ปฏิจสมุปบาทและวิืญญาณ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย kengkenny, 4 มกราคม 2012.

  1. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ปฏิจสมุปบาทและวิืญญาณ<!-- google_ad_section_end -->

    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start --><SCRIPT language=JavaScript src="http://a.admaxserver.com/servlet/ajrotator/818517/0/vj?z=admaxasia2&dim=280733&pid=f9495e6b-a541-414e-932e-d0ad5d5e6065&asid=b2a78f01-1304-47c3-8524-8df944047e53"></SCRIPT><SCRIPT type=text/javascript><!--google_ad_client = "ca-pub-2576485761337625";/* 300x250, created 21/07/09 */google_ad_slot = "6922411748";google_ad_width = 300;google_ad_height = 250;//--></SCRIPT><SCRIPT type=text/javascript src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js"></SCRIPT><NOSCRIPT></NOSCRIPT>
    จาก มหานิทานสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปฏิจสมุบาทนี้ลึกซึ้งสุดประมาณ และปรากฏเป็นของลึก ก็แหละถึงจะเป็นเช่นนั้น ก็ยังปรากฏแก่ข้าพระองค์ เหมือนเป็นของตื้นนัก ฯ

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เธออย่าพูดอย่างนั้น อานนท์ เธออย่าพูดอย่างนั้นอานนท์ปฏิจสมุบาทนี้ ลึกซึ้งสุดประมาณและปรากฏเป็นของลึก

    ดูกรอานนท์เพราะไม่รู้จริง เพราะไม่แทงตลอด ซึ่งธรรมอันนี้ หมู่สัตว์นี้ จึงเกิดเป็นผู้ยุ่งประดุจด้ายของช่างหูก เกิดเป็นปมประหนึ่งกระจุกด้าย เป็นผู้เกิดมาเหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง จึงไม่พ้นอุบาย ทุคติ วินิบาต สงสาร ...

    ดูกรอานนท์ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงเกิดสังขาร
    เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ
    เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป
    เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดสฬายตนะ
    เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงเกิดผัสสะ
    เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา
    เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา
    เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดอุปาทาน
    เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดภพ
    เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ
    เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงเกิด ชรามรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส ฯ

    ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมมีด้วยประการฉะนี้ ฯ
    จาก ปัจจัยสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖
    ภิกษุทั้งหลาย ความจริงแท้ ความไม่คลาดเคลื่อน ความไม่เป็นอย่างอื่น มูลเหตุอันแน่นอนในธาตุอันนั้น ดังพรรณนามาฉะนี้แล เราเรียกว่าปฏิจสมุปบาท

    -------------------------------
    ปฏิจสมุบาทนี้ ลึกซึ้งสุดประมาณ

    ปฏิจสมุปบาทในชีวิตประจำวัน เป็นของง่ายหรือของยาก ?
    ปฏิจสมุปบาทในชีวิตประจำวัน มีมาตั้งแต่เมื่อใด ?
    ปฏิจสมุปบาทในชีวิตประจำวัน ควรหรือที่จะเรียกว่า ปฏิจสมุปบาท ?

    ------------------------------------------------------------------------------------------


    “รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ! ขันธ์ ๕ ไม่ใช่จิต.. จิตไม่ใช่ขันธ์ ๕”

    รูปคืออารมณ์ความรู้สึก อารมณ์ความรู้สึกที่เป็นรูปขึ้นมาเลย..

    เวทนา ! เวทนาคือความรับรู้.. สัญญา นี่สังขารปรุงแต่ง คือวิญญาณรับรู้..

    โลกคือความรู้สึก ความรู้สึกเป็นความคิด แต่พลังงานล่ะ พลังงานที่ความรู้สึกนึกคิดละเอียดเข้าไปล่ะ นี่สิ่งที่เราทำทาน ทำบุญกุศล สิ่งที่เราทำก็เกิดจากขันธ์ ๕ เกิดจากรูป เกิดจากเวทนา เกิดจากความพอใจนี่แหละ

    แต่ความพอใจเราทำบ่อยครั้งเข้าจนมันอิ่มหนำสำราญ มันมีความพอใจ เห็นไหม เราอยากภาวนา เราตั้งสติขึ้นมา มันผ่านขันธ์ ๕ เข้าไป... ผ่านขันธ์ ๕ ! เข้าไปเพราะเรารู้ของเรา เราชัดเจนของเรา มันผ่านขันธ์ ๕ เข้าไปสู่พลังงาน

    ถ้าสู่พลังงาน นี่จิตเดิมแท้.. จิตเดิมแท้ ปฏิสนธิจิต เห็นไหม วิญญาณในปฏิสนธิจิต กับวิญญาณในขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

