"วิปัสสีสูตร-มหาศักยมุนีโคตมสูตร" - ปฏิจสมุปปบาท

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย วิภังค์, 8 มกราคม 2012.

  1. วิภังค์

    วิภังค์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    167
    ค่าพลัง:
    +141
    <CENTER> พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
    สังยุตตนิกาย นิทานวรรค</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>



    <CENTER>๔ วิปัสสีสูตร</CENTER>

    [๒๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ-*บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่าวิปัสสี ก่อนแต่ตรัสรู้ เมื่อครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ยังมิได้ตรัสรู้ ได้ปริวิตกว่า โลกนี้ถึงความยากแล้วหนอ ย่อมเกิด แก่ ตาย จุติ และอุปบัติ และเมื่อเป็นเช่นนั้นก็ยังไม่รู้ธรรมอันออกจากทุกข์ คือชราและมรณะนี้ เมื่อไรเล่าความออกจากทุกข์ คือชราและมรณะนี้ จักปรากฏ ฯ

    [๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระวิปัสสีโพธิสัตว์ได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า
    เมื่ออะไรหนอมีอยู่ ชราและมรณะจึงมี ชราและมรณะย่อมมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระวิปัสสีโพธิสัตว์ เพราะกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย

    จึงได้รู้ด้วยปัญญาว่า เมื่อชาติมีอยู่ ชราและมรณะจึงมี
    ชราและมรณะย่อมมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ...

    เมื่ออะไรหนอมีอยู่ ชาติจึงมีชาติย่อมมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย ...
    เมื่อภพมีอยู่ ชาติจึงมี ชาติย่อมมี เพราะภพเป็นปัจจัย ...

    เมื่ออะไรหนอมีอยู่ ภพจึงมี ภพย่อมมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย ...
    เมื่ออุปาทานมีอยู่ ภพจึงมี ภพย่อมมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ...

    เมื่ออะไรหนอมีอยู่อุปาทานจึงมี อุปาทานย่อมมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย ...
    เมื่อตัณหามีอยู่ อุปาทานจึงมี อุปาทานย่อมมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย ...

    เมื่ออะไรหนอมีอยู่ตัณหาจึงมี ตัณหาย่อมมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย ...
    เมื่อเวทนามีอยู่ ตัณหาจึงมี ตัณหาย่อมมี เวทนาเป็นปัจจัย ...

    เมื่ออะไรหนอมีอยู่ เวทนาจึงมี เวทนาย่อมมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย ...
    เมื่อผัสสะมีอยู่ เวทนาจึงมี เวทนาย่อมมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ...

    เมื่ออะไรหนอมีอยู่ ผัสสะจึงมี ผัสสะย่อมมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย ...
    เมื่อสฬายตนะมีอยู่ ผัสสะจึงมี ผัสสะย่อมมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ...

    เมื่ออะไรหนอมีอยู่ สฬายตนะจึงจะมี สฬายตนะย่อมมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย ...
    เมื่อนามรูปมีอยู่ สฬายตนะจึงมี สฬายตนะย่อมมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย ...

    เมื่ออะไรหนอมีอยู่ นามรูปจึงมี นามรูปย่อมมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย ...
    เมื่อวิญญาณมีอยู่ นามรูปจึงมี นามรูปย่อมมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย ...

    เมื่ออะไรหนอมีอยู่วิญญาณจึงมี วิญญาณย่อมมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย ...
    เมื่อสังขารมีอยู่วิญญาณจึงมี วิญญาณย่อมมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแลพระวิปัสสีโพธิสัตว์ได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า
    เมื่ออะไรหนอมีอยู่ สังขารจึงมีสังขารย่อมมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระวิปัสสีโพธิสัตว์ เพราะกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย

    จึงได้รู้ด้วยปัญญาว่า เมื่ออวิชชามีอยู่ สังขารจึงมี
    สังขารย่อมมี เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
    เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ...

