นี้มีตนอันอบรมแล้ว ดำรงไว้ซึ่งสรีระอันเป็นที่สุด อัน
      พระมหาเถระตักเตือนแล้ว จึงถวายบังคมพระบาทยุคลของพระสมณ-
      โคดม ผู้อุดมด้วยพระเกียรติยศ แต่โคนมได้ขวิดนางในขณะที่กำลังยืน
      ประคองหัตถ์ นมัสการพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ส่องแสงสว่าง คือ
      พระญาณในโลกอันมืดมัว.
      เพื่อประกาศข้อความเป็นไปของตน นางเทพธิดาจึงกล่าวว่า
      ข้าแต่ท่านวีรบุรุษผู้มีอานุภาพมาก พวกดิฉันถึงแล้วซึ่งความเป็นผู้มีฤทธิ์
      อันประเสริฐ เข้ามาขอถวายนมัสการท่านผู้สิ้นอาสวะปราศจากกิเลสธุลี
      เป็นผู้ไม่หวั่นไหว.
      พระมหาโมคคัลลานเถระจึงกล่าวกะนางนั้นว่า
      ท่านทั้งหลายผู้มีรัศมีอร่ามงามรุ่งโรจน์ มากด้วยเกียรติยศ ประดับประดา
      ด้วยเครื่องอาภรณ์งามวิจิตรพิสดาร แวดล้อมด้วยหมู่นางอัปสรพากันลง
      มาจากวิมาน แนะแม่เทพธิดาผู้มีคุณอันงาม ท่านเป็นใคร มาไหว้
      ฉันอยู่
      นางเทพธิดานั้น อันพระมหาเถระถามอย่างนี้ จึงกล่าวคาถา ๔ คาถา ความว่า
      ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เมื่อดิฉันยังเป็นมนุษย์อยู่ในมนุษยโลก เป็นหญิง
      จัณฑาล อันท่านผู้เป็นวีรบุรุษส่งไปเพื่อถวายบังคมพระบาทของพระ-
      พุทธเจ้า ดิฉันได้ถวายบังคมพระบาทยุคลของพระสมณโคดมผู้เป็น
      พระอรหันต์ มีพระเกียรติยศอันงาม ครั้นได้ถวายบังคมพระบาทยุคล
      แล้ว เคลื่อนจากกำเนิดหญิงจัณฑาลไปบังเกิดในวิมาน อันเพรียบพร้อม
      ด้วยสมบัติทั้งปวงในเทวราชอุทยานมีนามว่านันทวัน นางเทพอัปสร
      ประมาณพันหนึ่งได้พากันมายืนห้อมล้อมดิฉัน ดิฉันเป็นผู้ประเสริฐเลิศ
      กว่านางเทพอัปสรเหล่านั้นโดยรัศมี เกียรติยศ และอายุ ดิฉันได้กระทำ
      กรรมอันงามมากมาย มีสติสัมปชัญญะ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกดิฉันพา
      กันมาครั้งนี้ เพื่อถวายนมัสการท่านผู้เป็นนักปราชญ์ ประกอบด้วยความ
      เอ็นดูในโลก.
      นางเทพธิดานั้น ครั้นกล่าวถ้อยคำนี้แล้ว เป็นผู้ประกอบด้วยความ
      กตัญญูกตเวที ไหว้เท้าทั้งสองของพระมหาโมคคัลลานเถระ องค์อรหันต์
      แล้วก็อันตรธานไป ณ ที่นั้นนั่นเอง.
      จบ จัณฑาลวิมานที่ ๔.
      ๕. ภัททิตถิกาวิมาน
      ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในภัททิตถิกาวิมาน
      [๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสถามถึงบุรพกรรมที่นางภัททาเทพธิดานั้นได้กระทำไว้
      ว่าท่านผู้มีกายอันมีรัศมีสีสรรต่างๆ บ้างเขียว บ้างเหลือง บ้างดำ หงสบาท
      และแดง แวดล้อมด้วยกลีบเกสรดอกไม้ มีเกศเกล้าอันแพรวพราวด้วย
      พวงมณฑาทิพย์ ดูกรนางผู้มีปัญญาดี ต้นไม้เหล่านี้ย่อมไม่มีในหมู่เทวดา
      เหล่าอื่น ดูกรนางผู้เลอยศ ท่านได้บังเกิดในหมู่เทวดาชั้นดาวดึงส์ เพราะ
      กรรมอะไร ดูกรนางเทพธิดา ขอท่านจงแถลงข้อที่เราถาม ผลเช่นนี้แห่ง
      กรรมอะไร?
      นางเทพธิดา เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสถามอย่างนี้แล้ว จึงกราบทูลพยากรณ์ด้วยคาถา
      เหล่านี้ว่า
      หม่อมฉันเป็นอุบาสิกาอยู่ในกิมพิลนคร ชนทั้งหลายรู้จักหม่อมฉันชื่อ
      ว่า ภัททิตถิกา หม่อมฉันเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศรัทธา และศีล ยินดีใน
      การจำแนกทานทุกเมื่อ มีจิตอันผ่องใส ได้ถวายผ้านุ่งห่ม ภัตตาหาร
      เสนาสนะ และประทีปพร้อมด้วยเครื่องอุปกรณ์ ในพระอริยเจ้าผู้ปฏิบัติ
      ซื่อตรง หม่อมฉันได้เข้ารักษาอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการใน
      ดิถีที่ ๑๔-๑๕ และดิถีที่ ๘ ของปักษ์ ตลอดปาฏิหาริยปักษ์ เป็น
      ผู้สำรวมแล้วด้วยดีในศีลทุกเมื่อ คือ งดเว้นจากปาณาติบาต เป็นผู้เว้น
      ขาดจากการถือเอาสิ่งของของผู้อื่นด้วยไถยจิต จากการประพฤติผิดในกาม
      สำรวมจากมุสาวาท และจากการดื่มน้ำเมา เป็นผู้ยินดีในสิกขาบททั้ง ๕
      และเป็นผู้ฉลาดในอริยสัจ เป็นอุบาสิกาของพระพุทธเจ้าผู้มีพระสมันต-
      จักษุ มีปกติเป็นอยู่ด้วยความไม่ประมาท หม่อมฉันได้บำเพ็ญสุจริต
      ธรรมความชอบสำเร็จแล้ว จุติจากมนุษยโลกนั้นแล้ว เป็นนางเทพธิดา
      ผู้มีรัศมีกายอันรุ่งโรจน์ เที่ยวเชยชมอยู่ในสวนนันทวัน อนึ่ง หม่อมฉัน
      ได้เลี้ยงดูท่านภิกษุผู้เป็นอัครสาวกทั้งสอง ผู้อนุเคราะห์ชาวโลกด้วย
      ประโยชน์เกื้อกูลอย่างยิ่ง ผู้เพรียบพร้อมด้วยตบะธรรม เป็นจอมปราชญ์
      และได้บำเพ็ญสุจริตธรรมความชอบไว้มาก ครั้นจุติจากมนุษยโลกนั้น
      แล้ว ได้บังเกิดเป็นเทพธิดา ผู้มีรัศมีกายอันสว่างไสว เที่ยวเชยชม
      อยู่ในสวนนันทวัน หม่อมฉันได้เข้ารักษาอุโบสถ อันประกอบด้วยองค์
      ๘ ประการ มีคุณอันกำหนดมิได้ นำมาซึ่งความสุขเนืองนิตย์ และได้
      สร้างกุศลธรรมความชอบไว้บริบูรณ์แล้ว ครั้นจุติจากมนุษยโลกนั้นแล้ว
      ได้บังเกิดเป็นนางเทพธิดาผู้มีรัศมีกายอันรุ่งเรือง เที่ยวเชยชมอยู่ในเทพ
      อุทยานนันทวัน.
      จบ ภัททิตถิกาวิมานที่ ๕.
      ๖. โสณทินนาวิมาน
      ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในโสณทินนาวิมาน
      [๒๓] พระมหาโมคคัลลานเถระ ได้สอบถามนางเทพธิดาตนหนึ่งด้วยคาถา
      ความว่า ดูกรแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีส่องสว่างไสวไป
      ทั่วทุกทิศ สถิตอยู่เหมือนดาวประกายพฤกษ์ เพราะทำบุญอะไรไว้ ท่านจึง
      มีผิวพรรณงามเช่นนี้ เพราะทำบุญอะไรไว้ อิฐผลสำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้
      และโภคทรัพย์อันเป็นที่รักแห่งใจทุกสิ่งทุกอย่างจึงเกิดขึ้นแก่ท่าน แน่ะ
      แม่เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามท่าน เมื่อท่านยังเป็นมนุษย์
      ได้กระทำบุญสิ่งใดไว้ และเพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
      ถึงเพียงนี้ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ?
      นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ
      ได้พยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า ดิฉันเป็นอุบาสิกาอยู่ใน
      พระนครนาลันทา ชนชาวนาลันทานครรู้จักดิฉันว่า โสณทินนาเป็น
      ผู้สมบูรณ์ด้วยศรัทธาและศีล ยินดีแล้วในทานบริจาคเสมอ ได้ถวายผ้า
      นุ่งห่ม ภัตตาหาร เสนาสนะ และประทีปพร้อมด้วยเชื้อ ในพระอริยเจ้า
      ผู้มีจิตเที่ยงธรรมเป็นอันมาก ด้วยจิตอันผ่องใส ดิฉันได้เข้ารักษา
      อุโบสถศีลอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ทุกวัน ๑๔-๑๕ ค่ำ และ
      วัน ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ และตลอดปาฏิหาริยปักษ์ด้วย เป็นผู้สำรวมด้วย
      ดีในองค์ศีลทุกเมื่อ เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต เว้นห่างไกลจาก
      อทินนาทาน และการประพฤติผิดในกาม สำรวมจากมุสาวาท และจาก
      การดื่มน้ำเมา ดิฉันเป็นอุบาสิกาของพระสมณโคดมผู้มีพระจักษุ และ
      พระเกียรติยศ เป็นผู้ยินดีในสิกขาบททั้ง ๕ มีปัญญาเฉลียวฉลาดใน
      อริยสัจ ดิฉันจึงมีรัศมีงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ
      เพราะบุญนั้น.
      จบ โสณทินนาวิมานที่ ๖.
    8. TVJ
      TVJ
      ๙. ปทีปวิมาน
      ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในปทีปวิมาน
      [๙] พระมหาโมคคัลลานะถามว่า
      ดูกรนางเทพธิดา ท่านมีรูปงาม มีรัศมีรุ่งเรือง ส่องสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ
      เหมือนกับดวงดาวประกายพฤกษ์ ฉะนั้น ท่านมีผิวพรรณเช่นนี้เพราะบุญ
      อะไร อิฐผลย่อมสำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้เพราะบุญอะไร อนึ่ง โภคะ
      อันเป็นที่รักแห่งใจทุกสิ่งทุกอย่าง ย่อมเกิดขึ้นแก่ท่านเพราะบุญอะไร
      ดูกรนางเทพธิดา ท่านมีรัศมีสุกใสไพโรจน์ ล่วงเทวดาทั้งหลายเพราะ
      บุญอะไร ท่านมีอวัยวะทุกส่วนสัดส่องสว่างไปทั่วทุกทิศเพราะบุญอะไร
      ดูกรนางเทพธิดาผู้มีอานุภาพอันยิ่งใหญ่ อาตมาขอถามท่าน ครั้งท่านยัง
      เป็นมนุษย์อยู่ได้ทำบุญอะไรไว้ ท่านมีอานุภาพรุ่งเรืองถึงเช่นนี้ และรัศมี
      กายของท่านสว่างไสวไปทั่วทุกทิศเพราะบุญอะไร?
      นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานะซักถามแล้ว มีใจยินดีได้พยากรณ์
      ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกซักถามว่า
      ในชาติก่อน ครั้งเมื่อดิฉันยังเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ในมนุษยโลก
      เมื่อถึงเดือนมืดมาก ได้เวลาตามประทีป ดิฉันได้ถวายดวงประทีปอันเป็น
      อุปกรณ์กำจัดความมืดให้เป็นทาน อันว่าผู้ใด ถึงเวลาเดือนมืดมาก
      ได้เวลาตามประทีป ได้ถวายประทีปอันเป็นอุปกรณ์กำจัดความมืดให้
      เป็นทาน วิมานอันมีแสงสว่างเป็นผล ประดับด้วยดอกไม้จันทน์ และ
      บัวขาวอย่างมากมาย ย่อมเกิดแก่ผู้นั้น ดิฉันมีผิวพรรณถึงเช่นนี้ เพราะ
      การให้ประทีปเป็นทานนั้น อิฐผลสำเร็จแก่ดิฉันในวิมานนี้ เพราะการ
      ให้ประทีปเป็นทานนั้น อนึ่ง โภคทรัพย์ทั้งหลายอันเป็นที่รักแห่งใจทุกสิ่ง
      ทุกอย่าง เกิดแก่ดิฉันเพราะการให้ประทีปเป็นทานนั้น เพราะการให้
      ประทีปเป็นทานนั้น ดิฉันจึงมีรัศมีสุกใสไพโรจน์ล่วงเทวดาทั้งหลาย
      มีสรีระร่างทุกๆ ส่วนสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพ
      อันใหญ่ยิ่ง ดิฉันขอบอกแก่ท่าน ครั้งดิฉันยังเป็นมนุษย์ได้ให้
      ดวงประทีปใดเป็นทานไว้ ด้วยการให้ประทีปนั้นเป็นทาน ดิฉันจึงมี
      อานุภาพรุ่งโรจน์ถึงเช่นนี้ และรัศมีการของดิฉันจึงสว่างไสวไปทั่ว
      ทุกทิศ.
      จบ ปทีปวิมานที่ ๙
      ๑๐. ติลทักขิณวิมาน
      ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้เกิดในติลทักขิณวิมาน
      [๑๐] พระมหาโมคคัลลานะถามว่า
      ดูกรนางเทพธิดา ท่านมีรูปงาม มีรัศมีรุ่งเรืองส่องสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ
      เหมือนกับดวงดาวประกายพฤกษ์ฉะนั้น ท่านมีผิวพรรณเช่นนี้ เพราะบุญ
      อะไร อิฐผลย่อมสำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้เพราะบุญอะไร อนึ่ง โภคะอัน
      เป็นที่รักแห่งใจ ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมเกิดขึ้นแก่ท่านเพราะบุญอะไร ดูกร
      นางเทพธิดา ท่านมีรัศมีสุกใสไพโรจน์ล่วงเทวดาทั้งหลาย เพราะบุญ
      อะไร ท่านมีอวัยวะทุกส่วนสัดส่องสว่างไปทั่วทุกทิศเพราะบุญอะไร
      ดูกรนางเทพธิดาผู้มีอานุภาพอันยิ่งใหญ่ อาตมาขอถามท่าน ครั้งท่านยัง
      เป็นอยู่ ได้ทำบุญอะไรไว้ ท่านผู้มีอานุภาพรุ่งเรืองถึงเช่นนี้ และรัศมีกาย
      ของท่านสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญอะไร?
      นางเทพธิดานั้น อันพระมหาโมคคัลลานะซักถามแล้ว มีใจยินดี
      ได้พยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกซักถามว่า ในชาติก่อน ครั้งดิฉัน
      ยังเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ในมนุษยโลก ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศ-
      จากกิเลสธุลี มีน้ำพระหฤทัยใสสะอาดยิ่ง ดิฉันมีความเลื่อมใสขึ้น
      อันมิได้ตั้งไว้เดิม ได้ถวายเมล็ดงาเป็นทาน แก่พระพุทธเจ้าผู้พระทัก-
      ขิไณยบุคคลด้วยมือตนเอง ด้วยการถวายเมล็ดงาเป็นทานนั้น ดิฉันจึงมี
      ผิวพรรณถึงเช่นนี้ อิฐผลจึงสำเร็จแก่ดิฉันในวิมานนี้ อนึ่ง โภคทรัพย์
      ทั้งหลายอันเป็นที่รักแห่งใจทุกสิ่งทุกอย่าง เกิดแก่ดิฉันเพราะการให้เมล็ด
      งาเป็นทานนั้น ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพอันยิ่งใหญ่ ดิฉันขอบอกแก่ท่าน
      ครั้งดิฉันยังเป็นมนุษย์อยู่ได้ทำบุญ คือ ถวายเมล็ดงาเป็นทานอันใดไว้
      เพราะการถวายเมล็ดงาเป็นทานนั้น ดิฉันจึงมีอานุภาพรุ่งโรจน์ถึงอย่างนี้
      และรัศมีกายของดิฉันก็สว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.
      จบ ติลทักขิณวิมานที่ ๑๐
      ๑๑. ปติพพตาวิมานที่ ๑
      ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในปติพพตาวิมานที่ ๑
      [๑๑] พระมหาโมคคัลลานะถามว่า
      ดูกรนางเทพธิดาผู้มีอานุภาพอันยิ่งใหญ่ ท่านได้วิมานอันมีนกกระเรียน
      นกยูงทอง นกดุเหว่าดำ และนกดุเหว่าขาว ซึ่งมีทิพยานุภาพเที่ยวส่งเสียง
      อย่างไพเราะอยู่รอบด้าน ในวิมานนั้นเต็มไปด้วยดอกไม้หอมชื่นใจ วิจิตร
      ไปด้วยนานาประการ แวดล้อมไปด้วยเทพบุตรและเทพธิดา อนึ่ง หมู่
      นางเทพอัปสรเหล่านี้มีฤทธิ์ นิรมิตรูปร่างขึ้นแปลกๆ กันเป็นอันมาก
      ฟ้อนรำขับร้องอยู่รอบข้าง ให้ท่านมีความร่าเริงอยู่ ดูกรนางเทพธิดาผู้มี
      อานุภาพอันยิ่งใหญ่ ครั้งท่านยังเป็นมนุษย์ได้ทำบุญสิ่งใดไว้ จึงบรรลุ
      ความสำเร็จ ท่านมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมีกายของท่านสว่าง
      ไสวไปทั่วทิศเพราะบุญอะไร?
      นางเทพธิดานั้น อันพระมหาโมคคัลลานะซักถามแล้ว มีใจยินดี ได้
      พยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกซักถามว่า
      ครั้งดิฉันยังเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ ได้เป็นผู้มีสัจจะมั่นในสามี ไม่
      ประพฤตินอกใจ มีความจงรักต่อสามี เหมือนกับมารดารักบุตร แม้ดิฉัน
      จะโกรธเคืองก็ไม่กล่าวถ้อยคำอันหยาบคาย ละทิ้งการพูดเท็จเสีย ดำรง
      มั่นอยู่ในความสัตย์ ยินดีในการให้ทาน ตามปกติชอบสงเคราะห์ผู้อื่น
      เช่นกับสงเคราะห์ตน มีใจเลื่อมใส ได้ให้ข้าวและน้ำอย่างดีเป็นทาน
      โดยความเคารพ ด้วยความเป็นผู้ถือสัจจะมั่น เหตุนั้น ดิฉันจึงมีผิวพรรณ
      ถึงเช่นนี้ อิฐผลจึงสำเร็จแก่ดิฉันในวิมานนี้ และโภคทรัพย์ทั้งหลายอัน
      เป็นที่รักแห่งใจทุกสิ่งทุกอย่างบังเกิดแก่ดิฉัน ก็เพราะความเป็นผู้ถือ
      สัจจะมั่นในสามีเป็นเหตุนั้น ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพอันยิ่งใหญ่ ดิฉันขอ
      บอกแก่ท่าน ครั้งดิฉันยังเป็นมนุษย์ ได้ทำบุญสิ่งใดไว้ เพราะบุญอันนั้น
      ดิฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองถึงเช่นนี้ และรัศมีกายของดิฉันจึงสว่างไสวไป
      ทั่วทุกทิศ.
      จบ ปติพพตาวิมานที่ ๑๑
      ๑๒. ปติพพตาวิมานที่ ๒
      [๑๒] พระมหาโมคคัลลานะถามว่า
      ดูกรนางเทพธิดาผู้มีอานุภาพอันยิ่งใหญ่ ท่านได้ขึ้นวิมานมีเสา อันแล้ว
      ไปด้วยแก้วไพฑูรย์งดงาม มีแสงระยับตา ในวิมานของท่านนั้นวิจิตรไป
      ด้วยนานาประการ อนึ่ง หมู่นางเทพอัปสรเหล่านี้ มีร่างกายกระทัดรัด
      มีฤทธิ์นิรมิตตนได้ ฟ้อนรำขับร้องให้ท่านร่าเริงอยู่รอบข้าง ดูกรนาง
      เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก ครั้งท่านยังเป็นมนุษย์ ได้ทำบุญสิ่งใดไว้
      จึงบรรลุความสำเร็จ ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองถึงอย่างนี้ และรัศมีกาย
      ของท่านจึงสว่างไสวไปทั่วทุกทิศเพราะบุญอะไร?
