ปกิณกะพระเครื่อง ธรรมะ และวัดวาอาราม

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย ปู ท่าพระ, 5 ธันวาคม 2014.

  1. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    เหรียญที่ระลึกพระพุทธปัญจภาคี


    เนื่องในมหามงคลวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2539 กรมธนารักษ์ได้รับมอบหมายให้จัดสร้างเหรียญพระพุทธรูปที่สำคัญของประเทศรวม 5 องค์ ประกอบด้วย พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ พระมงคลบพิตร และพระนิรันตราย พระพุทธโสธร เพื่อเป็นการเผยแพร่พระเกียรติคุณ และบุญญาธิการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ให้คนไทยและพุทธศาสนิกชนทั่วไปได้มีไว้เคารพสักการะบูชา เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว โดยจัดสร้างขึ้น 3 ประเภท คือ ทองคำ เงิน และทองแดง โดยจะนำรายได้จากการจำหน่ายภายหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว ขึ้นทูลเกล้าถวายโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย



    [​IMG]

    พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปปางเรือนแก้ว หน้าตักกว้าง 5 ศอก 1 คืบ 5 นิ้วเศษ เป็นพระพุทธรูปสำคัญและสวยงามมากองค์หนึ่งมาตั้งแต่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี สร้างในสมัยพระมหาธรรมมาธิราชลิไท สร้างโดยชาวเมืองเชียงแสน ชาวเมืองสวรรคโลก และชาวเมืองสุโขทัย ช่วยกันหล่อพระพุทธรูปขึ้น 3 องค์ คือ พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศาสดา เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 4 ปีจอ พุทธศักราช 1499 แต่หล่อเสร็จเพียง 2 องค์ คือพระพุทธชินสีห์และพระศาสดา ส่วนพระพุทธชินราชนั้นหล่อไม่เสร็จ กล่าวคือ เมื่อเททองลงไปแล้วกลับแข็ง ทองไม่เดินตามปกติ จึงได้ทำพิธีปั้นหุ่นใหม่อีกครั้ง พระพุทธรูปจึงได้สำเร็จรูปตามความปรารถนา เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 8 ปีกุน พุทธศักราช 1500 และได้อาราธนาอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลกแต่นั้นมา


    [​IMG]

    พระพุทธชินสีห์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะเชียงแสนและสุโขทัยผสมกัน จัดสร้างในสมัยพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก เป็นพระพุทธรูปหล่อหน้าตักกว้าง 5 ศอก 1 คืบ 7 นิ้ว สูงตั้งแต่พระที่นั่งถึงพระจุฬา 6 ศอก 1 คืบ 10 นิ้ว พระรัศมี 1 ศอก พระพุทธรูปปางนี้อยู่ในพระอาริยบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางที่พระชานุ นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงที่พื้นธรณี ปางนี้เริ่มนิยมทำรัศมีบนพระเศียร เดิมประดิษฐานอยู่ในพระวิหารหลวงทางทิศเหนือวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองพิษณุโลก จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาเมื่อพุทธศักราช 2372 สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิ์พลเสพย์ ได้โปรดให้อัญเชิญพระพุทธชินสีห์มาประดิษฐานไว้ที่วัดบวรนิเวศวิหาร


    [​IMG]

    พระมงคลบพิตร เป็นพระพุทธรูปปางนั่งสมาธิ จัดสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นราวแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ก่อด้วยอิฐเป็นแกน ข้างนอกหุ้มด้วยทองสัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง 4 วาเศษ นับเป็นพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุด และมีพระพุทธลักษณะงดงามเป็นสง่ามากองค์หนึ่งในประเทศไทย ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในพระวิหารข้างกำแพงวัดพระศรีสรรเพชรด้านใต้ เขตโบราณสถานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา



    [​IMG]

    พระนิรันตราย เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ หน้าตักกว้าง 5 นิ้วครึ่ง เป็นพุทธศิลปะที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชศรัทธามาก เนื่องจากมีความศักดิ์สิทธิ์ มหัศจรรย์แคล้วคลาดพ้นอันตรายไปถึง 2 คราว มีพุทธลักษณะพิเศษ คือที่พระเศียรไม่มีพระเมาลี แต่ต่อด้วยพระรัศมีเลย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นสำหรับพระราชทานวัดธรรมยุตที่เป็นพระอารามหลวงวัดละองค์ ได้แก่ วัดบวรนิเวศวิหาร วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม วัดราชประดิษฐ์ และถวายพระนามว่า “พระนิรันตราย” นับเป็นพุทธศิลป์แบบหนึ่งของยุครัตนโกสินทร์



    [​IMG]

    พระพุทธโสธร เป็นพระพุทธรูปบางสมาธิ คือ นั่งขัดสมาธิราบพระเนตรเนื้อแบบสมัยลานช้าง หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “พระลาว” หน้าตักกว้าง 3 ศอก 5 นิ้ว เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ เป็นพระที่ทรงอานุภาพศักดิ์สิทธิ์ ไม่ปรากฏหลักฐานแน่นอนว่าใครเป็นผู้จัดสร้าง พระพุทธโสธรองค์นี้เล่าสืบต่อกันมาว่ามีพระพี่น้องกัน 3 องค์ ล่องลอยตามแม่น้ำมาจากทิศเหนือมาผุดขึ้นที่แม่น้ำบางปะกง ตำบลสัมปทวน แสดงปาฏิหาริย์ลอยตามน้ำและทวนกระแสน้ำได้ทั้ง 3 องค์ ประชาชนจึงได้ช่วยกันเอาเชือกลงไปผูกมัดที่องค์พระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ แต่ก็ไม่ขึ้น สำหรับพระพุทธรูปหล่อองค์กลาง คือ หลวงพ่อโสธร ได้ลอยตามน้ำมาผุดขึ้นที่ท่าวัดโสธร ขณะนั้นได้มีอาจารย์ผู้หนึ่งมีความรู้ทางไสยศาสตร์ ทำพิธีบวงสรวงแล้วอารธนาอัญเชิญขึ้นประดิษฐานไว้ในวิหารวัดโสธรวรารามวรวิหาร อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา และจัดให้มีการฉลองสมโภชเป็นเทศกาลประจำปี


    [​IMG]



    เหรียญพระพุทธปัญจภาคีได้เข้าพิธีมหาชัยมังคลาภิเษก ในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2540 ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร พระนามและรายนามพระสงฆ์ที่กราบทูลและนิมนต์ มาร่วมอธิษฐานจิตในพิธีพุทธมหาชัยมังคลาภิเษก ดังนี้


    พระเจริญพระพุทธมนต์ เวลาประมาณ 15.00 น.

    1. สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร
    2. สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
    3. สมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงคราม
    4. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสุวรรณาราม
    5. พระสุเมธาธิบดี วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
    6. พระธรรมวโรดม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
    7. พระวิสุทธาธิบดี วัดสุทัศนเทพวราราม
    8. พระธรรมปัญญาจารย์ วัดมกุฏกษัตริยาราม
    9. พระพรหมโมลี วัดยานนาวา
    10. พระมหารัชมงคลดิลก วัดบวรนิเวศวิหาร



    พระคณาจารย์นั่งเจริญจิตตภาวนา (ชุดที่ 1 เวลาประมาณ 15.00 น.)

    1. พระวิสุทธิวงศาจารย์ (หลวงพ่อพลอย) วัดเทพธิดาราม กทม.
    2. พระมงคลเทพโมลี (ดร.พูลทรัพย์) วัดสุทัศนเทพวราราม กทม.
    3. พระราชวิสุทธิคุณ (หลวงพ่อเกตุ) วัดเกาะหลัก ประจวบคีรีขันธ์
    4. พระโสภณเสมาธิคุณ (หลวงพ่อเฟื่อง) วัดเจ้ามูล กทม.
    5. พระสุธรรมคณาจารย์ (หลวงปู่เหรียญ) วัดอรัญบรรพต หนองคาย
    6. พระครูสาธรพัฒนกิจ (หลวงพ่อละมูล) วัดเสด็จ ปทุมธานี
    7. พระอาจารย์มหาวิบูลย์ วัดโพธิคุณ ตาก
    8. หลวงปู่จันทา วัดเขาน้อย พิจิตร
    9. พระครูกาชาด (บุญทอง เขมทตฺโต) วัดดอนศาลา พัทลุง
    10. พระครูอดุลยธรรมกิจ (หลวงพ่อกลั่น) วัดเขาอ้อ พัทลุง
    11. หลวงพ่อสังข์ศีลคุณ วัดดอนตรอ นครศรีธรรมราช
    12. พระอาจารย์เปลี่ยน วัดอรัญวิเวก เชียงใหม่
    13. หลวงปู่จันทร์โสม กิตติกาโร วัดป่านาสีดา อุดรธานี
    14. พระอธิการวิชา วัดศรีมณีวรรณ ชัยนาท
    15. หลวงพ่อบุญมา คัมภีรธัมโม วัดหนองปุง สกลนคร
    16. พระครูมนูญธรรมมาภิรัต (หลวงพ่อสาคร) วัดหนองกรับ ระยอง
    17. พระครูเขมคุณโสภณ (หลวงพ่อจันทรแรม) วัดเกาะแก้วธุดงค์สถาน บุรีรัมย์



    ชุดที่ 2 เวลาประมาณ 18.00 น.

