ไมตรี ลิมปิชาติ คน(เคย)อยู่วัด

ในห้อง 'พุทธศาสนากับคนดัง' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 2 ตุลาคม 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,489
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>ไมตรี ลิมปิชาติ คน(เคย)อยู่วัด</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>1 ตุลาคม 2549 09:50 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>สองช่วงเวลาในชีวิตของนักเขียนนาม ‘ไมตรี ลิมปิชาติ’ นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ที่ได้มีโอกาสเข้าไปอาศัยภายในรั้ววัด แม้จะต่างกรรมต่างวาระกัน แต่ก็ล้วนมีผลทำให้เขาได้รับแรงบันดาลใจที่จะถ่ายทอดเรื่องราวออกมาเป็นตัวอักษร
    ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสั้นชุด‘คนอยู่วัด’ ที่เคยตีพิมพ์ในนิตยสารชาวกรุง และรวมเล่ม เป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2519 กระทั่งถูกกำหนดให้เป็นหนังสืออ่านนอกเวลาของนักเรียน จนถึงปัจจุบันเรื่องสั้นชุดนี้ได้รับการตีพิมพ์เป็นครั้งที่ 30 แล้ว ขณะที่หนังสืออีกเล่มชื่อ‘คนในผ้าเหลือง’ ของเขาก็ได้รับความนิยมจนพิมพ์เป็นครั้งที่ 7 อีกเช่นกัน
    ‘ห้องสนทนา’ได้ฤกษ์เชื้อเชิญเขาผู้นี้กลับไปย้อนความทรงจำ ในฐานะ ‘คน(เคย)อยู่วัด’

    • อะไรคือเหตุผลของการไปอยู่วัดครั้งแรกคะ
    ผมจากบ้านที่นครศรีธรรมราชเข้ามาเรียนต่อในกรุงเทพฯ ได้เงินจากทางบ้านเป็นเงินเดือนละ 450 บาท ซึ่งสมัยนั้นก๋วยเตี๋ยว ชามละ 6 สลึง เงินเท่านี้ถือว่าอยู่ ได้สบาย จ่ายค่าหอพัก 200 บาท ใช้จ่ายเอง 250 บาท อยู่ๆ วันหนึ่งมีเพื่อนของผม เพื่อนคนนี้เรียนที่ธรรม-ศาสตร์ ส่วนผมเรียนก่อสร้าง อยู่ที่อุเทนถวาย เขามา เยี่ยมผมที่หอพักย่านอุรุพงษ์ และบอกว่าเสียดายเงิน ตั้ง 200 บาท ที่ผมต้องจ่ายให้ค่าหอพัก แล้วชวนว่าไมตรีไปอยู่กับผมดีกว่า ไปอยู่ที่วัดบุปผาราม ธนบุรี เสียแค่ 6 บาทเอง เดี๋ยวจะจัดห้องให้นอน ผมมาคิดดูมันก็ดีเหมือนกันนะ จาก 200 บาท เหลือ 6 บาท แล้วมันคงไม่ลำบากอะไรมากนัก เลยไปอยู่ที่วัดกับเพื่อน เอาเงิน 200 บาท ที่จะเสียค่าหอพักมาผูกปิ่นโตกินกันกับเพื่อนคนนี้ ซึ่งเท่ากับเป็นการช่วยเพื่อนด้วย และช่วยเราเองด้วย
    ปรากฏว่าไปถึงวัดห้องใหม่ไม่มี เลยต้องไปนอนเตียงเดียวกับเพื่อน เพื่อนเขาเลยหาไม้มาต่อเตียงให้กว้าง กางมุ้งให้เตี้ยลงมา นอนกันสองคน ตั้งแต่นั้นมาก็เลยได้เข้าไปอยู่ในวัด(ในฐานะเด็กวัด) มีชีวิตอยู่ที่นั้นประมาณ 3 ปี