      นางเทพธิดานั้น อันพระมหาโมคคัลลานะซักถามแล้วมีใจยินดี ได้
      พยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกซักถามว่า ครั้งดิฉันยังเป็นมนุษย์อยู่ใน
      หมู่มนุษย์ ได้เป็นอุบาสิกาของพระจักขุมาตถาคตเจ้า เป็นผู้งดเว้นจาก
      การฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการลักทรัพย์ ยินดีเฉพาะสามีของตน ไม่กล่าว
      คำเท็จและไม่ดื่มน้ำเมา อนึ่ง ดิฉันมีใจเลื่อมใส ได้ให้ข้าวและน้ำอย่างดี
      เลิศเป็นทานโดยเคารพ ด้วยผลแห่งการถือสัจจะมั่นในสามีเป็นอาทินั้น
      ดิฉันจึงมีผิวพรรณถึงเช่นนี้ ด้วยผลแห่งการถือสัจจะมั่นในสามีเป็นเดิม
      นั้น อิฐผลจึงสำเร็จแก่ดิฉันในวิมานนี้ และโภคทรัพย์ทั้งหลายอันเป็น
      ที่รักแห่งใจทุกสิ่งทุกอย่าง จึงเกิดขึ้นแก่ดิฉัน ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพ
      อันยิ่งใหญ่ ดิฉันขอบอกแก่ท่าน ครั้งดิฉันยังเป็นมนุษย์อยู่ได้ทำบุญสิ่งใด
      ไว้ ดิฉันมีอานุภาพรุ่งเรืองถึงอย่างนี้ และรัศมีกายของดิฉันย่อมสว่างไสว
      ไปทั่วทุกทิศ ก็เพราะบุญสิ่งนั้น.
      จบ ปติพพตาวิมานที่ ๑๒.
      ๑๓. สุณิสาวิมานที่ ๑
      ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในสุณิสาวิมานที่ ๑
      [๑๓] พระมหาโมคคัลลานะถามว่า
      ดูกรนางเทพธิดา ท่านมีวรรณงาม มีรัศมีสว่างไสวฉายแสงไปทั่วทุกทิศ
      เหมือนกับดาวประกายพฤกษ์ เพราะทำบุญอะไรไว้ ท่านจึงมีผิวพรรณ
      งามถึงอย่างนี้ เพราะทำบุญอะไรไว้ อิฐผลจึงสำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้
      และโภคทรัพย์อันเป็นที่รักแห่งใจทุกสิ่งทุกอย่าง จึงเกิดขึ้นแก่ท่าน ดูกร
      นางเทพธิดาผู้มีอานุภาพอันยิ่งใหญ่ อาตมาขอถามท่าน ครั้งท่านยังเป็น
      มนุษย์อยู่ ได้ทำบุญสิ่งใดไว้ ท่านจึงมีอานุภาพอันรุ่งเรืองถึงอย่างนี้ อนึ่ง
      รัศมีกายของท่านสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะทำบุญอะไรไว้?
      นางเทพธิดานั้น อันพระมหาโมคคัลลานะซักถามแล้วมีใจยินดีได้พยากรณ์
      ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามว่า
      ครั้นดิฉันยังเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ ได้เป็นบุตรสะใภ้อยู่ในตระกูล
      แห่งพ่อผัว ได้เห็นภิกษุผู้ปราศจากกิเลสธุลีมีอินทรีย์ผ่องใส ไม่ขุ่นมัว
      ดิฉันเลื่อมใสได้ถวายขนมแก่ภิกษุรูปนั้นด้วยมือทั้งสองของตน ครั้น
      ถวายส่วนขนมกึ่งส่วนแล้ว ดิฉันจึงมาบันเทิงใจอยู่ในสวนนันทวันที่
      ท่านเห็นอยู่นี้ ด้วยการทำบุญเช่นนั้น ดิฉันจึงมีผิวพรรณเช่นนี้ ด้วยการ
      ทำบุญเช่นนั้น อิฐผลจึงสำเร็จแก่ดิฉันในวิมานนี้ อนึ่ง เพราะบุญนั้น
      โภคทรัพย์อันเป็นที่รักแห่งใจทุกสิ่งทุกอย่าง จึงเกิดแก่ดิฉัน เพราะบุญ
      นั้น ดิฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมีกายของดิฉันจึงสว่างไสว
      ไปทั่วทุกทิศ.
      จบ สุณิสาวิมานที่ ๑๓.
      ๑๔. สุณิสาวิมานที่ ๒
      ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในสุณิสาวิมานที่ ๒
      [๑๔] พระมหาโมคคัลลานะถามว่า
      แน่ะนางเทพธิดา ท่านมีวรรณงาม มีรัศมีสว่างไสวฉายแสงไปทั่วทุกทิศ
      เหมือนกับดาวประกายพฤกษ์ เพราะทำบุญอะไรไว้ ท่านจึงมีผิวพรรณ
      งามถึงอย่างนี้ เพราะทำบุญอะไรไว้ อิฐผลจึงสำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้
      และโภคทรัพย์อันเป็นที่รักแห่งใจทุกสิ่งทุกอย่างจึงเกิดขึ้นแก่ท่าน ดูกร
      นางเทพธิดาผู้มีอานุภาพอันยิ่งใหญ่ อาตมาขอถามท่าน ครั้งท่านยังเป็น
      มนุษย์อยู่ ได้ทำบุญสิ่งใดไว้ ท่านจึงมีอานุภาพอันรุ่งเรืองถึงอย่างนี้ อนึ่ง
      รัศมีกายของท่านสว่างไสวไปทั่วทุกทิศเพราะทำบุญอะไรไว้?
      นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีใจยินดีได้พยากรณ์
      ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกซักถามว่า
      ครั้งดิฉันยังเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ ได้เป็นบุตรสะใภ้อยู่ในตระกูล
      แห่งพ่อผัว ได้เห็นภิกษุผู้ปราศจากกิเลสธุลี มีอินทรีย์ผ่องใส ไม่ขุ่นมัว
      ดิฉันเลื่อมใสได้ถวายข้าวบาร์ลี และขนมถั่วเหลืองแก่ภิกษุรูปนั้นด้วยมือ
      ตนเอง ครั้นถวายแล้ว จึงมาบันเทิงใจอยู่ในสวนนันทวัน ด้วยการทำบุญ
      เช่นนั้น อิฐผลจึงสำเร็จแก่ดิฉันในวิมานนี้ อนึ่ง เพราะบุญนั้น โภคทรัพย์
      ทั้งหลายอันเป็นที่รักแห่งใจทุกสิ่งทุกอย่าง จึงเกิดแก่ดิฉัน ดิฉันจึงมี
      อานุภาพรุ่งเรืองถึงอย่างนี้ อนึ่ง รัศมีกายของดิฉันสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ
      ก็เพราะบุญนั้นๆ.
      จบ สุณิสาวิมานที่ ๑๔
      ๑๕. อุตตราวิมาน
      ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในอุตตราวิมาน
      [๑๕] พระมหาโมคคัลลานะถามว่า
      แน่ะนางเทพธิดา ท่านมีวรรณะงาม มีรัศมีสว่างไสวฉายแสงไปทั่วทุกทิศ
      เหมือนกับดาวประกายพฤกษ์ เพราะทำบุญอะไรไว้ ท่านจึงมีผิวพรรณงาม
      ถึงอย่างนี้ เพราะทำบุญอะไรไว้ อิฐผลจึงสำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้ และ
      โภคทรัพย์อันเป็นที่รักแห่งใจทุกสิ่งทุกอย่าง จึงเกิดขึ้นแก่ท่าน ดูกร
      นางเทพธิดาผู้มีอานุภาพอันยิ่งใหญ่ อาตมาขอถามท่าน ครั้งท่านยังเป็น
      มนุษย์อยู่ได้ทำบุญสิ่งใดไว้ ท่านจึงมีอานุภาพอันรุ่งเรืองถึงอย่างนี้ อนึ่ง
      รัศมีกายของท่านสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะทำบุญอะไรไว้?
      นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีใจยินดีได้พยากรณ์
      ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกซักถามว่า
      เมื่อครั้งดิฉันยังปกครองบ้านเรือนอยู่ ดิฉันไม่มีความริษยา ไม่มีความ
      ตระหนี่ ไม่เย่อหยิ่ง ไม่ตีเสมอ ไม่โกรธ ไม่ประพฤตินอกใจสามี
      ไม่ประมาทในวันอุโบสถและวันปกติ เข้าจำอุโบสถอันประกอบด้วยองค์
      ๘ ประการ ตลอดวัน ๑๔ ค่ำ วัน ๑๕ ค่ำ และวัน ๘ ค่ำแห่งปักษ์ และ
      ตลอดปาฏิหาริยปักษ์ ระมัดระวังในนิจศีลและอุโบสถศีลอย่างเคร่งครัด
      ตลอดกาลทุกเมื่อ ขณะที่อยู่ในวิมาน ดิฉันมีความสำรวมจำแนกทาน ยินดี
      ในสิกขาบททั้ง ๕ คือ งดเว้นจากปาณาติบาตอย่างเด็ดขาด ๑ งดเว้นจาก
      ความเป็นขโมยอย่างห่างไกล ๑ ไม่ประพฤติล่วงประเวณี ๑ ระมัดระวัง
      ในการพูดเท็จ ๑ สำรวมการดื่มน้ำเมาอย่างเด็ดขาด ๑ ดิฉันเป็นผู้ฉลาดใน
      อริยสัจธรรม เป็นอุบาสิกาของพระโคดมผู้มีพระจักษุเปรื่องยศ ดิฉันนั้น
      ผู้ยิ่งยศโดยยศได้ก็เพราะศีลของตนเอง ดิฉันได้เสวยผลแห่งบุญของตน
      อยู่ จึงสุขกายสุขใจปราศจากโรค เพราะการกระทำและการประพฤติอย่าง
      นั้น ดิฉันจึงมีผิวพรรณถึงเช่นนี้ อิฐผลสำเร็จแก่ดิฉันในวิมานนี้ได้
      ก็เพราะการกระทำและการประพฤติอย่างนั้น โภคทรัพย์อันเป็นที่รัก
      แห่งใจทุกสิ่งทุกอย่าง เกิดแก่ดิฉันก็เพราะการกระทำอย่างนั้น ข้าแต่ภิกษุ
      ผู้มีอานุภาพอันยิ่งใหญ่ ดิฉันขอบอกแก่ท่าน ครั้งดิฉันยังเป็นมนุษย์อยู่
      ได้บำเพ็ญกิจและประพฤติสิ่งใดไว้ เพราะการกระทำและความประพฤติ
      นั้นดิฉันจึงมีอานุภาพอย่างรุ่งโรจน์ถึงเช่นนี้ อนึ่ง รัศมีกายของดิฉันสว่าง
      ไสวไปทั่วทุกทิศ ก็เพราะการกระทำและความประพฤตินั้น.
      ก็และนางเทพธิดาได้กราบเรียนต่อไปว่า ขอท่านได้กรุณานำไปกราบทูลแด่พระผู้มีพระ-
      *ภาคตามคำของดิฉันด้วยเถิดว่า นางอุตตราอุบาสิกา ขอถวายบังคมพระบาทยุคลของพระผู้มีพระ-
      *ภาคด้วยเศียรเกล้า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้อที่พระผู้มีพระภาคพึงทรงพยากรณ์ดิฉัน ในสามัญผล
      อย่างใดอย่างหนึ่งนั้น ไม่น่าอัศจรรย์เลย แต่ข้อที่พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ดิฉันในสกทาคามิผล
      นั้นน่าอัศจรรย์.
      จบ อุตตราวิมานที่ ๑๕
      ๑๖. สิริมาวิมาน
      ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในสิริมาวิมาน
      [๑๖] พระวังคีสเถระประสงค์จะให้นางสิริมาเทพธิดา ได้ประกาศบุญกรรมที่นางทำไว้
      ในครั้งก่อน จึงย้อนถามนางด้วยคาถาสองคาถา ความว่า
      ดูกรนางงามประจำชั้นไตรทศ ผู้มีร่างกายสะโอดสะอง ฉันจะขอถามท่าน
      การที่ท่านเข้าถึงความเป็นผู้มีสกลกาย และยานพาหนะอย่างประเสริฐเลิศ
      ยิ่ง คือ ท่านมีรถถึง ๕๐๐ คัน บุญกรรมเนรมิตมาให้โดยเฉพาะ ทั้งเทียม
      แล้วด้วยม้าอาชาไนยหลายตัว ทุกๆ ตัวเครื่องประดับประจำ ล้วน
      เครื่องสูง มันพากันก้มหน้าลง ในขณะที่ท่านจะลงมาจากเทวโลกและ
      เหินไปตามอากาศได้ มีกำลังฉับเฉี่ยว ม้าอาชาไนยทุกม้า อันบุญกรรม
      ดังนายสารถีเร่งแล้วก็พาตัวท่านไปได้ ท่านนั้นขณะที่ยืนอยู่บนรถอัน
      เพริศแพร้วที่บุญกรรมตกแต่งมาให้แล้ว ก็สว่างไสวคล้ายกับไฟกำลังโชติ
      ช่วงอยู่เช่นนี้ เพราะได้ทำบุญสิ่งใดไว้?
      นางเทพธิดาอันพระเถระถามแล้ว เมื่อจะประกาศการกระทำของตนให้ประจักษ์
      จึงตอบเป็นคาถาความว่า
      พระคุณเจ้าพูดถึงหมู่ทวยเทพชั้นปรนิมมิตวสวัสดี ซึ่งเป็นผู้เลิศโดยเชิง
      ภพที่อยู่ และโภคสมบัติหมู่ใดว่า เป็นทวยเทพที่เยี่ยมหาที่เปรียบมิได้
      ทวยเทพเหล่านั้น ก็มีความสุขสบายแต่ในภพและโภคสมบัติที่ทวยเทพ
      พวกอื่นมาเนรมิตให้เท่านั้น เพราะฉะนั้น ทวยเทพที่มีหน้าที่เนรมิต
      ภพและโภคสมบัติให้ คือพวกที่พระคุณเจ้าพูดถึงอยู่นี้ จึงได้นามว่า
      "นิมมานรดี" เป็นนางฟ้าที่มีร่างกายและผิวพรรณงดงามอันก่อให้เกิด
      ความงวยงงเพราะความรัก เดี๋ยวนี้มาถึงมนุษยโลกนี้แล้วเพื่อจะถวาย
      บังคมพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
      เมื่อนางเทพธิดาประกาศความที่ตนเป็นนิมมานรดีเทพ ให้ปรากฏเช่นนี้แล้ว พระเถระ
      ใคร่จะถามถึงบุญกรรมที่นางให้ก่อสร้างไว้ในชาติก่อน จึงได้ภาษิตสองคาถาความว่า
      ชาติก่อนแต่จะเป็นนางเทพธิดานี้ ท่านได้สั่งสมสุจริตกรรมอย่างไรไว้
      ท่านมียศบริวารอยู่มากมาย เปี่ยมไปด้วยความสุข สำหรับตัวท่านเล่า
      ก็มีฤทธิ์และอำนาจพ้นจากสิ่งธรรมดาสูงเยี่ยม และมักเหาะไปในอากาศ
      ได้ (เช่นนี้) เพราะบุญกรรมอะไร อนึ่ง รัศมีกายของท่านก็สว่างไสวไป
      ทั่วทุกทิศ และท่านเล่าก็มีมวลเทพเจ้าเกรงกลัวและห้อมล้อมอยู่รอบ
      ท่านจุติมาจากคติไหนจึงมาถึงสุคตินี้ แม่เทพธิดา อนึ่ง ท่านได้ทำตาม
      ด้วยอาการยอมรับเอาโอวาทานุสาสนีในศาสนปาพจน์ของพระศาสดาองค์
      ไหน หากท่านเป็นสาวิกาของพระพุทธเจ้าจริงไซร้ ขอท่านได้โปรดตอบ
      คำถามของฉันนี้แก่ฉันด้วย?
      เมื่อนางเทพธิดา จะตอบเนื้อความตามที่พระเถระถามอย่างนี้ จึงกล่าวตอบด้วยคาถา
      เหล่านี้ความว่า
      ดิฉันเป็นพระสนมของพระเจ้าพิมพิสารผู้ประเสริฐ มีศิริ อยู่ในพระนคร
      ราชคฤห์ ซึ่งตั้งอยู่ในระหว่างภูเขา อันเป็นนครที่แออัดไปด้วยนักปราชญ์
      ดิฉันมีความชำนาญในการฟ้อนรำขับร้องชั้นเยี่ยม ชาวเมืองในกรุง
      ราชคฤห์ เขาพากันเรียกดิฉันว่า "นางสิริมา" พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้
      องอาจในจำพวกผู้แสวงหาคุณอันประเสริฐ ผู้แนะนำสัตว์โลกให้เป็นผู้
      พิเศษ ได้ทรงแสดงความไม่เที่ยงแห่งของจริง คือ เหตุเกิดของทุกข์
      และทางให้ถึงความดับทุกข์ อันเป็นธรรมที่ไม่มีปัจจัยอะไรปรุงแต่ง เป็น
      ทางถาวร ทางตรง เป็นทางสุขเกษมแก่ดิฉัน ครั้นดิฉันฟังธรรมอัน
      เป็นทางไม่ตาย ไม่มีเหตุปัจจัยอะไรปรุงแต่งได้ ซึ่งเป็นคำสอนของพระ
      ตถาคตผู้ประเสริฐแล้ว จึงเป็นผู้สำรวมอย่างเคร่งครัดในศีลทั้งหลาย
      ดำรงมั่นอยู่ในธรรมปฏิบัติ ที่พระพุทธเจ้าผู้เลิศกว่านรชนทรงแสดงไว้
      แล้ว ครั้นดิฉันรู้จักบทอันปราศจากธุลี ซึ่งหาเหตุปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้
      ที่พระตถาคตผู้ประเสริฐทรงแสดงไว้นั้น ดิฉันจึงได้บรรลุสมาธิอันเกิด
      จากความสงบจิตใจในอัตภาพนั้นเอง ดิฉันนั้นจึงได้มีความแน่นอนใน
      มรรคผลอันเป็นธรรมชั้นเยี่ยมขึ้น ครั้นดิฉันได้ฟังธรรมอันประเสริฐ
      อันไม่เกิดไม่ตายอย่างวิเศษแล้ว จึงหมดความเคลือบแคลงในพระรัตน-
      ตรัย มีความรู้พิเศษในการรู้อริยสัจธรรม หมดความสงสัยในสิ่งทั้งปวง
      จึงควรเป็นที่บูชาของชุมนุมชน ได้รับผลคือความสุขอันมั่นคง เป็นเครื่อง
      ตอบแทนมากมาย โดยทำนองตามที่กราบเรียนมานี้ ดิฉันจึงเป็นนางเทพ
      ธิดาผู้เห็นนิพพาน เป็นสาวิกาของพระตถาคตผู้ประเสริฐ เป็นผู้ได้เห็น
      ธรรมตามความเป็นจริง เป็นผู้ตั้งอยู่ในผลขั้นแรก คือ เป็นพระโสดาบัน
      ก็ทุคติย่อมไม่มีแก่ดิฉันอีก ดิฉันนั้นมาเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ประ-
      เสริฐ ก็เพื่อจะถวายบังคม และนมัสการภิกษุทั้งหลายที่น่าเลื่อมใส
      ผู้ยินดีในธรรมอันไม่มีโทษ และเพื่อจะนมัสการสถานที่ๆ พระสมณะ
      ประชุมกัน อันเป็นสถานที่มีธรรมเกษม ดิฉันเป็นผู้มีความเคารพใน
      พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงพระศิริ เป็นพระธรรมราชา ครั้นได้เห็น
      พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นนักปราชญ์แล้ว ก็อิ่มเอิบปลาบปลื้มใจ ดิฉัน
      ขอถวายบังคมพระตถาคต ผู้เป็นสารถีของบุคคลที่ควรฝึกอย่างยอดเยี่ยม
      ทรงตัดตัณหาเสียได้ ทรงยินดีแล้วในกุศลธรรม ผู้ทรงแนะนำประชุมชน
      ให้พ้นจากทุกข์ได้ ผู้ทรงอนุเคราะห์สัตว์โลกในทางที่เป็นประโยชน์
      อย่างยิ่ง.
      จบ สิริมาวิมานที่ ๑๖.