    1. พระราชจันกวี วัดไผ่ล้อม จันทบุรี
    2. พระอุดมประชานารถ (หลวงพ่อเปิ่น) วัดบางพระ นครปฐม
    3. พระมงคลสิทธิคุณ (หลวงพ่องลำใย) วัดทุ่งลาดหญ้า กาญจนบุรี
    4. พระครูฐิติธรรมญาณ (หลวงพ่อลี) วัดเหวลึก สกลนคร
    5. พระครูสุวัณโณปมคุณ (หลวงพ่อคำพอง) วัดถ้ำกกกู่ อุดรธานี
    6. พระครูอนุรักษ์วรคุณ (หลวงพ่อสง่า) วัดหนองม่วง ราชบุรี
    7. พระครูสุนันท์วิริยาภรณ์ (หลวงพ่อเก๋) วัดแม่น้ำ สมุทรสงคราม
    8. หลวงปู่พรหมมา เขมจาโร วัดสวนหินผานางคอย อุบลราชธานี
    9. พระครูสถิตโชติคุณ (หลวงพ่อไสว) วัดปรีดาราม นครปฐม
    10. พระครูถาวรสังฆสิทธิ์ (หลวงพ่อภา) วัดสองห้อง นครปฐม
    11. พระอาจารย์คำบ่อ วัดใหม่บ้านดาล สกลนคร
    12. หลวงปู่บุญมี วัดสระประสานสุข อุบลราชธานี
    13. หลวงปู่หงษ์ วัดเพชรบุรี สุรินทร์
    14. พระครูอรรถธรรมทร (หลวงพ่อเฮ็น) วัดดอนทอง สระบุรี
    15. พระครูเกษมคณาภิบาล (หลวงพ่อมี) วัดมารวิชัย พระนครศรีอยุธยา
    16. หลวงปู่รินทร์ รักชโน สำนักสงฆ์ภูถ้ำพระ กาฬสินธุ์
    17. หลวงปู่จันทร์ดี เกสาโว วัดป่าหินเกิงวิปัสสนา ขอนแก่น
    18. พระครูนนทสิทธิการ วัดไทรน้อย นนทบุรี
    19. หลวงปู่พลพินิจ ขันจิธโร สำนักสงฆ์ภูถ้ำพระ กาฬสินธุ์



    พระสงฆ์สวดภาณวารและทิพย์มนต์

    1. พระมหาสุธน กวิญโญ วัดสุทัศนเทพวราราม กทม.
    2. พระปลัดพิทยา ญาณิวโส วัดสุทัศนเทพวราราม กทม.
    3. พระครูวินิตสุนทรกิจ วัดสุทัศนเทพวราราม กทม.
    4. พระครูพินิจ กิจจาภิรักษ์ วัดสุทัศนเทพวราราม กทม.



    พระสวดพุทธาภิเษก

    1. พระครูพิทักษ์ถิรธรรม วัดสุทัศนเทพวราราม กทม.
    2. พระครูวิบูลวิหารกิจ วัดสุทัศนเทพวราราม กทม.
    3. พระครูสุวัฒนประสิทธิ วัดสุทัศนเทพวราราม กทม.
    4. พระครูอมรโฆสิต วัดสุทัศนเทพวราราม กทม.



    องค์ประธานดับเทียนชัย (เวลาประมาณ 20.00 น.)

    สมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศ กรุงเทพฯ



    เหรียญพระพุทธปัญจภาคีมีสร้างด้วยกัน 2 ขนาด และ 3 เนื้อ คือ

    - เหรียญทองคำขนาดใหญ่ น้ำหนัก 15.3 กรัม จำนวนการสร้างไม่เกิน 10,000 เหรียญ (สร้างด้วยเนื้อทองคำบริสุทธิ์ 99.99%)

    - เหรียญทองคำขนาดเล็ก น้ำหนัก 3.75 กรัม จำนวนการสร้างไม่เกิน 10,000 เหรียญ (สร้างด้วยเนื้อทองคำบริสุทธิ์ 99.99%)

    - เหรียญเนื้อเงิน ขนาดใหญ่ สร้างไม่เกิน 50,000 เหรียญ

    - เหรียญเนื้อเงิน ขนาดเล็ก สร้างไม่เกิน 50,000 เหรียญ

    - เหรียญเนื้อทองแดงมีขนาดเดียว สร้างไม่เกิน 1,000,000 เหรียญ





    ขอบคุณข้อมูลจากพี่โญ(MrCHAN) ,คุณแทน ท่าพระจันทร์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 ธันวาคม 2014
  2. MrCHAN

    MrCHAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    5,812
    ค่าพลัง:
    +97,448
    พระผงสมเด็จเหม็น หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง จ.เพชรบุรี พ.ศ. 2495



    [​IMG]

    พระผงสมเด็จเหม็น ( สมเด็จพระคะแนน )
    สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2495 แล้วมาสิ้นสุด ลงในปลาย พ.ศ.2497 รวมระยะเวลาถึง 3 ปี
    โดยหลวงพ่ออุ้น ร่วมกับพระสงฆ์ภายในวัดตาลกงช่วยกัน

    พระผงสมเด็จเหม็น ( สมเด็จพระคะแนน ) ตามที่ชาวบ้านเรียกมาแต่แรกเป็นพระผงที่มีพุทธคุณ
    ด้านเมตตามหานิยมและเสน่ห์สูงมาก มีขนาดกว้างประมาณ 1.6 ซม. สูงประมาณ 2 ซม.
    เป็นรูปพระพุทธรูปนั่งสมาธิบนฐานชั้นเดียว มีอักขระคำว่า "พุทโธ" อยู่ภายในซุ้มเรือนแก้ว
    ด้านบน ส่วนด้านหลังเป็นยันต์นะปัดตลอดใต้ฐานยันต์มีคำว่า ว.ต.ก. และที่ด้านหลัง
    เห็นยันต์เลือนลางที่ไม่เห็นยันต์ก็มี ทั้งนี้เป็นเพราะหลวงพ่อได้เอาสีผึ้งเมตตาที่ท่านได้ทำไว้
    แล้วนำมาป้ายติดที่ตัวปั๊มด้านหลังแล้วกดพิมพ์ จุดประสงค์เพื่อจะให้สีผึ้งติดลงที่แผ่นหลังของพระ
    จึงทำให้เห็นรูปยันต์เลือนลาง เมื่อใดที่สีผึ้งของหลวงพ่อหมดก็จะเห็นยันต์และคำว่า "ว.ต.ก" ชัดเจน
    พระมีเนื้อแน่นละเอียด ส่วนหยาบนั้นเกิดจากการนำเอาข้าวปากบาตรและก้นบาตรตลอดจนเกษร
    ดอกไม้ ผลไม้ที่พระท่านฉันท์เหลือ ว่านต่างๆ ( โดยเฉพาะว่านดอกทอง ) หมักไว้หลายวันก็จะเกิด
    กลิ่นเหม็นบูดมาก ถ้าช่วงใดพระต่างๆมีเวลาช่วยกันมาก ผงที่หมักแค่คืนเดียวกลิ่นเหม็นก็จะน้อยลง
    บางคร้งจะมีการผสมแผ่นทองที่เหลือจากการปิดทองรอยพระพุทธบาทในพระอุโบสถผสมลงในผง
    พระสมเด็จคะแนนจะมีกลิ่นเหม็นมากและน้อยไม่เป็นปัญหา ต่อมาคนจะเรียกสมเด็จเหม็น จนติดปาก
    จะยันต์ชัด หรือไม่ชัด เหม็นมากหรือเหม็นน้อยทั้งหมดเป็นพระที่ปลุกเสกครั้งเดียวกัน 8 ปี
    ถึงแจก เป็นพระรุ่นเดียวกันมีพุทธคุณเหมือนกันหมด

    [​IMG]

    ผงพุทธคุณ ที่นำมาเป็นส่วนผสมพระสมเด็จเหม็น มีผงอิทธิเจของ ลพ.แก้ว วัดเครือวัลย์ ซึ่งเป็นผงเก่าที่
    ทำไว้ในอุโบสถหลังเก่าของวัดตาลกง สมัยที่ ลพ.แก้ว ยังอยู่ที่วัดปากทะเลผสมกับผงพุทธคุณของหลวงพ่ออุ้น
    แล้วนำมาหมักผสมกับข้าวสุกจากปากบาตร และข้าวก้นบาตรของพระสงฆ์ที่ได้บิณฑบาตมาตมา

    การหมัก ครั้งใดที่หมักทิ้งไว้หลายวันมีกลิ่นเหม็นมาก หากหมักไว้ทิ้งชั่วข้ามคืนจะมีกลิ่นเหม็นน้อย
    เป็นสาเหตุให้พระสมเด็จเหม็น มีกลิ่นเหม็นมาก และเหม็นน้อยไม่เท่ากัน
    พระผงสมเด็จเหม็น สร้างประมาณ 84,000 องค์ ส่วนหนึ่งเก็บบรรจุไว้ที่พระอุโบสถหลังเก่า
    อีกส่วนหนึ่งออกให้ญาติโยมได้บูชา พระสมเด็จเหม็น มีการลองเนื้อจะมีเนื้อออกแน่น
    ออกแก่น้ำมัน มีเนื้อออกน้ำตาล ออกแดง และบางองค์ คำอธิบายใต้ภาพนั้น ในส่วนที่ลองเนื้อลองพิมพ์
    เป็นเพียงส่วนน้อย จะเอามาเป็นหลักในการเล่นหา ไม่ได้ ต้องเอาเนื้อหารูปแบบโดยรวมส่วนใหญ่
    มาเป็นเกณฑ์มาตรฐาน

    [​IMG]