    • เลยทำให้มีข้อมูลมาเขียนหนังสือเรื่อง ‘คนอยู่วัด’ ใช่ไหม
    พอออกจากวัดบุปผาราม ผมไปเช่าบ้านอยู่กับเพื่อน ตอนนั้นผมเข้าเรียนต่อที่เทคนิคกรุงเทพ จนเรียนจบก็ไม่ได้เข้าไปอยู่วัดอีกเลย ทีนี้จนกระทั่งทำงาน อายุประมาณ 23-24 ปี ทำงานไปเรื่อยๆ และเขียนหนังสือไปด้วย ระหว่างนั้นผมเขียนเรื่องชุด‘น้ำประปา’ ลงในหนังสือฟ้าเมืองไทย ซึ่งมีพี่อาจินต์ ปัญจพรรค์ เป็นบรรณาธิการ เขียนไปๆ เราก็มีความรู้สึกว่า เราเบื่อ เลยมาคิดว่าในชีวิตที่ผ่านมา เราเคยอยู่ที่ไหนบ้าง จึงนึกถึงวัด ออกจากวัดเป็นสิบปีแล้วนะ ถึงได้เขียนหนังสือเรื่อง คนอยู่วัด เขียนสั้นๆ ลงในนิตยสารชาวกรุงก่อน แล้วค่อยรวมเล่ม

    • แล้วเหตุผลของการไปอยู่วัดอีกครั้งล่ะคะ
    พออายุสัก 35 ปี ราวๆนั้น เกือบๆ 40 ปี อยู่ๆมีความคิดว่าอยากจะเดินออกไปจากตัวเอง จากชีวิตประจำวัน อยากบวช อยากเป็นพระ เลยตัดสินใจว่า เราต้องบวชพระ ทีนี้ปัญหาว่า ถ้าจะอยู่วัดใกล้ๆ กรุงเทพฯ บรรดาเพื่อนๆ ลูกน้องในที่ทำงาน เขาก็ต้อง ไปกัน ตอนนั้นผมทำงานอยู่ที่การประปานครหลวง อยากจะหนีหายไปไกลๆ ไปอยู่คนเดียว จะไปนคร-ศรีธรรมราชก็มีญาติเยอะ เลยตัดสินใจไปแม่ฮ่องสอน เหตุผลเพราะที่นั่นมีเพื่อนอยู่คนเดียว เขาไปสอนหนังสืออยู่ที่นั่น บอกเขาว่า เฮ้ย..หาวัดให้ไปจำพรรษา หน่อยสิ แต่ผมบวชที่วัดปากน้ำ จ.สมุทรปราการก่อน แล้วค่อยเดินทางไปจำพรรษาที่วัดพระธาตุดอยกองมู จ.แม่ฮ่องสอน

    • คราวนี้จึงได้ข้อมูลมาเขียนหนังสืออีกเล่ม
    ไปบวชอยู่นั่น มันมีอะไรหลายๆอย่างที่น่าเอามาเขียนก็เลยนำข้อมูลมาเขียนหนังสือ ในฐานะที่เราเป็น นักเขียน ตั้งชื่อหนังสือว่า ‘คนในผ้าเหลือง’ เหตุที่ตั้งชื่อนี้เพราะมาดูว่า คนที่จะไปเป็นพระนี่ยาก แม้ตัวผม เองไปบวชตั้ง 3 เดือน แต่ยังรู้สึกว่าเรายังเป็นคนที่เหมือนกับเอาผ้าเหลืองมาห่ม ยังไม่ลึกซึ้งอะไรในธรรมะ ยังมีกิเลส หิวยังอยากกิน เห็นคนสวยยังอยาก มอง แต่ตอนนั้นผมก็พยายามห้ามใจให้ดี ปฏิบัติตัวอยู่ในเกณฑ์ใช้ได้ แต่ยังไม่ยอมรับตัวเองว่าเป็นพระ มองไปถึงคนอื่นด้วยว่า เขาคงคล้ายๆเรานี่แหละ คนที่ จะเป็นพระแท้ๆ มันมีน้อย

    • สึกออกมาแล้วเขียนเลยหรือคะ
    ครับ...สึกออกมาเขียนเลย

    • แสดงว่าตอนที่เป็นเด็กวัดอยู่วัดบุปผารามนั้นยังไม่ได้เขียนหนังสือ
    ตอนที่เป็นเด็กวัดชอบอ่านอย่างเดียว อ่านเยอะมาก จะไปเช่าหนังสือ วันละ 2 บาท หรือวันละบาท พออ่านมากๆ เลยทำให้อยากเป็นนักเขียน แต่ผมมาเขียนเรื่องคนอยู่วัดก็เมื่อได้เขียนเรื่องอื่นๆ มาหลายเรื่องแล้ว รู้สึกว่า เฮ้ย...ชีวิตเราเคยเป็นเด็กวัด น่าจะเอามาเขียน

