อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์. พระบรมศาสดา และเหล่าผู้พระสาวก

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย NAMOBUDDHAYA, 11 ตุลาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    b5HQLweRYNmfzPlH2hII418R1r-CNNF-_iFIy3arPy4V&_nc_ohc=dB_kcnOMubUAX_jqPRm&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    ujAZnZXtVUuXPcySbJME8PMVytIcehre4RWR7FxFCs8pDqTO5BACvmeo5BN0R5cVeBXCJ7dw&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
     
  4. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
     
  5. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
     
  6. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    #การแสวงหา แก่นธรรมในพระพุทธศาสนา
    ........

    กิ่งและใบแห่งพรหมจรรย์ = ลาภสักการะและความสรรเสริญ

    สะเก็ดแห่งพรหมจรรย์ = ความสมบูรณ์แห่งศีล

    เปลือกแห่งพรหมจรรย์ = ความสมบูรณ์แห่งสมาธิ

    กระพี้แห่งพรหมจรรย์ = ญาณทัสสนะ

    แก่นแห่งพรหมจรรย์ = เจโตวิมุตติอันไม่กำเริบ

    ........
    ดูรายละเอียดใน จูฬสาโรปมสูตร
    ว่าด้วยอุปมาด้วยแก่นไม้ สูตรเล็ก
    มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒
    https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=12&siri=30



    ?temp_hash=1510894e739c09e70dcbfc1f4b0832c4.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    ลักษณะของนักปราชญ์
    ***************
    (พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า)
    [๙๔] ขอถวายพระพรท้าวสักกะ ผู้เป็นใหญ่แห่งภูตทั้งปวง
    หากมหาบพิตรจะประทานพรแก่อาตมา
    ขอให้อาตมาพึงได้พบ พึงได้ยิน พึงได้อยู่ร่วมกับนักปราชญ์
    พึงได้เจรจาปราศรัยและพอใจการเจรจาปราศรัยกับนักปราชญ์เถิด
    (ท้าวสักกะตรัสว่า)
    [๙๕] พระคุณเจ้ากัสสปะ นักปราชญ์ได้ทำอะไรแก่พระคุณเจ้าหรือ
    ขอจงบอกเหตุ เพราะเหตุไร
    พระคุณเจ้าจึงต้องการพบเห็นนักปราชญ์
    (พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า)
    [๙๖] นักปราชญ์ผู้มีปัญญาย่อมแนะนำสิ่งที่ควรแนะนำ
    ไม่ชักชวนในสิ่งที่ไม่ใช่ธุระ การแนะนำดีเป็นสิ่งประเสริฐของเขา
    เขาถูกว่ากล่าวโดยชอบก็ไม่โกรธ
    นักปราชญ์นั้นรู้วินัย การสมาคมกับท่านเป็นการดี
    ……………
    ข้อความบางตอนใน อกิตติชาดก ขุททกนิกาย ชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=27&siri=480
    และดูเพิ่มใน อรรถกถา อกิตติชาดก http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1806
    #คบแต่บัณฑิต #บัณฑิต #นักปราชญ์
    jj2jX9d7s8b_0E2SilrF5QP24A-7IXALEN-SJOedtOZU&_nc_ohc=6GeX1-VCdr8AX9cKf88&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    9JaPOFMfpDDkFtvIH1YgpuRBcdIRZB-GY4MEhkvA1_32c-uM-E8c9J_7kWoxgTD4GTdAKjAz&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    iXxUkONpYBIzi3ztL_-HGYlwllSTYmRnli2EZ6qj3mTL&_nc_ohc=JPRv1ETwxA4AX_RIpaF&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg

    ว่าด้วยวิเวก ๓ อย่าง
    [๓๓] คำว่า นรชนเช่นนั้น ย่อมอยู่ไกลจากวิเวก มีความว่า วิเวก ได้แก่ วิเวก ๓
    อย่าง คือ กายวิเวก จิตตวิเวก อุปธิวิเวก.
    #กายวิเวกเป็นไฉน? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมซ่องเสพเสนาสนะอันสงัด คือ
    ป่า โคนต้นไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง และเป็นผู้สงัดด้วยกายอยู่
    คือ เดินผู้เดียว ยืนผู้เดียว นั่งผู้เดียว นอนผู้เดียว เข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตผู้เดียว กลับผู้เดียว นั่ง
    อยู่ในที่เร้นลับผู้เดียว อธิษฐานจงกรมผู้เดียว เป็นผู้เดียว เที่ยว อยู่ เปลี่ยนอริยาบถ ประพฤติ
    รักษาเป็นไป ให้เป็นไป นี้ชื่อว่า กายวิเวก.
    #จิตตวิเวกเป็นไฉน? ภิกษุผู้บรรลุปฐมฌาน มีจิตสงัดจากนิวรณ์ บรรลุทุติยฌาน มีจิต
    สงัดจากวิตกและวิจาร บรรลุตติยฌาน มีจิตสงัดจากปีติ บรรลุจตุตตถฌาน มีจิตสงัดจากสุขและ
    ทุกข์ บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน มีจิตสงัดจากรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา บรรลุ
    วิญญาณัญจายตนฌาน มีจิตสงัดจากอากาสานัญจายตนสัญญา บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน มีจิต
    สงัดจากวิญญาณัญจายตนสัญญา บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน มีจิตสงัดจากอากิญจัญญายตน
    สัญญา (เมื่อภิกษุนั้น) เป็นโสดาบันบุคคล มีจิตสงัดจากสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพัตตปรามาส
    ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับสักกายทิฏฐิเป็นต้น
    เป็นสกทาคามีบุคคล มีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ อย่างหยาบ กามราคานุสัย
    ปฏิฆานุสัย อย่างหยาบ และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกันกามราคสังโยชน์อย่างหยาบ
    เป็นต้นนั้น เป็นอนาคามีบุคคล มีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์อย่างละเอียด
    กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อย่างละเอียด และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับกามราค-
    *สังโยชน์อย่างละเอียดเป็นต้นนั้น เป็นอรหันตบุคคลมีจิตสงัดจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ
    อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย กิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับ
    รูปราคะเป็นต้นนั้น และจากสังขารนิมิตทั้งปวงในภายนอก นี้ชื่อว่าจิตตวิเวก.
    #อุปธิวิเวกเป็นไฉน? กิเลสก็ดี ขันธ์ก็ดี อภิสังขารก็ดี เรียกว่าอุปธิ. อมตะ นิพพาน
    เรียกว่าอุปธิวิเวก ได้แก่ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้น
    ตัณหา เป็นที่สำรอก เป็นที่ดับ เป็นที่ออกไปจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด นี้ชื่อว่าอุปธิวิเวก.
    ก็กายวิเวก ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีกายหลีกออกแล้ว ยินดียิ่งในเนกขัมมะ จิตตวิเวก
    ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีจิตบริสุทธิ์ ถึงซึ่งความเป็นผู้มีจิตผ่องแผ้วอย่างยิ่ง อุปธิวิเวก ย่อมมีแก่
    บุคคลผู้หมดอุปธิถึงซึ่งนิพพานอันเป็นวิสังขาร.
    คำว่า ไกลจากวิเวก มีความว่า นรชนนั้นใด เป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำอย่างนี้ อันกิเลส
    มากปิดบังไว้อย่างนี้ หยั่งลงในที่หลงอย่างนี้ นรชนนั้นย่อมอยู่ไกลแม้จากกายวิเวก ย่อมอยู่
    ไกลแม้จากจิตตวิเวก ย่อมอยู่ไกลแม้จากอุปธิวิเวก คืออยู่ในที่ห่างไกลแสนไกล มิใช่ใกล้
    มิใช่ใกล้ชิด มิใช่เคียง มิใช่ใกล้เคียง. คำว่า อย่างนั้น คือ ผู้หยั่งลงในที่หลง ชนิดนั้น
    เช่นนั้น ดำรงอยู่ดังนั้น แบบนั้น เหมือนเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนเช่นนั้น
    ย่อมอยู่ไกลจากวิเวก.

    เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ บรรทัดที่ ๕๕๖-๕๘๙ หน้าที่ ๒๔-๒๕.
    http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=29&A=556&Z=589...
    http://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=29&item=33...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    ?temp_hash=8b2283ab57c4e0d2221c05e2385488e8.jpg


    "บทว่า สติมนฺโต จ ฌายิโน ได้แก่ ชื่อว่ามีสติ เพราะ #สติอันเป็นเหตุไม่ละกรรมฐาน ในการยืนและการนั่งเป็นต้น. ชื่อว่ามีฌาน เพราะมีฌานมีลักษณะเข้าไปเพ่งอารมณ์.

    บทว่า สมฺมา ธมฺมํ วิปสฺสนฺติ กาเมสุ อนเปกฺขิโน ความว่า ไม่มีความเพ่งเล็ง คือไม่มีความต้องการในวัตถุกามและกิเลสกาม โดยนัยมีอาทิว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนโครงกระดูกในก่อนนั้นแล ด้วยพิจารณาถึงโทษ ครั้นละกามทั้งหลายเหล่านั้นแล้ว #กระทำอุปจารสมาธิ หรือ

    #อัปปนาสมาธิให้เป็นบาท

    #แล้วกำหนดนามรูปและปัจจัยแห่งนามรูปนั้น

    #ย่อมเห็นธรรมคือขันธ์๕ ไม่วิปริตโดยชอบตามลำดับมีการพิจารณากลาปะ (กลุ่มก้อน) เป็นต้น โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น"

    ปฏิสัลลานสูตร
    ว่าด้วยการหลีกเร้น

    [๔๕] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์
    กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
    “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้พอใจในการหลีกเร้น ยินดีในการ
    หลีกเร้น หมั่นประกอบความสงบแห่งจิตภายใน ไม่ห่างจากฌาน ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนเรือนว่าง๒- เถิด

