"ตุ๊ก"จันจิรา จูแจ้ง กับ...มุมมองสังขารมันไม่เที่ยง

ในห้อง 'พุทธศาสนากับคนดัง' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 19 พฤษภาคม 2007.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,173
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width=567 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top></TD></TR><TR><TD class=Text_Story vAlign=top><!-- [​IMG] [​IMG] ท่านพุทธทาส กล่าวเอาไว้ว่า อนิจจัง คือ ความไม่เที่ยง ได้แก่ ความไม่หยุดอยู่ ในลักษณะเดียว แต่เปลี่ยนแปลงเรื่อยๆ


    มีทางที่จะกำหนดได้ ตั้งแต่อย่างกว้าง หรืออย่างหยาบที่สุด ลงมาจนกระทั่งถึงอย่างแคบ หรืออย่างละเอียดที่สุด ท่านจึงสอนให้พิจารณาถึงความไม่เที่ยงของสิ่งที่มีชีวิต ซึ่งเป็นตัวเจ้าของปัญหา หรือตัวเจ้าทุกข์ โดยเฉพาะเป็นส่วนสำคัญ ความไม่เที่ยง ของคนเราคนหนึ่งๆ ท่านแนะนำให้พิจารณา อย่างหยาบๆ เป็นวัยๆ ไป คือปฐมวัย มัชฌิมวัย ปัจฉิมวัย หมายถึง การเป็นเด็ก เป็นผู้ใหญ่ และ เป็นคนแก่ชรา
    ส่วนคำว่า อนัตตา ท่านว่าไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน คือเป็นสิ่งที่ไม่ควร ถือว่าเป็นตัวตน เป็นเพียงธรรมชาติล้วนๆ ที่หมุนไปตามอำนาจแห่งเหตุ และปัจจัย ท่านสอนให้พิจารณาว่าคนคนหนึ่งประกอบอยู่ด้วยส่วน ๕ ส่วน คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แต่ละส่วนๆ ก็ไม่ใช่ตัวตนของมันเอง เป็นเพียงสังขารที่เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุ ตามปัจจัย นี่เป็นสัจธรรมชีวิตที่นักแสดงสาว "ตุ๊ก" จันจิรา จูแจ้ง มองว่าชีวิตไม่ใช่สิ่งจีรัง
    น.ส.จันจิรา บอกว่า ชีวิตที่เกิดมาได้มาทำบุญทำทานกับคนชรา เนื่องจากที่บ้านมีคุณยายที่จะต้องพาท่านไปรักษาที่โรงพยาบาลกรมชลประทานฯ อยู่เป็นประจำ พอได้เห็นคนแก่จำนวนมากในโรงพยาบาลที่ไม่มีลูกหลานคอยดูแล จึงมีความรู้สึกสงสารท่าน เลยมองย้อนกลับมายังชีวิตแล้วก็เริ่มปลง ยิ่งเมื่อเห็นท่านเปลี่ยนเสื้อผ้า เราเห็นหนังท่านเหี่ยวห่อหุ้มกระดูกก็ทำให้ปลงกับชีวิตได้ทันทีว่า
    คนเรามันก็เท่านี้ ไม่เห็นมีอะไรยั่งยืนหรือจีรัง สุดท้ายชีวิตคนเราก็เหลือแต่สังขารที่ไม่เที่ยง ยิ่งเห็นคนแก่อายุประมาณ ๙๐ ปี ลองมองย้อนกลับมามองตัวเองว่าถ้าเราอายุ ๙๐ ปีแบบท่านบ้าง เรามันก็เท่านี้ ซ้ำร้ายถ้าเราไม่มีใครดูแลเราก็ยิ่งจะว้าเหว่ เป็นสิ่งที่จะทุกข์ทรมานอย่างมากอย่างแน่นอน ทำให้เข้าใจว่าคนเราเกิดมาเป็นอะไรก็แล้วแต่ สังขารมันไม่เที่ยง เมื่อวันนี้มีโอกาสสามารถช่วยอะไรคุณตาคุณยายเหล่านี้ได้ก็พยายามทำ