    • ตอนที่เขียนหนังสือเรื่องคนอยู่วัด กับตอนที่เขียนเรื่องคนในผ้าเหลือง สิ่งที่ถ่ายทอดออกมา ต่างกันอย่างไรบ้าง
    ต่างกันครับ เพราะคนอยู่วัด ผมเขียนแบบนึกถึงสมัยเราเป็นเด็กๆ เป็นนักเรียน คิดแต่เรื่องการดิ้นรน เพื่อจะให้หลุดพ้นจากการเป็นเด็กวัด อนาคตจะเป็นยังไง เป็นเรื่องของความลำบาก แต่การเขียนเรื่องคน ในผ้าเหลือง เป็นเรื่องที่เราเป็นผู้ใหญ่แล้วทำไมเรามาบวชที่นี่ เป็นความคิดในระดับที่สูงๆ ขึ้นมาหน่อย เช่น เราได้ไปพบพระที่นั่นเป็นอย่างไร ท่านเจ้าอาวาสท่านสอนดีอะไรอย่างนี้ ผมยังจำได้ว่าพระท่านบอกว่า ให้เราหนักแน่นเหมือนแผ่นดิน ใครจะเหยียบจะฉี่รด เราต้องนิ่ง คนนิ่ง คนหนักแน่น มักจะพบกับความสำเร็จ หรือท่านได้ปฏิบัติให้เราเห็นว่า การเป็นคนเสียสละ เป็นผู้นำที่ไม่เอาเปรียบคนอื่น ผมจะเขียนยกตัวอย่างเช่น เวลามีคนมานิมนต์พระที่วัดไปสวดในงานศพ ถ้าไกลๆ ไปลำบาก ท่านเจ้าอาวาสจะไปเสียเอง แต่ถ้าไปใกล้ๆ สบายๆ จะให้พระลูกวัดไป บางทีท่านกลับมาโทรมและเหนื่อยเลย ทำให้เราเห็นว่าการเสียสละ ไม่เห็นแก่ตัว มันทำให้ชนะใจคน
    และการที่ผมได้มีชีวิตอยู่อย่างนั้น อยู่ในความเงียบ ทำให้เกิดความคิด ยิ่งเงียบเท่าไหร่ ยิ่งคิดดังเท่านั้น นี่คือสิ่งที่ได้ พอมาเขียนมันเลยได้ออกมาอีกรูปแบบหนึ่ง ถ้าผู้อ่านคนอยู่วัด จะเห็นว่ามันสนุกสนาน ได้แง่ คิดอย่างหนึ่ง แต่เป็นอย่างเรียบๆ สื่อความลำบาก ทำ ให้คนได้ดี ส่วนคนในผ้าเหลือง เป็นเรื่องของการเป็น ผู้ใหญ่แล้ว สื่อว่าคนที่จะเป็นพระได้ มันไม่ใช่ง่ายๆ ต้องทำตัวอย่างไร ต้องมีประสบการณ์อย่างไร

    • แล้วความศรัทธาที่มีต่อวัดต่างกันไหม
    ตอนเป็นเด็กวัด ส่วนใหญ่อยู่อย่างเอาตัวรอด มีที่ นอน ที่กินอาจจะไม่มี เพราะเราต้องซื้อ เพื่อนส่วนใหญ่ แต่ละคนจะยากลำบาก ต้องอยู่อย่างระมัดระวัง เช่น จะตากผ้าต้องคอยเฝ้า กลัวจะหาย หรือว่าเรามีของมีค่า ต้องระวังขโมย แล้วเวลานั้นเรามองพระแบบว่า ท่านก็คือพระ ให้ความเคารพนับถือว่าเป็นพระ แต่ตอนไป อยู่แม่ฮ่องสอน ซึ่งเราไปบวช เราเป็นพระเสียเอง เราจะเป็นฝ่ายมองเด็กวัด มองสิ่งรอบข้าง มองถึงอนาคต คิดถึงบ้าน บางทีคิดถึงบ้าน นั่งร้องไห้น้ำตาไหล เพราะว่ามันเกิดจากภายในที่เราไม่ได้ตั้งใจร้องไห้หรอก แต่น้ำตาก็ไหล เพราะว่าเราคิดถึงบ้าน คิดถึงลูก เพราะตอนที่ไปบวช มีครอบครัวแล้วไง

