ตามรอยบาท หลวงปู่ครูบาชุ่ม โพธิโก "พระอริยสงฆ์แห่งหริภุญไชย"

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย ลูกพ่อลิงดำ, 5 เมษายน 2010.

  1. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    [​IMG]

    ตามรอยบาท หลวงปู่ครูบาชุ่ม โพธิโก "พระอริยสงฆ์แห่งหริภุญไชย"

    โดย ศิษย์วัดวังมุย

    หลวงปู่ครูบาชุ่ม โพธิโก เป็นพระอริยสงฆ์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ มีจริยาวัตร ปฏิปทาข้อวัตร อันงดงาม เป็นลูกศิษย์หลวงปู่ครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชัยโย ต๋นบุญแห่งล้านนาไทย หลวงปู่ครูบาเจ้าเป็นพระโพธิสัตว์มีบารมีมาก มีศิษยานุศิษย์มากมาย เป็นพระนักพัฒนาและเป็นพระกรรมฐานที่สืบกรรมฐาน 40 ทัศน์ที่สำคัญองค์หนึ่ง หลวงปู่ครูบาก็สืบข้อวัตรและปฏิปทา กรรมฐาน 40 ทางสายหลวงปู่ครูบาเจ้าทุกประการอย่างไม่มีที่ติและหลวงปู่ครูบาเจ้าก็ยังเมตตามอบไม้เท้าและขนนกนยูงแก่หลวงปู่ครูบา แสดงให้เห็นว่าหลวงปู่ครูบาเป็นศิษย์ที่ท่านเมตตาและไว้วางใจองค์หนึ่งและเสมือนเป็นสายธาร สายใย และความรักระหว่างหลวงปู่ครูบาเจ้าและหลวงปู่ครูบา อันหาสุดประมาณมิได้นั้นเอง นอกจากปฏิปทา ข้อวัตรอันงดงาม และเป็นลูกศิษย์ครูบาเจ้าแล้วท่านยังมีความสามารถพิเศษคือ สามารถเข้านิโรธสมาบัติไดทั้ง 4 อิรยาบทอีกด้วย สมแล้วที่หลวงพ่อฤาษียกย่องว่า "เป็นพระอรหันต์ผู้เข้านิโรธสมาบัติได้ ทั้ง 4 อริยาบทและเคยเกิดเป็นพี่ชายเรามาก่อน" หลวงพ่อฤาษีเคยถามท่านว่า ถ้าน้ำท่วมระหว่างเข้านิโรธ จะทำอย่างไร ? ท่านตอบว่า ถ้าน้ำท่วมเราก็จะอฐิธานให้ตัวเราลอยขึ้น แสดงให้เห็นอำนาจและบุญฤทธิ์ของหลวงปู่ครูบา การเข้านิโรธ เป็นการเสวยวิมุตติสุขขั้นสูงสุด ต้องเป็นพระอนาคามีอภิญญาขึ้นไปถึงจะเข้าได้ โดยผู้ที่ได้ทำบุญใส่บาตรกับพระที่เข้านิโรธคนแรกจะได้บุญใหญ่สามารถทำให้คนจนกลายเป็นเศษฐีชั่วพริบตา อำนาจของการเข้านิโรธนี่มหาศาลมาก แม้แต่สมัยพุทธกาลท้าวสักกะก็เคยเนรมิตกายเป็นมนุษย์เพื่อทำบุญกับพระกัสสปะที่เข้านิโรธโดยเฉพาะ แสดงให้เห็นว่าการได้ทำบุญกับผู้เข้านิโรธสมาบัติเป็นบุญหนักแม้แต่เทวดาก็ยังอยากได้บุญนึ้ นอกจากนั้นหลวงปู่ครูบายังเป็นพระเถระที่หลวงพ่อพรหม วัดช่องแคให้ความเคารพถึงกับส่งคุณหมอสมศุข คงอุไร มาต่อวิชาอีกด้วย จึงกลายมาเป็นคณะรัศมีโพธิโก อย่างทุกวันนึ้ ส่วนในด้านวัตถุมงคล เหรียญรุ่นแรกและตะกรุดหนังควายเผือกมีประสบการณ์มากมายไม่ว่าจะด้านแคล้วคลาด โภคทรัพทย์ จนเป็นที่ล่ำลือและเสาะหาของศิษยานุศิษย์ผู้เคารพนับถือในองค์หลวงปู่ครูบา ดังนั้น ไม่ว่าจะด้านข้อวัตร จริยาวัตรอันงดงาม กรรมฐาน 40 วัตถุมงคล นั้นท่านสมบูรณ์พร้อมอย่างไม่มีที่ติจึงเห็นสมควรนำประวัติปฏิปทาขององค์หลวงปู่ครูบามาเผยแพร่แด่ทุกท่านและอนุชนรุ่นหลังเพื่อเป็นการสืบข้อวัตรและเป็นคติเตือนใจต่อไป ประวัตินึ้อาศัยจากประวัติและข้อมูลจากที่ต่างๆมาร่วมกัน หากมีข้อผิดพลาดให้โทษเกล้ากระผมแด่เพียงผู้เดี่ยวและขอบอกบุญแก่สาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในองค์หลวงปู่ครูบาทุกท่านร่วมกันถวายปัจจัยเพื่อสร้างพิพิธภัณฑ์ให้แด่องค์หลวงปู่ครูบา เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีแด่องค์หลวงปู่ครูบาและเก็บรักษา อัฐิธาตุ บริขาล ต่างๆ รวมถึงเป็นที่เผยแพร่ประวัติหลวงปู่ครูบาให้สาธุชนผู้มีจิตศรัทธาและรุ่นหลังได้ศึกษาข้อวัตรและปฏิปทาอีกด้วย ผู้มีจิตศรัทธาติดต่อร่วมทำบุญได้ที่ พระวิษณุวัฒน์ 085-0414456 และผู้ที่ร่วมทำบุญตั้งแต่ 100 บาทขึ้นไปจะได้รับวัตถุมงคลอันศักดิศิษย์ซึ่งผ่านพิธีพุทราพิเศกและอฐิธานจิตถูกต้องตามตำราจากทางวัดอีกด้วย ส่วนผู้ที่ทำบุญ 2500 บาท จะได้รับเหรียญรุ่นแรกไข่เล็กขององค์หลวงปู่ครูบา และผู้ที่ร่วมทำบุญตั้งแต่ 5000 บาทขึ้นไป จะได้รับเหรียญรุ่นแรกไข่ใหญ่ขององค์หลวงปู่ครูบาอีกด้วย สุดท้ายนึ้ข้าพเจ้าในนามคณะศิษย์องค์หลวงปู่ครูบาขออัญเชิญคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิศิษย์ทั่วสากลพิภพโดยมีองค์หลวงปู่ครูเป็นที่สุดปกปักภิบาลรักษาทุกท่านและขอให้ทุกท่านมีความสุข ความเจริญ ยิ่งๆขึ้นไป ปราถนาสิ่งใดขอให้สมปราถนา ขอให้มีดวงตาธรรม ทุกท่านเทอญ
     
  2. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    เถระประวัติครูบาชุ่ม โพธิโก พระอริยสงฆ์แห่งหริภุญไชย


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%" bgColor=#000000 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>

    • หัวหน้ากัมมัฏฐาน เป็นผู้อาวุโสสูงสุดในจังหวัดลำพูน
    • ศิษย์ร่วมสำนักและใกล้ชิดครูบาเจ้าศรีวิชัย
    • รับพัดหางนกยูงและไม้เท้าเผยแพร่ธรรมแทนท่านครูบาฯ
    • ปฏิบัติกัมมัฎฐานอดอาหาร ๗ วัน ๗ คืนในถ้ำมหัศจรรย์
    • เทพยานำมงกุฎพระเจ้ามาถวาย
    • เชี่ยวชาญยันต์และพระเวทย์
    • ตระกรุดช่วยให้รอดตาย ได้รับเหรียญกล้าหาญจากสมรภูมิเวียดนาม
    หลวงพ่อชุ่ม โพธิโก เป็นชาวจังหวัดลำพูนโดยกำเนิด เกิดในสกุล นันตละ มีโยมบิดาชื่อ นายบุญ โยมมารดารชื่อ นางลุน ท่านเกิด ณ บ้านวังมุย ต.ประตูป่า อ.เมือง จ.ลำพูน ตรงกับวันอังคาร เดือน ๕ เหนือ ปีกุน ขึ้น ๗ ค่ำ พ.ศ. ๒๔๔๑ เป็นบุตรคนที่ ๓ ในจำนวน ๖ คน ด้วยกันชีวิตในเยาว์วัยนั้นหลวงพ่อได้ช่วยโยมบิดาทำไร่ทำนามาโดยตลอด เรื่องราวชีวิตในหนหลังหลวงพ่อเป็นผู้ว่านอนสอนง่าย สมองมีความจดจำเป็นผู้เยี่ยม ผู้หนึ่ง ในยามว่างก็ได้ศึกษาเล่าเรียนหนังสือกับเจ้าอาวาสวัดวังมุยจนอ่านออกเขียนได้ เป็นที่รักใครของสมณทั่วไป

    หลวงพอมีความเสื่อมใสในกิจการพระบวรพุทธศาสนาจากการที่ได้รับการอบรมสั่งสอนในด้านธรรมวินัยพอสมควร ประกอบกับจิตใจต้องการบวช เพื่อสืบต่อและเผยแพร่พระศาสนาอยู่แล้ว จึงได้ขอนุญาตต่อโยบิดามารดาบรรพชาเป็นสามเณร ขณะนั้นหลวงพ่อมีอายุได้ ๑๒ ปีพอดี เมื่อได้รับอนุญาตจากโยมบิดามารดาและญาติแล้วหลวงพ่อก็ได้บรรพชาในทันที่ โดยมีครูบาอินตา วัดพระธาตุขาว จ.ลำพูน เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อได้บรรพชาเป็นสามเณร

    แล้วยังความปลื้มปิติและอิ่มเอิบใจให้กับโยมทั้งสองและญาติมิตรเป็นอย่างยิ่ง ด้วยกิริยา มารยาท ประกอบกับมีความเมตราอารย์อันเป็นนิสัยประจำตัวมาก่อน หลวงพ่อจึงได้ตั้งปณิธานไว้ว่าจะเลิกฉันเนื้อสัตว์ทุกชนิด และก็ได้เริ่มปฏิบัติตั้งแต่เป็นสามเณรนั้น เป็นต้นมาและตั้งใจไว้อย่างแน่วแน่ว่า จะขอบวชอยู่ใน

    </TD><TD vAlign=top>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ร่มเงาพระพุทธศาสนาตราบชั่วชีวิต ทั้งนี้เพื่อดำเนินรอยตามพระพุทธองค์ตลอดไป ขณะเมื่อยังเป็นสามเณรนั้นหลวงพ่อได้ศึกษาด้านคันถธุระ (พระปริยัติธรรม) ของพระศาสนา เพื่อความรอบรู้แห่งพระไตรปิฏกให้ถ่องแท้ อันเป็นคุณธรรมแห่งผู้รู้หนังสือดี และเพื่อให้ได้ความรู้หนังสือกว้างขวางยิ่งขึ้น หลวงพ่อจึงได้กราบเรียนขออนุญาตพระอาจารย์ เพื่อออกแสวงหาสถานศึกษา เป็นการเพิ่มเติมความรู้ให้สูงขึ้นไปอีก พระอาจารย์ก็ได้ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี พร้อมกับได้แนะนำให้ไปตามสำนักต่างๆที่มีพระอาจารย์เก่งหนังสือประจำอยู่ตามแต่จะเลือกเอา เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว หลวงพ่อก็ได้กราบลาพระอาจารย์ญาติโยมออกเดินทางด้วยเท้าแต่ผู้เดียวพร้อมด้วยอัฐบริขารเท่าที่จำเป็นติดตัวไป ออกจากจังหวัดลำพูนมุ่งสู่เชียงใหม่ ได้เข้าศึกษาในสำนักวัดผ้าขาว วัดพระสิงห์ และวัดเจดีย์หลวงตามลำดับ


    หลวงพ่อได้อธิบายว่า การศึกษาสมัยเก่านั้นต้องจดต้องจำต้องท่องบ่นทั้งนั้น ต้องอาศัยสมองจดจำจึงจะสามารถอ่านแปลพระไตรปิฎกอันเป็นความรู้หลักใหญ่ของพระศาสนา ซึ่งเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าได้ทันที หลวงพ่อได้กล่าวว่า คุณธรรมที่ยกย่องว่ารู้หนังสือดีนั้น คือรู้ภาษาบาลี จนสามารถอ่านประไตรปิฎกได้ถ่องแท้ และต้องอ่านพระไตรปิฎกครบหมดทุกคัมภีร์ จึงจะนับว่าเป็นผู้รู้หนังสือดี
    เมื่อหลวงพ่อได้ศึกษาเล่าเรียนด้านคันถธุระแปลหนังสือได้ดีแล้ว จึงได้เดินทางกลับวัดวังมุยเมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ได้ทำการอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดวังมุย โดยมีครูบาอินตาเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์หมื่นเป็นพระกรรมวาจาจารย์พระอาจารย์หลวงอ้ายเป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า “โพธิโก” หลังจากที่อุปสมบทเสร็จเป็นพระภิกษุสงฆ์แล้ว ด้วยใจฝักใฝ่ในพระธรรมคำสั่งสอน หลวงพ่อได้ออกเดินทางศึกษาหาความรู้ในด้านพระกัมมัฏฐานต่อไปอีก เป็นการปฏิบัติทางด้านวิปัสสนาธุระ ซึ่งเป็นการศึกษาอีกประการหนึ่งที่ควบคู่กับด้านคันถธุระหลวงพ่อได้กล่าวว่า กิจของภิกษุและสามเณรก็คือการหมั่นศึกษาในสองประการนี้ หลวงพ่อได้ตั้งใจศึกษาด้านวิปัสสนากัมมัฎฐาน เพื่อชำระจิตใจตัวเองให้บริสุทธิ์หลุดพ้นจากกิเลส อันจะยังให้เกิดสมาธิเบื้องสูงซึ่งเป็นภาระหนักมาในการเพียรพยายาม นอกจากนั้นหลวงพ่อยังได้สนใจศึกษาศาสตร์ทางวิชาอาคมขลัง และการพิชัยสงครามอีกด้วย


    ๓ ด้วยความตั้งใจอันแน่วแน่เพื่อเสริมสร้างบารมีและแผ่เมตตาแก่สรรพสัตว์ทั้งปวงให้หลุดล่วงพ้นทุกข์ หลวงพ่อจึงได้ศึกษาต่อที่วัดท้าวบุญเรือง ต.หนองควาย อ.หางดง จ.เชียงใหม่ โดยมีท่านครูบาสุริยะเป็นพระอาจารย์ ได้ศึกษาสาตาสนธิทั้งแปดมรรค แปดบท อันเป็นอรรถคาถาบาลี มูลกัจจายจนจบ สามารถแปลและผูกพระคาถาได้หมดสิ้น อันเป็นพื้นฐานที่พระพุทธองค์ทรงทราบโดยตรัสรู้ เมื่อได้ศึกษาจบแล้วหลวงพ่อได้ไปศึกษาต่อกับครูบาศรีวิชัย วัดร้องแหย่ง อ.หางดง จ.เชียงใหม่ ผู้เป็นพระอาจารย์วิปัสสนากัมมัฎฐานและเป็นพระปฏิบัติธรรมที่มีชื่อเสียงโด่งดังในยุคนั้นขณะนั้นท่านครูบาศรีวิชัยองค์นี้มีอายุถึง 70 ปี ยังแข็งแรง มีผิวพรรณสดใจ มีปฏิปทาแห่งความเมตตามากผู้หนึ่ง หลวงพ่อได้รับการถ่ายทอดอาคมไสยเวทย์ และการฝึกกระแสจิตพร้อมกันไปในตัวโดยได้อยู่ศึกษาอบรมเป็นเวลาถึง 2 พรรษา ในขณะที่อยู่ปรนนิบัติ และศึกษากับท่านครูบาศรีวิชัยวัดร้องแหย่งอยู่นั้น ท่านครูบาศรีวิชัยแห่งวัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน ได้มาเยี่ยมเยียนสักการะท่านครูบาศรีวิชัยวัดร้องแหย่งอยู่เสมอ ทุกครั้งที่มาเยี่ยมก็จะมีของมาถวายท่านเสมอ บางครั้งได้อยู่ค้างแรมร่วมสวดมนต์ทำวัตร


    และปฏิบัติกัมมัฎฐานด้วยและเห็นว่าท่านครูบาศรีวิชัยวัดร้องแหย่งมากเมื่อหลวงพ่อได้ได้ศึกษาสำเร็จและมีความชำนาญเชี่ยวชาญดีแล้ว จึงได้กราบลาพระอาจารย์ออกเดินทางค้นคว้าศึกษาหาวิชาต่อไปอีก ต่อมาหลวงพ่อชุ่มก็ได้เข้าศึกษาต่อกับครูบาแสน วัดหนองหมู อ.เมือง จ.ลำพูน ซึ่งเป็นพระอาจารย์ผู้เชียวชาญด้านวิปัสสนากัมมัฎฐานสำนักใหญ่ในจังหวัด มีลูกศิษย์มากมายเป็นผู้ม่ความรู้สูง เป็นนักปฏิบัติที่เคร่งครัดมาก หลวงพ่อได้ศึกษาอยู่ที่สำนักนี้ ได้รับการถ่ายทอดวิชาทุกแขนงจากท่านครูบาแสน จนครบทุกอย่างหลวงพ่อได้กล่าวว่า ได้มีโอกาสทบทวนวิชาที่ได้ร่ำเรียนมาแล้ว พร้อมกับฝึกฝนศึกษาวิปัสสนากัมมัฎฐานและพุทธาคม โดยพระอาจารย์ที่ชำนาญในด้านนี้ควบคุมกันแล้ว ทำให้เกิดความชำนาญมากยิ่งขึ้น มีพรหมวิหารธรรม และพลังเมตตากล้าแข็งมากยิ่งขึ้น ด้วยความเคารพนับถือครูบาแสนซึ่งเป็นผู้มีพระครูณยิ่งที่ได้ช่วยแนะนำ ชี้แจง ช่วยเหลือจนมีความชำนาญ หลวงพ่อได้อยู่ปรนนิบัติวัตรฐากท่านผู้เป็นอาจารย์เป็นเวลานานถึง 2 ปี จึงได้กราบลาพระอาจารย์กลับวัดวังมุย



    [​IMG]





    เมื่อการกลับมาของหลวงพ่อได้ทราบถึงเจ้าคุณพระญาณมงคล เจ้าคณะจังหวัดลำพูน ท่านได้เรียกหลวงพ่อเข้าพบสอบความเป็นไปต่างๆ และการศึกษา หลวงพ่อได้เรียนให้ทราบทั้งหมดตามที่ได้ศึกษามา เจ้าคณะจังหวัดได้ทราบโดยละเอียดแล้วก็เกิดความยินดี และขอให้หลวงพ่อไปศึกษาต่อยังกรุงเทพฯ โดยทางจังหวัดจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด เพื่อกลับมาจะได้ให้เป็นผู้สอนของจังหวัด หลวงพ่อไม่ยอมไปโดยอ้างเหตุผลว่ายังต้องการศึกษาด้านธุดงค์วัตรต่อไปอีก และตั้งแต่นั้นมาเมื่อเจ้าคุณมีกิจธุระ ก็มักจะเรียกหลวงพ่อไปเป็นที่ปรึกษาอยู่ตลอดเวลา ให้เป็นเลขาประจำติดตามใกล้ชิดเสมอ โดยมอบหน้าที่การงานและพิธีการต่างๆให้หลวงพ่อเป็นผู้จัดเองทั้งหมด เจ้าคณะจังหวัดได้แต่ตั้งมอบสมณศักดิ์ชั้นพระครูให้ หลวงพ่อปฏิเสธไม่ยอมรับเอา ต่อมาหลวงพ่อเกิดความเบื่อหน่ายในสิ่งจำเจทุกเมื่อเชื่อวัน อีกทั้งเป็นการไม่เหมาะสมกับหลวงพ่อผู้ถือการปฏิบัติเป็นวัตรต้องการความสงบวิเวก จึงได้ตัดสินใจออกธุดงค์วัตรเพื่อหาความสงบวิเวก จึงได้ตัดสินใจออกธุดงค์วัตรเพื่อหาความสงบบำเพ็ญพรต โดยได้จาริกไปยงอำเภอลี้ซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวลัวะ, ยาง, กระเหรี่ยง, ได้ อบรมธรรมเทศนาธรรมโปรดพวกเขาจนมีศานะศิษย์มากมาย


    ชาวลัวะกะเหรี่ยงได้ปลูกที่พักให้หลวงพ่ออยู่ประจำและจัดจังหันถวายทุกวันเป็นนิจสิน ด้วยศรัทธาอันแรงกล้าของชาวกระเหรี่ยงและชาวลัวะได้จัดศรัทธามาอยู่ปรนนิบัติเฝ้าแทนหลวงพ่อด้วย ความเกรงกลัวว่าหลวงพ่อจะหนีไปที่อื่น บางขณะหลวงพ่อกลับวัดวังมุย พวกเขาจะพากันมาส่งถึงวัดและรอรับหลวงพ่อกลับไปด้วย เมื่อเสร็จธุระแล้วหลวงพอจึงต้องกลับกับพวกเขา เป็นผู้อย่างนี้ถึง ๓ ครั้ง โดยพวกเขาอ้างว่หากหลวงพ่อไม่กลับ พวกเขาจะเผาที่พักให้ไหม้หมดเลิกกันเสียทีหลวงพ่อต้องปลอบใจพวกเขา และได้บวชบาวลัวะและกะเหรี่ยงผู้เป็นศิษย์รวม ๒ องค์ ให้อยู่กับพวกเขาขณะที่หลวงพ่อมีธุระไปยังที่แห่งอื่นๆ เหตุการณ์ที่จะเผาที่พักจึงล่วงพ้นไปได้ ต่อจากนั้นหลวง พ่อก็ได้ธุดงค์ต่อไป โดยออกเดินจากตำบลบ้านก้อ อ.ลี้ ตัดป่าเขาไปทางทิศตะวันตกมุ่งหน้าสู่อำเภอฮอด ธุดงค์จนถึงพระบรมธาตุดอยเกิ้ง อันเป็นพระธาตุเก่าแก่ เป็นเจดีย์ขนาดพระบรมธาตุดอยสุเทพ ซึ่งในขณะที่หลวงพ่อพบนั้น มีสภาพแตกร้าวชำรุดทรุดโทรม จึงตั้งใจว่าจะพักอยู่เพื่อบูรณะองค์เจดีย์เพื่อรักษาไว้เป็นที่นมัสการ และบูชาองค์พระธาตุของพุทธศาสนิกชน เมื่อหลวงพ่อได้ทำการสำรวจตรวจสอบแล้ว จึงได้



    ไปพบนายอำเภอแจ้งความประสงค์ว่าปรารถนาจะสร้างทางขึ้นพระธาตุนายอำเภอได้ตอบตกลงและยินดีให้ความร่วมมือ โดยจะเรียกกำนันผู้ใหญ่บ้านมาร่วมประชุมด้วย จากนั้นหลวงพ่อได้พักอยู่ที่ป่าช้าวัดหนองบัวคำ ในขณะที่พำนักอยู่ในป่าช้าวัดหนองบัวคำ ในขณะที่พนักอยู่ในป่าข้า หลวงพ่อได้ถือปฏิบัติสำรวมสมาธิกัมมัฎฐานแผ่พลังเมตตาจิตเป็นวัตร ในคืนหนึ่ง ชาวบ้านในระแวกนั้นได้เห็นองค์พระธาตุสำแดงปฏิหาริย์มีแสงสว่างโดยรอบองค์พระบรมธาตุมีรัศมีเรื่องอร่ามสว่างไสไวปทั่ว ทำให้ชาวบ้านเหล่านั้นปลื้มปิติ ยินดียิ่งนักที่มีปรากฎการณ์เช่นนี้ขึ้นซึ่งไม่เคยพบเห็นมาก่อน ในขณะที่หลวงพ่อนั่งสมาธิสงบนิ่งอยู่นั้นได้นิมิตเห็นชีปะขาว ๕ ตนนำเอามงกุฎใส่พานมาถวายหลวงพ่อ หลวงพ่อได้ให้ศีลให้พรแผ่เมตตาให้ไป หลังจากนั้นชีปะขาวทั้ง ๕ คน ก็ได้กราบลาจากไป หลวงพ่อออกจาสมาธิกัมมัฎฐานเมื่อเวลาตี ๔ พอดี ในคืนต่อมาหลวงพ่อได้เช้าสมาธิกัมมัฎฐานตามปรกติ ก็มีนิมิตปรากฏเช่นคืนก่อน โดยชีปะขาวได้นำมงกุฎใส่พานมาถวายอีก แต่คราวนี้มาเพียง ๔ ตนเท่านั้น หลวงพ่อก็ได้ให้พรและแผ่เมตตาให้เช่นเคยและชีปะขาวก็กราบลาจากไป และก็เป็นเวลาตี ๔ เช่นคืนก่อน ต่อมาในคืนที่ ๓ อันเป็นคืนวันเพ็ญหลวงพ่อได้เข้าสมาธิกัมมัฎฐานอีก และได้นิมิตเห็นต้นมะม่วงใหญ่มีลูกดกมาก มีกลิ่นหอมหวนยิ่งนัก บนต้นมะม่วงมีฝูงลิงและชะนีมาเก็บกินกันมากมาย ต่อมาสักครู่หนึ่งปรากฏมีลิงแก่สูงใหญ่ตัวหนึ่ง


    ออกมาไล่ฝูงลิงและชะนีมีมาเก็บกินผลมะม่วงจนหนีไปหมดสิ้น ปรากฏว่านิมิตนี้ก็เป็นเวลาตี ๔ เช่นคืนวันก่อนเหมือนกัน พอรุ่งเช้ากำนันผู้ใหญ่บ้านและพวกอำเภอได้มาหาหลวงพ่อพร้อมหน้ากัน หลวงพ่อได้แจ้งให้ทราบว่าจะได้บูรณะซ่อมแซมองค์พระธาตุ สระน้ำ และถาวรวัตถุให้กำนันและทางอำเภอว่าขาดแคลนน้ำเพราะสระน้ำไม่มีน้ำเลย ต้องช่วยกันทดน้ำจากลำห้วยเข้ามาเก็บไว้ในสระก่อน ซึ่งจำเป็นจะต้องหาน้ำก่อนจึงจะทำได้ และจะเอาน้ำมาได้ต้องผ่านภูเขาถึง ๔ ลูก ซึ่งเป็นเรื่องหนักมาก หลวงพ่อได้ให้กำนันผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านตั้งจิตอธิษฐานขอให้การดำเนินนี้จงสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ขออย่ามีอุปสรรค์ใดๆ ปรากฏว่าระยะทางต้นน้ำที่ทำทางต้องผ่านภูมเขาถึง ๔ ลูก ไม่มีอุปสรรคใดๆ เลยสามารถนำเอาน้ำมาได้ด้วยความสะดวก ทุกแห่งแหล่งที่ที่ขุดลงไปไม่ปรากฏหินผากั้นขวางแต่อย่างใด และได้น้ำมาลงสระอย่างปฏิหาริย์ หลวงพ่อได้นั่งหนัก (ประธาน) อยู่บูรณะซ่อมแซมองค์พระบรม



    ธาตุจนสำเร็จเรียบร้อย โดยมีชาวบ้านชาวป่า ชาวเขา มาร่วมในการบูรณะครั้งนี้มากมาย กินเวลา ๔๕ วันจึงแล้วเสร็จสมบูรณื ส่วนการสร้างถนนขึ้นสู่พระบรมธาตุนั้น ได้รับการขัดขวางจากเจ้าคณะตำบล โดยอ้างเหตุผลว่า แม้แต่ครูบาศรีวิชัยก็ยังไม่สร้างถนนขึ้นพระธาตุ ฉะนั้นจึงยังไม่สมควรสร้าง เมื่อมีการขัดแย้งเกิดขึ้นทางฝ่ายกรมการอำเภอเห็นว่า หลวงพ่อเป็นผู้มีบุญบารมีมาโปรด ก็ควรให้หลวงพ่ออยู่สร้างต่อไปและได้ขอร้องต่อหลวงพ่อให้อยู่ช่วยก่อสร้างทางให้ โดยเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายจะร่วมมือกับหลวงพ่อ หลวงพ่อได้พิจารณาแล้วเห็นว่า หากขืนทำการสร้างต่อไป ก็จะเกิดปัญหาขัดแย้งกับเจ้าคณะตำบลเป็นแน่ จึงได้ประกาศให้ชาวบ้านชาวเขาและเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมืองให้ทราบทั่วกันว่าจะระงับการก่อสร้างไว้ก่อน จนกว่าจะถึงเวลาอันสมควร หลังจากนั้นหลวงพ่อก็ได้ออกธุดงด์ต่อไปจนถึง อ.ห้างฉัตร เขตจังหวัดลำปาง เห็นทำเลเหมาะสมที่จะบูรณะให้เป็นวัดขึ้นได้ จึงได้หยุดพักอยู่ ณ ที่ป่านั้นและใคร่อยากจะสรงน้ำเพราะเดินทางมาเหน็ดเหนื่อย พระผู้ติดตามได้บอกหลวงพ่อว่ามีบ่อแต่ไม่มีน้ำมีแต่โคลน


    หลวงพ่อได้เดินไปดูก็เห็นจริงตามที่พระรูปนั้นกล่าว จึงได้อธิษฐานกล่าวอันเชิญเทวดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ขอได้โปรดเมตตาให้บังเกิดน้ำขึ้นด้วย เพื่อจะได้น้ำนั้นมาใช้ประโยชน์ ในการบูรณะให้เกิดเป็นวัด ขึ้น ณ ที่นี้ จากนั้นหลวงพ่อได้กลับไปนั่งพักยังโคนไม้ที่อาศัย สักครูหนึ่งพระองค์นั้นได้รีบมาหาหลวงพ่อและบอกว่า น้ำได้ขึ้นมาครึ่งบ่อแล้วหลวงพ่อจึงได้สรงน้ำและใช้น้ำบ่อนั้นก่อสร้างโบสถ์เจดีย์ กุฏิ ศาลา จนสำเร็จเรียบร้อยด้วยแรงงานของชาวบ้าน ชาวเขา ที่ได้พร้อมใจกันสละทรัพย์และแรงงาน โดยหลวงพ่อนั่งหนักเป็นประธานอยู่ถึง ๓ พรรษา หลวงพ่อได้กล่าวต่อไปว่า ขณะนั้น ที่อำเภอห้างฉัตรมีหมู่บ้านอยู่ไม่กี่หลังคาเรือนอาศัยบุญบารมีแรงงานจากทั่วสารทิศมาช่วย จึงสำเร็จเป็นวัดอยู่ทุกวันนี้
    โดยที่หลวงพ่อมีตำแหน่งเป็นเจ้าคณะตำบลประตูป่าจึงทำให้มีภาระที่จะต้องปฏิบัติงานต่างๆ นอกจากนั้น หลวงพ่อยังต้องรับภาระเป็นพระอุปัชฌาย์ด้วยจึงทำให้ต้องกลับวัดวังมุยเพื่อตรวจดูความเรียบร้อยและการงานด้านของทางวัดด้วยได้พักอยู่ที่วัดวังมุย ประมาณเดือนเศษ ก็ได้นำภิกษุสามเณรออกธุดงค์ต่อไปอีก คราวนี้ได้ไปพักที่ป่าช้า บ้านเหมืองฟู ต.ยุหว่า อ.สันป่าตอง ได้อยู่พักฝึกอบรบพระภิกษุสามเณรด้านสมาธิกัมมัฎฐานปฏิบัติโดยได้มีชาวบ้านมาร่วมอนุโมทนามากมายรายได้ทั้งหมดที่มีผู้นำมา


    [​IMG]

    ถวาย หลวงพ่อได้จัดมอบให้คณะกรรมการสุสานจัดทำสาธารณะประโยชน์ทั้งหมดโดยได้มีการจัดสร้างสะพานยาว ๒๕ วา ๒ ศอก กว้าง ๘ ศอก ใช้เวลาก่อสร้าง ๓ เดือน จึงแล้วเสร็จ สิ้นเงิน ๘๐,๖๓๐ บาทจากนั้น หลวงพ่อได้มา สร้างสะพานที่ ต.สันทราย อ.สารภี กว้าง ๘ศอก ยาว ๑๒ วาสิ้นเงิน ๔๘,๐๐๐ บาทต่อมาชาวบ้านป่าเดื่อได้อาราธนาหลวงพ่อให้มานั่งหนักเป็นประธานสร้างสถาน ต.ขัวมุง ยาว ๕๕ วา กว้าง ๘ ศอก ข้ามลำน้ำแม่ปิงเป็นเวลา ๔ เดือน ๑๕ วัน จึงเสร็จ สิ้นเงินประมาณ ๕๐,๐๐๐ บาทเศา ต่อมาก็ได้ไปนั่งหนักสร้างสะพานวัดชัยชนะ ต.ประตูป่าข้ามลำน้ำแม่ปิงยาว ๑๐ วา กว้าง ๘ ศอก ใช้เวลา ๑๐ เดือนสิ้นเงิน 30,000 บาทเศษ ต่อมาชาวบ้านริมปิง อ.เมืองลำพูนได้อาราธนาหลวงพ่อ ไปนั่งหนักสร้างสะพานให้อีกกินเวลา ๔ เดือน มีความยาว ๑๕ วา กว้าง ๘ ศอก ยังใช้อยู่ทุกวันนี้ จากนั้นหลวงพ่อก็ได้กลับวัดวังมุยและได้เริ่มงานสร้างสะพานหน้าวัดขึ้น มีความยาว ๑๒ ศอก กว้าง ๘ ศอกสิ้นเงิน ๓๐,๐๐๐ บาทเศษกินเวลา ๒ เดือนเสร็จสมบูรณ์พอดี หลวงพ่อได้กล่าวว่า ทุกครั้งที่ไปนั่งหนักเป็นประธานการสร้างสะพาน นายห้องบริษัทธานินท์อุตสาหกรรมจำกัด


    จะส่งเงินมาร่วมสมทบทำบุญด้วยทุกครั้งเมื่อเสร็จกิจนิมนต์แล้ว หลวงพ่อได้กลับมายังวังมุย และได้ยืนหนังสือลาออกจากตำแหน่งต่างๆ ทุกตำแหน่ง เมื่อทุกอย่างเรียบกร้อยดีแล้ว หลวงพ่อได้ธุดงค์ต่อไปอีก ตั้งใจว่าจะขึ้นไปเหนือสุดของประเทศ โดยเริ่มธุดงค์ออกทางอำเภอห้างฉัตร เห็นองค์พระเจดีย์ปรักหักพังรู้สึกเศร้าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง จึงได้พักอยู่เพื่อจะบูรณะซ่อมแซม เมื่อหลวงพ่อได้จัดทำพำนักเรียบร้อยแล้ว ก็เริ่มงานบูรณะองค์พระเจดีย์ทันที่ โดยมีชาวบ้านช่วยเหลือมากมายทั้งกำลังงานและทุนทรัพย์ ขณะที่บูรณะขุดวางรากฐานใหม่ ได้พบศิลาจารึกมีใจความว่า องค์พระเจดีย์นี้พระนางจามเทวีเป็นผู้สร้าง และจะมีพระสงฆ์ ๓ รูป มาบูรณะต่อเติม หลวงพ่อได้สอบถามชาวบ้านดูได้ความว่ามีพระมาบูรณะ ๒ องค์แล้ว หลวงพ่อเป็นองค์ที่ ๓ และขณะที่ขุดลึกลงไปใต้องค์ฐานพระเจดีย์ ได้พบไหซองใบใหญ่หนึ่งใบปิดปากแน่นหนา หลวงพ่อจึงได้สั่งให้ชาวบ้านนำขึ้นมาเก็บไว้ก่อน จะเชิญกำนันผู้ใหญ่บ้านหนองหล่มมาร่วมเป็นสักขีพยานในการเปิดออกดู เมื่อเชิญกำนันผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านมาพร้อมแล้วจึงได้เปิดไหออก ปรากฏว่าภายในมีแต่เบี้ยทั้งนั้น หลวงพ่อจึงได้สั่งให้ปิดปากให้สนิทแล้วนำลงฝั่งที่เดิม จากนั้นได้ขุดเพื่อวางรากฐานต่อไป ได้