    วิญญาณนี่วิญญาณรับรู้.. วิญญาณรับรู้นี่วิญญาณในอายตนะ

    แต่วิญญาณนี่ความรู้สึก อวิชชา ปัจจยา สังขารา สังขารา ปัจจยา วิญญาณัง.. คือวิญญาณในปฏิจจสมุปบาท.. วิญญาณในจิตเดิมแท้ กับวิญญาณในขันธ์ ๕ มันแตกต่างกัน ถ้าคนภาวนาเป็น มันจะรู้ มันจะเห็น มันแตกต่างกัน... ความแตกต่างอย่างนี้ นี่จิตหยาบจิต-จิตละเอียด มันจะเข้าสัมผัส !



    จิตส่งออก
    พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

    หลวงพ่อ : ถ้าจิตเป็นวิญญาณขันธ์ เราก็บอกว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะวิญญาณขันธ์ คือขันธ์ในขันธ์ ๕ ใช่ไหม วิญญาณขันธ์ก็คือขันธ์ ๕

    อวิชชา ปัจจยา สังขารา สังขารา ปัจจยา วิญญาณัง วิญญาณในปฏิจจสมุปบาทคือวิญญาณในปฏิสนธิ วิญญาณอันนั้นเป็นวิญญาณในปฏิสนธิไม่ใช่วิญญาณขันธ์ เพราะมันเป็นปัจจยาการ มันไม่เป็นขันธ์ ขันธ์เป็นกอง

    <!-- google_ad_section_end -->
    __________________
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->พระพุทธองค์เท่านั้นที่ เป็นหนึ่ง!!<!-- google_ad_section_end -->

    คืออ่านแล้วสนใจตอนท้ายนิดหนึ่งครับใครช่วยบอกหน่อยว่า วิญญาณะขันโธ หมายถึงอะไรครับ ถ้าวิญญาณคือเรื่องของการรับรู้ เมื่อมีคนบอกว่าวิญญาณคือนามของปฏิสนธิจิตไม่ควรเอามาใช้ร่วมกันผมเลยมีคำถามว่า แล้วถ้าอย่างนั้นวิญญาณในปฏิสนธิจิตมีการรับรู้ไหมครับ ถ้ามีมันหมายถึงอะไร มันหมายถึงการยอมรับการมีตัวตนเป็นอยู่คือใช่ไหมครับ? ฟังคำถามอาจจะแบบว่างงๆนะครับต้องขออภัยในความมีอวิชชาของผมไว้ ณ ที่นี้แหละครับ กระแสปฏิจสมุปบาท ของผมก็ไหลแรงอยู่ไม่รู้จะเริ่มตรงไหนและหยุดตรงไหน เพราะยิ่งหยุดมันก็ยิ่งไหลไปเรื่อยๆ แต่ก็หวังว่าวันหนึ่งคงรู้ว่ามันเริ่มตรงไหนและหยุดตรงไหนครับ
    สาธุคั๊บ
     
  2. สุรีย์บุตร

    สุรีย์บุตร https://youtu.be/8qf8khXqUjU

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    1,559
    ค่าพลัง:
    +2,122
    วิญญาณมีหลายความหมาย จิต ใจ วิญญาณขันธ์5 วิญญาณอายตนะ วิญญาณปฏิสนธิ ..คนรู้จริงที่จะตอบให้เครียหายสงสัยได้คงหายาก หรือแม้แต่มีคนรู้จริงก็ตอบให้หายสงสัยไม่ได้เพราะ คำตอบมันจะไปขัดกับคำสอนของครูอาจารย์โบราณที่ท่านเรียก สอน กันมาก่อนหน้า เกิดปัญหา ไม่จบ

    ก็อนุโลมเรีัยกกันไปเพราะมันก็ไกล้เคียงกันหมด แต่ถ้าจะเอาความละเอียดแยกชัดจริงๆ ก็ยากที่จะยอมรับกันว่าจริงได้
    เพราะ หลายคนเขาก็ยึดตามพระอภิธรรม นั่นแปลว่าอะไร ก็แปลว่าเขาก็ไม่ได้รู้จริงใช่ใหม หรือท่านใดที่ยึดตา่มพระอภิธรรมจะกล้่าประกาศตนว่ารู้จริงก็เชิญ

    เพราะงั้นถ้าคุยเรื่องนี้เน้นหาถูกผิด รู้จริงคงหาไม่ได้ ก็คงต้องคุยกันแบบ นานาทัศนะ ไม่งั้นยุ่งแน่
     
