ประคำมหาวิมุตติ หลวงปู่ครูบาศรีวัย วัดหนองเงือก

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย yungna, 1 ธันวาคม 2009.

  1. yungna

    yungna Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +30
    ประวัติพระครูโพธิโสภณ ( หลวงปู่ครูบาศรีวัย โพธิวํโส )<O:p</O:p
    อายุ๗๖ปี๕๖พรรษา<O:p</O:p
    วัดหนองเงือก ต.แม่แรง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน<O:p</O:p
    ศิษย์หลวงปู่ครูบาญานะ(คำแสน) วัดหนองเงือก พระอาจารย์ผู้สอนกรรมฐาน<O:p</O:p
    หลวงปู่ครูบาพรหมจักร วัดพระพุทธบาทตากผ้า<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    หลวงปู่ครูบาศรีวัย เกิดวันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ ในครอบครัวชาวยอง ณ.บ้านหนองเงือก ต.แม่แรง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน เมื่ออายุ ๑๒ ปีได้มาเป็นขโยม( เด็กวัด )อยู่กับหลวงปู่ครูบาณานะ(คำแสน) อดีตเจ้าอาวาส วัดหนองเงือก ผู้เป็นพระอาจารย์ใหญ่ในด้านสมถและวิปัสนากรรมฐานที่มีศิษยานุศิษย์เป็นที่นับถือศรัทธาของประชาชนทั่วไป อาทิ หลวงปู่ครูบาพรหมจักร วัดพระพุทธบาทตากผ้า หลวงปู่ครูบาพรหม วัดหนองเงือก หลวงปู่ครูบาดวงดี วัดดอนหลวง และหลวงปู่ครูบาศรี อริยวํโส วัดป่าบุกผู้ซึ่งมีดวงธาตุเป็นลูกไฟพุ่งออกจากสังขารต่อหน้าศรัทธานับร้อยขณะปลงศพ<O:p</O:p
    หลวงปู่ครูบาศรีวัยนั้นท่านเป็นผู้มีบุญบารมีสูง ขณะที่อายุ ๑๒ ปีได้มาเป็นขโยมวัดรับใช้ใกล้ชิดหลวงปู่ครูบาญานะในช่วงท้ายของชีวิต หลวงปู่ครูบาญานะคงเห็นแววของเด็กชายศรีวัยว่าภายภาคหน้าจะได้เป็นกำลังของพระศาสนาจึงได้อบรมสั่งสอนกรรมฐานให้อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับเด็กชายศรีวัยเป็นเด็กที่มีบุญมากบารมีจิตใจสะอาดมั่นคงจึงทำให้พระกรรมฐานเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วจนสำเร็จรูปฌาน๔ตั้งแต่ยังมิได้บวชเณร จนกระทั่งหลวงปู่ครูบาญานะได้มรณภาพลงในปีพศ.๒๔๙๐ เด็กชายศรีวัยจึงได้บวชทดแทนคุณท่านเมื่ออายุ ๑๔ ปี บวชแล้วก็ได้ศึกษาพระกรรมฐานต่อกับหลวงปู่ครูบาพรหม วัดหนองเงือก (ศิษย์หลวงปู่ครูบาญานะที่เป็นเจ้าอาวาสลำดับต่อมา) และยังได้ศึกษาเพิ่มเติมในด้านกรรมฐานรวมทั้งพระเวทย์กับหลวงปู่ครูบาดวงดี วัดดอนหลวงและหลวงปู่ครูบาศรี อริยวํโส วัดป่าบุก ซึ่งเก่งมาก นอกจากนั้นยังได้รับถวายวิชาอาคมกับหนานชาวจ.แพร่ท่านนึง และได้เดินทางร่ำเรียนวิชาถึงเมืองยองแคว้นสิบสองปันนาประเทศจีนซึ่งพูดภาษาเหมือนยองบ้านหนองเงือก<O:p</O:p
