คลังเรื่องเด่น
-
ท้าวสักกะ(พระอินทร์)กับพระพุทธเจ้า/ เรื่องของท้าวสักกะทั้ง๑๗เรื่องในพระไตรปิฏก
ท้าวสักกะ(พระอินทร์)กับพระพุทธเจ้า
เรื่องของท้าวสักกะทั้ง๑๗เรื่องในพระไตรปิฏก
ที่มา https://www.youtube.com/@Tripitaka-TH -
จับลมหายใจไปพระนิพพาน
หายใจเข้าครั้งหนึ่ง หายใจออกครั้งหนึ่ง นึกถึงภาพพระองค์ท่าน นึกถึงคำภาวนา ก็คือเราใกล้พระนิพพานไปก้าวหนึ่ง หายใจเข้าใกล้พระนิพพานไปก้าวหนึ่ง หายใจออกใกล้พระนิพพานไปก้าวหนึ่ง
ให้ตั้งใจว่า...ขึ้นชื่อว่าร่างกายที่เต็มไปด้วยความทุกข์นี้ เราไม่ขอเกิดมามีมันอีก ขึ้นชื่อว่าโลกที่เต็มไปด้วยความทุกข์ยากเร่าร้อนนี้ เราไม่ขอมาเกิดอีก การเป็นเทวดาเป็นพรหม ที่มีสุขชั่วคราว เราก็ไม่ปรารถนา ตายเมื่อไร เราขอไปอยู่พระนิพพาน กับพระองค์ท่านเท่านั้น
.....................................
พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. วัดท่าขนุน
www.watthakhanun.com -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๖๗ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๖๗ -
ใจของใครคนนั้นต้องขัดเกลาด้วยตนเอง
เรื่องของการปฏิบัติธรรม จุดที่สำคัญที่สุดก็คือสร้างสติให้เกิด ให้ตัวเราตื่นรู้อยู่ตลอดเวลา ทั้งหลับและตื่นมีสติรู้เท่ากัน ถ้าทำยังไม่ถึงจุดนี้ การปฏิบัติธรรมของเราแทบจะไม่มีผล เนื่องเพราะว่าสิ่งที่เราระมัดระวังรักษาเอาไว้ในช่วงกลางวัน จะไปหลุดหมดเกลี้ยงตอนกลางคืน
บางคนกิเลสงอกงามมากกว่าปกติอีก กลางวันระมัดระวังศีลทุกสิกขาบท แม้แต่มดยังพยายามที่จะเลี่ยงไม่เหยียบ กลางคืนเผลอหน่อยเดียว ฝันว่าเขาฆ่าเขาทั้งกองทัพเลย..! บางคนกลางวันสำรวมมาก แม้แต่เพศตรงข้ามยังไม่กล้ามองตรง ๆ กลางคืนฝันว่าปล้ำลูกชาวบ้านเขาไปเรียบร้อยแล้ว..!
นั่นคือการที่เราขาดสติ ถ้าหากว่าสติเราสมบูรณ์อยู่ หลับและตื่นจะมีความรู้สึกเท่ากัน หลับอยู่ก็รู้ว่าตัวเองตอนนี้กำลังหลับ หลายคนได้ยินเสียงตัวเองกรนด้วย..! เพียงแต่ว่าต้องรักษาเอาไว้ให้ต่อเนื่องตามกัน ถ้าเผลอสติหลุดไป เดี๋ยวสภาพจิตที่โดนเก็บกดมาตอนกลางวัน ก็จะไปอาละวาดอีก..!
บุคคลที่ทำได้คล่องตัวแล้วจึงได้ชื่อว่า พุทโธ คือ ผู้ตื่น ภัทเทกะรัตโต คือ ผู้มีราตรีอันเจริญ เพราะว่าสภาพจิตอยู่กับคุณงามความดีตลอดเวลา ไม่ปรุงแต่งไปในด้าน รัก โลภ โกรธ หลง... -
"ท่านปฏิบัติไม่ยึดไม่หมาย" (หลวงปู่ชา สุภัทโท)
"ท่านปฏิบัติไม่ยึดไม่หมาย"
" .. พระรูปหนึ่งบอกว่า "เป็นนักปฏิบัติ เมื่อมาขออยู่กับอาตมา" ถามถึงระเบียบปฏิบัติ อาตมาจึงอธิบายให้ฟ้งว่า "เมื่อมาอยู่กับผม จะสะสมเงินทองและสิ่งของไม่ได้ผมถือตามวินัย" ..
