เรื่องเด่น เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๖๘

ในห้อง 'หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน' ตั้งกระทู้โดย iamfu, 23 เมษายน 2025 at 16:48.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    21,488
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,720
    ค่าพลัง:
    +26,581
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๖๘


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 เมษายน 2025 at 17:29
  2. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    21,488
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,720
    ค่าพลัง:
    +26,581
    วันนี้ตรงกับวันพุธที่ ๒๓ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๘ กระผม/อาตมภาพมีภารกิจที่วัดไร่ขิง (พระอารามหลวง) ในฐานะคณะกรรมการอำนวยการในการสอบบาลีสนามหลวง (ครั้งที่ ๒) ประจำปี ๒๕๖๘ (วันที่ ๒)

    สำหรับวันนี้ เรามากล่าวถึงการ "เล่าความหลัง" กันต่อไป เมื่อวานได้เล่าไปถึงเรื่องเรือนชานบ้านช่อง ที่ส่วนใหญ่เป็น "เครื่องผูก - เครื่องสับ" ก็คือไม่ได้ใช้ตะปู ไม่ได้ใช้การเข้าลิ้นเข้ารางต่าง ๆ เพราะว่าไม่ได้ใช้ "ไม้จริง"

    คำว่า "ไม้จริง" ก็คือ ไม้กระดานที่เลื่อยออกมาจากต้นไม้ต่าง ๆ ซึ่งในสมัยนั้นก็จะมีเลื่อยที่เรียกว่า "เลื่อยอก" ต้องใช้คนสองคนช่วยกันชัก คนหนึ่งดึง คนหนึ่งผลัก ตัวเลื่อยจะกว้างเกือบ ๆ ๑ ฟุต แต่ว่ายาวน่าจะถึง ๓ เมตร เพราะว่าบางทีเจอต้นไม้ใหญ่ ๆ ซึ่งล้มลงมาแล้วยังสูงท่วมหัวผู้ใหญ่ ก็จะได้เลื่อยออกมาเพื่อใช้งานได้

    แต่ว่าถ้าเป็นการโค่นต้นไม้เพื่อที่จะมาเลื่อยโดยตรง ก็จะเป็นการผิดกฎหมาย ดังนั้น..ชาวบ้านจึงใช้การหา "ไม้ล้มขอนนอนไพร" ที่เรียกกันว่า "ไม้แก่นล่อน" ก็คือล้มตายมานานแล้ว จนกระทั่งผุพังเหลือแต่แก่น ในส่วนของเปลือกและกระพี้ ผุล่อนไปหมดแล้ว เอามาเลื่อยเพื่อที่จะทำเป็นต้นเสาบ้าง เป็นไม้กระดานบ้าง กว่าที่จะพอทำข้างฝา หรือว่าทำเตียงทำโต๊ะอะไรสักอย่างหนึ่ง บางทีก็ต้องสะสมไม้กันอยู่หลายปีทีเดียว..!

    แล้วการเลื่อยไม้นั้นก็จะเลื่อยกันเฉพาะตอนที่ว่างจากงานไร่งานนาเท่านั้น การใช้ไม้ไผ่หรือว่าหวาย ในการทำบ้านแบบ "เครื่องผูก - เครื่องสับ" จึงเป็นเรื่องที่สะดวกที่สุด เพียงแต่ว่าให้ระวังฟืนไฟเอาไว้หน่อยเท่านั้น

    เครื่องใช้ไม้สอยในบ้านยุคนั้น ส่วนใหญ่ก็จะเป็นหม้อดิน มีทั้งหม้อดินที่ใช้หุงข้าว และใช้ในการต้มแกงต่าง ๆ จะต้องเป็นบุคคลที่มือไม้เบามาก เพราะว่าถ้าหากว่ามือไม้หนัก หม้อดินก็จะแตก..! และดูความขยันของลูกสาวแต่ละบ้านได้จากหม้อดิน บ้านไหนถ้าหุงข้าวแล้วขัดล้างหม้อดินจนใหม่เอี่ยม ก็ถือว่าเป็นบ้านที่มีลูกสาวขยัน เอางานเอาการ ถ้าหากว่าหม้อดินก้นดำปี๋ มีแต่ควันไฟเขม่าไฟติด เขาก็จะรู้ว่าลูกสาวบ้านนี้ขี้เกียจ..!

    หรือบางทีก็ไปแอบฟังเสียงตำน้ำพริกอยู่ใกล้ ๆ บ้านนั้น ถ้าเสียงตำถี่ ๆ ไม่หยุด ก็จะได้รู้ว่าเป็นคนเอางานเอาการ ถ้าตำแบบประมาณ "ถึงก็ช่าง ไม่ถึงก็ช่าง" ก็ตราหน้าได้เลยว่าลูกสาวบ้านนี้ขี้เกียจ ไม่เอางานเอาการอะไรเลย..!
     