  3. สุรีย์บุตร

    สุรีย์บุตร https://youtu.be/8qf8khXqUjU

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    1,559
    ค่าพลัง:
    +2,122
    ภีร์พระวิสุทธิมรรค (ปัญญาคนิเทศ) หน้า ๔

    จักษุประสาทนี้ มีธาตุทั้ง ๔ เป็นผู้ช่วยอุปการะบำรุงรักษาเปรียบประดุจดังว่าขัตติยราชกุมารอันพระนมทั้ง ๔ กระทำอุปการะบำรุงบำเรอ พระนมผู้หนึ่งนั้นอุ้มไว้ พระนมผู้หนึ่งนั้นตักเอาน้ำมาโสรจสรง พระนมผู้หนึ่งนั้นนำเอาเครื่องมาประดับ พระนมผู้หนึ่งนั้นนำเอาพัชนีพัดมาวีให้ขัตติยราชกุมารอันพระนมทั้ง ๔ กระทำอุปการะบำรุงรักษามีอุปมาฉันใด จักษุประสาทนี้มีธาตุทั้ง ๔ เป็นผู้ช่วยอุปการะบำรุงรักษามีอุปไมยดังนั้น

    แท้จริงปฐวีธาตุนั้นทรงไว้ซึ่งจักษุประสาทเปรียบประดุจพระนมที่อุ้มชูอาโปธาตุนั้นบำรุงให้สดให้ชื่นประคับประคองไว้ เปรียบประดุจพระนมที่ตักน้ำมาโสรจสรง เตโชธาตุนั้นบำรุงมิให้เปื่อยเน่า เปรียบประดุจพระนมที่เอาเครื่องประดับ วาโยธาตุนั้นบำรุงให้กลับให้กลอกได้ เปรียบประดุจพระนมอันนำเอาพัชนีมาพัดวีให้
    ใช่จะมีแต่ธาตุทั้ง ๔ เป็นผู้อุปการะเท่านี้หาบ่มิได้ ฤดูแลจิตแลอาหารนั้น ก็เป็นผู้ช่วยอุปถัมค์ค้ำชู อายุนั้นเป็นผู้เลี้ยงดู พรรณแลกลิ่นรสเป็นอาทินั้นเป็นบริวารแวดล้อม จักษุประสาทเป็นวัตถุที่เกิดแห่งจักษุวิญญาณ เป็นทวารแห่งจิต ๔๖ แต่บรรดาที่เป็นไปในจักษุทวารวิถีโดยอันควรแก่อารมณ์ จักษุประสาทเป็นพนักงานให้เห็นรูปสรรพสิ่งทั้งปวง

    “วุตฺตํปิ เจตํธมฺมเสนาปตินา” คำก่อนที่สำแดงมานั้น สมกันกับบาทพระคาถา อันพระผู้เป็นเจ้าธรรมเสนาสารีบุตรวิสัชนาไว้ว่า
    “เยน จกฺขุปสาเทน รูปานิ สมนุปสฺส ปริตฺตํ สุขุมํ เอตํ อูกาสิรสมูปมํ”
    อธิบายในพระคาถาว่า บุคคลอันเห็นรูปสรรพสิ่งทั้งปวงนั้นเห็นด้วยอำนาจจักษุประสาทอันใด จักษุประสาทนั้นเป็นรูปอันน้อยเป็นสุขุมรูป มีสัณฐานน้อยเท่าศีรษะเหา พระผู้เป็นเจ้าธรรมเสนาบดีวิสัชนาไว้ฉะนี้ ตกว่ากิริยาที่เห็นรูปนั้น เฉพาะเห็นด้วยจักษุประสาทอันน้อยอันละเอียดเท่านั้นเอง จะได้เห็นด้วยสสัมภารจักษุ คือเนื้อแลหนังเส้นโลหิตแลโลมา ซึ่งประดิษฐานอยู่ในกระบอกตานั้นหาบ่มิได้
     
  4. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    มันก็ปัญหาเดียวกันกับที่มีคนเข้าไปถามพระราชรีว่า
    ตกลง "นิพพานไม่มีจิต มีแต่สติใช่ไหมค่ะ"

    เหตุเพราะ พระราชรีย้ำบ่อยๆว่า นิพพานแล้วไม่มีจิต ไม่ยึดถือจิต ถ้าจะบอกว่า
    มีอะไร ให้เม้มปากแล้วนั่งลง เพราะว่า หากพูด ก็เท่ากับ ไม่รู้เรื่อง

    ทีนี้ จะเห็นว่า "นิพพานไม่มีจิต ทำลายจิตหมดสิ้น" ก็เป็นลักษณะของการสอน
    ไม่ให้สนใจ ห่วงใย การมีจิต เพราะ มีจิตก็คือ มีภพ