ท่านพูดว่า : "ท่านปฏิบัติไม่ยึดไม่หมาย"
อาตมาบอกว่า : "ผมไม่ทราบกับท่าน"
ท่านเลยถามว่า : "ถ้าผมจะใช้เงินทอง แต่ไม่ยึดไม่หมายจะได้ไหม"
อาตมาตอบว่า : "ได้ ถ้าท่านเอาเกลือมากินดูแล้วไม่เค็มก็ใช้ได้"
ท่านจะพูดเอาเฉย ๆ เพราะท่านขี้เกียจรักษาของ จุก ๆ จิก ๆ นี่มันยาก "เมื่อเอาเกลือมากินท่านไม่เค็มแล้ว ผมจึงเชื่อ" ถ้ามันไม่เค็มจะเอามาให้กินสักกะทอ (เข่งเล็ก) ลองดู มันจะไม่เค็มจริง ๆ หรือ "เรื่องไม่ยึดไม่หมายนี้ ไม่ใช่เรื่องพูดเอง คาดคะเนเอา" ไม่ใช่ "ถ้าท่านพูดอย่างนี้อยู่กับผมไม่ได้" ท่านจึงลาไป .. "
"หมือนกับใจคล้ายกับจิต"
พระโพธิญาณเถร (หลวงปู่ชา สุภัทโท) -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๖๗ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๗ -
ยักษ์ถามธรรม ???! พระพุทธเจ้าตอบธรรม
ยักษ์ถามธรรม ???! พระพุทธเจ้าตอบธรรม
*********************************************
อนุโมทนา และขอบคุณที่มา https://www.youtube.com/@Tripitaka-TH -
"ความริษยาเหตุแห่งความฉิบหาย" (สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ)
"ความริษยาเหตุแห่งความฉิบหาย"
" .. ทีสำคัญควรเข้าใจความจริงประการหนึ่งว่า "ความริษยานั้นจะเกิดได้ด้วยความรู้สึกไม่ดีต่อผู้ใดผู้หนึ่ง ไม่ใช่ความเกลียด" แต่เป็นความรู้สึกว่า "ผู้ใดผู้หนึ่งนั้นมีดีกว่าตน เป็นที่สนใจมากกว่าตน ผู้ใหญ่ให้ความสำคัญมาก" จนน่ากลัวว่าจะเกินหน้าตน
หรือไม่ก็เป็นความรู้สึก "ทำนองหมั่นไส้ใครคนใดคนหนึ่งนั้น" ความรู้สึกทำนองดังกล่าว "ที่แท้จริงคือความริษยาที่จะพาให้โลกฉิบหาย" มากน้อยหนักเบาเพียงไรขึ้นอยู่กับความแรงความอ่อนของความรู้สึกริษยา ที่ก็คือความอิจฉาที่รุนแรงนั่นเอง
บางคนไม่ใช่ผู้มีความริษยา ที่จะเป็นเหตุแห่งความฉิบหาย "แต่อาจเป็นผู้ร่วมมือกับผู้มีความริษยา" คือทั้งที่ความริษยาไม่ได้เกิดในใจตน แต่หลงร่วมก่อทุกข์โทษภัยกับผู้มีความริษยาได้ "ด้วยการได้ยินได้ฟังวาจาของผู้มีความริษยา ที่กล่าวร้ายผู้ถูกริษยานานาประการ" แล้วหลงเชื่อว่าเป็นความจริง .. "
"แสงส่องใจ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๐"
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๖๗ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๖๗ -
สมาธิมี 2 แบบ
สมาธิมี 2 แบบ
เอ้อ..สมาธินี่มันมี 2 แบบ พระพุทธเจ้าท่านทรงสอนไว้ 2 แบบ คือ แบบทรงอารมณ์ กับ แบบคิด
