ธรรมะกับการปฏิบัติธรรม

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย zerozodiac, 17 กุมภาพันธ์ 2011.

  1. zerozodiac

    zerozodiac Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    270
    ค่าพลัง:
    +66
    สวัสดีครับทุกท่าน ก่อนอื่นกระผมต้องแนะนำตัวก่อน ผมเป็นแค่นักศึกษาธรรมดาๆ คนหนึ่งแค่นั้นเองครับ แล้วเริ่มมาศึกษาธรรมเมื่อต้นปีที่ผ่านมา โดยผมจะเล่าคร่าวๆว่าเหตุใดผมถึงได้มาศึกษาธรรม เริ่มจาก ดูดวง >เปิดญาณ >นั่งสมาธิ > ทำบุญ >สวดมนต์ >เข้าเว็บพลังจิต >อยากได้ตาที่3 >อยากมีพลังลมปราณ >เจออาจารย์ในอดีตชาติ >ท่านแนะนำให้ฝึกจิต ไม่สอนอภิญญา >ฝึกเรื่อยๆ >โดนทำโทษ เพราะยึดติดความคิด หลงตัวเอง >พิจารณาตัวเองใหม่ >เจอหนังสือเล่มหนึ่ง ราคา20บาท >อ่านไปแค่ไม่กี่หน้า “จิตว่าง” ความรู้สึกเหมือนเข้าใจกับโจทย์เลข >ขอโทษอาจารย์ >อาจารย์แนะนำแบบใกล้ชิด เพราะว่าจิตละเอียด >ณ ปัจจุบันก็ยังถึงตรงนี้อยู่ครับ
    หนังสือเล่มนี้ผมอยากให้ทุกท่านได้อ่านกัน แต่เนื่องด้วยผมมีเล่มเดียวและไม่มีกำลังที่จะพิมพ์แจกจ่าย กระผมจึงได้แค่คัดลอกทุกตัวอักษรที่อยู่ในหนังสือเล่มนี้มาหละครับ ชื่อหนังสือ “ธรรมะกับการปฏิบัติธรรม” มีทั้งหมด 147 หน้า กระผมจะค่อยๆทยอยมาลงทีละตอนจนครบทุกหน้านะครับ <O:p></O:p>
    ...........................................................................................................................................................<O:p></O:p>
    Œ ใจ ใจ ใจ (ธรรมะเป็นเรื่องของใจ)<O:p
    ปฏิบัติธรรมเพื่ออะไร?<O:p
    ปฏิบัติธรรมเพื่อให้ใจพ้นทุกข์ได้เท่านั้นเอง<O:p
    ใจพ้นทุกข์นั้นเป็นอย่างไร?<O:p
    ใจพ้นทุกข์ คือ การทำใจให้ได้ต่อการ ได้ลาภ ยศ เกียรติสรรเสริญ จิตก็ไม่หลงยินดี ไม่หลงในสิ่งที่ได้ ในขณะเดียวกัน หากมีการ สิ้นลาภ สิ้นยศ สิ้นเกียรติสรรเสริญ อีกทั้งมีคำตำหนินินทา อักเรียกว่า โลกธรรม๘ ใจก็ปกติไม่ตื่นเต้นหวั่นไหว แม้แต่นิดเดียว ต่อการสูญสิ้น<O:p
    เมื่อใดยังทำใจไม่ได้ ก็ต้องทุกข์อยู่ร่ำไป หากทำใจได้แล้วก็สบายจริงไหม<O:p
    ธรรมะแห่งพุทธะ ทั้งหมดอยู่ที่ความปล่อยวางของใจ ธรรมะแห่งพุทธะเป็นเรื่องของใจ<O:p
    หากกายไม่มีใจ เช่น ศพต่างๆ มันก็ทำอะไรไม่ได้ เคลื่อนไหวไม่ได้ แข็งเหมือนท่อนไม้ ใครจะฝังจะเผา จะทำอะไร มันก็ไม่ว่าอะไร ไม่ร้องว่าเจ็บว่าปวดใช่ไหม เพราะมันคือ ธาตุ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ มารวมกันเป็นรูปร่างกายขณะหนึ่ง แต่พอมี “ใจ” มาอาศัยอยู่ในนั้น มันก็เคลื่อนไหวได้ ทำอะไรก็ได้ มันมีความเจ็บปวด สุข ทุกข์ ชอบ ไม่ชอบ ที่เป็นความรู้สึกเกิดขึ้นเรียกว่า “ธาตุรู้” และ ธาตุนี้แหละจะเรียกว่า “จิต”ก็ได้ เรียกว่า “ใจ”ก็ได้ ตัวนี้แหละที่เกิดสุขและทุกข์ มันเกิดที่นี่แหละจริงไหม<O:p
    เพราะกายธาตุแท้ๆ ที่ไม่มีจิตอาศัยอยู่ เช่น ศพต่างๆ เป็นต้น ขณะนั้นมันไม่แสดงความทุกข์เจ็บปวดให้เห็นเลยใช่ไหม จริงหรือไม่จริง-----<O:p
    ทุกข์แท้ๆ อยู่ตรงไหน เกิดตรงไหน<O:p
    ทำไมมันถึงทุกข์<O:p
    ค้นหาเอาเอง<O:p
    ใจใครทุกข์ ก็หาที่ใจคนนั้น<O:p
    ใจเราทุกข์ ก็หาที่ “ใจเรา” นั่นแหละ<O:p
    จึงจะพ้นทุกข์ได้จริงในที่สุด<O:p
    ตอนต่อไป บทที่2 พระพุทธเจ้าตรัสรู้ที่ไหน
     
