ปฏิจจสมุปบาท

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 4 มีนาคม 2012.

  1. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๑/๓๐๔
    [๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาท เป็นอนุโลมและปฏิโลม
    ตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี ว่าดังนี้:-
    ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม
    เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
    เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
    เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
    เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
    เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
    เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
    เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
    เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
    เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
    เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
    เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
    เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้.
    ปฏิจจสมุปบาท ปฏิโลม
    อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละดับโดยไม่เหลือด้วยมรรคคือวิราคะ สังขาร จึงดับ
    เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
    เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
    เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
    เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
    เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
    เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
    เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
    เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
    เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
    เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ
    เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้.
     
  2. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    อายตนะภายใน ๖ อย่าง
    ๑. อายตนะ คือตา
    ๒. อายตนะ คือหู
    ๓. อายตนะ คือจมูก
    ๔. อายตนะ คือลิ้น
    ๕. อายตนะ คือกาย
    ๖. อายตนะ คือใจ

    อายตนะภายนอก ๖ อย่าง
    ๑. อายตนะ คือ รูป
    ๒. อายตนะ คือ เสียง
    ๓. อายตนะ คือ กลิ่น
    ๔. อายตนะ คือ รส
    ๕. อายตนะ คือ โผฏฐัพพะ
    ๖. อายตนะ คือ ธรรม

    หมวดวิญญาณ ๖
    ๑. จักขุวิญญาณ [ความรู้สึกอาศัยตา]
    ๒. โสตวิญญาณ [ความรู้สึกอาศัยหู]
    ๓. ฆานวิญญาณ [ความรู้สึกอาศัยจมูก]
    ๔. ชิวหาวิญญาณ [ความรู้สึกอาศัยลิ้น]
    ๕. กายวิญญาณ [ความรู้สึกอาศัยกาย]
    ๖. มโนวิญญาณ [ความรู้สึกอาศัยใจ]

    อุปาทาน ๔ อย่าง
    ๑. กามุปาทาน [ถือมั่นกาม]
    ๒. ทิฏฐุปาทาน [ถือมั่นทิฐิ]
    ๓. สีลัพพตุปาทาน [ถือมั่นศีลและพรต]
    ๔. อัตตวาทุปาทาน [ถือมั่นวาทะว่าตน]

    หมวดผัสสะ ๖
    ๑. จักขุสัมผัสส์ [ความถูกต้องอาศัยตา]
    ๒. โสตสัมผัสส์ [ความถูกต้องอาศัยหู]
    ๓. ฆานสัมผัสส์ [ความถูกต้องอาศัยจมูก]
    ๔. ชิวหาสัมผัสส์ [ความถูกต้องอาศัยลิ้น]
    ๕. กายสัมผัสส์ [ความถูกต้องอาศัยกาย]
    ๖. มโนสัมผัสส์ [ความถูกต้องอาศัยใจ]

    หมวดสัญญา ๖
    ๑. รูปสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดรูปเป็นอารมณ์]
    ๒. สัททสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดเสียงเป็นอารมณ์]
    ๓. คันธสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดกลิ่นเป็นอารมณ์]
    ๔. รสสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดรสเป็นอารมณ์]
    ๕. โผฏฐัพพสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์]
    ๖. ธัมมสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดธรรมเป็นอารมณ์]

    หมวดเวทนา ๖
    ๑. จักขุสัมผัสสชาเวทนา [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยตา]
    ๒. โสตสัมผัสสชาเวทนา [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยหู]
    ๓. ฆานสัมผัสสชาเวทนา [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยจมูก]
    ๔. ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยลิ้น]
    ๕. กายสัมผัสสชาเวทนา [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยกาย]
    ๖. มโนสัมผัสสชาเวทนา [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยใจ]

    หมวดตัณหา ๖
    ๑. รูปตัณหา [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดรูปเป็นอารมณ์]
    ๒. สัททตัณหา [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดเสียงเป็นอารมณ์]
    ๓. คันธตัณหา [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดกลิ่นเป็นอารมณ์]
    ๔. รสตัณหา [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดรสเป็นอารมณ์]
    ๕. โผฏฐัพพตัณหา [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์]
    ๖. ธัมมตัณหา [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดธรรมเป็นอารมณ์]

    อุปาทาน ๔ อย่าง
    ๑. กามุปาทาน [ถือมั่นกาม]
    ๒. ทิฏฐุปาทาน [ถือมั่นทิฐิ]
    ๓. สีลัพพตุปาทาน [ถือมั่นศีลและพรต]
    ๔. อัตตวาทุปาทาน [ถือมั่นวาทะว่าตน]
     
