เชิญร่วมแชร์ข้อมูลเรื่องราวของ ขุนเจืองธรรมมิกราช มหาราชสองฝั่งโขง

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย อีกาจอมภู, 25 พฤศจิกายน 2014.

  1. อีกาจอมภู

    อีกาจอมภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    244
    ค่าพลัง:
    +137
    ขุนเจืองธรรมมิกราช
    ขุนเจือง ประสูติเมื่อปีพุทธศักราช 1641 เป็นโอรสองค์ที่ 1 ของขุนจอมธรรม เมื่อขุนเจืองเจริญวัยขึ้น ทรงศึกษาวิชายุทธศาสตร์ เช่น วิชาดาบ มวยปล้ำ เพลงชัย จับช้าง จับม้า และเพลงอาวุธต่างๆ พระชนมายุได้ 16 ปี พาบริวารไปคล้องช้างที่เมืองน่านเจ้าผู้ครองเมืองน่านเห็นความสามารถแล้วพอพระทัย ยกธิดาชื่อ “จันทร์เทวี” ให้เป็นชายาขุนเจือง พระชนมายุได้ 17 ปี พาบริวารไปคล้องช้างที่เมืองแพร่ เจ้าผู้ครองเมืองแพร่พอพระทัย จึงยกธิดาชื่อ “นางแก้วกษัตริย์” ให้เป็นชายา พระราชทานช้าง 200 เชือก
    ภายหลังขุนจอมธรรมสิ้นพระชนม์ขุนเจืองได้ครองราชย์สืบแทนเมื่อพระชนมายุ 24 ปี ครองเมืองได้ 6 ปี มีข้าศึกแกว (ญวน) ยกทัพมาประชิดนครเงินยางเชียงแสน ขุนชินผู้เป็นลุง ได้ส่งสาส์นขอให้ส่งไพร่พลไปช่วยขุนเจืองได้รวบรวบรี้พลยกไปชุมนุมกันที่สนามดอนไชยหนองหลวง และเคลื่อนทัพเข้าตีข้าศึกแตกกระจัดกระจายไห เมื่อขุนชินทราบเรื่องก็เลื่อมใสโสมนัสยิ่งนัก ทรงยกธิดาชื่อ “พระนางอั๊วคำคอน” ให้และสละราชสมบัตินครเงินยางเชียงแสนให้ขุนเจืองครองแทนเมื่อขุนเจืองได้ครองราชเมืองเงินยางแล้ว ทรงพระนามว่า “พระยาเจืองธรรมมิกราช” ได้มอบสมบัติให้โอรสชื่อ“ลาวเงินเรือง” ครองเมืองพะเยาแทน หัวเมืองใหญ่น้อยเหนือใต้ยอมอ่อนน้อม ได้ราชธิดาแกวมาเป็นชายานามว่า “นางอู่แก้ว” มีโอรส 3 พระองค์คือ ท้าวผาเรืองยี่คำห้าว ท้าวสามชุมแสง ต่อมายกราชสมบัติเมืองแกวให้ท้าวผาเรือง ให้ท้าวคำห้าวไปครองเมืองล้านช้าง ท้าวสามชุมแสงไปครองเมืองน่าน ต่อมาได้โยธาทัพเข้าตีเมืองต่างๆ ที่ยังไม่ยอมสวามิภักดิ์ ทรงชนช้างกับศัตรูเสียทีข้าศึกเพราะชราภาพ จึงถูกฟันคอขาดและสิ้นพระชนม์บนหลังช้าง พวกทหารจึงนำพระเศียรไปบรรจุไว้ที่พระเจดีย์เมืองหิรัญนครเชียงแสน
    ขุนเจือง ครองราชย์สมบัติครองแค้วนล้านนาไทยได้ 24 ปี ครองเมืองแกวได้ 17 ปี รวมพระชนมายุได้ 67 ปี

    ขุนเจืองธรรมิกราช พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ ลำดับที่ ๒ เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงแสนยานุภาพทางด้านทหารมากที่สุด สามารถรวบรวมและเป็นใหญ่ ในประเทศ ๖ ประเทศในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง ทรงมีพระนามใช้เรียกถึง ๓๓ พระนาม พระองค์ทรงเป็นมหาราช จนชนชาติต่าง ๆ อ้างพระองค์เป็นบรรพบุรุษของตนเอง พระองค์ทรงครองราชย์ ขณะพระชนมายุ ๓๗ พระชันษา ทรงสวรรคตในสนามรบ ด้วยวัย ๖๗ พระชันษาในต่างแดน และเหล่าทหารเข้าต่อสู้และแย่งพระศพได้แล้วนำกลับมา ณ เมืองหิรัญเงินยาง

    ๑.แนวคิดทางสังคมและการเมืองพะเยา

    ๑.๑.จุดมุ่งหมายแห่งรัฐพะเยา

    ในยุคขุนเจืองผู้ซึ่งเป็นนักรบของรัฐพะเยาเป็นบุคคลที่มีบุคลิกที่ต่างไปจากขุนจอมธรรมผู้เป็นพระราชบิดา กล่าวคือพระองค์ทรงเป็นผู้มุ่งมั่นที่จะผนวกเอาดินแดนของอาณาจักรต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกันโดยการขยายพระอำนาจไปสู่อาณาจักรต่าง ๆ ตั้งแต่อาณาจักรภูกามยาว (พะเยา) – อาณาจักรโยนก (หิรัญเงินยาง) – อาณาจักรล้านช้าง (หลวงพระบาง) – อาณาจักรไดแวด (แกว) หรือปัจจุบันคือ เวียดนามตอนเหนือ เป็นต้น

    ดังนั้นพระองค์จึงคิดที่จะรวบรวมบ้านเมือง หรือมีเป้าหมายทางพระราชอำนาจซึ่งในเรื่องดังกล่าวนี้แนวคิดของ จอห์น ล็อค นักปรัชญาชาวอังกฤษก็มีทัศนะที่จะสนับสนุนทฤษฎีการเมืองในทำนองอย่างนี้ว่า จุดมุ่งหมายที่ยิ่งใหญ่และสำคัญที่สุดทางการรวมตัวขึ้นเป็นรัฐ และอยู่ภายใต้รัฐบาลได้แก่การรักษาไว้ซึ่งทรัพย์สิน แนวความคิดนี้ยังสอดคล้องกับสมมติฐานของเขาเองที่ว่าเมื่อมนุษย์ในโลกระยะต้นนั้นยังไม่มีรัฐ มนุษย์อยู่ในภาวะธรรมชาติ ซึ่งแม้จะมีเสรีภาพแต่ก็ขาดความมั่นคง เพราะไม่มีองค์อธิปัตย์ (หรือรัฐบาลกลางที่เป็นศูนย์รวมอำนาจอย่างแท้จริง) ที่จะคอยดูแล และตัดสินใจในเรื่องของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินต่าง ๆ อันเป็นสิ่งที่จอห์น ล็อคเชื่อว่าเป็นชนวนแห่งการพิพาทนานาประการ [1] ซึ่งในเรื่องดังกล่าวนี้ ได้สะท้อนถึงข้อเท็จจริงในระยะเวลาต่อมาเมื่อหมดยุคขุนเจืองธรรมิกราช หรือมหาราชพระองค์นี้แล้ว เหตุการณ์บ้านเมืองของรัฐพะเยา และรัฐที่เคยอยู่ภายใต้พระราชอำนาจของพระองค์ก็ประสบปัญหาขัดแย้งกระทบกระทั่งกันและเกิดการแย่งชิงกันเรื่อยมา โดยตลอดเริ่มปรากฏชัดเจนมากที่สุดในยุคของขุนงำเมืองเป็นต้นมา



    ๑.๒. การแสดงภาวะผู้นำ (Leadership)

    ในเรื่องดังกล่าวนี้ ขุนเจืองธรรมิกราช ได้ทรงฝึกฝนทางด้านศิลปศาสตร์ในแขนงวิชาต่าง ๆ นานานับประการทั้งวิชาการทหารอันมีทั้งเชิงช้าง, เชิงม้า, เพลงอาวุธ, เพลงหอก, เพลงดาบ,การปล้ำ , เชิงมวย เป็นต้น จนชำนาญใช้ได้คล่องแคล่ว และได้ศึกษาถึงวิชาการอื่น ๆ อันได้แก่ การฟ้อน, ประวัติศาสตร์, ภูมิศาสตร์, ผังเมือง, ชัยภูมิเมือง เป็นต้น ซึ่งการศึกษาศิลปวิทยาต่าง ๆ ดังที่กล่าวมานี้พระองค์จึงได้แสดงออกถึงภาวะผู้นำ (Leadership) นั้นก็หมายความว่าพระองค์ได้เข้าไปสร้างหรือส่งเสริมกิจกรรมที่ไปมีอิทธิพลเหนือผู้อื่นเพื่อให้บุคคลเหล่านั้นปฏิบัติงานอย่างเต็มใจและบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน [2] ซึ่งปรากฏออกมาอย่างชัดเจนเมื่อพระองค์ได้ ๑๖ พระชันษาก็ได้เสด็จไปหยั่งเชิง ณ เมืองน่าน (บางตำนานกล่าวว่าเมืองพาน) โดยการเสด็จไปคล้องช้าง กิตติศัพท์ในครั้งนั้นเจ้าผู้ครองเมืองจึงยอม ยกธิดาชื่อจันทเทวี พร้อมช้าง ๑๐๐ เชือกให้กับขุนเจือง

    เมื่อพระองค์มีพระชันษาได้ ๑๗ ก็เสด็จไปเมืองแพร่ เจ้าผู้ครองนครพระนามว่าพระยาภูมิ หรือ พรหมวังสะ เห็นเช่นนั้นจึงยกพระธิดาพระนามว่าแก้วกษัตรี พร้อมช้าง ๑๐๐ เชือกอีก นับได้ว่าการเสด็จไปในที่ต่าง ๆ ของขุนเจืองนั้นเป็นการแสดงถึงพระบรมเดชานุภาพ ที่ไม่ต้องรบแต่สามารถที่จะโน้มน้าวพระราชหฤทัยของเจ้าผู้ครองนครต่าง ๆ ให้มาเป็นสมัครพรรคพวกโดยการส่งมอบบรรณาการเข้ามาสวามิภักดิ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมืองอย่างรัฐน่านและแพร่ซึ่งเป็นรัฐอิสระที่มีความสัมพันธ์กับรัฐสุโขทัยมากกว่าที่จะมีความผูกพันธ์กับรัฐพะเยา

    เมื่อชันษาได้ ๒๘ เกิดศึกแกวประชิดรัฐโยนก เหตุเพราะเวลานั้นขุนเงินสวรรคต ขุนชินขึ้นครองราชแทนพระราชบิดา สถานการณ์ตอนนั้นไม่มั่นคงมากนัก ทำให้เมืองประเทศราช หรืออาณาจักรอื่น ๆ เห็นว่าเป็นโอกาสจึงกรีฑาทัพเข้ามาตีเมืองศูนย์กลางรัฐอย่างหิรัญเงินยาง

    ขุนชินจึงเรียกเหล่าเสนาอามาตย์เข้ามาปรึกษา เมื่อพระองค์ทรงปริวิตกและประเมินกำลังแล้วจะเสียเมืองแน่ พระองค์จึงแสวงหาทางออกที่ดีที่สุด และบรรดาเหล่าแม่ทัพนายกองเห็นฟ้องต้องกันที่จะอัญเชิญขุนเจืองเสด็จมาช่วยรบโดยได้ยกเหตุผลชี้แจงความจำเป็นต่าง ๆ ว่าจะเสียเมืองให้แก่คนอื่น สู้ยกให้หลานตัวเองคือขุนเจืองดีกว่า จึงได้ส่งหมื่นพิจิตรไปแจ้งแก่ขุนเจือง ณ เมืองภูกามยาวพร้อมกับได้ให้สัญญาว่าบำเหน็จรางวัลโดยจะยกเมืองให้ครองด้วย

    หน่วยข่าวกรอง(สมัยนั้นเรียกว่า -อุปนิขิต)แจ้งว่า ท้าวกวา และ แองกา มีกองทัพที่มีกำลังพลมากถึง ๓ ล้านนาย และมีเสบียงที่สามารถอยู่สู้รบกับเมืองหิรัญเงินยางได้นานถึง ๓ ปีและกษัตริย์ผู้นำทัพแกวมุ่งจะเอาชนะอย่างเดียวถึงกับลั่นสัจจะวาจาและตั้งปณิธานไว้ว่าถ้าไม่สามารถตีเอาเมืองได้จะไม่เสด็จกลับเมืองแกว ยิ่งทำให้ผู้นำรัฐอื่น ๆ ต่างหวาดผวาและเกรงกลัวบารมีกันมาก แต่ขุนเจืองกลับมีใจหึกเหิมอยากที่จะเข้าสู่สนามรบ และเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ขุนเจืองจะใช้เป็นข้ออ้างในการรวบรวมรัฐต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ให้เป็นปึกแผ่นเดียวกัน



    ๑.๓.เป้าหมายทางยุทธศาสตร์

    ในยุคขุนเจืองการเมืองการปกครองยังเป็นแบบนครรัฐ (City State) ยังไม่มีรัฐใดเป็นศูนย์กลางปกครองอย่างแท้จริง ที่มีก็เป็นเพียงความสัมพันธ์เฉพาะตัวของกษัตริย์เมื่อสิ้นรัชสมัยก็จะมีการเปลี่ยนผู้นำใหม่เปลี่ยนเมืองศูนย์กลางใหม่ทั้งนี้กษัตริย์พระองค์ไหนมีความเข้มแข็งกว่า มีความสามารถมากกว่าก็จะทำการปราบปราบใหม่อีกครั้งหนึ่ง จุดนี้เองขุนเจืองจึงมองเหตุการณ์แกวประชิดเมืองหิรัฐเงินยางเป็นโอกาสอันดีที่จะแสดงฝีมือทางการทหารให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาผู้คน และพระองค์มีเป้าหมายที่จะสร้างรัฐพะเยาให้เป็นศูนย์กลางการเมืองการปกครองให้ได้ การได้ช้างพานคำและคำทำนายที่ว่าจะสามารถปราบเมืองได้ครึ่งทวีปนั้นก็เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับทหารเป็นอย่างดี นับได้ว่าขุนเจืองทรงมีพฤติกรรมทางการเมืองระหว่างรัฐคือการปราบปรามและรวบรวมบ้านเมืองให้เป็นปึกแผ่นโดยมีผู้นำคนเดียวกันภายใต้กฏระเบียบอันเดียวกันเพื่อความสงบประโยชน์และความผาสุขแก่ประชาชนในภูมิภาคนี้



