**ร้านศิวิไลพระเครื่อง** วัตถุมงคล เครื่องรางของขลัง เกจิคณาจารย์ภาคเหนือ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย ศิวิไล, 25 พฤษภาคม 2013.

  1. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 7800

    สมเด็จหลังรูปเหมือนครึี่งองค์ ครูบาอินตา วัดห้วยไซ รุ่นมงคล ๙๕ ปี ๒๕๔๑

    ประสบการณ์เยี่ยม


    ราคา 450 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    Clip_19.jpg Clip_22.jpg

    701_n.jpg?_nc_cat=110&ccb=1-3&_nc_sid=b9115d&_nc_ohc=YZDAdnfyoPMAX-nVqx-&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤษภาคม 2021
  2. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 7801

    พระสมเด็จ 7 รอบ ครูบาคำปัน ปภากโร วัดนาแส่ง จ.ลำปาง
    โรยผงตะไบ เกศา


    ราคา 450 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    Clip_23.jpg Clip_24.jpg
    576_n.jpg?_nc_cat=107&ccb=1-3&_nc_sid=8bfeb9&_nc_ohc=mEIOV-P1IAAAX_Pbziv&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg

    ประวัติหลวงพ่อคำปัน ปภากโร วัดนาแส่ง จ.ลำปาง

    “หลวงพ่อคำปัน” เกิดที่บ้านแล้นเมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๔๖๗ ตรงกับ “ปีชวด” อายุครบ ๘๔ ปีซึ่งก็คือ “๗ รอบ” ไปเมื่อไม่นานมานี้โยมบิดาชื่อ “อินถา” และโยมมารดาชื่อ “จันทร์แก้ว” ในสกุล “จันทะไท” มีพี่น้อง ๕ คน มีผู้ชายคนเดียวคือ “หลวงพ่อคำปัน” ซึ่งเป็นพี่ชายคนโตของครอบครัวช่วยบิดา-มารดาทำการเกษตรจนอายุ ๑๕ ปี มีจิตใจฝักใฝ่ใน “พระพุทธศาสนา” มาแต่เล็กแต่น้อยจึงบวชเณรอยู่ ๕-๖ ปี แล้วจึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๗ โดยมี “พระครูขัตติยะ วัดสองแคว” เป็นพระอุปัชฌาย์ “พระครูอุดม วัดป่าแค” เป็นพระกรรมวาจาจารย์ “พระแสง วัดสองแคว” เป็นอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า “ปภากโร” แปลว่า “ผู้มีแสงสว่างไสว” เมื่ออุปสมบทแล้วได้ศึกษาพระปริยัติธรรมกับ “พระครูขัตติยะ วัดสองแคว” ซึ่งเป็น“เจ้าคณะอำเภอ” จนมีความรู้แตกฉานทางธรรมจากนั้นจึงหันไปศึกษาวิปัสสนาจาก “พระอุปัชฌาย์” แล้วนำความรู้ทั้งสองด้านมาฝึกฝนจิตใจบำเพ็ญเพียรภาวนาอย่างเอกอุจนเห็นแจ้ง ในอริยมรรคมี “องค์แปด” ขัดเกลากิเลสตัณหาเห็นทุกข์ในโลกียโลก จึงตั้งใจบวชตลอดชีวิตเพื่อความ “หลุดพ้น” กระทั่งเจ้าอาวาสวัดนาแส่งรูปเดิมคือ “พระเมืองคำ” ลาสิกขาไป ชาวบ้านเห็นในศีลาจารวัตรของ “พระคำปัน” น่าศรัทธาเลื่อมใสจึงอาราธนาให้เป็น “เจ้าอาวาสวัดนาแส่ง” เป็นต้นมาจนปัจจุบัน
    หลังเหตุการณ์นี้ผ่านไปตั้งแต่นั้นมา “เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อคำปัน” ก็กลายเป็นที่หวงแหนของชาวบ้านนาแส่ง เพราะทุกคนรวมทั้ง “ผู้ใหญ่ประยูร” เชื่อว่าเหตุที่รอดชีวิตจากคมกระสุนปืน “เอ็ม ๑๖” มาได้ก็เพราะ “เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อคำปัน” ช่วยไว้นั่นเองนอกจากเหรียญรุ่นแรกแล้ว “พระรูปเหมือนรุ่นแรก” ของหลวงพ่อก็มีประสบการณ์ไม่แพ้กันเรียกได้ว่า “มงคลวัตถุ” ทุกรุ่นของท่านล้วนมีพุทธคุณดีทั้งสิ้นแม้กระทั่งวัตถุมงคลที่ “วัดแม่ไฮ” ซึ่งอยู่ใกล้ ๆ “วัดนาแส่ง” ที่มาขออนุญาต “หลวงพ่อคำปัน” สร้างพระเครื่อง “รูปเหมือนหลวงพ่อคำปันเนื้อผง” และ “พระผงนางพญา” ปี พ.ศ. ๒๕๔๑ เพื่อหารายได้สร้าง “วิหารวัดแม่ไฮ” ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้สร้าง “พระนางพญา เนื้อตะกั่ว” ด้านหลังจารยันต์อีกพิมพ์หนึ่งโดยมี “หลวงพ่อคำปัน” ปลุกเสกอย่างดีซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๑ นี้เองได้เกิดเหตุ “ไฟไหม้กุฏิพระ” ซึ่งเป็นกุฏิสำหรับเก็บพระเครื่องของ “วัดแม่ไฮ” ชาวบ้านช่วยกันดับไฟไม่ทันจึงโดนไฟไหม้หมดทั้งหลัง และหลังจากไฟดับแล้วชาวบ้านต้องพบความแปลกใจ เพราะในกองเถ้าถ่านมี “ภาพหลวงพ่อคำปัน” เท่านั้นที่ไฟไม่ไหม้ พร้อมด้วย “พระพิมพ์สี่เหลี่ยมเนื้อผงรูปเหมือนหลวงพ่อ” และ “พระผงนางพญา” ตลอดจน “พระนางพญาเนื้อตะกั่ว” ทั้งหมดคลุกอยู่ในกองเถ้าถ่านแต่ไม่มีพระเครื่ององค์ใดไหม้ไฟเลยแม้แต่องค์ เดียวทำให้หนังสือพิมพ์ ท้องถิ่น “ฅนเมืองเหนือ” นำเสนอข่าวนี้ ชาวบ้านจึงแตกตื่นไปบูชาพระเครื่องดังกล่าวจนหมดลง “พระครูพิศาลอรรถกิจ” เจ้าอาวาส “วัดแม่ไฮ” และเจ้าคณะตำบลนาแส่งเล่าว่าพระเครื่อง ดังกล่าวท่านได้ขออนุญาตหลวงพ่อคำปันสร้างขึ้น และให้หลวงพ่อคำปันปลุกเสกเพื่อหาทุนสร้างวิหารของวัด ส่วนภาพถ่ายของหลวงพ่อคำปันที่ไม่ไหม้ไฟนั้น ท่านใส่กรอบแขวนไว้ในกุฏิที่ ไฟไหม้ ที่ปัจจุบันคงเหลือแต่กระดาษที่มีรูปหลวงพ่อ ส่วนกรอบไม้นั้นไฟไหม้หมดแล้ว
    “หลวงพ่อคำปัน” ยังคงจำพรรษาอยู่ที่วัดนาแส่งมีลูกศิษย์และผู้ศรัทธาเลื่อมใสไปทำบุญกับท่านอยู่เสมอ ท่านเป็นพระเถระผู้มีศีลบริสุทธิ์ ราศีผ่องใสใครมีโอกาสได้ไปกราบไหว้และทำบุญกับท่าน เหมือนได้ทำบุญกับเนื้อนาบุญอันอุดมสมบูรณ์ ย่อมได้ทั้งบุญและกุศลมากมายมหาศาล





     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤษภาคม 2021
  3. j999

    j999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    5,144
    ค่าพลัง:
    +5,421
    ขอจองครับ
     
  4. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รับทราบการจองครับ ขอบพระคุณครับพี่
     
  5. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 7802

    พระสังกัจจายน์ รุ่น "ทวีโชค" ครูบากฤษดา สุเมโธ วัดสันพระเจ้าแดงจ.ลำพูน ปี 2542

    พุทธลักษณะองค์พระสังกัจจายน์นั่งหน้าตรง มือข้างขวาถือถุงเงิน และมือข้างซ้ายถือถุงทอง ด้านหลังองค์พระมีชื่อครูบากฤษดา

    ราคา 950 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    พระสังกัจจายน์ครูบากฤษดา a.jpg
    พระสังกัจจายน์ครูบากฤษดา b.jpg
    พระสังกัจจายน์ครูบากฤษดา c.jpg
    พระสังกัจจายน์ครูบากฤษดา d.jpg
    ครูบากฤษดา.jpg

    อัตชีวประวัติ พอสังเขป

    พระกฤษดา สุเมโธ เดิมอาศัยอยู่ที่บ้านห้วยม่วง เลขที่ ๕๗ หมู่ ๓ ต.ห้วยยาบ อ.บ้านธิ จ.ลำพูน บิดาชื่อ นายอุทัย มารดาชื่อ นางถิรนันท์ นามสกุล เอกกันทา

    ในช่วงที่มารดาอุ้มท้องก่อนกำหนดคลอดหนึ่งวัน ซึ่งตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๘ ค่ำ ตรงกับวันพระ ในตอนใกล้รุ่ง มารดาฝันว่าได้ลูกแก้วมณี มีความสดใสสวยงามมาก ลอยเข้ามาหา แล้วมารดาก็รับแก้วมณีดวงนั้นไว้ในอก พอสะดุ้งตื่น มารดาก็เริ่มมีอาการปวดท้องเล็กน้อย จนถึงกำหนดคลอดอีกวันหนึ่ง ซึ่งตรงกับ วันศุกร์ที่ ๗ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๖ (ใต้) แต่เป็นเดือน ๘ ของทางเหนือ เวลา ๒๓.๐๐ น. โยมมารดา ได้ถือกำเนิดทารกเพศชาย มีผิวผรรณ วรรณะเหลืองสุก คล้ายดอกจำปา โดยมีญาติผู้ใหญ่ของท่าน เป็นผู้ทำคลอดในบ้านของท่าน โดยผู้ใหญ่ท่านนี้ชื่อว่า พ่อน้อยยืน พันกับ ปัจจุบันท่านยังมีชีวิตอยู่ ด้วยในช่วงนั้น จะหารถไปส่งโรงพยาบาลในตัวจังหวัดก็ลำบาก รถยนต์ก็ไม่ค่อยมี หนทางก็ไกลหลายสิบกิโลเมตร บวกกับว่าในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม ทางเหนือเริ่มมีฝนตก ทำให้ลำบากมากในการที่จะไปโรงพยาบาล ในวันที่ท่านคลอดก็เกิดฝนตกหนักมา ฟ้าแลบฟ้าร้อง มีลมกรรโชกแรงมาก และตอนนั้น ในหมู่บ้านยังไม่มีไฟฟ้าใช้กัน ต้องจุดตะเกียงน้ำมันก๊าด หรือไม่ก็เทียนไข เพื่อส่องสว่างในยามค่ำคืน

