วิมุตติ ก้บ นิพพาน ต่างกันอย่างไรครับ(ขอโอกาสถามครับ)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย thepkere, 13 มิถุนายน 2013.

  1. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก
    พึงถามอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลายธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นมูล มีอะไรเป็นแดนเกิด ... มีอะไร
    เป็นที่หยั่งลง มีอะไรเป็นที่สุด เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์แก่อัญญเดียรถีย์
    ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย

    ธรรมทั้งปวงมีฉันทะเป็นมูล
    มีมนสิการเป็นแดนเกิด
    มีผัสสะเป็นเหตุเกิด
    มีเวทนาเป็นที่ประชุมลง
    มีสมาธิเป็นประมุข
    มีสติเป็นใหญ่
    มีปัญญาเป็นยิ่ง
    มีวิมุตติเป็นแก่น
    มีอมตะเป็นที่หยั่งลง
    มี นิพพานเป็นที่สุด


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์แก่อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้แล ฯ

    จบสูตรที่ ๘
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๔
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
    หน้าที่ ๙๗/๓๓๓
     
  2. blackangel

    blackangel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,750
    ค่าพลัง:
    +1,919
    ตอบตามความเข้าใจส่วนตัวนะครับ (ผิดพลาดไงขออภัย)

    วิมุตติ ความหลุดพ้น เป็นแก่น >เป็นสาระสำคัญ อะไรประมาณนั้น

    วิมุตติ เท่าที่เคยอ่านทราบมา ผมรู้จักแค่ 2 ตัว



    แต่หาดูๆเพิ่มเติมมีหลายวิมุตติเลยและมีอธิบายเพิ่มอีกเยอะเลย
    http://www.84000.org/tipitaka/book/nana.php?q=32


    ตามความเข้าใจผมคิดว่า
    เหมือนวิมุตติเป็น วิธีการ และใช้เรียก ความหลุดพ้นแบบต่างๆโดยวิธีไหน แต่ยังไงแล้วก็มีนิพพานเป็นที่สุด (เป็นเป้าหมาย)

    เหมือนการขับพาหนะต่างๆเช่น เรือ รถ
    ก็ต้องเริ่มจากการฝึกหัดขับรถ แล้วก็ขับรถเป็น แล้วในที่สุดก็ขับรถไปถึงจุดหมาย

    คงคล้ายๆกับคำถามที่ว่า เดินทางไป จังหวัดนี้ยังไง ก็สามารถที่จะตอบได้ว่า นั่งเรือ นั่งรถ นั่งเครื่องบิน ไปอะไรทำนองนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มิถุนายน 2013
  3. AYACOOSHA

    AYACOOSHA เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    368
    ค่าพลัง:
    +2,253
    การที่เรา ๆท่าน ๆ ศึกษาพระธรรมนี้ มี วิมุติ เป็นจุดหมาย เมื่อสำเร็จวิมุติแล้ว..ก็มีนิพพานรออยู่ ซึ่งเป็นผลที่สืบเนื่องมาจากการถึงวิมุติ ของเรา กล่าวคือ วิมุติคือเหตุ และ นิพานคือผลจากการถึงวิมุติ (ความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ ผิดถูกอย่างไรต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย ) สวัสดี
     
  4. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อุปมาเหมือนการกระโดดข้ามร่องน้ำ
    ขณะที่กำลังกระโดดเมื่อเท้าพ้นพื้น ตัวลอยอยู่นั้น อุปมาได้ดัง วิมุต
    ขณะที่ถึงอีกฝั่งหนึ่งเรียบร้อยดี อุปมาเหมือน นิพพาน

