ธารน้ำแข็งหิมาลัยส่อแววลดฮวบ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย วิปัศย์, 18 พฤศจิกายน 2012.

  1. วิปัศย์

    วิปัศย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    178
    ค่าพลัง:
    +1,443
    [​IMG]

    ธารน้ำแข็งที่เทือกเขาหิมาลัยส่อแววลดลงในอีกหลายสิบปีข้างหน้านี้

    ศาสตราจารย์ซัมเมอร์ รูปเปอร์ ศาสตราจารย์ด้านภูมิศาสตร์มหาวิทยาลัยไบรห์แฮม ยังที่ภูฏานเปิดเผยงานวิจัยการศึกษาเกี่ยวกับมรสุมที่เกิดขึ้นกับเทือกเขาหิมะลัย โดยงานวิจัยนี้ได้รับการเผยในวารสารวิชาการ Geophysical Research Letters แล้ว

    งานวิจัยของ ศ.รูปเปอร์ เผยว่า หากสภาพอากาศของโลกยังเป็นเช่นนี้อยู่ ธารน้ำแข็งของเทือกเขาหิมาลัยที่ภูฏานราว 10 เปอร์เซ็นต์จะอันตรธานหายไปในอีก 10 ปีข้างหน้านี้ และจะมีน้ำหายไปอีกมหาศาล

    ศ.รูปเปอร์บอกว่า อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นเป็นเพียงแค่ตัวการข้อหนึ่งเท่านั้นของการที่ธารน้ำแข็งที่จะหายไป แต่มีปัจจัยอีกหลายอย่างที่ทำให้ธารน้ำแข็งลดลงไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นลม ความชื้น และปริมาณหยาดน้ำฟ้า ซึ่งหากเกิดความไม่สมดุลขึ้นที่บริเวณธารน้ำแข็งความยาว 13 ไมล์ที่ภูฏานนี้ พื้นที่นี้จะหายไปจนไม่มีเหลือเลยในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้านี้

    "ธารน้ำแข็งส่วนนี้อุ่นขึ้นมาเยอะในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมานี้ ซึ่งปัจจุบันกำลังมีผลกระทบอย่างมาก" ศ.รูปเปอร์อธิบาย

    ในความเป็นจริงแล้ว อัตราการตกของหิมะที่ภูฏานคงต้องมีมากขึ้นเป็นสองเท่าหากไม่ต้องการให้ธารน้ำแข็งหายไป แต่ความเป็นจริงคงไม่เกิดขึ้นเพราะอุณหภูมิที่อุ่นขึ้นกลับก่อให้เกิดฝนตกมากกว่าหิมะ หากว่าพื้นที่ธารน้ำแข็งเสียน้ำไปมากกว่าที่ได้กลับคืนมา ผลรวมของฝนและธารน้ำแข็งที่ละลายก็จะทำให้เกิดน้ำท่วมได้ ซึ่งก็อาจจะทำให้หมู่บ้านที่อยู่รอบๆได้รับผลกระทบ

    "ประชากรจำนวนมากของโลกอยู่ใต้การไหลของเทือกเขาหิมะลัย มีวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์มากมายที่อาจจะเสียไปได้ ไม่ใช่แค่คนภูฏานเท่านั้น แต่ประเทศเพื่อนบ้านก็กำลังเผชิญกับความเสี่ยงลักษณะเดียวกัน" ศ.รูปเปอร์อธิบาย

    ศ.รูปเปอร์ได้ศึกษาจนได้พลว่า หากว่าอุณหภูมิเพิ่มขึ้นเพียงแค่ 1 องศา ธารน้ำแข็งที่ภูฏานจะลดลงไป 25 เปอร์เซ็นต์ และปริมาณน้ำจะลดลงปีละ 65 เปอร์เซ็นต์ หากสภาพอากาศยังคงอุ่นไปเรื่อยๆเช่นนี้ โอกาสที่การทำนายดังกล่าวจะเป็นจริงก็มีมากขึ้น

    เพื่อให้การทำนายโมเดลสำหรับภูฏานแม่นยำมากขึ้น ศ.รูปเปอร์และทีมงานนักศึกษาปริญญาโทได้ร่วมกันทำวิจัยกับมหาวิทยลัยโคลัมเบีย และศูนย์สังเกตการณ์ Lamont-Doherty ของนาซ่า ไม่ว่าจะเป็นการติดตามปริมาณน้ำฝนในป่า และความแห้งแล้งต่างๆเพื่อให้ได้ข้อมูลของน้ำแข็งมา จากนั้นได้ติดตามข้อมูลจากสถานีพยากรณ์อากาศและจากอุปกรณ์ติดตามธารน้ำแข็งที่สามารถใช้เก็บรวมรวมข้อมูลในเวลาจริงเป็นรายเดือนและรายปีได้

    "ต้องใช้เวลา 7 วันในการเก็บข้อมูลธารน้ำแข็งที่กำลังศึกษา" ศ.รูปเปอร์อธิบายถึงงานวิจัย โดยเพิ่งจะกลับมาจากภาคสนามในเดือนตุลาคม

    การทำนายและการทำงานภาคสนามของ ศ.รูปเปอร์ ส่วนใหญ่แล้วจะดูที่ธารน้ำแข็งที่ภูฏาน และทางภาครัฐก็หวังว่า งานวิจัยชิ้นนี้จะมีส่วนช่วยในการตัดสินใจระยะยาวเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของประเทศและการรับมือกับอุทกภัย

    "ก็เป็นไปได้ที่เราจะได้แนวคิดที่ดีขึ้นว่าจะสร้างบ้นที่ไหนหรือจะสร้างโรงไฟฟ้าที่ไหน เราก็หวังว่าวิทยาศาสตร์ที่ก้าวหน้าจะทำให้ได้วิธีการแก้ปัญหาเชิงวิศวกรรมที่ดีเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีในอีกหลายสิบปีข้างหน้านี้"



    อ้างอิง: Brigham Young University (2012, November 15). Himalayan glaciers will shrink by almost 10 percent, even if temperatures hold steady. ScienceDaily. Retrieved November 17, 2012, from Himalayan glaciers will shrink by almost 10 percent, even if temperatures hold steady

    งานวิจัย: Summer Rupper, Joerg M. Schaefer, Landon K. Burgener, Lora S. Koenig, Karma Tsering, Edward R. Cook. Sensitivity and response of Bhutanese glaciers to atmospheric warming. Geophysical Research Letters, 2012; 39 (19) DOI: 10.1029/2012GL053010

    http://www.vcharkarn.com/vnews/154657
     
  2. hiflyer

    hiflyer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    3,321
    ค่าพลัง:
    +15,681
    ขอบคุณครับ

    .... มันเป็นวัฏจักรที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ สักวันก้อต้องเกิด ...


    .
     
  3. naichain

    naichain เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    46
    ค่าพลัง:
    +314
    ก็สมควรที่ได้รับผลแบบนี้ น่ะครับ โดนกันหมดทุกคนยุติธรรมดีน่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...