    พระผงสมเด็จเหม็น ( พระสมเด็จคะแนน )
    สร้าง : พ.ศ.2495 ถึง พ.ศ.2497 จำนวนสร้างประมาณ 84,000 องค์
    มวลสาร : ผสมผงอิทธิเจ ผงปถมัง ผงมหาราช ลพ.อุ้น ผสมกับผงอิทธิเจ ลพ.แก้ว บรรจุในอุโบสถหลังใหม่ 50,000 องค์ แจกและออก

    ให้บูชาประมาณ 30,000 กว่าองค์
    ลักษณะพระผงสมเด็จเหม็น :
    1.หลังยันต์ ว.ต.ก ชัดเจน ประมาณ 4,000 องค์
    2.ยันต์หลังและคำว่า ว.ต.ก ไม่ชัดเจน เนื่องจากป้ายสีผึ้งประมาณ 30,000 องค์
    3.ยันต์หลังไม่ชัดเจน เนื่องจากพิมพ์ลึกจนเลือนราง ประมาณ 50,000 องค์

    สำหรับเนื้อที่พิมพ์ยันต์หลังชัดเจน จะมีเนื้อลองพิมพ์เป็นสีแดงอมน้ำตาล ประมาณ 500 องค์ เนื้อแก่น้ำมัน ประมาณ 2,500องค์ และผง

    เก่าในอุโบสถล้วน เนื้อจะออกขาวและยุ่ยอ่อน ถูกเบาๆจะเป็นรอย ถูกน้ำไม่ได้จะละลายประมาณ 1,000 องค์ ทั้งหมดนำมารวมกัน

    และทำพิธีปลุกเสกตั้งแต่ พ.ศ.2497 เรื่อยมาถึง พ.ศ.2505 จึงได้นำพระออกมาแจก
    รวมระยะเวลาปลุกเสกถึง 8 ปี ในส่วนที่เขาเรียกขานกันว่า " สมเด็จเหม็น " สาเหตุจากองค์พระมีกลิ่นเหม็น
    เกิดจากข้าวปากบาตรและข้าวก้นบาตรที่นำไปหมักผสมกับผงต่างๆ เหม็นมากหรือเหม็นน้อย
    ขึ้นอยู่กับการหมักนานเพียงใด
     
  3. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    [​IMG]


    [​IMG]




    [​IMG]


    [​IMG]


    เหรียญขวัญถุงหรือเหรียญมหาลาภรุ่น2 นี้เข้าพิธีพุทธาภิเษกเมื่อวันมาฆะบูชา 12 กุมภาพันธ์ 2530 ตรงกับวันพฤหัสบดี ก่อนวันงานพิธีสะเดาะเคราะห์และต่ออายุ(เผาศพจำลอง) 14-15 กุมภาพันธ์ 2530 ปลุกเสกพร้อมพระบูชาแก้วใสรุ่นต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น พระวิสุทธิเทพแก้ว รูปหล่อหลวงปู่ปาน-หลวงพ่อฤาษีลิงดำ พระบูชาสุโขทัย ๓ นิ้ว, ๕ นิ้ว, ๙ นิ้ว รูปเหมือนท่านแม่ทั้งสาม เนื้อเรซิ่นใส รวมถึงแหวนเพชรจักรพรรดิ

    ว่ากันว่า....บูชาเหรียญนี้ติดกระเป๋าใส่สตางค์หรือที่เก็บเงิน แล้วเงินจะไม่ขาดมือ อธิษฐานได้ดังหวังตลอด ถ้าจะให้ดี ให้บูชาด้วยคาถาเงินล้าน แล้วปลุกด้วยคาถาหลวงปู่ปาน มีลูกศิษย์นำไปบูชาแล้วได้ผลกันแล้วมากมาย


    เหรียญรุ่นนี้จะเป็นเหรียญคู่ มี 2 แบบ คือ
    1. ด้านหน้ารูปหลวงพ่อ ด้านหลังเป็นยันต์เกราะเพชร
    2. ด้านหน้ารูปหลวงพ่อ ด้านหลังเป็นรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙




    ขอบคุณข้อมูลจากคุณยอดเศรษฐีธรรมและพี่วรรณ(Wannachai001)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ธันวาคม 2014
  4. MrCHAN

    MrCHAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    5,812
    ค่าพลัง:
    +97,448
    [​IMG]

    สำหรับพิธีพุทธาภิเษกนั้น ได้ปลุกเศกโดยพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 2519 เวลา 17.30 น. ตลอดคืน ณ วัดบวรนิเวศวิหาร รวม 3 คืน แล้วนำเข้าร่วมสมทบในพิธีพุทธาภิเศกใหญ่ที่วัดศิลขันธาราม จ.อ่างทอง เมื่อวันศุกร์ที่ 25 มิ.ย. 2519 ซึ่งท่านพระคุณสมเด็จพระพระญาณสังวร(ในขณะนั้น) เป็นประธานพิธีจุดเทียนชัย และได้ทรงพระเมตตาทรงนั่งปรกปลุกเศก ร่วมด้วย
    1.สมเด็จพระญาณสังวร
    2.สมเด็จพระธีรญาณมุณี
    3.สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ และ
    4.สมเด็จพระมหาวีรวงศ์
    เป็นปฐมฤกษ์ต่อจากนั้นได้มีพระคณาธิการผู้ทรงคุณวุฒินั่งปรกปลุกเศกอีก รวม 4 ชุดตลอดคืน

    [​IMG]

    วัตถุที่ใช้สร้างองค์พระ :: ได้นำวัตถุมงคลจากสถานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั่วประเทศ รวมกับผงสมเด็จพุฒาจารย์(โต) ที่แตกหัก และจากวัดอินทรวิหาร,ผงพระของหลวงปู่นาก วัดระฆังฯ,ผงเหลือจากการสร้างพระสมเด็จร้อยปี,ผงพระกรุหัวหิน,ผงพระนางพญางิ้วดำ,ผงชนวนบุพโพ รวมทั้งจีวรที่ใช้แล้วของท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต และผงพระปิลันท์ ฯลฯ

    [​IMG]

    พระเครื่องนี้มี "คุณานุภาพทางมหาเสน่ห์ มหาลาภ เมตตามหานิยม"
     
  5. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    [​IMG]



    เหรียญพระพุทธชินราช (พระนามย่อ) ญสส. ปี 2543

    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก มีพระเมตตาคุณประทานพระอนุญาตให้จัดสร้าง สิ่งมงคลสักการะพระพุทธชินราช พระนามย่อ ตอกโค๊ด เหรียญงดงามมาก ออกแบบโดยช่างธนยศ เศวตวิจิตร" หรือ "ช่างประดิษฐ์" ประติมากรฝีมือเอกของเมืองไทย


    [​IMG]


    ด้านหน้าเป็นรูปพระพุทธชินราช นูนสูง มีเทวดาโปรยดอกมณฑาสวรรค์ ด้านหลังเป็นยันต์อกเลาศักดิ์สิทธิ์ จารึกพระนามย่อ ญสส. และคาถาหัวใจอริยสัจสี่ ( ทุ - สะ - นิ - มะ ) อันหมายถึง ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ จัดสร้างโดยช่างหล่อพระกริ่งฝีมือหนึ่งของเมืองไทย คือ นายช่างพิศาล วณิชชัยอาภรณ์ โดยใช้ระบบเทด้วยมืออาศัยเครื่องดูดสุญญากาศ อันเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่


    [​IMG]


    พิธีมหาพุทธาภิเษก-สมโภชน์ ครั้งยิ่งใหญ่ของเมืองพิษณุโลก ในรอบปี พ.ศ.2543 ณ วิหารพระพุทธชินราช เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 พฤศจิกายน 2543 พระเกจิอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิวิทยาคุณทั่วประเทศ นั่งบริกรรมปลุกเสก 4 ผลัดๆ ละ 21 รูป รวม 84 รูป นานถึง 12 ชั่วโมง พิธีกรรมเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ตามหลักโบราณจารย์


    รายนามพระคณาจารย์ 84รูปที่ร่วมอธิษฐานจิต อาทิ

    1.หลวงปู่หมุน วัดบ้านจาน
    2.หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม
    3.หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม
    4.หลวงปู่คำพันธ์ วัดธาตุมหาชัย
    5.หลวงพ่อไสว วัดปรีดาราม
    6.หลวงพ่อแย้ม วัดสามง่าม
    7.หลวงปู่เจือ วัดกลางบางแก้ว
    8.สมุห์อวยพร วัดดอนยายหอม
    9.หลวงปู่หลวง วัดป่าสำราญนิวาส
    10.หลวงพ่อสง่า วัดบ้านหม้อ
    11.หลวงปู่ฤทธิ์ วัดชลประทานราชดำริ
    12.หลวงปู่ท่อน วัดศรีอภัยวัน
    13.หลวงพ่อหวล วัดพุทไธศวรรย์
    14.หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว
    15.หลวงพ่อเก๋ วัดปากน้ำ
    16.หลวงพ่อสาคร วัดหนองกรับ
    17.หลวงพ่อกลั่น วัดเขาอ้อ
    18.หลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม
    19.หลวงปู่เหรียญ วัดอรัญบรรพตคีรี
    20.พระมหาโพธิ์ วัดคลองมอญ
    21.หลวงปู่ธีร์ วัดมิ่งเมือง
    22.หลวงพ่อสวัสดิ์ สำนักสงฆ์เม้าสุขา
    23.หลวงปู่ตี๋ วัดหลวงราชาวาส
    24.หลวงพ่อเขียว วัดระเว
    25.หลวงพ่อพรหม วัดบ้านสวน
    26.หลวงพ่อวิชัย วัดถ้ำผาจม
    27.เจ้าคุณจวบ วัดระฆังโฆสิตาราม
    28.หลวงพ่อลำใย วัดทุ่งลาดหญ้า
    29.เจ้าคุณธงชัย วัดไตรมิตร
    30.หลวงพ่อสมพงษ์ วัดใหม่ปิ่นเกลียว
    31.หลวงพ่อเฉิลม วัดพระญาติการาม
    32.หลวงพ่อพูลทรัพย์ วัดอ่างศิลา
    33.หลวงพ่อลมูล วัดเสด็จ
    34.หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง
    35.หลวงปู่รอด วัดสันติกาวาส
    36.ครูบาน้อย วัดศรีดอนมูล ฯลฯ