    ไม่รู้ว่าอุปมานี้จะใช้ได้หรือเปล่านะ
     
  5. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    (วิมุตติญาณทัสนะ กับ วิมุตติ เป็นสิ่งเดียวกันหรือไม่ใช่สิ่งเดียวกันครับ)
    ดูกรอานนท์
    ศีลที่เป็นกุศลมีความไม่เดือดร้อนเป็นผล มีความไม่เดือดร้อนเป็นอานิสงส์
    ความไม่เดือดร้อน มีความปราโมทย์เป็นผล มีความปราโมทย์เป็นอานิสงส์
    ความปราโมทย์มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์
    ปีติมีปัสสัทธิเป็นผลมีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์
    ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์
    สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์
    สมาธิมียถาภูตญาณทัสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสนะเป็นอานิสงส์
    ยถาภูตญาณทัสนะมีนิพพิทาเป็นผล มีนิพพิทาเป็นอานิสงส์
    นิพพิทามีวิราคะเป็นผล มีวิราคะเป็นอานิสงส์
    วิราคะมีวิมุตติญาณทัสนะเป็นผลมีวิมุตติญาณทัสนะเป็นอานิสงส์

    ด้วยประการดังนี้แล ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศลย่อมยังความ
    เป็นพระอรหันต์ให้บริบูรณ์โดยลำดับ ด้วยประการดังนี้แล ฯ

    จบสูตรที่ ๑
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๔
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
    หน้าที่ ๒๘๘/๓๓๓
     
  6. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,650
    ค่าพลัง:
    +20,326
    ==========

    วิมุตติคือเหตุ นิพพานคือผลแห่งวิมุตติ เมื่อใดผู้ใดถึงพร้อมด้วยวิมุตติ ผู้นั้นย่อมได้รับผลผลแห่งวิมุตตินั้นคือพระนิพพานครับ
     
  7. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    นิพพิทามีวิราคะเป็นผล มีวิราคะเป็นอานิสงส์
    วิราคะมีวิมุตติญาณทัสนะเป็นผลมีวิมุตติญาณทัสนะเป็นอานิสงส์
    ..

    วิราคะจัดอยู่ในมรรคก็ได้จ๊ะ
    มีวิมุุตติญาณทัศนะ (ญาณทัศนะคือความรู้เห็นตามจริง) ญานรู้เห็นในความหลุดพ้น เป็นผลเป็นอานิสงส์


    ยุคนัทธวรรค วิราคกถา
    [๕๘๘] วิราคะเป็นมรรค วิมุติเป็นผล วิราคะเป็นมรรคอย่างไร
    ในขณะโสดาปัตติมรรค สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ย่อมคลายจากมิจฉา-
    *ทิฐิ จากกิเลสอันเป็นไปตามมิจฉาทิฐินั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก
    วิราคะ (มรรค) มีวิราคะ (นิพพาน) เป็นอารมณ์ มีวิราคะเป็นโคจร เข้ามา
    ประชุมในวิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประดิษฐานอยู่ในวิราคะ วิราคะในคำว่า
    วิราโค นี้มี ๒ คือ นิพพานเป็นวิราคะ ๑ ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะสัมมาทิฐิมี
    นิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิราคะ ๑


    อ่านต่อ...
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=31&A=8692&Z=8832
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มิถุนายน 2013
  8. พูน

    พูน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    595
    ค่าพลัง:
    +2,479
    ใช้ได้ครับ แบบนั้นล่ะ
    ผู้คนมากมายพร่ำเรียกหานิพพาน เพื่อหมดทุกข์ แต่ไม่ได้อยู่ไกลเลย เพียงเข้าใจสภาวะธรรมต่างๆรอบข้าง และวางเฉยเสียเท่านั้น
    เพราะมีสิ่งนี้จึงมีสิ่งนั้น - เหตุปัจจฺโย
     
  9. โฮดี้โจนส์

    โฮดี้โจนส์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,152
    ค่าพลัง:
    +1,487
    อธิบายดั้งนี้ครับ ที่ว่ามีวิมุมติเป็นแก่น ก็คือ แก่นคำสอนในพระพุทธศาสนานี้มุ่งปลดปล่อยจิตของมนุษย์ให้เป็นอิสระ หรือหลุดพ้นไป นั้นแหละคือ การว่ามีมีวิมุตติเป็นแก่น การปฏิบัติในอริยมรรคมีองค์ 8 แปดก็เพื่อปลดปล่อยจิตของมนุษย์ให้เป็นอิสระจากเครื่องร้อยรัด นี้คือผลของมรรคและ เมื่อจิตมันเป็น(หรือเผยด้านที่)อิสระจากเกิดตาย (จะเรียกสังสารวัฏก็ได้เพราะอวิชชาดับไม่เหลือเชื้อ) มันก็เผยหรือหยั่งลงซึ่งความเป็นอมตะ(ด้วยตัวมันเองนี้เป็นกฏธรรมชาตินิพพาน(อมตะเป็นลักษณะของนิพพาน)จึ่งไม่ไปไม่มาแต่ต้องหยี่งลงไป)และนั้นแหละจุดสิ้นสุด(ของทุกข์ ของสังสารวัฏ)หรือนิพพาน ขอให้สังเกตว่านิพพานไม่ใช่ผลของการปฏิบัติตามอริยมรรค ตัวผลนั้นคือวิมมุติ เพราะถ้านิพพานเป็นผลจากอะไร มันจะเข้าข่ายตกอยู่ในอำนาจของการเป็นสิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมา

    ปล.ไม่ควรตีความคำอธิบายนี้ ในเชิงว่าผู้บรรลุธรรมแล้วเป็นอมตะ เหมือนพระเจ้าในศาสนาเทวนิยมไม่แก่ไม่ตาย เป็นตัวตนบนสวรรค์ชั้นฟ้า แดนสุขาวดี เมืองแก้ว อะไรทำนองนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มิถุนายน 2013
  10. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    วิมุตติ หมายความว่า หลุดพ้นจากกิเลส
    นิพพาน หมายความว่า ว่างเปล่าจากกิเลส
    สองความหมายนี้ผมแปลตามที่หลวงปู่สาวกโลกอุดรท่านสอนไว้ อาจจะไม่เหมือนที่ตำราเขาแปลไว้
    ทั้งวิมุตติและนิพพานก็คือสิ่งเดียวกัน ทั้งนี้มีคำเรียกอื่นอีกนะครับเช่นว่า อนัตตาธาตุ วิสังขาร อัพยาจิต นิโรธธรรม เช่นนี้หลวงปู่ก็แสดงว่าเป็นสิ่งเดียวกัน เพียงแต่ว่าจะอธิบายจากมูลฐานใดเท่านั้น
    เจริญในธรรมครับ
     
  11. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    ขอบคุณในความรู้ที่ทุกท่านให้มาจะเก็บไปศึกษาต่อไปตามภูมิความรู้ของตัวเองที่ยังน้อยมาก
     
  12. ลูกแม่ปลีก

    ลูกแม่ปลีก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2012
    โพสต์:
    61
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +465
    วิมุตติ ความหลุดพ้น, ความพ้นจากกิเลส มี ๕ อย่าง คือ
    ๑. ตทังควิมุตติ พ้นด้วยธรรมคู่ปรับหรือพ้นชั่วคราว
    ๒. วิกขัมภนวิมุตติ พ้นด้วยข่มหรือสะกดได้
    ๓. สมุจเฉทวิมุตติ พ้นด้วยตัดขาด
    ๔. ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ พ้นด้วยสงบ
    ๕. นิสฺสรณวิมุตติ พ้นด้วยออกไป;

    ๒ อย่างแรก เป็น โลกิยวิมุตติ
    ๓ อย่างหลังเป็น โลกุตตรวิมุตติ

    นิโรธ 5 (ความดับกิเลส, ภาวะไร้กิเลสและไม่มีทุกข์เกิดขึ้น)
    1. วิกขัมภนนิโรธ (ดับด้วยข่มไว้ คือ การดับกิเลสของท่านผู้บำเพ็ญฌาน ถึงปฐมฌาน ย่อมข่มนิวรณ์ไว้ได้ ตลอดเวลาที่อยู่ในฌานนั้น)
    2. ตทังคนิโรธ (ดับด้วยองค์นั้นๆ คือ ดับกิเลสด้วยธรรมที่เป็นคู่ปรับหรือธรรมที่ตรงข้าม เช่น ดับสักกายทิฏฐิด้วยความรู้ที่กำหนดแยกนามรูปออกได้ เป็นการดับชั่วคราวในกรณีนั้นๆ)
    3. สมุจเฉทนิโรธ (ดับด้วยตัดขาด คือ ดับกิเลสเสร็จสิ้นเด็ดขาด ด้วยโลกุตตรมรรค ในขณะแห่งมรรคนั้น ชื่อสมุจเฉทนิโรธ)
    4. ปฏิปัสสัทธินิโรธ (ดับด้วยสงบระงับ คือ อาศัยโลกุตตรมรรคดับกิเลสเด็ดขาดไปแล้ว บรรลุโลกุตตรผล กิเลสเป็นอันสงบระงับไปหมดแล้ว ไม่ต้องขวนขวายเพื่อดับอีก ในขณะแห่งผลนั้นชื่อ ปฏิปัสสัทธินิโรธ)
    5. นิสสรณนิโรธ (ดับด้วยสลัดออกได้ หรือดับด้วยปลอดโปร่งไป คือ ดับกิเลสเสร็จสิ้นแล้ว ดำรงอยู่ในภาวะที่กิเลสดับแล้วนั้นยั่งยืนตลอดไป ภาวะนั้นชื่อนิสสรณนิโรธ ได้แก่อมตธาตุ คือ นิพพาน
    )