    ๒.การสร้างอาณาจักร

    ๒.๑.หลักการในการสร้างอาณาจักร

    ในหลักการทั้ง ๕ ประการนี้นักการทหารผู้ยิ่งใหญ่ชาวจีน อย่างซุนวู ได้ให้หลักการทั้ง ๕ เอาไว้เพื่อตรวจสอบตัวเองและสามารถทำการประเมินกำลังพร้อมทั้งสถานการณ์ต่าง ๆ ดังนี้ คือหลักการปกครอง , หลักดินฟ้าอากาศ , หลักภูมิประเทศ , หลักแม่ทัพ และหลักระเบียบวินัย [3] ซึ่งจะได้อธิบายต่อไป

    ๑.หลักแห่งการปกครอง

    หลักการนี้จะประกอบไปด้วยการสร้างแนวความคิดและความเชื่อร่วมกันระหว่างผู้ปกครองและประชาชนว่า รัฐ หรือรัฐบาลซึ่งหมายถึงตัวพ่อขุนนั้นมีเป้าหมายแห่งรัฐอย่างไร ? และเพื่ออะไร ? ในตำนานไม่ปรากฏว่าขุนเจืองจะมีเป้าหมายที่ชัดเจน แต่กระนั้นหากเข้าไปศึกษาถึงพฤติกรรมจากอัตชีวะประวัติของพระองค์แล้ว จะได้แนวคิดดังนี้ ในยุคนครรัฐ เมื่อผู้ครองรัฐเดิมเสื่อมอำนาจ หรือผลัดเปลี่ยนเจ้าผู้ครองรัฐ จะมีการยกทัพมาแย่งชิง หรือประลองกำลัง โดยแต่ละรัฐจะมีอิสระทั้งการปกครองและนโยบาย ข้อนี้ขุนเจืองธรรมิกราชได้ตระหนักถึงความจำเป็นที่จะกำราบรัฐแกวเพราะเมืองหิรัญเงินยางนี้นับได้ว่าเป็นศูนย์กลางของรัฐของสมเด็จปู่คือขุนเงินจึงอาสาสู้ศึกในครั้งนี้ด้วย และต้องการที่จะให้รัฐเหล่านั้นให้เชื่อฟังและมีกฏเกณฑ์เดียวกัน สังคมเดียวกัน โดยการปราบปราม, ยึดครอง,รวบรวม และมอบหมายให้เจ้าผู้ครองเดิมได้ปกครองต่อไป ดังปรากฏในระยะเวลาต่อมาว่าแต่ละรัฐมักอ้างขุนเจืองเป็นบรรพบุรุษแห่งตน [4]

    ๒.หลักของดินฟ้าอากาศ

    ในหลักการข้อนี้สภาพความแปรปรวนของดินฟ้าอากาศทำให้ผู้คนในยุคนั้นที่มีความเชื่อในเรื่องไสยาศาสตร์ เช่น เรื่องเกี่ยวกับผี วิญญาณและเทพเจ้า เป็นแนวคิดดั่งเดิมอยู่แล้ว เช่น ชนพื้นเมือง โดยเฉพาะผู้คนในแถบถิ่นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง มักจะนับถือผี หรือเชื่อว่าเหตุการณ์ต่างคือผีเป็นผู้กระทำ เช่นผีแม่น้ำ ผีภูเขา ผีบ้าน ผีเรือน เป็นต้น, จีนเชื่อเรื่องฟ้าลิขิต หรือบงการชีวิตมนุษย์ เวลาจะคิดจะทำอะไรก็อิงอาศัยฟ้าหรือสวรรค์ที่อยู่เบื้องบนเพราะท่านได้จับตามองดูเราอยู่ตลอดเวลา แม้ฮ่องเต้ก็ยังถือว่าถูกประทานมาจากฟ้า หรือเป็นโอรสสวรรค์ [5] หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือเชื่อนิมิต เป็นหลักในการสร้างขวัญและกำลังใจ ในยุคขุนเจืองได้สร้างนิมิตเพื่อเสริมบารมีพระองค์ และสร้างความหึกเหิมให้กับกำลังพล ในตอนที่ได้ช้างพานคำ ดังนี้

    ในราตรีหนึ่งขุนเจืองทรงพระสุบินว่า เทวดามาบอกให้ว่าช้างจะล่องน้ำมา ถ้าพระองค์จับเอาตัวแรกจักได้ปราบเมืองตลอดทวีปทั้ง ๔ ถ้าทรงจับตัวที่ ๒ จักได้ปราบเอาชมภูทวีป ถ้าทรงจับเอาตัวที่ ๓ จักปราบได้กึ่งทวีป ดังนั้นจงให้รออยู่บริเวณท่าน้ำ ในเรื่องดังกล่าวนี้พระยาอนุมานราชธน (เสฐียรโกเศศ) อ้างในพระธรรมวิมลโมลี ว่าก่อนที่ขุนเจื๋องจะได้ช้างพานคำตัวนี้ ในวันหนึ่งเวลาใกล้รุ่งมีเทวดามาบอกว่าถ้ามหาราชอยากได้ช้างเผือกตัวประเสริฐ ซึ่งมีอยู่ ๓ ตัว คือ

    ตัวที่หนึ่งชื่อว่า งาไฟ ครั้นเดินทางไปทางไหนไฟจะไหม้ที่นั้น

    ตัวที่สอง ชื่อ อ้ายก่ำงาเขียวแทงทีเดียวตายทั้งหมู่

    ตัวที่สามชื่อว่า พานคำ จักนำท่านไปปราบทวีปใต้ ท่านต้องการตัวไหนก็ให้คัดเลือกเอาตามใจเถิด ในทันใดนั้นขุนเจืองก็ทรงลั่นพระวาจาว่า เราจะเอาช้างพานคำ ฝ่ายเทวดากล่าวต่อไปว่า พรุ่งนี้เช้าท่านจงไปคอยอยู่ที่ท่าน้ำแม่คำ คอยจับเอาเถิด พอวันรุ่งขึ้นเวลาเช้าขุนเจืองก็ไปคอย ณ ท่าน้ำ พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นพญานาค ๓ ตัวล่องมาตามลำน้ำแม่คำ ตัวที่ ๑ และ ๒ เลยไปจึงจับไม่ได้ พอถึงตัวที่ ๓ ล่องมาก็ลงจับเอาพอจับได้นาคนั้นก็กลายเป็นช้างทันทีจึงนำเข้าสู่ตัวเมือง ต่อมาให้ชื่อว่า ช้างพานคำ [6]



    ๓.หลักของภูมิประเทศ

    ในหลักนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างภูมิศาสตร์-รัฐศาสตร์ การคำนวนหนทาง, ระยะทาง และพื้นที่ หรือชัยภูมิในการเดินทัพ ด้วยเหตุที่ขุนเจืองธรรมิกราชได้มีการทำศึกสงครามติดพันและมีการสู้รบตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์นี้เอง ในหนังสือเรื่องของชนชาติไทย พระยาอนุมานราชธน (เสฐียรโกเศศ) อ้างในพระธรรมวิมลโมลี ว่า ตอนที่ขุนเจืองนำกองทัพบุกตีเมืองต่างๆ ประกอบไปด้วย เมืองโกสัมพี, เมืองคริงคราษฎร์, เมืองสาวัตถี, เมืองหงสาวดี, เมืองอโยธยา, เมืองจันทบุรี, ล้านช้าง และแกวแมนตาตอก หรือเขมรดำ [7] หรืออย่างยกทัพไปช่วยเขมรทำศึกกับจาม เป็นต้น

    ๔.หลักแห่งแม่ทัพ

    หลักการข้อนี้ขุนเจืองได้นำทัพไปปราบ และถึงลาว, พม่าบางส่วน, จีนตอนใต้, เวียดนามตอนเหนือ และยังมีการส่งกำลังทัพไปช่วยเขมรรบอีกด้วยในฐานะเป็นพันธมิตรต่อกัน นับได้ว่าขุนเจืองธรรมิกราชพระองค์นี้ พระองค์ทรงมีกองทัพอันเกรียงไกร แม้จะไม่ปรากฏว่าชื่อขุนศึกที่เด่น ๆ ก็ตาม แต่ความมีกองทัพอันเข้มแข็งอย่างนี้จึงต้องประกอบไปด้วยแม่ทัพนายกองที่มีความสามารถทั้งทางด้านการรบ, สติปัญญาที่สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้, มีความกล้าหาญชาญชัย, มีความเข้มงวดกวดขัน และที่สำคัญคือความเด็ดขาด ซึ่งบั้นปลายชีวิตของพระองค์ ๆ สู้รบจนสวรรคตในสนามรบ กองทัพหรือแม่ทัพนายกองของพระองค์ไม่ได้ตื่นตกใจกลัวอย่างรนลานจนหลบหนี หรือถอยทัพอย่างไม่เป็นขบวน หากแต่เป็นการเข้าไปต่อสู้แล้วแย่งพระศพนำกลับมายังเมืองหิรัญเงินยาง และแพ้เพราะผู้นำตายมิใช่แพ้แบบเสียกระบวนทัพ ซึ่งแม่ทัพนายกองเหล่านี้ต้องมีความพร้อมและกล้าหาญ มีสติปัญญาและที่จะออกรบตลอดเวลา (-ดูเสียมกุก กองทัพสยามที่ปราสาทนครวัด ของจิตร ภูมิศักดิ์ เพิ่มเติม )

    ๕.หลักระเบียบวินัย

    หลักการนี้ถือเป็นสุดยอดของกองทัพของขุนเจืองเพราะทหารมีระเบียบวินัย, มีการจัดกระบวนทัพที่ดี, การแต่งกาย, มีอาวุธยุทโธปกรณ์พร้อม จนขุนเจืองจอมทัพสยามลุ่มน้ำกกได้พระนามและการกล่าวถึงพระองค์ ๓๓ พระนาม โดยมีประเทศที่อยู่ในอาณาเขตพระราชอำนาจของขุนเจืองถึง ๖ ประเทศในแถบถิ่นลุ่มน้ำโขง ประกอบไปด้วยบางส่วนของไทย, พม่า, ลาว,จีน,เวียดนาม และเขมร
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. อีกาจอมภู

    อีกาจอมภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    244
    ค่าพลัง:
    +137
    ทาวรุงหรือเจืองเปนที่รูจักกันแพรหลายในกลุมคนไทยเผาตาง ๆ ชื่อของทาวรุงหรือเจืองที่ปรากฏ
    ตามตํานาน พงศาวดาร มีทั้งสิ้น ๙ เรื่อง ไดแก ตํานานพื้นเมืองสิบสองปนนา ตํานานพื้นเมืองพะเยา
    จดหมายเหตุโหร ตํานานพื้นเมืองเชียงใหม ตํานานพระยาเจือง พงศาวดารเงินยางเชียงแสน พงศาวดาร
    โยนก ลําดับเจาแผนดินแสนหวีและตํานานสิงหนวัติจากขอมูลที่พบในวรรณกรรมทั้ง ๙ เรื่องนี้
    สันนิษฐานไดวาลําดับอายุของทาวเจืองนาจะมีชีวิตอยูในชวงระหวางพุทธศักราชที่ ๑๖ - ๑๘ และตายเมื่อมี
    อายุประมาณ ๗๔ - ๘๐ ป (ประเสริฐ ณ นคร: ๒๕๔๑, ๒๖๓–๒๖๔)
    ในตํานานพระยาเจือง ฉบับที่สอบชําระโดยมหาสีลา วีรวงส ไดกลาวถึงวันเกิดของพระยา
    เจือง มีเนื้อความวา
    วันนี้เจาหนอแกวจอมมิ่ง มเหสี
    ผายอุทรประสูติกุ - มารแกว
    รัศมีเพี้ยงพรหมเขียน โสมราบ
    งามเลิศแลวลือล้ํา โลกคน ฯ
    โสภาพรอมโดยดั่ง อินทรแปลง
    ยามยลคือแทงทอง โลมไล
    เมื่อนั้น องคกษัตริยไทแพงเมือง ชมชื่น
    ดีแก สูรยสองพนเรียวไม รุงมาฯ
    เมื่อนั้น ทุกที่ใหโรมรอด หมอโหร
    เขาก็ ยอกระดานหินวาดดู กงแกว
    ชาตาไดอัครราศี เรียงรวม
    ราหูผาดผายผันใกล รวมจันทรฯ
    นักขัตฤกษไดดาวใหญ วิสาขะ
    ลัคนจอมจันอยูมีน เรียงมั่น
    อาทิตยจันทรเสารพรอมพุธเนา ในเมษ
    ดาวเสตฉัตรเลากั้งกวมไว ขวงเพียงฯ
    วิเศษสรอยพระศุกรเนง ในดุล
    ดาวพระหัสเนาในกรกฎรวมเรียง กงแกว2
    อังคารเขาสูนมังกร เนาเนง
    ราหูแผนแผวรั้ง รวมกุมภฯ
    อันนึ่งเยียววา ทุกขแตนอยแพพอ เดียวลุน
    ปุนปเดือนใหญสูง สอนหนา
    หอมพลไรนาคอง แคนคั่ง
    แกวกําพราภายหนา หากจักขวาง
    ยังจัก มีโชคซ้ําไดผาน สามเมือง
    อันวา นาคองหลังบจา จงสราง
    เขาก็ ยอกรนอมวันทา ทูลบาท
    ตานแม  นแมงเกณฑไซ ตําราฯ (มหาสีลาวีรวงศ: ม.ป.ท., ๑-๒)
    จากบทพรรณนาถึงวันเกิดของทาวเจืองในตํานานพระยาเจืองก็จะเขียนเปนดวงชาตาราศีเกิดของ
    ทาวเจืองไดดังนี้
    ดวงชะตาเกิดทาวเจองื
    พฤษภ เมษมีน
    ๑๒๔๗ ล
    เมถุน ๘ กุมภ 
    ๕ ๓
    กรกฎ มังกร
    สิงห ธนู

