ลำดับขั้นของการศึกษาธรรม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย อภิราม, 16 ตุลาคม 2012.

  1. อภิราม

    อภิราม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    532
    ค่าพลัง:
    +9,005
    ลำดับขั้นของการศึกษาธรรมะ

    สำหรับผู้เริ่มปฏิบัติเพื่อให้ง่ายแก่ความเข้าใจ ในการปฏิบัติตามแต่ละขั้นตอน

    ประกอบด้วย

    ศรัทธา >> วิริยะ >> สติ >> สมาธิ >> ปัญญา >> ธรรมะ >> ขันติ >> อุเบกขา >> ปล่อยวาง >> ว่าง

    เมื่อแรกพบกับธรรมะจึงเกิดความศรัทธาต่อ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แล้ว

    ขั้นต่อไปควรที่จะกระทำความเพียรเพื่อให้เกิดสติ การกระทำความเพียรเพื่อให้เกิดสติ คือ การรักษาศีล

    เพราะมีสติจึงยับยั้งการกระทำความชั่วทั้งหลายได้ เมื่อฝึกสติจนรักษาศีลได้เป็นปกติแล้ว

    ขั้นต่อไปคือการฝึกสติต่อเนื่องเพื่อให้เกิดสมาธิ การที่จะฝึกสติให้เกิดสมาธิได้ คือ การฝึกจิตให้ว่างจากนิวรณ์ ๕ ให้ว่างจากความชั่วทั้ง ๕ นี้ก่อน จิตจึงเป็นสมาธิได้

    ขั้นต่อไปเมื่อจิตมีสติจนเกิดสมาธิควรที่จะมองหาปัญญา การมองหาปัญญาคืออะไร คือการพิจารณาตามความเป็นจริง แล้วควรพิจารณาอะไร ให้พิจารณาความจริงทั้ง ๔ นี้ก่อน คือ พิจารณา กาย,เวทนา,จิต,ธรรม

    การพิจารณานี่แหละคือตัวปัญญา เราควรมีปัญญาเพื่อให้มองเห็นธรรมทั้งหลายที่มีอยู่ในโลก ธรรมทั้งหลายก็คือความจริงทั้งหลายในโลกนี้ มีทั้งความจริงในด้านที่ดีและในด้านที่ไม่ดี

    ขั้นต่อไปเมื่อเราแยกแยะความจริงที่ว่านี้ได้แล้ว เราก็เลือกกระทำความจริงในด้านที่ดี และไม่กระทำความจริงในด้านที่ไม่ดี การไม่กระทำในด้านที่ไม่ดีนั้น เราต้องมีขันติ ความอดทนอดกลั้นจึงสามารถไม่กระทำในด้านที่ไม่ดีได้

    ขั้นต่อไปเมื่อเรารู้จักขันติและนำมาใช้เพื่อไม่ให้กระทำในด้านที่ไม่ดีแล้ว เราสามารถยกระดับไปสู่อีกคุณธรรมหนึ่งก็คือ อุเบกขาธรรม เป็นคุณธรรมขั้นสูงซึ่งประกอบไปด้วย ขันติ สติ และปัญญา

    การฝึกจิตให้มีอุเบกขาธรรมก็เพื่อให้เรายับยั้งไม่กระทำในความชั่ว ปล่อยวางในสิ่งที่ไม่ดีทั้งหลาย เพื่อไม่ให้เกิดอกุศลกรรมแก่ตัวเราเอง เป็นการสร้างภพชาติต่อไปไม่สิ้นสุดนั่นเอง

    สุดท้ายการศึกษาธรรมทั้งหลายจึงมาลงที่ความว่าง ความว่างที่ว่านี้คือว่างจากการทำความชั่ว กรรมชั่วทั้งหลาย ที่เป็นปัจจัยนำไปสู่การเกิดใหม่ไม่มีที่สิ้นสุด

    หัวใจสำคัญของศาสนาพุทธจึงกล่าวไว้ว่า การทำความดี ละเว้นความชั่ว และทำจิตใจให้บริสุทธิ์ เป็นหลักการที่นำไปสู่ความหลุดพ้น
     
  2. อภิราม

    อภิราม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    532
    ค่าพลัง:
    +9,005
    มีศรัทธา ย่อมมีธรรมะ

    มีวิริยะ ย่อมมีขันติ

    มีสติ ย่อมมีอุเบกขา

    มีสมาธิ สามารถปล่อยวาง

    ใช้ปัญญาไปสู่ความว่าง
     
  3. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    ไม่ศรัทธา
    แต่หาความจริงในธรรมมะได้เพราะพุทธองค์สอนไม่ให้เชื่อ
    เราก็ตามดูตามรู้ไปเท่านั้นได้หรือไม่ขอรับ
     