    [​IMG]


    ในส่วนของเหรียญชินราช-อกเลา ญสส.นั้นมีการจัดสร้างทั้งหมด 4 แบบคือ

    1.เหรียญชินราช-อกเลา ญสส.เนื้อทองคำหนัก 16 กรัม จัดสร้างเท่ากับจำนวนผู้สั่งจอง

    2.เหรียญชินราช-อกเลา ญสส.เนื้อเงิน จัดสร้าง 3,999 องค์

    3.เหรียญชินราช-อกเลา ญสส.เนื้อทองสัมฤทธิ์ จัดสร้าง 15,999 องค์

    4.เหรียญชินราช-อกเลา ญสส.เนื้ออัลปาก้า จัดสร้าง 59,999 องค์



    [​IMG]
     
  6. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    [​IMG]


    พระพุทธชินราช หลังตราธรรมจักร พิธีจักรพรรดิ์มหาพุทธภิเศก เมื่อปี พ.ศ. 2515

    ณ วิหารพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษนุโลก โดยสร้างจากเนื้อดินผสมผงและดินกรุเก่า ออกแบบโดย นายช่างสำเนียง หมัดมอญ กรุงเทพฯ
    พิธีมหาพุทธภิเศก เป็นเวลา 2 วันเต็ม นับจากวันที่ 19 – 20 ม.ค. 2515 พระคณาจารย์บริกรรมปลุกเสก 109 รูป


    ประวัติการจัดสร้างพิธีจักรพรรดิ์มหาพุทธาภิเษก

    ดำเนิน การ ณ พระวิหารหลวงพ่อพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุฯ จังหวัดพิษณุโลก เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ.2515 โดยพุทธสมาคมพิษณุโลก เพื่อนำวัตถุมงคลที่จัดสร้างขึ้นเข้าพิธีปลุกเสก วัตถุมงคลในรุ่นนี้มี พระพุทธชินราชจำลอง พระชัยวัฒน์ พระกริ่งนเรศวรวังจันทน์ พระพิมพ์ และเหรียญมหาจักรพรรดิ์ ฯลฯ พิธีจักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก เป็นพิธีที่ใหญ่มาก ยากแก่การดำเนินการหาเจ้าพิธี ตลอดจนตำรับพระคาถา และพระภิกษุเจริญพระคาถาได้ ตามประวัติ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

    พิธี "จักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก" นี้ ครั้งแรกได้กระทำพิธีในสมัยรัชกาลที่ 1 และได้มีการกระทำพิธีนี้อีก เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ.2515 ในสมัยรัชกาลที่ 9 หลังนั้นก็ไม่ปรากฏว่ามีการกระทำพิธีฯ นี้อีกเลย ในพิธีนี้ พระอาจารย์ผ่อง จินดา วัดจักรวรรดิราชาวาส กทม. และ อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร ซึ่งเป็นเจ้าพิธีได้กำหนด และควบคุมดำเนินการประกอบพิธี "จักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก" ครบถ้วนตามแบบฉบับของโบราณกาลพิธีทุกประการ



    [​IMG]


    คณะกรรมการพิธีฯ
    สมเด็จ พระสังฆราช ทรงเป็นประธานจุดเทียนชัย ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ นายกพุทธสมาคมแห่งประเทศไทยฯ เป็นประธานในพิธีจุดเทียนบูชาพระรัตนตรัย พระครูศรีพรหมโสภิต (หลวงพ่อแพ) วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี เป็นประธานบริกรรมปลุกเสก

    กรรมการฝ่ายเจ้าพิธี
    พระอาจารย์ผ่อง จินดา วัดจักรวรรดิราชาวาส อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร อาจารย์มาโนช มาโสภาศ

    กรรมการอุปถัมป์ฝ่ายสงฆ์
    พระสุวรรณวิสุทธิคุณ เจ้าคณะจังหวัดพิษณุโลก พระพิษณุบูราจารย์ เจ้าอาวาส วัดพระศรีรัตนมหาธาตุฯ จ.พิษณุโลก ฯลฯ

    กรรมการอุปถัมภ์ฝ่ายฆราวาส
    นายพ่วง สุวรรณรัฐ ปลัดกระทรวงมหาดไทย พล.ท.สำราญ แพทยกุล แม่ทัพภาคที่ ๓ สมาคมนักเรียนเก่าพิษณุโลกพิทยาคม ฯลฯ

    กรรมการดำเนินงาน
    คณะกรรมการพุทธสมาคม จ.พิษณุโลก

    กรรมการที่ปรึกษา
    นายประชุม กาญจนวัน์ นายสุฉันท์ โพธิสุวรรณ ฯลฯ


    [​IMG]


    พิธีมหาพุทธภิเศก เป็นเวลา 2 วันเต็ม นับจากวันที่ 19 – 20 ม.ค. 2515 พระคณาจารย์บริกรรมปลุกเสก 109 รูป
    รายนามพระคณาจารย์ที่ร่วมบริกรรมปลุกเสก อาทิ