    กันย ตุล พิจิก
    ฤกษที่๑๖ วิสาข
    ดาวพระเคราะหอยูในราศีดังนี้
    ๑ พระอาทิตย  อยูในราศี เมษ ๖ พระศุกร  อยูในราศี ตลุ
    ๒ พระจันทร  อยูในราศี เมษ ๗ พระเสาร  อยูในราศี เมษ
    ๓ พระอังคาร อยูในราศี มังกร ๘ ราหู อยูในราศี กุมภ
    ๔ พระพธุ อยูในราศี เมษ ลัคนา อยูในราศี มีน
    ๕ พระพฤหัสบดี อยูในราศี กรกฎ 3
    นอกจากนี้แลวในบทพรรณนาได  กลาวถึงวันเกิดของทาวเจืองวา
    เขาก็ นบนอบทาวแลวเลา แถลงสาร
    นามกรบาชื่อขาน ขนันใต
    อังคารแมงแวนด ี แข็งขม
    สิบหาค่ําไดเดือนหา รวมเพ็งฯ (มหาสีลาวีรวงศ: ม.ป.ท., ๔)
    จากบทพรรณาชะตา และวันเกิดของทาวเจืองจากตํานานพระยาเจืองก็จะไดวา ทาวเจืองเกิดวัน
    อังคาร เพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ํา เดือนหาวิสาขฤกษ (ดาวคันฉัตร มี๕ ดวง) เนื้อความที่เกี่ยวกับทาวเจืองในหนังสือ
    พื้นเมืองเชียงใหมกลาววา ไดทาวเจืองประกอบพิธีราชาภิเษกในปกาบยีเดือน ๔ ขึ้น ๙ ค่ํา วันอังคาร ยาม
    กลองงายศักราช ๔๙๖ เมื่ออายุได๓๙ ปเปนพระยาปราบสองเมืองครองเมืองเงินยางเชียงลาว ๑๔ ปเมือง
    แกวพระกัน ๑๗ ปและสิ้นพระชนมเมื่ออายุ๗๐ ปสวนในตํานานสิบหาราชวงศกลาววาขุนเจืองอายุได
    ๓๖ ปไดเปนพระยาปราบสองเมืองอยูเมืองเงินยาง ๔ ปเมืองแกวพระกัน ๑๗ ปและสิ้นพระชนมเมื่ออายุ
    ๗๗ ปดังนั้น ถาถือเอาตามตํานานสิบหาราชวงศและตํานานพระยาเจืองฉบับมหาสีลา วีรวงสก็อาจจะ
    สันนิษฐานไดวา วันเดือนปเกิดของทาวเจืองคือเกิดเมื่อวันอังคาร เพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ํา เดือน ๕ วิสาขฤกษป
    กาบไจจ.ศ. ๔๔๖ (พ.ศ.๑๖๒๗) ราชาภิเษกวันอังคาร ขึ้น ๙ ค่ํา เดือน ๔ ปกาบสีจ.ศ. ๔๘๖ (พ.ศ. ๑๖๖๗)
    และสิ้นพระชนมเมื่ออายุได๗๗ ปในปรวงไส จ.ศ. ๕๒๓ (พ.ศ. ๑๗๐๔) นั้นเอง
     
  3. อีกาจอมภู

    อีกาจอมภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    244
    ค่าพลัง:
    +137
    ฉบับถอดความ

    ในตำนานพื้นเวียงเจียงใหม่ผูกต้นว่าไว้ดั่งนิ ; เมื่ออั้นพระยาเจืองหันริพล แกวแมนมากนักขุนเจืองบ่อเกยหนีข้าเสิก จิ่งขี่จ๊างแก้วตั่วหาญถ้าจนเสิก ท้าวจิ่งฮีบแก้เสื้อส่งหื้อคนใจ๊ เอาคืนมาหื้แก่นางอมราเทวี ยังเมืองเจียงลาวเงินยางไว้ดมกลิ่ร กับหื้อบอกแกล่ลูกตัวเจ้าขุนเงินเฮืองหื้ฮู้ นางอมราเทวีก่อฮับเอาเสื้อเจ้าพระยาเจืองผัวฮักแห่งตนหอบกับอก แล้วจิ่งบอกกล่าวเหตุลางแกล่คนใจ๊ว่า ตูอยู่บ้านหันเหตุลางดั่งนิ กี่หรูกอยู่เฮือนเต้นตกล่างเป๋นควายหลายตัวเข้าจนขอกฮั้วถ้วยลายงามเต้นต้นล่าง กลายเป๋นลิ่นแลนลี้แคกก้อนผา จายคากลายเป๋นต่อแตนบินเคล้า เผิ้งซลาบเข้าในมองแปงฮัง ฝนห่าหลวงตกไหลหลั่งบ่อเอิ้นบ่อยั้งได้พอซาววัน ฮิมว่าขอบนาเกลิ่รค้าน พูดอยอยูดพังคลาดคลา ก้อรหรินผากลายเป๋นเงือก ดิ้นดุกเดือกไป เนื้อมิคคาคือกวางฟานเข้าผ่านบ้าน กบเขียดอวานกันเข้าเมือง ปลิงดำตั๋วเท่าเฮือออกแอ่วเหล้นกลิ้งเกลือกตัวตามบก เสื้อโคร่งหกเข้าเสียงใหย่ไข่ลูกเขียวมีลูก ๒ ตัว บัดนี้สูมาบอกขร่าวเหมือนลางฮอยพระยาเจ้าบ่เกยหนีเสิก ขึ้นขี่จ๊างแก้วตัวใหย่ข่างพล ฮอยตกหล่มเสียแกล่ท่านชะรือ เฮาถ้าฟังเมื่อเดือน ๔ กูจักส้อมผีอารักษ์ใหย่ หื้อไปไต่ฮักษา พระยาเต้าตนเป๋นผัวฮักแห่งกูชะแล ยามนั้นฝูงแกวแลแมนตาทอก เอาริพลตั้งหน้าอยู่ถ้าดารบขุนเจืองยกพลเข้าท้าย ฝูงแกวแมนเอาริพลเข้ากุมหลูบเอาพรญาเจืองข้าตายที่ขัวหริม พรยาเจืองตายที่อั้น ริพลพรญาเจืองมีติ้วตื้อ ๗ ล้าน เข้ากุมเอาซากพรยาเจืองได้ย แล้วเอาใส่จ้างแก้วออกมาเมือง เอาคราบเจ้ามาสิ้งสการยังเมืองเงินยางวันอั้นแล ขุนเจืองอายุได้ ๓๙ ได้ยเป๋นพรยาปราบเมือง ๒ เมือง อยู่เมืองเงินยาง ๒๓ ปีอยู่เมืองแกวพระกัน ๑๗ ปี อายุได้ ๗๗ ปี ไปสู่ปรโลก ๑๙ ชั่วราชวงษ์แล

    ฉบับแปลความ

    เมื่อนั้นพระยาเจืองเห็นรี้พลของพวกแกวแมนมากนัก ขุนเจืองไม่เคยหนีข้าศึก จึงได้เตรียมตัวที่จะไสช้างของตนเข้าสู้ โดยได้ถอดเสื้อของตนออกส่งแก่คนใช้กลับไปยังเมืองเชียงลาวเงินยาง เพื่อให้นำไปมอบแก่นางอมราเทวีผู้เป็นมเหสีไว้ดูต่างหากหน้าหากผิดพลาดประการใดขึ้น และบอกแก่ขุนเงินเฮือนผู้เป็นบุตรให้รู้ด้วย

    เมื่อนางอมราเทวีได้รับเสื้อก็รับเอามาแนบกับอก และตรัสว่า ตนเองอยู่ที่เมืองนี้ได้เห็นเหตุลางนิมิตเกี่ยวกับพระยาเจือง คือ กี่หูกอยู่บนเรือนก็สั่นแล้วตกพื้นกลายเป็นควายหลายตัววิ่งเข้าชนรั้ว ถ้วยลายงามก็กลายเป็นตัวแลนวิ่งหนีไปตามซอกผา ชายคาก็กลายเป็นต่อแตนบินว่อน ผึ้งก็พากันสร้างรัง ฝนห่าใหญ่ตกไม่บอกไม่กล่าวอยู่ยี่สิบวันจนขอบนาปริ่มน้ำ ก้อนหินผาก็กลายเป็นเงือกดิ้นไปดิ้นมา กวางฟานก็วิ่งเข้ามาในย่านผู้คน กบเขียดอลหม่านทั่วเมือง ปลิงตัวเท่าลำเรือก็กลิ้งเกลือกเล่นอยู่บนบก เสือโคร่งออกลูกเป็นไข่ มีลูก ๒ ตัว

    นางตรัสกับคนใช้ว่า เมื่อเจ้ามาบอกกับข้าเช่นนี้ ก็เป็นเหมือนดังที่เห็นเหตุลางนิมิต เพราะพระยาเจืองสามีของข้านั้นไม่เคยกลัวข้าศึก จะต้องไสช้างไปสู้ด้วยเป็นแน่ หากถึงเดือน ๔ เมื่อไร ตนจะทำพิธีบรวงสรวงให้เทพอารักษ์ ไปคอยดูแลสามีของตน

    ครั้นมาถึงตัวพระยาเจืองบ้าง เมื่อไสช้างเข้าไปก็พบว่าทหารของแกวแมนได้ตั้งแถวดาหน้าล้อมเข้ามาทั้งด้านหน้าด้านหลัง สุดท้ายก็ถูกฆ่าตายอยู่ที่นั่น ตัวพระยาเจืองมีไพร่พลถึง ๗ ล้านคน ก็บุกเข้าไปแย่งชิงเอาพระศพมาจนได้ แล้วนำขึ้นช้างกลับไปสู่เมืองในวันเดียวกันนั้นแล

    ขุนเจืองเมื่ออายุได้ ๓๙ ปี ได้เป็นพระยาปราบเมือง ครองเมือง 2 เมือง ประทับอยู่ที่เมืองเงินยาง ๒๓ ปี และประทับที่เมืองแกวพระกัน ๑๗ ปี ศิริรวมพระชนมายุเมื่อไปปรโลกได้ ๗๗ ปี สืบสกุลถัดจากพระองค์ได้ ๑๙ ราชวงศ์

    คำอธิบาย

    บท”เหตุลางอันพระยาเจืองถูกแกวแมนข้าตาย” นี้ ผู้เขียนถอดความและแปลความมาจากอักษรธัมม์ ใน “สรรนิพนธ์ล้านนาคดี เล่ม ๑” ของกลุ่มใบลานจารธัมม์ วัดอุโมงค์ -: ฉะนั้นการถอดความจะแตกต่างกัน เนื่องจากผู้เขียนจะเปลี่ยนแปลงคำให้น้อยที่สุดตามหลักการปริวรรติเพื่อให้เข้าใจวิธีการเขียนอักษรธัมม์ในสมัยโบราณได้ง่ายขึ้น (ทางแหล่งที่มาไม่ได้อธิบายว่ามาจากตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ฉบับใด ผู้เขียนจะติดต่อและนำมาแจ้งให้ทราบโดยเร็ว)

    “แกวแมน” นั้นน่าจะหมายถึง “กษัตริย์ของพวกแกวหรือญวณ” เนื่องจากคนอีสานและล้านนามักจะเรียกคนญวนว่าแกวอยู่บ่อยครั้ง และคำว่า
    “แมน” นั้นหมายถึง “ฟ้า” หรือ “สวรรค์” อย่างเช่นคำไทยว่า “เมืองแมน” เป็นต้น ในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่บางฉบับจะกล่าวถึง “แกวแมน” ในที่นี้ด้วยชื่อว่า “ผีแมนตาฮอกขอกฟ้าตายืน” คำว่าผีแมน ก็มีนัยยะเดียวกับ ผีฟ้า ซึ่งหมายถึงผีของกษัตริย์ และหมายถึงตัวกษัตริย์ด้วย

    “เมืองเชียงลาวเงินยาง” น่าจะหมายถึง “หิรัญนครเงินยางเสียงแสน” ซึ่งยังเรียกอีกชื่อได้ว่า “เชียงแสน” หรือ “เงินยาง” ตามเดิมนั้นเป็นชื่อเมืองเปิกษา แต่ให้ชื่อใหม่โดยพรญาลาวจกต้นราชวงศ์ลวจักราช หรือราชวงศ์ลาว
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 151109.gif
      151109.gif
      ขนาดไฟล์:
      29 KB
      เปิดดู:
      399
  4. อีกาจอมภู

    อีกาจอมภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    244
    ค่าพลัง:
    +137
    พญาลวจงกราช

    ลือชาไปทั่วทุกสาระทิศว่า พญาเทวราชเจ้าจากเมืองฟ้าลงมาเกิดเป็น พญาลวจงกราช กินสมบัติอยู่เมืองเงินยาง อันได้ชื่อว่ามีต้นไม้เปลือกขาวดั่งเงินตั้งอยู่กลางยาง (ป่าไม้) หรือ บางทีก็เรียกเมืองยางเงิน ไชยวรนคร เมืองยางคปุระ ผู้คนทั้งหลายต่างนำเครื่องบรรณาการมาถวาย แล้วขออยู่เป็นข้าราชบริพารแห่งพญานั้น พญาลว-จงกราชก่อร่างสร้างบ้านเมืองกว้างขวาง เรือกสวนไร่นา เหมืองฝาย เสนาอมาตย์ทั้งหลายพร้อมใจกันกระทำพิธียกขึ้นเป็นพญามหากษัตริย์ มีเดชฤทธิ์มากมายนัก ครองราชย์โดยธรรมสืบมา

    พญามีลูกชาย 3 คน คนพี่ชื่อลาวครอบ คนกลางชื่อลาวช้าง ผู้หล้าชื่อว่า ลาวเก้าแก้วมาเมือง อันว่าลูกผู้สุดท้องนี้ฉลาดเฉลียวยิ่งกว่าพี่ทั้งสอง วันหนึ่ง ราชบุตรทั้งสามชวนกันไปหาปูในลำห้วย เห็นรอยปูหนึ่งใหญ่นัก จึงล่องไปตามห้วยนั้น จนสุดที่ดอยแห่งหนึ่ง เห็นรอยปูเข้าไปในนั้น

    ราชบุตรทั้งสามปรึกษากันว่า จะต้องนำปูนี้กลับไปถวายพระราชบิดา ลาวครอบกับลาวช้างคิดกลั่นแกล้งน้องหล้า หลอกให้ไปกางกั้นดักปูอยู่กลางน้ำ หากปูล่องมาให้เอาค้อนฆ่าปูเสีย แล้วพี่ทั้งสองขุดรูปูเข้าไปเจอพื้นผา จึงเอาหินก้อนหนึ่งอุดไว้ แล้วลี้กลับเมือง หาบอกกล่าวน้องไม่ จนเย็นย่ำ ลาวเก้าแก้วมาเมืองร้องเรียกหาพี่ทั้งสอง "ได้ปูได้ว่าบ่ได้" ได้ยินเสียงสะท้อนก้องห้วย นึกว่าเป็นพี่ชายตอบรับ จนตะวันตกดิน ก็ไม่เห็นปูออกมา จึงขึ้นไปตามหาเจ้าพี่ทั้งสอง หามีผู้ใดอยู่ไม่ มีแต่ก้อนหินอุดรูปูไว้