    พบสิ่งสำคัญอีกมากมาย ล้วนมีค่าทั้งสิ้น หลวงพ่อได้สั่งให้เทปูนซีเมสต์ปิดทับและหล่อคอนกรีตปิดฝังไว้ให้แน่นหน้า เพื่อป้องกันของมีค่าอันเป็นสมบัติโบราณจะถูกขุดคุ้ยนำออกไปการบูรณะครั้งนี้ใช้เวลาถึง ๓ เดือนเศษ จึงแล้วเสร็จหลวงพ่อได้สร้างศาลาขึ้น ๑ หลังด้วย จากนั้นก็ได้ธุดงค์ต่อไป โดยตั้งใจจะไปนมัสการพระบรมธาตุดอยตุง การธุดงค์ครั้งนี้มีสามเณรร่วมไปด้วย ๒ รูป และศรัทธาอีก ๑ คน ซึ่งขอติดตามท่านไป หลวงพ่อก็อนุญาตให้ติดตามไปด้วย โดยบอกให้เดินตามอย่างให้คลาดสายตา หลวงพ่อได้เดินธุดงค์ไปทางอำเภอเวียงป่าเป้า บุกป่า ผ่าดง ขึ้นเขา ลงห้วย ไปตามกำลังแรงศรัทธา และมีโอกาสหาความสงบวิเวก ในการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฎฐาน เข้านิโรธสมาบัติทบทวนวิชาความรู้ที่ได้ศึกษาร่ำเรียนมา และเป็นการแสวงธรรมแผ่เมตตาจิตแด่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ขณะที่ธุดงค์ผ่านป่าทึบเวียงป่าเป้า ผ่านดอยนางแก้ว ได้พบรอยเท้าเสือขนาดใหญ่เท่าฝ่ามือ มีรอยเท้าเหยียบย่ำผ่านไปใหม่ๆ ซึ่งรอยน้ำขังยังขุ่นอยู่ หลวงพ่อได้แผ่เมตตาส่งกระแสร์จิตให้ โดยอธิษฐานว่า หากมีกรรมเก่าติดค้างมา ก็จะขอยอมเสียชีวิตเพื่อบูชาพระพุทธ พระธรรม หลวงพ่อได้เดินทางต่อไปจนทะลุป่าก็ไม่พบเสือตัวนั้นเลย


    เมื่อถึงเชียงรายได้พักที่ป่าช้าเพื่อจะได้ธุดงค์ไปยังถ้ำปุ่ม ถ้ำปลา ต่อไป ขณะที่พักอาศัยอยู่นั้น ชาวบ้านได้นำอาหารมาถวาย และสอบถามหลวงพ่อว่า จะไปไหนต่อไป หลวงพ่อได้บอกตามเจตนาจะไปถ้ำ เพื่อนมัสการพระพุทธรูในถ้ำนั้น ชาวบ้านได้ขอร้องห้ามมิให้หลวงพ่อไป เพราะขณะนี้มีช้างตัวใหญ่กำลังตกมันอาละวาดอยู่ในป่า ซึ่งเป็นทางที่จะขึ้นสู่ถ้ำ และช้างตัวนี้ฆ่าคนมาแล้ว ขอหลวงพ่ออย่าเข้าไปเลย หลวงพ่อนิ่งคิดอยู่จนในที่สุดจึงได้กล่าวว่า อาตมาตกลงใจแล้วว่าจะต้องขึ้นไปบนถ้ำ เพื่อนมัสการพระพุทธรูปให้ได้ตามวันเวลาที่กำหนดไม่สามารถหยุดอยู่ได้ และอาตมาขอขอบใจมากที่ได้แจ้งข่าวบอกให้รู้ จากนั้นหลวงพ่อ สามเณรและผู้ติดตาม ได้ออกเดินทางเข้าป่าทันที ขณะที่ผ่านป่าหลวงพ่อได้ตั้งจิตภาวนา แผ่เมตตาจิตให้แก่ช้างตกมันเชือกนั้น และหลวงพ่อก็ได้พบช้างตัวนั้นกำลังอาละวาด พุ่งชนต้นไม้ใหญ่ที่ขวางหน้าอยู่ ขณะที่หลวงพ่อและคณะเดินเข้าไปใกล้ช้างตกมันตัวนั้นได้มองดูหลวงพ่อ และคณะที่กำลังเดินจะผ่านไป ช้างตกมันตัวนั้นกลับหันหน้าเข้าสู่กอไผ่ หันก้นให้พร้อมกับยืนนิ่ง พับใบหูไปๆมาๆอย่างสำราญใจ หลวงพ่อและคณะได้เดินผ่านไปอย่างปกติโดยไม่มีเหตุการณ์ใดๆ เกิดขึ้น หลวงพ่อไม่



    พักที่ใดถึงแม้จะจวนค่ำมืดแล้วก็ตาม คงตั้งหน้าธุดงค์ไปให้ถึงถ้ำให้ได้ ด้วยจิตใจอันมั่นคงขณะเมื่อขึ้นสู่ปากถ้ำนั้น ได้พบฤาษี ๔ องค์ อาศัยอยู่บนถ้ำ เมื่อฤษีเห็นหลวงพ่อและคณะผ่านป่าขึ้นมาได้ จึงได้ไต่ถามว่า ขณะเดินผ่านป่ามาพบช้างตกมันอยู่หรือเปล่า หลวงพ่อตอบไปว่าพบ แต่ไม่เห็นเขาทำอะไรอาตมาเลย ฤาษีต่างอุทานออกมาด้วยความตกใจ เพราะช้างตัวนี้ตกมัน หนุ่มดุร้ายมาก และเมื่อเช้านี้เองมันยังไล่พวกฤาษีที่ออกไปหาอาหาร และมันทำไม่ถึงไม่ทำร้ายท่านเป็นเรื่องที่น่าแปลกมา พวกฤาษีที่อยู่บนถ้ำนี้ไม่สามารถออกไปติดต่อขอข้าวสารจากชาวบ้านมาเกือบอาทิตย์แล้ว นับว่าเป็นเพราะบารมีของหลวงพ่อแก่กล้าจริงๆ ที่ผ่านมาได้ เมื่อรับฟังแล้วหลวงพ่อก็นิ่งเฉยเสีย จากนั้นหลวงพ่อได้นำสามเณรทั้งสองและผู้ติดตามไปฝากพระภิกษุชรา ผู้ดูแลรักษาวัดถ้ำเพื่อของฝากฝังศิษย์ไว้ด้วย จากนั้นได้บอกกล่าวแก่ศิษย์ว่า จะเข้าไปปฏิบัติธรรมในถ้ำ ๗ วัน ถ้าหากหลวงพ่อไม่กลับออกมาให้กลับวัดกันได้ ในย่ามมีเงินอยู่บ้างและกลับไปก็ไม่ต้องบอกกล่าวอะไรกับญาติโยมทั้งสิ้น เมื่อสั่งเสร็จเรียบร้อยแล้ว หลวงพ่อก็ครองผ้าใหม่เรียบร้อยพร้อมดอกไม้ ธูปเทียน ไม้ขีดไฟ และเอาน้ำใส่ในบาตรเข้าถ้ำไป


    จากนั้นหลวงพ่อได้เข้านั่งบริกรรมสมาธิ ปฏิบัติธรรม และเข้าสู่นิโรธสมาบัติติดต่อกันจนครบ ๗ วัน ๗ คืน โดยมิได้ฉันอาหารใดๆเลย นอกจากน้ำในบาตรที่นำเข้าไปเท่านั้น เมื่อครบกำหนด ๗ วัน หลวงพ่อได้ออกจากนิโรธสมาบัติภายในก้นถ้ำปรากฏว่าจีวรสังฆาฏิที่ครองอยู่เปียกชื้นหมด จึงได้ลูกเดินออกมาสู่ปากถ้ำ และได้อยู่ใกล้ปากถ้ำเพื่อปฏิบัติภาวนาทำนิโรธสมาบัติต่อเป็นวันที่ที่ ๘ ขณะที่เตรียมจัดนั่งเพื่อปฏิบัติธรรม หลวงพ่อได้เห็นหนูท้องขาวตัวใหญ่ตัวหนึ่ง ได้มาวิ่งวนรอบตัวหลวงพ่อ แล้วมาหยุดยืนยกขาหน้าขึ้น ต่อหน้าหลวงพ่อถึงสามครั้งสามหน แล้วก็วิ่งหนีหายเข้าถ้ำไป จากนั้นหลวงพ่อก็นั่งภาวนาทำนิโรธสมาบัติต่อไป พอสว่าง หลวงพ่อออกจากสมาธิญาณสมาบัติเดินออกจากถ้ำจะลงมาพบสามเณรและผู้ติดตาม ปรากฏว่าพระภิกษุผู้ชรา สามเณรทั้งสองและผู้ติดตามได้มายืนคอยอยู่แล้ว ต่างเข้าประคองหลวงพ่อลงไปและต้มข้าวถวายให้ฉันพร้อมกับพูดว่า หลวงพ่อจะเข้านิโรธสมาบัติก็ไม่บอกให้ผมรู้ด้วย จะได้บอกชาวบ้านเขามาเอาส่วนบุญด้วย หลวงพ่อก็ได้แต่นิ่งไม่กล่าวประการใด เมื่อได้ปฏิบัติธรรมเสร็จเรียบร้อยด้วยจิตใจอันอิ่มเอิบแล้ว หลวงพ่อก็ได้ธุดงค์ต่อไปยังพระธาตุดอยตุง ขณะที่ธุดงค์เข้าในป่าเขา ลึก


    ๑๐
    เข้าไปจนรู้สึกว่า ไม่ผ่านพบผู้คนและบ้านเรือนเลย และเวลาก็ใกล้จะเพลแล้ว เกรงว่าสามเณรและผู้ติดตาม จะเกิดความหิวทนทานไม่ได้หลวงพ่อจึงตั้งจิตอธิษฐาน ด้วยกุศลเจตนาที่ได้เพียรปฏิบัติมขอให้ได้พบบ้านผู้คนด้วย หลังจากธุดงค์ไปอีกไม่นาน ก็พบบ้านหลังหนึ่ง มีชายชราสูงอายุผู้หนึ่งกำลังนั่งเหลาไม้อยู่ เมื่อได้เห็นหลวงพ่อและคณะจะธุดงค์ผ่านไป ก็รีบเข้ามานิมนต์ให้ฉันน้ำเสียก่อน จากนั้นก็รีบขึ้นบนเรือนจัดหาอาหาร นิมนต์หลวงพ่อ สามเณร ขึ้นบนเรือนฉันเพลทันที เมื่อฉันอาหารเสร็จแล้ว ก็ให้ศีลให้พรแก่ชายชราผู้นั้น ซึ่งทั้งบ้านไม่มีใครเลย คงมีชายชราผู้นี้แต่ผู้เดียว ชายชระผู้นี้ได้เรียนถามถึงการปฏิบัติธรรมเข้าสู่นิโรธสมาบัติได้ถึง ๗ – ๘ วัน โดยไม่อ่อนเพลียเช่นนี้ นับว่าหลวงพ่อมีบุญบารมีพลังจิตกล้าแข็งมาก ขอให้รักษาไว้ให้ดี เพื่อโปรดเมตตาต่อสัตว์โลกและมวลมนุษย์ จากการตั้งปัญหาถามเองและตอบเองนี้ ยังความประหลาดใจให้กับหลวงพ่อมาก


    เพราะไม่เคยเอ่ยอ้างหรือเล่าสู่ให้ฟังก่อนเลย จะทราบด้วยญาณใดก็ไม่ทราบได้เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว ชายชราได้อาสานำทางพาหลวงพ่อออกสู่ถนนหลวง เพื่อผ่านตัวเมืองต่อไป เมื่อชายชราได้นำมาถึงชายป่าและชี้ทางสู่ถนนหลวงแล้วจึงได้รีบอำลากลับทันที โดยหลวงพ่อมิได้หันหน้ากลับ ไปดูชายชราผู้นั้นเลย
    ต่อจากนั้นหลวงพ่อได้จาริกแสวงบุญปฏิธรรบโปรดสัตว์ไปยัง ณ ที่ต่างๆ พำนักตามป่าช้าเรื่อยมา ทุกเข้าชาวบ้านจะมาทำบุญตักบาตรถวายอาหาร หลวงพ่อจัดแบ่งฉันพอสมควรนอกนั้นได้ให้ผู้อื่นหมดสิ้น หลวงพ่อได้ปฏิบัติธรรมเข้านิโรธสมาบัต โดยไม่ฉันอาหารใดๆ นอกจากน้ำครบ ๗ วัน และก็ธุดงค์ต่อไปยังที่อื่นๆ รวมกับการปฏิบัติธรรมนิโรธสมาบัติเพื่อเป็นพุทธบูชา โดยกุศลผลบุญที่ได้มา ขอสละเป็นบัดพลี มีส่วนช่วยอุทิศส่วนกุศลให้แก่อมนุษย์ได้มากมาย ผู้เขียนได้กราบเรียนถามหลวงพ่อว่า การอดอาหารครั้งละ ๗-๘ วันนั้น หลวงพ่อมีความรู้สึกอย่างไรบ้าง หลวงพ่อกล่าวตอบว่าไม่รู้สักเหน็ดเหนื่อยหรืออ่อนเพลียหิวโหยเท่าใดนักเป็นการปฏิบัติธรรมด้วยความสมัครใจ เป็นการฝึกถึงความอดทน เพียร และพยายาม เพื่อลุผลแห่งการปฏิบัติธรรมอันนี้




    ๑๑
    ศิษย์ครูบาศรีวิชัย หรือครูบา ศีลธรรม วัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน
    เมื่อมีการสร้างทางขึ้นพระบรมธาตุดอยสุเทพในปี พ.ศ. ๒๔๗๘ ด้วยการริเริ่มและนำโดย ครูบาศรีวิชัย หรือ อีกนามหนึ่งที่เรียกกันว่า ครูบาศีลธรรม ซึ่งในขณะนั้นหลวงพ่อมีอายุได้ ๓๗ ปี ยังหนุ่มแน่นอยู่ ได้เข้าร่วมช่วยเหลือการสร้างด้วยโดยมีพระภิกษุ ๔ รูปด้วยกัน สมัครเข้าเป็นสานุศิษย์ของท่าน คือ หลวงพ่อชุ่ม พระโสภาวัดถวาย อ.หางดง จ.เชียงใหม่ พระเหลา วัดแม่ตื่น อ.ลี้ จ.ลำพูน และพระแก้ว วัดพระเจ้าตนหลวง จ.ลำปาง ท่านครูบาศรีวิชัยได้แบ่งแยกหน้าที่การงานให้ปฏิบัติ โดยเฉพาะหลวงพ่อทำหน้าที่ช่วยเหลือท่านครูบาศรีวิชัยอย่างใกล้ชิด ทั้งภายในวัดและนอกวัด ได้รับข้อปฏิบัติธรรมจากท่านครูบาศรีวิชัยมากมาย โดยมีโอกาสได้ศึกษากันอย่างใกล้ชิดจนเกิดความชำนาญ ทุกยามค่ำท่านครูบาศรีวิชัยจะอบรมสั่งสอนข้อปฏิบัติมาธิวิปัสสนากัมมัฎฐาน จนได้เวลาพอสมควรก็ให้เลิกและเริ่มปฏิบัติในวันรุ่งขึ้นเวลาตี ๔ ทุกวัน เมื่อสว่างก็ให้ออกบิณทบาตร์โปรดสัตว์ จากข้อปฏิบัติธรรมเหล่านั้นท่านได้บอกกล่าวไว้ว่า หากปฏิบัติได้ถูกต้องแล้วจะมีอายุยืนยาว จากการที่ได้เข้าร่วมศึกษาปฏิบัติธรรม ช่วยเหลือครูบาศรีวิชัยตลอดมาได้รับความเมตตาอารีย์จากท่านมาก


    ทุกครั้งที่ท่านครูบาศรีวิชัยถูกเรียกตัวเข้ากรุงเทพฯในข้อหาต่างๆ หลวงพ่อได้รับหน้าที่เป็นผู้ดูแลรักษาวัดและทำหน้าที่แทนท่านในการรับประเคนของถวายและนั่งรับแขกเหลื่อที่มาทำบุญ โดยท่านไม่ลืมสั่งไว้ว่าหากพวกยางมาหาก็รับประเคนแทน และให้ศีลให้พรแทนด้วย บอกเขาด้วยว่าไม่กี่วันจะกลับมาหลวงพ่อได้ทำหน้าที่แทนหลายครั้งหลายหน ในบางครั้งหลวงพ่อกลับวังมุย เมื่อท่านครูบาศสรีวิชัยมีธุระจะส่งคนไปตามให้รีบกลับมา ปัญหาการถูกรบกวนมีหลายครั้งหลายตอน แต่ท่านก็กลับมาทุกครั้งโดยไปครั้งละ ๓ วัน ๕ วัน ถึง ๗ วัน ก็เคย และทุกครั้งที่ท่านกลับมาท่านจะไม่พูดถึงเรื่องราวใดๆ ให้ทราบเลย คงยึดหลักปักม่นในการสร้างทางมุ่งสู่องค์พระธาตุดอยสุเทพเท่านั้นเมื่อใกล้เวลาจะสร้างทางแล้วเสร็จ ท่านครูบาศรีวิชัยได้เรียกหลวงพ่อเข้าไปพบเป็นการส่วนตัว ได้ทบทวนขยายข้อมูลพระสูตรต่างๆ และข้อปฏิบัติธรรมทั้งหมดที่ได้รับจากท่านมา และท่านได้มอบพัดหางนกยุงพร้อมกับไม่เท้าให้โดยสั่งไว้ว่า เอาไว้เดินทาง เทศนาธรรมเผยแพร่ธรรมแทนท่านด้วยเมื่อการสร้างทางเสร็จสิ้นลง ท่านครูบาศรีวิชัยได้เดินทางไปสร้างพระวิหาร ที่วัดโคมคำ


    ๑๒
    อ.พะเยา จ.เชียงราย ต่ออีก หลวงพ่อได้เล่าต่อไปอีกว่ามีอยู่ครั้งหนึ่ง ขณะที่ธุดงค์ผ่านวัดพระแก้วดอนเต้า จ.ลำปาง เห็นวิหารที่ท่านครูบาศรีวิชัยได้สร้างไว้ จะร่วมทำบุญด้วยก็ไม่มีเงิน จึงได้ตั้งจิตอธิษฐานสละถวายพัดหางนกยูง และไม้เท้าที่ท่านครูบาศรีวิชัยได้กรุณามอบให้ร่วมทำบุญเป็นพุทธบูชา ผู้เขียนได้เรียนถามถึงพระอีก ๓ รูป ที่ร่วมเป็นศิษย์ครูบาศรีวิชัย ในการสร้างทางขึ้นพระบรมธาตุดอยสุเทพ ขณะนี้อยู่ที่ใดบ้าง หลวงพอได้กล่าวตอบอย่างสลดใจว่า ท่านทั้งสามได้มรณภาพไปหมดแล้ว คงเหลืออาตมาเพียงรูปเดียวเท่านั้น
    ขณะที่ท่านครูบาศรีวิชัยป่วยอยู่ ณ วัด จามเทวี หลวงพ่อได้ไปเยี่ยมและอยู่เฝ้าพยาบาลท่านร่วมกับครูบาธรรมชัยวัดประตูป่า หลวงพ่อ่ได้จ้างช่าง


    มาปั้นรูปเหมือนท่านครูบาเอาไว้ขนาดเกือบเท่าองค์จริง เมื่อช่างได้จัดการปั้นรูปเหมือนเสร็จแล้ว ได้นำเข้าไว้ยังปลายเท้าท่านและได้ช่วยกันประคองท่านนั่ง เมื่อท่านครูบาได้เห็นองค์รูปเหมือนของท่านแล้ว นำตาได้เอ่อคลอเบ้าและได้หลั่งไหลลงอาบแก้ม ท่านได้ใช้มือลูกไล้รูปเหมือนท่าน และได้สั่งหลวงพ่อไว้ว่า ให้ถือปฏิบัติดังรูปนี้น๊ะ จากนั้นท่านครูบาได้สั่งเณรให้นำเอาไม้เท้าและพัดหางนกยูงออกมาให้ เมื่อสามเรณได้นำมามอบให้ดังประสงค์แล้ว ท่านครูบาได้นำมอบให้กับหลวงพ่ออีกได้สั่งเสียไว้ว่า ให้เก็บรักษาไว้ให้ดีถือปฏิบัติแทนตัวท่าน รูปเหมือนองค์ที่หลวงพ่อจ้างช่างปั้นไว้ พัดหางนกยูงและไม้เท้าได้เก็บรักษาไว้ที่วัดวังมุย หากท่านผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใสและต้องการเคารพบูชา ขอเชิญได้ทุกเวลา
    ด้วยสัจจบำเพ็ญบารมีของหลวงพ่ออันประเสริฐ ที่ได้ยึดถือข้อปฏิบัติคำสอนอย่างเคร่งครัดได้คุณธรรมอันวิเศษ มีพลังจิตและญาณอันแก่กล้าที่ได้บำเพ็ญเพียรมา ตามคติอาจารย์จนเชี่ยวชาญอักขระพระเวทย์เลขยันต์ พระสูตรและอาคมของหลวงพ่อจึงขลังยิ่งนัก โดยเฉพาะด้านคงกระพันมหาอุด แคล้วคลาด และคุณไสยด้วยแล้วเป็นที่เชื่อได้ในฤทธิ์ธานุภาพ อันประกอบด้วยพลังแห่งญาณที่หลวงพ่อได้แผ่เมตตาจิตลงในวัตถุเหล่านั้น




    ๑๓
    คุณธรรมบารมี
    ตั้งแต่บรรพชาเป็นสามเณรเป็นต้นมาหลวงพอได้ละเว้นไม่ฉันเนื้อสัตว์ ทุกชนิด และฉันอาหารเพียงมื้อเดียวตลอดมา ต่อมาจนเมื่อใกล้กึ่งพุทธกาล หลวงพ่อรุ้สึกว่ามีอาการร้อนจากไขสันหลังและแผ่นหลัง นักวันทวีหนักยิ่งขึ้น จึงได้ปรึกษาแพทย์ แพทย์ได้ตรวจอาการแล้วได้ขอร้องให้ฉันเนื้อสัตว์บ้าง เพราะเกิดจากการขาดธาตุโปรตินที่จะทำหน้าที่บำรุงเสี้ยงร่างกาย จากนั้นมาหลวงพ่อจึงได้ฉันเนื้อสัตว์แต่ก็ยังยกเว้น ไม่ฉันเนื้อวัวและควายอีก หลวงพ่อมีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงมีความทรงจำเป็นเลิศ และแม่นยำ หลวงพ่อถือการบินฆบาตรเป็นการโปรดสัตว์ทุกวัน สวดมนต์ทำวัตร ถือกัมมัฎฐานแผ่เมตตาจิตต่อสัตว์โลกทั้งปวง หลวงพ่อเป็นอริยะสงฆ์ที่สละแล้วซึ่งกิลเลสทั้งปวง ท่านชำระจิตของท่านดั่งน้ำและดิน สิ่งใดที่ไม่มีจริง ท่านจะไม่พูดและไม่ตอบเลย เพราะท่านเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่ต้องการให้เกิดความมัวหมองอันเป็นกิเลสขึ้น หลวงพ่อยึดมั่นในพรหมวิหารสี่ ใครผู้ใดก็ตามไม่ว่ายากดีมีจนเดือนร้อนมา ท่าจะจะช่วยแก้ไขแบ่งเบาภาระให้จนหลุดพ้น หลวงพ่อไม่สะสมทรัพย์สินหรือหรือสิ่งอันใดเลย แม้กระทั้งลาภยศได้ถวายคืนเจ้าคณะจังหวัดหมดสิ้นได้แก่เจ้าคณะตำบลประตูป่า พระอุปัชฌาย์ พระครู ลาภสักการะที่ท่านได้มาหรือมีผู้นำถวาย หลวงพ่อจะแจกจ่ายไปหมดสิ้นใช้ในการก่อสร้างถาวรวัตถุดังกล่าวมาแล้วและแจกจ่ายคนยากจนทั้งหลาย หลวงพ่อมีเมตตาธรรมประจำใจ ไม่ค่อยขัดต่อผู้ใดที่ขอร้องให้ท่านช่วยเหลือ


    ถ้าไม่เกินขอบเขตแห่งพระวินัยขอปฏิบัติโดยเฉพาะผู้เจ็บป่วยด้วยคุณไสยด้วยแล้วเชือกและน้ำมนต์ของท่านขลังยิ่งนัก มีอยู่ครั้งหนึ่งหลวงพ่อได้ธุดงค์ไปถึงอำเภอฮอด เข้าพักในป่าช้าบ้านบ่ง ชาวบ้านเหล่านั้นมีด้วยกันหลายเผ่าหลายภาษา ลัวะ, ยาง, กระเหรี่ยง, ได้เอาเนื้อสดๆ มาถวายโดยบอกว่า เป็นส่วนของวัดหนึ่งหุ้นที่ล่าสัตว์มาได้หลวงพ่อไม่ยอมรับและบอกว่าหากจะนำถวายพระหรือสามเณรควรจัดทำให้สุกเป็นอาหารมาจึงจะรับได้ และขอบิณฑบาตอย่าได้ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเขาเลย และขอบิณฑบาตอย่าได้ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเขาเลย ในยามค่ำหลวงพ่อได้ทำวัตร สวดมนต์ทำสมาธิแผ่อธิฐานจิตให้สรรพสัตว์ทั้งปวง จนใกล้สว่างจึงออกบิณฑบาต พวกชาวบ้านก็ใส่บาตรให้ และได้ขอร้องหลวงพ่อไม่ให้สวดมนต์อีกต่อไป โดยกล่าวหาว่า เช้าก็สวด ฉันข้าวก็สวด เย็นก็สวด กลางคืนก็สวด เข้าป่าล่าสัตว์ไม่ได้


    ๑๔
    สัตว์มาหลายวันแล้ว ด้วยคุณธรรมบารมีของหลวงพ่อที่มีต่อสรรพสัตว์ทั้งที่รู้ภาษาและไม่รู้ภาษา ต่างก็รอดพ้นจากการถูกเบียดเบียนซึ่งกันและกัน อันนำมาซึ่งความอยู่เย็นเป็นสุขทั่วหน้ากัน
     
  3. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    [​IMG]

    มรณภาพ



    หลวงพ่อหรือหลวงปู่ครูบาชุ่ม โพธิโก ถึงแก่มรณภาพเข้าสู่แดนบรมสุขเมื่อวันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ.2519 สิริอายุได้ 78 ปี 65 พรรษา คงเหลือไว้แต่คุณงามความดีของท่านและวัตถุมงคลของท่านซึ่งจากประสบการณ์ของ ผู้ที่ครอบครอง
    วัตถุมงคลของท่าน ล้วนแล้วแต่เป็นประสบการณ์ที่เล่าขานกันไม่รู้จบ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 เมษายน 2010
  4. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    [​IMG]


    ข้อวัตรปฏิบัติ

    ครูบาชุ่มท่านจะตื่นขึ้นมาตอนตี 3 เพื่อปฏิบัติไปตามลำพังในกุฏิของท่านจากนั้นก็กระทำกิจธุระส่วนองค์แล้วจึง เรียกพระเณรให้ทำวัตรเช้าในเวลาประมาณตี 5 ต่อด้วยการนั่งสมาธิภาวนาอีก 1 ชั่วโมง พอคลายออกจากสมาธิจึงนำพระเณรออกบิณฑบาตโปรดสัตว์ ในยามปรกติท่านจะฉันสองมื้อ แต่ในช่วงเข้าพรรษาท่านจะฉันเพียงมื้อเดียว อาหารที่ท่านฉันก็เป็นอาหารพื้นบ้านง่ายๆ อย่างข้าวเหนียว จิ้มกับน้ำพริกผักต้ม แม่เพชร อินโม่ง ซึ่งเป็นผู้ทำอาหารถวายครูบาชุ่มอยู่เสมอ เล่าว่า ท่านชอบทานผักแคบ หรือตำลึงในภาษากลางนั่นเอง ครูบาชุ่มละเว้นไม่ฉันอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ แต่จะฉันบ้างกรณีที่มีญาติโยมมาถวายภัตตาหารเพลและนั่งรอรับพรอยู่ต่อหน้า เป็นการฉันเพื่อไม่ให้ญาติโยมเสียกำลังใจ ช่วงหนึ่ง ครูบาชุ่มป่วย แพทย์ระบุว่าเป็นโรคขาดสารอาหาร ศรัทธาชาวบ้านจึงได้ขอร้องให้ท่านฉันเนื้อสัตว์บ้าง ท่านก็รับปาก

    พระเดชลือชา
    ช่วงเย็น 18.00 น. พระเณรที่วัดวังมุยจะทำวัตรเย็นพร้อมดัน ต่อจากนั้นนั่งสมาธิอีกประมาณ 30 นาที แล้วจึงแยกย้ายกันไปทำกิจส่วนตัวได้ จนใกล้เวลาจำวัด คือราว 20.10 น. ครูบาชุ่มท่านจะนั่งอยู่ด้านหน้า นำสวดบท นะโมฯ 3 จบ แล้วท่านจะเงียบ คอยฟังเสียงของพระเณร ว่าตั้งใจสวดมนต์กันหรือไม่ หากพบว่าองค์ไหนเงียบเสียงไป ท่านจะเมตตาตักเตือนให้ อย่างเบา คือโยนดินสอ หรือหนังสือไปสะกิด และก็มีบ้างที่ท่านต้องเมตตาหนักเป็นกรณีพิเศษ คือสะกิดด้วยกระโถนบิน พระเณรที่ย่อหย่อนจากความเพียร อุตสาหะ วิริยะ ต่างหัวปูด หัวโน ไปตามกัน
    แม่แต่ชาวบ้านที่พ้นวัยเด็กมานาน หากมาส่งเสียงดังในบริเวณวัดอย่างเบาครูลบาชุ่มท่านจะแค่ตวาด และอย่างหนักหน่อยอาจจะโดนท่านยิงด้วยหนังสติ้ก แล้วท่านก็ยิงได้แม่นยำอย่างยิ่ง โดยเล็งที่ขาหรือหลัง พอให้รู้ตัว
    สมัยนั้น ถ้าใครคิดจะให้ลูกหลานมาบวชที่วัดของหลวงปู่ครูบาชุ่ม ต้องยกให้เป็นลูกของท่านเลย เพราะท่านจะอบรมสั่งสอนเต็มที่ แม้แต่เฆี่ยนตีบ้าง พ่อแม่จะต้องยอมรับได้ เพราะท่านจะบอกไว้ก่อนว่าห้ามมาโกรธกัน หากท่านต้องทำโทษเฆี่ยนตีลูก ๆ ในทางธรรมของท่านด้วยความปรารถนาดี
    เด็กบางคนทางบ้านได้ส่งให้มาเป็นขโยม (ลูกศิษย์วัด) รอบวช โดยให้หลวงปู่ครูบาชุ่มอบรมบ่มนิสัยไปด้วย ขโยมรายนี้โดนกระโถนเข้าไปครั้งเดียวเพราะทำผิด ถึงกับโดดหน้าต่างหนีออกจากวัดมาตอนกลางคืนแทบไม่ทันทีเดียวทางบ้านขอร้อง ให้กลับไปอยู่วัดต่ออย่างไร ขโยมน้อยรายนี้ก็ยืนกรานไม่ไปเด็ดขาด ด้วยเห็นว่าหลวงปู่ชุ่มดุมาก
    ก็คงจะเป็นเรื่องจริต วาสนา และความเกี่ยวเนื่องที่ยากจะอธิบายศิษย์อาจารย์บางคน หากไม่มีวาสนเกี่ยวเนื่องกัน ไม่เคยสอรนสั่งกันมาก่อน ต่อให้ทั้งศิษย์หรืออาจารย์คู่นั้นจะเก่งกล้าขนาดไหน ก็ไม่อาจเป็น คู่ปรับ เปลี่ยนแปลงปรับปรุงให้บรรลุถึงมรรคผลอันควรได้

    สายสัมพันธ์ศิษย์ - อาจารย์
    ลูกศิษย์สายตรงของครูบาชุ่ม ในปัจจุบันพอจะกล่าวถึงได้ดังนี้
    1. หลวงพ่อทองใบ โชติปัญโญ เจ้าอาวาสวัดหรหมวนารามหรืออดีต ครูทองใบ สายพรหมมา เป็นศิษย์ได้รับอนุญาตให้สร้างเหรียญครูบาเจ้าชุ่มรุ่นแรกปี พ.ศ. 2517
    2. พระอาจารย์หมื่อน ญาณเมธี วัดพรหมวนาราม นอกจากเป็นศิษย์แล้วท่านยังเป็นหลานแท้ ๆ ของครูบาเจ้าชุ่ม คือตุ๊ลุงหมื่นเป็นบุตรของแม่อุ้ยแก้ว พี่สาวร่วมอุทรของครูบาเจ้าชุ่ม ตุ๊หมื่นได้เก็บรักษาเครื่องระลึกถึงครูบาเจ้าชุ่มไว้หลายอย่าง เช่นภาพถ่ายเก่าๆ ดาบ เล็บ และอัฐิ
    3. พ่อหนานปัน จินา เป็น ศิษย์ที่มีความสนใจในด้านวิชาอาคมขลังและพิธีกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะศาสตร์ในเรื่องตะกรุดซึ่งท่านได้รับการถ่ายทอดจากครูบาเจ้าชุ่มมาพอ สมควร ปัจจุบันท่านเป็นผู้อาวุโสของหมู่บ้าน
    4. พ่ออุ้ยตุ่น หน่อใจ เป็นศิษย์ที่ได้รับความไว้วางใจให้ทำหน้าที่สองอย่างคือปลงเกศาให้ครูบาเจ้าชุ่ม และช่วยสร้างพระผงให้ท่าน
    5. พ่อหนานทอง ปัญญารักษา อายุ 68 ปี เป็นศิษย์อีกท่านที่ปัจจุบันทำหน้าที่ ปู่จารย์ เจ้าพิธีประจำวัดชัยมงคล(วังมุย) พีอหนานทองเป็นผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับพิธีพุทธาภิเษกรูปเหมือนหลวงปู่ชุ่ม เมื่อ พ.ศ. 2520
    6. พ่อหนานบาล อินโม่ง เป็นศิษย์ที่เคยติดตามครูบาเจ้าชุ่มไปธุดงค์ตามสถานที่ต่าง ๆ หลายแห่ง
    7. คุณลุงเสมอ บรรจง ชมรมพระตลาดบุญอยู่ เป็นผู้มีส่วนร่วมสร้างวัตถุมงคลของครูบาเจ้าชุ่ม
    8. พ่อเลื่อน กันธิโน เป็นศิษย์ที่ติดตามอุปัฏฐากครูบาเจ้าชุ่มไปในที่ต่าง ๆ จนถึงวินาทีสุดท้ายที่ท่านไปมรณภาพที่กรุงเทพฯ
    9. อุ๊ยหมื่น สุมณะ (เพิ่ง เสียชีวิตในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2549 ด้วยวัย 101 ปี) เป็นศิษย์อาวุโส ซึ่งมีวัยวุฒิน้อยกว่าครูบาเจ้าชุ่ม 10 ปี เป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับประวัติการสร้างวัดใหม่
    10. อุ๊ยหนานทอง (เสียชีวิตแล้ว) เป็นลูกศิษย์ของครูบาเจ้าชุ่ม แล้วยังเป็นประติมากรผู้รังสรรค์พระรูปเหมือนครูบาเจ้าศรีวิชัย ในขณะที่ท่านรักษาตัวอยู่ ณ วัดจามเทวี ก่อนที่ท่านจะไปมรณภาพที่วัดบ้านปาง
    อุ้ยหนานทองเป็นคนบ้านริมปิง อ.เมือง จ.ลำพูน ท่านได้พบกับครูบาชุ่มตั้งแต่อายุ 15 ปี ตอนนั้นหลวงครูบาชุ่มจาริกไปถึงบ้านริมปิง บ้านเดิมของอุ้ยหนานทอง หนุ่มน้อยได้บังเกิดความเคารพศรัทธาครูบาชุ่มจนขอติดตามกลับมาที่วัดวังมุ ยด้วย ครูบาชุ่มก็เมตตาพามา และจัดการบวชให้เป็นสามเณรที่วัดเก่า (วัดศรีสองเมือง) ต่อมาเมื่ออายุหนานทองอายุครบ 20 ปี หลวงปู่ครูบาชุ่มก็ได้จัดการอุปสมบทให้เป็นพระภิกษุที่วัดใหม่ คือวัดชัยมงคล (วังมุย)
    ช่วงที่บวชเป็นสามเณร สามเณรทองได้เป็นลูกมือช่วยสร้างพระที่วัดมหาวัด จึงได้นำประสบการณืและวิฃาความรู้ครั้งนั้น มาใช้ในงานปั้นพระประธานไว้ในโบสถ์วัดเก่า จำนวน 3 องค์ ขนาดเท่าคนจริง แต่หลังจากวัดเก่าได้ถูกทิ้งร้าง พระประธานทั้ง 3 องค์ ที่สามเณรทองปั้นไว้ ก็หายสาบสูญไป
    พอครูบาชุ่มได้มาดำเนินการสร้างวัดใหม่ คือวัดชัยมงคล (วังมุย) ท่านก็ได้มอบหมายให้อุ้ยหนานทองรับหน้าที่ปั้นพระประธาน และพระขนาดเล็กอีกเป็นจำนวนมาก
    11. หลวงพ่อบุญรัตน์ กนฺตจาโร เจ้าอาวาสวัดโขงขาว จ.เชียงใหม่
    หลวงพ่อบุญรัตน์ ได้พบหลวงปู่ครูบาเจ้าชุ่มครั้งแรกในระหว่างที่ทั้งคู่ต่างอยู่ในระหว่าง ธุดงค์หลีกเร้นเพื่อบำเพ็ญสมณธรรมตามป่าเขา ขอยกความตอนหนึ่ง จากเนื้อหาประวัติของหลวงพ่อบุญรัตน์ ที่นิตยสารโลกทิพย์ จัดพิมพ์
    "หลวงพ่อบุญรัตน์ กนฺตจาโร มีโอกาสได้พบและน้อมรับอุบายธรรมปฏิบัติจากหลวงปู่ครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก ในครั้งแรกนั้นก็ด้วยครั้งที่ติดตามหลวงพ่อชื่อนออกธุดงค์ ซึ่งได้ไปพักปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดร้างในป่าสวนหลวงนั่นแหละ คือวันหนึ่ง หลวงปู่ครูบาชุ่มท่านได้เดินทางมาเยี่ยมหลวงพ่อชื่นลูกศิษย์ของท่าน ที่มาพักจำพรรษาอยู่ที่วัดร้างในป่าสวนหลวง หลวงปู่ครูบาชุ่มท่านเดินกางร่มสีแดงมาด้วย เห็นแต่ไกล สมัยนั้นร่มสีแดง พอมาถึงที่วัดร้างแล้ว หลวงปู่ครูบาชุ่มท่านก็นั่งพักสนทนาถามทุกข์สุขกับหลวงพ่อชื่น หลวงพ่อบุญรัตน์ได้เห็นลักษณะอัดงดงามยิ้มแย้มแจ่มใสของหลวงปู่ครูบาชุ่มว่า ท่านมีเมตตาดีก็เข้าไปนมัสการท่าน หลวงปู่ครูบาชุ่มท่านยิ้มรับ สอบถามได้ความว่า หลวงพ่อบุญรัตน์ก็มีความสนใจในการปฏิบัติธรรม และได้เคยออกธุดงค์บำเพ็ญสมาธิ เจริญพระกรรมฐาน จึงกว่าวว่า
    "เออดีแล้ว ดีแล้ว ได้มาบวช โอ้โฮ เป็นบุญเป็นกุศลแล้ว ให้ปฏิบัติธรรมเข้านะ จะได้เป็นบุญที่จะติดตัวเราไปข้างหน้าเนาะ อันอื่นน่ะเอาไปไม่ได้เนาะ มีเงินมีทองมีสมบัติพัสถานก็เอาไปไม่ได้ จะเอาไปได้ก็เป็นบุญเป็นกุศลนี่แหละที่จะเป็นเงาติดตามตัวเราไป ให้หมั่นหาเข้านะ พุทโธก็ได้ อะไรก็ได้ ให้นึกถึงสังขาร ให้ปลงสังขารมันเสีย ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ไม่เที่ยงแท้แน่นอนมันเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยงแท้แน่นอน ทุกขังก็เป็นทุกข์ อนัตตาก็ใช่ตนใช่ตัว เราเกิดมาในครั้งนี้ เรามีเพียงแต่คนเดียวกลับไปก็กลับคนเดียว เราจะชวนคนอื่นกลับไม่ได้ ร่างกายของเรานี่ไม่ใช่ของเรานะ ใช่ของเราไหม?"
    หลวงพ่อบุญรัตน์ถามว่า "เป็นยังไงครับหลวงปู่ ไม่ใช่ร่างกายของเรา"
    หลวงปู่ครูบาชุ่มท่านยิ้มและบอกว่า "ไม่ใช่ ถ้ามันเป็นของเรา มันคงไม่ปวด บอกว่า อย่าไปวดนะ มันก็คงไม่ปวด อย่าไปเจ็บนะ มันก็คงไม่เจ็บ แล้วทำไมมันปวด มันเจ็บ ทีนี้หลวงปู่ก็เหมือนกัน ตาก็ไม่สว่าง ต้องใส่แว่นตาดูหนังสือ ถ้ามันเป็นของหลวงปู่ หลวงปู่ก็จะบอกกับมันว่า ตานะ อย่าไปเสียนะ ก็คงจะดีนะคงไม่ต้องใช้แว่นตา ผมที่บนศรีษะ บนหัวนี่นะ ทำไมมันหงอกนะ หลวงปู่ครูบาชุ่มพูดพลางหัวเราะ พลางชี้ไปที่ศรีษะของท่าน"
    "ถ้าเป็นผมของหลวงปู่แล้วมันคงไม่หงอกแน่นอน ไม่มีอะไรเที่ยงแท้แน่นอน หายึดสิ่งใดในโลกนี้ไม่มี นอกจากพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ศีลธรรม กรรมฐานเท่านั้นที่จะติดตามตัวเราไปข้างหน้า ไม่เสียเวลาเกิด ถ้าเราเกิดมาเราบวช เราประพฤติปฏิบัติ โอ้โฮ เป็นบุญเป็นกุศลของเรา มาบวชนี่จะไปหวังอะไร ? ให้หวังบุญหวังกุศลเท่านั้น