    ดังพรรณนามาฉะนี้ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้บังเกิดขึ้นแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์
    ในธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ฝ่ายข้างเกิด ฝ่ายข้างเกิด ดังนี้ ฯ

    [๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระวิปัสสีโพธิสัตว์ได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า
    เมื่ออะไรหนอไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ชราและมรณะจึงดับ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระวิปัสสีโพธิสัตว์ เพราะกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย
    จึงได้รู้ด้วยปัญญาว่า เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี
    เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับ ...

    เมื่ออะไรหนอไม่มี ชาติจึงไม่มีเพราะอะไรดับ ชาติจึงดับ
    เมื่อภพไม่มี ชาติจึงไม่มี เพราะภพดับ ชาติจึงดับ ...

    เมื่ออะไรหนอไม่มี ภพจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ภพจึงดับ
    เมื่ออุปาทานไม่มี ภพจึงไม่มี เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ...

    เมื่อไรหนอไม่มี อุปาทานจึงไม่มี เพราะอะไรดับ อุปาทานจึงดับ ...
    เมื่อตัณหาไม่มี อุปาทานจึงไม่มี เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ ...

    เมื่ออะไรหนอไม่มี ตัณหาจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ตัณหาจึงดับ ...
    เมื่อเวทนาไม่มี ตัณหาจึงไม่มี เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ ...

    เมื่ออะไรหนอไม่มี เวทนาจึงไม่มี เพราะอะไรดับ เวทนาจึงดับ ...
    เมื่อผัสสะไม่มีเวทนาจึงไม่มี เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ ...

    เมื่ออะไรหนอไม่มี ผัสสะจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ผัสสะจึงดับ ...
    เมื่อสฬายตนะไม่มี ผัสสะจึงไม่มี เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ ...

    เมื่ออะไรหนอไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี เพราะอะไรดับ สฬายตนะจึงดับ ...
    เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ ...

    เมื่ออะไรหนอไม่มี นามรูปจึงไม่มี เพราะอะไรดับนามรูปจึงดับ ...
    เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ ...

    เมื่ออะไรหนอไม่มี วิญญาณจึงไม่มี เพราะอะไรดับ วิญญาณจึงดับ
    เมื่อสังขารไม่มี วิญญาณจึงไม่มี เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระวิปัสสีโพธิสัตว์ได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า
    เมื่ออะไรหนอไม่มี สังขารจึงไม่มี เพราะอะไรดับ สังขารจึงดับ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแลพระวิปัสสีโพธิสัตว์ เพราะกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย
    จึงได้รู้ด้วยปัญญาว่าเมื่ออวิชชาไม่มี สังขารจึงไม่มี เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ

    เพราะอวิชชาดับสังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ...

    ดังพรรณนามาฉะนี้ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้บังเกิดขึ้นแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์
    ในธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ฝ่ายข้างดับ ฝ่ายข้างดับ ดังนี้ ฯ





    <CENTER>จบสูตรที่ ๔</CENTER>
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๑๐๒ - ๑๖๗. หน้าที่ ๕ - ๗. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=102&Z=167&pagebreak=0 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=22
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มกราคม 2012
  2. วิภังค์

    วิภังค์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    167
    ค่าพลัง:
    +141
    <CENTER><BIG>อรรถกถา สังยุตตนิกาย นิทานวรรค อภิสมัยสังยุตต์ พุทธวรรคที่ ๑</BIG> <CENTER class=D>วิปัสสีสูตร</CENTER></CENTER>