    1. หลวงพ่อทอง (พระครูวิริยะโสภิต) วัดพระปรางค์ จ.สิงห์บุรี
    2. หลวงพ่อเงิน (พระราชธรรมมาภรณ์) วัดดอนยาหอม จ.นครปฐม
    3. หลวงพ่อนาค (พระครูจันทรโสภณ) วัดนรนาถสุนทริการาม กรุงเทพฯ
    4. หลวงพ่อแดง (พระครูญาณวิลาศ) วัดเขาบันไดอิฐ จ.เพชรบุรี
    5. หลวงพ่อหอม (พระครูภาวนาณุโยค) วัดซากหมากป่าเรไร จ.ระยอง
    6. หลวงพ่อสุข วัดโพธิ์ทรายทอง จ.บุรีรัมย์
    7. หลวงพ่อสด (พระครูวิจิตนชัยการ) วัดหางน้ำ จ.ชัยนาท
    8. หลวงพ่อชื่น (พระครูนนทกิจวิมล) วัดตำหนักเหนือ จ.นนทบุรี
    9. หลวงพ่อบุญ (พระครูประดิษฐ์นวการ) วัดวังมะนาว จ.ราชบุรี
    10. หลวงปู่ทองอยู่ (พระครูสุตาธิการี) วัดใหม่หนองพระองค์ จ.สมุทรสาคร
    11. หลวงพ่อกรับ (พระครูธรรมสาคร) วัดโกรกกราก จ.สมุทรสาคร
    12. หลวงพ่อเจริญ (พระครูปัญญาโชติ) วัดทองนพคุณ จ.เพชรบุรี
    13. หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู จ.ลพบุรี
    14. หลวงพ่อชื่น วัดคุ้งท่าเลา จ.ลพบุรี
    15. พระครูสนิทวิทยการ วัดท่าโขลง จ.ลพบุรี
    16. พระครูปิยะธรรมโสภิณ (หลวงพ่อคำ) วัดบำรุงธรรม จ.สระบุรี
    17. พระครูกิตพิจารณ์ (หลวงพ่อผัน) วัดราฎร์เจริญ จ.สระบุรี
    18. พระครูพุทธฉายาภิบาล วัดพระพุทธฉาย จ.สระบุรี
    19. พระครูสุวรรณวุฒาจารย์ (หลวงพ่อมุ่ย) วัดดอนไร่ จ.สุพรรณบุรี
    20. พระวินัยรักขิตาวันมุนี (หลวงพ่อถิร) วัดป่าเลไลย์ จ.สุพรรณบุรี
    21. พระวิบูลเมธาจารย์ วัดดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี
    22. หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว จ.สุพรรณบุรี
    23. หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง จ.นนทบุรี
    24. หลวงพ่อเผือก วัดสาลีโข จ.นนทบุรี
    25. พระครูประกาศสมาธิคุณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ฯกรุงเทพฯ
    27. พระเทพโสภณ (สมเด็จพระมหาธีราจารย์) (นิยม ฐานิสฺสโร) วัดชนะสงคราม กรุงเทพฯ
    28. หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม จ.นครปฐม
    29. พระครูสาธุกิจวิมล (หลวงพ่อเล็ก) วัดหนองดินแดง จ.นครปฐม
    30. หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ จ.กาญจนบุรี
    31. พระครูอุดมสิทธาจารย์ (หลวงพ่ออุตตมะ) วัดวังก์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี
    32. พระครูจันทสโรภาส (หลวงพ่อเที่ยง) วัดม่วงชุม จ.กาญจนบุรี
    33. พระครูโกวิทยาสมุทคุณ (หลวงพ่อเนื่อง) วัดจุฬามณี จ.สมุทรสงคราม
    34. พระครูศรีพรหมโสภิต (หลวงพ่อแพ) วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี
    35. พระอาจารย์ผ่อง (จินดา) วัดจักรวรรคิ์ราชาวาส กรุงเทพฯ
    36. พระครูศรีปริยานุรักษี วัดพันอ้น จ.เชียงใหม่
    37. พระครูวิรุฬห์ธรรมโกวิทย์ วัดเจดีย์สถาน จ.เชียงใหม่
    38. พระครูมงคลคุณาธร วัดหม้อตองคำ จ.เชียงใหม่
    39. หลวงพ่อบุญมี วัดท่าสต๋อย จ.เชียงใหม่
    40. หลวงพ่อแสน วัดท่าแหน จ.ลำปาง
    41. หลวงพ่อเมือง วัดท่าแหน จ.ลำปาง
    42. หลวงพ่อชุบ วัดเกาะวาลุการาม จ.ลำปาง
    43. หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง
    44. หลวงพ่อเงิน วัดเขาสาก จ.ลำปาง
    45. หลวงพ่อบุญสม วัดหัวข่วง จ.ลำปาง
    46. พระวิบูลวชิรธรรม วัดท่าพุทรา จ.กำแพงเพชร
    47. หลวงพ่อจ้อย วัดศรีอุทุมพร จ.นครสวรรค์
    48. หลวงพ่อพรหม ถาวโร วัดช่องแค จ.นครสวรรค์
    49. หลวงพ่อโอด (พระครูนิสัยจริยคุณ) วัดจันเสน จ.นครสวรรค์
    50. หลวงพ่อคัด วัดท่าโบสถ์ จ.ชัยนาท
    51. หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม จ.ชัยนาท
    52. หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม จ.สิงห์บุรี
    53. หลวงพ่อดวง วัดทอง จ.สิงห์บุรี
    54. พระครูอาทรสิกขการ (หลวงพ่อโต๊ะ) วัดเกศไชโย จ.อ่างทอง
    55. พระครูสันทัดธรรมคุณ (หลวงพ่อออด) วัดท่าช้าง จ.อยุธยา
    56. พระครูประภาสธรรมคุณ (หลวงพ่อแจ่ม) วัดวังแดง จ.อยุธยา
    57. พระครูประสาทวิทยาคม (หลวงพ่อนอ) วัดกลางท่าเรือ จ.อยุธยา
    58. พระครูพิพิธวิหารการ (หลวงพ่อเทียม) วัดกษัตราธิราช จ.อยุธยา
    59. พระครูสาธรพัฒนกิจ (หลวงพ่อลมูล) วัดเสด็จ จ.ปทุมธานี
    60. พระครูวิเศษมงคลกิจ (หลวงพ่อมิ่ง) วัดกก กรุงเทพฯ
    61. พระครูอนุกูลวิทยา (หลวงพ่อเส็ง) วัดน้อยนางหงษ์ กรุงเทพฯ
    62. พระครูวิริยกิตติ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ
    63. พระครูภาวณาภิรมย์ วัดปากน้ำภาษีเจริญ กรุงเทพฯ
    64. พระครูโสภณกัลป์ยานุวัฒน์ (หลวงพ่อเส่ง) วัดกัลยาณ์ กรุงเทพฯ
    65. พระครูพินิจสมาจารย์ (หลวงพ่อโด่) วัดนามะตูม จ.ชลบุรี
    66. หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ จ.ระยอง
    67. พระครูวชิรรังษี วัดมฤคทายวัน จ.ประจวบคีรีขันธ์
    68. พระครูวชิรคุณาญาณ วัดในกลาง จ.ประจวบคีรีขันธ์
    69. หลวงพ่อเกตุ วัดเกาะหลัก จ.ประจวบคีรีขันธ์
    70. พระครูอุดมศีลจารย์ (พ่อท่านเย็น) วัดโคกสะท้อน จ.พัทลุง
    71. พระครูพิศาลพัฒนกิจ (พ่อท่านพระครูปลัดบุญรอด) วัดประดู่พัฒนาราม จ.พัทลุง
    72. พระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ วัดดอนศาลา จ.พัทลุง
    73. หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน จ.พัทลุง
    74. หลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย จ.ชุมพร
    75. หลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขต จ.ขอนแก่น
    76. หลวงปู่จันทร์ วัดสำราญ จ.อุบลราชธานี
    77. หลวงพ่ออ่อน วัดประชานิยม จ.กาฬสินธุ์
    78. หลวงพ่อครูบาวัง วัดบ้านเด่น จ.ตาก
    79. หลวงพ่อครูบาตัน วัดเชียงทอง จ.ตาก
    80. หลวงพ่อเกตุ วัดศรีเมือง จ.สุโขทัย
    81. หลวงพ่อปี้ วัดบ้านด้านลานหอย จ.สุโขทัย
    82. พระครูคีรีมาสธรรมคุณ วัดวาลุการาม จ.สุโขทัย
    83. พระครูพิลาศธรรมคุณ วัดธรรมปัญญาราม จ.สุโขทัย
    84. พระครูไกรลาศสมานคุณ วัดกงไกรลาศ จ.สุโขทัย
    85. พระอาจารย์พวง วัดสว่างอารมณ์ จ.สุโขทัย
    86. พระอาจารย์ฉลอง วัดสว่างอารมณ์ จ.สุโขทัย
    87. พระครูพินิจธรรมภาณ วัดวังแดง จ.พิจิตร
    88. พระครูธรรมมานิสิทธิ์ วัดบ้านไร่ จ.พิจิตร
    89. พระอาจารย์ชัย วัดกลาง จ.อุตรดิตถ์
    90. หลวงพ่อบุญ วัดน้ำใส จ.อุตรดิตถ์
    91. หลวงพ่อจันทร์ วัดหาดสองแคว จ.อุตรดิตถ์
    92. พระพิษณุบุราจารย์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก
    93. พระสมุห์ละมัย (พระวรญาณมุนีวัดอรัญญิก) วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก
    94. พระครูศีลสารสัมบัน (สำรวย สัมปันโน) วัดสระแก้วปทุมทอง จ.พิษณุโลก
    95. พระครูอภัยจริยาภรณ์ วัดใหม่อภัยยาราม จ.พิษณุโลก
    96. พระครูวินัยธรสุเทพ วัดแสงดาว จ.พิษณุโลก
    97. พระอาจารย์ถนอม วัดนางพญา จ.พิษณุโลก
    98. พระครูประภาสธรรมมาภรณ์ (หลวงปู่แขก) วัดสุนทรประดิษฐ์ จ.พิษณุโลก
    99. พระครูศรีรัตนาภรณ์ (หลวงพ่อไช่) วัดศรีรัตนาราม จ.พิษณุโลก
    100. หลวงพ่อเปรื่อง วัดคูหาสวรรค์ จ.พิษณุโลก
    101. พระอาจารย์พิมพ์ วัดคูหาสวรรค์ จ.พิษณุโลก
    102. หลวงพ่อเฉลิม วัดโพธิญาณ จ.พิษณุโลก
    103. หลวงพ่อเปรื้อง วัดโพธิญาณ จ.พิษณุโลก
    104. พระอาจารย์ชุ่ม วัดกรมธรรม์ จ.พิษณุโลก
    105. พระอาจารย์โต วัดสมอแข จ.พิษณุโลก
    106. พระครูประพันธ์ (หลวงพ่อพัน) วัดบางสะพาน จ.พิษณุโลก
    107. พระครูวิจารณ์ศุภกิจ (อาจารย์ทองม้วน) วัดวังทอง จ.พิษณุโลก
    108. พระอาจารย์นวล วัดนิมิตธรรมาราม จ.พิษณุโลก
    109. พระอาจารย์ธงชัย วัดวชิรธรรมราชา จ.พิษณุโลก


    [​IMG]


    พุทธคุณของพระชุดนี้ กล่าวขวัญมากโดยเฉพาะด้านแคล้วคลาดและเหนียวสุดๆครับ น่าบูชาเป็นอย่างยิ่งนับแต่นั้นมา ยังมีการชุมนุมของพระเกจิอาจารย์ครั้งไหน จะยิ่งใหญ่เท่านี้อีก

    สำหรับน้ำพระพุทธมนต์ที่แช่พระกริ่งเข้าพิธี ใช้น้ำที่วัดตูม เป็นน้ำที่ออกจากพระเศียรพระพุทธรูปที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เคยใช้ในพิธีชุบพระแสงและเครื่องศัตราวุธ รวมกับน้ำในบ่อน้ำพระพุทธมนต์ วัดพระพายหลวง (บ่อพระร่วง) เมืองเก่าสุโขทัย



    ที่มา: กรุสยาม
     
  7. MrCHAN

    MrCHAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    5,812
    ค่าพลัง:
    +97,448
    [​IMG]



    เบี้ยแก้เปลือยพระครูพิศิษฎ์รัตโนภาส(หลวงพ่อเสียน ปภากโร)วัดมะนาวหวาน ตำบลม่วงเตี้ย อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง

    เบี้ยแก้นี้สร้างตามที่หลวงพ่อได้เล่าเรียนมาจากหลวงพ่อนุ่ม วัดนางใน ด้านในจะบรรจุปรอท อุดด้วยชัน ปิดด้วยแผ่นทองแดงจาร ตอกโค๊ต

    หลวงพ่อเสียน วัดมะนาวหวาน ท่านเป็นศิษย์รุ่นน้องหลวงพ่อทรง วัดศาลาดิน โดยหลวงพ่อเสียนเรียกหลวงพ่อทรงว่า หลวงพี่ทุกครั้ง