    ผลของการปฏิบัติ
    ครู บาชุ่มท่านเป็นพระผู้ทรงศัลาจารวัตร และมุ่มมั่นในการปฏิบัติอย่างแรงกล้า ครั้งหนึ่งท่านนั่งสมาธิอยู่ในพระวิหารที่วัดวังมุย ได้เกิดมีเปลวไฟฉายโชนออกจากร่างกายของท่าน แลดูสว่างไสว มีผู้ที่อยู่ในบริเวณนั้นเห็นเหตุการณ์หลายคน พ่อหนานปัน ก็เป็นหนึ่งในนั้น ได้เห็นไฟลุกโพลนขึ้นท่วมร่างของครูบาชุ่ม จากนั้นเปลวไปได้เคลื่อนออกจากกาย ตรงขึ้นไปที่ปล่องด้านข้างของพระวิหาร พอครูบาชุ่มคลายออกจากสมาธิ ลูกศิษย์ที่เป็นห่วงได้รีบเข้าไปถามว่า ครูบาเจ้าเป็นอะไรไปหรือเปล่า ทำไมไฟลุกขึ้นมา ท่านได้เมตตาบอกว่า เป็นเพราะผลของการปฏิบัติ



     
  5. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    [​IMG]


    อิทธิพุทธาคม
    ของหลวงปู่ครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก
    หลวงปู่ชุ่ม หรือ ครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก เป็นพระผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ท่านปฏิบัติตามแนวทางกรรมฐาน 40 ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างอุกฤษฏ์ ชนิดยอมเอาชีวิตเข้าแลก จึงปรากฏว่าท่านเป็นที่เคารพบูชาของชาวล้านนา และบุคคลทั่วไปอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะเมื่อ 30 ปีก่อน นามของท่านยิ่งขจรขจายฟุ้งไปอีก กับเรื่องราวที่ท่านเข้านิโรธสมาบัติ
    หลวงปู่ชุ่มเป็นพระทีรอบรู้และเคร่งครัดในพระธรรมวินัย บำเพ็ญบารมี 10 ประการ อันประเสริฐตลอดชีวิตสมณเพศ และมีความวิริยะอุตสาหะปฏิบัติเพื่อมรรคผลสูงสุดในพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง
    ด้วยพลังแห่งฌานสมาบัติที่แก่กล้า และพลังแห่งเมตตาจิต รวมทั้งสรรพวิชาที่ท่านได้เพียรศึกษาและสั่งสมมาตามคติครูบาอาจารย์ ทำให้กิตติศัพท์ความเก่งกล้าทางด้านวิชาพุทธาคมของหลวงปู่ชุ่ม เป็นที่เชื่อมั่นในหมู่ประชาชนยิ่งนัก โดยเฉพาะด้านคงกระพัน มหาอุด แคล้วคลาด
    หลวงปู่คำแสน คุณาลังกาโร วัดป่าดอนมูล อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ ผู้เป็นสหธรรมมิกอาวุโสสูงกว่า เคยนิมนต์หลวงปู่ชุ่มไปเป็นประธานในพิธีพุทธาภิเษกพระเครื่อง เพื่อหาทุนสร้างโรงเรียนและศาลาวัดป่าดอนมูล กล่าวว่า
    หลวงปู่ชุ่มท่านเป็นพระภิกษุที่มีความชำนาญด้านการผูกอักขระเลขยันต์ต่างๆ รวมทั้งมีอำนาจฌาณสมบัติที่แกกล้าและขลังมาก
    หลวงปู่ชุ่มได้รับนิมนต์ให้ไปเป็นประธานในพิธีพุทธาภิเษกหลายงาน ครั้งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดงานหนึ่ง ได้แก่ พิธีพุทธาภิเษกอัฐิท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย วัดบ้านปาง จ.ลำพูน หลวงปู่ชุ่มเป็นองค์ประธานในพิธี มีพระอริยะเจ้าทั่วภาคเหนือเข้าร่วมในพิธีนี้ ซึ่งนับเป็นประวัติการณ์อันมิได้ปรากฏขึ้นโดยง่าย
    ครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาซึ่งเป็นพระอาจารย์ของครูบาเจ้าชุ่ม ท่านมรณภาพ ในปี พ.ศ.2481 วัดบ้านปางเก็บรักษาสังขารของท่านไว้ระยะหนึ่ง จากนั้นได้เคลื่อนย้ายมาเก็บรักษาไว้ที่ วัดจามเทวี จ.ลำพูน อีก 8 ปีต่อมา คือ พ.ศ. 2489 จึงได้รับพระราชทานเพลิงศพ หลังจากงานพระราชทานเพลิงศพเสร็จสิ้น จึงได้มีพิธีพุทธาภิเษก และจัดแบ่งอัฐิของนักบุญแห่งล้านนาไปบรรจุไว้ที่ต่างๆ
    แล้วในวันที่ 27 ตุลาคม ปี พ.ศ.2517 หลวงปู่ชุ่มยังได้ไปเป็นประธานในพิธีพุทธาภิเษกเหรียญครูบาเจ้าศรีวิชัย ซึ่งจัดสร้างขึ้นใหม่ ณ วัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน อีกด้วย นับว่าหลวงปู่ชุ่มท่านได้แสดงมุทิตาจิต่อพระอาจารย์ของตนเป็นอย่างดียิ่ง
    [​IMG]

    [​IMG]

    ชื่อเสียงเกียรติคุณของหลวงปู่ชุ่มยิ่งขจรไกล ความเลื่องลืเกี่ยวกับวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังต่างๆ ก็เพิ่มขึ้นด้วย บางครั้งเหล่าผู้มีจิตศรัทธาสร้างขึ้น และนำมาให้ท่านอธิษฐานจิตปลุกเสก ไม่ว่าจะเป็นพระเครื่องทั้งประเภทเนื้อโลหะ และประเภทเนื้อผง เมื่อผู้เลื่อมใสศรัทธานำไปพกพาติดตัว เพื่อความเป็นสิริมลคลแก่ตนเองและครอบครัว ต่างประสบเหตุการณ์ มีอภินิหารต่างๆ นานา ทั้งด้านเมตตามหานิยม มหาอุด แคล้วคลาด คงกระพัน ส่งผลให้ชาวจังหวัดลำพูน และชาวจังหวัดใกล้เคียงในยุคนั้น ต่างแวะเวียนมากราบนมัสการท่าน เพื่อขอของดีกันไม่ขาดสาย ท่านจึงมักเมตตาทำวัตถุมงคลแต่ละชนิดให้แต่ละคนตามวาสนาที่แตกต่างกัน โดยที่หลวงปู่ชุ่มไม่เคยตั้งราคาวัตถุมงคลที่ท่านแจกเลย ทั้งนี้ผู้มีจิตศรัทธาจะทำบุญกับท่านตามกำลังทรัพย์ที่พึงมี ปัจจัยทั้งหลายที่มีผู้ทำบุญถวายแด่ท่าน ล้วนถูกนำไปใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ และการศาสนาทั้งสิ้นวัตถุมงคลของท่านในยุคเริ่มแรกจะเป็น ผ้ายันต์ ตะกรุด ล็อกเกตรูปถ่ายของท่าน และพระผงที่จัดสร้างเพื่อนำไปบรรจุตามพระเจดีย์ต่างๆ ที่ท่านไปนั่งหนักเป็นประธานสร้าง หรือบูรณปฏิสังขรณ์ไว้นั่นเอง
    [​IMG]

    ตำนานลือลั่นของ ยันต์ตะกรุดเสื้อ รุ่นกองพลเสือดำ
    หลัง จากสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง ได้เกิดสงครามเวียดนามคุกรุ่นขึ้น โดยในราวปี พ.ศ.2507 รัฐบาลเวียดนามใต้ ได้ส่งหนังสือขอความช่วยเหลือทางการทหาร และทางเศรษฐกิจจากประเทศฝ่ายโลกเสรี
    รัฐบาลไทยได้ลงมติรับหลักการให้ความช่วยเหลือแก่เวียดนามใต้ ต่อสู้กับเวียดนามเหนือ ซึ่งมีการปกครองระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2507 โดยพิจารณาจัดส่งกำลังพลไปเป็นระยะๆ ตลอดเวลาหลายปี ต่อมาในปี พ.ศ. 2511 ได้ส่งกำลังเพิ่มเติมในรูปของกองพลทหารเข้าทำการรบทั้งสิ้นจำนวน 3 ผลัด ผลัดละ 1 ปี
    เหล่าทหารอาสาสมัครในกองพลเสือดำรุ่นที่ 1 และ 2 จำนวนหลายสิบนาย ได้มากราบนมัสการหลวงปู่ชุ่ม เพื่อขอวัตถุมงคลไว้เป็นสิริมงคล และปกป้องคุ้มภัย ก่อนเดินทางเข้าร่วมรบในสงคราม ซึ่งหลวงปู่ได้มอบ ยันต์ตะกรุดเสื้อ ให้กับทหารทุกนาย ปรากฏว่า ทหารหน่วยพลเสือดำที่มียันต์ตะกรุดเสื้อ ต่างรอดพ้นจากภยันตรายกลับสู่ภูมิลำเนา พร้อมกันทุกนาย ต่อมายังได้รับเหรียญกล้าหาญมาประดับอกเชิดชูความเสียสละ กล้าหาญ อีกด้วย หลังจากนั้น ทุกครั้งที่เหล่าทหารหาญรุ่นต่อไปจะออกเดินทางเข้าสู่สมรภูมิรบ หลวงปู่ชุ่มจะได้รับนิมนต์ให้เป็นประธานประพรมน้ำพระพุทธมนต์ที่บริเวณชานชา ลาสถานีรพไฟเชียงใหม่ทุกครั้ง ทหารบางนายมาขอให้หลวงปู่ชุ่มอาบน้ำพระพุทธมนต์ถึงวัดวังมุยเลยก็มี
    มูลเหตุของการสร้าง ยันต์ตะกรุดเสื้อ นั้น เนื่องมาจากสามเณรองค์หนึ่งซื่อสามเณรบุก เป็นชาวบ้านศรีสุพรรณ จ.ลำพูน สามเณรผู้นี้มีความสนใจทางด้านคาถาอาคมมาก ได้ยินกิตติศัพท์ในเรื่องการลงอักขระเลขยันต์ การผูกยันต์และความเก่งกล้าทางวิทยาคมของครูบาเจ้าชุ่ม จึงได้เพียรพยายามมาขอให้ท่านทำตะกรุดไปใช้ ท่านจึงได้ผัดผ่อนเรื่อยมา สามเณรก็เพียรพยายามขอหลายต่อหลายครั้งอย่างไม่ย่อท้อ จนหลวงปู่ชุ่มทนการรบเร้าอ้อนวอนจากสามเณรไม่ได้ จึงได้จัดสร้างตะกรุดเสื้อให้ไปหนึ่งชุด
    เมื่อสามเณรได้ตระกรุดเสื้อจากหลวงปู่ชุ่มไปแล้ว นายวงค์ผู้เป็นน้าชายของสามเณรนั้น ได้ขอยืมตะกรุดเสื้อต่อจากสามเณรไปอีกที ปรากฏว่าหลังจากนั้น นายวงค์ผู้นี้ไปเป็นมิจฉาชีพ ทำการจี้ ปล้นสดมภ์ ชาวบ้านทั่วภาคเหนือจนได้รับขนานนามว่า เสือวงค์ ข่าวการจี้และปล้นสดมภ์ของเสือวงค์ในยุคนั้น ร้อนถึงเจ้าหน้าที่ฝ่ายปราบปรามที่ต้องวางแผนหาทางสกัดจับเสือวงค์ให้ได้โดย เร็ว แต่ในการเข้าปะทะจับกุม เสือวงค์ผู้นี้ก็สามารถฝ่าวงล้อมและห่ากระสุนหลบหนีไปได้ทุกครั้ง โดยมิได้รับอันตรายเลย
    การปล้นสดมภ์ของเสือวงค์ได้แผ่ขยายพื้นที่มากขึ้น สร้างความหวากกลัวให้แก่ชาวบ้าน แล้วยังสร้างความลำบากใจให้เจ้าหน้าที่ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ด้วย สามเณรบุกจึงได้สารภาพกับหลวงปู่ชุ่ม ถึงเรื่องที่เสือวงค์ขอยืมเอาตะกรุดเสื้อจากตนแล้วหนีหายกลายไปเป็นเสือร้าย ยังความสลดใจให้กับหลวงปู่ชุ่มอย่างยิ่ง
    อย่างไรก็ตาม เรื่องของยันต์ตะกรุดเสื้อ เป็นตัวอย่างที่ดีในการใช้ชีวิตเป็นอนุสสติให้ระลึกว่า ของดีขอวงศักดิ์สิทธิ์นั้น หากนำไปใช้ในทางที่ผิดก็ย่อมถูกโมหะเข้าครอบงำก่อให้เกิดโทษ ในทางกลับกันของสิ่งเดียวกันนั้นทากถูกใช้อย่างพินิจพิจารณาด้วยจิตอันเป็น กุศล ย่อมยังคุณประโยชน์อย่างมหาศาล
    [​IMG]
    ตะกรุดยันต์หนังลูกควายตายพราย
    เป็นตะกรุดพิเศษดอดเดียวที่มีชื่อเสียงทั่วภาคเหน่อในสมัยเมื่อ 35 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะสำหรับผู้ต้องการแสวงหาวัตถุมงคลไว้ป้องกันตัว หลวงปู่ชุ่มได้รับการถ่ายทอดวิชานี้มาจาก ท่านมหาเมธังกร จังหวัดแพร่ ซึ่งได้ถ่ายทอดวิชาทำตะกรุดหนังให้จนหมดสิ้น โดยท่านใช้เวลาศึกษาอยู่สองพรรษาเมื่อผู้คนได้ทราบว่าหลวงปู่ชุ่มท่านได้รับ การถ่ายทอดวิชาการทำตะกรุดยันต์หนังลูกควายตายพรายนี้มา ต่างก็พากันมาขอจากท่าน ต่อมาจึงได้มีประสบการณ์เลื่องลือ ยืนยันถึงพุทธคุณในด้านคงกระพัน มหาอุด และยังมีด้านเมตตามหานิยมอีกด้วย
    หลวงปู่ชุ่มท่านได้เมตตาสร้างตะกรุดออกมาสงเคราะห์แก่ญาติโยม ลูกศิษย์ และผู้ศรัทธาทั้วไป ตั้งแต่ปี พ.ศ.2485 โดยในช่วงหลัง ราวๆ ปี พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา พ่อหนานปัน จินา ลูกศิษย์ที่หลวงปู่ชุ่มได้ทำการครอบครูให้ เป็นศิษย์สืบทอดศาสตร์การสร้างตะกรุดหนังลูกควายตายพรายนี้แต่ผู้เดียว โดยจะเป็นผู้ทำการลงเลยยันต์ม้วนหนังความเป็นรูปตะกรุด หลังจากนั้นจึงปั้น (พอก) ครั่งอีกที
    เคร็ดวิชานี้ ตามตำราระบุว่าต้องใช้หนังลูกควายเผือกที่ตายอยู่ในท้องแม่ควายเผือกซึ่งตาย ทั้งกลม ที่สำคัญเขาลูกควายที่อยู่ในท้องต้องไม่ทะลุท้องแม่ควาย และวิธีพิสูจน์ว่าเป็นหนังควายเผือกแท้หรือไม่ ขณะทำการจารอักขระบนหนังควายนั้น หนังควายจะหมุน
    หนังลูกควายตามลักษณะดังกล่าว สามารถนำมาทำตะกรุดได้เพียงประมาณ 200-300 ศอก
    [​IMG]
    ยันต์หนีบ
    ในภาษาถิ่นล้านนา บางครั้งคำว่า ยันต์ ก็หมายถึง ตะกรุด ด้วยเช่น เสื้อยันต์ หมายถึง ตะกรุดที่ถักร้อยเป็นลักษณะเสื้อยันต์ ฉะนั้น เวลาพูดถึง ยันต์ และ ตะกรุด ของภาคเหนือ จึงต้องมีคำขยายลักษณะให้ชัดเจนจึงจะสามารถเข้าใจตรงกันได้ เช่น ยันต์หนีบ เป็นต้น
    ยันต์หนีบนี้มีลักษณะเป็นแผ่นโลหะลงอักขระ 2 ด้านประกบกัน กล่าวกันว่า ผู้ที่ถูก ทำ ด้วยยันต์หนีบ คือถูกเขียนชื่อสอดไว้ในยันต์หนีบนี้ จะตกอยู่ในอาการลุ่มหลง สิเน่หา รักใคร่ผู้เป็นเจ้าของยันต์หนีบยิ่งนัก ถือว่าเป็นศาสตร์แห่งวิชาทางไสยศาสตร์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง และนิยมกันมากในหมู่ชายหนุ่มแห่งดินแดนล้านนาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
    ตะกรุดปรอท
    ตะกรุด ปรอท เป็นวัตถุมงคลที่หลวงปู่ชุ่มนำออกมาแจกญาติโยมซึ่งแวะเวียนไปกราบนมัสการ ท่านเสมอๆ ท่านทำตะกรุดไว้หลายรุ่น หลายขนาด ทั้งแบบเป็นตะกั่ว ลงอักขระ ม้วนเป็นตะกรุดแล้วร้อยด้วยเชือก ทั้งแบบมีหนังความหุ้มตะกรุดอีกที และแบบปรอทมีรูตรงกลาง ใช้รัดท่อนแขน ห้อยคอ และคาดเอว
    ปรอทเป็นโลหะที่พิเศษพิสดาร คือเป็นของเหลวไหลไปมาไม่อยู่นิ่ง พระที่ท่านซัดปรอทให้แข็งตัวได้ ย่อมต้องอาศัยกำลังจิตที่แกร่งกล้านัก

    ผ้ายันต์
    หลวง ปู่ชุ่มเมตตาสร้างผ้ายันต์ที่มีแบบ ขนาด และสีต่างกันไป ตามพุทธคุณที่แตกต่างกัน ท่านได้ผูกอักขระลงพระเวทย์ครบถ้วนตามตำราโบราณ ซึ่งท่านทรงภูมิยิ่ง ผ้ายันต์มีพุทธคุณในด้านคงกระพันชาตรี มหาอุด อีกทั้งเมตตามหานิยมสูงมาก ป้องกันด้านคุณไสยฯ ได้เป็นอย่างดี
    พระผงที่หลวงปู่ชุ่มจัดสร้างเพื่อบรรจุเจดีย์
    มีพ่ออุ๊ยตุ่น หน่อใจ เป็นผู้ช่วยหลวงปู่ชุ่มดำเนินการสร้างพระผงพิมพ์ต่างๆ โดยหลังจากฝากตัวเป็นศิษย์ ก็ได้เป็นผู้ทำหน้าที่ปลงเกศาให้หลวงปู่ชุ่ม โพธิโก ด้วย
    ตำนานพระรอดเณรจิ๋ว
    พัน ตำรวจเอกพิเศษ อรรณพ กอวัฒนา (ปัจจุบันเกษียณราชการแล้ว) ผู้ที่หลวงปู่ชุ่มให้ความเมตตามากท่านหนึ่ง ได้เคยให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องพระรอดนอกตำนานไว้ว่า
    พระรอดเณรจิ๋วนี้ เมื่อท่านครูบาบุญทึมสร้างเสร็จแล้ว ก็ได้มอบให้ท่านครูบาชุ่ม โพธิโก ซึ่งอยู่ใกล้ชิดกับท่านครูบาศรีวิชัยปลุกเสกให้เสร็จสิ้น แล้วก็แจก จ่ายกันเรื่อยไป ปริมาณการสร้างก็ไม่ได้นับไว้แต่มีจำนวนประมาณ 1 บาตรพระที่เหลือจากแจกจ่ายตั้งแต่สร้างเสร็จ จนก่อน พ.ศ. 2518 เหลือพระอยู่ประมาณ 1/3 บาตร และในปีนี้นี่เอง (2518) ก็แจกจ่ายกันไปจนหมดสิ้น ผมเองเคยคัดสวยๆ เอาไว้จำนวนหนึ่ง
    ชื่อพระเครื่องเหล่านี้ (พระรอดน้ำต้น พระรอดแขนติ่ง พระรอดครูบากองแก้ว พระรอดเณรจิ๋ว) ท่านผู้สร้างไม่ได้ตั้งชื่อเอาไว้แต่ประการใด เป็นพวกเรานี่เองที่ไปตั้งชื่อให้ท่านเพื่อความสะดวกในการเล่นหานั่นเอง
    ข้อมูลนี้ได้มาจากการบอกเล่าของหลวงปู่ครูบาชุ่ม โพธิโก กับหลวงปู่ครูบาบุญทึม พรหมเสโน เองโดยตรงเมื่อประมาณปี พ.ศ.2518 แต่ก็เป็นความไม่ใส่ใจของผมเองแหละครับที่ไม่ได้สอบถามว่าพระรอดเณรจิ๋วนี้ มีกี่พิมพ์ที่แตกต่างไปจากพิมพ์ที่ท่านมอบให้ผมมา จำได้ว่าพระเครื่องส่วนนี้หลวงปู่ครูบาชุ่มฯ นำออกมาจากที่ท่านก็เก็บและผมเห็นมีเหลือบรรจุอยู่ในบาตรอีกประมาณ 1/3 ของบาตร แล้วท่านก็ยังได้เทน้ำลงไปล้างพระและเขย่าๆ บาตรเพื่อให้พระสะอาดก่อนที่จะนำมาแจกจ่ายญาติโยม ผมเองเมื่อเห็นดังนั้นยังค้านเสียงหลงเลยครับว่าไม่ต้องล้างหรอกครับหลวง ปู่ฯ (ผมกลัวพระจะเสียหาย) ท่านก็ว่าไม่เป็นไรพระแข็งแรงดีมีผงเก่าอยู่มาก
    มูลเหตุการสร้างเหรียญรุ่นแรก ปี พ.ศ. 2517
    วัตถุมงคลที่หลวงปู่ชุ่มจัดสร้างขึ้น ล้วนมาจากความเมตตาของท่านในความปรารถนาที่จะสงเคราะห์ประชาชน บูชาพระรัตนตรัย และสืบทอดพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น สำหรับมูลเหตุของการจัดสร้างเหรียญรุ่นแรกของท่านมีดังนี้
    สืบเนื่องจาก ชื่อเสียงเกียรติคุณของหลวงปู่ครูบาเจ้าชุ่มได้ขจรขจายออกไป ทำให้ประชาชนจากทุกสารทิศได้สดับฟัง หาโอกาสเดินทางมากราบนมัสการท่าน แล้วมักแจ้งความประสงค์อยากได้เหรียญรูปเหมือนของท่านกลับไปสักการะบูชา แต่หลวงปู่ชุ่มท่านไม่เคยจัดสร้างเลย และไม่อนุญาตให้ใครจัดสร้างด้วย ท่านยังกล่าวอีกว่าต้องการให้ผู้มีความเคารพเลื่อมใส มีมานะพยายามไปหาท่านด้วยตัวเองมากกว่า ซึ่งท่านก็จะมีวัตถุมงคลชนิดอื่นๆ เมตตาแจกญาติโยมให้ตรงตามจริตวาสนาของแต่ละคนด้วย แต่ทั้งนี้ท่านก็ยังทิ้งท้ายให้ความหวังไว้ว่า เมื่อถึงเวลาอันสมควรนั่นแหละจึงจะทำ เวลาล่วงเลยมานับสิบปี จนถึงปี พ.ศ. 2517 หลวงปู่ชุ่มมีวัย 76 ปี ในที่สุดท่านก็อนุญาตให้ศิษย์ของท่านที่ชื่อ ครูบาท่องใบ จัดสร้างเหรียญรูปเหมือนของท่านขึ้นเป็นวาระแรก
    ครูบาทองใบ สายพรหมา ตอนนั้นเป็นรองผู้อำนวยการวิทยาลัยพลศึกษา เชียงใหม่ หรือในปัจจุบัน ก็คือหลวงพ่อทองใบ โชติปญฺโญ เจ้าอาวาสวัดพรหมวนาราม อ.สารภี จ.เชียงใหม่ (เขตติดต่อกับลำพูน) ท่านเมตตาย้อนรำลึกถึงเหตุการณ์เมื่อ 30 กว่าปีก่อนว่า
    ในวันนั้นเป็นงานบำเพ็ญกุศลศพพ่อตาของครูทองใบ โดยทางบ้านของอดีตภรรยาได้นิมนต์หลวงปู่ชุ่มมาเป็นพระประธานสงฆ์ ครูทองใบจึงมีโอกาสพูดคุยและกราบเรียนการสร้างเหรียญกับท่าน
    หลวงปู่ชุ่มท่านรักและเมตตาครูทองใบเป็นพิเศษ เพราะครูเป็นคนว่านอนสอนง่าย แล้วยังเป็นผู้มีใจใฝ่ในกุศล โดยมักจะนำรถไปช่วยงานวัด และ รับ-ส่งหลวงปู่ชุ่มไปประกอบศาสนกิจอยู่เสมอ
    ครูทองใบจึงพูดขึ้นมาว่า เดี๋ยวนี้ใครๆ เขาก็รู้จักหลวงพ่อหมด โดยเฉพาะทางภาคเหนือ เพราะหลวงพ่อเป็นพระเกจิ ผมว่ามันถึงเวลาแล้ว หลวงพ่อน่าจะทำเหรียญออกมาสักรุ่น เพื่อจะได้ให้คนนำไปบูชาและนำปัจจัยมาสร้างวัด
    หลวงปู่ชุ่มท่านนิ่งพิจารณาอยู่นานพอสมควร ในที่สุดจึงกล่าวว่า หลวงพ่ออนุญาต ถ้าเกิดครูคิดว่าดี และครูสามารถทำได้
    แม้ครูทองใบจะเปรยเรื่องการสร้างเหรียญเอง แต่ก็ทราบดีว่า มีลูกศิษย์รุ่นก่อนๆ และคนทั่วไปหลายคนมาขออนุญาตท่านทำเหรียญหลายครั้งหลายหนนับสิบปีแล้ว แต่ท่านก็ไม่เคยอนุญาต
    พอท่านอนุญาตในคราวนี้ จึงทำให้ครูทองใบทั้งแปลกใจ และภูมิใจ
    นับแต่บัดนั้น ครูทองใบก็ตั้งใจที่จะทำเหรียญของครูบาอาจารย์อย่างดีที่สุด วันหนึ่งได้พบกับครูยุทธ เดชคำรณ ซึ่งเป็นนักสะสมพระ และเป็นนักเขียนสมัครเล่นในหนังสือ ของดีเมืองเหนือ ครูยุทธแสดงความแปลกใจที่ได้ยินชื่อเสียงของหลวงปู่ชุ่มมานาน แต่ไม่เคยเห็นวัตถุมงคลของท่านวางจำหน่ายตามแผงพระเลย โดยเฉพาะเหรียญ เมื่อคุยไปคุยมา ครูยุทธก็ถามครูทองใบว่าพอจะรู้จักหลวงปู่ชุ่ม เมืองลำพูนบ้างไหม
    ครูทองใบตอบยิ้มๆ ว่า
    ผมรู้จักดี เพราะท่านเป็นครูบาอาจารย์ของผม ท่านรักผมเหมือนลูก ถ้าพี่นะไป ผมยินดีที่จะอาสาพาไปกราบ
    นับจากนั้น ครูทองใบจึงได้ครูยุทธเป็นแนวร่วมอีกคน แล้วยังมีคุณอิศรา เทพหัสดิน ณ อยุธยา ซึ่งเปิดกิจการโรงพิมพ์อยู่ที่ จ.เชียงใหม่ มาช่วยด้วย
    คุณอิศราได้ให้ช่างทำบล็อก พระแบบต่างๆ ขึ้นมา เพื่อนำไปให้หลวงปู่ชุ่มพิจารณาเลือกแบบ
    นับว่าเป็นเหรียญรุ่นแรกที่ต้องรอคอยมาอย่างยาวนาน หลวงปู่ครูบาชุ่มท่านได้ผูกยันต์ ลงอักขระตามพระสูตรให้อย่างครบถ้วน ดังที่ปรากฏอยู่ด้านหลังเหรียญรุ่นนี้ และท่านก็ได้แผ่อธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยวตลอด 7 วัน 7 คืน ในพระวิหาร วัดชัยมงคล (วังมุย) เริ่มทำพิธีเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2517
    การตรวจรับนัยของที่หลวงปู่อนุญาตให้จัดสร้างครั้งนี้ ได้กระทำกันต่อหน้าหลวงปู่และคณะกรรมการที่หลวงปู่ได้อนุมัติให้แต่งตั้ง ขึ้น คืออาจารย์ยุทธ เดชดำรณ ศึกษานิเทศก์ เขตศึกษา 8 อาจารย์ทองใบ สายพรหมา รองผู้อำนวยการวิทยาลัยพลศึกษา เชียงใหม่ และ ม.ร.ว.เอี่ยมศักดิ์ จรูญโรจน์วันที่ 5 ธันวาคม 2517 จัดทำพิธีฉลองสมโภช เจ้าคณะภาค เจ้าคณะจังหวัด และพระเถระชั่นผู้ใหญ่ในจังหวัดลำพูน สวดเจริญพระพุทธมนต์ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร ฯลฯ หลวงปู่ชุ่มนั่งปรกบริกรรมแผ่พลังเมตตาจิตตลอดคืนสุดท้าย เช้าวันที่ 6 ธันวาคม 2517 สวดเบิดพระเนตรและมงคลสูตรต่างๆ เสร็จพิธีทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหาร พระสงฆ์อนุโมทนา เสร็จพิธี
    วัตถุมงคลโดยพระราชดำริ
    ในปัจฉิมวัยของหลวงปู่ครูบาชุ่ม โพธิโก ท่านเปิดเผยเกียรติภูมิเต็มองค์ โดยร่วมเส้นทางธรรมสัญจรไปพร้อมกับหลวงพ่อฤาษีลิงดำ และเผ่าพงศ์พระสุปฏิบันโน ผู้ล้วนเป็นสหธรรมิกที่มีสายสัมพันธ์แน่นแฟ้น
    เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 หลวงปู่ครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก พร้อมด้วยหลวงพ่อฤาษีลิวดำ หลวงปู่ครูบาวงค์ หลวงปู่ครูบาธรรมชัย และพระเถระอีกหลายรูป ได้เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษก ผ้ายันต์มหาพิชัยสงคราว และพระเถระอีกหลายรูป ได้เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษก ผ้ายันต์มหาพิชัยสงคราม ที่พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร อารามหลวงชั้นเอก ตามพระราชโองการอาราธนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ จากนั้นได้นำออกไปแจกเหล้าทหารหาญทั่วประเทศ ปรากฏว่าพุทธคุณเป็นเลิศเลื่องลือยิ่ง


    พระสมเด็จปรกโพธิ์ปัจเจกธรรม
    ด้วยความโชคดีที่ว่าไว้ข้างต้นนั่นแหละที่ได้พบ “พระปัจเจกธรรม” พระเนื้อผงอีกพิมพ์หนึ่งจากหลายๆ พิมพ์ องค์ที่จะกล่าวถึงนี้เป็นพระสมเด็จพิมพ์ปรกโพธิ์ ด้านหลังจะมีเศษพัดหางนกยูง จึงนิยมเรียกกันว่า “สมเด็จหางนกยูง” เนื้อมวลสารและแบบพิมพ์จะคล้ายกับพระสมเด็จของหลวงพ่อพรหม วัดช่องแค และพระสมเด็จครูบาขันแก้ว วัดสันพระเจ้าแดง ซึ่งคณะศิษย์รัศมีพรหมโพธิโก ได้สร้างถวายครูบาชุ่ม โพธิโก นอกจากนี้มีมวลสารบางส่วนครั้งเมื่อสร้างพระสมเด็จของหลวงพ่อพรหม วัดช่องแค ผสมอยู่ด้วย สำหรับหางนกยูงที่นำมาโรยไว้ที่ด้านหลังของพระปัจเจกธรรมนั้น ได้มาจากพัดหางนกยูงของครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชโย ที่ชำรุดบางส่วน ซึ่งพัดหางนกยูงนี้ ครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชโย ได้มอบให้ไว้แก่ครูบาชุ่ม โพธิโก ในฐานะเป็นศิษย์ที่ใกล้ชิด พระปัจเจกธรรมนี้ ได้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๙ จำนวนเพียงไม่กี่ร้อยองค์เท่านั้น จากนั้นครูบาชุ่ม โพธิโก ได้อธิษฐานจิตปลุกเสก เมื่อวันที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๑๙ ก่อนที่ครูบาชุ่ม โพธิโก จะมรณภาพในอีก ๕ เดือนถัดมา
    [​IMG]
    [​IMG]

