ไม่อยากตายต้องรู้จัก...เติมบุญ "จิ๊บ รด."-วสุ แสงสิงแก้ว

ในห้อง 'พุทธศาสนากับคนดัง' ตั้งกระทู้โดย guawn, 8 กรกฎาคม 2006.

  1. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width=567 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ไม่อยากตายต้องรู้จัก...เติมบุญ "จิ๊บ รด."-วสุ แสงสิงแก้ว</TD></TR><TR><TD class=Text_Story vAlign=top><!-- [​IMG] -->[​IMG] "เรามีนิสัยรักในการออมหรือรู้จักเก็บแค่ไหน ที่เราเก็บนี้ไม่ใช่เงิน แต่เป็นบุญความดีที่เราทำต่างหาก ถ้าคนเราประมาทกับชีวิตอยู่ไปเรื่อยๆ ให้เวลาผ่านไป อายุ ๒๐ ปี เผลอแผล็บเดี๋ยวก็ ๔๐ ปี แล้วก็ ๖๐-๗๐ ปี บางคนตายก่อนหน้านี้ก็มี ถ้ายังคิดว่ากลัวตายชีวิต คนเราสั้น พอเรากลัวตายก็จะทำให้เราป้องกันด้วยการทำบุญเติมบุญ ให้มั่นใจว่า ถ้าตายไปจะได้ไปดีแน่ แม้ไม่ได้ไปดีที่สุด แต่ก็ขอไปดีบ้าง"