    หลวงพ่อเสียนท่านเคยเป็นถึงเจ้าคณะตำบลมาก่อน ปัจจุบันท่านอายุ 84 ปี และศิษย์ร่วมอาจารย์ที่สนิทสนมกันมาก หลวงพ่อเสียนก็เรียกหลวงพี่ทุกครั้ง เป็นการให้เกียรติ์ นั่นก็คือ หลวงพ่อมี วัดม่วงคัน จนผู้คนเลื่องลือในความเก่งกาจทั้งหลวงพ่อทรง หลวงพ่อมี และหลวงพ่อเสียน

    ทั้งสามองค์ชอบแลกเปลี่ยนวิชากันเป็นประจำ ในพื้นที่อำเภอวิเศษชัยชาญ ผู้คนนับถือหลวงพ่อเสียนมาก ว่าท่านเก่งไม่เป็นรองใครเหมือนกัน เบี้ยแก้ หลวงพ่อเสียนท่านจะทำเรื่อยๆ พอหมดก็สร้างใหม่

    จัดเป็นเกจิเมืองอ่างทองอีกองค์หนึ่งที่ ยังรักษาตำนานเบี้ยแก้ แห่งเมืองอ่างทองไว้ให้ลูกหลานได้ใช้ของดี เพราะหมดรุ่นนี้แล้ว ของเฉพาะตัวแบบนี้ ไม่รู้ว่าใครจะเสกได้เหมือนเกจิรุ่นนี้อีกแล้ว

    ถามท่านว่า เบี้ยแก้ นี่ใช้ทางใหน ท่านบอกได้หมด ให้ร้ายกลายเป็นดี กันคุณไสย ถูกกระทำยำยี ถอนของที่ไม่ดีในตัว แก้อาถรรณ์ต่างๆ หลวงพ่อเสกอยู่นานจึงออกให้บูชา

    หลังจากหลวงพ่อเสียนมรณภาพเบี้ยแก้ก็หมดจากวัดอย่างรวดเร็ว สุดยอดเบี้ยแก้ของเมืองอ่างทองยุคปัจจุบันครับ

    [​IMG]


    ประวัติพระครูพิศิษฎ์รัตโนภาส(หลวงพ่อเสียน ปภากโร)เจ้าอาวาสวัดมะนาวหวาน อดีตเจ้าคณะตำบลม่วงเตี้ย

    ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ. 2470 โดยได้บวชเณรตั้งแต่เล็กจนครบอายุบวชพระ เมื่อปี 2490

    ได้บวชและอยู่ที่วัดมะนาวหวาน จนหลวงพ่อองค์ก่อนมรณภาพ จึงได้แต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสเมื่อปี 2497 จนถึงปัจจุบันรวมบวชมา 65 พรรษา อายุ 85 ปี

    หลวงพ่อเสียนท่านมีแต่ให้ และส่งเสียเด็กวัดจนได้ดิบได้ดีจำนวนมากและมีลูกศิษย์ลูกหาอยู่ทั่วประเทศ ทุกวันจะมีมาหาไม่ขาดสายเพราะท่านเป็นพระสายเมตตามหานิยม

    ที่สำคัญท่านออกวัตถุมงคลหลายรุ่นด้วยกันที่โด่งดัง รุ่น 1 เหรียญรูปไข่ รุ่นสร้างศาลาการเปรียญปี 17 ตะโพนกรามช้างที่โด่งดัง

    หลวงพ่อเสียน เมื่อบวชแล้ว ท่านก็อยู่ที่วัดมะนาวหวานรับใช้หลวงพ่อเล็กพระอาจารย์ที่ถ่ายทอดวิชาให้ท่านมากมายเป็นพระอริยสงฆ์ที่กราบได้สนิทใจ

    ท่านเป็นผู้ทรงศีลปฏิบัติตามหลักพระพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด ท่านได้รับการถ่ายทอดวิชาต่าง ๆ มาจากหลวงปู่เล็ก (อดีตเจ้าอาวาสวัดมะนาวหวาน)

    หลวงพ่อเสียน ท่านละสังขารอย่างสงบเมื่อเวลา 08.00 น. ของวันที่ 3 เม.ย. 55 ที่ผ่านมาครับ

    ข้อมูลจากราชาพระเครื่อง
    http://www.ราชาพระเครื่อง.com/forum/index.php?topic=3083.0
     
  8. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    [​IMG]



    [​IMG]



    [​IMG]



    [​IMG]




    เหรียญดวงพระฤกษ์ พิธีจักรพรรดิ มหาพุทธาภิเษก ปี ๒๕๑๕
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ธันวาคม 2014
  9. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    [​IMG]


    [​IMG]


    พระเกศาครูบาพรหมา พฺรหมจกฺโก (๗ มหานคร)


    มวลสาร

    เกศาครูบา ผงธูปจากวัดที่เก่าแก่และศักดิ์สิทธิ์ 70จังหวัด อาทิ พระธาตุดอยสุเทพ วัดพระแก้ว พระธาตุพนม พระปฐมเจดีย์ ฯลฯ ครั่ง ชัน แผ่นทองคำเปลว ว่านเสน่ห์จันทร์ขาว ว่านพญานางกวัก ว่านสามพันตำลึง ว่านนาคบ่วงบาศ ว่านมหานิลดำ ว่านทรหด ว่านงาช้าง ว่านหางช้าง ดอกบัวสัตตบงกช ดอกมะลิ ดอกหอมไกล ดอกราตรี ดอกแก้ว ดอกจำปา ดอกจำปี ดอกบุนนาค ดอกสารภี ส้มป่อย และดิน ๗ มหานคร


    [​IMG]


    องค์พระเกศาครูบาได้จัดสร้างตามศาสตร์โบราณเมืองเหนือไว้ถูกต้องทุกขั้นตอน




    [​IMG]

    [​IMG]
    [​IMG]


    จากหนังสือศักดิ์สิทธิ์ ฉบับที่ 372
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤษภาคม 2015
  10. ddd445

    ddd445 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2013
    โพสต์:
    7,468
    ค่าพลัง:
    +38,819
    น้อมกราบนมัสการ ลป.พรหมจักโก
     
  11. sellcat

    sellcat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    204
    ค่าพลัง:
    +6,706
    พระปิดตา พิมพ์หยดน้ำ แจกกรรมการ หลวงปู่ทองดำ  วัดท่าทอง เนื้อมหาว่าน,ผงพุทธคุณ,ชานหมาก และ เกศาหลวงปู่ ก้นอุดเทียนชัย หลวงปู่เจิมแป้งเจิมด้วยตัวเอง สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2538 จำนวนการสร้าง 30องค์ เป็น1ใน30องค์ หายากมากๆ
    [​IMG]

    สุดยอดของผู้ชอบของพิเศษ พระปิดตาพิมพ์หยดน้ำ แจกกรรมการ 
    หลวงปู่ทองดำ วัดท่าทอง พระเถรจารย์ 5แผ่นดิน ศิษย์ตัวจริงหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ปลุกเสกมหาพิธี 2วาระ
    พระปิดตา พิมพ์หยดน้ำ แจกกรรมการ หลวงปู่ทองดำ ฐิตวัณโณ วัดท่าทอง อ.เมือง จ.อุดรดิตถ์ เนื้อมหาว่าน,ผงพุทธคุณ,ชานหมาก และ เกศาหลวงปู่ ก้นอุดเทียนชัย หลวงปู่เจิมแป้งเจิมด้วยตัวเอง ดำเนินการจัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2538 จำนวนการสร้าง 30องค์ (องค์นี้เจ้าของเก่าคือ พระปลัดแดง ศิษย์ใกล้ชิดที่คอยดูแลหลวงปู่ครับ บูชาจากคนสนิทของพระปลัดแแดงมาอีกทีครับ)

    วัตถุประสงค์ : ในโอกาสอันเป็นมหามงคลที่หลวงพ่อทองดำ สิริอายุครบ99ปี

    วาระพิธีพุทธาภิเษก 2วาระ พร้อมพระกริ่ง รุ่นทองดำ99
    วาระที่ 1 : เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2538
    รายนามพระคณาจารย์ที่ร่วมปลุกเสก อาทิ
    1.พระนิมมานโกวิท(ทองดำ) วัดท่าทอง 
    2.หลวงปู่คำพันธ์ วัดธาตุมหาชัย 
    3.หลวงพ่อเมี้ยน วัดโพธิ์กบเจา 
    4.พระมหาโพธิ์ วัดคลองมอญ 
    5.หลวงพ่อสิริ วัดตาล จ.นนทบุรี
    6.หลวงพ่อแม้น วัดหน้าต่างนอก 
    7.หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว 
    8.หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน 
    9.หลวงพ่อเฉลิม วัดพระญาติ 
    10.หลวงวพ่อสมควร วัดถือน้ำ 
    11.หลวงพ่อตี๋ วัดหลวงมหาราช 
    12.หลวงพ่ออ่อน วัดเนินมะเกลือ จ.พิษณุโลก
    13.หลวงพ่อเหลือ วัดท่าไม้เหนือ จ.อุตรดิตถ์
    14.พระครูวินัยธรสมโภช(อิฏฐ์)วัดจุฬามณี 
    15.พระครูปลัด มล.ทวีศักดิ์ ดารากร(น้ำมนต์เดือด)จ. มุกดาหาร
    16.พระครูปลัดบัวลอย ญาณลกฺชิโต (บัวลอย)วัดท่าตะเคียน จ.พิษณุโลก
    17.พระครูภาวนากิติคุณ วัดเกษม จ.อุตรดิตถ์
    18.หลวงพ่อแกง ปสาโธ วัดน้ำปิง จ.อุตรดิตถ์
    19.พระปลัดไพรินทร์ ทนฺจิตโต วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.พิษณุโลก (เจ้าพิธี) 