    ผู้อุดมด้วยวิชชาและวิมุตติ
    เมื่อหลวงปู่ครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก ละสังขารไปในปี พ.ศ. 2519 คณะศิษย์เก็บรักษาสังขารของท่านไว้ ณ วัดชัยมงคล (วังมุย) เพื่อรอกำหนดการพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ครุบาวงค์ สหธรรมิกรุ่นน้องและศิษย์ร่วมพระอาจารย์เดียวกัน คือครูบาเจ้าศรีวิชัย ได้จัดสร้างพระรูปเหมือนของหลวงปู่ครูบาเจ้าชุ่ม ขนาดเท่าองค์จริง ทั้งท่ายืน และท่านั่งสมาธิ เนื้อสัมฤทธิ์ ชนิดงามพรั่งพร้อม ในเชิงศิลปกรรมและบริบูรณ์ด้วยสังฆคุณ โดยพระรูปเหมือนท่านั่งสมาธิปัจจุบันได้รับกาปิดทองแล้ว ประดิษฐานไว้ในพระวิหาร วัดชัยมงคล (วังมุย) มีคำจาตึกนามของท่าน พระครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก ผู้อุดมด้วยวิชชาและวิมุตติ
    และพระรูปเหมือนขนาดเท่าองค์จริง ท่ายืน ประดิษฐานไว้ ณ อนุสรณ์ กู่หลวงปู่ชุ่ม โดยมีพระคาถาบูชาองท่านจารึกไว้ด้วย
    ในครั้งนั้น ได้มีการจัดสร้างรูปเหมือน ครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก ขนาดบูชา หน้าตัก 5 นิ้ว และ 1 นิ้ว เพื่อเป็นที่พึ่งที่ระลึกในวาระเดียวกันด้วย โดยพระรูปเหมือนทั้งหมด เข้าพิธีพุทธาภิเษกอย่างยิ่งใหญ่โดยพระมหาเถระหลายรูป เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 หลวงปู่ครูบาวงค์ เป็นผู้ทำพิธีเบิกพระเนตร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 เมษายน 2010
  6. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    ตำนานนครหริภุญชัย



    [​IMG]

    มีเอกสารโบราฯหลายฉบับที่กล่าวถึงชุมชนหนึ่ง ซึ่งมีความเจริญรุ่งเรืองและมีวิวัตนาการสืบต่อกันมาอย่างยาวนาน นั่นคือเมืองหริภุญชัย หรือจังหวัดลำพูนในปัจจุบัน ได้แก่ตำนานมูลศาสนา ตำนานพระเจ้าเลียบโลก จามเทวีวงศ์ สังคีติยวงศ์ และชิกาลมาลีปกรณ์
    นอกจากนี้ ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 2 ก็ได้กล่าวถึงเมืองลำพูนเอาไว้ แล้วยังมีหนังสือร่วมสมัยด้านโบราณสถานและโบราณวัตถุ โดยนักโบรานคดีชั้นครูอย่าง รศ.ดร.ศรีศักร วัลลิโภดม เรื่อง รายงานเรื่องแคว้นหริภุญชัย โบราณคดีไทยในทศวรรษที่ผ่านมา ผู้สนใจสามารถค้นคว้าเพิ่มเติมได้ตามอัธยาศัย
    ใน ตำนานมูลศาสนา ซึ่งเป็นต้นตำนานของพระธาตุเจ้าหริภุญชัยเล่าว่า ครั้งเมื่อพระพุทธเจ้าได้เสด็จมาบิณฑบาตยังชัยภูมิแห่งหนึ่ง โดยเสด็จเลียบฝั่งแม่น้ำระมิงค์ขึ้นไปทางทิศเหนือ ครั้นมีพระพุทธประสงค์จะประทับนั่งก็ปรากฏหินก้อนหินก้อนหนึ่งโผล่มาจากพื้น ดิน มีพระยาชมพูนาคราชและพระยากาเผือกออกมาอุปัฏฐากพระพุทธองค์ จากนั้นมีชาวลั๊วะผู้หนึ่งนำหมากสมอมาถวาย เมื่อพระองค์ทรงเสวยเสร็จแล้ว จึงทรงทิ้งเมล็ดหมากสมอลงบนพื้นดินเมล็ดหมากสมอนั้นได้ทำประทักษิณ 3 รอบ
    พระพุทธองค์ทรงมีพุทธทำนายว่า สถานที่แห่งนี้ต่อไปในอนาคตจะเป็นทีตั้งของ นครหริภุญชัย หลังจากที่พระองค์ปรินิพพานแล้ว จะมีพระบรมสารีริกธาตุ เป็นต้นว่า พระธาตุกระหม่อม พระธาตุกระดูกอก พระธาตุกระดูกนิ้วมือ และพระธาตุย่อยอีกเต็มบาตรหนึ่ง มาประดิษฐานอยู่ ณ ที่นี้ด้วย
    ส่วนเรื่องการสร้างนครหริภุญชัย ปรากฏรายยละเอียดสอดแทรกอยู่ในพระราชชีวะประวัติของปฐมกษัตรีย์ทรงพระนามพระ นางเจ้าจามเทวี นี่เอง
    เรื่องราวเกี่ยวกับพระนางเจ้าจามเทวี ปฐมกษัตริย์ของนครหริภุญชัยนี้มีกล่าวถึงในหลายตำนาน มีการพรรณนาความแตกต่างกันไปบ้างแต่ยังคงเค้าความเหมือนกันโดยอรรถ
    วรรณคดีเรื่อง จามเทวีวงค์ ก็เป็นอีกเล่มหนึ่ง ที่มีผู้อ้างอิงศึกษาทั้งทางด้านศาสนาและประวุติศาสตร์กันมาก ให้รายละเอียดเกี่ยวพระนางเจ้าจามเทวี แบละพระราชวงค์ที่สืบสันตติวงค์ต่อมาร่วม 50 พระองค์ สมชื่อหนังสือ
    นักวรรณคดี จามเทวีวงค์ เป็นพงศาวดาร คือเป็นเรื่องราวว่าด้วยประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนาและบ้านเมืองควบคู่กัน ต้นฉบับเดิมรจนาเป็นภาษาบาลี มี 15 ปริเฉท ปรากฏตอนท้ายทุกปริเฉทว่า อันมหาเถรมีนามว่า โพธิรังสี ได้แต่งตามคำมหาจารึก
    มีผู้สันนิษฐานว่า พระโพธิรังสี ชาวเชียงใหม่ รจนา จามเทวีวงค์ ขึ้น ราว พ.ศ. 1950-2060 ซึ่งจากต้นฉบับที่ท่านว่า แต่งตามคำมหาจารึกก็แสดงว่ามีต้นฉบับเดิมที่เก่าแก่ขึ้นไปกว่านั้นอีก เคยมีผู้เสนอตำนานฉบับที่เชื่อว่าเป็นจาตกโดยตรงของท่านสุเทวฤาษี ผู้สร้างนครหริภุญชัย ในกลุ่มเฉพาะเช่นกัน
    จามเทวีวงค์เล่าเรื่องราวตั้งแต่ปฐมเหตุในการสร้างเมืองหริภุญชัย คือเมื่อพระพุทธเจ้าได้เสด็จมาประทับ ณ สถานที่แห่งนี้ แล้วทรงฉันสมอ ลูกสมอตรงกับภาษาบาลีว่า หะรีตะกะ คำว่า ฉัน ภาษาบาลีว่า ภุญชัยยะ ดังนั้นต่อมาผู้คนจึงเรียกขานสถานที่แห่งนี้ว่า หริภุญชัย จวบจนระยะกาลตอมา นาม บุรพนคร ก็เคยถูกใช้เรียกเมืองลำพูนในเอกสารโบราณยุคหนึ่งด้วย
    ท่านวาสุเทถพฤาษี (บางแห่งเรียกสุเทวฤษี) ได้สถาปนานครหริภุญชัยขึ้นเมื่อราว พ.ศ.1204 เพราะเห็นว่าเป็นชัยภูมิอันอุดมมลคล ด้วยทราบว่าพระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาประทับ จึงได้รวบรวมชาวบ้านผู้คนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในละแวกนั้นให้อยู่รวมกัน และปรึกษากัลสุกกพทันตฤาษีผู้เป็นสหายเพื่อหารผู้ที่เหมาะสมมาครองเมือง ในที่สุดจึงตกลงขอพระเจ้าจามเทวี พระ.ธิดาบุญธรรมของเจ้ากรุงละโว้ (ลพบุรี) และเป็นพระมเหสีของเจ้าเมืองรามบุรี (อยู่ใกล้เมืองละโว้) มาครองเมือง ซึ่งขณะนั้น พระนางเจ้าจามเทวีทรงมีพระครรภ์ได้ 3 เดือน
    พระนางเจ้าจามเทวีผู้นี้ ตามตำนานกล่าวว่ามีพระสิริโฉมงดงาม แล้วยังทรงเฉลียวฉลาด มีพระปรีชาสามารถทั้งในด้านการพระศาสนา การรบทัพจับศึก และการเมืองการปกครองอีกด้วย
    พระนางเดินทางจากละโว้มาสู่หริภุญชัยพร้อมด้วยพระเถระและข้าราชการบริพาร ใช้เวลานาน 7 เดือน โดยระหว่างทางพระนางก็ได้ทรงสร้างวัดวาอารามไว้หลายแห่ง ดังที่ตำนานมูลศาสนากล่าวว่า
    พระนางทรงสร้างกุฏีวิหารทั้งหลายให้เป็นที่อยู่แก่ชาวเจ้าทั้งหลาย 500 องค์ที่มากับด้วยพระนาง แต่เมืองละโว้โพ้นพระนางทรงอุปัฏฐากเจ้าไททั้งหลายด้วยจตุปัจจัยสักกาคาระวะ ทุกวัน มิได้ขาด
    วาสุเทพฤาษี และสุกกทันตฤาษีพร้อมด้วยชาวเมือง ทำพิธีราชาภิเษก พระนางเจ้าจามเทวี เป็นปฐมกษัตรีย์ เมื่อ พ.ศ. 1206
    จากนั้นพระนางก็ประสูติประโอรส 2 พระองค์ พระนามว่า มหันตยศ และ อนันตยศ หรือ อินทวระ
    พระนางเจ้าจามเทวีได้ทะนุบำรุงบ้านเมืองทั้งด้านการปกครองและการศาสนา โดยวางระเบียบการปกครองเป็นแบบ เวียง วัง คลัง นา และทรงสร้างพระอาราม 4 ทิศขึ้น เพื่อเป็นพุธทปราการปกป้องคุ้มครองพระนครให้เจริญรุ่งเรืองปราศจากภัยพิบัติ ต่าง ๆ
    เมื่อพระราชโอรสทั้งสองพระองค์ ทรงเจริญวัยขึ้น พระนางเจ้าจามเทวีจึงสละราชสมบัติให้เจ้ามหันตยศครองเมืองหริภุญชัยและสร้าง เมืองเขลางค์ (ลำปาง) ขึ้นอีกแห่ง เพื่อให้เจ้าอนันตยศไปครอง ส่วนพระนางก็บำเพ็ญศีลเจริญภาวนา ปวารณาอยู่ในร่มพระพุทธศาสนาตลอดมา จนมีพระชนมายุได้ 92 พรรษา จึงเสด็จสวรรคต พระเจ้ามหันตยศทรงจัดการพระบรมศพพระราชมาดา ด้วยการสร้างพระเมรุในป่าไม้ยางแห่งหนึ่งอยู่ใกล้กับอารามวัดมาลุวาราม (วัดสันป่ายางหลวงที่พระนางเจ้าจามเทวีสร้างไว้เช่นกัน) แล้วถวายพระเพลิง และสร้างสุวรรณจังโกฏิเจดีย์ บรรจุพระอัฐิหุ้มด้วยแผ่นทองคำ พร้อมทั้งเครื่องประดับของพระราชมารดา ตลอดจนสร้างวัดขึ้น และขนานนามว่า วัดจามเทวี
    มีกษัตริย์ในราชวงค์ของพระนางเจ้าจามเทวี สืบสันตติวงศ์ปกครองเมืองหริภุญชัยต่อมาอีกราว 50 พระองค์ ในปี พ.ศ. 2357 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเจ้ารัตนหัวเมืองแก้ว (พระยาราชวงศ์คำฝั้น) เป็นเจ้าผู้ครองนครลำพูนยุคใหม่ ซึ่งมีจำนวน 10 ระองค์
    เจ้าเมืองลำพูนองค์สุดท้ายคือ พลตรีเจ้าจักรคำ ขจรศักดิ์ (พ.ศ.2454 - พ.ศ.2486) เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย รัฐบาลจึงให้ยุบเลิกตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครทั้งหมด คือไม่มีการแต่งตั้งขึ้นใหม่อีก ระบบเจ้าผู้ครองนครจึงสิ้นสุดลง และเริ่มปกครองโดย ผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ได้รับการแต่งตั้งจากส่วนกลาง


    ตำนานบ้านวังมุย

    จาดตำนานพื้นบ้านที่สืบต่อตกทอดกัันมาหลายชั่วอายุคน เล่าความหมายของนาม วังมุย ไว้ว่า "วัง" นั้นมาจากลักษณะอาการของวังน้ำวน ส่วน 'มุย' เป็นภาษาพื้นบ้านทางภาคเหนือแปลว่าขวาน จนถึงคนในรุ่นของหลวงปู่ครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก พ่ออุ้ยแม่อุ้ย (ผู้สูงอายุ) ได้เล่าเพิ่มเติมว่า ในอดีตมีควาญช้างคนหนึ่ง ขี่ช้างมาถึงบริเวณที่เป็นบ้านวังมุยในขณะนี้ แต่ในสมัยนั้น ณ ที่นี้มีแม่น้ำอยู่สายหนึ่ง ควาญช้างจำเป็นจะต้องข้ามแม่น้ำไปยังอีกฝั่งเพื่อเดินทางต่อไป จึงตัดสินใจบังคับขับขี่ช้างให้พาตนข้ามแม่น้ำ ในขณะที่ควาญพยายามควบคุมช้างข้ามน้ำอยู่นั้น แม่น้ำได้เกิดเป็นวังน้ำวนทั้งควาญและช้างคู่กายเกิดเสียหลัก ขวานที่ควาญช้างถือกระชับไว้ในมือจึงหล่นลงในวังน้ำวน กล่าวกันว่า สถานที่ที่ขวานหล่นไปในวังน้ำวนนั้น ปัจจุบันคือสถานที่บริเวณหลังวัดวังมุยนั่นเอง ผู้คนจึงพากันเรียกขานสถานที่นี้ว่า 'วังมุย'
    ในปัจจุบันนี้ สายน้ำแต่เดิมได้หายไปหมดแล้ว กลายเป็นผืนดินขึ้นมาพอมีการสร้างล้านเรือนเพิ่มมากขึ้น จนขยายเป็นหมู่บ้าน ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันเรียกหมู่บ้านนี้ว่า บ้านวังมุย นอกจากนี้ ลูกศิษย์ของหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) ท่านหนึ่ง คือ พันตำรวจเอกพิเศษ กอวัฒนา เป็นผู้ที่เคยมาช่วยงานหลวงปู่ครูบาเจ้าชุ่มในวันที่ท่านออกนิโรธสมาบัติ ปี พ.ศ. 2518 (ขณะนั้นท่านยศร้อยโท) และได้รับความเมตตาจากหลวงปู่ครูบาเจ้าชุ่มมากท่านหนึ่ง เคยเขียนถึงความหมายของ วังมุย ที่ฟังมาจากหลวงปู่ครูบาชุ่มว่า
    "สมัยก่อนผู้คนในละแวกหมู่บ้านท่านดุมาก มีทั้งนักเลง และไม่นักเลง เป็นอันธพาล และไม่ว่านักเลงหรือไม่นักเลงไ ม่ว่าอันธพาลหรือไม่อัธพาลก็เป็นคนดุทุกคน ทั้งหมู่บ้านชอบทำขวาน และพกขวานเป็นอาวุธ และใช้ในการเข้าต่อสู้ตะลุมบอนกัน ไม่ว่าจะเป็นตัวต่อตัว หรือหลายตัวต่อหลายตัว เขาถึงเรียกว่าหมู่บ้านวังมุย
    ท่านยังเล่าให้ผมฟังด้วยนะครับว่า ผู้หญิงบ้านวังมุย สวยกว่าผู้หญิงบ้านอื่น ๆ ในละแวกใกล้และไกล สมัยที่พวกเราไป คนบ้านวังมุยไม่ดุแล้วครับ โดยหลวงปู่ฯ ท่านเล่าว่าเขาเลิกดุก่อนหน้านั้นแล้ว เพราะท่านเสกเครื่องรางของขลังให้พวกเขาใช้ เขาตีเขาฟันกันเท่าไรๆ ก็ไม่ยักกะถึงตาย หนักเข้าก็เบื่อละซีครับ ตีกันแล้วไม่มีใครตาย มันก็เหนื่อยมากซิครับ ไม่รู้จักจบจักสิ้น พอเลิกตีกันฟันกันแล้ว มันก็มีเวลามากขึ้น เริ่มได้คิดจึงเข้าหาวัด หลวงปู่ฯ ก็ได้โอกาสเทศน์สั่งสอน เมื่อได้ฟังธรรมบ่อยๆ เข้า จิตใจก็อ่อนเยือกเย็นลงๆ จนกระทั่งในปัจจุบันนี้ คนบ้านวังมุยกลับสงบเสงี่ยมเรียบร้อยกว่าคนที่อื่น ๆ''

    ใน ปัจจุบันนี้ สายน้ำแต่เดิมได้หายไปหมดแล้ว กลายเป็นผืนแผ่นดินขึ้นมาพอมีการสร้างบ้านเรือนเพิ่มมากขึ้น จนขยายเป็นหมู่บ้าน ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันเรียกหมู่บ้านแห่งนี้ว่า “บ้านวังมุย” ปัจจุบันมีประชากร ๑๗๙ ครัวเรือน ประชากรรวม ๖๖๕ คน ชาย ๓๒๐ คน หญิง ๓๔๕ คน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 เมษายน 2010
  7. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    [​IMG]

    วัดชัยมงคล (วังมุย)

    วัด ชัยมงคล สร้างขึ้นด้วยความร่วมแรงร่มใจของชาววังมุย โดยมีครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก เป็นองค์ประธาน มูลเหตุของการดำริสร้างวัด มาจาการที่วัดเก่า คือวัดศรีสองเมืองประจำบ้านวังมุย ประสบอุทกภัยอยู่เนืองนิจ ชาววังมุยจึงได้สร้างวัดใหม่ คือ วัดชัยมงคลขึ้น
    สถานที่ตั้งของวัดใหม่ อยู่ในทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัดเก่า สิ่งก่อสร้างแรกเริ่มที่สร้าง คือ พระวิหาร ซึ่งยังคงเค้าเดิมอยู่ถึงปัจจุบัน
    ชื่อของวัดใหม่ ที่หลวงปู่ครูบาเจ้าชุ่มตั้งให้ คือ วัดชัยมงคล แต่ชาวบ้านและคนทั่วไปมักนิยมเรียกว่าวัดวังมุย ด้วยความที่คนภายนอกรู้จักวัดเล็กๆ ในหมู่บ้านห่างไกลอย่างวัดวังมุยนี้ ในฐานะที่เป็นวัดของครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก พระอริยะเจ้าจากเมืองลำพูน จึงมักจะคุ้นเคย ชินกับนามวัดวังมุยตามชื่อสถานที่มากกว่าดังนั้นกล่าวถึง วัดชัยมงคล จึงต้องมีชื่อ วังมุย ต่อท้ายด้วยเสมอ

    <TABLE cellSpacing=19 cellPadding=10 width="100%" border=0><TBODY><TR><TH scope=col>[​IMG]</TH><TH vAlign=top scope=col>จาก ประวัติทั่วราชอาณาจักรไทย ระบุว่า วัดชัยมงคล (วังมุย) สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. 2464 โดยมีหลวงปู่ครูบา เจ้าชุ่ม โพธิโก ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาทสองค์แรก ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2484 สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย
    ตั้งอยู่ ณ บ้านวังมุย เลขที่ 85 หมู่ที่ 1 ต.ประตูป่า อ.เมือง จ.ลำพูน
    มีเนื้อที่ 1 ไร่ 3 งาน 20 ตารางวา ส.ค. 1 เลขที่ 6
    ทิศใต้ กว้างประมาณ 17 วา จรดที่ดินเอกชน
    ทิศตะวันออก กว้างประมาณ 46 วา จรดถนนสาธารณะ
    ทิศตะวันตก กว้างประมาณ 36 วา จรดที่ดินเอกชน

    นอกจากนี้ ยังมีรูปเหมืองขนาดเท่าองค์จริงของครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชโย ที่ปั้นขึ้นในสมัยที่ครูบาเจ้าศรีวิชัยยังดำรงขันธ์อยู่ และยังมีพระรูปเหมือนของหลวงปู่ครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก ในท่านั่งสมาธิ อีกด้วย

    รูปเหมือนครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชโย ปั้นในสมัยที่ครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชโย อาพาธและยังดำรงขันธ์อยู่ที่วัดจามเทวี ปัจจุบันเหลืออยู่เพียงองค์เดียวในประเทศไทย และได้ทำการปิดทองเรียบร้อยแล้ว


    </TH></TR></TBODY></TABLE>



    [​IMG]



    พ่ออุ้ยเบ๊อะ สุนันต๊ะ


    ผู้ได้มีจิตศรัทธาซื้อที่ดินเพื่อสร้างวัด

    </TD>
     
  8. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    [​IMG]

    ครูบาชุ่ม โพธิโก และหลวงพ่อฤาษี


    เรื่องเล่าจาก หลวงตาวัชรชัย


    หลวงปู่ชุ่มหรือครูบาชุ่มของชาวหริภุญไชย เป็นศิษย์เอกขนานแท้ของของพระคุณหลวงปู่ครูบาศรีวิชัย พระมหาโพธิสัตว์สงฆ์ผู้เป็นประดุจเทพเจ้าของชาวลานนาทั้งผอง ที่ว่าเป็นศิษย์เอกขนานแท้ ก็เพราะครูบาศรีวิชัยเป็นผู้ประทานกำเนิดบวชเป็นสมณะให้ ครั้นตอนครูบาศรีวิชัยมรณภาพลงไป หลวงปู่ชุ่มองค์นี้แหละ ที่เป็นทายาทผู้รับมรดกครอบครองไม้เท้าและพัดหางนกยูงอันเป็นตราสัญลักษณ์ ประจำองค์ครูบาศรีวิชัย แสดงถึงคุณธรรมที่ท่านปฏิบัติได้ถึงขนาดนั้นแหละ และที่สำคัญท่านมาเกี่ยวข้องกับพ่อเรา (หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ วัดท่าซุง) ตั้งแต่อดีตชาติ คือเป็นพี่ชายพ่อเรา คู่กับหลวงปู่คำแสนเล็ก สามองค์นี้แหละลูกหลานเอ๋ย ที่เป็นต้นกำเนิดการสถาปนาแผ่นดินไทยสมัยเชียงแสน นานนักหนามาแล้ว

    อดีตพูดถึงก็พิสูจน์แบบมนุษย์ให้คนทั้งหลายยอมรับยาก ก็ไม่เอาตรงนั้น เอาตรงท่านทั้งสอง คือพ่อเรากับหลวงปู่ชุ่มพบกัน ก็ตอน พ.ศ. ๒๕๑๗ ต่างองค์ก็ต่างอายุเกิน ๖๐ ปีแล้ว พ่อก็นิมนต์ หลวงปู่ให้มางานฉลองวัดประจำปี ๒๕๑๘ - ๑๙ - ๒๐ ทั้งสามปีนี่แหละ ที่ผู้เขียนได้ย้ำประทับภาพอมตะแห่งขุนเขาุชุ่มบุญบารมีองค์นี้ไม่มีลืม

    ปี ๒๕๑๘ ปีแรกที่หลวงปู่ชุ่มมาวัดท่าซุง ท่านก็มากับสามเณรน้อยอายุ ๘ ปีรูปหนึ่ง พักอยู่กุฏิทรงไทยหลังที่ ๖ ต้องบอกกันก่อนว่าเรื่องของหลวงปู่ชุ่มเขียนยากที่สุด เพราะท่านไม่ค่อยพูด ท่าทางเคร่งขรึมมั่นคงเยือกเย็น ก็เหมือนภูเขาชุ่มน้ำคลุมไปด้วยป่าเขียวสดอีกชั้นหนึ่ง นั่นแหละ ! ผู้เขียนไม่มีโอกาสได้ประจ๋อประแจ๋ ถามนั่นถามนี่เหมือนกับหลวงปู่่องค์อื่น คงได้แต่ดูแลปรนนิบัติ เหมือนชื่นชมทิวทัศน์ป่าเขาลำธารน้ำใสอย่างไรอย่างนั้น ไม่ค่อยจะได้เนื้อหามาเขียนเล่าถนัดใจนัก ก็เล่าบอกตามลำดับกันมา

    พ่อบอกว่าหลวงปู่ชุ่มเป็นพระอรหันต์ทรงปฏิสัมภิทาญาณ เวลาท่านมองเรานี่ มองเหมือนมองผ่านอากาศ โธ่เอ๋ย จะให้ความสำคัญกับเราสักนิดเหมือนยิ้มกับลูกหมาก็ไม่ได้ นี่เป็นจริยาอาการปกติของท่าน ผู้เขียนนึกไปถึงนั่น นึกถึงอากาสานัญจา วิญญานัญจา อากิญจัญญา เนวสัญญานาสัญญา แปลว่าอะไร... ก็ไม่รู้ อรูปฌานทั้ง ๔ นั่นแหละ ใจท่านคงทรงอารมณ์นั้น ๆ จนชิน เวลาไม่มีธุระจะพูดคุยกับผู้คน ก็อย่างนั้นแหละ มองอะไรเป็นอากาศ ไม่มีเหลือเลย จะว่าจำได้ รู้จักมักคุ้นก็ไม่ใช่ โอย..ผู้เขียนเกรงหลวงปู่องค์นี้มาก จะว่าไม่รู้จักไม่สนใจก็ไม่ได้ เพราะเวลาท่านจะเอาธุระกับเรา ตาอย่างนี้มีประกายหมายมั่น เสียงติดดุ ๆ เอาด้วย

    ที่พูดถึงสามเณรที่มาด้วยนั้น ก็เพราะว่าหลวงปู่เป็นอย่างไร เณรก็แทบจะอาการเดียวกัน นั่งมองอะไรอย่างนี้ดูทะลุผ่านเลย เราเข้าไปประเคนถวายข้าวน้ำนี่..เอามือรับ แต่ตานี่เหมือนไม่สนใจเรานัก คุณตั้ว ศิษย์คนหนึ่งของหลวงพ่อ ซึ่งเป็นคนรับหน้าที่รับใช้พระที่กุฏิเบอร์ ๖ พูดถึงสามเณรว่า
    "เณรนี่ ท่าจะไม่ค่อยเต็ม ดูเหม่อ ๆ อย่างไรบอกไม่ถูก"
    แต่แล้ววันรุ่งขึ้นก็ต้องรีบไปกราบขอขมาท่านเณร เพราะพ่อเรียกตัวเข้าไปบอกว่า
    "แกอยากลงนรกหรือ เณรนั่นทรงสมาบัติแปดได้เป็นปกติ อย่าปากหมาหาเรื่อง"

    แล้วคืนนั้นแหละยืนยันกันชัด นี่ขอเล่าเรื่องสามเณรให้จบขาดไปก่อน คืนนั้น พ่อก็จัดพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลในพระอุโบสถ พระเถระที่มีโอกาสได้เข้าไปนั่งล้อมวัตถุมงคลมี ๑๑ องค์ คือพ่อ หลวงปู่สุปฏิปันโนอีก ๑๐ แถมสามเณรหนึ่ง เอาแล้วสิ ตอนพระอาจารย์ทั้งหลายพรมน้ำมนต์ที่วัตถุมงคล หลวงปู่ชุ่มให้สามเณรพรมแทน !


    ขอเล่าต่อถึงตอนงานเสร็จสิ้น หลวงปู่ชุ่มพาสามเณรไปลาพ่อกลับลำพูน จำได้ติดตาตรึงใจว่า พ่อกับหลวงปู่ชุ่มนั่งเก้าอี้เหล็กสีแดงบนพื้นลูกรัง จุดนั้นปัจจุบันนี้คือศาลารายข้างพระอุโบสถ ด้านหลังรูปหล่อหลวงพ่อใหญ่ ส่วนสามเณรนั่งกราบกับพื้น พ่อมองเณรด้วยสายตาที่นุ่มนวลชื่นชมนักหนา
    "รักษาตัวให้ดีลูกเอ๊ย ต่อไปเณรจะเป็นผู้รับคุณธรรมทั้งหมดของหลวงปู่ไว้ได้ หลวงปู่เป็นอย่างไร ลูกก็จะเป็นอย่างนั้น"
    พูดจบก็ส่งเหรียญหลวงปู่ปาน ข้างหลังมียันต์เกราะเพชรให้เณรเหรียญหนึ่ง ผู้เขียนก็ยื่นมือเข้าไปบ้าง แล้วก็หยุด...ถอยกลับออกมา ๓ วา เพราะสายตาพ่อที่มองมาที่เราไม่นุ่มแล้ว โอย เขียวกล้า แปลว่า อย่าเสือกได้ไหม !

    ถึงเวลานี้ สามเณรองค์นั้นอยู่ที่ไหนหนอ ปี ๒๕๑๘ อายุครบ ๘ ปี ปี ๒๕๔๓ นี่ก็อายุได้ ๓๓ ได้ยินแล้วกรุณาตอบด้วย คิดถึงเหลือเกิน จะพาท่านผู้อ่านลูกหลานไปกราบ


    ทีนี้..เอาเรื่องหลวงปู่ชุ่มโดยตรง เล่าเป็นเกร็ด ๆ ไปเลย คืนแรกที่มาถึง ท่านก็นั่งพักสบายที่ชั้นล่าง ก็มีศิษย์ผู้ใหญ่ของพ่อคนหนึ่ง จำได้ว่าชื่อคุณพงษ์ คุณากร เข้ามากราบหลวงปู่ พอเขากราบ ความปีติกระมังทำให้ตัวเขาลอย ลอยจริง ๆ ลอยขึ้นมาสักศอกหนึ่ง หลวงปู่ชุ่มจับหัวกดลงไปกับพื้น ก้นแกก็ลอยโด่ง ปากก็ออกเสียงเหมือนคำราม สักครู่ก็ราบกราบกับพื้นได้ หลวงปู่ว่า "ดี ดี ใช้ได้" แล้วก็มองคุณพงษ์กับผู้เขียนเหมือนมองอากาศตามเดิม ท่านคงเห็นเป็นขั้นตอนเล็ก ๆ ของภาวะพระกรรมฐาน

    แต่ผู้เขียนนี่ ขนลุกผึงทั้งตัวเลย มันมีจริงนี่หว่า ปีติตัวลอยได้นี่ มองหลวงปู่มั่นหมายเลยว่าจะถามอะไร ให้พูดอะไรบ้าง แต่ไม่เปิดโอกาสเลย นั่งเคี้ยวหมากเฉย นั่งค้อมไหล่ตาจับพื้น ปากเคี้ยวเหมือนเคี้ยวกิเลส เคี้ยวขาดเลย นึกออกไหม ?

    เดี๋ยวก่อน ! ลืมเล่าตอนท่านเข้าไปนั่งปรกพุทธาภิเษกวัตถุมงคล หลวงปู่อะไร..ทางเหนือนะ หลายองค์นั่งเรียงกัน สักครู่หลวงปู่จากลานนาไทย ทุกองค์รีบลุกขึ้นห่มจีวรพาดสังฆาฏิใหม่แบบภาคกลาง ค่อย ๆ ทำ งามตานัก แล้วนั่งลงหลับตาต่อ ไอ้เราก็สงสัยกัน ตอนหลังหลวงปู่ชุ่มเล่าให้ฟังว่า หลวงปู่ปานวัดบางนมโคมาปรากฏกายตรงหน้าท่าน ตั้งท่าท้าชกจรดมวยใส่ท่าน เสียงหลวงปู่ปานพูดว่า
    "พระอะไรนี่ แต่งตัวไม่เหมือนชาวบ้านเจ้าของถิ่นเขานี่"


    พอหลวงปู่ภาคเหนือห่มเสร็จแล้ว หลวงปู่ปานก็ยกมือไหว้เป็นเชิงโมทนาขอขมาโทษทำนองนั้น พอมาถามพ่อ พ่อหัวเราะเสียงดังเลย
    "ข้าเห็นหลวงพ่อปานแต่แรกแล้ว ที่ท่านทำอย่างนั้น เพราะท่านเป็นพระโพธิสัตว์บารมีเต็ม รอเวลาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เรื่องระเบียบวินัยจารีตนี่ ท่านต้องเคร่งครัด ที่ท่านยกมือไหว้ ก็เพราะหลวงปู่ชุ่ม หลวงปู่คำแสน เป็นพระอรหันต์นับคุณธรรมปัจจุบัน หลวงปู่ก็ชื่อว่าบริสุทธิ์เต็มภูมิแล้ว ส่วนหลวงพ่อปานยังอยู่ชั้นดุสิต ยังไม่ใช่พระอริยะ ต้องรอเป็นพระพุทธเจ้าเสียก่อน จึงจะเหนือกว่า"

    อย่างที่บอกแล้วว่าหลวงปู่ชุ่มเป็นพระปฏิสัมภิทาญาณ เป็นพระอรหันต์ที่มีญาณหยั่งรู้ประมาณไม่ถูก ยกตัวอย่างก่อนที่ในหลวงจะเสด็จ นี่ขอเล่าควบ ๓ ปี ที่หลวงปู่มาวัดท่าซุงเลย แต่ในหลวงเสด็จ ๒ ปี คือปี ๑๘ กับ ๒๐



    <HR style="COLOR: rgb(153,128,73); BACKGROUND-COLOR: rgb(153,128,73)" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->เล่าต่อ...ก่อนในหลวงจะเสด็จตัดลูกนิมิต ตอนนั้นหลวงปู่ชุ่มกำลังฉันเพลอยู่ ท่านหันมาพูดกับผู้เขียนว่า "วันนี้ ในหลวงฉันก๋วยเตี๋ยวบนเรือบินนะ" เล่าให้ท่านเจ้ากรมเสริมฟัง (พล.อ.ท. มรว.เสริม ศุขสวัสดิ์) ท่านตาลุกเลย บอกว่าจริง...จริง ราชองครักษ์ที่ตามเสด็จบอกเจ้ากรมเสริมว่าในหลวงเดินทางมาวัดท่าซุงเวลา จำกัด รับสั่งให้ซื้อก๋วยเตี๋ยวเสวยบนเฮลิคอปเตอร์ แล้วลงต่อรถยนต์ที่นครสวรรค์เข้าวัดท่าซุง

    บอกแล้วว่าเล่ายาก...จะขอสรุปผ่านงานทั้งสามปีไปเพราะกิจกรรมสงเคราะห์ญาติโยม ระหว่างช่วงงานก็เหมือนกับหลวงปู่องค์อื่น

    ส่งจิตคิดตามไปที่วัดวังมุย ลำพูน ท่านก็กลับวัดวังมุยไป พ่อกับหลวงปู่ท่าน จะคุยตกลงกันด้วยวาจา หรือด้วยใจ ก็อย่าไปรู้รายละเอียดของท่านเลย เอาเป็นว่าหลวงปู่ชุ่มจะ 'นั่งหนัก' หรือภาษาบาลีเรียกว่า 'เข้านิโรธสมาบัติ' เป็นเวลา ๗ วัน เพื่อจะให้พ่อพาศิษยานุศิษย์ไปทำบุญเพิ่มบารมีกัน

    โอย...ตอนนี้ฟ้าจะถล่มทลาย ลูกหลานพ่อ ผู้เขียนด้วยต่างก็ฮือฮาสาธุการ จัดหาสิ่งของเงินทองกันโกลาหล ล้นศรัทธา พอถึงเวลา ก็เดินทางตามพ่อไป รถบัสกี่คันหนอ...ถึงลำพูน ฝนตกรินเป็นสายไม่ขาดเม็ด ต้องพักถ่ายผู้คนขึ้นรถสองแถว จากวัดจามเทวีไปถึงวัดวังมุย คงจะเหมาสองแถวหมดเมืองลำพูนกระมัง พี่อรรณพ (พ.ต.อ.อรรณพ กอวัฒนา) เป็นผู้จัดการอำนวยความสะดวกทั้งหมด ทางเข้าวัดวังมุยก็แคบ
    ฝนก็รินไหล แต่ผู้คนก็เดินทางไปถึงวัดวังมุยแบบทุลักทุเลเฮฮากันได้ทั้งหมด

    หลวงปู่ชุ่มท่านเข้านิโรธสมาบัติในป่าช้าใกล้วัด ปลูกกระท่อมล้อมสายสิญจน์ กั้นรั้วกันผู้คนเข้าไปรบกวน พ่อขึ้นไปรอหลวงปู่บนกุฏิรับรอง ผู้เขียนเข้าไปจัดจีวรสิ่งของที่นำไปร่วมถวายมากมาย โบสถ์แทบแตก พระคุณหลวงปู่คำแสนเล็ก นั่งยิ้มเย็นใจคอยอยู่ในโบสถ์

    ณ ที่นั่นเอง ในกาลเวลาขณะนี้เอง ที่หลวงปู่ชุ่มเคลื่อนเสลี่ยงคานคนหามออกจากกระท่อม เมื่อตอนถอนจิตจากนิโรธสมาบัติ ฝนก็กลายเป็นเม็ดฟูฝอยละเอียดเนียนสายตาฉ่ำอารมณ์นัก คลื่นศรัทธามหาชนก็ร้องกระหึ่มโมทนา แย่งกันแข่งกันโยนดอกไม้ ธนบัตรปัจจัยขึ้นไปบนเสลี่ยงพระอริยสงฆ์ แม้โลกธรรม ลาภ สรรเสริญ ท่วมท้นเสลี่ยงอย่างไร หลวงปู่ชุ่มก็นั่งสงบเย็นใจ ประคองจิตรับรู้ศรัทธาเหล่านั้น ไม่มีอาการหวั่นไหว