  3. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ปฏิจจสมุปบาท(ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นพร้อม) อนุโลม(ตามลําดับ)
    เพราะอวิชชา(ความไม่รู้ในทุกข์ ในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ในความดับทุกข์ ในปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับทุกข์)เป็นเหตุ จึงมีสังขาร (กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร)
    เพราะสังขารเป็นเหตุ จึงมีวิญญาณ (จักขุวิญญาณ[ตา] โสตวิญญาณ[หู] ฆานวิญญาณ[จมูก] ชิวหาวิญญาณ[ลิ้น] กายวิญญาณ[กาย] มโนวิญญาณ[ใจ])
    เพราะวิญญาณเป็นเหตุ จึงมีนามรูป (เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ นี้เรียกว่านาม มหาภูตรูป ๔[ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม] และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่ารูป นามนี้ด้วย รูปนี้ด้วย เรียกว่า นามรูป)
    เพราะนามรูปเป็นเหตุ จึงมีสฬายตนะ (อายตนะภายใน ๖ อย่าง อายตนะภายนอก ๖ อย่าง)
    เพราะสฬายตนะเป็นเหตุ จึงมีผัสสะ (จักขุสัมผัสส์ โสตสัมผัสส์ ฆานสัมผัสส์ ชิวหาสัมผัสส์ กายสัมผัสส์ มโนสัมผัสส์)
    เพราะผัสสะเป็นเหตุ จึงมีเวทนา (จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา)
    เพราะเวทนาเป็นเหตุ จึงมีตัณหา (รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา)
    เพราะตัณหาเป็นเหตุ จึงมีอุปาทาน (ความติดใจยึดมั่นอุปาทาน ๔ คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน)
    เพราะอุปาทานเป็นเหตุ จึงมีภพ (กามภพ[สัตว์ที่เกิดในกามภูมิ] รูปภพ[สัตว์ที่เกิดในรูปภูมิ] อรูปภพสัตว์ที่เกิดในอรูปภูมิ)
    เพราะภพเป็นเหตุ จึงมีชาต (ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลง เกิดเกิดจำเพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ)
    เพราะชาติเป็นเหตุ จึงมีชรา(ความแก่ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังย่น ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ) มรณะ(ความเคลื่อน ความแตกสลาย ความหายไป ความตาย ความทำกาละ ความทำลายแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งซากศพไว้ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ) โสกะ(ความแห้งใจ กิริยาที่แห้งใจ ภาวะของบุคคลผู้แห้งใจ ความผาก ณ ภายใน ความแห้งผาก ณ ภายใน ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรม คือ
    ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว) ปริเทวะ(ความคร่ำครวญ ความร่ำไร รำพัน กิริยาที่คร่ำครวญ กิริยาที่ร่ำไรรำพัน ภาวะของบุคคลผู้คร่ำครวญ ภาวะของ
    บุคคลผู้ร่ำไรรำพัน ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว) ทุกข์(ความลำบากทางกาย ความไม่สำราญทางกาย ความเสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เป็นทุกข์ ซึ่งเกิดแต่กายสัมผัส) โทมนัส(ความทุกข์ทางจิต ความไม่สำราญทางจิต ความเสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เป็นทุกข์ ซึ่งเกิดแต่มโนสัมผัส) อุปายาส( ความแค้นความคับแค้น ภาวะของบุคคลผู้แค้น ภาวะของบุคคลผู้คับแค้น ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรม คือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว)เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้
     
  4. bour9842

    bour9842 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +0
    ขอขอบคณ คุณอุรุเวลาที่ช่วยบรรยายธรรมในข้อนี่ เคยฟังมาบ้างแต่ยังไม่เข้าใจเท่าไร อ่านแล้วสามารถกลับไปทบทวนได้อีก โมทนาบุญด้วยค่ะ
     
  5. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=hHMVnX90TrA]ปฏิจจสมุปบาท - YouTube[/ame]
     
  6. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=ouQCM5nqkmk&feature=related]ปฏิจจสุปบาท ๒ - YouTube[/ame]
     
