หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม" ราเชนทร์ สิมะสุนทร

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ใจต่อใจ, 12 ธันวาคม 2014.

  1. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]





    [​IMG]






    ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"

    สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
    พิมพ์รวมเล่มครั้งแรก;มกราคม 2558

    ISBN

    ราคา 299 บาท

    จัดจำหน่ายโดย บริษัทเคล็ดไทยจำกัด ๑๑๗ ถนนเฟื่องนคร เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทรศัพท์ ๐๒-๒๒๕๙๕๓๖-๙ แฟ็กซ์ ๐๒-๒๒๒๕๑๘๘

    ศิลปกรรม/การพิมพ์ ออกแบบปก;ราเชนทร์ สิมะสุนทร ภาพถ่าย;ราเชนทร์ สิมะสุนทร ศิลปกรรม;

    ฝ่ายกฎหมาย บริษัท นิติจามจุรี จำกัด

    จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์ จิตวิญญาณแห่งพุทธะ mytime0990@hotmail.com โทร 091-569-1125

    facebook "หัวใจแห่งสักกะ ตราบชั่วนิจนิรันดร์"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ธันวาคม 2014
  2. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]







    คำอนุญาต


    หนังสือธรรมะ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม" ถูกพิมพ์ขึ้นเพื่อมีวัตถุประสงค์เผยแพร่ธรรมะเพื่อให้ธรรมเป็นทาน หากผู้ใดมีเจตนาจะเอาธรรมะในหนังสือเล่มนี้ไปพิมพ์ต่อ เพื่อมีเจตนาจะเผยแพร่ธรรมและพิมพ์แจกฟรี ผู้เขียนอนุญาตในทุกกรณี แต่ห้ามดัดแปลงแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อหาธรรมะในทุกส่วนของหนังสือเล่มนี้


    ขอ อนุโมทนาบุญ สำหรับผู้ที่สนใจจะนำหนังสือธรรมะ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม" ไปพิมพ์แจกจ่ายฟรีเพื่อให้ธรรมเป็นทาน สมดังเจตนาของผู้เขียน


    ผู้เขียน
    นายราเชนทร์ สิมะสุนทร



    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”

    ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  3. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]




    คำนำ
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม" เป็นหนังสือที่เขียนขึ้นจากประสบการณ์การภาวนาปฏิบัติธรรมตามธรรมชาติของ ข้าพเจ้าเอง ,มาโดยตลอดเป็นระยะเวลาสิบเจ็ดปีที่ผ่านมา ในส่วนของหนังสือเล่มนี้ได้ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ภาคจิตวิญญาณแห่งความเป็นพุทธะ และ ภาคจิตวิญญาณแห่งความเป็นมนุษย์


    ภาคจิตวิญญาณแห่งความเป็นพุทธะนั้น เป็นส่วนที่ข้าพเจ้าได้เขียนถึงธรรมอันคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่าง เปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้น โดยที่ข้าพเจ้าได้นำเอาธรรมอันคือสติปัฏฐานมาอธิบายถึงความหมายที่แท้จริง ของธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าฯนี้ ธรรมชาติแห่งพุทธะนั้นเป็นธรรมที่ทำให้มนุษย์ได้เข้าถึงความเป็นธรรมชาติที่ แท้จริงของพวกตนและทำให้มนุษย์ได้พัฒนาจิตวิญญาณของตนเองไปสู่ความสมบูรณ์ แบบคือความเป็น "จิตวิญญาณแห่งความเป็นพุทธะ" ได้ในที่สุด


    ภาคจิตวิญญาณแห่งความเป็นมนุษย์นั้น เป็นส่วนที่ข้าพเจ้าได้เขียนถึงความเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่ดำรงชีวิตตนเอง และอยู่ร่วมกันในสังคมที่มนุษย์ช่วยกันสร้างขึ้น ธรรมชาติของมนุษย์เป็นธรรมชาติที่บ่งบอกถึงจิตวิญญาณของสัตว์ผู้มีใจสูง ประเสริฐยิ่ง และเป็นจิตวิญญาณของสัตว์ผู้มีความสามารถดำรงชีวิตตนเองไปบนเส้นทางแห่งคุณ งามความดีที่พวกตนได้เลือกไว้ดีแล้ว สัตว์มนุษย์จึงเลือกใช้ชีวิตไปบนเส้นทางวิถีธรรมชาติที่เรียบง่ายและบ่งบอก ได้ถึงความปรารถนาดีที่มนุษย์มีให้แก่กันเสมอมา จนทำให้เกิดจารีตประเพณีและวัฒนธรรมที่เป็นเครื่องหมายแสดงถึงความเจริญ รุ่งเรืองทางด้านจิตวิญญาณของสัตว์มนุษย์นี้ซึ่งได้ปรากฏขึ้นมาบนโลกใบนี้ ตั้งแต่เก่าก่อน "ความเป็นมนุษย์ ความรัก ความผิดหวัง ความเป็นไปแห่งสังคมมนุษย์ ชีวิตชาวไร่ชาวนา ความมุ่งหวัง อุดมคติ ความสูญเสีย หัวใจแห่งศรัทธา การเริ่มต้นและบทกวี " ความเป็นธรรมชาติของมนุษย์เหล่านี้จึงปรากฏขึ้นด้วยมุมมองของข้าพเจ้าเอง ท้ายที่สุดนี้ข้าพเจ้าหวังว่าอรรถประโยชน์ในหนังสือเล่มนี้คงช่วยจรรโลงใจ นักอ่านทั้งหลาย ให้เข้าถึงความเป็นจริงของธรรมชาติในจิตวิญญาณแห่งตน และเข้าถึงความเป็นธรรมชาติแห่งธรรมที่แท้จริงบนเส้นทางหลุดพ้นนั้นได้



    ผู้เขียน
    อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๗


    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
    ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  4. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]





    สารบัญ
    ภาคจิตวิญญาณแห่งความเป็นพุทธะ

    บทที่ ๑ กาลเวลา
    บทที่ ๓ จักรวาลของเรา
    บทที่ ๕ แก่นแท้คำสอนของพระพุทธศาสนา
    บทที่ ๗ ยุคจิตวิญญาณแห่งพุทธะ
    บทที่ ๙ สักกเทวราช
    บทที่๑๑ ปัญญาคือความสามารถของมนุษย์
    บทที่ ๑๓ สตินำมาซึ่งความเป็นมนุษย์สมบัติ
    บทที่ ๑๕ สังขพราหมณ์มหาบัณฑิต
    บทที่ ๑๗ สังคมธรรมาธิปไตยแห่งกุรุนิคม
    บทที่ ๑๙ สติปัฏฐานธรรม
    บทที่ ๒๑ ความเปลี่ยนแปลง
    บทที่ ๒๓ สัมมาทิฐิ
    บทที่ ๒๕ ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตน
    บทที่ ๒๗ การปฏิบัติธรรมตามสติปัฏฐาน
    บทที่ ๒๙ สัมมาสติ
    บทที่ ๓๑ สัมมาสมาธิ
    บทที่ ๓๓ สัมมาวายาโม
    บทที่ ๓๕ มหาสติปัฏฐานสูตร
    บทที่ ๓๗ กายานุปัสสนา
    บทที่ ๓๙ อานาปานบรรพ
    บทที่ ๔๑ อิริยาปถบรรพ
    บทที่ ๔๓ สัมปชัญญบรรพ
    บทที่ ๔๕ ปฏิกูลมนสิการบรรพ
    บทที่ ๔๗ ธาตุมนสิการบรรพ
    บทที่ ๔๙ นวสีวถิกาบรรพ
    บทที่ ๕๑ เวทนา
    บทที่ ๕๓ จิต
    บทที่ ๕๕ ความหมายของจิต
    บทที่ ๕๗ ธรรม
    บทที่ ๕๙ นีวรณบรรพ
    บทที่ ๖๑ ขันธบรรพ
    บทที่ ๖๓ อายตนบรรพ
    บทที่ ๖๕ โพชฌงคบรรพ
    บทที่ ๖๗ สัจจบรรพ
    บทที่ ๖๙ สติสัมโพชฌงค์
    บทที่ ๗๑ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
    บทที่ ๗๓ วิริยสัมโพชฌงค์
    บทที่ ๗๕ ปีติสัมโพชฌงค์
    บทที่ ๗๗ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
    บทที่ ๗๙ สมาธิสัมโพชฌงค์
    บทที่ ๘๑ อุเบกขาสัมโพชฌงค์
    บทที่ ๘๓ โพชฌงค์ธรรม
    บทที่ ๘๕ มายาแห่งการปฏิบัติ
    บทที่ ๘๗ มันเป็นเพียงแค่จิต
    บทที่ ๘๙ มิใช่หลักเกณฑ์และลำดับขั้นตอน
    บทที่ ๙๑ มิได้อาศัยเหตุและผล บทที่ ๙๓ สรุปหลักธรรมอันคือธรรมชาติ
    บทที่ ๙๕ ธรรมชาติมันทำหน้าที่ของมันเอง บทที่ ๙๗ วิชชา,วิมุติ,วิมุติญาณทัสนะ,ตถตา
    บทที่ ๙๙ การยังดำรงอยู่ในขันธ์ทั้งห้า



    ภาคจิตวิญญาณแห่งความเป็นมนุษย์

    บทที่ ๒ จิตวิญญาณแห่งความเป็นแม่
    บทที่ ๔ เลื่อยคมในผืนป่า
    บทที่ ๖ บ้านของเรา
    บทที่ ๘ ชีวิตของชาวนา
    บทที่ ๑๐ การยืนหยัดบนความเป็นจริง
    บทที่ ๑๒ เสียงแห่งศรัทธา
    บทที่ ๑๔ สังคมวิทยาและมนุษยวิทยา
    บทที่ ๑๖ ชาวอีสาน
    บทที่ ๑๘ มิตรภาพสองฝั่งโขง
    บทที่ ๒๐ แผ่นดินอีสาน
    บทที่ ๒๒ ความงามหน้าแล้ง
    บทที่ ๒๔ กบน้อยบนใบบัว
    บทที่ ๒๖ ดอกบัวจิตวิญญาณแห่งพุทธะ
    บทที่ ๒๘ ถอนวัชพืช
    บทที่ ๓๐ ปักษ์ใต้
    บทที่ ๓๒ หัวหน้าครอบครัว
    บทที่ ๓๔ ยายกับหลาน
    บทที่ ๓๖ วิถีชีวิตแห่งลำโขง
    บทที่ ๓๘ อดทนและเรียนรู้
    บทที่ ๔๐ ก่อนทำวัตรเย็น
    บทที่ ๔๒ ธรรมชาติหล่อเลี้ยงคนจน
    บทที่ ๔๔ หอมกรุ่นไอดิน
    บทที่ ๔๖ นาบัว
    บทที่ ๔๘ ข้าวของคนไทย
    บทที่ ๕๐ แม่โขง
    บทที่ ๕๒ ลมหายใจสุดท้ายของพุทธศาสนา
    บทที่ ๕๔ สิ้นศาสนามานานแล้ว
    บทที่ ๕๖ ราบเป็นหน้ากลอง
    บทที่ ๕๘ พื้นที่สีแดงก่อนเกิดมิคสัญญี
    บทที่ ๖๐ จิตวิญญาณแห่งเมตไตรย
    บทที่ ๖๒ ข้าวมื้อเย็นที่พระประโทน
    บทที่ ๖๔ ประเทศไทย
    บทที่ ๖๖ บุญของเราชาวศิวิไลซ์ทั้งหลาย
    บทที่ ๖๘ ปณิธาน
    บทที่ ๗๐ ท้องทุ่งนาพ่อเคน
    บทที่ ๗๒ มิคสัญญี
    บทที่ ๗๔ สวัสดียุคเมตไตรย
    บทที่ ๗๖ ข้าวในอำพัน
    บทที่ ๗๘ มะเกลือป่า
    บทที่ ๘๐ ความรู้ทางด้านจิตวิญญาณ
    บทที่ ๘๒ ไม้หอม
    บทที่ ๘๔ งานเททอง
    บทที่ ๘๖ ก้าวย่างแห่งสัจจะวาจา
    บทที่ ๘๘ คุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์
    บทที่ ๙๐ มือสุดท้าย
    บทที่ ๙๒ ไปปายกันไหม
    บทที่ ๙๔ ศาสนาของมวลหมู่มนนุษยชาติ
    บทที่ ๙๖ หัวใจแห่งสักกะ ตราบชั่วนิจนิรันดร์
    บทที่ ๙๘ ศาสนาเมตไตรย



    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
    ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  5. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]





    บทที่ ๑ กาลเวลา


    การนับเวลาตามความเข้าใจแห่ง ความเป็น "พระพุทธเจ้า" ท่านได้แบ่งกาลเวลาออกเป็นห้วงๆด้วยความเป็นไปแห่งโลกใบนี้ การนับเวลาอย่างยาวนานอันกำหนดลงให้เป็นที่ตายตัวสามารถคำนวณออกมาได้เป็น จำนวนที่แน่นอนไม่ได้นั้นเป็นการนับเพื่อให้รู้ว่าในห้วงเวลาหนึ่งๆนั้นโลก และจักรวาลแห่งนี้รวมทั้งสรรพสิ่งที่มีชีวิตที่ได้อาศัยอยู่บนโลกมีความเป็น ไปอย่างไร

    ๑. อสงไขย คือ ห้วงแห่งกาลเวลาที่จะนับเอาเป็นความแน่นอนแบบกำหนดตายตัวไม่ได้ แต่สามารถเปรียบเทียบความยาวนานแห่งอสงไขยเวลาไว้ว่า "ฝนตกใหญ่มโหฬารทั้งวันทั้งคืนเป็นเวลานาน ๓ ปีไม่ได้ขาดสายเลย จนน้ำฝนท่วมเต็มขอบจักรวาลมีระดับความสูง ๘๔,๐๐๐ โยชน์ ถ้าสามารถนับเม็ดฝนที่ตกลงมาตลอดทั้ง ๓ ปี ที่ท่วมเต็มขอบจักรวาลมีระดับความสูง ๘๔,๐๐๐ โยชน์อย่างต่อเนื่อง ๑ อสงไขย ได้จำนวนเท่าใด จำนวนเม็ดฝนที่นับได้เป็น ๑ อสงไขย"
    ๒. อสงไขยปี คือ หน่วยนับจำนวนอายุที่ยืนยาวที่สุดของมนุษย์ โดยได้กำหนดค่าของอสงไขยปีไว้ว่า "๑ อสงไขยปีเท่ากับ ๑ ตามด้วยศูนย์ ๑๔๐ ตัว"
    หนึ่งรอบอสงไขยปี ในทุก 100 ปี มนุษย์เราจะมีอายุสั้นลง 1 ปี (ในสมัยพุทธกาล คนเรามีอายุเฉลี่ย 100 ปี ส่วนในปัจจุบันมนุษย์มีอายุเฉลี่ยที่ 70 ปี) และจะเป็นอยู่อย่างนี้เรื่อยมาคือมีอายุขัยสั้นลงๆ จนกว่าจะมีอายุที่ต่ำสุด คือ 10 ปี การลดลงของอายุขัยก็จะหยุดลงและจะเริ่มต้นการมีอายุที่ยืนยาวขึ้น จาก 10 ปี เป็น 11 ปี โดยใช้วิวัฒนาการทุกๆ 100 ปีเช่นกันและจะมีการพัฒนาเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆจนกว่าอายุจะเท่ากับอสงไขยปี เช่นเดิมคือ 1 แล้วตามด้วย 140 ศูนย์ กำหนดระยะเวลาทั้งหมดนี้เราเรียกว่าหนึ่งรอบอสงไขยปีและการที่ครบรอบหนึ่ง อสงไขยปีนี้ ก็จะเท่ากับ 1 อันตรกัป
    อสงไขยกัป เมื่อนับจำนวนอันตรกัปได้ครบ 64 อันตรกัปนั้น จึงเรียกว่า 1 อสงไขยกัป

    ๓. อายุกัป คือ อายุขัยของสัตว์ที่เกิดในภูมินั้นๆ เช่น โลกมนุษย์เรานี้เมื่อสมัยพุทธกาลมนุษย์ส่วนใหญ่อายุเฉลี่ย ๑๒๐ ปี เป็นอายุกัป ส่วนในเทวโลกก็นับเอาจำนวนปีทิพย์เป็นอายุกัปอายุของเทวดามีหน่วยเป็นปี ทิพย์ ปีทิพย์ในสวรรค์ชั้นต่าง ๆ ไม่เท่ากัน คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะระบุอายุขัยของเทวดาแต่ละชั้นไว้ดังนี้ กล่าวคือ
    - ๕๐๐ ปีทิพย์ เป็นประมาณอายุของเทวดาสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ประมาณ ๙,๐๐๐,๐๐๐ ปี ด้วยการคำนวณแห่งปีมนุษย์
    - ๑,๐๐๐ ปีทิพย์ เป็นประมาณอายุของเทวสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ประมาณ ๔ เท่า จาก ๙,๐๐๐,๐๐๐ ปี ด้วยการคำนวณแห่งปีมนุษย์ จึงเท่ากับ ๓๖,๐๐๐,๐๐๐ ปี
    - ๒,๐๐๐ ปีทิพย์ เป็นประมาณอายุของเทวดาสวรรค์ชั้นยามา ประมาณ ๔ เท่า จาก ๓๖,๐๐๐,๐๐๐ ปี ด้วยการคำนวณแห่งปีมนุษย์ จึงเท่ากับ ๑๔๔,๐๐๐,๐๐๐ ปี
    - ๔,๐๐๐ ปีทิพย์ เป็นประมาณอายุของเทวดาสวรรค์ชั้นดุสิต ประมาณ ๔ เท่า จาก ๑๔๔,๐๐๐,๐๐๐ ปี ด้วยการคำนวณแห่งปีมนุษย์ จึงเท่ากับ ๕๗๖,๐๐๐,๐๐๐ ปี
    - ๘,๐๐๐ ปีทิพย์ เป็นประมาณอายุของเทวดาสวรรค์ชั้นนิมมานรดี ประมาณ ๔ เท่า จาก ๕๗๖,๐๐๐,๐๐๐ ปี ด้วยการคำนวณแห่งปีมนุษย์ จึงเท่ากับ ๒,๓๐๔,๐๐๐,๐๐๐ ปี
    - ๑๖,๐๐๐ ปีทิพย์ เป็นประมาณอายุของเทวดาสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ประมาณ ๔ เท่า จาก ๒,๓๐๔,๐๐๐,๐๐๐ ปี ด้วยการคำนวณแห่งปีมนุษย์ จึงเท่ากับ ๙,๒๑๖,๐๐๐,๐๐๐ ปี
    ๔. มหากัป คือ ห้วงเวลาระยะเวลาที่โลกเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และเสื่อมสลายไปในคราวหนึ่งๆ ห้วงเวลาแห่งมหากัปหนึ่งๆนั้นยาวนานมาก เพียงแต่เปรียบเทียบได้ว่ามีภูเขาหินลูกใหญ่กว้าง ยาว สูง อย่างละ ๑ โยชน์ ไม่มีช่อง ไม่มีโพรง เป็นแท่งทึบ บุรุษพึงเอาผ้าจากแคว้นกาสีมาแล้วปัดภูเขานั้น ๑๐๐ ปีต่อครั้ง เมื่อใดภูเขาหินลูกใหญ่นั้นพึงถึงการหมดไป สิ้นสลายไป ยังเร็วกว่าแล ส่วนมหากัปหนึ่งยังไม่ถึงการหมดไป สิ้นไป มหากัปนานอย่างนี้แลหรือพึงเปรียบเทียบได้อีกว่า "นครที่ทำด้วยเหล็กยาวหนึ่งโยชน์ กว้างหนึ่งโยชน์ สูงหนึ่งโยชน์ เต็มด้วยเมล็ดพันธุ์ผักกาด มีเมล็ดพันธุ์ผักกาดรวมกันเป็นกลุ่มก้อน บุรุษพึงหยิบเอาเมล็ดพันธุ์ผักกาดเมล็ดหนึ่ง ออกจากนครนั้น โดยล่วงไปหนึ่งร้อยปีต่อเมล็ด เมล็ดพันธุ์ผักกาดกองใหญ่นั้น พึงถึงความสิ้นไปหมดไป เพราะความพยายามนี้ยังเร็วกว่าแล ส่วนมหากัปหนึ่งยังไม่ถึงความสิ้นไปหมดไปมหากัปนานอย่างนี้แล"
    มหากัป นั้นมีห้วงเวลาที่สามารถแบ่งออกได้ทั้งหมด ๔ ช่วง แต่ละช่วงมี ๖๔ อันตรกัป ดังนั้นช่วงความเปลี่ยนแปลงของโลก จึงรวมเวลาเป็น ๒๕๖ อันตรกัป คือ
    ช่วง ที่ ๑ เป็นช่วงที่ถูกไฟไหม้ มีชื่อเรียกว่า สังวัฏฏอสงไขยกัป หมายถึง ช่วงที่โลกถูกทำลาย หรือกัปกำลังพินาศอาจจะเกิดไฟไหม้เกิดน้ำท่วมหรือเกิดลมพายุอย่างไรอย่าง หนึ่งใช้เวลาถึง ๖๔ อันตรกัป
    ช่วงที่ ๒ เป็นช่วงที่ไฟมอด มีชื่อเรียกว่า สังวัฏฏฐายีอสงไขยกัป หมายถึงช่วงที่โลกถูกทำลายเรียบร้อยแล้วจนเหลือแต่อวกาศว่างเปล่า ใช้เวลาถึง ๖๔ อันตรกัป
    ช่วงที่ ๓ เป็นช่วงที่แผ่นดินเริ่มก่อตัวขึ้นใหม่ มีชื่อเรียกว่า วิวัฏฏอสงไขยกัป หมายถึงช่วงที่โลกกำลังเริ่มพัฒนาเข้าสู่ภาวะปกติหรือกัปที่เจริญขึ้น ใช้เวลาถึง ๖๔ อันตรกัป
    ช่วงที่ ๔ เป็นช่วงที่โลกเจริญขึ้นมีสิ่งมีชีวิตปรากฏขึ้น มีชื่อเรียกว่า วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป เป็นช่วงที่โลกพัฒนาขึ้นเรียบร้อยเป็นปกติตามเดิมหรือกัปที่เจริญขึ้นพร้อม แล้วทุกอย่างตั้งอยู่ตามปกติคือมีสิ่งมีชีวิตปรากฏเกิดขึ้น มีต้นไม้ ภูเขา คน สัตว์ สิ่งของ ซึ่งเป็นช่วงที่เรากำลังอยู่นี้ โดยเริ่มจาก อาภัสราพรหมลงมากินง้วนดิน ใช้เวลาถึง ๖๔ อันตรกัป
    แต่ในห้วงเวลาแห่งมหา กัปแต่ละห้วงๆนั้นถึงแม้จะมีมนุษย์และสังคมเกิดขึ้นแต่ก็ใช่ว่าจะเป็นช่วง เวลาที่โลกมนุษย์ถึงแก่ความเจริญทางด้านจิตวิญญาณอันสูงส่งไปในทุกคราวไม่ ในบางคราวแห่งบางมหากัปนั้นมนุษย์ก็ไม่สามารถทำความเจริญให้เกิดขึ้นแก่พวก ตนได้เลยเพราะด้วยเหตุแห่งวาระกรรมที่เป็นไปแบบนั้น โลกในยุคนั้นก็จะไม่มีบัณฑิตเกิดขึ้นบุญแห่งความเป็นมนุษย์สมบัติไม่อาจถึง ความพร้อมอันเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระพุทธเจ้ามาอุบัติเกิดขึ้นในโลกใบนี้ ได้แม้แต่เพียงพระองค์เดียว จึงอาจแบ่งเรียกมหากัปออกได้เป็นสองชื่อคือ
    สูญ กัป หมายถึงมหากัปที่ว่างเปล่าจากมรรคผลนิพพานคือไม่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จ อุบัติขึ้นในโลกแม้เพียงพระองค์เดียวและในสูญกัปนี้ก็ยังไม่มีพระปัจเจก พุทธเจ้าหรือพระเจ้าจักรพรรดิมาบังเกิดขึ้น ในสูญกัปนี้ย่อมว่างเปล่าจากบุคคลผู้ทรงคุณวิเศษและไม่มีมรรคผลนิพพานปรากฏ ขึ้นเลย
    อสูญกัป หมายถึงมหากัปที่ไม่ว่างเปล่าจากมรรคผลนิพพานคือมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จ อุบัติขึ้นในโลกถึงแม้มีเพียงหนึ่งพระองค์ในมหากัปก็ถือว่าเป็น อสูญกัป และในอสูญกัปนี้ยังมีพระปัจเจกพุทธเจ้าหรือพระเจ้าจักรพรรดิมาบังเกิดขึ้น นอกจากนี้ยังมีบุคคลผู้ทรงคุณวิเศษปรากฏเกิดขึ้นอีกด้วยและอสูญกัปที่มีพระ สัมมาสัมพุทธเจ้ามาอุบัติขึ้นนี้ยังมีชื่อเรียกตามจำนวนของพระสัมมาสัมพุทธ เจ้าที่เสด็จอุบัติขึ้นในแต่ละมหากัป ดังต่อไปนี้
    - สารกัป หมายถึงมหากัปที่มีแก่นสาร เป็นมหากัปที่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้น ๑ พระองค์
    - มัณฑกัป หมายถึงมหากัปที่มีความผ่องใส เป็นมหากัปที่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้น ๒ พระองค์
    - วรกัป หมายถึงมหากัปที่ประเสริฐ เป็นมหากัปที่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้น ๓ พระองค์
    - สารมัณฑกัป หมายถึงมหากัปที่ประเสริฐกว่าและมีแก่นสารมากกว่ากัปที่ผ่านมา เป็นมหากัปที่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้น ๔ พระองค์
    - ภัทรกัป หมายถึงมหากัปที่เจริญที่สุดและเกิดขึ้นได้ยากที่สุด เป็นมหากัปที่มีพระสัมมาสัม- พุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้น ๕ พระองค์
    ๕. อันตรกัป คือระยะเวลา ๑ รอบอสงไขยปี หมายความว่าระยะเวลาที่กำหนดนับจากอายุมนุษย์ที่ยืนที่สุดด้วยผลบุญด้วยสภาพ จิตแห่งตนคือ ๑ อสงไขยปี แล้วอายุค่อย ๆ ลดลงไปเรื่อย ๆ จนเหลือ ๑๐ ปี จากนั้นก็ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นไปอีกครั้งจนถึง ๑ อสงไขยปีอีกครั้ง




    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
    ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  6. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]






    บทที่ ๒ จิตวิญญาณแห่งความเป็นแม่


    ชายป่าซึ่งอยู่ทางด้านหลังวัดติดเชิงเขาใกล้กุฏิของฉัน
    มีแม่ไก่สีดำตัวหนึ่งได้นำลูกๆของมันมาบริเวณป่าแห่งนี้เพื่อคุ้ยเขี่ยหาอาหารกิน
    ลูกไก่เป็นไก่ที่ยังไม่ค่อยโตนักปีกของมันพึ่งเริ่มจะยืดกางออกได้ไม่เท่าไรขนของมันดูปกปุย
    กับท่าทางที่มันยังเดินไม่คล่องแคล่วแลทำให้มันดูน่ารัก
    ไก่คอกนี้แม่ไก่พึ่งฟักออกมามีทั้งหมดเก้าตัวมีทั้งตัวสีดำและสีเหลืองอ่อน
    การฝึกให้ลูกๆคุ้ยเขี่ยอาหารและการที่ต้องฝึกให้ลูกๆเดินตามไปในทุกที่
    เป็นสัญชาตญาณที่ติดตัวมาของสรรพสัตว์ที่ขึ้นชื่อได้ว่า "แม่"
    ที่มีหน้าที่ปกป้องและดูแลเลี้ยงดูลูกของตัวเองให้เป็นอย่างดี
    ในบางเวลาที่แดดร่มลมตกก็จะได้เห็นภาพน่ารักที่แม่ไก่ได้ย่อตัวนอนลง
    และกางปีกให้บรรดาลูกไก่ได้เข้าไปนอนซุกใต้ปีก
    ลูกไก่บางตัวก็พยายามซุกตัวเองเข้าไปในปีกของแม่ข้างโน้นทีข้างนี้ที
    แต่มีลูกไก่แสนซนสองสามตัวไม่สนใจที่จะอยู่ใต้ปีกของแม่ไก่
    พวกมันต่างก็ได้พยายามกระโดดขึ้นไปบนหลังของแม่มัน
    ด้วยความที่พวกมันพึ่งเกิดและตัวยังเล็กจึงทำให้ตกลงมาจากหลังของแม่
    มันจึงเป็นวาระแห่งการพยายามของเจ้าลูกไก่ตัวน้อยเหล่านี้อย่างแท้จริง
    พวกมันพยายามวนเวียนเทียวกระโดดขึ้นหลังของแม่มัน
    และมันก็ตกลงมาอยู่อย่างนั้นหลายเที่ยว
    ฉันสังเกตได้ถึงความห่วงใยของแม่ไก่ที่พยายามจะดูแลลูกน้อยของตน
    ให้พ้นจากภยันตรายด้วยปีกของมันที่กางออกเพื่อโอบอุ้มลูกๆทั้งหลาย
    มันได้ส่งเสียงร้องเรียกลูกของตัวเองที่เหลือเบาๆ
    เพื่อให้ลูกเข้ามาซุกอยู่ใต้ปีกของมันจนครบทุกตัว
    เมื่อลูกๆเข้ามาใต้ปีกจนครบแล้วแม่ไก่จึงสะลึมสะลือหลับตาลงได้
    มันคือธรรมชาติที่ได้สร้างสรรค์ชีวิตขึ้น
    และชีวิต.....
    คือความสวยงามตามธรรมชาติ
    ที่ได้ดำรงตนเองอยู่บนโลกใบนี้
    ด้วยความสงบและผาสุก