    องค์หนึ่งนั่งเหนือเสลี่ยงชัย ฉ่ำละอองฝน ห้อมล้อมด้วยฝูงชนดุจดาวล้อมเดือน
    อีกองค์หนึ่งนั่งยิ้มสงบคอยอยู่ในพระอุโบสถ รอเวลาโมทนามหาทาน ที่จะถวายบูชาครูบาน้อง
    อีกองค์หนึ่ง...องค์ที่ผู้เขียนกลัวที่สุดรักเหลือแสน กำลังกระทำสีหนาทลีลามาเป็นองค์ประธานในพิธี

    ท่านผู้อ่านเอย..สามองค์พี่น้อง ที่เวียนว่ายบำเพ็ญบารมีมาจนครบจบกำลังแล้ว สามดวงประทีปแก้วกำลังจะมาร่วมในเขตพัทธสีมาพุทธเขตเดียวกัน เพื่อให้ลูกหลานได้ชื่นชมสมปรารถนา


    หลวงปู่ชุ่มหนึ่ง...หลวงปู่คำแสนเล็กสอง...พ่อ (หลวงพ่อฤๅษีฯ วัดท่าซุง) รวมเป็นสามดวงแก้วสังฆรัตนะนี้ ตามที่ฟังพ่อเล่า ก็ทราบว่าท่านเกิดร่วมอุทรเดียวกันมาหลายชาติหนักหนา แต่ละองค์ก็ทรงลักษณะเป็นพิเศษเฉพาะตน

    หลวงปู่คำแสนเล็กจะเป็นพี่ใหญ่อัธยาศัยรักสงบ ขี้อาย รักน้องจนตัวเองประมาณไม่ได้ว่ารักแค่ไหน จะยอมเสียสละทุกอย่างให้น้องได้แม้จะเป็นบัลลังก์เศวตฉัตรตามสิทธิทายาทอัน ชอบธรรม ขออย่างเดียวให้น้องได้มีความสุข

    หลวงปู่ชุ่มออกจะดุ มีความเด็ดเดี่ยว ทุ่มชีวิตจิตใจให้กับงานทุกอย่างที่รับผิดชอบ แต่วาสนาเอย..อานุภาพที่เด็ดขาดปานนั้น ก็มีไว้ทำเพื่อน้องที่ท่านรักและชาติตระกูลเท่านั้น จริง ๆ แล้วท่านรักความเป็นอิสระ ไม่ชอบนำคน แต่ก็ไม่ชอบให้คนมานำท่าน เสร็จจากภารกิจใดก็มอบความสำเร็จนั้นให้ส่วนรวม แล้วก็อยู่กับตัวเองและโลกของตัวเองอย่างนี้มาทุกชาติ

    ทีนี้มาถึงพ่อ หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ วัดท่าซุง เขียนยากหน่อย เพราะอยู่ใกล้ตัวเรามากที่สุด ใกล้เกินไปจนมองไม่เห็นความดีเต็มดีไม่ได้ หรืออีกอย่างหนึ่งเห็นความดีของพ่อจนบรรยายไม่สาสมใจรักของเรา

    เห็นพ่อเดินมาจากกุฏิที่พัก จะว่าเข้มแข็งปึงปังก็ไม่ใช่ จะว่าอ่อนโยนเหมือนคนไม่เคยลำบากก็ไม่เชิง ถ้าท่านเคยเห็น สมัยก่อน เขาเรียกสีหะ ถ้าตัวที่เป็นจ่าฝูงเขาเรียก สีหราช คือสิงโตในหนังทีวีนั่นแหละ

    หลวงปู่ชุ่มลอยเหนือศีรษะฝูงชนมาบนเสลี่ยง แต่พ่อเดินผ่านฝูงชนที่จงรักต่อท่านมาแบบธรรมดา แต่กลุ่มบุคคลผู้อื่นบุญเหล่านั้นกลับเปิดทางให้ท่านเป็นสายน่าอัศจรรย์ เขาเหล่านั้นนั่งประนมมือสองข้าง แต่ตาจับจ้องหน้าพ่อด้วยความรักเทิดทูน จะว่าท่านใดได้น้ำใจจากปวงชนมากกว่ากันหนอ ระหว่างท่านลุงผู้ทรงเสลี่ยงกับท่านพ่อผู้กระทำสีหนาทลีลา ทั้งสองท่านก็มารวมกันอยู่ในพระอุโบสถวัดวังมุย ในกระแสสายตาที่ชื่นชมของท่านพี่องค์ใหญ่สุด..ท่านลุงคำแสน


    ท่านผู้อ่านเอย...เมื่อทั้งสามท่านนั่งสามเส้ามีพ่อนั่งตรงกลาง เราจึงได้เห็นอำนาจวาสนาบารมีและภาระรับผิดชอบของพ่อ พ่อพูดนำให้ลูก ๆ ที่ตามขบวนไปให้รู้จักอานิสงส์ของการทำบุญกับพระอรหันต์ที่ออกจากนิโรธ สมาบัติ พ่อพูดไม่มีติดขัดเสียงกังวานกินใจ หลวงปู่คำแสนนั่งยิ้มมองพ่อทำงานแบบ 'โมทนาด้วย ช่วยเหนื่อยแทนหน่อย' หลวงปู่ชุ่มนั่งสงบสำรวม เหมือนนั่งสบายคนเดียวในป่าร่มรื่นในโลกของท่านเอง

    ต่างองค์ต่างทำหน้าที่ ต่างองค์ต่างเป็นสุขอิสระตามธรรมชาติของตนเอง นาน ๆ ครั้ง ก็จะหันมามองทางญาติโยมลูกหลานที่มาทำบุญกับท่าน มองยิ้มสนิทใจ เหมือนยิ้มพรมไปบนดอกไม้ที่ท่านได้ปลูกฝังรดน้ำมากับมือ

    ใจเราเอย...ขณะนั้นใจเราอยากจะเป็นพระอรหันต์ อยากบวช อยากยิ้มเย็นสนิทเหมือนท่าน แม้ต้องแลกด้วยทุก ๆ อย่างในโลกที่เราครอบครอง รวมทั้งชีวิตของเราด้วย เราจะยอมแลกกับผ้ากาสาวพัสตร์

    เราปรารถนาจะบวชอุทิศแด่พระรัตนตรัย เราจะเดินตามรอยเท้าพ่อและพระอรหันต์ทั้งหลาย เราปรารถนาพระนิพพาน
    จากวันนั้น..ถึงวันที่นั่งเขียนอยู่นี่กี่ปีแล้วหนอ...(๒๕๔๔) ๒๔ กว่าปีแล้ว เหตุการณ์นั้นแม้จะผ่านไปแล้ว แต่ภาพเหตุการณ์ของบุญวาสนานั้นยังสะอาดแจ่มใส ยังสามารถนึกถึงกลิ่นธูป กลิ่นจีวร กลิ่นน้ำหมาก

    นี่กระมังที่มีคำโบราณกล่าวไว้ว่า กลิ่นแห่งศีลนั้นหอมทวนลม ขจรขจายไปได้ไกลแสนไกล ยิ่งมาได้ไออุ่นของพระธรรมจากใจของพระคุณเจ้าสามพี่น้องมาอบรมผสมผสานเข้าไป ด้วย จึงได้หอมมานานขนาดนี้หนอ

    จากพิธีออกจากนิโรธสมาบัติวันนั้น ผู้เขียนได้พบและปรนนิบัติหลวงปู่ชุ่มและหลวงปู่คำแสนเล็กอีกหลายวาระ ส่วนใหญ่จะเป็นที่ 'บ้านซอยสายลม'ของพวกเรานั่นแหละ จะเล่าสู่กันฟังตามลำดับเหตุการณ์จริง
     
  9. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    ครั้งหนึ่งพ่อทำพิธียกฉัตรจำลองที่พระธาตุจอมกิตติ เมืองเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เหตุผลที่ทำพิธีนั้น ท่านผู้อ่านก็คงจะได้ทราบจากหลวงพี่ชัยวัฒน์แห่งวัดท่าซุงเขียนเล่าและบอก เล่า ขณะนำท่านผู้อ่านไปเที่ยวนมัสการพระธาตุประจำทุกปีอยู่แล้ว ผู้เขียนจะเล่าเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับ 'ความเป็นพระ' ของครูบาชุ่มเท่านั้น

    ก่อนจะเดินทางขึ้นไปทำพิธี เราได้จัดเตรียมการณ์ทุกอย่าง รวมทั้งกำหนดองค์พระสุปฏิปันโนที่จะเข้าร่วมบวงสรวงด้วย ทุกองค์จะต้องเคยเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์กู้ชาติเชียงแสนจากขอมโดยเฉพาะ ก็มี....
    พ่อเรา
    หลวงปู่คำแสนเล็ก
    หลวงปู่ครูบาชุ่ม
    หลวงปู่ครูบาวงศ์
    หลวงปู่ครูบาธรรมชัย

    เหตุผลเป็นเพราะอะไรไม่ต้องเขียนแล้ว พ่อก็อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุสีแดงเป็นประกายดุจเพชรพลอยบรรจุในยอดพระธาตุ จำลอง (พระเจดีย์องค์เล็ก ขณะนี้ตั้งอยู่ทางมุมซ้ายด้านในบริเวณพระธาตุจอมกิตติ) นำขึ้นไปจากซอยสายลม จูงเอาลูกหลานที่มากมายและยุ่งบ้างซนบ้างเหมืือนลิง มีผู้เขียนรวมอยู่ด้วยตัวหนึ่ง ได้ฤกษ์อากาศดีตอนเช้า ก็เอาพระธาตุจำลองประดิษฐานตรงหน้าองค์พระธาตุจอมกิตติ หลวงปู่ครูบาทั้งหลายก็มาตามคำอาราธนาของคุณเฉิดศรี ศุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา (พี่อ๋อย) เจ้าของบ้านซอยสายลม แม่งานคนสำคัญสมัย ๒๐ กว่าปีที่แล้ว หลวงปู่ทั้งหลายนั่งตรงพระวิหารคู่พระธาตุ ซึ่งขณะนั้นเป็นศาลาไม้เก่ามาก พ่อก็ทำพิธีบวงสรวงยกฉัตร พอพ่อกล่าวคำบวงสรวงเสร็จก็จะยกฉัตรจำลองติดยอดพระธาตุ พ่อก็หันมาพูดเบา ๆ ว่า
    "ไปบอก..."
    เท่านั้นเอง...หลวงปู่ชุ่มซึ่งอยู่ในกลุ่มครูบาเจ้า ห่างพ่อขนาดไม่ได้ยินเสียงสั่งนั้นแน่ ก็นำขึ้น
    "ชยันโต โพธิยา...."
    พ่อให้ท่านเจ้ากรมเสริม (พล.อ.ท. ม.ร.ว.เสริม ศุขสวัสดิ์ คู่บุญพี่อ๋อย) ยกก้านฉัตรติดยอดพระธาตุ แล้วหันมาพูดว่า
    "ต้องอย่างนี้ พระดีต้องอย่างนี้ ต้องฟังคำสั่งพระพุทธเจ้าได้พร้อมกันถูกต้องอย่างนี้ !"

    ตกลงก็ไม่ต้องไปบอกให้หลวงปู่ชุ่มขึ้นชยันโต เพราะท่าน 'รู้' พร้อม ๆ กับที่พ่อรู้จากท่านผู้สั่งจากเบื้องบน พ่อถึงบอกว่า 'พระดีต้องอย่างนี้' อันที่จริงก็ทั้ง ๕ องค์นั่นแหละ เพราะฉะนั้นท่านจึงได้ถูกกำหนดให้มาร่วมพิธีใหญ่ของประเทศชาติได้

    ข้อพิสูจน์ที่เห็นชัดมันจะแจ้งตั้งแต่ก่อนพ่อจะบวงสรวง ตอนที่หลวงปู่ต่าง ๆ ทยอยมาไม่พร้อมกัน หลังจากกราบพระธาตุจอมกิตติแล้ว ทุกท่านหันมากราบองค์เล็กที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุอย่างนอบน้อม กราบแล้วกอบเทินหัว ท่านนึกออกไหม นั่นแหละทำอย่างนั้นทุกองค์ ก็ตามเคยเหมือนกันผู้เขียนเป็นต้องเข้าไปถามเสียจนได้
    "หลวงปู่กราบอะไร?"
    "หลวงปู่กราบพระบรมธาตุพระพุทธเจ้า แสงสวยเหลือเกิน เป็นบุญมากน้อ.."
    ก็หายสงสัย หายคันหัวใจ


    ตามปกติจริง ๆ แล้ว บ้านซอยสายลมจะมีงานยุ่งเฉพาะตอนที่พ่อมาสอนกรรมฐานเดือนละครั้ง เป็นเวลา ๓ วัน พี่อ๋อยจะเดินสั่งงาน จัดนั่นวางนี่ก่อนพ่อมาเพียง ๒ วันก็เสร็จเรียบร้อย แต่นับจากงานฉลองวัดท่าซุง ปี ๒๕๑๘ เป็นต้นมา การจัดแจงสถานที่ก็มีการเพิ่มเติมขึ้นบ่อยครั้ง เพราะหลวงปู่สุปฏิปันโนทั้งหลายจะโคจรมาพักเจริญศรัทธาตามคำนิมนต์ของท่าน เจ้าของบ้านครั้งละองค์ ก็จัดที่พักไม่ยาก บางคราวมาพร้อมกัน ๓-๔ องค์ พี่อ๋อยก็สั่งงานเพิ่ม คือบริเวณที่พวกเรานั่งตรงหน้าท่านเจ้าอาวาสรับแขกทุกวันนี้แหละ เอาราวสลิงมาขึงรูดม่านกั้นเป็นห้อง คูหาละองค์ บางคราวก็จัดกั้นฉากกั้นสายตาตรงพื้นที่จำหน่ายสังฆทานปัจจุบันนี้แหละ หลวงปู่ทั้งหลายท่านไม่ติดความสุขสบายของเสนาสนะอยู่แล้ว แต่ท่านกลับแสดงท่าเป็นสุขสบายใจสนิทสนมกับเสนาสนะเฉพาะกิจที่พี่อ๋อยสั่ง เนรมิตถวายเสียจริง ๆ

    ยิ่งหลวงปู่ชุ่มกับหลวงปู่คำแสนเล็กละก็...จะนั่งสบายใจยิ้มอมความสงบสุขไว้ เต็มอกเต็มใจเต็มใบหน้า นึกเอาเองเถอะ พระชราภาพแล้ว นั่งหลังค้อมลงแล้ว..ใจปลงปลดโลกธรรม ความทุกข์ออกจากใจเป็นอิสระเบิกบานเสียแล้ว จับท่านไปนั่งตรงไหนก็เป็นสุข ซ้ำพลอยทำให้สถานที่เยือกเย็น คนในที่นั้นก็เป็นสุขอิ่มเอิบบุญไปด้วย อย่างวันนั้นท่านนั่งฉันหมากกัน ๒ องค์น้องพี่ ภายในฉากผ้าคูหาอาศัยสบายอิริยาบถ มีผู้เขียนนั่งประจบประคบนวดอยู่ มาดูพระแท้ฉันหมากดีกว่า....

    เคยได้ยินใครหนอ...พูดว่าพระที่ฉันหมาก นัดยานัตถุ์ยังมีกิเลส ให้เหตุผลที่น่าเอ็นดูว่า ขนาดกิเลสปลายกิ่งแค่หมากกับยานัตถุ์ ก็ยังตัดไม่ได้ จะไปตัดกิเลสโลภ โกรธ หลงได้อย่างไร ก็คงจริงของเขา แต่ของหลวงปู่คำแสนกับหลวงปู่ชุ่มนี่ไม่จริงแน่ โธ่เอ๋ย...นั่งใจเย็น ทรงอิริยาบถกำหนดรู้สบายอารมณ์ หยิบหมากใส่ปากเคี้ยว ฟันก็ไม่ค่อยจะมี บางเคี้ยวก็ต้องตะแคงมุมฟันมุมปากช่วย หัวเราะขำตัวเอง
    "มันแข็งน่อ..."

    เอ้าหยิบพลูป้ายปูน ช้าเชียว ทั้งสายตาทั้งอารมณ์ทะลุไปไหน ๆ ทะลุนะไม่ใช่ทะลวงเลอะเทอะฟุ้งซ่าน ท่ามือห่อพลูทำเหมือนตะล่อมอารมณ์เป็นคำเดียว ส่งใส่ปากเคี้ยวอารมณ์ กัดกิเลสให้ขาด หลวงปู่ชุ่มเคี้ยวไปครู่เดียวก็หันมาทางหลวงปู่คำแสน
    "มีหมากไหม"
    "มี"

    เอ้า...ยื่นกันหยิบกันแค่หมากแห้งซีกเดียว มันไม่พอเคี้ยวพอสูตรผสม เคี้ยวไปก็ยิ้มขำ ยิ้มขอบคุณ ยิ้มตอบรับ ไม่เป็นไรเอาอีกไหม พอแล้ว ไม่เอาแล้ว เอ้า..บ้วนน้ำหมากกันดีกว่า ปากเคี้ยว..มือหยิบกระโถนรออารมณ์ พอใช้ได้ก็ขับน้ำหมากบ้วน ๒ บ้วน ๓ บ้วน แล้วก็วางกระโถน หลับตาเคี้ยว... องค์หนึ่งนั่งเงยหน้าหลับตายิ้มเย็นเป็นสุข อีกองค์ลืมตามองทะลุพื้นบ้านทะลุโลก ไม่เห็นสนใจน้ำหมากหรือกระโถนที่ท่านวางทิ้งแล้ว

    กิเลสอยู่ตรงไหนหนอ....

    ผู้เขียนก้มกราบชิดเท้าเจ้าประคุณ ไม่มีเหตุผล ไม่ต้องการเหตุผล ใจมันเป็นสุขอิ่มเอิบ

    เนื้อนาบุญแห่งพุทธเกษตรเอย..เพียงพระคุณเคี้ยวหมาก ขับน้ำหมากวางกระโถน ก็บันดาลให้เกิดดอกงอกผลขึ้นในใจผู้เขียน ให้เบิกบานอิ่มเอิบด้วยความหวัง เราจะต้องได้บวช..เราต้องได้เคี้ยวหมาก เราต้องยิ้มอย่างนี้บ้าง (อันหลังนี่เลวนะ วัดรอยเท้าช้างนะ)
     
  10. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    [​IMG]

    แล้วก็มาถึงเรื่องสุดท้ายที่จะเล่าให้ฟังกัน

    เรื่องของหลวงปู่ชุ่ม ทำอะไรล่ะ ! ฟังเอาเองดีกว่า คือพอจะใกล้ทิ้งสังขารหลวงปู่ชุ่มก็บอกความในใจกับท่านเจ้ากรมเสริมและพี่ อ๋อย (ท่านพล.อ.ท.ม.ร.ว. เสริม ศุขสวัสดิ์ และคุณเฉิดศรี ศุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา เจ้าของบ้านซอยสายลม ...เขียนย้ำ กลัวคนรุ่นหลังจะลืม) ว่าท่านเคยเกิดเป็นลูกของท่านพ่อท่านแม่คู่นี้ แล้วท่านก็ลงไปปักษ์ใต้กับพระคุณพ่อเราในงานสาธารณสงเคราะห์ของศูนย์ สงเคราะห์ฯ วัดท่าซุงเรา ก่อนออกเดินทางก็บอกท่านพ่อท่านแม่ทั้งสองว่า ไปเที่ยวนี้ก็ต้องลาแล้ว ศพของท่านขอให้จัดที่ซอยสายลม ขอให้โยมพ่อโยมแม่จัดการเผาศพท่านด้วย ถ้าให้ทางวัดลำพูนไปจัดการศพจะเสียเปล่า ถ้าให้โยมพ่อโยมแม่จัดการกระดูกท่านจึงจะเป็นพระธาตุเอาไว้ให้คนรุ่นหลัง สักการะทัศนาเพื่อความมั่นคงในคุณพระรัตนตรัยได้


    ...ขอเล่าข้ามไปก่อนว่า เมื่อท่านกลับจากปักษ์ใต้ก็ป่วยเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลอะไรหนอ... มีพี่อำไพ พวงทอง กับพี่หมอยุวดี เป็นผู้รับธุระถวายอุปการะ


    เล่าข้ามต่อไปก่อนอีกช่วงหนึ่งว่า... พอหลวงปู่มรณภาพตั้งศพที่บ้านซอยสายลมแล้วชาวบ้านชาววัดลำพูนก็เดินขบวนกัน มา อย่าเรียกว่าแย่งเลย... มาเอาศพท่านไป ทางบ้านสายลมก็ไม่กล้าอ้างคำฝากผีฝากไข้ของหลวงปู่ เพราะท่านไม่ได้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ก็ต้องเป็นไปตามกฎหมายวินัยสงฆ์ ...เสียดายหนอ


    เอาล่ะ....กลับมาดู ย้อนไปสัมผัสเหตุการณ์ที่พวกเราปรนนิบัติร่างกายพระดีกันเป็นวาระสุดท้าย วันนั้นพอดีเป็นวันที่พ่อไปสอนพระกรรมฐานที่บ้านสายลม ปีไหนหนอ...2521 เวลาประมาณสองทุ่ม พี่อำไพ พวงทอง ก็โทรศัพท์มาบอกว่า หลวงปู่ชุ่มมรณภาพแล้วโดยอาการสงบ... คือลุกขึ้นมานั่งยิ้มสดชื่น สักครู่ก็นอน... สงบนิ่งไปเลย พ่อสั่งให้นำศพหลวงปู่มาตั้งที่บ้านสายลม ตั้งสรงน้ำกัน ตรงหน้าห้องที่พระสงฆ์พักเวลามาสอนกรรมฐาน ตรงที่จำหน่ายสังฆทานนั่นแหละ เอาเตียงมาวางร่าง เอาตั่งมารองขันน้ำสรงมือ

    ร้องไห้กันทำไมหนอ... ท่านคงนอนยิ้มถาม ....ไม่มีใครตอบท่าน มีแต่ต่างก็ตอบสนองความเคารพอาลัยรักของตนเอง เอาขมิ้นมาทาฝ่าเท้า เอาผ้าขาวมาตัดพิมพ์แจกให้ทำบุญกัน... พิมพ์รอยเท้าทำไมหนอ... ท่านคงถาม ทำไมไม่พิมพ์น้ำคำประทับกระแสธรรมไว้ในดวงจิต ....เอาเถิดลูกหลานเอ๋ย ทำอะไรที่มันไม่ผิดศีลแล้วมีความสุขก็ทำเถิด เป็นบันไดเป็นกำลังให้ก้าวไปสู่จุดที่ปู่เข้าถึงแล้ว จุดที่พ่อเธอเข้าถึงแล้ว เมื่อเธอเข้าถึงด้วยตัวเอง อามิสบูชาทั้งหลาย เธอก็ไม่ต้องทำแล้ว ตอนนี้ทำเถิดลูก ทำไปจนวันตาย.... วันที่ปู่ได้ครอบครองสมใจแล้ว


    ผู้เขียนประจงเช็ดปากหลวงปู่ด้วยกระดาษซับ ตอนนี้ไม่กลัวโดนดุแล้ว ตามีอำนาจดุจสายฟ้าปิดสนิทแล้ว แต่กระแสอัศจรรย์อย่างหนึ่งแล่นเข้ากระทบใจผู้เขียน
     
  11. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    [​IMG]

    คาถา ตรํ เมยาจามะ ตามคำบอกเล่าของหลวงปู่มหาอำพัน

    หลวงปู่ตามหลวงพ่อฤาษีลิงดำไปกราบหลวงปู่ชุ่ม โพธิโก ที่วัดวังมุ่ย จังหวัดลำพูน หลวงปู่เล่าให้ฟังว่าหลวงปู่ดีใจที่ได้ถวายผ้าไตร และกลดในวันที่หลวงปู่ชุ่มออกนิโรธสมาบัติหลวงปู่ได้ขอศึกษาวิชากับหลวงปู่ชุ่ม โพธิโก และที่หลวงปู่มักนำมาสอนต่อเสมอก็คือ คาถาไล่มาร เวลาเจริญกรรมฐาน หลวงปู่กราบเรียนถามครูบาชุ่ม โพธิโก ว่าบางครั้งเจริญกรรมฐานแล้วมารมาแทรก ทำให้คิดไปในทางสกปรก หลวงปู่ครูบาชุ่มจึงให้คาถา ตรํ เมยาจามะ ภาวนาก่อนเจริญกรรมฐาน พร้อมยกมือขวาผลักไปทั้ง 4 ทิศ หลวงปู่เคารพในครูบาชุ่มมาก หลวงปู่บอกว่าเสียดายงานถวายเพลิงครูบาชุ่มหลวงปู่ไม่สามารถไปได้
     
  12. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    [​IMG]

    เชิญร่วมทำบุญเป็นเจ้าภาพ สร้างพิพิภัณฑ์ หลวงปู่ครูบาชุ่ม โพธิโก พระอริยสงฆ์แห่งล้านนาไทย


    หลวงปู่ครูบาชุ่ม โพธิโก ท่านเป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเป็นพระอริยสงฆ์แห่งล้านนาไทย ท่านเป็นพระผู้ทรงวิชชาและวิมุตติ ท่านเป็นลูกศิษย์ของ ครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชัยโย ต๋นบุญแห่งล้านนาไทย หลวงปู่ครูบาชุ่ม ท่านมีคุณวิเศษของท่านที่พระอริยสงฆ์น้อยองค์จะทำได้ คือ สามารถเข้านิโรธสมาบัติได้ 7 วัน 7 คืน โดยไม่ฉันข้าว ฉันน้ำ ผู้ที่เข้านิโรธสมาบัติจะต้องเป็นพระอนาคามีทรงอภิญญาสมาบัติขึ้นไป หลวงปู่ครูบาชุ่ม โพธิโก ท่านยังเป็นสหธรรมมิกกับ พ่อแม่ครูบาอาจารย์ดังต่อไปนึ้ หลวงพ่อฤาษี หลวงปู่ครูบาคำแสนเล็ก หลวงปู่บุดดา หลวงปู่ครูบาชุ่ม หลวงปู่ครูบาวงศ์ หลวงปู่มหาอำพัน หลวงปู่ครูบาธรรมชัย หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค ครูบาขันแก้ว ครูบาบุญทืม เป็นต้น ดังนั้นทางคณะศิษยานุศิษย์จึงขอเชิญทุกท่านร่วมสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์หลวงปู่ ครูบาชุ่ม โพธิโก พระอริยสงฆ์แห่งล้านนาไทย เพื่อบรรจุอัฐิธาตุของครูบา อัฐบริขาล ร่วมไปถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับครูบา เพื่อให้ลูกหลานสาธุชนได้มากราบไห้วสักการะสืบต่อไป

    ขอเชิญร่วมทำบุญอาคารพิพิธภัณฑ์หลวงปู่ครูบาชุ่ม โพธิโก
    วัดชัยมงคล วังมุย ตำบลประตูป่า อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
    ****************
    ตอนนี้ยังขาดสิ่งของตามรายละเอียดดังต่อไปนี้
    สามารถรับเป็นเจ้าภาพ ตารางเมตรละ 100 บาทสำหรับท่านที่เป็นเจ้าภาพจะได้รับวัตถุมงคลดังต่อไปนี้
    1.ท่านที่รับเป็นเจ้าภาพ 1 ตารางเมตร (100 บาท) ได้รับผ้ายันต์ครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชโย 1 ผืน พร้อมใบอนุโมทนาบัตร
    2.ท่าน ที่รับเป็นเจ้าภาพ 5 ตารางเมตร (500 บาท) ได้รับผ้ายันต์ครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชโย 1 ผืน และผ้ายันต์ดาบสะหรี๋กัญชัย 1 ผืน พร้อมใบอนุโมทนาบัตร
    3.ท่าน ที่รับเป็นเจ้าภาพ 10 ตารางเมตร (1000 บาท) ได้รับผ้ายันต์ครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชโย 1 ผืน ,เสื้อยันต์สีขาวคอกลม 1 ตัวและผ้ายันต์ดาบสะหรี๋กัญชัย 1 ผืน พร้อมใบอนุโมทนาบัตร
    4.ท่าน ที่รับเป็นเจ้าภาพ 15 ตารางเมตร (1500 บาท) ได้รับผ้ายันต์ครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชโย 1 ผืน ,เสื้อยันต์สีขาวคอปก 1 ตัวและผ้ายันต์ดาบสะหรี๋กัญชัย 1 ผืน พร้อมใบอนุโมทนาบัตร
    5.ท่าน ที่รับเป็นเจ้าภาพ 25 ตารางเมตร (2500 บาท) ได้รับผ้ายันต์ครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชโย 1 ผืน ,เสื้อยันต์สีขาวคอกลม 1 ตัว,เหรียญครูบาชุ่ม โพธิโก เหรียญไข่เล็กปี 17 (เหรียญมีจำนวนจำกัด) และผ้ายันต์ดาบสะหรี๋กัญชัย 1 ผืน พร้อมใบอนุโมทนาบัตร
    สนใจเป็นเจ้าภาพติดต่อได้ที่ พระวีณุวัฒน์ วฑฺฒนสิริ วัดชัยมงคล วังมุย โทร 053-500131 / 085-0414456
    สามารถร่วมทำบุญโดยการโอนเงินผ่านบัญชีเลขที่ 511-0-35413-8
    ธนาคารกรุงไทย สาขาลำพูน ชื่อบัญชี พระวีณุวัฒน์ วฑฺฒนสิริ
     
  13. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    [​IMG]

    หลวงปู่ครูบาชุ่ม โพธิโก พระอริยสงฆ์แห่งล้านนาไทย


    ภาพอาคารพิพิธภัณฑ์หลวงปู่ครูบาชุ่ม โพธิโก ที่กำลังก่อสร้างอยู่

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  14. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
  15. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    ขอบคุณมากครับคุณบอย ตอนนึ้ทางวัดกำลังหาเงินก่อสร้างพิพิธภัณฑ์หลวงปู่ครูบาชุ่ม โพธิโก อยู่ครับ แต่ยังขาดปัจจัยอยู่อีกจำนวนหนึ่งก็จะเสร็จแล้วครับ
    ในฐานะศิษยานุศิษย์ในองค์หลวงปู่ครูบา ขออนุโมทนากับคุณบอยและผูมีจิตศรัทธาทุกท่านและขออัญเชิญบารมีหลวงปู่ครูบาขอให้ทุกท่านจงมีความสุข ความเจริญ ปราถนาสิ่งใดขอให้ได้สิ่งนั้น ทุกประการ ขอให้มีดวงตาเห็นธรรมด้วยเทอญ
     
  16. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    [​IMG]

    บทสนทนาธรรมระหว่างหลวงพ่อพระราชพรหมยานและหลวงปู่ครูบาชุ่ม โพธิโก




    http://palungjit.org/threads/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A4%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B3%E2%80%9C%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E2%80%9D%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1.4237/

    ก่อนจะมาอ่านบทสนทนาฟังประวัติพระธาตุจอมกิตติก่อนครับ



    ประวัติวัดพระธาตุจอมกิจจิ

    จาก..หนังสือตามรอยพระพุทธบาท เล่ม ๑



    <CENTER>[​IMG]</CENTER>


    <DD>วัดพระธาตุจอมกิจจิ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ เดิมเป็นพระธาตุร้าง ต่อมา หลวงปู่ชุ่ม โพธิโก ได้มาบูรณะเอาไว้ พร้อมกับนิมนต์พระเดชพระคุณหลวงพ่อพร้อมกับ หลวงปู่บุญทึม วัดจามเทวี มาเมื่อ วันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๑๘ ครั้งนั้น ผู้เขียนยังไม่ได้บวช จึงได้มีโอกาสมาด้วย กำนันที่นั่นเล่าว่า บนดอยนี้เดิมเป็นที่รกร้าง แต่มีชาวบ้านเห็นเป็นแสงสว่างจ้าปรากฏในเวลากลางคืน ซึ่งมีคนเห็นหลายคนในบริเวณไม่ไกลจากดอยนั้น ต่างก็พูดตามที่ตนเห็นตรงกัน


    <DD>ต่อมาก็มีพระธุดงค์องค์หนึ่งท่านทราบด้วยญาณว่า บนดอยแห่งนี้มีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุอยู่ จึงดำริที่จะสร้างวัดขึ้นบนดอยแห่งนี้ ปรากฏว่าได้รับแรงสนับสนุนจากชาวบ้านแถบนั้น ซึ่งมีกำนันผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้นำ ร่วมใจกันแผ้วถางทางเพื่อให้รถขึ้นบนดอยได้สะดวก และจัดการสร้างพระเจดีย์ไว้ ณ ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ แสงสว่างที่ปรากฏนั้น ท่านว่าเป็นเพราะปาฏิหาริย์ของพระธาตุ


    <DD>พระธุดงค์ท่านเล่าต่อไปว่า สถานที่บนดอยนี้ เคยเป็นวัดมาก่อนประมาณ ๓๐๐ ปี ซึ่งจะสังเกตได้จากพื้นดินปรากฏมีเศษกระเบื้องชิ้นเล็กๆ อยู่กลาดเกลื่อน บนดอยแห่งนี้เคยสร้างเป็นวัดมา ๒ วาระแล้ว ครั้งนี้เป็นวาระที่ ๓ ซึ่งท่านมีหน้าที่จะต้องสร้างเป็นครั้งสุดท้าย


    <DD>กำนันผู้นั้นเล่าให้ฟังต่อไปว่า สมัย ครูบาเจ้าศรีวิชัย ยังมีชีวิตอยู่ ได้เคยอาราธนาท่านมาสร้างวัด แต่ท่านปฏิเสธพร้อมกับบอกว่า สถานที่นี้ต้องรอเจ้าของเขามาสร้าง ซึ่งจะเป็นศิษย์ของท่านเอง โดยจะเริ่มสร้างในปี ๒๕๑๘


    <DD>กำนันบอกว่าตรงกับคำทำนายไว้ทุกประการ ส่วนพระธุดงค์องค์นั้นท่านเล่าต่อไปว่า สมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาสถานที่นี้หลายครั้ง เพราะพระองค์ทรงทราบด้วยพระญาณว่า ศาสนาของพระองค์จะมาสืบต่อ ณ ประเทศสยาม


    <DD>ด้วยเหตุนี้เอง ชาวบ้านทั้งหลายโดยการนำของพระธุดงค์รูปนั้น ซึ่งมีนามว่า หลวงปู่ชุ่ม โพธิโก ศิษย์ผู้ใกล้ชิด
    ครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งลานนาไทย จึงได้สร้างวัดขึ้นในดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ และจะตั้งชื่อวัดนี้ว่า
    “ วัดพระธาตุจอมกิจจิ ”


    <DD>เพราะฉะนั้น หลวงพ่อพร้อมด้วยคณะ ซึ่งได้ไปดูสถานที่ด้วยตนเองแล้ว จึงให้การสนับสนุนกันอย่างเต็มที่ จึงมีการเดินทางอีกครั้งหนึ่งเมื่อ วันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๑๘ เพื่อไปบำเพ็ญกุศลอันยิ่งใหญ่ เนื่องในโอกาสที่หลวงปู่ชุ่มเข้านิโรธสมาบัติเป็นเวลา ๗ วัน

    บัดนี้ นับเป็นโอกาสอันดี ที่จะเผยแพร่เทปบันทึกการสนทนาระหว่าง หลวงพ่อ กับ หลวงปู่ชุ่ม โดยมี หลวงปู่บุญทึม นั่งอยู่ด้วย ซึ่งคำสนทนานี้ยังไม่เคยลงหนังสือเล่มไหนมาก่อน ณ วัดพระธาตุจอมกิจจิ เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๘
    <DD><DD><DD>
    คำสนทนาระหว่าง หลวงพ่อ กับ หลวงปู่ชุ่ม และ หลวงปู่บุญทึม



    <CENTER>[​IMG]</CENTER>

    หลวงพ่อ - “ หลวงปู่เล่าประวัติให้ฟังซิครับ ”

    หลวงปู่ชุ่ม - “ วันนี้อาตมาขอเจริญพรท่านพระเดชพระคุณเจ้า และทายกทายิกาทั้งหลายทุกท่าน มีท่านพระเดชพระคุณเจ้าเป็นหัวหน้า ที่ได้ออกเดินจรมา อ้า..ตามกันมาทำบุญทำทาน และปรารถนานาบุญโชคลาภอันนี้ ก็ได้เข้ามาที่ดอยกิจจินี้


    <DD>อาตมามีความปลื้มอกปลื้มใจปราโมทย์ด้วยหลาย หลายอย่างหลายประการ พระบรมธาตุในสถานที่นี้อาจจะสำเร็จด้วยคราวนี้ พระเดชพระคุณเจ้านำพวกญาติโยมทั้งหลายเข้ามาในสถานที่นี้ แต่ว่าดอยกิจจิเป็นมาอย่างไร อาตมาก็ยังไม่รู้ซึ้ง อาตมาก็อยู่ในจังหวัดลำพูน คือที่นี่เป็น อำเภอสันทราย จังหวัดลำพูนก็ซ้อนกับเชียงใหม่ ก็ขึ้นมาประจำอยู่ที่นี่ในราวสักเดือนกว่าๆ แล้วก็มาได้สร้างพระบรมธาตุ สร้างศาลา และได้สร้างพระนอนอันนี้


    <DD>พระบรมธาตุนี้ ปางเมื่อพระพุทธองค์เราเสด็จมาถึงที่นี้ ครั้งที่หนึ่งจะมาวางประทับเหยียบย่ำที่นี่ก็ไม่มีอันใดจัก
    เกิดขึ้น พระพุทธเจ้าก็กลับไปโปรดเบื้องหน้าทิศหนึ่ง ครั้นมาครั้งที่สองก็เข้ามาในสถานที่นี้มาลูบหัวก็ไม่ได้เกศาอะไร
    พระพุทธเจ้าก็เลยลอยขึ้นด้วยอิทธิฤทธิ์ แล้วก็เปล่งรัศมีออกไปสี่ทิศ มีพระพุทธรูปสี่องค์ องค์ที่หนึ่งที่สองเอาหลังเข้ามาบ
    ด้วยกันแล้ว เบนหน้าไปสองทิศ คือทิศตะวันตก และทิศตะวันออก


    <DD>องค์ที่สองก็เบนหน้าขึ้นเหนือล่องใต้ มีพระอินทร์มารับเอาที่พระเนรมิตนั้นแหละฝังลงในพระบรมธาตุเจ้าลึกอยู่
    สิบสองศอก เป็นที่สักการบูชาแก่คนและเทวดา ในฐานะที่พระบรมธาตุเจ้านี้เป็นที่พระเนรมิตด้วย อีกอย่างหนึ่ง อาตมาก็จะสร้างพระไสยาสน์ คือพระนอน ก็ยาวสิบสองศอกเท่าพระเนรมิตด้วย


    <DD>อาตมาก็สืบประวัติมาถึงแค่นี้แหละ แล้วก็มีพระอยู่ ๓ รูป รูปที่ ๑ ก็มาสร้างพระบรมธาตุนี้ก็เสร็จไปแล้วก็โทรมลง
    ไปอีก ถึงครั้งที่ ๒ ที่พระมาสร้างพระบรมธาตุนี้ก็กลับมาโทรมไป พอถึงครั้งที่ ๓ ก็จะมาเป็นใครก็ไม่รู้ละ ก็จะขออาราธนาพระเดชพระคุณเจ้ามาเป็นหลักฐานอยู่ที่นี่...”

