เพราะเหตุอะไรหนอ ท่านผู้นี้จึงเป็นผู้มีปกติกล่าวโอ้อวดในการบรรลุคุณวิเศษทั้งหลาย..

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 29 พฤศจิกายน 2012.

  1. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๑๓๘/๓๓๓

    กัตถีสูตร
    [๘๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหาจุนทะอยู่ที่สหชาติวัน ในแคว้นเจตีณ ที่นั้นแล
    ท่านพระมหาจุนทะเรียกภิกษุทั้งหลายว่าดูกรภิกษุทั้งหลายผู้มีอายุ ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระมหา
    จุนทะแล้ว ท่านพระมหาจุนทะได้กล่าวคำนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    เป็นผู้มีปกติกล่าวโอ้อวด ในการบรรลุคุณวิเศษทั้งหลายว่า
    เราเข้าปฐมฌานก็ได้ ออกก็ได้
    เข้าทุติยฌานก็ได้ ออกก็ได้
    เข้าตติยฌานก็ได้ ออกก็ได้
    เข้าจตุตถฌานก็ได้ ออกก็ได้
    เข้าอากาสานัญจายตนฌานก็ได้ ออกก็ได้
    เข้าวิญญานัญจายตนฌานก็ได้ ออกก็ได้
    เข้าอากิญจัญญายตนฌานก็ได้ ออกก็ได้
    เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานก็ได้ ออกก็ได้
    เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธก็ได้ ออกก็ได้ ฯ
    พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ฉลาดในสมาบัติ ฉลาดในจิตของผู้อื่น
    ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น ย่อมไล่เลียง สอบถาม ซักถามภิกษุนั้น ภิกษุนั้นอันพระตถาคต
    หรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ... ไล่เลียงสอบถาม ซักถาม ย่อมถึงความเป็นผู้เปล่า
    ไม่มีคุณ ไม่เจริญ ถึงความพินาศถึงความไม่เจริญและความพินาศ พระตถาคตหรือสาวกของ
    พระตถาคตผู้ได้ฌานผู้ฉลาดในสมาบัติ ผู้ฉลาดในจิตของผู้อื่น ผู้ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของ
    ผู้อื่นกำหนดใจด้วยใจแล้ว กระทำไว้ในใจซึ่งภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า เพราะเหตุอะไรหนอท่านผู้นี้
    จึงเป็นผู้มีปกติกล่าวโอ้อวดในการบรรลุคุณวิเศษทั้งหลายว่า เราเข้าปฐมฌานก็ได้ ออกก็ได้ ฯลฯ
    เราเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธก็ได้ ออกก็ได้ พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ... กำหนด
    ใจด้วยใจอย่างนี้แล้ว ย่อมรู้ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้กระทำศีลให้ขาด กระทำศีลให้ทะลุ
    กระทำศีลให้ด่างกระทำศีลให้พร้อย ไม่กระทำความเพียรติดต่อ ไม่ประพฤติติดต่อในศีลทั้งหลาย
    ท่านผู้นี้เป็นผู้ทุศีลตลอดกาลนาน ก็ความเป็นผู้ทุศีลนี้แล เป็นความเสื่อมในธรรมวินัยที่พระ
    ตถาคตทรงประกาศแล้ว ท่านผู้นี้เป็นผู้ไม่มีศรัทธา มีความประพฤติไม่สมควร ก็ความเป็นผู้ไม่มี
    ศรัทธานี้แล เป็นความเสื่อมในธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว ท่านผู้นี้เป็นผู้มีการสดับน้อย
    มีความประพฤติไม่สมควร ก็ความเป็นผู้มีการสดับน้อยนี้แล เป็นความเสื่อมในธรรมวินัย
    ที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว ท่านผู้นี้เป็นผู้ว่ายาก มีความประพฤติไม่สมควร ก็ความเป็นผู้
    ว่ายากนี้แล เป็นความเสื่อมในธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว ท่านผู้นี้เป็นผู้มีมิตรชั่ว
    ก็ความเป็นผู้มีมิตรชั่วนี้แล เป็นความเสื่อมในธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว ท่านผู้นี้
    เป็นผู้เกียจคร้าน ก็ความเป็นผู้เกียจคร้านนี้แล เป็นความเสื่อมในธรรมวินัยที่พระตถาคตทรง
    ประกาศแล้ว ท่านผู้นี้เป็นผู้มีสติหลงลืม ก็ความเป็นผู้มีสติหลงลืมนี้แล เป็นความเสื่อมใน
    ธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว ท่านผู้นี้เป็นผู้หลอกลวง ก็ความเป็นผู้หลอกลวงนี้แล
    เป็นความเสื่อมในธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว ท่านผู้นี้เป็นผู้เลี้ยงยาก ก็ความเป็น
    ผู้เลี้ยงยากนี้แล เป็นความเสื่อมในธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว ท่านผู้นี้เป็นผู้มีปัญญา