บางครั้งถ้าจิตมันต้องการทรงอารมณ์ต้องการสงัดก็ต้องภาวนา ท่านจะสบาย
บางครั้งมันซ่าน ต้องการคิด เราก็คิดอยู่ในขอบเขต
ไอ้คิดในขอบเขตมันคิดว่า ร่างกายนี่มันก็เป็นทุกข์ทุกอย่าง เกิด แก่ เจ็บตาย พลัดพรากจากของรักของชอบใจ การทำมาหากินก็เป็นทุกข์ทั้งหมด ความเป็นมนุษย์นี่มันเป็นทุกข์ ถ้าเป็นเทวดาหรือพรหมมันก็สุขชั่วคราว ไม่ช้าก็จุติอีก สู้เราไปนิพพานไม่ได้
ก็คิดกันแบบนี้ง่ายๆ แบบนี้ที่ว่าการปฏิบัติจริงๆ เขาไม่ใช้ยาว เขาสั้นๆแบบแม่ครัวที่ทำกับข้าว ถ้าไปดูตำราชั่งโน่นชั่งนี่ยังไม่ได้กินกันเลย ใช่ไหม สู้เอามือหยิบๆใส่ไม่ได้ อร่อยกว่าใช่ไหม ก็แบบเดียวกัน
(จากธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ 290 เดือนพฤษภาคม 2548 หน้า 18-19) -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๗ -
การที่เราจะหลุดพ้นจากกองทุกข์นั้นต้องมีปัญญาที่รู้แจ้งเห็นจริง ยอมรับความเป็นจริงของร่างกาย
เรื่องของทิพจักขุญาณนั้นเป็นแค่ของแถมในการปฏิบัติเท่านั้น และแถมมาแล้วก็มักจะจัดการไม่ถูก สร้างความเสียหายเป็นอย่างมาก
ที่กระผม/อาตมภาพใช้คำว่า "ของแถมในการปฏิบัติ" ก็เพราะว่าบุคคลใดบุคคลหนึ่งก็ตาม ถ้าวิสัยเดิมมาทางด้านวิชชาสาม อภิญญาหก หรือปฏิสัมภิทาญาณสี่ ถ้าจิตสงบลงได้ระดับเมื่อไร ทิพจักขุญาณจะเกิดขึ้นเอง ไม่ต้องไปดิ้นไปรน ดังที่เคยเปรียบเทียบไว้ว่า ซื้อรถเมื่อไรก็ได้ล้อมาด้วย ไม่มีใครที่ซื้อรถแล้วต้องตะเกียกตะกายไปหาล้อเพิ่มขึ้น แต่ด้วยความที่ท่านทั้งหลายนั้น ต้องบอกว่าสติปัญญาน้อย จึงจัดการกับทิพจักขุญาณไม่ค่อยจะถูก
แม้กระทั่งลูกศิษย์รุ่นเก่า ๆ ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดท่าซุง เท่าที่กระผม/อาตมภาพสัมผัสมาด้วยตัวเอง ก็นำเอาทิพจักขุญาณไปใช้ผิดเกิน ๙๐ เปอร์เซ็นต์ พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดท่าซุง ท่านมั่นใจว่าลูกศิษย์ของท่านฉลาดพอ ท่านถึงได้สอนมโนมยิทธิให้ แต่ปรากฏว่าที่ฉลาดพอนั้นมีน้อยมาก ส่วนใหญ่ก็ออกทะเล กู่ไม่กลับ เพราะเมื่อเกิดทิพจักขุญาณขึ้นแล้ว ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ต่าง ๆ จะตามมาด้วย
ตัวกระผม/อาตมภาพเอง ก็เคยพลาดอยู่ถึง ๓ ปี กลายเป็น "ขี้ข้าชาวบ้าน" แม้ว่าตอนนั้นจะเป็นฆราวาส... -
"การภาวนาพุทโธ" (สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ)
"การภาวนาพุทโธ"