    หลวงปู่ครูบาศรีวัยเป็นพระผู้มีบุณบารมีสูงมาก จนสามารถสื่อสารกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆได้ อาทิ นำศิษยานุศิษย์นั่งเจริญพระกรรมฐานจนกระทั่งรัศมีดวงธาตุเปล่งออกจากพระธาตุเจดีย์ต่อหน้าศรัทธาญาติโยมจำนวนมาก โดยศิษย์บางท่านถ่ายภาพไว้ได้ พระธาตุเจดีย์นี้เป็นเจดีย์ศักดิ์สิทธิ์ที่บรรจุพระแก้วและพระธาตุ๑๑๑องค์ที่คณะของหลวงปู่ครูบาพรหมา วัดพระพุทธบาทตากผ้า อัญเชิญมาจากวัดนครเจดีย์ โดยพระแก้วและพระธาตุนี้ได้เลือกผู้มีบุญบารมีที่สามารถสืบทอดกันดูแลรักษาองค์ท่านไว้แล้วซึ่งก็คือหลวงปู่ครูบาศรีวัย ตามประวัติดังนี้<O:p</O:p
    ประวัติวัดนครเจดีย์ (หนองเจดีย์)วัดนครเจดีย์สมัยก่อนนั้นก็เป็นวัดรกร้าง หาใครเข้าไปอยู่ได้ยาก กลัวงู กลัวเสือ กลัวผีไปทุกๆชนิด ที่วัดหนองเจดีย์ (วัดนครเจดีย์) มีพระเจดีย์ร้างอยู่องค์หนึ่งพระเจดีย์องค์นี้อยู่ในลักษณะทรุดโทรมหักพังกองอิฐถูกผู้โลภหวังจะหาทรัพย์สมบัติโบราณทำลายขุดจนดูไม่ออกว่าพระเจดีย์นี้มีรูปลักษณ์แบบใดกันแน่ต่อมาเมื่อหลวงปู่พระสุพรหมยานเถร หรือท่านครูบาพรหมาได้ผ่านไปทางพระเจดีย์ร้างนี้ ก็กำหนดรู้ด้วยวาระจิตว่าใต้ฐานเจดีย์ทิศตะวันออกมีพระพุทธรูปสำคัญอยู่องค์หนึ่งทั้งยังมีพระบรมธาตุอันศักดิ์สิทธิ์อีกด้วย ดังนั้นหลวงปู่จึงได้ให้ญาติโยมวัดผู้อุปัฏฐากไปขุดค้นตรงบริเวณดังกล่าวก็ได้พบกับพระแก้วมรกตองค์หนึ่งงดงามมากพร้อมกับพระบรมธาตุในผอบอีก ๑๑๑ องค์หลวงปู่พระสุพรหมยานเถรได้อัญเชิญมาวางในที่อันควร จากนั้นได้ทำการสรงน้ำ (คือล้างดินทรายออกจากองค์พระแก้วมรกต) ก็ปรากฏเป็นแสงสว่างเขียวงามตาไปทั่วบริเวณ
    ส่วนพระบรมธาตุ ๑๑๑ องค์ หลวงปู่ได้ทำการอัญเชิญสรงน้ำด้วยเครื่องหอม น้ำอบและแก่นจันทน์ พอตกกลางคืน ก็ปรากฏว่ามีแสงสีสว่างจ้าทุกคืนอัญเชิญประดิษฐานไว้สักการะ ความอัศจรรย์กับพระบรมธาตุศักดิ์สิทธิ์จะเป็นจริงมากน้อยแค่ไหน ผู้เขียน (คุณโชติ) ได้กราบเรียนถามศิษย์ใกล้ชิดของท่านคือครูบาเขื่อนคำ อัตตสันโต เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน ก็ได้รับคำยืนยันว่าเป็นความจริงนะโยม ครูบาพรหมาท่านเก็บรักษาบูชาของทั้งสองอย่างอยู่ไม่นานนักเพราะท่านกำหนดรู้ถึงความไม่ปลอดภัยของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งสองอย่างนี้