    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
    ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  7. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]




    บทที่ ๓ จักรวาลของเรา

    ในกลียุคซึ่งเป็นกาลเวลาแห่งความมืดมนใน หัวใจของผู้คนที่มีทิฐิวิปลาสมองเห็นสัทธรรมเป็นอสัทธรรมเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ด้วยความโชคดีของมวลหมู่มนุษยชาติในยุคนี้ก็ได้เกิด "วาระกรรมพิสดาร" อันสำคัญยิ่ง กล่าวคือได้มีสัพพัญญูพระพุทธเจ้าที่ชื่อ "พุทธโคดม" ได้ลงมาอุบัติเกิดขึ้นในโลกใบนี้เพื่อขนสรรพสัตว์ขึ้นฝั่งในห้วงที่มีแต่ ความยากลำบากอย่างยิ่งมันเป็นห้วงเวลาที่บรมมหาโพธิสัตว์สำคัญดวงจิตหนึ่ง ต้องลงมาทำหน้าที่แห่งตนเพื่อกั้นขวางไม่ให้สรรพสัตว์ทั้งหลายในยุคมืดบอด นี้ต้องตกลงไปสู่โลกที่ชั่วมากไปกว่านี้ ในอดีตกาลมนุษย์เคยดำรงชีวิตอยู่ด้วยธรรมชาติแห่งความเรียบง่ายในความมีจิต วิญญาณอันสูงส่งแห่งตนมนุษย์เคยอยู่ร่วมในสังคมที่มนุษย์ต่างก็มีความตั้งใจ ร่วมกันสร้างขึ้นมาในยุคแรกๆด้วยความเป็นปกติมีแต่ความศานติสุข มนุษย์ยุคนั้นรู้จักเคารพสิทธิและหน้าที่ทั้งของตนเองและผู้อื่นด้วยความ เป็น "ปกติวิสัย" แห่งความเสมอภาคในความเป็นมนุษย์ด้วยกันเองจิตของมนุษย์มีความเป็นธรรมชาติ แห่งความเป็นปกติมั่นคงในความสุขที่ได้แบ่งปันอยู่ร่วมพึ่งพิงอาศัยกัน ต่อมาเมื่อมนุษย์เริ่มเห็นแก่ตัวด้วยความโมหะหลงเอาความเป็นตัวตนของตนเอง เป็นที่ตั้งแห่งเข็มทิศนำหน้าเป็นวิถีในการดำเนินชีวิตมากเกินไปจึงส่งผลให้ เกิดการกระทบกระทั่งในสิทธิและหน้าที่แห่งความเป็นมนุษย์ที่ดีในสังคมที่ตน ได้อยู่ร่วม เมื่อขาดความยำเกรงในความเป็นมนุษย์ด้วยกันเองจึงเริ่มมีการเบียดเบียนกัน ทั้งทาง กาย วาจา และ ใจ ซึ่งกันและกันตลอดมาจิตใจของมนุษย์จึงเริ่มผิดปกติไปจากความเป็นธรรมชาติ แห่งตนตั้งแต่เดิมนั้นเป็นต้นมา สิ่งที่พร่องหายไปเหล่านี้ทำให้มีมนุษย์กลุ่มหนึ่งปวารณาตัวในความเป็นมหา บัณฑิตของตนเองเข้ามาแก้ไขปัญหาในสังคมมนุษย์อย่างเนืองๆต่อเนื่องตลอดไปไม่ มีวันขาดสาย มนุษย์กลุ่มนี้ได้สร้างสมบารมีในฐานะที่ตนเองมีความเป็นมนุษย์ที่ดีและมี ความพยายามที่จะดำรงตนเองให้อยู่ในความเป็นปกติของจิตวิญญาณแห่งตนเป็นระยะ เวลาหลายอสงไขยเป็นเส้นทางที่ตนเองเต็มใจที่จะเดินไปบนฐานะแห่งความเป็น "โพธิสัตว์" คือสัตว์มนุษย์ผู้ที่จะทำความรอบรู้แจ้งให้เกิดขึ้นสามารถแก้ไขปัญหาได้ทั้ง ของตนเองและผู้อื่นที่ตนได้อยู่ร่วมกันมา กลุ่มมนุษย์พวกนี้ได้ขนานนามตนเองเมื่อตนได้รู้ถึงธรรมชาติแห่งความเป็นจริง อันยิ่งใหญ่ว่า พวกเราคือ "พระพุทธเจ้าทั้งหลาย" ความเป็นพระพุทธเจ้าคือสัพพัญญูผู้รู้แจ้งในสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวงและ สามารถแก้ไขปัญหาของมนุษย์และสังคมส่วนรวมให้ลุล่วงไปในทุกระดับได้และเมื่อ ในกาลเวลาที่มีพระพุทธเจ้ามาอุบัติเกิดขึ้นคราใดแล้วเหล่ามนุษย์ผู้ที่ยังมี ความเป็นบัณฑิตแต่รอบปัญญาบารมียังไม่มากพอที่จะตรัสรู้ได้เองต่างก็เต็มใจ ก้มกราบกรานด้วยหัวใจที่เคารพนอบน้อมเพื่อเข้ารับฟังธรรมอันแท้จริงอันจะนำ พาให้ตนกลับไปสู่จิตวิญญาณที่สมบูรณ์พร้อมเหมือนแต่เก่าก่อนและพัฒนาความ เป็นตัวตนของตัวเองไปสู่ความเป็น "จิตวิญญาณแห่งพุทธะ" อันจะทำให้ตนเป็นมนุษย์ที่ดีมีความเป็นปกติสมบูรณ์แบบและสามารถดำรงชีวิตใน สังคมเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่มนุษย์ซึ่งเป็นชนรุ่นหลังได้

    นับ ตั้งแต่มีมนุษย์ได้เกิดมาในยุคแรกแห่งห้วงเวลามหากัปนี้ครั้งตั้งแต่เหตุ แห่งพรหมลงมากินง้วนดินสังคมมนุษย์ในยุคนั้นได้เป็นสังคมแห่งอุดมคติหาก เทียบกับความเสื่อมทรามของหัวใจคนในยุคนี้มนุษย์ในยุคแรกสามารถดำรงชีวิตไป ในวิถีแห่งความสุขที่เรียบง่ายและมีความเป็นธรรมชาติในความเป็น "เหล่ามนุษย์ผู้มีใจมั่นคงปกติ" ไม่คลอนแคลนไปในทิศทางที่จะก่อให้เกิดความเสื่อมเสียเกิดขึ้นแก่สังคมส่วน รวม ด้วยความอุดมสมบูรณ์ซึ่งเป็นความพรั่งพร้อมที่เอื้อให้มนุษย์สามารดำรงชีวิต ได้อย่างศานติในปัจจัยขั้นพื้นฐานทั้งสี่ที่ต่างคนต่างมีด้วยความเสมอภาค ซึ่งกันและกัน ก็เพราะความจำเป็นในการมีชีวิตอยู่ด้วยการต้องหล่อเลี้ยงร่างกายอันคือขันธ์ ทั้งห้าให้สามารถดำเนินชีวิตมีลมหายใจต่อไปได้ตามปกติในยุคอุดมสมบูรณ์นั้น มีข้าวสาลีซึ่งเป็นข้าวทิพย์ขึ้นเกลื่อนกลาดทั่วไปในทุกพื้นที่ที่เป็นผืน โลกมนุษย์ทุกคนสามารถมีสิทธิที่จะเอามือของตนเองรูดรวงข้าวเอามาหุงกินได้ เป็นปกติมันเป็นสิทธิที่จะกินได้พออิ่มตามแต่กำลังกายของใครของมันธรรมชาติ ได้ทำหน้าที่แห่งตนหล่อเลี้ยงผู้คนในยุคนั้นได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง ก็เพราะความจำเป็นในการมีชีวิตอยู่ด้วยการหาเครื่องนุ่งห่มมาปกปิดร่างกายตน เองเพื่อยังไม่ให้เกิดความละอายในยุคนั้นเพราะความเป็นมนุษย์ในยุคแรกที่กาย ของตนพึ่งได้กลายมาจากกายแห่งพรหมการเห็นเพศตรงข้ามโดยไม่มีสิ่งปกปิดทำให้ มนุษย์มีความประมาทอย่างมากมนุษย์เริ่มจับคู่เพื่อเสพกามคุณและออกจากวิสัย พรหมได้อย่างเด็ดขาดการหาสิ่งมาปกปิดร่างกายตนเองจึงเป็นสิ่งที่แสดงได้ว่า มนุษย์ยังเป็นสัตว์ที่มีวัฒนธรรมสามารถแยกแยะได้ว่าอะไรควรไม่ควรในฐานะที่ ตนเองเป็นสัตว์ที่ประเสริฐมีใจสูงกว่าสัตว์ชนิดอื่น การมีความดำริร่วมกันที่จะแสดงฐานะตัวตนของตนเองในสังคมด้วยการใส่เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มอันปกปิดได้อย่างเรียบร้อยนั้นมันจึงเป็นหน้าที่ที่ทุกคนตกลง ร่วมใจให้เป็นบรรทัดฐานในสังคมอันคือจารีตประเพณีที่ทุกคนมีความพร้อมใจยึด ถือกันมาตราบจนทุกวันนี้ ก็เพราะความจำเป็นในการมีชีวิตอยู่ด้วยการสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัยเพื่อ หลบแดดหลบฝนในยุคที่ทุกคนมีอิสรภาพเท่าเทียมกันบนผืนแผ่นดินอันศักดิ์สิทธิ์ แห่งโลกอันสมบูรณ์พร้อมแห่งนี้ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะอาศัยอยู่ตรงไหนก็ได้ด้วย การสร้างบ้านเรือนของตนขึ้นมาเป็นสังคมหมู่บ้านที่เต็มใจที่จะอยู่ร่วมกัน ตามความพึงพอใจของตนและเพื่อนมนุษย์ด้วยกันนั่นเอง โลกใบนี้เป็นโลกแห่งความมีอิสระอย่างแท้จริงไม่เคยมีเขตแดนมาปักปันเพื่อ กักกันกักขังให้มนุษย์ต้องถูกบังคับอยู่เป็นที่เป็นทางเหมือนเป็นนักโทษที่ ถูกจองจำอยู่ตลอดเวลา ก็เพราะความจำเป็นในการมีชีวิตอยู่ด้วยการรักษากายตนให้หายจากการเจ็บป่วย ไข้มนุษย์ในยุคนั้นมีอายุที่ยืนยาวมากเป็นอสงไขยปีเป็นมนุษย์ที่มีกายและใจ ที่แข็งแรงปกติทุกคนมีสิทธิขั้นพื้นฐานเท่าเทียมกันที่จะทำให้ตนเองสามารถ ยืนหยัดมีชีวิตอยู่บนโลกใบนี้ได้อย่างยาวนานตามวาระแห่งกรรมของตนซึ่งเป็น ยุคอันสมบูรณ์ซึ่งหาความพร่องแทบไม่ได้นั้น ความยังจิตแห่งตนให้ดำรงอยู่ในความเป็นธรรมชาติแห่งความเป็นมนุษย์ปกติ ธรรมดาในสังคมยุคนั้นความไม่ประมาทในจิตตนที่ทุกคนมีอยู่แล้วตามธรรมชาติ นั้นถือเป็น "ยาดี" ที่สามารถทำให้อายุของมนุษย์ทุกคนมีความยืนยาวถึงอสงไขยปี

    แต่ เมื่อมนุษย์เริ่มประมาทไม่เคารพในสิทธิและหน้าที่ที่ทุกคนมีต่อสังคมที่เคย มีอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกันการอยากมีอยากได้ให้มากกว่าเพื่อนมนุษย์คนอื่นๆ ด้วยจิตวิญญาณที่ต่ำทรามแห่งตนอันเป็นที่น่ารังเกียจในยุคนั้นมันเป็นตัณหา อุปาทานอันคือส่วนเกินในความจำเป็นแห่งการดำรงชีวิตที่มีเพียงแค่อาศัย ปัจจัยขั้นพื้นฐานทั้งสี่ที่มีอย่างเพียงพออยู่แล้วในยุคนั้นนั่นเองจึงทำ ให้เกิดการกระทบกระทั่งในสิทธิและหน้าที่แห่งตนและผู้อื่นซึ่งเป็นการกระทำ ที่เรียกว่า "การเบียดเบียนมนุษย์ด้วยกัน" ธรรมชาติได้แบ่งปันตัวเองเพื่อหล่อเลี้ยงผู้คนได้มากพอตามเท่าที่มีความจำ เป็นแต่ธรรมชาติไม่สามารถแบ่งปันตัวเองให้มากพอแก่ความอยากเกินความพอดีไป ของมนุษย์ผู้มีแต่ความโลภในใจของตนทั้งหลาย เมื่อทุกคนเริ่มมีความละโมบพยายามเอาข้าวสาลีเป็นจำนวนมากซึ่งเกินความต้อง การเพื่อกินให้อิ่มในแต่ละวันมาสะสมไว้ในบ้านข้าวสาลีซึ่งเป็นข้าวทิพย์ที่ ขึ้นเองตามธรรมชาติจึงมิใช่ข้าวสาลีทิพย์อีกต่อไปต้นข้าวและเมล็ดข้าวเริ่ม หยาบขึ้นเมล็ดข้าวเริ่มมีเปลือกข้าวมาห่อหุ้มเมื่อมันหมดความเป็นทิพย์ มนุษย์จึงต้องเริ่มนำมาปลูกในที่ตนเองมันจึงทำให้มนุษย์เริ่มขาดความอิสระใน การไปการมาและความสามารถที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้ในทุกที่ทุกทางมนุษย์เริ่มจับ จองอาณาเขตที่ดินและเริ่มประกาศว่าที่ตรงนี้เป็นของๆตนห้ามคนอื่นเข้ามา รุกล้ำเกี่ยวข้องมนุษย์เริ่มกักขังตัวเองให้อยู่ในที่ดินที่มันเกิดขึ้น เพราะความต้องการในการเป็นเจ้าของซึ่งมันเป็นการกระทำที่เกินความจำเป็นขั้น พื้นฐานของความสามารถมีชีวิตที่อยู่ได้ในวิถีที่เรียบง่ายไป ความต้องการความสวยงามให้เกิดขึ้นในเครื่องนุ่งห่มเสื้อผ้าและด้วยความ ทะยานอยากจึงคิดค้นประดิษฐ์ให้เกิดลวดลายรูปแบบตามที่ตนเองมีความปรารถนาและ คิดว่าสิ่งนี้ทำให้มีความเลิศหรูกว่าคนอื่นๆในสังคมมันก็กลายเป็นความประมาท ประการหนึ่งที่มนุษย์เริ่มสะสมสิ่งอันเป็นส่วนเกินในความจำเป็นแก่การดำรง ชีวิตไปและด้วยความประมาทหลายๆสิ่งเหล่านี้ที่ทำให้ธรรมชาติแห่งความเป็น มนุษย์ในยุคนั้นเริ่มแปรเปลี่ยน จิตวิญญาณแห่งความเป็นมนุษย์เริ่มบกพร่องมีความมืดดำในตัณหาอุปาทานเข้ามา เจือปนความประมาทในหลายส่วนจึงเป็นเสมือนโรคภัยมาพิฆาตให้อายุมนุษย์หดสั้น ลงจากอายุที่สามารถยืนยาวถึงอสงไขยปีอายุก็สั้นลงมาแค่ไม่ถึงแสนปีเพราะความ ประมาทอย่างมากของมนุษย์ที่ริเริ่มสร้างจารีตประเพณีที่นิยมถือกันแบบผิดๆไป ในทางที่ชั่วช้าต่ำทรามลงในยุคนั้นด้วยความประมาทอย่างที่ไม่มีที่สิ้นสุด มันทำให้สังคมมนุษย์ที่เคยเจริญรุ่งเรืองเต็มเปี่ยมไปด้วยจิตวิญญาณที่สูง ส่งร่วมกันถึงคราวตกต่ำจนกลายเป็นสังคมที่ไม่น่าอยู่ในบางครั้งสังคมมนุษย์ ได้มีจิตวิญญาณที่ต่ำทรามเป็นอย่างมากจนทำให้มนุษย์มีแต่ความมืดมนในหัวใจจน ทำให้มนุษย์ทั้งหลายมีพฤติกรรมคล้ายสัตว์เดรัจฉานอันจะเกิดขึ้นต่อไปในภาย ภาคหน้าที่จะถึงเร็วๆนี้ภายหลังสิ้นศาสนาพุทธโคดมในยุคมิคสัญญีคือยุคคนกิน คน ด้วยปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าวจึงทำให้มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้และเข้ามาแก้ไข ปัญหาให้แก่มวลหมู่มนุษยชาติโดยเฉพาะการมาตรัสรู้และการเข้ามาแก้ไขปัญหาก็ เป็นไปตามวาระกรรมแห่งระบบกรรมวิสัยของมนุษย์ที่ผูกมัดในปมแห่งเหตุและ ปัจจัยกันมาเป็นกลุ่มๆแห่งมวลหมู่มนุษย์ในแต่ละยุค ในบางยุคมนุษย์บางเหล่าก็มีความสามารถสร้างความเจริญให้กลับคืนมาสู่สังคม แห่งพวกตนได้อีกครั้งโพธิสัตว์บางดวงจิตก็มีความสามารถนำพาตนเองและผู้คน ทั้งหลายซึ่งมีความศรัทธาอยู่ในฐานะบริวารแห่งตนได้พากันร่วมสร้างบารมีและ ไปเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏด้วยความมีจิตวิญญาณแห่งความเป็นมนุษย์ที่ เต็มเปี่ยมจนตนเองในฐานะโพธิสัตว์ได้นำพากลุ่มของตนมาเกิดในยุคที่มนุษย์มี จิตวิญญาณที่สูงส่งและมนุษย์มีอายุยืนยาวเป็นสังคมที่น่าอยู่เหมือนแต่เก่า ก่อนและตนเองก็ได้ลงมาอุบัติตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในยุคที่มนุษย์มีความ ปกติถึงพร้อมซึ่งเป็นธรรมชาติแห่งความไม่ประมาทในจิตใจของพวกตนและตนในฐานะ พระพุทธเจ้าก็ได้ทำให้ชนเหล่านี้ได้เข้าถึงความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ สามารถดำรงชีวิตด้วยความมีอิสระทั้งทางกายและใจด้วยการชี้หนทางอันประเสริฐ อันทำให้มนุษย์ทั้งหลายมีความเข้าใจตระหนักชัดและสามารถยังจิตวิญญาณแห่งตน ให้เข้าถึงซึ่งความเป็นจิตวิญญาณแห่งความเป็นพุทธะได้ในที่สุด

    ถ้า นับจากห้วงเวลาในยุคเริ่มแรกของความเป็นโลกและมนุษย์ได้ก่อเกิดขึ้นและเป็น สังคมมนุษย์ที่มีความถึงพร้อมน่าอยู่ต่อมามนุษย์ได้สร้างปัญหาให้เกิดขึ้น และทำให้ต้องมีพระพุทธเจ้าลงมาตรัสรู้จนมีจำนวนมากมายนับไม่ถ้วนบนเส้นทาง แห่งกาลเวลาที่ผ่านมานับไม่ถ้วนแห่งอสงไขยเวลาด้วยเช่นกันพระพุทธเจ้าบาง องค์ก็มาตรัสรู้ในกาลเวลาที่มนุษย์มีความสามารถดำรงจิตของตนให้เป็นปกติตาม ธรรมชาติโดยที่มนุษย์มีอายุยืนถึงแสนปีบ้างแปดหมื่นปีบ้างสี่หมื่นปีบ้างและ สองหมื่นปีบ้างแต่มาในกาลบัดนี้ซึ่งเป็นวาระกรรมอันพิเศษและพิสดารอย่างยิ่ง จริงๆที่มนุษย์ได้มีความตกต่ำทางด้านจิตวิญญาณอย่างมาก แต่ด้วยบุญของมนุษย์ที่ยังคงพอมีอยู่ในยุคนี้ทำให้มีพระพุทธเจ้าชื่อพุทธโค ดมลงมาตรัสรู้และประกาศธรรมอันคือธรรมชาติที่แท้จริงทิ้งให้แก่ชาวโลกได้ ศึกษาและน้อมนำธรรมมาเป็นสมบัติของตน ธรรมชาติอันคือธรรมทั้งหลายที่องค์ศาสดาผู้ลับล่วงไปดีแล้วได้ประกาศทิ้งไว้ เป็นธรรมประการเดียวเท่านั้นที่เหลืออยู่ที่จะทำให้มนุษย์ผู้มืดบอดในยุคนี้ ได้รู้จักในความเป็นตัวตนอันคือมนุษย์ที่แท้จริงแห่งตน เพราะกาลเวลาได้นำพาตัวเองมาถึงจุดจบแห่งความหายนะของมวลหมู่มนุษยชาติอีก ครั้งหนึ่งแล้วเมื่อมนุษย์กลุ่มสุดท้ายในจักรวาลใบนี้ได้มีความสำนึกแห่งตน ในความที่ตนเองยังมีความเป็นมนุษย์และพวกตนมีบุญอย่างมากรอดตายจากยุคคนกิน คนได้กลุ่มตนจึงเป็นบัณฑิตกลุ่มแรกที่สามารถขีดเส้นเป็นบรรทัดฐานให้กับตน เองและมนุษย์ที่อยู่ร่วมกันในสังคมยุคนั้นเดินไปตามจารีตประเพณีอันถูกต้อง ดีงามสมกับการที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ซึ่งเป็นจารีตประเพณีอันทำให้พวกตนได้ กลับคืนไปสู่ความเป็นธรรมชาติแห่งมนุษย์ผู้มีใจสูงและประเสริฐอีกครั้งหนึ่ง เมื่อมนุษย์มีความสามารถปรับจิตใจของตนเองจากสภาพความเลวร้ายให้กลับคืนไป สู่สภาพความเป็นปกติและมนุษย์มีอายุยืนถึงแปดหมื่นปีในยุคนั้นบ้านเมืองมี ความเจริญจนถึงขีดสุดทางด้านจิตวิญญาณมีเมืองหลวงชื่อว่า "เมืองเกตุมดี" แปลได้ว่า เมืองที่มีแต่คนที่มีความรู้ทางด้านจิตวิญญาณแห่งความเป็นมนุษย์ที่เต็ม เปี่ยม บ้านเมืองจะถูกสร้างขึ้นมาด้วยความแออัดเป็นชุมชนใหญ่มีบ้านเรือนติดกัน เปรียบเทียบได้เหมือนชั่วไก่บินตกก็จะปรากฏบ้านหลังหนึ่งแต่บ้านนี้เมืองนี้ กลับกลายเป็นสังคมที่น่าอยู่มากๆทั่วทุกสี่มุมเมืองจะมีสระดอกบัวทิพย์ผุด ขึ้นอยู่ไปทั่วทุกหัวระแหงเป็นความอุดมสมบูรณ์แห่งสังคมในอุดมคติของมนุษย์ ที่เป็นจริงขึ้นมาได้ในยุคสุดท้ายแล้ว เมื่อองค์เมตไตรยได้ลงมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าและได้นำพามนุษย์ในยุคนี้ เข้าถึงความเป็นจิตวิญญาณแห่งพุทธะโดยพร้อมหน้ากันโลกใบนี้ก็จะเจริญขึ้นถึง ขีดสุดจนทำให้มนุษย์มีอายุถึงอสงไขยปีอีกครั้งและต่อมามนุษย์ก็เริ่มประมาท มัวเมาจนนำพาสังคมแห่งตนเข้าสู้ยุคมืดดำแห่งกลียุคอีกครั้งหนึ่งเป็นวงจรอัน ชั่วร้ายที่เวียนมาบรรจบและถึงคราวโลกนี้ต้องสูญสลายหายไปอีกครั้งด้วย พฤติกรรมอันคือความชั่วช้าของมนุษย์ในยุคบั้นปลายนั้นจะทำให้ฝนฟ้าไม่ตกต้อง ตามฤดูกาลมันจะแห้งแล้งจนไม่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่บนโลกใบนี้ได้อีกต่อไป ดวงอาทิตย์เริ่มแตกเป็นเสี่ยงๆอีกครั้งจนเมื่อมันแตกออกเป็นเจ็ดเสี่ยง "ไฟประลัยกัลป์" จึงพร้อมทำหน้าที่แห่งมันเพื่อเผาผลาญทำลายกวาดล้างทุกสรรพสิ่งที่ขวางอยู่ ข้างหน้าให้บรรลัยไปไม่เหลือหรอจนสิ้นซาก ทุกอย่างก็ถูกปิดฉากในบทบาทของตนลงและเริ่มวนไปในจุดเริ่มต้นของพรหมกลุ่ม ใหม่ที่พร้อมจะมีความประมาทออกจากวิสัยแห่งพรหมเพื่อลงมากินง้วนดินอีกครั้ง หนึ่งในกาลเวลาอันอีกยาวนานอย่างมากที่จะเกิดขึ้นในภายภาคหน้าและก็รอความ เป็นพระพุทธเจ้ามาช่วยสั่งสอนมนุษย์ในแต่ละยุคไป มันเป็นวัฏสงสารที่เวียนกันไปแบบนี้จนไม่รู้จักจบจักสิ้นนี่คือจักรวาลเรา นี่คือโลกเราและนี่คือความเป็นไปในความเป็นมนุษย์แห่งพวกเราทั้งหลาย





    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
    ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  8. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]





    บทที่ ๔ เลื่อยคมในผืนป่า

    ที่ดินผืนนี้อดีตมันเป็นป่าเสื่อมโทรมมีแนวเขตติดต่อกับบริเวณอุทยานแห่งชาติ
    ตอนวัยเด็กพ่อเคยเล่าให้ฉันฟังว่าในที่ดินของเราเมื่อก่อนมันมีแต่ป่ารก
    สมัยก่อนยังไม่มีแม้กระทั่งรถไถการถางป่าด้วยแรงงานคนจึงเป็นเรื่องที่ยากลำบาก
    นาแต่ละแปลงกว่าจะได้มามันทำให้มือที่ต้องจับจอบจับเสียมทุกวันของพ่อแตกและด้าน
    ใบเลื่อยอันคมกริบที่ค่อยๆกินเนื้อไม้กำลังส่งเสียงดังฉีดฉาดเอื่อยๆเป็นจังหวะ
    ลมพัดมาจากตีนดอยมันพอทำให้ชาวไร่ที่นั่งเลื่อยไม้อยู่กันคนละข้างไม่ร้อนนัก
    และมีความเพลิดเพลินใจในการประคับประคองส่งจังหวะเลื่อยให้กับคนอีกฝากหนึ่ง
    ไม่อยากจะเชื่อเลยว่าใบเลื่อยมือขนาดใหญ่ใบเดียวกับคนอีกเพียงแค่สองคน
    มันจะทำให้ผืนป่าที่มีแต่ความรกชัฏหายไปเหลือแต่ความโล่งเตียนของพื้นที่
    พ่อบอกว่าการถางป่ามันเป็นงานหนักเหนื่อยหน่ายเหมือนยาหม้อใหญ่ที่ต้องฝืนกิน
    ความที่พ่อเป็นคนจนไม่มีสมบัติพัสถานใดๆติดตัวมาและต้องพาแม่มาตกระกำลำบาก
    พ่อและแม่เป็นคนต่างถิ่นอพยพมาจากที่อื่นแต่ฉันเกิดและโตที่นี่
    ชีวิตคู่ที่เริ่มต้นจากศูนย์ทำให้พ่อยิ่งต้องดิ้นรนมุมานะพยายามเอาป่าผืนนี้มาให้ได้
    หยาดเหงื่อและแรงกายที่สูญเสียไปก็เพื่อฐานะที่ดีของครอบครัวในวันข้างหน้า
    พ่อใช้เวลาอยู่หลายปีกว่าจะได้ที่นาเกือบร้อยไร่มาเป็นของตัวเอง
    ประสบการณ์ที่ฉันต้องสานต่อเจตนารมณ์ในความเป็นชาวนาของครอบครัวในรุ่นต่อไป
    การที่ต้องรับภาระและมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่มันทำให้ฉันได้เรียนรู้ชีวิตตนเองมากขึ้น
    มาวันนี้ชีวิตของฉันมีโอกาสได้หยุดพักบ้างเพราะเข้าสู่วัยชราแล้ว
    ลูกสาวที่มีอยู่คนเดียวได้ออกเรือนแต่งงานมีครอบครัวและมีหลานให้ฉันอุ้ม
    โดยลูกเขยได้เข้ามาอยู่ด้วยและเป็นแรงงานสำคัญของบ้านที่ช่วยรับภาระในการทำนาของทุกปี
    ฉันไม่ค่อยได้กลับบ้านเพราะมานอนถือศีลอยู่ที่วัดป่าข้างหมู่บ้านเป็นแรมปีแล้ว
    จะเจอลูกสาวและหลานที่กำลังโตก็เฉพาะในวันพระที่หอบหิ้วกันมาทำบุญที่วัด
    ที่ฉันต้องมาอยู่วัดก็เพื่อต้องการมาสำรวจพื้นที่ชีวิตของตัวเองบ้าง
    ความสับสนวุ่นวายของใจที่หลงทิศทางไปจนเกิดแต่ความทุกข์อยู่เสมอๆนั้น
    ด้วยความรู้ที่ถูกต้องอันแท้จริงมันทำให้ฉันได้แต่บอกกับตัวเองว่าอย่าท้อถอย
    ฉันควรหมั่นพิจารณาว่าธรรมชาติที่แท้จริงมันหามีจิตใจอันยุ่งเหยิงไม่
    ฉันควรหมั่นพิจารณาว่าธรรมชาติที่แท้จริงมันคงว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้น
    โดย หวังเพียงว่าสักวันหนึ่งด้วยความพยายามนี้ มันจะเป็นเลื่อยคมที่ทำให้พื้นที่ชีวิตของฉันโล่งเตียน
    ปราศจากความรกรุงรังที่เต็มไปด้วยความทุกข์แห่งใจที่เข้ามาบีบคั้น
    ฉัน อยากให้หัวใจของฉันเป็นพื้นที่ชีวิตที่บริสุทธิ์ เหมือนนาแปลงนั้นที่ถูกถางป่าออกไปด้วยน้ำมือของพ่อ




