พระอาจารย์ใหญ์ ดร.ภัททันตะ อาสภมหาเถระ พระธรรมฑูตแห่งวิปัสนาวงศ์

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย aprin, 4 กันยายน 2011.

  1. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงศพหลวงพ่อ ดร.ภัททันตะ อาสภมหาเถระ ธัมมาจริยะ อัคคมหากัมมัฏฐานาจาริยะ พระธรรมทูตแห่งวิปัสสนาวงศ์ พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ วันอาทิตย์ที่ 4 ก.ย. 2554 เวลา 17.00 น. ณ เมรุวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร

    หลวงพ่อ ดร.ภัททันตะ เป็นพระมหาเถระชาวพม่า มาอยู่เมืองไทยเมื่อปี 2496 พำนัก ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เป็นเวลา 10 ปี

    • ปี 2505 ย้ายไปพำนัก ณ สำนักวิปัสสนาวิเวกอาศรม อ.เมือง จ.ชลบุรี (37 ปี)
    • 1 มี.ค. 2542 ย้ายไปพำนัก ณ สำนักวิปัสสนาสมมิตรปราณี อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี (3 ปี )
    • 19 ต.ค. 2545 พำนัก ณ วัดภัททันตะอาสภาราม ต.หนองไผ่แก้ว อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี
    • 24 พ.ย. 2553 มรณภาพด้วยโรคปอดอักเสบ ณ โรงพยาบาลศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เมื่อเวลา 19.55 น. สิริอายุ 100 ปี 81 พรรษา

    26 พ.ย. 2553 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำหลวงสรงศพเป็นกรณีพิเศษ

    ตลอดเวลาอาพาธได้รับพระมหากรุณาธิคุณเป็นภิกษุอาพาธในพระบรมราชานุเคราะห์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

    [​IMG]

    หลวงพ่อ ดร.ภัททันตะ ท่านอาจารย์ใหญ่ เมื่อยังมีชีวิตสอนวิปัสสนาให้ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเป็นจำนวนมาก รวมเวลาสอนวิปัสสนาในประเทศไทยเป็นระยะเวลานานถึง 58 ปี

    สร้างวิปัสสนาจารย์
    พระราชสิทธิมุนี (บุญชิต ป.ธ.9) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุฯ อาจารย์สอนวิปัสสนากรรมฐานระดับชั้นปริญญาตรี-โท-เอก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นศิษย์คนหนึ่งของหลวงพ่อ ดร.ภัททันตะ กล่าวว่า หลวงพ่อท่านเก่งในการสอนวิปัสสนา สามารถสอนได้ตรงกับจริตของผู้เรียน มีวิธีการสอนที่ทำให้ผู้เรียนเข้าใจง่ายโดยใช้ภาษาไทย ทั้งๆ ที่เป็นชาวพม่า แต่อยู่เมืองไทยนานนับสิบปี เป็นพระอาจารย์ที่สร้างวิปัสสนาจารย์และลูกศิษย์มาก ศิษย์บางท่านเรียนรู้กับหลวงพ่อแล้วนำไปถ่ายทอดต่อจนมีชื่อเสียง เช่น อดีตพระพรหมโมลี (เจ้าคุณวิลาส ญาณวีโร ป.ธ.9) อดีตเจ้าอาวาสวัดยานนาวา และอดีตหลวงพ่อพระธรรมธีรราชมหามุนี (หลวงพ่อโชดก ป.ธ.9) แห่งวัดมหาธาตุฯ ท่าพระจันทร์ เป็นต้น

    สำหรับตัวท่านเจ้าคุณราชสิทธิมุนีนั้นเรียนและปฏิบัติในสำนักของหลวงพ่อ ดร.ภัททันตะ เป็นเวลา 2 ปี ได้นำความรู้นั้นมาถ่ายทอดให้กับนิสิต นักศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ทุกระดับชั้น ตั้งแต่ปี 2529 หลังจากจบ ป.ธ.9 และ พ.ธ.บ. (จบปีเดียวกัน) จนถึงปัจจุบัน

    พระราชสิทธิมุนี เล่าเพิ่มเติมว่า หลวงพ่อ ดร.ภัททันตะ นั้นถือว่าเป็นพระธรรมทูตแห่งศาสนวงศ์ของ 2 ประเทศ คือ ไทยกับสหภาพเมียนมาร์ มีปฐมเหตุจากการที่สหภาพเมียนมาร์ได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรใหม่ๆ แล้วจัดประชุมสงฆ์และนักปราชญ์ทำสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 6 ในเมืองย่างกุ้ง ในครั้งนั้นหลวงพ่ออาจ อาสภเถระ (อดีตสมเด็จพระพุฒาจารย์ อดีตอธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุฯ) เดินทางไปนครย่างกุ้งในฐานะผู้แทนประเทศไทย พบว่าที่ประเทศพม่าสอนและฝึกวิปัสสนากรรมฐานอย่างจริงจัง จึงติดต่อสำนักมหาสี สะยาดอร์ ซึ่งเป็นสำนักวิปัสสนาที่มีชื่อเสียงให้หาพระมาสอนวิปัสสนาในเมืองไทย ท่านจึงส่งพระ ดร.ภัททันตะ มาให้ ท่านจึงเป็นธรรมทูตแห่งศาสนวงศ์นับแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงมรณภาพ

    ประวัติพระอาจารย์
    พระ ดร.ภัททันตะ มีนามเดิมว่า หม่องขิ่น ถือกำเนิดในสกุลตวยเต้าจี้ ซึ่งเป็นสกุลขุนนางชั้นสูงของพม่า เมื่อปีกุน พ.ศ. 2454 ที่ตำบลจวนละเหยียน อำเภอเยสะโจ จังหวัดปะดุกกู่ สหภาพเมียนมาร์ โยมบิดามีนามเดิมว่า อุโพอ้าน โยมมารดามีนามว่า ดอร์เปียว มีพี่น้อง 3 คน ท่านเป็นบุตรคนสุดท้อง ในช่วงปฐมวัย พระอาจารย์ได้รับการศึกษาขั้นต้นเมื่อปี 2461 ขณะที่อายุได้ 7 ขวบ โดยเรียนตั้งแต่หลักสูตรนะโม พุทธายะ สิทธัง ไปจนถึงทศมหาชาดก ซึ่งเป็นหลักสูตรพื้นฐานการศึกษาที่กุลบุตรชาวพม่าจะต้องเรียนในสมัยนั้น

    [​IMG]

    เข้าสู่ร่มผ้ากาสาวพัสตร์
    พระอาจารย์ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อปี 2469 อายุ 15 ปี โดยมีพระภัททันตะ ญาณมหาเถระ เจ้าอาวาสวัดโชติการาม เป็นพระอุปัชฌาย์ และในเวลาต่อมาก็อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ได้รับฉายาว่า อาสโภ ณ พัทธสีมาวัดจวนละเหยียน อำเภอเยสะโจ จังหวัดปะดุกกู่ เมื่อวันที่ 21 ก.ค. 2473

    พระอาจารย์ได้รับการศึกษาภาคคันถธุระ คือ
    1.ระเบียบวินัย ข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ
    2.ไวยากรณ์บาลีมหากัจจายน์
    3.อภิธรรมมัตถสังคหอรรถกถา
    4.ศึกษาปริยัติธรรมชั้นสูงที่มหาวิสุตารามมหาวิทยาลัย

    วุฒิธัมมาจริยะ
    พระอาจารย์สอบได้วุฒิชั้น “ธัมมาจริยะ” ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดแห่งการศึกษาคณะสงฆ์พม่าเมื่ออายุได้ 27 ปี

    จบแล้วได้รับความเห็นชอบจากบรรดาพระมหาเถระแห่งมหาวิทยาลัยให้ดำรงตำแหน่ง “คณะวาจกสะยาดอร์” คือ เป็นพระคณาจารย์ชั้นผู้ใหญ่ประจำมหาวิทยาลัย มีหน้าที่ให้การศึกษาพระไตรปิฎก บาลี อรรถกถา ฎีกา และพระคัมภีร์ต่างๆ ตั้งแต่ปี 2483 เป็นต้นมา

    ในภาควิปัสสนาธุระนั้น ได้เข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ณ วัดสวนลน จังหวัดเมียนฉั่น โดยมีท่านพระอาจารย์ ภัททันตะ กวิมหาเถระ ปธานกัมมัฏฐานาจริยะ เป็นผู้บอกกรรมฐาน

    และได้เดินทางไปเข้าวิปัสสนากรรมฐานต่อ ณ วัดมหาสี ตำบลเชตโข่น จังหวัดสวยะโบ่ ซึ่งเป็นสำนักของมหาสี สะยาดอร์

    เมื่อปี 2493 พระอาจารย์ได้รับการถ่ายทอดวิชา “วิปัสสนาจารย์” จากพระอาจารย์ภัททันตะ โสภณมหาเถระ อัคคมหาบัณฑิต (มหาสี สะยาดอร์) ผู้เป็นปรมาจารย์ต้นตำรับ “ยุบหนอ พองหนอ” และได้รับมอบหมายให้เป็นวิปัสสนาจารย์ประจำสำนักมหาสี สาสนยิสสา แห่งนครย่างกุ้ง

    เดินทางมาไทย
    ในปี 2495 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) เมื่อครั้งเป็นพระพิมลธรรม มีความประสงค์จะวางรากฐานวิปัสสนาธุระไว้ ณ ประเทศไทย จึงได้แสดงความจำนงไปยังสภาพุทธศาสนาแห่งประเทศพม่า ขอให้จัดส่งพระวิปัสสนาจารย์ผู้มีความรู้เชี่ยวชาญมาช่วยสอนวิปัสสนากรรมฐานในประเทศไทย สภาการพุทธศาสนาแห่งประเทศพม่าจึงมอบหมายให้ท่านพระอาจารย์ภัททันตะ โสภณมหาเถระ อัคคมหาบัณฑิต เป็นผู้พิจารณาพระวิปัสสนาจารย์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมตามความต้องการของสมเด็จพระพุฒาจารย์