    ดังนั้น ท่านครูบาพรหมาจึงได้นำอัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบรมธาตุทั้ง ๑๑๑องค์ ตรงไปยังวัดป่าเหียง เพื่อทำการอัญเชิญบรรจุในพระเจดีย์ พอไปถึงวัดป่าเหียงท่านครูบาพรหมาต้องผิดหวังเพราะว่าท่านเจ้าอาวาสท่านปฏิเสธที่จะรับของอันมีค่านี้ไว้เนื่องจากวัดป่าเหียงมีเจดีย์บรรจุธาตุเรีบยร้อนแล้ว ท่านเจ้าอาวาสวัดป่าเหียงก็ได้แนะนำให้ท่านครูบาพรหมาอัญเชิญไปบรรจุ ณวัดหนองเงือกทันทีเพราะขณะนั้นวัดหนองเงือกกำลังก่อสร้างพระเจดีย์ เมื่อครูบาพรหมารีบนำพระแก้วมรกตและพระบรมธาตุไปที่วัดหนองเงือก ท่านเจ้าอาวาสวัดหนองเงือกก็รับเอาไว้ด้วยปีติยินดี แล้วได้ทำการอัญเชิญประดิษฐานลง ณพระเจดีย์ดังกล่าวเพื่อเป็นที่สักการบูชาของคณะศรัทธาญาติโยมต่อไป<O:p</O:p
    ตำนานประวัติของหมู่บ้านหนองเงือกตามตำนาน เล่าสืบกันมา (ได้จารึกไว้ในสมุดข่อยบ้าง เล่าสืบๆ กันมาบ้าง)กล่าวว่าเนื่องจากในครั้งที่ได้มีผู้คนได้อพยพมาจากเมืองยองประเทศพม่าและได้มาตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณเขตบ้านหนองเงือก โดยได้อพยพมาตั้งหมู่บ้าน ๕ครอบครัวด้วยกัน โดยแต่ละครอบครัวได้กระจายกันอยู่ดังนี้คือบ้านม่อนซึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือของวัดบ้านหลวงซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ที่ตลาดสดในปัจจุบันนี้บ้านริ้วนาซึ่งตั้งอยู่นอกริ้วนา ปัจจุบันเรียกว่าบ้านป่ามะหุ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของวัด แต่ละบ้านมีชื่อไม่เหมือนกัน สาเหตุที่เรียกชื่อบ้านว่าบ้านหนองเงือกนั้นเป็นผลสืบเนื่องว่าทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านได้มีหนองน้ำขนาดใหญ่อยู่และได้มีรูน้ำไหลขนาดใหญ่ซึ่งมีน้ำไหลออกมาตลอดทั้งปีและได้เกิดสิ่งอัศจรรย์ที่คนทั้ง ๕ ครอบครัวไม่คาดคิด ได้ปรากฏว่ามีงูหรือเงือก ( พญานาค) ใหญ่ขนาดเท่ากับคน ปรากฏผุดขึ้นแล้วหายไปด้วยเหตุนี้จึงเป็นเหตุให้คนทั้งห้าครอบครัวตั้งชื่อนามบ้านว่าบ้านหนองเงือกตราบเท่าทุกวันนี้ ในปัจจุบันนี้หนองน้ำก็ยังมีอยู่และยังมีน้ำไหลออกรูมาตลอดทั้งปี ดั่งได้กล่าวมานี้ครับ<O:p