  7. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ความดับแห่งรูป

    ว่าด้วยการรู้อุปาทานขันธ์โดยเวียนรอบ ๔
    [๑๑๒] พระนครสาวัตถี. ฯลฯ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ อุปาทานขันธ์คือรูป อุปาทานขันธ์คือเวทนา
    อุปาทานขันธ์คือสัญญา อุปาทานขันธ์คือสังขาร อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เรายังไม่รู้ยิ่งซึ่งอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ โดยเวียนรอบ ๔ ตามความเป็นจริง เพียงใด เราก็ยัง
    ไม่ปฏิญาณว่า เป็นผู้ตรัสรู้ชอบยิ่งซึ่งสัมมาสัมโพธิญาณ อย่างยอดเยี่ยม ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก
    มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์เพียงนั้น. ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล เรารู้ยิ่งซึ่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ โดยเวียนรอบ ๔ ตามความเป็น
    จริง เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณว่า เป็นผู้ตรัสรู้ชอบยิ่งซึ่งสัมมาสัมโพธิญาณ อย่างยอดเยี่ยม ในโลก
    พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและ
    มนุษย์. เวียนรอบ ๔ อย่างไร? คือ เรารู้ยิ่งซึ่งรูป ความเกิดแห่งรูป ความดับแห่งรูป ปฏิปทา
    อันให้ถึงความดับแห่งรูป รู้ยิ่งซึ่งเวทนา ฯลฯ รู้ยิ่งซึ่งสัญญา ฯลฯ รู้ยิ่งซึ่งสังขาร ฯลฯ รู้ยิ่งซึ่ง
    วิญญาณ ความเกิดแห่งวิญญาณ ความดับแห่งวิญญาณ ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ.
    [๑๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็รูปเป็นไฉน? คือ มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูต
    รูป ๔. นี้เรียกว่ารูป. ความเกิดขึ้นแห่งรูป ย่อมมีเพราะความเกิดขึ้นแห่งอาหาร ความดับแห่งรูป
    ย่อมมีเพราะความดับแห่งอาหาร อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
    สัมมาสมาธิ. นี้แลเป็นปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งรูป. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือ
    พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่งรูปอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความเกิดแห่งรูปอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความดับ
    แห่งรูปอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งรูปอย่างนี้ ปฏิบัติแล้วเพื่อความหน่าย เพื่อ
    ความคลายกำหนัด เพื่อความดับรูป สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่าใด
    ปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่านั้น ชื่อว่าย่อมหยั่งลงในธรรมวินัยนี้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือ
    พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่งรูปอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความเกิดแห่งรูปอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความดับ
    แห่งรูปอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งข้อปฏิบัติอันให้ถึงความดับแห่งรูปอย่างนี้ เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะเบื่อ
    หน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นรูป สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
    ชื่อว่า หลุดพ้นแล้วดี สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด หลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่า
    นั้น เป็นผู้มีกำลังสามารถเป็นของตน สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เป็นผู้มีกำลังสามารถเป็น
    ของตน ความเวียนวนเพื่อปรากฏ ย่อมไม่มีแก่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น.
     
  8. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ความดับเวทนา

    [๑๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เวทนาเป็นไฉน? เวทนา ๖ หมวดนี้ คือ เวทนาเกิดแต่
    จักขุสัมผัส เวทนาเกิดแต่โสตสัมผัส เวทนาเกิดแต่ฆานสัมผัส เวทนาเกิดแต่ชิวหาสัมผัส
    เวทนาเกิดแต่กายสัมผัส เวทนาเกิดแต่มโนสัมผัส. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าเวทนา ความ
    เกิดขึ้นแห่งเวทนา ย่อมมีเพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความดับแห่งเวทนา ย่อมมีเพราะความ
    ดับแห่งผัสสะ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ. นี้
    แลเป็นปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งเวทนา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
    เหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่งเวทนาอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความเกิดแห่งเวทนาอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความดับแห่งเวทนา
    อย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งเวทนาอย่างนี้ ปฏิบัติแล้วเพื่อความหน่าย เพื่อ
    ความคลายกำหนัด เพื่อความดับเวทนา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว ชน
    เหล่าใด ปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่านั้น ชื่อว่า ย่อมหยั่งลงในธรรมวินัยนี้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็
    สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่งเวทนาอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความเกิดแห่งเวทนาอย่างนี้
    รู้ยิ่งซึ่งความดับแห่งเวทนาอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งข้อปฏิบัติอันให้ถึงความดับแห่งเวทนาอย่างนี้ เป็นผู้
    หลุดพ้นแล้ว เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นเวทนา
    สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่า หลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด หลุดพ้นดีแล้ว
    สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้มีกำลังสามารถเป็นของตน สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
    เป็นผู้มีกำลังสามารถเป็นของตน ความเวียนวนเพื่อความปรากฏ ย่อมไม่มีแก่สมณะหรือพราหมณ์
    เหล่านั้น.
     
