รัตน7 (กายสิทธิ์) ในพระไตรปิฏก

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย หลับอยู่, 10 มิถุนายน 2015.

  1. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <CENTER> พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
    สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>





    <CENTER></CENTER><CENTER>จักกวัตติสูตร</CENTER><CENTER>รัตนะ ๗ อย่าง</CENTER>[๕๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะพระเจ้าจักรพรรดิปรากฏ รัตนะ ๗ อย่างจึงปรากฏ
    รัตนะ ๗ อย่างเป็นไฉน?
    คือ
    จักรแก้ว ๑
    ช้างแก้ว ๑
    ม้าแก้ว ๑
    แก้วมณี ๑
    นางแก้ว ๑
    คหบดีแก้ว ๑
    ปริณายกแก้ว ๑

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะพระเจ้าจักรพรรดิปรากฏ รัตนะ ๗ อย่างเหล่านี้จึงปรากฏ.


    [๕๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าปรากฏ
    รัตนะคือ โพชฌงค์ ๗ จึงปรากฏ รัตนะ คือ โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน?
    ได้แก่รัตนะ คือ สติสัมโพชฌงค์ฯลฯ รัตนะ คือ อุเบกขาสัมโพชฌงค์

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าปรากฏ รัตนะ คือโพชฌงค์ ๗ เหล่านี้จึงปรากฏ.

    <CENTER>จบ สูตรที่ ๒</CENTER>









    </PRE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มิถุนายน 2015
  2. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <CENTER><BIG>อรรถกถา สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค โพชฌงคสังยุตต์ จักกวัตติวรรคที่ ๕</BIG> <CENTER class=D>๒. จักกวัตติสูตร</CENTER></CENTER>

    <CENTER>อรรถกถาจักกวัตติสูตรที่ ๒ </CENTER>



    เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะความปรากฏแห่งพระเจ้าจักรพรรดิจึงเป็นความปรากฏแห่งรัตนะ ๗ ด้วยดังนี้.

    บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำเป็นต้นว่า กตเมสํ สตฺตนฺนํ จกฺกรตนสฺส ดังนี้ เพื่อทรงแสดงรัตนะเหล่านั้น โดยอำนาจสรุป.
    ในบทเหล่านั้น ในบทเป็นต้นว่า จกฺกรตนสฺส มีอธิบายโดยย่อดังนี้

    จักรแก้วสามารถเพื่อยึดสิริสมบัติของทวีปใหญ่ ๔ มีทวีปสองพันเป็นบริวารมาให้ปรากฏอยู่.

    ช้างแก้วไปสู่เวหาส อันสามารถติดตามไปสู่แผ่นดินมีสาครเป็นที่สุดมาให้ได้ก่อนภัตรอย่างนั้น

    ม้าแก้วก็เช่นนั้นเหมือนกัน.

    แก้วมณีอันสามารถกำจัดความมืดประมาณโยชน์ในที่มืด แม้ประกอบด้วยองค์สี่ มองเห็นแสงสว่างได้.

    นางแก้วมีปกติเว้นโทษ ๖ อย่างแล้วเที่ยวไปได้ตามชอบใจ.

    คฤหบดีแก้วอันสามารถเห็นขุมทรัพย์อยู่ภายในแผ่นดินในประเทศประมาณโยชน์.

    ปริณายกแก้วกล่าวคือบุตรคนหัวปี ผู้เกิดในท้องของอัครมเหสีแล้ว เป็นผู้สามารถปกครองสมบัติทั้งสิ้นได้ปรากฏอยู่

    ดังนั้น
    นี้เป็นอธิบายย่อในข้อนี้.
    ส่วนวิธีปรากฏแห่งจักรแก้วเป็นต้นเหล่านั้นมาแล้วในสูตรมีมหาสุทัสสนะเป็นต้นโดยพิสดารแล แม้อธิบายวิธีปรากฏของจักรแก้วนั้น ท่านพรรณนาไว้ในอรรถกถาแห่งสูตรเหล่านั้นแล.
    ในบทว่า สติสมฺโพชฺฌงฺครตนสฺส เป็นต้น พึงทราบแม้ความที่มีลักษณะคล้ายกันอย่างนี้.

    จักรแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ เที่ยวไปก่อนกว่ารัตนะทั้งปวงฉันใด สติสัมโพชฌังครัตนะเที่ยวไปก่อนกว่าธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๔ ทั้งปวงฉันนั้น
    คือเปรียบด้วยจักรแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ เพราะอรรถว่าเที่ยวไปก่อน.

    บรรดารัตนะทั้งหลาย ช้างแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ เกิดร่างใหญ่สูง ไพบูลย์ใหญ่ ธัมมวิจยสัมโพชฌังครัตนะเข้าถึงหมู่ธรรมเป็นอันมาก สูงแผ่ไป กว้างใหญ่ ดังนั้น จึงเปรียบด้วยช้างแก้ว.