    ลาวเก้าแก้วมาเมืองเคียดแค้น จ่มว่าพี่ชายทั้งสองชวนกันมาหากิน กลับมาหลอกกันให้นั่งเฝ้า ได้ก็ไม่บอก ไม่ได้ก็ไม่บอก หนำซ้ำหนีกลับไปก่อน เมื่อกลับไปถึงเมือง ยกมือไหว้พระราชบิดา ลูกทั้งสามเห็นจะอยู่ร่วมกันไม่ได้ ขอพระบิดาท่านแยกย้ายให้ไปปลูกบ้านแปงเมืองเถิด

    พญาลวจงกราชผู้พ่อจึงได้สร้างบ้านแห่งหนึ่งกว้างขวางนัก ชื่อบ้านถ้ำต่อ ให้ลาวครอบไปอยู่ และสร้างอีกแห่งหนึ่ง ชื่อว่า บ้านคา ให้ลาวช้างอยู่ ส่วนลูกหล้าผู้เป็นลูกรักนั้น พ่อสร้างบ้านแห่งหนึ่งใกล้ผาเลากว้างขวาง ชื่อว่าบ้านผาเลาให้เจ้าไปอยู่ พญาพ่อยังได้แบ่งข้าวของเงินคำ ช้าง ม้า ข้าคน ไพร่ ไท แก่ลูกทั้งสามเสมอกัน

    พญาลาวจงหรือลวจงกราชเสวยราชสมบัติ อำนวยความอยู่เย็นเป็นสุขแก่ประชาราษฎร์ จนอายุได้ 120 ปี ก็ไปสู่ปรโลก ลาวเก้าแก้วมาเมืองราชบุตรผู้หล้าอายุได้ 41 ปี ได้ครองเมืองสืบต่อพญาผู้พ่อเป็นเวลา 45 ปี จึงไปสู่ปรโลก ส่วนราชบุตรผู้พี่ทั้งสอง คือ ลาวครอบ กับ ลาวช้างนั้น หาได้มาครองเมืองสืบต่อไม่

    ลูกชายของลาวเก้าแก้วมาเมืองชื่อ ลาวเสาอายุได้ 35 ปี ได้กินเมืองแทนพ่อ จากนั้นลูกชายชื่อลาวตังได้กินต่อ จากลาวตังแล้ว ลาวกม ลาวกับ ลาวกืน ลาวเคียง ก็กินเมืองสืบทอดกันมา อันว่า ลาวเคียง อายุ 37 ปี ผู้นี้ เป็นผู้ใจกว้างขวาง สร้างบ้านแปงเมืองอย่างฉลาด วันหนึ่งไปเที่ยวดูบ้านเมืองป่ายางทั้งหลาย เห็นต้นไม้สลีต้นหนึ่งเปลือกเป็นสีขาวดังเงิน อยู่ในบ้านยางเสี้ยว (สันนิษฐานว่าอาจตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำสาย อ.แม่สาย จ.เชียงราย) ใกล้กับแม่น้ำละว้า (แม่น้ำของชาวละว้า หรือลัวะ) บัดนี้ เรียกว่าแม่น้ำแม่สาย เป็นที่จำเริญใจนัก จึงสร้างเวียงตั้งบ้าน

    ลาวเคียงอายุได้ 63 ปี ก็ไปสู่ปรโลก จากนั้นลาวกืน (หรือลาวคริว) ลาวทึง ลาวเทิง ลาวตน ลาวโสม ลาวกวก ลาวกวิน ลาวจง ก็กินเมืองสืบต่อมา ลาวจง มีลูก 2 คน ผู้พี่ชื่อลาวชืน ผู้น้องชื่อ จอมผาเรือง ผู้พี่เป็นพญาแทนพ่อได้ 18 ปี จากนั้นไปสู่ปรโลก ส่วนลูกของจอมผาเรืองชื่อ ขุนเจือง (เป็นวีรกษัตริย์ของชาวไทลื้อในสิบสองปันนา ล้านนา ลาว และเวียดนาม) อายุได้ 37 ปี ก็ขึ้นเป็นพญาแทนพ่อ เจ้าพญาเจืองมีลูกชื่อขุนเงินเรือง ส่วนลาวชืนผู้เป็นลุงของเจ้าพญาเจืองมีลูกหญิงผู้หนึ่งชื่อ นางอัวคำคอนเมือง (อัว หรืออั้ว เป็นคำนำหน้าเรียกลูกสาวคนที่ 5)

    พญาเจือง

    นางอัวคำขึ้นใหญ่เป็นสาวรูปงามถูกต้องตามลักษณะอิสตรีทุกประการ ความงามของนางระบือไปถึงเมืองฮ่อ (ชาวจีนในมณฑลยูนนาน) เมืองพระกัน (ทางตอนเหนือเวียดนาม) เมืองแกว (เวียดนาม) พญาแกวชื่อท้าวกวารู้ข่าวก็ให้เอาบรรณาการของฝากมาถวายหมายเอานางอยู่สองสามครั้ง พ่อนางก็ไม่ยอมให้ ขัดใจนัก ท้าวกวารี้พลมา จักรบชิงเอานาง เมื่อนั้นลาวชืนพ่อนางให้คนไปบอกพญาเจืองผู้หลาน ว่าอย่าให้ผู้ใดมาดูแคลนเราได้ พญาเจืองเคียดนักยกพลมหาศาลออกรบท้าวกวาจนได้ชัยชนะ ฆ่าพญาแกวตาย จากนั้นพญาเจืองละเมืองไว้ให้ลูกชื่อลาวเงินบุญเรือง และลาวชืนผู้เป็นลุง ช่วยรักษาเมือง ส่วนพญาเจืองยกรี้พลไปรบเอาเมืองแกวได้ แล้วบุกเข้าไปในวังท้าวกวา เอาลูกสาวท้าวกวาชื่อนางอู่แก้ว ผู้งดงาม เป็นเมียอยู่ที่เมืองแกวนั้น

    เดชานุภาพอันแกล้วกล้า ฉลาดอาจองของพญาเจืองระบือไปทั่วทุกทิศ ยังมีพญาฮ่อชื่อว่า เจ้าลุ่มฟ้าเพาภิมาน เป็นประธานชุมนุมพวกพญาทั้งหลายที่พูเหิด ในเขตเมืองพระกัน ในบริเวณที่ราบหนึ่งพันสองร้อยวาของพูเหิดนั้น พญาทั้งหลายปลูกสร้างตำหนักขึ้นเต็ม และสร้างปราสาทกลางเด่น สูง 135 วา กว้าง 95 วา มีเศวตฉัตร 770 ดวง อ่างคำใส่น้ำอบน้ำหอม สูง 3 ศอก กว้าง 6 ศอก หนัก 1 ล้าน 4แสนคำ เป็นอ่างอาบเจ้าพญาเจือง แล้วก็สรงเกศด้วยสังข์เกี้ยวด้วยคำ 770 ลูก และสังข์อันเป็นทักขิณวัตมากกว่าร้อยลูก แล้วรดหล่อเจ้าพญาเจือง ซึ่งนั่งเหนือกองแก้ว 7 ประการ เกษมสำราญอยู่ในปราสาทราชมนเทียร แวดล้อมด้วยนางกำนัล 4แสน 4หมื่น โดยมีนางอมราเทวีจากเมืองลาว และนางอู่แก้วลูกพญาแกว เป็นประธาน

    ท้าวพญาทั้งหลายมีพญาฮ่อลุ่มฟ้าเพาภิมานเป็นประธาน ก็พร้อมกันแปลงลายจุ้มลายเจีย (ตราแผ่นดินใช้ประทับแทนพระนามเจ้าฟ้า) ไว้กับเจ้าพญาเจือง กระทำราชาภิเษกเจ้าพญาเจืองเป็นเอกในเมืองแกว ในปีกาบยี เดือน 4 ออก 9 ค่ำ วันอังคาร สกราช 496 เจ้าพญาเจืองอยู่สุขสำราญในปราสาทได้ 7 วัน ก็ลงมาอยู่โรงหลวง แวดล้อมด้วยพญาทั้งหลายและเสนาอมาตย์ มีพญาฮ่อลุ่มฟ้าเพาภิมานเป็นประธาน ส่วนโยธาประมาณ 11 โกฏิปลาย 6 ล้าน 6 แสน 6 หมื่น 9 พันคนนั้น เจ้าพญาเจืองประทานรางวัลเลี้ยงดูท้าวพญาเสนาอมาตย์ไพร่พล ทั้งบำรุงบำเรอข้าวปลาอาหารแลเหล้าเป็นที่อิ่มหนำสำราญ
     
  5. อีกาจอมภู

    อีกาจอมภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    244
    ค่าพลัง:
    +137
    พระยาเจื๋องเป็นวีรบุรุษของคนไทยกลุ่มภาคเหนือและคนไทยลุ่มแม่น้ำโขง เป็นชื่อบุคคลในประวัติศาสตร์ภาคเหนือ เป็นชื่อบุคคลในประวัติศาสตร์ภาคเหนือ เช่น พงศาวดารเหมืองพะเยา พงศาวดารเมืองน่าน และพงศาวดารเมืองเชียงใหม่ ส่วนในภาคอีสารและล้านช้าง เรียกชื่อว่า ท้าวฮุ่งท้าวเจือง สำหรับเนื้อเรื่องทั้งในพงศาวดารภาคเหนือและอีสานล้านช้างตรงกับนิทานวีรบุรุษเรื่องพระยาเจื๋องมีดังนี้
    ขุนจอมธรรมครองเมืองพะเยา มีโอรสองค์หนึ่งทรงนามว่า ขุนเจื๋อง ซึ่งเป็นผู้มีบุญญาธิการมาก ตอนประสูตินั้นได้มีของทิพย์เกิดขึ้น ๓ อย่างคือ พระแสงทิพย์ แส้ทิพย์ และคนทีทิพย์(หม้อน้ำทิพย์) เมื่ออายุได้ ๑๖ ปี มาคล้องช้างที่เมืองน่าน เจ้าเมืองน่านพอพระทัยมากจึงยกพระธิดาชื่อ จันทรเทวี ให้เป็นพระชายา และไปคล้องช้างที่เมืองแพร่ได้พระธิดาชื่อ นางแก้วกษัตริย์ เป็นชายาอีก ขุนเจื๋องได้ช้างคู่บัลลังก์สำคัญคือ ช้างพานคำ มีอิทธิฤทธิ์มาก ภายหลังขุนเจื๋องได้ครองเมืองแทนพระบิดา
    แกวประกัน (ญวน) ได้มาตีเมืองนครเงินยางเชียงแสนเมืองของขุนชิน ซึ่งเป็นพระปิตุลาของขุนเจื๋อง ขุนชินสู้แกวประกันไม่ได้จึงขอกำลังจากขุนเจื๋อง ขุนเจื๋องยกพลไปปราบญวนได้ราบคาบ ได้นาง อั้วคำคอน ธิดาขุนชินเป็นพระชายาอีก และได้ครองเมืองนครเงินยางเชียงแสนจึงเวนเมืองพระเยาให้แก่โอรสชื่อ ลาวเงินเรือง ขุนเจื๋องมีเดชานุภาพมากเจ้าเมืองต่างๆ พากันมาอ่อนน้อมยกย่องให้เป็น พระยาเจื๋องธรรมิกราช ภายหลังได้นำทัพไปปราบเมืองแกวประกันได้ธิดาชื่อ นางอู่แก้ว เป็นชายา พระยาเจื๋องครองเมืองแกวประกันอยู่ ๑๗ ปี พระองค์ได้รวบรวมชุมชนชาติไทยทั้งในภาคเหนือและบริเวณลุ่มแม่น้ำโขงเป็นอาณาจักรเดียวกัน
    ภายหลังพระยาเจื๋องได้ยกทัพไปตีเมืองแมนตาทอกขอกฟ้าตายืน รบกันพระยาฮ่วนจนสิ้นพระชนม์ในสนามรบเพราะพระยาเจื๋องชราภาพมากแล้ว พวกทหารชิงพระศพกลับมาได้และได้บรรจุไว้ในเจดีย์เมืองนครหิรัญเงินยางเชียงแสน ส่วนโอรสของพระยาเจื๋องก็ปกป้องบ้านเมืองอย่างสงบสุขต่อมาทุกหัวเมือง
     
  6. อีกาจอมภู

    อีกาจอมภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    244
    ค่าพลัง:
    +137
    พ่อขุนศรีจอมธรรม เมื่อปี พ.ศ.๑๖๐๒ พ่อขุนลาวเงินได้สร้าง อาณาจักรโยนกเชียงแสนขึ้นใหม่หลังจากที่ถูกกองทัพขุนเสือขวัญมาทำลายลง

    พ่อขุนลาวเงิน มีราชบุตรสององค์ คือ ขุนชิน และขุนจอมธรรม ต่อมาได้ปกครองดินแดนภูกามยาว หัวเมืองฝ่ายใต้ที่อุดมสมบูรณ์ เมืองนั้นมีซากเมืองดบราณอยู่เชิงภูหางด้วน ตัวเมืองมีสัณฐานคล้ายน้ำเต้า ลักษณะเป็นชัยมงคล จึงให้นามเมืองที่พบนี้ว่า สีหราช

    เมืองสีหราชนี้ เข้าใจว่าเป็นเมืองแคว้นศรีเกษตร หรือแคว้นพะเยา

    อาณาจักรพะเยา กล่าวถึงบุตรขุนลาวเงิน ชื่อ จอมธรรม ได้อพยพหลบภัยสงครามจากหิรัญนคร เมื่อครั้งเสียเมืองแก่ขุนเสือขวัญฟ้า โดยติดตามพระเจ้าชัยศิริ ลงมาจากทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อมาถึงเมืองภูกามยาว เห็นว่าเป็นที่อุดมสมบูรณ์ จึงยับยั้งไม่อพยพติดตามพระเจ้าไชยสิริลงไปทางใต้ แล้วได้สร้างบ้านแปงเมืองอยู่ที่นั่น โดยสร้างเมืองทับไปลงที่เมืองร้างให้ชื่อว่า ภูกามยาว (พะเยา) ในปี พ.ศ.๑๖๑๑ พ่อขุนศรีจอมธรรม ปฐมกษัตริย์ครองราชย์ได้ ๒๑ ปี ก็เสด็จสวรรคตเมื่อพระชนมายุได้ ๕๙ ปี

