ถามเรื่องการกำหนดจิตไว้ที่ต่างๆ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Dhamma for life, 20 กรกฎาคม 2012.

  1. Dhamma for life

    Dhamma for life สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2012
    โพสต์:
    22
    ค่าพลัง:
    +16
    ในการนั่งสมาธิตามแนวสายหลวงปู่มั่นหรือพระสายป่า เท่าที่ผมได้เท่าที่ผมได้ศึกษามาเล็กน้อยอะครับ ก็คือภาวนาพุธโธอะครับ แล้วก็ให้รู้ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก แต่บางทีที่ผมอ่านมาของท่านอื่นๆที่ไม่ใช่สายนี้อะครับ ก็จะมีให้กำหนดจิตไว้ที่ต่างๆอะครับ เช่นกำหนดไว้ที่ท้อง หน้าอก ปลายจมูก เป็นต้น
    ผมอยากทราบว่าสายหลวงปู่มั่นหรือพระสายป่า เราต้องกำหนดจิตไว้ที่ต่างๆหรือเปล่าครับ หรืออย่างไร เพราะเท่าที่ผมเคยอ่านมาก็จะกล่าวประมาณ หายใจเข้ารู้ หายใจออกรู้ ประมาณนี้อะครับ เลยไม่ทราบว่าต้องกำหนดจิตไว้ที่ต่างๆหรือเปล่าครับ
    ขอขอบคุณล่วงหน้านะครับสำหรับคำตอบของทุกท่าน
     
  2. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ขออภัยต่อ พระสงฆ์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เอาไว้ก่อน เพราะสิ่งที่ข้าพเจ้าจะแนะนำต่อไปนี้ อาจกระทบกับผุ้ที่ปฏิบัติมั่ว ตามความคิด แหกตำรา เพ้อเจ้อ ไม่เข้าที

    การนั่งสมาธิ โดยใช้ภาวนา พุทโธ กำกับลมหายใจ ข้าพเจ้าก็เคยได้เรียนและฝึกฝนมาก่อน อีกทั้งยังเคยฝึกวิธีการนั่งสมาธิ เดินจงกรมตามที่เหล่าบรรดา พระสงฆ์ที่ตั้งตัวเป็นผู้รู้ผู้สอนให้กับผู้ศรัทธา โดยข้าพเจ้าได้ทดลองฝึกมาทุกรูปแบบ
    ต่อมาก็พบว่า การใช้ คำว่า พุทโธ กำกับลมหายใจนั้น ยังเป็นการใช้สมองมากกว่า การสนใจอยู่กับลมหายใจแต่เพียงอย่างเดียว
    ส่วนการฝึกประเภทอื่นๆ เป็นการฝึกประเภท แหกตำรา อวดรู้ อวดฉลาด ไม่ได้รู้จริง รู้แจ้ง ในระบบการทำงานของร่างกายมนุษย์ บางวิธีการฝึกอาจมีอันตรายต่อระบบการทำงานของร่างกาย ขอรับ
     
  3. โลน้อย

    โลน้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    351
    ค่าพลัง:
    +695
    กลับบ้านนอนให้เต็มที่พรุ่งนี้ไปทำงานซะ.......
     
  4. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413
    ลมหายใจ พุทธองค์ส่งสรรเสริญและใช่ แต่สิ่งอื่นหรือจุดอื่น ก็ทรงแนะนำไว้แล้วแต่ใครจะถนัด ประเด็นมันอยู่ที่ ให้อยู่กับมันจริงๆ หากทำไปเพื่อสมาธิขั้นสูงๆ ก็อยู่กับมันให้นานๆที่สุดเท่าที่ทำได้ แล้วปล่อยให้มันไหลไปตามกระแสของสมาธินั้นเอง (วิตก วิจารย์ ปิติ สุข เอกัคคตา ) อย่าเร่ง แต่หากทำเพื่อวิปัสสนา ก็ทำไปให้มี พอจะเห็น จิตมันกระโดดไป รู้นู้ คิดนี้ รู้สึกนั้น จนกลายเป็น โลภ โกรธ หลง แล้วก็ทุกข์ ... ยังไงต่อก็ศึกษากันไป

    เป็นแค่หนึ่งทิฏฐิ เด่อครับ ไม่รู้จะถูกบ้างมั้ย อิอิ

    สาธุครับ
     
  5. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    การกำหนดจิตไปไว้ที่ต่างๆ คือการกำหนดความรู้สึกไปวางไว้ที่จุดต่างๆ
    ไม่ใช่เป็นเรื่องเฉพาะของสำนักใดสำนักหนึ่ง เป็นอุบายเฉพาะตน
    เช่นการเดินจงกรม อาจจะเอาความรู้สึกไปวางไว้ที่การก้าวเท้า ก็ได้