    • ถึงตอนนี้ยังมีเรื่องราวในรั้ววัดหรือแวดวงศาสนาที่อยากจะเขียนอีกบ้างไหม
    เรื่องนี้ไม่ได้คิดแล้ว เพราะว่าเรารู้สึกว่าเราหมดแล้ว จะเขียนเรื่องเด็กวัด ก็คงไม่ได้แล้ว เพราะเดี๋ยวนี้เด็ก วัดมันเปลี่ยนไป แต่สิ่งที่อยากเขียน อยากเขียนนิยาย เด็กสั้นๆ สัก 6-7 ตอนจบ เป็นนวนิยายก่อนวัยรุ่น ของ เด็กอายุประมาณ 12-13 ปี อาจจะมีแฟนตาซีบ้าง สนุกตื่นเต้น อะไรอย่างนี้ แต่ก็ไม่รู้จะทำได้ไหม อยากจะทำเหมือนกัน

    • คิดว่าปัจจุบันนี้หนังสือเกี่ยวกับแวดวงศาสนา ได้รับความนิยมแค่ไหน
    มันคงที่นะ พูดง่ายๆว่า มันยังขายได้เรื่อยๆ ไม่ตาย เช่นงานของท่านพุทธทาส งานของท่านปัญญานันทะ จะเห็นว่ามีสำนักพิมพ์ 2-3 แห่ง ที่พิมพ์งานพวกนี้ จะพิมพ์ซ้ำแล้วซ้ำอีก หมุนเวียนกันไป ไม่ตายนะ มันไป ได้เรื่อยๆ แต่มันเป็นหนังสือที่สอนธรรมะมากกว่าจะเป็นนิยาย หรือสารคดีเกี่ยวกับธรรมะ ซึ่งคนเขียนแทบ ไม่มี ผมเองอยากจะหาคนมาเขียนเหมือนกัน เช่นอาจ จะแต่งเรื่องว่า พระเอกไปบวช และมีนางเอก มีเรื่องที่เกี่ยวพันว่าศาสนาพุทธมันให้ประโยชน์กับชีวิตอย่าง ไร อย่างนี้มันควรจะมีคนเขียน

    • ในสายตาและความคิดของคนเคยอยู่วัด คิดว่า วัดในยุคสมัยนี้เป็นอย่างไร
    คนเข้าวัดมันเข้าหลายแบบ บางคนเข้าวัดไปเพื่อ ขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ช่วย ไปเช่าเครื่องรางของขลัง ขณะที่บางคนเข้าวัดเพื่อไปฟังธรรม เรื่องพุทธพาณิชย์ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ว่าคนเข้าวัด มันก็ดีกว่าไปเข้าอย่างอื่น เข้าแล้วสบายใจ
    แต่ที่สังเกต เวลาคนเข้าไปในวัด อย่างผมเคยเข้าไปในวัดแห่งหนึ่งและพอดีวันนั้นมีงาน มีการตั้งโต๊ะให้เช่าพระเครื่องกับขายหนังสือ ปรากฏว่าโต๊ะพระเครื่องคนมุง ดูเต็มเลย แต่หนังสือแทบหาคนยืนซื้อยาก ทำให้เห็นว่า คนเรายังพึ่งความศักดิ์สิทธิ์ มากกว่าพึ่งความจริงทางธรรมะที่ถ่ายทอด ผ่านหนังสือ ส่วนมากจะเป็นอย่างนี้
    สมมติว่าเราอ่านหนังสือสัก 2-3 บรรทัด บอกว่า เวลาขับรถอย่าประมาทนะ แล้วจะปลอดภัย เราจะเฉยๆ แต่ถ้าบอกว่าแขวนพระองค์นี้นะแล้วจะปลอดภัย สิ่งศักดิ์สิทธิ์ จะช่วยไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ คนจะซื้ออย่างหลังมากกว่า