    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
    ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  9. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]






    บทที่ ๕ แก่นแท้คำสอนของพระพุทธศาสนา


    อดีตกาลที่ผ่านมา อย่างเนิ่นนานชั่วกัปชั่วกัลป์นับไม่ถ้วนแห่งอสงไขยเวลาโลกใบนี้หามีสรรพ สิ่งที่มีชีวิตดำรงอยู่บนโลกนี้ไม่เพราะความตกต่ำทางด้านจิตวิญญาณของมนุษย์ ในยุคก่อนหน้านั้นจึงเป็นสาเหตุทำให้โลกและจักรวาลแห่งนี้ได้ถูกไฟ ประลัยกัลป์เผาผลาญจนสิ้นซากคงมีแต่สัตว์ชั้นพรหมที่อยู่สูงขึ้นไปในเพียง บางส่วนเท่านั้นที่รอดเหลืออยู่ เพราะโลกได้ถูกทำลายลงไปจึงทำให้มนุษย์และระบบกรรมวิสัยของมวลหมู่มนุษย์หาย ไปจากโลกใบนี้อย่างสิ้นเชิงจึงทำให้พวกพรหมเหล่านี้ต่างก็พยายามดิ้นรนให้ตน เองอยู่ในวิสัยแห่งพรหมให้ได้อยู่อย่างนั้นตลอดเวลาเพราะพวกตนไม่สามารถลงมา เกิดในโลกมนุษย์ได้อีกต่อไปแล้วพรหมทั้งหลายจึงได้เวียนว่ายตายเกิดในชั้น พรหมมาเป็นเวลาช้านาน จนกระทั้งในวันหนึ่งเกิดเหตุการณ์ทำให้พรหมทั้งหลายต่างต้องออกจากวิสัยแห่ง พรหมของตนเองเพราะการเกิดขึ้นของง้วนดินซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก และการเกิดขึ้นของชั้นบรรยากาศที่เอื้อต่อการกำเนิดระบบของสรรพสิ่งที่มี ชีวิตสิ่งเหล่านี้ทำให้ความหวังของพรหมทั้งหลายใกล้เป็นความจริงขึ้นมาที่ ทุกคนอยากจะเห็นการกลับมาของโลกที่มีแต่ความอุดมสมบูรณ์อีกครั้งหนึ่ง ด้วยความประมาทครั้งแรกแห่งพรหมทั้งหลายที่พยายามลงมาดูพื้นโลกและต่างก็กิน ง้วนดินด้วยความอยากในตัณหาอุปาทานแห่งตนความประมาทมัวเมาอันมิใช่วิสัยแห่ง พรหมจึงทำให้แสงที่ซ่านออกมาจากกายพรหมทั้งหลายได้หดหายไปและเกิดดวงดาว นักษัตร ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และ ดวงดาวต่างๆที่หมุนโคจรรอบดวงอาทิตย์เกิดขึ้นเมื่อง้วนดินกลายเป็นกระบิดิน และต่อมากลายเป็นเครือดินพรหมทั้งหลายที่เฝ้ากินกระบิดินและเครือดินต่างก็ มีร่างกายหยาบแข็งกล้าเป็นมนุษย์ขึ้นและไม่สามารถกลับไปเป็นพรหมได้อีก เหมือนเดิมเมื่อเครือดินหายไปจึงเกิดมีลักษณะเป็นแผ่นพื้นดินเกิดขึ้นแทนจึง เกิดพันธุ์พืชชนิดแรกของโลกคือ "ข้าวสาลี" มันปรากฏขึ้นเองในที่ไม่ต้องไถ เป็นข้าวที่ไม่มีรำ ไม่มีแกลบ ขาวสะอาด กลิ่นหอม มีเมล็ดเป็นข้าวสาร เมื่อมนุษย์ทุกคนเอาข้าวสาลีมาหุงกินก็ทำให้ร่างกายของมนุษย์กึ่งพรหมถึง ความเป็นกายมนุษย์โดยสมบูรณ์แบบ
    ทุกคนต่างก็เห็นสรีระร่างกายและต่างก็ เห็นอวัยวะเพศซึ่งกันและกันเมื่อเพศชายเห็นเพศหญิงเมื่อเพศหญิงเห็นเพศชาย "มนุษย์รุ่นแรก" เหล่านี้บางส่วนก็จับคู่สมสู่เป็นเมียผัว ความประมาทอย่างรุนแรงในกามคุณทำให้วิสัยแห่งพรหมได้หายไปอย่างสิ้นเชิงใน กลุ่มพรหมที่ต้องการดำรงชีวิตคู่เป็นคู่ผัวตัวเมีย แต่ในส่วนของพรหมที่ยังมีความมุ่งหวังที่จะกลับไปสู่ฐานะพรหมของตนตามเดิม พรหมเหล่านี้ก็ปลีกวิเวกเพื่อหลบลี้ไปทำฌานด้วยความหวังที่ว่าเมื่อพวกตนตาย ไปก็จะกลับไปเกิดในชั้นพรหมอีก มนุษย์รุ่นแรกในโลกใบนี้จึงถูกแบ่งออกตามความต้องการของแต่ละคนเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกคือ "กลุ่มอคาริก" เป็นกลุ่มที่มีความประสงค์จะครองเรือน กลุ่มที่สองคือ "กลุ่มอนาคาริก" เป็นกลุ่มที่มีความประสงค์ที่จะหาทางกลับบ้านเก่าคือวิมานพรหมแห่งตนครั้ง แต่เก่าก่อน ต่อมาเมื่อมนุษย์ตั้งบ้านเรือนเป็นสังคมมนุษย์ยุคแรกเกิดขึ้นมนุษย์จึงเกิด ความประมาทเกียจคร้านเริ่มปักเขตแดนว่านี่คือบ้านเรานั่นคือบ้านเขาเริ่มมี ความละโมบโลภมากสะสมทรัพย์สินเงินทองข้าวของเครื่องใช้และเริ่มนำเอา ข้าวสาลีมาปลูกไว้ในที่ของตนและเริ่มสะสมข้าวสาลีไว้ในยุ้งฉาง ต่อมาเมื่อประชากรมนุษย์มากขึ้นเรื่อยๆจึงทำให้ข้าวสาลีมีจำนวนไม่พอต่อความ ต้องการจิตวิญญาณอันสูงส่งแห่งความเป็นมนุษย์ในยุคนั้นผู้ซึ่งไม่เคยเบียด เบียนซึ่งกันและกันก็เริ่มถดถอยต่ำทรามลงด้วยมีมนุษย์ผู้หนึ่งเริ่มเบียด เบียนผู้อื่นด้วยจิตใจที่ต่ำช้าเข้าไปลักขโมยข้าวสาลีในยุ้งฉางของผู้อื่นมา เป็นของตนมันจึงเป็นเรื่องที่น่าตกใจและสลดสังเวชอย่างยิ่งในยุคนั้นว่ามา บัดนี้มนุษย์เริ่มใฝ่ชั่ว สังคมมนุษย์จึงเริ่มแต่งตั้งบุคคลหนึ่งขึ้นมาเป็นหัวหน้าและเรียกบุคคลนี้ ว่า "กษัตริย์" กษัตริย์มีหน้าที่ขจัดทุกข์บำรุงสุขยังความสงบให้เกิดขึ้นแก่สังคมส่วนรวม แต่ก็ยังปรากฏว่ามีขโมยลักข้าวสาลีในยุ้งฉางอยู่เนืองๆและต่อมาขโมยถูกจับ ได้เมื่อกษัตริย์ได้ทำการไต่สวนสืบสวนขโมยจึงเกิดความหวาดกลัวเพราะถูกจองจำ และขโมยจึงเริ่มกล่าวคำวาจาซึ่งเป็น "อสัจจะ" ออกมาเป็นครั้งแรกโดยพูดโกหกว่าตนไม่ได้เป็นขโมยและไม่เคยลักทรัพย์สินของ ใครไปแต่เมื่อกษัตริย์ได้สอบสวนจนได้ความจริงว่าขโมยคนนี้เป็นขโมยผู้ลัก ข้าวสาลีของผู้อื่นไปจริงกษัตริย์จึงขาดสติความยั้งคิดออกคำสั่งให้ประหาร ขโมยผู้นี้ด้วยศัสตรา จิตใจของมนุษย์ในยุคนั้นจึงเริ่มดำดิ่งสู่ความหายนะด้วยการเริ่มประหัต ประหารชีวิตมนุษย์ด้วยกันเองความเป็นปกติของจิตวิญญาณแห่งความเป็นมนุษย์ที่ มีแต่ความเอื้ออาทรที่มีให้แก่กันในยุคแรกๆก็เริ่มแปรเปลี่ยนไปกลายเป็นจิต วิญญาณของมนุษย์ผู้ที่เริ่มเห็นแก่ตัวไขว่คว้าเอาความมืดดำอันคือตัณหา อุปาทานอันหยาบๆของตนเองเป็นที่ตั้ง การดำเนินชีวิตไปด้วยความประมาทอย่างมากทำให้จิตใจมนุษย์เริ่มผิดปกติและ อายุมนุษย์ก็เริ่มสั้นลงด้วยจากที่ยุคแรกๆมนุษย์มีอายุถึงอสงไขยปีก็ลดลงมา เหลือแค่แสนปีและเมื่ออายุมนุษย์ลดลงมาเหลือแค่แปดหมื่นปีมนุษย์ก็เริ่ม ประมาทมัวเมาเริ่มเบียดเบียนซึ่งกันและกันจนทำให้อายุมนุษย์ลดลงมาเรื่อยๆ เหลือเจ็ดหมื่นปีเหลือหกหมื่นปีตามลำดับ

    กล่าวถึงกลุ่มอนาคาริกผู้ ไม่ครองเรือนที่มีความประสงค์จะพากลุ่มตนกลับไปเกิดเป็นพรหมเช่นเดิมอีก ครั้ง นักบวชกลุ่มนี้มีความเข้าใจผิดว่าภาวะแห่งพรหมคืออาตมันที่จีรังยั่งยืนและ เป็นภาวะที่หลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้จึงทำให้พวกตนได้ไปเกิดในชั้นพรหมอีก ครั้งด้วยอานิสงค์แห่งความสงบอันเกิดจากการทำฌานเพราะความหลงไปในโมหะแห่ง การปฏิบัติจึงทำให้พรหมเหล่านี้ "ออกอุบายหลอกลวง" ซึ่งไม่เป็นความจริงแต่อย่างไรมาสู่โลกมนุษย์ในยุคนั้นว่ากลุ่มของตนเป็นคน สร้างโลกใบนี้ขึ้นมาคือ "พระพรหมสร้างโลก" และได้เริ่มบัญญัติแบ่งแยกที่มาที่ไปของมนุษย์ออกเป็นสี่จำพวกตามคำหลอกลวง แห่งตน คือ วรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร โดยทั้งสี่วรรณะล้วนเกิดมาจากมหาพรหมผู้เป็นใหญ่ทั้งสิ้น ด้วยมิจฉาทิฐินี้ที่ยังมีคนหลงเชื่อจึงทำให้ศาสนาพราหมณ์หรือที่เรียกอีก อย่างหนึ่งว่า "ศาสนาฮินดู" ยังคงปรากฏอยู่ในโลกใบนี้ต่อไป แต่เมื่อความเป็นจริงมันยังไม่ใช่หนทางที่แท้จริงที่จะทำให้มวลหมู่ มนุษยชาติกลับไปเป็นสังคมมนุษย์ที่มีความปกติผาสุกเหมือนแต่เก่าก่อนและยัง ไม่ใช่วิถีทางอันจะนำมาซึ่งการแก้ปัญหาทำให้จิตวิญญาณแห่งความเป็นมนุษย์ กลับไปเป็นปกติได้ดังเดิมอีกทั้งภาวะอาตมันแห่งพรหมก็ยังไม่ใช่ภาวะที่หลุด พ้นจากกองทุกข์ทั้งปวงได้พรหมทั้งหลายต่างก็ยังกลับมาเวียนว่ายตายเกิดใน สังสารวัฏกันอย่างนับไม่ถ้วนและด้วยเหตุปัจจัยอันสำคัญยิ่งที่มีกลุ่มบัณฑิต กลุ่มหนึ่งได้ทำ "เหตุ" ไว้ดีแล้วตั้งแต่ยุคก่อนหน้าโน้นก่อนที่โลกใบนี้จะถูกไฟประลัยกัลป์ทำลาย ล้างจนเหลือแต่สัตว์ชั้นพรหม ก็ในคราวนั้นมีบัณฑิตคนหนึ่งได้นำพากลุ่มบริวารของตนประกอบกุศลความดีเรื่อย มาและตนเองก็มีความมุ่งหวังจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในภายภาคหน้าบัณฑิต ผู้นี้ได้ถูกพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งในยุคนั้นได้ตรัสพยากรณ์ไว้แล้วว่า จักจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างแน่นอนในภายภาคหน้าในฐานะนิยตโพธิสัตว์ เมื่อไฟประลัยกัลป์ได้ทำลายล้างโลกและจักรวาลจนหมดสิ้นก็เป็นเหตุให้บัณฑิต ผู้นี้และบริวารของตนต้องไปเกิดในชั้นพรหมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เพื่อรอเวลา จะลงมาตรัสรู้ในกาลข้างหน้าตามที่ตนเองถูกพยากรณ์เอาไว้นั่นเองและเมื่อโลก ใบนี้กลับมาสู่ความเจริญอีกครั้งเมื่อเหล่าพรหมลงมากินง้วนดินก็ด้วยเวลาอัน เหมาะสมและระบบกรรมวิสัยแห่งมวลหมู่มนุษย์ได้เริ่มต้นขึ้นอีกครั้งจึงทำให้ บัณฑิตผู้ที่ถูกพยากรณ์ไว้แล้วผู้นี้ลงมาเกิดเป็นมนุษย์บนโลกใบนี้อีกครั้ง หนึ่งและเหตุปัจจัยที่บัณฑิตผู้นี้จะต้องตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในกาลต่อไป เพื่อยังให้จิตวิญญาณแห่งตนถึงความพร้อมสมบูรณ์จึงทำให้บัณฑิตผู้นี้ไม่ ศรัทธาในคำสอนของศาสนาพราหมณ์ในยุคนั้นและไม่นับตนเองเนื่องเข้าไปอยู่ใน วรรณะทั้งสี่ของความเป็นศาสนาพราหมณ์บัณฑิตผู้นี้จึงได้ปลีกวิเวกออกบวชเป็น นักบวชอิสระที่ถือทิฐิแห่งตนไม่เกี่ยวกับผู้ใด บัณฑิตผู้นี้นี่เองที่ทำให้เกิดวรรณะที่ห้าในยุคนั้นเรียกวรรณะนี้ว่า "วรรณะนักบวช" และต่อมาเมื่อบัณฑิตผู้นี้ได้เวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏจนนับไม่ถ้วนและ รอบบารมีเต็มแล้วจึงทำให้ชาติสุดท้ายแห่งการได้เกิดมาบนโลกใบนี้ของเขาเป็น ชาติที่เขาได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์แรกในห้วงเวลานี้นับแต่โลกได้กลับ มาและมีมนุษย์เกิดขึ้นซึ่งเรียกว่า "ปฐมพระพุทธเจ้า" แห่งมหากัปนี้

    การ ที่มีพระพุทธเจ้ามาอุบัติเกิดขึ้นในฐานะสัพพัญญูผู้รู้แจ้งในทุกสรรพสิ่งการ ตรัสสอนธรรมทั้งหลายจึงเป็นไปเพื่อแก้ปัญหาทั้งปวงให้แก่มวลหมู่มนุษยชาติ เพื่อให้จิตวิญญาณแห่งความเป็นมนุษย์กลับคืนสู่ฐานะความเป็นปกติเหมือนเช่น เดิมที่ผ่านมามนุษย์เคยดำรงชีวิตตนเองบนโลกใบนี้ด้วยจิตวิญญาณแห่งตนที่สูง ส่งมนุษย์เคยมีความรักความเมตตาให้แก่กันช่วยเหลือเจือจุนแบ่งปันร่วมกัน อยู่ในสังคมด้วยความผาสุกเรื่อยมาแต่แล้วเมื่อมนุษย์เริ่มเห็นแก่ตัวเอาความ ต้องการของตนเองเป็นวิถีนำหน้าในการดำเนินชีวิต จิตวิญญาณแห่งความเป็นมนุษย์จึงเริ่มต่ำทรามก่อให้เกิดปัญหาโดยรวมตามมาใน สังคมมนุษย์จนเกินกว่าที่จะเยียวยารักษาได้พระพุทธเจ้าทั้งหลายในฐานะมหา บัณฑิตผู้รู้ซึ่งเหตุและปัจจัยแห่งปัญหานี้อย่างถี่ถ้วนจึงได้ทรงออกประกาศ ธรรมไว้ในทุกระดับเพื่อแก้ไขปัญหาให้แก่มวลหมู่มนุษยชาติให้เป็นรูปธรรม อย่างเด่นชัดการที่พระพุทธเจ้าตรัสเรื่องศีลเพราะต้องการให้มนุษย์ทุกคนกลับ ไปมีจิตเป็นปกติเหมือนเช่นสังคมมนุษย์ในยุคแรกที่ผ่านมา การที่พระพุทธเจ้าตรัสเรื่องนิพพานธาตุเพราะต้องการให้มนุษย์ปฏิบัติตาม ธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนเพื่อที่จะได้ พ้นจากกองทุกข์ทั้งปวงได้อย่างสิ้นเชิงโดยไม่ต้องไปเกิดในภพภูมิไหนอีกแม้ กระทั่งภพภูมิแห่งพรหม เพราะฉะนั้นแก่นแท้ซึ่งเป็นคำสอนทางพระพุทธศาสนาจึงไม่ใช่จะมีแต่การ สอนภาวนาเพื่อให้พ้นทุกข์แต่เพียงถ่ายเดียวแต่คำสอนซึ่งเป็นหัวใจหลักอันแท้ จริงนั้น พระพุทธเจ้าในทุกๆพระองค์ท่านมีพุทธประสงค์ที่จะทำให้มนุษย์ทุกคนบนโลกใบนี้ รู้จักความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงแห่งตนเองในฐานะที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ผู้ มีใจอันสูงประเสริฐยิ่ง เพราะฉะนั้นการที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ตรัสถึงหนทางหนึ่งเดียวที่จะทำให้ เราพ้นจากความทุกข์ได้หมดจดอันคือ "มรรคมีองค์แปด" ซึ่งเป็นหนทางที่เป็นวิถีธรรมชาติโดยตัวมันเองที่จะนำพาให้เรากลับคืนไปสู่ "ความดั้งเดิมแท้ของจิต" ที่มีแต่ความบริสุทธิ์ปราศจากธาตุปรุงแต่งอันเป็นความเศร้าหมองมลทินทั้ง หลาย ในส่วนหนึ่งของมรรคมีองค์แปดมันเป็นเพียงธรรมชาติแห่งธรรมธาตุที่จะทำให้เรา พ้นจากความทุกข์ไปแต่เพียงเท่านั้น ธรรมธาตุเหล่านี้ คือ
    "สัมมาทิฐิ" คือ ปัญญาเห็นชอบ หมายถึงความคิดเห็นซึ่งเป็นความเข้าใจที่ตรงต่อความเป็นจริงที่มันปรากฏอยู่ แล้วตามธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนของมัน อยู่อย่างนั้น
    "สัมมาสังกัปปะ" คือ ดำริชอบ หมายถึงความสำนึกในความที่ตนเองยังเป็นมนุษย์ผู้มีใจสูงและประเสริฐ เป็นความสำนึกที่จะนำพาตนเองกลับคืนสู่ความเป็นปกติด้วยธรรมชาติแห่งจิต วิญญาณอันพรั่งพร้อมสมบูรณ์แห่งตน
    "สัมมาวายามะ" คือ ความพยายามไปในทิศทางที่ถูกต้อง หมายถึงการที่ตนได้พยายามทำหน้าที่ในฐานะที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ได้อย่าง สมบูรณ์แบบไม่มีข้อบกพร่องด้วยการตั้งใจเดินไปบนเส้นทางธรรมชาตินี้ให้สุดหน ทางเท่าที่ตนเองจะมีความสามารถจะกระทำได้ในชาตินี้
    "สัมมาสติ" คือ การระลึกรู้ได้โดยชอบ หมายถึงธรรมชาติแห่งการระลึกรู้ได้อยู่เสมอๆว่านี่คือธรรมชาติดั้งเดิมแท้ แห่งตน ว่านี่คือธรรมชาติแห่งจิตวิญญาณที่ถึงความสมบูรณ์พร้อมซึ่งมันคือจิตวิญญาณ แห่งความเป็นพุทธะที่มีความเป็นอิสระโดยตัวมันเองอยู่อย่างนั้น
    "สัมมา สมาธิ" คือ ความตั้งมั่นโดยชอบ หมายถึงความที่เรามีความเข้าใจในชีวิตของเราเองที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์และ เราได้ทำหน้าที่แห่งตนได้อย่างดีไม่มีข้อบกพร่อง เพราะธรรมชาติแห่งพุทธะได้หล่อเลี้ยงชีวิตของเราจนทำให้เรามีความสบายใจไม่ หันเหไปในทิศทางอื่นอีกเลย

    การก้าวข้ามความทุกข์ยากอันแสนสาหัสของ ชีวิตตนมาสู่ความเป็นธรรมชาติแห่งความเป็นอิสระตราบชั่วนิจนิรันดร์ได้นั้น มันก็เป็นเพียงเครื่องหมายว่าตนเองได้ทำหน้าที่แห่งตนได้สมบูรณ์แล้วในส่วน หนึ่งเท่านั้น แต่ความเป็นมนุษย์มิได้อยู่เพียงตัวคนเดียวบนโลกใบนี้สัตว์มนุษย์ถือว่าเป็น "สัตว์สังคม" ที่ได้มีการอาศัยอยู่ร่วมพึ่งพิงกันเป็นสังคมหมู่ใหญ่ เพราะฉะนั้นด้วยจิตวิญญาณแห่งความเป็นมนุษย์จึงทำให้ทุกคนอยู่ร่วมกันด้วย ความมีศานติในทุกด้านพระพุทธเจ้าทั้งหลายจึงตรัสถึงศาสตร์ที่ว่าด้วยความ เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบเพื่อให้แต่ละคนได้ทำหน้าที่ของตนเองที่มีต่อส่วน รวมในสังคมได้อย่างดีไม่มีข้อบกพร่องอันจะทำให้สังคมมนุษย์เป็นสังคมที่มี แต่ความปกติผาสุกและน่าอยู่ ธรรมธาตุเหล่านี้ คือ
    "สัมมาวาจา" คือ การติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นที่อยู่ในสังคมร่วมกันด้วย "สัจจะวาจา" ซึ่งเป็นคำพูดศักดิ์สิทธิ์ที่พูดออกมาจากหัวใจอันบริสุทธิ์ของความเป็น มนุษย์
    "สัมมากัมมันตะ" คือ การกระทำโดยชอบ หมายถึงเพราะความที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ผู้มีใจปกติในคุณงามความดีแห่งตน ตนจึงดำรงชีวิตอาศัยอยู่ร่วมในสังคมด้วยความมีมิตรไมตรีต่อเพื่อนมนุษย์ด้วย กันเสมอมา ความรักความเมตตาที่มีให้แก่กันจะทำให้เผ่าพันธุ์มนุษย์ยังคงอยู่ยั่งยืนคู่ กับโลกใบนี้ต่อไปตราบชั่วกัลปาวสาน มนุษย์จะไม่ฆ่าฟันประหัตประหารกันจนสูญสิ้นเผ่าพันธุ์เหมือนสัตว์เดรัจฉาน บางสายพันธุ์ที่สาบสูญหายไปจากโลกแล้ว
    "สัมมาอาชีวะ" คือ การประกอบอาชีพอย่างสุจริต เพราะสังคมมนุษย์เป็นสังคมในอุดมคติที่สูงส่งในทุกองคาพยพ มนุษย์จึงประกอบกิจกรรมของตนในแต่ละวันเป็นไปในทิศทางที่มีจิตวิญญาณแห่ง ความเป็นมนุษย์ที่ดีร่วมกันทั้งนี้เพื่อเอื้อให้สังคมได้อยู่รอดและแบ่งปัน ความสุขเหล่านี้ให้แก่ลูกหลานที่จะได้เกิดมาเป็นมนุษย์ในสังคมนี้ต่อไปในภาย ภาคหน้า

    เพราะฉะนั้นมรรคมีองค์แปดจึงเป็น "เส้นทางธรรมชาติ" เส้นทางเดียวที่จะนำพามวลหมู่มนุษยชาติทั้งหลายให้กลับไปสู่ฐานะที่ตั้งแห่ง ความดีงามของตนที่เคยปรากฏอยู่บนโลกใบนี้มาครั้งตั้งแต่เก่าก่อน การปฏิบัติตามธรรมชาติในส่วนหนึ่งเพียงเพื่อให้ตนเองได้รอดพ้นจากการเวียน ว่ายตายเกิดแต่เพียงเท่านั้นมันก็ยังไม่ใช่หนทางที่จะทำให้นักปฏิบัติภาวนา ทั้งหลายเข้าใจในความเป็นมนุษย์ของตนเองดีขึ้นมาแต่อย่างไร มรรคหนทางทั้งแปดส่วนที่พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ได้เพียรมาตรัสธรรมทิ้งไว้ ให้แก่ชาวมนุษย์โลกนั้นธรรมในทุกส่วนของมรรคนั้นก็เป็นไปเพื่อที่จะช่วย จรรโลงเอื้อให้สังคมของมนุษย์กลับไปเป็นสังคมที่มีแต่ความปกติผาสุกไม่เบียด เบียนซึ่งกันและกันเมื่อนักปฏิบัติสามารถมีความตระหนักชัดและเข้าถึงความ เป็นเนื้อหาของมรรคอันคือหนทางอันประเสริฐนี้ได้ในทุกส่วนก็ถือได้ว่านัก ปฏิบัติคนนั้นได้เข้าถึง "หัวใจ" แห่งความเป็นมนุษย์ที่แท้จริงของตนแล้ว



    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
    ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  10. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]