    ม้าแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิมีฝีเท้าเร็ว วิริยสัมโพชฌังครัตนะแม้นี้มีกำลังฉับพลัน ดังนั้น
    จึงเปรียบด้วยม้าแก้ว เหตุมีกำลังฉับพลันนี้.

    แก้วมณีของพระเจ้าจักรพรรดิ กำจัดความมืดให้สว่างได้ ปีติสัม<WBR>โพช<WBR>ฌังค<WBR>รัตนะ<WBR>แม้นี้อยู่ในหมู่ธรรมเป็นอันมาก กำจัดความมืดคือกิเลสให้สว่างด้วยญาณ ด้วยอำนาจสหชาตปัจจัยเป็นต้น เพราะเป็นกุศลโดยส่วนเดียว ดังนั้น จึงเปรียบด้วยแก้วมณี เหตุกำจัดความมืดในสว่างนี้.

    นางแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ ระงับความกระวนกระวายทางกายและทางจิต ให้ความร้อนสงบ ปัสสัทธิสัมโพชฌังครัตนะแม้นี้ ระงับความกระวนกระวายทางกายและทางจิต ให้ความร้อนสงบ ดังนั้นจึงเปรียบด้วยนางแก้ว.

    คฤหบดีแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ กำหนดความฟุ้งซ่าน ทำให้จิตมีอารมณ์เดียวด้วยการให้ทรัพย์ ในขณะที่ตนปรารถนาแล้วและปรารถนาแล้ว สมาธิสัมโพชฌังครัตนะแม้นี้ ยังอัปปนาให้ถึงพร้อมด้วยอำนาจความที่ตนปรารถนาเป็นต้น ตัดขาดแล้วซึ่งความฟุ้งซ่าน ทำจิตให้มีอารมณ์เดียว ดังนั้น จึงเปรียบด้วยคฤหบดีแก้ว.

    ส่วนปริณายกแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ ทำความขวนขวายน้อยให้ ด้วยการทำกิจในที่ทั้งปวงให้สำเร็จ อุเบกขาสัมโพชฌังครัตนะแม้นี้ เปลื้องจิตตุปบาทจากความหดหู่และความฟุ้งซ่าน ทำความขวนขวายน้อย วางตนไว้ในท่ามกลางประกอบความเพียร ดังนั้น จึงเปรียบด้วยปริณายกแก้ว.
    พึงทราบว่า การกำหนดธรรมที่รวมไว้ทั้งหมดเป็น ๔ ภูมิ ได้กล่าวไว้ในสูตรนี้ด้วยประการฉะนี้.

    <CENTER>
    จบอรรถกถาจักกวัตติสูตรที่ ๒

    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=505

    -----------------------------------------------------</CENTER>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มิถุนายน 2015
  3. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒
    ทีฆนิกาย มหาวรรค
    </CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    <CENTER></CENTER><CENTER>๔. มหาสุทัสสนสูตร (๑๗)</CENTER><CENTER class=l>-----------------------</CENTER></PRE>


    [๑๖๔] ดูกรอานนท์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว
    ๗ ประการ และด้วยฤทธิ์ ๔ ประการ แก้ว ๗ ประการ เป็นไฉน ฯ


    ดูกรอานนท์ เมื่อพระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงสนานพระเศียรในวัน ๑๕ ค่ำ
    อันเป็นวันอุโบสถ ทรงรักษาอุโบสถ เสด็จขึ้นบนปราสาทอันประเสริฐ

    จักรแก้วอันเป็นทิพย์ มีซี่พันหนึ่ง มีกง มีดุม พร้อมบริบูรณ์ โดยอาการทั้งปวง ได้ปรากฏขึ้น

    ท้าวเธอทอดพระเนตรเห็น จึงทรงพระดำริว่า ก็เราได้สดับเรื่องนี้มา
    แล้วว่า ผู้ใดเป็นขัตติยราชผู้ได้มูรธาภิเษกแล้ว สนานพระเศียรในวัน ๑๕ ค่ำ
    อันเป็นวันอุโบสถ ทรงรักษาอุโบสถ เสด็จขึ้นสู่ปราสาทอันประเสริฐ จักรแก้วอัน
    เป็นทิพย์ มีซี่พันหนึ่ง มีกง มีดุม พร้อมบริบูรณ์ โดยอาการทั้งปวงย่อมปรากฏ
    ขึ้น พระราชาผู้นั้น ย่อมเป็นพระเจ้าจักรพรรดิดังนี้


    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ บรรทัดที่ ๓๙๑๖ - ๔๔๖๔. หน้าที่ ๑๖๐ - ๑๘๒.
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=10&A=3916&Z=4464&pagebreak=0
     

แชร์หน้านี้

Loading...