    วันนี้เราได้ช่วยเหลือคุณตาคุณยายก็ถือเป็นการทำบุญเหมือนกัน บุญตรงนี้สอนให้เราละในเรื่องของความอยากได้อยากมี ละในเรื่องของกิเลส ยิ่งมองเห็นท่านครั้งใดก็ไม่อยากได้อะไรอีกแล้ว คนเราจะมีเงินมากไปพอถึงเวลาก็เอาไปไม่ได้ แล้วเราจะมีมากๆ ไปทำไมกัน ดังนั้น ชีวิตที่เหลืออยู่จึงพยายามที่จะไม่สร้างภาระอะไรทั้งสิ้น แม้ว่าชีวิตนี้ไม่ต้องการอะไรอีกแล้วก็ตาม แต่ระหว่างทางที่เรายังไม่แก่ไม่ชราแบบคุณตาคุณยายก็อยากมีชีวิตอย่างมีความสุขแบบพอดีๆ หมายถึงว่าเราดำรงชีวิตอยู่ในโลกนี้อย่างไม่เดือดร้อน หรืออยู่บนโลกนี้อย่างไม่เป็นทุกข์ก็พอแล้ว
    "เมื่อเราเข้าใจในเรื่องของสัจธรรมชีวิต มันก็ทำให้เราเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรมว่า ใครทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วย่อมได้ชั่ว พอเราทำสิ่งดีๆ สิ่งดีๆ ก็จะเข้ามาหาเรา แต่ถ้าเราทำบาป ผลกรรมนั้นก็จะต้องตอบสนองเราเช่นกันอย่างสาสม ชีวิตไม่เคยมีเวรกรรมกับใครตรงนี้ ก็คิดว่าอาจเป็นเพราะว่าอยู่ในศีลธรรมไม่เคยไปเบียดเบียนใคร มีชีวิตมาถึงตอนนี้ไม่เคยได้รับความทุกข์จากกรรมไม่ดี ก็คิดว่าเราน่าจะพอมีความดีหรือกรรมดีอยู่บ้าง" นี่เป็นความเชื่อเรื่องบาปและบุญของจันจิรา
    สำหรับพระเครื่องที่นักแสดงสาวแขวนติดตัว คือ พระหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ ที่มีคนให้มาเป็นเวลานานหลายปีแล้ว เราแขวนเพราะว่าเคารพนับถือบูชาองค์ท่าน หลายคนบอกว่า แขวนท่านแล้วจะแคล้วคลาดจากอุบัติเหตุ ตรงนี้ก็ไม่ได้เชื่ออะไรมาก โดยเชื่อว่า เรามีพระเครื่องแขวนติดตัวเราก็รู้สึกอุ่นใจ ส่วนเรื่องอุบัติเหตุที่หลายคนเจอ น่าจะมาจากความประมาทมากกว่าที่จะมีปาฏิหาริย์อะไร "ทุกวันนี้ทำบุญอย่างมีเหตุมีผล สงสารคนแก่เราก็ช่วยเหลือท่าน ไม่ได้ทำบุญเพื่อหวังผลในชาติหน้า หากมีโอกาสทำบุญก็อยากไปทำบุญตามวัดต่างจังหวัด ที่วัดยังขาดแคลนปัจจัยต่างๆ พอไปแล้วก็รู้สึกดี แล้วถ้าใครมาทักว่าดวงปีนี้ชงจะไม่ดีก็ให้ไปไหว้ที่วัดเล่งเน่ยยี่ เราไปไม่ได้งมงายแต่ไปไหว้เพื่อให้เราสบายใจ นอกจากทำบุญแล้ว ก่อนนอนยังต้องสวดมนต์แล้วท่องคาถาชินบัญชรสองจบ เพื่อให้จิตใจเราสงบ นอนหลับสบาย พร้อมกับแผ่เมตตาให้เจ้ากรรมนายเวร" นักแสดงสาว กล่าวทิ้งท้าย