      ๑๗. เปสการิยวิมาน
      ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในเปสการิยวิมาน
      [๑๗] นางเปสการีเทพธิดาชมวิมานของตนเองด้วยคาถา กึ่งคาถาความว่า วิมาน
      หลังนี้เป็นวิมานงามรุ่งเรือง มีเสาล้วนแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ ใหญ่โต
      สะอาดสะอ้าน ล้อมรอบด้วยต้นไม้ทองคำ วิมานหลังนี้เกิดเพราะผล
      กรรมของเรา นางเทพอัปสรตั้งแสนเหล่านี้ ซึ่งเกิดประจำในวิมาน
      ก็เพราะกรรมของเรา
      สมเด็จอัมรินทราธิราช มีเทวโองการตรัสถามด้วยคาถาสองคาถากึ่งความว่า
      ท่านเป็นผู้เพรียบพร้อมไปด้วยบริวาร มีรัศมีกายแผ่ซ่านกว่าเทพเจ้าที่เกิด
      ก่อน พระจันทร์มีรัศมีสุกสะกาวยิ่งกว่าหมู่ดาวนักขัตฤกษ์ ฉันใด ท่าน
      ก็รุ่งเรืองสุกใสกว่านางเทพอัปสรทั้งหมด โดยเชิงบริวาร ฉันนั้นเหมือน
      กัน แน่ะนางงามผู้มีพักตร์ควรพิศ ท่านมาจากภพไหน จึงได้มาเกิดที่ภพ
      ของเรานี้ เทพเจ้าชาวไตรทศรวมหมดทั้งพระอินทร์ พระพรหม ดูเหมือน
      จะไม่รู้สึกอิ่มในการดูท่าน?
      นางเทพธิดา อันสมเด็จอัมรินทราธิราชมีเทวโองการตรัสถามอย่างนั้น เมื่อจะประกาศ
      เนื้อความนั้น จึงกล่าวคาถาสองคาถาความว่า
      ขอเดชะ พระองค์ผู้องอาจ พระองค์ตรัสถามหม่อมฉันถึงตระกูลเดิม
      ของหม่อมฉันว่า ท่านจุติมาจากภพไหนจึงได้มาเกิดที่ภพของเรานี้ หม่อม
      ฉันได้จุติมาจากกรุงพาราณสี ซึ่งเป็นบุรีของแคว้นกาสี เมื่อก่อนขณะ
      ที่อยู่ในนครนั้น หม่อมฉันเป็นธิดานายช่างหูก ผู้มีใจเลื่อมใสใน
      พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งหม่อมฉันได้ถึงแล้วโดย
      ใกล้ชิด ไม่มีความสงสัย มีสิกขาบทอันได้สมาทานแล้ว ไม่ด่างพร้อย
      ได้สำเร็จอริยผล เป็นผู้แน่นอนในทางที่จะตรัสรู้ซึ่งธรรม ของสัมมาสัม-
      พุทธเจ้า เป็นผู้มีพระอนามัยดี.
      สมเด็จอัมรินทราธิราช เมื่อจะทรงอนุโมทนาบุญสมบัติ ของนางเทพธิดานั้น
      จึงตรัสคาถาถึ่งความว่า
      เราขอแสดงความยินดีต่อท่านผู้มาในที่นี้ได้โดยสวัสดี ท่านเป็นผู้รุ่งเรือง
      ด้วยยศ มีใจเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์อย่าง
      ใกล้ชิด ไม่มีความสงสัย เป็นผู้ตั้งอยู่ในสิกขาบทอย่างบริบูรณ์ เป็นได้
      สำเร็จอริยผล เป็นคนหมดโรค ควรที่จะได้ตรัสรู้ธรรมของพระสัมมา-
      สัมพุทธเจ้าแน่นอน.
      จบเปสการิยวิมานที่ ๑๗.
      รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
      ๑. ปิฐวิมานที่ ๑ ๒. ปิฐวิมานที่ ๒
      ๓. ปิฐวิมานที่ ๓ ๔. ปิฐวิมานที่ ๔
      ๕. กุญชรวิมาน ๖. นาวาวิมานที่ ๑
      ๗. นาวาวิมานที่ ๒ ๘. นาวาวิมานที่ ๓
      ๙. ปทีปวิมาน ๑๐. ติลทักขิณาวิมาน
      ๑๑. ปติพพตาวิมานที่ ๑ ๑๒. ปติพพตาวิมานที่ ๒
      ๑๓. สุณิสาวิมานที่ ๑ ๑๔. สุณิสาวิมานที่ ๒
      ๑๕. อุตตราวิมาน ๑๖. สิริมาวิมาน
      ๑๗. เปสการิยวิมาน.
      จบ วรรคที่ ๑ ในอิตถีวิมาน.
      ----------------------------
    9. TVJ
      TVJ
      พระสุตตันตปิฎก
      เล่ม ๑๘
      ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถระ-เถรีคาถา
      ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
      ปิฐวรรคที่ ๑
      ๑. ปิฐวิมานที่ ๑
      ว่าด้วยทำบุญอะไรจึงเป็นเทพธิดาสวยงาม
      [๑] พระโมคคัลลานะถามว่า
      ตั่งทองคำของท่านอันใหญ่โต ลอยไปในที่ต่างๆ ได้เร็วดังใจตามปรารถนา
      ท่านมีกายอันประดับแล้ว ทรงมาลัยนุ่งห่มผ้าสวยงาม มีรัศมีเปล่งปลั่ง
      ดังสายฟ้าอันแลบออกจากกลีบเมฆ ท่านมีวรรณะเช่นนี้เพราะบุญอะไร
      อิฐผลย่อมสำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้ เพราะบุญอะไร อนึ่ง โภคะอันเป็น
      ที่รักแห่งใจทุกสิ่งทุกอย่าง ย่อมเกิดขึ้นแก่ท่านเพราะบุญอะไร ดูกรนาง
      เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามท่าน ครั้งเมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์
      ได้ทำบุญอะไรไว้ ท่านมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมีกายของท่าน
      สว่างไสวไปทั่วทุกทิศเพราะบุญอะไร.
      นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีใจยินดีได้พยากรณ์
      ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า
      เมื่อดิฉันเกิดเป็นมนุษย์ในมนุษยโลก ได้ถวายอาสนะแก่หมู่ภิกษุผู้มาใหม่
      ได้อภิวาท ได้ทำอัญชลี และให้ทานตามสติกำลัง ดิฉันมีวรรณะเช่นนี้
      เพราะบุญนั้น อิฐผลย่อมสำเร็จแก่ดิฉันในที่นี้เพราะบุญนั้น อนึ่ง โภคะ
      อันเป็นที่รักแห่งใจทุกสิ่งทุกอย่างย่อมเกิดแก่ดิฉันก็เพราะบุญนั้น ข้าแต่
      ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดิฉันขอบอกแก่ท่าน เมื่อครั้งดิฉันเกิดเป็นมนุษย์
      ได้ทำบุญใดไว้ ดิฉันนั้นมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และมีรัศมีกายสว่าง-
      ไสวไปทั่วทิศเพราะบุญนั้น.
      จบ ปิฐวิมานที่ ๑
      ๒ ปิฐวิมานที่ ๒
      [๒] พระโมคคัลลานะถามว่า
      ตั่งอันล้วนแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ของท่าน อันใหญ่โต ลอยไปในที่ต่างๆ
      ได้เร็วดังใจตามปรารถนา ท่านมีกายอันประดับแล้ว ทัดทรงมาลัย
      นุ่งห่มผ้าอันสวยงาม มีรัศมีเปล่งปลั่งดังสายฟ้าอันแลบออกจากกลีบเมฆ
      ท่านมีวรรณะเช่นนี้เพราะบุญอะไร อนึ่ง โภคะอันเป็นที่รักแห่งใจทุกสิ่ง
      ทุกอย่าง ย่อมเกิดขึ้นแก่ท่านเพราะบุญอะไร ดูกรนางเทพธิดาผู้มีอานุ-
      ภาพมาก อาตมาขอถามท่าน ครั้งเมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไร
      ไว้ ท่านมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมีกายของท่านสว่างไสวไปทั่ว
      ทุกทิศ เพราะบุญอะไรฯ นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานะถามแล้ว
      มีใจยินดีได้พยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามว่า
      เมื่อดิฉันเกิดเป็นมนุษย์ในมนุษยโลก ได้ถวายอาสนะแก่หมู่ภิกษุผู้มา
      ใหม่ ได้อภิวาทกระทำอัญชลี และถวายทานตามสติกำลัง ดิฉันมีวรรณะ
      เช่นนี้เพราะบุญนั้น อิฐผลย่อมสำเร็จแก่ดิฉันในที่นี้เพราะบุญนั้น และ
      โภคะอันเป็นที่รักแห่งใจทุกสิ่งทุกอย่าง ย่อมเกิดแก่ดิฉันเพราะบุญนั้น
      ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดิฉันขอบอกแก่ท่าน เมื่อครั้งดิฉันเกิดเป็น
      มนุษย์ได้ทำบุญใดไว้ ดิฉันมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้และมีรัศมีกายสว่าง
      ไสวไปทั่วทุกทิศเพราะบุญนั้น.
      จบ ปิฐวิมานที่ ๒
      ๓. ปิฐวิมานที่ ๓
      ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในปิฐวิมานที่ ๓
      [๓] พระโมคคัลลานะถามว่า
      ตั่งทองคำของท่านอันใหญ่โต ลอยไปในที่ต่างๆ ได้เร็วดังใจตามปรารถนา
      ท่านมีกายอันประดับแล้ว ทรงมาลัย นุ่งห่มผ้าสวยงาม มีรัศมีเปล่งปลั่ง
      ดังสายฟ้าอันแลบออกจากกลีบเมฆ ท่านมีวรรณะเช่นนี้เพราะบุญอะไร
      อิฐผลย่อมสำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้ เพราะบุญอะไร อนึ่ง โภคะอันเป็น
      ที่รักแห่งใจทุกสิ่งทุกอย่าง ย่อมเกิดขึ้นแก่ท่านเพราะบุญอะไร ดูกรนาง
      เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามท่าน ครั้งเมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์
      ได้ทำบุญอะไรไว้ ท่านมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมีกายของท่าน
      สว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญอะไร.
      นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานะถามแล้วมีใจยินดีได้พยากรณ์ปัญหา
      แห่งผลกรรมที่ถูกถามว่า
      ดิฉันมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ เพราะผลกรรมอันน้อยของดิฉัน เมื่อดิฉัน
      เกิดเป็นมนุษย์ในมนุษยโลกในชาติก่อน ได้เห็นภิกษุผู้ปราศจากกิเลสธุลี
      มีอินทรีย์ผ่องใส ไม่ขุ่นมัว ดิฉันมีจิตเลื่อมใส ได้ถวายตั่งแก่ท่านด้วยมือ
      ทั้งสองของตน ดิฉันมีวรรณะเช่นนี้เพราะบุญนั้น อิฐผลย่อมสำเร็จแก่
      ดิฉันในที่นี้เพราะบุญนั้น และโภคะอันเป็นที่รักแห่งใจทุกสิ่งทุกอย่าง
      ย่อมเกิดขึ้นแก่ดิฉันเพราะบุญนั้น ข้าแต่ภิกษุผู้มีมหานุภาพ ดิฉันขอบอก
      แก่ท่าน เมื่อครั้งดิฉันเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญใดไว้ ดิฉันมีอานุภาพ
      รุ่งเรืองอย่างนี้ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทิศ เพราะบุญนั้น.
      จบ ปิฐวิมานที่ ๓
      ๔. ปิฐวิมานที่ ๔
      ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในปิฐวิมานที่ ๔
      [๔] พระโมคคัลลานะถามว่า
      ตั่งอันล้วนแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ของท่านอันใหญ่โต ลอยไปในที่ต่างๆ
      ได้เร็วดังใจตามปรารถนา ท่านมีกายอันประดับแล้ว ทัดทรงมาลัย นุ่งห่ม
      ผ้าอันสวยงาม มีรัศมีเปล่งปลั่งดังสายฟ้าแลบออกจากกลีบเมฆ ท่านมี
      วรรณะเช่นนี้เพราะบุญอะไร อนึ่ง โภคะอันเป็นที่รักแห่งใจทุกสิ่งทุกอย่าง
      ย่อมเกิดขึ้นแก่ท่านเพราะบุญอะไร ดูกรนางเทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก
      อาตมาขอถามท่าน ครั้งเมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้ ท่านมี
      อานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมีกายของท่านสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ
      เพราะบุญอะไร.
      นางเทพธิดานั้น อันพระมหาโมคคัลลานะถามแล้ว มีใจยินดีได้พยากรณ์
      ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามว่า
      ดิฉันมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ เพราะผลกรรมอันน้อยของดิฉัน เมื่อดิฉัน
      เกิดเป็นมนุษย์ในหมู่มนุษย์ทั้งหลายในมนุษยโลกในชาติก่อน ได้เห็น
      ภิกษุผู้ปราศจากกิเลสธุลี มีอินทรีย์ผ่องใส ไม่ขุ่นมัว ดิฉันมีจิตเลื่อมใส
      ได้ถวายตั่งแก่ท่านด้วยมือทั้งสองของตน ดิฉันมีวรรณะเช่นนี้เพราะบุญ
      นั้น อิฐผลย่อมสำเร็จแก่ดิฉันในที่นี้เพราะบุญนั้น และโภคะอันเป็นที่รัก
      แห่งใจทุกสิ่งทุกอย่าง ย่อมเกิดแก่ดิฉันเพราะบุญนั้น ข้าแต่ภิกษุผู้มี
      อานุภาพมาก ดิฉันขอบอกท่าน เมื่อครั้งดิฉันเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญใดไว้
      มีอานุภาพมากรุ่งเรืองอย่างนี้ และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทิศเพราะ
      บุญนั้น.
      จบ ปิฐวิมานที่ ๔
      ๕. กุญชรวิมาน
      ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในกุญชรวิมาน
      [๕] พระโมคคัลลานะถามว่า
      กุญชรเป็นยานอันประเสริฐของท่าน ประดับประดาด้วยแก้วหลายชนิด
      เป็นสัตว์น่ารัก มีกำลังว่องไวมาก เที่ยวไปในอากาศได้ มีสีเหมือนกับ
      หม้อใหม่ มีนัยน์ตากลมคล้ายใบบัว มีตัวประดับด้วยพวงดอกปทุมและ
      พวงอุบลทิพย์งามรุ่งเรือง มีกายอันโปรยปรายไปด้วยเกสรปทุม ประดับ
      ด้วยปทุมทอง ตามทางที่ช้างเดินไปและหยุดยืนอยู่ มีดอกบัวทองใหญ่ๆ
      คอยรับเท้าช้างทุกฝีเท้า และประดับด้วยดอกปทุมและดอกอุบลทอง
      เวลาเดินก็ค่อยๆ เดินไป ขณะเมื่อเดินไปมีเสียงกระดิ่งไพเราะ น่าเพลิด-
      เพลินใจ คล้ายกับดนตรีเครื่อง ๕ ฉะนั้น บนคอช้างนั้นมีผ้าอย่างสะอาด
      เป็นเครื่องลาด ท่านรุ่งเรืองกว่าหมู่เทพกัญญาในเชิงรูปร่าง การที่ท่านได้
      ทิพยสมบัตินี้ ด้วยผลแห่งทาน ผลแห่งศีล หรือผลแห่งการกราบไหว้
      (ชนิดไหน) อาตมาถามท่านแล้วขอได้โปรดตอบคำถามนั้นแก่อาตมาด้วย.
      นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานะถามแล้วมีใจยินดี ได้พยากรณ์
      ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามว่า
      ดิฉันได้เห็นพระเถรเจ้าผู้สมบูรณ์ด้วยคุณ ผู้เพ่งฌาน ยินดีในฌาน เป็น
      ผู้สงบ ได้ถวายอาสนะที่ลาดด้วยผ้า โปรยดอกไม้ลงรอบๆ อาสนะ
      ดิฉันมีใจเลื่อมใส ได้ประดับพวงมาลัยปทุมมีใบติดลงครึ่งหนึ่ง และโรย
      เกสรปทุมลงครึ่งหนึ่ง ด้วยมือทั้งสองของตน ผลเช่นนี้เป็นผลแห่งกุศล
      กรรมนั้น เพราะดิฉันได้ทำสักการบูชาแก่ท่านผู้ประหารกิเลสทั้งปวงได้
      ผู้มีกาย วาจา ใจ สงบระงับแล้ว ผู้ประพฤติธรรมอันประเสริฐ อย่าง
      ท่านผู้ประเสริฐด้วยคุณทั้งหลายบูชากันมาแล้ว ดิฉันได้ถวายอาสนะด้วย
      น้ำใจอันผ่องใส เดี๋ยวนี้ดิฉันจึงรื่นเริงบันเทิงใจ เหมือนอย่างที่คนอื่นเขา
      รื่นเริงบันเทิงกัน เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านที่มุ่งประโยชน์ตน ประสงค์
      ความสุขอันยิ่งใหญ่คือ เพื่อความเป็นผู้สิ้นอาสวขัยในชาติ อันเป็นอวสาน
      จึงควรถวายอาสนทาน.
      จบ กุญชรวิมานที่ ๕
      ๖. นาวาวิมานที่ ๑
      ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในนาวาวิมานที่ ๑
      [๖] พระโมคคัลลานะถามว่า
      ดูกรนางเทพนารี ท่านขึ้นนั่งวิมานเรือ อันบุญกรรมบุด้วยทองคำ เล่น
      ในสระโบกขรณีเก็บดอกปทุมอยู่ ท่านมีปราสาทเป็นเทวาลัยอันบุญกรรม
      จัดแจงเนรมิตให้แล้ว เป็นส่วนๆ โดยรอบทั้งสี่ทิศ รุ่งเรืองเป็นสง่าอยู่
      เพราะบุญอะไร ท่านมีวรรณะเช่นนี้เพราะบุญอะไร อิฐผลสำเร็จแก่ท่าน
      ในวิมานนี้เพราะบุญอะไร อนึ่ง โภคะอันเป็นที่รักแห่งใจทุกสิ่งทุกอย่าง
      ย่อมเกิดขึ้นแก่ท่านเพราะบุญอะไร ดูกรนางเทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก
      อาตมาขอถามท่าน ครั้งเมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้ ท่านมี
      อานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมีกายของท่านสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ
      เพราะบุญอะไร?
      เทพธิดานั้น อันพระมหาโมคคัลลานะถามแล้ว มีใจยินดี ได้พยากรณ์
      ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามว่า
      ในชาติก่อน ครั้งเมื่อดิฉันยังเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ในมนุษยโลก
      ได้เห็นภิกษุทั้งหลายผู้กระหายน้ำ เหน็ดเหนื่อยมา จึงถวายน้ำฉันโดย
      ขมีขมัน อันว่าผู้ใดแล ได้ถวายน้ำฉันโดยขมีขมันแก่ภิกษุทั้งหลายผู้เหน็ด
      เหนื่อยกระหายน้ำมา แม่น้ำหลายสายมีน้ำเยือกเย็นเต็มไปด้วยบัวขาว
      (ริมฝั่ง) มีไม้จันทน์และมะม่วงอย่างเล็กมีรสหวานอยู่ล้นหลาม ย่อมเกิด
      แก่ผู้นั้น ที่อยู่และหมู่ไม้ของผู้นั้น มีน้ำหลายสายล้อมรอบประจำ แม่น้ำ
      ทั้งหลายมีทรายมูล น้ำเย็นสนิท ก็เกิดขึ้นแก่ผู้นั้น หมู่ไม้มะม่วง หมู่ต้น
      รัง หมู่ต้นหมากหอม หมู่ต้นชมพู่ หมู่ต้นราชพฤกษ์ และต้นแคฝอย
      ทั้งหลายมีผลดกดื่น ออกดอกชูสล้างเกิดขึ้นล้อมรอบวิมานของผู้นั้น
      เขาได้วิมานชั้นดีเยี่ยมงามหนักหนาเช่นนั้น ว่าโดยภูมิภาคแล้ว มีลักษณะ
      ควรสรรเสริญ นี้เป็นวิบากแห่งกรรมนั้นทั้งนั้น คนทั้งหลายที่ทำบุญไว้
      แล้วต้องได้ผลเช่นนี้ ดิฉันมีปราสาทเป็นเทวาลัย อันบุญกรรมจัดแจง
      เนรมิตให้ จัดไว้เป็นส่วนๆ โดยรอบทิศทั้งสี่ รุ่งเรือง เป็นสง่าอยู่
      เพราะบุญนั้น ดิฉันมีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญนั้น อิฐผลย่อมสำเร็จ
      แก่ดิฉันในวิมานนี้เพราะบุญนั้น อนึ่ง โภคะอันเป็นที่รักแห่งใจทุกสิ่ง
      ทุกอย่าง เกิดขึ้นแก่ดิฉันเพราะบุญนั้น ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดิฉัน
      ขอบอกแก่ท่าน ครั้งเมื่อดิฉันยังเป็นมนุษย์ได้กระทำบุญอันใดไว้ ดิฉัน
      มีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และมีรัศมีกายของดิฉันสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ
      เพราะบุญนั้น.