    @เชิงอรรถ :
    @๑ ภวเนตติ เป็นชื่อของตัณหา หมายถึงเชือกผูกสัตว์ไว้ในภพ(ภวรชฺชุ) (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑/๒๗๙)
    @๒ เพิ่มพูนเรือนว่าง ในที่นี้หมายถึงการเรียนสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน แล้วไปยังเรือนว่าง นั่งอยู่
    @ตลอดวันและคืน เจริญอธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา (องฺ.ทสก.อ. ๓/๗๑/๓๕๗, ม.มู.อ. ๑/๖๕/๑๖๙,
    @ขุ.อิติ.อ. ๔๕/๑๙๒)

    ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายพอใจในการหลีกเร้น ยินดีในการหลีกเร้น
    หมั่นประกอบความสงบแห่งจิตภายใน ไม่ห่างจากฌาน ประกอบด้วยวิปัสสนา
    เพิ่มพูนเรือนว่างอยู่ พึงหวังได้ผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน
    หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ก็จักเป็นอนาคามี”
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
    คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
    ชนทั้งหลายมีจิตสงบแล้ว มีปัญญารักษาตน
    มีสติ เพ่งพินิจอยู่ ไม่ไยดีในกามทั้งหลาย
    ย่อมเห็นแจ้งธรรมโดยชอบ
    เป็นผู้ยินดีในความไม่ประมาท
    มีปกติเห็นภัยในความประมาท
    เป็นผู้ไม่ควรเสื่อม ดำรงอยู่ใกล้นิพพานทีเดียว
    แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
    ปฏิสัลลานสูตรที่ ๘ จบ

    เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๓๙๔-๓๙๕.
    http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=160

    อรรถกถาสัลลานสูตร
    ในสัลลานสูตรที่ ๘ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
    บทว่า ปฏิสลฺลานารามา ได้แก่ เป็นผู้หลีกเลี่ยงจากสัตว์และสังขารเหล่านั้นๆ แล้วหลีกเร้นอยู่ผู้เดียว. ชื่อว่ามีกายวิเวก เพราะเสพเอกมรรค. ชื่อว่า ปฏิสลฺลานารามา เพราะเป็นผู้มีความหลีกเร้นเป็นที่ยินดีถือเป็นที่ชอบใจ. บาลีว่า ปฏิสลฺลานารามา ดังนี้บ้าง. ชื่อว่า ปฏิสลฺลานารามา เพราะเป็นผู้มีความหลีกเร้นดังกล่าวแล้วเป็นที่มายินดี เพราะควรมายินดี.
    บทว่า วิหรถ ความว่า เธอทั้งหลายจงเป็นผู้เป็นอย่างนี้อยู่เถิด. ชื่อว่า ปฏิสลฺลานรตา เพราะเป็นผู้ยินดีแล้ว คือยินดีเป็นนิจ เบิกบานแล้วในความหลีกเร้น.
    ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ การประกอบความเพียรและความเป็นผู้มีการหลีกเร้น อันเป็นนิมิตแห่งการประกอบความเพียรนั้น ท่านแสดงไว้แล้ว.
    การประกอบความเพียรเว้นจากธรรมทั้งหลายเหล่านี้ คือ สีลสังวร ความเป็นผู้มีทวารคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ สติและสัมปชัญญะ ย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่าธรรมแม้เหล่านั้น ท่านกล่าวไว้ในที่นี้โดยเนื้อความเท่านั้น.
    บทว่า อชฺฌตฺตํ เจโตสมถมนฺยุตฺตา ได้แก่ ประกอบจิตของตนไว้ในสมถะ.
    บทว่า อชฺฌตฺตํ อตฺตโน นี้ ความอย่างเดียวกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน.
    บทว่า สมถํ เป็นทุติยาวิภัตติลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ โดยประกอบตามศัพท์.
    บทว่า อนิรากตชฺฌานา ได้แก่ มีฌานไม่นำออกไปภายนอก หรือมีฌานไม่เสื่อม. บทนี้ว่า การนำออกหรือความเสื่อมชื่อว่า นิรากตํ ดุจในคำมีอาทิว่า ถมฺภํ นิรํกตฺวา นิวาตวุตฺติ การประพฤติอ่อนน้อมเพราะไม่ยอมรับความดื้อ.๑-
    ____________________________
    ๑- ขุ. สุ. เล่ม ๒๕/ข้อ ๓๒๖