    0 เรื่อง สุทธิคุณ กองทอง / ภาพ วันชัย ไกรศรขจิต 0


    -->[​IMG]
    ท่านพุทธทาส กล่าวเอาไว้ว่า อนิจจัง คือ ความไม่เที่ยง ได้แก่ ความไม่หยุดอยู่ ในลักษณะเดียว แต่เปลี่ยนแปลงเรื่อยๆ
    มีทางที่จะกำหนดได้ ตั้งแต่อย่างกว้าง หรืออย่างหยาบที่สุด ลงมาจนกระทั่งถึงอย่างแคบ หรืออย่างละเอียดที่สุด ท่านจึงสอนให้พิจารณาถึงความไม่เที่ยงของสิ่งที่มีชีวิต ซึ่งเป็นตัวเจ้าของปัญหา หรือตัวเจ้าทุกข์ โดยเฉพาะเป็นส่วนสำคัญ ความไม่เที่ยง ของคนเราคนหนึ่งๆ ท่านแนะนำให้พิจารณา อย่างหยาบๆ เป็นวัยๆ ไป คือปฐมวัย มัชฌิมวัย ปัจฉิมวัย หมายถึง การเป็นเด็ก เป็นผู้ใหญ่ และ เป็นคนแก่ชรา
    ส่วนคำว่า อนัตตา ท่านว่าไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน คือเป็นสิ่งที่ไม่ควร ถือว่าเป็นตัวตน เป็นเพียงธรรมชาติล้วนๆ ที่หมุนไปตามอำนาจแห่งเหตุ และปัจจัย ท่านสอนให้พิจารณาว่าคนคนหนึ่งประกอบอยู่ด้วยส่วน ๕ ส่วน คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แต่ละส่วนๆ ก็ไม่ใช่ตัวตนของมันเอง เป็นเพียงสังขารที่เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุ ตามปัจจัย นี่เป็นสัจธรรมชีวิตที่นักแสดงสาว "ตุ๊ก" จันจิรา จูแจ้ง มองว่าชีวิตไม่ใช่สิ่งจีรัง [​IMG]
    น.ส.จันจิรา บอกว่า ชีวิตที่เกิดมาได้มาทำบุญทำทานกับคนชรา เนื่องจากที่บ้านมีคุณยายที่จะต้องพาท่านไปรักษาที่โรงพยาบาลกรมชลประทานฯ อยู่เป็นประจำ พอได้เห็นคนแก่จำนวนมากในโรงพยาบาลที่ไม่มีลูกหลานคอยดูแล จึงมีความรู้สึกสงสารท่าน เลยมองย้อนกลับมายังชีวิตแล้วก็เริ่มปลง ยิ่งเมื่อเห็นท่านเปลี่ยนเสื้อผ้า เราเห็นหนังท่านเหี่ยวห่อหุ้มกระดูกก็ทำให้ปลงกับชีวิตได้ทันทีว่า
    คนเรามันก็เท่านี้ ไม่เห็นมีอะไรยั่งยืนหรือจีรัง สุดท้ายชีวิตคนเราก็เหลือแต่สังขารที่ไม่เที่ยง ยิ่งเห็นคนแก่อายุประมาณ ๙๐ ปี ลองมองย้อนกลับมามองตัวเองว่าถ้าเราอายุ ๙๐ ปีแบบท่านบ้าง เรามันก็เท่านี้ ซ้ำร้ายถ้าเราไม่มีใครดูแลเราก็ยิ่งจะว้าเหว่ เป็นสิ่งที่จะทุกข์ทรมานอย่างมากอย่างแน่นอน ทำให้เข้าใจว่าคนเราเกิดมาเป็นอะไรก็แล้วแต่ สังขารมันไม่เที่ยง เมื่อวันนี้มีโอกาสสามารถช่วยอะไรคุณตาคุณยายเหล่านี้ได้ก็พยายามทำ