    นี่เป็นสัจธรรมชีวิตที่ได้จากการบวชของ "จิ๊บ" วสุ แสงสิงแก้ว อดีตนักร้องนำวงพลอย ในฐานะผู้ช่วยผู้อำนวยการกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
    จิ๊บ รด. เล่าว่า ในช่วงวัยรุ่นได้ไปฝึกนั่งสมาธิกับ อ.เกรียงไกร ที่พุทธมณฑลนานพอสมควร ต่อมาอายุประมาณ ๒๕ ปี บวชเป็นเวลา ๔ เดือนที่วัดสระเกศ เนื่องจากครอบครัวเป็นโยมอุปัฏฐากวัดสระเกศมาตั้งแต่รุ่นคุณยาย (อ.อวยพร เปล่งวานิช) ทำให้มีความคุ้นเคยกับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว) ก่อนจะสึก ท่านมอบพระปิดตารุ่นที่ลูกศิษย์อยากได้กันมาก นี่ก็ถือว่าเป็นมงคล ก็นำมาเลี่ยมห้อยติดตัว
    ในขณะที่บวชพระอยู่นั้น ก่อนฉันจะต้องอาราธนาศีล สวดบาลีให้ได้ ถ้าสวดไม่ได้ก็อดฉัน ช่วงเวลานั้นยังเรียนธรรมะอย่างถูกวิธี หรือ ธรรมวิภาค นวกภูมิ กระทั่งจำพรรษาครบ ๓ เดือน จึงขออนุญาตไปจำพรรษาที่วัดหนองป่าพงเป็นเวลา ๑ เดือน ตรงนี้ทำให้ได้เห็นบางสิ่งบางอย่างที่เล่าให้ฟังได้และไม่ได้ เพราะถ้าเล่าให้ใครฟัง บางครั้งเขาอาจว่า เราฟุ้งซ่านก็ได้
    แต่สิ่งที่ได้แน่ๆ คือ ความเย็น ความสงบลงของจิตใจ เพราะก่อนบวชก็เข้าทำงานที่กระทรวงการต่างประเทศแล้ว ส่วนอีกใจก็ยังห่วงเรื่องแสงสีของวงการบันเทิง พอบวชแล้วก็ทำให้เราปล่อยวางกับสิ่งเหล่านี้ลงได้ จัดระเบียบชีวิตประจำวันเป็นระบบมากขึ้น
    "ความแตกต่างชีวิตพระภิกษุสงฆ์ในเมืองหลวงรับบิณฑบาตจะได้ข้าวมันไก่ กระเพาะปลาทุกเช้า พอไปจำพรรษาที่วัดหนองป่าพง เรียกได้ว่าเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ เนื่องจากต้องเดินออกบิณฑบาตตั้งแต่ตีห้าถึงเจ็ดโมงเช้า โดยเดินไปตามคันนาของหมู่บ้านต่างๆ ชีวิตค่อนข้างลำบากไม่น้อย ภาพที่ไม่ค่อยได้เห็น คือ มีคุณยายทำผมทรงดอกกระทุ่มเวลาใส่บาตร จะนั่งคุกเข่าลงกับพื้น ยกมือจบแล้วก็ยื่นมือสุดแขนจนสูงเหนือศีรษะแล้วก็ใส่บาตร ผมรู้สึกดีมากๆ" นี่คือภาพความประทับใจที่อยู่ในความทรงจำที่ไม่เคยรางเลือน
    ระหว่างจำพรรษาอยู่ที่วัดหนองป่าพง จิ๊บ รด. เล่าว่า พระอาจารย์ให้เข้าไปนั่งพิจารณาศพกลางป่าช้าทั้งคืน การนั่งผมเจอหรือไม่เจอผมขอไม่เล่าดีกว่า ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นความเชื่อและไม่เชื่อ
    แต่เป็นเรื่องที่ดีของศาสนาพุทธ เตือนให้เราเห็นว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ความไม่เป็นตัวตน คือ เกิดขึ้นตั้งอยู่เสื่อมสลายไปอยู่ตลอดเวลา ทำให้เราถึงพร้อมซึ่งความไม่ประมาทในชีวิต หรือที่เรียกว่า มรณานุสติ ที่ทำให้เราคิดถึงความตายตลอดเวลา ตระหนักให้รู้ว่าทำอย่างไรให้เราไปดีที่สุด สบายที่สุด ให้ตัวเราเบาที่สุด
    ดังนั้น ก็ต้องเตรียมตัว เตรียมในที่นี้เหมือนกับเราหยอดเงินลงกระปุกออมสินวันละบาท แต่พอถึงเวลาที่เราทุบกระปุกออกมาจะเห็นว่าเงินเต็มแล้วหรือจะว่างแค่ไหน
    สำหรับการบูชาพระกับวิถีของคนไทยคงแยกกันไม่ออก ที่สามารถแบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภท คือ ๑.พระพุทธรูปบูชาไว้ในที่ทำงานและที่บ้าน ๒.พระเครื่องที่แขวนติดตัว เป็นสิ่งที่พิเศษอยู่ในจิตใจของคนไทย บางคนไม่มีพระแต่มีเหรียญบาทที่มีพระบรมรูปในหลวง ก็ถือว่าศักดิ์สิทธิ์แล้ว สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่คอยยึดเหนี่ยวจิตใจ จนมีคำกล่าวที่เอาไว้เตือนใจเสมอว่า อย่าให้พระเครื่องบังพระพุทธ
    ในความหมายนี้ก็คือ อย่าไปยึดติดกับอะไรที่เป็นวัตถุสิ่งของมากเกินไป สุดท้ายก็อยู่ที่ตัวเรา คือการกระทำ และความคิดของเรานั่นเอง
    ส่วนตัวมีความคุ้นเคยพระเครื่องพระบูชามาตั้งแต่เป็นเด็ก ตั้งแต่สมัยที่คุณปู่ (ศ.น.พ.ฝน แสงสิงแก้ว) คุณตา (ศ.น.พ.สงัด เปล่งวานิช) ท่านเป็นคนเก็บสะสมพระเครื่องเอาไว้มากมาย เช่น พระปิดตาแร่บางไผ่ พระกริ่งคลองตะเคียน พระนารายณ์ทรงปืน พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า ทำให้เกิดความสนใจ จนต้องไปซื้อสมุดคล้ายกับสมุดสะสมแสตมป์เอามาใส่เหรียญ ตะกรุด หรือวัตถุมงคลที่ได้มา แล้วยังไปหาซื้อหนังสือเกี่ยวกับประวัติพระเครื่องมาอ่าน ไม่ว่าจะเป็นร้อยพระเครื่อง สุดยอดพระเครื่อง
    ปัจจุบันพระเครื่องที่แขวนติดตัว ประกอบด้วย พระสมเด็จพิมพ์นิยม พระปิดตา พระแก้วมรกต องค์เจ้าแม่กวนอิม ส่วนสมัยเป็นเด็กแขวนพระหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ แล้วเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้พ่อ (พล.ร.ต.วิฑูร) โกรธมาก เนื่องจากเป็นเด็กอายุประมาณ ๖ ขวบ ไปเที่ยวพัทยาแล้วมีผู้ใหญ่จะจับตัวเองลงทะเล ด้วยความกลัวจึงวิ่งหนีหายไปเป็นเวลา ๑ วันเต็ม จนมีพลเมืองดีนำมาส่งตำรวจ พ่อแม่ก็ตามมาเจอที่สถานีตำรวจ
    การหายตัวไปในครั้งนั้น ถ้าเป็นสมัยนี้อาจถูกจับเอาไปขายที่ไหนแล้วก็ไม่รู้ ช่วงนั้นไม่รู้เรื่องว่าการหายตัวไปครั้งนั้นเป็นปาฏิหาริย์อะไรหรือเปล่า แต่ตอนนั้นมีพระหลวงปู่ทวดเพียงองค์เดียว
    มองอีกมุมหนึ่ง อาจเป็นองค์พระหรือเปล่า ถึงทำให้เราไม่ต้องพลัดพรากจากพ่อแม่ พอโตขึ้นมานึกถึงเหตุการณ์ครั้งนั้น ก็ทำให้นับถือศรัทธาในองค์หลวงปู่ทวดอย่างมาก เมื่อถามถึงหลักธรรมที่ยึดปฏิบัติอยู่ตลอดเวลา จิ๊บ รด. บอกว่า "พรหมวิหาร ๔ มรรค ๘ ก็สามารถใช้ได้หมด อย่าเอาเป็นหลักธรรม ข้อแรกสุดต้องไม่ทำให้ตัวเราเดือดร้อน จะคิด จะพูดทำอะไรตัวเราต้องไม่เดือดร้อน สองไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน เพื่อนร่วมงาน ผู้บังคับบัญชา และสามถ้ามีโอกาสให้สังคม ให้มาก ให้น้อย ให้ในรูปแบบบริจาค หรือแบบทาน ให้ในสิ่งที่เรามีโอกาสมากกว่าเขา กระทำตามวาระ แม้แต่พระเองก็ไม่สามารถทำดีได้ทุกคน เพราะพระก็เป็นมนุษย์เพียงแค่ห่มจีวร แต่อยู่ที่วัตรปฏิบัติเท่านั้นเอง"
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...