    หลังจากที่ท่านคลอดมาแล้ว โยมบิดาได้ตั้งชื่อว่า เด็กชายกฤษดา เพราะถือฤกษ์ที่มารดาฝันว่าได้แก้ว และในช่วงที่คลอดเกิดฝนตกหนักพอดี หลังจากท่านคลอด และอาบน้ำอุ่นแล้ว ฝนก็อันตธานหยุดตก เป็นอัศจรรย์ ท่านเป็นทารกที่คลอดง่าย ไม่ร้องไห้เหมือนเด็กคนอื่น และที่น่าแปลกตรงที่ว่า ลายฝ่าเท้าของท่าน มีรูปคล้ายดอกบัวตูม และรูปหอยสังข์ซ้อนกันอยู่อย่างเห็นได้ชัดเจนมาก โดยเฉพาะรูปหอยสังข์ และรูปดอกบัวตูมที่ฝ่าเท้าด้านขวาเห็นจนถึงปัจจุบัน โยมบิดาจึงได้ตั้งชื่อท่านตามนิมิตดังกล่าวมา

    หลังจากที่ท่านได้เจริญเติบโต เป็นเด็กที่มีความขยัน กตัญญู และมีความคิดเฉลียวฉลาด เรียนรู้อะไรได้เร็ว ตลอดถึงการพูดจาเหมือนผู้ใหญ่ ช่างเจรจา อ่อนน้อม ถ่อมตน เป็นที่เอ็นดู สำหรับผู้พบเห็น แต่เป็นเด็กที่เลี้ยงยากมาก ในด้านของสุขภาพ ไม่สบายบ่อยมากเป็นทุก ๆ ปี และได้ศึกษาชั้นประถมต้นที่โรงเรียนวัดห้วยยาบ และช่วงนั้นก็เริ่มมีใจรักในพระศาสนา ด้วยที่ว่า คุณปู่เป็นคนชักชวนให้ตามไปทำบุญ รักษาศีล ในช่วงเข้าพรรษา ทางเหนือจะนิยมนอนวัดกัน เพื่อจะประกอบการถือศีลภาวนา ครั้งแรกที่ได้ไปทำบุญกับคุณปู่ ตอนที่นั่งในพระวิหาร พิจารณามองพระประธาน ดูองค์ท่านสง่างามมาก เหมือนท่านยิ้มให้ จึงเกิดปิติความศรัทธาหลายอย่าง ทุกครั้งที่ไปวัด ท่านชอบมองพระประธานนาน ๆ เสมอ และอยากจะบวชในบวรพุทธศาสนา และมีอีกอย่างหนึ่งในช่วงที่เป็นเด็กได้ศึกษาวิชาทางสมุนไพรและสรรพวิชาเหมือนกับคุณปู่ เพราะว่าท่านเป็นหมอพื้นบ้าน เป็นที่นับหน้าถือตาของคนในหมู่บ้านนั้น และหมู่บ้านใกล้เคียง เกี่ยวกับการรักษาโรคต่างๆ ได้

    หลังจากนั้นที่ได้ศึกษาจากโรงเรียนชั้นประถมจนจบแล้ว ตอนนั้นอายุได้ ๑๓ ปี ได้รับการบรรพชาเป็นสามเณรภาคฤดูร้อนที่พัทธสีมาวัดป่ายาง (สันพระเจ้าแดง) ต.ห้วยยาบ อ.บ้านธิ จ.ลำพูน ในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๒ เวลา ๑๓.๐๐ น. โดยมีพระครูโสภณรัตรสาร เจ้าคณะอำเภอบ้านธิ เป็นพระอุปปัชฌาจารย์ และหลังจากได้รับการบรรพชาแล้วก็จำพรรษาอยู่วัดห้วยยาบและช่วงนั้นก็ได้ศึกษานักธรรมบาลีจากสำนักเรียน โรงเรียนโสภณวิทยาทั้งแผนกสามัญและปริยัติควบคู่กันไป จนครบหนึ่งปี สำหรับการที่อยู่จำพรรษาวัดห้วยยาบ และแล้วในปี ๒๕๓๓ ก็ได้มาจำพรรษาวัดป่ายาง (สันพระเจ้าแดง) เพื่อสะดวกในการศึกษาเล่าเรียนต่างๆ เพราะต้องขึ้นรถประจำทางมาโดยตลอด ในปีนี้เอง ได้พบกับครูบาอินตา อินทปัญโญ วัดห้วยไซใต้ ต.ห้วยขาบ อ.บ้านธิ จ.ลำพูน ในตอนคารวะช่วงปีใหม่เมือง คือมองเห็นท่านและเกิดความศรัทธาปสาทะ อย่างบอกไม่ถูก และท่านก็เป็นพระอาวุโสที่มีอายุพรรษาสูงมากในอำเภอและพอเคยได้ยินกิตติศัพท์ความสามารถของครูบาอินตา มาจากคุณปู่และชาวบ้านมาบ้างแล้ว จึงถือโอกาสแวะเวียนไปมาบ่อยๆ จนเป็นที่คุ้นเคยกับครูบาอินตา ซึ่งท่านก็ให้ความรักและเอ็นดูดุจลูกหลานมาโดยตลอด ท่านอบรบสั่งสอนทุกด้าน โดยเน้น สมถภาวนา ในด้านการนับลูกประคำและแนวทางการกำหนดลมหายใจเข้าออก นอกจากนั้นยังได้เริ่มเรียนอักขระล้านนา ควบคู่ไปด้วย ตลอดถึงบทสวยคำภีร์ต่างๆ ของล้านนาที่ได้มาจากพ่อน้อย พ่อหนาน อาจารย์ต่างๆ ที่พอมีอยู่ในสมัยนั้น ไม่เข้าใจสิ่งใดหรือติดขัดเรื่องใด หลวงปู่ครูบาอินตาท่านได้แนะนำบอกกล่าวจนเข้าใจตลอดมา จึงเป็นเหตุให้ผูกพันท่านมากเป็นพิเศษ จะว่าไปแล้ว ในสมัยตอนเป็นเณรอยู่วัดห้วยไซเสียส่วนมาก แต่ก็ได้ไปกลับวัดป่ายาง (สันพระเจ้าแดง) อยู่เป็นประจำ เพราะต้องช่วยงานทั้งสองวัด มิให้ขาดตกบกพร่องใดๆ

    การศึกษาเป็นไปอย่างต่อเนื่องหลายอย่าง และฝึกเรียนเทศน์มหาชาติเวสสันดรชาดก โดยเฉพาะกัณฑ์กุมาร กัณฑ์มัทรี เทศน์ได้ไพเราะมาก ถือว่ามีชื่อเสียงมากในสมัยที่ยังเป็นสามเณร มีกิจนิมนต์เทศน์ทั่วภาคเหนือ จนกระทั่งท่านมีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ พร้อมที่จะอุปสมบทเป็นพระภิกษุในบวรพุทธศาสนา โดยมีพระอุปปัชฌาย์ คือ พระครูโสภณรัตรสาร เจ้าคณะอำเภอบ้านธิ พระกรรมวาจารย์ คือพระสิงห์คำ ขันติโก (มรณภาพ) และ พระอนุสาวนาจารย์ คือพระอธิการวิลา อัคคจิตโต เจ้าคณะตำบลห้วยยาบ (ลาสิกขา) อุปสมบท ณ พระอุโบสถวัดป่ายาง (สันพระเจ้าแดง) ต.ห้วยยาบ อ.บ้านธิ จ.ลำพูน ตรงกับวันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๙ เวลา ๑๕.๓๘ น. โดยพระอุปปัชฌาย์ให้ฉายาทางพระภิกษุว่า "สุเมโธ" ซึ่งแปลว่า เป็นผู้มีความรู้ดี หลังจากที่ได้อุปสมบทแล้วไม่นาน เจ้าอาวาสรูปปัจจุบันในสมัยนั้นก็ได้ลาสิกขาไปเป็นเหตุให้หน้าที่ทุกๆ อย่างภายในวัดป่ายาง (สันพระเจ้าแดง) ตกแก่ท่าต้องรับผิดชอบทั้งหมด ตั้งแต่อายุ ๒๐ ปี พรรษาแรก หลังจากอุปสมบท โดยทำหน้าที่รักษาการแทนเจ้าอาวาสมาโดยตลอด จนถึงอายุครบ ๒๕ ปี พรรษาที่ ๕ ทางจังหวัดได้แต่งตั้งให้ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส จนถึงปัจจุบัน และได้เทศน์สุ่งสอนพุทธศาสนิกชนทั้งหลายตลอดมา และได้พัฒนาถาวรวัตถุ เสนาสนะต่างๆ ภายในวัดป่ายาง (สันพระเจ้าแดง) และวัดวาอารามใกล้เคียง ที่มีขอให้ท่านเป็นประธานในการก่อสร้างถาวรวัตถุมากมายหลายวัด ต่างตำบาลต่างอำเภอ ออกไปจนสำเร็จลุล่างไปด้วยดีทุกประการ ซึ่งในแต่ละครั้งต้องใช้ทุนทรัพย์ในการก่อสร้างหลายล้านบาท แต่ท่านมิได้ย่อท้อแต่ประการใด พร้อมทั้งพัฒนาทั้งในด้านจิตใจให้ความรู้ด้านธรรมะแก่สาธุชนทั่วไปโดยไม่เลือกชั้นวรรณะ พัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาในด้านถาวรวัตถุ สิ่งก่อสร้างต่างๆ อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน


    ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ครูบากฤษดา สุเมโธ , วัดป่ายาง (สันพระเจ้าแดง) อ.บ้านธิ จ.ลำพูน

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤษภาคม 2021
  6. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 7803

    ปรกใบมะขามนิรันตราย รุ่นแรก เนื้อนวะ ครูบากฤษดา สุเมโธ
    วัดสันพระเจ้าแดง พร้อมกล่องเดิม


    จัดสร้างปี 2560 ถือเป็นพระปรกใบมะขามรุ่นแรกและรุ่นเดียวของครูบาท่านเพราะครูบาท่านห้ามสร้างปรกใบมะขามอีกแล้ว

    ราคา 950 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    a.JPG
    aa.JPG
    aaa.JPG