    บทว่า วิปสฺสนาย สมนฺนาคตา ได้แก่ ประกอบแล้วด้วยอนุปัสสนา ๗ อย่าง.
    อนุปัสสนา ๗ อย่าง คือ
    อนิจจานุปัสสนา (การเห็นว่าไม่เที่ยง) ๑
    ทุกขานุปัสสนา (ความเห็นว่าเป็นทุกข์) ๑
    อนัตตานุปัสสนา (ความเห็นว่าไม่เป็นตัวตน) ๑
    นิพพิทานุปัสสนา (ความเห็นด้วยความเบื่อหน่าย) ๑
    วิราคานุปัสสนา (ความเห็นในการปราศจากราคะ) ๑
    นิโรธานุปัสสนา (ความเห็นในการดับทุกข์) ๑
    ปฏินิสสัคคานุปัสสนา (ความเห็นในการสละทิ้ง) ๑
    วิปัสสนาเหล่านั้นพิสดารแล้วในวิสุทธิมรรค.
    บทว่า พฺรูเหตาโร สุญฺญาคารานํ ได้แก่ เจริญสุญญาคาร.
    อนึ่ง ในบทว่า สุญฺญาคารานํ นี้ ได้แก่ ความสงัดอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นฐานะอันสมควรแก่การบำเพ็ญภาวนา ภิกษุทั้งหลายเรียนกรรมฐานทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานแล้ว เข้าไปยังสุญญาคารตลอดคืนและวัน นั่งบำเพ็ญภาวนาพึงทราบว่าเป็นผู้พอกพูนสุญญาคาร. ส่วนผู้อยู่แม้ในปราสาทชั้นเดียวเป็นต้นเพ่งอยู่ ก็พึงทราบว่า เป็นผู้พอกพูนสุญญาคารเหมือนกัน.
    ความเป็นผู้มีกายหลีกเร้นอยู่อันใดที่ท่านตั้งไว้ในบทนี้ว่า ปฏิสลฺลานา รามา ภิกฺขเว วิหรถ ปฏิสลฺลานรตา ความเป็นผู้มีกายหลีกเร้นอยู่นั้น ย่อมมีแก่ผู้มีศีลบริสุทธิ์ ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีศีลหรือมีศีลไม่บริสุทธิ์ เพราะผู้มีศีลบริสุทธิ์นั้นไม่มีการหมุนกลับจิตจากรูปารมณ์เป็นต้น. อรรถแห่งความพยายามท่านกล่าวไว้ในบทว่า สีลวิสุทฺธิ ทสฺสิตา สีลวิสุทธิท่านแสดงไว้แล้ว. ท่านกล่าวถึงสมาธิภาวนาด้วยบท ๒ บทว่า อชฺฌตฺตญฺเจโตสมถมนุยุตฺตา (การประกอบจิตของตนไว้ในสมถะในภายใน) ๑ อนิรากตชฺฌานา (มีฌานไม่เสื่อม) ๑ ท่านจัดปัญญาภาวนาไว้ด้วยบทนี้ว่า วิปสฺสนาย สมนฺนาคตา ดังนี้. ท่านแสดงสิกขา ๓ เป็นโลกิยะ.
    บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะทรงแสดงถึงผลอันมีแน่แท้ของผู้ตั้งอยู่ในสิกขา ๓ เหล่านั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า ปฏิสลฺลานารามา ดังนี้.
    ในบทเหล่านั้น บทว่า พฺรูเหตานํ คือ เจริญ.
    บทว่า ทวินฺนํ ผลานํ ได้แก่ ผลที่ ๓ และที่ ๔.
    บทว่า ปาฏิกงฺขํ ได้แก่ พึงปรารถนา คือมีแน่แท้.
    บทว่า อญฺญา ได้แก่ พระอรหัต.
    จริงอยู่ พระอรหัตนั้น ท่านเรียกว่า อญฺญา เพราะรู้ไม่เกินขอบเขตที่รู้ได้ด้วยมรรคญาณเบื้องต่ำและเพราะไม่มีกิจที่จะต้องรู้เบื้องสูง เพราะพระอรหันต์เป็นผู้มีความรู้บริบูรณ์แล้ว
    บทว่า สติ วา อุปาทิเสเส ได้แก่ เมื่อยังมีกิเลสเหลืออยู่ไม่สามารถจะละได้ หรือเมื่อมีญาณยังไม่แก่กล้า กิเลสที่ควรจะละได้ด้วยญาณอันแก่กล้านั้นก็ละไม่ได้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงกิเลสนั้น จึงตรัสว่า สติ วา อุปาทิเสเส ดังนี้. และเมื่อยังมีกิเลสอยู่ การปรุงแต่งขันธ์ทั้งหลายก็ยังคงอยู่นั้นเอง.
    ในสูตรนี้ท่านแสดงธรรม ๒ อย่าง คือ อนาคามิผล ๑ อรหัตผล ๑ ด้วยประการฉะนี้. ในสูตร ๒ สูตรนอกจากนี้ก็เหมือนในสูตรนี้.
    ในคาถาทั้งหลาย มีอธิบายดังต่อไปนี้
    บทว่า เย สนฺตจิตฺตา ได้แก่ พระโยคาวรจรเหล่าใด ชื่อว่ามีจิตสงบแล้ว เพราะกิเลสสงบด้วยตทังคปหาน.
    ปัญญา ท่านเรียกว่า เนปกฺกํ (ปัญญาเครื่องรักษาตน). ชื่อว่านิปกา เพราะประกอบด้วยปัญญานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงญาณเครื่องบริหารกรรมฐานแก่ชนเหล่านั้น ด้วยบทว่า เนปกฺกํ นี้.
    บทว่า สติมนฺโต จ ฌายิโน ได้แก่ ชื่อว่ามีสติ เพราะสติอันเป็นเหตุไม่ละกรรมฐาน ในการยืนและการนั่งเป็นต้น. ชื่อว่ามีฌาน เพราะมีฌานมีลักษณะเข้าไปเพ่งอารมณ์.
    บทว่า สมฺมา ธมฺมํ วิปสฺสนฺติ กาเมสุ อนเปกฺขิโน ความว่า ไม่มีความเพ่งเล็ง คือไม่มีความต้องการในวัตถุกามและกิเลสกาม โดยนัยมีอาทิว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนโครงกระดูกในก่อนนั้นแล ด้วยพิจารณาถึงโทษ ครั้นละกามทั้งหลายเหล่านั้นแล้วกระทำอุปจารสมาธิ หรืออัปปนาสมาธิให้เป็นบาท แล้วกำหนดนามรูปและปัจจัยแห่งนามรูปนั้น ย่อมเห็นธรรมคือขันธ์ ๕ ไม่วิปริตโดยชอบตามลำดับมีการพิจารณากลาปะ (กลุ่มก้อน) เป็นต้น โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น.
    ____________________________
    ๒- วิ. มหาวิ. เล่ม ๒/ข้อ ๖๖๒ ม. มู. เล่ม ๑๒/ข้อ ๒๗๔