    <CENTER>อรรถกถาวิปัสสีสูตรที่ ๔ </CENTER>ในวิปัสสีสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
    บทว่า วิปสฺสิสฺส ความว่า ได้ยินว่า ดวงตาทั้งหลายของโลกิยมนุษย์ผู้มองดูอะไรๆ ย่อมกลอกไปมา เพราะประสาทตาอันเกิดแต่กรรมที่บังเกิดแต่กรรมเล็กน้อย มีกำลังอ่อนเช่นใด แต่ดวงตาของพระโพธิสัตว์นั้น หากลอกเช่นนั้นไม่ เพราะประสาทตาอันเกิดแต่กรรม บังเกิดแต่กรรมมีกำลัง มีกำลังมาก พระองค์จึงมองดูด้วยดวงตาที่ไม่กลอกไม่กะพริบนั่นแล เหมือนเทวดาในดาวดึงส์ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระกุมารเพ่งดูโดยไม่กะพริบ เพราะฉะนั้น พระวิปัสสีกุมารนั้นจึงเกิดสมัญญาว่า วิปัสสี วิปัสสี นั่นแล.
    จริงอยู่ ในข้อนี้ มีอธิบายดังนี้
    ชื่อว่าวิปัสสี เพราะเห็นความบริสุทธิ์.
    อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าวิปัสสี เพราะเห็นด้วยทั้งดวงตาที่เบิก.
    ก็ในที่นี้ดวงตาของพระโพธิสัตว์ทั้งหมด ผู้เกิดในภพสุดท้ายย่อมไม่กลอก เพราะประสาทที่เกิดแต่กรรมอันมีกำลัง มีกำลังแรง. ก็พระโพธิสัตว์นั้น ย่อมได้ชื่อด้วยเหตุนั้นนั่นเอง.
    อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าวิปัสสี เพราะพิจารณาเห็น. อธิบายว่า เพราะเลือกเฟ้นจึงเห็น.
    ได้ยินว่า วันหนึ่ง อำมาตย์ทั้งหลายนำพระมหาบุรุษผู้ประดับตกแต่ง พระวรกายแล้วมาวางไว้บนพระเพลาของพระราชาผู้ประทับนั่งพิจารณาคดีอยู่ในศาล เมื่อพระราชาทรงพระทัยที่ได้มหาบุรุษนั้นอยู่บนพระเพลา อำมาตย์ทั้งหลายได้กระทำเจ้าของทรัพย์ไม่ให้เป็นเจ้าของทรัพย์. พระโพธิสัตว์ทรงเปล่งเสียงแสดงความไม่พอ<WBR>พระ<WBR>ทัย. พระราชาตรัสว่า พวกท่านพิจารณาทบทวนดูทีหรือว่าเรื่องนั้นเป็นอย่างไร เรื่องนี้เป็นเป็นอย่างไร. พวกอำมาตย์เมื่อพิจารณาทบทวน ก็ไม่เห็นกรณีเป็นอย่างอื่นจึงคิดว่า ชะรอยว่าที่ทำไปแล้วอย่างนี้ จักเป็นการวินิจฉัยคดีที่ไม่ชอบ. จึงทำผู้เป็นเจ้าของทรัพย์ให้เป็นเจ้าของทรัพย์อีก เมื่อทดลองว่ากุมารจะรู้หรือหนอ จึงทำอย่างนี้. จึงทำเจ้าของทรัพย์ให้ไม่เป็นเจ้าของทรัพย์อีก.
    ครั้งนั้น พระราชาทรงพระราชดำริว่า พระมหาบุรุษคงจะรู้ ตั้งแต่นั้นมาจึงเป็นผู้ไม่สะเพร่า. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า กุมารใคร่ครวญแล้วใคร่ครวญเล่า จึงรู้คดีเพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย พระกุมารนั้นจึงเกิดพระนามโดยประมาณยิ่งกว่า วิปัสสี นั้นแล.
    บทว่า ภควโต แปลว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยภาคยะ.
    บทว่า อรหโต ได้แก่ ผู้มีพระนามอันเกิดขึ้นโดยคุณอย่างนี้ว่า ชื่อว่า อรหา เพราะกำจัดกิเลสเพียงดังข้าศึกมีราคะเป็นต้นเสียได้ เพราะทรงหักกำแห่งสังสารจักร หรือเพราะเป็นผู้ควรแก่ปัจจัยทั้งหลาย.
    บทว่า สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ได้แก่ ผู้ตรัสรู้สัจจะ ๔ โดยความเพียรของบุรุษ โดยพระองค์เอง เฉพาะพระองค์ โดยชอบ โดยนัย โดยเหตุ.
    บทว่า ปุพฺเพว สมฺโพธา ความว่า ญาณในมรรค ๔ ท่านเรียกว่า สัมโพธะ ตรัสรู้พร้อม, ก่อนแต่การตรัสรู้นั้นแล.
    บทว่า โพธิ ในคำว่า โพธิสตฺตสฺเสว สโต นี้ได้แก่ญาณ, สัตว์ผู้ตรัสรู้ ชื่อว่าโพธิสัตว์. อธิบายว่า ผู้มีญาณ คือผู้มีปัญญา ชื่อว่าบัณฑิต.
    จริงอยู่ สัตว์นั้นเป็นบัณฑิต จำเดิมแต่ทรงมีอภินิหารแทบบาทมูลแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่ใช่อันธพาล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าพระโพธิสัตว์.
    อนึ่ง ชื่อว่าโพธิสัตว์ แม้เพราะเป็นสัตว์ผู้จะเบิกบาน โดยอรรถวิเคราะห์ว่า บำเพ็ญพระบารมี แล้วจักเบิกบาน โดยหาอันตรายมิได้อย่างแน่นอน เพราะได้คำพยากรณ์ในสำนักของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เปรียบเหมือนดอกปทุม ที่โผล่ขึ้นจากน้ำตั้งอยู่ แก่ได้ ที่แล้วจักบานโดยสังผัสแสงอาทิตย์อย่างแน่นอน เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ดอกปทุมบาน. อนึ่ง สัตว์ปรารถนาโพธิกล่าวคือญาณในมรรค ๔ ปฏิบัติอยู่ เหตุนั้น ผู้ที่ยังติดอยู่ในโพธิจึงชื่อว่า โพธิสัตว์ ดังนี้ก็มี. เมื่อพระโพธิสัตว์มีอยู่โดยพระนามที่เกิดขึ้นด้วยประการฉะนี้.
    บทว่า กิจฺฉํ แปลว่า ลำบาก.
    บทว่า อาปนฺโน แปลว่า ถึงแล้วเนืองๆ. ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า น่าอนาถ สัตว์โลกนี้ ถึงความลำบากเนืองๆ.
    บทว่า จวติ จ อุปปชฺชติ จ นี้ ท่านกล่าวด้วยอำนาจจุติและปฏิสนธิไปๆ มาๆ.
    บทว่า นิสฺสรณํ ได้แก่ พระนิพพาน. จริงอยู่ พระนิพพานนั้น ท่านเรียกว่า นิสสรณะ เพราะสลัดออกจากทุกข์คือชราและมรณะ.
    บทว่า กุทาสฺสุ นาม ได้แก่ ในกาลไหน ๆ แล.
    บทว่า โยนิโสมนสิการา ได้แก่ โดยการใส่ใจโดยอุบาย คือ<SUP>๑-</SUP> การใส่ใจครั้งแรก.
    ____________________________
    <SUP>๑-</SUP> พม่า. ปถมนสิกาเรน คือ การมนสิการตามคลองธรรม.