    พระองค์มีราชบุตรสององค์ คือ ขุนเจือง และขุนจอง เป็นกษัตริย์อยู่ในทศพิธราชธรรม ตั้งมั่นในพระพุทธศาสนา
    ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินมีความร่มเย็นเป็นสุข พระองค์ทรงสร้างและปรับปรุงกำแพงเมือง ค่าย คู ประตู หอรบ แล้วเสร็จเมื่อปี พงศ.๑๖๑๗ เมืองต่าง ๆ ได้มาอยู่ใต้อำนาจ ทำให้อาณาจักรภูกามยาว ในครั้งนั้นกว้างใหญ่ไพศาล หัวเมืองที่มาขึ้นอยู่ในอำนาจคือ เมืองงาว เมืองกวาสะเอียบ เชียงม่วน เมืองสะเมืองออย สะลาว เมืองคอบ เชียงคำ เมืองลำ เชียงแรง เมืองหงาว เมืองเทิง แซ่เหียง แซ่ลูล ปากบ่อง หนองขวาง เมืองป่าเป้า เมืองวัง แซ่ซ้อน เมืองปาน แซ่ห่ม ทางทิศใต้จรดนครเขลางค์ และนครหริภุญไชย ทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดเชียงของ

    ขุนเจือง (พญาเจืองธรรมิกราช) เป็นโอรสคนโตของขุนจอมธรรม ประสูติเมื่อปี พ.ศ.๑๖๔๒ โหรหลวงได้พยากรณ์ ไว้ว่า พระราชกุมาร จะได้เป็นจักรพรรดิราชปราบ ได้ถึงชมพูทวีป

    ในปี พ.ศ.๑๖๕๘ ขุนเจืองได้ยกไพร่พลออกไปคล้องช้างในป่าเขตแขวงเมืองน่าน พระยาพละเทวะเจ้าอมืองน่าน เห็นว่าขุนเจืองเป็นนักรบ มับุญญาธิการ จึงได้ยกธิดาชื่อหพระนางจันทร์เทวีให้เป็นมเหสี ต่อมาขุนเจืองได้ยกไพร่พลไปคล้องช้างป่าในเขตแขวงเมืองแพร่ พระยาพรหมลงค์ เจ้าเมืองแพร่ก็ยกธิดา ชื่อ พระนางแก้วกษัตริย์ให้เป็นมเหสี เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ชื่อเสียงของขุนเจือง เลื่องลือไปทั่วสารทิศ

    ขุนเจืองได้ขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๑๖๖๓ เมื่อวครองราชย์ได้ ๘ ปี ถึง ปี พ.ศ.๑๖๗๑ ได้มีพวกแกว (ญวน) ยกกำลังมาตีหิรัญนครเงินยาง ซึ่งมีขุนชิงลงของพญาเจืองปกครองอยู่ พญาเจืองได้ยกกองทัพเมืองพะเยา ขึ้นไปช่วยตีกองทัพพวกแกวแตกกลับไป ด้วยความชอบครั้งนี้ขุนชิงจึงได้ยกพระนางอั้วคำคอนเมือง ผู้เป็นธิดาให้เป็นมเหสีของพญาเจืองอีกคนหนึ่ง

    พญาเจืองได้ปกครองเมืองพะเยาด้วยความสงบสุขจนมีพระชนมายุย่างเข้าวัยกลางคน ทรงมีดำริว่า หัวเมืองแกว และพวกขอมข่าทั้งปวง มักจะยกกำลังมาชิงเอาบ้านเมือง ตามชายแดนเสมอ เป็นที่เดือดร้อน จึงควรยกกำลังไปปราบปราม จึงได้มอบเมืองพะเยาให้โอรสชื่อ ลาวเงินเรือง ปกครองส่วนพระองค์ ได้ยกกองทัพเมืองพะเยาไปตีเมืองล้านช้าง และหัวเมืองแกว สามารถรวบรวมอาณาจักรล้านช้าง และอาณาจักรแกวทั้งหมด เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเมืองพะเยา เกียรติยศของพญาเจืองก็เป็นที่เลื่องลือ จนท้าวพญาทั้งหมด โดยมีพระยาฮ้อชื่อ เจ้าร่มฟ้าเก๊าพิมาน เป็นประธานมาชุมนุมกันที่ตำบลภูเทิดในเมืองแกว วพากันประกอบพิธีปราบดาภิเษก พญาเจืองธรรมิกราช ให้เป็นพระยาจักราชในเมืองแกวในปี พ.ศ.๑๖๗๗ หลังจากนั้นได้ประกอบพิธีอภิเษกสมรสกับพระนางอู่แก้ว ธิดาเจ้าเมืองแกว แล้วพญาเจือง ฯ ก็ได้ครองราชบ์เมืองแกว หลังจากครองราชเมืองแกวไวด้สี่ปี จนถึงปี พ.ศ.๑๖๙๑ ก็ได้ราชาภิเษกโอรสคือลาวเงินเรือง ให้ไปครองเมืองนครเงินยาง และขอให้พระเจ้ากรุงจีนพระราชทานยศ และตราตั้งให้แก่เจ้าลาวเงินเรือง ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันมิให้จีนยกยทัพมารุกรานล้านนาไทย

    พญาเจือง ฯ ปกครองเมืองแกว ๑๔ ปี มีโอรสอันประสูติจากพระนางอู่แก้วสามคนคือ ท้าวอ้ายผาเรือง ท้าวยี่คำหาง และท้าวสามชุมแสง เมื่อบรรดาโอรสเจริญวัยแล้ว พญาเจือง ฯ จึงได้ยกราชสมบัติเมืองแกวให้ท้าวอ้ายผาเรืองเป็นผู้ปกครอง ให้ท้าวยี่คำหางไปครองเมืองล้านช้าง และให้ท้าวสามชุมแสงไปครองเมืองนันทบุรี (เมืองน่าน) จากนั้นพญาเจือง ฯ ก็ยกกำลังออกปราบปรามหัวเมืองต่าง ๆ อีกหลายหัวเมืองจนกระทั่งยกกำลังไปรบกับพวกแกวแมนตาตอกขอบฟ้าตายืน พญาเจือง ฯ ต้องอาวุธ

    ข้าศึก สิ้นพระชนม์บนคอช้าง ไพร่พลนำพระศพกลับคืนมาล้านนาไทย พญาเจือง ฯ สิ้นพระชนม์ เมื่อพระชนมายุได้ ๗๗ พรรษา

    ขุนเจือง ฯ เป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ มีหลายเชื้อชาติที่อ้างไว้ในตำนานของตนเพื่อให้เป็นกษัตริย์ของตน มีหนังสือเกี่ยวกับเรื่องราวของขุนเจือง ฯ เป็นจำนวนมาก หนังสือโคลงเรื่องท้าวฮุ่งหรือขุนเจือง แต่งด้วยฉันทลักษณ์ "โคลงสองฝั่งโขง" เกือบ ๕ , ๐๐๐ บท นับว่าเป็นหนังสือที่มีความยาวมากที่สุดที่เคยมีมา บรรดากลุ่มชนสองฝั่งโขงเรียก หนังสือเจือง เป็นวรรณคดีที่เล่าเรื่องวีรบุรุษด้วยภาษาโบราณ นับว่าเก่าแก่กว่าวรรณคดีเรื่องใด ๆ ในอีสาน

    ขุนเจือง ฯ เป็นผู้ขยายอาณาเขตเมืองพะเยา โดยมีอาณาเขตเหนือลาวทั้งหมดและบางส่วนของยูนาน เป็นครั้งแรกที่ไทยมีอำนาจปกครองลาว ญวน รวมทั้งไทยใหญ่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤศจิกายน 2014
  7. อีกาจอมภู

    อีกาจอมภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    244
    ค่าพลัง:
    +137
    ท้าวฮุ่ง ท้าวเจือง เป็นชื่อวีรบุรุษในตำนานสองฝั่งโขง ที่ข้ามพรมแดนทางชาติพันธุ์ เพราะคนในชนเผ่าชาติพันธุ์ต่างๆบริเวณสองฝั่งโขง ต่างยกย่องเป็นบรรพบุรุษของพวกตน ทั้งในตระกูลลาว-ไทย และข่าแจะ(เป็นชื่อเรียกพวกข่าทุกเผ่าอย่างรวมๆ เช่น พวกลัวะ พวกขมุ ในตระกูลมอญ-เขมร เป็นต้น)

    ตำนานพื้นเมืองของโยนก-ล้านนา ระบุว่าขุนเจืองหรือท้าวเจือง เกิดที่เมืองพะเยา (ปัจจุบันคือจังหวัดพะเยา) เมื่อ พ.ศ. 1617 มีเชื้อสายปู่เจ้าลาวจกแห่งดอยตุง และเป็นบรรพชนของพญางำเมือง แห่งเมืองพะเยา ผู้เป็นพระสหายพญามังราย เมืองเชียงราย กับพญาร่วง เมืองสุโขทัย

    ร่วมสมัยท้าวเจือง รัฐพุกามเรืองอำนาจในพม่า, รัฐโคตรบูรเรืองอำนาจอยู่ในลาวและอีสาน มีศูนย์กลางอยู่เวียงจัน, รัฐหริภุญไชยควบคุมบ้านเมืองทางลุ่มน้ำปิง-วัง ตั้งแต่เชียงใหม่-ลำพูน-ลำปาง, ทางใต้ลงไปมีรัฐเชลียง อยู่บริเวณลุ่มน้ำยม-น่าน ทางสุโขทัย-อุตรดิตถ์-พิษณุโลก, ลุ่มน้ำเจ้าพระยามีรัฐละโว้ อยู่ลพบุรี กับรัฐสุพรรณภูมิ อยู่สุพรรณบุรี, ทางคาบสมุทรมีรัฐนครศรีธรรมราชกับรัฐปัตตานี

    ร่วมสมัยท้าวฮุ่ง ท้าวเจือง บริเวณลุ่มน้ำมูลตอนบนเป็นดินแดนในอำนาจของราชวงศ์มหิธร บรรพชนของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 (สร้างนครวัด) มีศูนย์กลางอยู่เมืองพิมาย ที่มีปราสาทหินพิมายในพุทธศาสนามหายานสร้างอยู่แล้ว

    ท้าวฮุ่ง ท้าวเจือง เป็นเรื่องราวตามคำบอกเล่าอยู่ร่วมสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ขณะนั้นยังไม่ได้เป็นใหญ่อยู่ทะเลสาบ แต่หลังจากนั้นจะสถาปนาปราสาทนครวัดเมื่อราว พ.ศ. 1650

    ต่อมาท้าวฮุ่ง ท้าวเจือง ขยายอำนาจได้เป็นใหญ่เหนือเมืองเงินยางเชียงแสน (ที่ อ. เชียงแสน จ. เชียงราย) จนถึงสิบสองพันนา(ในจีน) แล้วแผ่ข้ามแม่น้ำโขงเข้าไปทางฟากตะวันออกถึงภาคเหนือของลาวกับภาคเหนือของเวียดนาม

    พวกแถนกับพวกแมนที่อยู่ทางเหนือของลาวกับเวียดนามร่วมกันต่อต้านท้าวฮุ่ง ท้าวเจือง แล้วฆ่าท้าวฮุ่ง ท้าวเจืองตาย
     