" .. การภาวนา "พุทโธ ธัมโม สังโฆ" นี้ "ไม่ใช่หมายความเพียงภาวนาด้วยถ้อยคำ" การภาวนาเพียงถ้อยคำก็จะเป็นเหมือนอย่างนกแก้วนกขุนทองหัดพูดภาษาคน ซึ่งไม่รู้ความหมายของคำที่พูด หัดแค่เสียงเท่านั้น "แต่แม้เช่นนั้นก็ยังอาจได้ประโยชน์ในการรวมจิฅเข้ามา"
ภาวนาใน "พุทโธ ธัมโม สังโฆ" ต้องปฏิบัติใน "ศีล สมาธิ ปัญญา" ความระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ โดยพระคุณ โดยบุคคลาธิษฐานก็ดื โดย ธรรมาธิษฐานก็ดี ย่อมเป็นอุปกรณ์ก่อให้เกิดศรัทธา ปสาทะ ให้เกิดสมาธิส่งเสริมให้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ คือปฏิบัติอยู่ในศีล สมาธิ ปัญญา อันเป็นข้อปฏิบัติที่รวมอยู่ในองค์ "พระพุทโธ ธัมโม สังโฆ" โดยฅรง
เพราะฉะนั้น "ภาวนาพุทโธ ธัมโม สังโฆ" จึงไม่หมายถึงการภาวนาด้วยถอยคำ แด่หมายถึงการปฏิบัฅิทำศีล สมาธิ ปัญญา ให้บังเกิดขึ้น เพื่อให้ลุนิพพานโดยลำดับ .. "
"แสงส่องใจ ๓ ตุลาคม ๒๕๒๒"
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวรฯ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๖๗ -
วิธีการภาวนาพระคาถาเงินล้านให้เกิดผลทันที
เกร็ดเคล็ดลับสอนคนที่ภาวนาพระคาถาเงินล้านเเล้วไม่เกิดผล ลองฟังตามนี้เเล้วทำดูภาวนาพระคาถาเงินล้านให้เกิดผลทันที
ภาวนาพระคาถาเงินล้านเเล้วได้มรรคผล ทำน้อยเเต่ได้มาก สมบัติพ่อให้ พระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง
พระอาจารย์เอกลักษณ์ ปัญญาคโม
#วัดพุทธพรหมยาน
#พระคาถาเงินล้าน
#คณะศิษย์ลูกนอกวัง
วิธีการภาวนาพระคาถาเงินล้านให้เกิดผลทันที
ฟังที่ลิ้งค์นี้
https://www.facebook.com/share/r/27ky4YYSC1wcbwxv/?mibextid=xCPwDs -
"ทำให้เกิดผลานิสงส์มาก" (หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต)
"ทำให้เกิดผลานิสงส์มาก"
" .. "การให้ทานและการรักษาศีลภาวนานั้น" ถ้าจะให้เกิดผลานิสงส์มาก "จะต้องละจากความเห็นที่ผิดให้เป็นถูกเสียก่อน" เช่น "การนับถือภูตผีปีศาจ ตลอดจนเทวดาและนางไม้เป็นสรณะ เป็นเรื่องที่เหลวไหลไร้เหตุผล" .. "
หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๖๗ -
รักษาใจให้อยู่กับพระนิพพาน คือ การฝึกตัดกิเลสโดยอัตโนมัติ
อย่าลืมว่ามโนมยิทธิสำหรับพวกเราก็คือโลกียอภิญญา ถ้าเรารวบรวมความมั่นใจได้เมื่อไรก็ได้เมื่อนั้น ก็จะได้ตอนนั้น ก็จะได้เดี๋ยวนั้น แต่ในขณะเดียวกันถ้าศีลบกพร่องเมื่อไรก็จะเสื่อม ก็จะคลายตัวไป เรามั่นใจใหม่เมื่อไรก็ได้อีกเมื่อนั้น
