"อุเบกขาธรรม" (หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ)

ในห้อง 'หลวงปู่ดู่ และ หลวงตาม้า' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 30 สิงหาคม 2012.

  1. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    เรามักจะเห็นการกระทำที่เป็นคำพูดและการแสดงออกอยู่บ่อย ๆ ส่วนการกระทำที่เป็นการนิ่ง ที่เรียกว่ามีอุเบกขานั้นมักไม่ค่อยได้เห็นกัน

    ในเรื่องการสร้างอุเบกขาธรรมขึ้นในใจนั้น ผู้ปฏิบัติใหม่เมื่อได้เข้ามารู้ธรรม เห็นธรรม ได้พบเห็นสิ่งแปลก ๆ และคุณค่าของพุทธศาสนา
    มักเกิดอารมณ์ความรู้สึกว่า อยากชวนคนมาวัดมาปฏิบัติให้มาก ๆ โดยลืมดูพื้นฐานจิตใจของบุคคลที่กำลังจะชวนว่าเขามีความสนใจมากน้อยเพียงใด

    หลวงปู่ท่านบอกว่า
    “ให้ระวังให้ดีจะเป็นบาป เปรียบเสมือนกับการจุดไฟไว้ตรงกลางระหว่างคน ๒ คน ถ้าเราเอาธรรมะไปชวนเขา เขาไม่เห็นด้วย
    ปรามาสธรรมนี้ซึ่งเป็นธรรมของพระพุทธเจ้าก็เท่ากับเราเป็นคนก่อ แล้วเขาเป็นคนจุดไฟ... บาปทั้งคู่เรียกว่า เมตตาจะพาตกเหว”


    แล้วท่านยกอุทาหรณ์สอนต่อว่า
    “เหมือนกับมีชายคนหนึ่งตกอยู่ในเหวลึก มีผู้จะมาช่วยคนที่ ๑ มีเมตตาจะมาช่วย เอาเชือกดึงขึ้นจากเหว ดึงไม่ไหวจึงตกลงไปในเหวเหมือนกัน
    คนที่ ๒ มีกรุณามาช่วยดึงอีกก็ตกลงเหวอีก คนที่ ๓ มีมุทิตามาช่วยดึงอีกก็พลาดตกเหวอีกเช่นกัน
    คนที่ ๔ สุดท้าย เป็นผู้มีอุเบกขาธรรม เห็นว่าเหวนี้ลึกเกินกว่ากำลังของตนที่จะช่วย ก็มิได้ทำประการใด ทั้ง ๆ ที่จิตใจก็มีเมตตาธรรมที่จะช่วยเหลืออยู่
    คนสุดท้ายนี้จึงรอดชีวิตจากการตกเหวตาย เพราะอุเบกขาธรรมนี้แล”

    ที่มาจากหนังสือ "ตามรอยธรรม ย้ำรอยครู หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ"
    ฉบับปรับปรุง พิมพ์ครั้งที่ ๓ : ๖ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๓
    จัดทำโดย : กลุ่มเพื่อนธรรมเพื่อนทำ
     
  2. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ผู้ที่เข้ามาห้องอภิญญา-สมาธิ หลายท่านเข้ามาหาความรู้ หลายท่านเข้ามาเพื่อแนะนำคนอื่น ด้วยความรู้ธรรมที่แตกต่างกัน หลายท่านปฏิบัติมามาก พอจะแนะนำคนอื่นได้ เป็นผู้ปฏิบัติมาก่อนเห็นคนอื่นกำลังหลงทาง ถ้าไม่เหลือบ่ากว่าแรงก็แนะนำกันได้ครับ ถ้าเห็นว่าพอจะแนะนำกันได้ แต่ถ้าผู้นั่นเขาไม่สนใจ เขาสนใจคำของอาจารย์ของเขา หรือทิฐิของตัวเองมากกว่า ก็ควรปล่อยวางครับ อย่าพยายามบังคับเขาให้เห็นด้วยกับเราเลย จะเป็นการปรามาสกัน ยกตนข่มท่าน “เมตตาจะพาตกเหว” แนะนำคนที่เขาขอคำแนะนำ ยังเป็นน้ำครึ่งแก้วดีกว่า คนที่น้ำเต็มแก้วแล้ว ใส่น้ำไปเท่าไหร่น้ำก็ไหลออกเท่านั้น เปล่าประโยชน์ วางอุเบกขาธรรมครับ
     
  3. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    ผมถือคตินี้ว่า "ไม่ได้มีหน้าที่เข็นใครเข้าพระนิพพาน"
    ปล.เข็นตัวเองยังไม่รอดเลยครับ
     
  4. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ผมเข้ามาห้องนี้ก็ไม่ได้คิดจะสอนใคร ส่วนใหญ่ผมจะยกพระธรรมจากพระไตรปิฏก
    หรือคำสอนของครูบาอาจารย์มาให้อ่านมากกว่าครับ อ่านแล้วท่านก็พิจารณากันเอง
    คิดเห็นอย่างไรก็ตามนั้น ตามภูมิธรรมของแต่ท่านครับ
     