    Clip_9.jpg

    อัตชีวประวัติ พอสังเขป

    พระกฤษดา สุเมโธ เดิมอาศัยอยู่ที่บ้านห้วยม่วง เลขที่ ๕๗ หมู่ ๓ ต.ห้วยยาบ อ.บ้านธิ จ.ลำพูน บิดาชื่อ นายอุทัย มารดาชื่อ นางถิรนันท์ นามสกุล เอกกันทา

    ในช่วงที่มารดาอุ้มท้องก่อนกำหนดคลอดหนึ่งวัน ซึ่งตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๘ ค่ำ ตรงกับวันพระ ในตอนใกล้รุ่ง มารดาฝันว่าได้ลูกแก้วมณี มีความสดใสสวยงามมาก ลอยเข้ามาหา แล้วมารดาก็รับแก้วมณีดวงนั้นไว้ในอก พอสะดุ้งตื่น มารดาก็เริ่มมีอาการปวดท้องเล็กน้อย จนถึงกำหนดคลอดอีกวันหนึ่ง ซึ่งตรงกับ วันศุกร์ที่ ๗ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๖ (ใต้) แต่เป็นเดือน ๘ ของทางเหนือ เวลา ๒๓.๐๐ น. โยมมารดา ได้ถือกำเนิดทารกเพศชาย มีผิวผรรณ วรรณะเหลืองสุก คล้ายดอกจำปา โดยมีญาติผู้ใหญ่ของท่าน เป็นผู้ทำคลอดในบ้านของท่าน โดยผู้ใหญ่ท่านนี้ชื่อว่า พ่อน้อยยืน พันกับ ปัจจุบันท่านยังมีชีวิตอยู่ ด้วยในช่วงนั้น จะหารถไปส่งโรงพยาบาลในตัวจังหวัดก็ลำบาก รถยนต์ก็ไม่ค่อยมี หนทางก็ไกลหลายสิบกิโลเมตร บวกกับว่าในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม ทางเหนือเริ่มมีฝนตก ทำให้ลำบากมากในการที่จะไปโรงพยาบาล ในวันที่ท่านคลอดก็เกิดฝนตกหนักมา ฟ้าแลบฟ้าร้อง มีลมกรรโชกแรงมาก และตอนนั้น ในหมู่บ้านยังไม่มีไฟฟ้าใช้กัน ต้องจุดตะเกียงน้ำมันก๊าด หรือไม่ก็เทียนไข เพื่อส่องสว่างในยามค่ำคืน

    หลังจากที่ท่านคลอดมาแล้ว โยมบิดาได้ตั้งชื่อว่า เด็กชายกฤษดา เพราะถือฤกษ์ที่มารดาฝันว่าได้แก้ว และในช่วงที่คลอดเกิดฝนตกหนักพอดี หลังจากท่านคลอด และอาบน้ำอุ่นแล้ว ฝนก็อันตธานหยุดตก เป็นอัศจรรย์ ท่านเป็นทารกที่คลอดง่าย ไม่ร้องไห้เหมือนเด็กคนอื่น และที่น่าแปลกตรงที่ว่า ลายฝ่าเท้าของท่าน มีรูปคล้ายดอกบัวตูม และรูปหอยสังข์ซ้อนกันอยู่อย่างเห็นได้ชัดเจนมาก โดยเฉพาะรูปหอยสังข์ และรูปดอกบัวตูมที่ฝ่าเท้าด้านขวาเห็นจนถึงปัจจุบัน โยมบิดาจึงได้ตั้งชื่อท่านตามนิมิตดังกล่าวมา

    หลังจากที่ท่านได้เจริญเติบโต เป็นเด็กที่มีความขยัน กตัญญู และมีความคิดเฉลียวฉลาด เรียนรู้อะไรได้เร็ว ตลอดถึงการพูดจาเหมือนผู้ใหญ่ ช่างเจรจา อ่อนน้อม ถ่อมตน เป็นที่เอ็นดู สำหรับผู้พบเห็น แต่เป็นเด็กที่เลี้ยงยากมาก ในด้านของสุขภาพ ไม่สบายบ่อยมากเป็นทุก ๆ ปี และได้ศึกษาชั้นประถมต้นที่โรงเรียนวัดห้วยยาบ และช่วงนั้นก็เริ่มมีใจรักในพระศาสนา ด้วยที่ว่า คุณปู่เป็นคนชักชวนให้ตามไปทำบุญ รักษาศีล ในช่วงเข้าพรรษา ทางเหนือจะนิยมนอนวัดกัน เพื่อจะประกอบการถือศีลภาวนา ครั้งแรกที่ได้ไปทำบุญกับคุณปู่ ตอนที่นั่งในพระวิหาร พิจารณามองพระประธาน ดูองค์ท่านสง่างามมาก เหมือนท่านยิ้มให้ จึงเกิดปิติความศรัทธาหลายอย่าง ทุกครั้งที่ไปวัด ท่านชอบมองพระประธานนาน ๆ เสมอ และอยากจะบวชในบวรพุทธศาสนา และมีอีกอย่างหนึ่งในช่วงที่เป็นเด็กได้ศึกษาวิชาทางสมุนไพรและสรรพวิชาเหมือนกับคุณปู่ เพราะว่าท่านเป็นหมอพื้นบ้าน เป็นที่นับหน้าถือตาของคนในหมู่บ้านนั้น และหมู่บ้านใกล้เคียง เกี่ยวกับการรักษาโรคต่างๆ ได้

    หลังจากนั้นที่ได้ศึกษาจากโรงเรียนชั้นประถมจนจบแล้ว ตอนนั้นอายุได้ ๑๓ ปี ได้รับการบรรพชาเป็นสามเณรภาคฤดูร้อนที่พัทธสีมาวัดป่ายาง (สันพระเจ้าแดง) ต.ห้วยยาบ อ.บ้านธิ จ.ลำพูน ในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๒ เวลา ๑๓.๐๐ น. โดยมีพระครูโสภณรัตรสาร เจ้าคณะอำเภอบ้านธิ เป็นพระอุปปัชฌาจารย์ และหลังจากได้รับการบรรพชาแล้วก็จำพรรษาอยู่วัดห้วยยาบและช่วงนั้นก็ได้ศึกษานักธรรมบาลีจากสำนักเรียน โรงเรียนโสภณวิทยาทั้งแผนกสามัญและปริยัติควบคู่กันไป จนครบหนึ่งปี สำหรับการที่อยู่จำพรรษาวัดห้วยยาบ และแล้วในปี ๒๕๓๓ ก็ได้มาจำพรรษาวัดป่ายาง (สันพระเจ้าแดง) เพื่อสะดวกในการศึกษาเล่าเรียนต่างๆ เพราะต้องขึ้นรถประจำทางมาโดยตลอด ในปีนี้เอง ได้พบกับครูบาอินตา อินทปัญโญ วัดห้วยไซใต้ ต.ห้วยขาบ อ.บ้านธิ จ.ลำพูน ในตอนคารวะช่วงปีใหม่เมือง คือมองเห็นท่านและเกิดความศรัทธาปสาทะ อย่างบอกไม่ถูก และท่านก็เป็นพระอาวุโสที่มีอายุพรรษาสูงมากในอำเภอและพอเคยได้ยินกิตติศัพท์ความสามารถของครูบาอินตา มาจากคุณปู่และชาวบ้านมาบ้างแล้ว จึงถือโอกาสแวะเวียนไปมาบ่อยๆ จนเป็นที่คุ้นเคยกับครูบาอินตา ซึ่งท่านก็ให้ความรักและเอ็นดูดุจลูกหลานมาโดยตลอด ท่านอบรบสั่งสอนทุกด้าน โดยเน้น สมถภาวนา ในด้านการนับลูกประคำและแนวทางการกำหนดลมหายใจเข้าออก นอกจากนั้นยังได้เริ่มเรียนอักขระล้านนา ควบคู่ไปด้วย ตลอดถึงบทสวยคำภีร์ต่างๆ ของล้านนาที่ได้มาจากพ่อน้อย พ่อหนาน อาจารย์ต่างๆ ที่พอมีอยู่ในสมัยนั้น ไม่เข้าใจสิ่งใดหรือติดขัดเรื่องใด หลวงปู่ครูบาอินตาท่านได้แนะนำบอกกล่าวจนเข้าใจตลอดมา จึงเป็นเหตุให้ผูกพันท่านมากเป็นพิเศษ จะว่าไปแล้ว ในสมัยตอนเป็นเณรอยู่วัดห้วยไซเสียส่วนมาก แต่ก็ได้ไปกลับวัดป่ายาง (สันพระเจ้าแดง) อยู่เป็นประจำ เพราะต้องช่วยงานทั้งสองวัด มิให้ขาดตกบกพร่องใดๆ

    การศึกษาเป็นไปอย่างต่อเนื่องหลายอย่าง และฝึกเรียนเทศน์มหาชาติเวสสันดรชาดก โดยเฉพาะกัณฑ์กุมาร กัณฑ์มัทรี เทศน์ได้ไพเราะมาก ถือว่ามีชื่อเสียงมากในสมัยที่ยังเป็นสามเณร มีกิจนิมนต์เทศน์ทั่วภาคเหนือ จนกระทั่งท่านมีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ พร้อมที่จะอุปสมบทเป็นพระภิกษุในบวรพุทธศาสนา โดยมีพระอุปปัชฌาย์ คือ พระครูโสภณรัตรสาร เจ้าคณะอำเภอบ้านธิ พระกรรมวาจารย์ คือพระสิงห์คำ ขันติโก (มรณภาพ) และ พระอนุสาวนาจารย์ คือพระอธิการวิลา อัคคจิตโต เจ้าคณะตำบลห้วยยาบ (ลาสิกขา) อุปสมบท ณ พระอุโบสถวัดป่ายาง (สันพระเจ้าแดง) ต.ห้วยยาบ อ.บ้านธิ จ.ลำพูน ตรงกับวันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๙ เวลา ๑๕.๓๘ น. โดยพระอุปปัชฌาย์ให้ฉายาทางพระภิกษุว่า "สุเมโธ" ซึ่งแปลว่า เป็นผู้มีความรู้ดี หลังจากที่ได้อุปสมบทแล้วไม่นาน เจ้าอาวาสรูปปัจจุบันในสมัยนั้นก็ได้ลาสิกขาไปเป็นเหตุให้หน้าที่ทุกๆ อย่างภายในวัดป่ายาง (สันพระเจ้าแดง) ตกแก่ท่าต้องรับผิดชอบทั้งหมด ตั้งแต่อายุ ๒๐ ปี พรรษาแรก หลังจากอุปสมบท โดยทำหน้าที่รักษาการแทนเจ้าอาวาสมาโดยตลอด จนถึงอายุครบ ๒๕ ปี พรรษาที่ ๕ ทางจังหวัดได้แต่งตั้งให้ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส จนถึงปัจจุบัน และได้เทศน์สุ่งสอนพุทธศาสนิกชนทั้งหลายตลอดมา และได้พัฒนาถาวรวัตถุ เสนาสนะต่างๆ ภายในวัดป่ายาง (สันพระเจ้าแดง) และวัดวาอารามใกล้เคียง ที่มีขอให้ท่านเป็นประธานในการก่อสร้างถาวรวัตถุมากมายหลายวัด ต่างตำบาลต่างอำเภอ ออกไปจนสำเร็จลุล่างไปด้วยดีทุกประการ ซึ่งในแต่ละครั้งต้องใช้ทุนทรัพย์ในการก่อสร้างหลายล้านบาท แต่ท่านมิได้ย่อท้อแต่ประการใด พร้อมทั้งพัฒนาทั้งในด้านจิตใจให้ความรู้ด้านธรรมะแก่สาธุชนทั่วไปโดยไม่เลือกชั้นวรรณะ พัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาในด้านถาวรวัตถุ สิ่งก่อสร้างต่างๆ อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

    ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ครูบากฤษดา สุเมโธ , วัดป่ายาง (สันพระเจ้าแดง) อ.บ้านธิ จ.ลำพูน

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤษภาคม 2021
  7. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 7804

    เหรียญพระเจ้าแดง ครูบากฤษดา สุเมโธ วัดสันพระเจ้าแดง ปี2551
    สุดยอดประสบการณ์


    เป็นเหรียญที่ครูบาท่านสร้างแต่เนื้อทองแดง เพื่อแจกให้กับชาวบ้านและคนที่มาวัดท่าน เหรียญดีราคาเบาๆที่คนในพื้นที่หวงแหนมากๆ สุดยอดเหรียญประสบการณ์คนในพื้นที่จะรู้กันดีครับ

    ราคา 450 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    2.JPG 22.JPG

    ครูบากฤษดา.jpg


    อัตชีวประวัติ พอสังเขป

    พระกฤษดา สุเมโธ เดิมอาศัยอยู่ที่บ้านห้วยม่วง เลขที่ ๕๗ หมู่ ๓ ต.ห้วยยาบ อ.บ้านธิ จ.ลำพูน บิดาชื่อ นายอุทัย มารดาชื่อ นางถิรนันท์ นามสกุล เอกกันทา

    ในช่วงที่มารดาอุ้มท้องก่อนกำหนดคลอดหนึ่งวัน ซึ่งตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๘ ค่ำ ตรงกับวันพระ ในตอนใกล้รุ่ง มารดาฝันว่าได้ลูกแก้วมณี มีความสดใสสวยงามมาก ลอยเข้ามาหา แล้วมารดาก็รับแก้วมณีดวงนั้นไว้ในอก พอสะดุ้งตื่น มารดาก็เริ่มมีอาการปวดท้องเล็กน้อย จนถึงกำหนดคลอดอีกวันหนึ่ง ซึ่งตรงกับ วันศุกร์ที่ ๗ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๖ (ใต้) แต่เป็นเดือน ๘ ของทางเหนือ เวลา ๒๓.๐๐ น. โยมมารดา ได้ถือกำเนิดทารกเพศชาย มีผิวผรรณ วรรณะเหลืองสุก คล้ายดอกจำปา โดยมีญาติผู้ใหญ่ของท่าน เป็นผู้ทำคลอดในบ้านของท่าน โดยผู้ใหญ่ท่านนี้ชื่อว่า พ่อน้อยยืน พันกับ ปัจจุบันท่านยังมีชีวิตอยู่ ด้วยในช่วงนั้น จะหารถไปส่งโรงพยาบาลในตัวจังหวัดก็ลำบาก รถยนต์ก็ไม่ค่อยมี หนทางก็ไกลหลายสิบกิโลเมตร บวกกับว่าในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม ทางเหนือเริ่มมีฝนตก ทำให้ลำบากมากในการที่จะไปโรงพยาบาล ในวันที่ท่านคลอดก็เกิดฝนตกหนักมา ฟ้าแลบฟ้าร้อง มีลมกรรโชกแรงมาก และตอนนั้น ในหมู่บ้านยังไม่มีไฟฟ้าใช้กัน ต้องจุดตะเกียงน้ำมันก๊าด หรือไม่ก็เทียนไข เพื่อส่องสว่างในยามค่ำคืน

    หลังจากที่ท่านคลอดมาแล้ว โยมบิดาได้ตั้งชื่อว่า เด็กชายกฤษดา เพราะถือฤกษ์ที่มารดาฝันว่าได้แก้ว และในช่วงที่คลอดเกิดฝนตกหนักพอดี หลังจากท่านคลอด และอาบน้ำอุ่นแล้ว ฝนก็อันตธานหยุดตก เป็นอัศจรรย์ ท่านเป็นทารกที่คลอดง่าย ไม่ร้องไห้เหมือนเด็กคนอื่น และที่น่าแปลกตรงที่ว่า ลายฝ่าเท้าของท่าน มีรูปคล้ายดอกบัวตูม และรูปหอยสังข์ซ้อนกันอยู่อย่างเห็นได้ชัดเจนมาก โดยเฉพาะรูปหอยสังข์ และรูปดอกบัวตูมที่ฝ่าเท้าด้านขวาเห็นจนถึงปัจจุบัน โยมบิดาจึงได้ตั้งชื่อท่านตามนิมิตดังกล่าวมา

    หลังจากที่ท่านได้เจริญเติบโต เป็นเด็กที่มีความขยัน กตัญญู และมีความคิดเฉลียวฉลาด เรียนรู้อะไรได้เร็ว ตลอดถึงการพูดจาเหมือนผู้ใหญ่ ช่างเจรจา อ่อนน้อม ถ่อมตน เป็นที่เอ็นดู สำหรับผู้พบเห็น แต่เป็นเด็กที่เลี้ยงยากมาก ในด้านของสุขภาพ ไม่สบายบ่อยมากเป็นทุก ๆ ปี และได้ศึกษาชั้นประถมต้นที่โรงเรียนวัดห้วยยาบ และช่วงนั้นก็เริ่มมีใจรักในพระศาสนา ด้วยที่ว่า คุณปู่เป็นคนชักชวนให้ตามไปทำบุญ รักษาศีล ในช่วงเข้าพรรษา ทางเหนือจะนิยมนอนวัดกัน เพื่อจะประกอบการถือศีลภาวนา ครั้งแรกที่ได้ไปทำบุญกับคุณปู่ ตอนที่นั่งในพระวิหาร พิจารณามองพระประธาน ดูองค์ท่านสง่างามมาก เหมือนท่านยิ้มให้ จึงเกิดปิติความศรัทธาหลายอย่าง ทุกครั้งที่ไปวัด ท่านชอบมองพระประธานนาน ๆ เสมอ และอยากจะบวชในบวรพุทธศาสนา และมีอีกอย่างหนึ่งในช่วงที่เป็นเด็กได้ศึกษาวิชาทางสมุนไพรและสรรพวิชาเหมือนกับคุณปู่ เพราะว่าท่านเป็นหมอพื้นบ้าน เป็นที่นับหน้าถือตาของคนในหมู่บ้านนั้น และหมู่บ้านใกล้เคียง เกี่ยวกับการรักษาโรคต่างๆ ได้

    หลังจากนั้นที่ได้ศึกษาจากโรงเรียนชั้นประถมจนจบแล้ว ตอนนั้นอายุได้ ๑๓ ปี ได้รับการบรรพชาเป็นสามเณรภาคฤดูร้อนที่พัทธสีมาวัดป่ายาง (สันพระเจ้าแดง) ต.ห้วยยาบ อ.บ้านธิ จ.ลำพูน ในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๒ เวลา ๑๓.๐๐ น. โดยมีพระครูโสภณรัตรสาร เจ้าคณะอำเภอบ้านธิ เป็นพระอุปปัชฌาจารย์ และหลังจากได้รับการบรรพชาแล้วก็จำพรรษาอยู่วัดห้วยยาบและช่วงนั้นก็ได้ศึกษานักธรรมบาลีจากสำนักเรียน โรงเรียนโสภณวิทยาทั้งแผนกสามัญและปริยัติควบคู่กันไป จนครบหนึ่งปี สำหรับการที่อยู่จำพรรษาวัดห้วยยาบ และแล้วในปี ๒๕๓๓ ก็ได้มาจำพรรษาวัดป่ายาง (สันพระเจ้าแดง) เพื่อสะดวกในการศึกษาเล่าเรียนต่างๆ เพราะต้องขึ้นรถประจำทางมาโดยตลอด ในปีนี้เอง ได้พบกับครูบาอินตา อินทปัญโญ วัดห้วยไซใต้ ต.ห้วยขาบ อ.บ้านธิ จ.ลำพูน ในตอนคารวะช่วงปีใหม่เมือง คือมองเห็นท่านและเกิดความศรัทธาปสาทะ อย่างบอกไม่ถูก และท่านก็เป็นพระอาวุโสที่มีอายุพรรษาสูงมากในอำเภอและพอเคยได้ยินกิตติศัพท์ความสามารถของครูบาอินตา มาจากคุณปู่และชาวบ้านมาบ้างแล้ว จึงถือโอกาสแวะเวียนไปมาบ่อยๆ จนเป็นที่คุ้นเคยกับครูบาอินตา ซึ่งท่านก็ให้ความรักและเอ็นดูดุจลูกหลานมาโดยตลอด ท่านอบรบสั่งสอนทุกด้าน โดยเน้น สมถภาวนา ในด้านการนับลูกประคำและแนวทางการกำหนดลมหายใจเข้าออก นอกจากนั้นยังได้เริ่มเรียนอักขระล้านนา ควบคู่ไปด้วย ตลอดถึงบทสวยคำภีร์ต่างๆ ของล้านนาที่ได้มาจากพ่อน้อย พ่อหนาน อาจารย์ต่างๆ ที่พอมีอยู่ในสมัยนั้น ไม่เข้าใจสิ่งใดหรือติดขัดเรื่องใด หลวงปู่ครูบาอินตาท่านได้แนะนำบอกกล่าวจนเข้าใจตลอดมา จึงเป็นเหตุให้ผูกพันท่านมากเป็นพิเศษ จะว่าไปแล้ว ในสมัยตอนเป็นเณรอยู่วัดห้วยไซเสียส่วนมาก แต่ก็ได้ไปกลับวัดป่ายาง (สันพระเจ้าแดง) อยู่เป็นประจำ เพราะต้องช่วยงานทั้งสองวัด มิให้ขาดตกบกพร่องใดๆ