    บทที่ ๖ บ้านของเรา

    กาลเวลาประดุจดั่งสายน้ำ
    ที่ได้พัดพาชีวิตของเราทั้งสองมาสู่ที่นี่
    ความสงบผาสุกที่มีอยู่ตามธรรมชาติของมันเองนั้น
    ความเงียบงันเหล่านี้ได้กระซิบบอกในใจว่า
    ชีวิตที่เหนื่อยหนักถึงคราที่จะต้องได้พักผ่อนบ้าง
    ความสงบอันคือความราบเรียบของผืนน้ำ
    ที่ต้องปลายแสงอ่อนรำไรของดวงอาทิตย์ในช่วงก่อนย่ำค่ำ
    และเสียงจักจั่นป่าที่กรีดปีกมันเองจนระงมลั่นไม่เป็นจังหวะไปทั่วท้องทุ่ง
    อันคือเสียงแห่งบทกวีที่มีแต่ความวุ่นวายเซ็งแซ่
    มันทำให้ความแตกต่างทั้งสองสิ่งนี้คือความงามตามธรรมชาติอย่างแท้จริง
    ในคืนจันทร์เดือนเพ็ญที่เต็มดวงและเจิดจ้าแห่งรัตติกาลนี้
    แสงจันทร์อันอ่อนหวานได้ทาบทาความสว่างเย็นลงมาบนผืนโลก
    แสงจันทร์นวลสามารถทำให้มองเห็น
    เจ้าค้างคาวตัวเล็กกำลังห้อยหัวเอาฟันแทะพวงลูกชมพู่ทับทิมจันทร์พวงใหญ่ที่กำลังสุก
    ชมพู่ต้นนี้มันออกใบงามและลูกดกเต็มต้นอยู่ที่หน้าบ้าน
    และ เห็นต้นหมากที่ปลูกไว้เป็นแนวริมรั้วสิบกว่าต้นอยู่ข้างระเบียงที่นั่งเล่น ก็กำลังสะบัดใบระเริงรำไหวไปมาเหมือนมันกำลังพูดคุยกันอยู่
    เป็นเพราะลมหนาวที่พัดโบกมาทำให้ลำต้นหมากมันไหวเอนไปเอนมาอยู่ตลอดทั้งคืน
    ความเย็นยะเยือกในเหมันต์ฤดูปลายปีแบบนี้
    ทำให้เธอและฉันต้องแย่งกันนอนซุกคลุมโปงอยู่ในผ้าห่มที่ยัดด้วยนุ่นผืนหนาผืนใหญ่ที่มีอยู่เพียงผืนเดียวผืนนั้น
    และหันหน้าเข้าหากันเพื่อมองดูความเป็นไปแห่งชีวิตของเราทั้งสอง
    ทิวาราตรีที่ผ่านไปๆในเส้นทางแห่งกาลเวลาที่มีทั้ง อดีต อนาคตและปัจจุบัน
    คือความสวยงามและความสุขของเราที่กำลังปรากฏขึ้นมาในความทรงจำของห้วงเวลา
    มันคอยย้ำเตือนว่า "เราสองคนไม่ควรจากไปที่ไหนอีก"
    ที่นี่คือ "บ้านของเรา" ณ เส้นทางแห่งอนันตกาล



    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
    ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  11. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]





    บทที่ ๗ ยุคจิตวิญญาณแห่งพุทธะ


    กาล เวลาวาระสุดท้ายใกล้จะเข้ามาเยือนแล้วเพราะเหตุแห่งไฟประลัยกัลป์จะทำลายโลก และจักรวาลนี้ให้ย่อยยับสูญสิ้นสลายหายไปในกาลข้างหน้าอีกไม่เพียงกี่อึดใจ ในความเป็นจริงก็คงเหลือกลุ่มมนุษย์ที่เกาะกลุ่มกันเป็นระบบกรรมวิสัยที่จะ ต้องลงมาเวียนว่ายตายเกิดอีกเพียงแค่ไม่กี่กลุ่ม แท้ที่จริงกลุ่มมนุษย์เหล่านี้ที่ยังต้องลงมาแสดงบทบาทของตนในฐานะโพธิสัตว์ และความเป็นมนุษย์ที่ปกติก็คือพวกพรหมเก่าที่เคยลงมากินง้วนดินตั้งแต่ต้น ยุคนั่นเองเพราะมนุษย์พวกนี้มีคุณลักษณะความเป็นธรรมธาตุที่เป็น "ต้นธาตุต้นธรรม" แห่งกรรมของผู้คนในยุคที่ผ่านมาทั้งปวงจึงทำให้เกิดระบบการกระจายจิตกระจาย กรรมและเป็นเหตุผลเดียวที่ทำให้ระบบวาระกรรมแห่งการเวียนว่ายตายเกิดได้ยืด เยื้อมาเป็นเวลานับไม่ถ้วนแห่งอสงไขยเวลาจนทำให้ที่ผ่านมามีพระพุทธเจ้าลงมา ตรัสรู้บนโลกใบนี้เป็นจำนวนมากมายและสามารถขนสรรพสัตว์ขึ้นฝั่งพระนิพพาน เป็นจำนวนมหาศาล กลุ่มมนุษย์ที่เหลืออยู่ในตอนนี้สามารถแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ


    กลุ่มแรกคือกลุ่มของ "เมตไตรย"
    เมตไตรย คือบรมมหาโพธิสัตว์ที่จะลงมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์สุดท้ายก่อนที่ จักรวาลนี้จะถูกทำลายไป ในห้วงเวลาเมื่อสิบหกอสงไขยที่ผ่านมาได้มีบรมมหาโพธิสัตว์ดวงหนึ่งลงมาเกิด เป็นจักรพรรดิที่ชื่อ "สังขจักรพรรดิ" ในกาลนั้นสังขจักรพรรดิก็ได้กล่าวคำปฏิญญาอันเป็นสัจจะวาจา "อธิษฐานเพื่อให้ตนเองเข้าถึงความเป็นพุทธภูมิ" ด้วยความหวังว่าตนเองจักจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งในภายภาคหน้า และในชาตินี้เองตนเองก็ได้ถูกพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งในขณะนั้นได้ตรัสทำนาย พยากรณ์ล่วงหน้าไว้ว่านับแต่นี้ต่อไปอีกสิบหกอสงไขยแห่งกาลเวลาข้างหน้า เมื่อมวลหมู่มนุษย์ในยุคนั้นมีจิตวิญาณแห่งตนที่สูงส่งเป็นปกติและมนุษย์มี อายุยืนถึงแปดหมื่นปี สังขจักรพรรดิองค์นี้จะได้ลงมาตรัสรู้อุบัติเป็นพระพุทธเจ้านามว่า "เมตไตรย" ซึ่งมีความหมายว่า "ความรักความเมตตาอันยิ่งใหญ่ที่มวลหมู่มนุษยชาติในยุคสุดท้ายมีให้แก่กัน ด้วยหัวใจที่บริสุทธิ์" เพราะฉะนั้นเส้นทางที่ผ่านมาแห่งเมตไตรยและบริวารก็คือเส้นทางที่บ่มเพาะตัว เองเพื่อให้เข้าถึงความเป็นจิตวิญญาณแห่งความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบด้วย การนำกลุ่มของพวกตนมาเกิดในยุคสุดท้ายของมนุษย์ที่มีความเจริญรุ่งเรืองทาง ด้านจิตวิญญาณอันสูงส่งเป็นอย่างมากและด้วยบุญแห่งตนเองนั้นก็เป็นเหตุนำพา ให้มนุษย์ในยุคสุดท้ายนี้พัฒนาสังคมของพวกตนไปสู่ความเจริญสมบูรณ์แบบจนกลาย เป็นสังคมในอุดมคติที่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจิตวิญญาณแห่งพุทธะที่มนุษย์ มีร่วมกันในยุคนั้นเป็นสังคมของชาวศิวิไลซ์ที่แสดงถึงความมีบุญอย่างเต็ม เปี่ยมและเสมอภาคกันของผู้คนที่มีความสามารถดำรงชีวิตตนเองในความเป็นมนุษย์ ผู้มีใจปกติได้ตลอดในทุกเส้นทางที่ผ่านมาแห่งการที่จะต้องไปเวียนว่ายตาย เกิดและผลบุญเหล่านี้ได้นำพาตนเองได้มาเกิดในยุคสุดท้ายก่อนที่โลกนี้จะถูก ทำลายไป


    กลุ่มสุดท้ายคือกลุ่มของ "สักกเทวราช หรือ พระอินทร์"
    สัก กเทวราชคือโพธิสัตว์นักบุญที่มีอาตมันกำลังจิตที่ใหญ่กว่าดวงจิตอื่นๆในตลอด ทุกยุคที่ผ่านมาด้วยบุญอันเกิดจากที่ตนเองได้ "ตั้งใจ" ทำมาโดยตลอดจึงทำให้ตนเองได้เวียนว่ายตายเกิดและได้เป็นราชาผู้เป็นใหญ่แห่ง สวรวงสวรรค์มาแทบทุกยุคจนนับไม่ถ้วน สักกเทวราชเป็นตำแหน่งของผู้นำซึ่งเป็นผู้มีกำลังบุญมากที่สุดในชั้นจิต วิญญาณแห่งสวรรค์เบื้องบนตำแหน่งสักกเทวราชที่ผ่านมาได้ถูกหมุนเวียนเปลี่ยน ถ่ายไปสู่บุคคลอื่นๆบ้างตามวาระกรรม แต่สักกเทวราชกลุ่มใหญ่ที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับและเป็นกลุ่มสุดท้ายนี้ เองที่มีผลบุญเกี่ยวเนื่องมากับกลุ่มเมตไตรยจนต้องทำให้กลุ่มสักกเท วราชกลุ่มนี้บางส่วนต้องไปเกิดในยุคเมตไตรยซึ่งเป็นยุคสุดท้ายด้วยเช่นกัน สักกเทวราชองค์นี้แต่เดิมก็คือ "อธิบดีของกลุ่มพรหมเก่า" ผู้มีอำนาจอาตมันสูงสุดเป็นประธานแห่งพรหมในยุคนั้นที่ลงมากินง้วนดินซึ่ง ก่อนหน้านั้นโลกนี้เคยเกิดขึ้นและดับไปหลายครั้งแล้วและอธิบดีแห่งพรหมดวง นี้ก็เคยเป็นอธิบดีแห่งพรหมเพื่อนำพรหมลงมากินง้วนดินมาหลายสมัยแล้วเช่นกัน ด้วยอำนาจแห่งอาตมันที่ยิ่งใหญ่ของตนที่พาพวกพรหมมาเหยียบบนพื้นโลกจึงมีผล ทำให้ "กำลังแห่งการกระทำกรรม" ในครั้งนั้นของสักกเทวราชองค์นี้กลายเป็นประธานหลักแห่งกรรมของโลกใบนี้อัน จะถือได้ว่าการที่สักกเทวราชองค์นี้ได้นำพาพวกตนซึ่งเป็นพรหมลงมากินง้วนดิน นั้นเป็น "กรรม" ซึ่งคือการกระทำกรรมครั้งแรกที่มนุษย์ได้ทำปรากฏไว้บนโลก กรรมที่ตนได้ลงมากินง้วนดินจึงเป็นกรรมซึ่งถือได้ว่า "เป็นต้นธาตุต้นธรรม" แห่งกรรมทั้งปวงบนโลกใบนี้อย่างแท้จริงซึ่งส่งผลทำให้การกระทำกรรมใดๆในกาล ต่อมาของสักกเทวราชองค์นี้มีผลต่อความเป็นไปของโลกใบนี้โดยรวมอย่างหลีก เลี่ยงไม่ได้
    แต่ด้วยความที่ดวงจิตของอธิบดีพรหมดวงนี้มีคุณลักษณะ ธรรมธาตุเป็นไปในทาง "ธาตุแห่งคู่อธิษฐาน" คือธาตุสัญลักษณ์ของความเป็นมนุษย์ธรรมดาสามัญซึ่งประกอบไปด้วยความมีคู่ ครองและครอบครัวในฐานะเป็นสัตว์ที่ต้องสืบสายพันธุ์แห่งความเป็นมนุษย์ของตน เองให้อยู่รอดและต้องสร้างสังคมที่ดีของตนเองขึ้นมาในฐานะที่เป็นมนุษย์ผู้ มีใจประเสริฐสูงยิ่ง ด้วยความที่อธิบดีแห่งพรหมดวงนี้เป็นธรรมธาตุแห่งมนุษย์ที่แท้จริงจึงทำให้ ตนเองเลือกที่จะสมสู่กับพรหมเพศตรงข้ามด้วยกันเป็นคู่ครองในครั้งนั้น พรหมดวงนี้ได้อธิษฐานกล่าวคำสัจจะวาจาต่อพรหมผู้เป็นภรรยาว่า "จะรักและอยู่ร่วมกับคนรักของตนตลอดไปตราบชั่วนิจนิรันดร" และกล่าวคำสัจจะวาจาว่า "ขอให้ชีวิตของเราทั้งสองคนพบแต่ความสุขที่ยั่งยืนซึ่งมีแต่ความเป็นอิสระ อันแท้จริงทั้งทางกาย วาจาและใจ โดยไม่ต้องตกเป็นทาสแก่สิ่งใดหรือแก่ผู้ใดอย่างเด็ดขาด" อธิบดีแห่งพรหมจึงได้พาภรรยาของตนไปตั้งบ้านเรือนและเต็มใจที่จะเป็นพวก "อคาริก" คือพวกผู้ที่ครองเรือนซึ่งถือว่าเป็นต้นตระกูลบรรพบุรุษของความเป็นเผ่า พันธุ์มนุษย์ยุคแรกบนโลกใบนี้ ความที่บุคคลสองคนนี้เป็นธรรมธาตุ "คู่สัจจะวาจาอธิษฐาน" ก็เพราะในกาลก่อนโน้นที่ผ่านมาเนิ่นนานไม่รู้กี่ร้อยกี่พันหมื่นแสนอสงไขยจน โลกนี้เกิดขึ้นและดับไปไม่รู้กี่ครั้งต่อกี่ครั้งที่ผ่านมาและมีพรหมลงมากิน ง้วนดินหลายรอบแล้วและมีอยู่ชาติหนึ่งซึ่งเป็นชาติที่ผลบุญเก่าๆที่ได้ สั่งสมมาดีอย่างมากแล้วส่งผลทำให้อดีตอธิบดีพรหมดวงนี้เคยเกิดเป็นมาณพหนุ่ม ที่ชื่อ "มฆมาณพ" แห่งหมู่บ้านอจลคาม แคว้นมคธ แห่งดินแดนชมพูทวีปและภรรยาแห่งอดีตอธิบดีพรหมนั้นเคยเกิดเป็นหญิงงามนามว่า "นางสุชาดา" มฆมาณพมีภรรยาถึงสี่คนตามคติที่เป็นที่ยอมรับของคนทั่วไปในยุคนั้น คือ นางสุธรรมา นางสุจิตรา นางสุนันทา และ นางสุชาดา
    และในชาตินี้เองที่มฆ มาณพมีธรรมธาตุแห่งสติสัมปชัญญะที่เต็มเปี่ยมสามารถแยกแยะในทุกสิ่งได้ว่า อะไรควรไม่ควรและตนได้เลือกดำเนินชีวิตไปด้วยความมีสติแห่งการเดินบนเส้นทาง กุศลกรรมที่ตนตั้งใจน้อมนำมาเป็นข้อประพฤติปฏิบัติถึงเจ็ดประการบุญที่ได้ เป็นผู้นำพาพวกเพื่อนๆทำ "หนทาง" เดินเข้าหมู่บ้านอจลคามและได้ร่วมกันปลูกต้นทองหลางไว้เรียงรายอยู่ข้างทาง และอยู่ใกล้ศาลาที่พักนั้นมันเป็นการกระทำกรรมซ้ำตามรูปแบบแห่งความเป็นไปใน ลักษณะจิตของความเป็นมนุษย์มันเป็นกรรมซึ่งเป็นการกระทำซ้ำใน "หนทาง" เก่าของตนซึ่งคือ "หนทาง" แห่งพรหมที่ตนได้พาบริวารลงมากินง้วนดินในรอบก่อนๆที่ผ่านมาหลายรอบแล้ว ต่อมาตนได้พาเพื่อนๆสร้างศาลากลางหมู่บ้านและได้ปลูกสวนดอกไม้และสระบัวไว้ ข้างๆศาลามันเป็นการกระทำกรรมซ้ำตามรูปแบบแห่งความเป็นไปในลักษณะจิตของความ เป็นมนุษย์อีกเช่นกันมันเป็นกรรมซึ่งเป็นการกระทำซ้ำใน "การสร้างบ้านเรือน" เป็นของตนและพวกอคาริกอื่นๆจนก่อให้เกิดเป็นชุมชนของมนุษย์กลุ่มใหญ่ในยุค แรกๆของพรหมลงมากินง้วนดินในรอบก่อนๆที่ผ่านมาหลายรอบแล้วเช่นกัน ด้วยผลบุญอันเกิดจากการตั้งใจประกอบบุญกุศลในชาตินี้และเป็นมหาบุญอันยิ่ง ใหญ่ที่เกิดจากจิตอันประณีตในความเป็นมนุษย์ผู้หยิ่งในเกียรติและศักดิ์ศรี อันคือจิตวิญญาณในความเป็นบัณฑิตและนักบุญแห่งตนเมื่อมฆมาณพได้ตายไปจึงส่ง ผลทำให้ตนเองได้ไปเกิดเป็นเทวาผู้เป็นใหญ่มีอำนาจบุญมากกว่าใครในสรวงสวรรค์ และด้วยมหาบุญอันยิ่งใหญ่พิสดารของมฆมาณพจึงทำให้เกิดชั้นสวรรค์ชั้นใหม่ใน สรวงสวรรค์เป็นครั้งแรกชื่อว่า "สวรรค์ชั้นดาวดึงส์" ด้วยอำนาจแห่งบุญนั้น เป็นสวรรค์ที่องค์ศาสดาพุทธโคดมได้เคยทรงตรัสชมไว้ว่าเป็นสวรรค์ชั้นที่สวย งามที่สุด ศาลาสุธรรมาเป็นศาลาที่สวยงามมากไม่เป็นรองใครในหมื่นแปดโลกธาตุนี้ ต้นทองหลางก็กลายเป็น "ต้นปาริฉัตตกะ" หรือปาริชาติเป็นต้นไม้กัลปพฤกษ์ที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งชั้นสวรรค์มานานตราบจน ถึงทุกวันนี้และมฆมาณพได้เรียกตนเองว่า "สักกเทวราช" ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ส่วนภรรยาของมฆมาณพผู้ซึ่งเคยเป็นภรรยาอดีตอธิบดีพรหมได้ถูกกรรมวิบากตัดรอน ส่งผลให้ไปเกิดเป็น "นกกระยางสุชาดา" หากินอยู่ที่หนองน้ำในเมืองอจลคามนั่นเองและนางนกกระยางสุชาดานี้เองที่ได้ นำพาให้ท้าวสักกเทวราชสร้างตำนานรักอันยิ่งใหญ่ลือลั่นไปทั่วจักรวาลแห่งนี้ ด้วยการลงมาพานางนกกระยางอดีตเมียรักรักษาศีลจนไปเกิดเป็นเทวาพวกอสูรและได้ เกิดตำนานเทวาสุรสงครามเป็นการรบพุ่งระหว่างเทวาพวกดาวดึงส์กับเทวาพวกอสูร เพื่อแย่งชิงนางสุชาดาอสูรกัญญาเป็นการรบระหว่างพ่อตากับลูกเขยเป็นการทำ สงครามรบกันของพวกเทวาที่มีมาอย่างยาวนานจนเป็นตำนานของเทวาในยุคนี้ไปแล้ว หลังจากที่มฆมาณพได้เป็นสักกเทวราชผู้เป็นใหญ่ในสรวงสวรรค์และได้หมดอายุลง ต่างก็ได้มาเวียนว่ายตายเกิดและขึ้นไปดำรงตำแหน่งเป็นสักกเทวราชอยู่บน สวรรค์เป็นประจำอย่างนี้มาช้านาน จนวาระกรรมที่สำคัญได้มาบรรจบเมื่อสิบหกอสงไขยที่ผ่านมาเมื่อสังขจักรพรรดิ ได้อธิษฐานตนเองเพื่อให้ได้เข้าถึงความเป็นพุทธภูมิครานั้นอดีตอธิบดีพรหม หรือมฆมาณพก็ได้บังเกิดขึ้นไปเป็นสักกเทวราชผู้เป็นใหญ่ในสรวงสวรรค์อีกเช่น เดิม สักกเทวราชได้พานางสุชาดาอสูรกัญญาเมียรักลงมาทำบุญด้วยการทำทาน "ให้ข้าวทิพย์" แก่สังขจักรพรรดิกินจนมีเรี่ยวแรงฟื้นจากความสลบและลุกขึ้นมากล่าวคำสัจจะ วาจาอธิษฐานจิตเข้าสู่พุทธภูมิได้


    ในยุคก่อนพุทธกาลก่อนเกิดกาล สมัยแห่งศาสนาพุทธโคดมนี้ สักกเทวราชหรือพระอินทร์องค์ปัจจุบันซึ่งก็คือมฆมาณพซึ่งเป็นอดีตหัวหน้าพวก พรหมเก่าก็ได้เป็นผู้นำสวรรค์อีกครั้งหนึ่งด้วยความที่ไม่เคยประมาทสร้างสม แต่บุญกุศลและตนก็ได้เอื้อเส้นทางให้บรมมหาโพธิสัตว์ดวงหนึ่งได้บำเพ็ญบารมี ไปด้วยความสะดวกอย่างยิ่งจนกระทั่งสันดุสิตได้ลงมาเกิดเป็นมนุษย์ชื่อว่า "สิทธัตถะ" และได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้านาม "พุทธโคดม" ในยุคนี้ ด้วยบุญที่สักกเทวราชหรือพระอินทร์ได้ทำร่วมกันมาอย่างยาวนานกับพุทธโคดมพระ พุทธเจ้าจึงส่งผลทำให้นับแต่กึ่งพุทธกาลนี้เป็นต้นไปจนกว่าจะหมดสิ้นศาสนา นี้ภายในห้าพันปี นับแต่ พ.ศ. ๒๕๑๒ จนถึง พ.ศ. ๕๐๐๐ กลุ่มของสักกเทวราชหรือพระอินทร์และกลุ่มของเมตไตรยจำเป็นต้องนำพาตนเองและ บริวารในกลุ่มของตนลงมาเกิดในโลกเพื่อทำบารมีกันต่อในยุคกึ่งพุทธกาลนี้
    โดย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ที่ผ่านมาสักกเทวราชหรือพระอินทร์ได้หมดอายุลงในชั้นสวรรค์และได้ลงมาจุติ เกิดเป็นมนุษย์ในดินแดนที่มีแต่ความเป็นอิสระแห่งสุวรรณภูมิประเทศไทย นับเป็นเกรียติศักดิ์อันสูงส่งอย่างยิ่งที่ชาติสุดท้ายแห่งการเวียนว่ายตาย เกิดของสักกเทวราชหรือพระอินทร์ได้ลงมาเกิดในดินแดนที่องค์ศาสดาพุทธโคดมเคย ตรัสพยากรณ์ไว้ว่าดินแดนสุวรรณภูมิแห่งนี้จะเป็นดินแดนที่มีแต่ความเจริญ รุ่งเรืองทางด้านพระพุทธศาสนา ซึ่ง "เป็นความเจริญรุ่งเรืองอย่างแท้จริง" ที่ถูกพยากรณ์ไว้ด้วยความเข้าใจของความเป็นมหาบัณฑิตแห่งตถาคตเจ้า ก่อนหน้านั้นสักกเทวราชหรือพระอินทร์ได้อยู่เบื้องหลังการสร้างบ้านแปลง เมืองจากชุมชนของคนป่าในยุคก่อนๆได้กลายเป็นประเทศไทยที่มีแต่ความเจริญ รุ่งเรืองประกอบไปด้วยจารีตประเพณีและวัฒนธรรมอันดีที่บ่งบอกถึงความเป็น "ไทยแท้" ไม่เหมือนชนชาติอื่น
    "องค์พระแก้วมรกต" เกิดจากสักกเทวราชหรือพระอินทร์ได้นำมรกตขนาดใหญ่นี้มาจากสวรรค์ชั้นจาตุมหา ราชิกาซึ่งเป็นสมบัติของจักรพรรดิองค์หนึ่งนำมาให้พระนาคเสนสร้างขึ้นเป็น "พระแก้วมรกต" และมาบัดนี้ "พระแก้วมรกต" ได้ถูกอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ ณ กลางใจเมืองกรุงเทพมหานครครั้งตั้งแต่สักกเทวราชหรือพระอินทร์ได้ลงมาช่วย สร้างเมืองกรุงเทพฯขึ้นใหม่ๆตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ สมดังความตั้งใจที่สักกเทวราชหรือพระอินทร์ได้มุ่งหวังไว้ในมหาบุญแห่งตน สักกเทวราชหรือพระอินทร์นี้เองคือ "พระสยามเทวาธิราช" องค์นั้นที่คอยดูแลขจัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ปวงชนชาวไทยตลอดระยะเวลาที่ผ่าน มา การลงมาเกิดของสักกเทวราชหรือพระอินทร์ในยุคกึ่งพุทธกาลนี้มีผลทำให้โลกใบ นี้เจริญรุ่งเรืองไปด้วยเทคโนโลยีและมีประชากรมากมายอาศัยอยู่บนโลกใบนี้ เป็นจำนวนถึงหกพันกว่าล้านคนและส่งผลให้เมืองกรุงเทพมหานครกลายเป็นเมือง ใหญ่ระดับ "มหานคร" ที่มีประชากรอยู่ในพื้นที่เมืองกรุงเกินกว่าสามสิบล้านคนขึ้นไปเป็นเมือง ใหญ่ที่ติดอันดับหนึ่งในสิบของโลก การตั้งบ้านเรือนของผู้คนในยุคนี้มีส่วนละม้ายคล้ายคลึงกับยุคเมตไตรยที่จะ เกิดอุบัติขึ้นมาในกาลข้างหน้า
    บ้านเรือนผู้คนในยุคนี้อยู่กันแบบแออัด เต็มไปด้วยชุมชุนใหญ่เปรียบเสมือนชั่วไก่บินตกก็มีบ้านเรือนหนึ่งหลังแล้ว เพราะด้วยธรรมที่องค์ศาสดาได้ประกาศไว้ดีแล้วในกาลที่ผ่านมา
    จึงทำให้ชน ทั้งสองกลุ่มได้เกิดมาในดินแดนแห่งพุทธศาสนาที่เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดใน แถบสุวรรณภูมิและมีโอกาสได้ศึกษาทั้งธรรมและวินัย ทั้งนี้เพื่อน้อมนำมาขัดเกลาจิตใจของพวกตนเพื่อที่จะทำให้ตนเองได้กลับไป เป็นมนุษย์ผู้มีใจเป็นปกติเหมือนเช่นเดิมครั้งแต่สมัยที่พวกตนเคยเป็นพรหมลง มากินง้วนดินในยุคแรกและเกิดสังคมมนุษย์ในอุดมคติขึ้นมาในครั้งนั้น
    ภูมิความ รู้แห่งพุทธศาสนาและการเข้าถึงเนื้อหาอันแท้จริงของธรรมในทุกส่วนที่ โพธิสัตว์เหล่านี้ได้ตั้งใจศึกษามันจะเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ยุคหน้าอันใกล้ นี้เกิดยุคแห่ง "จิตวิญาณแห่งพุทธะ" ที่สมบูรณ์แบบตามที่หลายฝ่ายได้พยากรณ์ไว้ล่วงหน้าแล้ว กาลต่อไปในภายภาคหน้าประเทศไทยและแถบสุวรรณภูมิจะเป็นดินแดนที่ผู้คนมีใจใฝ่ ในธรรมอย่างแท้จริงและสามารถนำพาตนเองเข้าถึงหัวใจหลักอันเป็นแก่นแท้ซึ่ง เป็นคำสอนที่องค์ศาสดาได้ตรัสไว้ถูกต้องตามพุทธประสงค์ ภูมิความรู้ที่จะทำให้มวลหมู่มนุษย์ในยุคนี้สามารถเข้าถึงความเป็นจริงตาม ธรรมชาติแห่งจิตวิญญาณของตนได้จะถูกเผยแพร่และเป็นที่ยอมรับทั่วไปทั่วทั้ง ผืน "แผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง" แห่งดินแดนสุวรรณภูมิประเทศไทยของเรา ภูมิความรู้ทางพระพุทธศาสนาอันถูกต้องครบถ้วนนี้จะถูกโพธิสัตว์สองกลุ่มใหญ่ นี้นำไปใช้เป็นธรรมเครื่องนำทางเพื่อพากลุ่มของตนเองที่เหลือเพราะไม่สามารถ เข้านิพพานในยุคนี้ได้ทำให้ไปเกิดในยุคเมตไตรยได้อย่างแท้จริงสมกับที่เป็น มนุษย์ผู้มีหัวใจแห่งความเป็นบัณฑิต


    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
    ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  12. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]