    บทว่า อปฺปมาทรตา ได้แก่ ยินดี คือยินดียิ่งในความไม่ประมาท ด้วยการเจริญสมถะและวิปัสสนามีประการดังกล่าวแล้ว คือไม่ให้คืนและวันล่วงไปด้วยความประมาทในธรรมนั้น.
    บทว่า สนฺตา แปลว่า มีอยู่. บาลีว่า สตฺตา ดังนี้บ้าง. อธิบายว่า ได้แก่ บุคคล.
    บทว่า ปมาเท ภยทสฺสิโน ได้แก่ เห็นภัยในความประมาทมีการเข้าถึงนรกเป็นต้น.
    บทว่า อภพฺพาปริหานาย ได้แก่ ชนเห็นปานนั้นเหล่านั้นเป็นผู้ไม่ควรเพื่อความเสื่อมรอบจากธรรม คือสมถะและวิปัสสนา หรือจากมรรคผล ด้วยว่าชนทั้งหลายไม่เสื่อมจากสมาบัติ คือสมถวิปัสสนา และย่อมบรรลุมรรคผลที่ตนยังไม่บรรลุ.
    บทว่า นิพพานสฺเสว สนฺติเก ได้แก่ ในที่ใกล้แห่งนิพพานและแห่งอนุปาทิเสสนิพพานนั้นเอง. ไม่นานนัก ชนเหล่านั้นจักบรรลุนิพพานนั้นด้วยประการฉะนี้.

    จบอรรถกถาสัลลานสูตรที่ ๘
    -----------------------------------------------------

    ชื่อว่า #การปฏิบัติเป็นกิจหน้าที่ของสาวกผู้ฟังทั้งหลาย. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ นี้ไคนไม้ ฯลฯ เป็น #อนุสาสนีคำพร่ำสอนดังนี้. ก็ในพระดำรัสนั้น ทรงแสดงเสนาสนะคือโคนไม้ ด้วยบทว่า รุกฺขมูลานิ โคนไม้นี้. ทรงแสดงสถานที่สงัดจากคน ด้วยบทว่า สุญฺญาคารานิ (เรือนว่าง) นี้.
    อนึ่ง ทรงบอกเสนาสนะที่เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรแม้ด้วยบททั้งสอง ชื่อว่าทรงมอบมรดกให้.
    บทว่า ฌายถ ได้แก่ ท่านทั้งหลายจงเพ่งพินิจ #อารมณ์๓๘ ด้วยการเพ่งพินิจโดยอารมณ์ และเพ่งพินิจขันธ์ อายตนะเป็นอาทิ โดยเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น ด้วยการเพ่งพินิจโดยลักษณะ. ท่านอธิบายว่า จงเจริญสมถะและวิปัสสนา.
    บทว่า มา ปมาทตฺถ แปลว่า อย่าประมาทเลย.
    บทว่า มา ปจฺฉา วิปฺปฏิสาริโน อหุวตฺถ ความว่า เมื่อทรงแสดงความข้อนี้ว่า สาวกเหล่าใด เวลายังเป็นหนุ่ม เวลาไม่มีโรค เวลาสมบูรณ์ด้วยสัปปายะมีข้าวเป็นที่สบายเป็นต้น เวลาที่ยังอยู่ต่อหน้าพระศาสดา ละเว้นการใส่ใจโดยแยบคาย มัวแต่เพลินสุขในการหลับนอน เป็นอาหารของเรือดตลอดทั้งวันทั้งคืน ประมาทมาแต่ก่อน ภายหลังสาวกเหล่านั้น เวลาแก่ตัวลง เป็นโรค ใกล้จะตาย เวลาวิบัติ และเวลาที่พระศาสดาปรินิพพานเสียแล้ว เมื่อรำลึกถึงการอยู่อย่างประมาทมาแต่ก่อนนั้น มองเห็นการทำกาละ [ตาย] ชนิดมีปฏิสนธิว่าเป็นภาระ ก็ร้อนใจ ส่วนเธอทั้งหลายอย่าได้เป็นกันเช่นนั้นเลยดังนี้ จึงตรัสว่า พวกเธออย่าได้ร้อนใจกันในภายหลังเลย.
    บทว่า อยํ โว อมฺหากํ อนุสาสนี ความว่า วาจานี้ว่า พวกเธอจงเพ่งพินิจ จงอย่าประมาท เป็นอนุสาสนี. ท่านอธิบายว่า เป็นโอวาทจากเรา สำหรับเธอทั้งหลาย ดังนี้.