    บทว่า อหุ ปญฺญาย อภิสมโย ความว่า ได้แก่ การตรัสรู้ คือความประกอบชอบซึ่งเหตุแห่งชราและมรณะด้วยปัญญา. อธิบายว่า พระองค์เห็นดังนี้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ.
    อีกอย่างหนึ่ง บทว่า โยนิโสมนสิการา อหุ ปญฺญาย ได้แก่ ได้ตรัสรู้<WBR>ด้วย<WBR>โยนิโส<WBR>มนสิ<WBR>การ และด้วยปัญญา. อธิบายว่า ได้แทงตลอดเหตุแห่งชราและมรณะอย่างนี้ว่า เมื่อความเกิดมีอยู่แล ชราและมรณะก็มี. ในบททั้งปวงก็นัยนี้.
    บทว่า อิติ หิทํ เท่ากับ เอวมิทํ สิ่งนี้มีด้วยประการฉะนี้. ด้วยบทว่า สมุทโย นี้ ท่านประมวลการเกิดขึ้นแห่งสังขารเป็นต้นแสดงในฐานะ ๑๑.
    บทว่า ปุพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ ความว่า ในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อนแต่นี้ อย่างนี้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร ความเกิดขึ้นของสังขารย่อมมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัยดังนี้ หรือในอริยสัจธรรม ๔.
    บทว่า จกฺชุ ํ เป็นต้นเป็นไวพจน์ของญาณนั่นเอง.
    จริงอยู่ ในที่นี้ ญาณนั่นแล ท่านกล่าวว่าจักขุ เพราะอรรถว่าเห็น, กล่าวว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้, กล่าวว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด, กล่าวว่าวิชชา เพราะอรรถว่าแทงตลอด, กล่าวว่าอาโลกะ เพราะอรรถว่าสว่าง. ก็ญาณนี้นั้น พึงทราบว่า ท่านชี้แจงว่าเจือทั้งโลกิยะและโลกุตระ ในสัจจะ ๔.
    แม้ในนิโรธวาระ พึงทราบความโดยนัยนี้แล.