เรื่องของอภิญญาโลกีย์ก็เป็นอย่างนี้ ถามว่าในเมื่อเป็นอภิญญาโลกีย์ ทำไมถึงไปนิพพานได้ เพราะว่าตอนช่วงนั้นครูฝึกจะสอนให้เราตัดกิเลสให้วางกำลังใจเราเทียบเคียงพระโสดาบัน พระโสดาบันแปลว่า ผู้เข้าถึงกระแสพระนิพพาน เราก็เลยไปนิพพานได้ แต่ของเราไปได้แค่ชั่วคราวถึงเวลาเขาไล่กลับ เขาไม่ให้อยู่หรอก
เพราะฉะนั้น..ทำเอาไว้เถอะ เพราะถ้าหากว่าเราทำมโนมยิทธิได้แล้วให้เกาะพระนิพพานโดยตรง ให้เกาะพระพุทธเจ้าบนนิพพานโดยตรง อันนั้นเป็นวิธีตัดกิเลสโดยอัตโนมัติที่สุด รู้สึกว่าจะโกรธใครวิ่งเข้าไปกราบพระบนนิพพาน รู้สึกว่าราคะเกิดก็วิ่งไปกราบพระบนนิพพาน ถ้าหากว่าราคะ โลภะ โทสะ โมหะ ขึ้นอยู่กับตัวของเรานี้ไม่มีจิตไปปรุงแต่ง กิเลสเจริญงอกงามไม่ได้ ก็จะเฉาตายไปในเวลาอันรวดเร็วไม่เกินนาที สองนาที ถ้าเราทำอย่างนี้บ่อย ๆ จะเป็นการตัดกิเลสอัตโนมัติ ถ้าเคยชินจะเป็นพระอรหันต์ไปเลย... -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๖๗ -
"ไฟกิเลสตัณหา ไหม้ข้ามภพข้ามชาติ" (หลวงปู่สิม พุทธาจาโร)
"ไฟกิเลสตัณหา ไหม้ข้ามภพข้ามชาติ"
" .. หลวงปู่เทศน์สอนเรื่องการดับไฟในใจว่า "กิเลส คือไฟราคะ โทสะ โมหะนี้แหละ มันเป็นของร้อน" ร้อนยิ่งกว่าไฟธรรมดา "ไฟธรรมดาอย่างไหม้ที่สุด ก็ให้ชีวิตผู้นั้นแตกดับไป" ก็หยุดแค่นั้น
แต่ว่า "ไฟราคะ ไฟโทสะ ไฟโมหะ ไฟอวิชชา ตัณหา มานะทิฏฐิ" ไฟอันนี้ไม่หยุดแค่นี้ "จะต้องไหม้จากภพนี้ ชาตินี้เดี๋ยวนี้ เป็นต้นไป จนต่อเนื่องไปภพใหม่ ชาติใหม่ก็ตามไปไหม้" .. "
"ธรรมประวัติ"
หลวงปู่สิม พุทธาจาโร -
การทรงให้เป็นฌานได้ง่ายๆ เขาทำกันแบบนี้ / พระราชพรหมยาน วัดท่าซุง
นี่การที่ทรงให้เป็นฌานได้ง่ายๆ
เขาทำกันแบบนี้ นี่เขาทำกันแบบนี้ นี่ตามแนวที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนให้พยายามกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ต้องฝืนใจกันนิดๆ
จับลมให้ครบสามฐาน เวลาหายใจเข้าลมกระทบจมูก กระทบหน้าอก กระทบศูนย์เหนือสะดือนิดหน่อย ที่ท้องน่ะ
กระทบข้างในไม่ใช่ข้างนอก เวลาหายใจออกลมกระทบท้อง กระทบหน้าอก กระทบจมูกหรือว่าริมฝีปาก ถ้าคนริมฝีปากงุ้มก็กระทบจมูกไม่ชนริมฝีปากเพราะริมฝีปากหลบลม ถ้าริมฝีปากเชิดขึ้นมา ลมกระทบริมฝีปาก เวลาหายใจ ปล่อยหายใจตามแบบสบายๆอย่าไปบังคับให้สั้นหรือยาว ให้แรงให้เบา ไม่เอาอย่างนั้น"....