    อรรถกถาปฐมธรรมวิหาริกสูตรที่ ๓

    ปฐมธัมมวิหารีสูตร
    ว่าด้วย #บุคคลผู้อยู่ด้วยธรรม สูตรที่ ๑

    [๗๓] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
    อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ‘ผู้อยู่ด้วยธรรม ผู้อยู่ด้วยธรรม’ ภิกษุ
    ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ด้วยธรรม ด้วยเหตุเท่าไรหนอ
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
    ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา
    อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม และเวทัลละ เธอปล่อยให้
    วันคืนล่วงเลยไป ละการหลีกเร้นอยู่ ไม่ประกอบความสงบใจภายใน
    เพราะการเรียนธรรมนั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่าเป็นผู้มากด้วยการเรียน
    ธรรม ไม่เรียกว่าเป็นผู้อยู่ด้วยธรรม
    ๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้แสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมา ตามที่ตนได้
    เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร เธอปล่อยให้วันคืนล่วงเลยไป ละการ
    หลีกเร้นอยู่ ไม่ประกอบความสงบใจภายใน เพราะการแสดงธรรมนั้น
    ภิกษุนี้เราเรียกว่าเป็นผู้มากด้วยการแสดงธรรม ไม่เรียกว่าเป็นผู้อยู่
    ด้วยธรรม

    ๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้สาธยายธรรมตามที่ตนได้สดับมา ตามที่ตนได้
    เรียนมา แก่ผู้อื่นโดยพิสดาร เธอปล่อยให้วันคืนล่วงเลยไป ละการ
    หลีกเร้นอยู่ ไม่ประกอบความสงบใจภายใน เพราะการสาธยายธรรมนั้น
    ภิกษุนี้เราเรียกว่าเป็นผู้มากด้วยการสาธยายธรรม ไม่เรียกว่าเป็นผู้
    อยู่ด้วยธรรม
    ๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตามด้วยใจซึ่งธรรม
    ตามที่ตนได้สดับมา ตามที่ตนได้เรียนมา เธอปล่อยให้วันคืนล่วง
    เลยไป ละการหลีกเร้นอยู่ ไม่ประกอบความสงบใจภายใน เพราะ
    การตรึกตามธรรมนั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่าเป็นผู้มากด้วยการตรึกธรรม
    ไม่เรียกว่าเป็นผู้อยู่ด้วยธรรม
    ๕. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา
    อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม และเวทัลละ เธอไม่ปล่อย
    ให้วันคืนล่วงเลยไป ไม่ละการหลีกเร้นอยู่ ตามประกอบความสงบใจ
    ภายใน เพราะการเรียนธรรมนั้น ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้อยู่ด้วยธรรม
    อย่างนี้แล
    เราแสดงภิกษุผู้มากด้วยการเรียนธรรม ผู้มากด้วยการแสดงธรรม ผู้มากด้วย
    การสาธยายธรรม ผู้มากด้วยการตรึกธรรม ผู้อยู่ด้วยธรรม ด้วยประการฉะนี้แล ภิกษุ
    กิจใดที่ศาสดาผู้หวังประโยชน์เกื้อกูล อนุเคราะห์ อาศัยความเอ็นดู พึงทำแก่สาวก
    ทั้งหลาย กิจนั้น เราได้ทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย ภิกษุ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง๑- เธอจง
    เพ่ง๒- อย่าประมาท อย่าเป็นผู้มีวิปปฏิสาร(ความร้อนใจ)ในภายหลังเลย นี้เป็น
    อนุสาสนีของเราเพื่อเธอทั้งหลาย
    ปฐมธัมมวิหารีสูตรที่ ๓ จบ

    @เชิงอรรถ :
    @๑ คำว่า นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง นี้ พระผู้มีพระภาคตรัสมอบมรดก คือเสนาสนะ หรือสถานที่ที่สงัด
    @ปราศจากคน เหมาะแก่การบำเพ็ญความเพียรแก่ภิกษุ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๗๓/๓๖)
    @๒ เพ่ง ในที่นี้หมายถึงเจริญสมถกัมมัฏฐานโดย
    #เพ่งอารมณ์กัมมัฏฐาน๓๘ ประการ และเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน
    @โดย #เพ่งขันธ์๕ อายตนะ ๑๒ เป็นต้น ว่าเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นต้น (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๗๓/๓๖)

    เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๑๒๓-๑๒๔.
    http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=73
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    ?temp_hash=00b0f0bbc2b82ad7bb69af8fa3e6448e.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    ผลแห่งสติสัมปชัญญะ

    ************


    [๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

    “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อสติสัมปชัญญะไม่มี หิริและโอตตัปปะของบุคคลผู้มีสติสัมปชัญญะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
    เมื่อหิริและโอตตัปปะไม่มี อินทรียสังวรของบุคคลผู้มีหิริและโอตตัปปะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
    เมื่ออินทรียสังวรไม่มี ศีลของบุคคลผู้มีอินทรียสังวรวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
    เมื่อศีลไม่มี สัมมาสมาธิของบุคคลผู้มีศีลวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
    เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
    เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี นิพพิทาและวิราคะของบุคคลผู้มียถาภูตญาณทัสสนะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
    เมื่อนิพพิทาและวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
    ภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ที่มีกิ่งและใบวิบัติแล้ว สะเก็ด เปลือก กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้ฉันใด
    ภิกษุทั้งหลาย เมื่อสติสัมปชัญญะไม่มี หิริและโอตตัปปะของบุคคลผู้มีสติสัมปชัญญะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
    เมื่อหิริและโอตตัปปะไม่มี อินทรียสังวรของบุคคลผู้มีหิริและโอตตัปปะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
    ฯลฯ
    วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน
    ภิกษุทั้งหลาย เมื่อสติสัมปชัญญะมี หิริและโอตตัปปะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสติสัมปชัญญะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
    เมื่อหิริและโอตตัปปะมี อินทรียสังวรของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยหิริและโอตตัปปะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
    เมื่ออินทรียสังวรมีศีลของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอินทรียสังวร ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
    เมื่อศีลมี สัมมาสมาธิของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
    เมื่อสัมมาสมาธิมี ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
    เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมี นิพพิทาและวิราคะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
    เมื่อนิพพิทาและวิราคะมี วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาและวิราคะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
    ภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์ สะเก็ด เปลือก กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น ย่อมถึงความบริบูรณ์ แม้ฉันใด
    ภิกษุทั้งหลาย เมื่อสติสัมปชัญญะมี หิริและโอตตัปปะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสติสัมปชัญญะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
    เมื่อหิริและโอตตัปปะมี อินทรียสังวรของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยหิริและโอตตัปปะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
    ฯลฯ
    วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาและวิราคะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ฉันนั้นเหมือนกัน”
    ...........
    สติสัมปชัญญสูตร อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=23&siri=154
    หมายเหตุ เมื่อสติสัมปชัญญะไม่มี ธรรมเหล่านี้ คือ หิริและโอตตัปปะ, อินทรียสังวร, ศีล, สัมมาสมาธิ, ยถาภูตญาณทัสสนะ, นิพพิทาและวิราคะ และ วิมุตติญาณทัสสนะ ย่อมไม่มีตามไปด้วย เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบเสีย แม้สะเก็ด เปลือก กระพี้ และแก่นก็ไม่สมบูรณ์ไปด้วย
    ในทางตรงกันข้าม เมื่อสติสัมปชัญญะมี ธรรมเหล่านี้ คือ หิริและโอตตัปปะ, อินทรียสังวร, ศีล, สัมมาสมาธิ, ยถาภูตญาณทัสสนะ, นิพพิทาและวิราคะ และ วิมุตติญาณทัสสนะ ย่อมจะมีตามไปด้วย เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบที่สมบูรณ์ แม้สะเก็ด เปลือก กระพี้ และแก่นก็สมบูรณ์ไปด้วย

    HigDa4w-wjw2RhIttjESwuDhH8V1RftGBWewuko_m9mG&_nc_ohc=auHctPG3zEcAX_p32rR&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    ตรัสให้พิจารณาโดยยถาภูตญาณทัสสนะ


    ...ตรัสให้พิจารณาโดยยถาภูตญาณทัสสนะ

    ...[๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแลรูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่ารูป เธอทั้งหลายพึงเห็นรูปนั้นด้วยปัญญาอันชอบ
    ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา.

    เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าเวทนา เธอทั้งหลายพึงเห็นเวทนานั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรานั่นไม่ใช่ตนของเรา.

    สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าเวทนา เธอทั้งหลายพึงเห็นสัญญานั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่น ไม่ใช่ตนของเรา.

    สังขารทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าสังขาร เธอทั้งหลายพึงเห็นสังขารนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรานั่นไม่ใช่ตนของเรา.

    วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าวิญญาณ เธอทั้งหลายพึงเห็นวิญญาณนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรานั่นไม่ใช่ตนของเรา.