    <CENTER>
    จบอรรถกถาวิปัสสีสูตรที่ ๔
    ----------------------------------------------------- </CENTER>
     
  3. วิภังค์

    วิภังค์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    167
    ค่าพลัง:
    +141
    มหาศักยมุนีโคตมสูตร

    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
    สังยุตตนิกาย นิทานวรรค</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>



    <CENTER>๑๐. มหาศักยมุนีโคตมสูตร</CENTER>


    </PRE>

    [๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรายังเป็นพระโพธิสัตว์ ก่อนตรัสรู้


    </PRE>ยังมิได้ตรัสรู้ ได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า โลกนี้ถึงความยากแล้วหนอ ย่อมเกิด แก่ตาย จุติ และอุปบัติ และเมื่อเป็นเช่นนั้น ก็ยังไม่รู้ธรรมอันออกจากทุกข์ คือชราและมรณะนี้ เมื่อไรเล่า ความออกจากทุกข์ คือชราและมรณะนี้จักปรากฏ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า
    เมื่ออะไรหนอมีอยู่ ชราและมรณะจึงมี ชราและมรณะย่อมมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นเพราะกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย จึงได้รู้ด้วยปัญญาว่า
    เมื่อชาติมีอยู่ ชราและมรณะจึงมี ชราและมรณะย่อมมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ...

    เมื่ออะไรหนอมีอยู่ ชาติจึงมี ชาติย่อมมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย ...
    เมื่อภพมีอยู่ ชาติจึงมี ชาติย่อมมี เพราะภพเป็นปัจจัย ...

    เมื่ออะไรหนอมีอยู่ ภพจึงมี ภพย่อมมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย ...
    เมื่ออุปาทานมีอยู่ ภพจึงมี ภพย่อมมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ...

    เมื่ออะไรหนอมีอยู่ อุปาทานจึงมี อุปาทานย่อมมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย ...
    เมื่อตัณหามีอยู่ อุปาทานจึงมี อุปาทานย่อมมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย ...

    เมื่ออะไรหนอมีอยู่ ตัณหาจึงมี ตัณหาย่อมมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย ...
    เมื่อเวทนามีอยู่ ตัณหาจึงมี ตัณหาย่อมมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ...

    เมื่ออะไรหนอมีอยู่ เวทนาจึงมี เวทนาย่อมมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย ...
    เมื่อผัสสะมีอยู่ เวทนาจึงมี เวทนาย่อมมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ...