    บทที่ ๘ ชีวิตของชาวนา


    ฝูงแมงไม้แข่งกันแผดเสียงจนสะเทือนไปทั่วไพรพนา
    ในผืนป่าดงดิบที่ตั้งทะมึนโอบเป็นขุนเขาตระหง่านเทือกทิวแถวยาว
    เพื่อรอให้อาทิตย์ได้ลาลับตัวมันเองจนตกดินบนยอดแนวเขานั้น
    สายลมที่โหมกระโชกพัดผ่านลูกแล้วลูกเล่าเหนือยอดกอไผ่ที่ปลูกไว้บนคันนา
    เป็นสัญญาณเตือนถึงพายุใหญ่ที่กำลังจะมาเยือนในฤดูฝนนี้อีกคราหนึ่ง
    กระท่อมปลายนาหลังเก่าที่อวดความคร่ำครึของลายไม้ที่แตกออก
    ฉันได้อาศัยมันเป็นที่หลบแดดหลบฝนในฤดูหว่านไถปักกล้าข้าวในกลางปีนี้
    บัดนี้ข้าวได้ชูช่อใบสีเขียวอ่อนที่พึ่งแทงยอดแตกออกมาจากต้น
    ท้าทายเม็ดฝนที่พร่างพรูย้อยลงมาเป็นสายม่าน
    ข้าวในนากำลังเติบโตเพื่อตั้งท้องออกเป็นรวงอ่อนๆ
    จิตวิญญาณแห่งความเป็นชาวนาของฉันได้จดจ่อเพื่อรอคอย
    ให้ถึงวันนั้นคือวันที่จะได้เก็บเกี่ยวผลผลิตรวงข้าวสีทองทั้งหลาย
    ฉันได้แต่แอบภาวนาในใจว่าขอให้การปลูกข้าวในปีนี้
    จงมีผลผลิตออกมามากกว่าปีก่อนๆ
    เพื่อขายข้าวเอาเงินไปทำบ้านหลังใหม่ที่ลงเสาเอกไว้มาตั้งนานสองปีแล้ว
    มันเป็นบ้านที่มีแต่ชื่อเพราะชาวนาจนๆอย่างฉันยังไม่มีปัญญาปลูกมันขึ้นมา
    เงินที่ออมได้ในแต่ละปีก็แบ่งซื้อไม้กระดานเก่าๆได้เพียงปีละไม่กี่แผ่น
    ที่ทำได้ก็แต่ขุดสระในแปลงดินแล้วเอาบัวเผื่อนหลายกอมาลงไว้
    อีกทั้งเลี้ยงปลาช่อนปลาดุกในบ่อเอาไว้กินยามอดในหน้าแล้ง
    และปลูกพืชสวนครัวเท่าที่ฉันอยากจะปลูก
    ตั้งใจปลูกต้นยอใบใหญ่ใบงามไว้หน้าบ้านถึงสองต้น
    ยามดุกอุยตัวโตเต็มที่และฝนชะจนต้นยอแตกใบอ่อน
    วันนั้นฉันต้องได้กินข้าวกับแกงปลาดุกใส่ใบยอ
    ด้วยน้ำแกงกะทิร้อนๆอาหารจานเด็ดจนแน่นท้อง
    ฉันได้ลงตระไคร้ต้นกระเพราเป็นแถวแนวยาวตามคันดิน
    เมื่อมันกอใหญ่และกระเพราออกใบดกก็จะตัดแบ่งไปวางขายที่ตลาดสดตอนเช้าๆ
    อีกทั้งเอาฟักแฟงมาปลูกทำร้านให้มันเลื้อยขึ้น
    อีกฝากหนึ่งก็ปลูกถั่วพูให้มันขึ้นเถาไต่เลื้อยไปตามรั้วบ้านที่ฉันใช้กิ่งไม้เก่าๆมากั้น
    เอาไก่บ้านคู่หนึ่งทั้งตัวผู้และตัวเมียมาเลี้ยงจนมันกลายเป็นไก่นาไปแล้ว
    สองปีที่ผ่านมามันให้ลูกออกมาเกือบยี่สิบตัว
    และที่ทำเงินได้ดีที่สุดก็คือฉันได้เลี้ยงเป็ดพันธุ์ไข่ฝูงใหญ่
    ฉันเลี้ยงมานานแล้วก่อนที่ที่ดินแปลงนี้ยังไม่มีโครงการจะปลูกเป็นบ้านขึ้น
    ฉันปล่อยพวกมันตามยถากรรมให้มันลงไปหากินตามนาข้าว
    มันเป็นเป็ดไล่ทุ่งที่มีเกือบสามร้อยตัวและออกไข่ให้ชาวนาผู้ยากไร้อย่างฉันมีเงินใช้ทุกวัน
    บ้านที่วาดฝันไว้คือบ้านเรือนไทยหลังเล็กๆที่มีระเบียงนั่งเล่น
    และทำซุ้มไว้ข้างๆเพื่อให้ต้นการเวกมาแผ่กิ่งก้านและออกดอกสวยงามของมัน
    ดอกการเวกมันคงส่งกลิ่นหอมเย้ายวนตลบอบอวลในยามค่ำคืน
    หากวันนั้นดอกมันออกฉันจะเอาหมอนมานอนพิงตรงระเบียงบ้าน
    เพื่อดมกลิ่นอันละมุนของดอกไม้ที่มีกลีบสีเหลืองสดนี้
    และจะเป่าขลุ่ยหวานๆให้มันดังแว่วไปในสายลมแห่งความเงียบเหงา
    จะทำซุ้มทรงไทยหลังเล็กๆตรงหน้าบ้านเพื่อเอาไว้นั่งเล่นยามลงไปดูต้นไม้ใบหญ้า
    อีกไม่นานฉันคงมีบ้านที่ถูกใจเป็นของตัวเองสักที
    ได้แต่หวังว่ากระท่อมหลังเก่าที่เสามันโอนเอนและโยกเยก
    คือกระท่อมหลังที่ยังได้อาศัยอยู่นี้คงไม่พังลงมาเสียก่อน


    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
    ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  13. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    <table class="tablebg" cellspacing="1" width="100%"><tbody><tr class="row2"><td valign="top"><table cellspacing="5" width="100%"><tbody><tr><td>[​IMG]




    บทที่ ๙ สักกเทวราช

    ข้อความเบื้องต้น
    พระ ศาสดา เมื่อทรงอาศัยเมืองเวสาลี ประทับอยู่ในกูฏาคารศาลา(ศาลาดุจเรือนยอด.) ทรงปรารภท้าวสักกเทวราช ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อปฺปมาเทน มฆวา" เป็นต้น.
    เหตุที่ท้าวสักกะได้พระนามต่าง ๆ
    ความ พิสดารว่า เจ้าลิจฉวีนามว่า มหาลิ อยู่ในเมืองเวสาลี. พระองค์ทรงสดับเทศนาในสักกปัญหสูตรของพระตถาคตแล้ว ทรงดำริว่า" พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมตรัสสมบัติของท้าวสักกะไว้มากมาย;พระองค์ทรงเห็นแล้วจึงตรัส หรือไม่ทรงเห็นแล้วตรัสหนอแล ? ทรงรู้จัก ท้าวสักกะหรือไม่หนอ ? เราจักทูลถามพระองค์." ครั้งนั้นแล เจ้าลิจฉวีนามว่า มหาลิ เข้าไปเฝ้าถึงที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่; ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว จึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้านั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง. เจ้ามหาลิ ลิจฉวี ครั้นนั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่งแล้วแลได้กราบทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท้าวสักกะผู้จอมแห่งเทพทั้งหลาย พระองค์ทรงเห็นแล้วแลหรือ ? "พระผู้มีพระภาคเจ้า. มหาลิ ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทพทั้งหลายอาตมภาพเห็นแล้วแล." มหาลิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ท้าวสักกะนั้น จักเป็นท้าวสักกะปลอมเป็นแน่,เพราะว่า ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทพทั้งหลายบุคคลเห็นได้โดยยาก พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า. มหาลิ อาตมภาพ รู้จักทั้งตัวท้าวสักกะ ทั้งธรรมที่ทำให้เป็นท้าวสักกะ ก็ท้าวสักกะถึงความเป็นท้าวสักกะเพราะสมาทานธรรมเหล่าใด, อาตมภาพ ก็รู้จักธรรมเหล่านั้นแล. มหาลิ ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทพทั้งหลาย ในกาลก่อนเป็นมนุษย์ ได้เป็นมาณพชื่อมฆะ, เพราะฉะนั้น เขาจึงเรียกว่า 'ท้าวมฆวา;'มหาลิ ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทพทั้งหลาย ในกาลก่อนเป็นมนุษย์ ได้ให้ทานก่อน (เขา), เพราะฉะนั้น เขาจึงเรียกว่า ' ท้าวปุรินทท;' มหาลิ ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทพทั้งหลาย ในกาลก่อน เป็นมนุษย์ ได้ให้ทานโดยเคารพ. เพราะฉะนั้น เขาจึงเรียกว่า ' ท้าวสักกะ;' มหาลิ ท้าวสักกะเป็นจอมแห่งเทพทั้งหลาย ในกาลก่อน เป็นมนุษย์ ได้ให้ที่พักอาศัย, เพราะฉะนั้น เขาจึงเรียกว่า ' ท้าววาสวะ;'มหาลิ ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทพทั้งหลาย ทรงดำริข้อความตั้งพันได้โดยครู่เดียว, เพราะฉะนั้น เขาจึงเรียกว่า 'สหัสสักขะ(สหสฺสกฺโข แปลว่า ผู้เห็นอรรถตั้งพัน) มหาลิ นางอสุรกัญญาชื่อ สุชาดา เป็นพระปชาบดีของท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทพทั้งหลาย, เพราะฉะนั้น เขาจึงเรียกว่า ' ท้าวสุชัมบดี;'
    มหาลิ ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งจอมเทพทั้งหลาย เสวยราชสมบัติเป็นอิสริยาธิปัตย์แห่งเทพทั้งหลายชั้นดาวดึงส์, เพราะฉะนั้น เขาจึงเรียกว่า ' เทวานมินทะ ;' มหาลิ ท้าวสักกะถึงความเป็นท้าวสักกะแล้ว เพราะได้สมาทานวัตตบท ๗ ใด, วัตตบท ๗ นั้น ได้เป็นอันท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทพทั้งหลาย ซึ่ง ( ครั้ง) เป็นมนุษย์ในกาลก่อน สมาทานให้บริบูรณ์แล้ว; วัตตบท ๗ ประการเป็นไฉน ? คือ ๑.เราพึงเป็นผู้เลี้ยงมารดาบิดาตลอดชีวิต; ๒.พึงเป็นผู้มีปกติประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูลตลอดชีวิต; ๓.พึงเป็นผู้พูดอ่อนหวานตลอดชีวิต; พึงเป็นผู้ไม่พูดส่อเสียดตลอดชีวิต; ๔.พึงมีจิตปราศจากมลทิน คือ ความตระหนี่ มีเครื่องบริจาคอันสละแล้ว มีฝ่ามืออันล้างแล้ว(หมายความว่า เตรียมหยิบสิ่งของให้ทานยินดีแล้วในการสละ ควรแก่การขอ
    ยินดีในการจำแนกทาน) ๕.พึงอยู่ครอบครองเรือนตลอดชีวิต; ๖.พึงเป็นผู้กล่าวคำสัตย์ตลอดชีวิต; ๗.พึงเป็นผู้ไม่โกรธตลอดชีวิต; ถ้าความโกรธพึงเกิดแก่เราไซร้ เราพึงหักห้ามมันเสียพลันทีเดียว ดังนี้, มหาลิ ท้าวสักกะถึงความเป็นท้าวสักกะ เพราะได้สมาทานวัตตบท ๗ ใด, วัตตบท ๗ นั้น ได้เป็นของท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทพทั้งหลาย (ครั้ง)เกิดเป็นมนุษย์ในกาลก่อน สมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ฉะนี้แล
    (พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสคำไวยากรณ์นี้แล้ว, ได้ตรัสพระพุทธพจน์ภายหลังว่า)
    " ทวยเทพชั้นดาวดึงส์ เรียกนรชนผู้เลี้ยง
    มารดาบิดา มีปกติประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ใน
    ตระกูล กล่าวถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน ละวาจาส่อ
    เสียด ประกอบในอันกำจัดความตระหนี่ มีวาจาสัตย์
    ข่มความโกรธได้ นั้นแลว่า "สัปบุรุษ(สํ. ส. ๑๕/๓๓๗.)."

    ท้าวสักกะบำเพ็ญกุศลเมื่อเป็นมฆมาณพ
    พระ ผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า " มหาลิ กรรมนี้ท้าวสักกะทำไว้ในคราวเป็นมฆมาณพ " ดังนี้แล้ว อันมหาลิ ลิจฉวี ใคร่จะทรงสดับข้อปฏิบัติของท้าวสักกะนั้นโดยพิสดาร จึงทูลถามอีกว่า "มฆมาณพปฏิบัติอย่างไร ? พระเจ้าข้า" จึงตรัสว่า " ถ้ากระนั้น " จงฟังเถิดมหาลิ " ดังนี้แล้ว ทรงนำอดีตนิทานมา (ตรัสว่า)

    เรื่องมฆมาณพ
    ใน อดีตกาล มาณพชื่อว่ามฆะ ในอจลคามในแคว้นมคธ ไปสู่สถานที่ทำงานในบ้าน คุ้ยฝุ่นด้วยปลายเท้าในที่แห่งตนยืนแล้ว ได้ทำให้เป็นรัมณียสถานแล้วพักอยู่ อีกคนหนึ่งเอาแขนผลักเขา นำออกจากที่นั้นแล้ว ได้พักอยู่ในที่นั้นเสียเอง. เขาไม่โกรธต่อคนนั้น ได้กระทำที่อื่นให้เป็นรัมณียสถานแล้วพักอยู่ คนอื่นก็เอาแขนผลักเขานำออกมาจากที่นั้นแล้ว ได้พักอยู่ในที่นั้นเสียเอง. เขาไม่โกรธแม้ต่อคนนั้น ได้กระทำที่อื่นให้เป็นรัมณียสถานแล้วก็พักอยู่. บุรุษทั้งหลายที่ออกไปแล้ว ๆ จากเรือน ก็เอาแขนผลักเขา นำออกจากสถานที่เขาชำระแล้ว ๆด้วยประการฉะนี้. เขาคิดเสียว่า " ชนเหล่านั้นแม้ทั้งหมด เป็นผู้ได้รับสุขแล้ว, กรรมนี้พึงเป็นกรรมให้ความสุขแก่เรา" ดังนี้แล้ว วันรุ่งขึ้นได้ถือเอาจอบไปทำที่เท่ามณฑลแห่งลานให้เป็นรัมณียสถานแล้ว. ปวงชนได้ไปพักอยู่ในที่นั้นนั่นแล. ครั้นในฤดูหนาว เขาได้ก่อไฟให้คนเหล่านั้น, ในฤดูร้อน ได้ให้น้ำ. ต่อมา เขาคิดว่า " ชื่อรัมณียสถาน เป็นที่รักของคนทั้งปวง,ชื่อว่าไม่เป็นที่รักของใคร ๆ ไม่มี, จำเดิมแต่นี้ไป เราควรเที่ยวทำหนทางให้ราบเรียบ" ดังนี้แล้ว จึงออกไป (จากบ้าน) แต่เช้าตรู่ ทำหนทางให้ราบเรียบ เที่ยวตัดรานกิ่งไม้ที่ควรตัดรานเสีย.

    มฆมาณพได้สหาย ๓๓ คน
    ภายหลัง บุรุษอีกคนหนึ่งเห็นเขาแล้ว กล่าวว่า "ทำอะไรเล่า ? เพื่อน."
    มฆะ. ฉันทำหนทางเป็นที่ไปสวรรค์ของฉันละซิ, เพื่อน.
    บุรุษ. ถ้ากระนั้น แม้ฉันก็จะเป็นเพื่อนของท่าน.
    มฆะ. จงเป็นเถอะเพื่อน ธรรมดาสวรรค์ย่อมเป็นที่รักที่ชอบใจของชนเป็นอันมาก
    ตั้งแต่ นั้นมา ก็ได้เป็น ๒ คนด้วยกัน. แม้ชายอื่นอีก เห็นเขาทั้งสองแล้ว ถามเหมือนอย่างนั้นนั่นแล พอทราบแล้วก็เป็นสหายของคนทั้งสอง แม้คนอื่น ๆ อีกก็ได้ทำอย่างนั้น รวมคนทั้งหมดจึงเป็น ๓๓ คน ด้วยประการฉะนี้.


    สหาย ๓๓ คนถูกหาว่าเป็นโจร
    ชนเหล่านั้น แม้ทั้งหมด มีมือถือวัตถุมีจอบเป็นต้น กระทำหนทางให้ราบเรียบ ไปถึงที่ประมาณ ๑ โยชน์ และ ๒ โยชน์. นายบ้านเห็นชายเหล่านั้นแล้วคิดว่า " มนุษย์เหล่านี้ประกอบแล้วในฐานะที่ไม่ควรประกอบ, แม้ถ้าชนเหล่านี้ พึงนำวัตถุทั้งหลายมีปลาและเนื้อเป็นต้นมาจากป่า, หรือทำสุราแล้วดื่ม, หรือทำกรรมเช่นนั้นอย่างอื่น, เราพึงได้ส่วนอะไร ๆ บ้าง." ลำดับนั้น นายบ้านจึงให้เรียกพวกนั้นมาถามว่า " พวกแกเที่ยวทำอะไรกัน ?"
    ชนเหล่านั้น. ทำทางสวรรค์ ขอรับ.
    นาย บ้าน. ธรรมดาผู้อยู่ครองเรือนทั้งหลาย จะทำอย่างนั้นไม่ควร, ควรนำวัตถุทั้งหลายมีปลาและเนื้อเป็นต้นมาจากป่า ควรทำสุราแล้วดื่มและควรทำการงานทั้งหลายมีประการต่าง ๆ.
    ชนเหล่านั้นคัด ค้านคำของนายบ้านนั้นเสีย. แม้ถูกเขาว่ากล่าวซ้ำ ๆอยู่ ก็คงคัดค้านร่ำไป. เขาโกรธแล้ว คิดว่า "เราจักให้พวกมันฉิบหาย." จึงไปยังสำนักของพระราชา กราบทูลว่า "ข้าพระองค์เห็นพวกโจรเที่ยวไป ด้วยการคุมกันเป็นพวก พระเจ้าข้า" เมื่อพระราชาตรัสว่า " เธอจงไป, จงจับพวกมันแล้วนำมา, ได้ทำตามรับสั่งแล้ว แสดงแก่พระราชา.พระราชามิทันได้ทรงพิจารณา ทรงบังคับว่า "พวกท่านจงให้ช้างเหยียบ." ช้างไม่เหยียบเพราะอานุภาพแห่งเมตตา
    มฆมาณพได้ให้โอวาทแก่ชนที่เหลือ ทั้งหลายว่า "สหายทั้งหลายเว้นเมตตาเสีย ที่พึ่งอย่างอื่นของพวกเรา ไม่มี, ท่านทั้งหลายไม่ต้องทำความโกรธในใครๆ จงเป็นผู้มีจิตเสมอเทียวด้วยเมตตาจิต ในพระราชา ในนายบ้าน ในช้างที่จะเหยียบ และในคน" ชนเหล่านั้นก็ได้ทำอย่างนั้น.
    ลำดับนั้น ช้างไม่อาจเข้าไปใกล้ได้ เพราะอานุภาพแห่งเมตตาของชนเหล่านั้น. พระราชาทรงสดับความนั้นแล้ว ตรัสว่า "ช้างมันเห็นคนมาก จึงไม่อาจเหยียบได้, ท่านทั้งหลายจงไป, เอาเสื่อลำแพนคลุมเสียแล้วจึงให้มันเหยียบ." ช้างอันเขาเอาเสื่อลำแพนคลุมชนเหล่านั้นไสเข้าไปเหยียบ ก็ถอยกลับไปเสียแต่ไกลเทียว. พระราชา ทรงสดับประพฤติเหตุนั้นแล้ว ทรงดำริว่า "ในเรื่องนี้ ต้องมีเหตุ." แล้วรับสั่งให้เรียกชนเหล่านั้นมาเฝ้า ตรัสถามว่า
    " พ่อทั้งหลาย พวกเจ้าอาศัยเรา ไม่ได้อะไรหรือ ?"
    พวกมฆะ. นี่อะไร ? พระเจ้าข้า.
    พระราชา. ข่าวว่า พวกเจ้าเป็นโจรเที่ยวไปในป่า ด้วยการคุมกันเป็นพวก.
    พวกมฆะ. ใคร กราบทูลอย่างนั้น พระเจ้าข้า ?
    พระราชา. นายบ้าน, พ่อ.
    พวก มฆะ. ขอเดชะ พวกข้าพระองค์ไม่ได้เป็นโจร, แต่พวกข้าพระองค์ ชำระหนทางไปสวรรค์ของตน ๆ จึงทำกรรมนี้เเละกรรมนี้,
    นายบ้านชักนำพวกข้าพระองค์ในการทำอกุศล ประสงค์จะให้พวกข้าพระองค์ผู้ไม่ทำตามถ้อยคำของตนฉิบหาย โกรธแล้ว จึงกราบทูลอย่างนั้น.


    ชน ๓๓ คนได้รับพระราชทาน
    ที นั้น พระราชา ทรงสดับถ้อยคำของชนเหล่านั้น เป็นผู้ถึงความโสมนัส ตรัสว่า " พ่อทั้งหลาย สัตว์ดิรัจฉานนี้ ยังรู้จักคุณของพวกเจ้า,
    เราเป็นมนุษย์ ก็ไม่อาจรู้จัก, จงอดโทษแก่เราเถิด," ก็แล ครั้นตรัสอย่างนั้นแล้ว ได้พระราชทานนายบ้านพร้อมทั้งบุตรและภริยาให้เป็นทาส,
    ช้างตัวนั้นให้เป็นพาหนะสำหรับขี่, และบ้านนั้นให้เป็นเครื่องใช้สอยตามสบายแก่ชนเหล่านั้น.


    มฆมาณพกับพวกสร้างศาลา
    พวก เขาพูดกันว่า " พวกเราเห็นอานิสงส์แห่งบุญในปัจจุบันนี้ทีเดียว," ต่างมีใจผ่องใสโดยประมาณยิ่ง ผลัดวาระกันขึ้นช้างนั้นไป
    ปรึกษากันว่า " บัดนี้ พวกเราควรทำบุญให้ยิ่งขึ้นไป," ต่างไต่ถามกันว่า " พวกเราจะทำอะไรกัน ?" ตกลงกันว่า " จักสร้างศาลาเป็นที่พักของมหาชนให้ถาวร ในหนทางใหญ่ ๔ แยก." พวกเขาจึงสั่งให้หาช่างไม้มาแล้วเริ่มสร้างศาลา. แต่เพราะปราศจากความพอใจในมาตุคาม จึงไม่ได้ให้ส่วนบุญในศาลานั้นแก่มาตุคามทั้งหลาย.


    มฆมาณพมีภริยา ๔ คน
    ก็ ในเรือนของมฆมาณพ มีหญิง ๔ คน คือ นางสุนันทา สุจิตรา สุธรรมา สุชาดา. บรรดาหญิง ๔ คนนั้น นางสุธรรมาคบคิดกับนายช่างไม้ กล่าวว่า " พี่ ขอพี่จงทำฉันให้เป็นใหญ่ในศาลานี้เถิด" ดังนี้แล้ว ได้ให้ค่าจ้าง (แก่เขา) นายช่างไม้นั้นรับคำว่า " ได้ "
    แล้วตากไม้สำหรับทำช่อฟ้าให้แห้ง เสียก่อนสิ่งอื่น แล้วถาก สสักทำไม้ช่อฟ้าให้สำเร็จ แล้วสลักอักษรว่า " ศาลานี้ชื่อสุธรรมา" ดังนี้แล้วเอาผ้าพันเก็บไว้.
    นางสุธรรมาได้ร่วมกุศลสร้างศาลาด้วย
    ครั้น ช่างไม้สร้างศาลาเสร็จแล้ว ในวันยกช่อฟ้า จึงกล่าวกะชน ๓๓ คนนั้นว่า " นาย ตายจริง ! ข้าพเจ้านึกกิจที่ควรทำอย่างหนึ่งไม่ได้."
    พวกมฆะ. ผู้เจริญ กิจชื่ออะไร ?
    ช่าง. ช่อฟ้า.
    พวกมฆะ. ช่างเถิด, พวกเราจักนำช่อฟ้านั้นมาเอง,
    ช่าง. ข้าพเจ้าไม่อาจทำด้วยไม้ที่ตัดเดี๋ยวนี้ได้, ต้องได้ไม้ช่อฟ้าที่เขาตัดถากสลักแล้วเก็บไว้ในก่อนนั่นแล จึงจะใช้ได้.
    พวกมฆะ. เดี๋ยวนี้ พวกเราควรทำอย่างไร ?
    ช่าง. ถ้าในเรือนของใคร ๆ มีช่อฟ้าที่ทำไว้ขาย ซึ่งเขาทำเสร็จแล้วเก็บไว้ไซร้, ควรแสดงหาช่อฟ้านั้น.
    พวกเขา แสวงหาอยู่ เห็นในเรือนของนางสุธรรมา แล้วให้ทรัพย์พันหนึ่ง ก็ไม่ได้ด้วยทรัพย์ที่เป็นราคา, เมื่อนางสุธรรมาพูดว่า " ถ้าพวกท่านทำฉันให้มีส่วนบุญในศาลาด้วยไซร้, ฉันจักให้. " ตอบว่า " พวกข้าพเจ้าไม่ให้ส่วนบุญแก่พวกมาตุคาม." ลำดับนั้น ช่างไม้กล่าวกะคนเหล่านั้นว่า " นาย พวกท่านพูดอะไร ? เว้นพรหมโลกเสียสถานที่อื่น ชื่อว่า เป็นที่เว้นมาตุคาม ย่อมไม่มี,พวกท่านจงรับเอาช่อฟ้าเถิด, เมื่อเป็นเช่นนั้น การงานของพวกเราก็จักถึงความสำเร็จ."
    พวกเขา รับว่า " ดีละ" แล้วรับเอาช่อฟ้า สร้างศาลาให้สำเร็จแล้วแบ่งเป็น ๓ ส่วน ( คือ ) ในส่วนหนึ่ง สร้างเป็นที่สำหรับอยู่ของพวกอิสรชน, ส่วนหนึ่ง สำหรับคนเข็ญใจ, ส่วนหนึ่ง สำหรับคนไข้.


    เรื่องช้างเอราวัณ
    ชน ๓๓ คน ให้ปูกระดาน ๓๓ แผ่น แล้วให้สัญญาช้างว่า
    " ผู้เป็นแขก มานั่งบนแผ่นกระดานอันผู้ใดปูไว้, เจ้าจงพาแขกนั้นไปให้พักอยู่ที่เรือนของผู้นั้น ซึ่งเป็นเจ้าของแผ่นกระดานนั่นแหละ. การนวดเท้า การนวดหลัง ของควรเคี้ยว ควรบริโภค ที่นอน ทุกอย่างจักเป็นหน้าที่ของผู้นั้น ซึ่งเป็นเจ้าของแผ่นกระดานนั่นแหละ."
    ช้างรับผู้ที่มาแล้ว ๆ นำไปสู่เรือนของเจ้าของกระดานนั่นเทียว.
    ในวันนั้น เจ้าของกระดานนั้น ย่อมทำกิจที่ควรทำแก่ผู้ที่ช้างนำไปนั้น.
    นา ยมฆะ ปลูกต้นทองหลางต้นหนึ่งไว้ไม่สู้ห่างศาลา แล้วปูแผ่นศิลาไว้ที่โคนต้นทองหลางนั้น. พวกที่เข้าไปแล้ว ๆ สู่ศาลา แลดูช่อฟ้า อ่านหนังสือแล้ว ย่อมพูดกันว่า "ศาลาชื่อสุธรรมา " ชื่อของชน ๓๓ คนไม่ปรากฏ. นางสุนันทา คิดว่า " พวกนี้ เมื่อทำศาลาทำพวกเราไม่ให้มีส่วนบุญด้วย, แต่นางสุธรรมา ก็ทำช่อฟ้าเข้าร่วมส่วนจนได้
    เพราะความที่ตนเป็นคนฉลาด. เราก็ควรจะทำอะไร ๆ บ้าง, จักทำอะไรหนอ ?" ในทันใดนั้น นางก็ได้มีความคิดดังนี้ว่า "พวกที่มาสู่ศาลาควรจะได้น้ำกินและน้ำอาบ, เราจะให้เขาขุดสระโบกขรณี," นางให้เขาสร้างสระโบกขรณีแล้ว.
    นางสุจิตราคิดว่า " นางสุธรรมาได้ให้ช่อฟ้า, นางสุนันทา
    ได้สร้างสระโบกขรณี, เราก็ควรสร้างอะไร ๆ บ้าง เราจักทำอะไร
    หนอ แล ? " ทีนั้น นางได้มีความคิดดังนี้ว่า " ในเวลาที่พวกชนมาสู่ศาลา ดื่มน้ำอาบน้ำแล้วไป ควรจะประดับระเบียบดอกไม้แล้วจึงไป,เราจักสร้างสวนดอกไม้. " นางได้ให้เขาสร้างสวนดอกไม้อันน่ารื่นรมย์แล้ว. ผู้ที่จะออกปากว่า "โดยมากในสวนนั้น ไม่มีต้นไม้ที่เผล็ดดอกออกผลชื่อโน้น" ดังนี้ มิได้มี.
    ฝ่ายนางสุชาดาคิดเสียว่า "เราเป็นทั้งลูกลุงของนายมฆะ เป็นทั้งบาทบริจาริกา (ภริยา). กรรมที่นายมฆะนั่นทำแล้ว ก็เป็นของเราเหมือนกัน, กรรมที่เราทำแล้ว ก็เป็นของนายมฆะนั่นเหมือนกัน " ดังนี้แล้ว ไม่ทำอะไร ๆ มัวแต่งแต่ตัวของตนเท่านั้น ปล่อยเวลาให้ผ่านพ้นไปแล้ว.