    ปหาน 5 (การละกิเลส), วิมุตติ 5 (ความหลุดพ้น), วิเวก 5 (ความสงัด, ความปลีกออก), วิราคะ 5 (ความคลายกำหนัด, ความสำรอกออกได้), โวสสัคคะ 5 (ความสละ, ความปล่อย) ก็อย่างเดียวกันนี้ทั้งหมด


    ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม และประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
    อ้างอิง :- ขุ.ปฏิ. 31/65/39; 704/609; วิสุทธิ. 2/249.
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
    http://www.84000.org/tipitaka/read/?31/704/609
    http://www.84000.org/tipitaka/read/?31/65/39
     
  13. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,606
    ค่าพลัง:
    +1,817
    เป็นเพียงภาษาใช้เรียกขั้นตอนของการปฏิบัติขอรับ กล่าวคือ
    เมื่อถึง วิมุตติ สำเร็จ วิมุตติ ทั้งมวล ก็แสดงว่า บรรลุ นิพพาน หรือ สำเร็จนิพพานขอรับ
     
  14. ลูกแม่ปลีก

    ลูกแม่ปลีก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2012
    โพสต์:
    61
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +465
    :VO:VO:VO

    ว่าด้วยธรรมทั้งปวง ~ มูลกสูตร
    ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเหล่าอัญเดียรถีย์ ปริพาชก พึงถามอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นมูล? มีอะไรเป็นแดนเกิด? ... มีอะไรเป็นที่หยั่งลง? มีอะไรเป็นที่สุด? พวกเธอถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงตอบชี้แจงแก่อัญเดียรถีย์ ปริพาชก เหล่านั้นอย่างนี้ว่า แน่ะ ท่านมีอายุ
    ๑. ธรรมทั้งปวงมี ฉันทะเป็นมูล (ฉนฺทมูลกา อาวุโส สพฺเพ ธมฺมา)
    ๒. ธรรมทั้งปวงมี มนสิการเป็นแดนเกิด (มนสิการสมฺภวา สพฺเพ ธมฺมา)
    ๓. ธรรมทั้งปวงมี ผัสสะเป็นที่ก่อตัวขึ้น-เป็นเหตุ (ผสฺสสมุทยา สพฺเพ ธมฺมา)
    ๔. ธรรมทั้งปวงมี เวทนาเป็นที่ประชุมลง-ที่รวมลง (เวทนาสโมสรณา สพฺเพ ธมฺมา)
    ๕. ธรรมทั้งปวงมี สมาธิเป็นประมุข (สมาธิปมุขา สพฺเพ ธมฺมา)
    ๖. ธรรมทั้งปวงมี สติเป็นใหญ่ (สตาธิปเตยฺยา สพฺเพ ธมฺมา)
    ๗. ธรรมทั้งปวงมี ปัญญาเป็นยอดยิ่ง (ปญฺญุตฺตรา สพฺเพ ธมฺมา)
    ๘. ธรรมทั้งปวงมี วิมุตติเป็นแก่นสาร (วิมุตฺติสารา สพฺเพ ธมฺมา)
    ๙. ธรรมทั้งปวงมี อมตะเป็นที่หยั่งลง (อมโตคธา สพฺเพ ธมฺมา)
    ๑๐. ธรรมทั้งปวงมี นิพพานเป็นสุดท้าย (นิพฺพานปริโยสานา สพฺเพ ธมฺมาติ)