    วันนี้เราได้ช่วยเหลือคุณตาคุณยายก็ถือเป็นการทำบุญเหมือนกัน บุญตรงนี้สอนให้เราละในเรื่องของความอยากได้อยากมี ละในเรื่องของกิเลส ยิ่งมองเห็นท่านครั้งใดก็ไม่อยากได้อะไรอีกแล้ว คนเราจะมีเงินมากไปพอถึงเวลาก็เอาไปไม่ได้ แล้วเราจะมีมากๆ ไปทำไมกัน ดังนั้น ชีวิตที่เหลืออยู่จึงพยายามที่จะไม่สร้างภาระอะไรทั้งสิ้น แม้ว่าชีวิตนี้ไม่ต้องการอะไรอีกแล้วก็ตาม แต่ระหว่างทางที่เรายังไม่แก่ไม่ชราแบบคุณตาคุณยายก็อยากมีชีวิตอย่างมีความสุขแบบพอดีๆ หมายถึงว่าเราดำรงชีวิตอยู่ในโลกนี้อย่างไม่เดือดร้อน หรืออยู่บนโลกนี้อย่างไม่เป็นทุกข์ก็พอแล้ว
    "เมื่อเราเข้าใจในเรื่องของสัจธรรมชีวิต มันก็ทำให้เราเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรมว่า ใครทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วย่อมได้ชั่ว พอเราทำสิ่งดีๆ สิ่งดีๆ ก็จะเข้ามาหาเรา แต่ถ้าเราทำบาป ผลกรรมนั้นก็จะต้องตอบสนองเราเช่นกันอย่างสาสม ชีวิตไม่เคยมีเวรกรรมกับใครตรงนี้ ก็คิดว่าอาจเป็นเพราะว่าอยู่ในศีลธรรมไม่เคยไปเบียดเบียนใคร มีชีวิตมาถึงตอนนี้ไม่เคยได้รับความทุกข์จากกรรมไม่ดี ก็คิดว่าเราน่าจะพอมีความดีหรือกรรมดีอยู่บ้าง" นี่เป็นความเชื่อเรื่องบาปและบุญของจันจิรา
    สำหรับพระเครื่องที่นักแสดงสาวแขวนติดตัว คือ พระหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ ที่มีคนให้มาเป็นเวลานานหลายปีแล้ว เราแขวนเพราะว่าเคารพนับถือบูชาองค์ท่าน หลายคนบอกว่า แขวนท่านแล้วจะแคล้วคลาดจากอุบัติเหตุ ตรงนี้ก็ไม่ได้เชื่ออะไรมาก โดยเชื่อว่า เรามีพระเครื่องแขวนติดตัวเราก็รู้สึกอุ่นใจ ส่วนเรื่องอุบัติเหตุที่หลายคนเจอ น่าจะมาจากความประมาทมากกว่าที่จะมีปาฏิหาริย์อะไร "ทุกวันนี้ทำบุญอย่างมีเหตุมีผล สงสารคนแก่เราก็ช่วยเหลือท่าน ไม่ได้ทำบุญเพื่อหวังผลในชาติหน้า หากมีโอกาสทำบุญก็อยากไปทำบุญตามวัดต่างจังหวัด ที่วัดยังขาดแคลนปัจจัยต่างๆ พอไปแล้วก็รู้สึกดี แล้วถ้าใครมาทักว่าดวงปีนี้ชงจะไม่ดีก็ให้ไปไหว้ที่วัดเล่งเน่ยยี่ เราไปไม่ได้งมงายแต่ไปไหว้เพื่อให้เราสบายใจ นอกจากทำบุญแล้ว ก่อนนอนยังต้องสวดมนต์แล้วท่องคาถาชินบัญชรสองจบ เพื่อให้จิตใจเราสงบ นอนหลับสบาย พร้อมกับแผ่เมตตาให้เจ้ากรรมนายเวร" นักแสดงสาว กล่าวทิ้งท้าย 0 เรื่อง สุทธิคุณ กองทอง / ภาพ วันชัย ไกรศรขจิต 0
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    http://www.komchadluek.net/2007/05/19/j001_117229.php?news_id=117229
     

แชร์หน้านี้

Loading...