    • เคยมีความคิดอยากจะกลับไปครองผ้าเหลืองอีกบ้างไหม
    เคยมีแบบวูบวาบ บางทีเรามีงาน มีอะไรทำเยอะ บางทีเราวุ่นๆ เราคิดถึงผ้าเหลือง เพราะตอนเราบวช เราไม่เห็นต้องคิดอะไรมากอย่างนี้เลย มันสงบ เหมือนที่เขาบอกว่า ไม่มีความสุขใดสุขยิ่งกว่าความสงบไม่มี แต่มันเป็นความรู้สึกวูบวาบนิดเดียว พอคิดให้ซึ้ง เราไปอยู่ไม่ได้หรอก เพราะว่าเรายังมีกิเลส ถึงแม้อายุขนาดนี้แล้วก็ตาม อยากจะทำงานอิสระ อยากจะไปนอนที่ไหนสักแห่ง แล้วเอาข้อมูลมาเขียนหนังสือดีๆ สักเล่มสองเล่ม คิดถึงแต่เรื่องงานที่เรารักจะทำ โดยเฉพาะตอนนี้หัดเขียนภาพ และจะแสดงประมาณเดือน กรกฎาคม ที่ PCC ART CENTER เขียนมาได้สองปีแล้ว มันเป็นความสุขเช่นกัน พอคิดจะบวชคงไม่บวช เพียงแต่คิดว่าเป็นพระแล้วมันสงบ

    • ถ้าจะต้องบวชอีกครั้ง จะเลือกวัดไหน
    พูดยากเหมือนกันนะ ถ้าจะไปที่วัดเดิม คงไม่ไป ระยะหลังจะไปบ่อยมากที่แม่ฮ่องสอน เห็นทุกสิ่งทุกอย่างมันเปลี่ยนไป เดี๋ยวนี้มันเป็นร้านค้าเต็มไปหมดเลย บนเขารถเก๋ง รถตู้เต็มไปหมดเลย สมัยที่ผมไปอยู่ ไม่มีรถยนต์ขึ้นไปเลย เพราะทางมันยังไม่สะดวก นั่งอยู่บนเขา ยังได้ยินแม้แต่เสียงล้อเกวียนบดถนน เพราะสมัยนั้นเขาจะใช้เกวียนกันเยอะ ได้เห็นสภาพชาวบ้านมุงหลังคาใบตองตึง ซึ่งเป็นชาวบ้าน นานน้าน.. เครื่องบินลงสักครั้งหนึ่ง แต่ตอนนี้ผมขึ้นไป มองลงมา จะเห็นตึกสูงๆ เห็นรีสอร์ต อะไรอย่างนี้ มันเปลี่ยนไป คงไม่อยากกลับไปเจอในสิ่งที่เปลี่ยนไป คงไม่บวชวัดนั้นแน่ แต่อาจจะบวชวัดไหนก็ไม่รู้เพราะไม่คิดว่าจะบวชแล้ว อายุมากแล้ว เดี๋ยวเป็นเจ้าอาวาสไม่ทัน (หัวเราะ)

    • ทุกวันนี้ใช้ธรรมะข้อใดเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวใจ
    การทำงานต้องมีสติ แต่ไม่ได้ทำได้ง่ายๆนะ บางทีสติปั่นป่วนเหมือนกัน และอีกอย่างผมเชื่อในเรื่องของ การทำดีได้ดี ก็พยายามทำดีไว้ และเป็นคนที่เชื่อในเรื่องของการกระทำ ไม่เชื่อเครื่องรางของขลัง แต่ไม่ ได้ดูถูกคนที่เขาเชื่อนะ บางคนเขาเชื่อเขาก็สบายใจของเขา แต่ตัวผมเองคิดเสมอว่า ให้ทำดีเถอะ ทำในสิ่งที่ถูกต้อง ฤกษ์ผมก็ใช้ฤกษ์สะดวก คิดแบบนี้แล้วสบายใจดี และที่สำคัญมองทุกอย่างในแง่ดี มันจะทำ ให้ตัวเราเองมีความสุข
    .......
    แม้เวลานี้ แนวโน้มที่ ‘ไมตรี’ จะกลับไปครองผ้าเหลือง เพื่อนำประสบการณ์มาเล่าสู่แฟนๆ นักอ่านของ เขาจะน้อยเต็มที แต่เชื่อแน่ว่า เรื่องราวที่เขาเขียนเล่าไว้ในหนังสือ 2 เล่ม ทั้ง‘คนอยู่วัด’ และ ‘คนในผ้าเหลือง’ น่าจะทำให้คนอ่านอีกหลายคนได้มองเห็นแง่งามของชีวิตคนเคยอยู่วัด ทั้งในฐานะ เด็กวัด’ และในฐานะ ‘พระสงฆ์’ ไม่มากก็น้อย

    </TD></TR></TBODY></TABLE>




    </TD></TR></TBODY></TABLE>Ref. http://www.manager.co.th/dhamma/viewnews.aspx?NewsID=9490000122331
     

แชร์หน้านี้

Loading...