    แต่หากว่าจะทำสมาธิด้วยคำบริกรรม ไม่ต้องไปกำหนดความรู้สึกอะไร ทำความรู้สึกตัว แล้วบริกรรมไปเท่านั้นพอ
     
  6. โลน้อย

    โลน้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    351
    ค่าพลัง:
    +695
    การภาวนา พุท-โธ เพื่อให้จิตสงบให้มองเห็นความฟุ้งซ่านของจิต เมื่อจิตสงบแล้วไม่ปรุงแต่งแล้วท่านจึงให้คลาย ภาวนาแล้วมาพิจารนาร่างกาย โดยใช้จิตพิจารนานั่นเอง เพื่อให้ได้ผลควรดูว่าจิตเราฟุ้งซ่านหรือไม่ อย่าทิ้งการภาวนาจนกว่าจิตจะสงบ
     
  7. ปุณบพิธ

    ปุณบพิธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,102
    ค่าพลัง:
    +2,134
    ใช้ได้หมดนั่นแหละครับ แล้วแต่ถนัด เพราะเป็นแค่กลวิธีในการรวมจิตเท่านั้นเอง
    สำหรับที่ท่าน telwada อธิบาย ผมก็เข้าใจนะครับ คือผู้ที่เห็นสภาวะปรมัตถ์แล้ว จะใช้ดูสภาวะปรมัตถ์ ที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เช่นการเต้นของหัวใจแทน ก็ได้เหมือนกัน ถ้าถนัดแบบนั้น ก็ใช้แบบนั้นแหละครับ
     
  8. vichayut

    vichayut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    168
    ค่าพลัง:
    +661
    ไอ้จิตของคนเรา ปกติมันชอบไหลไปเรื่อย นั่งรู้ลมหายใจจิตก็ไหลไปกับลม

    ยุบหนอพองหนอจิตก็ไหลไปอยู่ที่ท้อง บางทีฟุ้งซ่านไปเลย...

    ครูบาอาจารย์ท่านสอน ให้เฝ้าตามดูว่า ถ้าเราบริกรรมอะไร แล้วจิต

    มันเคลื่อนไปก็ให้เรารู้เท่าทันจิต จนมันเหนื่อยมันหยุด จิตก็ตั้งมั่นได้เป็นสมาธิ

    แต่ถ้าบริกรรมไปแล้วนิ่งๆ ว่างๆ แล้วไปบังคับให้มันสงบ อันนี้จิตมันพักผ่อน

    ชั่วครู่ชั่วยาม ก็ปฏิบัติได้ทั้งสองแบบเรียกว่าได้ทั้งบู๊ ทั้งบุ๋น เป็นสมถะสมาธิครับ

    __________________
    ดูจิต.........ด้วยสติ
     
  9. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    เป็นเรื่องที่ครูบาอาจารย์ท่านวางไว้เป็นอุบายให้ง่ายในการปฏิบัติ
    อย่าลืมว่ากำลังใจแต่ละบุคคลมาไม่เหมือนกัน
    ยิ่งถ้าเป็นวิตกจริต ถ้าไม่กำหนดให้เข้าใจง่ายๆจิตจะฟุ้งจับจดไปทั่ว
    ก็เลยกำหนดให้ตั้งจิตไว้ที่ฐานต่างๆ
    ซึ่งถ้าลองทำตามก็จะทำตามได้โดยง่าย จะลมสามฐาน หรือเจ็ดจุด ก็ดีทั้งนั้น
    จุดเดียวก็ดี แล้วแต่ว่าจะเอากันขนาดไหน
     
  10. อินทรี

    อินทรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +562
    จริงๆ จะกำหนดไว้ที่ต่างๆ หรือที่เดียวก้ย่อมทำได้ ฐานที่ใช้กำหนดตามจุดต่างๆของร่างกาย
    รู้ไว้ ก้ดีเหมือนกันนะครับ แต่ส่วนมากคนชอบปฏิบัติแค่ฐานใดฐานหนึ่ง เหมือนกำหนดลมหายใจจมูก พุท โธ ถ้าไม่ตามลม ดูเพียงลมมากระทบเข้า ออก เฉยๆ นั่นคือการกำหนดจิตที่ฐานจมูกแล้ว แต่ที่ำทำไว้หลายฐาน ก้สำหรับผู้ปฏิบัติใหม่ที่ยังไม่คล่อง และยังมีความกังวลอย่ เมื่อไล่ได้ทุกฐานแล้ว ก้ให้มาจับแค่ฐานเดียว หลวงพ่อลีท่านก้ไล่ฐานจิตมากกว่า1ที่ เวลาปฏิบัิติ หลวงพ่อสดกำหนดไว้7 ฐาน พอคล่อง ก้มาไว้เหนือสะดือมาหน่อยที่เดียว

    แต่สำหรับผมๆ จะกำหนดไว้ที่ท้อง เอาสติจัีบไว้ที่ทอ้ง ได้ไซเคิ่ลดี พอนิ่งดีแล้ว ผมจะเลื่อนมาไว้ที่ลิ้นปี่ แล้วทำความร้สึกขณะนั่งให้ปลอดโปร่ง กว้างขวางออกไป

    คำภาวนาก้สำคัญ แม้จิตจะสงบแล้ว เราจะภาวนาต่อไปก้ได้ ไม่ทิ้งคำภาวนา คำภาวนา และการกำหนดจิต มีผลมากกับการทำให้จิตสงบ..........