    หลวงพ่อ - “ ไม่ได้น่ะ เอาคนมาเป็นหลักมันเป็นได้เหรอ..? ”

    หลวงปู่ชุ่ม - “ ครับ ”

    หลวงพ่อ - “ ก็มีอยู่แล้ว..หลวงปู่ชุ่ม นั่นแหละนะ หลวงปู่ก็เป็นหลักอยู่แล้วไม่เป็นไรครับ ”

    หลวงปู่ชุ่ม - “ ที่พระบรมธาตุเจ้านี่ อาตมาก็ได้เข้ามาอยู่ในสถานที่นี้ มาพัฒนาอยู่ที่นี้ก็ยังไม่นานสักเท่าไหร่ ก็ได้เดือนกว่าๆ พระบรมธาตุเจ้าก็เสร็จไป และศาลาหลังหนึ่งก็เสร็จไป แล้วก็ยังอยู่พระไสยาสน์นั่นแหละ ยังไม่ลงมือทำ ก็จะทำกันวันนี้ จึงนับว่าเป็นปรารถนานาบุญโชค โชคดี พระเดชพระคุณเจ้าได้นำพวกญาติโยม ทายกทายิกา เข้ามาในจอมกิจจินี้
    ก็นับว่ากระผมก็มีความปลื้มอกปลื้มใจในคราวนี้ ขออนุโมทนาสาธุการทุกสิ่งทุกประการด้วย ”

    ฆราวาส - “ มีชาวบ้านที่อยู่ข้างล่างเห็นบ่อยๆ ว่ามีแสงขึ้น ”

    หลวงพ่อ - “ ไอ้นั่นอาจจะเป็นไปได้ คนใกล้ๆ ก็ไม่รู้เป็นไปได้ ที่ว่าปาฏิหาริย์นี่ ท่านอาจจะแสดงให้เฉพาะบุคคลบางเหล่าเห็นนะ ”

    ฆราวาส - “ เป็นแสงพุ่ง ”

    หลวงพ่อ - “ เป็นแสงสว่างขึ้นเหรอ? ”

    ฆราวาส - “ ครับ ”

    หลวงพ่อ - เอ..ปรากฏเป็นขึ้นเฉยๆ หรือว่า จะเป็นดวงดาวลอยมีมั่งมั๊ย? ”

    ฆราวาส - “ ก็..มันเป็นแสงพุ่งขึ้นไปนะครับ ”

    หลวงพ่อ - “เออ..งั้นใช้ได้ เคยเห็นเหมือนกัน ที่เป็นแสงพุ่งนี่ก็เคยเห็น เคยเห็นที่ จังหวัดประจวบฯ ที่ เกาะยายฉิม
    คืนนั้นไปนอนอยู่กลางดึก ฉันตื่นขึ้นมาเห็นแสงสว่างพุ่งขึ้นมา สว่างจัดนะ สว่างมาก เออ..ก็ดี ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ ก็เป็นนิมิตน่ะ ในนั้นต้องมี พระบรมสารีริกธาตุ หรือว่า จอมเกศา แน่ ”

    หลวงปู่ชุ่ม - “ ใช่ครับ ”

    หลวงพ่อ - “ ดอยนี่ก็สูง หลวงปู่ทำทางขึ้นมาเองเรอะ? ”

    หลวงปู่ชุ่ม - “ ทำทางมาเองพวกญาติโยมเขา.. ”


    <DD>เมื่อหลวงพ่อสนทนากับหลวงปูชุ่มจบ ในตอนนี้ หลวงพ่อท่านได้หันไปถาม หลวงปู่บุญทึม บ้าง (ภาพประกอบจาก หนังสือของคณะอินทราพงษ์ ตามภาพ คือ หลวงพ่อ - หลวงปู่ชุ่ม - หลวงปู่บุญทึม)


    <CENTER>[​IMG]</CENTER>

    หลวงพ่อ - “ ครับๆ หลวงปู่ดีแล้วไปได้ไม้ เท้าครูบานะ (ไม้เท้าของครูบาศรีวิชัย) เอ๊ะ.. หลวงปู่ทึมได้อะไรที่ครูบาไว้ครับ..เห็นโลงตั้งข้างนี่ ”

    หลวงปู่บุญทึม - “ ไม่มีอะไร ”

    หลวงพ่อ - “ ไม่มีอะไร..เห็นโลงหีบตั้งข้าง ตั้งอยู่นี่..โลงฝากใคร หรือว่าโลงฝากหลวงปู่ เอาแบบครูบาไว้ได้ บ้านหลัง
    สุดท้ายไว้หลวงปู่ทึม ”

    หลวงปู่บุญทึม - “ ได้บ้านหลังสุดท้าย ”

    หลวงพ่อ - “ เหมือนบ้านหลังสุดท้ายนั่นนะ หลวงปู่นี่ได้ไม้เท้า ”

    หลวงปู่ชุ่ม - “ ได้ไม้เท้า ”

    หลวงพ่อ - “ เลยต้องเท้าเรื่อยไปเลย ”

    หลวงปู่ชุ่ม - “ ครับ ”

    ลูกศิษย์ - “ ตอนนี้รวมทั้งสิ้นเป็นเงิน ๑๑,๔๐๔ บาทครับ ”

    หลวงพ่อ - “ ความจริงนี่ พวกเราไม่ใช่พวกจนๆ นะ..พวกรวย ถ้ากลับไปนี่รวยกันใหญ่นะ ขอให้ทุกคนจงรวยกัน เพราะว่าไปวัดไหนก็ทำบุญกันทุกวัด การทำทานแก่พระอริยเจ้าอย่างหนึ่ง แล้วก็ทำทานเพื่อพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา


    <DD>นี่เราบูชาพระพุทธเจ้าโดยตรงกัน เพราะว่าเป็นสถานที่พระพุทธเจ้าเคยเสด็จประทับ ฉะนั้น อานิสงส์ที่จะมีมากเป็นของธรรมดา นี่กลับไปนี่ก็หากว่าใครอยากถูกหวยก็ขอให้ถูกนะ ใครอยากได้ขึ้นเงินเดือนก็ขอให้ได้ขึ้น ใครอยากค้าขายให้ร่ำรวย ก็ขอให้ร่ำรวยสมความปรารถนา แต่ใครได้มากเท่าไรก็ไม่ว่า แบ่งพระครึ่งหนึ่งดีไหมครับ? ”

    หลวงปู่ชุ่ม - “ ครับ ”


    <DD>(ขณะเดินไปรับ หลวงปู่ชุ่ม ออกมาจาก "กุฏิพระสุปฏิปันโน" สมัยนั้น "ศาลาธรรมสถิตย์" ยังสร้างไม่เสร็จ)


    <CENTER>[​IMG]</CENTER>

    หลวงพ่อ - “อันนี้เป็นอานิสงส์จริงๆ นี่เราทำกันนี่ไม่มีอะไรเป็นสัญลักษณ์ ไม่มีอะไรเป็นเครื่องแลกเปลี่ยน ไม่ใช่ว่าทำบุญหวังโน่นหวังนี่ เราทำกันมาก็เพราะว่าท่านบอกว่า ที่นี่ท่านจะสร้างเป็นวิหารทาน เราก็ทราบอยู่แล้วว่า วิหารทานนี่มีอานิสงส์สูงสุดในด้าน อามิสทาน ทั้งปวง แล้วก็สำหรับผู้รับทานก็เป็นพระบริสุทธิ์ หากว่าท่านไม่บริสุทธิ์ ท่านก็ตกนรกไปเองนะ พวกเราไม่ต้องห่วง จะตายมั๊ยล่ะหลวงปู่น่ะ?”

    หลวงปู่ชุ่ม - “ ไม่ตายน่ะ ”

    หลวงพ่อ - “ ไม่ตาย..อ้าว..แล้วไม่ตาย..นี่แสดงว่าบริสุทธิ์นะ ”

    หลวงปู่ชุ่ม - “ ทุก..ทุกๆ วันนี่กระผมก็หนีไปจากนรก ”

    หลวงพ่อ - “ หา...! ”

    หลวงปู่ชุ่ม - “ อยากใคร่ไปพระนิพพาน ”

    หลวงพ่อ - “ หา...! ” (หลวงพ่อแกล้งงง)

    หลวงปู่ชุ่ม - “ หนี..หนีไปจากนรก อยากใคร่ พระนิพพานด้วย ”

    หลวงพ่อ - “ อ๋อ..อย่างนั้นเหรอ! ”

    หลวงปู่ชุ่ม - “ ครับ ”

    หลวงพ่อ - “ ระหว่างนี้หนีนรก....อยากไป...นิพพาน ”

    หลวงปู่ชุ่ม - “ นิพพาน ”

    หลวงพ่อ - “ ไปยัง..ไปยังครับ? ”

    หลวงปู่ชุ่ม - “ หา...! ” (หลวงปู่แกล้งงงบ้าง)

    หลวงพ่อ - “ จะไปหรือยังล่ะ? ”

    หลวงปู่ชุ่ม - “ อ้อ..ยังอยู่รอญาติโยมทั้งหลายมามากก่อน ”

    หลวงพ่อ - “ นี่ก็จะไปนะนี่ อ้อ... ”

    หลวงปู่ชุ่ม - “ จะเอาพวกญาติโยมไปด้วยกัน เป็นหมู่เป็นฝูงด้วย ”

    หลวงพ่อ - “ ครับ ๆ อ๋อ... ”

    ลูกศิษย์ - “ สาธุ...! ”

    หลวงพ่อ - “ ได้ไปแน่นะ? ”

    หลวงปู่ชุ่ม - “ ครับ ”

    หลวงพ่อ - “ นี่ก็ต้องเป็นเรื่องธรรมดา ”

    หลวงปู่ชุ่ม - “ ใช่ ”

    หลวงพ่อ - “ พระพุทธเจ้าตรัสว่า การคบคนเช่นใด ย่อมเป็นเหมือนคนเช่นนั้น ถ้าเราคบพระอริยเจ้า เราก็จะได้เป็น
    พระอริยเจ้าด้วย ถ้าเราคบสัตว์นรก เราก็ได้เป็นสัตว์นรกด้วย แต่นี้หลวงปู่ท่านบอกว่า ท่านหนีจากนรกจะไปนิพพาน
    เมื่อท่านไปได้ พวกเราไปไม่ทันก็ช่วยกันดึงสบงไว้ ทำไมล่ะ..ดึงจีวรไม่แน่น่ะ พอ มีสบงไปได้นะ ถ้าพวกเราไปดึงสบง
    เข้าไว้ก่อน ไม่กล้าไปล่ะ นางฟ้าตามชั้นอยู่กราว ก็เขาผ่านน่ะ ผ่านสวรรค์นะ ”

    หลวงปู่ชุ่ม - “ ครับ ”

    หลวงพ่อ - “ เอ้อ..ถ้าฉะนั้น..เป็นอันว่าการบำเพ็ญกุศลวันนี้นะ ตอนนี้รู้สึกว่าอันนี้เรา จะพูดอานิสงส์ ต้องจัดเป็นอานิสงส์ใหญ่มาก เพราะว่าเราไม่มีเจตนาเดิมไว้ก่อน การทำบุญนี่ ถ้าราตั้งท่าทำ..เตรียมการทำนี่..เขาบอกว่าอานิสงส์ที่จะพึง
    ได้นั้น ก็คือได้ด้วยกิจปกติเกี่ยวกับการ งาน


    <DD>ถ้าบุญประเภทใด ทำด้วยอาการฉับพลัน โดยไม่มีการเตรียมการไว้ก่อน ท่านบอกว่าจะเป็นบุญได้ลาภลอย อย่างพวกถูกล็อตเตอรี่ หรืออยู่ๆ ชาวบ้านเขาเอาเงินมาให้ บอกลาภให้ บอกการค้าให้ อย่างนี้ไม่คิดขึ้น นี่เป็นผล เคยสังเกตมาตั้งแต่เด็ก หลวงพ่อปาน เคยบอกมา บางทีเห็นหน้าขอท่านก็ไม่เห็น


    <DD>ขอทานไม่เข้ามาขอก็เรียกเข้ามารับ หนักๆ เข้าเวลาเราจะไปทางไหนมันจะอดตาย กลับได้มากกว่าที่คิดว่าจะพึงได้ ผลไม่ได้ตั้งใจ จะได้มันเอง นี่ก็เป็นอานิสงส์ นี่ก็เหมือนกัน สถานที่นี้ก็ดี ที่อื่นใดก็ดี ที่เรามาตั้งใจนมัสการ เราไม่ได้คิดว่าจะมาทำบุญกันเท่าไหร่


    <DD>โดยเฉพาะสถานที่นี้ เราไม่เคยตั้งใจกันมาเลยว่าจะมา แล้วเมื่อมากันแล้ว ทุกคนก็มีศรัทธาด้วยกำลังจิตที่ศรัทธาแท้ เพราะว่าในฐานะเป็นสาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่แสดงว่าพวกเรานี่ เคยพบกันมาก่อน เป็นญาติมิตรกันมาก่อน และเคยร่วมบำเพ็ญบารมีกันมาในกาลก่อน..ใช่ไหมหลวงปู่? ”

    หลวงปู่ชุ่ม - “ ใช่ ”

    หลวงพ่อ - “ถึงได้มาพบกันเข้าแล้วก็ตั้งใจ บำเพ็ญกุศลอย่างนี้เรียกว่า “ทำบุญกุศลด้วยอาการของการฉับพลัน” ฉะนั้น อานิสงส์ที่จะพึงได้ ก็ได้ในฉับพลันเหมือนกัน เข้าใจว่าไปคราวนี้ ทุกท่านถูกหวยหมด ถ้าไม่ถูกมาบีบคอหลวงพ่อชุ่มก็แล้วกัน..! ”

    หลวงปู่ชุ่ม - “ เอาเป็นประกันที่ดี ”

    หลวงพ่อ - “ อ้า..ถือว่าเป็นอานิสงส์ใหญ่ นี่เป็นเรื่องจริงนะ การทำบุญฉับพลัน ให้ผลฉับพลันจริงๆ การฝืดเคืองใดๆ
    จะปรากฏ ให้สังเกตดูไว้ ถ้าทำบุญแบบนี้ การหา..ความเป็น อยู่จะคล่องตัวขึ้นมาทุกทีๆ แล้วหนักๆ เข้า เราไม่คิดว่าเรา
    จะพึงได้ขนาดนี้ เราไม่คิดว่าจะเคยพบ เราก็จะได้พบ


    <DD>อย่างนี้อาตมาเองประสบมากับตัวเอง คือตั้งแต่บวชพรรษาแรก เขาเรียกว่าทำบุญล่อนจ้อนทุกปี เหลือไตรชุดเดียว แล้วก็ของทุกอย่างออกพรรษาแล้วไม่ให้มันเหลือ ต่อมาในระหว่างนี้ สวดมนต์เย็นก็ไม่ไหว เทศน์ก็ไม่ไหว แต่ก็ไม่อดตาย บรรดาญาติโยมสงเคราะห์ นี่ก็เพราะอาศัยอานิสงส์ปัจจุบันที่ทำ ก็ทำบุญอาการฉับพลัน


    <DD>ฉะนั้น บรรดาญาติโยมพุทธบริษัททุกท่านที่มากันในคราวนี้ หรือคราวก่อนก็ดี การกระทำทุกอย่าง อาตมารู้สึกว่าเป็นที่พอใจมาก เพราะปฏิบัติเป็นปฏิปทาเดียวกันอย่างที่อาตมาได้ทำมา ฉะนั้น ผลบุญอันใดที่อาตมาได้ทำมาแล้ว ได้รับผลในปัจจุบันคือว่าไม่อดตายนี่ฉันใด อาตมาก็หวังอย่างยิ่งว่า บรรดาญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย ก็คงมีการคล่องตัวเช่นเดียวกัน ”

    หลวงปู่ชุ่ม - “ วันนี้อาตมาก็มีความปลื้มอก ปลื้มใจกับพวกญาติโยม ทายกทายิกาทั้งหลาย ได้เดินสัญจรมาทำบุญในคราวนี้ เพราะพระเดชพระคุณเจ้าเป็นหัวหน้าพวกทายกทายิกา ทั้งหลายเข้ามาที่ดอยจอมกิจจิ และได้เอาจตุปัจจัยมาถวายพัฒนาทางขึ้น


    <DD>คราวนี้ขอคุณพระศรีไตรรัตนะทั้ง ๓ ประการ ตั้งอยู่กระหม่อมจอมขวัญแห่งบรรดา ทายกทายิกา เพื่ออยู่ชุ่มเนื้อเย็นใจ คิดหาอันใดก็สมบูรณ์ทุกสิ่งทุกประการ ทำการทำงานอันใด ก็ขอหื้อสมดังคำปรารถนาทุกอย่างทุกประการเทอญ ”

    ลูกศิษย์ - “ สาธุ..! ”

    หลวงพ่อ - “ เวลานี้ก็ปรากฏว่าเหลืออีก ๕ นาที ๑๖.๐๐ น. เห็นจะลาหลวงปู่กลับได้แล้วสินะ สตุ้ง..สตังค์..หลวงปู่เอาหมดแล้ว นี่ขืนอยู่.. ดีไม่ดีก็ต้องแก้กางเกงไว้ให้อีกทีละยุ่งเลย.. ที่นี่มีความสำคัญ...”

    หลวงปู่ชุ่ม - “ ใช่ครับ ตอนกระผมมาพักอยู่ นี้ ได้อยู่เดือนกับสิบหกวันครับ ”

    หลวงพ่อ - “ สงสัยว่า พระมหากัจจายนะ จะมานะ ”

    หลวงปู่ชุ่ม - “ อะไร? ”

    หลวงพ่อ - “ สงสัยว่าพระมหากัจจายนะจะมาบ่อย ”

    หลวงปู่ชุ่ม - “ ใช่ ”

    หลวงพ่อ - “ เมื่อกี้เห็นผ่านไป ตอนมาแล้ว พระมหากัจจายนะท่านเป็นนักเทศน์อยู่นี่ ”

    หลวงปู่ชุ่ม - “ ใช่ ”

    หลวงพ่อ - “ นะครับ..ก็เพราะเป็นพุทธภูมิเก่า ไปไหนมักจะเป็นตัวแทนพระพุทธเจ้าอยู่เสมอ เป็นแดนเก่าแน่ เพราะว่าตอนที่หลวงปู่ให้พร ผ่านมาให้เห็นหลายองค์ องค์หนึ่งรู้สึกขาวใหญ่ ใส..สวยดี สงสัยจะเป็นพระมหากัจจายนะ ”

    หลวงปู่ชุ่ม - “ ครับ ”

    หลวงพ่อ - “ ความจริงก็จะเริ่มเป็น ปฏิรูปเทสจริงๆ (คำว่า “ปฏิรูปเทส” คือเป็นสถานที่อันเหมาะสม) ถึงได้มองเห็นเพราะเป็นรัศมี จริงๆ คิดถึงไหว้พระพุทธเจ้าที่ไหนก็ถึง ไหว้ในส้วมก็ถึง..ถึงไหมครับ? ”

    หลวงปู่ชุ่ม - “ ใช่ครับ ”

    หลวงพ่อ - “ เออ..เจริญสุขๆ นะ เป็นอันว่าการเดินทางในวันนี้ ทำบุญแล้วทั้งหมดเกือบแสนบาท...”


    (คำสนทนาก็ต้องจบไว้เพียงนี้ และแถมท้าย "จดหมาย" ของท่านด้วย)


    [​IMG]

    <DD>

    <DD>
    <DD>ข้อมูล จาก
    <DD>http://www.tamroiphrabuddhabat.com/xmb/viewthread.php?tid=83


    </DD>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 6 เมษายน 2010
  17. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    <CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>(หลวงปู่บุดดา หลวงปู่ครูบาชุ่ม หลวงปู่ครูบาวงศ์)</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>"บันทึกพิเศษ" ของหลวงปู่ครูบาชุ่ม โพธิโก </CENTER>


    <DD>ในตอนนี้ ถือว่าเป็นโอกาสดีที่จะขออนุญาตลงพิมพ์ข้อธรรมะของหลวงปู่ชุ่ม โพธิโก เนื่องจากเป็นสิ่งที่หาได้ยากนัก ที่เราจะได้รับฟังโอวาทจากท่านโดยตรง เพราะท่านได้มรณภาพไปนานแล้ว ญาติโยมที่มาภายหลังก็ดี หรือที่มีโอกาสได้พบท่านมาแล้วก็ดี คงจะไม่ค่อยมีโอกาสได้รับฟังคำสอนจากท่านโดยตรง

    <DD>เพราะฉะนั้น เนื่องในวโรกาสที่เขียนเรื่องนี้มาเกี่ยวกันกับท่านพอดี จึงจะถือโอกาสเปิดเผยข้อคติธรรมคำสอนของหลวงปู่ชุ่ม ที่ท่านได้เขียนทิ้งไว้ให้เป็นปริศนาธรรม ตั้งแต่ครั้งที่ท่านได้เดินทางมาในวันงานยกช่อฟ้าพระอุโบสถ วัดท่าซุง วันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๑๘ แล้วจึงเขียนข้อความนี้ไว้ในกุฏิที่ท่านมาพักเมื่อท่านเดินทางกลับไปแล้ว คุณไพโรจน์ ชาติรักษา ซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่อุปฐากท่านในระหว่างงาน ได้เข้าไปทำความสะอาดในกุฏิที่ท่านเคยพัก จึงได้พบกระดาษห่อการะบูน เมื่อคลี่ออกมาดูแล้ว จึงได้อ่านพบข้อความดังต่อไปนี้

    คติธรรมของหลวงปู่ครูบาชุ่ม

    <DD>"ของบุญและกรรมที่ทำไว้ จะส่งเสริมไปในทางที่ดี หรือชั่ว สิ่งที่จะพึ่งได้ให้เราพ้นทุกข์ ก็คือ...ธรรมะของพระพุทธเจ้า มี ศีล สมาธิ ปัญญา จงพิจารณาในวิปัสสนากรรมฐาน ก็จะรู้แจ้งเห็นจริง "วิ" แปลว่า "รู้" "ปัสสนา" แปลว่า "แจ้ง"

    <DD>รวมแล้วแปลว่า รู้แจ้งในสังขารทั้งหลาย ที่เป็นเครื่องปรุงแต่ง พระท่านว่า ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา นั่นเอง คือการเปลี่ยนแปลงผิด ธรรดาไป ถ้าเกิดความไม่เที่ยงขึ้นเมื่อใด ก็ต้องเกิดความทุกข์ขึ้นมาทันที แต่ถ้าเราจะห้ามไม่ให้มันเปลี่ยนก็ไม่ได้ เพราะธรรมชาติมันต้องเปลี่ยน ท่านจึงได้สอนให้ละ ให้วาง จะได้ไม่วุ่น

    <DD>ฉะนั้น เรื่องใจความของพระพุทธศาสนา จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก ที่จะต้องศึกษาค้นคว้าให้เข้าใจจริง ๆ ตามสภาวะที่มันเป็นอยู่ตามความเป็นจริง ทีนี้...ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย หรือไม่ว่าสิ่งใดทั้งหมดทั้งสิ้น ถ้าเราไม่ "ยึด" เสียอย่างเดียว มันก็ไม่มีความหมาย มันก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติของมันเอง

    <DD>ทีนี้คำว่า "นิพพาน" ก็คือความดับร้อน เหลือแต่ความเย็นนั่นเอง ถ้าจะถามว่า "อะไร...เป็นความร้อน..? ก็ตอบได้เลยว่า "ไอ้ตัวยึดมั่น ถือมั่น นั่นเแหละ มันเป็น ความร้อน หรือความทุกข์...!"

    <DD>เราลองมองดูให้ดีซิว่า เราทุกคนนี้กำลังมีปัญหากันอยู่มากที่สุด เพราะไอ้เรื่องดี เรื่อง ชั่ว เรื่องรัก และชัง สุขและทุกข์ เพราะอยากดี ก็ไปเกลียดชั่ว ทีนี้ก็เป็น "เราดี เราชั่ว" ขึ้นมาทันที เราไปยึดมันเข้าไว้ จึงเป็นต้นเหตุแห่งความทุกข์

    <DD>สรุปในปัจจุบันนี้ เรากำลังยังเป็นกันอยู่ ไม่ใช่ว่าตายแล้วจึงจะได้รับทุกข์ เราได้รับทั้งเป็น ๆ อย่างนี้แหละ เพราะฉะนั้น ในประเทศไทยเรา พวกพุทธบริษัทต่างคนต่างเรียนธรรมะกันมากอย่างยิ่ง แต่แล้วก็ยังทำความเข้าใจกันไม่ได้ เพระายังมีข้อขัดแย้ง ทำให้ความวุ่นวาย เกิดขึ้นในสังคมของชาวพุทธนั่นเอง การปฏิบัติให้ถูกต้องก็ไม่เกิดขึ้น เพราะไม่เข้าใจธรรมะ "กำมือเดียว" นั่นเอง

    ธรรมะมีหลักอยู่ ๔ ประการ

    <DD>ประการที่ ๑ คำว่า "ธรรม" หมายถึง"ธรรมชาติ" ทั้งหมด ทั้ง รูปธรรม นามธรรม กุศล อกุศล หรือ อัพยากฤต ก็ตาม แม้ที่สุด แต่พระนิพพาน ก็เรียกว่า "ธรรมชาติ" ทีนี้ทางพระพุทธศาสนา หมายถึงสภาวะธรรมที่เป็นเอง หรือเป็นไปเอง

    <DD>ประการที่ ๒ กฎของธรรมชาติ ตรงนี้ พยายามจับความหมายให้ดี เราจะต้องเข้าใจให้ดีว่า ตัวธรรมชาติอย่างหนึ่ง กฎของธรรมชาติ อย่างหนึ่ง สภาวะธรรม อีกอย่างหนึ่ง แล้ว ธรรมดา อีกอย่างหนึ่ง รวมความแล้ว ธรรม ก็คือ ธรรมชาติ นั่นเอง..."
    </DD><DD> </DD><DD>จาก http://www.tamroiphrabuddhabat.com/xmb/viewthread.php?tid=364#top
    </DD>
     
  18. BoseBoseBose

    BoseBoseBose เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    355
    ค่าพลัง:
    +1,776
    ผมอยากเห็นภาพวัตถุมงคลอะครับ
     
  19. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    <CENTER>[​IMG]
    </CENTER><CENTER>ตอนที่ ๘

    ครูบาชุ่ม โพธิโก

    </CENTER><CENTER>
    วัดวังมุย จังหวัดลำพูน </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>โดย คุณอรรณพ กอวัฒนา</CENTER>


    <DD>พวกเราได้พบกับ หลวงปู่ครูบาชุ่มฯ ก็เพราะครั้งหนึ่ง เมื่อหลวงพ่อฯ พาพวกเราไปนมัสการหลวงปู่ทืมฯ แต่แล้วปรากฎว่า หลวงปู่ทืมฯ ยังได้ไปนิมนต์หลวงปู่ชุ่มฯ มารอรับพวกเราด้วย เห็นไหมครับปฏิปทาพระสุปฏิปันโนไม่มีหวงลูกศิษย์ ไม่กลัวว่าจะถูกแย่งลาภสักการะ

    <DD>อะไร ๆ ที่คิดว่าดี ท่านจะสรรหามาให้ลูกศิษย์ แตกต่างจากปุถุชนคนธรรมดามากทีเดียว เพราะปุถุชนกลัวถูกแบ่งลาภแบ่งความดีความชอบ ขี้งก ขี้ตืด และหวงแหนในลาภสักการะ เผลอไม่ได้ โกงตะพืด แถมแม้ไม่เผลอก็ยังโกงหน้าตาเฉย

    <DD>(ผมอยากให้ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งก็คือ ไม่ว่าหลวงปู่ฯ องค์ไหนเมื่อได้พบกับหลวงพ่อฯ แล้ว ก็มักจะโยงกันพาเอาหลวงพ่อ หลวงปู่ฯ องค์อื่น ๆ ที่เราท่านต่างก็ยอมรับกันว่า เป็นพระสุปฏิปันโนออกมาจากที่หลบซ่อนมาหาหลวงพ่อฯ กันเป็นทอด ๆ เป็นทิวแถวไปเลย)

    <DD>หลวงปู่ชุ่มฯ ท่านเป็นศิษย์ครูบาศรีวิชัยฯ รุ่นพี่ของหลวงปู่ทืมฯ เมื่อสิ้นบุญครูบาศรีวิชัยฯ แล้ว หลวงปู่ทืมฯ ได้โลงศพ หลวงปู่ชุ่มฯ ได้ไม้เท้ากับพัดขนนก ท่านเดินตามรอยเท้าของครูบาอาจารย์มาโดยตลอด ถนนทางขึ้น พระธาตุดอยตุง สมัยโน้นเป็นทางเท้า หลวงปู่ชุ่มฯ นี่แหละที่ไปนั่งหนัก (คือไปนั่งปักหลักคอยให้ศีลให้พรให้กำลังใจ) ระดมเอาทั้งไม่ว่าจะคนเมืองคนดอย ชาวเราชาวเขา มาช่วยกันกรุยถนนจนเป็นทางรถยนต์ขึ้นได้ถึงยอดดอย โดยรัฐบาลไม่ต้องออกสตางค์สักบาทหนึ่ง

    <DD>เมื่อขึ้นไปอยู่บนยอดเขาบริเวณที่ตั้งเจดีย์ครอบพระธาตุแล้ว มองไปด้านหลังจะเป็นหน้าผาสูงชันแบ่งเขตไทยกับคู่ต่อสู้สมัยเก่าดึกดำบรรพ์ (ก็พม่านั่นไงล่ะ) หลวงพ่อฯ ของเราเคยเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงหาทุนให้กรมศิลปากรเปลี่ยนฉัตรทองยอดพระธาตุ ซึ่งเดิมชำรุดเสียใหม่ และท่านก็ไปทำพิธีบวงสรวงให้ด้วย เหนือ-ใต้-ออก-ตก การใดเพื่อชาติ การใดเพื่อพระพุทธศาสนา การใดเพื่อพระมหากษัตริย์ หลวงพ่อของเราด้นดั้นฝ่าฟันไปมาหมด บางครั้งก็หลายรอบหลายครั้งเชียวครับกว่าภาระจะเสร็จสิ้น

    <DD>นิวาสถานบ้านเดิมของหลวงปู่ชุ่มฯ ท่านอยู่ที่บ้านวังมุย อันคำว่า “มุย” นั้น เป็นภาษาทางเหนือแปลว่า ขวาน ส่วน “วัง” นั้น แปลว่า ชุม หรือ แหล่ง เมื่อรวมกันแล้วไม่ทราบว่าจะแปลว่าอย่างไรดี จะแปลว่าบ้านที่มีขวานขายเยอะก็แปลได้ เพราะอาจจะเป็นหมู่บ้านที่ประชาชนทำขวานขายมากมายก็อาจจะเป็นได้ดูเข้าท่า เพราะถ้าแปลว่า "ชุม" ก็น่าจะแปลว่าเป็น "หมู่บ้านขวานชุม" ซึ่งตรงและใกล้เคียงกับคำแปลในตอนแรก

    <DD>แต่เมื่อสอบถามหลวงปู่แล้ว ท่านว่าไม่ใช่หรอก สมัยก่อนผู้คนในละแวกหมู่บ้านท่านดุมาก มีทั้งนักเลงและไม่นักเลงแต่เป็นอันธพาล แต่ไม่ว่านักเลงหรือไม่นักเลง ไม่ว่าอันธพาลหรือไม่อันธพาลก็เป็นคนดุทุกคน ทั้งหมู่บ้านชอบทำขวานและชอบพบขวานเป็นอาวุธ และใช้ในการเข้าต่อสู้ตะลุมบอนกัน ไม่ว่าจะเป็นตัวต่อตัวหรือหลายตัวต่อหลายตัว หรือหลายตัวต่อตัว เขาถึงเรียกว่าหมู่บ้านวังมุย

    <DD>ท่านยังเล่าให้ผมฟังด้วยนะครับว่า ผู้หญิงบ้านวังมุยสวยกว่าผู้หญิงบ้านอื่น ๆ ในละแวกใกล้และไกล สมัยที่พวกเราไป คนบ้านวังมุยไม่ดุแล้วครับ โดยหลวงปู่ฯ ท่านเล่าว่า เขาเลิกดุก่อนหน้านั้นแล้ว เพราะท่านเสกเครื่องรางของขลังให้พวกเขาใช้ เขาตีเขาฟันกันเท่าไร ๆ ก็ไม่ยักกะถึงตาย หนักเข้าก็เบื่อละซีครับ

    <DD>ตีกันฟันกันแล้วไม่มีใครตายมันก็เหนื่อยมากซิครับ ไม่รู้จักจบจักสิ้น พอเลิกตีกันฟันกันแล้ว มันก็มีเวลามากขึ้น เริ่มได้คิดจึงเข้าหาวัด หลวงปู่ฯ ก็ได้โอกาสเทศน์สั่งสอน เมื่อได้ฟังธรรมะบ่อย ๆ เข้า จิตใจก็อ่อนโยนเยือกเย็นลง ๆ จนกระทั่งในปัจจุบันนี้ คนที่บ้านวังมุยกลับสงบเสงี่ยมเรียบร้อยกว่าคนที่อื่น ๆ</DD><DD> </DD><DD><CENTER>หลวงปู่เข้านิโรธสมาบัติ</CENTER>
    </DD><DD>ทีแรกผมก็ไม่เชื่อหลวงปู่ฯ หรอกครับ แต่เมื่อครั้งที่เอา ต.ช.ด. ไปดูแลไม่ให้ใครไปรบกวน ในคราวที่หลวงปู่ฯ เข้านิโรธสมาบัติ ตามคำอาราธนาของหลวงพ่อของเรา และผมได้ไปอาศัยนอนอยู่ที่วัดเสียหลายวันหลายคืน จึงมีโอกาสไปพูดไปคุยหาข่าวจากคนเฒ่าคนแก่ ก็เห็นจริงตามนั้น

    <DD>พอพูดถึงคำว่า “นิโรธสมาบัติ” แล้ว เชื่อว่ามีคนสนใจอยากจะรู้เรื่องราวว่าเป็นมาอย่างไร เอาละ..จะเล่าให้ฟังเฉพาะที่เกี่ยวกับหลวงปู่ชุ่มฯ นะครับ

    <DD>ครั้งหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้ (ประมาณ ๑๐ กว่าปีเท่านั้นเอง) หลวงพ่อฯ ท่านเทศน์ถึงอำนาจแห่งบุญที่พวกเราจะได้รับ หากได้ทำบุญกับพระอริยบุคคลที่เพิ่งจะออกจากนิโรธสมาบัติใหม่ ๆ ว่าจะมีอานิสงส์เพียงใด ท่านจึงได้อาราธนานิมนต์หลวงปู่ฯ ให้ทำตามนั้น และในวันที่หลวงปู่ฯ ออกจากนิโรธสมาบัติ หลวงพ่อของเราท่านก็ได้นัดหมายให้พวกเราพากันไปทำบุญ

    <DD>การไปทำบุญกับหลวงปู่ชุ่มฯ ในครั้งนั้น ได้รสชาติทุกอย่างเหมือนภาพยนตร์ไทยในสมัยนี้ คือครบทุกรส ทั้งสุขทั้งโศกตลกเศร้าเคล้าน้ำตาเฮฮาพาเพลินเจริญใจในที่สุด การที่ผมนำเรื่องราวมาเล่าสู่กันฟังถึงอุปสรรคและความเป็นไปต่างๆ นั้น ไม่ใช่เพื่อกล่าวโทษท่านผู้ใด แต่เพื่อเป็นอุทธาหรณ์เตือนใจพวกเราลูกศิษย์รุ่นหลัง (ต้องขออภัยที่ต้องใช้คำว่ารุ่นหลัง เพราะเป้าหมายของผมอยู่ที่รุ่นหลังของผม) เพื่อจักได้รู้รักสามัคคี