  3. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    21,488
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,720
    ค่าพลัง:
    +26,581
    สมัยนั้นส่วนใหญ่แล้วก็จะเลี้ยงหมู เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่เอาไว้ใต้ถุนบ้าน ถึงเวลาหุงข้าวในลักษณะที่เรียกว่า "หุงเช็ดน้ำ" ก็จะรินน้ำข้าวลงไปในรางไม้ไผ่ที่เป็นไม้ไผ่ลำโต ๆ ผ่าครึ่งแล้วก็เลาะข้อกลางออก เหลือแต่หัวท้ายปิดเอาไว้ เทน้ำข้าวลงไปในนั้น หมูหมากาไก่แย่งกันกินอุตลุด ซึ่งก็เป็นเรื่องแปลกที่ว่า ทั้ง ๆ ที่กินแค่นั้น แต่เรื่องบรรดาผักหญ้าต่าง ๆ ตลอดจนกระทั่งสัตว์เล็กสัตว์น้อยในป่าในดงมีมาก พวกหมาพวกหมูต่าง ๆ จึงหากินกันเองตามอัธยาศัย แต่ละตัวล้วนแล้วแต่อ้วนแน่น บางตัวก็ถึงขนาดพุงลากพื้นไปเลยก็มี..!

    หมูในสมัยก่อนนั้นเป็นพันธุ์พื้นเมืองตัวดำ ๆ ถ้าหากว่ามีผสมหมูพันธุ์ที่เขาเรียกว่า "หมูเกษตร" ก็มีลายดำขาวด่าง ๆ แต่ว่าส่วนใหญ่แล้ววิ่งจี๋เหมือนอย่างกับลมพัด พูดง่าย ๆ ว่าถ้าหากจะจับหมูนี่ เป็นอะไรที่เรื่องใหญ่มาก ถึงขนาดต้องเอาตาข่ายมาล้อมกัน เพื่อที่จะต้อนหมูไปเข้า "กระชุ" ซึ่งเป็นเครื่องมือบรรจุหมูที่สานมาจากหวาย ด้านก้นเล็กลงหน่อย แล้วก็มาขยายออกด้านหัวที่หมูจะต้องมุดเข้าไป เมื่อหมูมุดเข้าไปแล้วยกขึ้น ขาหมูก็จะลอดตากระชุออกมา ทำให้ไม่สามารถที่จะเดินได้ โดนหามไปไหนก็ต้องไปแต่โดยดี..!

    การที่จะฆ่าหมูนั้นก็ต้องซื้ออาชญาบัตรเสียภาษี ดังนั้น..เขาจะฆ่าหมูได้ก็ต่อเมื่อมีงานบุญหรือว่างานศพ เป็นการบอกกล่าวขออนุญาตต่อผู้ใหญ่บ้านและกำนัน ซึ่งจะแจ้งแก่สรรพสามิตว่า บ้านนี้จะมีการฆ่าหมู เพื่อที่จะใช้ในงานอะไรบ้าง บางทีเจ้าหน้าที่มาตรวจ ก็ต้องแบ่งให้เขาไป ๒ กิโลกรัม ๓ กิโลกรัมเหมือนกัน..!

    เครื่องมือในการชั่งก็เป็น "ตาชั่งจีน" ซึ่งจะเป็นคานยาว ๆ ด้านหนึ่งจะเป็นจานโยงกับโซ่เล็ก ๆ สำหรับวางสิ่งของ อีกด้านหนึ่งเป็นตุ้มน้ำหนักที่รูดไปแล้วจะมีขีดบอกน้ำหนักอยู่ ถ้าหากว่าวางของลงไปแล้วก็หิ้วโซ่ที่อยู่ตรงกลางขึ้น ค่อย ๆ เลื่อนลูกตุ้มนั้นไป
    ทางด้านท้ายเรื่อย ๆ พอคานอยู่ตรงกลางพอดีก็จะรู้ว่าน้ำหนักเท่าไร สมัยก่อนเรียกว่า "ตาชั่ง" บ้าง "ตาเต็ง" บ้าง ภายหลังถึงได้มีเครื่องชั่งมาตรฐานที่เป็นจานขึ้นมา ไม่เช่นนั้นแล้วก่อนหน้านั้นเป็นการใช้ "ตาชั่งจีน" ทั้งนั้น

    เครื่องใช้ไม้สอยอื่น ๆ ส่วนใหญ่ก็ผลิตขึ้นมาจากวัสดุในป่า ไม่ว่าจะเป็นไม้ เป็นหวาย หรือว่าไม้ไผ่ สานเป็นข้าวของเครื่องใช้ บางคนฝีมือละเอียดยิบจนกระทั่งผู้หญิงยังต้องอาย ใครฝีมือดี ๆ ก็มักจะจีบสาวได้ง่าย..! เพราะว่าผู้หญิงมักจะมาขอให้ช่วยสานกระบุง ตะกร้า กระจาดให้
     