    นอกจากนั้นบ้านหนองเงือก ยังนับเป็นหมู่บ้านของชาวยองหนึ่งในหลายๆ หมู่บ้าน ที่มีการทอผ้าฝ้ายแบบพื้นเมืองดั้งเดิมเล่ากันว่าชาวยองบ้านหนองเงือก มีต้นตระกูลมาจากเมืองยอง ในแคว้นสิบสองปันนาที่ได้อพยพมาตั้งรกรากใน อำเภอป่าซาง ชาวยองเหล่านี้กระจายกันอยู่ในหมู่ บ้านต่าง ๆ หลายชุมชน โดยเฉพาะที่บ้านหนอง เงือก ถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมและประเพณีก็ว่าได้ ชาวบ้านบ้านหนองเงือกยังคงยึดถือปฏิบัติตามวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวยอง ซึ่งปรากฏให้เห็นได้ในงานประเพณีพื้นบ้าน
    เอกลักษณ์การแต่งกายของชาวยองก็โดดเด่นและน่าสนใจอยู่ไม่น้อย ผู้ชายชาวยองจะนิยมใส่กางเกงสะดอ สวมเสื้อหม้อห้อม ผู้หญิงจะนิยมนุ่ง ผ้าซิ่นใส่เสื้อป้าย โพก ผ้าบนศีรษะโดยใช้ผ้าฝ้ายทอมือตามศิลปการทอผ้าแบบชนชาวยอง ด้วยเหตุนี้กระมังจึงทำให้ ผ้าทอของชาวยองได้รับความสนใจจากคนทั่วไป
    หมู่บ้านหนองเงือกจึงนับเป็นหมู่บ้านตัวอย่างหนึ่งในหลายหมู่บ้านที่มีความพยายามจะฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิตของชาวยองโดยเฉพาะการทอผ้าของชาวยองให้กลับมาสร้างชื่อเสียงให้กับป่าซางอีกครั้ง แม้ว่าพวกเขาจะไม่หวังให้ผ้าทอชาวยองโด่งดังเหมือนกับผ้าทอแม่แจ่มจากเชียงใหม่หรือผ้าทอยกดอกแบบดั้งเดิมของลำพูน แต่การสืบสานวัฒนธรรมประเพณี การทอผ้าแบบชาวยองก็ถือเป็นหนึ่งในความภูมิใจของชาวบ้านหนองเงือกทุกคน <O:p</O:pปัจจุบันหมู่บ้านหนองเงือกเป็นแหล่งทอผ้าฝ้ายส่งขายในตลาดเชียงใหม่และสวนจตุจักรกทม. มีร้านจำหน่ายผ้าฝ้ายทอมือมากมายเกือบทั้งหมู่บ้าน<O:p</O:p</O:p
    วัดหนองเงือกตั้งอยู่ในหมู่บ้านหนองเงือก ตำบลแม่แรงอำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอป่าซางไปทางทิศใต้ ประมาณ ๔กิโลเมตร ถนนเข้าสู่วัดอยู่ฝั่งตะวันตกของถนนสายป่าซางลี้ ใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๐๖ไปทางอำเภอบ้านโฮ่ง ประมาณ ๖ กิโลเมตร มีทางแยกขวา ให้เลี้ยวเข้าไปประมาณ ๑.๕กิโลเมตร เจอสามแยกบริเวณวัดดอนหลวงให้เลี้ยวซ้ายเข้าไปเลยร้านอุดมศิริผ้าฝ้ายไปเล็กน้อยเป็นสามแยก ให้เลี้ยวซ้ายเข้าไป ๒๕๐ เมตร<O:p</O:p</O:p
    ประวัติวัด สิ่งศักดิ์สิทธิ์และศาสนะวัตถุที่สำคัญของวัดหนองเงือก<O:p</O:p</O:p
    ประวัติวัดหนองเงือกตามประวัติกล่าวว่า ในปี ๒๓๗๑ได้มีชาวบ้านหนองเงือกคนหนึ่งชื่อว่า นายใจมีความคิดที่จะสร้างวัดขึ้นในหมู่บ้านหนองเงือกเนื่องจากว่าในขณะนั้นหมู่บ้านนี้ยังไม่มีวัดเลย จึงปรึกษากับครูบาปารมีและได้นิมนต์ท่านครูบามาเป็นประธานในการสร้างวัด ในปี พ.ศ. ๒๓๗๒ จึงแล้วเสร็จและตั้งชื่อวัดตามหมู่บ้านว่า วัดหนองเงือกโดยมีท่านครูบาปารมีเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกครับ

    รายนามเจ้าอาวาส วัดหนองเงือกมีดังนี้
    ครูบาปาระมีพ.ศ. ๒๓๗๖ ๒๔๐๐
    ครูบาอุปะละพ.ศ. ๒๔๐๐ ๒๔๐๖
    ครูบาไชยวงษาพ.ศ. ๒๔๑๖ ๒๔๓๐
    ครูบาไชยสิทธิพ.ศ. ๒๔๓๒ ๒๔๕๓
    ครูบาญาณะ (คำแสน)พ.ศ. ๒๔๕๓ ๒๔๙๐
    ครูบาพรหมพ.ศ. ๒๔๙๐ ๒๕๐๔<O:p></O:p>
    พระครูโพธิโสภณ (ศรีวัย โพธิวโส)พ.ศ. ๒๕๐๔<O:p</O:p
    หอไตรวัดหนองเงือก มีลักษณะแตกต่างจากที่พบทั่วไปในจังหวัดลำพูนลักษณะเป็นหอไตรก่ออิฐถือปูนทั้งหลัง เป็นศิลปะแบบพม่า ตัวหอไตรสร้างเป็น ๒ ชั้นชั้นบนทึบ ปัจจุบันถูกปิดตาย เจาะช่องสี่เหลี่ยมเล็กๆ สำหรับใช้บันไดพาดขึ้นไปชั้นล่างเป็นโถงโล่ง มีระเบียง และผนังของอาคารชั้นล่างมีภาพจิตรกรรมฝาผนังมีทางเข้าด้านเดียว ทางเข้านี้ทำเป็นซุ้มโค้งมีทั้งหมด ๕ ช่องครับ<O:p</O:p</O:p
    ผนังของหอไตรชั้นล่างจะมี ๓ ด้าน ทั้ง ๓ด้านมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเขียนประดับเอาไว้ ผนังด้านซ้ายภาพจะเลอะเลือนไปมากแล้ว ส่วนผนังด้านขวา นั้นเขียนเป็นเรื่องราวจากนิทานชาดกเรื่อง พรหมจักรชาดกซึ่งเป็นนิทานพุทธศาสนาที่มีเค้าโครงเรื่องมาจากวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์
    ลักษณะของภาพจิตรกรรมฝาผนังในหอไตรวัดหนองเงือกเป็นศิลปกรรมที่ได้รับอิทธิพลของศิลปะแบบพม่าค่อนข้างมากโดยเฉพาะเครื่องแต่งกายของคนในภาพแต่คำอธิบายภาพทั้งหมดเขียนด้วยอักขระล้านนาทั้งสิ้นครับ<O:p</O:p</O:p
    ผนังในสุดซึ่งเป็นพื้นที่กว้างที่สุดแบ่งพื้นที่ของภาพออกเป็น ๒ ส่วน คือ ด้านซ้ายและด้านขวา
    ด้านซ้ายเขียนเป็นเรื่องราวขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตอนที่ทรงนำพระอรหันต์เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์หลังจากที่พระองค์เสด็จขึ้นไปแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพุทธมารดา
    ด้านขวานั้นเขียนเป็นภาพเจ้าวิธูรบัณฑิตนั่งอยู่ในปราสาทและภาพเมืองบาดาลมีพระยานาคมารอรับเสด็จพระพุทธองค์
    ด้านบนของผนังส่วนนี้มีข้อความเขียนด้วยอักขระล้านนามีใจความว่า ศักราชได้ ๑๒๗๙ ตัว ปีเมืองไส้ เดือน ๙ลง ๑๕ ค่ำ เม็งวันเสาร์ ไทยกัดเป้า ยามกองแลงได้แต้มข่าวเนื่องพระพุทธเจ้าโผดสัตว์ในชั้นฟ้า เมืองคน แลเมืองนาค ถวายค่านี้ ๔๐ แถบ รวมหมดเสี้ยง ๕๘แล</O:p