    ตำราอภิธรรม เป็น ตำราฝ่ายปัญญา จึงไม่มีการ พูดแบบ วกวน ซ่อนเงื่อน
    ไหนๆ มันก็ไม่ให้ยึดถือจิต ทำลายจิต แยก จิตเป็นปรมัตถ์ธรรม ที่ต่างกับ
    นิพพาน ชัดเจนตั้งแต่ต้นจนจบ เขาเลยไม่ใส่ใจว่า อะไรจะเป็น จิต ไม่ต้อง
    ไปนั่งห่วงว่า ตอนทิ้งขันธ5 จะต้องไปคว้า จิต อะไรเข้ามาอีก พอยกว่า จิต
    หรือ วิญญาณ เป็น วิญญาณขันธ์ มันก็ไม่ขัดในเชิง อุบายในการสอน

    เน้นนะว่า อุบายในการสอน

    พระราชรีกล่าวว่า นิพพานไม่มีจิต นี่คือ อุบายการสอน เพื่อ ปล่อยวางจิต
    ( ซึ่งจะมีการ กลับไปกลับมา ไม่ใช่เพื่อหลอกให้งงงวย แต่เพื่อกระตุ้นให้เกิดธรรม
    วิจัยยะเป็นหลัก)

    พระอภิธรรมกล่าวว่า วิญญาณ คือ คือวิญญาณขันธ์ ก็คือ อุบายการสอน
    เพื่อ ปล่อยวางจิต เหมือนกัน ไม่ต่างกัน ( เขาวางตั้งแต่ ต้นม้วน จนจบม้วน
    ไม่มีกลับไปกลับมา แบบลีลาการภาวนาคลุกคลาน -- เพราะ วิจัยให้หมดแล้ว )

    แต่ คนบางคนเกิดกลัวไง เพราะว่า การสอนฝ่ายปัญญานั้น ผู้เรียนส่วนใหญ่
    จะยังไม่เคยทำสมาธิ ตั้งจิตผู้รู้ คนสอนที่มีปัญญาอินทรีย์ไม่พอ ก็เกรงว่า บุคคล
    บางจำพวกที่ควรเรียนสมาธิก่อนเพราะปัญญาอินทรีย์ยังมีไม่จริง จะได้ไม่ ทิ้ง
    จิต ไม่อบรมจิต โยนจิตเข้าป่าไปนู้น ก็เลยต้อง ควัก ปฏิสนธิวิญญาณ มายก
    ให้ดูว่า พวกคุณยังมีจิตอีกหลายตัวให้วิจัยนะว่า ปล่อยหรือไม่ปล่อย

    ก็ไม่เห็นจะมีอะไร เป็น ความประสงค์ในการหยอดอุบาย ให้ คนเรียน ได้
    พิจารณา คนที่เรียนจริงเขาก็จะถูกดึงไปตามคำสอน เรียกว่า ไหลไปตามธาตุ

    ก็จะได้ไม่เผลออยู่ใน กลุ่มธาตุภาวนาผิด โดยไม่มีโอกาสที่เหมาะกับตน

    * * *

    แต่กรณี กบฏศาสนาธรรมภูตนั่น ยังไงเขาก็ เอา จิต ชี้โด่อยู่ แล้วยึดว่า กู
    แล้วก็เอา นิพพานก็คือจิต จิตคือนิพพาน พอเจอคำสอนว่า นิพพานไม่มีจิตก็ไม่เอ๊อะ

    ยังไม่ฮือเพราะยังหาช่องทำลายไม่ได้ เพราะ หากไปถามท่าน ตกลงนิพพานมีจิต
    ไหม ถามเอาอีกที ท่านก็จะบอกว่า คนเป็นเขารู้ ( ไอ้คนถาม ควร งง แต่
    ลืมดู งง )
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มกราคม 2012
  5. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ดังนั้น คำว่า จิต วิญญาณ มโน มนัส ฯ มีอีกหลายคำ ก็จะใช้แทนกัน
    แต่หากเราภาวนาแบบละเอียดลึกซึ้ง แบบคนภาวนาเป็น แบบฝึกสติไวดั่งสาย
    ฟ้าแล๊บ สติไวดั่งงูแล็บลิ้น เราจะเห็นว่า "อาการของจิต" แต่ละอย่างมัน
    ไม่เหมือนกัน แต่มันเป็นกริยาไปรู้ เหมือนกัน ดังนั้น หากจะเรียก จิต โดย
    อาศัยกิจคือการรู้ เราก็เรียกได้ เรียนได้ เรียนจบ