  4. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    21,488
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,720
    ค่าพลัง:
    +26,581
    แล้วก็มีภาชนะหลายอย่างที่เด็กสมัยนี้ไม่รู้จักแล้ว อย่างเช่นเครื่องใช้ในครัวที่เรียกว่า "กระจ่า" ซึ่งถ้าหากว่าเป็นสมัยนี้ก็เรียกว่า "กระบวย" บ้าง "ทัพพี" บ้าง แต่ว่ากระจ่าเป็นเครื่องมือที่คล้าย ๆ กระบวยกึ่งตะหลิว หรือว่ากึ่งทัพพี จะเป็นวัสดุรูปโค้ง ๆ ลงไป แล้วก็มีด้านหนึ่งที่ผายออก อยู่ในลักษณะคล้ายกับทัพพี หรือว่าตะหลิว ใช้งานได้สารพัด ไม่ว่าจะหุงข้าวต้มแกงอะไรก็ตาม บางบ้านฝีมือดีถึงขนาดแกะสลักลายไทยบ้าง เป็นรูปผู้หญิงเปลือยบ้าง เห็นแล้วก็ยังรู้สึกว่า ช่างมีสุนทรีย์ในอารมณ์เหลือเกิน..!

    เครื่องมือในการขูดมะพร้าว โบราณเขาเรียกว่า "กระต่าย" ลักษณะเหมือนกับเป็นม้านั่งเตี้ย ๆ แล้วด้านหนึ่งก็จะมีแผ่นเหล็ก ที่มีก้านโค้ง ๆ ลงมาเสียบเอาไว้ ลักษณะดัดจากเหล็กเส้น ตอนปลายตีแผ่ออก ส่วนใหญ่ก็เป็นลักษณะโค้งค่อนวงกลม แล้วก็มีฟันเป็นซี่ ๆ ถึงเวลาก็ใช้ในการขูดมะพร้าว ถ้าหากว่าลูกบ้านไหนใจร้อน ก็จะขูดมะพร้าวเป็นเส้นใหญ่ ๆ เพราะว่าเอาแต่แรงโหมลงไปอย่างเดียว ก็จะโดนพ่อแม่ด่าว่าเป็น "ลูกล้างลูกผลาญ" เพราะว่าขูดมะพร้าวแล้วคั้นไม่ค่อยได้กะทิ แต่ถ้าหากว่าลูกบ้านไหนรู้เคล็ด ใช้กำลังแต่พอดี ก็จะขูดมะพร้าวเป็นฝอยละเอียดมาก สามารถที่จะคั้นกะทิได้ถึง ๒ น้ำ ๓ น้ำ ตั้งแต่ "หัวกะทิ" ยัน "หางกะทิ" เลยทีเดียว

    วัสดุบางอย่าง สมัยนี้ก็ไม่ได้เห็นอย่างเช่นว่า "กระพ้อม" เป็นภาชนะที่สานด้วยไม้ไผ่ในลักษณะของเข่งใบใหญ่ ซึ่ง "กระพ้อม"นั้น สามารถบรรจุข้าวเปลือกได้ ๑ เกวียน ต้องมาดูมาตราโบราณ อย่างเช่นว่า ๔ สลึง เป็น ๑ บาท / ๔ บาท เป็น ๑ ตำลึง / ๒๐ ตำลึง เป็น ๑ ชั่ง / ๕๐ ชั่ง เป็น ๑ หาบ หรือว่าถ้าเป็นมาตราตวง อย่างเช่นว่า ๒๐ ทะนาน เป็น ๑ ถัง / ๕๐ ถัง เป็น ๑ บั้น / ๒ บั้น เป็น ๑ เกวียน เหล่านี้เป็นต้น ดังนั้น..ข้าวเปลือก ๑ กระพ้อมก็คือข้าวเปลือกที่บรรจุได้ ๑ เกวียนพอดี

    ในเมื่อมีภาชนะต่าง ๆ เหล่านี้อยู่ ใช้ในการชั่ง ตวง วัด ได้ง่าย ถ้าหากว่าเป็นของคนจีน บางทีก็ใช้ไม้ไผ่ บางทีก็ใช้หวายสานเอา ถ้าหากว่าเป็นของคนไทย ส่วนใหญ่ก็จะสานด้วยไม้ไผ่ ใครที่มีฝีมือก็ "จักตอก" ได้ละเอียดยิบมากเลย

    ภาชนะอีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า "กระบาย" อยู่ในลักษณะเป็นภาชนะสำหรับขนข้าวขึ้นยุ้ง เป็นภาชนะที่หน้าตาแปลกมาก ถ้าใครเคยเห็นหมวกจีนที่เรียกว่า "กุยเล้ย" "กระบาย" ก็คล้าย ๆ กับกุยเล้ยที่หงายขึ้น แต่ว่ามีช่วงตูดที่ยาวลงไปมาก บางทีก็ยาวถึง ๒ ศอก ด้านบนแผ่กว้างออกคล้ายขอบหมวก เมื่อโกยเอาข้าวเปลือกเข้าไปแล้ว ก็แบกขึ้นยุ้งได้ง่าย ๆ ถ้าหากว่าใหญ่กว่านั้น บางทีก็แบกไม่ไหว การแบก "กระบาย" ข้าวเปลือกส่วนใหญ่ผู้ชายแบก ถ้าเป็นผู้หญิง อย่างเก่งก็แบกได้แต่ "กระบุง" เท่านั้น
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...