  9. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ความดับแห่งสัญญา

    [๑๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัญญาเป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๖ หมวดนี้
    คือ ความสำคัญในรูป ความสำคัญในเสียง ความสำคัญในกลิ่น ความสำคัญในรส ความสำคัญ
    ในโผฏฐัพพะ ความสำคัญในธรรมารมณ์. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสัญญา. ความเกิดขึ้น
    แห่งสัญญา ย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความดับแห่งสัญญา ย่อมมี เพราะความดับแห่ง
    ผัสสะ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ. นี้แลเป็น
    ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสัญญา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
    รู้ยิ่งซึ่งสัญญาอย่างนี้ ฯลฯ ความวนเวียนเพื่อความปรากฏ ย่อมไม่มี แก่สมณะหรือพราหมณ์
    เหล่านั้น.
     
  10. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ความดับแห่งสังขาร

    [๑๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สังขารเป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย เจตนา ๖ หมวดนี้
    คือ รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธรรม
    สัญเจตนา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสังขาร. ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร ย่อมมีเพราะความ
    เกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความดับแห่งสังขาร ย่อมมี เพราะความดับแห่งผัสสะ อริยมรรคประกอบ
    ด้วยองค์ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ. นี้แลเป็นปฏิปทาอันให้ถึงความดับ
    แห่งสังขาร. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่งสังขารอย่าง
    นี้ ฯลฯ ความวนเวียนเพื่อปรากฏ ย่อมไม่มี แก่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
     
  11. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ความดับแห่งวิญญาณ

    [๑๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณเป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ ๖ หมวดนี้
    คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ. ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย นี้เรียกว่าวิญญาณ. ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งนามรูป
    ความดับแห่งวิญญาณย่อมมี เพราะความดับแห่งนามรูป อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ
    คือสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ. นี้แลเป็นปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ. ดูกรภิกษุทั้ง
    หลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งเหตุเกิดแห่ง
    วิญญาณอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งข้อปฏิบัติอันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ
    อย่างนี้ ปฏิบัติแล้ว เพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับวิญญาณ สมณะ
    หรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่าใด ปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่านั้น ชื่อว่าย่อม
    หยั่งลงในธรรมวินัยนี้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่ง
    วิญญาณอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความเกิดแห่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่ง
    ข้อปฏิบัติอันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้ เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลาย
    กำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นวิญญาณ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าหลุด
    พ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด หลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้มี
    กำลังสามารถเป็นของตน สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเป็นผู้มีกำลังสามารถเป็นของตน ความ
    วนเวียนเพื่อความปรากฏ ย่อมไม่มีแก่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น.
     
  12. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ว่าด้วยความเป็นของร้อนแห่งขันธ์ ๕

    [๑๓๓] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณร้อนนัก. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้
    ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ใน
    สังขาร แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น
    เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้แล้ว หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
    กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
     
  13. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    สิ่งที่ถูกขันธ์ ๕ เคี้ยวกิน

