สมาธิทำให้วิกรม กรมดิษฐ์ค้นพบตัวตนที่แท้จริง

ในห้อง 'พุทธศาสนากับคนดัง' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 6 พฤษภาคม 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,489
    ' สมาธิ'ทำให้วิกรม กรมดิษฐ์'ค้นพบตัวตนที่แท้จริง'

    [​IMG]

    "การบวชทำให้ผมได้รู้จักตัวตนที่แท้จริงของคนเรา ผมมีความรู้สึกว่ามีความเข้าใจตัวเองมากขึ้น พอผมเข้าใจตัวเองมากขึ้น ก็พบว่าเรามีสติสัมปชัญญะ หากเราทำอะไรที่ถูกต้องและ ดีอย่างมีสติ พอทำได้ก็ทำให้เราเกิดความสงบ มีสมาธิมากขึ้น เรียกได้ว่าหลักธรรม สมาธิช่วยทำให้ผมฉลาด มีความคิดแนวปรัชญา"
    นี่เป็นหลักธรรมชีวิตที่ นายวิกรม กรมดิษฐ์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) ได้จากการอยู่ในร่มกาสาวพัสตร์ เมื่อครั้งได้ตัดสินใจเดินหาพระธรรมในเวลาเที่ยงคืนวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๔๗
    วิกรม กล่าวถึงเหตุผลที่ต้องบวชในเวลาเที่ยงคืนว่า เพราะเวลาดังกล่าวเป็นเวลาคาบเกี่ยววันอังคารกับวันพุธพอดี จึงเป็นเวลาที่ตรงกับอายุที่ครบ ๕๐ ปีพอดี ไม่ได้จัดงานอะไรเพียงแต่บวชกับพระอุปัชฌาย์เท่านั้น โดยได้รับฉายาว่า "โชติกโรภิกขุ" หมายถึง "ผู้ที่มีปัญญาและ ผู้ที่มีความอดทนต่อสิ่งที่นำไปสู่การเป็นคนดี"
    ทั้งนี้มีความตั้งใจว่าจะบวชเป็นเวลา ๑ เดือน โดยได้เดินทางไปจำวัด อยู่ที่วัดอาวุธฯ ซอยจรัญสนิทวงศ์ ๗๒ บางพลัด กรุงเทพฯ เป็นเวลา ๑ สัปดาห์ จากนั้นได้เดินทางไปจำวัดอยู่ที่วัดแห่งหนึ่งใน จ.เชียงใหม่ เพื่อปฏิบัติธรรมด้วยการเดินธุดงค์กับการค้นหาความเงียบสงบ เป็นหนทางสัจธรรมชีวิตที่ไม่มีความวุ่นวาย กระทั่งพระอาจารย์ได้มาแนะแนวหนทางสงบด้วยการนั่งสมาธิ
    [​IMG]

    การนั่งสมาธิทำให้เราได้รู้จักตัวตนที่แท้จริงของตัวเอง เป็นการสอนให้เราได้ฝึกการทำสมาธิ โดยไม่ได้ฝึกฝนจิตเพียงอย่างเดียว แต่การฝึกฝนอบรมจิตนี้หากคนเราไม่ฝึกฝนก็ไม่มีวันเป็นสมาธิได้ แล้วไม่มีใครทำให้ได้ด้วย ไม่เหมือนสิ่งอื่น วัตถุอื่น เช่น ทำสวนทำไร่ทำนา รวมทั้งทำการงานต่างๆ คนอื่นทำให้ได้ แต่การทำสมาธิคนอื่นทำให้ไม่ได้ ตนเองทำจึงจะได้ แล้วเห็นด้วยตนเอง คนอื่นไม่เห็น
    ด้วยเหตุนี้เอง พระอาจารย์ที่สอนบอกว่า การทำสมาธินั้นจะว่ายากก็ยาก จะว่าง่ายก็ง่าย ที่ว่ายากคือจิตใจของเรานั้นไม่เป็นสมาธิ และทำอย่างไรจึงจะเป็นสมาธิ มันก็ยากเหมือนกัน แต่ที่ว่าง่ายก็คือ มันไม่ต้องการอะไร ไม่อยากอะไร ปล่อยวางเฉยๆ ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องต่างๆ เรื่องราวต่างๆ มันก็อยู่ตามเรื่องของมัน เมื่อจิตมันวาง อารมณ์ต่างๆ มันก็สงบนิ่งเป็นสมาธิ ไม่ได้นึกได้คิดว่าจะเป็นแต่ว่ามันเป็นเอง นั่นแหละที่พระอาจารย์สอนว่าง่ายก็ง่าย
    วิกรมได้ถ่ายทอดหลักการทำสมาธิระหว่างที่บวชพระให้ฟังว่า "พระอาจารย์บอกหัดให้มันได้อย่างนี้บ่อยๆ เชื่อว่าจะทำให้จิตของเราแก่กล้า ทำจิตของเราให้เป็นคนแก่คนเฒ่า มันจะหมดเรื่อง แล้วคราวนี้ไม่มีกังวลเกี่ยวข้องอะไรเลย ผมรู้สึกว่าชีวิตอยู่สงบดี ข้าวของเงินทองสมบัติพัสถานอะไรทั้งปวงทั้งหมดไม่มีในที่นั้นก็จริง แต่มันก็ยังอยู่ ท่านสอนให้เราไม่คิดไม่นึก ที่สุดของพุทธศาสนาอยู่ตรงนั้นแหละ อย่าไปหาที่อื่นเลย ไปเห็นตรงนั้นแล้วมันหมดที่ไป แล้วถ้าทำได้ก็เหมือนเป็นการรวมจิตใจให้เป็นหนึ่งจิตใจก็จะสู่ความสงบนิ่ง เชื่อไหมว่าหัวสมองเรามันมีตัวตน มันเป็นตัวเองมากทีเดียว ทำให้จิตใจนิ่งไม่วุ่นวาย ความคิดดีๆ ก็ตามมา"
    สำหรับพระเครื่องนอกจากจะให้คนเราได้แขวนติดตัวเพื่อระลึกนึกถึงพระพุทธเจ้า หรือเป็นสิ่งที่คอยยึดเหนี่ยวจิตใจของคนเราให้กระทำแต่ความดี ส่วนในเรื่องของพระพุทธรูปยิ่งมีความสุขมากขึ้นทุกครั้งที่ได้เห็นหน้าองค์พระ เพราะมองท่านครั้งใดก็ทำให้สบายตา สบายใจ มีความสุขทางใจไม่น้อย ตรงนี่เองจึงเป็นที่มาของการไม่แขวนพระเครื่อง
    [​IMG]