คือทั้งนี้ก็ต้องการเป็นการควบคุมสติสัมปชัญญะเท่านั้น
ไม่ใช่ไปเร่งรัดอะไรกับลม ความจริงเราเร่งรัดใจให้เป็นตัวรู้ คือรับรู้เข้าไว้
ขณะใดที่ยังรู้ลมหายใจเข้า รู้ลมหายใจออก ขณะนั้นชื่อว่ามีสมาธิ
ทีนี้วิธีพูดแบบนี้มันไม่ยากอีตอนยากมันมีอยู่ตอนหนึ่ง
แล้วอารมณ์ใจของเรามันมีสภาพกวัดแกว่งเป็นปกติเพราะมันคบกับนิวรณ์ คืออุธัจจกุกกุจจะมานาน ได้แก่ตัวฟุ้งซ่านรำคาญ
นี่เราทำอย่างไรจะปราบนิวรณ์
ตัวนี้ได้ไอ้ตัวฟุ้งซ่านนี่ก็ได้แก่ไอ้ตัววิตกจริต หรือโมหจริตนั่นเอง
วิตกแปลว่านึก... -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๗ -
ปุจฉา / ลักษณะอาการแบบใด ที่เรียกว่า " กิเลสปรุงจิต " และ แบบใดที่เรียกว่า "จิตปรุงกิเลส "
ลักษณะอาการแบบใด ที่เรียกว่า " กิเลสปรุงจิต " และ แบบใดที่เรียกว่า "จิตปรุงกิเลส " -
"กายกับใจนี้ เป็นที่ตั้งแห่งพระพุทธศาสนา" (พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร)
"กายกับใจนี้ เป็นที่ตั้งแห่งพระพุทธศาสนา"
" .. อนาคตก็ดีต้องดูเดี๋ยวนี้ "ถ้าปัจจุบันนี้ดีแล้ว อนาคตมันก็ดีไม่ต้องสงสัย ให้พากันหายสงสัย" ถ้าในปัจจุบันนี้ไม่ดี อนาคตมันก็ไม่ดี นี่ใครต้องการสิ่งไม่ดีล่ะ ไม่มีใครสักคน เมื่อเป็นเช่นนี้ ต่างคนต่างทำสงบ มีความเยือกความเย็น ความสุข ความสบาย เบิกบาน จึงได้นามว่า "พุทโธ" พระพุทธเจ้า นั่นแหละ จึงดี
นี่แหละ "ใจเราเป็นหลักฐาน ใจเป็นประธาน มันสำเร็จกับดวงใจ" สิ่งไร ๆ ทั้งหมด นี่แหละ "นำมาเตือนใจโดยย่นย่อนี้พอเป็นข้อปฏิบัติ ประดับสติปัญญาบารมีของท่านทั้งหลาย" เมื่อท่านทั้งหลายได้สดับแล้ว ในโอวาทธรรมะคำสั่งสอนโดยย่นย่อนี้พอเป็นข้อปฏิบัติแล้ว นำไปพินิจพิจารณา
ให้ทะลุหัวข้อใจความในพระพุทธศาสนา "คือกายกับใจนี้ เป็นที่ตั้งแห่งพระพุทธศาสนา เป็นที่ตั้งแห่งคุณพระพุทธเจ้า เป็นที่ตั้งแห่งพระธรรม เป็นที่ตั้งแห่งพระสงฆ์ เป็นที่ตั้งแห่งมรรคและผล" เมื่อได้ยินได้ฟังดังนี้ "โยนิโสมนสิการ พากันกำหนดจดจำไว้แล้ว นำไปประพฤติปฏิบัติ" ฝึกหัดตนของตนเป็นไปในธรรมคำสั่งสอน .. "
"จิตตภาวนา พุทโธ" (พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร)
ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๖๗
หน้า 13 ของ 412