    เมื่ออะไรหนอมีอยู่ ผัสสะจึงมี ผัสสะย่อมมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย ...
    เมื่อสฬายตนะมีอยู่ ผัสสะจึงมี ผัสสะย่อมมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ...

    เมื่ออะไรหนอมีอยู่ สฬายตนะจึงมี สฬายตนะมีย่อม เพราะอะไรเป็นปัจจัย ...
    เมื่อนามรูปมีอยู่ สฬายตนะจึงมี สฬายตนะย่อมมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย ...

    เมื่ออะไรหนอมีอยู่ นามรูปจึงมี นามรูปย่อมมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย ...
    เมื่อวิญญาณมีอยู่ นามรูปจึงมี นามรูปย่อมมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย ...
    <SMALL>@๑. เหมือนข้อ ๒๒-๒๔</SMALL>
    <SMALL></SMALL>
    เมื่ออะไรหนอมีอยู่ วิญญาณจึงมี วิญญาณย่อมมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย ...
    เมื่อสังขารมีอยู่ วิญญาณจึงมี วิญญาณย่อมมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า
    เมื่ออะไรหนอมีอยู่ สังขารจึงมี สังขารย่อมมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้น เพราะกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย จึงได้รู้ด้วยปัญญาว่า
    เมื่ออวิชชามีอยู่ สังขารจึงมี สังขารย่อมมี เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
    เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ...

    ดังพรรณนามาฉะนี้ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้บังเกิดขึ้นแก่เรา
    ในธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ฝ่ายข้างเกิด ฝ่ายข้างเกิด ดังนี้ ฯ

    [๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า
    เมื่ออะไรหนอไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ชราและมรณะจึงดับ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้น เพราะกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย จึงได้รู้ด้วยปัญญาว่า
    เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับ ...

    เมื่ออะไรหนอไม่มี ชาติจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ชาติจึงดับ ...
    เมื่อภพไม่มี ชาติจึงไม่มี เพราะภพดับ ชาติจึงดับ ...
    เมื่ออุปาทานไม่มี ภพจึงไม่มี เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ...

    เมื่ออะไรหนอไม่มี อุปาทานจึงไม่มี เพราะอะไรดับ อุปาทานจึงดับ ...
    เมื่อตัณหาไม่มี อุปาทานจึงไม่มี เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ ...

    เมื่ออะไรหนอไม่มี ตัณหาจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ตัณหาจึงดับ
    เมื่อเวทนาไม่มี ตัณหาจึงไม่มี เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ ...

    เมื่ออะไรหนอไม่มี เวทนาจึงไม่มี เพราะอะไรดับ เวทนาจึงดับ ...
    เมื่อผัสสะไม่มี เวทนาจึงไม่มี เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ ...

    เมื่ออะไรหนอไม่มี ผัสสะจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ผัสสะจึงดับ ...
    เมื่อสฬายตนะไม่มี ผัสสะจึงไม่มี เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ ...

    เมื่ออะไรหนอไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี เพราะอะไรดับ สฬายตนะจึงดับ ...
    เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ ...

    เมื่ออะไรหนอไม่มี นามรูปจึงไม่มี เพราะอะไรดับ นามรูปจึงดับ ...
    เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ ...

    เมื่ออะไรหนอไม่มี วิญญาณจึงไม่มี เพราะอะไรดับ วิญญาณจึงดับ ...
    เมื่อสังขารไม่มี วิญญาณจึงไม่มี เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า
    เมื่ออะไรหนอไม่มี สังขารจึงไม่มี เพราะอะไรดับ สังขารจึงดับ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้น เพราะกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย จึงได้รู้ด้วยปัญญาว่า
    เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารจึงไม่มี เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ
    เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ...