    มฆมาณพบำเพ็ญวัตตบท ๗ ประการ
    ฝ่ายนายมฆะ บำเพ็ญวัตตบท ๗ เหล่านี้ คือ บำรุงมารดา
    บิดา ๑ ประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้เจริญในตระกูล ๑ พูดคำสัตย์ ๑ ไม่พูด
    คำหยาบ ๑ ไม่พูดส่อเสียด ๑ กำจัดความตระหนี่ ๑ ไม่โกรธ ๑
    ถึงความเป็นผู้ควรสรรเสริญอย่างนี้ว่า
    " ทวยเทพชั้นดาวดึงส์ เรียกนรชนผู้เลี้ยง
    มารดา บิดา มีปกติประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล กล่าวถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน ละวาจาส่อเสียด ประกอบในอันกำจัดความตระหนี่มีวาจาสัตย์ ข่มความโกรธได้ นั่นแลว่า "สัปบุรุษ."
    ในเวลาสิ้นชีวิต ได้เกิดเป็นท้าวสักกเทวราชในภพดาวดึงส์. สหายของเขาแม้เหล่านั้น ก็เกิดในที่นั้นเหมือนกัน. ช่างไม้ เกิดเป็นวิศวกรรมเทพบุตร.


    เทวดากับอสูรทำสงครามกัน
    ใน กาลนั้น พวกอสูรอยู่ในภพดาวดึงส์ อสูรเหล่านั้น คิดว่า " เทพบุตรใหม่ ๆ เกิดแล้ว" จึงเตรียม (เลี้ยง) น้ำทิพย์. ท้าวสักกะได้ทรงนัดหมายแก่บริษัทของพระองค์ เพื่อประสงค์มิให้ใคร ๆ ดื่ม. พวกอสูรดื่มน้ำทิพย์เมาทั่วกันแล้ว. ท้าวสักกะทรงดำริว่า " เราจะต้องการอะไร ? ด้วยความเป็นราชาอันทั่วไปด้วยเจ้าพวกนี้ " ทรงนัดหมายแก่บริษัทของพระองค์แล้ว ให้ช่วยกันจับอสูรเหล่านั้นที่เท้าทั้งสอง ให้เหวี่ยงลงไปในมหาสมุทร. อสูรเหล่านั้นมีศีรษะปักดิ่งตกลงไปในสมุทรแล้ว, ขณะนั้น อสูรวิมานได้เกิดที่พื้นภายใต้แห่งเขาสิเนรุ ด้วยอานุภาพแห่งบุญของพวกเขา. ต้นไม้ชื่อจิตตปาลิ ( ไม้แคฝอย) ก็เกิดแล้ว. แลเมื่อสงครามระหว่างเทวดาและอสูร (ประชิดกัน), ครั้นเมื่อ พวกอสูรปราชัยแล้ว, ชื่อว่า เทพนครในชั้นดาวดึงส์ประมาณหมื่นโยชน์เกิดขึ้นแล้ว. และในระหว่างประตูด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกแห่งพระนครนั้น มีเนื้อที่ประมาณหมื่นโยชน์, ระหว่างประตูด้านทิศใต้และทิศเหนือ ก็เท่านั้น. อนึ่ง พระนครนั้นประกอบด้วยประตูพันหนึ่ง ประดับด้วยอุทยานและสระโบกขรณี. ปราสาทนามว่า เวชยันต์ สูง ๗๐๐ โยชน์แล้วด้วยแก้ว ๗ ประการ ประดับด้วยธงทั้งหลาย สูง ๓๐๐ โยชน์(แก้ว ๗ ประการ คือ แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ แก้วประพาฬ แก้วมุกดา แก้ววิเชียร แก้วผลึก แก้วหุง. ) ผุดขึ้นด้วยผลแห่งศาลาในท่ามกลางพระนครนั้น, ที่คันเป็นทอง ได้มีธงเป็นแก้วมณี, ที่คันเป็นแก้วมณี ได้มีธงเป็นทอง, ที่คันเป็นแก้วประพาฬได้มีธงเป็นแก้วมุกดา, ที่คันเป็นแก้วมุกดา ได้มีธงเป็นแก้วประพาฬ,ที่คันเป็นแก้ว ๗ ประการ ได้มีธงเป็นแก้ว ๗ ประการ. ธงที่ตั้งอยู่กลาง ได้มีส่วนสูง ๓๐๐ โยชน์ปราสาทสูงพันโยชน์ ล้วนแล้วด้วยแก้ว ๗ ประการ เกิดแล้วด้วยผลแห่งศาลา ด้วยประการฉะนี้.
    ต้น ปาริฉัตตกะ มีปริมณฑล (แผ่ไป) ๓๐๐ โยชน์โดยรอบ เกิดขึ้นด้วยผลแห่งการปลูกต้นทองหลาง. บัณฑุกัมพลศิลา มีสีดังดอกชยสุมนะ(ชื่อต้นไม้ดอกแดง เช่นต้นเซ่งและหงอนไก่เป็นต้น.) ชัยพฤกษ์สีครั่งและสีบัวโรย(ปาฏลิสีแดงเจือขาว.) โดยยาว ๖๐ โยชน์ โดยกว้าง ๕๐ โยชน์ หนา ๑๕ โยชน์ ที่กึ่งแห่งพระวรกายยุบลงในเวลาประทับนั่ง ฟูขึ้นเต็มที่อีกในเวลาเสด็จลุกขึ้น เกิดขึ้นแล้วที่โคนไม้ปาริฉัตตกะ ด้วยผลแห่งการปูแผ่นศิลา.

    เทพบุตร ๓๓ องค์นั่งบนกระพองช้างเอราวัณ
    ส่วน ช้างเกิดเป็นเทพบุตรชื่อเอราวัณ. แท้จริง สัตว์ดิรัจฉานทั้งหลาย ย่อมไม่มีในเทวโลกเพราะฉะนั้น ในเวลาท้าวสักกะเสด็จออกเพื่อประพาสพระอุทยาน เทพบุตรนั้น จึงจำแลงตัวเป็นช้างชื่อเอราวัณ สูงประมาณ ๑๕๐ โยชน์. ช้างเทพบุตรนั้น นิรมิตกระพอง ๓๓ กระพอง เพื่อประโยชน์แก่ชน ๓ คน, ในกระพองเหล่านั้น กระพองหนึ่ง ๆ โดยกลมประมาณ ๓ คาวุต โดยยาวประมาณกึ่งโยชน์.มีสีแดงอ่อนชมพู ช้างเทพบุตรนั้นนิรมิตกระพองชื่อสุทัศนะประมาณ ๓๐ โยชน์ ในท่ามกลางกระพองทั้งหมด เพื่อประโยชน์แก่ท้าวสักกะ เบื้องบนแห่งกระพองนั้น มีมณฑปแก้วประมาณ ๑๒ โยชน์ ธงขลิบด้วยแก้ว ๗ ประการสูงโยชน์หนึ่ง ตั้งขึ้นในระหว่าง ๆ (เป็นระยะ ๆ) ในมณฑปแก้วนั้น.ข่ายแห่งกระดิ่งที่ถูกลมอ่อน ๆ พัดแล้ว มีเสียงกังวานปานเสียงทิพย์สังคีตประสานด้วยเสียงดนตรีอันมีองค์ ๕ ห้อยอยู่ที่ริมโดยรอบ. บัลลังก์แก้วมณีประมาณโยชน์หนึ่งเป็นพระแท่น ที่เขาจัดไว้เรียบร้อยแล้วเพื่อท้าวสักกะ ในท่ามกลางมณฑป, ท้าวสักกะย่อมประทับนั่งเหนือบัลลังก์นั้น เทพบุตร ๓๓ องค์นั่งบนรัตนบัลลังก์ ในกระพองของตน. บรรดากระพอง ๓๓ กระพอง ในกระพองหนึ่ง ๆ ช้างเทพบุตรนั้นนิรมิตงากระพองละ ๗ งา, ในงาเหล่านั้น งาหนึ่ง ๆ ยาวประมาณ ๕๐ โยชน์, ในงาหนึ่ง ๆ มีสระโบกขรณี (งาละ) ๗ สระ, ในสระโบกขรณีแต่ละสระ มีกอบัวสระละ ๗ กอ, ในกอหนึ่ง ๆ มีดอกบัวกอละ ๗ ดอก,ในดอกหนึ่ง ๆ มีกลีบดอกละ ๗ กลีบ, ในกลีบหนึ่ง ๆ (มี) เทพธิดาฟ้อนอยู่ ๗ องค์: มหรสพฟ้อนย่อมมีบนงาช้าง ในที่ ๕๐ โยชน์โดยรอบอย่างนี้แล. ท้าวสักกเทวราชเสวยยศใหญ่เสด็จเที่ยวไป ด้วยประการฉะนี้.
    ภริยาของมฆมาณพ ๓ คนก็เกิดในภพดาวดึงส์
    แม้ นางสุธรรมา ถึงแก่กรรมแล้ว(กาลํ กตฺวา ทำกาละแล้ว.) ก็ได้ไปเถิดในภพดาวดึงส์นั้นเหมือนกัน. เทวสภาชื่อสุธรรมา มีประมาณ ๕๐๐ โยชน์ ได้เกิดแล้วแก่นาง. ได้ยินว่า ชื่อว่าสถานที่อื่น อันน่าปลื้มใจกว่านั้น ย่อมไม่มี. ในวันอัฏฐมี (ดิถีที่ ๘) แห่งเดือน มีการฟังธรรม ในที่นั้นนั่นเอง. จนกระทั่งทุกวันนี้ ชนทั้งหลาย เห็นสถานที่อันน่าปลื้มใจแห่งใดแห่งหนึ่งเข้า ก็ยังกล่าวกันอยู่ว่า "เหมือนเทวสภาชื่อสุธรรมา." แม้นางสุนันทา ถึงแก่กรรมแล้ว ก็ได้ไปเกิดในภพดาวดึงส์นั้นเหมือนกัน. สระโบกขรณีชื่อสุนันทา มีประมาณ ๕๐๐ โยชน์ เกิดแล้วแก่นาง.
    แม้นางสุจิตรา ถึงแก่กรรมแล้ว ก็ได้ไปเกิดในภพดาวดึงส์นั้นเหมือนกัน. สวนชื่อจิตรลดา มีประมาณ ๕๐๐ โยชน์ ที่พวกเทพดาพาเหล่าเทพบุตรผู้มีบุรพนิมิตเกิดแล้ว ให้หลงเที่ยวไปอยู่ เกิดแล้วแม้แก่นาง.

    ท้าวสักกะโอวาทนางสุชาดาผู้เป็นนางนกยาง
    ส่วน นางสุชาดา ถึงแก่กรรมแล้ว เกิดเป็นนางนกยางในซอกเขาแห่งหนึ่ง. ท้าวสักกะทรงตรวจดูบริจาริกาของพระองค์ ทรงทราบว่า " นางสุธรรมาเกิดแล้วในที่นี้เหมือนกัน. นางสุนันทาและนางสุจิตราก็อย่างนั้น," พลางทรงดำริ (ต่อไป) ว่า "นางสุชาดาเกิดที่ไหนหนอ ?" เห็นนางเกิดในซอกเขานั้นแล้ว ทรงดำริว่า " นางสุชาดานี้เขลา ไม่ทำบุญอะไร ๆ บัดนี้เกิดในกำเนิดดิรัจฉาน, แม้บัดนี้ ควรที่เราจะให้นางทำบุญแล้วนำมาไว้เสียที่นี้" ดังนี้แล้ว จึงทรงจำแลงอัตภาพ เสด็จไปยังสำนักของนางด้วยเพศที่เขาไม่รู้จัก ตรัสถามว่า "เจ้าเที่ยวทำอะไรอยู่ที่นี้ ?"
    นางนกยาง. นาย ก็ท่านคือใคร ?
    ท้าวสักกะ. เรา คือมฆะ สามีของเจ้า.
    นางนกยาง. ท่านเกิดที่ไหน ? นาย.
    ท้าวสักกะ เราเกิดในดาวดึงสเทวโลก. ก็เจ้ารู้สถานที่เกิดแห่งหญิงสหายของเจ้าแล้วหรือ ?
    นาง นกยาง. ยังไม่ทราบ นาย. ท้าวสักกะ. หญิงแม้เหล่านั้น ก็เกิดในสำนักของเราเหมือนกัน เจ้าจักเยี่ยมหญิงสหายของเจ้าไหมเล่า ?
    นางนกยาง. หม่อมฉันจักไปในที่นั้นได้อย่างไร ?
    ท้าว สักกะ ตรัสว่า " เราจักนำเจ้าไปในที่นั้น" ดังนี้แล้ว นำไปสู่เทวโลก ปล่อยไว้ริมฝั่งสระโบกขรณีที่ชื่อนันทา ตรัสบอกแก่พระมเหสีทั้งสามนอกนี้ว่า " พวกหล่อนจะดูนางสุชาดาสหายของพวกหล่อนบ้างไหม ?"
    มเหสี. นางอยู่ที่ไหนเล่า ? พระเจ้าข้า.
    ท้าวสักกะ. อยู่ริมฝั่งโบกขรณีชื่อนันทา.
    พระ มเหสีทั้งสามนั้น เสด็จไปในที่นั้น ทำการเยาะเย้ยว่า "โอ รูปของแม่เจ้า, โอ ผลของการแต่งตัว; คราวนี้ ท่านทั้งหลายจงดูจะงอยปาก, ดูแข้ง ดูเท้า ของแม่เจ้า, อัตภาพของแม่เจ้าช่างงามแท้ "ดังนี้แล้ว ก็หลีกไป.
    ท้าว สักกะ เสด็จไปสำนักของนางอีก ตรัส (ถาม) ว่า " เจ้าพบหญิงสหายแล้วหรือ ?" เมื่อนางทูลว่า "พระมเหสีทั้งสามนั้น หม่อมฉันได้พบแล้ว (เขาพากัน) เยาะเย้ยหม่อมฉันแล้ว ก็ไป, ขอพระองค์โปรดนำหม่อมฉันไปที่ซอกเขานั้นตามเดิมเถิด" ดังนี้แล้ว ก็ทรงนำนางนั้นไปที่ซอกเขาตามเดิม ปล่อยไว้ในนั้นแล้ว ตรัสถามว่า " เจ้าเห็นสมบัติของหญิงทั้งสามนั้นแล้วหรือ ?"
    นางนกยาง. หม่อมฉันเห็นแล้ว พระเจ้าข้า.
    ท้าวสักกะ. แม้เจ้าก็ควรทำอุบายอันเป็นเหตุให้เกิดในที่นั้น.
    นางนกยาง. จักทำอย่างไรเล่า ? พระเจ้าข้า.
    ท้าว สักกะ. เจ้าจักรักษาโอวาทที่เราให้ไว้ได้ไหม ? นางนกยาง. รักษาได้ พระเจ้าข้า.
    ลำดับนั้น ท้าวสักกะก็ประทานศีล ๕ แก่นาง แล้วตรัสว่า " เจ้าจงเป็นผู้ไม่ประมาท รักษาเถิด" ดังนี้แล้ว ก็เสด็จหลีกไป. จำเดิมแต่นั้นมา นาง ( เที่ยว) หากินแต่ปลาที่ตายเองเท่านั้น. โดยกาลล่วงไป ๒-๓ วัน ท้าวสักกะ เสด็จไปเพื่อทรงประสงค์จะลองใจนาง จึงทรงจำแลงเป็นปลาตายนอนหงายอยู่หลังหาดทราย. นางเห็นปลานั้นแล้ว ได้คาบเอา ด้วยสำคัญว่า " ปลาตาย" ในเวลาจะกลืนปลากระดิกหางแล้ว. นางรู้ว่า "ปลาเป็น" จึงปล่อยเสียในน้ำ. ท้าวสักกะทรงปล่อยเวลาให้ล่วงไปหน่อยหนึ่งแล้ว จึงทรงทำเป็นนอนหงายข้างหน้านางอีก นางก็คาบอีก ด้วยสำคัญว่า "ปลาตาย" ในเวลาจะกลืนเห็นปลายังกระดิกหางอยู่ จึงปล่อยเสีย ด้วยรู้ว่า "ปลาเป็น." ท้าวสักกะทรงทดลองอย่างนี้ (ครบ) ๓ ครั้งแล้ว ตรัสว่า " เจ้ารักษาศีลได้ดี" ให้นางทราบพระองค์แล้ว ตรัสว่า " เรามาเพื่อประสงค์จะลองใจเจ้า,เจ้ารักษาศีลได้ดี, เมื่อรักษาได้อย่างนั้น ไม่นานเท่าไร ก็จักเกิดในสำนักของเราเป็นแน่ จงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด" ดังนี้แล้ว เสด็จหลีกไป.

    นางสุชาดาท่องเที่ยวอยู่ในภพต่าง ๆ
    จำ เดิมแต่นั้นมา นางได้ปลาที่ตายเองไปบ้าง ไม่ได้บ้าง, เมื่อ ไม่ได้โดยกาลล่วงไป ๒-๓ วันเท่านั้น ก็ซูบผอม ทำกาละแล้วเกิดเป็นธิดาของช่างหม้อในเมืองพาราณสี ด้วยผลแห่งศีลนั้น. ต่อมา ในเวลาที่นางมีอายุราว ๑๕-๑๖ ปี ท้าวสักกะทรงคำนึงถึงว่า "นางเกิดที่ไหนหนอ ?" (ได้) เห็นแล้ว ทรงดำริว่า "บัดนี้ควรที่เราจะไปที่นั้น" ดังนี้แล้ว จึงทรงเอาแก้ว ๗ ประการ ซึ่งปรากฏโดยพรรณคล้ายฟักทอง บรรทุกยานน้อย ขับเข้าไปในเมืองพาราณสีเสด็จไปยังถนนป่าวร้องว่า " ท่านทั้งหลาย (มา) เอาฟักทองกันเถิด," แต่ตรัสกะผู้เอาถั่วเขียวและถั่วราชมาษเป็นต้นมาว่า "ข้าพเจ้าไม่ให้ด้วยราคา," เมื่อเขาทูลถามว่า " ท่านจะให้อย่างไร ?" ตรัสว่า " ข้าพเจ้าจะให้แก่สตรีผู้รักษาศีล."
    พวกพลเมือง. นาย ชื่อว่าศีลเป็นเช่นไร ? สีดำหรือสีเขียวเป็นต้น.
    ท้าว สักกะ. พวกท่านไม่รู้จักศีลว่า ' เป็นเช่นไร ' จักรักษาศีลนั้นอย่างไรได้เล่า ? แต่เราจักให้แก่สตรีผู้รักษาศีล.
    พวกพลเมือง. นาย ธิดาของช่างหม้อนั้น เที่ยวพูดอยู่ว่า 'ข้าพเจ้ารักษาศีล,' จงให้แก่สตรีนั้นเถิด.
    แม้ธิดาของช่างนั้น ก็ทูลพระองค์ว่า "ถ้ากระนั้น ก็ให้แก่ฉันเถิด นาย."
    ท้าวสักกะ. เธอ คือใคร ?
    ธิดาช่างหม้อ. ฉันคือสตรีผู้ไม่ละศีล ๕.
    ท้าวสักกะ. ฟักทองเหล่านั้น ฉันก็นำมาให้จำเพาะเธอ.
    ท้าว สักกะ ทรงขับยานน้อยไปเรือนของนางแล้ว ประทานทรัพย์ที่เทวดาพึงให้โดยพรรณอย่างฟักทอง ทำมิให้คนพวกอื่นลักเอาไปได้ ให้รู้จักพระองค์แล้ว ตรัสว่า " นี้ทรัพย์สำหรับเลี้ยงชีวิตของเธอ. เธอจงรักษาศีล ๕ อย่าได้ขาด" แล้วเสด็จหลีกไป.

    นางสุชาดาธิดาของอสูร
    ฝ่าย ธิดาของช่างหม้อนั้น จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เกิดในเรือนของผู้มีเวรต่อท้าวสักกะ เป็นธิดาของอสูรผู้หัวหน้าในภพอสูร และเพราะความที่นางรักษาศีลดีแล้วใน ๒ อัตภาพ นางจึงได้เป็นผู้มีรูปสวย มีพรรณดุจทองคำ ประกอบด้วยรูปสิริอันไม่สาธารณ์ (ทั่วไป). จอมอสูรนามว่าเวปจิตติ พูดแก่ผู้มาแล้ว ๆ ว่า " พวกท่านไม่สมควรแก่ธิดาของข้าพเจ้า " แล้วก็ไม่ให้ธิดานั้นแก่ใคร ๆ คิดว่า " ธิดาของเรา จักเลือกสามีที่สมควรแก่ตนด้วยตนเอง" ดังนี้แล้ว จึงให้พลเมืองที่เป็นอสูรประชุมกัน แล้วได้ให้พวงดอกไม้ในมือของธิดานั้น ด้วยการสั่งว่า " เจ้าจงรับผู้สมควรแก่เจ้าเป็นสามี."


    ท้าวสักกะปลอมเป็นอสูรชิงนางสุชาดา
    ใน ขณะนั้น ท้าวสักกะ ทรงตรวจดูสถานที่นางเกิด ทราบประพฤติเหตุนั้นแล้ว ทรงดำริว่า " บัดนี้ สมควรที่เราจะไปนำเอานางมา " ดังนี้แล้ว ได้ทรงนิรมิตเพศเป็นอสูรแก่ ไปยืนอยู่ที่ท้ายบริษัท. แม้นางอสุรกัญญานั้น เมื่อตรวจดูข้างโน้นและข้างนี้ พอพบท้าวสักกะนั้น ก็เป็นผู้มีหทัยอันความรักซึ่งเกิดขึ้นด้วยอำนาจปุพเพสันนิวาสท่วมทับแล้ว ดุจห้วงน้ำใหญ่ ก็ปลงใจว่า " นั่น สามีของเรา " จึงโยนพวงดอกไม้ไปเบื้องบนท้าวสักกะนั้น. พวกอสูรนึกละอายว่า " พระเจ้าอยู่หัวของพวกเราไม่ได้ผู้ที่สมควรแก่พระธิดาตลอดกาลประมาณเท่านี้ บัดนี้ได้แล้ว, ผู้ที่แก่กว่าปู่นี้แล สมควรแก่พระธิดาของท้าวเธอ" ดังนี้แล้ว จึงหลีกไป. ฝ่ายท้าวสักกะ ทรงจับอสุรกัญญานั้นที่มือแล้ว ทรงประกาศว่า " เรา คือท้าวสักกะ" แล้วทรงเหาะไปในอากาศ. พวกอสูรรู้ว่า " พวกเราถูกสักกะแก่ลวงเสียแล้ว" จึงพากันติดตามท้าวสักกะนั้นไป. เทพบุตรผู้เป็นสารถีนามว่ามาตลี นำเวชยันตรถมาพักไว้ในระหว่างทาง. ท้าวสักกะทรงอุ้มนางขึ้นในรถนั้นแล้ว บ่ายพระพักตร์สู่เทพนคร เสด็จไปแล้ว. ครั้นในเวลาที่ท้าวสักกะนั้น เสด็จถึงสิมพลิวัน(ป่าไม้งิ้ว.) ลูกนกครุฑได้ยินเสียงรถ (ตกใจ) กลัวร้องแล้ว. ท้าวสักกะได้ทรงสดับเสียงสูกนกครุฑเหล่านั้นแล้ว ตรัสถามมาตลีว่า " นั่นนกอะไรร้อง ?"
    มาตลี. ลูกนกครุฑ พระเจ้าข้า.
    ท้าวสักกะ. เพราะเหตุไร มันจึงร้อง ?
    มาตลี. เพราะได้ยินเสียงรถแล้ว กลัวตาย.
    ท้าว สักกะ ตรัสว่า "อาศัยเราผู้เดียว นกประมาณเท่านี้ถูกความเร็วของรถให้ย่อยยับไปแล้ว มันอย่าฉิบหายเสียเลย, เธอจงกลับรถเสียเถิด."
    มาตลีเทพบุตรนั้น ให้สัญญาแก่ม้าสินธพพันหนึ่งด้วยแส้ กลับรถแล้ว. พวกอสูรเห็นกิริยานั้น คิดว่า " ท้าวสักกะแก่ หนีไปตั้งแต่อสุรบุรี บัดนี้ กลับรถแล้ว, เธอจักได้ผู้ช่วยเหลือเป็นแน่" จึงกลับเข้าไปสู่อสูรบุรีตามทางที่มาแล้วนั่นแล ไม่ยกศีรษะขึ้นอีก. ฝ่ายท้าวสักกะทรงนำนางสาวอสูรชื่อสุชาดาไปเทพนครแล้ว ทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่งหัวหน้านางอัปสร ๒ โกฏิกึ่ง. นางทูลขอพรกะท้าวสักกะว่า "ขอเดชะพระมหาราชเจ้า มารดาบิดาหรือพี่ชายพี่หญิงของหม่อมฉัน ในเทวโลกนี้ ไม่มี; พระองค์จะเสด็จไปในที่ใด ๆ พึง(ทรงพระกรุณา) พาหม่อมฉันไปในที่นั้น ๆ(ด้วย) ท้าวเธอได้ประทานปฏิญญาแก่นางว่า "ได้."

    พวกอสูรกลัวท้าวสักกะ
    ก็ จำเดิมแต่นั้นมา เมื่อดอกจิตตปาตลิบาน พวกอสูรประสงค์จะรบกะท้าวสักกะขึ้นมา เพื่อหมายจะต่อยุทธ ด้วยสำคัญว่า " เป็นเวลาที่ดอกปาริฉัตตกทิพย์ของพวกเราบาน" ท้าวสักกะได้ประทานอารักขาแก่พวกนาคในภายใต้สมุทร. ถัดนั้น พวกครุฑ, ถัดนั้น พวกกุมภัณฑ์, ถัดนั้น พวกยักษ์, ถัดนั้น ท้าวจตุมหาราช, ส่วนชั้นบนกว่าทุก ๆ ชั้นประดิษฐานรูปจำลองพระอินทร์ ซึ่งมีวชิราวุธในพระหัตถ์ไว้ที่ทวารแห่งเทพนคร. พวกอสูรแม้ชำนะพวกนาคเป็นต้นมาแล้ว เห็นรูปจำลองพระอินทร์มาแต่ไกล ก็ย่อมหนีไป ด้วยเข้าใจว่า "ท้าวสักกะเสด็จออกมาแล้ว."

    อานิสงส์ความไม่ประมาท
    พระ ศาสดาตรัสว่า "มหาลิ มฆมาณพปฏิบัติอัปปมาทปฏิปทาอย่างนี้; ก็แล มฆมาณพนั่น ไม่ประมาทอย่างนี้ จึงถึงความเป็นใหญ่เห็นปานนี้ ทรงเสวยราชย์ในเทวโลกทั้งสอง, ชื่อว่าความไม่ประมาทนั่น บัณฑิตทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น สรรเสริญแล้ว, เพราะว่า การบรรลุคุณวิเศษซึ่งเป็นโลกิยะและโลกุตระ แม้ทั้งหมดย่อมมีได้เพราะอาศัยความไม่ประมาท " ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า
    อปฺปมาเทน มฆวา เทวานํ เสฏฺฐตํ คโต
    อปฺปมาทํ ปสํสนฺติ ปมาโท ครหิโต สทา.
    "ท้าว มฆวะ ถึงความเป็นผู้ประเสริฐกว่าเทพยดาทั้งหลาย เพราะความไม่ประมาท; บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญความไม่ประมาท, ความประมาทอันท่านติเตียนทุกเมื่อ."
    แก้อรรถ
    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปมาเทน คือ เพราะความไม่ประมาทที่ทำไว้ ตั้งต้นแต่แผ้วถางภูมิประเทศในอจลคาม.
    บทว่า มฆวา เป็นต้น ความว่า มฆมาณพ ซึ่งปรากฏว่า
    " มฆวะ" ในบัดนี้ ชื่อว่า ถึงความเป็นผู้ประเสริฐกว่าเทพยดาทั้งหลาย
    เพราะความเป็นราชาแห่งเทวโลกทั้งสอง.
    บทว่า ปสํสนฺติ ความว่า บัณฑิตทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น
    ย่อมชมเชย สรรเสริญความไม่ประมาทอย่างเดียว.
    ถามว่า " เพราะเหตุไร ?"
    วิสัชนาว่า " เพราะความไม่ประมาท เป็นเหตุให้ได้คุณวิเศษที่เป็นโลกิยะและโลกุตระทั้งหมด."
    บาท พระคาถาว่า ปมาโท ครหิโต สทา ความว่า ส่วนความประมาท อันพระอริยะเหล่านั้นติเตียน คือนินทาแล้ว เป็นนิตย์.
    ถามว่า " เพราะเหตุไร ?"
    วิสัชนาว่า " เพราะความประมาทเป็นต้นเค้าของความวิบัติทุกอย่าง."
    จริง อยู่ ความเป็นผู้โชคร้ายในมนุษย์ก็ดี การเข้าถึงอบายก็ดี ล้วนมีความประมาทเป็นมูลทั้งนั้น ดังนี้.
    ในเวลาจบคาถา เจ้าลิจฉวีนามว่ามหาลิ ทรงดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว. แม้บริษัทผู้ประชุมกันเป็นอันมาก ก็ได้เป็นพระอริยบุคคลมีพระโสดาบันเป็นต้น ดังนี้แล.