    การศึกษาเป็นไปอย่างต่อเนื่องหลายอย่าง และฝึกเรียนเทศน์มหาชาติเวสสันดรชาดก โดยเฉพาะกัณฑ์กุมาร กัณฑ์มัทรี เทศน์ได้ไพเราะมาก ถือว่ามีชื่อเสียงมากในสมัยที่ยังเป็นสามเณร มีกิจนิมนต์เทศน์ทั่วภาคเหนือ จนกระทั่งท่านมีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ พร้อมที่จะอุปสมบทเป็นพระภิกษุในบวรพุทธศาสนา โดยมีพระอุปปัชฌาย์ คือ พระครูโสภณรัตรสาร เจ้าคณะอำเภอบ้านธิ พระกรรมวาจารย์ คือพระสิงห์คำ ขันติโก (มรณภาพ) และ พระอนุสาวนาจารย์ คือพระอธิการวิลา อัคคจิตโต เจ้าคณะตำบลห้วยยาบ (ลาสิกขา) อุปสมบท ณ พระอุโบสถวัดป่ายาง (สันพระเจ้าแดง) ต.ห้วยยาบ อ.บ้านธิ จ.ลำพูน ตรงกับวันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๙ เวลา ๑๕.๓๘ น. โดยพระอุปปัชฌาย์ให้ฉายาทางพระภิกษุว่า "สุเมโธ" ซึ่งแปลว่า เป็นผู้มีความรู้ดี หลังจากที่ได้อุปสมบทแล้วไม่นาน เจ้าอาวาสรูปปัจจุบันในสมัยนั้นก็ได้ลาสิกขาไปเป็นเหตุให้หน้าที่ทุกๆ อย่างภายในวัดป่ายาง (สันพระเจ้าแดง) ตกแก่ท่าต้องรับผิดชอบทั้งหมด ตั้งแต่อายุ ๒๐ ปี พรรษาแรก หลังจากอุปสมบท โดยทำหน้าที่รักษาการแทนเจ้าอาวาสมาโดยตลอด จนถึงอายุครบ ๒๕ ปี พรรษาที่ ๕ ทางจังหวัดได้แต่งตั้งให้ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส จนถึงปัจจุบัน และได้เทศน์สุ่งสอนพุทธศาสนิกชนทั้งหลายตลอดมา และได้พัฒนาถาวรวัตถุ เสนาสนะต่างๆ ภายในวัดป่ายาง (สันพระเจ้าแดง) และวัดวาอารามใกล้เคียง ที่มีขอให้ท่านเป็นประธานในการก่อสร้างถาวรวัตถุมากมายหลายวัด ต่างตำบาลต่างอำเภอ ออกไปจนสำเร็จลุล่างไปด้วยดีทุกประการ ซึ่งในแต่ละครั้งต้องใช้ทุนทรัพย์ในการก่อสร้างหลายล้านบาท แต่ท่านมิได้ย่อท้อแต่ประการใด พร้อมทั้งพัฒนาทั้งในด้านจิตใจให้ความรู้ด้านธรรมะแก่สาธุชนทั่วไปโดยไม่เลือกชั้นวรรณะ พัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาในด้านถาวรวัตถุ สิ่งก่อสร้างต่างๆ อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

    ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ครูบากฤษดา สุเมโธ , วัดป่ายาง (สันพระเจ้าแดง) อ.บ้านธิ จ.ลำพูน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤษภาคม 2021
  8. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 7805

    เหรียญหลังราหู รุ่นสุริยุปราคา ตอกโค๊ต ปี 38 ครูบาสร้อย วัดมงคลคีรีเขตร์ จ.ตาก เนื้อฝาบาตร

    ราคา 550 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    253_n.jpg?_nc_cat=110&ccb=1-3&_nc_sid=ae9488&_nc_ohc=ES9eDZTpnAQAX9FNAKI&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
    143_n.jpg?_nc_cat=107&ccb=1-3&_nc_sid=ae9488&_nc_ohc=_nKc5BGjXRcAX-dE0rk&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg

    Cy3wz5moBjMeylzyz52O6A-b8FggWfKIa88Y2_5-hAk8hUY-HWEytOgUmNLVIWKKJg9LMTL1npq5U1Da1eUEqHtlMA.jpg

    ครูบาสร้อย ขันติสาโร หรือ พระครูนิมมานการโสภณ วัดมงคลคีรีเขตร์ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก พระเกจิอาจารย์ชื่อดังที่มีวิทยาคมรูปหนึ่งภาคเหนือ

    เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 28 ก.ย. 2472 ตรงกับวันขึ้น 7 ค่ำ เดือน 10 ปีมะเส็ง พื้นที่เขตตำบลละหานทราย อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์

    เมื่อ อายุได้ 7 ขวบ โยมมารดาของท่านได้ถึงแก่กรรม ท่านได้มาอยู่ในความดูแลของคุณยาย ซึ่งคุณยายของท่านชอบเข้าวัดฟังธรรมตามวิถีชีวิตชนบท และมักพาท่านไปด้วยเสมอ ทำ ให้ท่านได้ใกล้ชิดกับวัดมาตลอด

    เมื่อเรียนจบชั้นประถม 4 เด็กชายสร้อยจึงได้ขออนุญาตคุณยายบรรพชาที่วัดชุมพร มีหลวงพ่อมั่น เป็นพระอุปัชฌาย์

    หลังจากนั้น ได้ถวายตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อมั่น ฝึกบริกรรมด้วยการนับลูกประคำเป็นการฝึกสมาธิ เรียนวิทยาคมต่างๆ ควบคู่ไปกับการปฏิบัติสมาธิด้วย

    อยู่กับหลวงพ่อมั่น จวบจนอายุ 22 ปี จึงได้อุปสมบท มี หลวงพ่อมั่น เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อสุข วัดโพธิ์ทรายทอง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงพ่อสุต เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา ขันติสาโร

    หลังจากบวช หลวงพ่อสุขได้กล่าวชวนไป อยู่ด้วย ซึ่งส่วนตัวมีความเลื่อมใสศรัทธาและประสงค์ขอเรียนวิทยาคมจากหลวงพ่อสุข

    ใน ช่วงต้นหลวงพ่อสุขได้เน้นหนักในเรื่องการปฏิบัติกัมมัฏฐาน ในพรรษาถัดมา หลวงพ่อมั่น ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่านได้มรณภาพลง ท่านจึงได้กลับไปจัดงานถวายหลวงพ่อมั่น เสร็จสิ้นแล้วจึงกลับมายังวัดหลวงพ่อสุขดังเดิม

    หลวงพ่อสุข ได้เริ่มสอนวิชาต่างๆ แก่ท่าน วิชาที่สำคัญ คือ การตรวจดูบุญวาสนา เพื่อช่วยในการรักษาโรคภัยต่างๆ

    พ.ศ.2497 ครูบาสร้อยได้ขอลาหลวงปู่สุขเข้าสู่กรุงเทพมหานคร โดยจุดหมายคือ วัดมหาธาตุฯ ด้วยขณะนั้นขึ้นชื่อในเรื่องการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ท่านได้อยู่ศึกษาเป็นเวลา 7 เดือน จึงลาพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทธิ) ผู้สอนท่านกลับคืนยังบุรีรัมย์ เมื่อญาติโยมได้รู้ข่าวการกลับมาของท่าน จึงได้ต้อนรับและนิมนต์ให้ท่านอยู่ที่วัดกลางนา

    แต่หลังจากออกพรรษา ท่านได้ตัดสินใจออกธุดงค์ ถือรุกขมูลลัดเลาะไปตามจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ ต่อไปยังอุบลราชธานี จนยาวไปถึงนครพนม ข้ามไปยังฝั่งลาวแล้วข้ามกลับมายังมุกดาหาร ต่อเรื่อยไปจนเข้าสู่เทือกเขาภูพาน เขตสกลนคร เรื่อยไปจนเข้าหล่มสักเข้าพิษณุโลก ซึ่งช่วงนี้ท่านหลงป่าอยู่ จนทะลุออกมายังอุตรดิตถ์

    จากการหลงป่าครั้งนี้ ท่านจึงเปลี่ยนมาเดินโดยใช้เส้นทางรถไฟช่วย ล่วงได้ 7 วัน ท่านก็ถึงดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ได้มีโอกาสพบ 'หลวงปู่แหวน สุจิณโณ' พระสายปฏิบัติชื่อดัง และได้ขอศึกษาข้อธรรมต่างๆ

    หลวงปู่แหวนท่าน เน้นไปทางอสุภกัมมัฏ ฐาน ซึ่งช่วงนี้ท่านได้พบกับข้อธรรมที่ลึกซึ้งมาก ขึ้น จากนั้นท่านได้กราบลาหลวงปู่แหวน ออกธุดงค์ถือรุกขมูลไปจนถึงแม่สะเรียง พักที่วัดศรี บุญเรือง

    ท่าน ตั้งใจจะไปที่แม่ฮ่องสอน แต่ด้วยติดกาลพรรษา จึงได้อยู่จำพรรษาที่วัดศรีบุญเรือง จนล่วงกาลพรรษา ท่านจะออกเดินทางต่อ พอดีได้ทราบจากญาติโยมว่าที่ท่าสองยางมีวัดร้างอยู่

    ท่านได้ไปดูสถานที่แห่งนั้น พบว่าเงียบสงบเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม จึงได้ตกลงใจสร้างวัดมงคลคีรีเขตร์

    ครูบาสร้อยได้พัฒนาวัดมงคลคีรีเขตร์ จนเจริญรุ่งเรืองเป็นที่รู้จักของญาติโยมและคณะศรัทธา จนท่านได้รับการขนานนามว่า เทพเจ้าแห่งท่าสองยาง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤษภาคม 2021
  9. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 7806

    เหรียญพระเจ้าทองทิพย์ รุ่นแรก วัดศรีสุพรรณ อ.แม่ใจ จ.พะเยา

    จัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2524 เนื้อทองแดง จัดสร้างเพียงเนื้อเดียว พิธีปลุกเสกที่ยิ่งใหญ่ โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดังทางภาคเหนือหลายท่าน เหรียญประสบการณ์สูง เหรียญดีเหรียญดังของชาวอำเภอแม่ใจ คนพื้นที่ต่างก็หวงแหนกันมากครับ

    ราคา 1200 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    302_n.jpg?_nc_cat=109&ccb=1-3&_nc_sid=ae9488&_nc_ohc=TU0px9C6m9gAX8YKgFG&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
    952_n.jpg?_nc_cat=101&ccb=1-3&_nc_sid=ae9488&_nc_ohc=cA6PEEk9vrMAX-5UP6S&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg

    Clip_34.jpg

    ประวัติความเป็นมาของพระพุทธเจ้าทองทิพย์

    พระพุทธรูปเจ้าทองทิพย์ เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของอำเภอแม่ใจ ซึ่งสถิตประดิษฐานเป็นประธานอยู่ในวิหารวัดศรีสุพรรณ หมู่ที่ 1 ตำบลแม่ใจ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ตรงข้ามกับที่ว่าการอำเภอแม่ใจ(หลังเก่า) พระพุทธรูปเจ้าทองทิพย์นี้มีรูปลักษณะ งดงามมาก เป็นพุทธรูปสมัยเชียงแสนรุ่นที่ 3 (สิงห์ 3) เป็นทองสัมฤทธิ์ตลอดทั้งองค์ มีพระพักตร์เป็นเนื้อทองสุกเปล่งปลั่งตลอดเวลา พระศอละเอียดเป็นปล้อง พระเกศาเป็น เปลว มีขนาดหน้าตักกว้าง 72 เซนติเมตร

    จากคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ชาวอำเภอแม่ใจเล่าว่า แต่เดิมนั้นบริเวณบ้านแม่ใจ โดยทั่วไปเต็มไปด้วยป่าไม้และดงไผ่ขึ้นหนาทึบ และต่อมาจึงเกิดไฟไหม้ขึ้น บริเวณป่าไม้และดงไผ่นั้น แต่มีกอไผ่ใหญ่กอหนึ่งที่ไฟไม่ไหม้ ชาวบ้านจึงเห็นเป็น อัศจรรย์จึง ข้าไปตรวจดู จึงได้พบพระพุทธรูปเจ้าทองทิพย์ซึ่งมีรูปลักษณะ สวยงามอยู่ในระหว่างกอไผ่กอนั้น ต่อมาชาวบ้านจึงได้ร่วมใจกัน สร้างวิหารถาวร เป็นที่สถิตประดิษฐาน พระพุทธรูปเจ้าทองทิพย์ไว้ตรงบริเวณดงกอไผ่เดิม โดยมิได้โยกย้ายเลยจนปัจจุบัน

    เสียงเล่าขานถึงความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธรูปเจ้าทองทิพย์นั้น เพราะว่าเมื่อฝนฟ้าไม่ตก ต้องตามฤดูกาล บ้านเมืองแห้งแล้ง หรือชาวบ้านเกิดการเจ็บป่วย ประสบเคราะห์กรรมใด ๆ ก็จะร่วมกันอันเชิญพระพุทธรูปเจ้าทองทิพย์ ลงจากแท่นอาสนะที่สถิตประดิษฐาน กระทำพิธีบวงสรวงสักการะบูชาแห่สรงน้ำ ฝนก็จะตกลงมาทันที หรือผู้ที่ประสบ เคราะห์กรรม เมื่อมาสักการะบูชาก็จะมีโชคลาภ มีความสุขสบายขึ้น

    ในเดือน เมษายน ของทุก ๆ ปีจะมีวันสำคัญยิ่งของพระพุทธรูปเจ้าทองทิพย์คือ งานประเพณีสรงน้ำพระเจ้าทองทิพย์ ในวันนั้นประชาชนทั้งใกล้และไกล จะพากันมา ร่วมพิธีอันสำคัญนี้อย่างมากมายมิได้ขาดและจะนำเอาน้ำที่ผ่านการสรงพระพุทธรูปเจ้าทอ
    งทิพย์ ใส่ภาชนะนำกับไปบ้าน เพื่อปะพรมบ้านเรือนและลูกหลาน เชื่อว่าจะทำให้อยู่ดีมีความสุข

    กล่าวกันว่า หากปีใดมิได้มาสรงน้ำพระพุทธรูปเจ้าทองทิพย์แล้ว ในปีนั้นจะไม่ค่อยมีความสุขความสบายและยังไม่มีโชคลาภด้วย ดังนั้นพระพุทธรูปเจ้าทองทิพย์จึงเป็นที่เคารพสักการะและเป็นมิ่งขวัญของชาวอำเภอแม่
    ใจ ตลอดถึงชาวพุทธศาสนิกชนทั้งใกล้และไกลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤษภาคม 2021
  10. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 7807

    เหรียญรุ่นแรกพระเจ้าตนหลวง จ.พะเยา ปี 2497 เนื้อตะกั่ว

    ราคา 4500 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    856_n.jpg?_nc_cat=102&ccb=1-3&_nc_sid=8bfeb9&_nc_ohc=Iy611aX62KYAX8IVSLj&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
    787_n.jpg?_nc_cat=101&ccb=1-3&_nc_sid=8bfeb9&_nc_ohc=vS4r0V6HlScAX8BAfm1&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  11. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 7808

    เหรียญอาจารย์บูบูอ่อง (สย่าโป๊ะโป๊ะอ่อง) หรือ ฤๅษีบูบูอ่อง ปี ๒๕๒๑
    รุ่นแรก เนื้อนวะโลหะ


    เหรียญนี้ลูกศิษย์คณะ ๙ วัดสุทัศน์ฯสร้างถวายโดยนำสล่า ครูบาอาจารย์ทางพม่า เข้าปลุกเสกเมื่อปลุกเสกเสร็จ ส่วนหนึ่งก็นำกลับไปที่พม่า
    ตามประวัติกล่าวกันว่าอาจารย์บูบูอ่อง ท่านสำเร็จธรรมชั้นสูง และโด่งดังมากในเมืองพุกาม ประเทศพม่า ท่านสามารถแสดงฤทธิ์และมีคุณวิเศษหลายอย่างสำเร็จวิชาปรอท (มีฤทธิ์สามารถเหาะได้ โบราณท่านเรียกว่า สำเร็จปรอท ) เดิมได้บวชในบวรพระพุทธศาสนาและเจริญกรรมฐานจนบรรลุอภิญญา มีญาณสมาบัติแก่กล้า..แต่ต่อมาภายหลังได้ลาสิกขามาครองเพศฤาษีนุ่งขาวห่มขาว และใช้ฤทธิ์ในการช่วยเหลือผู้คนรวมถึงการเผยแพร่พระพุทธศาสนา วัตถุมงคลสายยาแดงเป็นที่นับถือในหมู่ชาวไทยใหญ่ พม่าและมอญ


    ราคา 2999 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    412_n.jpg?_nc_cat=103&ccb=1-3&_nc_sid=8bfeb9&_nc_ohc=EygpE8t9ja4AX_NSpYu&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
    776_n.jpg?_nc_cat=110&ccb=1-3&_nc_sid=8bfeb9&_nc_ohc=ufuAcEfZ1DkAX-VAodT&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg

    tnews_1475488685_4999.jpg

    kf.jpg

    "ผู่ผู่อ่อง"ตำนานบรมครูผู้วิเศษแห่งเมืองมอญ ชาวพม่าให้ความเคารพเทียบ คนไทยเคารพ "หลวงปู่เทพโลกอุดร"

    ผู่ผู่อ่องตำนานผู้วิเศษแห่งเมืองมอญ

    ถ้าในเมืองไทยรู้จักตำนานเรื่องราวของ “หลวงปู่โลกอุดร” เป็นอย่างดีแล้ว ในเมืองพม่า มอญและไทยใหญ่เขาก็มีตำนานผู้วิเศษคล้ายๆกับเรื่องหลวงปู่เทพโลกอุดรในบ้าน เราเหมือนกัน แต่ทางเขาคือ “ผู่ผู่อ่อง” บุคคลท่านนี้เป็นผู้วิเศษที่มีชีวิตเป็นอมตะ เหาะเหิรเดินอากาศได้ ปรากฏตัวมาหลายยุคหลายสมัย ผู่ผู่อ่องเป็นบุคคลที่บุเรงนองนับถือมาก ครั้งหนึ่งผุ่ผู่อ่องแสดงฤทธิ์เหาะขึ้นไปบนยอดเจดีย์ชะเวดากอง จารอักขระยันต์ “สะตะปะวะ” เอาไว้กันภัยพิบัติทั้งปวง

    ตามประวัติเล่าไว้ว่าผู่ผู่อ่อง ออกปฏิบัติบำเพ็ญพรตคราวแรกบรรพชาเป็นพระภิกษุ ต่อมาเห็นว่ามีข้อศีลสิกขามากทำให้เกิดความกังวลจึงลาสิกขาออกมา แล้วออกบวชเป็นผ้าขาว บำเพ็ญตนเป็นนักพรตฝ่ายฤๅษีชีไพร ธุดงค์รอนแรมไปเรื่อยจนพบ “ยอดเขาโป๊ปป้า” ภูเขา เขานี้อยู่ระหว่างเส้นทางจาก “พุกาม” จะไป “มันฑะเลย์” จะมียอดภูเขาไฟอยู่ยอดหนึ่ง เป็นสถานที่เหมาะสมสำหรับทำพวกพรรค์นี้มาก

    “ภูเขาโป๊ปป้า” เขาแห่งนี้เป็นภูเขาไฟเก่ามาก่อน เมื่อผู่ผู่อ่องเห็นชัยภูมิดีเป็นที่สัปปายะจึงใช้เป็นที่บำเพ็ญพรตพร้อมๆ กับใช้เป็นสถานที่ศึกษาเรื่องปรอทสำเร็จ ผู่ผู่อ่องร่ำเรียนทางไตรเพทย์วิทยามาเจนจบ ศึกษาเรื่องว่านยาและกายสิทธิ์จนล่วงรู้ความเร้นลับของธรรมชาติอย่างเหล็กไหลและปรอทเป็นอย่างดี จึงทดลองดักปรอทหมอกจากยอดเขาแล้วนำมาฆ่าด้วยว่านยาอันมีฤทธิ์ จากนั้นหุงด้วยวิทยาอาคมผสมผสานพลังจิตขั้นฌานชั้นสูง ผลออกมาก็ได้ปรอทวิเศษ เมื่ออมแล้วสามารถเหาะลอยไปยังสถานที่ใดก็ได้ การสำเร็จปรอทนั้นผู่ผู่อ่องคงบรรลุธรรมไปพร้อมๆ กัน คือสำเร็จซึ่งสมาบัติสูงสุด ด้วยเหตุนี้ทำให้ผู่ผู่อ่องกลายเป็น “นักสิทธิวิทยา” ผู้มีชีวิตเป็นอมตะ ตามตำรานั้นกล่าวว่ามีอายุได้ยาวนานนับล้านปีหรือเป็นเวลา ๑ กัปล์
     
  12. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 7809

    พระรอดขนาดบูชาครูบาชัยวงค์ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม #ติดเส้นเกศาพระธาตุข้าวบิณฑ์ หลังตราปั๊มวัดชัดเจน

    รอดพ้นภัยอันตราย ชุ่มเย็น อยู่เย็นเป็นสุข

    เคยมีศิษย์ถามท่านครูบาชัยวงค์ว่าพระรุ่นไหนใช้ดีบ้าง ท่านตอบ ว่า พระรอดองค์เล็กองค์ใหญ่ก่อดี บ่ต้องกลัว เฮาปลุกเสกอย่างดีเเล้ว