  8. อีกาจอมภู

    อีกาจอมภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    244
    ค่าพลัง:
    +137
    อารยธรรมลุ่มน้ำโขง
    แหล่งอารยธรรมสำคัญๆของโลกมักเริ่มต้นที่ลุ่มแม่น้ำสายหลัก เช่น แม่น้ำสินธุ (อารยธรรมอินเดียโบราณ) แม่น้ำไทกริส-ยูเฟรติส (อารยธรรมเมโสโปเตเมีย) แม่น้ำฮวงโฮ (อารยธรรมจีน) เป็นต้น เมื่อพิจารณาลุ่มแม่น้ำสำคัญๆของแหลมสุวรรณภูมิ พบว่า ทางฟากตะวันตกมีแม่น้ำอิรวดีและแม่น้ำสาละวิน ตรงกลางของสุวรรณภูมิเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งลุ่มน้ำทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นแหล่งอารยธรรมของมอญ ถัดไปทางฟากตะวันออกเป็นแม่น้ำโขง แม่น้ำโขงตอนล่างและทะเลสาบใหญ่เป็นแหล่งอารยธรรมของขอม หากว่าลุ่มน้ำโขงเหนือจำปาสักขึ้นไปจรดเชียงรุ้ง และเลยขึ้นไปจนถึงเมืองหนองแส เป็นแหล่งอารยธรรมที่สำคัญของกลุ่มชาติพันธุ์ตระกูล “ไทย-ลาว” ขณะที่ลุ่มน้ำแดงทางฟากตะวันออกสุดของสุวรรณภูมิเป็นแหล่งอารยธรรมของ “ชนชาติไท” ที่นักประวัติศาสตร์ไทยสายชาตินิยม ให้ความสำคัญในการศึกษาน้อยมาก
    ประเทศลาว (ปัจจุบันคือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว) ยอมรับอย่างเป็นทางการจากอดีตกระทั่งปัจจุบันว่า อาณาจักรน่านเจ้า (ลาวหนองแส หรือ อ้ายลาวหนองแส พ.ศ. 1192 - 1823) เป็นอาณาจักรที่เป็นบรรพบุรุษของคนลาว แม้แต่ตำราวิชาประวัติศาสตร์ของไทยก่อนหน้านี้ ก็ยอมรับเช่นกันว่า น่านเจ้าเป็นบรรพบุรุษของไทย เพิ่งจะมายกเลิกไปเมื่อราวสามสิบปีที่ผ่านมานี้เอง
    เรื่องราวของขุนบรม หรือ ขุนบรมราชาธิราช กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งของน่านเจ้า จีนเรียกว่า พี ล่อ โก๊ะ ครองราชย์ พ.ศ. 1272 - 1293 กลายมาเป็นตำนานเล่าขานของคนลาวสืบต่อมากระทั่งบัดนี้ เนื่องจากน่านเจ้าต้องทำสงครามขับเคี่ยวกับจีนเป็นระยะๆมิได้ว่างเว้น ขุนบรมเล็งการณ์ไกลเพื่อวางรากฐานระยะยาวให้กับน่านเจ้า จึงดำเนินการส่งโอรส 7 องค์ แยกย้ายกันเดินทางไปสร้างบ้านแปลงเมืองทางตอนใต้ของน่านเจ้า จนกลายมาเป็นต้นธารอารยธรรมลุ่มน้ำโขงของกลุ่มชาติพันธุ์ไทย-ลาว ดังมีรายละเอียดพอสังเขป ดังนี้
    ขุนลอ โอรสองค์โต ครองเมือง ชวา ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น เชียงทอง และหลวงพระบาง ภายหลังเมื่อขุนบรมสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 1293 ขุนลอได้กลับมาครองราชย์ ณ หนองแส นครหลวงของอาณาจักรน่านเจ้า (ทางการจีนเรียกว่า โก๊ะ ล่อ ฝง) เชื้อสายขุนลอได้ปกครองเมืองชวาต่อเนื่องมาอีก 23 องค์ จนกระทั่งถึงรัชสมัยของ เจ้าฟ้างุ่ม (งุ้ม) จึงสถาปนาอาณาจักรล้านช้างขึ้นมาเมื่อ พ.ศ. 1896
    ขุนคำผง ครองเมือง โยนก (ยวน หรือ เชียงแสน) ก่อร่างสร้างอาณาจักรโยนกเชียงแสน หรือ โยนกนาคนคร ขึ้นที่บริเวณลุ่มน้ำกก (สาขาของแม่น้ำโขง) สืบทอดเชื้อสายมาจนถึง ขุนเจือง (ประสูติพ.ศ. 1617) ซึ่งกลายมาเป็นตำนานพื้นบ้าน “ท้าวฮุ่ง ท้าวเจือง” ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทย-ลาวตามลุ่มน้ำโขง เชื้อสายรุ่นต่อๆมาของขุนเจือง คือ พญางำเมือง ได้ครองอาณาจักรพะเยา และเป็นสหายของพ่อขุนรามคำแหง
    เชื้อสายของขุนคำผงองค์หนึ่งชื่อ เจ้าสิริไชยเชียงแสน ครองเมืองไชยปราการ ราว พ.ศ. 1731 ถูกกองทัพมอญเข้าโจมตี (เข้าใจว่าเป็นมอญจากหริภุญชัย) จึงรวบรวมกำลังพลเคลื่อนมาทางใต้ แล้วตั้งมั่นที่เมืองแปบ หรือ ไตรตรึงษ์ ซึ่งนักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ชี้ชัดว่า อยู่ที่กำแพงเพชร อันเป็นที่มาของตำนานท้าวแสนปม โอรสของเจ้าสิริไชยเชียงแสน คือ เจ้าอู่ทอง หรือ ท้าวอู่ทอง ได้ขึ้นมาเป็นใหญ่ในเมืองละโว้ และ อโยธยาศรีรามเทพนคร จนได้ร่วมมือกับราชวงศ์สุพรรณบุรีก่อตั้งอาณาจักรอโยธยา เมื่อ พ.ศ. 1893
    “ขุนเม็งราย” เชื้อสายอีกองค์หนึ่งของขุนคำผง ได้ก่อสร้างเมืองเชียงรายเมื่อ พ.ศ. 1805 และยกทัพเข้ายึดครองอาณาจักรหริภุญชัยได้สำเร็จเมื่อ พ.ศ. 1835 หลังจากนั้นจึงสถาปนาอาณาจักรล้านนาขึ้นในปีเดียวกัน
    ขุนอิน หรือ ขุนงั่วอิน เดินทางไกลกว่าใครเข้าสู่ใจกลางสุวรรณภูมิ ซึ่งต่อมาเชื้อสายรุ่นหลังๆของขุนอิน เติบใหญ่จนได้ครองครองเมืองล้านเพีย (อโยธยา) นี่เป็นประเด็นที่สามารถตั้งสมมติฐานกันเล่นๆว่า เชื้อสายของขุนอินที่ได้ครองศรีอยุธยานั้น เป็นวงศ์สุพรรณบุรี หรือวงศ์อู่ทอง อันเป็นเรื่องที่จะต้องสืบค้นกันต่อไป
    ส่วนโอรสองค์อื่นๆของขุนบรม ขุนกม ครองเมืองคำม่วน ต่อมาคือ อาณาจักรโคตรบูรณ์ ขุนเจือง ครองเมืองพวน (เชียงขวาง) ซึ่งเป็นเมืองเอกของลาวจากอดีตกระทั่งปัจจุบัน ขุนผาล้าน ครองสิบสองปันนา ถิ่นฐานของชนชาติไท แถบเมืองแถน (เบียนเดียนฟู)
     
  9. เดฟ77

    เดฟ77 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +0
  10. อีกาจอมภู

    อีกาจอมภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    244
    ค่าพลัง:
    +137
    เวียงลอ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำอิง อำเภอจุน เป็นเมืองโบราณที่ปรากฏในหลักฐานประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยพญาเจือง หรือพญาเจิงโดยพญาเจิง (พศ.1625-1705) ได้เกณฑ์คนจากเวียงลอและเมืองอื่นๆบริเวณนั้นไปช่วยรบกับพวกแกวที่มาโจมตีเมืองเงินยาง ปัจจุบันยังมีร่องรอยคันดิน ร่องรอยวัดร้างประมาณ 70 วัด และมีผู้พบพระพุทธรูปจำนวนมาก
    เมืองเวียงลอนั้นถือเป็นเมืองหน้าด่านของอาณาจักรพะเยาโบราณที่มีอายุมากกว่า 900 ปี ต่อมาในสมัยล้านนากลายเป็นดินแดนกันชนของล้านนาและสุโขทัย ดังนั้นรูปทรงของวัดวาอารามที่เมืองเวียงลอแห่งนี้จึงมีลักษณะร่วมของศิลปะ 2 อาณาจักร ต่อมาเมื่ออาณาจักรล้านนาตกเป็นของพม่า เมืองเวียงลอจึงได้กลายเป็นของพม่า ปีพ.ศ. 2322 ถูกพระเจ้ากาวิละกวาดต้อนจนเป็นเมืองร้าง ถูกสร้างเป็นเมืองใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 5 ปัจจุบันจึงถือเป็นแหล่งโบราณสถานแห่งหนึ่งที่สำคัญของประเทศ
     
  11. อีกาจอมภู

    อีกาจอมภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    244
    ค่าพลัง:
    +137
    มีประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ ก็คือ จากสมมติฐานที่ว่าแหล่งเตาเวียงบัวอาจจะมีมาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 17-18 ชวนให้คิดต่อไปถึงวีรบุรุษคนสำคัญในประวัติศาสตร์ยุคโบราณของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงที่เกี่ยวข้องกับบ้านเมืองในลุ่มแม่น้ำกก อิง และกว๊านพะเยา คือ พญาเจือง หรือท้าวฮุ่ง หรือขุนเจือง ที่ปรากฏเป็นตำนานมหาบุรุษในมหากาพย์โคลงโบราณ 5,000 บท และเล่าขานสืบทอดกันมาหลายสำนวนหลายชื่อ พญาเจือง ท้าวฮุ่ง หรือขุนเจือง เกี่ยวข้องอะไรกับแหล่งเตาเวียงบัว? ที่ผ่านมา เรารับรู้เรื่องท้าวฮุ่ง แค่ในฐานะวีรบุรุษในตำนานที่ไม่รู้แน่ว่าเคยมีตัวตนจริงหรือไม่ และหากมีจริงก็ไม่รู้ว่าอยู่ที่ไหนกันแน่ เพราะดูเหมือนท่านเป็นวีรบุรุษและบรรพบุรุษของผู้คนหลายบ้านหลายเมืองในย่านอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ทั้งในสยาม ลาว และเวียดนาม จีนตอนใต้ พม่า และจนบัดนี้ก็ยังไม่มีใครยืนยันได้ว่าท้าวฮุ่งมีตัวตนจริงๆ อยู่เมื่อไร และมีวัตถุพยานอะไรในสมัยนั้นหลงเหลือเป็นเครื่องยืนยันได้บ้าง จิตร ภูมิศักดิ์ เป็นนักประวัติศาสตร์คนแรกที่ระบุว่าท้าวฮุ่ง มีอายุอยู่เมื่อ พ.ศ.1665-1735 และนำเสนอภาพของขุนเจืองได้อย่างชัดเจนว่าเหมือนกับตัวนายทัพของ 'เสียมกุก' หรือ 'สฺยํมฺกุ' ที่ยืนถือคันธนูอยู่บนหลังช้างในภาพกองทัพที่แกะสลักไว้บนผนังที่ปราสาทนครวัดเมื่อพุทธศตวรรษที่ 17 (พ.ศ.1650-1700) และเชื่อว่ากองทัพ 'เสียมกุก' ของขุนเจืองนั้นไปจากอาณาจักรเงินยางย่านเชียงราย-พะเยา ผู้เขียนอ่านหนังสือเรื่อง 'ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาว และขอม และสัญลักษณ์ทางสังคมของชื่อชนชาติ' ข้อเท็จริงว่าด้วยชนชาติขอม ของจิตรภูมิศักดิ์มาหลายรอบ อ่านถึงบทที่ว่าด้วยเรื่องนี่เสียมกุก! แล้วก็เห็นดีเห็นงามไปตามที่จิตร ภูมิศักดิ์ ได้วิเคราะห์ถึงความเป็นพญาเจืองของตัวนายทัพในภาพสลักได้อย่างน่าพิศวง รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม ก็เชื่อว่าขุนเจือง เป็นบรรพกษัตริย์ของบ้านเมืองในเขตลุ่มน้ำกก-ลุ่มน้ำอิง หรือเชียงราย-พะเยา ขุนเจืองเป็นบุคคลในประวัติศาสตร์มีอายุอยู่ในห้วงเวลาก่อนหน้ายุคสมัยพญามังรายประมาณ 4 ชั่วคน หรือประมาณ 200 ปี (พุทธศตวรรษที่ 17-18) ร่วมสมัยกับพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 แห่งนครวัด สอดคล้องเป็นอันดีกับข้อสรุปของจิตร ภูมิศักดิ์ ผู้เขียนมีความเห็นสอดคล้องกับผู้รู้ทั้งสองท่านที่อ้างถึง และยังเชื่อต่อไปอีกว่าขุนเจืองนั้นเป็นเป็นต้นโคตรของราชวงศ์มังรายแห่งล้านนา เป็นต้นโคตรของราชวงศ์พระร่วงที่ไปเป็นใหญ่มีอำนาจที่ศรีสัชนาลัย-สุโขทัย รวมทั้งเป็นต้นโคตรของราชวงศ์กษัตริย์ที่เมืองน่านอีกด้วย แล้วถ้าเชื่อว่าขุนเจืองเป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของอาณาจักรเงินยางในย่านพะเยา-เชียงราย มีอำนาจบารมีแผ่ไพศาลไปในย่านอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงในห้วง พ.ศ.1665-1735 หรือพุทธศตวรรษที่ 17-18 ในขณะที่แหล่งเตาเวียงบัวที่ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ก็ทำการผลิตเครื่องถ้วยชามเคลือบเนื้อแกร่งอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17-18 ดังนั้น แหล่งเตาเวียงบัวก็อยู่ในยุคสมัยขุนเจือง นั่นเอง
     
  12. กิ่งสน

    กิ่งสน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,068
    ค่าพลัง:
    +2,327
    ท่านอีกาจอมภูเขียนซะหมด วันหลังค่อยเขียนมั้ง สมัยก่อนเคยรวบรวมไว้ว่าจะเขียนเรื่องของท่านลงในนิตยสารทำเอง หายไปไหนแล้วไม่รู้ไปค้นหาก่อน สถานที่ต่างๆนานาบางแห่ง เช่น ปราสาทนครวัดข้าพเจ้าก็ไปพิจารณามา เวียงลอ อ.จุน ข้าพเจ้าก็ไปพิจารณามาตั้งแต่ตอนเป็นนักเรียนไปค้นหาเวียงโบราณ
     
  13. อีกาจอมภู

    อีกาจอมภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    244
    ค่าพลัง:
    +137
  14. อีกาจอมภู

    อีกาจอมภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    244
    ค่าพลัง:
    +137
    ศิลาจารึกประวัติพระธาตุจอมนาง
    “ เปงฮอยจารกล่าวเล่าเถิงเวียง พร้อมเสบียงแห่แหนแปนพระธาตุ
    คราต๋งศกปีหม่าพาต่องลาว หาบคอนเฝ้าก่อตานขนานเวียง
    ปีลิงขบจบกระบวนโต่ยทวยเทพ จ๋มโภชเขตธาตุจอมนางสราญฮั่น
    จาวแว่นแค้วนฮอมฮักปักชีวัน ต่วยจอมขวัญแม่เมืองเจื้อสัทธา
    ตะละว่าแม่เจ้าก่ต่องโศก แสนวิโยคต๋นเจ้าหลวงสิ้นสายใจ๋
    พาก่องอัฐิสู่ตานธาตุลงใน เปงตี่ไห่ไหว้สาข้าไตยเติม
    ว่ะ ว่ะ ว่ะ ว่ะ เวียงเหียงตางเหนือ ตางโจ่ยเจื้อเกื้อก่ำนำแตงสาน
    ก่อบรรพตปัดตะสีมาเขตปุญตาน เจินติ๊ดถานขอพรจักสมใจ๋ ”