  4. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    ถ้าไม่มีศรัทธา เราก็ไม่สามารถปฏิบัติธรรมได้เลยครับ
    เพราะจะมีนิวรณ์ตัวหนึ่งชื่อว่าวิจิกิจฉา ซึ่งขวางทางแห่งปัญญา
    จริงๆแล้วศรัทธามันมีสองแบบ
    คือ ตัวแรก มาจากปัญญา
    ตัวที่สองคืออธิโมกขศรัทธา คือฟังปุ๊บเชื่อปั๊บ

    พระพุทธเจ้าท่านให้ใช้ศรัทธาตัวแรก

    อย่างที่คุณมะหน่อ กล่าวว่าพระพุทธเจ้าสอนไม่ให้เชื่อ อันนี้ไม่จริงทั้งหมดนะครับ
    ท่านสอนให้เชื่อได้ เมื่อใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรอง
    และไม่จำเป็นต้องลองปฏิบัติทั้งหมดด้วย
    ไม่งั้นเราคงไม่เชื่อว่าใครเป็นพระพุทธเจ้าจนกว่าเราจะเป็นพระพุทธเจ้าแล้วละครับ
    เราไม่ต้องลองปฏิบัติทั้งหมด
    เช่น อย่าแหย่ปลั๊กไฟนะ ไฟจะดูด เราไม่ต้องไปลองแหย่มันหรอกครับ
    หรือ อย่าทำผิดศีลนะ จะเป็นเหตุให้ลงนรก
    เราจำเป็นต้องลงนรกก่อนหรือถึงจะเชื่อ

    แต่ถ้ารักจะพิสูจน์ รบกวนปฏิบัติตามสายอภิญญาหรือวิชชาสาม
    รักจะพิสูจน์จริงๆ ต้องเป็นคนจริง ยอมปฏิบัติตามทั้งหมดเพื่อพิสูจน์
     
  5. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระวจนะ" ภิกษุทั้งหลาย การคบสัปบุรุษ เป็นไปบริบูรร์แล้ว ย่อมทำการฟังสัทธรรมบริบูรณ์...การฟังสัทธรรมบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำสัทธาบริบูรณ์.........สัทธาบริบูรณ์แล้วย่อมทำโยนิโสมนสิการบริบูรณ์.......โยนิโสมนสิการบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำความเป็นผู้มี สติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์..........ความเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะบริบูรรณ์แล้วย่อมทำการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์.........การสำรวมอินทรีย์บริบูรณ์แล้ว ย่อมทำสุจริตสามประการให้บริบูรณ์.............สุจริตสามประการบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำ สติปัฎฐานสี่ประการให้บริบูรณ์...............สติปัฎฐานสี่ประการบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำโพชฌงค์เจ็ดประการให้บริบูรณ์......................โพชฌงค์เจ็ดประการบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำ วิชชาและ วิมุติให้บริบูรณ์..................ภิกษุทั้งหลาย อาหาร แห่ง วิชชาและวิมุติ ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ และบริบูรณ์แล้วด้วยอาการอย่างนี้(ต่อจากนี้ตรัสอุปมาด้วย ฝนตกลงในที่สูงแล้วใหลลงมาที่ต่ำ ย่อมทำให้เต็มบริบูรณ์ ต่อต่อกันลงมาตามลำดับ จนกระทั่งถึง ทะเล)-----ทสก.อํ.24/123/61.----------(อริยสัจจากพระโอษฐ์ ท่านพุทธทาส):cool:สัทธาบริบูรณ์ ย่อมทำโยนิโสมนสิการให้บริบูรณ์
     
  6. 12345*

    12345* เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +332
    ถ้าเชื่อที่สอนก็เป็นศรัทธาแล้วละ
     
  7. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    นิวรณ์ หมายถึง อุปสรรค ที่ขัดขวางการเดินทาง ค่ะ
    แต่ในส่วนของการปล่อยวาง ต้องอาศัย อาสวะขยญาณ แล้วค่ะ

    ในส่วนของ สมัยพุทธองค์ ยังอยู่ ท่านเรียกตัวเองว่า ผู้ชี้ ค่ะ ชี้เฉพาะ ผู้ที่เขามีศรัทธา เกิดศรัทธา แล้ว ค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 18 ตุลาคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...