      จบ นาวาวิมานที่ ๖
      ๗. นาวาวิมานที่ ๒
      ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในนาวาวิมานที่ ๒
      [๗] พระโมคคัลลานะถามว่า
      ดูกรนางเทพนารี ท่านขึ้นนั่งวิมานเรือ อันบุญกรรมบุด้วยทองคำ เล่น
      ในสระโบกขรณีเก็บดอกปทุมอยู่ ท่านมีปราสาทเป็นเทวาลัยอันบุญกรรม
      จัดแจงเนรมิตให้แล้ว เป็นส่วนๆ โดยรอบทั้งสี่ทิศ รุ่งเรืองเป็นสง่าอยู่
      เพราะบุญอะไร ท่านมีวรรณะเช่นนี้เพราะบุญอะไร อิฐผลสำเร็จแก่ท่าน
      ในวิมานนี้ เพราะบุญอะไร อนึ่ง โภคะอันเป็นที่รักแห่งใจทุกสิ่งทุกอย่าง
      ย่อมเกิดขึ้นแก่ท่านเพราะบุญอะไร ดูกรนางเทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก
      อาตมาขอถามท่าน ครั้งเมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้ ท่านมี
      อานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมีกายของท่านสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ
      เพราะบุญอะไร?
      นางเทพธิดานั้น อันพระมหาโมคคัลลานะถามแล้ว มีใจยินดีได้พยากรณ์
      ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามว่า
      ในชาติก่อน ครั้งเมื่อดิฉันยังเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ในมนุษยโลก
      ได้เห็นภิกษุผู้กระหายน้ำ เหน็ดเหนื่อยมา จึงถวายน้ำฉันโดยขมีขมัน
      ท่านผู้ใดแลได้ถวายน้ำฉันโดยขมีขมันแก่ภิกษุที่เหน็ดเหนื่อย กระหายน้ำ
      มา แม่น้ำหลายสายมีน้ำเยือกเย็น ดาระดาษไปด้วยบัวขาว (ชายฝั่ง)
      มีหมู่ไม้จันทน์และมะม่วงขนาดเล็กมีรสหวานอยู่ล้นหลาม ย่อมเกิดแก่
      ผู้นั้น ที่อยู่และหมู่ไม้ของผู้นั้นมีแม่น้ำหลายสายล้อมรอบประจำ แม่น้ำ
      ทั้งหลายมีทรายมูล น้ำเย็นสนิท ย่อมเกิดแก่ผู้นั้น หมู่ไม้มะม่วง
      หมู่ต้นรัง หมู่ต้นหมากหอม หมู่ต้นชมพู่ หมู่ไม้ราชพฤกษ์ และต้นแค
      ฝอยทั้งหลายมีผลดกดื่น ออกดอกชูสล้างเกิดขึ้นล้อมรอบวิมานของผู้นั้น
      เขาได้วิมานชั้นดีเยี่ยมงามหนักหนาเช่นนั้น ว่าโดยพื้นที่แล้วมีลักษณะ
      ควรสรรเสริญ นี้เป็นวิบากแห่งกรรมนั้นทั้งนั้น คนทั้งหลายที่ทำบุญไว้
      แล้วต้องได้ผลเช่นนี้ ดิฉันมีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญนั้น อิฐผลย่อม
      สำเร็จแก่ดิฉันในวิมานนี้ เพราะบุญนั้น อนึ่ง โภคะอันน่ารักแห่งใจทุกสิ่ง
      ทุกอย่างเกิดขึ้นแก่ดิฉันเพราะบุญนั้น ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดิฉัน
      ขอบอกแก่ท่าน ครั้งเมื่อดิฉันยังเป็นมนุษย์อยู่ ได้ทำบุญอันใดไว้ ดิฉัน
      มีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมีกายของดิฉันสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ
      เพราะบุญนั้น.
      จบ นาวาวิมานที่ ๗
      ๘. นาวาวิมานที่ ๓
      ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในนาวาวิมานที่ ๓
      [๘] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
      ดูกรนางเทพนารี ท่านขึ้นนั่งวิมานเรือ อันบุญกรรมบุด้วยทองคำ เล่น
      ในสระโบกขรณีเก็บดอกประทุมอยู่ ท่านมีปราสาทเป็นเทวาลัยอันบุญ
      กรรมจัดแจงเนรมิตให้แล้ว เป็นส่วนๆ โดยรอบทั้งสี่ทิศ รุ่งเรืองเป็น
      สง่าอยู่ เพราะบุญอะไร ท่านมีวรรณะเช่นนี้เพราะบุญอะไร อิฐผลสำเร็จ
      แก่ท่านในวิมานนี้เพราะบุญอะไร อนึ่ง โภคะอันเป็นที่รักแห่งใจทุกสิ่ง
      ทุกอย่าง ย่อมเกิดขึ้นแก่ท่านเพราะบุญอะไร ดูกรนางเทพธิดาผู้มีอานุภาพ
      มาก อาตมาขอถามท่าน ครั้งเมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
      ท่านมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมีกายของท่านสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ
      เพราะบุญอะไร
      นางเทพธิดานั้น อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถามแล้วมีใจยินดี ได้ทูล
      ตอบปัญหาแห่งผลกรรมที่ตรัสซักถามว่าในชาติก่อน ครั้งเมื่อหม่อมฉัน
      ยังเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ ในมนุษยโลก ได้เห็นภิกษุหลายรูปกระหาย
      น้ำเหน็ดเหนื่อยมาจึงถวายน้ำฉันโดยขมีขมัน ผู้ใดแลได้ถวายน้ำฉันโดย
      ขมีขมันแก่ภิกษุทั้งหลายผู้เหน็ดเหนื่อยกระหายน้ำมา แม่น้ำหลายสายมี
      น้ำเยือกเย็น ดาระดาษไปด้วยบัวขาว (ชายฝั่ง) มีหมู่ไม้จันทน์ และ
      มะม่วงขนาดเล็กมีรสหวานอยู่ล้นหลาม ย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้นั้น ที่อยู่และ
      หมู่ไม้ของผู้นั้น มีแม่น้ำหลายสายล้อมรอบประจำ น้ำเย็นสนิท แม่น้ำ
      ทั้งหลายที่ทรายมูล ก็เกิดขึ้นแก่ผู้นั้น หมู่ไม้มะม่วง หมู่ต้นรัง หมู่ต้น
      หมากหอม หมู่ต้นชมพู่ หมู่ไม้ราชพฤกษ์ และต้นแคฝอยมากมาย มีผล
      ดกดื่นออกดอกชูสล้าง ก็เกิดขึ้นล้อมรอบวิมานของผู้นั้น เขาได้วิมานดี
      เยี่ยมงามนักหนาเช่นนั้น ว่ากันโดยพื้นที่แล้วมีลักษณะควรสรรเสริญ
      นี้เป็นวิบากแห่งกรรมนั้น ทั้งนั้น คนทั้งหลายที่ทำบุญไว้แล้วต้องได้ผล
      เช่นนี้ หม่อมฉันมีปราสาทเป็นเทวาลัย อันบุญกรรมจัดเนรมิตมาให้แล้ว
      เป็นส่วนๆ โดยรอบทั้งสี่ทิศ งดงามเป็นสง่าอยู่ เพราะบุญนั้น หม่อม
      ฉันมีวรรณะเช่นนี้เพราะบุญนั้น อิฐผลย่อมสำเร็จแก่หม่อมฉันในวิมานนี้
      เพราะบุญนั้น อนึ่ง โภคะอันเป็นที่รักแห่งใจทุกสิ่งทุกอย่าง เกิดขึ้นแก่
      หม่อมฉันเพราะบุญนั้น หม่อมฉันมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมีกาย
      ของหม่อมฉันสว่างไสวไปทั่วทุกทิศเพราะบุญนั้น นี้เป็นผลแห่งกรรมนั้น
      คือ หม่อมฉันขมีขมันถวายน้ำแก่พระพุทธเจ้า.
      จบ นาวาวิมานที่ ๘.
    10. AddWassana
    11. TVJ
      TVJ
      เวลาปฏิบัติสมาธิแต่ก่อนเป็นสุขเวทนาเป็นส่วนมาก แต่ปัจจุบันจิตประสบแต่ทุกขเวทนาเป็นส่วนมากแต่ก็รู้ว่าเป็นอารมณ์ และยังสงบอยู่ จิตมิได้อดิ้นรน แต่มีคามเห็นว่ากายคตาสติ เวทนานุปัสสนาสติ จิตตานุปัสสนาสติ ธรรมมานุปัสสนาสติ ทั้งหมดนี่แหละเป็นทุกข์ จะดับทุกข์ได้ต้องดับที่สติ สติมี ความดับแห่งสติก็ต้องมี มีความรู้สึกเหมือนกับว่าถ้าสติขาดสะบั้นลง นั่นแหละคือที่สุดแห่งความทุกข์ แต่ก็ยังไม่ขาดสักที เหมือนกับปริ่มๆ แล้วก็ถอนกลับมาที่ระดับอุปจารสมาธิ (กระผมยังเป็นฆราวาสอยู่ ) ขอผู้รู้โปรดกรุณาตองปัญหานี้ด้วยครับ เพราะว่าตอนนี้กระผมทำแค่นี้
    12. AddWassana
      AddWassana
      [IMG]

      สุขสันต์วันพุธนี้ค่ะ
    13. อิสวาร์ยาไรท์
    14. อิสวาร์ยาไรท์
    15. Baby_par
      Baby_par
      เรียนเชิญท่านผู้มีอุปการคุณแห่งเวปพลังจิตทุกท่าน

      ขณะนี้ทางกลุ่มของเรา ได้เปิดให้โหลดเสียงนิทานบรรเทิงธรรม

      และเสียงธรรมเทศสนาของหลวงปู่เจี๊ยะ รวมกว่า80ไฟร์

      เชิญท่านที่สนใจ เข้าไปรับชมรับโหลดได้ ข้างล่างนี้ค่ะ

      >.<

      [IMG]
    16. AddWassana
      AddWassana
      [IMG]

      ยินดีที่ได้รู้จักคุณ TVJ ค่ะ
    17. TVJ
      TVJ
      พระสุตตันตปิฎก
      เล่ม ๗
      สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
      ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
      เทวตาสังยุต
      นฬวรรคที่ ๑
      โอฆตรณสูตรที่ ๑
      [๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้-
      สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ
      ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว
      เทวดาองค์หนึ่ง มีวรรณงาม ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
      พระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่
      ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
      [๒] เทวดานั้น ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลคำนี้
      กะพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ข้าพระองค์ขอทูลถาม พระองค์
      ข้ามโอฆะได้อย่างไร ฯ
      พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ท่านผู้มีอายุ เราไม่พักอยู่ ไม่เพียรอยู่
      ข้ามโอฆะได้แล้ว ฯ
      ท. ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ก็พระองค์ไม่พักไม่เพียร ข้ามโอฆะได้
      อย่างไรเล่า ฯ
      พ. ท่านผู้มีอายุ เมื่อใด เรายังพักอยู่ เมื่อนั้น เรายังจมอยู่โดยแท้
      เมื่อใดเรายังเพียรอยู่ เมื่อนั้น เรายังลอยอยู่โดยแท้ ท่านผู้มีอายุ เราไม่พัก เรา
      ไม่เพียร ข้ามโอฆะได้แล้วอย่างนี้แล ฯ
      เทวดานั้นกล่าวคาถานี้ว่า
      นานหนอ ข้าพเจ้าจึงจะเห็นขีณาสวพราหมณ์ผู้ดับรอบแล้ว
      ไม่พัก ไม่เพียรอยู่ ข้ามตัณหาเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวในโลก ฯ
      [๓] เทวดานั้นกล่าวคำนี้แล้ว พระศาสดาทรงอนุโมทนา ครั้งนั้นแล
      เทวดานั้นดำริว่า พระศาสดาทรงอนุโมทนาคำของเรา จึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค
      ทำประทักษิณแล้วก็หายไป ณ ที่นั้นแล ฯ
      นิโมกขสูตรที่ ๒
      [๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้-
      สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ
      ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว
      เทวดาองค์หนึ่ง มีวรรณงาม ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
      พระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วจึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วได้ยืนอยู่ ณ
      ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
      [๕] เทวดานั้น ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้กราบทูล
      คำนี้กะพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ พระองค์ย่อมทรงทราบมรรค
      เป็นทางหลีกพ้น ผลเป็นความหลุดพ้น นิพพานเป็นที่สงัด ของสัตว์ทั้งหลาย
      หรือหนอ ฯ
      พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ท่านผู้มีอายุ เรารู้จักมรรคเป็นทางหลีกพ้น
      ผลเป็นความหลุดพ้น นิพพานเป็นที่สงัด ของสัตว์ทั้งหลายโดยแท้จริง ฯ
      ท. ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ก็พระองค์ย่อมทรงทราบมรรคเป็นทางหลีก
      พ้น ผลเป็นความหลุดพ้น นิพพานเป็นที่สงัด ของสัตว์ทั้งหลายอย่างไรเล่า ฯ
      [๖] พระผู้มีพระภาคทรงวิสัชนาโดยคาถานี้ว่า
      ท่านผู้มีอายุ เพราะความสิ้นภพอันมีความเพลิดเพลินเป็น
      มูล เพราะความสิ้นแห่งสัญญาและวิญญาณ เพราะ
      ความดับ เพราะความสงบแห่งเวทนาทั้งหลาย เราย่อมรู้จัก
      มรรคเป็นทางหลีกพ้น ผลเป็นความหลุดพ้น นิพพานเป็นที่
      สงัด ของสัตว์ทั้งหลายอย่างนี้ ฯ
      อุปเนยยสูตรที่ ๓
      [๗] เทวดานั้น ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้กล่าวคาถา
      นี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
      ชีวิตคืออายุมีประมาณน้อย ถูกต้อนเข้าไปเรื่อย เมื่อบุคคลถูก
      ชราต้อนเข้าไปแล้ว ย่อมไม่มีผู้ป้องกัน บุคคลเมื่อเห็นภัยนี้
      ในมรณะ พึงทำบุญทั้งหลายที่นำความสุขมาให้ ฯ
      [๘] ชีวิตคืออายุมีประมาณน้อย ถูกต้อนเข้าไปเรื่อย เมื่อบุคคล
      ถูกชราต้อนเข้าไปแล้ว ย่อมไม่มีผู้ป้องกัน บุคคลเมื่อเห็น
      ภัยนี้ในมรณะ พึงละอามิสในโลกเสีย มุ่งสันติเถิด ฯ
      อัจเจนติสูตรที่ ๔
      [๙] เทวดานั้น ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้กล่าวคาถา
      นี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
      กาลทั้งหลายย่อมล่วงไป ราตรีทั้งหลายย่อมผ่านไป ชั้นแห่ง
      วัยย่อมละลำดับไป บุคคลเมื่อเห็นภัยนี้ในมรณะ พึงทำบุญ
      ทั้งหลายที่นำความสุขมาให้ ฯ
      [๑๐] กาลทั้งหลายย่อมล่วงไป ราตรีทั้งหลายย่อมผ่านไป ชั้น
      แห่งวัยย่อมละลำดับไป บุคคลเมื่อเห็นภัยนี้ในมรณะ พึงละ
      อามิสในโลกเสีย มุ่งสันติเถิด ฯ
      กติฉินทิสูตรที่ ๕
      [๑๑] เทวดานั้น ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้กราบ
      ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถานี้ว่า
      บุคคลควรตัดเท่าไร ควรละเท่าไร ควรบำเพ็ญคุณอันยิ่ง
      เท่าไร ภิกษุล่วงธรรมเครื่องข้องเท่าไร พระองค์จึงตรัสว่า
      เป็นผู้ข้ามโอฆะแล้ว ฯ
      [๑๒] บุคคลควรตัดสังโยชน์เป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ อย่าง ควรละ
      สังโยชน์เป็นส่วนเบื้องบน ๕ อย่าง ควรบำเพ็ญอินทรีย์อันยิ่ง
      ๕ อย่าง ภิกษุล่วงธรรมเป็นเครื่องข้อง ๕ อย่าง เรากล่าวว่า
      เป็นผู้ข้ามโอฆะแล้ว ฯ
      ชาครสูตรที่ ๖
      [๑๓] เทวดานั้น ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้กล่าว
      คาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
      เมื่อธรรมทั้งหลายตื่นอยู่ ธรรมประเภทไหนนับว่าหลับ เมื่อ
      ธรรมทั้งหลายหลับ ธรรมประเภทไหนนับว่าตื่น บุคคลหมัก
      หมมธุลีเพราะธรรมประเภทไหน บุคคลบริสุทธิ์เพราะธรรม
      ประเภทไหน ฯ
      พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
      [๑๔] เมื่ออินทรีย์ ๕ อย่างตื่นอยู่ นิวรณ์ ๕ อย่าง
      นับว่าหลับ เมื่อนิวรณ์ ๕ อย่างหลับ
      อินทรีย์ ๕ อย่าง นับว่าตื่น บุคคลหมักหมมธุลีเพราะ
      นิวรณ์ ๕ อย่าง บุคคลบริสุทธิ์เพราะอินทรีย์ ๕ อย่าง ฯ
      อัปปฏิวิทิตสูตรที่ ๗
      [๑๕] เทวดานั้น ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้กล่าว
      คาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
      ธรรมทั้งหลายอันชนพวกใดยังไม่แทงตลอดแล้ว ชนพวกนั้น
      ย่อมถูกจูงไปในวาทะของชนพวกอื่น ชนพวกนั้นชื่อว่ายังหลับ
      ไม่ตื่น (กาลนี้) เป็นกาลสมควร เพื่อจะตื่นของชนพวกนั้น ฯ
      [๑๖] ธรรมทั้งหลาย อันชนพวกใดแทงตลอดดีแล้ว ชนพวกนั้น
      ย่อมไม่ถูกจูงไปในวาทะของชนพวกอื่น บุคคลผู้รู้ดีทั้งหลาย
      รู้ทั่วถึงโดยชอบแล้ว ย่อมประพฤติเสมอในหมู่สัตว์ผู้
      ประพฤติไม่เสมอ ฯ
      สุสัมมุฏฐสูตรที่ ๘
      [๑๗] เทวดานั้น ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้กล่าว
      คาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
      ธรรมทั้งหลายอันชนพวกใดลืมเลือนแล้ว ชนพวกนั้น ย่อมถูก
      จูงไปในวาทะของชนพวกอื่น ชนพวกนั้นชื่อว่ายังหลับไม่ตื่น
      (กาลนี้) เป็นกาลควรเพื่อจะตื่นของชนพวกนั้น ฯ
      [๑๘] ธรรมทั้งหลาย อันชนพวกใดไม่ลืมเลือนแล้ว ชนพวกนั้น
      ย่อมไม่ถูกจูงไปในวาทะของชนพวกอื่น บุคคลผู้รู้ดีทั้งหลาย
      รู้ทั่วถึงโดยชอบแล้ว ย่อมประพฤติเสมอในหมู่สัตว์ผู้ประพฤติ
      ไม่เสมอ ฯ
      มานกามสูตรที่ ๙
      [๑๙] เทวดานั้น ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้กล่าว
      คาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
      ทมะย่อมไม่มีแก่บุคคลที่ปรารถนามานะ ความรู้ย่อมไม่มีแก่
      บุคคลที่มีจิตไม่ตั้งมั่น บุคคลผู้เดียว เมื่ออยู่ในป่า
      ประมาทแล้ว ไม่พึงข้ามพ้นฝั่งแห่งเตภูมิกวัฏอันเป็นที่ตั้งแห่ง
      มัจจุได้ ฯ
      [๒๐] บุคคลละมานะแล้ว มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว มีจิตดี พ้นในธรรม
      ทั้งปวงแล้ว เป็นผู้เดียว เมื่ออยู่ในป่า ไม่ประมาทแล้ว
      บุคคลนั้นพึงข้ามฝั่งแห่งเตภูมิกวัฏเป็นที่ตั้งแห่งมัจจุได้ ฯ
      อรัญญสูตรที่ ๑๐
      [๒๑] เทวดานั้น ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้ทูลถาม
      พระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
      วรรณของภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ในป่า ฉันภัตอยู่หนเดียว เป็น
      สัตบุรุษผู้ประพฤติธรรมอันประเสริฐ ย่อมผ่องใสด้วยเหตุ
      อะไร ฯ
      พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
      [๒๒] ภิกษุทั้งหลายไม่เศร้าโศกถึงปัจจัยที่ล่วงแล้ว ไม่ปรารถนา
      ปัจจัยที่ยังมาไม่ถึง เลี้ยงตนด้วยปัจจัยที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า
      วรรณ (ของภิกษุทั้งหลายนั้น) ย่อมผ่องใสด้วยเหตุนั้น
      เพราะความปรารถนาถึงปัจจัยที่ยังไม่มาถึง และความโศก
      ถึงปัจจัยที่ล่วงแล้ว พวกพาลภิกษุจึงซูบซีด เหมือนต้นอ้อ
      สดที่ถูกถอนเสียแล้ว ฉะนั้น
      จบ นฬวรรค ที่ ๑
      -------------
    18. TVJ
      TVJ
      พระสุตตันตปิฎก
      เล่ม ๑๑
      สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
      ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
      ๑. มัคคสังยุต
      อวิชชาวรรคที่ ๑
      อวิชชาสูตร
      ว่าด้วยอวิชชา และวิชชาเป็นหัวหน้าแห่งอกุศลและกุศล
      [๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
      สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก-
      *เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ
      ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคได้
      ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า.