  5. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    ข้อที่ห้ามมีสิบประการอีกหรือไม่ขอรับ
    ไม้สี่ศอกก็มีธนูก็มี
    หมวกก็มีหรืออย่างไรขอรับ

    ขอท่านเจริญในธรรมยิ่งแล้วครับ
     
  6. ดาวศุกร์

    ดาวศุกร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    171
    ค่าพลัง:
    +554
    "ท่านทั้งหลายจงมีธรรมเป็นที่พึ่งเถิด อย่ามีอย่างอื่นเป็นที่พึ่งเลย เราตถาคตเองเป็นที่พึ่งแก่ท่านทั้งหลายไม่ได้ ตถาคตเป็นแค่เพียงผู้ชี้บอกทางเท่านั้น ส่วนความเพียรพยายามเพื่อเผาบาปอกุศล ท่านทั้งหลายต้องทำเอง ทางมีอยู่ เราชี้แล้วบอกแล้ว ท่านทั้งหลายต้องเดินเอง"

    พระพุทธเจ้าผู้เป็นบรมครู ก่อนออกโปรดสัตว์โลก พระองค์ท่านยังต้องทรงเลือกโปรดเวไนยสัตว์ คือผู้ที่สามารถชี้แนะได้เลยครับ
     
  7. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ว่าด้วยพระพุทธองค์ไม่ขัดแย้งกับโลก

    [๒๓๙] พระนครสาวัตถี ฯลฯ สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย
    มาแล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่ขัดแย้งกับโลก. แต่โลกย่อมขัดแย้งกับเรา.
    ผู้กล่าวเป็นธรรมย่อมไม่ขัดแย้งกับใครๆ ในโลก สิ่งใดที่บัณฑิตในโลกสมมติว่า ไม่มี แม้เรา
    ก็กล่าวสิ่งนั้นว่า ไม่มี. สิ่งใดที่บัณฑิตในโลก สมมติว่า มี แม้เราก็กล่าวสิ่งนั้นว่า มี ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่บัณฑิตในโลกสมมติว่า ไม่มี ซึ่งเราก็กล่าวว่าไม่มีนั้น คืออะไร? คือ รูปที่
    เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา บัณฑิตในโลกสมมติว่า ไม่มี แม้เรา
    ก็กล่าวรูปนั้นว่า ไม่มี. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มีความไม่
    แปรปรวนเป็นธรรมดา โลกสมมติว่า ไม่มี แม้เราก็กล่าววิญญาณนั้นว่า ไม่มี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    นี้แหละที่เป็นบัณฑิตในโลกสมมติว่า ไม่มี ซึ่งเราก็กล่าวว่า ไม่มี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่
    บัณฑิตในโลกสมมติว่า มี ซึ่งเราก็กล่าวว่ามีนั้น คืออะไร. ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่ไม่เที่ยง
    เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ที่บัณฑิตในโลกสมมติว่า มี แม้เราก็กล่าวรูปนั้นว่า มี.
    เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ที่บัณฑิต
    ในโลกสมมุติว่า มี แม้เราก็กล่าววิญญาณนั้นว่า มี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แหละที่บัณฑิตใน
    โลกสมมุติว่า มี ซึ่งเราก็กล่าวว่า มี.
    [๒๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โลกธรรมมีอยู่ในโลก พระตถาคตย่อมตรัสรู้ ทราบชัด
    โลกธรรมนั้น ครั้นแล้วย่อมบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ตื้น.
    ก็โลกธรรมในโลก พระตถาคตย่อมตรัสรู้ ทราบชัดโลกธรรม ครั้นแล้ว ย่อมบอก แสดง
    บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ตื้นนั้น คืออะไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย คือ รูป
    เป็นโลกธรรมในโลก พระตถาคตย่อมตรัสรู้ ทราบชัดโลกธรรมนั้น ฯลฯ กระทำให้ตื้น.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลใด เมื่อพระตถาคตบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก
    กระทำให้ตื้นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่รู้ ไม่เห็น เราจะกระทำอะไรได้กะบุคคลนั้น ผู้เป็นปุถุชน
    คนพาลบอด ไม่มีจักษุ ไม่รู้ ไม่เห็น. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นโลกธรรมในโลก
    พระตถาคตย่อมตรัสรู้ ทราบชัดโลกธรรมนั้น ครั้นแล้ว ย่อมบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง
    เปิดเผย จำแนก กระทำให้ตื้น. บุคคลใด เมื่อพระตถาคตบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง
    เปิดเผย จำแนก กระทำให้ตื้นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่รู้ ไม่เห็น เราจะกระทำอะไรได้กะบุคคลนั้น
    ผู้เป็นปุถุชนคนพาล บอด ไม่มีจักษุ ไม่รู้ ไม่เห็น.
    [๒๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบลก็ดี ปทุมก็ดี บุณฑริกก็ดี เกิดแล้วในน้ำ เจริญแล้ว
    ในน้ำ ขึ้นพ้นจากน้ำตั้งอยู่ แต่น้ำไม่ติด แม้ฉันใด. พระตถาคตเกิดแล้วในโลก เจริญแล้วใน
    โลก ย่อมครอบงำโลกอยู่ แต่โลกฉาบทาไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกันแล.