    เรื่องท้าวสักกะ จบ.




    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
    ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


    </td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> <tr class="row2"> <td class="profile" align="center">
    </td> </tr></tbody></table>
     
  14. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]




    บทที่ ๑๐ การยืนหยัดบนความเป็นจริง

    กับลมหายใจที่เหลืออยู่
    คือความหวังจะนำพาชีวิตที่เหลืออันน้อยนิด
    ให้ยืนหยัดอยู่ได้บนโลกอันโหดร้ายนี้
    ความแปรเปลี่ยนไปอยู่ทุกขณะ
    ทำให้ไม่อาจไขว่คว้าหยิบฉวยอะไรเป็นตัวเป็นตนขึ้นมาได้
    มายาได้เตือนบอกให้เรายืนด้วยเท้าทั้งสองข้างบนผืนโลก
    ด้วยสัจธรรมตามความเป็นจริงที่ปรากฏอยู่แล้วในความเป็นธรรมชาตินั้น
    หากวันใดจะต้องถูกธุลีดินกลบใบหน้าและร่างกาย
    ก็ขอให้เป็นการจากไปด้วยความหมายแห่งธรรม
    ที่เป็นธรรมชาติอันแท้จริงนำพาไปด้วยความไม่หลงในโลก
    ชีวิตมันคงเหลืออีกไม่กี่ก้าวแล้วที่จะสามารถก้าวไปข้างหน้าได้
    เป็นเวลาที่เหลืออยู่ไม่มากแต่มันกลับมีความหมายที่ยิ่งใหญ่
    ได้แต่ภาวนาขอให้เป็นทุกก้าวย่างอย่างมีคุณค่า
    ที่เท่าเทียมกันในความว่างเปล่าไร้ตัวตนนั้นโดยไม่มีความแตกต่าง


    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
    ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  15. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]



    บทที่ ๑๑ ปัญญาคือความสามารถของมนุษย์


    ด้วย ความที่มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีลักษณะโครงสร้างทางกายภาพไม่เหมือนสัตว์ชนิด อื่นเป็นคุณสมบัติที่ธรรมชาติได้เสกสรรปั้นแต่ง "ในความเป็นไปแห่งความเป็นมนุษย์ทั้งหมด" ให้มีลักษณะโดดเด่นกว่าสัตว์สายพันธุ์อื่นๆที่อยู่ร่วมกันบนโลกใบนี้ สัตว์ที่พัฒนาสายพันธุ์ตนเองให้มีความก้าวหน้าแบบไม่หยุดยั้งด้วยความสามารถ เฉพาะตนที่ได้ขึ้นชื่อว่า "มนุษย์" จึงทำให้สัตว์ชนิดนี้อาศัยอยู่บนโลกด้วยจิตวิญญาณอันสูงส่งแห่งตนและยังความ ร่มเย็นให้แก่บรรดาสรรพสัตว์ชนิดอื่นที่ได้อาศัยอยู่ร่วมกันมาโดยตลอด เพราะธรรมชาติได้ให้ "มันสมอง" ซึ่งเป็นระบบประมวลผลทางด้านความคิดจิตใจแก่มนุษย์มาเป็นจำนวนมากพอที่ทำให้ มนุษย์สามารถฝึกฝนตนเองและนำความเจริญมาสู่ชีวิตตนได้ในทุกด้าน มันสมองของมนุษย์ที่มีมากกว่าสัตว์ชนิดอื่นโดยเทียบอัตราส่วนน้ำหนักของมัน สมองต่อน้ำหนักของร่างกายและเป็นมันสมองที่มีคุณภาพมากจนทำให้มนุษย์สามารถ นึกคิดในความเป็นตนเองและสิ่งอื่นๆที่อยู่รอบข้างในสังคมของตนได้อย่างเป็น เหตุและผลตามความเป็นจริงได้ทุกประการ มนุษย์มีมันสมองที่ขนาดใหญ่และมีคุณภาพที่สามารถบันทึกจดจำสิ่งต่างๆไว้ใน ความทรงจำของตน "สัญญา" หรือ "ความจำได้หมายรู้ของมนุษย์" เป็นคุณสมบัติอันพิเศษยิ่งที่ทำให้มนุษย์สามารถจดจำถึงสิ่งต่างๆและ คุณสมบัติของสิ่งๆนั้นได้อย่างหลากหลายมากมาย มนุษย์สามารถใช้คุณสมบัติที่โดดเด่นอันคือความจำได้ของตนเป็นห้องสมุด เคลื่อนที่และเป็นห้องสมุดส่วนตัวของตนเอง สัญญาความจำได้อันเลิศของมนุษย์มันช่วยให้มนุษย์ได้เรียนรู้ถึงความเป็นไป ของสิ่งต่างๆที่อยู่รอบข้างกายตนและสามารถคัดสรรเลือกเฟ้นสิ่งเหล่านี้นำมา ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิตและสังคมของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ มันสมองของมนุษย์สามารถประมวลผลคุณสมบัติของสิ่งต่างๆหรือในความเป็นมนุษย์ ของผู้นั้นเองหรือหลายๆสิ่งที่เกี่ยวพันกัน "ในความหมายใดความหมายหนึ่ง" ได้อย่างลึกซึ้งและซับซ้อน การประมวลผลเป็นความปรุงแต่งไปในความหมายของสิ่งๆหนึ่งซึ่งคือ "สังขาร" หรือ "ความปรุงแต่ง" ที่เกิดจากมันสมองที่มีคุณสมบัติโดดเด่นไม่เหมือนสัตว์ชนิดอื่นจึงทำให้ มนุษย์สามารถนึกคิดออกมาได้อย่างสุขุมคัมภีรภาพและการจำได้หมายรู้ทำให้ มนุษย์เกิดความรูสึกต่อสิ่งๆนั้น การประมวลผลไปในความหมายใดความหมายหนึ่งก็อาศัยทิศทางพื้นฐานความรู้สึกที่ มนุษย์มีให้ต่อสิ่งๆนั้นด้วยอันจะก่อให้เกิดจิตที่มีความลึกซึ้งซับซ้อนซึ่ง อาจเป็นจิตที่ดีอันประณีตหรือเป็นจิตที่หยาบ มนุษย์จึงเป็นสัตว์ที่มีความสามารถพิจารณาถึงเหตุและผลได้ดีกว่าสัตว์ชนิด อื่นๆและด้วยเหตุผลนี้เองจึงทำให้มนุษย์สามารถแบ่งแยกสิ่งต่างๆออกเป็นหมวด หมู่และสามารถพิจารณาเล็งเห็นถึงประโยชน์และโทษของสิ่งๆนั้น มนุษย์จึงมี "ปัญญา" อย่างมากที่จะศึกษาถึงคุณสมบัติอันเป็นประโยชน์ของสิ่งๆหนึ่งและคัดกรองเอา คุณสมบัติของสิ่งๆนั้นมาพัฒนาจิตใจตนเองเพื่อก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้า แก่ชีวิตและสังคมที่ตนได้อาศัยอยู่ร่วมกัน

    ในห้วงกาลเวลาหนึ่งที่ ผ่านมาอย่างเนิ่นนานมากๆแล้วครั้งตั้งแต่ก่อนไฟประลัยกัลป์ได้ทำลายล้างโลก ไปไม่รู้กี่หนต่อกี่หนแล้ว นับตั้งแต่มนุษย์ได้พัฒนาระบบร่างกายตนเองมาจากสัตว์ในน้ำและจากสัตว์ครึ่ง บกครึ่งน้ำต่อมาได้มีความเจริญก้าวหน้าสามารถพัฒนาความเป็นอยู่ของตนให้ดำรง อาศัยอยู่บนผืนโลกนี้ได้และสามารถเคลื่อนไหวไปมาบนพื้นดินด้วยการทรงตัวโดย มีความสามารถทำให้ลำตัวของตนเองตั้งตรงไม่ขนานไปกับพื้นเหมือนเช่นสัตว์ชนิด อื่นๆและเมื่อมนุษย์สามารถดำริริเริ่มพิจารณาคัดกรองเลือกสรรเอาแต่คุณงาม ความดีมาเป็นพื้นฐานแห่งจิตใจตนและในครั้งนั้นก็มีมนุษย์ผู้หนึ่งซึ่งมีความ สามารถมากกว่าใครในยุคนั้นมีธรรมธาตุแห่งความเป็น "มหาบัณฑิต" สามารถพัฒนาจิตวิญญาณของตนเองได้สูงส่งกว่าใครอื่นและด้วยความที่ตนเองได้ ฝึกฝนชีวิตตนมาโดยตลอดบนเส้นทางแห่งการเวียนว่ายตายเกิดตามบุญกรรมคุณงาม ความดีแห่งตนที่ได้สั่งสมมาจนชาติสุดท้ายความดีอันคือธรรมธาตุแห่งบุญกุศล ได้แสดงคุณสมบัติของมันออกมาอย่างเต็มเปี่ยมบุญกุศลในทุกทางอันคือความเป็น ไปอย่างถึงที่สุดในธรรมธาตุนั้นๆจึงทำให้ "มหาบัณฑิต" ผู้นั้นได้เข้าไปรู้ถึงความเป็นจริงอันคือธรรมชาติที่มันทำหน้าที่ของมัน อยู่อย่างนั้นอยู่แล้วตลอดเวลาและมหาบัณฑิตผู้นั้นก็มีปัญญาอย่างมากที่ สามารถเข้าไปเรียนรู้ถึงเหตุและปัจจัยของทุกสรรพสิ่งในจักวาลแห่งนี้ การรอบรู้ในทุกส่วนจนกระทั่งสามารถนำมาพัฒนาจิตวิญญาณของตนให้ไปสู่ความ สมบูรณ์พร้อมและออกจากกองทุกข์ทั้งปวงได้ซึ่งเป็นปัญหาที่ทำให้มนุษย์ทุกคน ต้องไปเวียนว่ายตายเกิดและสามารถนำความรู้เหล่านั้นมาสั่งสอนแก่เพื่อน มนุษย์ด้วยกันในยุคนั้นได้ในทุกระดับของสังคมที่อยู่ร่วมกัน มนุษย์ผู้มีความรู้ความสามารถอย่างมากผู้นี้จึงขนานนามตัวเองว่า ตนเองคือ "พระพุทธเจ้า" ซึ่งมีความหมายว่า มหาบัณฑิตผู้มีความประเสริฐยิ่งซึ่งเป็นผู้ที่ตื่นแล้วสามารถออกจากความหลับ ใหลแห่งอวิชชาความไม่รู้ทั้งปวงได้อย่างหมดจดและมหาบัณฑิตผู้นี้จึงได้เป็น "พระพุทธเจ้าองค์แรกของโลกใบนี้" นับตั้งแต่ได้กำเนิดโลกแห่งนี้ขึ้นมา ภูมิความรู้อันทำให้มนุษย์สามารถพัฒนาตนเองได้ถึงขีดที่สุดแห่งความที่ได้ เกิดมาเป็นมนุษย์บนโลกใบนี้จึงได้ถูกถ่ายทอดมานับตั้งแต่บัดนั้น ความรู้ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายได้มาสั่งสอนมวลหมู่มนุษยชาติให้ได้เข้าไป เรียนรู้และน้อมนำมาเพื่อพัฒนาจิตใจตนเองจึงเป็น "องค์แห่งความรู้" ที่ถูกพิสูจน์แล้วโดยแน่ชัดและสามารถให้ผลได้อย่างเต็มที่ตามคุณสมบัติของ ธรรมธาตุนั้นๆ เราทั้งหลายในฐานะที่เป็นมนุษย์และมีผลบุญที่ได้เกิดมาในดินแดนที่พระพุทธ ศาสนาได้หยั่งรากลงลึกอย่างมั่นคงถาวรเราจึงไม่ควรประมาทและพึงสร้างศรัทธา ให้เกิดขึ้นเพื่อที่จะนำพาชีวิตตนเองให้เข้ามาอยู่ภายใต้ร่มเงาแห่งพระพุทธ ศาสนา การศึกษาถึง "เหตุและผล" ของธรรมในระดับต่างๆที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ได้ตรัสธรรมในทุกส่วนทิ้งไว้ ให้แก่ชาวโลกการพิจารณาถึงข้อดีและข้อเสียของธรรมนั้นๆและน้อมนำมาปฏิบัติ ด้วยการพึง "เจริญสติ" เพื่อที่จะระลึกถึงธรรมที่เราเลือกคัดสรรไว้ดีแล้วตามแนวทางที่พระพุทธเจ้า ได้ตรัสถึงธรรมนั้นๆไว้ การที่เรามีความสามารถเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่ชีวิตเราเองตามความสามารถ เท่าที่เราจะทำได้จึงบ่งบอกได้ถึงความที่เราได้ทำหน้าที่แห่งความเป็นมนุษย์ ได้อย่างสมความภาคภูมิด้วย "ปัญญา" ที่เราสามารถเรียนรู้และฝึกฝนพัฒนาตนเองให้ดียิ่งๆขึ้นไป จนเมื่ออินทรีย์แห่ง "ปัญญา" ได้แก่กล้า ปัญญาซึ่งคือความสามารถที่แท้จริงของมนุษย์นั่นเองก็จะทำให้มนุษย์ได้เข้า ถึงความสุขอันยั่งยืนแท้จริงแห่งตนและจะนำมาซึ่งความสงบสุขให้เกิดขึ้นแก่ตน เองและครอบครัวรวมทั้งสังคมที่ตนได้อาศัยอยู่ ปัญญาจึงคือศิลปะที่จะพาให้มนุษย์ได้ดำเนินชีวิตของตนอยู่บนโลกใบนี้ได้ อย่างผาสุกตลอดไป



    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
    ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  16. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]




    บทที่ ๑๒ เสียงแห่งศรัทธา


    วันนี้เป็นวันพระมีชาวบ้านที่อยู่ในหมู่บ้านใกล้ๆเดินทางมาทำบุญกันแต่เช้า
    พระบวชใหม่อย่างฉันอดตื่นเต้นไม่ได้ที่เห็นญาติโยมอยู่กันเต็มศาลาวัด
    ก่อนที่เสียงระฆังจะถูกตีดังขึ้นเพื่อเป็นสัญญาณให้ภิกษุในวัดขึ้นฉันอาหารเช้า
    ชาวบ้านก็จะรีบเร่งจัดเตรียมอาหารใส่สำรับพากับข้าวให้พอกับจำนวนพระในวัด
    และจัดแจงเอาดอกไม้ที่เตรียมมาจากบ้านใส่ในแจกันใหญ่ที่ทางวัดเตรียมไว้ให้
    เราจะเห็นดอกไม้หลากสีและหลากชนิดปักอยู่ในแจกันอันเดียวกันเป็นที่สวยงาม
    และดอกไม้ส่วนหนึ่งก็ถูกเสียบไว้ในกรวยใบตองพร้อมทั้งธูปเทียน
    มันเป็นกรวยดอกไม้ที่ต่างคนต่างก็ทำมาเองที่บ้านตอนรุ่งเช้าก่อนมาวัด
    กรวยดอกไม้นี้เป็นสิ่งที่ทุกคนนำมาบูชาเพื่อแสดงการเข้าถึงพระรัตนตรัย
    เมื่อพระได้ขึ้นศาลาและนั่งลงบนอาสนะของตนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
    ชาวบ้านก็ได้หยิบกรวยดอกไม้ของตนขึ้นมาพร้อมกับพนมมือ
    แล้วชาวบ้านก็พร้อมใจกันเปล่งเสียงบูชาพระรัตนตรัย
    เป็นทำนองสรภัญญะลั่นศาลา
    "มาลาดวงดอกไม้ มาลาดวงดอกไม้ มาตั้งไว้เพื่อบูชา
    ขอบูชาคุณพระพุทธ ขอบูชาคุณพระพุทธ ผู้ได้ตรัสรู้มา
    ขอบูชาคุณพระธรรม ขอบูชาคุณพระธรรม ผู้ได้นำคำสอนมา
    ขอบูชาแด่พระสงฆ์ ขอบูชาแด่พระสงฆ์ ผู้ดำรงพระวินัย
    คุณพระตรัยทั้งสามนี้ คุณพระตรัยทั้งสามนี้ พวกข้ามีขอบูชา ฯลฯ"
    ฉันได้นั่งหลับตาอยู่เพื่อสำรวมกิริยาแห่งความเป็นพระนวกะ
    พลันที่เสียงทำนองสรภัญญะอันไพเราะ
    ได้ดังเข้ามาที่โสตแห่งการรับรู้
    เพราะน้ำเสียงที่เต็มไปด้วยความตั้งใจของเหล่านักบุญทั้งหลาย
    ได้เปล่งเสียงอาราธนาเพื่อแสดงตนว่าตนเองเป็นอุบาสกอุบาสิกาในพุทธศาสนานี้
    น้ำเสียงที่เพราะจับจิต
    มันบ่งบอกถึงศรัทธาอันมากของโยมทั้งหลายที่ตั้งใจมาทำบุญ
    และมันทำให้พระอย่างฉันเกิดปีติและอดขนลุกไม่ได้
    "เสียงแห่งศรัทธา" ของญาติโยมที่ดังก้องไปทั่วศาลา
    มันทำให้หัวใจของพระที่พึ่งจะบวชใหม่เกิดมีพลังขึ้นมาอย่างบอกไม่ถูก
    ฉันเริ่มบอกกับตัวเองอย่างจริงจังในวันนี้ว่า
    ในพรรษานี้ฉันควรตั้งใจปฏิบัติธรรมให้มากๆ




    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
    ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  17. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]





    บทที่ ๑๓ สตินำมาซึ่งความเป็นมนุษย์สมบัติ


    เมื่อโลกใบนี้ ได้เดินทางเข้ามาสู่ "กลียุค" แล้วผู้คนในยุคนี้ล้วนแต่เห็นอสัทธรรมเป็นสัทธรรมเห็นสัทธรรมเป็นอสัทธรรม ผู้คนเริ่มมีทิฐิวิปลาสผิดแผกแตกต่างไปจากความเป็นจริงที่ควรเป็นไปมนุษย์ ทั้งหลายเริ่มเลวทรามน้อมนำเอาทิฐิที่ต่ำช้ามาเป็นสรณะที่พึ่งนำทางให้แก่ ชีวิตตนเองและเริ่มถอยออกห่างจากคุณงามความดีทั้งหลายในฐานะที่เป็นสมบัติ แห่งความเป็นมนุษย์โดยทุกคนล้วนแต่ก็คิดว่าคุณงามความดีทั้งหลายเหล่านั้น ล้วนแต่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิตตน ทุกคนล้วนไม่เชื่อในบาปบุญคุณโทษมีแต่แสวงหาความสุขอันนำมาปรนเปรอความอยาก ความต้องการของตนอยู่เรื่อยไป ด้วยเหตุและปัจจัยอันมนุษย์ในยุคนี้ล้วนตั้งทิฐิของตนไว้ในทางที่ผิดจึงส่ง ผลทำให้ในกาลข้างหน้ามนุษย์และสังคมแห่งพวกตนจะตกต่ำถึงขีดสุดและความเป็น มนุษย์สมบัติก็จะหายไปความเป็นมนุษย์จะไม่ปรากฏอีกต่อไป ด้วยทิฐิอันเลวทรามที่มนุษย์ได้หลงระเริงไปในตัณหาแห่งตนจึงทำให้มนุษย์เอา ความอยากของตนเองเป็นที่ตั้งจนกลายเป็นพฤติกรรมทางจิตที่สั่งสมจนกระทั่งมัน เป็น "ความปกติแห่งจิตอันชั่ว" ของมนุษย์ผู้ไม่มีปัญญา จิตอันชั่วซึ่งไม่สามารถพัฒนาขึ้นมาได้อีกต่อไปเพราะการขาดความสำนึกในความ เป็นมนุษย์แห่งตนจึงทำให้มนุษย์ในอนาคตอันใกล้นี้มีพฤติกรรมคล้ายสัตว์ เดรัจฉานเป็นจิตที่คิดเบียดเบียนตนเองให้ตกต่ำไปและคิดเบียดเบียนผู้อื่น อยู่ตลอดเวลา


    ด้วยความตกต่ำทางด้านจิตวิญญาณของผู้คนในยุคนี้ พระพุทธองค์จึงได้ทรงมาประกาศธรรม เพื่อตักเตือนมนุษย์ทั้งหลายให้มี "ความไม่ประมาท" และรีบเร่งให้มนุษย์ทั้งหลายฝึกฝนพัฒนาจิตใจตนเองให้กลับไปสู่ความเป็น "ปกติของจิตที่ดีงาม" เป็นจิตที่บ่งบอกถึงความเป็นมนุษย์ได้อย่างแท้จริงเหมือนในยุคก่อนๆที่ผ่าน มาซึ่งมนุษย์ในยุคนั้นมีความสามารถรักษาจิตใจตนให้เป็นปกติในความเป็น ธรรมชาติแห่งตนและอายุมนุษย์ก็มีความยั่งยืนยาวนานสังคมมนุษย์ในยุคปกตินั้น ก็มีแต่ความผาสุกเป็นยุคที่มนุษย์มีปัญญาและถึงพร้อมด้วยบุญแห่งตนอย่างทั่ว หน้า


    ด้วยจิตใจของมนุษย์ในยุคนี้เริ่มมีความตกต่ำ "จิตวิญญาณของมนุษย์" ได้พร่องลงไปอย่างมากแล้วทิฐิที่เกิดขึ้นจึงมีความหลากหลายมีทั้งในส่วนกุศล และอกุศล การที่จะพัฒนาจิตใจตนเองให้ดีขึ้นไปกว่าเดิมจนกว่าจะเป็นความปกติแห่งจิตของ มนุษย์ได้นั้นมนุษย์ในยุคนี้จึงต้องมีความสามารถที่จะศึกษาพิจารณาธรรมได้ใน ทุกส่วนเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงต่อความเป็นจริงในธรรมนั้นๆและพิจารณาถึง คุณประโยชน์และโทษที่จะได้รับเมื่อตนเองได้มีจิตใจไปในทางที่ดีและเลว การเข้าไปศึกษาธรรมอย่างถ่องแท้ด้วยหัวใจแห่งความเป็นบัณฑิตของตนและการ พิจารณาแยกแยะคัดสรรธรรมต่างๆออกเป็นหมวดหมู่ได้ทั้งในธรรมที่เป็นกุศลและ ธรรมที่เป็นอกุศลและเมื่อตนเองมีความศรัทธาเชื่อมั่นในธรรมที่องค์ศาสดาได้ ตรัสไว้อย่างดีแล้วจึงก่อให้เกิดกำลังใจที่จะฝึกฝนตนเองให้เดินไปบนเส้นทาง แห่งชีวิตตนได้อย่างมีคุณภาพและมีความปลอดภัยอันจะทำให้ชีวิตที่มีคุณค่า ประเสริฐยิ่งนั้นไม่ไปสู่ในที่ตกต่ำอีก


    การปรับปรุงพัฒนาจิตใจตน เองให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้นได้นั้นก็ด้วยการระลึกถึงคุณประโยชน์แห่งกุศล ธรรมทั้งหลายอันจะย้อมจิตใจเราให้กลับไปเป็นความปกติดังเดิม การที่เราพยายามหมั่นระลึกได้อย่างเสมอๆถึงธรรมอันเป็นส่วนกุศลทั้งหลายนั้น เป็นการฝึก "สติ" อย่างยอดเยี่ยมอันจะทำให้เรามีความซึมซาบในความเป็นจิตที่เป็นกุศลนั้นได้ อยู่ตลอดเวลา การหมั่นระลึกได้และการฝึกตนเองเพื่อให้มีความพยายามปรุงแต่งจิตไปในทางกุศล ธรรมทั้งหลายนั้นมันก็จะทำให้เราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความปรุงแต่งทาง จิตจากที่เราเคยปรุงแต่งไปในทางตัณหาอุปาทานซึ่งเป็นไปในทางอกุศลกรรมอย่าง แนบแน่นมาสู่ความปรุงแต่งในทางกุศลธรรมได้อย่างสม่ำเสมอ การฝึกฝนตนเองอย่างนี้อยู่ตลอดเวลามันจะส่งผลทำให้อินทรีย์หรือความเป็นไป แห่งการระลึกได้นั้นแก่กล้าขึ้นมาจนกระทั่งมันกลายเป็น "ธรรมชาติแห่งการระลึกได้ในกุศลธรรมทั้งปวง" อยู่ตลอดเวลาตามความที่มันเป็นธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น


    ธรรม แห่ง "สติ" จึงเป็นธรรมที่บ่งบอกถึงความสามารถของมนุษย์ที่สามารถฝึกฝนขัดเกลาจิตใจของ ตนเองได้ในฐานะที่เป็นบัณฑิตผู้ซึ่งไม่ยอมตกเป็นทาสให้แก่ตัณหาอุปาทานความ ยากอันจะนำมาซึ่งความเดือดร้อนแก่ชีวิตตนเองและผู้อื่นที่อยู่ในสังคมรอบ ข้างและบ่งบอกถึงความเป็นบัณฑิตที่สามารถนำความสุขอันเรียบง่ายมาสู่ชีวิตตน เองได้ในฐานะที่ดำรงชีวิตแห่งตนได้อย่างผาสุกบนปัจจัยขั้นพื้นฐานทั้งสี่ ด้วยความพึงพอใจในสิ่งตนเองมีอยู่ด้วยความสามารถที่พึงหามาได้และเต็มใจที่ จะมีความสุขอยู่กับสิ่งนั้นๆตามอัตภาพ



    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
    ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  18. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]





    บทที่ ๑๔ สังคมวิทยาและมนุษยวิทยา


    ธรรมชาติได้สร้างสรรค์ให้มนุษย์มีความสามารถ
    ที่จะแยกแยะและคัดกรองเลือกสิ่งที่ดีงามให้กับตนเอง
    สิ่งเหล่านี้บ่งบอกถึงความมีคุณค่างดงามทางด้านจิตใจ
    และมนุษย์ก็ยังมีความสามารถแบ่งปันหยิบยื่นสิ่งดีๆเหล่านี้
    ให้แก่บุคคลอื่นที่อยู่รอบข้างในสังคมแห่งตน
    มนุษย์จึงได้ชื่อว่าเป็นสัตว์ที่มีใจสูงและประเสริฐ
    มนุษย์จึงเป็น "สัตว์สังคม" ที่สามารถพัฒนากลุ่มชนของตน
    ได้เจริญก้าวหน้ากว่าสัตว์ชนิดอื่นๆที่อยู่ปะปนกันบนโลกใบนี้
    เพราะฉะนั้นมนุษย์จึงได้อาศัยดำรงชีวิตร่วมกันในสังคม
    บนพื้นฐานความดีงามแห่งหัวใจของตนเองตลอดเรื่อยมา
    สังคมของมนุษย์จึงเป็นสังคมที่อยู่ร่วมกันบนความรู้สึกที่ดี
    อันเป็นความปรารถนาที่อ่อนโยนที่มนุษย์มีให้ต่อกันเสมอ
    สัตว์มนุษย์จึงเป็นสัตว์ที่ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน
    เพราะความมีคุณค่าในความดีงามอันประเสริฐยิ่งเหล่านี้
    มันจึงทำให้มนุษย์สามารถดำรงเผ่าพันธุ์และจิตวิญญาณของตน
    อยู่ บนโลกใบนี้ไปได้อีกตราบชั่วกัลปาวสาน ความอ่อนโยนที่มิใช่การก้าวร้าว
    คือพื้นฐานทางด้านจิตใจแห่งความเป็นมนุษย์
    มนุษย์จึงสามารถใช้ชีวิตได้อย่างกลมกลืนไม่มีข้อแตกต่างในความเป็นธรรมชาตินั้น
    และเป็นสิ่งที่นำพาให้มนุษย์ดำรงชีวิตร่วมกันบนโลกใบนี้ได้อย่างสันติสุข
    ความก้าวร้าวบ่งบอกถึงความตกต่ำทางด้านจิตวิญญาณของมนุษย์ยุคนี้ในทุกๆหมู่ชน
    ไม่เว้นแม้กระทั่งนักปฏิบัติทั้งหลายที่ยังไม่เข้าใจถึงชีวิตและความสุขที่แท้จริงแห่งตน



    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
    ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  19. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]