      [๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อวิชชาเป็นหัวหน้าในการยังอกุศลธรรมให้ถึงพร้อม เกิดร่วม
      กับความไม่ละอายบาป ความไม่สะดุ้งกลัวบาป ความเห็นผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้ไม่รู้แจ้ง ประกอบ
      ด้วยอวิชชา ความดำริผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความเห็นผิด เจรจาผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความดำริผิด
      การงานผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้เจรจาผิด การเลี้ยงชีพผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้ทำการงานผิด พยายามผิดย่อมเกิด
      มีแก่ผู้เลี้ยงชีพผิด ระลึกผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้พยายามผิด ตั้งใจผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้ระลึกผิด.
      [๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนวิชชา เป็นหัวหน้าในการยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม เกิด
      ร่วมกับความละอายบาป ความสะดุ้งกลัวบาป ความเห็นชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้รู้แจ้ง ประกอบด้วย
      วิชชา ความดำริชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความเห็นชอบ เจรจาชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความดำริชอบ
      การงานชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้เจรจาชอบ การเลี้ยงชีพชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้ทำการงานชอบ พยายาม
      ชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้เลี้ยงชีพชอบ ระลึกชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้พยายามชอบ ตั้งใจชอบย่อมเกิด
      มีแก่ผู้ระลึกชอบ แล.
      จบ สูตรที่ ๑
      อุปัฑฒสูตร
      ความเป็นผู้มีมิตรดี เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้น
      [๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
      สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวศักยะชื่อสักระ ในแคว้น
      สักกะของชาวศากยะทั้งหลาย ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
      ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
      ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้เป็นกึ่งหนึ่งแห่งพรหมจรรย์
      เทียวนะ พระเจ้าข้า.
      [๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ เธออย่าได้กล่าวอย่างนั้น เธออย่างได้
      กล่าวอย่างนั้น ก็ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้นทีเดียว ดูกร
      อานนท์ อันภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคประกอบ
      ด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘.
      [๖] ดูกรอานนท์ ก็ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ย่อมเจริญอริยมรรคประกอบ
      ด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า? ดูกรอานนท์ ภิกษุ
      ในธรรมวินัยนี้ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
      ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ ... สัมมาวาจา ... สัมมากัมมันตะ ... สัมมาอาชีวะ ... สัมมาวายามะ ...
      สัมมาสติ ... สัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกร
      อานนท์ ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ย่อมเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อม
      กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.
      [๗] ดูกรอานนท์ ข้อว่า ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี เป็นพรหมจรรย์
      ทั้งสิ้นทีเดียวนั้น พึงทราบโดยปริยายแม้นี้ ด้วยว่าเหล่าสัตว์ผู้มีชาติเป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจาก
      ชาติ ผู้มีชราเป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากชรา ผู้มีมรณะเป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากมรณะ ผู้มี
      โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากโสกะ ปริเทวะ
      ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เพราะอาศัยเราผู้เป็นกัลยาณมิตร ดูกรอานนท์ ข้อว่า ความเป็นผู้มี
      มิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้นทีเดียวนั้น พึงทราบโดยปริยายนี้แล.
      จบ สูตรที่ ๒
      สารีปุตตสูตร
      ความเป็นผู้มีมิตรดีเป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้น
      [๘] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
      ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
      ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้น
      เทียวนะ พระเจ้าข้า.
      [๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ถูกละ ถูกละ สารีบุตร ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี
      มีเพื่อนดี นี้เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้น ดูกรสารีบุตร ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวัง
      ข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘.
      [๑๐] ดูกรสารีบุตร ก็ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ย่อมเจริญอริยมรรค
      ประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า? ดูกร
      สารีบุตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
      น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
      น้อมไปในการสละ ดูกรสารีบุตร ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ย่อมเจริญอริยมรรค
      ประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.
      [๑๑] ดูกรสารีบุตร ข้อว่า ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้เป็นพรหม-
      *จรรย์ทั้งสิ้น นั้นพึงทราบโดยปริยายแม้นี้ ด้วยว่าเหล่าสัตว์ผู้มีชาติเป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจาก
      ชาติ ผู้มีชราเป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากชรา ผู้มีมรณะเป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากมรณะ ผู้มี
      โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสเป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากโสกะ ปริเทวะ ทุกข์
      โทมนัส อุปายาส เพราะอาศัยเราผู้เป็นกัลยาณมิตร ดูกรสารีบุตร ข้อว่า ความเป็นผู้มีมิตรดี
      มีสหายดี มีเพื่อนดี เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้นนั้น พึงทราบโดยปริยายนี้แล.
      จบ สูตรที่ ๓
      พราหมณสูตร
      อริยมรรคเรียกชื่อได้ ๓ อย่าง
      [๑๒] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น เวลาเช้า ท่านพระอานนท์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร
      เข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี ได้เห็นชาณุสโสณีพราหมณ์ออกจากพระนครสาวัตถี ด้วยรถ
      เทียมด้วยม้าขาวล้วน ได้ยินว่า ม้าที่เทียมเป็นม้าขาว เครื่องประดับขาว ตัวรถขาว ประทุนรถ
      ขาว เชือกขาว ด้ามประตักขาว ร่มขาว ผ้าโพกขาว ผ้านุ่งขาว รองเท้าขาว พัดวาลวิชนีที่
      ด้ามพัดก็ขาว ชนเห็นท่านผู้นี้แล้ว พูดอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ยานประเสริฐหนอ รูป
      ของยานประเสริฐหนอ ดังนี้.
      [๑๓] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถีแล้ว เวลาปัจฉาภัต
      กลับจากบิณฑบาต เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ
      ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ของประทาน
      พระวโรกาส เวลาเช้า ข้าพระองค์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี
      ข้าพระองค์เห็นชาณุสโสณีพราหมณ์ออกจากพระนครสาวัตถี ด้วยรถม้าขาวล้วน ได้ยินว่า ม้าที่
      เทียมเป็นม้าขาว เครื่องประดับขาว ตัวรถขาว ประทุนรถขาว เชือกขาว ด้ามประตักขาว ร่มขาว
      ผ้าโพกขาว ผ้านุ่งขาว รองเท้าขาว พัดวาลวิชนีที่ด้ามก็ขาว ชนเห็นท่านผู้นี้แล้ว พูดอย่างนี้ว่า
      ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ยานประเสริฐหนอ รูปของยานประเสริฐหนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
      พระองค์อาจทรงบัญญัติยานอันประเสริฐในธรรมวินัยนี้ได้ไหมหนอ?
      [๑๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ อาจบัญญัติได้ คำว่ายานอันประเสริฐ
      เป็นชื่อของอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้เอง เรียกกันว่า พรหมยานบ้าง ธรรมยานบ้าง รถ
      พิชัยสงครามอันยอดเยี่ยมบ้าง.
      [๑๕] ดูกรอานนท์ สัมมาทิฏฐิบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว มีการกำจัดราคะ
      เป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด.
      [๑๖] ดูกรอานนท์ สัมมาสังกัปปะที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว มีการกำจัด
      ราคะเป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด.
      [๑๗] ดูกรอานนท์ สัมมาวาจาที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว มีการกำจัด
      ราคะเป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด.
      [๑๘] ดูกรอานนท์ สัมมากัมมันตะที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว มีการกำจัด
      ราคะเป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด.
      [๑๙] ดูกรอานนท์ สัมมาอาชีวะที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว มีการกำจัด
      ราคะเป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด.
      [๒๐] ดูกรอานนท์ สัมมาวายามะที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว มีการกำจัด
      ราคะเป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด.
      [๒๑] ดูกรอานนท์ สัมมาสติที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว มีการกำจัดราคะ
      เป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด.
      [๒๒] ดูกรอานนท์ สัมมาสมาธิที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว มีการกำจัด
      ราคะเป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด.
      [๒๓] ดูกรอานนท์ ข้อว่า ยานอันประเสริฐ เป็นชื่อของอริยมรรคประกอบด้วย
      องค์ ๘ นี้เอง เรียกกันว่า พรหมยานบ้าง ธรรมยานบ้าง รถพิชัยสงครามอันยอดเยี่ยมบ้าง นั้น
      พึงทราบโดยปริยายนี้แล.
      พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถา
      ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
      [๒๔] อริยมรรคญาณนั้นมีธรรม คือ ศรัทธากับปัญญาเป็นเอก มีศรัทธา
      เป็นทูบ มีหิริเป็นงอน มีใจเป็นเชือกชัก มีสติเป็นสารถีผู้ควบคุม
      รถนี้มีศีลเป็นเครื่องประดับ มีญาณเป็นเพลา มีความเพียรเป็นล้อ
      มีอุเบกขากับสมาธิเป็นทูบ ความไม่อยากได้เป็นประทุน กุลบุตร
      ใดมีความไม่พยาบาท ความไม่เบียดเบียน และวิเวกเป็นอาวุธ
      มีความอดทนเป็นเกราะหนัง กุลบุตรนั้นย่อมเป็นไปเพื่อความเกษม
      จากโยคะ พรหมยานอันยอดเยี่ยมนี้ เกิดแล้วในตนของบุคคล
      เหล่าใด บุคคลเหล่านั้นเป็นนักปราชญ์ ย่อมออกไปจากโลกโดย
      ความแน่ใจว่า มีชัยชนะโดยแท้.
      จบ สูตรที่ ๔
      กิมัตถิยสูตร
      ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อกำหนดรู้ทุกข์
      [๒๕] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้นแล ภิกษุมากรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
      ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
      ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ถามพวกข้าพระองค์
      อย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดมเพื่อประโยชน์
      อะไร? พวกข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้ว จึงพยากรณ์แก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น
      อย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พวกเราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อกำหนด
      รู้ทุกข์ พวกข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้ว พยากรณ์อย่างนี้ ชื่อว่ากล่าวตามพระดำรัสที่พระผู้มี
      พระภาคตรัสไว้แล้ว ไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำไม่จริง พยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้ง
      การคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ จะไม่พึงถึงฐานะอันวิญญูชนพึงติเตียนได้ละหรือ.
      [๒๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ช่างเถิด พวกเธอถูกถามอย่างนั้น
      แล้ว พยากรณ์อย่างนั้น ชื่อว่ากล่าวตามคำที่เรากล่าวไว้แล้ว ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง พยากรณ์
      ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ จะไม่ถึงฐานะอันวิญญูชนพึงติเตียนได้
      เพราะพวกเธออยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในเรา เพื่อกำหนดรู้ทุกข์.
      [๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก พึงถามพวกเธออย่างนี้ว่า
      ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็หนทางมีอยู่หรือ ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้นมีอยู่หรือ? พวกเธอถูกถาม
      อย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์แก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย
      หนทางมีอยู่ ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้นมีอยู่.
      [๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็หนทางเป็นไฉน ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์เป็นไฉน.
      อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เป็นหนทาง นี้เป็น
      ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอถูกถามอย่างนั้นแล้ว พึงพยากรณ์แก่
      พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้.
      จบ สูตรที่ ๕
      ภิกขุสูตรที่ ๑
      ว่าด้วยพรหมจรรย์และที่สุดพรหมจรรย์
      [๒๙] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
      ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
      ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่าพรหมจรรย์ๆ ดังนี้ ก็พรหมจรรย์เป็นไฉน ที่สุดแห่ง
      พรหมจรรย์เป็นไฉน?
      [๓๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ สัมมา
      ทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้แลเป็นพรหมจรรย์ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ
      นี้เป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์.
      จบ สูตรที่ ๖
      ภิกขุสูตรที่ ๒
      ความกำจัดราคะ เป็นชื่อนิพพานธาตุ
      [๓๑] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
      ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
      ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า ความกำจัดราคะ ความกำจัดโทสะ ความกำจัดโมหะ ดังนี้ คำว่า
      ความกำจัดราคะ ความกำจัดโทสะ ความกำจัดโมหะ นี้เป็นชื่อแห่งอะไรหนอ? พระผู้มีพระภาค
      ตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุ คำว่า ความกำจัดราคะ ความกำจัดโทสะ ความกำจัดโมหะ นี้เป็นชื่อ
      แห่งนิพพานธาตุ เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่าธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ.
      ความสิ้นราคะ ชื่อว่าอมตะ
      [๓๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้า
      แต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า อมตะๆ ดังนี้ อมตะเป็นไฉน? ทางที่จะให้ถึงอมตะเป็นไฉน?
      พ. ดูกรภิกษุ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่าอมตะ
      อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้แลเรียกว่าทางที่จะให้ถึง
      อมตะ.
      จบ สูตรที่ ๗
      วิภังคสูตร
      อริยมรรค ๘
      [๓๓] สาวัตถีนิทาน. พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
      เราจักแสดง จักจำแนกอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
      อริยมรรคนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุพวกนั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว
      พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน? คือ
      สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ.
      [๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน? ความรู้ในทุกข์ ในทุกขสมุทัย
      ในทุกขนิโรธ ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ.
      [๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะเป็นไฉน? ความดำริในการออกจากกาม
      ความดำริในอันไม่พยาบาท ความดำริในอันไม่เบียดเบียน นี้เรียกว่าสัมมาสังกัปปะ.
      [๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจาเป็นไหน? เจตนาเครื่องงดเว้นจากพูดเท็จ
      พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่า สัมมาวาจา.
      [๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมากัมมันตะเป็นไฉน? เจตนาเครื่องงดเว้นจากปาณา-
      *ติบาต อทินนาทาน จากอพรหมจรรย์ นี้เรียกว่า สัสมากัมมันตะ.
      [๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะเป็นไฉน? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละการ
      เลี้ยงชีพที่ผิดเสีย สำเร็จชีวิตอยู่ด้วยการเลี้ยงชีพที่ชอบ นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ.
      [๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาวายามะเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะ
      ให้เกิด พยายาม ปรารถนาความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อมิให้อกุศลธรรมอันลามก
      ที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด
      บังเกิดขึ้น พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน
      เพิ่มพูน ไพบูลย์ เจริญ บริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ.
      [๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสติเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณา
      เห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสใน
      โลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึง
      กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มี
      สัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
      เนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย นี้
      เรียกว่า สัมมาสติ.
      [๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสมาธิเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม
      สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอบรรลุทุติย-
      *ฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตก
      วิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วย
      นามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มี
      อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เธอบรรลุจตุตถฌาณ ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์
      และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ.
      จบ สูตรที่ ๘
      สุภสูตร
      มรรคภาวนาที่ตั้งไว้ผิดและตั้งไว้ถูก
      [๔๒] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเดือยข้าวสาลี หรือเดือยข้าว
      ยวะที่บุคคลตั้งไว้ผิด มือหรือเท้าย่ำเหยียบแล้ว จักทำลายมือหรือเท้า หรือว่าจักให้ห้อเลือด
      ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเดือยบุคคลตั้งไว้ผิด ฉันใดก็ดี ภิกษุนั้นแล
      ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักทำลายอวิชชา จักยังวิชชาให้เกิด จักทำนิพพานให้แจ้ง ด้วยความเห็น
      ที่ตั้งไว้ผิด ด้วยการเจริญมรรคที่ตั้งไว้ผิด ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะ
      ความเห็นตั้งไว้ผิด.
      [๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเดือยข้าวสาลี หรือเดือยข้าวยวะที่บุคคลตั้ง
      ไว้ถูก มือหรือเท้าย่ำเหยียบแล้ว จักทำลายมือหรือเท้า หรือว่าจักให้ห้อเลือด ข้อนี้เป็นฐานะที่มี
      ได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเดือยบุคคลตั้งไว้ถูก ฉันใดก็ดี ภิกษุนั้นแล ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
      จักทำลายอวิชชา จักยังวิชชาให้เกิด จักทำนิพพานให้แจ้ง ด้วยความเห็นที่ตั้งไว้ถูก ด้วยการ
      เจริญมรรคที่ตั้งไว้ถูก ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะความเห็นตั้งไว้ถูก.
      [๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุจักทำลายอวิชชา จักยังวิชชาให้เกิด จักทำนิพพาน
      ให้แจ้ง ด้วยความเห็นที่ตั้งไว้ถูก ด้วยการเจริญมรรคที่ตั้งไว้ถูกอย่างไรเล่า? ภิกษุในธรรมวินัยนี้
      ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อม
      เจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุ
      ทั้งหลาย ภิกษุจักทำลายอวิชชา จักยังวิชชาให้เกิด จักทำนิพพานให้แจ้ง ด้วยความเห็นที่ตั้งไว้
      ถูก ด้วยการเจริญมรรคที่ตั้งไว้ถูก อย่างนี้แล.
      จบ สูตรที่ ๙
      นันทิยสูตร
      ธรรม ๘ ประการ เป็นเหตุให้ถึงพระนิพพาน
      [๔๕] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้นแล นันทิยปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
      ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วน
      ข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ธรรมเท่าไรหนอแล
      ที่บุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน มีนิพพานเป็นเบื้องหน้า มีนิพพาน
      เป็นที่สุด?
      พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนันทิยะ ธรรม ๘ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำ
      ให้มากแล้ว เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน มีนิพพานเป็นเบื้องหน้า มีนิพพานเป็นที่สุด ธรรม ๘ ประการ
      เป็นไฉน? คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ดูกรนันทิยะ ธรรม ๘ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญ
      แล้ว กระทำให้มากแล้ว เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน มีนิพพานเป็นเบื้องหน้า มีนิพพานเป็นที่สุด.
      [๔๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว นันทิยปริพาชกได้กราบทูล พระผู้มี
      พระภาคว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของ
      พระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย
      เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปไว้ใน
      ที่มืด ด้วยหวังว่าผู้มีจักษุจักเห็นรูป ฉะนั้น ข้าพระองค์ขอถึงท่านพระโคดม กับทั้งพระธรรม
      และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกถึงสรณะ
      จนตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป.
      จบ สูตรที่ ๑๐
      จบ อวิชชาวรรค
      ------------
      รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
      ๑. อวิชชาสูตร ๒. อุปัฑฒสูตร ๓. สาริปุตตสูตร ๔. พราหมณสูตร ๕. กิมัต-
      *ถิยสูตร ๖. ภิกขุสูตรที่ ๑ ๗. ภิกขุสูตรที่ ๒ ๘. วิภังคสูตร ๙. สุภสูตร ๑๐. นันทิยสูตร
      -----------
      วิหารวรรคที่ ๒
      วิหารสูตรที่ ๑
      ว่าด้วยปัจจัยแห่งเวทนา
      [๔๗] สาวัตถีนิทาน. พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
      เราปรารถนาจะหลีกเร้นอยู่ตลอดกึ่งเดือน ใครๆ ไม่พึงเข้าไปหาเรา นอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาต
      ไปให้รูปเดียว ภิกษุทั้งหลายรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว ในกึ่งเดือนนี้ไม่มีใครเข้าไปเฝ้า
      พระผู้มีพระภาค นอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาตไปถวายรูปเดียว.
      [๔๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงออกจากที่หลีกเร้นโดยล่วงไปกึ่งเดือนนั้นแล้ว
      ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราแรกตรัสรู้ ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรม
      อันใด เราอยู่แล้วโดยส่วนแห่งวิหารธรรมอันนั้น เรารู้ชัดอย่างนี้ว่า เวทนาย่อมมี เพราะความ
      เห็นผิดเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความเห็นชอบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความดำริผิดเป็นปัจจัยบ้าง เพราะ
      ความดำริชอบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะเจรจาผิดเป็นปัจจัยบ้าง เพราะเจรจาชอบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะ
      การงานผิดเป็นปัจจัยบ้าง เพราะการงานชอบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะเลี้ยงชีพผิดเป็นปัจจัยบ้าง เพราะ
      เลี้ยงชีพชอบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะพยายามผิดเป็นปัจจัยบ้าง เพราะพยายามชอบเป็นปัจจัยบ้าง
      เพราะความระลึกผิดเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความระลึกชอบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความตั้งใจผิดเป็น
      ปัจจัยบ้าง เพราะความตั้งใจชอบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะฉันทะเป็นปัจจัยบ้าง เพราะวิตกเป็นปัจจัย
      บ้าง เพราะสัญญาเป็นปัจจัยบ้าง เพราะฉันทวิตกและสัญญายังไม่สงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะฉันท-
      *วิตกและสัญญาสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะมีความพยายามเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง และเมื่อถึงฐานะ
      นั้นแล้วเป็นปัจจัยบ้าง.
      จบ สูตรที่ ๑
      วิหารสูตรที่ ๒
      ว่าด้วยปัจจัยแห่งเวทนา
      [๔๙] สาวัตถีนิทาน. พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า เราปรารถนาจะหลีกเร้น
      อยู่ตลอด ๓ เดือน ใครๆ ไม่พึงเข้าไปหาเรา นอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาตไปให้รูปเดียว ภิกษุ
      ทั้งหลายรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้วใน ๓ เดือนนี้ ไม่มีใครเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
      นอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาตไปถวายรูปเดียว.
      [๕๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงออกจากที่หลีกเร้นโดยล่วงไป ๓ เดือนนั้นแล้ว
      ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราแรกตรัสรู้ ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรม
      อันใด เราอยู่แล้วโดยส่วนแห่งวิหารธรรมอันนั้น เรารู้ชัดอย่างนี้ว่า เวทนาย่อมมีเพราะความเห็น
      ผิดเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความเห็นผิดสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความเห็นชอบเป็นปัจจัยบ้าง
      เพราะความเห็นสงบชอบเป็นปัจจัยบ้าง ฯลฯ เพราะความตั้งใจผิดเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความ
      ตั้งใจผิดสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความตั้งใจชอบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความตั้งใจชอบสงบเป็น
      ปัจจัยบ้าง เพราะฉันทะเป็นปัจจัยบ้าง เพราะฉันทะสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะวิตกเป็นปัจจัยบ้าง
      เพราะวิตกสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะสัญญาเป็นปัจจัยบ้าง เพราะสัญญาสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะ
      ฉันทวิตกและสัญญายังไม่สงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะฉันทวิตกและสัญญาสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะ
      มีความพยายามเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง และเมื่อถึงฐานะนั้นแล้วเป็นปัจจัยบ้าง.
      จบ สูตรที่ ๒
      เสขสูตร
      องคคุณ ๘ ของพระเสขะ
      [๕๑] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
      ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า พระเสขะๆ ดังนี้
      ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ? จึงจะชื่อว่าเป็นพระเสขะ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ภิกษุ
      ในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิอันเป็นของพระเสขะ ฯลฯ ประกอบด้วยสัมมาสมาธิอัน
      เป็นของพระเสขะ ดูกรภิกษุ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล จึงจะชื่อว่าเป็นพระเสขะ.
      จบ สูตรที่ ๓
      อุปปาทสูตรที่ ๑
      ธรรม ๘ ประการ ย่อมมีเพราะการปรากฏแห่งพระตถาคต
      [๕๒] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว
      กระทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ไม่เกิดขึ้นนอกจากความปรากฏแห่งพระตถาคตอรหันต-
      *สัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน? คือสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
      ธรรม ๘ ประการนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ไม่เกิด
      ขึ้นนอกจากความปรากฏแห่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.
      จบ สูตรที่ ๔
      อุปปาทสูตรที่ ๒
      ธรรม ๘ ประการ ย่อมมีเพราะพระวินัยของพระสุคต
      [๕๓] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว
      กระทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ไม่เกิดขึ้นนอกจากวินัยของพระสุคต ธรรม ๘ ประการ
      เป็นไฉน คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้แล อัน
      บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ไม่เกิดขึ้นนอกจากวินัยของพระสุคต.
      จบ สูตรที่ ๕
      ปริสุทธิสูตรที่ ๑
      ธรรม ๘ ประการ ย่อมเกิดเพราะความปรากฏแห่งพระตถาคต
      [๕๔] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มี
      กิเลสเครื่องยั่วยวน ปราศจากอุปกิเลส ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ไม่เกิดขึ้นนอกจากความปรากฏ
      แห่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน? คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
      สัมมาสมาธิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้แล บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน
      ปราศจากอุปกิเลส ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ไม่เกิดขึ้นนอกจากความปรากฏแห่งพระตถาคตอรหันต-
      *สัมมาสัมพุทธเจ้า.
      จบ สูตรที่ ๖
      ปริสุทธิสูตรที่ ๒
      ธรรม ๘ ประการ ย่อมบริสุทธิ์เพราะวินัยของพระสุคต
      [๕๕] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มี
      กิเลสเครื่องยั่วยวน ปราศจากอุปกิเลส ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ไม่เกิดขึ้นนอกจากวินัยของ
      พระสุคต ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน? คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
      ธรรม ๘ ประการนี้แล บริสุทธิ์ผุดผ่องไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน ปราศจากอุปกิเลส ที่ยังไม่เกิด
      ย่อมเกิดขึ้น ไม่เกิดขึ้นนอกจากวินัยของพระสุคต.
      จบ สูตรที่ ๗
      กุกกุฏารามสูตรที่ ๑
      มิจฉามรรค ว่าด้วยอพรหมจรรย์
      [๕๖] ข้าพเจ้าได้สดับแล้วอย่างนี้:-
      สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์และท่านพระภัททะอยู่ ณ กุกกุฏาราม ใกล้นครปาฏลีบุตร
      ครั้งนั้น ท่านพระภัททะออกจากที่เร้นในเวลาเย็น เข้าไปหาท่านพระอานนท์ ได้ปราศรัยกับท่าน
      พระอานนท์ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว
      ได้ถามท่านพระอานนท์ว่า ท่านอานนท์ ที่เรียกว่า อพรหมจรรย์ๆ ดังนี้ อพรหมจรรย์เป็นไฉน
      หนอ? ท่านพระอานนท์ตอบว่า ดีละๆ ท่านภัททะ ท่านช่างคิด ช่างหลักแหลม ช่างไต่ถาม
      ก็ท่านถามอย่างนี้หรือว่า ท่านอานนท์ ที่เรียกว่า อพรหมจรรย์ๆ ดังนี้ อพรหมจรรย์เป็นไฉนหนอ?
      ภ. อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ?
      อา. มิจฉามรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ คือ มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ มิจฉาสมาธิ นี้แล
      เป็นอพรหมจรรย์.
      จบ สูตรที่ ๘
      กุกกุฏารามสูตรที่ ๒
      ว่าด้วยพรหมจรรย์
      [๕๗] ปาฏลิปุตตนิทาน. ภ. ท่านอานนท์ ที่เรียกว่าพรหมจรรย์ๆ ดังนี้ พรหมจรรย์
      เป็นไฉนหนอ? ที่สุดของพรหมจรรย์เป็นไฉน?
      อา. ดีละๆ ท่านภัททะ ท่านช่างคิด ช่างหลักแหลม ช่างไต่ถาม ก็ท่านถามอย่างนี้
      หรือว่า ท่านอานนท์ ที่เรียกว่า พรหมจรรย์ๆ ดังนี้ พรหมจรรย์เป็นไฉนหนอ? ที่สุดของ
      พรหมจรรย์เป็นไฉน?
      ภ. อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.
      อา. อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้แลเป็น
      พรหมจรรย์ ความสิ้นราคะ โทสะ โมหะ นี้เป็นที่สุดของพรหมจรรย์.
      จบ สูตรที่ ๙
      กุกกุฏารามสูตรที่ ๓
      ว่าด้วยพรหมจรรย์และพรหมจารี
      [๕๘] ปาฏลิปุตตนิทาน. ภ. ท่านอานนท์ ที่เรียกว่า พรหมจรรย์ๆ ดังนี้ พรหมจรรย์
      เป็นไฉนหนอ? พรหมจารีเป็นไฉน? ที่สุดของพรหมจรรย์เป็นไฉน?
      อา. ดีละๆ ท่านภัททะ ท่านช่างคิด ช่างหลักแหลม ช่างไต่ถาม ก็ท่านถามอย่างนี้
      หรือว่า ท่านอานนท์ ที่เรียกว่า พรหมจรรย์ๆ ดังนี้ พรหมจรรย์เป็นไฉนหนอ? พรหมจารี
      เป็นไฉน? ที่สุดของพรหมจรรย์เป็นไฉน?
      ภ. อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ
      อา. อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้แล
      เป็นพรหมจรรย์ บุคคลผู้ประกอบด้วยอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้เรียกว่าเป็นพรหมจารี
      ความสิ้นราคะ โทสะ โมหะ นี้เป็นที่สุดของพรหมจรรย์.
      จบ สูตรที่ ๑๐
      จบ วิหารวรรคที่ ๒
      รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
      ๑. วิหารสูตรที่ ๑ ๒. วิหารสูตรที่ ๒ ๓. เสขสูตร ๔. อุปปาทสูตรที่ ๑
      ๕. อุปปาทสูตรที่ ๒ ๖. ปริสุทธิสูตรที่ ๑ ๗. ปริสุทธิสูตรที่ ๒ ๘. กุกกุฏารามสูตรที่ ๑
      ๙. กุกกุฏารามสูตรที่ ๒ ๑๐. กุกกุฏารามสูตรที่ ๓
      -------------------
      มิจฉัตตวรรคที่ ๓
      มิจฉัตตสูตร
      ความเห็นผิด-ความเห็นถูก
      [๕๙] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงมิจฉัตตะ (ความผิด) และ
      สัมมัตตะ (ความถูก) แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.
      [๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉัตตะเป็นไฉน? ความเห็นผิด ฯลฯ ความตั้งใจผิด
      นี้เรียกว่า มิจฉัตตะ.
      [๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมัตตะเป็นไฉน? ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้ง
      ใจชอบ นี้เรียกว่า สัมมัตตะ.
      จบ สูตรที่ ๑
      อกุศลธรรมสูตร
      อกุศลธรรม-กุศลธรรม
      [๖๒] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอกุศลธรรมและกุศลธรรมแก่
      เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.
      [๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อกุศลธรรมเป็นไฉน? ความเห็นผิด ฯลฯ ความตั้งใจ
      ผิด นี้เรียกว่า อกุศลธรรม.
      [๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กุศลธรรมเป็นไฉน? ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจ
      ชอบ นี้เรียกว่า กุศลธรรม.
      จบ สูตรที่ ๒
      ปฏิปทาสูตรที่ ๑
      มิจฉาปฏิปทา-สัมมาปฏิปทา
      [๖๕] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมิจฉาปฏิปทาและสัมมาปฏิปทา
      แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.
      [๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาปฏิปทาเป็นไฉน? ความเห็นผิด ฯลฯ ความ
      ตั้งใจผิด นี้เรียกว่า มิจฉาปฏิปทา.
      [๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาปฏิปทาเป็นไฉน? ความเห็นชอบ ฯลฯ ความ
      ตั้งใจชอบ นี้เรียกว่า สัมมาปฏิปทา.
      จบ สูตรที่ ๓
      ปฏิปทาสูตรที่ ๒
      ว่าด้วยญายธรรม
      [๖๘] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่สรรเสริญมิจฉาปฏิปทาของคฤหัสถ์
      หรือบรรพชิต คฤหัสถ์หรือบรรพชิตปฏิบัติผิดแล้ว ย่อมไม่ฟังญายธรรมอันเป็นกุศลให้สำเร็จ
      เพราะความปฏิบัติผิดเป็นตัวเหตุ ก็มิจฉาปฏิปทาเป็นไฉน? ความเห็นผิด ฯลฯ ความตั้งใจผิด
      นี้เรียกว่า มิจฉาปฏิปทา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่สรรเสริญมิจฉาปฏิปทาของคฤหัสต์หรือบรรพชิต
      คฤหัสถ์หรือบรรพชิตปฏิบัติผิดแล้ว ย่อมไม่ยังญายธรรมอันเป็นกุศลให้สำเร็จ เพราะความปฏิบัติ
      ผิดเป็นตัวเหตุ.
      [๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราสรรเสริญสัมมาปฏิปทาของคฤหัสถ์หรือบรรพชิต คฤหัสถ์
      หรือบรรพชิตปฏิบัติชอบแล้ว ย่อมยังญายธรรมอันเป็นกุศลให้สำเร็จ เพราะความปฏิบัติชอบเป็น
      ตัวเหตุ ก็สัมมาปฏิปทาเป็นไฉน? ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ นี้เรียกว่า สัมมา
      ปฏิปทา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราสรรเสริญสัมมาปฏิปทาของคฤหัสถ์หรือบรรพชิต คฤหัสถ์หรือ
      บรรพชิตปฏิบัติชอบแล้ว ย่อมยังญายธรรมอันเป็นกุศลให้สำเร็จ เพราะความปฏิบัติชอบเป็น
      ตัวเหตุ.
      จบ สูตรที่ ๔
      อสัปปุริสสูตรที่ ๑
      ว่าด้วยอสัตบุรุษ-สัตบุรุษ
      [๗๐] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสัตบุรุษและสัตบุรุษแก่เธอ
      ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.
      [๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสัตบุรุษเป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีความ
      เห็นผิด ดำริผิด เจรจาผิด ทำการงานผิด เลี้ยงชีพผิด พยายามผิด ระลึกผิด ตั้งใจผิด
      บุคคลนี้เรียกว่า อสัตบุรุษ.
      [๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัตบุรุษเป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มี
      ความเห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ ทำการงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ
      ตั้งใจชอบ บุคคลนี้เรียกว่า สัตบุรุษ.
      จบ สูตรที่ ๕
      อสัปปุริสสูตรที่ ๒
      ว่าด้วยอสัตบุรุษและสัตบุรุษที่ยิ่งกว่า
      [๗๓] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสัตบุรุษและอสัตบุรุษที่ยิ่งกว่า
      อสัตบุรุษ แก่เธอทั้งหลาย จักแสดงสัตบุรุษและสัตบุรุษผู้ยิ่งกว่าสัตบุรุษ แก่เธอทั้งหลาย เธอ
      ทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.
      [๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสัตบุรุษเป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มี
      ความเห็นผิด ฯลฯ ตั้งใจผิด บุคคลเหล่านี้เรียกว่า อสัตบุรุษ.
      [๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสัตบุรุษผู้ยิ่งกว่าอสัตบุรุษเป็นไฉน? บุคคลบางคนใน
      โลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นผิด ฯลฯ ตั้งใจผิด รู้ผิด พ้นผิด บุคคลนี้เรียกว่า อสัตบุรุษผู้ยิ่งกว่า
      อสัตบุรุษ.
      [๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัตบุรุษเป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความ
      เห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจชอบ บุคคลนี้เรียกว่า สัตบุรุษ.
      [๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัตบุรุษผู้ยิ่งกว่าสัตบุรุษเป็นไฉน? บุคคลบางคนใน
      โลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจชอบ รู้ชอบ พ้นชอบ บุคคลนี้เรียกว่า สัตบุรุษผู้ยิ่ง
      กว่าสัตบุรุษ.
      จบ สูตรที่ ๖
      กุมภสูตร
      ธรรมเครื่องรองรับจิต
      [๗๘] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนหม้อที่ไม่มีเครื่องรองรับ ย่อม
      กลิ้งไปได้ง่าย ที่มีเครื่องรองรับ ย่อมกลิ้งไปได้ยาก ฉันใด จิตก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่มีเครื่อง
      รองรับ ย่อมกลิ้งไปได้ง่าย ที่มีเครื่องรองรับ ย่อมกลิ้งไปได้ยาก.
      [๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นเครื่องรองรับจิต อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์
      ๘ นี้แล คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เป็นเครื่องรองรับจิต.
      [๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนหม้อที่ไม่มีเครื่องรองรับ ย่อมกลิ้งไปได้ง่าย
      ที่มีเครื่องรองรับ ย่อมกลิ้งไปได้ยาก ฉันใด จิตก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่มีเครื่องรองรับ ย่อม
      กลิ้งไปได้ง่าย ที่มีเครื่องรองรับ ย่อมกลิ้งไปได้ยาก.
      จบ สูตรที่ ๗
      สมาธิสูตร
      ว่าด้วยสัมมาสมาธิอันประเสริฐ
      [๘๑] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสัมมาสมาธิอันประเสริฐ พร้อม
      ทั้งเหตุ พร้อมทั้งเครื่องประกอบแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.
      [๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสมาธิอันประเสริฐ พร้อมทั้งเหตุ พร้อมทั้งเครื่อง
      ประกอบเป็นไฉน? คือความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ.
      [๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความที่จิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว ความที่จิตมีเครื่องประกอบ
      ด้วยองค์ ๗ ประการเหล่านี้นั้น เรียกว่าสัมมาสมาธิอันประเสริฐ พร้อมทั้งเหตุบ้าง พร้อมทั้ง
      เครื่องประกอบบ้าง.
      จบ สูตรที่ ๘
      เวทนาสูตร
      เจริญอริยมรรคเพื่อกำหนดรู้เวทนา
      [๘๔] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน?
      คือ สุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑ อทุกขมสุขเวทนา ๑ เวทนา ๓ ประการนี้แล.
      [๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ บุคคลพึงเจริญ เพื่อ
      กำหนดรู้เวทนา ๓ ประการนี้ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน? คือ ความเห็นชอบ
      ฯลฯ ความตั้งใจชอบ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ บุคคลพึงเจริญ เพื่อกำหนดรู้เวทนา ๓
      ประการนี้แล.
      จบ สูตรที่ ๙
      อุตติยสูตร
      เจริญอริยมรรคเพื่อละกามคุณ ๕
      [๘๖] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น ท่านพระอุตติยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
      ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ข้า
      พระองค์หลีกออกเร้นอยู่ในที่ลับ ได้เกิดความปริวิตกแห่งใจอย่างนี้ว่า กามคุณ ๕ พระผู้มีพระภาค
      ตรัสไว้แล้ว กามคุณ ๕ ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้วเป็นไฉนหนอ?
      [๘๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละๆ อุตติยะ กามคุณ ๕ เหล่านี้ เรากล่าวไว้แล้ว
      กามคุณ ๕ เป็นไฉน? คือ รูปที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยจักษุ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่
      น่ารัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยหู ... กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยจมูก ... รสที่พึงรู้แจ้ง
      ด้วยลิ้น ... โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่น่ารัก ยั่วยวน
      ชวนให้กำหนัด ดูกรอุตติยะ กามคุณ ๕ เหล่านี้แล เรากล่าวไว้แล้ว.
      [๘๘] ดูกรอุตติยะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ บุคคลพึงเจริญ เพื่อละกามคุณ
      ๕ เหล่านี้แล อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน? คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจ
      ชอบ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ บุคคลพึงเจริญ เพื่อละกามคุณ ๕ เหล่านี้แล.
      จบ สูตรที่ ๑๐
      จบ มิจฉัตตวรรคที่ ๓
      ---------------
      รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
      ๑. มิจฉัตตสูตร ๒. อกุศลธรรมสูตร ๓. ปฏิปทาสูตรที่ ๑ ๔. ปฏิปทาสูตรที่ ๒
      ๕. อสัปปุริสสูตรที่ ๑ ๖. อสัปปุริสสูตรที่ ๒ ๗. กุมภสูตร ๘. สมาธิสูตร
      ๙. เวทนาสูตร ๑๐. อุตติยสูตร.
      --------------
      ปฏิปัตติวรรคที่ ๔
      ปฏิปัตติสูตร
      ว่าด้วยมิจฉาปฏิบัติ-สัมมาปฏิบัติ
      [๘๙] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมิจฉาปฏิบัติ และสัมมาปฏิบัติ
      แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.
      [๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาปฏิบัติเป็นไฉน? คือ ความเห็นผิด ฯลฯ ความ
      ตั้งใจผิด นี้เรียกว่า มิจฉาปฏิบัติ.
      [๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาปฏิบัติเป็นไฉน? คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความ
      ตั้งใจชอบ นี้เรียกว่า สัมมาปฏิบัติ.
      จบ สูตรที่ ๑
      ปฏิปันนสูตร
      ว่าด้วยบุคคลผู้ปฏิบัติผิด-ปฏิบัติชอบ
      [๙๒] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงบุคคลผู้ปฏิบัติผิด และบุคคล
      ผู้ปฏิบัติชอบ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.
      [๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ปฏิบัติผิดเป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็น
      ผู้มีความเห็นผิด ฯลฯ มีความตั้งใจผิด บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ปฏิบัติผิด.
      [๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ปฏิบัติชอบเป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้
      เป็นผู้มีความเห็นชอบ ฯลฯ มีความตั้งใจชอบ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ปฏิบัติชอบ.
      จบ สูตรที่ ๒
      วิรัทธสูตร
      ผลของผู้พลาดและผู้ปรารภอริยมรรค
      [๙๕] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อันบุคคล
      เหล่าใดเหล่าหนึ่งพลาดแล้ว อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ แห่งบุคคลเหล่านั้น ย่อมไม่ให้ถึง
      ความสิ้นทุกข์โดยชอบ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว
      อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ แห่งบุคคลเหล่านั้น ย่อมให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ.
      [๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน? คือ ความ
      เห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
      พลาดแล้ว อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ แห่งบุคคลเหล่านั้น ย่อมไม่ให้ถึงความสิ้นทุกข์
      โดยชอบ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว อริยมรรคอัน
      ประกอบด้วยองค์ ๘ แห่งบุคคลเหล่านั้น ย่อมให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ.
      จบ สูตรที่ ๓
      ปารสูตร
      ธรรมเป็นเครื่องให้ถึงฝั่ง (นิพพาน)
      [๙๗] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว
      กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่ง (นิพพาน) จากที่มิใช่ฝั่ง (วัฏฏะ) ธรรม ๘ ประการ
      เป็นไฉน? คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ ธรรม ๘ ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญแล้ว
      กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่งจากที่มิใช่ฝั่ง.
      พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์
      ต่อไปอีกว่า
      [๙๘] ในพวกมนุษย์ ชนที่ถึงฝั่งมีจำนวนน้อย แต่หมู่สัตว์นอกนี้ ย่อม
      วิ่งไปตามฝั่งนั่นเอง ส่วนชนเหล่าใดประพฤติตามในธรรมที่พระผู้มี
      พระภาคตรัสดีแล้ว ชนเหล่านั้นข้ามบ่วงมฤตยูซึ่งแสนยากที่จะข้ามไปถึง
      ฝั่งได้ บัณฑิตพึงละธรรมฝ่ายดำเสียเจริญธรรมฝ่ายขาว ออกจากความ
      อาลัย อาศัยธรรมอันไม่มีความอาลัยแล้ว พึงละกามเสีย เป็นผู้ไม่มี
      กิเลสเป็นเครื่องกังวล ปรารถนาความยินดีในวิเวก ที่สัตว์ยินดีได้ยาก
      บัณฑิตพึงยังตนให้ผ่องแผ้ว จากเครื่องเศร้าหมองจิต ชนเหล่าใดอบรม
      จิตดีแล้วโดยชอบในองค์เป็นเหตุให้ตรัสรู้ ไม่ถือมั่น ยินดีแล้วในความ
      สละคืนความถือมั่น ชนเหล่านั้นเป็นผู้สิ้นอาสวะ มีความรุ่งเรือง
      ปรินิพพานแล้วในโลกนี้.
      จบ สูตรที่ ๔
      สามัญญสูตรที่ ๑
      ว่าด้วยสามัญญะและสามัญญผล
      [๙๙] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสามัญญะ (ความเป็นสมณะ)
      และสามัญญผล (ผลแห่งความเป็นสมณะ) แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.
      [๑๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สามัญญะเป็นไฉน? อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘
      นี้แล คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ นี้เรียกว่า สามัญญะ.
      [๑๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สามัญญผลเป็นไฉน? คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล
      อนาคามิผล อรหัตตผล นี้เรียกว่า สามัญญผล.
      จบ สูตรที่ ๕
      สามัญญสูตรที่ ๒
      ว่าด้วยสามัญญะและประโยชน์แห่งสามัญญะ
      [๑๐๒] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสามัญญะ และประโยชน์แห่ง
      สามัญญะแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.
      [๑๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สามัญญะเป็นไฉน? อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘
      นี้แล คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ นี้เรียกว่า สามัญญะ.
      [๑๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ประโยชน์แห่งสามัญญะเป็นไฉน? ความสิ้นราคะ ความ
      สิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า ประโยชน์แห่งสามัญญะ.
      จบ สูตรที่ ๖
      พรหมัญญสูตรที่ ๑
      ความเป็นพรหมและเป็นพรหมมัญญผล
      [๑๐๕] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงพรหมัญญะ (ความเป็นพรหม)
      และพรหมัญญผล (ผลแห่งความเป็นพรหม) แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.
      [๑๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมัญญะเป็นไฉน? อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘
      นี้แล คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ นี้เรียกว่า พรหมัญญะ.
      [๑๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมัญญผลเป็นไฉน? คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล
      อนาคามิผล อรหัตตผล นี้เรียกว่า พรหมัญญผล.
      จบ สูตรที่ ๗
      พรหมัญญสูตรที่ ๒
      ความเป็นพรหมและประโยชน์แห่งความเป็นพรหม
      [๑๐๘] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงพรหมัญญะ และประโยชน์
      แห่งพรหมัญญะแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.
      [๑๐๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมัญญะเป็นไฉน? อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘
      นี้แล คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ นี้เรียกว่า พรหมัญญะ.
      [๑๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ประโยชน์แห่งพรหมัญญะเป็นไฉน? ความสิ้นราคะ
      ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า ประโยชน์แห่งพรหมัญญะ.
      จบ สูตรที่ ๘
      พรหมจริยสูตรที่ ๑
      พรหมจรรย์และผลแห่งพรหมจรรย์
      [๑๑๑] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงพรหมจรรย์ และผลแห่งพรหม
      จรรย์ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.
      [๑๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมจรรย์เป็นไฉน? อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์
      ๘ นี้แล คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ นี้เรียกว่า พรหมจรรย์.
      [๑๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผลแห่งพรหมจรรย์เป็นไฉน? คือ โสดาปัตติผล
      สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล นี้เรียกว่า ผลแห่งพรหมจรรย์.
      จบ สูตรที่ ๙
      พรหมจริยสูตรที่ ๒
      พรหมจรรย์และประโยชน์แห่งพรหมจรรย์
      [๑๑๔] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงพรหมจรรย์ และประโยชน์
      แห่งพรหมจรรย์ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.
      [๑๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมจรรย์เป็นไฉน. อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘
      นี้แล คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ นี้เรียกว่า พรหมจรรย์.
      [๑๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ประโยชน์แห่งพรหมจรรย์เป็นไฉน? ความสิ้นราคะ
      ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า ประโยชน์แห่งพรหมจรรย์.
      จบ สูตรที่ ๑๐
      จบ ปฏิปัตติวรรคที่ ๔
      -----------
      รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
      ๑. ปฏิปัตติสูตร ๒. ปฏิปันนสูตร ๓. วิรัทธสูตร ๔. ปารสูตร
      ๕. สามัญญสูตรที่ ๑ ๖. สามัญญสูตรที่ ๒ ๗. พรหมัญญสูตรที่ ๑ ๘. พรหมัญญ
      สูตรที่ ๒ ๙. พรหมจริยสูตรที่ ๑ ๑๐. พรหมจริยสูตรที่ ๒
      ----------
      อัญญติตถิยวรรคที่ ๕
      วิราคสูตร
      ข้อปฏิบัติเพื่อสำรอกราคะ
      [๑๑๗] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก พึงถามเธอ
      ทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในพระสมณโคดม
      เพื่อประโยชน์อะไร? เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงชี้แจงแก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก
      เหล่านั้นอย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อ
      สำรอกราคะ.
      [๑๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก พึงถามเธอทั้งหลายอย่าง
      นี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ทางมีอยู่หรือ? ข้อปฏิบัติเพื่อสำรอกราคะมีอยู่หรือ? เธอทั้งหลาย
      ถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงชี้แจงแก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น อย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุ
      ทั้งหลาย ทางมีอยู่ ข้อปฏิบัติเพื่อสำรอกราคะมีอยู่.
      [๑๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางเป็นไฉน? ข้อปฏิบัติเพื่อสำรอกราคะ เป็นไฉน?
      อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ นี้เป็นทาง นี้
      เป็นข้อปฏิบัติเพื่อสำรอกราคะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงชี้แจงแก่
      พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น อย่างนี้.
      จบ สูตรที่ ๑
      สังโยชนสูตร
      ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละสังโยชน์
      [๑๒๐] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก พึงถาม
      เธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ในพระสมณ-
      *โคดมเพื่อประโยชน์อะไร? เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงชี้แจงแก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก
      เหล่านั้นอย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในพระผู้มีพระภาค
      เพื่อละสังโยชน์.
      จบ สูตรที่ ๒
      อนุสยสูตร
      ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อถอนอนุสัย
      [๑๒๑] ... ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค
      เพื่อถอนอนุสัย ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๓
      อัทธานสูตร
      ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อกำหนดรู้สังสารวัฏ
      [๑๒๒] ... ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค
      เพื่อกำหนดรู้สังสารวัฏอันยืดยาว ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๔
      อาสวสูตร
      ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อสิ้นอาสวะ
      [๑๒๓] ... ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค
      เพื่อความสิ้นอาสวะ ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๕
      วิชชาวิมุตติสูตร
      ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำให้แจ้งซึ่งวิชชาและวิมุตติผล
      [๑๒๔] ... ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค
      เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผลแห่งวิชชา และวิมุตติผล ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๖
      ญาณทัสสนสูตร
      ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อญาณทัสสนะ
      [๑๒๕] ... ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค
      เพื่อญาณทัสสนะ ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๗
      อนุปาทาปรินิพพานสูตร
      ข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน
      [๑๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก พึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้
      ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดม เพื่อประโยชน์
      อะไร เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงชี้แจงแก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า
      ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน.
      [๑๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้
      ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ทางมีอยู่หรือ? ข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพานมีอยู่หรือ? เธอ
      ทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงชี้แจงแก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุ
      ทั้งหลาย ทางมีอยู่ ข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพานมีอยู่.
      [๑๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางเป็นไฉน? ข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพานเป็น
      ไฉน? อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ
      นี้เป็นข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึง
      ชี้แจงแก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้.
      จบ สูตรที่ ๘
      จบ อัญญติตถิยวรรคที่ ๕
      -----------------
      รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
      ๑. วิราคสูตร ๒. สังโยชนสูตร ๓. อนุสยสูตร ๔. อัทธานสูตร ๕. อาสวสูตร
      ๖. วิชชาวิมุตติสูตร ๗. ญาณทัสสนสูตร ๘. อนุปาทาปรินิพพานสูตร
      -----------------
      สุริยเปยยาลที่ ๖
      กัลยาณมิตตสูตรที่ ๑
      มิตรดีเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
      [๑๒๙] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้นสิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่ง
      ที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง สิ่งที่เป็นเบื้องต้นเป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความบังเกิด
      แห่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ของภิกษุ คือ ความเป็นผู้มีมิตรดี ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกร
      ภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้มีมิตรดี พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘
      จักทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘.
      [๑๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์
      ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
      ในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปใน
      การสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการ
      สละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีมิตรดี ย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้
      มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.
      จบ สูตรที่ ๑
      สีลสัมปทาสูตรที่ ๑
      สีลสัมปทาเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
      [๑๓๑] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้นสิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่
      เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง สิ่งที่เป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความบังเกิด
      แห่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ของภิกษุ คือ ความถึงพร้อมแห่งศีล ฉันนั้นเหมือนกัน
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีล พึงหวังข้อนี้ได้ ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๒
      ฉันทสัมปทาสูตรที่ ๑
      ฉันทสัมปทาเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
      [๑๓๒] ... คือ ความถึงพร้อมแห่งฉันทะ ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๓
      อัตตสัมปทาสูตรที่ ๑
      อัตตสัมปทาเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
      [๑๓๓] ... คือ ความถึงพร้อมแห่งตน (ความถึงพร้อมแห่งจิต) ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๔
      ทิฏฐิสัมปทาสูตรที่ ๑
      ทิฏฐิสัมปทาเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
      [๑๓๔] ... คือ ความถึงพร้อมแห่งทิฏฐิ ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๕
      อัปปมาทสัมปทาสูตรที่ ๑
      ความไม่ประมาทเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
      [๑๓๕] ... คือ ความถึงพร้อมแห่งความไม่ประมาท ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๖
      โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๑
      โยนิโสมนสิการเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
      [๑๓๖] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่ขึ้นก่อน
      สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง สิ่งที่เป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความ
      บังเกิดแห่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ของภิกษุ คือ ความถึงพร้อมแห่งการกระทำไว้ในใจ
      โดยแยบคาย ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจ
      โดยแยบคาย พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่ง
      อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘.
      [๑๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ย่อม
      เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่าง
      ไร? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
      ในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปใน
      การสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ย่อมเจริญอริยมรรค
      อันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.
      จบ สูตรที่ ๗
      กัลยาณมิตรสูตรที่ ๒
      มิตรดีเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
      [๑๓๘] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้นสิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่
      เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง สิ่งที่เป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความบังเกิด
      แห่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ของภิกษุ คือ ความเป็นผู้มีมิตรดี ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกร
      ภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้มีมิตรดี พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ จัก
      กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘.
      [๑๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อมเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘
      ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญ
      สัมมาทิฏฐิ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ
      ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็น
      ที่สุด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อมเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้
      มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.
      จบ สูตรที่ ๘
      สีลสัมปทาสูตรที่ ๒
      สีลสัมปทาเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
      [๑๔๐] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่ง
      ที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง สิ่งที่เป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความเกิด
      แห่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ของภิกษุ คือ ความถึงพร้อมด้วยศีล ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๙
      ฉันทสัมปทาสูตรที่ ๒
      ฉันทสัมปทาเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
      [๑๔๑] ... คือ ความถึงพร้อมแห่งฉันทะ ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๑๐
      อัตตสัมปทาสูตรที่ ๒
      อัตตสัมปทาเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
      [๑๔๒] ... คือ ความถึงพร้อมแห่งตน ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๑๑
      ทิฏฐิสัมปทาสูตรที่ ๒
      ทิฏฐิสัมปทาเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
      [๑๔๓] ... คือ ความถึงพร้อมแห่งทิฏฐิ ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๑๒
      อัปปมาทสัมปทาสูตรที่ ๒
      ความไม่ประมาทเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
      [๑๔๔] ... คือ ความถึงพร้อมแห่งความไม่ประมาท ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๑๓
      โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๒
      โยนิโสมนสิการเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
      [๑๔๕] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้นสิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่
      ขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง สิ่งที่เป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตมาก่อน
      เพื่อความเกิดแห่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ของภิกษุ คือ ความถึงพร้อมแห่งการกระทำไว้
      ในใจโดยแยบคาย ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ถึงพร้อมแห่งการกระทำไว้
      ในใจโดยแยบคาย พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มาก
      ซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘.
      [๑๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ย่อม
      เจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไร
      เล่า? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิมีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็น
      ที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอัน
      กำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำ
      ไว้ในใจโดยแยบคาย ย่อมเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรค
      ประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.
      จบ สูตรที่ ๑๔
      จบ สุริยเปยยาลที่ ๖
      --------------
      รวมพระสูตรที่มีในเปยยาลนี้
      ๑. กัลยาณมิตตสูตรที่ ๑ ๒. สีลสัมปทาสูตรที่ ๑
      ๓. ฉันทสัมปทาสูตรที่ ๑ ๔. อัตตสัมปทาสูตรที่ ๑
      ๕. ทิฏฐิสัมปทาสูตรที่ ๑ ๖. อัปปมาทสัมปทาสูตรที่ ๑
      ๗. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๑ ๘. กัลยาณมิตตสูตรที่ ๒
      ๙. สีลสัมปทาสูตรที่ ๒ ๑๐. ฉันทสัมปทาสูตรที่ ๒
      ๑๑. อัตตสัมปทาสูตรที่ ๒ ๑๒. ทิฏฐิสัมปทาสูตรที่ ๒
      ๑๓. อัปปมาทสัมปทาสูตรที่ ๒ ๑๔. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๒
      ----------------
      เอกธัมมเปยยาลที่ ๗
      กัลยาณมิตตสูตรที่ ๑
      กัลยาณมิตรมีอุปการะมากแก่อริยมรรค
      [๑๔๗] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันหนึ่งมีอุปการะมาก เพื่อความ
      เกิดขึ้นแห่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ธรรมอันหนึ่งเป็นไฉน? คือ ความเป็นผู้มีมิตรดี
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้มีมิตรดี พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘
      จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘.
      [๑๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์
      ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
      ในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการ
      สละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มาก
      ซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.
      จบ สูตรที่ ๑
      สีลสัมปทาสูตรที่ ๑
      สีลสัมปทามีอุปการะมากแก่อริยมรรค
      [๑๔๙] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันหนึ่งมีอุปการะมาก เพื่อความเกิด
      ขึ้นแห่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ธรรมอันหนึ่งเป็นไฉน? คือ ความถึงพร้อมแห่งศีล ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๒
      ฉันทสัมปทาสูตรที่ ๑
      ฉันทสัมปทามีอุปการมากแก่อริยมรรค
      [๑๕๐] ... คือ ความถึงพร้อมแห่งฉันทะ ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๓
      อัตตสัมปทาสูตรที่ ๑
      อัตตสัมปทามีอุปการะมากแก่อริยมรรค
      [๑๕๑] ... คือ ความถึงพร้อมแห่งตน ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๔
      ทิฏฐิสัมปทาสูตรที่ ๑
      ทิฏฐิสัมปทามีอุปการะมากแก่อริยมรรค
      [๑๕๒] ... คือ ความถึงพร้อมแห่งทิฏฐิ ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๕
      อัปปมาทสูตรที่ ๑
      ความไม่ประมาทมีอุปการะมากแก่อริยมรรค
      [๑๕๓] ... คือ ความถึงพร้อมแห่งความไม่ประมาท ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๖
      โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๑
      โยนิโสมนสิการมีอุปการะมากแก่อริยมรรค
      [๑๕๔] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันหนึ่งมีอุปการะมาก เพื่อความเกิด
      ขึ้นแห่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ธรรมอันหนึ่งเป็นไฉน? คือ ความถึงพร้อมแห่งการ
      กระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจโดย
      แยบคาย พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่ง
      อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘.
      [๑๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ย่อม
      เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่าง
      ไรเล่า? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัย
      วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ
      อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจโดย
      แยบคาย ย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มาก ซึ่งอริยมรรคอันประกอบ
      ด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.
      จบ สูตรที่ ๗
      กัลยาณมิตตสูตรที่ ๒
      กัลยาณมิตรมีอุปการะมากแก่อริยมรรค
      [๑๕๖] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันหนึ่งมีอุปการะมาก เพื่อความ
      เกิดขึ้นแห่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ธรรมอันหนึ่งเป็นไฉน? คือ ความเป็นผู้มีมิตรดี
      พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มาก ซึ่งอริยมรรคอัน
      ประกอบด้วยองค์ ๘.
      [๑๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘
      อย่างไรเล่า? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ มีอันกำจัดราคะเป็น
      ที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ มีอัน
      กำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ดูกรภิกษุทั้งหลาย
      ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอัน
      ประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.
      จบ สูตรที่ ๘
      สีลสัมปทาสูตรที่ ๒
      สีลสัมปทามีอุปการะมากแก่อริยมรรค
      [๑๕๘] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันหนึ่งมีอุปการะมาก เพื่อความเกิด
      ขึ้นแห่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ธรรมอันหนึ่งเป็นไฉน? คือ ความถึงพร้อมแห่งศีล ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๙
      ฉันทสัมปทาสูตรที่ ๒
      ฉันทสัมปทามีอุปการะมากแก่อริยมรรค
      [๑๕๙] ... คือ ความถึงพร้อมแห่งฉันทะ ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๑๐
      อัตตสัมปทาสูตรที่ ๒
      อัตตสัมปทามีอุปการะมากแก่อริยมรรค
      [๑๖๐] ... คือ ความถึงพร้อมแห่งตน ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๑๑
      ทิฏฐิสัมปทาสูตรที่ ๒
      ทิฏฐิสัมปทามีอุปการะมากแก่อริยมรรค
      [๑๖๑] ... คือ ความถึงพร้อมแห่งทิฏฐิ ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๑๒
      อัปปมาทสัมปทาสูตรที่ ๒
      ความไม่ประมาทมีอุปการะมากแก่อริยมรรค
      [๑๖๒] ... คือ ความถึงพร้อมแห่งความไม่ประมาท ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๑๓
      โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๒
      โยนิโสมนสิการมีอุปการะมากแก่อริยมรรค
      [๑๖๓] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันหนึ่งมีอุปการะมาก เพื่อความ
      เกิดขึ้นแห่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ธรรมอันหนึ่งเป็นไฉน? คือ ความถึงพร้อมแห่งการ
      กระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจโดย
      แยบคาย พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้แจ้งซึ่ง
      อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘.
      [๑๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ย่อม
      เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มาก ซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘
      อย่างไรเล่า? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ มีอันกำจัดราคะเป็น
      ที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ มีอัน
      กำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ดูกรภิกษุทั้งหลาย
      ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘
      ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.
      จบ สูตรที่ ๑๔
      จบ เอกธัมมเปยยาลที่ ๗
      ------------
      รวมพระสูตรที่มีในเปยยาลนี้ คือ
      ๑. กัลยาณมิตตสูตรที่ ๑ ๒. สีลสัมปทาสูตรที่ ๑
      ๓. ฉันทสัมปทาสูตรที่ ๑ ๔. อัตตสัมปทาสูตรที่ ๑
      ๕. ทิฏฐิสัมปทาสูตรที่ ๑ ๖. อัปปมาทสัมปทาสูตรที่ ๑
      ๗. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๑ ๘. กัลยาณมิตตสูตรที่ ๒
      ๙. สีลสัมปทาสูตรที่ ๒ ๑๐. ฉันทสัมปทาสูตรที่ ๒
      ๑๑. อัตตสัมปทาสูตรที่ ๒ ๑๒. ทิฏฐิสัมปทาสูตรที่ ๒
      ๑๓. อัปปมาทสัมปทาสูตรที่ ๒ ๑๔. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๒
      ------------
      นาหันตเอกธัมมเปยยาลที่ ๘
      กัลยาณมิตตสูตรที่ ๑
      กัลยาณมิตรเป็นเหตุให้เกิดอริยมรรค
      [๑๖๕] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่เล็งเห็นธรรมอันอื่นแม้สักอย่าง
      หนึ่ง ซึ่งจะเป็นเหตุให้อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้น
      แล้ว ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เหมือนความเป็นมิตรดีเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้มีมิตรดี
      พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอัน
      ประกอบด้วยองค์ ๘.