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๑๓๓/๓๑๐
     
  8. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    ช่วงเวลานี้ เหมาะสมที่สุดที่ จะต้องอ่าน คะท่าน
    โมทนาสาธุคะ
     
  9. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    “ที่นี่ไม่ขัดข้อง ที่นี่ไม่วุ่นวาย”

    ครั้นปัจจุสสมัยแห่งราตรี พระผู้มีพระภาคตื่นบรรทมแล้วเสด็จจงกรมอยู่ ณ ที่แจ้ง
    ได้ทอดพระเนตรเห็นยสกุลบุตรเดินมาแต่ไกล ครั้นแล้วเสด็จลงจากที่จงกรมประทับนั่งบนอาสนะ
    ที่ปูลาดไว้. ขณะนั้น ยสกุลบุตรเปล่งอุทานในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคว่า ท่านผู้เจริญ ที่นี่
    วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ. ทันทีนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสกะยสกุลบุตรว่า ดูกรยส ที่นี่ไม่วุ่นวาย
    ที่นี่ไม่ขัดข้อง มาเถิดยส นั่งลง เราจักแสดงธรรมแก่เธอ. ที่นั้น ยสกุลบุตรร่าเริงบันเทิงใจว่า
    ได้ยินว่า ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง ดังนี้ แล้วถอดรองเท้าทองเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
    ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อยสกุลบุตรนั่งเรียบร้อยแล้ว
    พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถา คือ ทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา โทษ
    ความต่ำทราม ความเศร้าหมองของกามทั้งหลาย และอานิสงส์ในความออกจากกาม. เมื่อพระองค์
    ทรงทราบว่า ยสกุลบุตรมีจิตสงบ มีจิตอ่อน มีจิตปลอดจากนิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว
    จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนา ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์
    สมุทัย นิโรธ มรรค. ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง
    มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา
    ได้เกิดแก่ยสกุลบุตร ณ ที่นั่ง
    นั้นแล ดุจผ้าที่สะอาดปราศจากมลทิน ควรได้รับน้ำย้อมเป็นอย่างดี ฉะนั้น.

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๒๕/๓๐๔
     
  10. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    กราบขอบพระคุณครับ
    นรกสี่สวรรค์หก
    ตรงนี้ท่านกล่าวไว้มีอยู่หากเทียบกับธรรมนี้
    วงกลมมีสี่เหลือสามสี่ไปไม่ถึงหรือไม่ขอรับ

    พุทธมาจากพราห์ม
    กษัตริย์ แพศ พราห์ม สุตร

    กราบขอบพระคุณอีกครั้งครับ
    ผมไม่เอาถ่านเอาขี้เถ้าต่างหาก

    ขอท่านเจริญในธรรมยิ่งแล้วครับ
     
  11. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ทรรศนะต่างกัน

    เกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันในวงของผู้ปฏิบัติธรรม หลวงปู่ท่านได้ให้โอวาทเตือนผู้ปฏิบัติไว้ว่า “การมาอยู่ด้วยกัน ปฏิบัติด้วยกันมากเข้า ย่อมมีเรื่องกระทบกระทั่งกันเป็นธรรมดา ตราบใดที่ยังเป็นปุถุชนคนธรรมดาอยู่ ทิฏฐิความเห็นย่อมต่างกัน ขอให้เอาแต่ส่วนดีมาสนับสนุนกัน อย่าเอาเลวมาอวดกัน การปรามาสพระก็ดี การพูดจาจาบจ้วงในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือท่านที่มีศีลมีธรรมก็ดี จะเป็นกรรมติดตัวเราและขัดขวางการปฏิบัติธรรมในภายหน้า ดังนั้นหากเห็นใครทำความดี ก็ควรอนุโมทนายินดีด้วย แม้ต่างวัดต่างสำนักหรือแบบปฏิบัติต่างกันก็ตาม”

    ไม่มีใครผิดหรอก เพราะจุดมุ่งหมายต่างก็เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์เช่นกัน เพียงแต่เราจะทำให้ดี ดียิ่ง ดีที่สุด ขอให้ถามตัวเราเองเสียก่อนว่า... แล้วเราล่ะถึงที่สุดแล้วหรือยัง?

    ที่มาจากหนังสือ "ตามรอยธรรม ย้ำรอยครู หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ"
    ฉบับปรับปรุง พิมพ์ครั้งที่ ๓ : ๖ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๓
    จัดทำโดย : กลุ่มเพื่อนธรรมเพื่อนทำ
     

แชร์หน้านี้

Loading...