    <DD>เรื่องราวที่จะเล่าต่อไปนี้ ผมเองไม่อยากจะกล่าวแก้ตัวว่า การต้อนรับหรือการนัดหมายเวลาต่าง ๆ มันคลาดเคลื่อนและขลุกขลักไปหมด เนื่องจากเชื่อมือกันมากไปในส่วนของผู้ที่เตรียมการรับ และในส่วนของผู้ที่จะมาก็ขาดความเชื่อถือผู้ที่ให้การต้อนรับ ขาดวินัย และเห็นแก่บุญจนเป็นบาปไป

    <DD>เพราะถ้ามีศรัทธาและเชื่อถือไว้วางใจกันและกันมากกว่านี้ ทุกอย่างจะเรียบร้อยดีมาก เพราะฝ่ายต้อนรับเตรียมการไว้อย่างดีที่สุด เตรียมไว้ทั้งแผนหลักและแผนรอง ตั้งข้อสมมติฐานเอาไว้เผื่ออุปสรรคทุกข้อ เพื่อจะแก้ไขหากเกิดเหตุที่ไม่คาดคิดอย่างพร้อมมูล เรื่องบนบานศาลกล่าวนั้นเอาไว้เป็นกรณีสุดท้าย

    <DD>แต่เราลืมไปข้อหนึ่งว่า ลูกหลานที่ไปในวันนั้น ในปัจจุบันชาติมิได้เป็นทหารและตำรวจแล้วเป็นส่วนใหญ่ แม้จะดูเป็นระเบียบเรียบร้อยกว่าคนอื่นเขา แต่ก็ขาดการฝึกฝนให้มีวินัยมานาน พอแตกตื่นเข้า ก็เหมือนเจ๊กตื่นไฟ พอคนแตกตื่น อะไรก็ขวางไม่ได้ แสดงออกมาหมด อะไร ๆ ที่ซ่อนเอาไว้ไหลเลอะเปรอะเปื้อนออกมาหมด นี่ดีแต่ว่า..ยังเคยได้รับการอบรมบ่มนิสัยมาจากหลวงพ่อของเราแล้วบ้าง และด้วยบารมีของทั้งหลวงพ่อฯ และหลวงปู่ฯ ร่วมกัน จึงได้ผ่านพ้นกลียุคนั้นมาได้ด้วยความเรียบร้อย

    <DD>ผมน่ะเก็บอะไรไว้ในใจมาเกือบ ๒๐ ปี และที่นำมาพูดในวันนี้นั้น ไม่ใช่เพราะต้องการแก้ตัว หรือเคืองแค้น แต่เพื่อเป็นอุทธาหรณ์สำหรับน้องๆ ที่จะต้องรับภาระในวันหน้าต่อไปนะครับ..
    </DD><CENTER>[​IMG]
    (คลิกขยายภาพ)
    </CENTER>
    ........ใครที่ได้รับการฝึกการอบรมอย่างทหารและตำรวจ อย่าเอาระเบียบวินัยที่ตนได้รับการฝึกฝนมาไปใช้กับผู้ที่ไม่ได้รับการฝึก ผู้ที่ไม่ได้รับการฝึกก็กรุณาให้อภัย หากผู้ที่นำกลุ่มอยู่อาจจะเฉียบไปบ้าง เพราะเขาเคยได้รับการฝึกและฝึกคนมาอย่างนั้น เรียกว่า..ควรจะประนีประนอมยอมให้อภัยกันบ้าง ผู้หลักผู้ใหญ่จะได้ไม่ต้องเดือดร้อน ไม่ต้องออกมาแก้เกมส์ให้บ่อย ๆ เหมือนอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้


    <DD>และไม่ว่าอะไรที่มีมาก มีบ่อย ๆ ไม่ช้าคนไทยก็จะเบื่อหน่ายอีก เมื่อถูกเบื่อหน่ายเสียแล้วสิ่งนั้นก็จะหมดความสำคัญไม่อาจนำมาใช้แก้ปัญหาได้อีกต่อไป เกิดความเสียหาย ที่ว่าอย่างนี้นั้นก็เพราะเมื่อหมดยุคของพวกพี่ ๆ แล้ว ต่อไปก็จะเป็นยุคของน้อง ๆ ที่จะต้องทำและนำคนแทน

    <DD>พวกพี่ก็จะได้อาศัยความรู้ความสามารถของน้อง ๆ ที่นำเอาประสบการณ์จากพี่ไปเป็นข้อสมมติฐานใช้แก้ปัญหาในกาลต่อไป แล้วจะผิดพลาดน้อยลงเรื่อย ๆ จนไม่ผิดพลาดเลยได้ในที่สุด พี่ ๆ ก็จะได้เดินตามน้อง ๆ ได้อย่างสบายอกสบายใจว่า น้องจะไม่พาพี่ไปลงเหวลงห้วยขาแข้งหัก

    <DD>นอกจากนั้น ในการนำคน จะต้องคำนึงทั้งความถูกต้องและความถูกใจ ไม่อาจเลือกเอาเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น มิฉะนั้นก็จะกลายเป็นสุดโต่งไปด้านเดียว ต้องคำนึงถึงหลักจิตวิทยา ต้องขยันอธิบายทำความเข้าใจกับคนทุกระดับ อย่าเพิกเฉยไม่นำพาปล่อยปละละเลยคิดว่าไม่สำคัญ

    <DD>ช้างม้าวัวควายแม้มีประโยชน์กับเรามากฉันใด แต่ถ้าไม่สบอารมณ์ มันก็อาจจะทำอันตรายเราได้ฉันนั้น ต้องรู้เป้าประสงค์ ต้องรู้เกมส์ ต้องรู้วิธีการ ต้องรู้มนุษยสัมพันธ์ รู้จักใช้จิตวิทยา ฯลฯ

    <DD>เพราะมนุษย์ที่มีสมองเป็นเลิศแต่มีความอดทนน้อย สอนง่ายแต่นำยาก อย่าไปคิดว่าคนอื่นโง่กว่าเรา หรือฉลาดกว่าเรา หรือฉลาดเท่าเรา ต้องดำรงใจไว้ให้มั่นในพรหมวิหาร ๔ และต้องแน่วแน่มั่นคง บัวจึงจะไม่ช้ำ และน้ำก็จะไม่ขุ่น

    <DD>นอกจากนั้น ก็จะต้องให้ความเคารพในระบบเก่า ๆ ประเพณีเก่า ๆ ที่ดีงามตามโบราณกาล แต่ไม่ใช่ว่า ถ้าโบราณไม่ได้ว่าไว้อย่างนั้นแล้วจะต้องเป็นผิดเป็นโทษเป็นภัยไปเสียหมด น่าจะต้องเปิดใจยอมรับฟังในเรื่องใหม่ ๆ แนวคิดใหม่ ๆ ไม่ใช่ตะบึงตะบันเอาแต่ที่ใจเรานิยม เราคิดแต่เฉพาะเรา กลุ่มของพวกเราว่าดีว่างามเพียงอย่างเดียว พวกเดียว เหล่าเดียว จนต้องโดดเดี่ยวและเดียวดายไปตามหนทางที่เลือกเองนั่นแหละอย่าไปโทษใคร

    <DD>และสำหรับคนที่ยึดมั่นในการกระทำดี แน่วแน่ในการรักษาคุณงามความดี แต่ความดียังไม่สนองตอบก็อย่าเพิ่งท้อใจ เรื่องที่เสียใจน่ะธรรมดา เรายังเป็นปุถุชน แต่ควรมีสติสัมปชัญญะ ไม่ใช่เอาแต่หลับตาแล้วมัวแต่สงสารตัวเอง จงลืมตาขึ้นแล้วเดินไปข้างหน้า ความสำเร็จอาจจะอยู่แค่คืบแค่ศอกข้างหน้าเรานั้นนั่นเอง

    <DD>ส่วนพวกที่คิดว่าตนนั้นล้มผู้อื่นได้แล้ว เป็นผู้ชนะแล้ว ก็เอาแต่เหยียบย่ำซ้ำเติมไม่เลิกไม่ราไม่หยุดเสียที ลองคิดดูซิว่าถ้าต้องไปนำคนหมู่มากร้อยพ่อพันแม่ต่างจิตต่างใจ แถมระดับความรู้ความเข้าใจความเป็นอยู่ ฐานะหรือก็ต่างกัน ตนจะทำได้ดีขนาดไหน ให้อภัยกันบ้างเถิดครับ

    <DD>ในโลกนี้ไม่มีอะไรผิดอะไรถูก มันเป็นธรรมชาติของมันอยู่อย่างนี้ แต่จิตของเราซิครับ เราซักเราฟอกของเราดีแล้วหรือ จึงได้ไปเพ่งโทษเอากับผู้อื่น ไปตัดสินว่าเขาดีเขาไม่ดี เราด่าว่าซ้ำเติมกลุ่มคนที่เขาต้องปกครองพวกเราจำนวนถึง ๕๗ ล้านคน แต่ไม่ถูกใจเรา

    <DD>ถ้าเราลองมามองดูในครอบครัวของเราบ้างซึ่งมีไม่กี่คนเลยว่า เราปกครองให้คนในครอบครัวแค่หยิบมือ โดยสามารถให้เขาเหล่านั้นพึงพอใจเราถ้วนทั่วทุกตัวคนได้บ้างหรือไม่ ถ้าได้นั้น เพราะความรัก ความเข้าใจ ความเชื่อถือศรัทธา หรือว่าอำนาจ หรือว่า ทั้งสองอย่างผสมผสานสอดคล้องกันอย่างพอเหมาะพอเจาะพอดี และพอควร จนส่วนใหญ่นั้นพอใจ

    <DD>เหตุการณ์ในครั้งกระนั้น เรา หมายถึง ผมกับพี่ชวาล ฯ ทราบดีครับว่าถ้าฝนตกหนัก ขบวนจะเข้าไปลำบากเพราะรถใหญ่ รถมาก และถนนแคบ ถ้าคันหน้าแม้แต่คันเดียวเกิดติดอยู่ คันหลังทั้งหมดก็จะติดอยู่ตรงนั้น ถนนไม่ได้แคบอย่างเดียว ขอบถนนหรือก็สูงชัน ด้านหนึ่งเป็นตลิ่งบก แถ..ลงไปก็เจอบ้านคนหรือตอไม้

    <DD>อีกด้านหนึ่งก็เป็นตลิ่งน้ำ ถลาลงไปก็มิดหลังคารถแน่ ๆ แถมน้ำยังไหลเชี่ยวดูราวกับน้ำมันพรายเดือดอยู่ปุด ๆ เมื่อบวกกับความลื่นด้วยแล้ว ลองนึกดูซิว่าน่ากลัวอันตรายขนาดไหน

    <DD>และแล้วในคืนก่อนที่พวกเราจะเข้าไปทำบุญ ฝนก็ตกหนัก เรามีแผนแก้ว่า ถ้าเช่นนั้นเราจะหยุดขบวนเอาไว้ด้านนอกทั้งหมด เมื่อขบวนมารออยู่พร้อมกันแล้ว พี่ชวาล ฯ ซึ่งขณะนั้นท่านเป็นถึง ผบ. นพค. เชียงใหม่และเชียงราย ๒ ตำแหน่งควบไปเลย มีเครื่องมือและทุกสิ่งทุกอย่างที่สามารถแก้ไขได้ เราจะเอารถขนหินซึ่งนำหน้าด้วยรถเกรดและตามด้วยรถเกรดอีก เทกันใหม่ ๆ สด ๆ ซิง ๆ เดี๋ยวนั้น เพราะถ้าทิ้งไว้นานก็จะลื่นอีก

    <DD>เราขอความร่วมมือจากชาวบ้านตลอดเส้นทางว่า ในวันนั้นจะไม่นำรถออกมาวิ่งบนถนนเส้นนี้ ก่อนที่คณะของพวกเราจะเข้าไปเรียบร้อยแล้ว และจนกว่างานบุญจะเสร็จสิ้น ซึ่งพวกเขาก็รับปากจะให้ความร่วมมือด้วยความเต็มใจ ตีสามครึ่งฝนปรอยมาอีกระลอกและหยุดปรอยเมื่อราวตีสี่ เรายังไม่เทหินเพราะไม่รู้ว่าจะตกซ้ำหรือไม่ เรารอเวลา

    <DD>แต่อนิจจาเอ๋ย.. เพียงตีสี่ครึ่ง พวกเราที่มาเองไม่ยอมร่วมมากับหมู่คณะก็มาถึงเป็นระลอก ๆ ผมยืนอธิบายทั้งขอร้องจนคอแหบคอแห้ง เพื่อให้รอรวมและร่วมไปพร้อมกับคณะใหญ่ ตามที่ได้กำหนดเวลาเอาไว้ แต่ก็ไม่มีใครยอมฟังกัน หาว่ากีดกันบ้างละ เข้าได้น่าไม่มีปัญหาบ้างละ บางพวกไม่เอารถของตัวเองเข้า แต่ไปว่าจ้างรถของชาวบ้านแถวนั้น ทุ่มเงินเข้าไป ชาวบ้านที่เคยรับปากกับผมไว้ แต่ไม่ใช่ชาวบ้านวังมุย เป็นพวกอยู่ปากทาง เห็นเงินก้อนใหญ่ก็ลืมสัญญา มนุษย์นี่ครับ

    <DD>คนที่ไปก็อยากจะได้ลาภจากการทำบุญ พวกเขาก็อยากได้ลาภจากคนที่ไปทำบุญ ความอยากมันตรงกัน ความมีวินัยก็หายไป มึงจะไป กูจะไป ใครจะทำไม มึงน่ะใหญ่แค่ไหน กูน่ะตราตั้งนะเฟ้ย เป็นอย่างนี้ทุกคนไม่ว่าจะแต่งตัวสวยขนาดไหน แล้วไอ้เป๋ ฯ เป็นใคร ก็เป็นแค่ลูกศิษย์หางแถวเท่านั้น ห้ามเขาไม่ฟังจะยิงทิ้งเขาเรอะ เขาจะไปทำบุญนี่ ไม่ใช่ภาวะสงคราม

    <DD>ในที่สุดก็เละตุ้มเป๊ะ..ไปหมดทั้งคนทั้งถนน เพราะพวกที่ไม่มาตามเวลานัดหมาย และเอาแต่ใจตนทำเอาถนนเป็นโจ๊กไปแล้ว ผมเห็นท่าไม่ดีจึงพยายามใช้การติดต่อสื่อสารด้วยวิทยุ แต่บริเวณนั้นเป็นที่ลุ่ม การติดต่อสื่อสารกระทำได้โดยยาก ผมกับพวกบางส่วนจึงต้องเดินลุยโคลนไปหาโคกกลางทุ่งไกลออกไปจากถนน เพื่อติดต่อสื่อสารรายงานเหตุการณ์ให้พี่ชวาล ฯ และผู้ที่ได้รับมอบหมายทราบ แต่แล้วการติดต่อสื่อสารก็ไม่เป็นผล เพราะอากาศแปรปรวน

    <DD>เวลาเดียวกันนั่นเอง ขบวนของหลวงพ่อ ฯ ก็มาถึง ผมส่องกล้องมองเห็นได้อย่างชัดเจน แต่เหาะไม่เป็น เดินก็ช้าครับ เพราะโคนลึกและขาก็เป๋ กว่าผมจะเดินไปถึงรถใหญ่ หลวงพ่อ ฯ ก็กลับไปแล้ว ทราบว่าได้ลองเขยิบเข้าไปแต่รถเกือบตกถนน ก็แน่นอนแหละครับ เพราะด้านหนึ่งของถนนมันเป็นคลองธรรมชาติ ถนนคือลูกรังที่เอามาถมทำเป็นคันคลองชลประทานนั่นเอง แล้วก็ยังมีรถที่คนขับดื้อแล้วไปติดขวางอยู่บนถนนแคบ ๆ นี้อีกหลายคัน

    <DD>รถลูกรังกับรถหินที่พี่ชวาล ฯ สั่งให้มาแก้ปัญหาก็เข้าไปไม่ได้ ผมก็เซ็งและหัวหมุนอยู่ตรงนั้นเพราะติดต่อกับคณะใหญ่ไม่ได้ คณะที่มาเองก็เข้าไปยังสถานที่นัดหมายอยู่เรื่อย ๆ แบบตัวใครตัวมันและตามอำเภอใจ (ที่จริงอยากจะใช้คำว่า มือใครยาวสาวได้สาวเอานะเนี่ย....)

    <DD>ครั้นพอเราแก้ปัญหาเหล่านี้ได้เสร็จ ถนนโล่งและรถสามารถเข้าได้แล้ว ผมก็ต้องรีบเดินทางกลับเข้าไปที่หลวงปู่ ฯ เพราะไม่ต้องการให้ใครได้เปรียบเสียเปรียบ ไหน ๆ ก็ต้องถูกด่าแล้ว ก็อย่าให้ต้องถูกด่าทั้งม้วนเลย เอาแค่สักครึ่งม้วนก็ยังดี

    <DD>เข้าไปนมัสการกราบเรียนเหตุการณ์ให้หลวงปู่ ฯ ท่านทราบ ท่านก็นั่งอมยิ้มเฉยอยู่ เลยนิมนต์อาราธนาให้ท่านรออยู่ในเพิงก่อน อย่าเพิ่งออกมา เจ้ากะเหรี่ยงก็จะไม่ฟังเสียง พูดไทยก็ไม่ได้ไม่ยอมเข้าใจกัน เชิญแคร่หามเข้ามารอ ทั้งฆ้องทั้งกลอง พากันตีเสียง มุ่ย..มง ๆ อยู่ระงมเซ็งแซ่ บ้างก็แถถาเข้ามาใกล้ จะอุ้มเอาตัวหลวงปู่ ฯ ไป พูดจากันหรือก็เข้าใจยาก เพราะว่ากันคนละภาษา ถึงตอนนี้เองที่ไอ้เป๋ ฯ ก็จำต้องใช้กลอุบายแสดงบทโหดระห่ำ แกล้งร้องตะโกนสั่งลูกน้องคู่ใจทันที

    <DD>“เฮ้ย...พวกมึงฟังกู ไม่ว่าไอ้หรืออีตัวไหนมันล้ำเส้นที่กูขีดเอาไว้นี้ มึงยิงได้ทันที”

    <DD>แล้วผมก็ทำทีเดินตึงตังก้มหน้าก้มตาเอาดาบปลายปืนขีดเป็นวงรอบเพิงที่หลวงปู่ ฯ เข้านิโรธสมาบัติ แถมทำตาเหล่ ๆ ปากเบี้ยวนิด ๆ โดยเอาแบบผู้ร้ายในหนังไทย แล้วตะคอกย้ำไปอีกหนหนึ่งว่า

    <DD>“พวกมึงพูดกับกะเหรี่ยงให้เข้าใจภาษาคน ส่วนกูจะไปพูดกับกะหร่าง เอ๊ย ! กับไทยให้เข้าใจภาษาของกู ใครขัดขืนยิงแม่งเลย เรื่องจะติดคุกติดตะรางหรือลงนรก กูรับผิดชอบเอง นรกกูไม่กลัวหรอกเว๊ย กูเคยลงบ่อยไป เฮ้ย ! ไอ้น้อง ต่อไปนี้มึงฟังกูร้อยเอกคนเดียว นายพลนายพันกูไม่สน ใครขัดขืน เฮ้ย..ยิงแม่งให้เหมือนหมา”

    <DD>ผมตวาดและแผดเสียงร้องที่คิดว่าตัวเองสามารถเลียนแบบพญาคชสารตกมันได้เหมือนเสียเหลือเกิน (ความจริงเหมือนหมาบ้าเห่า แถมสำรากขี้ออกไปมากกว่า ฮ่า ๆ)

    <DD>เมื่อระเบิดตูมตามออกไปดังนั้นแล้ว ก็ให้นึกเศร้าเสียใจเป็นกำลัง ด้วยพยายามรักษาน้ำใจกันมาโดยตลอด กลั้นน้ำตาที่ปริ่ม ๆ จะไหลออกมาเสียให้ได้ ด้วยเสียดายในไมตรีจิตที่ไม่อาจจะถนอมเอาไว้ได้อีกต่อไป ลูกน้องของผมทุกคนรู้ใจแกล้งกระชากลูกเลื่อนปืนพร้อมกันทันทีทุกกระบอก เสียงดังคร๊อกแคร๊กแทบจะเป็นเสียงเดียวกัน ผมถมึงและเขม้นตาซ้ำเติมเข้าไปอีก

    <DD>เออแฮะ...ประหลาดเว๊ย ! ประหลาดจริง ๆ ไอ้เสียงที่ดัง มุ่ยมง ๆ ก็หยุด เสียงกระจองอแงของคนกรุงก็เงียบอย่างกับเป่าสาก ผมเดินรี่เข้าไปทางไหน ทางนั้นก็ถอยร่นไม่เป็นขบวน ฮ่ะ ๆ ก็ถ้าไม่กลัวคนบ้าก็ต้องบ้าด้วยกันละวะ เออ ๆ เอ็งยังเป็นคนดีอยู่ รู้จักกลัวคนบ้า พอทำให้ผู้คนเขากลัวได้แล้ว ผมก็สั่งซิครับ ให้ทุกคนไม่ว่าไทยหรือกะเหรี่ยงไปรออยู่ที่โบสถ์ หลวงพ่อ ฯ หรือหลวงปู่ ฯ มีคำสั่งอย่างไรแล้วจะให้คนไปบอก เท่านั้นแหละครับ วิ่งกันขาขวิด

    <DD>เออ..แปลก คนดี ๆ พูดไม่ฟัง ยอมเชื่อฟังคนบ้า และนี่ก็เป็นความรู้อีกอย่างหนึ่งของผมที่ได้นำมาใช้ในโอกาสต่อมาโดยตลอด เมื่อเวลาเจอคนบ้าหรือเจอพวกที่ไม่ค่อยยอมเชื่อฟัง คือจำเป็นจะต้องบ้า หรือบ้ากว่ามันนั่นเอง และก็มักจะประสบความสำเร็จมาโดยตลอด แต่ก็ไม่เสมอไปทุกครั้งนะครับ เจอที่บ้ากว่า ผมก็ต้องถอยเหมือนกัน จะนำวิธีไปใช้บ้างก็ไม่ขัดข้องนะโยม เท่าที่ผ่านมายังไม่เห็นมีใครบ้าเท่าผมแฮะ

    <DD>เอ้า..มาเข้าเรื่องต่อไป ต่อมาก็เป็นการเจรจาระหว่างท่านทั้งสอง (คือผู้แทนของหลวงพ่อ ฯ กับหลวงปู่ ฯ) โดยผู้แทนหลวงพ่อ ฯ จะให้หลวงปู่ ฯ ออกไปรับคณะที่วัดดอนมูล โดยยืนยัน นั่งยัน นอนยัน หัวชนฝาราน้ำดะ ว่ารถจะเข้ามาไม่ได้ ถึงเข้ามาได้ก็จะไม่เข้ามาแล้วเพราะไม่สะดวก (ถ้าจะให้สะดวกสบายก็น่าจะนอนอยู่ที่บ้านนิพวกนิ)

    <DD>เมื่ออีกามาบอกข่าวอย่างนั้น หลวงปู่ ฯ จึงหันมาหารือกับผม ผมก็ไม่มีความเห็น แต่รายงานไปว่าขณะนี้รถสามารถเข้าได้แล้วนะขอรับ หลวงปู่ ฯ ก็ว่าอย่างนั้น หลวงปู่ ฯ ไม่ออกไป ให้หลวงพ่อ ฯ เข้ามา ผู้ส่งข่าวทางหลวงพ่อ ฯ ก็ปล่อยข่าวลือแถมขู่ออกมาอีกว่า ถ้าหลวงปู่ ฯ ไม่รีบออกไป คณะใหญ่ที่ยังอยู่กับหลวงพ่อ ฯ ก็จะพากันกลับ โถพ่อคุณพ่อทูนหัว จะมาทำบุญหรือจะมาขู่พระ ผมงี๊แทบไม่ได้บุญแล้ว อกมันกลัดหนอง ทำอะไรไม่ถูก

    <DD>คราวนี้หันพึ่งพระพุทธเจ้าแล้วครับ ขอพรท่านดัง ๆ เลยว่า ขอได้โปรดดลบันดาลให้งานบุญนี้เป็นบุญแท้จริงเถิด พระพุทธองค์จะทรงทดลองกำลังใจผู้ใดอยู่ก็สุดแท้แต่ แต่ตอนนี้มันจะเกิดการแตกหักอยู่แล้ว งานใหญ่ที่ผู้คนจำนวนมากเสียสละทั้งแรงกายแรงใจ จำจะต้องมาล้มคว่ำล้มหงาย เพราะไอ้คนขี้เบ่งคนเดียวนั้น ไม่เป็นการสมควรเลย

    <DD>แถมไอ้เป๋ ฯ อาจจะต้องไร้สำนักเสียแล้วก็จะให้ทำอย่างไรดี เพราะไอ้เป๋ ฯ นั้นรักทั้งหลวงพ่อ ฯ และหลวงปู่ ฯ แต่ถ้ากู่ไม่กลับก็จะต้องยอมเสียกันไป เพราะหลังพิงฝาแล้วนี่ เฮ้อ ! เอาน่ะ ข่มใจคลานเข้าไปกราบนมัสการหลวงปู่ ฯ อ้อนวอน

    <DD>“หลวงปู่ ฯ ออกไปเถิดครับ”

    <DD>อ้าว..หลวงปู่ ฯ สั่นหัวแถมหัวเราะลงคอเอิ๊ก ๆ หน้าบานยิ้มแฉ่งไม่มีแวววิตกแม้นิดเดียว บอกว่า

    <DD>“หลวงปู่ ฯ ไม่ออกไป เดี๋ยวหลวงพ่อ ฯ เข้ามา นพ ฯ ไปดูแล ไปเตรียมการให้พร้อมนะ”

    <DD>เอ้า..เมื่อกี้ที่ถามผมในตอนนั้น หลวงปู่ ฯ ทำท่าจะออกไปนี่ ไหงตอนนี้พอผมขอให้ออกไป หลวงปู่ ฯ กลับไม่ยอมออกไป ท้อแล้วผม หมดกำลังทั้งกายและใจ มืออ่อนตีนอ่อน เดินเตร่ออกมาที่ถนนนึกไม่ออกว่าจะตั้งชื่อสำนักใหม่ของตนเองว่าอย่างไรดี เมื่อเล็กก็กำพร้าพ่อ กำพร้าแม่ เมื่อแก่ยังจะต้องมากำพร้าครูบาอาจารย์อีก อ้าว เฮ้ย นั่นเราตาฝาดหรืออย่างไร

    <DD>“เฮ้ย ๆ รถหลวงพ่อ ฯ โว้ย รถหลวงพ่อ ฯ เอ้อเฮอ วิ่งลิ่วยังก๊ะเหินลมมา แต่โคลนกระจุยกระจายเชียว เอ้า ! ไอ้เวร เอาร่มเอาผ้าไปต้อนรับ มึงนั่นแหละเร็ว ๆ เข้า ยังเสือกจะทำตาเหลือกยืนเซ่ออยู่ได้”

    <DD>“เอ้า..มึงไปบอกกะเหรี่ยงกับกะหร่างว่า ไม่ต้องร้องงอแงแล้วเว๊ย...พ่อมึงมาแล้ว”

    <DD>ผมร้องตะโกนสั่งลูกน้องเสียเสียงหลง เนื้อตัวสั่นไปด้วยความดีใจ คนอื่น ๆ ที่มามุงรอฟังข่าวอยู่ก็ฮือฮา แล้วก็มีเสียงเฮ เสียงไชโยโห่หิ๊วด้วยความดีใจตามมาติด ๆ แถมด้วยเสียงมุ่ยมง ๆ อยู่อึงอล ตรงกันข้ามกับเมื่อครู่ก่อนหน้านี้ ที่เงียบเสียจนแทบจะเรียกว่า ถ้าใครทำเข็มตกลงพื้นสักเล่ม เสียงคงจะดังราวกับฟ้าผ่ากลางอเวจีเลยทีเดียวเชียวน้อง...

    </DD>
     
  20. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    พอหลวงพ่อฯลงมาจากรถ ผมก็กรากเข้าไปกราบน้ำตาไหลพราก ๆ ด้วยดีใจ พอเงยหน้าจะลุกขึ้นมาก็มึนหนึบเห็นดาวกระจายเต็มท้องฟ้าเวลาเช้าแสก ๆ จะไม่เห็นดาวเห็นเดือนได้อย่างไร เจอมะเหงกหลวงพ่อฯ เข้าไป ๓ ทีหนัก ๆ ครบเลยครับ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์


    <DD>เฮ้อ..เป็นอันว่าแฮปปี้เอนดิ้งขอรับ ทุกคนได้ทำบุญทำทานสมใจอยาก ยิ้มแย้มแจ่มใสกันทุกคนเลย

    <DD>แหม..อยากจะเล่าซ้ำนะครับ น่าชื่นใจน่าปลื้มใจจริง ๆ วอหามหลวงปู่ฯ เราเตรียมไว้ให้กระเหรี่ยงหามหลวงปู่ฯ แต่กระเหรี่ยงก็กระเหรี่ยงเถิดครับ ถูกกระหร่างผลักจนกระเหรี่ยงกลายเป็นกระเด็นไปหมด แย่งเอาไปหามกันเอง ยังดีอยู่นะที่ไม่มีใครไปแย่งกลอง แย่งฆ้องเขามาล่อเอง ถ้าเป็นอย่างนั้นก็ยังนึกไม่ออกว่าจะตีจะบรรเลงเป็นทำนองแบบเชิดสิงโตไหม คงจะต้องตีเป็นทำนองนี้นะครับ ม๊ง แซ่ง ม๊ง ๆ แซ่ง ม๊งแซ่ง ม๊ง ๆ แซ่ง

    <DD>ทีนี้ผู้คนหลามไหลกันเข้ามา สาดเงิน สาดธนบัตร เข้ามาที่ตัก ที่เท้าของหลวงปู่ฯ ที่เข้ามาใกล้ไม่ได้ ก็ใช้วิธีโยนเอา เงินทองหกเรี่ยหกราด ไอ้ภาพฯ ต.ช.ด. ลูกน้องของผมก็เก็บก็กวาดเข้ากระสอบ แค่โกยเงินเข้ากระสอบก็เหงื่อไหลไคลย้อย หอบแฮ่ก ๆ ยังก๊ะหมาหอบแดด

    <DD>“ไม่เป็นไร ๆ ผมชอบเหนื่อยแบบนี้จังเจ้านาย ผมชอบจริง จริ๊ง...เงินทั้งนั้นเลยนาเจ้านาย อู้ฮู๊ ของจริงไม่ใช่ของเก๊ เป็นกระตั้ก”

    <DD>มันดัดจริตพูกเสียงเล็กเสียงน้อย แล้วสูดปากดังซู้ดแถมแลบลิ้นเลียปากแพล่บ ๆ เหมือนหมาเห็นขี้ใหม่แล้วอยากกิน ผมร้องด่าและกระเซ้ามันอย่างอารมณ์แสนจะจอยเต็มแก่ (ขนาดถูกเตะตอนนั้นก็ไม่โกรธ) ว่า

    <DD>“เฮ้ย ไอ้บ้า เงินของพระนะโว๊ย ลงนรกกูไม่รับผิดชอบ”

    <DD>มันยังคงยียวนกวนประสาทย้อนผมมาอีกว่า
    <DD>“โธ่ เจ้านาย ผมรู้น่ะว่าอะไรเป็นอะไร แล้วนรกน่ะผมไม่กลัวหรอก ก็ตอนนั้นเจ้านายยังตะโกนเสียลั่นเลยว่า เคยลงไปบ่อย ๆ”

    <DD>แหม..ไอ้เวร! มันย้อนอีกว่า
    <DD>“แต่ก็เชิญเจ้านายตามสบายเถิดครับ ผมก็เบื่อเหมียนกัลล์”

    <DD>รายละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางด้านของหลวงพ่อฯ ไปหาอ่านเอาเองเถิดครับ เราต่างก็ลืม ๆ กันไปหมดแล้วเรื่องข้อบาดหมาง พี่ชวาลฯ ห้ามผมนักหนาไม่ให้พูด แต่นี่มันเกินอายุความ ๑๐ ปีแล้ว ผมจึงพูดเพื่อประโยชน์ในโอกาสต่อไปรุ่นน้องจะได้รู้ไว้ และจะได้อาศัยเป็นตัวอย่างเพื่ออุดช่องโหว่ในการวางแผนการทำงาน จะได้ไม่มีข้อผิดพลาดขึ้นอีก เช่นในสมัยรุ่นพี่เช่นผมที่ประสบพบเห็นมา

    <DD>และต่อไปนี้ผมก็คงจะไม่มีโอกาสมายุ่งด้วยแล้ว เพราะใกล้จะหมดหน้าที่ ใครที่จะต้องมาเกิดอีกมาทำอีกก็เอาไปเป็นตัวอย่างได้ และขอให้พัฒนาให้ดีเชียวนะ ที่สำคัญอย่าเอาแต่ปากทำงาน งานบุญครั้งกระนั้นทำให้ถนนสายเข้าวัดวังมุยมีไฟฟ้าเดินสายเข้าไปให้ชาวบ้านชาวช่องแถวนั้นได้ใช้ทั่วหน้ากัน มาจนตราบท่าวถึงทุกวันนี้

    <DD>ทีนี้ เมื่อเล่าถึงบางเรื่องเกี่ยวกับหลวงปู่ฯ ไปแล้ว เชื่อว่ามีหลายคนที่กำลังอยากจะฟังเกี่ยวกับเรื่อง ลูกแก้วสารพัดนึก ต้นแบบที่หลวงพ่อฯ ของเราได้มาจากหลวงปู่ฯ แล้วในที่สุดก็มาเป็นลูกแก้วสวย ๆ ที่พวกเราห้อยคอกันอยู่อย่างไรล่ะ อยากจะฟังประวัติความเป็นมาของลูกแก้วเหล่านี้บ้างไหม ถ้าอยากฟังก็กรุณาตามมาฟังผมโม้ได้เลยครับ

    <DD>หลวงปู่ชุ่มฯ นั้น ท่านเป็นลูกศิษย์ของครูบาศรีวิชัยฯ เมื่อแรกเริ่มเดิมทีที่พวกเราไปนมัสการท่านนั้น ท่านจะแจกเครื่องรางของขลังประเภท พระรอด ตะกรุดเหน็บ ตะกรุดหนัง (ลูกวัวตายในท้อง ตายเองโดยธรรมชาตินะครับ ไม่ใช่จงใจไปทำให้แม่ของมันตาย แล้วเอาหนังลูกในท้องของมันมา) และตะกรุดปรอท

    <DD>สำหรับพระรอดที่ว่านี้ พวกนักเลงพระเรียกกันว่า “รอดเณรจิ๋ว” เป็นพระรอดที่หลวงปู่บุญทืมฯ ออกแบบและสร้างถวายให้หลวงปู่ชุ่มฯ แล้วหลวงปู่ชุ่มฯ ก็นำไปถวายให้หลวงปู่ครูบาศรีวิชัยฯ ปลุกเสก จำนวนที่สร้างคราวนั้นเต็มบาตรพระ จากนั้นหลวงปู่ชุ่มฯ ท่านก็แจกเรื่อยไป และบางส่วนก็เก็บเอาไว้นานเหมือนกับจะรอเวลาเพื่อแจกพวกเรา ผมเห็นท่านเก็บเอาไว้ในบาตร ฝุ่นงี๊หนาปึ้ก

    <DD>เมื่อจะเอามาแจกพวกเรา ท่านเอาน้ำล้าง พวกที่นิยมของเก่าร้องโวยวายเพราะหลวงปู่ท่านไม่เข้าใจ ท่านเห็นว่ามันสกปรกท่านก็อุตส่าห์ล้างให้ เพราะกลัวลูกศิษย์ชาวกรุงเทพฯ เขาจะรังเกียจ พระบ้านนอกละก็ถ่อมตัว น่ารักจริง ๆ

    <DD>ตอนหลังผมจึงไปอธิบายให้ท่านทราบว่า พวกนิยมของเก่าเขานิยมฝุ่น เขาโมเมเรียกฝุ่นว่า ขี้กรุ (ทั้ง ๆ ที่พระชุดนี้ไม่ได้อยู่ในกรุแม้แต่น้อย) ผมเรียนว่าหลวงปู่ฯ จะล้างก็ไม่ขัดคอหรอกครับ แต่ขอให้เขย่า ๆ พอสังเขปก็พอ ท่านก็เชื่อ

    <DD>พระชุดนี้ปัจจุบันไม่เหลืออยู่ที่วัดแม้แต่องค์เดียว ผมรับรองได้ เพราะตอนหลังผมเอามาให้กับวัดจามเทวีจนหมด ตามที่เล่าให้ฟังไปแล้วตอนหลวงปู่ทืมฯ ตอนนี้ผมเองก็เหลืออยู่แค่ ๓ องค์ ห้อยอยู่ที่คอลูก ๆ และภริยา (ซึ่งปัจจุบันมีคนเดียวอั๊บ)

    <DD>ตะกรุดหนังลูกวัวก็เหมือนกับตะกรุดปรอท เป็นเครื่องรางเฉพาะตัวของท่านเอง ท่านได้ตำรามาจากใครผมจำไม่ได้ ว่าง ๆ จะลองไปถาม ร.ต.อ. วิวัฒน์ สุวัฒนะกุล อดีต หน.สภ.ต. สาวชะโงกดู เขาเคยอยู่ที่ลำพูน ตอนที่พวกเราไปนมัสการหลวงปู่ฯ กันในคราวนั้น เขาเคยเกเรมาก่อน เป็นนักเลงการพนันตัวยง แต่เดี๋ยวนี้เขาเลิกแล้ว