    ตามจารึกพงศาวดารหิรัญเงินยางนคร (เชียงแสน) และภูกามยาว (พะเยา) กล่าวถึงมหาราชแห่งแม่น้ำโขง คือสมเด็จพระเจ้าเจืองฟ้าธรรมิกราช หรือ ขุนเจือง กษัตริย์ผู้รวบรวมแผ่นดินต่าง ๆ บริเวณแม่น้ำโขงให้เป็นปึกแผ่น โดยนับตั้งแต่ เมืองสิบสองปันนา (ไทลื้อ) รวมถึงดินแดนรัฐฉาน (ไทยใหญ่) ทั้งหมดในปัจจุบัน หนองแส (ฮ่อ) เวียงปะกัน(แกวหรือเวียดนาม) เมง(มอญ) ม่าน(พม่า) หิรัญเงินยาง ฝาง ไชยปราการ ภูกามยาว หลวงพะบาง(พะเยา) กาว(แพร่-น่าน) เวียงจันทน์ จำปาศักดิ์ ไปสุดชายแดนขอมปากแม่น้ำโขง ทรงเป็นราชบุตรของพ่อขุนจอมธรรมและเทวีเจ้านางจอม ทรงประสูติราวปีพุทธศักราช ๑๖๑๗ ที่เวียงภูกามยาว (พะเยา) เมื่อพระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา ได้ยกทัพขับไล่ขอมออกจากหิรัญเงินยางนคร และได้เป็นอุสาราชาภิเษกเสวยสมบัติเป็นเจ้าผู้ครองหิรัญเงินยางเถลิงพระนามว่า “สมเด็จพระเจ้าเจืองฟ้าธรรมิกราช”
    ต่อมาในปีเดียวกันได้รวบรวมกำลังยกทัพเข้าตีเวียงปะกัน ของลาวแกว (เวียดนาม) ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ที่สุดและมีกองกำลังทหารมากที่สุด จนเวียงปะกันแตกและได้เสวยราชสมบัติเวียงปะกันอีกเวียงหนึ่งแล้ว ก็ปรากฏด้วยเดชานุภาพทั่วมหานานาประเทศทั้งปวง ท้าว พญา มหากษัตริย์ทั้งหลายก็เกิดความเกรงกลัวในพระบรมเดชานุภาพต่างพากันเข้ามาพร้อมนบน้อมสู่ขอเป็นขอบข้าขัณฑสีมา ถวายเครื่องราชบรรณาการเป็นจำนวนมาก
    ต่อมาเจ้าพญาลุ่มฟ้าเก้าพิมานเจ้าเมืองหนองแส (ตาลีฟู่) ของจีนก็เกิดความเกรงกลัวเดชานุภาพเข็ดขามเกรงอำนาจแล้ว ก็พลันพร้อมกันแต่งยังเครื่องราชบรรณาการแต่ละอย่างแลร้อยแปดทั้งปวงคือหอยสังข์ แลอ่างเงินสองลูก มาถวายแก่เจ้าพระยาเจืองฟ้าธรรมิกราชนั้นแล ทั้งสร้างต่อเติมหออุทุมพร(พระตำหนัก)อันเก่าขึ้นสูงได้ร้อยยี่สิบศอกเพื่อถวาย พร้อมกันนั้นจึงได้อุสาราชาอภิเษกถวายพระนามว่า “ไชยนารายน์ธรรมิกราช” และขอเป็นขอบข้าขันฑสีมาพร้อมกับบริวารเมืองต่าง ๆ อันมี หนองแส (ฮ่อ)เวียงปะกัน (แกว) เมืองโกสัมพี กลิงคราฐ หงษาวดี สาวัตถี อโยทธยา จันทบุรี ดังนี้แล
    ภายในปีเดียวกันสมเด็จพระเจ้าเจืองฟ้าธรรมิกราช ได้พาบริวารมาคล้องช้างเขตน่าน บริเวณลุ่มแม่น้ำย่างและแม่น้ำปัว หัวหน้าเชียง (ชุมชน) ในขณะนั้น ได้ยินกิตติศัพท์จึงเกิดความเกรงกลัวจึงได้ยกเชียงให้ครองและได้ยกลูกสาวให้เป็นสนมอีกคนหนึ่ง
    ระหว่างที่คล้องช้างในเขตน่านนั้น ท่านได้เจอสถานที่บริเวณลุ่มแม่น้ำย่าง ซึ่งมีน้ำท่า อุดมสมบูรณ์ เหมาะกับการเพาะปลูก และตั้งบ้านเรือน จึงได้พาบริวารเดินทางกลับหิรัญเงินยางนคร แล้วพาบริวารเป็นจำนวนมากกลับมาอีกครั้งหนึ่ง และได้สร้างเมืองใหม่อีกเมืองหนึ่งชื่อว่า เวียงเหียง เพื่อเป็นศูนย์กลางการปกครองบ้านเมืองในลุ่มแม่น้ำย่าง ซึ่งปัจจุบันคือบริเวณรอบ ๆ พระธาตุจอมนาง
    พระธาตุจอมนาง สร้างราวปีพุทธศักราช ๑๖๓๒ ซึ่งเป็นปีเดียวกันที่สมเด็จพระเจ้าเจืองฟ้าธรรมิกราชได้มาตั้งเวียงเหียง โดยผู้ริเริ่มศรัทธาสร้างพระธาตุคือ แม่เมืองเมง ผู้เป็นชายาอีกองค์หนึ่ง เพื่อบรรจุพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้า (กระดูกส่วนหน้าอก) ที่ได้รับมอบจากพระสมณฑูตจากอินเดียกับบริวารของเจ้าเวียงขุนนำมาถวายให้ที่เวียงหิรัญเงินยาง และให้เป็นพระธาตุประจำเวียงเหียง อีกทั้งสมเด็จพระเจ้าเจืองฟ้าธรรมิกราช ท่านปรารถนาจะสร้างพระธาตุถวายให้กับเทวีเจ้านางจอม จึงโดยมอบหมายให้เถรเจ้าหม่อนน้อย และคำหนาน เป็นผู้ควบคุมและดูแลการก่อสร้าง
    อีกทั้งยังได้ออกประกาศราชสาส์นไปยังหัวเมืองต่าง ๆ ให้มาร่วมงานบุญสร้างพระธาตุประจำเวียงเหียง เจ้าผู้ครองเวียง และบริวารจากที่ต่าง ๆ จึงได้พากันแห่แหนมาร่วมสร้างพระธาตุเช่น พญาฮ่อ และท้าวฮ่อ จากเวียงหนองแส เจ้าคำหลวง จากเวียงสา เจ้าแสนคำฟู จากเวียงจันทน์และจำปาศักดิ์ อีกทั้งบริวารของท่านเองที่เดินทางมา จากสิบสองปันนา หิรัญเงินยาง ภูกามยาว หลวงพระบาง เป็นต้น
    หลังจากสร้างพระธาตุเสร็จแล้วจึงได้มีการฉลองสมโภชองค์พระธาตุและถวายนามองค์พระธาตุว่า “พระธาตุจอมนาง” คำว่า “จอม” หมายถึง ความเป็นหนึ่ง หรือเป็นเอก ไม่มีใครเทียม ส่วนคำว่า “นาง” หมายถึงผู้หญิง ในสมัยโบราณคำว่า “นาง” จะใช้เรียกกันในเฉพาะเจ้านาย เชื้อพระวงศ์ หรือข้า บริวารที่เป็นผู้หญิงในวังเจ้าฟ้าเท่านั้น
    ทั้งนี้นามของพระราชมารดาของท่านก็ชื่อนางจอม ซึ่งขณะนั้นดำรงอิสริยศ “มหาเทวีเจ้านางจอม” ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุด นางผู้เป็นใหญ่แก่นางทั้งหลายในแผ่นดิน พระนางผู้เป็นให้กำเนิดมหาราชผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในดินแดนลุ่มแม่น้ำโขง
    อีกทั้งสมเด็จพระเจ้าเจืองฟ้าธรรมิกราชและแม่เมืองเมง ผู้เป็นชาย พร้อมบริวารทั้งหลาย ปรารถนาสร้างถวายให้พระราชมารดา
    ครั้นเมื่อสมเด็จพระเจ้าเจืองฟ้าธรรมิกราช พระชนมายุได้ ๗๘ พรรษา ได้รับสาส์นจากพญาแมนแห่งเมืองตาตอก ได้มาท้าทายทำยุทธหัตถีกับท่าน หลังจากนั้นท่านจึงได้พาบริวารเสนาอำมาตย์รี้พลคนหาญทั้งหลาย แล้วก็เสด็จยาตราออกจากเวียงหิรัญเงินยางนคร(เชียงแสน)จำนวนมากถึงเก้าล้านเก้าแสนคนยกทัพไปทำยุทธหัตถีกับพญาแมน ที่เวียงตาตอก ด้วยความชราภาพของท่านจึงพลาดต้องอาวุธเศียรขาดสวรรคตบนหลังช้างเผือกพานคำ พวกทหารต่างพากันรบแย่งชิงเศียรกลับคืนสู่หิรัญเงินยาง และเมื่อทำพิธีส่งสะก๋าร เสร็จแล้วจึงได้นำพระอัฐิธาตุแบ่งให้กับลูกหลานในแต่ละเมืองเพื่อนำไปเก็บไว้สักการบูชา
    ในส่วนของเวียงเหียงนั้น มหาเทวีเจ้านางจอม ผู้เป็นพระมารดา ได้นำอัฐิของสมเด็จพระเจ้าเจืองฟ้าธรรมิกราช ส่วนที่ได้รับมอบให้เวียงเหียง ใส่ในกล่องแล้วบรรจุลงใต้ฐานองค์พระธาตุจอมนางเพื่อให้ลูกหลานและข้าไตยได้สักการบูชา อีกทั้งยกที่ดินกลางเวียงเหียงบริเวณรอบ ๆ องค์พระธาตุจอมนางถวายสงฆ์ให้เป็นเขตพัทสีมาวัดพระธาตุจอมนาง เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับสมเด็จพระเจ้าเจืองฟ้าธรรมิกราชผู้เป็นราชบุตร
    ครั้นถึงสมัยพญาการเมือง แห่งเวียงปัว ได้รับพระบรมสารีริกธาตุจากสุโขทัย จึงได้สร้างพระธาตุแช่แห้ง และหลังจากนั้นโปรดให้ย้ายเมืองและชาวเมืองทั้งหมดไปตั้งเมืองใหม่ที่ดอยภูเพียงแช่แห้ง รวมถึงชาวเมืองบริเวณลุ่มแม่น้ำย่างก็ย้ายไปอยู่เวียงแช่แห้งกันหมด วัดพระธาตุจอมนางจึงร้างนับตั้งแต่นั้นมาถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่าเก้าร้อยปีเศษ
     
  15. กิ่งสน

    กิ่งสน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,068
    ค่าพลัง:
    +2,327
    ยุคนั้นพะเยารุ่งเรืองเฟื่องฟูมาก
    เดี๋ยวนี้เป็นเมืองสงบ แต่ก็ยังมีเรื่องราวต่างๆในอดีตอีกมาก
     
  16. อีกาจอมภู

    อีกาจอมภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    244
    ค่าพลัง:
    +137
    ตำนานโบราณภาษาไตลื้อได้บันทึกว่า “พญาเจิง (ท้าวเจือง) ได้เถลิงราชสมบัติเป็นสมเด็จพระเป็นเจ้าหอคำเชียงรุ่งองค์ที่ ๑ ราชวงศ์พญาเจิงก็ได้สืบบัลลังค์ต่อๆกันมา จนกระทั่งถึงมีการปลดแอกในปี ค.ศ. ๑๙๓๐ (พ.ศ. ๒๔๙๓) มีเจ้าแผ่นดินเชียงรุ่งรวมทั้งสิน ๔๔ พระองค์ …
     
  17. อีกาจอมภู

    อีกาจอมภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    244
    ค่าพลัง:
    +137
    เมืองเชียงลาบ เป็นหัวเมืองไทลื้อ เมืองหนึ่งของสิบสองปันนา ก่อตั้งโดยพญาเจื่องฟ้าธรรมิกราช หรือ ขุนเจื่อง หรือ พญาเจื่อง หรือ สมเด็จพระเจ้าหอคำเชียงรุ่งที่ 1 แห่งราชวงค์อาฬาโวสวนตาน มูลเหตุการตั้งเมืองนั้นภายหลังพญาเจืองได้ขยายอณาเขตแผ่นดินไทลื้อได้กว้างขวางถึงสิบสองปันนาทั้งหมด รวมถึง หนองแส (ภาษาลื้ออ่านว่า หนองเส) ล้านนา ล้านช้าง และเมืองแถน เดียนเบียนฟู(เวียดนามเหนือ)เนื่องจากแผ่นดินสิบสองปันนา เมืองไทลื้อนั้นกว้างใหญ่ไพศาลยิ่งนัก

    เมืองเชียงลาบนั้นพญาเจืองธรรมิกราช ชัยภูมิที่เหมาะสม อีกทั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างหิรัญเงินยางนคร และเชียงรุ่ง ซึ่งหากเกิดข้าศึกรุกรานเชียงรุ่ง ตรงจุดนี้ซึ่งเป็นจุดโขงโค้ง แม่น้ำโขงไหลเชี่ยวที่สุด ประกอบกับและเป็นจุดที่ยากลำบากที่สุดในการคมนาคม หากมีข้าศึกรุกรานจะทำให้ข้าศึกเหนื่อยล้า และสามารถสะกัดกั้นไม่ให้ข้าศึกไปตีเมืองหลวงเชียงรุ่งได้ ดังนั้นจึงได้โปรดให้บริวาร เสนาอามาตย์ สมณะ ครูบาสังฆเจ้า ไพร่พล เดินทางลงเรือ ตามลำน้ำของ เรียกกันว่า "ล่องของ" มาขึ้นฝั่งตรงสบลาบ และสร้างเวียงใหม่ขึ้น นามว่า "เวียงลาบ" หรือ เชียงลาบ

    เมืองเชียงลาบเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ที่ลาดเชิงเขา ตัวเมือง ติดแม่น้ำโขง และเป็นเมืองท่าค้าขายที่สำคัญ ฉะนั้นรายได้หลักของเมืองคือ การเก็บภาษี อากร ส่วย ข่อน ที่เกิดจากพ่อค้าที่เดินทางไปค้าขายระหว่างเชียงแสน และเชียงรุ่ง อีกทั้งด้านทิศตะวันตกของเมืองเป็นภูเขาสูงซึ่งอุดมไปด้วยป่าไม้สัก และ น้ำผึ้ง และของป่าอื่น ๆ อีกทั้งด้านทิศเหนือซึ่งอยู่ใกล้กับเมืองลวงซึ่งเป็นแหล่งผลิตเกลือสินเธาร์ ซึ่งถือว่าเป็นสินค้าสำคัญที่พวกพ่อค้าชาวจีนฮ่อ และไทใหญ่ นำลงมาขายให้กับเชียงแสน ปัจจุบันเมืองเชียงลาบก็ยังเป็นเมืองท่าที่สำคัญ ซึ่งตรงข้ามกับท่าเชียงกกของลาว ในการเดินทางไปติดต่อค้าขายในสิบสองปันนา