      [๑๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘
      ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน
      ธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการ
      สละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรค
      อันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.
      จบ สูตรที่ ๑
      สีลสัมปทาสูตรที่ ๑
      สีลสัมปทาเป็นเหตุให้เกิดอริยมรรค
      [๑๖๗] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่เล็งเห็นธรรมอันอื่นแม้สักอย่าง
      หนึ่ง ซึ่งจะเป็นเหตุให้อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้น
      แล้ว ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เหมือนความถึงพร้อมแห่งศีลเลย ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๒
      ฉันทสัมปทาสูตรที่ ๑
      ฉันทสัมปทาเป็นเหตุให้เกิดอริยมรรค
      [๑๖๘] ... เหมือนความถึงพร้อมแห่งฉันทะเลย ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๓
      อัตตสัมปทาสูตรที่ ๑
      อัตตสัมปทาเป็นเหตุให้เกิดอริยมรรค
      [๑๖๙] ... เหมือนความถึงพร้อมแห่งตนเลย ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๔
      ทิฏฐิสัมปทาสูตรที่ ๑
      ทิฏฐิสัมปทาเป็นเหตุให้เกิดอริยมรรค
      [๑๗๐] ... เหมือนความถึงพร้อมแห่งทิฏฐิเลย ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๕
      อัปปมาทสัมปทาสูตรที่ ๑
      อัปปมาทสัมปทาเป็นเหตุให้เกิดอริยมรรค
      [๑๗๑] ... เหมือนความถึงพร้อมแห่งความไม่ประมาทเลย ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๖
      โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๑
      โยนิโสมนสิการเป็นเหตุให้เกิดอริยมรรค
      [๑๗๒] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่เล็งเห็นธรรมอันอื่นแม้สักอย่าง
      หนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้ว
      ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เหมือนความถึงพร้อมแห่งการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ดูกรภิกษุ
      ทั้งหลาย อันภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญ
      อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘.
      [๑๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ย่อม
      เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘
      อย่างไรเล่า? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก
      อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัย
      วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ใน
      ใจโดยแยบคาย ย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอัน
      ประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.
      จบ สูตรที่ ๗
      กัลยาณมิตตสูตรที่ ๒
      กัลยาณมิตรเป็นเหตุให้เกิดอริยมรรค
      [๑๗๔] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่เล็งเห็นธรรมอันอื่นแม้สักอย่าง
      หนึ่ง ซึ่งจะเป็นเหตุให้อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้น
      แล้ว ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เหมือนความเป็นผู้มีมิตรดีเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้มี
      มิตรดี พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรค
      อันประกอบด้วยองค์ ๘.
      [๑๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘
      ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน
      ธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอัน
      กำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะ
      เป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วย
      องค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.
      จบ สูตรที่ ๘
      สีลสัมปทาสูตรที่ ๒
      สีลสัมปทาเป็นเหตุให้เกิดอริยมรรค
      [๑๗๖] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่เล็งเห็นธรรมอันอื่นแม้สักอย่าง
      หนึ่ง ซึ่งจะเป็นเหตุให้อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้น
      แล้ว ย่อมถึงความบริบูรณ์ เหมือนความถึงพร้อมแห่งศีลเลย ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๙
      ฉันทสัมปทาสูตรที่ ๒
      ฉันทสัมปทาเป็นเหตุให้เกิดอริยมรรค
      [๑๗๗] ... เหมือนความถึงพร้อมแห่งฉันทะเลย ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๑๐
      อัตตสัมปทาสูตรที่ ๒
      อัตตสัมปทาเป็นเหตุให้เกิดอริยมรรค
      [๑๗๘] ... เหมือนความถึงพร้อมแห่งตนเลย ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๑๑
      ทิฏฐิสัมปทาสูตรที่ ๒
      ทิฏฐิสัมปทาเป็นเหตุให้เกิดอริยมรรค
      [๑๗๙] ... เหมือนความถึงพร้อมแห่งทิฏฐิเลย ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๑๒
      อัปปมาทสัมปทาสูตรที่ ๒
      อัปปมาทสัมปทาเป็นเหตุให้เกิดอริยมรรค
      [๑๘๐] ... เหมือนความถึงพร้อมแห่งความไม่ประมาทเลย ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๑๓
      โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๒
      โยนิโสมนสิการเป็นเหตุให้เกิดอริยมรรค
      [๑๘๑] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่เล็งเห็นธรรมอันอื่นแม้สักอย่าง
      หนึ่ง ซึ่งจะเป็นเหตุให้อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น
      หรือที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมถึงความบริบูรณ์ เหมือนความถึงพร้อมแห่งการกระทำไว้ในใจ
      โดยแยบคายเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย พึง
      หวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบ
      ด้วยองค์ ๘.
      [๑๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ย่อม
      เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่าง
      ไรเล่า? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด
      มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ มีอันกำจัดราคะ
      เป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึง
      พร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อม
      กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.
      จบ สูตรที่ ๑๔
      จบ นาหันตเอกธัมมเปยยาลที่ ๘
      -----------
      รวมพระสูตรที่มีในเปยยาลนี้ คือ
      ๑. กัลยาณมิตตสูตรที่ ๑ ๒. สีลสัมปทาสูตรที่ ๑
      ๓. ฉันทสัมปทาสูตรที่ ๑ ๔. อัตตสัมปทาสูตรที่ ๑
      ๕. ทิฏฐิสัมปทาสูตรที่ ๑ ๖. อัปปมาทสัมปทาสูตรที่ ๑
      ๗. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๑ ๘. กัลยาณมิตตสูตรที่ ๒
      ๙. สีลสัมปทาสูตรที่ ๒ ๑๐. ฉันทสัมปทาสูตรที่ ๒
      ๑๑. อัตตสัมปทาสูตรที่ ๒ ๑๒. ทิฏฐิสัมปทาสูตรที่ ๒
      ๑๓. อัปปมาทสัมปทาสูตรที่ ๒ ๑๔. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๒
      -----------
      คังคาเปยยาลที่ ๙
      คังคาปาจีนนินนสูตร
      ผู้เจริญอริยมรรคเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน
      เหมือนแม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน
      [๑๘๓] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่
      ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อ
      กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ก็เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน
      โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
      [๑๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อ
      กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า? จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้ม
      ไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ
      อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อัน
      อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญ
      อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล จึง
      เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฯ
      จบ สูตรที่ ๑
      ยมุนาปาจีนนินนสูตร
      ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำยมุนาไหลไปสู่ทิศปราจีน
      [๑๘๕] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำยมุนาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไป
      สู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ...
      ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๒
      อจีรวตีปาจีนนินนสูตร
      ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่ทิศปราจีน
      [๑๘๖] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไป
      สู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ...
      ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๓
      สรภูปาจีนนินนสูตร
      ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำสรภูไหลไปสู่ทิศปราจีน
      [๑๘๗] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำสรภูไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่
      ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ... ฉัน
      นั้นเหมือนกัน ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๔
      มหีปาจีนนินนสูตร
      ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำมหีไหลไปสู่ทิศปราจีน
      [๑๘๘] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำมหีไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่
      ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ... ฉัน
      นั้นเหมือนกัน ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๕
      มหานทีปาจีนนินนสูตร
      ผู้เจริญอริยมรรคเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน
      เหมือนแม่น้ำใหญ่ไหลไปสู่ทิศปราจีน
      [๑๘๙] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่ๆ สายใดสายหนึ่งนี้ คือ
      แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหีทั้งหมดนั้นไหลไปสู่ทิศปราจีน
      หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์
      ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ก็เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่
      นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
      [๑๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อ
      กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า? จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้ม
      ไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญสัมมาทิฏฐิ อัน
      อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัย
      วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ โน้มไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรค
      อันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล จึงเป็น
      ผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.
      จบ สูตรที่ ๖
      คังคาสมุทนินนสูตร
      ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำคงคาไหลไปสู่สมุทร
      [๑๙๑] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่สมุทร หลั่งไปสู่สมุทร
      บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริย-
      *มรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ก็เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
      ฉันนั้นเหมือนกัน.
      [๑๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อ
      กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า? จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้ม
      ไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญสัมมาทิฏฐิ อัน
      อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัย
      วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรค
      อันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล จึงเป็น
      ผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.
      จบ สูตรที่ ๗
      ยมุนาสมุทนินนสูตร
      ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำยมุนาไหลไปสู่สมุทร
      [๑๙๓] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำยมุนาไหลไปสู่สมุทร หลั่งไปสู่
      สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ... ฉันนั้น
      เหมือนกัน ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๘
      อจิรวดีสมุทนินนสูตร
      ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่สมุทร
      [๑๙๔] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่สมุทร หลั่งไปสู่
      สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ... ฉันนั้น
      เหมือนกัน ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๙
      สรภูสมุทนินนสูตร
      ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำสรภูไหลไปสู่สมุทร
      [๑๙๕] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำสรภูไหลไปสู่สมุทร หลั่งไปสู่สมุทร
      บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ... ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๑๐
      มหีสมุทนินนสูตร
      ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำสรภูไหลไปสู่สมุทร
      [๑๙๖] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำมหีไหลไปสู่สมุทร หลั่งไปสู่สมุทร
      บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วย ๘ ... ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๑๑
      มหานทีสมุทนินนสูตร
      ผู้เจริญอริยมรรคน้อมไปสู่นิพพานเหมือนแม่น้ำใหญ่ไหลไปสู่สมุทร
      [๑๙๗] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่ๆ สายใด สายหนึ่งนี้ คือ
      แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหี ทั้งหมดนั้นไหลไปสู่สมุทร
      หลั่งไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อ
      กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ก็เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน
      โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
      [๑๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อ
      กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า? จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้ม
      ไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ
      อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อัน
      อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญ
      อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล
      จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.
      วาระแห่งคังคาเปยยาลที่เขียนไว้โดยย่อ พึงให้พิสดารในเปยยาล.
      หมวดที่ ๑ ว่าด้วยการอาศัยวิเวก (เป็นต้น) รวมเป็น ๑๒ สูตร ๖ สูตรแรกอุปมา
      ด้วยแม่น้ำไหลไปสู่ทิศปราจีน ๖ สูตรหลังอุปมาด้วยแม่น้ำไหลไปสู่สมุทร.
      คังคาปาจีนนินนสูตร
      ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน
      [๑๙๙] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่
      ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อ
      กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ก็เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน
      โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
      [๒๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อ
      กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า? จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้ม
      ไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ
      มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญ
      สัมมาสมาธิ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรค
      อันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
      นิพพาน.
      จบ สูตรที่ ๑
      ยมุนาปาจีนนินนสูตร
      ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำยมุนาไหลไปสู่ทิศปราจีน
      [๒๐๑] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำยมุนาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไป
      สู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ...
      ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๒
      อจิรวดีปราจีนนินนสูตร
      ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่ทิศปราจีน
      [๒๐๒] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไป
      สู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ...
      ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๓
      สรภูปาจีนนินนสูตร
      ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำสรภูไหลไปสู่ทิศปราจีน
      [๒๐๓] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำสรภูไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่
      ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ... ฉัน
      นั้นเหมือนกัน ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๔
      มหีปาจีนนินนสูตร
      ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำมหีไหลไปสู่ทิศปราจีน
      [๒๐๔] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำมหีไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่
      ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ... ฉัน
      นั้นเหมือนกัน ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๕
      มหานทีปาจีนนินนสูตร
      ผู้เจริญอริยมรรคย่อมน้อมไปสู่นิพพาน เหมือนแม่น้ำใหญ่ไหลไปสู่ทิศปราจีน
      [๒๐๕] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่ๆ สายใดสายหนึ่งนี้ คือ
      แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหี ทั้งหมดนั้นไหลไปสู่ทิศปราจีน
      หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์
      ๘ ... ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๖
      คังคาสมุทนินนสูตร
      ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำคงคาไหลไปสู่สมุทร
      [๒๐๖] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่สมุทร หลั่งไปสู่
      สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้
      มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ก็เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
      นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
      [๒๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อ
      กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า? จึงจะเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน
      โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมา
      ทิฏฐิ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันจำกัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อม
      เจริญสัมมาสมาธิ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรค
      อันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
      นิพพาน.
      จบ สูตรที่ ๗
      ยมุนาสมุทนินนสูตร
      ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำยมุนาไหลไปสู่สมุทร
      [๒๐๘] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำยมุนาไหลไปสู่สมุทร หลั่งไปสู่
      สมุทร บ่าไปสู่สมุทรแม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ... ฉันนั้น
      เหมือนกัน ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๘
      อจิรวตีสมุทนินนสูตร
      ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่สมุทร
      [๒๐๙] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่สมุทร หลั่งไปสู่
      สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ... ฉันนั้น
      เหมือนกัน ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๙
      สรภูสมุทนินนสูตร
      ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำสรภูไหลไปสู่สมุทร
      [๒๑๐] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำสรภูไหลไปสู่สมุทร หลั่งไปสู่สมุทร
      บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ... ฉันนั้นเหมือนกัน
      ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๑๐
      มหีสมุทนินนสูตร
      ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำมหีไหลไปสู่สมุทร
      [๒๑๑] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำมหีไหลไปสู่สมุทร หลั่งไปสู่สมุทร
      บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ... ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๑๑
      มหานทีสมุทนินนสูตร
      ผู้เจริญอริยมรรคน้อมไปสู่นิพพานเหมือนแม่น้ำใหญ่ไหลไปสู่สมุทร
      [๒๑๒] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่ๆ สายใดสายหนึ่งนี้ คือ
      แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหี ทั้งหมดนั้นไหลไปสู่สมุทร
      หลั่งไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อ
      กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ก็เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน
      โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
      [๒๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อ
      กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า? จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้ม
      ไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ
      มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญ
      สัมมาสมาธิ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรค
      อันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.
      จบ สูตรที่ ๑๒
      หมวดที่ ๒ ว่าด้วยการกำจัดราคะ (เป็นต้น) รวมเป็น ๑๒ สูตร ๖ สูตร แรกอุปมา
      ด้วยแม่น้ำไหลไปสู่ทิศปราจีน ๖ สูตรหลังอุปมาด้วยแม่น้ำไหลไปสู่สมุทร.
      คังคาปาจีนนินนสูตร
      ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน
      [๒๑๔] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไป
      สู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อ
      กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ก็เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน
      โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
      [๒๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำ
      ให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วย ๘ อย่างไรเล่า? จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน
      โอนไปสู่นิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันหยั่งลงสู่
      อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันหยั่งลงสู่อมตะ
      มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบ
      ด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล จึงเป็นผู้น้อมไปสู่
      นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.
      จบ สูตรที่ ๑
      ยมุนาปราจีนนินสูตร
      ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำยมุนาไหลไปสู่ทิศปราจีน
      [๒๑๖] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำยมุนาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไป
      สู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ...
      ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๒
      อจิรวดีปาจีนนินนสูตร
      ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่ทิศปราจีน
      [๒๑๗] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่ง
      ไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ...
      ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๓
      สรภูปราจีนนินนสูตร
      ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำสรภูไหลไปสู่ทิศปราจีน
      [๒๑๘] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำสรภูไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไป
      สู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ...
      ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๔
      [๒๑๙] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำมหีไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่
      ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ... ฉัน
      นั้นเหมือนกัน ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๕
      มหีปราจีนนินนสูตร
      ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำมหีไหลไปสู่ทิศปราจีน
      [๒๒๐] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่ๆ สายใดสายหนึ่งนี้ คือ
      แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหีทั้งหมดไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่ง
      ไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ...
      ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๖
      คังคาสมุทนินนสูตร
      ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำคงคาไหลไปสู่สมุทร
      [๒๒๑] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่สมุทร หลั่งไปสู่สมุทร
      บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่ง
      อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ก็เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
      ฉันนั้นเหมือนกัน.
      [๒๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อ
      กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า? จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้ม
      ไปสู่นิพพาน โอนไปสู่พระนิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมา-
      *ทิฏฐิ อันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ
      อันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญ
      อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล
      จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.
      จบ สูตรที่ ๗
      ยมุนาสมุทนินนสูตร
      ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำยมุนาไหลไปสู่สมุทร
      [๒๒๓] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำยมุนาไหลไปสู่สมุทร หลั่งไปสู่
      สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ... ฉันนั้น
      เหมือนกัน ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๘
      อจิรวตีสมุทนินนสูตร
      ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่สมุทร
      [๒๒๔] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่สมุทร หลั่งไปสู่
      สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ... ฉันนั้น
      เหมือนกัน ฯลฯ
      จบ สูตรที่ ๙
      สรภูสมุทนินนสูตร
      ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่á
    19. TVJ
      TVJ
      อุปัฑฒสูตร
      ความเป็นผู้มีมิตรดี เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้น
      [๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
      สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวศักยะชื่อสักระ ในแคว้น
      สักกะของชาวศากยะทั้งหลาย ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
      ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
      ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้เป็นกึ่งหนึ่งแห่งพรหมจรรย์
      เทียวนะ พระเจ้าข้า.
      [๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ เธออย่าได้กล่าวอย่างนั้น เธออย่างได้
      กล่าวอย่างนั้น ก็ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้นทีเดียว ดูกร
      อานนท์ อันภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคประกอบ
      ด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘.
      [๖] ดูกรอานนท์ ก็ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ย่อมเจริญอริยมรรคประกอบ
      ด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า? ดูกรอานนท์ ภิกษุ
      ในธรรมวินัยนี้ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
      ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ ... สัมมาวาจา ... สัมมากัมมันตะ ... สัมมาอาชีวะ ... สัมมาวายามะ ...
      สัมมาสติ ... สัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกร
      อานนท์ ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ย่อมเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อม
      กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.
      [๗] ดูกรอานนท์ ข้อว่า ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี เป็นพรหมจรรย์
      ทั้งสิ้นทีเดียวนั้น พึงทราบโดยปริยายแม้นี้ ด้วยว่าเหล่าสัตว์ผู้มีชาติเป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจาก
      ชาติ ผู้มีชราเป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากชรา ผู้มีมรณะเป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากมรณะ ผู้มี
      โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากโสกะ ปริเทวะ
      ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เพราะอาศัยเราผู้เป็นกัลยาณมิตร ดูกรอานนท์ ข้อว่า ความเป็นผู้มี
      มิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้นทีเดียวนั้น พึงทราบโดยปริยายนี้แล.
      จบ สูตรที่ ๒
    20. TVJ
      TVJ
      พระสุตตันตปิฎก
      เล่ม ๑๑
      สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
      ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
      ๑. มัคคสังยุต
      อวิชชาวรรคที่ ๑
      อวิชชาสูตร
      ว่าด้วยอวิชชา และวิชชาเป็นหัวหน้าแห่งอกุศลและกุศล
      [๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
      สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก-
      *เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ
      ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคได้
      ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า.
      [๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อวิชชาเป็นหัวหน้าในการยังอกุศลธรรมให้ถึงพร้อม เกิดร่วม
      กับความไม่ละอายบาป ความไม่สะดุ้งกลัวบาป ความเห็นผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้ไม่รู้แจ้ง ประกอบ
      ด้วยอวิชชา ความดำริผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความเห็นผิด เจรจาผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความดำริผิด
      การงานผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้เจรจาผิด การเลี้ยงชีพผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้ทำการงานผิด พยายามผิดย่อมเกิด
      มีแก่ผู้เลี้ยงชีพผิด ระลึกผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้พยายามผิด ตั้งใจผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้ระลึกผิด.
      [๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนวิชชา เป็นหัวหน้าในการยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม เกิด
      ร่วมกับความละอายบาป ความสะดุ้งกลัวบาป ความเห็นชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้รู้แจ้ง ประกอบด้วย
      วิชชา ความดำริชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความเห็นชอบ เจรจาชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความดำริชอบ
      การงานชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้เจรจาชอบ การเลี้ยงชีพชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้ทำการงานชอบ พยายาม
      ชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้เลี้ยงชีพชอบ ระลึกชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้พยายามชอบ ตั้งใจชอบย่อมเกิด
      มีแก่ผู้ระลึกชอบ แล.
      จบ สูตรที่ ๑
  • Loading...
  • Loading...
  • ปฏิสัมพันธ์

    ลายเซ็น

    จะอ้วน จะผอม จะตึง จะเหี่ยว ก็รัก
Loading...