    นอกจากนี้ ชีวิตครั้งหนึ่งเคยเชื่อในเรื่อง เครื่องรางของขลังแบบสุดโต่ง ที่เป็นเช่นนี้อาจมาจากการ ทำงานซึ่งต้องขับรถอยู่กับไร่ เข้าป่าบ่อยครั้ง จึงคิดว่ามีความจำเป็นต้องมีสิ่งเหล่านี้ติดตัว ไม่ว่าจะเป็นบทสวดมนต์ คาถาอาคม ผ้ายันต์ ตะกรุด พระเครื่อง เหรียญของหลวงพ่อต่างๆ สาลิกาลิ้นทอง ขุนแผนแสนเสน่ห์ เหล็กไหล ฯลฯ ความศรัทธาทำให้ไม่ยอมที่จะลอดราวตากผ้าเนื่องจากกลัวว่าของที่อยู่ติดตัวจะเสื่อมความขลัง
    "ไม่รู้ว่าตอนนั้นมีความเชื่อในเรื่องหนังเหนียว อยู่ยงคงกระพัน ตีฟันแทงไม่เข้า กระทั่งยอมเจ็บตัวไปนอนให้อาจารย์สักยันต์จนเต็มแผ่นหลังในวันเสาร์ขึ้น 5 ค่ำ และปัจจุบันก็หวนกลับไปคิดถึงความเชื่อในครั้งนั้นว่าเป็นความเชื่อที่งมงาย วันนี้คิดได้ว่าทุกอย่างที่เกิดขึ้นอยู่กับการกระทำของเรา" วิกรม กล่าวพร้อมกับเล่าถึงประสบการณ์ของรอยสักยันต์บนแผ่นหลังให้ฟังว่า
    [​IMG]

    หลายครั้งมีเหตุการณ์ที่ทำหนักให้เป็นเบาเกี่ยวกับยันต์ที่สักไว้ ครั้งแรกเกิดขึ้นที่ไต้หวัน เมื่อครั้งอดีตแฟนคนหนึ่งกับน้องสาวกำลัง ถูกกลุ่มวัยรุ่นมารังแกตอนไปว่ายน้ำ ทุกอย่างจบลง เมื่อกลุ่มวัยรุ่นพวกนั้นเห็น รอยสักเต็มแผ่นอกและแผ่นหลัง แม้ว่าก่อนหน้านี้ไม่เคยเปิดโชว์ใคร ทำให้พวกนี้เผ่นหนีทันที ซึ่งมารู้ตอนหลังว่า พวกนี้จะกลัวมากเพราะ คนที่สักยันต์มีแต่พวกยากูซ่าเท่านั้น อีกครั้งเมื่อรู้ว่าเพื่อนๆ ที่เป็นนักเรียนอาชีวะจะถูกนักเลงอัดตะลุมบอน จึงนัดล้างแค้นกันที่มหาวิทยาลัยชิงหัว ทันทีที่พวกนั้นมาถึงยังไม่ทันได้ลงมือ ได้เห็นรอยสักเต็มแผ่นหลังก็เผ่นหนีกลับไปเช่นกัน "กว่าสองพันปีแห่งปรัชญาที่ว่า คิดดี พูดดี ทำดี ของพระพุทธเจ้าว่าท่านตรัสรู้อย่างไร เพื่อที่จะมาปรับปรุงให้ชีวิตนี้ให้ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ ชีวิตนี้ไม่ต้องการอะไรไปมากกว่าความภูมิใจและความสุข อะไรที่ทำได้ก็อยากทำ ก่อนที่จะปิดตาตัวเอง เป็นการทดสอบความเป็นอมตะที่แท้จริงขององค์กรเราว่าไม่ยึดติดกับคน องค์กรใดผูกติดกับคนหนึ่งคนใด องค์กรนั้นไม่ยั่งยืน สองปีที่ผ่านมาไม่ได้เข้าสำนักงานเลยแล้วให้เป้าหมายนโยบายแก้ไข เขาก็ทำได้ดี และทำให้เห็นว่าค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน ถ้าองค์กรไม่มีจุดนั้นก็คงไม่ยั่งยืน" วิกรมกล่าวทิ้งท้าย


    ที่มา ..
    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...