    ขนาดตั้งบูชา 2 x 4.5 นิ้ว มาพร้อมตราปั๊มเดิม ซองเดิมจากวัด


    บูชาแล้วครับ

    897_n.jpg?_nc_cat=103&ccb=1-3&_nc_sid=8bfeb9&_nc_ohc=TdlI5ktCuZcAX8dFDqZ&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
    626_n.jpg?_nc_cat=107&ccb=1-3&_nc_sid=8bfeb9&_nc_ohc=sFzz-u_G02IAX8nopoJ&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
    004_n.jpg?_nc_cat=103&ccb=1-3&_nc_sid=8bfeb9&_nc_ohc=do_qZKruossAX-WLEHo&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 พฤษภาคม 2021
  13. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 7810

    พระกริ่งพรหมมหาราช หลวงพ่อบุญเย็น ปี 2521

    หลวงพ่อบุญเย็น ท่านเป็นพระสายปฏิบัติและนักพัฒนา สมัยก่อน ท่านดังพอสมควร ขนาดดาราอย่างกรุง ศรีวิไล ยังเป็นลูกศิษย์ท่าน ยุคนั้น จะเดินทางไปฝางที ลำบากมาก แต่เพราะความเมตตาและความศักดิ์สิทธิ์ของท่าน จึงมีลูกศิษย์เดินทางมาจากที่ไกลๆไปหาท่านกันมากครับ ท่านมักจะนิยมธุดงค์ไปโปรดชาวเขาชาวดอย พวกชาวเขาชาวดอยกระเหรี่ยงแม้วเผ่าต่างๆเคารพนับถือท่านมากๆ พวกนี้มักจะมีเรื่องกันระหว่างเผ่า พอท่านไปโปรดแล้ว เรื่องบาดหมางขัดแย้งก็ยุติกันครับ เรียกว่า ถ้าเผ่าไหนมีเหรียญหรือวัตถุมงคลของท่านแล้ว จะเป็นมิตรต่อกันครับ วัตถุมงคลของท่านมีประสบการณ์กันมากครับ ดีจริงจนพวกชาวเขาเผ่าต่างๆ ต้องมีติดตัวกันครับ คุ้มครองดีมากๆครับ กันภัยกันผีดีครับ พวกกระเหรี่ยงแม้วต่างๆนิยมถือผีกันครับ เลยมักถูกผีเข้าสิง หลวงพ่อท่านจะไล่ผีให้ แล้วให้แขวนวัตถุมงคลของท่าน ผีจะไม่มาเข้าสิงอีกครับ ทหารตำรวจยุคนั้น รู้เรื่องนี้กันเลยนิยมเสาะหาไว้ใช้กันเวลาเข้าป่า กลับมาโด่งดังในห้วงนี้ เพราะประสบการณ์จากผู้นำไปพกพาอาราธนาติด ตัวแท้ๆ "เหรียญรุ่นปี 2517 ของ หลวงพ่อบุญเย็น ฐานธัมโม" แห่งสำนักพระเจ้าพรหมมหาราช อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ แม้มิใช่เหรียญที่สร้างขึ้นเป็นอันดับ แรกของทำเนียบ แต่ก็เป็นเหรียญแรกซึ่งออกแบบให้ด้านหน้าของเหรียญเป็นรูป หลวงพ่อบุญเย็น ขนาดครึ่งองค์ ด้านหลังเป็นรูปพระเจ้าพรหมมหาราช ทั้งนี้ เนื่อง จากเชื่อว่าหลวงพ่อบุญเย็น ในอดีตชาติปางก่อนเคยมีความสัมพันธ์กับพระเจ้าพรหมมหาราช ท่านพระครูสถิตธรรมาภิรักษ์ (ครูบาดวงคำ)ดังนั้น ทุกครั้งที่หลวงพ่อบุญเย็น จะประกอบพิธีปลุกเสกเหรียญ หรือพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง ท่านต้องทำพิธีอัญเชิญ "พระเจ้าพรหมมหาราช" ร่วมพิธีด้วยทุกครั้ง เหรียญทุกเหรียญของท่านต้องมีรูปพระเจ้าพรหมมหาราช ที่ด้านหลังเหรียญเสมอ และที่สำคัญที่สุดคือ เหรียญที่ท่านเป็นผู้สร้างขึ้นนี้ ท่านไม่เคยจำหน่ายเลย มีแต่แจกฟรีทุกเหรียญ ทุกคนที่ได้เหรียญรุ่นนี้ของท่านไปต่างมีความหวงแหนเป็นอย่างยิ่ง เพราะมีอานุภาพในทางคุ้มครองป้องกันตัวเป็นเลิศ นอกจากนี้ ยังอุดมไปด้วยโชคลาภอย่างน่ามหัศจรรย์ด้วยบุญมา บุญเลิศวณิชย์ ได้มอบเหรียญ หลวงพ่อบุญเย็น รุ่นแรกปี 2517 "ด.ต.สมบูรณ์ จอมกิจ" ซึ่งอาราธนาเหรียญหลวงพ่อบุญเย็น รุ่นปี 2517 ติดต่อเสมอมา เล่าว่า เหรียญรุ่นนี้เป็นเหรียญที่หลวงพ่อบุญเย็น ปลุก เสกเดี่ยวในป่าช้าเป็นเวลา 3 เดือน ตลอดพรรษา ครั้นเมื่อออกพรรษาแล้วจึงนำไปปลุกเสกซ้ำตามสถานที่ต่างๆ ความศักดิ์สิทธิ์จึงไม่ต้องสงสัย เพียงข้ามคืนที่มีการเริ่มแจกจ่ายออกไป เหรียญรุ่นนี้ก็ ดังแล้ว เพราะ ได้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ต่างๆ ให้ประจักษ์มากมาย เช่น "ตอนที่ผมได้เห็นคนผีเข้า ซึ่งญาติได้พยายามหาหมอผีเก่งๆ มาปราบแต่ก็ไม่สำเร็จ แต่เมื่อมีผู้นำเหรียญ "หลวงพ่อบุญเย็น" รุ่นนี้ไปแช่น้ำอธิษฐานทำน้ำ มนต์ไปพรมผู้ที่ถูกผีเข้า ปรากฏว่าผีนั่นแหละที่ต้องเป็นฝ่ายเผ่นหนี" เหรียญหลวงพ่อบุญเย็น" ด.ต.สมบูรณ์" ได้เล่าถึงประสบการณ์ชีวิตของตนว่า ในชีวิตเคยผ่านการเกณฑ์ทหารมา 2 ปีแล้วมาเป็นตำรวจตระเวนชายแดน และเหรียญรุ่นพ.ศ.2517 นี้ ได้ช่วยคุ้มครองให้ แคล้ว คลาดจากภยันตรายต่างๆ ตลอดมา กล่าวคือ เหตุการณ์ถูกฝ่ายตรงข้ามลอบทำร้าย มักจะเกิดขึ้นก่อนหรือไม่ก็หลังจากผู้เล่านำกำลังเคลื่อนที่ผ่านพ้นไปแล้ว เสมอ อีกเรื่องหนึ่งเคยมีแพทย์อาสาสมัครขึ้นไปบนดอย แล้วถูกยิงด้วย เอ็ม-16 เป็นชุด แต่คมกระสุนก็สามารถสร้างได้เพียงจ้ำแดงเหมือนผื่นเท่านั้น

    ราคา 1450 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900


    พระกริ่งลพ.บุญเย็น a.jpg พระกริ่งลพ.บุญเย็น b.jpg พระกริ่งลพ.บุญเย็น c.jpg

     
  14. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 7811

    รูปหล่อหลวงพ่อหลวงพ่อเพชร วัดวังพระธาตุ เนื้อชินตะกั่ว ปี2516


    พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของกำแพงเพชรและเป็นที่เคารพของคนกำแพงเพชรเป็นอย่างมากที่สุดอีกองค์หนึ่ง

    จัดสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๖ เป็นเนื้อตะกั่วที่หุ้มยอดเจดีย์และพระกรุเนื้อชิน อายุหลายร้อยปีซึ่งเกิดการชำรุดและได้หักร่วงลงมาได้นำมาหล่อพระเป็นพิมพ์หลวงพ่อเพชรและผงอุดก้น ผงอัฏฐิเจ
    อธิฐานจิตปลุกเสกโดยหลวงพ่อหลวงพ่อวิบูลย์ และสุดยอดพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิยาคมแห่งเมืองกำแพงเพชรร่วมกันอธิฐานจิตปลุกเสกหลาย
    จัดเป็นพระดีน่าใช้มากครับ

    องค์นี้หล่อได้สวยก้นอุดผงเดิมๆครับ

    ประวัติโดย พระครู สุมนวชิรสาร (อ.แกะ เจ้าอาวาสวัดวังพระธาตุ องค์ปัจจุบัน)
    ขอขอคุณข้อมูลดีๆ จาก คัมภีร์ พระอริยสงฆ์เมืองกำแพงเพชร


    บูชาแล้วครับ

    Clip_4.jpg Clip_16.jpg Clip_17.jpg Clip_18.jpg l_watwangphra-that08.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤษภาคม 2021
  15. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 7812

    ทัพพีเรียกทรัพย์ ครูบาบุญปั๋น วัดร้องขุ้ม อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ พิธีพระกริ่งเศรษฐีล้มลุก


    อีกหนึ่งเครื่องรางยอดนิยมของหลวงปู่
    กวักทรัพย์ เรียกทรัพย์
    ค้าขาย เมตตามหานิยม ครับ
    ครูบาเจ้าบุญปั๋น ธัมมปัญโญ พระอริยเจ้าผู้ทรงคุณอันประเสริฐสุดแห่งวัดร้องขุ้ม เชียงใหม่นี้ จัดเป็นของดีที่หาได้ยากยิ่ง ส่วนมาก จะตกแก่ศิษยานุศิษย์และผู้ที่มีวาสนาในยุคต้นๆเสียโดยมาก ยากจะหลุดรอดมาถึง"คนนอก"ในภายหลังได้
    ครูบาเจ้าบุญปั๋น ธมมปัญโญ วัดร้องขุ้ม สันป่าตอง เชียงใหม่ เป็นพระอริยะสงฆ์รูปสำคัญของเชียงใหม่ ศีลาจริยวัตรงดงาม มีเมตตาสูงมาก
    เจ้าตำราวิชาเทียนเศรษฐีล้มลุกอันโด่งดัง
    วิชา"เศรษฐีล้มลุก"นี้ ถือว่าเป็นวิชาคู่บุญบารมีครูบาเจ้าบุญปั๋น วัดร้องขุ้มก็ว่าได้ มีอานุภาพส่งเสริม"แก้ดวง หนุนดวง" และ"ส่งเสริมโชคลาภ"ให้บังเกิดขึ้นได้อย่างน่าอัศจรรย์ ผู้ใดมีบูชาไว้ ไม่มีจน เป็นเศรษฐี ไม่มีวันล้ม เพราะล้มแล้วก็ลุก