    บทที่ ๑๕ สังขพราหมณ์มหาบัณฑิต


    มนุษย์ มีความหมายว่า "ผู้มีใจสูงส่ง" ซึ่งหมายถึงมนุษย์เป็นสัตว์ที่มีความสามารถพัฒนาจิตใจตนเองให้อยู่ในความดี งามแห่งตนทั้งหลายได้ สัตว์มนุษย์ทุกผู้ทุกนามที่ได้เกิดมาบนโลกใบนี้ก็ล้วนแต่มีจิตสำนึกที่จะนำ พาชีวิตตนเองให้ดำเนินไปในหนทางที่มีแต่ความผาสุก มนุษย์ผู้ที่มีจิตวิญญาณแห่งความเป็น "ผู้ใฝ่ดี" จึงเป็นมนุษย์ที่ยังมีธาตุแห่งความเป็นบัณฑิตอยู่มาก การที่จะฝึกฝนตนเองให้เป็นบัณฑิตที่ดีได้นั้นต้องประกอบไปด้วยความมีปัญญา แห่งการที่ตนได้เกิดมาในฐานะที่เป็นมนุษย์ ปัญญาซึ่งคือการพิจารณาไตร่ตรองถึงเหตุและผลในความเป็นไปของทุกๆสรรพสิ่งและ ปัญญาอันยอดเยี่ยมคือการเลือกเฟ้นคัดสรรสิ่งดีๆที่ตนเองได้พิจารณาถึงเหตุ และผลอย่างถี่ถ้วนนั้นแล้วนำมาสู่ชีวิตตน ก็เพราะความเป็นมนุษย์ผู้มีใจสูงส่งจึงทำให้มนุษย์มี "หัวใจที่พิเศษ" สามารถสร้างความศรัทธาแรงบันดาลใจอันแรงกล้าให้เกิดขึ้นกับตนเองเพื่อจะ น้อมนำสิ่งที่ตนเองคิดว่าเป็นสิ่งประเสริฐนำมาสู่ชีวิตตนด้วยความสามารถใน การหมั่นระลึกถึงสิ่งที่ดีนั้นและสามารถปรับปรุง "หัวใจตนเอง" ให้มีสภาพเดียวกันกับคุณงามความดีที่ตนได้ใช้ปัญญาเลือกเฟ้นไว้แล้ว เมื่อใจของบัณฑิตได้ถูกย้อมไปด้วยกุศลธรรมทั้งหลายจนสภาพจิตมีความตั้งมั่น เป็นเนื้อหาเดียวกันกับคุณความดีเป็นปกติในความเป็นธรรมชาติแห่งธรรมอันคือ กุศลนั้นโดยไม่มีความแตกต่างจึงทำให้ความเป็นบัณฑิตนั้นปรากฏอยู่ในใจอันสูง ส่งของมนุษย์ผู้ใฝ่ดีอยู่ตลอดเวลา ถึงแม้ในบางขณะของช่วงชีวิตกรรมวิบากอาจจะทำให้มนุษย์ผู้มีความเป็นบัณฑิต นั้นต้องตกไปสู่วาระกรรมที่ลำบากยากแค้นจนถึงกระทั่งชีวิตก็อาจจะหาไม่ แต่ความเป็นบัณฑิตก็ยังคงความเป็นบัณฑิตอยู่เช่นนั้นเพราะใจที่มั่นคงในกุศล ธรรมด้วยการฝึกฝนตนเองมาอย่างดีแล้วด้วยกำลังแห่งศรัทธาสติและปัญญามิได้ถูก ทำให้เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่นแต่อย่างไร เปรียบได้กับทองเนื้อเก้าซึ่งหมายถึงทองธรรมชาติที่มีความบริสุทธิ์ถึง ๙๙.๙๙ เปอร์เซ็นต์ ถึงแม้มันจะถูกไฟเผาจนเสียรูปทรงหลอมละลายกลายเป็นของเหลวแต่ถึงกระนั้นความ เป็นเนื้อทองที่มีแต่ความบริสุทธิ์มันก็บริสุทธิ์อยู่อย่างนั้นถึงแม้จะถูก หลอมด้วยไฟจนไม่สามารถอยู่ในรูปทรงเดิมของมันได้แต่มันก็ยังคงความเป็นทอง เนื้อเก้าอยู่เช่นนั้นตลอดไป
    ในอดีตกาลได้มีมหาบัณฑิตผู้หนึ่งได้มีความ เพียรในการรักษาจิตใจตนเองให้อยู่ในบุญกุศลอยู่ตลอดเวลาตราบจนลมหายใจสุด ท้ายของชีวิตเขา เป็นชีวิตที่ได้ตั้งสัจจะวาจาปวารณาตนให้อยู่ในเส้นทางแห่งคุณงามความดีที่ ตนเองเลือกเฟ้นและฝึกฝนไว้ดีแล้ว ความเป็นบัณฑิตของชายผู้นี้ได้ถูกทดสอบด้วยกรรมวิบากที่ตนเองต้องเสวยผลจาก ชาติก่อนๆของตนที่เคยได้กระทำมาเพราะความประมาทพลาดพลั้ง เมื่อความตายได้มายืนปรากฏอยู่ตรงหน้าก็หาทำให้บัณฑิตผู้นี้มีความสะดุ้ง กลัวหวั่นไหวไม่ เพราะใจที่ถูกอบรมมาดีมากแล้วทำให้เสี้ยวเวลาที่เหลืออันน้อยนิดนั้นเป็น ห้วงเวลาที่ยิ่งใหญ่และยังมีคุณค่าอยู่อย่างมาก ชายผู้เป็นบัณฑิตนี้ได้ลอยคออยู่กลางทะเลเพราะเรือแตกอับปางลงและอดอาหารมา เป็นเวลาเจ็ดวันแล้วแต่ในวันที่เจ็ดเป็นวันถืออุโบสถศีลบัณฑิตผู้นี้ก็ยัง น้อมใจตนตั้งสัจจะอธิษฐานจิตเพื่อรักษาศีลในขณะที่ตนเองยังลอยอยู่กลางทะเล ด้วยความสิ้นหวัง ถึงแม้ในเวลาต่อมาได้มีนางฟ้าชื่อเมขลามีความเมตตามาช่วยชีวิตด้วยการนำ อาหารทิพย์มาให้กินแต่ด้วยจิตที่ตั้งมั่นในกุศลอย่างดีแล้วจึงทำให้บัณฑิต ผู้นั้นปฏิเสธการกินอาหารเพราะตนเองได้ถืออุโบสถศีลไปแล้วและยอมอดตายหากตน จะต้องตายภายในวันนั้น ความที่มนุษย์ผู้หนึ่งมีความตั้งใจอย่างมากที่จะประกอบกุศลกรรมอยู่เป็นนิจ ถึงแม้ชีวิตจะต้องตกอยู่ในห้วงภยันตรายแต่ความเป็นบัณฑิตของเขาก็ยังคงมี อยู่ตลอดเวลาด้วยหัวใจที่แกร่งกล้าในความเชื่อมั่นบนเส้นทางแห่งความดีที่ตน เองได้กระทำอยู่ทุกๆขณะ
    การกระทำของบัณฑิตผู้นั้นถือได้ว่าเป็นตัวอย่าง ที่ดีของมนุษย์ในยุคนี้ที่จะน้อมนำมาพิจารณาเพื่อนำเอามาเป็นแบบอย่างที่ดี ให้แก่ชีวิตของตน บัณฑิตผู้นั้นมีชื่อว่า "สังขพราหมณ์บัณฑิต"

    พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภการถวายบริขารทั้งปวง จึงตรัสเรื่องนี้
    ได้ ยินว่า ในพระนครสาวัตถี มีอุบาสกคนหนึ่งฟังธรรมเทศนาของพระตถาคตแล้ว มีจิตเลื่อมใสในพระศาสดา จึงเข้าไปนิมนต์เพื่อฉันในวันรุ่งขึ้น แล้วให้ทำมณฑปใกล้ประตูเรือนของตน ประดับตกแต่งเป็นอย่างดี วันรุ่งขึ้นให้คนไปกราบทูลภัตกาลต่อพระตถาคต พระศาสดามีภิกษุ ๕๐๐ เป็นบริวาร เสด็จไป ณ ที่นั้น ประทับนั่งบนบวรพุทธาอาสน์ที่อุบาสกปูลาดไว้ อุบาสกพร้อมด้วยบุตรภรรยาและบริวารชน ถวายมหาทานแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ได้นิมนต์ฉันถวายมหาทานอย่างนี้ต่อไปถึง ๗ วัน ในวันที่ ๗ ได้ถวายเครื่องบริขารทุกอย่าง
    แลเมื่อจะถวายนั้นได้จัดทำรองเท้าถวาย เป็นพิเศษคือคู่ที่ถวายแด่พระทศพล ราคาพันหนึ่ง ที่ถวายพระอัครสาวกทั้งสอง ราคาคู่ละ ๕๐๐ ที่ถวายพระภิกษุ ๕๐๐ นอกนั้นราคาคู่ละร้อย
    อุบาสกนั้นครั้นถวายเครื่องบริขารทุกอย่าง ดังนี้แล้วได้ไปนั่งอยู่ในสำนักพระผู้มีพระภาคกับบริษัทของตน
    ครั้ง นั้น พระศาสดาเมื่อจะทรงอนุโมทนาด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะแก่อุบาสกนั้น ได้ตรัสว่า นี่แน่ะอุบาสก การถวายเครื่องบริขารทุกอย่างของท่าน โอฬารยิ่ง ท่านจงชื่นชมเถิด

    ครั้งก่อนเมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่เกิดขึ้น ชนทั้งหลายถวายรองเท้าคู่หนึ่งแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า เรือไปแตกในมหาสมุทรซึ่งหาที่พึ่งมิได้ เขายังได้ที่พึ่งด้วยผลานิสงส์ที่ถวายรองเท้า ก็ตัวท่านได้ถวายเครื่องบริขารทุกอย่างแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ผลแห่งการถวายรองเท้าของท่านนั้น ทำไมจักไม่เป็นที่พึ่งเล่า ดังนี้ แล้วอุบาสกนั้นทูลอาราธนาให้ตรัสเรื่องราว
    จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้
    ใน อดีตกาล พระนครพาราณสีนี้มีนามว่าโมลินี พระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในกรุงโมลินี มีพราหมณ์คนหนึ่งชื่อสังขะ เป็นผู้มั่งคั่ง มีโภคทรัพย์มาก มีเครื่องที่ทำให้ปลื้มใจ เช่นทรัพย์ข้าวเปลือกและเงินทองมากมาย ให้สร้างโรงทาน ๖ แห่ง คือประตูเมือง ๔ ประตู ที่กลางเมืองและที่ประตูเรือน สละทรัพย์วันละ ๖ แสนให้ทานเป็นการใหญ่แก่คนกำพร้าและคนเดินทางเป็นต้นทุกวัน
    วันหนึ่ง เขาคิดว่า เมื่อทรัพย์ในเรือนสิ้นแล้ว เราจักไม่อาจให้ทานได้ เมื่อทรัพย์ยังไม่สิ้นไปนี้ เราจักลงเรือไปสุวรรณภูมิ นำทรัพย์มา คิดดังนี้แล้ว จึงให้ต่อเรือบรรทุกสินค้าจนเต็ม แล้วเรียกบุตรภรรยามาสั่งว่า พวกท่านจงให้ทานของเราเป็นไปโดยไม่ขาดจนกว่าเราจะกลับมา แล้วก็แวดล้อมไปด้วยทาสและกรรมกร กั้นร่มสวมรองเท้า เดินตรงไปยังบ้านท่าเรือจอดในเวลาเที่ยง.
    ในขณะนั้นที่ภูเขาคันธมาทน์ มีพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งพิจารณาดูก็ได้เห็นพราหมณ์นั้นกำลังจะเดินทาง เพื่อนำทรัพย์มา จึงพิจารณาดูว่า มหาบุรุษจักไปหาทรัพย์ จักมีอันตรายในสมุทรหรือไม่หนอ ก็ทราบว่าจักมีอันตราย จึงคิดว่ามหาบุรุษนั้นเห็นเราแล้วจักถวายร่มและรองเท้าแก่เรา เมื่อเรือแตกกลางสมุทร เขาจักได้ที่พึ่งด้วยอานิสงส์ที่ถวายรองเท้า เราจักอนุเคราะห์แก่เขา แล้วก็เหาะมาลง ณ ที่ใกล้สังขพราหมณ์ เดินเหยียบทรายร้อนเช่นกับถ่านเพลิง เพราะลมแรงแดดกล้า ตรงมายังสังขพราหมณ์
    สังข พราหมณ์พอเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นเท่านั้น ก็ยินดีว่า บุญเขตของเรามาถึงแล้ว วันนี้เราควรจะหว่านพืช คือทานลงในบุญเขตนี้ จึงรีบเข้าไปนมัสการพระปัจเจก พุทธเจ้า แล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เพื่ออนุเคราะห์ข้าพเจ้า ขอท่านได้ลงจากทางสักหน่อย แล้วเข้าไปที่โคนต้นไม้นี้ พอพระปัจเจกพุทธเจ้าเข้าไปโคนต้นไม้ ก็พูนทรายขึ้นแล้วเอาผ้าห่มปูลาด นมัสการพระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วล้างเท้าด้วยน้ำที่อบและกรองใสสะอาด ทาเท้าด้วยน้ำมันหอม ถอดรองเท้าที่ตนสวมออกเช็ด ทาด้วยน้ำมันหอม แล้วสวมเท้าพระปัจเจกพุทธเจ้า ถวายร่มและรองเท้าด้วยวาจาว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงสวมรองเท้ากั้นร่มไปเถิด
    พระปัจเจกพุทธเจ้าเพื่อจะอนุเคราะห์ สังขพราหมณ์จึงรับร่มและรองเท้า และเพื่อจะให้ความเลื่อมใสเจริญยิ่งขึ้น จึงเหาะไปภูเขาคันธมาทน์ให้สังขพราหมณ์แลเห็น
    สังขพราหมณ์โพธิสัตว์ได้เห็นดังนั้นแล้ว ก็มีจิตเลื่อมใสยิ่งขึ้น เดินไปสู่ท่าลงเรือ

    เมื่อ สังขพราหมณ์กำลังเดินทางอยู่กลางมหาสมุทร พอถึงวันที่ ๗ เรือได้ทะลุ น้ำไหลเข้า ไม่มีใครสามารถจะวิดน้ำให้หมดได้. มหาชนกลัวต่อมรณภัย ต่างก็พากันนมัสการเทวดาที่นับถือของตนๆ ร้องกันเซ็งแซ่
    พระมหาสัตว์กับ อุปัฏฐากคือคนใช้คนหนึ่ง ทาสรีระด้วยน้ำมัน เคี้ยวจุรณน้ำตาลกรวดกับเนยใสพอแก่ความต้องการแล้ว ให้อุปัฏฐากกินบ้าง แล้วขึ้นบนยอดเสากระโดงกับอุปัฏฐาก กำหนดทิศว่า เมืองของเราอยู่ข้างทิศนี้ เมื่อจะเปลื้องตนจากอันตรายจากปลาและเต่า จึงโดดล่วงไปสิ้นที่ประมาณอุสภะหนึ่ง พร้อมกับอุปัฏฐากนั้น
    มหาชนพากัน พินาศสิ้น ส่วนพระมหาสัตว์กับอุปัฏฐากพยายามว่ายข้ามมหาสมุทรไปได้ ๗ วัน วันนั้นเป็นวันอุโบสถ พระโพธิสัตว์ได้บ้วนปากด้วยน้ำเค็มแล้ว รักษาอุโบสถ
    ครั้ง นั้น นางเทพธิดาชื่อมณิเมขลา ท้าวโลกบาลทั้ง ๔ ตั้งไว้ให้พิทักษ์รักษาสมุทร ด้วยคำสั่งว่า ถ้าเรือมาแตกลง มนุษย์ที่ถือไตรสรณคมน์ก็ดี มีศีลสมบูรณ์ก็ดี ปฏิบัติชอบในมารดาบิดาก็ดี มาตกทุกข์ในสมุทรนี้ ท่านพึงพิทักษ์รักษาเขาไว้
    นางประมาทด้วยความเป็นใหญ่ของตนเสีย ๗ วัน พอถึงวันที่ ๗ นางตรวจดูสมุทรได้เห็นสังขพราหมณ์ประกอบด้วยศีลและอาจาระ เกิดสังเวชจิตคิดว่า พราหมณ์นี้ตกทะเลมาได้ ๗ วันแล้ว ถ้าพราหมณ์จักตายลง เราคงได้รับครหาเป็นอันมาก แล้วนางได้จัดถาดทองใบหนึ่งให้เต็มไปด้วยทิพยโภชนะอันมีรสเลิศต่างๆ เหาะไป ณ ที่นั้นโดยเร็ว ยืนอยู่บนอากาศตรงหน้าสังขพราหมณ์ กล่าวว่า ข้าแต่พราหมณ์ ท่านอดอาหารมา ๗ วันแล้ว จงบริโภคโภชนะทิพย์นี้เถิด.
    สังขพราหมณ์แลดู นางเทพธิดา แล้วกล่าวว่า จงนำภัตของท่านหลีกไปเถิด เรารักษาอุโบสถ. ลำดับนั้น อุปัฏฐากอยู่ข้างหลังไม่เห็นเทวดาได้ฟังแต่เสียง จึงคิดว่า พราหมณ์นี้เป็นสุขุมาลชาติโดยปกติ มาถูกอดอาหารลำบากเข้า ๗ วัน ชะรอยจะบ่นเพ้อเพราะกลัวตาย เราจักปลอบโยนเขา คิดดังนี้แล้ว
    จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า
    ข้า แต่ท่านสังขพราหมณ์ ท่านก็เป็นพหูสูต ได้ฟังธรรมมาแล้ว ทั้งสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ท่านก็ได้เห็นมา เหตุไรท่านจึงแสดงคำพร่ำเพ้อในขณะอันไม่สมควร คนอื่นนอกจากข้าพเจ้า ใครเล่าที่จะมาเจรจากับท่านได้?
    สังขพราหมณ์ได้ฟังคำของอุปัฏฐากแล้ว จึงคิดว่า ชะรอยเทวดานั้นจะไม่ปรากฏแก่เขา จึงกล่าวว่า แน่ะสหาย เรามิได้กลัวมรณภัย ผู้อื่นที่มาเจรจากับเรามีอยู่
    แล้วกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า
    นาง ฟ้าหน้างาม รูปสวยเลิศ ประดับด้วยเครื่องประดับทอง ยกถาดทองเต็มด้วยอาหารทิพย์ มาร้องเชิญให้เราบริโภค นางเป็นผู้มีศรัทธาและปลื้มจิต เราตอบกะนางว่า ไม่บริโภค
    ลำดับนั้น อุปัฏฐากได้กล่าวคาถาที่ ๓ แก่สังขพราหมณ์นั้นว่า
    ข้า แต่ท่านสังขพราหมณ์ วิสัยบุรุษผู้ยังปรารถนาความสุข ได้พบเห็นเทวดาเช่นนี้แล้ว ควรจะถามดูให้รู้แน่ ขอท่านจงลุกขึ้นประนมมือถามเทวดานั้นว่า นางเป็นเทวดาหรือมนุษย์

    พระโพธิสัตว์คิดว่า อุปัฏฐากพูดถูก เมื่อจะถามนางเทพธิดานั้น ได้กล่าวคาถาที่ ๔ ว่า
    เพราะ เหตุที่ท่านมาแลดูข้าพเจ้าด้วยสายตาอันแสดงความรัก ร้องเชิญให้ข้าพเจ้าบริโภคอาหาร ดูก่อนนางผู้มีอานุภาพใหญ่ ข้าพเจ้าขอถามท่านว่า ท่านเป็นเทวดาหรือมนุษย์?
    ลำดับนั้น นางเทพธิดาได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า
    ข้า แต่ท่านสังขพราหมณ์ ข้าพเจ้าเป็นเทวดาผู้มีอานุภาพมาก มาในกลางน้ำสาครนี้ ก็เพราะเป็นผู้มีความเอ็นดู จะได้มีจิตประทุษร้ายก็หาไม่ ข้าพเจ้ามาในที่นี้ ก็เพื่อประโยชน์แก่ท่านนั่นเอง
    ข้าแต่ท่านสังข พราหมณ์ ในสมุทรนี้มีข้าว น้ำ ที่นอน ที่นั่ง และยานพาหนะมากอย่าง ใจของท่านปรารถนาสิ่งใด ข้าพเจ้าจะให้สิ่งนั้นสำเร็จแก่ท่านทุกอย่าง
    พระ มหาสัตว์ได้ฟังดังนั้นแล้ว คิดว่า เทวดานี้กล่าวว่าจะให้อย่างนั้นอย่างนี้แก่เราในท้องน้ำ เธอปรารถนาจะให้ด้วยบุญกรรมที่เราทำไว้ หรือจะให้ด้วยพลานุภาพของตน เราจักถามดูก่อน
    เมื่อจะถาม ได้กล่าวคาถาที่ ๗ ว่า
    ข้าแต่เทพธิดา ผู้มีร่างงาม มีตะโพกผึ่งผาย มีคิ้วงาม ผู้เอวบางร่างน้อย ทานซึ่งเป็นส่วนบูชา และการเซ่นสรวงของข้าพเจ้า อย่างไรอย่างหนึ่งซึ่งมีอยู่ ท่านเป็นผู้สามารถรู้วิบากแห่งกรรมของข้าพเจ้าทุกอย่าง การที่ข้าพเจ้าได้ที่พึ่งในสมุทรนี้ เป็นวิบากแห่งกรรมอะไร?
    นางเทพธิดาได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงคิดว่า พราหมณ์นี้ชะรอยจะถามด้วยสำคัญว่าเรารู้กุศลกรรมที่เขาทำไว้ บัดนี้ เราจักกล่าวทานของเขา
    เมื่อจะกล่าว ได้กล่าวคาถาที่ ๘ ว่า
    ข้า แต่ท่านสังขพราหมณ์ ท่านได้ถวายรองเท้ากะพระภิกษุรูปหนึ่งผู้เดินกระโหย่งเท้า สะดุ้งลำบากอยู่ในหนทางอันร้อน ทักษิณานั้นอำนวยผลสิ่งน่าปรารถนาแก่ท่านในวันนี้

    พระมหาสัตว์ได้ฟัง ดังนั้นแล้ว มีจิตยินดีว่า การถวายรองเท้าที่เราได้ถวายแล้ว มาให้ผลที่น่าปรารถนาแก่เราทุกอย่างในมหาสมุทรอันหาที่พึ่งมิได้ แม้เห็นปานนี้ โอ! การที่เราถวายทานแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า เป็นการถวายที่ดีแล้ว
    จึงกล่าวคาถาที่ ๙ ว่า
    ขอจงมีเรือที่ต่อด้วย แผ่นกระดาน น้ำไม่รั่ว มีใบสำหรับพาเรือให้แล่นไป เพราะในสมุทรนี้ พื้นที่ที่จะใช้ยานพาหนะอย่างอื่นมิได้มี ขอท่านได้ส่งข้าพเจ้าให้ถึงเมืองโมลินี ในวันนี้เถิด
    นางเทพธิดาได้ฟังคำ ของพระโพธิสัตว์นั้นแล้ว มีจิตยินดี เนรมิตเรือขึ้นลำหนึ่งซึ่งแล้ว ไปด้วยแก้ว ๗ ประการ เรือลำนั้นยาว ๘ อุสภะ กว้าง ๔ อุสภะ ลึก ๒๐ วา มีเสากระโดง ๓ เสาแล้วไปด้วยแก้วอินทนิล มีสายระโยงระยางแล้วไปด้วยทอง มีรอกกว้านแล้วไปด้วยเงิน มีหางเสือแล้วไปด้วยทอง เทวดาเอารัตนะ ๗ ประการมาบรรทุกเต็มเรือ แล้วอุ้มพราหมณ์ขึ้นบนเรือที่ประดับแล้ว แต่มิได้เหลียวแลบุรุษอุปัฏฐากของพระโพธิสัตว์เลย
    พราหมณ์ได้ให้ส่วนบุญ ที่ตนได้กระทำไว้แก่อุปัฏฐาก อุปัฏฐากก็รับอนุโมทนา ทันใดนั้น เทวดาก็อุ้มอุปัฏฐากนั้นขึ้นเรือด้วย. ลำดับนั้น เทวดาก็นำเรือไปสู่โมลินีนคร ขนทรัพย์ขึ้นเรือนพราหมณ์ แล้วจึงไปยังที่อยู่ของตน
    พระศาสดาผู้ตรัสรู้แล้ว ได้ตรัสพระคาถานี้เป็นที่สุดว่า
    นาง เทพธิดานั้นมีจิตชื่นชมโสมนัสปราโมทย์ เนรมิตเรืออันงามวิจิตร แล้วพาสังขพราหมณ์กับบุรุษคนใช้มาส่งถึงเมือง อันเป็นที่สำราญรื่นรมย์
    แม้ พราหมณ์ก็ครอบครองคฤหาสน์ อันมีทรัพย์นับประมาณมิได้ ให้ทานรักษาศีลจนตลอดชีวิต ครั้นสิ้นชีวิตแล้ว พร้อมด้วยบริษัทได้ไปเกิดในเทพนคร
    พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรงประกาศสัจธรรม เวลาจบสัจจะ อุบาสกดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล


    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
    ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  20. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]






    บทที่ ๑๖ ชาวอีสาน

    ชีวิตของคนชาวอีสานเป็นวิถีชีวิตที่ดำเนินไปตามครรลองของจารีตประเพณี
    ซึ่งได้นับถือและปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่ครั้งปู่ย่าตายาย
    นับแต่พระพุทธศาสนาได้เผยแพร่เข้ามาที่ประเทศไทยตั้งแต่อดีต
    และได้หยั่งรากลึกลงอย่างมั่นคงถาวรจนเป็นศาสนาประจำชาติ
    ถึงแม้ชาวอีสานรุ่นก่อนๆได้มีคตินับถือผีและเทพไท้เทวาตามความเชื่อของพวกตน
    แต่เมื่อศาสนาพุทธได้เผยแพร่เข้ามาถึงภาคอีสานแล้ว
    คนอีสานผู้เฒ่าผู้แก่ก็ได้น้อมนำคำสอนซึ่งเป็นแก่นแท้ของศาสนา
    นำมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตของพวกตน
    เพราะคลองสิบสี่หรือครรลองสิบสี่อย่างเป็นคำสอนที่ให้ชาวอีสานทุกคน
    รู้จักเคารพนับถือซึ่งกันและกันในสังคมแห่งตนระหว่างผู้ใหญ่และผู้น้อย
    ความที่สังคมยังคงความมีลักษณะปฏิสัมพันธ์ที่เป็นไปแบบใกล้ชิด
    ทำให้สังคมของชาวอีสานสามารถสืบทอดวัฒนธรรมของตนมาได้อย่างไม่ขาดสาย
    นอกจากการยอมรับนับถือกันอย่างแนบแน่นในวงศ์วานว่านเครือพวกตนแล้ว
    ชาวอีสานยังได้สืบสานสร้างจารีตหรือฮีตสิบสองซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของตนขึ้นมา
    ด้วยการร่วมใจกันไปเข้าวัดและทำบุญตามฤดูเทศกาลของชาวพุทธ
    และบุญบางอย่างก็ร่วมกันทำขึ้นเป็นที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของพวกตน
    เช่นบุญบั้งไฟในเดือนหกเป็นการทำบุญที่เป็นไปตามคติความเชื่อตั้งแต่ครั้งในอดีต
    ที่พญาคันคากได้ขึ้นไปรบกับพระอินทร์เพราะฝนฟ้าไม่ตก
    การทำบุญดังกล่าวเป็นการบูชาแถนหรือพระอินทร์เพื่อขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล
    จึงเป็นเรื่องปกติเมื่อถึงเทศกาลในวันทำบุญใหญ่หรือแม้แต่วันพระทั่วๆไป
    ก็จะเห็นชาวบ้านใส่ชุดขาวเดินกันมาเป็นกลุ่มๆหาบตระกล้าใส่ของมาทำบุญที่วัด
    ก่อนพระภิกษุจะขึ้นฉันจังหันเช้า
    ก็จะเห็นพวกพ่อออกแม่ออกทั้งหลายช่วยกันจัดดอกไม้ใส่ในแจกัน
    และเห็นควันธูปเทียนลอยคลุ้งเต็มไปทั่วศาลาวัด
    ตกเย็นชาวบ้านที่ว่างเว้นจากการทำงานก็จะมานอนอยู่ที่วัดเพื่อรักษาอุโบสถศีล
    วิถีชีวิตของชาวอีสานจึงเป็นวิถีที่ผูกพันกับวัดวาอารามมาอย่างแยกไม่ออก
    จึงกล่าวได้ว่าสังคมของชาวอีสาน
    เป็นสังคมของวิถีชาวพุทธอย่างแท้จริงเสมอมา



    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
    ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     

แชร์หน้านี้

Loading...