    ดังพรรณนามาฉะนี้ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้บังเกิดขึ้นแก่เรา
    ในธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ฝ่ายข้างดับ ฝ่ายข้างดับ ดังนี้ ฯ



    <CENTER class=e>จบสูตรที่ ๑๐</CENTER><CENTER class=e>จบพุทธวรรคที่ ๑</CENTER><CENTER class=l>-----------------------------------------------------</CENTER><CENTER class=e>รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ</CENTER>๑. เทศนาสูตร ๒. วิภังคสูตร ๓. ปฏิปทาสูตร
    ๔. วิปัสสีสูตร ๕. สิขีสูตร ๖. เวสสภูสูตร ๗. กกุสันธสูตร ๘. โกนาคมนสูตร ๙. กัสสปสูตร ๑๐. มหาศักยมุนีโคตมสูตร ฯ



    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๑๗๓ - ๒๔๐. หน้าที่ ๘ - ๑๐.
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=173&Z=240&pagebreak=0
    ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=26
     
  4. วิภังค์

    วิภังค์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    167
    ค่าพลัง:
    +141
    <CENTER><BIG>อรรถกถา สังยุตตนิกาย นิทานวรรค อภิสมัยสังยุตต์ พุทธวรรคที่ ๑</BIG> <CENTER class=D>มหาศักยมุนีโคตมสูตร</CENTER></CENTER>
    <CENTER> อรรถกถาสิขีสูตรเป็นต้น (๕-๑๐) </CENTER> ในสิขีสูตรที่ ๕ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
    อรรถแห่งบทว่า สิขิสฺส ภิกฺขเว เป็นต้น พึงกล่าวความประกอบอย่างนี้ว่า สิขิสฺสปิ ภิกฺขเว. เพราะเหตุไร เพราะไม่แสดงในอาสนะเดียว. จริงอยู่ พระสูตรเหล่านี้ทรงแสดงไว้ในฐานะต่างๆ แต่เนื้อความเหมือนกันทุกแห่งทีเดียว
    ความจริง เมื่อพระโพธิสัตว์ทุกๆ พระองค์ประทับนั่ง ณ โพธิบัลลังก์ ผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นสมณะก็ตาม พราหมณ์ก็ตาม เทวดาก็ตาม พรหมก็ตาม ไม่ได้บอกว่า พระโพธิ<WBR>สัตว์<WBR>ในอดีตพิจารณาปัจจยาการแล้วเป็นพระพุทธเจ้า.
    เหมือนอย่างว่า พระพุทธเจ้าพระองค์หลังๆ ย่อมดำเนินไปตามทางที่<WBR>พระ<WBR>พุทธ<WBR>เจ้า<WBR>ก่อนๆ เหล่านั้นดำเนินไปแล้ว เหมือนเมื่อฝนตกในครั้งปฐมกัป แม้น้ำฝนก็ย่อมบ่าไปตามทางที่น้ำไหลไปแล้วนั้นแหละ.
    จริงอยู่ พระโพธิสัตว์ทุกพระองค์ออกจากจตุตถฌานอันมีลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์ ทำญาณให้หยั่งลงในในปัจจยาการ พิจารณาปัจจยาการนั้นโดยอนุโลมและปฏิโลม ย่อมเป็นพระพุทธเจ้า ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวให้ชื่อว่าพุทธวิปัสสนา ใน ๗ สูตรตามลำดับนั่นแล.
    <CENTER>
    จบอรรถกถาพุทธวรรคที่ ๑
    ----------------------------------------------------- </CENTER>
    รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
    ๑. เทศนาสูตร
    ๒. วิภังคสูตร
    ๓. ปฏิปทาสูตร
    ๔. วิปัสสีสูตร
    ๕. สิขีสูตร
    ๖. เวสสภูสูตร
    ๗. กกุสันธสูตร
    ๘. โกนาคมนสูตร
    ๙. กัสสปสูตร
    ๑๐. มหาศักยมุนีโคตมสูตร
    <CENTER> ----------------------------------------------------- </CENTER>
     

แชร์หน้านี้

Loading...