    ...[๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลายอริยสาวกผู้ได้ฟังแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูปย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนาย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญาย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขารทั้งหลายย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็พ้นเมื่อจิตพ้นแล้ว ก็รู้ว่าพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้วกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
    ...[๒๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว พระปัญจวัคคีย์มีใจยินดี เพลิดเพลินภาษิตของผู้มีพระภาค.ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของพระปัญจวัคคีย์ พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.
    อนัตตลักขณสูตร จบ
    - ฉบับหลวง ๔/๒๓/๒๒-๔.
     
  14. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    nZTxOA5ZCK7s55DcN2lmZs8jfeUSSpw2djwXQpCYTwj8lojd7heGeut9KsusMHLweeueBl-V&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    ยถาภูตญาณทัสสนะมีสมาธิเป็นที่อาศัย
    ……………
    ข้อความบางตอนใน อุปนิสสูตร สังยุตตนิกาย นิทานวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖
    http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=16&siri=19
    บทว่า ยถาภูตญาณทสฺสนํ แปลว่า ความเห็น กล่าวคือความรู้ตามสภาวะที่เป็นจริง.
    ทรงแสดงวิปัสสนาอย่างอ่อน ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะนั้น.
    จริงอยู่ วิปัสสนาอย่างอ่อน ย่อมเป็นปัจจัยแก่วิปัสสนาที่มีกำลัง.
    คำว่า วิปัสสนาอย่างอ่อน เป็นชื่อของญาณ ๔ คือ สังขารปริเฉทญาณ กังขาวิตรณญาณ สัมมสนญาณ มัคคามัคคญาณ.
    บทว่า สมาธิ ได้แก่ สมาธิที่มีฌานเป็นบาท.
    จริงอยู่ สมาธินั้น ย่อมเป็นปัจจัยแก่วิปัสสนาอย่างอ่อน.
    ข้อความบางตอนในอรรถกถาอุปนิสสูตร (ภาษาไทย) http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=68


    ?temp_hash=0d07929f0f01390fd0ae756ded44a7ef.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    นิพพานชื่อว่าพรหม เพราะอรรถว่าสูงสุด ไตรสิกขาเป็นความประพฤติเพื่อประโยชน์แก่ความสูงสุด เพราะเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่นิพพาน เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่าเป็นพรหมจรรย์ ศาสนพรหมจรรย์ก็คือไตรสิกขานั้นนั่นเอง
    …………….
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถามัณฑเปยยกถา https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=530
    6TdXEB7TMTd-TDQJXPWQMSkxgiKxQRfqLgcoXTTw6QCH&_nc_ohc=joQ6A0Mx3CUAX_WwaaP&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    ?temp_hash=804eeb237c231152916bf3939cbea39a.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    นักเดามักกล่าวผิด
    ***************
    (พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปรารภพ่อค้าเกวียนสองคน คนหนึ่งปฏิบัติผิด คนหนึ่งปฏิบัติถูก ตรัสพระคาถาว่า)
    [๑] คนฉลาดพวกหนึ่งกล่าวฐานะที่ไม่ผิด
    นักคาดคะเนทั้งหลายกล่าวฐานะที่ ๒ (ที่ผิด)
    ผู้มีปัญญารู้จักฐานะที่ไม่ผิดและฐานะที่ผิดนั้นแล้วควรถือฐานะที่ไม่ผิดไว้เถิด
    …………..
    อปัณณกชาดก ว่าด้วยการปฏิบัติไม่ผิด เอกกนิบาต ขุททกนิกาย ชาดก
    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=27&siri=1
    ******************
    แต่เมื่อว่าโดยประเภท สรณคมน์ ๓ ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ปาฏิโมกขสังวร อินทรีย์สังวร อาชีวปาริสุทธิศีล ปัจจยปฏิเสวนะ การเสพปัจจัย จตุปาริสุทธิศีลแม้ทั้งหมด ความคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ความรู้ประมาณในโภชนะ ชาคริยานุโยค ฌาน วิปัสสนา อภิญญา สมาบัติ อริยมรรค อริยผล แม้ทั้งหมดนี้ เป็นฐานะอันไม่ผิด.
    อธิบายว่า ข้อปฏิบัติไม่ผิด ข้อปฏิบัติอันเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์.
    ก็แหละ เพราะเหตุที่ฐานะอันไม่ผิดนี้ เป็นชื่อของข้อปฏิบัติเครื่องนำออกจากทุกข์ เพราะฉะนั้นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงข้อปฏิบัติอันไม่ผิดนั้น จึงตรัสพระสูตรนี้ว่า
    “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ เป็นผู้ปฏิบัติข้อปฏิบัติอันไม่ผิด เป็นผู้มีความเพียร และเป็นผู้ปรารภความเพียรนั้น เพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ๓ ประการเป็นไฉน ?
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ เป็นผู้ประกอบตามความเพียรเครื่องตื่นอยู่.
    ………….
    ข้อความบางตอนในอรรถกถาอปัณณวรรค
    https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27.0&i=1&p=9
    rkrlAT959SJqLx7HYbgTkkIcAb_wdkWrlUuqaTNLv8iD&_nc_ohc=fgV4d4kr5TEAX9oG4oy&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974

    ไฟล์ที่แนบมา:

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...