  2. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,255
    [​IMG]
    [​IMG]



    [​IMG]


    [​IMG]
    ช่วยบอกบุญช่วยกันเรียไรทำบุญสร้างหนังสือก็ได้นะครับ
    เป็นหนังสือที่ดี เป็นธรรมะที่ดี ควรเผยแพร่
    ช่วยกันทำบุญบอกบุญมาเลย
    โพสต์ให้อ่านไปด้วย บอกบุญไปด้วยก็ได้
    ผมว่ากว่าจะจบคงได้รับเงินไปพิมพ์หนังสือได้
    อีกหลายเล่มเลยครับ
    อนุโมทนา สาธุ ๆ
    ในการเผยแพร่พระธรรมด้วยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กุมภาพันธ์ 2011
  3. zerozodiac

    zerozodiac Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    270
    ค่าพลัง:
    +66
    พระพุทธเจ้าตรัสรู้ที่ไหน

    พระพุทธเจ้าตรัสรู้ที่ไหน

    พระพุทธเจ้าตรัสรู้ในใจของพระองค์ ด้วยการกำหนดสติเฝ้าดูกายดูใจอยู่ตลอดเวลา โดยอาศัยป่าเป็นส่วนประกอบในการทำความเพียร เพราะป่านั้นเงียบสงบ

    ในคสามเงียบสงบ ก็จะมัความชุ่มเย็นอยู่ภายในนั้นเสมอ ป่า คือ ป่า ป่าตรัสรู้ไม่ได้

    ชาวป่าชาวเขาที่เกิดในป่า อยู่ในป่า จนกระทั่งตายในป่าก็ไม่เห็นมีใครที่จะตรัสรู้ได้

    ใจเท่านั้น ที่จะเป็นผู้ตรัส ธรรมะของพุทธศาสนาจึงเป็นเรื่องของใจเท่านั้น

    นักปฏิบัติส่วนมากยังไม่เข้าใจว่า ความสงบที่แท้จริงนั้นอยู่ที่ไหน บางครั้งมีโอกาสอยู่กับสถานที่สงบแล้ว ยังบอกว่าไม่สงบ โดยโทษสิ่งภายนอกว่า เพราะสภาพสิ่งแวดล้อมต่างๆ อันเป็นเสียงบ้าง บุคคลบ้าง สิ่งนั้นสิ่งนี้คือต้นเหตุของความไม่สงบ

    จิตเกิดการพลักต้านปรากฏการณ์ โดยไม่รู้เท่าทันจิตปรุงแต่งของตน จึงพยายามที่จะหนีไปให้ไกลจากสิ่งเหล่านั้น อยากไปอยู่ในป่าในเขาที่ไกลๆ หรือในถ้ำที่เงียบสงบ ซึ่งปราศจากผู้คนและเสียงต่างๆที่จะมารบกวน ได้พยายามแสวงหาความสงบจากภายนอก โดยเข้าใจเอาเองว่า ความสงบและไม่สงบนั้น เกิดจากสิ่งภายนอกเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่สามารถที่จะพบความสงบที่แท้จริงได้สักที แม้จะพยายามหามานานแสนนาน ก็ยังหาไม่เจอ นั่นเพราะยังไม่เข้าใจ และยังหาไม่ถูกจุดต่างหาก ขออธิบายว่า หากป่านอก ถ้ำนอกจะสงบเงียบสักแค่ไหน แต่ป่าใน หรือ ถ้ำใน คือ จิตใจของท่าน ยังไม่ยอมเงียบสงบ ป่านอกถ้ำก็หาจะเงียบสงบสำหรับท่านไม่

    เพราะความสงบหรือไม่สงบที่แท้จริงนั้น เกิดจากข้างใน คือ จิตใจของท่านต่างหากที่เป็นเหตุ หากจิตภายในไม่สงบ ทุกที่ก็ไม่สงบ หากที่นี่คือใจไม่สงบ จะอยู่ที่ไหนก็ไม่สงบ จริงไหม