    พระบรมธาตุเจดีย์วัดหนองเงือกบรรจุพระแก้วมรกตและพระบรมธาตุศักดิ์สิทธิ์ทั้ง ๑๑๑ องค์โดยท่านครูบาพรหมาได้อัญเชิญมาจากวัดนครเจดีย์ดังได้กล่าวไว้แล้วในภาคประวัติหลวงปู่ครูบาศรีวัย และที่แท่นบูชาพระบรมธาตุเจดีย์นี้มีพระแก้วมรกตจำลององค์ที่บรรจุอยู่ข้างในประดิษฐานไว้ให้กราบบูชา<O:p</O:p</O:p
    คำไหว้พระแก้วมรกต
    (กล่าวนะโม ๓จบ) กาเยนะ วา เจตะสา วา พุทธะมะหามะณี รัตตะนะปะฏิมาการัง นะมามิหัง (๓จบ)<O:p</O:p</O:p
    คำไหว้พระบรมธาตุ<O:p</O:p(กล่าวนะโม ๓ จบ)วันทามิเจติยังสัพพังสัพพัฏฐาเนสุปะติฏฐิตาสะรีระธาตุโยเกศาธาตุโยอะระหันตาธาตุโยเจติยังคันทะกุฏิงจะตุละสีติสสะหิสเสธัมมักขันเธสัพเพสังปาทะเจติยังอะหังวันทามิธาตุโยวันทามิทุระโสอะหังวันทามิสัพพะทาอะหังวันทามิสิระสา ฯ
    ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระพุทธ พระธรรมและพระอริยสงฆ์เป็นที่พึ่ง ข้าพเจ้าขอกราบนอบน้อมบูชาอย่างยิ่ง ซึ่งพระแก้วมรกตและพระเจดีย์อันประเสริฐ และขอบูชาพระคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงเสียสละสั่งสมบารมีนับชาติมิถ้วน ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณประกาศธรรมนำเวไนยสัตว์ออกจากสังสารวัฏ พร้อมกราบพระธรรมและพระอริยสงฆ์ขอตั้งสัจจะอธิษฐานด้วยอานิสงส์ผลแห่งบุญนี้จงเป็นปัจจัยให้ได้ถึงซึ่งพระนิพพานแม้ต้องเกิดในทิพย์จุติใดๆขอเกิดภายใต้ร่มเงาพระพุทธศาสนาได้พบสัตบุรุษผู้รู้ธรรมอันประเสริฐมีกรรมสัมพันธ์ที่ดี ได้เกิดท่ามกลางกัลยาณมิตรห่างไกลจากพาล มีโอกาสฟังธรรมประพฤติธรรม จนเป็นปัจจัยให้เจริญด้วยสติและปัญญาญาณตามส่งชาตินี้และชาติต่อๆไป จนถึงพระนิพพานในกาลอันควรเทอญกรรมใดๆที่ล่วงเกินต่อพระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์และสรรพสัตว์ทั้งหลายในอดีตชาติก็ตามปัจจุบันชาติก็ตามกราบขออโหสิกรรมทั้งหมดทั้งสิ้น ขออุทิศกุศลผลบุญให้แต่ท่านผู้มีพระคุณ ญาติพี่น้องเจ้ากรรมนายเวรตลอดจนท่านที่ขวนขวายในกิจที่ชอบในการดำรงรักษาไว้ซึ่งประเทศชาติพระพุทธศาสนาและองค์พระมหากษัตริย์ทั้งที่เป็นมนุษย์และอมนุษย์ขอให้ท่านทั้งหลายดังกล่าวนามมานั้นจงมีแต่ความสุขฯ ทั่วกันทุกท่านเทอญ<O:p</O:p</O:p
    <O:p</O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 ธันวาคม 2009

แชร์หน้านี้

Loading...