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๘๖/๓๑๐
    ว่าด้วยสิ่งที่ถูกขันธ์ ๕ เคี้ยวกิน
    [๑๕๘] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่า
    หนึ่ง เมื่อตามระลึก ย่อมตามระลึกถึงชาติก่อน ได้เป็นอันมาก สมณะหรือพราหมณ์ทั้งปวงนั้น
    ก็ย่อมตามระลึกถึงอุปาทานขันธ์ ๕ หรือกองใดกองหนึ่ง. อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน? คือ ย่อม
    ตามระลึกถึงรูปดังนี้ว่า ในอดีตกาล เราเป็นผู้มีรูปอย่างนี้. ย่อมตามระลึกถึงเวทนาดังนี้ว่า ใน
    อดีตกาล เราเป็นผู้มีเวทนาอย่างนี้. ย่อมตามระลึกถึงสัญญาดังนี้ว่า ในอดีตกาล เราเป็นผู้มี
    สัญญาอย่างนี้. ย่อมตามระลึกถึงสังขารดังนี้ว่า ในอดีตกาล เราเป็นผู้มีสังขารอย่างนี้. ย่อมตาม
    ระลึกถึงวิญญาณดังนี้ว่า ในอดีตกาล เราเป็นผู้มีวิญญาณอย่างนี้.
    [๑๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไรจึงเรียกว่ารูป เพราะสลายไป จึงเรียกว่า รูป
    สลายไปเพราะอะไร สลายไปเพราะหนาวบ้าง เพราะร้อนบ้าง เพราะหิวบ้าง เพราะกระหายบ้าง
    เพราะสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานบ้าง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะ
    อะไร จึงเรียกว่า เวทนา เพราะเสวย จึงเรียกว่า เวทนา เสวยอะไร เสวยอารมณ์สุขบ้าง เสวย
    อารมณ์ทุกข์บ้าง เสวยอารมณ์ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขบ้าง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไร จึงเรียก
    ว่า สัญญา เพราะจำได้หมายรู้ จึงเรียกว่า สัญญา จำได้หมายรู้อะไร จำได้หมายรู้สีเขียวบ้าง
    สีเหลืองบ้าง สีแดงบ้าง สีขาวบ้าง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไรจึงเรียกว่า สังขาร เพราะ
    ปรุงแต่งสังขตธรรม จึงเรียกว่า สังขาร ปรุงแต่งสังขตธรรมอะไร ปรุงแต่งสังขตธรรม คือ รูป
    โดยความเป็นรูป ปรุงแต่ง สังขตธรรม คือ เวทนา โดยความเป็นเวทนา ปรุงแต่งสังขตธรรม
    คือ สัญญา โดยความเป็นสัญญา ปรุงแต่งสังขตธรรม คือ สังขาร โดยความเป็นสังขาร
    ปรุงแต่งสังขตธรรม คือ วิญญาณ โดยความเป็นวิญญาณ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไรจึงเรียก
    ว่า วิญญาณ เพราะรู้แจ้ง จึงเรียกว่า วิญญาณ รู้แจ้งอะไร รู้แจ้งรสเปรี้ยวบ้าง รสขมบ้าง
    รสเผ็ดบ้าง รสหวานบ้าง รสขื่นบ้าง รสไม่ขื่นบ้าง รสเค็มบ้าง รสไม่เค็มบ้าง.
    [๑๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
    บัดนี้เราถูกรูปกินอยู่ แม้ในอดีตกาล เราก็ถูกรูปกินแล้ว เหมือนกับที่ถูกรูปปัจจุบันกินอยู่ในบัดนี้
    ก็เรานี้แล พึงชื่นชมรูปอนาคต แม้ในอนาคตกาล เราก็พึงถูกรูปกิน เหมือนกับที่ถูกรูปปัจจุบัน
    กินอยู่ในบัดนี้. เธอพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมไม่มีความอาลัยในรูปอดีต ย่อมไม่ชื่นชมรูปอนาคต
    ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับรูปในปัจจุบัน. อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว
    ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้เราถูกเวทนากินอยู่ ... บัดนี้เราถูกสัญญากินอยู่ ... บัดนี้เราถูกสังขาร
    กินอยู่ ... บัดนี้เราถูกวิญญาณกินอยู่ แม้ในอดีตกาล เราก็ถูกวิญญาณกินแล้ว เหมือนกับที่ถูก
    วิญญาณปัจจุบันกินอยู่ในบัดนี้. ก็เรานี้แล พึงชื่นชมวิญญาณอนาคต แม้ในอนาคตกาล เราก็พึง
    ถูกวิญญาณกินอยู่เหมือนกับที่ถูกวิญญาณปัจจุบันกินอยู่ในบัดนี้. เธอพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อม
    ไม่มีความอาลัยในวิญญาณ แม้ที่เป็นอดีต ย่อมไม่ชื่นชมวิญญาณอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความ
    เบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับวิญญาณปัจจุบัน.
    [๑๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่
    เที่ยง?
    ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า.
    พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
    ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
    พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ที่จะตาม
    เห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา?
    ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
    พ. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
    ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
    พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
    ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
    พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ที่จะตาม
    เห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา?
    ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
    [๑๖๒] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ
    ปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้
    รูปทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่
    ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา. เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สัญญาอย่างใดอย่าง
    หนึ่ง สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ
    ปัจจุบัน ฯลฯ อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ วิญญาณทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอัน
    ชอบตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนี้ เราเรียกว่า ย่อมทำให้พินาศ ย่อมไม่ก่อ ย่อมละทิ้ง ย่อมไม่ถือ
    มั่น ย่อมเรี่ยราย ย่อมไม่รวบรวมเข้าไว้ ย่อมทำให้มอด ไม่ก่อให้ลุกโพลงขึ้น.
    [๑๖๓] อริยสาวก ย่อมทำอะไรให้พินาศ ย่อมไม่ก่ออะไร? ย่อมทำรูป เวทนา สัญญา
    สังขาร วิญญาณ ให้พินาศ ย่อมไม่ก่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. ย่อมละทิ้งอะไร
    ย่อมไม่ถือมั่นอะไร? ย่อมละทิ้งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อมไม่ถือมั่นรูป เวทนา
    สัญญา สังขาร วิญญาณ. ย่อมเรี่ยรายอะไร ย่อมไม่รวบรวมอะไรไว้? ย่อมเรี่ยรายรูป เวทนา
    สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อมไม่รวบรวมรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. ย่อมทำอะไร
    ให้มอด ย่อมไม่ก่ออะไรให้ลุกโพลงขึ้น? ย่อมทำรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้มอด
    ย่อมไม่ก่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้ลุกโพลงขึ้น. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวก
    ผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรูป ทั้งในเวทนา ทั้งในสัญญา ทั้งในสังขาร
    ทั้งในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น. เมื่อหลุด
    พ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว. รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
    กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนี้
    เราเรียกว่า ย่อมไม่ก่อ ย่อมไม่ทำให้พินาศ แต่เป็นผู้ทำให้พินาศได้แล้วตั้งอยู่ ย่อมไม่ละ ย่อม
    ไม่ถือมั่น แต่เป็นผู้ละได้แล้วตั้งอยู่ ย่อมไม่เรี่ยราย ย่อมไม่รวบรวมไว้ แต่เป็นผู้เรี่ยรายได้แล้ว
    ตั้งอยู่ ย่อมไม่ทำให้มอด ย่อมไม่ก่อให้ลุกโพลงขึ้น แต่เป็นผู้ทำให้มอดได้แล้วตั้งอยู่.
    [๑๖๔] อริยสาวก ย่อมไม่ก่ออะไร ย่อมไม่ทำอะไรให้พินาศ แต่ทำให้พินาศแล้ว
    ตั้งอยู่. ย่อมไม่ก่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้พินาศ แต่เป็นผู้ทำให้พินาศได้
    แล้วตั้งอยู่. ย่อมไม่ละอะไร ย่อมไม่ถือมั่นอะไร แต่เป็นผู้ละได้แล้วตั้งอยู่ ย่อมไม่ละรูป
    เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อมไม่ถือมั่นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แต่
    เป็นผู้ละได้แล้วตั้งอยู่. ย่อมไม่เรี่ยรายอะไร ย่อมไม่รวบรวมอะไรไว้ แต่เป็นผู้เรี่ยรายได้แล้ว
    ตั้งอยู่. ย่อมไม่เรี่ยรายรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อมไม่รวบรวมรูป เวทนา
    สัญญา สังขาร วิญญาณ แต่เป็นผู้เรี่ยรายได้แล้วตั้งอยู่. ย่อมไม่ทำอะไรให้มอด ย่อมไม่ก่อ
    อะไรให้ลุกโพลงขึ้น แต่เป็นผู้ทำให้มอดได้แล้วตั้งอยู่. ย่อมไม่ทำรูป เวทนา สัญญา สังขาร
    วิญญาณ ให้มอด ย่อมไม่ก่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้ลุกโพลงขึ้น แต่เป็น
    ผู้ทำให้มอดได้แล้วตั้งอยู่. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาพร้อมด้วยอินทร์ พรหม และท้าวปชาบดี
    ย่อมนมัสการ ภิกษุผู้มีจิตพ้นแล้ว อย่างนี้แล แต่ที่ไกลทีเดียวว่า
    ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษอาชาไนย ข้าพเจ้าทั้งหลายขอนอบน้อม
    ต่อท่าน ข้าแต่ท่านผู้เป็นอุดมบุรุษ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอนอบน้อม
    ต่อท่าน ผู้ซึ่งข้าพเจ้าทั้งหลายมิได้รู้จักโดยเฉพาะ และผู้ซึ่งได้
    อาศัยเพ่งท่านพินิจอยู่ ดังนี้.
     