    ทราม ก็ความเป็นผู้มีปัญญาทรามนี้แล เป็นความเสื่อมในธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว ฯ
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนสหายพึงกล่าวกะสหายอย่างนี้ว่า ดูกรสหาย
    เมื่อใด กิจที่ควรกระทำด้วยทรัพย์มีอยู่แก่ท่าน ท่านพึงบอกเราให้ทราบ เราจะให้ทรัพย์แก่ท่าน
    สหายอีกฝ่ายหนึ่งนั้น เมื่อมีกิจที่ควรกระทำด้วยทรัพย์บางอย่างเกิดขึ้นแล้ว จึงบอกกับสหาย
    อย่างนี้ว่า ดูกรสหาย เราต้องการทรัพย์ ขอท่านจงให้ทรัพย์แก่เรา สหายนั้นก็ตอบอย่างนี้ว่า
    ดูกรสหาย ถ้าเช่นนั้นท่านจงขุดลงไปในที่นี้ สหายอีกฝ่ายหนึ่งนั้น เมื่อขุดลงไปในที่นั้น ไม่พึงพบทรัพย์
    จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรสหาย ท่านได้พูดพล่อยๆ กะเรา ได้กล่าวคำเท็จกะเราว่า
    ท่านจงขุดลงไปในที่นี้ สหายนั้นจึงพูดอย่างนี้ว่า ดูกรสหาย เราหาได้พูดพล่อยๆไม่ หาได้
    กล่าวคำเท็จไม่ ท่านจงขุดลงไปในที่นี้เถิด สหายอีกฝ่ายหนึ่งนั้น เมื่อขุดลงไปแม้ในที่นั้นก็ยัง
    ไม่พบทรัพย์ จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านได้พูดพล่อยๆ กะเราได้กล่าวคำเท็จกะเราว่า จงขุดลงไป
    ในที่นี้ สหายนั้นตอบอย่างนี้ว่า เราหาได้พูดพล่อยๆ ไม่ หาได้กล่าวคำเท็จไม่ ถ้าเช่นนั้น
    ท่านจงขุดลงไปในที่นี้ สหายอีกฝ่ายหนึ่งนั้น เมื่อขุดลงไปแม้ในที่นั้นก็ไม่พบทรัพย์ จึงพูดอย่างนี้
    ว่า ดูกรสหายท่านพูดพล่อยๆ แก่เรา ท่านได้กล่าวคำเท็จกะเราว่า จงขุดลงไปในที่นี้ สหาย
    นั้นก็ตอบอย่างนี้ว่า ดูกรสหาย เราหาได้พูดพล่อยๆ ไม่ หาได้กล่าวคำเท็จไม่ แต่ว่าเราถึง
    ความเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่านไป ซึ่งมิใช่กำหนดรู้ด้วยใจ แม้ฉันใด ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุก็
    ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้มีปกติกล่าวโอ้อวดในคุณวิเศษทั้งหลายว่า เราเข้าปฐมฌานก็ได้ ออก
    ก็ได้ ... เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธก็ได้ ออกก็ได้ พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน
    ผู้ฉลาดในสมาบัติ ผู้ฉลาดในจิตของผู้อื่น ผู้ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น ย่อมไล่เลียง
    สอบถาม ซักถามภิกษุนั้น ภิกษุนั้นอันพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ... ไล่เลียง
    สอบถาม ซักถามอยู่ ย่อมถึงความเป็นผู้เปล่า ไม่มีคุณ ไม่เจริญ พินาศ ความไม่เจริญและ
    ความพินาศ พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ผู้ฉลาดในสมาบัติ ผู้ฉลาดในจิต
    ของผู้อื่น ผู้ฉลาดในอันกำหนดรู้จิตของผู้อื่น กำหนดใจด้วยใจแล้ว กระทำไว้ในใจซึ่งภิกษุนั้น
    อย่างนี้ว่า เพราะเหตุอะไรหนอ ท่านผู้นี้จึงเป็นผู้มีปกติกล่าวโอ้อวดในการบรรลุคุณวิเศษทั้งหลาย
    ว่า เราเข้าปฐมฌานก็ได้ ออกก็ได้ ฯลฯ เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธก็ได้ ออกก็ได้ พระตถาคต
    หรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ผู้ฉลาดในสมาบัติ ผู้ฉลาดในจิตของผู้อื่น ผู้ฉลาดในการ
    กำหนดรู้จิตของผู้อื่น กำหนดใจด้วยใจแล้ว ย่อมรู้ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้ทำให้ขาด
    ทำให้ทะลุ ทำให้ด่าง ทำให้พร้อย ไม่กระทำความเพียรติดต่อ ไม่ประพฤติติดต่อในศีล
    ทั้งหลาย ท่านผู้นี้เป็นผู้ทุศีลตลอดกาลนาน ก็ความเป็นผู้ทุศีลนี้แลเป็นความเสื่อมในธรรม
    วินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว ... ท่านผู้นี้เป็นผู้มีปัญญทราม ก็ความเป็นผู้มีปัญญาทรามนี้แล
    เป็นความเสื่อมในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนั้นแล
    ไม่ละธรรม ๑๐ ประการนี้แล้วจักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่
    จะมีได้ ภิกษุนั้นแล ละธรรม ๑๐ ประการนี้แล้ว จึงจักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรม
    วินัยนี้ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ
    จบสูตรที่ ๕
    อัญญสูตร
     

แชร์หน้านี้

Loading...