    วาระที่ 2 : เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538
    รายนามพระคณาจารย์ที่ร่วมปลุกเสก อาทิ
    1.พระนิมมานโกวิท(ทองดำ) วัดท่าทอง 
    2.หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ 
    3.หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ 
    4.หลวงปู่หงษ์ วัดเพชรบุรี 
    5.พระครูกาชาด(บุญทอง) วัดดอนศาลา 
    6.หลวงพ่อพรหม วัดบ้านสวน
    7.ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี 
    8.ครูบาสร้อย วัดมงคลคีรีเขตร์
    9.อ.อิฏฐ์ วัดจุฬามณี 
    10.พระสมุห์เจือ วัดกลางบางแก้ว
    11.พระมหาโพธิ์ ญาณสังวโร (โพธิ์)วัดคลองมอญ 
    12.หลวงปู่พรหมา วัดสวนหินผานางคอย 
    13.หลวงพ่อคง วัดตะคร้อ 
    14.หลวงพ่อสวัสดิ์ วัดบึงบวรสถิตย์ 
    15.หลวงพ่อบัวลอย วัดท่าตะเคียน 
    16.พระปลัดไพรินทร์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ 
    พระสวดพิธีกรรม 9 รูป ศิษย์สาย หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว



    หลวงปู่ทองดำ ท่านเป็นลูกศิษย์และลูกบุญธรรมของ ลพ.เงิน พุทธโชติ (วัดบางคลาน จ.พิจิตร) ท่านคอยรับใช้ใกล้ชิดท่านอนุญาตให้พักกุฎิเดียวกับท่าน หลวงพ่อเงินได้สอนสรรพวิชาอาคมไสยเวทต่าง ๆ คาถาที่หลวงพ่อเงินสอนไว้นั้นที่สำคัญคือ “นะโมพุทธายะ” (พระเจ้าห้าพระองค์)ซึ่งต่อมาหลวงปู่ได้ใช้เป็นคาถาประจำตัวของท่านตลอดมาวัดบางคลาน 


    ประวัติโดยย่อหลวงปู่ทองดำ ฐิตวัณโณ วัดท่าทอง
    ภูมิหลังชาติกำเนิด
    วันพุธ ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 5 พุทธศักราช 2441 ณ.บ้านไซโรงโขน อ.ตะพานหิน จ.พิจิตร นายบุญนาค นางจ่าย แม่พริ้ง ได้ให้กำเนิดบุตรคนที่ 4 เพศชาย(ในจำนวนพี่น้องชายหญิง 8 คน) บิดามารดาได้ตั้งชื่อ เด็กชายทองดำ เม่นพริ้ง

    การศึกษา
    วัยเด็ก 
    ขณะเด็กชายทองดำ อายุ 3 ขวบ บิดามารดาได้นำไปถวายเป็นบุตรบุญธรรมกับหลวงพ่อเงิน พุทธโชติ (วัดบางคลาน จ.พิจิตร) หลวงพ่อเงินเห็นครั้งแรกได้เอ๋ยคำออกมา "ไอ้หนูเด็กน้อยคนนี้เป็นเทวดามาเกิด ใครเสี้ยงก็ไม่ได้ มาเป็นลูกของเราเถิดนะ" หลวงพ่อเงินเอาผ้าผืนลงปูรองรับเด็กน้อยคนนี้ ทำพิธีรับลูก จากนั้นเด็กคนนี้ได้รับการเลี้ยงดูอุปถัมภ์ สั่งสอน อบรม วิชาความรู้ และสรรพวิชาต่าง ๆ โดยได้พักอาศัยกับหลวงพ่อ เมื่อหลวงพ่อเงินเงินท่องบทสวดมนต์เด็กชายทองดำก็สามารถท่องได้จบเล่มในวันเดียว ชาวบ้านรู้ข่าวต่างแห่มาดูการใหญ่ว่าเด็กน้อยคนนี้มีหน้าตาอย่างไร กระทั่งโตขึ้นบิดามารดามารับเด็กชายทองดำไปเล่าเรียนศึกษากับอาจารย์โต (เจ้าอาวาสวัดท่าทอง ต.วังกะพี้ จ.อุตรดิตถ์ในสมัยนั้น)

    วัยหนุ่มฉกรรจ์
    นายทองดำได้ฝึกฝนและศึกษาศิลปะการต่อสู้แม่ไม้มวยไทยจนมีความชำนาญ จนได้เป็นนักมวยที่มีฝีมือดีคนหนึ่ง ซึ่งช่วงวัยหนุ่มนี้ทองดำได้เพื่อนคนหนึ่งชื่อ "เล็กย่งหลี"(ต้นตระกูลเล็กอุทัย)มีรูปร่างเล็กไปไหนไปด้วยกันประจำ ได้ฝึกชกมวยด้วยกันมา หากออกชกมวยที่ไหนจะให้เล็กย่งหลีขึ้นไปเปรียบหาคู่ชก แต่ตอนเวลาชกนายทองดำจะเป็นผู้ชกแทน ก่อนชกนายทองดำจะบริกรรมคาถาที่ได้ร่ำเรียนมาโยมปู่จนรู้สึกตัวหนา(ของขึ้น)และนายทองดำก็สามารถชกมวยชนะแทบทุกครั้ง อายุครบเกณฑ์ทหาร ได้เข้ารับเป็นทหาร 2 ปี ปลดจากทหารประจำการแล้วจึงได้อุปสมบทสู่ร่มพระศาสนา

    สู่ร่มพระศาสนา
    อุปสมบทเมื่ออายุ 22 ปี ณ. พระอุโบสถ วัดวังหมู ต.หาดกรวด อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ โดยมีพระครูวิเชียรปัญญามหามุนี (เรือง )เจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ เจ้าอาวาสวัดท่าถนน ต.ท่าอฐ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ ในขณะนั้นเป็นองค์อุปัชฌาย์ เมื่อวันที่ 5 พ.ค. 2463 พระอาจารย์แส เจ้าอาวาสวัดวังหมู ต.หาดกรวด อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ฐิตวณโณ” เมื่ออุปสมบทแล้ว ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดท่าทอง 1 พรรษา ทางวัดท่าทอง ต.วังกะพี้ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ ตำแหน่งเจ้าอาวาสว่างลง คณะศรัทธา วัดท่าทองได้ลงความเห็นพ้องกัน โดยได้ไปกราบนมัสการเจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อขออนุญาตจากเจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ด้วยดี คณะศรัทธาให้”พระภิกษุทองดำ” เพื่อนิมนต์ให้ไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดท่าทอง ซึ่งหลวงพ่อเองก็มีเจตนาอันบริสุทธิ์และจิตใจอันแน่วแน่ต่อพระพุทธศาสนาและเป็นโอกาสที่จะได้พัฒนาทำนุบำรุงเพื่อจรรโลงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุงเรืองยิ่งขึ้นสมความตั้งใจ หลวงพ่อจึงรับภารกิจนิมนต์ครั้งนี้และย้ายมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดท่าทอง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2468เป็นต้นมา

    การศึกษาพระปริยัติธรรม
    การที่หลวงย้ายมาจากวัดท่าทองมาอยู่วัดท่าถนน ซึ่งเป็นวัดของพระอุปัชฌาย์ของท่านเป็นเจ้าอาวาสอยู่นั้น ด้วยความมุ่งมั่นที่จะศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างจริงจัง เพื่อศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับพระธรรมวินัยให้ละเอียดและถ่องแท้ หลวงปู่ได้มีความขยันเพียนตั้งใจศึกษาด้วยความวิริยะอุตสาหะภายในปีเดียวก็สอบได้นักธรรมตรี (พ.ศ.2466) ด้วยเหตุแห่งการศึกษาทางพระธรรมวินัยในสมัยนั้นยังไม่เจริญพอการศึกษามีเพียงชั้นนักธรรมตรีเท่านั้น ฉะนั้นการศึกษาของท่านต้องหยุดชะงักลง

    ตำแหน่งการปกครองและสมณศักดิ์ที่ได้รับตั้งแต่ปี พ.ศ.2468
    หลวงปู่มีตำแหน่งการปกครองคณะสงฆ์และสมณศักดิ์พัดยศดังนี้
    - ปีพ.ศ.2468 อายุ 27 ปี พรรษา 5 ดำลงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดท่าทอง
    - ปี พ.ศ.2478 ได้รับสมณศักดิ์แต่งตั้งเป็นพระธรรมธรฐานานุกรมของพระครูวิเชียรปัญญา มหามุณีศรีอุตรดิตถ์ เจ้าคณะอุตรดิถต์
    - ปี พ.ศ.2482 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะเป็นเจ้าคณะตำบลหาดกรวด-วังกะพี้ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์และในปีนั้นได้เลือนสมณศักดิ์แต่งตั้งเป็นพระปลัดฐานานุกรม ของพระครูธรรมสารโกวิทย์ (ยศ)เจ้าคณะแขวงเมืองอุตรดิตถ์
    - ปี พ.ศ. ได้รับการแต่งตั้งเป็นสาธารณูปการ อ.เมืองอุตรดิตถ์
    - ปี พ.ศ. 2487 ได้รับพระราชทานเป็นพระครูธรรมมาภรณ์ประสาท
    - ปี พ.ศ.2497 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์
    - ปี พ.ศ.2498 ได้รับการแต่งตั้งเป็นสาธารณูปการจังหวัดอุตรดิตถ์
    - ปี พ.ศ.2504 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชทานคณะชั้นสามัญนาม “พระนิมมานโกวิท”
    - ปี พ.ศ.2510 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นคณะอำเภอเมืองอุตรดิตถ์
    - ปี พ.ศ.2542 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรง ตำแหน่งที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จวบจนมรณภาพ(ในปี พ.ศ.2548)