    <DD>แต่แม้สมัยที่เขาเกเร เขาก็เข้าหาพระเข้าหาเจ้า และองค์ที่ทำให้เขาเลิกเล่นได้ก็คือ หลวงปู่หล้าตาทิพย์ เวลานี้ในกระเป๋าเสื้อทั้งสองข้างของเขาจะพองตุ่ย ถ้าลองไปนั่งคุยด้วย ไม่ว่าคนไม่ว่าลิงจะพากันหลับหมด ประวัติศาสตร์มันยาวรู้ไปหมดทุกเรื่องทุกราว พูดไปก็ควักวัตถุมงคลออกจากกระเป๋ามาอวด นี่กาฝากมะขาม นี่กาฝากรัก นี่กาฝากมะรุม เออ ระวังจะถูกรุมเตะ

    <DD>ทีนี้หลวงปู่ฯ ท่านเคยเล่าให้ผมฟังว่า อาจารย์ของท่านนั้นเก่งเหลือหลาย เก่งกว่าลูกษิษย์อย่างท่านมากมายนัก ท่านทำได้แค่ซัดปรอทให้แข็งตัวทำเป็นตะกรุดปรอท แต่พระอาจารย์ของท่านนั้นเก่งเหนือไปกว่านั้น ซัดปรอทต่อไปอีกจนปรอทนั้นกลายเป็นแก้ว ถ้าเป็นตัวเมียจะมีรูเรียกว่า แก้วราหู แต่ตัวผู้ผมจำไม่ได้ว่าท่านเรียกว่าอย่างไร ใครรู้และจำได้ช่วยบอกที

    <DD>ท่านได้รับเป็นมรดกตกทอดมา ๓ ลูก เป็นตัวผู้ใหญ่ ๒ ลูก ตัวเมีย ๑ ลูก ลูกใหญ่ที่สุดท่านถวายพระเจ้าอยู่หัว รองลงมาท่านถวายหลวงพ่อของเรา ก็ลูกที่หลวงพ่อฯ ท่านเคยแช่อยู่ในอ่างน้ำมนต์ของหลวงพ่อฯ นั่นแหละครับ ลูกเล็กสุดหลวงปู่ฯ ขวั่นเชือกทำเป็นสายร้อยและคล้องคอให้กับผม หลังจากคณะของหลวงพ่อฯ กลับกรุงเทพฯ ไปแล้ว ๒ วัน เพราะผมกับลูกน้องยังต้องอยู่ต่อ เนื่องจากจะต้องดูแลจนกว่าทุกอย่างจะเรียบร้อยจริง ๆ

    <DD>ในตอนแรกผมไม่ยอมรับ เพราะกลัวจริง ๆ ครับ กลัวว่าวาสนาจะไม่ถึงไม่คู่ควรกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ระดับนี้ แต่หลวงปู่ฯ ท่านยืนยันจะให้ และท่านว่าท่านถามผู้ดูแลรักษาแล้ว ทางนั้นยืนยันไม่ขัดข้อง ผมงี้น้ำตาไหล ดีใจน่ะดีใจมากครับ แต่ไม่เท่ากับความภาคภูมิใจ รู้สึกหัวใจพองโตมาก ๆ จนบอกไม่ถูก มีความรู้สึกว่าเทพยดาฟ้าดิน ตลอดจนปรมาจารย์รวมทั้งหลวงปู่ฯ หลวงพ่อฯ และพระเบื้องบนท่านให้ความกรุณาต่อผมมากจริง ๆ

    <DD>ความจริงแล้วของศักดิ์สิทธิ์อย่างนี้ ปุถุชนคนธรรมดาหน้าไหนบ้างที่ไม่อยากจะได้มาไว้ครอบครองจนเนื้อตัวสั่น แค่เห็นก็เรียกว่าเป็นบุญตาแล้ว ผมเองก็เช่นเดียวกัน อยากได้ แต่ยังสงสัยว่า ตัวผมเองนั้นมีคุณงามความดีแค่ไหนเชียวจึงจะได้ของศักดิ์สิทธิ์นี้มาเป็นกรรมสิทธิ์

    <DD>จำได้ว่าครั้งแรกผมไม่ยอมรับ และได้อ้อนวอนหลวงปู่ฯ ว่าขอให้หลวงปู่ฯ กรุณาถามเบื้องบนด้วยว่าให้ผมจริง ๆ หรือ และถ้าผมรับไว้แล้วจะมีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง หลวงปู่ฯ ท่านว่าถามแล้วและอนุมัติมาแล้ว ผมก็ยังดึงดันขอให้หลวงปู่ฯ ถามให้อีกครั้งหนึ่ง ท่านก็กรุณาตามใจถามให้ เมื่อหลวงปู่ฯ ท่านยืนยันอีกครั้งหนึ่ง ผมจึงยอมรับเอาไว้

    <DD>เรื่องที่เล่านี้ ถ้าท่านที่ไม่เข้าใจผมอาจจะคิดว่า ไอ้นี่มาดมากเจ้าท่า ไม่เป็นเรื่อง ซึ่งผมต้องขอความกรุณาชี้แจงในตอนนี้เสียเลยว่า ในขณะนั้นจิตใจของผมระลึกอยู่ตลอดเวลาว่า ผมนั้นเป็นเพียงลูกศิษย์หางแถวของหลวงพ่อฯ หลวงปู่ฯ ผมมีฐานะยากจน ไม่มีเงินทองหลามไหลเหมือนใครเขา

    <DD>แต่ถ้าเป็นงานเพื่อหลวงพ่อฯ หลวงปู่ฯ หรือเพื่อการพระศาสนาแล้ว ผมจะทุ่มเทแรงกายแรงใจอย่างเต็มที่ มีเงินผมก็จะเอาเงินช่วย ไม่มีเงินผมจะเอาแรงกายแรงความคิดทุ่มเทเข้าช่วย แต่อย่างว่าแหละครับ การช่วยเหลือถ้าไม่เป็นเงินก้อนโต ๆ ก็ไม่มีใครเห็น ไม่มีใครให้ความสำคัญ

    <DD>ในงานทำบุญที่หลวงปู่ชุ่มฯ เข้านิโรธสมาบัตินี้ก็เหมือนกัน ผมเป็นเพียงร้อยตำรวจเอกที่พิการ มีฐานะยากจน ไม่มีพื้นที่ปกครอง ไม่มีลูกน้องบริวาร และไม่มีอำนาจราชศักดิ์ แต่ผมนั้นได้รับเป็นธุระอย่างขันแข็งในเรื่องการติดต่อประสานงานเตรียมการทางด้านของหลวงปู่ฯ ต้องขึ้น ๆ ล่อง ๆ กรุงเทพฯ – เชียงใหม่ เชียงใหม่ – กรุงเทพฯ ไม่รู้ว่ากี่เที่ยวต่อกี่เที่ยว และรับภาระเรื่องค่าใช้จ่ายนั้นเองโดยตลอด ไม่ทราบว่าหมดเท่าใดต่อเท่าใด

    <DD>ครั้นถึงเวลาที่จะทำบุญ เมื่อตอนที่หลวงปู่ฯ ออกจากนิโรธสมาบัติ ก็ไม่มีโอกาสเหมือนใครอื่นเขา เพราะจะต้องคอยดูแลความปลอดภัยให้กับคนส่วนใหญ่นั่นเอง เรียกว่าแม้จะอยู่ใกล้แต่เข้าไม่ถึง สำนวนจีนกำลังภายในเขาว่า แม้ชายคาจะเกยกันแต่ก็เหมือนไกลอยู่สุดขอบฟ้า ไม่ใช่ว่าหยิ่งแต่ทว่าเจียมใจเจียมกาย

    <DD>ลูกน้องเคยถามผมว่า ถ้าการทำบุญกับพระอริยะสงฆ์ที่เพิ่งออกจากนิโรธสมาบัติจะให้ผลมากอย่างรวดเร็วและประเสริฐจริง คนอื่น ๆ ที่ไปกันก็คงจะได้รับผลที่ประเสริฐนั้นไปกันถ้วนทั่ว แต่พวกเราคงจะไม่ได้ ผมค้านว่า เฮ่ย ไม่จริง แล้วย้อนถามเขาไปว่า สบายใจไหม? ปลื้มใจไหม? ที่ได้มาร่วมงานทำบุญในครั้งนี้ พวกเขาตอบว่า ยอดจริง ๆ มีทั้งใจหายใจคว่ำ สนุก ตื่นเต้น และในที่สุดก็ลงท้ายด้วยความอิ่มใจ ปลาบปลื้มสบายใจ เรียกว่ามีครบทุกรส

    <DD>ความประทับใจนี้ พวกเขาไม่เชื่อว่าจะมีวันได้พบประสบพบอีก และจะไม่มีวันลืมเลือนไปเลย ผมได้โอกาสจึงพูดกับพวกเขาว่า นั่นไง ผลตอบแทนของพวกเราก็คือ ความสบายใจ ความสุขใจที่ได้รับ ซึ่งก็น่าจะถือได้ว่าเป็นผลบุญอย่างยิ่งแล้ว คนมีเงินมีทอง มีทรัพย์สมบัติมหาศาล ไม่มีความสุขเท่ากับที่พวกเราได้รับและมีอยู่ในครั้งนี้

    <DD>พวกเขาก็อึ้งไป แต่ก็อ้อมแอ้มกันนิด ๆ หน่อย ๆ ว่า แหม ลูกพี่ ทางใจพวกผมยอมรับว่าได้กันอย่างเต็มปรี่ แต่ถ้าได้ทางโลกมาจุนเจือพอให้บรรเทาความเดือดร้อน ไม่ถึงกับขอให้มีมากจนถือได้ว่าสะสมเกินไปก็น่าจะดีกว่านะครับ ซึ่งผมก็เห็นด้วยเต็มร้อย แต่ก็ได้แต่อ้อม ๆ แอ้ม ๆ ตอบไปไม่เต็มเสียงว่า อืม......

    <DD>ผมว่าท่านคงจะเห็น ซึ่งความจริงผมไม่ทราบและไม่แน่ใจเลยว่า ท่านที่ผมว่านี้จะเห็นอย่างที่ผมเห็นหรือไม่ เพราะคนเรายิ่งแก่เฒ่าก็ยิ่งหูตามัว ยิ่งเป็นใหญ่ ยิ่งมีอำนาจ ยิ่งแล้วใหญ่ มักจะอุดมสมบูรณ์ไปด้วยอคติ ๔ ทำให้หน้ามืดหูตาลายมืดมัว ในไม่ช้าหูก็จะหนวก ตาก็จะบอด ความทุกข์ยากของคนเป็นแสนเป็นล้านก็ไม่เห็น คนทั้งประเทศทั้งโลกร้องตะโกนก็ไม่ได้ยิน

    <DD>แต่กลับไปได้ยินพวกเปรตที่สอพลอเอาแต่เป่าหูอยู่ ก็แหม ! เปรตมันปากเล็กนี่ครับ เขาว่ากันว่าปากเปรตเท่ารูเข็มจึงสามารถสอดปากเข้าไปเป่าอยู่ที่แก้วหูของท่านผู้มีอำนาจได้โดยสะดวก เอาเถิดครับ ไม่แสบไม่คันรูหูบ้างก็ให้มันรู้ไป ให้มันไชจนหนวกไปเล้ย........

    <DD>หลังจากที่ผมได้พูดคุยกันเรื่องผลบุญ และงานบุญของหลวงปู่ชุ่มฯ กับลูกน้องไปแล้ว ก็ไม่นานเกินรอ เพียงวันสองวันต่อมาหลวงปู่ชุ่มฯ ท่านก็มอบลูกแก้วดังกล่าวให้กับผม เห็นไหมครับทันตาเห็นจริง ๆ

    </DD>ย้อนกลับมาเล่าเรื่องลูกแก้วกันต่อดีกว่า หลวงปู่ชุ่ม ฯ ท่านบอกผมว่า ลูกแก้วนี้ ครูบาอาจารย์ตลอดจนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ปกปักรักษาลูกแก้วนี้เต็มใจให้ผม ท่านว่าเป็นแก้วสารพัดนึก โดยมีพระคาถากำกับ แต่เจ้าของและผู้ปกปักรักษาเขาขอสัญญากับผมว่า การที่จะขออะไรกับลูกแก้วนี้ จะต้องขอสิ่งที่อยู่ในศีลในธรรม เช่น ถ้าขอให้ผู้หญิงรัก เมื่อได้ผู้หญิงคนนั้นเป็นภริยาแล้ว จะต้องรับผิดชอบเลี้ยงดู


    <DD>นอกจากนั้นมีเงื่อนไขพิเศษก็คือ ท่านว่าผู้ดูแลรักษาท่านหนึ่งขอว่า ห้ามใช้กับหญิงโสเภณี และถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ แล้ว อย่าพกลูกแก้วนี้เข้าไปหรือผ่านไปในแหล่งหญิงนครโสเภณี เพราะผู้ดูแลท่านรังเกียจ ผมก็รับสัญญานั้น

    <DD>หลวงปู่ชุ่ม ฯ ท่านลงมือขวั่นเชือกด้วยมือท่านเอง ร้อยในรูของลูกแก้วผูกทำเป็นห่วงเชือกคล้องคอให้กับผม ต่อมาผมกลัวเชือกขาดลูกแก้วจะหาย จึงมาดัดแปลงให้ดีขึ้น โดยให้แม่นิดถักเชือกไนล่อนเป็นตาข่ายล้อมลูกแก้วเอาไว้ และขนาดเชือกก็เปลี่ยนใหม่ให้โตขึ้น จนพอไว้ใจได้ว่า ไม่อาจขาดได้โดยง่าย แต่ก็คิดไว้ในใจว่า ถ้ามีเงินเมื่อใด ก็จะเอาไปเลี่ยมทองให้คู่ควรเหมาะสมเสียที

    <DD>แต่แล้วก็ไม่มีโอกาส เพราะระยะนั้น ยอมรับกันอย่างตรง ๆ เลยครับว่าชะตาชีวิตในตอนนั้นเป็นเหมือนที่หมอดูเขาว่า พระศุกร์เข้า พระเสาร์แทรก แต่ที่ผมประสบนั้นเรียกใหม่ได้เลยว่า พระศุกร์กระทืบจมเบ้า พระเสาร์กระแทกมิดธรณี จวนเจียนจะอยู่ จะไปหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเงินเรื่องทอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องชีวิตครอบครัว บ้านแตกสาแหรกขาดกระจุย

    <DD>ขนาดหลวงพ่อ ฯ ของเราท่านอุตส่าห์ทำพิธีบังสุกุลเป็นให้ถึง ๒ ครั้ง พาไปปล่อยปูกับท่านอีก ๑ ครั้ง ก็ประทังได้แค่ร่อแร่ จะตายก็ไม่ตาย จะเป็นก็ไม่เป็น

    <DD>ตอนนั้นผมออกจากบ้านที่ผมอยู่มาตั้งแต่เกิดจนเป็นร้อยเอก โดยมีเครื่องแบบไป ๒ ชุด ไปอาศัยอยู่กับเพื่อนรุ่นน้องคนหนึ่ง ซึ่งมีชื่อฉายาที่บรรดาลูกศิษย์เก่า ๆ เรียกกันว่า “ไอ้ตี๋เล็ก” สำหรับผมนั้นเขาเรียกกันว่า “ไอ้ตี๋ใหญ่” (ฉายานี้หลวงพ่อ ฯ ของพวกเราตั้งให้นะครับ) ในตอนนั้นถ้าไม่ได้ไอ้ตี๋เล็ก ผมคงแย่แน่ ๆ

    <DD>จำได้ว่าในตอนนั้น ผมถูกพรากทั้งลูกทั้งเมีย และเป็นความกันอยู่กับบรรพสตรีของเมีย ก็แม่ยายนั่นแหละครับ และโดยเพียงเพื่อให้ชนะผม เขาก็สาดโคลนผมจนเลอะเทอะหมดทั้งชีวิต ฝ่ายเขามีพวกมากด้วย เคยเป็นภรรยาของคุณพระท่านหนึ่งซึ่งเป็นอดีตคนใหญ่คนโตในกระบวนการยุติธรรม

    <DD>แหม....เวลาเรียกเข้าไปพบและตกลงกันนอกบัลลังก์ ผมงี้กระดิกตัวแทบไม่ได้เลยครับ ขยับตัวหน่อยถูกท่านตวาดแว๊ด ขนาดอยู่ข้างหน้าโต๊ะทำงานของท่าน ผู้แทนของเขาซึ่งเป็นผู้หญิงยังกล้าถอดรองเท้าส้นสูงขึ้นมาเงื้อจะเคาะกะโหลกผม โดยท่านทำเป็นนั่งก้มหน้าไม่รู้ไม่ชี้ไม่เห็น

    <DD>พอผมเตือนท่าน กว่าท่านจะเงยหน้า เขาก็เก็บรองเท้าเสร็จแล้ว และท่านก็ตวาดขู่ฟ่อ ๆ เอากับผมอีกว่า อะไรเป็นถึงร้อยตำรวจเอกจะมาทำนิสัยเที่ยวพาลหาเรื่องคนอื่นเขาต่อหน้า....นะเนี่ย ไอ้ผมก็ยืนนึกปลงอนิจจัง อื้อฮือ....นี่ขนาดผมแต่งเครื่องแบบด้วยนะครับ ท่านก็ไม่ยอมให้เกียรติ ไม่รู้ว่าตุ้มเงินตุ้มทองหรือตุ้มอะไรมันถ่วงอยู่ ถึงได้เอียงกะเท่เร่ขนาดนี้

    <DD>ถ้าเป็นแม่ค้าละก็ ขายอะไรก็รวยครับ ก็โกงตาชั่งนี่ครับ ผมก็นึกในใจอีกว่า อีแบบนี้เราแพ้ความแน่ เพราะไอ้บ้านี่ตาบอด ไม่เห็นความดีความชั่ว (ต่อมาท่านนี้ประสบอุบัติเหตุตาบอดครับ ต้องออกจากราชการทั้ง ๆ ที่อายุยังน้อย คงไม่ใช่กรรมจากที่ทำกับผมเรื่องเดียวหรอกครับ คงทำบ่อย ๆ กับคนอื่น ๆ ด้วย ส่วนผมก็ให้อภัยทานไปแล้ว แต่บังเอิญอ่านหนังสือพิมพ์เจอเข้าพอดี)

    <DD>ฝ่ายผมมีผู้ที่เลี้ยงดูอุปการะผมมาตั้งแต่เกิด ซึ่งเข้าใจและเห็นใจผมอย่างแท้จริง ก้คือคุณย่าของผมเท่านั้น แต่เวลานั้นท่านก็แก่มากแล้ว และผมคิดว่าถ้าผมอยู่ที่บ้านคุณย่า คุณย่าก็คงจะต้องทุกข์ร้อนไปกับผมอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ผมจึงตัดสินใจบากหน้าไปอาศัยอยู่กับไอ้ตี๋เล็ก เพื่อความสะดวกในการวางแผนและต่อสู้กับฝ่ายตรงข้าม

    <DD>เรื่องราวการต่อสู้ของผมในตอนนี้ มีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับหลวงปู่คำแสนใหญ่ ฯ หรือพระครูสุคันธศีล ฯ แห่งวัดสวนดอก ซึ่งกรุณาสอนผมในเรื่อง แม่ทัพแขนด้วน และเกี่ยวข้องกับหลวงปู่ครูบาวงษ์ ฯ หรือพระครูใบฎีกาชัยยะวงษาพัฒนา แห่งวัดพระบาทห้วยต้ม ที่กรุณาเตือนผมด้วยเรื่อง ไอ้วัวหำคด ซึ่งขออนุญาตเก็บเอาไว้เล่ารายละเอียดในตอนที่เขียนถึงหลวงปู่ ฯ ทั้งสองนะครับ

    <DD>และผมยอมรับครับว่า ในตอนนั้นมีความกลัดกลุ้มใจมาก ๆ ทำให้บางครั้งผมก็หาทางออกโดยไปเที่ยวเตร่แบบที่ผู้ชายทั่ว ๆ ไปเขาเที่ยวกัน แต่ถ้ามีรายการพรรค์อย่างนั้น ผมจะถอดลูกแก้วทิ้งไว้ในรถทุกครั้ง ลืมล็อคประตูรถเป็นสิบ ๆ ครั้งก็ไม่เคยหาย หลาย ๆ ครั้งที่ผมลืม ถอดลูกแก้วเอาไว้บนหัวเตียงในโรงแรมตามต่างจังหวัดที่ไปปฏิบัติราชการ กว่าจะรู้ว่าลืมเอาไว้ก็กลับมาถึงกรุงเทพ ฯ แล้ว

    <DD>ครั้นโทรศัพท์ทางไกลไปให้คนไปตามไปหาให้ก็ไม่มีใครพบใครเห็น ผมก็ได้แต่จุดธูปเทียนขอขมาและอธิษฐานว่าผมไม่ได้ทำอะไรผิด ผมรีบร้อนจริง ๆ ผมผิดไปแล้ว หมดปัญญาแล้ว แต่ถ้ายังมีบุญบารมีอยู่ก็ขออให้มีผู้พบเห็น ส่วนผมก็จะพยายามติดตามให้ได้คืนมาให้จงได้ แล้วผมก็เข้านอน รุ่งขึ้นเช้าผมไปกราบพระก็พบว่าลูกแก้วนี้กลับมาอยู่ที่หน้าหิ้งพระของผมทุกทีไป บางครั้งก็ ๓ วันบ้าง ๗ วันบ้าง

    <DD>ต่อมาไอ้ตี๋เล็กประสบปัญหาเกี่ยวกับธุรกิจการค้า แต่ขณะนั้นก็มีช่องทาง คือ ถ้าลูกค้าชาวญี่ปุ่นที่ติดต่อกันอยู่ยอมตกลงข้อเสนอตามโครงการของไอ้ตี๋เล็ก ไอ้ตี๋เล็กก็จะได้งานที่สามารถกอบกู้สถานภาพเอาไว้ได้ และอาจจะร่ำรวยมหาศาลเลยทีเดียวแหละ แต่การที่อุตส่าห์ลงทุนเชิญไอ้ญุ่นปี่ญี่ปุ่นมาเที่ยวเมืองไทย เพื่อจะได้มีโอกาสมีเวลาได้ชี้แจงเรื่องงาน เรื่องโครงการดังกล่าวนี้นั้น

    <DD>ปรากฏว่าไอ้ญุ่นไม่สนใจ เลยจำเป็นต้องวางแผนพาไปเที่ยวต่อที่เชียงใหม่ เพื่อเป็นการเอาใจ และเพื่อยืดเวลาหาโอกาสในการเจรจาต่อไปอีก ก่อนเดินทางไปเชียงใหม่ ไอ้ตี๋เล็กวุ่นวายใจมาก เพราะภริยาก็ท้องแก่ใกล้คลอด ท่าทีที่หยั่งเชิงไอ้ญุ่นไปแล้วนั้น นอกจากไอ้ญุ่นจะไม่สนใจเอาเสียเลยแล้ว ยังแทบจะหัวเราะเยาะเอาเสียด้วย ตั้งท่าจะไม่ไปแล้ว เพราะปรารภกับผมว่าไปก็เท่านั้น เสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา

    <DD>ผมจึงได้ตัดสินใจมอบลูกแก้วให้กับไอ้ตี๋เล็กไป เพื่อให้เป็นกำลังใจ และหวังขอให้ท่านช่วยให้ไอ้ตี๋เล็กประสบความสำเร็จในการเจรจาครั้งนั้น และก็เป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์เหลือที่จะกล่าว เพราะระหว่างการเดินทางบนเครื่องบินนั่นเอง นายทุนญี่ปุ่นซึ่งเคยแสดงท่าทีสนใจน้อยมาก กลับขอเซ็นสัญญาตกลงกันบนเครื่องบิน โดยไม่ยอมอ่านสัญญาเลย

    <DD>ทีนี้ไอ้ตี๋เล็กก็ดีใจซิครับ แทบจะคลุ้มคลั่งเลยทีเดียว พาญี่ปุ่นเที่ยวอย่างหามรุ่งหามค่ำ เที่ยวเตร่กินเหล้าเมายาเฮฮากันทั้งวันทั้งคืน ด้วยมองเห็นเงินเป็นร้อย ๆ ล้านวางแบบอยู่แค่เอื้อม

    <DD>ผมโทรศัพท์ทางไกลไปเตือนสติอยู่ทุกวัน ๆ ละหลาย ๆ ครั้ง ให้ระวังเรื่องเงื่อนไขของเจ้าของลูกแก้ว ไอ้ตี๋เล็กก็สักแต่ว่ารับปากอู้อี้มาทุกครั้งว่า ไม่มีปัญหา ไม่ได้ทำอะไรผิดเงื่อนไข ถ้าจะมีรายการซึ่งขัดกับเงื่อนไข ก็จะเก็บไว้ในกระเป๋าเอกสาร จะไม่นำติดตัวไปเป็นอันขาด

    <DD>แต่แม้ผมจะได้รับการยืนยันมาอย่างแข็งขันทุกครั้งที่โทรศัพท์ไปถาม ผมก็ไม่ได้มีความสบายใจเลย เพราะไอ้ตี๋เล็กมักจะขาดสติสัมปชัญญะ และขาดความรับผิดชอบอยู่เสมอ การรับปากสั่ว ๆ แต่ไม่สนใจจะปฏิบัติตามคำพูดของเขาเป็นที่ร่ำลือระบือไกล

    <DD>และในคืนวันก่อนที่ไอ้ตี๋เล็กจะต้องเดินทางกลับตามกำหนดการ ผมก็ฝันร้ายว่าได้พบกับผู้หลักผู้ใหญ่หลาย ๆ คน และหลาย ๆ องค์ ทุกท่านตำหนิผมน่าดูเรื่องลูกแก้ว ผมตื่นขึ้นมากลางดึก นอนต่อไม่หลับตลอดคืน กังวลใจตลอดเวลา

    <DD>ตั้งแต่เช้ามืด ผมได้พยายามติดต่อทางโทรศัพท์กับไอ้ตี๋เล็ก แต่ติดต่อไม่ได้ เจ้าหน้าที่ของโรงแรมที่ไอ้ตี๋เล็กพักอาศัยแจ้งให้ทราบว่า ในห้องพักไม่มีคนอยู่ ผมจึงเดินทางไปรอรับเขาที่สนามบินดอนเมืองในตอนบ่าย

    <DD>พอไอ้ตี๋เล็กเดินออกมาจากห้องผู้โดยสารขาเข้า ผมก็กรากเข้าไปถามหาลูกแก้วทันที ไอ้ตี๋เล็กหัวเราะก๊าก ๆ มันมองผมด้วยสายตาที่ผมแปลความหมายได้ความว่า แหม....ท่านพี่ ช่างงกเสียจริ๊ง แล้วมันก็พูดเสียงกลั้วหัวเราะดังลั่นแอร์พอร์ตว่า

    <DD>“นี่ไงพี่ ลูกแก้วของพี่อยู่ในคอผม ยังอยู่ดี ไม่หายไปไหน”

    <DD>พูดจบ มันก็เอามือคลำที่คอของมันอย่างมั่นใจเต็มที่ ผมเองก็จ้องมองตามมือของมันอย่างเขม้นเขม็ง ในใจภาวนาว่า ขอให้จริงอย่างที่มึงพูดเถิดวะ จริงไม่กลัวกลัวไม่จริง แต่แล้วผมก็เห็นมันหยุดชะงัก เสียงหัวเราะที่ดังกั๊ก ๆ หยุดกึ๊ก หน้าที่บานปานตูดหมาของมันซีดเผือดแล้วหุบลง ๆ จนเล็กเหลือเท่าจู๋มด มันลุกลี้ลุกลนล้วงโน่นควักนี่อุตลุดอลหม่าน ล่วงไปปากก็ร้องไปบ่นไปว่า

    <DD>“เฮ้ย....ๆ ตายห่า.... เฮ้ย....ๆ ตายห่า.....” อยู่เป็นนานสองนาน แล้วในที่สุดก็พูดอย่างแหย ๆ แต่หน้าตาเฉยตามฟอร์มถนนมิตรภาพ

    <DD>“พี่ ลูกแก้วไม่รู้หายไปไหนแล้ว”

    <DD>พอได้ยินมันพูดเช่นนั้น ผมก็แทบสลบ ตาเบิกโพลง แต่ไม่เห็นอะไรนอกจากแสงระยิบระยับคล้ายดวงดาวเป็นหมื่นเป็นแสน ๆ ดวงหมุนติ้วอยู่รอบศีรษะ หูก็ไม่ได้ยินเสียงอะไร นอกจากเสียงดัง หวิ๊ง ๆ หวิ๊ง ๆ อื้ออึงราวกับลมพายุสลาตันพัดหมุนอยู่รอบกาย มีอาการอย่างนี้อยู่นานเท่าใดไม่ทราบ แต่ในความรู้สึกเหมือนนานแสนนาน

    <DD>มารู้สึกตัวอีกที เมื่อได้ยินเสียงไอ้ตี๋เล็กตะโกนร้อง เรียกว่า

    <DD>“พี่ ๆ พี่ ๆ”

    <DD>พอรู้สึกตัว ผมก็กระโจนพรวดเดียวถึงตัวไอ้ตี๋เล็ก เปิดกระดุมคอเสื้อของมันเกือบจะเป็นกระชาก ล้วงเอาไถ้ที่เคยใส่ลูกแก้วที่ผมแสนรักพร้อมเชือกห้อยคอออกมาจากคอของมัน รู้สึกจุกแน่นไปหมดที่หน้าอกและคอหอย พาลวิงเวียนเหมือนกับจะเป็นลมเสียให้ได้ เมื่อเห็นว่าไถ้นั้นว่างเปล่า ผมกำไถ้เปล่านั้นแน่นติดมือที่เปียกเหงื่อจนชุ่ม อยากจะร้องไห้ก็ร้องไม่ออก ได้แต่กลอกตาไปมา คิดไม่ออกบอกไม่ถูก จึงได้แต่ยืนเซ่อ ไอ้ตี๋เล็กยืนหันรีหันขวางอยู่ครู่ใหญ่ มันก็ร้องโวยวายออกมาอีก

    <DD>“สงสัยตกอยู่ในเครื่องบินแหงเลย ก็เมื่อเช้านี้ยังอยู่ในคอผมเลยนี่นา พี่คอยผมหน่อย เดี๋ยวผมจะไปหาเพื่อน มันทำงานใน บ.ด.ท. จะลองให้เขาช่วยให้เจ้าหน้าที่หาให้”

    <DD>ไอ้ตี๋เล็กยังมีความหวังและอดโม้ไม่ได้ตามนิสัยเดิม ผมก็เออ ๆ คะ ๆ ไปตามแกน ได้พยายามตามและค้นหากันทุกวิถีทาง ไม่ว่าจะโทรศัพท์ทางไกลไปที่เชียงใหม่ ให้ญาติช่วยกันไปหาที่สนามบินก็แล้ว ที่โรงแรมก็แล้ว ตั้งรางวัลเสียสูงลิ่วก็หาไม่พบ

    <DD>ระหว่างที่โกลาหลกันอยู่นั้น ผมก็เดินทางกลับ เพราะผมสังหรณ์เหลือเกินว่า เขาไปแล้ว และคราวนี้คงจะไม่มีหวังที่จะกลับคืนมา เพราะนอกจากที่ผมจะฝันเหมือนเป็นลางบอกเหตุ ก่อนหน้าที่จะเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นจริง ๆ แล้ว

    <DD>เมื่อผมได้พิจารณาดูไถ้ที่เคยใช้หุ้มลูกแก้วนี้อย่างละเอียด ก็ไม่พบว่ามีร่องรอยฉีกขาดแต่ประการใด ยังคงเป็นไถ้ที่สมบูรณ์อยู่เหมือนไถ้อันเดิม ที่แตกต่างกันก็มีเพียง ไม่มีลูกแก้วของศักดิ์สิทธิ์ที่ผมแสนจะหวงแหนอีกต่อไปแล้ว

    <DD>เมื่อผมกลับไปถึงบ้านไอ้ตี๋เล็กแล้ว ผมก็เก็บเสื้อผ้าเตรียมกลับบ้านของผม เพราะผมเชื่อว่า ไอ้ตี๋เล็กต้องกระทำการอย่างใด ๆ ที่เป็นการละเมิดต่อสัญญาที่ผมเคยกำชับเอาไว้ไม่ให้ละเมิด และไม่นำพาต่อคำพูด คำมั่นสัญญาที่รับปากผมไว้เป็นมั่นเป็นเหมาะ คนประเภทนี้ถ้าจะคบหาต่อไป เห็นทีจะไม่ต้องตามตำรามงคล ๓๘ ประการเป็นแน่แท้ อย่ากระนั้นเลย ขืนอยู่ด้วยก็ซวยเปล่า ๆ กลับบ้านเราดีกว่า

    <DD>แบบนี้เขาไม่เรียกว่า หนีเสือปะจระเข้นะครับ เข้าตำรา หนีนรกตกอเวจีมากกว่า แต่ผมก็ยังไม่กลับบ้านของผมในทันที ผมรอเพื่อที่จะถามว่า ไปทำอะไรมาที่เป็นการผิดสัญญาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ปกปักรักษาลูกแก้วนี้ แต่คืนนั้นเขาไม่กลับบ้าน คืนต่อมาก็ไม่กลับอีก

    <DD>ผมรออยู่สองวันสองคืนจึงได้พบ ก็แก้ตัวว่า ไปนอนที่บ้านพ่อเพราะสะดวกในการติดตามหาลูกแก้วที่หายไปนั้น และเขาตามมาโดยตลอดแต่ติดตามคืนมาไม่ได้ แล้วมันก็ทำหน้าทะเล้นร้องว่า

    <DD>“แน่ะ....ลูกแก้วกลับมาอยู่ที่พี่แล้วซิ หลอกให้ผมไปหาเสียเกือบตาย”

    <DD>ผมโมโหสุดขีด ตะโกนให้อวัยวะเบื้องต่ำกว่าเข็มขัดมันไปหลายอย่างและหลายอัน ในที่สุดมันจึงสารภาพว่า ในคืนวันก่อนที่จะเดินทางกลับได้เข้าไปเที่ยวในบาร์ ไปพบนักร้องสาวสวยถูกอกถูกใจเสียเหลือหลาย แต่จีบผู้หญิงคนนั้นสู้คนอื่นเขาไม่ได้ มันเกิดอาการหน้ามืดสุดขีด จึงเอาลูกแก้วขึ้นมาอธิษฐาน

    <DD>ตอนที่อธิษฐานนั้น แม่นักร้องคนนั้นก็ได้เดินไปนั่งอยู่บนรถของเพื่อนที่จีบแข่งกันแล้ว แต่พอมันอธิษฐานเสร็จ จู่ ๆ แม่นั่นก็เดินมาขึ้นรถมันเสียดื้อ ๆ อย่างนั้นแหละ


    <DD>เป็นอันว่ามันได้ผู้หญิงคนนั้นมาเชยชมเพียงชั่วคืน แต่ผมต้องสูญเสียลูกแก้วอันศักดิ์สิทธิ์ไปแล้ว

    <DD>แถมมันยังแก้ตัวอีกว่า มันใช้กับนักร้อง ไม่ใช่โสเภณี ผมฟังมันแก้ตัวก็ปลงอนิจจังคิดในใจว่า เจ้าตี๋เล็กเอ๋ย....เอ็งเห็นทีจะเจริญยาก แล้วในกาลต่อมา เจ้าตี๋เล็กก็เจริญยากจริง ๆ ทรัพย์สมบัติที่เคยมีนับสิบล้าน (เมื่อประมาณปั พ.ศ. ๒๕๑๘ นะครับ) ก็หมด ตัวเองก็ระเห็จเข้าไปดัดสันดานอยู่ในคุกเสียระยะหนึ่ง ปัจจุบันออกมาแล้วแต่ก็ยังห่วยเหมือนเดิม

    <DD>เมื่อลูกแก้วหายไปแล้ว ผมก็กลับบ้านสวดมนต์ภาวนาขอให้กลับมา จากอาทิตย์เป็นเดือน จากเดือนเป็นปี จากปีเป็น ๑๖ ปี (ไม่ใช่ ๑๖ ปีแห่งความหลังนะครับ) ลูกแก้วก็ไม่กลับมาเสียที หมดหนทางหมดปัญญาก็จำต้องตัดใจ

    <DD>ผมคิดปลง ๆ เอาว่า ท่านที่ปกปักรักษาสิ่งศักดิ์สิทธิ์นี้คงจะน้อยใจที่ในตอนแรก ผมก็ทำท่ายึกยักเหมือนไม่เต็มใจจะรับมาจากหลวงปู่ชุ่ม ฯ ต่อมาก็ทำหลงลืมทิ้งไว้ตามโรงแรมที่ไปพักหลายครั้ง เหมือนไม่เห็นคุณค่า ไม่เห็นความสำคัญ ต้องให้ท่านนำมาคืนให้ก็หลายครั้ง

    <DD>แล้วในที่สุด ก็ได้ให้คนที่เหลาะแหละไม่น่าเชื่อถือขอยืมไปอีก แม้จะแก้ตัวว่าเพื่อเป็นการทดแทนบุญคุณก็คงจะรับฟังไม่ขึ้น ท่านก็เลยไม่อยากอยู่กับผม ผมก็ตัดใจไม่คิดมาก ด้วยในส่วนลึกก็ยอมรับในความผิดและเห็นว่ายังไม่คู่ควรที่จะได้ท่านไว้เป็นกรรมสิทธิ์

    </DD>
     

แชร์หน้านี้

Loading...