    แต่หากอินทรีย์ภาวนามี จะเห็น อาการของจิต แล้ว ยกขึ้นเป็น บัญญัติ
    ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง มนัสบ้าง วิญญาณบ้าง มันก็เป็นเรือง ของคนภาวนาเป็น

    คุณเค้งก็ลองพิจารณาเอา ว่า อะไรแบบไหน เหมาะกับตน

    แต่ถ้าจะเอาปัญญาอินทรีย์ เอาภาวนาอินทรีย์ นี่ ก็ต้องปล่อยรู้ ตั้งแต่ต้น (อย่า
    ห่วงว่า จิตจะหายไปไหน อย่าห่วงว่าจิตจะดับ ตายไป สูญไป แค่นั้นเอง)

    ทำไม ปล่อยรู้ แล้วรู้ได้มาก

    ทำไม รู้ที่ไม่รู้ว่าอะไร แล้วรู้ได้มาก

    ก็ลอง พิจารณาเวลาเดินทางไกล หากเรามัวแต่ยึดสิ่งที่เห็นข้างทาง กับ เราปล่อย
    จิตปล่อยใจตามสบาย เห็นข้างทางผ่านไปๆ อันไหนจะรู้สิ่งที่ ผ่านไป ได้มากกว่า
    กัน

    ลองนึกดูนะ หากเราเพ่งไปที่ ตึกหลังเดียว ตาเราเสียการรับรู้จากสิ่งอื่นไปเท่าไหร่

    "ยึดรู้" กับ "กำหนดอยู่ที่รู้" มันไม่เหมือนกัน ลองพินาดูคร้าบ ท่านเค้ง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มกราคม 2012
  6. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ลักษณะพิจารณาที่พุทธองค์ทรงแสดงธรรม

    มักเป็นลักษณะพิจารณา ดูเล็ก ดูใหญ่ ดูใหญ่ในเล็ก ดูเล็กในใหญ่

    ล้วนสัมพันธ์ ไม่ขัดกันเลย ^^
     
  7. มังคละมุนี

    มังคละมุนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +608
    ปฏิจจสมุปบาท สายดับ

    พบปฏิจจสมุปสายดับจากหนังสือพุทธรรมจึงนำมาฝากเพื่อนสหธรรมมิก

    เริ่มด้วย ปฏิจจสมุปบาท สายเกิด ๑๒อาการ
    อวิชชา.....เป็นปัจจัยให้เกิด...สังขาร
    สังขาร......เป็นปัจจัยให้เกิด...วิญญาณ
    วิญญาณ....เป็นปัจจัยให้เกิด...นามรูป
    นามรูป......เป็นปัจจัยให้เกิด...สฬายตนะ
    สฬายตนะ...เป็นปัจจัยให้เกิด...ผัสสะ
    ผัสสะ........เป็นปัจจัยให้เกิด...เวทนา
    เวทนา.......เป็นปัจจัยให้เกิด...ตัณหา
    ตัณหา.......เป็นปัจจัยให้เกิด...อุปาทาน
    อุปาทาน.....เป็นปัจจัยให้เกิด...ภพ
    ภพ...........เป็นปัจจัยให้เกิด....ชาติ
    ชาติ..........เป็นปัจจัยให้เกิด....ทุกข์

    ต่อด้วย ปฏิจจสมุปบาท สายดับ ๑๒อาการ
    ทุกข์...................เป็นปัจจัยให้เกิด....ศรัทธา
    ศรัทธา.................เป็นปัจจัยให้เกิด....ปราโมทย์
    ปราโมทย์..............เป็นปัจจัยให้เกิด....ปีติ
    ปีติ.....................เป็นปัจจัยให้เกิด....ปัสสัทธิ
    ปัสสัทธิ................เป็นปัจจัยให้เกิด....สุข
    สุข.....................เป็นปัจจัยให้เกิด....สมาธิ
    สมาธิ..................เป็นปัจจัยให้เกิด....ยถาภูตญาณทัสสนะ
    ยถาภูตญาณทัสสนะ...เป็นปัจจัยให้เกิด....นิพพิทา
    นิพพิทา................เป็นปัจจัยให้เกิด....วิราคะ
    วิราคะ..................เป็นปัจจัยให้เกิด....วิมุติ
    วิมุติ....................เป็นปัจจัยให้เกิด....อาสวะขยญาณ

    ..................นิพานจึงปรากฏตลอดอนันตกาล.................


    ขอพระธรรมจงคุ้มครองเหล่าสหธรรมมิก
    ให้ได้มีอาสวะขยญาณด้วยกันทั้งหมดทุกท่านเทอญ...สาธุ...สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มกราคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...