    หลังสิ้นยุคของพญาเจิงหาญ หรือ ขุนเจือง พญายอง เจ้าเมืองยอง ได้ถือโอกาสยกทัพเข้าโจมตีเมืองเชียงลาบ และสามารถยึดเมืองได้ ดังนั้นเชียงลาบจึงเป็นเมืองขึ้นของเมืองยองมาตั้งแต่ต้น ภายหลังเมืองยองขาดเจ้าเมืองปกครอง และถูกเจ้าเมืองเชียงรุ่งร่วมกับทัพเมืองเชียงลาบยกทัพมาตีเมืองคืน และได้ยกทัพขึ้นไปตีเมืองยอง สุดท้ายเมืองยองจึงเป็นเมืองขึ้นของเมืองเชียงรุ่ง และเมืองเชียงลาบ

    พอถึงสมัยต่อมาพญามังรายครองเมืองโยนก ก็ยกทัพไปตีทางด้านเมืองเชียงของ ลำพูน(อาณาเขตรวมเชียงใหม่ในปัจุบันด้วย) เชียงตุง และตีได้รุกรานไปในเขตเชียงรุ่งด้วยอีกส่วนหนึ่ง (ตามหมิงสือลู่ของจีน) ดังนั้นบริเวณเมืองยองส่วนที่เป็นเมืองไร เชียงลาบ พยาก พะแลว จึงถูกรวมเข้าในอาณาจักรโยนกของพญามังรายด้วย ต่อมาเมื่อพญามังรายไปตั้งกุมกาม และเชียงใหม่ ก็ให้พญาแสนพูไปอยู่เชียงแสน ปรากฏชื่อเมืองเชียงลาบว่าเป็นเมืองขึ้นของเมืองเชียงแสนในสมัยพญาแสนพูนี้เอง (ดูในจารึกวัดป่าสักที่ถูกถ่ายออกมาเป็นเรื่องเล่าในพื้นเมืองเชียงแสน) หลังจากนั้นมาเมืองเชียงลาบก็รวมอยู่กับเมืองเชียงแสนตลอด
     
  18. อีกาจอมภู

    อีกาจอมภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    244
    ค่าพลัง:
    +137
    เมืองพาน หรืออำเภอพานในอดีต...ประมาณปี พ.ศ. 1639 ก่อนอาณาจักรสุโขทัยรุ่งเรือง 200 ปี พญาสลีจอมธรรม เป็นผู้ครองอาณาจักรภูกามยาวหรือ พะเยาในปัจจุบัน
    ภูกามยาวสมัยพญาสลีจอมธรรมมีหัวเมืองต่างๆ อยู่ในความปกครองจำนวน 36 ปันนา คำว่า ปันนา หมายถึง หัวเมือง อำเภอพานเป็นปันนาหนึ่งใน 36 ปันนาในขณะนั้นมีชื่อเรียกว่า ปันนาคัว (เมืองคัว) เป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ ปันนาคัว เป็นหัวเมืองที่มีความสำคัญยิ่งของอาณาจักร ภูกามยาว เพราะเหตุว่า นอกจากจะเป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์แล้วยังเป็นเมืองหน้าด่านติดกับอาณาจักรไชย นารายณ์ (เชียงราย)
    ต่อมาปันนาคัว ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เรียกว่า เมืองแจ้พราน ในสมัยพญาเจื๋องเป็นผู้ครองภูกามยาว
    การที่ปันนาคัวเปลี่ยนชื่อเป็นแจ้พราน เพราะเหตุว่า พญาเจืองได้ยกทัพผ่านปันนาคัว เพื่อไปช่วยพระปิตุลาชื่อ ขุนชิน (เจ้าเมืองเจียงแสน) ซึ่งกำลังสู้รบกับพญาแก๋วในขณะที่พญาเจื๋องยกทัพผ่านปันนาคัวนั้นมีนายพราน ผู้หนึ่งผ่านมาพบกองทัพของพระองค์ แต่ไม่ได้หยุดคารวะพระองค์จึงตรัสสั่งคนหาญ (ทหาร) จับตัวนายพรานผู้นั้นมัดแช่ในลำน้ำแม่ฮ่าง 1 วันกับ 1 คืน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ปันนาคัวจึงเรียกใหม่ว่า เมืองแจ้พราน (แช่พราน)
     
  19. อีกาจอมภู

    อีกาจอมภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    244
    ค่าพลัง:
    +137
    ตามหลักฐานทางโบราณคดีระบุว่า “ขุนเจือง” หรือ “พญาเจือง” ได้รวบรวมชาวไทลื้อกลุ่มเล็กๆ ให้เป็นปึกแผ่นและสถาปนา “อาณาจักรหอคำเชียงรุ้ง” ขึ้นบริเวณเมืองเชียงรุ่งเขตปกครองตนเองสิบสองปันนาแห่งนี้ในปี พ.ศ.1723 โดยประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นกับอาณาจักรตาลีฟูของจีน และขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์องค์แรกมีพระนามว่า “สมเด็จพระเจ้าหอคำเชียงรุ้งองค์ที่ 1” ส่วนชื่อเมืองเชียงรุ้ง มาจากเรื่องราวในพุทธตำนานของชาวไทลื้อที่ว่า เมื่อครั้งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาโปรดเวไนยสัตว์ถึงยังดินแดนริมฝั่งโขงก็เป็นเวลาเช้าพอดี จึงเรียกดินแดนแห่งนี้ว่า “เชียงรุ้ง” อันเป็นดินแดนที่พระพุทธศาสนาจะเจริญรุ่งเรืองสืบไปในอนาคต ดินแดนริมแม่น้ำโขงแห่งนี้จึงเรียกว่า “เชียงรุ้ง” ตั้งแต่นั้นมา

    “อาณาจักรหอคำเชียงรุ้ง” ก่อร่างสร้างเมืองเป็นปึกแผ่นแน่นหนา ทั้งยังขยายอิทธิพลไปตีเมืองใกล้เคียงอย่างเชียงตุงของชาวไทย เมืองบางส่วนของชาวล้านช้าง เลยไปถึงเมืองแถงหรือเดียนเบียนฟูของชาวไทดำมาไว้ในครอบครอง อาณาจักรเชียงรุ้งได้สร้างความเป็นปึกแผ่น และสั่งสมวัฒนธรรมประเพณีของตนบนที่ราบเนินเขาลุ่มแม่น้ำโขงอันอุดมสมบูรณ์ มีการจัดระบบการปกครองหัวเมืองของตนเองตามวิถีชุมชนที่ผูกพันกับการเกษตร โดยแบ่งเขตการปกครองเป็น 12 พันนา หรือ 12 เขตการปกครอง โดยแต่ละพันนาจะมีเมืองเล็กๆ รวมกันอยู่ มีเมืองใหญ่ในพันนานั้นๆ เป็นศูนย์กลางคอยควบคุมดูแลอีกที

    ความจริงแล้วการแบ่งเขตการปกครองด้วยระบบพันนานี้ นิยมใช้กันมากในภูมิภาคแถบนี้เรื่อยมาจนถึงดินแดนล้านนา ซึ่งอาณาจักรล้านนานั้นก็มีหลักฐานการแบ่งเขตการปกครองเป็นระบบพันนาด้วยเช่นกัน เพียงแต่การแบ่งพันนาของล้านนานั้น แต่ละพันนาจะเป็นเพียงหน่วยการปกครองย่อยๆ เมืองหนึ่งอาจมีหลายพันนา เช่น ที่เมืองเชียงแสนมีถึง 32 พันนา และระบบพันนานี้น่าจะมีผลต่อการสถาปนาอาณาจักรล้านนา ซึ่งพญามังรายได้สถาปนาขึ้นโดยเอาเมืองใหญ่หลายเมืองมาเป็นอาณาจักรเดียวกัน และเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ระดับล้านนานั่นเอง

    กล่าวได้ว่า “สิบสองปันนา” ถือเป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ยิ่ง เพราะตั้งอยู่ตรงกลางที่ลุ่มหุบเขาริมแม่น้ำโขง ซึ่งชาวไทลื้อเรียกว่า “แม่น้ำล้านช้าง” ชาวจีนเรียกว่า “แม่น้ำหลันช้าง” “หลันชาง” หรือ “หลันชางเจียง” มีสภาพภูมิอากาศแบบป่าฝนเขตร้อน มีฝนตกชุก อากาศไม่หนาวจนเกินไป ผืนดินจึงอุดมไปด้วยป่าไม้เขตร้อน มีความหลากหลายทางชีวภาพ มีความเขียวขจีตลอดทั้งปี ในผืนป่าก็อุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์ป่าอย่างช้างและนกยูง ที่เป็นเสมือนสัตว์สัญลักษณ์ของสิบสองปันนา ซึ่งดินแดนใดในเขตปกครองจีนไม่มี สภาพความอุดมสมบูรณ์เช่นนี้จึงทำให้สิบสองปันนากลายเป็นอู่ข้าวอู่น้ำสำคัญของมณฑลยูนาน แหล่งเพาะปลูกข้าว อ้อย ยางพารา กาแฟ ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว ส่งขายไปยังเมืองอื่นๆ ในจีน

    ดินแดนสิบสองปันนาดำรงความมั่นคงเฟื่องฟูอยู่ราวร้อยกว่าปีก็ถูกรุกรานอีกครั้งโดยชาวจีนสมัยราชวงศ์มองโกล และตกอยู่ในการปกครองของจีนอีกครั้งในปี พ.ศ.1835 โดยจีนได้แต่งตั้ง “เจ้าแสนหวีฟ้า” ขึ้นเป็นกษัตริย์เชียงรุ้ง ซึ่งคำว่า “แสนหวี” นั้นมาจากภาษาจีนว่า “ชวนเหว่” ซึ่งหมายถึงการโฆษณาปลอบโยน ตำแหน่งของเจ้าแสนหวีจึงหมายถึงผู้ที่ทำหน้าที่เกลี้ยกล่อมปลอบโยนราษฎรในปกครองให้อยู่ในอำนาจของจักรพรรดิจีนนั่นเอง

    เมื่อสิบสองปันนาอ่อนแอลงและต้องตกอยู่ในปกครองของจีนแต่ศูนย์กลางแห่งอำนาจก็อยู่ห่างไกล ในขณะที่อิทธิพลของพม่าและสยามในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นเมื่อราว 200 กว่าปีก่อนก็แข็งแกร่งขึ้นตามลำดับ อาณาจักรสิบสองปันนาจึงจำต้องยอมอ่อนน้อมส่งเครื่องบรรณาการให้กับทั้งเจ้ากรุงจีน เจ้ากรุงศรีอยุธยา อันหมายถึงสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 เจ้ากรุงรัตนโกสินทร์แห่งสยาม และเจ้ากรุงอังวะแห่งพม่า สิบสองปันนาในยามนั้นจึงถูกเรียกว่าเมือง “สามฝ่ายฟ้า” คือตกอยู่ใต้อิทธิพลของชาติที่แข็งแกร่งกว่าถึง 3 อาณาจักรในเวลาเดียวกัน

    กระนั้นสิบสองปันนายังคงมีกษัตริย์ปกครองอยู่ถึง 45 รัชกาล กระทั่ง “เหมา เจ๋อ ตุง” ผู้นำปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจีนเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ในปี พ.ศ.2492 และนำทหารเข้ายึดครองสิบสองปันนาในปี พ.ศ.2493 จึงทำให้ระบอบกษัตริย์สิ้นสุดลง บรรดาเชื้อพระวงศ์ต่างแตกกระสานซ่านเซ็นไปอยู่พม่าบ้าง สยามบ้าง “เจ้าหม่อมคำลือ” กษัตริย์องค์สุดท้ายต้องเปลี่ยนฐานะกลายมาเป็นสามัญชนคนหนึ่ง โดยทางการจีนให้ทำงานอยู่ในสถาบันชนชาติส่วนน้อยแห่งมณฑลยูนนาน พระราชวังเวียงผาครางริมฝั่งแม่น้ำโขง เมืองเชียงรุ้งของกษัตริย์ไทลื้อถูกเผาทำลายลงจนราบคาบ

    ในปี พ.ศ.2501 เกิดการปฏิวัติวัฒนธรรมครั้งใหญ่ในจีน มีการทำลายล้างตำรา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญา ศาสนา วัดวาอาราม พระธรรมคัมภีร์ ตำราทางพระพุทธศาสนาในสิบสองปันนาถูกเผาทำลายลงเป็นจำนวนมาก การปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาถูกสั่งห้ามโดยเด็ดขาด พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทที่เคยรุ่งเรืองในเชียงรุ้งต้องขาดช่วงไปในที่สุด วิถีวัฒนธรรมของชาวไทลื้อที่เต็มไปด้วยสีสันถูกเข้มงวดกวดขันด้วยกฎเกณฑ์ การปฏิบัติตนตามวิถีวัฒนธรรมถูกลบล้างไปพร้อมกันอย่างน่าเสียดาย
     
  20. อีกาจอมภู

    อีกาจอมภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    244
    ค่าพลัง:
    +137
    รายพระนามกษัตริย์ผู้ครองเมืองเชียงแสน (พญาเจือง ครองในลำดับที่ 11 )

    ยุคเมืองหิรัญนคร

    ๑. พญาลวจักราช (ลาวจก)
    ๒. พญาลาวเก๊าแก้วมาเมือง
    ๓. พญาลาวเส้า (ลาวเสา)
    ๔. พญาลาวกลม (ลาวหลวง)
    ๕. พญาลาวเหลว
    ๖. พญาลาวกับ
    ๗. พญาลาวคิม (ลาวกิน)

    ยุคเมืองเงินยาง

    ๑. พญาลาวเคียง
    ๒. พญาลาวคิว
    ๓. พญาลาวเทิง (ลาวติง)
    ๔. พญาลาวทึง (ลาวเติง)
    ๕. พญาลาวคน
    ๖. พญาลาวสม
    ๗. พญาลาวกวก (ลาวพวก)
    ๘. พญาลาวกิว (ลาวกวิน)
    ๙. พญาลาวจง
    ๑๐. พญาจอมผาเรือง
    ๑๑. พญาลาวเจิง (ลาวเจื๋อง)
    ๑๒. พญาลาวเงินเรือง
    ๑๓. พญาลาวซิน (ลาวชื่น)
    ๑๔. พญาลาวมิง
    ๑๕. พญาลาวเมือง (ลาวเมิง)
    ๑๖. พญาลาวเมง (พระบิดาพญามังราย แห่งล้านนา)
     

แชร์หน้านี้

Loading...