    เสียงต่างๆ และสิ่งต่างๆ ทางภายนอกนั้น มันเป็นธรรมชาติของมันเช่นนั้นเอง ซึ่งท่านห้ามมันมิให้เกิดได้หรือไม่ และท่านห้ามหูตัวเองมิให้รับเสียง ห้ามตาตัวเองมิให้เห็นรูปได้หรือไม่ เมื่อห้ามไม่ได้ ทำไมท่านไม่ห้ามใจตัวเองล่ะ ด้วยการรับรู้แล้วปล่อยมันผ่านไปเสีย อย่าดูดรั้งหรือผลักต้าน

    ดังนั้น ท่านจะต้องทำใจ ด้วยการ "รู้" แล้วปล่อยไปเท่านั้น ดังเช่น ธรรมชาติของน้ำ คือน้ำขังที่ไม่ไหล ขังไว้ย่อมเน่าฉันใด จิตที่รู้เรื่องอะไรแล้วไม่ยอมปล่อย ย่อมทุกข์ฉันนั้น และธรรมชาติแท้นั้นเป็นกลางๆ ใครปล่อยวางได้ก็สบาย

    เมื่อรู้ความจริงแล้วว่า เหตุแห่งความสงบ และไม่สงบนั้นอยู่ที่ใจก็จงแสวงหาป่าใจถ้ำใจให้พบเถิด ด้วยการมีสติจับรู้อยู่แต่ปัจจุบัน ภายในใจตนเท่านั้น

    ไม่ต้องคิดอยากทำสมาธิ ให้เจริญสติรู้อยู่กับปัจจุบันให้ได้ตลอดสายเท่านั้น ผลนั้นก็จะเกิดเป็นสมาธิขึ้นมาเองในที่สุด เพราะสมาธิ คือผลจากการเจริญสติต่างหาก

    ยกตัวอย่าง แม้แต่การนั่งสมาธิ กำหนดรู้ลมหายใจ ก็ต้องใช้สติเฝ้าดูเฝ้ารู้ลมที่เป็นปัจจุบันตลอดเวลา หากขาดสติตามดูตามรู้แล้ว สมาธิก็ไม่สามารถที่จะเกิดขึ้นได้อีกเช่นกัน เพราะเหตุไม่มีผลจะเกิดขึ้นได้อย่างไร เหตุมีผลจึงมี "สติ" จึงเป็นแม่ทัพใหญ่ในกองทัพธรรม สติเป็นมรรค สมาธิเป็นผล

    จงแสวงหาสติเถิด เพื่อให้เกิดเป็นสมาธิ อันเป็นจิตหนึ่งจริงๆ คือ ความสงบที่แท้จริง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กุมภาพันธ์ 2011
  4. zerozodiac

    zerozodiac Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    270
    ค่าพลัง:
    +66
    ขอบคุณสำหรับคำแนะนำของท่าน deelek ครับ แต่ผมมองว่ามันจะลำบากเปล่าๆครับ ทำด้วยแรงตัวเองสบายใจสุด ไม่มีปัญหาในภายหลังด้วยครับ ยกเว้นว่าจะมีใครอยากทำจริงๆ ผมก็จะช่วยบริจาคครับ วันเสาร์นี้จะลองไปดูที่ตลาดก่อนว่า ยังมีวางขายอยู่ไหน ถ้ามีผมก็จะได้ซื้อมาแจก คงจะดีกว่าครับ

    ที่จริงหนังสือเล่มนี้ท่าน "เจโตวิมุติ" เป็นผู้พิมพ์เป็นธรรมทานครับ แต่สงสัยที่บ้านของพ่อค้าคงมีหนังสือเล่มนี้เยอะไปหน่อย เลยเอามาขาย 20 บาท ที่ผมซื้อเพราะว่าอ่านแล้วเข้าใจง่ายครับ เป็นหนังสือที่คุ้มเกินราคาจริงๆครับ
     
  5. sckdsfjs

    sckdsfjs Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2007
    โพสต์:
    64
    ค่าพลัง:
    +46
    โอ่ สาธุครับ
    บทความนี้เป็น บทความของท่าน เด็กน้อยในแดนธรรมครับ (นามปากกา) ส่วนตัวจริงท่านไม่เปิดเผยตัวครับ หนังสือ มีหนังสือทั้งหมด 3 เล่มครับ ต้นฉบับมีการทำตัวหนา ตัวบางเพื่อความเข้าใจในการอ่านด้วยครับ เป็นหนังสือที่ดีมากเล่มหนึ่งเลยครับ มีไฟล์ที่สามารถโหลดอ่านได้ด้วยครับ ลองดู ผมอ่านแล้วดีมากๆ เลย
    MP3
     

แชร์หน้านี้

Loading...