    ที่มา พระไตรปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต 24/58/128-129 มูลกสูตร
    Dhammasala 卍 ธรรมศาลา • แสดงกระทู้ - ว่าด้วยธรรมทั้งปวง ~ มูลกสูตร

    _Friend__Friend__Friend_

    อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ สจิตตวรรคที่ ๑
    ๘. มูลสูตร

    ในบทว่า อมโตคธา นี้ ตรัส สอุปาทิเสสนิพพานธาตุไว้.
    ในบทว่า นิพฺพานปริโยสานา นี้ ตรัส อนุปาทิเสสนิพพานธาตุไว้.
    ด้วยว่า ภิกษุบรรลุอนุปาทิเสสนิพพานแล้ว ย่อมชื่อว่าบรรลุที่สุดธรรมทุกอย่าง.

    ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=58

    wel lcome_pinkwel lcome_pinkwel lcome_pink

    นิพพานธาตุ ภาวะแห่งนิพพาน;
    นิพพาน หรือ นิพพานธาตุ ๒ คือ
    ๑. สอุปาทิเสสนิพพาน ดับกิเลสมีเบญจขันธ์เหลือ
    ๒. อนุปาทิเสสนิพพาน ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ


    ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

    wel lcome_mokeywel lcome_mokeywel lcome_mokey

    ขอให้ดูรายละเอียดในนิโรธ ๕ (วิมุตติ ๕) ข้อ ๓ และ ๔ เมื่อเทียบกับวิปัสสนาญาณ ๑๖ แล้ว น่าจะเป็น มัคคญาณ และผลญาณ ตามลำดับ
    ส่วนข้อ ๕ ได้กล่าวถึง อมตธาตุ คือ นิพพาน จึงน่าจะเป็นปัจจเวกขณญาณ หรือ อรหันต์ที่ออกจากปัจจเวกขณญาณแล้ว

    ในอรรถกถาของสูตรนี้ระบุชัดเจนว่า
    อมตะเป็นที่หยั่งลง คือ สอุปาทิเสสนิพพาน ดับกิเลสมีเบญจขันธ์เหลือ
    นิพพานเป็นสุดท้าย คือ อนุปาทิเสสนิพพาน ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ
    ในเมื่อคำว่า "อมตะเป็นที่หยั่งลง และ นิพพานเป็นสุดท้าย" อรรถกถาจารย์ได้กำหนดให้เป็นนิพพานธาตุไปแล้ว คือ เป็นข้อ ๕ ในนิโรธ ๕
    ดังนั้น คำว่า วิมุตติเป็นแก่นสาร ก็น่าจะเป็น ข้อ ๓ และ ๔
    กล่าวคือ วิมุตติเป็นแก่นสาร คือ มัคคญาณและผลญาณนั่นเอง


    ถามว่า เฉพาะในพระสูตรนี้ วิมุตติกับนิพพานต่างกันอย่างไร
    ตอบว่า วิมุตติ คือ หมดกิเลส ขณะอยู่ในวิปัสสนาญาณและมีเบญจขันธ์
    นิพพาน คือ หมดกิเลส ไม่มีเบญจขันธ์


    ขอย้ำว่า คำอธิบายนี้ อธิบายได้เฉพาะพระสูตรนี้เท่านั้น
    อีกอย่าง ความเห็นนี้เป็นความเห็นส่วนตัวครับ แค่คุยเป็นเพื่อนเท่านั้น
     
  15. มังคละมุนี

    มังคละมุนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +608
    ยาน กับ ญาณ

    ยาน แปลว่า พาหนะ เครื่องใช้สำหรับพาไป เวลาใช้งาน มีลักษณะแล่นไป เช่น รถ เรือ เรือดำน้ำ เครื่องบิน ยานอวกาศ
    ใช้แล่นไป-หยั่งไป ในสถานที่ๆต้องการ เป็นยานฝ่ายรูปธรรม