    นี่เป็นฐานใหญ่ที่สำคัญ ควรรู้ไว้ก้ไม่เสียหลาย ใช้เปนหลักปฏิบัติเพื่อการกำหนดจิต เป็นสมาธิได้ พุทโธ 3 ฐานที่โบราณใช้กัน เขสก้ใช้ 3 ตำแหน่งหลักนี้
     
  11. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,441
    ค่าพลัง:
    +35,042
    ทางที่ดีอย่าไปกำหนดเลยครับ...
    ถ้ากำหนดจะทำให้รู้สึกแน่นหน้าอก..
    ถ้าไปเพ่งจะทำให้รู้สึกตึงๆ
    ทำความรู้สึกว่ามีลมหายใจเข้าออกและกระทบก็พอด้วยคำภาวนาที่คุณชอบ จะทำให้รู้สึกสบายๆดีกว่าครับ..
     
  12. ทศมาร

    ทศมาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2010
    โพสต์:
    166
    ค่าพลัง:
    +237
    กำหนดจิตไว้ที่ไหนก็ได้ที่ทำแล้วสบายใจ ไม่ฝืน ไม่เครียด แต่หลักสำคัญคือ จิตจะเคลื่อนออกจากที่กำหนดไว้เป็นไปตามธรรมชาติ เมื่อมีสติว่าจิตเคลื่อนออกไปแล้วก็รู้ทันก็กลับมาอยู่กับสิ่งที่กำหนดใหม่
    วิธีการนี้จะเห็นไตรลักษณ์ชัดเจนเมื่อมีการกำหนดไว้อย่างต่อเนื่องไม่ใช่ประเดี๋ยวประด๋าวห้านาทีสิบนาทีก็เลิก แต่ทำไปตั้งแต่ตื่นจนหลับเลย ทำอย่างนี้ห้าวัน สิบวัน จึงจะเริ่มเข้าใจว่าจิตนั้นเป็นอนัตตา เดี๋ยวก็กำหนด เดี๋ยวก็ใจลอยไปเรื่องต่างๆ ทำอย่างต่อเนื่องนี้จึงจะเห็นผล ถ้าเวลาทำงานไม่สามารถกำหนดได้ ก็ต้องปล่อยไป แต่เวลาเดินทาง เวลาอะไรเล็กๆน้อยๆก็เก็บให้หมดเป็นการกำหนดในฐานที่สบายใจ ฐานตรงนี้สำคัญที่เราสบายใจ แต่ละคนไม่เหมือนกัน
     
  13. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    อุบายไหมครับที่เราไปหรอกเขา
    เพื่อให้อยู่ในที่เขาควรอยู่หรือในที่ๆเขาควรสงบอยู่กับที่ที่ควรอยู่
    ตรงไหนนั้นหากเราเลิกเคลื่อนเลื่อนไหลเดี๋ยวเขากลับบ้านเอง
    เหมือนอะไรสักอย่างที่ต้องการอยู่กับที่กับทาง
    สังเกตุบ่อยๆว่าเขาอยู่อย่างไรตรงไหน
    เวลาต่อมาไม่ต้องไปไหนครับ
    ตรงไปเลยเรียกเขาได้เลยหรือไม่
    เขาอยู่ตรงนั้นอย่างสงบไม่ไหลไม่ฟุ้ง

    ลองเข้าไปยุบดูพองดูขยายดูหดดู
    ปราบอีกเดี๋ยวก็หยุดอีกไหมครับ
    จับได้ก็ปราบดีหรือไม่ไหลดีนัก
    บังคับจิตใจ

    ขอท่านเจริญในธรรมยิ่งครับ
     
  14. นราสภา

    นราสภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,961
    ค่าพลัง:
    +356
    แหกตำรา อวดรู้ อวดฉลาด ไม่ได้รู้จริง รู้แจ้ง



    ส่วนการฝึกประเภทอื่นๆ เป็นการฝึกประเภท แหกตำรา อวดรู้ อวดฉลาด ไม่ได้รู้จริง รู้แจ้ง ในระบบการทำงานของร่างกายมนุษย์ บางวิธีการฝึกอาจมีอันตรายต่อระบบการทำงานของร่างกาย ขอรับ<!-- google_ad_section_end -->

    กลับบ้านนอนให้เต็มที่พรุ่งนี้ไปทำงานซะ.
     

แชร์หน้านี้

Loading...