    เก็บติดร้าน ติดบ้าน ติดรถ กวักเรียกคน เรียก ลูกค้า มหานิยม สุดๆครับ


    บูชาแล้วครับ

    998_n.jpg?_nc_cat=102&ccb=1-3&_nc_sid=8bfeb9&_nc_ohc=h7BmWcl3vooAX_mVWFS&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg 152_n.jpg?_nc_cat=104&ccb=1-3&_nc_sid=8bfeb9&_nc_ohc=gXWPi-RsCcsAX-BMqr1&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg 135_n.jpg?_nc_cat=110&ccb=1-3&_nc_sid=8bfeb9&_nc_ohc=HnA-Vrj8CqYAX9XJYNS&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg 264_n.jpg?_nc_cat=109&ccb=1-3&_nc_sid=8bfeb9&_nc_ohc=cF7FAwaU8h8AX-RCW2x&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
    clip_197-jpg-jpg.jpg clip_198-jpg-jpg.jpg clip_199-jpg-jpg.jpg clip_200-jpg-jpg.jpg clip_201-jpg-jpg.jpg

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 พฤษภาคม 2021
  16. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 7813

    ล็อกเก็ตยุคต้น ครูบาจันต๊ะรังสี วัดกู่เต้า หลังบรรจุเส้นเกศา


    พระครูประภัศร์ธรรมรังสี หรือครูบาจันต๊ะรังษี เจ้าอาวาสวัดกู่เต้า ที่ชาวบ้านต่างเรียกขานว่าเป็น ครูบาจอมขมังเวทย์แห่งล้านนาจำนวนการจัดสร้างหลักสิบองค์เท่านั้นครับ


    ราคา 2350 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    312_n.jpg?_nc_cat=109&ccb=1-3&_nc_sid=8bfeb9&_nc_ohc=lv9zq62cxPYAX_lGtsk&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg 505_n.jpg?_nc_cat=101&ccb=1-3&_nc_sid=8bfeb9&_nc_ohc=CkKdTe52DqgAX-dgXZl&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg 090_n.jpg?_nc_cat=110&ccb=1-3&_nc_sid=8bfeb9&_nc_ohc=Hd3QVJO_rBwAX_0UoK8&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤษภาคม 2021
  17. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 7814

    ตะกรุดเมตตา” อาจารย์เณร วิเศษณ์สิงห์คำ เชือกเดิม


    พระอาจารย์เณร วิเศษสิงห์คำ จอมขมังเวทย์ เมืองสันป่าตอง เมือปี่ 2510-2525 ไม่มีใครไม่รู้จักท่าน วิชาอมคมความขลังของท่านโด่งดังไปถึงเมืองพระนคร ดารา นั้งร้อง นักมวย ในสมัยนันต่างนังรถไฟ นั้งรถส่วนตัว เพื่อมาขอของดี ของขลังจากท่านครับ บางคนก็มาขอตะกรุด บางคนก็มาสักยันต์ วัตถุมงคลที่สร้างชื่อให้ท่านเป็นอย่างมาก ก็คือ กุมารทองผงกระดูกผี เเละวัวธนูป่าช้าลั้น ถือเป็นของดี ควรหามากบูชาติดตัว

    ตะกรุดที่มีพุทธคุณด้านเมตตามหานิยม มหาเสน่ห์ ของอาจารย์เณร ส่วนมากหายากครับ ท่านสร้างไว้น้อยการการปลุกเสกในป่าช้าที่สร้างวัวธนูเพื่อให้ตะกรุดสัมฤิทธฺ์ผล จริง ตามเจตนาของท่าน ตะกรุดนี้ใช้ทางเมตตา เจรจา ค้าขาย พกติดตัวเป็นเมตตามหานิยมคนรักชอบ เจ้านายรัก เป็นมหาอำนาจต่อรอง. สวยเชือกเดิมดูง่าย ขนาดเล็กๆ น่าใช้มากๆครับ


    ราคา 1550 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    267_n.jpg?_nc_cat=110&ccb=1-3&_nc_sid=8bfeb9&_nc_ohc=cTueo79JYm0AX_nBT-_&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg 130_n.jpg?_nc_cat=110&ccb=1-3&_nc_sid=8bfeb9&_nc_ohc=ae84W0mbI44AX-KYLwA&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg c_oc=AQmQodTMeBsW2APQtEXbKx23zanU9pldGKr1COdMWwhAYDXfWHE88HVlWzd2Zd1sWSM&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤษภาคม 2021
  18. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 7815

    เหรียญรุ่นแรกครูบาคำอ้าย วัดโป่งเหนือ บล็อกนิยม


    หลวงปู่คำอ้าย วัดโป่งเหนือ จ.เชียงราย

    ท่านเป็นลูกศิษย์ครูบาเจ้าศรีวิชัยอีกรูปหนึ่งที่เป็นพระแท้ เป็นของจริง
    เป็นพระดีบ้านนอก ที่มีวัตรปฎิบัติที่งดงามสมถะ พูดน้อย
    น่าเลื่อมใสศรัทธา แม้ไม่เด่นไม่ดัง
    แต่เข้าตำรา ของจริงนิ่งเป็นใบ้ของพูดได้นั้นไม่จริง
    ท่านเป็นครูบาอาจารย์ ที่ผมศรัทธามากๆ อีกรูปหนึ่งครับ
    วัตถุมงคลของท่านน่าใช้ ทุกรุ่นครับ
    ถ้าเป็นของแท้ที่ท่านอธิษฐานจิตแล้วเชื่อขนมกินได้ครับ
    เป็นของดี ที่มากประสบการณ์ ในท้องถิ่นลูกศิษย์ท่านจะเก็บ
    กันหมด จึงไม่ค่อยเห็นตามสนามพระบ่อยนัก
    ประสบการณกับตัวเอง เรื่องแคล้วคลาด เหนียว เมตตา
    ท้องถิ่นให้ฉายาท่านว่าหลวงปู่ทวดเมืองเหนือ
    เพราะวัตถุมงคลที่ท่านสร้างปลุกเสกล้วนแต่มีประสบการณ์ทางด้านแคล้วคลาด เรื่องอุบัติเหตุหายห่วง จะขึ้นเหนือ ล่องใต้ อุ่นใจเมื่อมีวัตถุมงคลหลวงปู่ติดตัว สักยันต์เต็มหัว เต็มตัว ข่ามค

    ประสบการณ์เหรียญรุ่นแรกของท่านโด่งดังมาก

    รุ่นยืนหลังพระธาตุ (รุ่น 1) เป็นอีกรุ่นที่ได้รับการยกย่องกล่าวถึงปาฏิหารย์ ตั้งแต่ตอนสร้างพระธาตุศรีเมืองที่วัด ช่วงหยุดพักกินข้าวของชาวบ้านที่มาช่วยงานมีคนเห็นตุ๊อุ้ยครูบาคำอ้ายลอยอยู่เหนือพระธาตุ เป็นที่ฮือฮาน่าอัศจรรย์ยิ่ง ประสบการณ์ที่โด่งดังทั่วประเทศ มีดาราแวะมากราบนมัสการท่านอยู่บ่อยๆ ได้พระรุ่นนี้ ติดตัวไปใช้เกิดอุบัติเหตุเครื่องบินตก รอดราวปฏิหารย์

    เหรียญประสบการณ์สูงของอำเภอเวียงป่าเป้า


    คุณ j999 บูชาแล้วครับ

    Clip_37.jpg Clip_38.jpg Clip_50.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 มิถุนายน 2023
  19. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 7816

    เหรียญรุ่นแรกครูบาน้อย วัดศรีดอนมูล กะไหล่ทอง ตอกโค๊คเดิม เลี่ยมพร้อมใช้


    ครูบาน้อย วัดศรีดอนมูล เชียงใหม่
    ผู้สืบทอดปฎิปทาบูรพาจารย์ ครูบาน้อย เตชปญโญ วัดศรีดอนมูล เป็นทายาทพุทธาคมของ ครูบาผัด วัดศรีดอนมูล, ครูบาพรหมจักรสังวร วัดพระพุทธบาทตากผ้า, ครูบางวงศ์ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม, ครูบาคำปัน วัดหม้อคำตวง และครูบาหล้า ตาทิพย์ วัดป่าตึง ได้ยึดแนวปฏิบัติธรรมตามแบบฉบับของบูรพาจารย์โดยเฉพาะมีความศรัทธาที่จะเจริญรอยตามครูบาศรีวิชัย พระอริยสงฆ์แห่งล้านนาไทย
    ครูบาน้อย วัดศรีดอนมูล บำเพ็ญบารมีเข้านิโรธกรรมทุกปี โดยปลีกวิเวกปฏิบัติธรรม ไม่ฉันอาหาร ไม่จำวัด เป็นเวลา ๙ วัน ๙ คืน ตั้งแต่วันที่ ๑๑-๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๓ ทั้งนี้ครูบาน้อย ท่านได้เข้านิโรธกรรม เป็นปีที่ ๗ เมื่อออกจากนิโรธกรรมแล้ว บรรดาพุทธศาสนิกชนจะร่วมทำบุญตักบาตรถวายทานถือว่าเป็นสิริมงคลอันยิ่งใหญ่ มีอานิสงส์ประดุจได้พบพระปัจเจกพุทธเจ้าในครั้งพุทธกาล ย่อมดลบันดาลให้เกิดบุญกุศลมหาศาลถึงพร้อมด้วยมนุษยสมบัติ สวรรค์สมบัติและนิพพานสมบัติ


    ราคา 999 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900


    Clip_39.jpg Clip_40.jpg
    clip_73-jpg.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤษภาคม 2021
  20. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 7817

    เหรียญหลวงพ่อเมือง วัดท่าแหน ปี 2517


    สุดยอดวัตถุมงคลเกจิผู้ซึ่งสร้างวัตถุมงคลน้อยรุ่น เเละเเต่ละรุ่นมีความสวยงามเเละตอกโค้ตกำกับ ปัจจุบันวัตถุมงคลของท่าน มีความต้องการที่จะได้ครอบครองจากผู้ที่ศรัทราเเต่มีค่อนข้างน้อยเนื่องจากลูกศิทย์ลุกหาล้วนเเล้วเเต่เก็บเข้ารังไม่ยอมออกเปลี่ยนมือด้วยพุทธคุณที่เเต่ละคนต่างพบเจอครับ ท่านมีชื่อเสียงทางด้านการหยั่งรู้เเละเป็นเกจิที่ได้รับนิมนต์ร่วมพิธีปลุกเสกพิธีสำคัญๆล้วนเเล้วเเต่ต้องมีชื่อท่านรวมอยู่ด้วยครับ
    สวยตอกโค๊ตเดิมๆน่าใช้มากครับ


    ราคา 750 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    Clip_43.jpg Clip_44.jpg


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤษภาคม 2021

แชร์หน้านี้

Loading...