    ท่านพระอาจารย์ภัททันตะ โสภณมหาเถระ อัคคมหาบัณฑิต พิจารณาโดยรอบคอบแล้วจึงมีบัญชาให้พระอาจารย์ภัททันตะ อาสภเถระ ธัมมาจริยะ เป็นผู้รับภาระหน้าที่อันสำคัญนี้ ท่านจึงเดินทางมาประเทศไทยรับหน้าที่เป็นพระวิปัสสนาจารย์สอนวิปัสสนากรรมฐานอยู่ ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร

    เมื่อปี 2505 พระอาจารย์ภัททันตะ อาสภเถระ ธัมมาจริยะ ได้รับอาราธนาจากนายธรรมนูญ สิงคาลวณิช และพระภิกษุเดือน เนื่องจำนงค์ ให้มาเป็นพระอาจารย์สอนกรรมฐานประจำสำนักวิปัสสนาวิเวกอาศรม จ.ชลบุรี ซึ่งพำนักที่นั่นนานถึง 37 ปี และได้ย้ายไปยังสำนักวิปัสสนาสมมิตรปราณี อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี พักอยู่ 3 ปี ได้ย้ายไปพำนัก ณ วัดภัททันตะอาสภาราม ต.หนองไผ่แก้ว อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี เมื่อ 19 ต.ค. 2545

    แต่งหนังสือวิปัสสนากรรมฐาน
    นอกจากสอนวิปัสสนากรรมฐานจนมีชื่อเสียงและเป็นที่เคารพของคณะศิษย์แล้ว ท่านยังมีผลงานที่ปรากฏเด่นชัดในฐานะพระธรรมทูต คือ การรจนาหนังสือวิปัสสนาที่สมบูรณ์ ทรงคุณค่าหาได้ยากยิ่ง เป็นหนังสือเกี่ยวกับการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเป็นภาษาไทย อธิบายครบทุกขั้นตอนตั้งแต่หลักการปฏิบัติวิปัสสนาเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด เป็นคู่มือและตำราของผู้ปฏิบัติและผู้สอนวิปัสสนาตามหลักมหาสติปัฏฐานสูตรในพระไตรปิฎกหลายเล่มด้วยกัน
    ในการเป็นพระวิปัสสนาจารย์มาตลอดชีวิตนั้น ท่านได้สร้างวิปัสสนาจารย์เพื่อทำหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาจำนวนมาก ถือได้ว่าพระอาจารย์เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการวางรากฐานงานวิปัสสนา และได้สร้างศาสนสัมพันธ์ที่ดีระหว่างไทยพม่าให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

    ในการพระราชทานเพลิงศพ วันที่ 4 ก.ย. 2554 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ สถานทูตพม่าประจำประเทศไทย และกองทุนวิปัสสนา ธัมมาจริยะ อัคคมหากัมมัฏฐานาจริยะ และพุทธศาสนิกชนชาวไทยและต่างประเทศ จึงร่วมกันเป็นเจ้าภาพถวายพระอาจารย์ใหญ่เป็นครั้งสุดท้าย

    http://www.posttoday.com/ธรรมะ-จิตใ...ัททันตะ-อาสภมหาเถระ-พระธรรมฑูตแห่งวิปัสนาวงศ์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กันยายน 2011
  2. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    กราบนมัสการน้อมไว้อาลัยพระมหาเถระครับ...
     
  3. wvichakorn

    wvichakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,684
    ค่าพลัง:
    +9,239
    [​IMG]


    กราบ กราบ กราบ หลวงพ่อใหญ่เจ้าค่ะ

     
  4. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,255
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    กราบอนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ
    กับหลวงพ่อ ดร.ภัททันตะ ท่านอาจารย์ใหญ่
    ในบุญกุศลทั้งหลายที่ได้เผยแพร่และจรรโลงพระพุทธศาสนา
    ตลอดจนสร้างบุญกุศลทุกอย่างไว้ในพระพุทธศาสนา
    และทุกท่านที่ได้ร่วมกันทำบุญสร้างกุศลทุกอย่าง
    ขอให้พระอาจารย์จงเข้าสู่พระนิพพานด้วยเทอญ
    นิพพานัง ปรมัง สุขขัง
    นิพพานัง ปัจจโย โหตุ
    [​IMG]
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กันยายน 2011
  5. สุทธิมา

    สุทธิมา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2010
    โพสต์:
    784
    ค่าพลัง:
    +2,119
    กราบนมัสการหลวงปู่ใหญ่ สู่แดนพระนิพพานค่ะ
     
  6. akojang

    akojang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    122
    ค่าพลัง:
    +132
    กราบนมัสการน้อมส่งหลวงปู่สู่นิพพานค่ะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • kkk.jpg
      kkk.jpg
      ขนาดไฟล์:
      3.3 KB
      เปิดดู:
      432
  7. daeng007

    daeng007 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2009
    โพสต์:
    156
    ค่าพลัง:
    +84
    กราบ กราบ กราบ หลวงพ่อใหญ่
     

แชร์หน้านี้

Loading...