    การศึกษาด้านเวทย์มนต์คาถาอาคม
    ช่วยวัยเด็กหลวงปู่ได้ติดตามบิดาล่องเรือขายยาสูบระหว่างอุตรดิตถ์ จ.พิจิตร จ.นครสวรรค์ บิดามารดาได้ฝากเป็นเด็กวัด เรียนหนังสือกับหลวงพ่อเงิน พุทธโชติ วัดบางคลาน จ.พิจิตร คอยรับใช้ใกล้ชิดท่านอนุญาตให้พักกุฎิเดียวกับท่าน หลวงพ่อเงินได้สอนสรรพวิชาอาคมไสยเวทต่าง ๆ คาถาที่หลวงพ่อเงินสอนไว้นั้นที่สำคัญคือ “นะโมพุทธายะ” (พระเจ้าห้าพระองค์) ซึ่งต่อมาหลวงปู่ได้ใช้เป็นคาถาประจำตัวของท่านตลออดมา นอกจากนั้นหลวงปู่ยังได้ศึกษาวิชาอาคมกับโยมปู่ของท่าน ซึ่งเป็นวิชาอยู่ยงคงกระพัน เพื่อป้องกันตนเอง หลวงปู่ได้ใช้วิชานี้ปลุกเศกตัวเองก่อนจะขึ้นชกมวยทุกครั้ง โดยก่อนจะขึ้นชกมวยหลวงปู่จะบริกรรมคาถาจนรู้สึกว่าเนื้อเริ่มหน่าขึ้น (ของชึ้น)จึงจะชกได้

    เมื่อขณะหลวงอุปสมบทแล้ว ได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดท่าถนน (วัดหลวงพ่อเพ็ชร) ซึ่งอยู่ในตัวเมืองอุตรดิตถ์ หลวงปู่ทราบว่าที่วัดกลางอยู่ห่างจากวัดท่าถนนทางทิศใต้ประมาณ 2 กิโลเมตร มีพระภิกษุชราอยู่รูปหนึ่ง “หลวงพ่อทิม” ขาดการดูแลเอาใจใส่ หลวงปู่จึงได้ใช้เวลาว่างเดินทางจากวัดท่าถนนมาวัดกลางทุกวัน เพื่อปรนนิบัติรับใช้หลวงพ่อทิมด้วยจิตใจเมตตาและให้ความเคราพนับถึอ โดยหลวงปู่ได้ปฎิบัติภารกิจเป็นประจำทุกวัน ได้แก่ ตักน้ำ ขึ้นมาจากท่าแม่น้ำน่าน นำมาใส่ตุ่มไว้ให้หลวงพ่อทิมได้สรง เก็บกวาดกุฎิ ชำระล้างภาชนะต่างๆ ประจำมิขาด โดยหลวงปู่มิได้หวังสิ่งค่าตอบแทนใดๆทั้งสิ้น แต่ทำไปเพราะจิตเมตตาแก่ภิกษุผู้สูงอายุโดยแท้ซึงจากการกระทำความดีของหลวงปู่ ทำให้หลวงพ่อทิมซึ่งขณะนั้นไม่มีผู้ใดทราบความเป็นมาหลวงพ่อทิมว่าเป็นพระภิกษุเชี่ยวชาญมนต์คาถาทุกด้าน 

    ซึ่งกิตติศัพท์ ชาวบ้านย่านเกาะบางโพและตำบลใกล้เคียงทราบคือ “ตะกรุดโทน” ซึ่งหลวงพ่อปลุกเศกโดยดำลงน้ำจารึกอักขระบนแผ่นตะกรุดจนกว่าจะเสร็จ *น่าเสียดายวันหนึ่งมีมนุษย์ผู้เขลาด้วยปัญญา นำตะกรุดที่ท่านมอบไปผูกคอสุนัขและยิงสุนัข แต่ปาฎิหารย์กระสุนด้านหมด เมื่อหลวงพ่อทิมเห็นสุขันวิ่งหลบใต้กุฎิจึงถอดออกจากคอสุนัข ท่านโกรธจึงประกาศงดให้เครื่องรางของขลังแก่ชาวบ้าน หลวงปู่เมื่อได้รับมอบวิชาและตำราจากหลวงพ่อทิมไปแล้ว ท่านหมั่นศึกษาภาวนาปฎิบัติ ทุกบท ทุกวรรคตอน จนสิ้นกระบวนความในตำรา จนชาวบ้าน บ้านเกาะต่างกล่าวกันว่าหลวงพ่อทิมไปเกิดที่วัดท่าทอง หลวงปู่ได้ใช้คาถาอาคมช่วยเหลือชาวบ้านตลอดมา ประพรมชาวบ้านที่แวะเวียนมากราบนมัสการท่าน ซึ่งน้ำมนต์นี้หลวงปู่จะปลุกเศกทุกวัน ใส่โองมังกรขนาดใหญ่

    สภาพสวยเดิมๆไม่ผ่านการบูชา เจ้าของเก่าซีลซองเก็บรักษาอย่างดี พิมพ์คมชัดลึกแป้งเจิมเดิม เกศาหลวงปู่เยอะเลย พุทธคุณค้าขายโภคทรัพย์ เมตตามหานิยม คลาดแค้ลว
     
  12. MrCHAN

    MrCHAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    5,812
    ค่าพลัง:
    +97,448


    เหรียญครูบาชัยวงศ์ ปี 2535 วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ลำพูน ฉลองอายุ 80 ปี

    [​IMG]

    [​IMG]

     
  13. Amata_club

    Amata_club เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    27,078
    ค่าพลัง:
    +52,180
    [​IMG]

    [​IMG]

    มาเที่ยววัดกันบ้างครับ หลวงปู่เปลี่ยน ฐาวโร (พระครูโสภณ บุญญาธร) วัดอนุกุญชราราม (วัดช้างน้อย) อ.บางไทร อยุธยา
     
  14. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326



    ขอบคุณคุณ Amata_club ที่มาแนะนำกันครับ ผมเองก็เพิ่งกลับมาจากไหว้พระทำบุญที่วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม จ.ลำพูน นำบุญมาให้ทุกท่านโมทนาร่วมกันครับ
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 ธันวาคม 2014
  15. Amata_club

    Amata_club เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    27,078
    ค่าพลัง:
    +52,180
    วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ดินแดนศักดิ์สิทธิ์

    สาธุ สาธุ สาธุ
     
  16. ดุจเพชร

    ดุจเพชร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2014
    โพสต์:
    269
    ค่าพลัง:
    +1,456
    ขออนุโมทนาด้วยครับ สาธุ สาธุ สาธุ
     
  17. ดุจเพชร

    ดุจเพชร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2014
    โพสต์:
    269
    ค่าพลัง:
    +1,456
    ท่านกล่าวได้ถูกต้องแล้ว.... สาธุ สาธุ สาธุ
     
  18. MrCHAN

    MrCHAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    5,812
    ค่าพลัง:
    +97,448


    เหรียญมหาลาภปี 2538 ครูบาชัยวงษ์ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ลำพูน

    [​IMG]


    [​IMG]
     
  19. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    115
    ค่าพลัง:
    +225,719
    <a href="http://s1093.photobucket.com/user/wannachai007/media/DSC04320.jpg.html" target="_blank"><img src="http://i1093.photobucket.com/albums/i434/wannachai007/DSC04320.jpg" border="0" alt=" photo DSC04320.jpg"/></a>

    <a href="http://s1093.photobucket.com/user/wannachai007/media/DSC04213.jpg.html" target="_blank"><img src="http://i1093.photobucket.com/albums/i434/wannachai007/DSC04213.jpg" border="0" alt=" photo DSC04213.jpg"/></a>
    <a href="http://s1093.photobucket.com/user/wannachai007/media/DSC04216.jpg.html" target="_blank"><img src="http://i1093.photobucket.com/albums/i434/wannachai007/DSC04216.jpg" border="0" alt=" photo DSC04216.jpg"/></a>
     
  20. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    [​IMG]


    [​IMG]


    ในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ขออำนาจคุณแห่งพระศรีรัตนตรัยและครูบาอาจารย์ทุกองค์อันมีสมเด็จองค์ปฐม หลวงปู่ปาน หลวงพ่อฤาษี ครูบาวงศ์ หลวงปู่สิม เป็นที่สุดดลบันดาลให้ทุกท่านมีความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคล อุดมสมบูรณ์พูนผล คิดหวังสิ่งใดก็ให้สมเร็จสมความปรารถนา คำว่าไม่รู้ ไม่มีอย่าบังเกิดแก่ทุกท่านตลอดไปคร๊าบบ


    ขอขอบคุณพี่วรรณ พี่ตี๋ พี่โญ คุณเหน่ง ที่คอยนำเรื่องราวดีๆมาให้ศึกษากัน น้องเอ็ม น้องนิก พระสารทะ คุณพ่อณภัทร คุณชาตรี ช้างน้อย คุณAmata_club คุณอาณัติ คุณหมื่นลี้ ที่คอยให้กำลังใจมาตลอด และทุกท่านๆที่แวะเวียนกันเข้ามาศึกษาข้อมูล ขอขอบคุณทุกๆท่านเลย



    สวัสดีปีใหม่ทุกท่านครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤษภาคม 2015

แชร์หน้านี้

Loading...