    ญาณ แปลว่า ปัญญา เครื่องหยั่งไปรู้ ความสามารถในการรู้ เวลาใช้งาน มีลักษณะแล่นไป หรือ หยั่งไป หรือ หยั่งลง
    ใช้แล่นไปรู้-หยั่งไปรู้ ในสิ่งที่ต้องการรู้ เป็นญาณฝ่ายนามธรรม

    ด้วยความคล้ายกัน ในลักษณะการทำงาน คือ ความแล่นไปหรือหยั่งไป ท่านจึงมีคำว่า ยาน และ ญาณ
    ยาน สำหรับ ฝ่ายรูป
    และ
    ญาณ สำหรับ ฝ่ายนาม

    วิมุตติ = อาการที่หลุดออก หลุดพ้น โดยทั่วไปท่าน มุ่งถึง การหลุดออกจากกิเลส-ตัณหา การหลุดพ้นจากสังโยชน์ทั้งปวง
    ญาณ = ปัญญา ความหยั่งรู้
    ทัสสนะ = เห็น

    วิมุตติ = หลุดพ้น พ้นจากสังโยชน์๑๐
    วิมุตติญาณทัสสนะ = การรู้การเห็น สิ่งที่ตนเองได้หลุดพ้น ตรงตามความหมายของพระบาลีที่ว่า ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ แปลว่า เป็นสิ่งที่ผู้รู้ ก็รู้ได้เฉพาะตนดังนี้

    หรือในอีกความหมายหนึ่งว่า วิมุตติญาณทัสสนะ ก็คือ การรู้การเห็นว่าตนเองได้หลุดพ้นแล้ว

    แต่ สิ่งที่พึงระวังให้มาก คือ
    มิจฉาวิมุตติ และ มิจฉาวิมุตติญาณทัสสนะ อันตรายมากๆ

    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มีนาคม 2015
  16. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    จ๊ะๆๆๆ ยิ้ม
     
  17. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    หลวงปู่ดุลย์ บอกว่า วิมุติ คือ สภาวะจิตที่ว่างเปล่า ไม่มี
    ไม่เป็น ไม่เหลือความคิดอะไรเลย.............
     
  18. จิ-โป

    จิ-โป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,006
    ค่าพลัง:
    +2,196
    ถ้าผมว่ายังงี้จะผิดใหม
    ผมว่าตีความตามตัวอักษร มันเลยผิดไปหมด
    อย่างสภาวะที่ผมทำ ผมเอาตัวสมาธิมาเป็นตัวแก่นแล้วจึงเอาไปตีความตาม
    อักษรว่ามันถูกทางใหม

    เช่น วิมุตติที่เป็นแก่น ก็คือเมื่อเราเข้าสภาวะนั้นแล้ว อันนี้เป็นสภาวะที่เกิดจาก
    อารมณ์ฌาณ8 ตรงนี้นะ ที่ผมบอกว่าตีความผิดไปเอง
    ซึ่งคำว่าอมตะนั้น ท่านไม่ได้ตั้งใจให้แปลว่าไม่ตาย แต่แผลงเป็นว่าไม่เกิด
    ต่างหาก เมื่อไม่เกิดก็ไม่ตาย ก็เป็นอมตะ จึงเป็นนิพพาน
    เอาวิมุตติไปหยั่งว่าทำไมหนอเราจึงไม่ต้องมาเกิดอีก ย่อมเห็นจุดที่เราจะ
    ตัดได้ตามนิสัยของแต่ละบุคคล เมื่อเห็นจุดนั้นแล้วจึงตัด จึงหลุดพ้น
    ทั้งนี้เพียงแค่วิมุตติอย่างเดียวไม่เอาไปหยั่งลงก็ไม่เกิดปัญญาในการหลุดพ้น
    วิมุตติก็แค่ฌาณ8ธรรมดาๆแค่นั้นเอง นิพพานไม่ได้เป็นผลจากอะไรๆประสา
    อะไรกับแค่วิมุตติ คำว่า"หยั่งลงไป"นั่นจึงเป็นใจความของเรื่องทั้งหมด
     
  19. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    วิมุตเป็นหกนิพานเป็นแปด
     
  20. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    พุทธเป็นสิบ
    แต่สิบไม่มีทศหนึ่งเหลือเก้า
     

แชร์หน้านี้

Loading...