  14. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ปัจจัยแห่งความเกิด

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๓๓๕/๔๓๐
    ปัจจัยแห่งความเกิด
    [๔๔๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้ เพื่อความ
    ตั้งอยู่แห่งเหล่าสัตว์ที่เกิดแล้วบ้าง เพื่อความอนุเคราะห์เหล่าสัตว์ที่แสวงหาภพที่เกิดบ้าง อาหาร
    ๔ อย่าง เป็นไฉน? อาหาร ๔ อย่าง คือ กวฬิงการาหาร อันหยาบ หรือละเอียด (เป็นที่ ๑)
    ผัสสาหารเป็นที่ ๒ มโนสัญเจตนาหารเป็นที่ ๓ วิญญาณาหารเป็นที่ ๔. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาหาร
    ๔ อย่างเหล่านี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด? อาหาร
    ๔ เหล่านี้ มีตัณหาเป็นเหตุ มีตัณหาเป็นสมุทัย มีตัณหาเป็นชาติ มีตัณหาเป็นแดนเกิด. ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ก็ตัณหานี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด?
    ตัณหา มีเวทนาเป็นเหตุ มีเวทนาเป็นสมุทัย มีเวทนาเป็นชาติ มีเวทนาเป็นแดนเกิด.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เวทนานี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไร
    เป็นแดนเกิด? เวทนามีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นสมุทัย มีผัสสะเป็นชาติ มีผัสสะเป็น
    แดนเกิด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผัสสะนี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ
    มีอะไรเป็นแดนเกิด? ผัสสะ มีสฬายตนะเป็นเหตุ มีสฬายตนะเป็นสมุทัย มีสฬายตนะเป็นชาติ
    มีสฬายตนะเป็นแดนเกิด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สฬายตนะนี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย
    มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด? สฬายตนะมีนามรูปเป็นเหตุ มีนามรูปเป็นสมุทัย มีนาม
    รูปเป็นชาติ มีนามรูปเป็นแดนเกิด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นามรูปนี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไร
    เป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด? นามรูป มีวิญญาณเป็นเหตุ มีวิญญาณ
    เป็นสมุทัย มีวิญญาณเป็นชาติ มีวิญญาณเป็นแดนเกิด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณนี้ มีอะไร
    เป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด? วิญญาณ มีสังขารเป็น
    เหตุ มีสังขารเป็นสมุทัย มีสังขารเป็นชาติ มีสังขารเป็นแดนเกิด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สังขาร
    ทั้งหลายนี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด? สังขาร
    ทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นเหตุ มีอวิชชาเป็นสมุทัย มีอวิชชาเป็นชาติ มีอวิชชาเป็นแดนเกิด.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมี เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญญาณมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย
    นามรูปมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย สฬายตนะมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย ผัสสะมี เพราะ
    สฬายตนะเป็นปัจจัย เวทนามี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ตัณหามี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
    อุปาทานมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย ภพมี เพราะอุปทานเป็นปัจจัย ชาติมี เพราะภพเป็นปัจจัย
    ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ด้วยประการ
    ฉะนี้แล ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้.
    [๔๔๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็ข้อว่า ชราและมรณะมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ดังนี้
    นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะชาติเป็นปัจจัยนั่นแล ชราและมรณะจึงมี ใน ข้อนี้
    เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร?
    ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา และมรณะจึงมี
    ในข้อนี้ มีความเป็นอย่างนี้แล.
    พ. ก็ข้อว่า ชาติมี เพราะภพเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เพราะภพเป็นปัจจัยนั่นแล ชาติจึงมี ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร?
    ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี ในข้อนี้ มีความเป็นอย่าง
    นี้แล.
    พ. ก็ข้อว่า ภพมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยนั้นแล ภพจึงมี ในข้อนี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็น
    อย่างไร?
    ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี ในข้อนี้มีความเป็นอย่าง
    นี้แล.
    พ. ก็ข้อว่า อุปาทานมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย เพราะตัณหาเป็นปัจจัยนั่นแล อุปาทานจึงมี ในข้อนี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็น
    อย่างไร?
    ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี ในข้อนี้มีความเป็น
    อย่างนี้แล.
    พ. ก็ข้อว่า ตัณหามี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย เพราะเวทนาเป็นปัจจัยนั้นแล ตัณหาจึงมี ในข้อนี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็น
    อย่างไร?
    ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี ในข้อนี้ มีความเป็น
    อย่างนี้แล.
    พ. ก็ข้อว่า เวทนามี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย เพราะผัสสะเป็นปัจจัยนั่นแล เวทนาจึงมี ในข้อนี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร?
    ภ. ข้าแต่พระผู้เจริญ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ในข้อนี้มีความเป็นอย่าง
    นี้แล.
    พ. ก็ข้อว่า ผัสสะมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยนั่นแล ผัสสะจึงมี ในข้อนี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็น
    อย่างไร?
    ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ในข้อนี้ มีความ
    เป็นอย่างนี้แล.
    พ. ก็ข้อว่า สฬายตนะมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย เพราะนามรูปเป็นปัจจัยนั่นแล สฬายตนะจึงมี ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็น
    อย่างไร?
    ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี ในข้อนี้ มีความ
    เป็นอย่างนี้แล.
    พ. ก็ข้อว่า นามรูปมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยนั่นแล นามรูปจึงมี ในข้อนี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็น
    อย่างไร?
    ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี ในข้อนี้ มีความ
    เป็นอย่างนี้แล.
    พ. ก็ข้อว่า วิญญาณมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย เพราะสังขารเป็นปัจจัยนั่นแล วิญญาณจึงมี ในข้อนี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็น
    อย่างไร?
    ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ในข้อนี้มีความเป็น
    อย่างนี้แล.
    พ. ก็ข้อว่า สังขารมี เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว เพราะอวิชชา
    เป็นปัจจัยนั่นแล สังขารจึงมี ในข้อนี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร?
    ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี ในข้อนี้ มีความเป็น
    อย่างนี้แล.
    [๔๔๘] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กล่าวนั้น ถูกละ พวกเธอกล่าวอย่างนั้น แม้
    เราก็กล่าวอย่างนั้น เมื่อมีสิ่งนี้ สิ่งนี้ก็มี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้ก็เกิดขึ้น คือ เพราะอวิชชา
    เป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นาม
    รูปจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
    เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย
    อุปาทานจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็น
    ปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงมี ความเกิดแห่งกอง
    ทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ อย่างนี้
     
  15. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ปัจจัยแห่งความดับ

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๓๓๙/๔๓๐
    ปัจจัยแห่งความดับ
    เพราะอวิชชาดับหมดมิได้เหลือ สังขารก็ดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เพราะ
    วิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
    เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
    เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ
    ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสก็ดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้
    อย่างนี้.
    [๔๔๙] ก็ข้อว่า เพราะชาติดับ ชรา มรณะก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เพราะชาติดับนั่นแล ชรา มรณะจึงดับ ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร?
    ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ ก็ดับ ในข้อนี้ มีความเป็น
    อย่างนี้แล.
    พ. ก็ข้อว่า เพราะภพดับ ชาติก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เพราะภพดับนั่นแล ชาติจึงดับ ในข้อนี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร?
    ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะภพดับ ชาติก็ดับ ในข้อนี้ มีความเป็นอย่างนี้แล.
    พ. ก็ข้อว่า เพราะอุปาทานดับ ภพก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เพราะอุปาทานดับนั่นแล ภพจึงดับ ในข้อนี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร?
    ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะอุปาทานดับ ภพก็ดับ ในข้อนี้ มีความเป็นอย่างนี้แล.
    พ. ก็ข้อว่า เพราะตัณหาดับ อุปาทานก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เพราะตัณหาดับนั่นแล อุปาทานจึงดับ ในข้อนี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร?
    ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะตัณหาดับ อุปาทานก็ดับ ในข้อนี้ มีความเป็น
    อย่างนี้แล.
    พ. ก็ข้อว่า เพราะผัสสะดับ เวทนาก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เพราะผัสสะดับนั่นแล เวทนาจึงดับ ในข้อนี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร?
    ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะผัสสะดับ เวทนาก็ดับ ในข้อนี้มีความเป็นอย่างนี้แล.
    พ. ก็ข้อว่า เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย เพราะสฬายตนะดับนั่นแล ผัสสะจึงดับ ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร?
    ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะก็ดับ ในข้อนี้มีความเป็นอย่าง
    นี้แล.
    พ. ก็ข้อว่า เพราะนามรูปดับ สฬายตนะก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย เพราะนามรูปดับนั่นแล สฬายตนะจึงดับ ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร?
    ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะก็ดับ ในข้อนี้มีความเป็น
    อย่างนี้แล.
    พ. ก็ข้อว่า เพราะวิญญาณดับ นามรูปก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย เพราะวิญญาณดับนั่นแล นามรูปจึงดับ ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร?
    ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะวิญญาณดับ นามรูปก็ดับ ในข้อนี้มีความเป็นอย่าง
    นี้แล.
    พ. ก็ข้อว่า เพราะสังขารดับ วิญญาณก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย เพราะสังขารดับนั่นแล วิญญาณจึงดับ ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร?
    ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะสังขารดับ วิญญาณก็ดับ ในข้อนี้มีความเป็นอย่างนี้แล.
    พ. ก็ข้อว่า เพราะอวิชชาดับ สังขารก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เพราะอวิชชาดับนั่นแล สังขารจึงดับ ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร?
    ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะอวิชชาดับ สังขารก็ดับ ในข้อนี้มีความเป็นอย่าง
    นี้แล.
    [๔๕๐] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กล่าวนั้น ถูกละ พวกเธอกล่าวอย่างนี้ แม้เราก็กล่าว
    อย่างนี้ เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ คือ เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ
    เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
    เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
    เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติ
    ดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์
    ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ อย่างนี้.
     

แชร์หน้านี้

Loading...